Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Banking and Finance Law

Chulalongkorn University

2020

Articles 1 - 30 of 42

Full-Text Articles in Law

การนำความตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีอากรมาเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี กรณีเงินได้จากการลงทุนในตลาดทุน, สิริกาญจน์ ดอกกลาง Jan 2020

การนำความตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีอากรมาเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี กรณีเงินได้จากการลงทุนในตลาดทุน, สิริกาญจน์ ดอกกลาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษาในเรื่องความตกลงร่วมมือระหว่างประเทศในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีอากร โดยศึกษาถึงที่มาและหลักการความร่วมมือระหว่างประเทศ กฎหมายภายในของประเทศไทย ตลอดจนผลิตภัณฑ์ทางการเงินและภาษีเงินได้ของนักลงทุนในตลาดทุนไทย เพื่อนํามาปรับใช้กับการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึง เสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายภายในของประเทศไทยที่ไม่สอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศการเข้าถึงข้อมูลทางภาษีของนักลงทุนของกรมสรรพากรไทยอาจมีข้อจํากัดในด้านอํานาจและขอบเขต ดังนั้น หากมีการนําส่งข้อมูลของนักลงทุนจากสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางในตลาดทุนให้แก่กรมสรรพากรไทย ประกอบกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีอากรระหว่างประเทศผ่านพันธกรณีความร่วมมือระหว่างประเทศ จะส่งผลให้กรมสรรพากรไทยสามารถจัดเก็บข้อมูลทางภาษีได้อย่างครบถ้วน จากการศึกษา พบว่า OECD มีรูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งหมด 3 ประเภท และมีกรอบความร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ Global Forum on Transparency and Exchange of Information for Tax Purposes (Global Forum) ซึ่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัติโดยชุดข้อมูล Common Reporting Standard (CRS) จะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางการเงินของนักลงทุนที่สถาบันทางการเงินเป็นผู้นําส่ง ดังนั้น เมื่อประเทศไทยได้เข้าร่วมในกรอบความร่วมมือดังกล่าว จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่ Global Forum ได้กําหนดไว้และด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยต้องแก้ไขปรับปรุงข้อบทในประมวลรัษฎากร เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนขอมูลทางภาษีระหว่างประเทศได้ตามมาตรฐานและครอบคลุมทุกรูปแบบ


ข้อจำกัดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการทุจริตในธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข่อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562, ภัคจิรา ตั้งสุทธิมงคล Jan 2020

ข้อจำกัดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการทุจริตในธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข่อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562, ภัคจิรา ตั้งสุทธิมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กิจกรรมของชมรมตรวจสอบและป้องกันการทุจริตในธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างธนาคารพาณิชย์ ซึ่งทำให้มีประเด็นปัญหาว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นการปฏิบัติสอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562ที่กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลหากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเว้นแต่กฎหมายจะบัญญัติยกเว้นไว้ หรือไม่ การศึกษาพบว่า กิจกรรมการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตของชมรมตรวจสอบและ ป้องกันการทุจริตในภาคธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของประเทศไทย ยังมีข้อจำกัด ทำได้เพียงกิจกรรมที่จำกัดเฉพาะเป็นฐานของธนาคารเองเท่านั้น ซึ่งจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับให้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์สาธารณะได้มากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จึงเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายโดยยกระดับชมรมตรวจสอบและป้องกันการทุจริต ให้มีฐานะเป็นองค์กรที่มีอำนาจออกกฎหมายเพื่อให้มีผลใช้บังคับสอดคล้องกับการปฏิบัติงานภาคธุรกิจธนาคาร และเพื่อป้องกันผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศกิจกรรมของชมรมตรวจสอบและป้องกันการทุจริตในธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างธนาคารพาณิชย์ ซึ่งทำให้มีประเด็นปัญหาว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นการปฏิบัติสอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562ที่กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลหากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเว้นแต่กฎหมายจะบัญญัติยกเว้นไว้ หรือไม่ การศึกษาพบว่า กิจกรรมการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตของชมรมตรวจสอบและ ป้องกันการทุจริตในภาคธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของประเทศไทย ยังมีข้อจำกัด ทำได้เพียงกิจกรรมที่จำกัดเฉพาะเป็นฐานของธนาคารเองเท่านั้น ซึ่งจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับให้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์สาธารณะได้มากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จึงเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายโดยยกระดับชมรมตรวจสอบและป้องกันการทุจริต ให้มีฐานะเป็นองค์กรที่มีอำนาจออกกฎหมายเพื่อให้มีผลใช้บังคับสอดคล้องกับการปฏิบัติงานภาคธุรกิจธนาคาร และเพื่อป้องกันผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ


ข้อพิจารณาตามหลักการประมวลผลข้อมูลเท่าที่จำเป็น (Data Minimization) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (Personally Identifiable Information) ของกรมสรรพากร, นิสากร ทองประเสริฐ Jan 2020

ข้อพิจารณาตามหลักการประมวลผลข้อมูลเท่าที่จำเป็น (Data Minimization) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (Personally Identifiable Information) ของกรมสรรพากร, นิสากร ทองประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แบบแสดงรายการภาษีของกรมสรรพากรมีลักษณะใช้ร่วมกันสําหรับเงินได้พึงประเมินทุกประเภท ส่งผลให้กรมสรรพากรจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีเงินได้หลายรายการ ซึ่งทําให้มีประเด็นปัญหาว่า การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของกรมสรรพากรเป็นไปตามหลักการประมวลผลข้อมูลเท่าที่จําเป็นแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือไม่ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงศึกษารายการข้อมูลส่วนบุคคลในแบบแสดงรายการภาษีของกรมสรรพากรโดยพิจารณาตามหลักการประมวลผลข้อมูลเท่าที่จําเป็นในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของกรมสรรพากร โดยการเทียบเคียงแบบแสดงรายการภาษีของต่างประเทศ พบว่าแบบแสดงรายการภาษีของประเทศไทยมีลักษณะการใช้ร่วมกันสําหรับทุกประเภทเงินได้ การจัดเก็บข้อมูลจึงไม่มีความเฉพาะเจาะจงสําหรับเงินได้แต่ละประเภท มีการจัดเก็บข้อมูลบางรายการซ้ำากันหลายครั้งทำให้การจัดเก็บข้อมูลเกิดความซ้ําซ้อน และมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลมากเกินความจําเป็นเนื่องจากข้อมูลบางรายการที่ไม่มีความเกี่ยวข้องต่อการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีจึงเห็นว่าการปรับเปลี่ยนแบบแสดงรายการภาษีโดยการแยกออกตามประเภทของเงินได้พึงประเมิน เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลมีความเฉพาะเจาะจง และจัดเก็บข้อมูลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีจากเงินได้แต่ละประเภท ส่งผลให้ข้อมูลที่จัดเก็บนั้นไม่ซ้ำซ้อนและไม่มากเกินกว่าความจําเป็นตามหลักการประมวลผลข้อมูลเท่าที่จําเป็น


การเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้กับเจ้าพนักงานในหน่วยงานจัดเก็บภาษีอากรในการดำเนินคดีอาญา : กรณีศึกษาอำนาจฟ้องและดำเนินคดีภาษีอากรที่มีโทษอาญา, ศิรดา อรุณชัยภิรมย์ Jan 2020

การเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้กับเจ้าพนักงานในหน่วยงานจัดเก็บภาษีอากรในการดำเนินคดีอาญา : กรณีศึกษาอำนาจฟ้องและดำเนินคดีภาษีอากรที่มีโทษอาญา, ศิรดา อรุณชัยภิรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากการดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับภาษีอากรของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น ไม่มีกฎหมายวิธีพิจารณาความเป็นบทบัญญัติเฉพาะ กระบวนการทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรจึงเป็นไปตามบทบัญญัติกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั่วไป ทำให้เจ้าพนักงานในหน่วยงานจัดเก็บภาษีหรือกรมสรรพากรต้องส่งเรื่องพร้อมด้วยบันทึกข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่าง ๆ ไปให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน และพนักงานสอบสวนจึงส่งสำนวนพร้อมทั้งความเห็นให้พนักงานอัยการพิจารณาและทำคำสั่งฟ้องคดีต่อไป ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เกิดความล่าช้า แต่ยังทำให้กระบวนการดำเนินคดีอาญาทางภาษีอากรขาดประสิทธิภาพอีกด้วย จากการศึกษาพบว่า จึงควรแก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับภาษีอากรโดยการเพิ่มอำนาจฟ้องแก่เจ้าหน้าที่สรรพากร เพื่อให้เจ้าหน้าที่สรรพากรสามารถดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับภาษีอากรได้


บุคคลผู้มีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, พิพัฒน์ พิพัฒน์ผจง Jan 2020

บุคคลผู้มีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, พิพัฒน์ พิพัฒน์ผจง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การยกเว้นภาษีตามมาตรา 40 41 และ 96 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มี วัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีที่ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินประเภทที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบเกษตรกรรม หากประชาชนผู้เสียภาษีปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนดไว้อย่าง ครบถ้วน ก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปีภาษีนั้น เมื่อพิจารณาการยกเว้นภาษีข้างต้น ปรากฎว่ามาตราดังกล่าวยกเว้นภาษีให้เฉพาะบุคคลผู้มีกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น เนื่องจากบทบัญญัติในมาตราใช้คําว่า “เจ้าของ” ซึ่งมิได้หมายความรวมถึงผู้มี สิทธิครอบครองในที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นผู้เสียภาษีอีกประเภทหนึ่งตามนิยามในมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้นผู้มีสิทธิครอบครองจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีและยังคงต้องเสียภาษีตามปกติ แม้จะได้ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกําหนดไว้อย่างครบถ้วนเฉกเช่นผู้เสียภาษีประเภทเจ้าของแล้วก็ตาม การบัญญัติกฎหมายโดยเรียกเก็บภาษีจากเจ้าของและผู้มีสิทธิครอบครอง แต่เมื่อมีการยกเว้นภาษีกลับยกเว้นให้เฉพาะเจ้าของ และการนําสิทธิเหนือทรัพย์สินของผู้เสียภาษีมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณายกเว้นภาษีทรัพย์สินเป็นการบัญญัติกฎหมายที่มิได้คํานึงถึงหลักการบริหารภาษีที่ดี รวมไปถึงแนวคิดพื้นฐานในการจัดเก็บและยกเว้นภาษีทรัพย์สิน จึงก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการเสียภาษีระหว่างเจ้าของกับผู้มีสิทธิครอบครอง และปัญหาการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังนั้น การยกเว้นภาษีตามมาตราดังกล่าวจึงควรได้รับการแก้ไขให้ครอบคลุมถึงผู้มีสิทธิครอบครอง หรือมีมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดี ตลอดจนแนวคิดพื้นฐานในการจัดเก็บและยกเว้นภาษีทรัพย์สิน


บทบาทของการวิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมายก่อนการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้เสียภาษีตามพันธกรณีระหว่างประเทศ, ฉัตติกา มูลละ Jan 2020

บทบาทของการวิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมายก่อนการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้เสียภาษีตามพันธกรณีระหว่างประเทศ, ฉัตติกา มูลละ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กฎหมายเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกำหนดทิศทางของการพัฒนาประเทศ ทั้งยังส่งผลกระทบอีกหลายประการไม่ว่าจะในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการปกครอง จึงมีความพยายามที่จะเพิ่มคุณภาพของกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะเดียวก็ส่งผลกระทบต่อสังคมน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยการนำการวิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมาย (Regulatory Impact Analysis/ Regulatory Impact Assessment หรือ RIA) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของกฎหมายมาเป็นหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์เพื่อใช้ในการประกอบกระบวนการตรากฎหมาย โดยเอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งเน้นที่จะศึกษาในเรื่องของการวิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมายก่อนการเข้าร่วมความตกลงระหว่างประเทศ โดยจะศึกษาในกรณีของการเข้าร่วมความตกลงว่าด้วยความตกลงพหุภาคีว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารภาษี (Convention on Mutual Administrative Assistance in Tax Matter : MAC) รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบหากมาตรการนี้บังคับใช้ จากการศึกษาพบว่า เพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าร่วมความตกลงระหว่างประเทศ ควรมีการกำหนดให้มีกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบก่อนที่จะเข้าไปมีผลผูกพันกับความตกลงหรืออนุสัญญานั้น ๆ ทั้งนี้เพื่อพิจารณาว่าการเข้าร่วมความตกลงนั้นคุ้มค่าหรือไม่เมื่อเทียบกับผลกระทบ


ปัญหาการกำหนดข้อยกเว้นหน้าที่ในการยื่นรายการข้อมูลและจัดทำเอกสาร สำหรับห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร, ปิยพัชร พัฒนกิจเรือง Jan 2020

ปัญหาการกำหนดข้อยกเว้นหน้าที่ในการยื่นรายการข้อมูลและจัดทำเอกสาร สำหรับห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร, ปิยพัชร พัฒนกิจเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการจัดเก็บตาม พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, กานต์พิชชา ศิริสุข Jan 2020

ปัญหาการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการจัดเก็บตาม พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, กานต์พิชชา ศิริสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาหลักเกณฑ์วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ที่มีความมุ่งหมายที่จะลดการใช้ดุลยพินิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยแยกอํานาจหน้าที่ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินออกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกําหนดให้หน่วยงานส่วนกลางของภาครัฐ อย่างกรมธนารักษ์ สังกัดกระทรวงการคลังเข้ามารับผิดชอบในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบในการประเมินภาษี ผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า คือ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดทําบัญชีกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน (บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน) และบัญชีราคาประเมินทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติการประเมิน ราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. 2562 (ยังไม่ประกาศบังคับใช้) ซึ่งทั้งสองเป็นบัญชีที่ใช้เป็นฐานในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีวิธีการประเมินมูลค่าสิ่งปลูกสร้างที่ตายตัวไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้ประโยชน์ในตัวทรัพย์สินที่แตกต่างกัน และการจัดทําบัญชีราคาประเมินก็ไม่ได้พิจารณาถึงพื้นที่ทําเลที่ตั้งของทรัพย์สินที่ต่างกัน อันก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ที่มีทรัพย์สินตั้งอยู่ในทําเลที่แตกต่างกัน อีกทั้ง กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังคงเปิดช่องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งหาใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินราคาทรัพย์สินเข้ามามีบทบาทในการประเมินมูลค่าสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ และสิ่งปลูกสร้างประเภทห้องชุดส่งผลให้เกิดป๎ญหาที่ราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างบางประเภทที่มาจากดุลยพินิจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน และสร้างภาระให้กับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเกินสมควร นอกจากนี้ พบว่ายังมีความไม่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายสําหรับกรณีการจัดเก็บภาษีที่ดินที่มีข้อจํากัดการใช้ประโยชน์ประเภทที่ดินเสาไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่าน ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนในการประเมินมูลค่าที่ดินประเภทดังกล่าว ผู้เขียนได้ศึกษาหลักเกณฑ์ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามมาตรฐานสากล เพื่อศึกษาแนวทางการกําหนดวิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เหมาะสมกับทรัพย์สินแต่ละประเภท และศึกษาหลักเกณฑ์วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินและการประเมินภาษีของประเทศอังกฤษ เพื่อหาแนวทางแก้ไขป๎ญหาความไม่เหมาะสมในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศไทย


ปัญหาการเสนอคดีต่อศาลภาษีอากร ในกรณีเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการ ตามกฎหมายภาษีอากรยังไม่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด, ชุติณัชชา อินทรานุกูล Jan 2020

ปัญหาการเสนอคดีต่อศาลภาษีอากร ในกรณีเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการ ตามกฎหมายภาษีอากรยังไม่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด, ชุติณัชชา อินทรานุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รายงานเอกัตศึกษาเล่นนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาแนวทางในแก้ปัญหาความขัดหรือแย้งของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7(1) ประกอบมาตรา 8 กับพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2560, พระราชบัญญัติกรมศุลกากร พ.ศ.2560 และพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 ในคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรโดยเทียบเคียงกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยวิธีการศึกษาวิจัยทางเอกสารในการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์จากบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติ คำพิพากษาของศาลหนังสือกฎหมาย ตลอดจนเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า ขั้นตอนในการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับประเมินภาษีอากรและการคัดค้านหรืออุทธรณ์การประเมินภาษีอากร เป็นกระบวนการพิจารณาทางปกครองทั้งสิ้น และกฎหมายภาษีอากรที่ได้มีการปรับปรุง แก้ไขฉบับใหม่มีการให้สิทธิผู้อุทธรณ์สามารถฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรได้ ถึงแม้ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่มีคำวินิจฉัยก็ตาม ซึ่งคล้ายคลึงกับเงื่อนไขในการฟ้องคดีทางปกครอง แต่ในปัจจุบันสิทธิตามกฎหมายภาษีอากรดังกล่าวยังไม่สามารถกระทำได้อย่างเต็มที่เนื่องจากเงื่อนขในการฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรต้องมีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ด้วยเหตุนี้ จึงควรปรับปรุง แก้ไข เงื่อนไขในการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) ประกอบมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ให้คล้ายคลึงกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายปกครอง เพื่อทำให้สิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรสามารถกระทำได้ตามอย่างถูกต้อง และยังเป็นการทำให้การฟ้องคดีมีมาตรฐานในรูปแบบเดียวกัน อันเป็นการประกันมาตรฐานวิธีการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้กับประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย


ปัญหาทางกฎหมายในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับ สถาบันการเงิน, ธนา พันธุมะบำรุง Jan 2020

ปัญหาทางกฎหมายในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับ สถาบันการเงิน, ธนา พันธุมะบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์มุ่งศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมายในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงิน ซึ่งมีปัญหาทางกฎหมายอันเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอันได้แก่ (1) ปัญหาการก่อภาระผูกพันในอสังหาริมทรัพย์ ทั้งก่อนการก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิและภายหลังนำทรัพย์อิงสิทธิ มาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ (2) ปัญหาสถานะทางกฎหมายของทรัพย์อิงสิทธิ (3) ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้รับหลักประกัน อันได้แก่ การบอกเลิกสัญญาโอนทรัพย์อิงสิทธิ การยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิก่อนครบกำหนดเวลา และบทบัญญัติของตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ไม่คุ้มครองสิทธิของผู้รับหลักประกันในบางกรณี และ (4) ปัญหาการบังคับคดีกับทรัพย์อิงสิทธิ เอกัตศึกษานี้ดำเนินการโดยศึกษากฎหมายการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุกิจ พ.ศ. 2558 ของประเทศไทย และนำไปศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายการประกันการชำระหนี้ของต่างประเทศ ได้แก่ ระบบหลักประกันแบบ Uniform Commercial Code Article 9 ตามหลักกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และในระบบหลักประกันแบบ Floating Charge ตามหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษทำการวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การวิจัยนี้พบว่า การนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงินนั้น ตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 ได้กำหนดลักษณะเฉพาะของทรัพย์อิงสิทธิไว้ ซึ่งบทบัญญัติในบางมาตรายังเป็นอุปสรรคในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงิน อีกทั้งตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของทรัพย์อิงสิทธิ ในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ เอกัตศึกษานี้จึงเสนอให้ (1) การก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่มีภาระผูกผันและการก่อภาระผูกพันในอสังหาริมทรัพย์ภายหลังนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทงธุรกิจต้องได้รับความยินยอม (2) กำหนดสถานะทางกฎหมายของทรัพย์อิงสิทธิให้เป็นหลักประกันทางธุรกิจประเภทอสังหาริมทรัพย์ (3) การบอกเลิกสัญญาโอนทรัพย์อิงสิทธิและการยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิก่อนครบกำหนดเวลาภายหลังนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจต้องได้รับความยินยอมจากสถาบันการเงิน และแก้ไขบทบัญญัติในพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้รับหลักประกันในกรณีผู้ให้หลักประกันกระทำการโดยทุจริตจนเป็นเหตุให้ผู้รับหลักประกันไม่อาจบังคับหลักประกันทั้งหมดหรือแต่บางส่วนและ (4)กำหนดหลักเกณฑ์การบังคับคดีกับทรัพย์อิงสิทธิให้สามารถนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 334 และหมวด 4 บังคับโดยอนุโลม เพื่อให้สถาบันการเงินมีความเชื่อมั่นในการรับทรัพย์อิงสิทธิเป็นหลักประกันทางธุรกิจ อันส่งผลให้นักลงทุนหรือผ็ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย และเพื่อให้บรรลุเจตนรมณ์ของกฏหมายที่ต้องการให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการพัฒนาประเทศต่อไป


ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการในการดำเนินการกับของกลางที่เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560, ศจิกา ว่องวัฒนธรรม Jan 2020

ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการในการดำเนินการกับของกลางที่เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560, ศจิกา ว่องวัฒนธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ถึงปัญหาเกี่ยวกับมาตรการในการดําเนินการกับของกลางที่เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากการต้องปฏิบัติตามมาตรการตามกฎหมายศุลกากรที่บังคับใช้เกี่ยวกับของกลางที่เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่สามารถผลักดันขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ส่งคืนไปยังประเทศต้นทางได้ ก่อให้เกิดภาระการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมายมุ่งเอาผิดผู้กระทําความผิดเพื่อปราบปรามและสกัดกั้นการนําเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ แต่เมื่อนํามาตรการที่ใช้บังคับกับของกลางมาใช้กับขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้วนั้นกลับมีความไม่ตรงตามเจตนารมณ์ในการสกัดกั้นการนําเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว โดยกฎหมายศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ได้มีการบัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการดําเนินการกับของตกค้าง ของผ่านแดน และของถ่ายลําไว้เหมาะสมแล้วแต่ยังไม่มีวิธีดําเนินการที่เหมาะสมกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นของกลาง ในความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร ตามมาตรา 242 ฐานหลีกเลี่ยงข้อห้ามหรือข้อจํากัด ตามมาตรา 244 และฐานหลีกเลี่ยงข้อห้ามหรือข้อจํากัดประกอบฐานสําแดงเท็จ ตามมาตรา 244 ประกอบมาตรา 202 แล้วแต่กรณี ผู้เขียนจึงมุ่งทําการศึกษาวิจัยเพื่อเสนอแนะแนวทางปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและทําให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพ


ปัญหาเรื่องผลกระทบทางภาษีอากร กรณีสิ้นสุดสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ การส่งเสริมการลงทุนมาตรา 36 (1), จุฑารัตน์ รัตนตันติกุล Jan 2020

ปัญหาเรื่องผลกระทบทางภาษีอากร กรณีสิ้นสุดสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ การส่งเสริมการลงทุนมาตรา 36 (1), จุฑารัตน์ รัตนตันติกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตามมาตรา 36 (1) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ผู้ได้รับการส่งเสริมมีสิทธิ์ได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านส่งออกตามที่คณะกรรมการกําหนดโดยเฉพาะการยกเว้นอากรขาเข้าสําหรับวัตถุดิบและวัสดุจําเป็นที่ต้องนําเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อใช้ ผลิต ผสม หรือประกอบผลิตภัณฑ์ เฉพาะที่ใช้ในการส่งออก โดยมิให้นํากฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรมาใช้บังคับ ซึ่งผู้ได้รับการส่งเสริมต้องนําปริมาณวัตถุดิบหรือวัสดุจําเป็น ที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าที่ได้มีการผลิตและส่งออกไปต่างประเทศแล้วมาดําเนินการตัดบัญชีวัตถุดิบ ซึ่งหากตัดบัญชีไม่หมด ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องชําระอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมทั้งเบี้ยปรับเงินเพิ่ม และอาจต้องเสียภาษีสรรพสามิตตามปริมาณวัตถุดิบคงเหลือนั้นๆ หากวัตถุดิบนั้นเป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีสรรพสามิต นอกจากนี้เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับสิทธิและประโยชน์วัตถุดิบ วัตถุดิบใดที่นําเข้ามาโดยได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าต้องทําการตัดบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาการได้รับสิทธิและประโยชน์ หากมียอดวัตถุดิบคงเหลือผู้ได้รับการส่งเสริมต้องชําระอากรขาเข้าวัตถุดิบตามสภาพ ณ วันนําเข้า อย่างไรก็ดี ทางปฏิบัติพบว่า มีกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมพบว่ายังมีวัตถุดิบนําเข้าที่เหลืออยู่ซึ่งยังมิได้มีการส่งออกและยังไม่ได้ชําระอากรขาเข้าภายหลังที่ระยะเวลาการนําเข้าผ่านไปกว่า 10 ปีแล้ว จึงมีประเด็นปัญหาเรื่องอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินในการออกแบบแจ้งเพื่อประเมินภาษีศุลกากร ประเมินภาษีสรรพสามิต ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายแต่ละฉบับ นอกจากนี้ยังมีประเด็นผลกระทบด้านภาษีต่างๆที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ อากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมไปถึงเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ของภาษีดังกล่าว ซึ่งจากการศึกษาพบว่ากิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า กรณีสิ้นสุดสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนมาตรา 36 (1) นั้น ยังมีความไม่ชัดเจนในเรื่องการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานและอายุความในการประเมินภาษีรวมถึงการจัดเก็บอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดี จึงได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เสียภาษีและผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีต่อไป


มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514, ปาณิศา ล่อใจชน Jan 2020

มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514, ปาณิศา ล่อใจชน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


แนวทางการพัฒนามาตรการทางภาษีอากรเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย : ศึกษากรณีมาตรการเพื่อส่งเสริมศูนย์กลางทางธุรกิจระหว่างประเทศและ มาตรการขจัดภาษีซ้อนในเงินปันผลที่ได้จากการลงทุนในต่างประเทศ, ณัฐกนก บุญยประภา Jan 2020

แนวทางการพัฒนามาตรการทางภาษีอากรเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย : ศึกษากรณีมาตรการเพื่อส่งเสริมศูนย์กลางทางธุรกิจระหว่างประเทศและ มาตรการขจัดภาษีซ้อนในเงินปันผลที่ได้จากการลงทุนในต่างประเทศ, ณัฐกนก บุญยประภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


แนวทางการออกมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์, ยุพเรศ มีความดี Jan 2020

แนวทางการออกมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์, ยุพเรศ มีความดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการพิจารณาสิ่งปลูกสร้างประเภทอาคารพาณิชย์เพื่อเป็นฐานในการคำนวณภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2562 กรณีศึกษา : ห้างสรรพสินค้า, เยาวมาลย์ ใจยาว Jan 2020

ปัญหาการพิจารณาสิ่งปลูกสร้างประเภทอาคารพาณิชย์เพื่อเป็นฐานในการคำนวณภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2562 กรณีศึกษา : ห้างสรรพสินค้า, เยาวมาลย์ ใจยาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 มีเจตนารมณ์ในการตรากฎหมายอย่างหนึ่งคือการแก้ไขการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ และความชัดเจนในเรื่องของมูลค่าทรัพย์สินที่ต้องใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษี ของพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 โดยบัญญัติให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานราชการที่ได้รับมอบอำนาจ ให้มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่ พบเห็นสภาพการใช้งานจริงของทรัพย์สิน ทำให้สามารถประเมินภาษีได้อย่างถูกต้องทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาการประเมินภาษีทรัพย์สินจากห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร โดยนำแบบประเมินภาษีห้างสรรพสินค้า และอาคารชุดที่มีคอมมิวนิตี้มอลล์ประจำปีภาษี พ.ศ.2562 และ พ.ศ.2563 มาร่วมประกอบการศึกษาเพื่อให้เห็นภาพการใช้ดุลพินิจในการประเมิน และฐานภาษีที่ใช้ในการคำนวณที่ซัดเจน จากผลการศึกษาพบว่า เนื่องจากกฎหมายพึ่งมีผลบังคับใช้ทำให้หน่วยงานราชการยังไม่มีความเข้าใจในหลักของกฎหมายเรื่องของประเภททรัพย์สิน และตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ได้มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนในเรื่องนิยามที่นำมาใช้กำหนดประเภทของทรัพย์สินเพื่อนำมาใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีในทางปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ อาศัยเพียงนิยามประกอบบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างฯโดยกรมธนารักษ์ ออกตามพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ.2562 มาประกอบการประเมิน ทำให้การจัดเก็บภาษียังคงไว้ซึ่งการใช้ดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในเรื่องการประเมินประเภททรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีในมูลค่าของทรัพย์สินที่ไม่มีการประเมินมูลค่าไว้ในกรณีที่ต้องประเมินว่าสิ่งปลูกสร้างนั้นถือเป็นสิ่งปลูกสร้างประเภทใด เพื่อประเมินมูลค่าทรัพย์สินนำมาเป็นฐานในการคำนวณภาษี เมื่อไม่มีการกำหนดนิยามไว้อย่างชัดเจน เป็นผลทำให้ไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกฎหมายเดิมอย่างเบ็ดเสร็จ และไม่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษี


การกําหนดความรับผิดอาญาในความผิดฐานช่วยเหลือการหนีภาษีอากร : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายอาชญากรรมทางการเงินของสหราชอาณาจักร, นุชจรินทร์ จินดารัตน์ Jan 2020

การกําหนดความรับผิดอาญาในความผิดฐานช่วยเหลือการหนีภาษีอากร : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายอาชญากรรมทางการเงินของสหราชอาณาจักร, นุชจรินทร์ จินดารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การพัฒนารูปแบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม : กรณีการนำเข้าสินค้าในยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล, ปัญญ์ จิตระดับ Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม : กรณีการนำเข้าสินค้าในยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล, ปัญญ์ จิตระดับ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ขอบเขตการบังคับใช้ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ ศึกษากรณีนิยามของคำว่าที่ดินที่เป็นฐานภาษีและระยะเวลาในการชำระภาษี, ณัฐภัทร เหมวงษ์ Jan 2020

ขอบเขตการบังคับใช้ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ ศึกษากรณีนิยามของคำว่าที่ดินที่เป็นฐานภาษีและระยะเวลาในการชำระภาษี, ณัฐภัทร เหมวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษาปัญหาการกําหนดมูลค่าขั้นต่ำของอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินที่กําหนดให้ถูกจัดเก็บ และระยะเวลาการจัดเก็บภาษีตามร่างพระราชบัญญัติภาษีการได้รับประโยชน์ฯ เพื่อเปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมในลักษณะเดียวกันของประเทศโปแลนด์และประเทศอังกฤษและพิจารณาแนวทางการจัดเก็บ เพื่อนํามาปรับปรุงแก้ไขการกําหนดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์และการกําหนดกรอบระยะเวลาตามร่างพระราชบัญญัติภาษีการได้รับประโยชน์ฯ ให้มีความเหมาะสมและเป็นไปตามหลักการผลประโยชน์และหลักอํานวยรายได้ให้แก่รัฐ จากการศึกษาและวิเคราะห์พบว่า ในการกําหนดเงื่อนไขจัดเก็บภาษีตามร่างพระราชบัญญัติภาษีการได้รับประโยชน์ฯ มาตรา 6 (2)(ก) ที่กําหนดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินที่ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต้องมีมูลค่าที่เกินกว่า 50 ล้านบาท จึงจะถูกจัดเก็บภาษี ทําให้มีอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินจำนวนมากที่ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่อยู่ในเขตรัศมีที่ถูกกําหนดให้จัดเก็บภาษีและได้รับประโยชน์จากการที่รัฐพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของรัฐ แต่ไม่อยู่ในขอบเขตต้องเสียเก็บภาษี ซึ่งขัดกับหลักการผลประโยชน์ เนื่องจากที่ดินเหล่านั้นมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทตามที่ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้กําหนดไว้ เห็นควรแก้ไขบทบัญญัติมาตราดังกล่าวไม่ให้นํามูลค่าขั้นต่ำมาเป็นเงื่อนไขในการจัดเก็บภาษี เพราะภาษีการได้รับประโยชน์ฯ ต้องการจัดเก็บเพื่อนําไปเป็นรายได้ในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ ซึ่งใช้เงินทุนจํานวนมากในการก่อสร้างและดําเนินการ อีกทั้งการจัดเก็บภาษีทําเพียงครั้งเดียว จึงไม่ควรกําหนดเงื่อนไขที่ทําให้ฐานภาษีแคบเกินไปและไม่อํานวยรายได้ให้แก่รัฐ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่ต้องการจัดเก็บอีกด้วย และปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือเงื่อนไขตามามาตรา 6 (2) เรื่องระยะเวลากําหนดหน้าที่ผู้เสียภาษีโดยให้เสียภาษีภายใน 30 วัน นับแต่โครงการของรัฐแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สร้างภาระภาษีให้แก่ตัวผู้เสียภาษีเนื่องจากระยะเวลาสั้นเกินไป เมื่อเทียบกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีการกําหนดระยะเวลามากกว่า ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาแจ้งผู้เสียภาษีหรือระยะเวลาการชําระภาษี เห็นควรกําหนดกรอบระยะเวลาการจัดเก็บภาษีให้มากกว่าที่กําหนดไว้ในมาตรา 6 (2) และควรมีกระบวนการแจ้งผู้เสียภาษีให้เตรียมตัวเสียภาษีให้ชัดเจนมากขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกแก่ตัวผู้เสียภาษี


ข้อจำกัดทางกฎหมายในการระงับข้อพิพาทตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ศึกษากรณีกระบวนการโต้แย้งสิทธิที่มีหลายขั้นตอน, กัญญณัฎฐ์ สิริวรวัชร์ Jan 2020

ข้อจำกัดทางกฎหมายในการระงับข้อพิพาทตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ศึกษากรณีกระบวนการโต้แย้งสิทธิที่มีหลายขั้นตอน, กัญญณัฎฐ์ สิริวรวัชร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ข้อพิจารณาตามหลักการจำกัดขอบเขตการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Purpose Limitation) ตามภารกิจของกรมสรรพากร, พิชชาภา นิลละออ Jan 2020

ข้อพิจารณาตามหลักการจำกัดขอบเขตการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Purpose Limitation) ตามภารกิจของกรมสรรพากร, พิชชาภา นิลละออ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ความผิดจากการเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จของบริษัทจำกัดในการเสนอขาย หลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง (Crowdfunding), ฉัตรนรินทร์ บำเพ็ญวัฒนา Jan 2020

ความผิดจากการเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จของบริษัทจำกัดในการเสนอขาย หลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง (Crowdfunding), ฉัตรนรินทร์ บำเพ็ญวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ความเหมาะสมของการนำหลักการที่นำเสนอภายใต้มาตรการจัดเก็บภาษี ขั้นต่ำเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีโดยการถ่ายโอนกำไร (Pillar Two) ของ Oecd มาปรับใช้กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา, อุษา เขียวมณี Jan 2020

ความเหมาะสมของการนำหลักการที่นำเสนอภายใต้มาตรการจัดเก็บภาษี ขั้นต่ำเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีโดยการถ่ายโอนกำไร (Pillar Two) ของ Oecd มาปรับใช้กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา, อุษา เขียวมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการชำระเงินเพิ่มจากการไม่เสียอากรหรือการเสียอากรไม่ครบถ้วนที่เกิดขึ้นก่อนการใช้บังคับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560, พาทิศ เกษมคุณ Jan 2020

ปัญหาการชำระเงินเพิ่มจากการไม่เสียอากรหรือการเสียอากรไม่ครบถ้วนที่เกิดขึ้นก่อนการใช้บังคับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560, พาทิศ เกษมคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทบัญญัติว่าด้วยการชําระเงินเพิ่มจากการไม่เสียอากรหรือการเสียอากรไม่ครบถ้วนของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มีความเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 โดยพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ได้กําหนดให้ผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของออกจะต้องชําระเงินเพิ่มจากกรณีดังกล่าวในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มแต่เงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ในขณะที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ไม่ได้กําหนดให้เงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มแต่อย่างใด ผู้ศึกษาวิจัยพบว่ามีแนวคําพิพากษาของศาลที่ได้ตัดสินให้ผู้นําของเข้าต้องชําระเงินเพิ่มจากการเสียอากรขาเข้าไม่ครบถ้วนที่ได้เกิดขึ้นก่อนการใช้บังคับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 แต่เงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินอากรขาเข้าที่ต้องเสียเพิ่มตามบทบัญญัติของกฎหมายฉบับดังกล่าว ซึ่งจากการศึกษาบรรดาหลักกฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหลักการใช้บังคับของกฎหมายภาษีอากรในแง่ของเวลา หลักกฎหมายภาษีอากรไม่มีผลย้อนหลัง และหลักกฎหมายอาญาย้อนหลังเป็นคุณได้ ผู้ศึกษาวิจัยเห็นว่าแนวคําพิพากษาของศาลดังกล่าวไม่สอดคล้องกับบรรดาหลักกฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวข้องดังกล่าว และแนวคําพิพากษาของศาลดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อรัฐและผู้มีหน้าที่เสียอากร ผู้ศึกษาวิจัยจึงเห็นสมควรเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเสนอให้ศาลตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวให้สอดคล้องกับบรรดาหลักกฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวข้องดังกล่าว และแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับดังกล่าวให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับหลักความแน่นอนของหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดีของอดัม สมิธ (Adam Smith)


ปัญหาการตีความนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร, กัญจนภัคยฐ์ นวลมณี Jan 2020

ปัญหาการตีความนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร, กัญจนภัคยฐ์ นวลมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการนำหนังสือตอบข้อหารือภาษีอากรแบบกลุ่ม (Class Ruling) มาปรับใช้กับการเก็บภาษีฝ่ายสรรพากร, อัษฎาวุธ ไกรสิทธิ์ Jan 2020

ปัญหาการนำหนังสือตอบข้อหารือภาษีอากรแบบกลุ่ม (Class Ruling) มาปรับใช้กับการเก็บภาษีฝ่ายสรรพากร, อัษฎาวุธ ไกรสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้จัดทําขึ้นเพื่อมุ่งศึกษาเกี่ยวกับการนําหนังสือตอบข้อหารือภาษีอากรแบบกลุ่ม(Class Rulings) ในกรณีที่มีกลุ่มผู้เสียภาษีเดียวกันเช่น กลุ่มผู้ถือหุ้นของบริษัท กลุ่มนายจ้างหรือกลุ่มลูกจ้างในธุรกิจเครือ เดียวกันที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางภาษีเดียวกัน มีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายภาษีอากรแบบเดียวกัน ซึ่งใน ปัจจุบันฝ่ายสรรพากรไทยยังไม่มีการนําหนังสือตอบข้อหารือภาษีอากรแบบกลุ่ม(Class Rulings) มาปรับใช้กับการ ให้คําแนะนําทางกฎหมายโดยการตอบหนังสือข้อหารือภาษีอากรทําให้ผู้เสียภาษีไม่สามารถรวมตัวกันเพื่อขอ หนังสือตอบข้อหารือภาษีอากรไปในคราวเดียวกันได้ อีกทั้งปัจจุบันหนังสือตอบข้อหารือภาษีอากรมีสถานะเป็น เพียงการให้บริการแก่ประชาชนหรือการให้ความเห็นในทางกฎหมายเท่านั้นไม่มีผลบังคับผูกพันฝ่ายสรรพากรและ ผู้เสียภาษีส่งผลกระทบแก่ผู้เสียภาษีที่เชื่อโดยสุจริตและได้ปฏิบัติตามหนังสือตอบข้อหารือภาษีอากรนั้น ดังนั้นผู้ศึกษาจึงได้ศึกษาแนวความคิดและหลักเกณฑ์หนังสือตอบข้อหารือภาษีอากรแบบกลุ่ม(Class Rulings) ของฝ่ายสรรพากรออสเตรเลียเพื่อหารูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมในการนําหนังสือตอบข้อหารือภาษี อากรแบบกลุ่ม(Class Rulings) มาปรับใช้กับการเก็บภาษีฝ่ายสรรพากร ผู้เขียนมีความเห็นว่าฝ่ายสรรพากรไทยสมควรนําระบบหนังสือตอบข้อหารือภาษีอากรแบบกลุ่ม (Class Rulings) ของฝ่ายสรรพากรออสเตรเลียมาปรับใช้สำหรับการให้คำในเรื่องการส่งเสริมการส่งออกแนะนําทางกฎหมายโดยการตอบหนังสือข้อหารือภาษีอากรในกรณีที่มีกลุ่มผู้เสียภาษีเดียวกัน มีความเกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางภาษีเดียวกัน มีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายภาษีอากรแบบเดียวกันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขัดแย้งกันของหนังสือตอบข้อหารือภาษีอากรและแก้ไขปัญหาสถานะทางกฎหมายของหนังสือตอบข้อหารือภาษีอากรที่ไม่มีผลบังคับผูกพันฝ่ายสรรพากรและผู้เสียภาษีเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการบริหารจัดเก็บภาษีอากรและเพื่อให้สอดคล้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีต่อไป


ปัญหาของกระบวนการในการบังคับหลักประกันทางธุรกิจ, ชนาธิป ลิ้มขจรเดช Jan 2020

ปัญหาของกระบวนการในการบังคับหลักประกันทางธุรกิจ, ชนาธิป ลิ้มขจรเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาของกระบวนการในการบังคับหลักประกันทางธุรกิจตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ซึ่งกระบวนการในการบังคับหลักประกันทางธุรกิจยังมีความไม่ ชัดเจนในบางเรื่อง บางเรื่องกฎหมายมิได้กำหนดไว้ ทำให้เกิดปัญหาในการปรับใช้และตีความเกี่ยวกับกระบวนการ ในการบังคับหลักประกัน เอกัตศึกษานี้ทำการศึกษาโดยการสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลถึงสภาพปัญหาของกระบวนการบังคับ หลักประกันทางธุรกิจ โดยศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง บทความและหนังสือต่างๆ ซึ่ง นำมาวิเคราะห์กับหลักกฎหมาย Uniform Commercial Code ของประเทศสหรัฐอเมริกาและหลัก Floating Charge ของประเทศอังกฤษ วิจัยนี้พบว่ามีปัญหาในการบังคับหลักประกันทางธุรกิจในเรื่องการใช้สิทธิของผู้รับหลักประกันในการ บังคับหลักประกันทางธุรกิจ ขั้นตอนการบังคับหลักประกัน การใช้สิทธิทางศาลเกี่ยวกับการขอบังคับหลักประกัน และการขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐ ทำให้ผู้รับหลักประกันบังคับหลักประกันได้ช้าลง ซึ่งไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการบัญญัติกฎหมายฉบับนี้ เอกัตศึกษานี้ได้เสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 โดย การตัดเงื่อนไขในการบังคับหลักประกันออกบางส่วน เพื่อให้ผู้รับหลักประกันมีสิทธิในการบังคับหลักประกันได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดขั้นตอนในการบังคับหลักประกันไว้เป็นการเฉพาะ โดยไม่ต้องอาศัยการตีความ จากบทบัญญัติกฎหมายฉบับอื่น และกำหนดอำนาจในการใช้สิทธิทางศาลเพิ่มเติม เพื่อลดโอกาสในการยักย้าย ถ่ายเททรัพย์สิน และกำหนดเอกสารให้มีรูปแบบมาตรฐานและขั้นตอนในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น


ปัญหาของมาตรการบังคับเพื่อการจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, พรรษา ณะบุตรจอม Jan 2020

ปัญหาของมาตรการบังคับเพื่อการจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, พรรษา ณะบุตรจอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาความสัมฤทธิ์ผลในทางปฏิบัติของพระราชบัญญัติสถาบันการเงิน ประชาชน พ.ศ. 2562, ฐตรัชต์ อินทรสุขศรี Jan 2020

ปัญหาความสัมฤทธิ์ผลในทางปฏิบัติของพระราชบัญญัติสถาบันการเงิน ประชาชน พ.ศ. 2562, ฐตรัชต์ อินทรสุขศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ.2562 เป็นกฎหมายฉบับใหม่ที่พึ่งออกมาได้ไม่นาน โดยมี เจตนารมณ์เพื่อจะช่วยแก้ปัญหาให้แก่ประชาชนในระดับฐานรากที่มีปัญหาในการเข้าถึงบริการทางการเงินที่มี ประสิทธิภาพและเป็นธรรม อีกทั้งช่วยแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะในเรื่องการเข้าถึง บริการทางการเงินที่มีคุณภาพของประชาชนระดับฐานราก และเป็นการเพิ่มทางเลือกการให้บริการทางการเงิน ระดับชุมชนประเภทใหม่ รวมถึงเป็นการวางกรอบนโยบายที่ชัดเจนให้แก่หน่วยงานรัฐเพื่อทำการช่วยเหลือส่งเสริม ให้สถาบันการเงินประชาชนตามพระราชบัญญัตินี้ให้เข้มแข็ง เช่น การมีธนาคารรัฐเป็นผู้ประสานงานดูแลให้ คำแนะนำ ที่สำคัญคือ สถาบันการเงินประชาชนนี้จะไม่เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดิน กล่าวคือ ไม่มีการใช้เงิน อุดหนุนจากภาครัฐเป็นทุนในการดำเนินงาน ทุนทั้งหมดเป็นของประชาชนในการดำเนินงานของสถาบันการเงิน ประชาชน ซึ่งเงินเหล่านั้นอาจได้มาจากส่วนลงหุ้น หรือ เงินฝาก โดยสถาบันการเงินประชาชนนี้เป็นระบบการเข้า เป็นสมาชิกและจัดตั้งสถาบันแบบสมัครใจ เพื่อทำให้องค์กรทางการเงินชุมชนที่มีอยู่แล้วแต่เดิม ไม่ว่าจะเป็นนิติ บุคคลหรือไม่ก็ตาม ได้มีโอกาสยื่นขอแปลงสภาพให้มีความเป็นทางการและได้รับการคุ้มครองที่แน่นอน งานวิจัยฉบับนี้เน้นการศึกษาตัวบทและเจตนารมณ์เบื้องหลังกฎหมายของพระราชบัญญัติสถาบันการเงิน ประชาชน พ.ศ.2562 และ ทางปฏิบัติในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ศึกษาสภาพสังคมของผู้ที่ไม่มี โอกาสเข้าถึงบริการทางการเงิน และ ผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทยเป็นหลัก รวมถึงศึกษากฎเกณฑ์ ทฤษฎีที่ เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศประกอบ ซึ่งภายหลังการศึกษากลับพบว่ากฎหมายฉบับนี้ยังไม่อาจใช้ บังคับได้ผลในทางปฏิบัติอย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากมีอุปสรรคในเรื่องของ ความทับซ้อนของกฎหมาย กฎหมาย ขาดสิทธิประโยชน์และแรงจูงใจในการให้องค์การเงินชุมชนยกระดับเป็นสถาบันการเงินประชาชน เงื่อนไขในการยกระดับจัดตั้งเป็นสถาบันการเงินประชาชนตามกฎหมายนั้นเข้มงวดเกินไปไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมของ กลุ่มเป้าหมาย และ มีกลุ่มเป้าหมายบางส่วนยังไม่ทราบความมีอยู่ของกฎหมาย งานวิจัยฉบับนี้จึงเสนอให้มีการพิจารณาแก้ไขหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพสังคม ตามความเป็นจริงเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่ต้องกระทำอย่างระมัดระวัง รวมถึงให้รัฐ ประชาสัมพันธ์กฎหมายให้แพร่หลาย และ พยายามหาสิทธิประโยชน์ในการจูงใจให้องค์กรการเงินชุมชนยกระดับ ขึ้นเป็นสถาบันการเงินประชาชน เพราะเมื่อเกิดมีสถาบันการเงินประชาชนเกิดขึ้นได้มากตามเป้าหมายย่อมเป็น ประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง


ปัญหาความไม่ชัดเจนของกฎหมายกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book), พภัสสรณ์ พัฒนฉัตรรุ่งรุจ Jan 2020

ปัญหาความไม่ชัดเจนของกฎหมายกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book), พภัสสรณ์ พัฒนฉัตรรุ่งรุจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้ มุ่งศึกษาประเด็นปัญหาความไม่ชัดเจนของกฎหมายในการกำหนดประเภทและขอบเขตของหนังสือหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงรูปแบบของการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และแนวทางการคำนวณภาษีกรณีธุรกรรมที่ไม่สามารถแบ่งแยกราคาได้ อีกทั้งได้เสนอให้มีการจัดเก็บภาษีอัตราศูนย์สำหรับการจำหน่ายหนังสือหรือการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทตำราเรียน เนื่องจากประมวลรัษฎากรกำหนดให้มีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการจำหน่ายหนังสือหรือการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และตำราเรียน แต่อย่างไรก็ดี กฎหมายดังกล่าวไม่มีความชัดเจนแต่อย่างใด ทั้งกรณีการกำหนดประเภทและขอบเขตของหนังสือหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และรูปแบบการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่จะได้รับยกว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงวิธีการคำนวณภาษีกรณีการทำธุรกรรมที่ไม่สามารถแบ่งแยกราคาได้ ก็มิได้มีการกำหนดแนวทางในการคำนวณภาษีไว้ อันทำให้รัฐอาจสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษี นอกจากนี้ ควรกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราศูนย์สำหรับการจำหน่ายหนังสือหรือการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทตำราเรียน เพื่อให้ปลอดภาระภาษีโดยสิ้นเชิง ผู้เขียนจึงได้ศึกษาแนวคิดและกฎหมาย โดยพิจารณาเปรียบเทียบกับแนวทางการจัดเก็บภาษีหรับการจำหน่ายหนังสือหรือการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในสหราชอาณาจักร เพื่อเสนอแนะแนวทางอันทำให้กฎหมายมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น