Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 132

Full-Text Articles in Law

ปัญหาความเป็นสัญญาของทรัสต์ : ศึกษาร่างพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อการจัดการทรัพย์สินส่วนบุคคล พ.ศ. ..., ภัทรางค์ วิชุพงษ์ Jan 2020

ปัญหาความเป็นสัญญาของทรัสต์ : ศึกษาร่างพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อการจัดการทรัพย์สินส่วนบุคคล พ.ศ. ..., ภัทรางค์ วิชุพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปี 2561 ร่างพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อการจัดการทรัพย์สินส่วนบุคคล พ.ศ. .... ได้ผ่านการอนุมัติโดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว โดยเหตุผลในการตราร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวก็เพื่อนำทรัสต์มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพย์สินส่วนบุคคล ในวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความเป็นสัญญาของทรัสต์ โดยมีสมมติฐานว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความเป็นนิติกรรมสัญญา สถานะทางกฎหมายของกองทรัสต์ และลักษณะสิทธิเหนือกองทรัสต์ของทรัสตีและผู้รับประโยชน์ ดังนั้นจึงควรมีการปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อให้สามารถปรับใช้หลักการของทรัสต์ได้เป็นระบบและเหมาะสม และในการศึกษาวิจัยนี้ได้ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบวิธีการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลแบบวิจัยเอกสาร และได้ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายทรัสต์ของอังกฤษ โรมัน และญี่ปุ่น ผลการศึกษาพบว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ให้คำนิยามของคำว่า “ทรัสต์” ไม่ครบถ้วนเพราะไม่ครอบคลุมถึงบ่อเกิดของทรัสต์โดยพินัยกรรม และมิได้บัญญัติในส่วนของประเด็นมูลฐานของนิติกรรมสัญญาหลายประเด็น จะต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาปรับใช้เพื่ออุดช่องว่างของกฎหมาย นอกจากนี้ มิได้ปรากฏชัดเจนว่ากองทรัสต์มีสถานะทางกฎหมายอย่างไร พบว่า ทรัสต์เป็นกองทรัพย์สิน แต่มิใช่กองทรัพย์สินโดยทั่วไป การพิจารณาลักษณะของกองทรัสต์ต้องพิจารณามาตรา 12 (2) ประกอบมาตรา 28 วรรคสอง และมาตรา 53 อีกประการหนึ่ง คือ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับลักษณะสิทธิหนือกองทรัสต์ของทรัสตีและผู้รับประโยชน์ พบว่า ทรัสตีเป็นเจ้าของกองทรัสต์ ดังนั้นจึงมีลักษณะเป็นทรัพยสิทธิ แต่เป็นทรัพยสิทธิที่มีการจำกัดอำนาจกรรมสิทธิ์เฉพาะตามที่ร่างพระราชบัญญัติกำหนด ส่วนผู้รับประโยชน์มิใช่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของกองทรัสต์ จึงมีลักษณะเป็นบุคคลสิทธิ โดยสิทธิติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากบุคคลภายนอกตามมาตรา 47 วรรคสอง มิได้มีฐานจากกรรมสิทธิ์ แต่เป็นสิทธิที่ร่างกฎหมายกำหนดไว้เฉพาะกรณีที่ทรัสตีจัดการกองทรัสต์โดยมิชอบ ดังนั้นจึงสมควรแก้ไขถ้อยคำบางประการตามมาตรา 3 มาตรา 47 วรรคสองและมาตราอื่นที่เกี่ยวขัอง รวมทั้งเพิ่มเติมบทบัญญัติเฉพาะเกี่ยวกับทรัพยสิทธิของทรัสตี


แนวทางในการกำกับดูแลเกมคอมพิวเตอร์ตามระบบกฎหมายไทย, พิมพ์วิมล วัฒนชานนท์ Jan 2020

แนวทางในการกำกับดูแลเกมคอมพิวเตอร์ตามระบบกฎหมายไทย, พิมพ์วิมล วัฒนชานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การที่เกมคอมพิวเตอร์เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่สามารถสื่อสารเนื้อหา และมีอิทธิพลต่อความคิดและการกระทำของบุคคลได้ จึงทำให้รัฐทั่วโลกให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลเกมคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันผลกระทบของเกมที่อาจเกิดขึ้นต่อสังคม ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้น แม้ว่ารัฐจะได้มีการประกาศใช้กฎหมายเพื่อการกำกับดูแลเกมดังกล่าวแล้ว ก็ตาม แต่จากข้อเท็จจริงปรากฏว่า การกำกับดูแลเกมของประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพ และไม่อาจคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างเต็มที่ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาถึงประเด็นปัญหาของกำกับดูแล เกมคอมพิวเตอร์ตามระบบกฎหมายไทยในปัจจุบัน โดยเปรียบเทียบกับการกำกับดูแลเกมของต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับว่ามีกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลเกมที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยเพียงพอต่อการเจริญก้าวหน้าของอุตสาหกรรมเกม และสามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างเหมาะสม จากการศึกษา พบว่า การกำกับดูแลเกมคอมพิวเตอร์ตามระบบกฎหมายไทยมีความไม่เหมาะสมและ ไม่ทันสมัย จากการที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายในการกำกับดูแลเกมที่บังคับใช้อยู่นั้นมีข้อจำกัดในเรื่องต่าง ๆ และการมีองค์กรกำกับดูแลเกมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการกำกับดูแลเกมคอมพิวเตอร์ จึงได้เสนอถึงแนวทางในการบัญญัติกฎหมายให้สอดคล้องกับการกำกับดูแลเกมในสภาวการณ์ปัจจุบัน และการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลที่เหมาะสมกับการกำกับดูแล เกมคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นหนทางที่จะทำให้การกำกับดูแลเกมคอมพิวเตอร์ตามระบบกฎหมายไทยมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น โดยทำให้รัฐสามารถคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่เกี่ยวข้องได้อย่างถ้วนหน้า ไปพร้อม ๆ กับ การแสวงหาประโยชน์ในทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมเกมคอมพิวเตอร์ได้อย่างเต็มที่ต่อไป


ผลกระทบของการควบคุมความสูงอาคารตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ที่มีต่อการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ศุภฤกษ์ ไชยมาตย์ Jan 2020

ผลกระทบของการควบคุมความสูงอาคารตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ที่มีต่อการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ศุภฤกษ์ ไชยมาตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ได้มีการเติบโตและพัฒนาเป็นอย่างมาก ทั้งการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน และโรงแรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามย่านธุรกิจต่างๆ และตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร ที่ง่ายต่อการเดินทาง และสะดวกต่อการเข้าถึงนั้น ทำให้ภาคเอกชนต้องการที่จะเข้ามาลงทุน และพัฒนาที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลให้เป็นพื้นที่เหล่านั้นมีการเติบโตในด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างมาก ทั้งจากผู้ลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดความต้องการในตัวที่ดินเพื่อที่จะนำมาพัฒนาโครงการต่างๆ ซึ่งส่งผลให้ราคาที่ดินต่อตารางวาเพิ่มขึ้นในทุกๆปี จากความต้องการในการใช้ที่ดินของผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อทำการพัฒนาที่ดิน เพื่อพัฒนาในรูปแบบอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ตามรูปแบบของธุรกิจที่ผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้องการจะลงทุน ภายใต้ข้อกำหนดของพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ซึ่งก็คือการสร้างในพื้นที่ที่สามารถสร้างอาคารอยู่อาศัยรวม และอาคารขนาดใหญ่ ได้ในพื้นที่ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติข้างต้น โดยที่ปัจจุบันหลายโครงการด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะอาคารสำนักงานให้เช่าในพื้นที่ธุรกิจใจกลางเมือง ( CBD : Central Business District ) ซึ่งโดยเฉพาะอาคารสำนักงานให้เช่าเกรด A เช่นในเขตพื้นที่เพลินจิต ชิดลม อโศก สีลม และสาทร เป็นต้น พบว่ามีอัตราการเช่าเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ให้เช่า โดยพบว่าความต้องการของพื้นที่เช่าอาคารสำนักงานเพื่อประกอบธุรกิจนั้น เพิ่มขึ้นประมาณ 200,000 ตารางเมตร ในทุกๆปี โดยมีการคาดว่าพื้นที่อาคารสำนักงานที่ถูกเช่าเพิ่มขึ้นในแต่ละปีจะอยู่ที่ระดับนี้ต่อไป ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการพื้นที่สำนักงานที่มาจากทั้งบริษัทไทยและบริษัทข้ามชาติที่ต้องการเข้ามาตั้งสำนักงานในประเทศไทย ทำให้มีความต้องการในพื้นที่เช่าอาคารสำนักงานมากขึ้น และเป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นที่น่าสนใจในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในการพัฒนาโครงการอาคารสำนักงานให้เช่า ซึ่งหากผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตัดสินใจลงทุนและได้เข้าพัฒนาโครงการ โดยใช้ประโยชน์ในที่ดินตามความสามารถในการพัฒนาที่ดินของผู้ประกอบการแล้วนั้น จะสามารถเพิ่มพื้นที่เช่า และส่งผลต่อรายได้ค่าเช่า และกำไรของกิจการโดยตรงจากการให้เช่าในพื้นที่เช่าได้ตามขนาดการลงทุนของผู้ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยสภาพของการใช้พื้นที่ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครในปัจจุบันนั้น โดยเฉพาะในย่านใจกลางเมือง หรือศูนย์กลางเขตธุรกิจ จะพบว่าที่ดินมีราคาค่อนข้างสูงและยากที่จะหาพื้นที่ที่ใหญ่พอจะสร้างอาคารสูงสำหรับพัฒนาโครงการได้ จึงมีโอกาสเป็นไปได้ยากที่จะมีการสร้างอาคารใหม่ๆ ที่มีขนาดใหญ่ได้ ซึ่งหากต้องการพัฒนาที่ได้ในพื้นที่ดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อาจเลือกที่จะทำการทุบอาคารเดิมของโครงการที่มีอยู่ก่อน เพื่อทำการลงทุนสร้างอาคารใหม่ในพื้นที่เดิม เช่น โครงการโรงแรมดุสิตธานี เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้มีค่าใช่จ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับปรับที่ดินให้มีความพร้อมก่อนที่จะเริ่มเข้าไปทำการพัฒนาพื้นที่และพัฒนาโครงการใหม่เกิดขึ้น ผู้ศึกษามองว่า ข้อกำหนดในพระราชบัญญัติที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นอุปสรรคต่อการเริ่มต้นที่จะพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ซึ่งจะพบว่าตัวข้อกำหนดมีลักษณะล้าหลัง หากเทียบกับ ความรู้ความสามารถในการก่อสร้าง หรือเทคโนโลยีต่างๆในปัจจุบัน โดยเมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์โดยรวม ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ส่วนใหญ่จะคำนึงถึงด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ซึ่งผู้ศึกษามองว่าหากผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหริมทรัพย์สามารถจัดทำ และดูแลกำกับควบคุม ให้โครงการต่างๆ ภายใต้การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั้น ปลอดภัยและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วนั้น การควบคุมความสูงของอาคาร จึงไม่จำเป็นมากนัก หากมีการออกแบบที่เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการก่อสร้างต่างๆ มีการพัฒนาไปอย่างมากการที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต้องการที่จะสร้างตึกที่สูง แต่สามารถดูแลด้านต่างๆตามที่ข้อกฎหมายได้กำหนดไว้แล้วนั้น ข้อกฎหมายในส่วนที่กำหนดถึงความสูงของอาคารข้างต้น อาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาการออกแบบและสร้างอาคาร หากเพียงแค่พิจารณาเฉพาะด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องแทน


การกำกับดูแลการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์ : กรณีศึกษามาตรการ Ltv (Loan To Value Ratio), นิสาชล กะการัมย์ Jan 2020

การกำกับดูแลการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์ : กรณีศึกษามาตรการ Ltv (Loan To Value Ratio), นิสาชล กะการัมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องการกำกับดูแลการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์: กรณีศึกษา มาตรการ LTV (Loan to Value Ratio) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสาระสำคัญของประกาศธนาคาร แห่งประเทศไทยที่ สนส.24/2561 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.1/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ลง วันที่ 11 ธันวาคม 2561 และลงวันที่ 20 มกราคม 2563 ตามลําดับ (2) ศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบของ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.24/2561 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 1/2563 เรื่องหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่ อยู่อาศัย ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินให้กับลูกค้ารายย่อย (3) ศึกษาถึงรูปแบบของการกํากับดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ ในการกํากับดูแลการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่ อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน และ (4) นําเสนอ ข้อเสนอแนะ และแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย สําหรับการดูแลการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน การศึกษานี้เป็นการศึกษาค้นคว้าเชิงเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้อง หลากหลายประเภททั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์สาระสำคัญของ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินให้แก่ลูกค้ารายย่อย โดยวิธีการใช้มาตรการ (Loan to Value Ratio: LTV) ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับประเทศมาเลเซีย และวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกรณีการกํากับ ดูแลการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์ ผลการศึกษา พบว่า หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับมาตรการ LTV ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 พบว่าสัญญาณการเก็งกําไร และความไม่สมดุลในตลาดอสังหาริมทรัพย์ปรับ ลดลงสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมาตรการ ในขณะที่ราคาที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะอาคารชุดมีแนวโน้มปรับ ลดลงและผู้ประกอบการเริ่มชะลอการเปิดโครงการใหม่ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะอาคารชุดในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของอุปสงค์ต่างชาติ และมีอุปทานคงค้าง อยู่ในระดับสูงตั้งแต่ก่อนการประกาศใช้มาตรการ LTV อาจต้องใช้เวลานานขึ้นในการปรับตัว จึงยังต้อง ติดตามการปรับตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับอุปสงค์ที่เปลี่ยนแปลงใน อนาคตต่อไป อันมีรายละเอียดสำคัญ คือ การปรับตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์หลังการปรับมาตรการและ การประเมินประสิทธิผลของมาตรการ LTV ช่วงปี 2560-2561 ของภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยพบว่า …


การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านการทำสัญญา ศึกษากรณีธุรกิจขายห้องชุด, ธนบดี ธิแก้ว Jan 2020

การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านการทำสัญญา ศึกษากรณีธุรกิจขายห้องชุด, ธนบดี ธิแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านการทำสัญญา ศึกษา กรณีธุรกิจขายห้องชุด เนื่องจากปัจจุบันที่อยู่อาศัยประเภทห้องชุดหรือคอนโดมิเนียมได้รับความนิยม เพิ่มมากขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของประชาชนเพื่อเข้ามาทำงานและประกอบ อาชีพในเขตเมือง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบค่านิยมการอยู่อาศัยของสังคมไทย เมื่อธุรกิจ ขายห้องชุดเติบโตมากขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจก็รีบทำห้องชุดออกขาย และอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญ ในการทำสัญญาและอำนาจในการต่อรองจัดทำสัญญาสำเร็จรูปในการซื้อขายห้องชุดไว้ล่วงหน้า โดยกำหนดข้อสัญญาที่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องชุดไม่ได้รับความเป็น ธรรมในการทำสัญญา อย่างไรก็ตาม แม้รัฐจะได้เข้าแทรกแซงและควบคุมการทำสัญญาในธุรกิจขาย ห้องชุด และได้กำหนดแบบสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด หรือแบบ อ.ช. 22 เอาไว้ แต่ก็ยังพบว่า มีประชาชนผู้ซื้อห้องชุด ซึ่งถือว่าอยู่ในฐานะผู้บริโภคเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งพบว่ายังมีปัญหาการควบคุมและบังคับใช้ แบบสัญญามาตรฐาน ปัญหาหน่วนงานของรัฐในการกำกับดูแลการทำสัญญา และปัญหา มาตรการลงโทษ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ด้านการทำสัญญาในธุรกิจขายห้องชุดยังไม่เหมาะสม จึงท าให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม ด้านการทำสัญญา จากการศึกษาพบว่า ในการำาสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์มาตรา 456 วรรคสอง ไม่ได้ก าหนดให้ต้องท าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน และยังไม่ได้กำหนดแบบของสัญญาจะซื้อจะขายเอาไว้ ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถตกลงทำ สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกันได้เอง แม้ไม่ได้ท าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สัญญาดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ ไม่ตกเป็นโมฆะ และพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที ่ 4) พ.ศ. 2551 ซึ่งได้กำหนดไว้ว่า กรณีที่สัญญาจะซื้อจะขายไม่ทำตามแบบสัญญาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและไม่เป็นคุณต่อผู้จะซื้อ ให้ถือว่าสัญญาส่วนนั้นไม่มีผลใช้บังคับ แต่หากข้อสัญญาเป็นคุณต่อผู้จะซื้อแม้ไม่ได้ทำตามแบบสัญญาก็ถือว่าสัญญา ส่วนนั้นมีผลใช้บังคับได้ จึงทำให้เกิดช่องว่างทางกฎหมายในการแก้ไขเปลี่ยนแปลง แบบของสัญญาได้ ทำให้ไม่สามารถควบคุมและบังคับใช้แบบสัญญาได้อย่างเด็ดขาดผู้ประกอบธุรกิจ จึงอาศัยช่องว่างทางกฎหมายดังกล่าวในการแก้ไขเพิ่มเติมข้อสัญญาที่เอาเปรียบและไม่เป็นคุณแก่ ผู้ซื้อ และยังหลีกเลี่ยง ไม่ใช้แบบสัญญามาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด ประกอบกับกรมที่ดินซึ่งเป็น หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจโดยตรงในการกำกับดูแลด้านสัญญาในธุรกิจขายห้องชุด และได้กำหนดให้ ใช้แบบสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด หรือแบบ อ.ช. 22 เอาไว้ แต่กลับไม่มีหน่วยงานโดยเฉพาะใน การควบคุมกำกับดูแลและตรวจสอบการท าสัญญาในธุรกิจซื้อขายห้องชุด และไม่มีพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะในการตรวจสอบการทำสัญญา อีกทั้ง ยังไม่มีอำนาจในการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาลแทน ผู้ซื้อ จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมและบังคับใช้กฎหมายได้อย่างจริงจัง สำหรับในเรื่องมาตรการลงโทษ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจได้ฝ่าฝืนไม่ใช้แบบสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด หรือแบบ อ.ช. 22 ตามที่กฎหมายกำหนดนั้น ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา …


การจัดทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นเพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจครอบครัว, รัฐพงษ์ วัฒนาพร Jan 2020

การจัดทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นเพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจครอบครัว, รัฐพงษ์ วัฒนาพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจครอบครัวมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจโลกและต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย มีการประมาณการว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจบนโลกใบนี้คือธุรกิจครอบครัว สำหรับประเทศไทย มีการประมาณว่า 72 เปอร์เซ็นต์ของระบบเศรษฐกิจไทยคือธุรกิจครอบครัว ธุรกิจครอบครัวเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยและทำให้เกิดการจ้างแรงงานมากมายเพื่อมาปฏิบัติการในองค์กรธุรกิจครอบครัวเหล่านี้ อาการส่งต่อธุรกิจครอบครัวไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ และธุรกิจครอบครัวเกิดความล่มสลาย นอกจากจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยแล้วยังส่งผลต่อภาคแรงงานส่วนใหญ่ ก่อให้เกิดภาวะการว่างงานและกลายเป็นปัญหาสำหรับรัฐบาลที่ต้องเพิ่มมาตรการเยียวยาและใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อแก้ปัญหา ในระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาธุรกิจครอบครัวในประเทศไทยเกิดคดีความมากมายที่สืบเนื่องมาจากการขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์การชิงอำนาจการบริหารงานระหว่างสมาชิกกันเอง โดยปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดในสมาชิกรุ่นที่ 2 เส้นทางให้การส่งต่อธุรกิจครอบครัวไปยังรุ่นที่ 3 เป็นไปได้ยากหรืออาจจะเป็นไปไม่ได้เลย ความขัดแย้งกันในบางกรณีเป็นการฟ้องร้องกันและให้กฎหมายเป็นผู้ตัดสิน แต่ในบางกรณีก็บานปลายจนกระทบความสัมพันธ์ของครอบครัวจนเลือกที่จะใช้ความรุนแรงถึงขั้นจ้างวานฆ่าสมาชิกในครอบครัวเพื่อจบปัญหา ในขณะเดียวกันก็มีธุรกิจครอบครัวไทยที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการส่งต่อธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งการส่งต่อธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นนั้นประกอบด้วยหลายปัจจัย เช่นความสามารถในการเป็นผู้บริหารเจ้าของกิจการและบริหารคนในครอบครัวไปพร้อมกัน ความสามารถของทายาทที่จะรับช่วงสืบทอดธุรกิจ ความสามารถในการบริหารความขัดแย้งเป็นต้น นอกจากให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวแล้ว ยังต้องมีการนำหลักและวิธีการทางกฎหมายเข้ามาจัดการและบังคับภายในองค์กรธุรกิจครอบครัวอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะลดความขัดแย้งในครอบครัวรวมถึงส่งเสริมให้ธุรกิจไทยสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน กฎหมายอาจเป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นในการสร้างแผนสืบทอดธุรกิจครอบครัวรวมถึงช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจครอบครัวไทยดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนและจากการสันนิษฐานนี้ จึงเป็นที่มาของการศึกษาเพื่อค้นหาเรื่อง การจัดทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นเพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจครอบครัว โดยกำหนดคำถามวิจัยไว้ว่า การจัดทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนในธุรกิจครอบครัวได้อย่างแท้จริง และควรเผยแผ่ ชักจูงให้ธุรกิจครอบครัวไทยหันมาให้ความสำคัญและเริ่มจัดทำแผนการสืบทอดธุรกิจรวมถึงเอกสารทางกฎหมาย เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางบังคับให้สมาชิกในครอบครัวหลีกเลี่ยงการสร้างปัญหาให้กับธุรกิจ เป็นแผนรับมือเบื้องต้นเมื่อเกิดปัญหา และหากปัญหานั้นไม่สามารถจัดการกันได้เองภายในครอบครัว ยังสามารถนำเอกสารที่สร้างขึ้นจากกฎหมายนี้เข้าจัดการแทนได้


การประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไข เพิ่มเติม ในมุมมองของภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ, ศุภมาศ พงษ์ภาคิน Jan 2020

การประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไข เพิ่มเติม ในมุมมองของภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ, ศุภมาศ พงษ์ภาคิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่รวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป ใน หลายๆ ด้าน ซึ่งรวมถึงการทำธุรกรรมต่างๆ ในปัจจุบันที่มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการทำธุรกรรมจากการ ติดต่อโดยตรง ไปสู่การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เนื่องจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีความ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีสถานะทางกฎหมาย จึงมีการตรา พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมขึ้น มีเจตนารมณ์เพื่อรับรอง การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และส่งเสริมการทำธุรกรรมของผู้ประกอบการเอกชนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรม ให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการมุ่งศึกษาปัญหาของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส พ.ศ. 2544 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมเบื้องต้นในการปรับปรุงเพิ่มเติมแก้ไขกฎหมายและ แนวทางการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย จากการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับ แก้ไขเพิ่มเติม ในมุมมองของภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ พบว่า ผู้ประกอบการเห็นถึงความจำเป็นของการ ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม แต่ในมิติของการบังคับ ใช้กฎหมายพบว่า พบว่า ปัจจุบันกฎหมายยังไม่สามารถใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากความไม่พร้อม ของภาครัฐที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น จึงมีข้อเสนอแนะดังนี้ ภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ สามารถรับรองธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดย ผลักดันภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้สร้างความตระหนักรู้ให้แก่บุคลากรภาครัฐในหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจ รวมไปถึงความจำเป็นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การรับรองพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้การปฏิบัติจริงสอดคล้องกับกับเจตนารมณ์ทางกฎหมาย แม้ว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีเจตนารมณ์เพื่อรองรับผลทางกฎหมายของ ข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความเท่าเทียมทางกฎหมายให้เท่าเทียมกับข้อความที่อยู่ในรูปของ เอกสารกระดาษ การเพิ่มเติมส่วนของกระบวนการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางกฎหมายให้ชัดเจนมากขึ้น โดยการมีหลักเกณฑ์ที่ ชัดเจนในการเปรียบเทียบระหว่างผลกระทบและผลสัมฤทธิ์ รวมถึงแนวทางในการนำผลสัมฤทธิ์มาไปพิจารณา ต่อไป การส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจดิจิทัลและธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสนับสนุนและ ส่งเสริมการพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ หน่วยงานรัฐควรมีการ ส่งเสริมและสนันสนุนให้ผู้ประกอบการมีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ ผู้ประกอบการ โดยออกแนวทางหรือมาตรฐานที่ครอบคลุมและมีความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละธุรกิจ


การสำคัญผิดในสาระสำคัญของข้อเท็จจริงในข้อยกเว้นความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ และผลทางกฎหมายอาญา, ณภัทร์กมล ศรีสกุลภิญโญ Jan 2020

การสำคัญผิดในสาระสำคัญของข้อเท็จจริงในข้อยกเว้นความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ และผลทางกฎหมายอาญา, ณภัทร์กมล ศรีสกุลภิญโญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ ยังมีปัญหาในเรื่องการพิเคราะห์เจตนาของ ผู้กระทําความผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของการสําคัญผิดในสาระสําคัญของข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบ ความผิดตามมาตรา ๖๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หากผู้กระทําผิดสําคัญผิดว่าตนเองนั้นมีเหตุในการยกเว้น การขอคํายินยอมตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ ผลในทางกฎหมาย จะเป็นเช่นไร และการบัญญัติข้อยกเว้นในลักษณะดังกล่าวจะเป็นไปได้เพียงใดที่จะก่อให้เกิดความสําคัญผิดขึ้นได้ การศึกษาของรายงานฉบับนี้จะมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์ปัญหาในการสําคัญผิดในสาระสําคัญของข้อเท็จจริงใน ข้อยกเว้นความยินยอมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา ๒๔(๓) และมาตรา ๒๔(๕) ประกอบ กับทฤษฎีองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๒ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(e-Commerce) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการศึกษาของรายงานฉบับนี้จะมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์ปัญหาในการสําคัญ ผิดในสาระสําคัญของข้อเท็จจริงในข้อยกเว้นความยินยอมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา ๒๔(๓) และมาตรา ๒๔(๕) ประกอบกับทฤษฎีองค์ประกอบความรับผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๒ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์e-Commerce โดยใช้วิธีศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางเอกสาร และรวบรวมข้อมูลต่างจาก ตําราวิชาการ บทความ และแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือทางอินเตอร์เน็ต พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๒๔ (๓) และ มาตรา ๒๔(๕) ห้ามมิให้ผู้ ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทําการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วน บุคคล เว้นแต่ เป็นการจําเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญาหรือเพื่อใช้ในการ ดําเนินการตามคําขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าทําสัญญานั้นและฐานผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมาย การตีความข้อยกเว้นความยินยอมฐานผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายมีความอ่อนไหวในการใช้งานต้อง มีการตีความตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญาโดยจะใช้ฐานการสําคัญผิดในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมาย อาญาและเนื่องจากการในพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่มีข้อยกเว้นสําหรับการพัฒนาธุรกิจและข้อยกเว้นในการขอ ความยินยอมก็มีความไม่ชัดเจนในขอบเขตการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลจึงนําไปสู่ความเสี่ยงในการทําผิดหมาย คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากความเข้าใจผิดในสาระสําคัญของผู้ประกอบการ


ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่เป็นธรรม : ศึกษากรณีใช้ที่อยู่อาศัยเพื่อการพาณิชยกรรมแบบไม่มีหน้าร้าน, กรรณิการ์ โสวรรณี Jan 2020

ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่เป็นธรรม : ศึกษากรณีใช้ที่อยู่อาศัยเพื่อการพาณิชยกรรมแบบไม่มีหน้าร้าน, กรรณิการ์ โสวรรณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อรูปแบบของการดําเนินชีวิตและการดําเนินธุรกิจ มากขึ้นจนเกิดเป็นช่องทางใหม่ในการดําเนินธุรกิจผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) หรือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์E-Commerce การดําเนินธุรกิจในรูปแบบผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ สามารถดําเนินธุรกิจที่บ้านก็ได้โดยไม่จําเป็นที่จะต้องมีหน้าร้านเหมือนการค้าขายสมัยก่อนที่ต้องมี หน้าร้านให้เห็นชัดเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ การใช้ที่อยู่อาศัยดําเนินธุรกิจในรูปแบบพาณิชยกรรมแบบไม่มีหน้าร้านจะถูกจัดเป็นการใช้ ประโยชน์หลายประเภท โดยการคํานวณภาษีจะเก็บตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในแต่ละ ประเภทโดยที่ดินจะคํานวณเป็นตารางวาและสิ่งปลูกสร้างเป็นตารางเมตร ซึ่งตามพระราชบัญญัติ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มีการกําหนดประเภทของการใช้ประโยชน์ไว้อย่างชัดเจน แต่ การสํารวจและประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจะมีข้อจํากัดใน ด้านบุคคลากรด้านการสํารวจ ซึ่งรูปแบบการขายสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์นั้น เจ้าของที่ดินหรือ สิ่งปลูกสร้างอาจจะไม่ได้ระบุว่า ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชยกรรม ทําให้อาจจะถูก ประเมินเป็นการใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว เพราะไม่มีลักษณะทางกายภาพของ หน้าร้าน โดยพื้นที่ภายในของที่อยู่อาศัยอาจมีการประกอบธุรกิจเพื่อการพาณิชยกรรม เช่น การขาย สินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือมีสินค้าเก็บไว้ภายในที่อยู่อาศัย เป็นต้น ซึ่งจะแตกต่างจาก เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ที่อยู่อาศัยเพื่อการพาณิชยกรรมแบบมีหน้าร้านที่มีลักษณะทาง กายภาพของร้านเห็นได้อย่างชัดเจน จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยเห็นว่า ภาครัฐควรเพิ่มมาตรการที่มีความเหมาะสมและ สอดคล้องกับความเป็นจริงเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถทราบข้อมูลอื่นเพิ่มเติม ในอันที่จะเป็นประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีตามสัดส่วนของการใช้ประโยชน์จากเจ้าของที่ดินและหรือ สิ่งปลูกสร้างที่ใช้ที่อยู่อาศัยเพื่อการพาณิชยกรรมแบบไม่มีหน้าร้าน เช่น การใช้ฐานข้อมูลเพื่อ เชื่อมโยงกันเป็นระบบของภาครัฐ ได้แก่ กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมที่ดินและรวมถึง ผู้ให้บริการขายสินค้าออนไลน์ เช่น Facebook เป็นต้น ในอันที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นสําหรับเป็นฐานข้อมูลในการทราบถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของเจ้าของที่ดินและ หรือสิ่งปลูกสร้างโดยจะส่งผลถึงประเภทของการใช้ประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างนั้นให้สามารถจัดเก็บ ภาษีได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับความจริงและเป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีรายอื่น


ปัญหาการประเมินเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, ภารวี เกียรติเสรีธรรม Jan 2020

ปัญหาการประเมินเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, ภารวี เกียรติเสรีธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ประเทศไทยจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งมีวิธีการประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แตกต่างไปจากพระราชบัญญัติ โรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 ที่เคยใช้ในการจัดเก็บมาก่อน กรมส่งเสริมการปครองท้องถิ่นให้ความเห็น ว่าเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่เป็นสิ่งปลูกสร้างที่จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต่างไปจากที่ ผ่านมา เพราะการประเมินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 เสาส่งสัญญาณ โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างหนึ่งที่ต้องจัดเก็บภาษี การไม่จัดเก็บภาษีสำหรับเสาส่งสัญญาณ โทรศัพท์เคลื่อนที่ อาจเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่ถูกต้อง และจะทำให้หน่วยงานท้องถิ่นสูญเสียรายได้ เอกัตศักษาเล่มนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงหลักการที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีในประเทศไทย และ การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของนครนิวยอร์ก (New York City) มลรัฐนิวยอร์ก (New York State) ประเทศ สหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาวิเคราะห์ความเหมาะสมและแนวทางในการประเมินเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในประเทศไทย จากการศึกษา พบว่า เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีลักษณะเป็นทรัพย์สินที่มีความคงทนถาวร มี มูลค่าที่วัดได้ ก่อให้เกิดประโยชน์และรายได้ต่อผู้เป็นเจ้าของ บุคคลอื่นใช้ประโยชน์ทางอ้อมจากระบบสัญญาณ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ให้บริการ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของทรัพย์สินที่จะต้องน ามาเสียภาษี ดังนั้นเสาส่งสัญญาณ โทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงควรถูกประเมินเป็นสิ่งปลูกสร้าง และถูกจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตาม พระราชบัญญัติภาษที่ดินและสิ่งปลูกสร้า พ.ศ. 2562 ดังนั้น กรมส่งเสริมการปกรครองท้องถิ่นควรสื่อสารและสร้างความเข้าใจกับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ถูกต้อง เพื่อแก้ไขความเข้าใจที่ผิดพลาดในการจัดเก็บ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยออกประกาศ หลักเกณฑ์หรือแนวทาง ปฏิบัติในการจัดเก็บภาษี เพื่อทำให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีและผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีมีความเข้าใจที่ตรงกัน และนำ วิธีประการเมินมูลค่าเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ของมลรัฐนิวยอร์ก มาปรับใช้ในการกำหนดราคาประเมินของเสา ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย


ปัญหาของการรับรู้รายได้และรายจ่ายในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทประกันชีวิต, ณัฐพงษ์ บุญรังษี Jan 2020

ปัญหาของการรับรู้รายได้และรายจ่ายในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทประกันชีวิต, ณัฐพงษ์ บุญรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การรับรู้รายได้และรายจ่ายของธุรกิจประกันชีวิตต้องอาศัยการคำนวณโดยใช้การประมาณ การและสมมติฐานที่สำคัญ เช่น สมมติฐานทางคณิตศาสตร์ประกันภัย ความเสี่ยงทางด้านการเงิน ความเสี่ยงจากตัวสัญญาประกันภัย และการคิดลดมูลค่าเงินปัจจุบัน เป็นต้น เมื่อทำการศึกษาการรับรู้ รายได้และรายจ่ายเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ ใช้เกณฑ์สิทธิ์โดยให้รับรู้รายจ่ายสำรองประกันชีวิตและรายจ่ายสำรองเบี้ยของสัญญาที่ไม่ใช่สัญญา คุ้มครองชีวิตเฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 65 และ 40 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับในรอบ ระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกันภัยซึ่งเอาประกันต่อออกแล้ว ตามลำดับ หลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับลักษณะการรับรู้รายได้และรายจ่ายตามรูปแบบการ ดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงการรับรู้รายได้และรายจ่ายทางบัญชีรูปแบบใหม่ตามมาตรฐานการ รายงานทางการเงินฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ที่จะมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2567 และ กำหนดให้บริษัทรับรู้รายได้และรายจ่ายจากการรับประกันภัยสำหรับความคุ้มครองที่เหลืออยู่โดย สะท้อนการให้การบริการตามสัญญาและสิ่งตอบแทนที่บริษัทคาดว่าจะมีสิทธิได้รับจากการให้บริการ ดังกล่าวโดยใช้หลักการปันตามการล่วงของเวลา ความแตกต่างดังกล่าวส่งผลให้เกิดผลต่างระหว่าง กำไร (ขาดทุน) สุทธิทางภาษีและกำไรที่ (ขาดทุน) ที่แท้จริงจากการดำเนินธุรกิจ ทำให้เกิดต้นทุนค่า เสียโอกาสในการนำเงินรายได้เบี้ยประกันภัยไปลงทุนเพื่อให้เกิดผลตอบแทนส่วนเพิ่มและเงินสำรอง ของบริษัทที่ควรกันไว้สำหรับผู้เอาประกันภัย เมื่อทำการศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้และรายจ่ายของบริษัท ประกันชีวิตของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐเกาหลีพบว่ามี ความสอดคล้องกันระหว่างกับลักษณะการรับรู้รายได้และรายจ่ายตามรูปแบบการดำเนินธุรกิจของ บริษัทประกันชีวิต รวมถึงหลักการทางบัญชีและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรฐานการบัญชีและ มาตรฐานการรายงานทางการเงินและรายงานตามข้อบังคับที่บริษัทถือปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ส่งผลให้ รายจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เกิดขึ้นมีความสมเหตุสมผลและไม่เป็นภาระที่เกินความจำเป็น ดังนั้น การแก้ไขบทบัญญัติตามกฎหมายให้บริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยสามารถรับรู้ รายได้และรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลที่สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจ ตามที่ได้มีการ ปฏิบัติในต่างประเทศ นอกจากจะทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ภาคธุรกิจในเรื่องของภาระรายจ่ายภาษี เงินได้ ยังช่วยเพิ่มสภาพคล่อง เงินสำรองและเงินทุนสะสม เพื่อใช้ในการลงทุนและเกิดประโยชน์ต่อผู้ เอาประกันภัย


มาตรการควบคุมการจำหน่ายอาหารในลักษณะสตรีทฟู้ด กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร, นันทวรรณ อินทรักษ์ Jan 2020

มาตรการควบคุมการจำหน่ายอาหารในลักษณะสตรีทฟู้ด กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร, นันทวรรณ อินทรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการควบคุมการจำหน่ายอาหารในลักษณะ สตรีทฟู้ด กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารสตรีทฟู้ด และศึกษามาตรการควบคุมการจำหน่ายอาหารในลักษณะสตรีทฟู้ดในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อ นำมาพัฒนาและส่งเสริมการประกอบธุรกิจสตรีทฟู้ด และทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงการบริโภคอาหารที่ ปลอดภัย อร่อย สะดวกและราคาไม่แพงมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่สังคมไทยต้อง เผชิญทั้งในระบบเศรษฐกิจ สุขอนามัยและชีวิตความเป็นอยู่ ฐานะการเงินในการดำรงชีวิต อีกทั้ง วิกฤตการณ์โควิด 19 อย่างไรก็ตามกฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายอาหารสตรีทฟู้ด รัฐได้กำหนดข้อ กฎหมายตั้งแต่พระราชบัญญัติไปจนถึงประกาศกรุงเทพมหานคร และมีลักษณะของเนื้อหากฎหมาย เพื่อกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสตรีทฟู้ดในรูปแบบมาตรการควบคุม มีกฎเกณฑ์สำหรับการดำเนิน ธุรกิจ มีการใช้ระบบใบอนุญาต และกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และมีการ บังคับใช้กฎหมายตามแต่เขตพื้นที่นั้น แต่ปัจจุบันพบว่ากฎหมายในเนื้อหาบางส่วนที่บังคับใช้ใน ปัจจุบันยังคงไม่คลอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายที่ยังคงไม่เป็นระบบ จากการศึกษามาตรการควบคุมการจำหน่ายอาหารในลักษณะสตรีทฟู้ดในประเทศ สหรัฐอเมริกา ผู้วิจัยเห็นว่าสามารถนำมาปรับใช้กับกรุงเทพมหานครได้ โดยกำหนดข้อกฎหมายทั้งข้อ ปฏิบัติและข้อห้ามปฏิบัติเกี่ยวกับสุขลักษณะอนามัยของการจำหน่ายอาหารในลักษณะสตรีทฟู้ด ส าหรับมาตรการควบคุมของภาครัฐเชิงพื้นที่และเชิงการบริหารจัดการ มีการน าเอาเทคโนโลยีเช่น ระบบกำหนดตำแหน่งที่ตั้ง ระบบการกำหนดพื้นที่จำหน่ายอาหารในที่สาธารณะ ระบบการสมัครยื่น ขอหรือต่อใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจสตรีทฟู้ดผ่านช่องทางออนไลน์มาใช้ในการปฏิบัติงาน รวมถึงจัดทำคู่มือเกี่ยวกับขั้นตอนการจำหน่ายอาหารในลักษณะสตรีทฟู้ดในรูปแบบที่มีเนื้อหาชัดเจน และคลอบคลุมผ่านสื่อออนไลน์ มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและผู้เกี่ยวข้องที่มีความชำนาญ เฉพาะในการสร้างองค์ความรู้ การวางแผนนโยบายต่าง ๆ เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานของรัฐ ท าให้ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสตรีทฟู้ดมีโอกาสในการ ประกอบกิจการมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนาและส่งเสริมให้ธุรกิจสตรีทฟู้ดของ กรุงเทพมหานครให้เติบโตในระดับสากลมากยิ่งขึ้น


มาตรการความช่วยเหลือต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019, กิตติพัฒน์ เพียรธรรม Jan 2020

มาตรการความช่วยเหลือต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019, กิตติพัฒน์ เพียรธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมานั้น ได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และของทุกประเทศ และทุกธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งหนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง คือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งนับได้ว่าเป็นภาคเศรษฐกิจหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย สถานการณ์ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นี้มีผลต่อเนื่องถึงภาคเศรษฐกิจอื่นมากมาย รวมทั้งมีความสำคัญสูงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์เป็นสินทรัพย์หรือหลักประกันที่สำคัญของภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวของภาคอสังหาริมทรัพย์ จะส่งผลต่อเนื่องไปยังภาคเศรษฐกิจต่างๆ ของประเทศ ซึ่งรัฐจำเป็นต้องเร่งผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงสามารถอยู่รอดกลับมาเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตได้ยั่งยืนต่อไป มาตรการทางภาษีหลักๆ ที่ใช้กอบกู้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้นค่อนข้างคล้ายคลึงทั่วโลกคือการ "เลื่อน" และ "ลด" สำหรับประเทศไทย ได้เลื่อนการชำระภาษีนิติบุคคลออกไปสามเดือนและหนึ่งเดือนสำหรับภาษีประเภทอื่นๆ ซึ่งนับว่าเป็นระยะเวลาที่สั้นมาก และแทบไม่ช่วยผู้ประกอบการเท่าที่ควร เพราะช่วงเวลาใหม่ที่กำหนดให้ชำระภาษีนั้น ยังอยู่ในห้วงที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งภาคเอกชนย่อมต้องการสงวนเงินสดไว้กับตัวเพื่อรักษาสภาพคล่อง หลังจากเจ็บหนัก จากการประกาศล็อกดาวน์ในช่วงเดือนเมษายน ส่วนนโยบายลดภาษีของไทย ถือว่าแทบไม่ช่วยอะไร เพราะการลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจาก 3 เปอร์เซ็นต์เป็น 1.5 เปอร์เซ็นต์ แทบไม่ได้มีสาระสำคัญ หากหันไปมองมาตรการทางภาษีของเหล่าประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก จะเห็นว่าทิ้งห่างไทยไปแบบไม่เห็นฝุ่น เช่น ในประเทศเกาหลีใต้ ที่เลื่อนระยะเวลาชำระภาษีไป 9 เดือน ส่วนญี่ปุ่นเลื่อนให้ 12 เดือน หากรายได้ของธุรกิจลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่นโยบายลดภาษีของต่างประเทศก็มีเนื้อมีหนัง เช่น จีน ที่ลดภาษีมูลค่าเพิ่ม 1 เปอร์เซ็นต์ และยกเลิกการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรม ที่ได้รับผลกระทบหนักอย่างการท่องเที่ยว เกาหลีใต้ ก็มีการลดภาษีให้ธุรกิจที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรง ส่วน สิงคโปร์ ประกาศคืนภาษีบางส่วนให้ผู้ประกอบการหลายคนอาจสงสัยว่าถ้ารัฐบาลทั้งลดทั้งเลื่อนแล้วจะเอาเงินที่ไหนมาบริหารประเทศ มาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและระบบการเงิน รัฐบาล โดยกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกันวางแนวทางเพื่อรักษาเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจและระบบการเงิน ในสภาวการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็น ผู้จ้างแรงงานร้อยละ 80 ของประเทศ ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง จึงอาจส่งผลให้มีการเลิกจ้างงานและผิดนัดชำระหนี้ ในขณะเดียวกันความผันผวนในตลาดการเงินอาจทำให้บริษัทที่มีคุณภาพ ไม่สามารถไถ่ถอนตราสารหนี้ที่ครบกำหนดได้ จนกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนและลดประสิทธิภาพในการระดมทุน มาตรการทางการเงิน ในส่วนของการเยียวยาผู้ประกอบการของไทยมีการเยียวยาเพื่อลดค่าใช้จ่ายและการพยายามเพิ่มเงินสด (Cash flows) ให้กับผู้ประกอบการ โดยรัฐบาลและธนาคารกลางได้ให้ความช่วยเหลือผ่าน (1) ทางด้านภาษี โดยเป็นการเลื่อนภาษี ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย …


มาตรการทางกฎหมายภาษีเพื่อส่งเสริมการแยกขยะขวดน้ำพลาสติก ชนิดกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ได้, ธัญชนก ภัทรรังษี Jan 2020

มาตรการทางกฎหมายภาษีเพื่อส่งเสริมการแยกขยะขวดน้ำพลาสติก ชนิดกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ได้, ธัญชนก ภัทรรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของสังคมเมือง ทำให้ปัจจัยความต้องการอุปโภคและบริโภคมีปริมาณมากขึ้น และเกิดบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคมากขึ้น เช่น การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีปริมาณและขนาดสำหรับพกพาและการบริโภคที่สะดวกรวดเร็ว เน้นรูปแบบวัสดุ ที่น้ำหนักเบา ยืดหยุ่น และสามารถปรับเปลี่ยนลักษณะได้ตามความต้องการ ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งเกิดจากการแข่งขันพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อที่จะแสวงหากำไรของผู้ประกอบการ โดยคำนึงถึงแค่การทำให้ต้นทุนต่ำเพื่อให้ราคาสินค้ามีราคาต่ำที่สุด เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคมาบริโภคสินค้าของตน จากสาเหตุดังกล่าวส่งผลให้เกิดขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมีปริมาณมากขึ้น และขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่จะถูกนำไปเผาและฝังกลบรวมกับขยะมูลฝอยทั่วไป ซึ่งจะใช้พื้นที่ในการฝังกลบมากกว่าขยะเศษอาหารประมาณ 3 เท่า เนื่องจากขยะพลาสติก มีปริมาตรสูง เมื่อเทียบกับน้ำหนักและมีความสามารถทนต่อแรงอัดได้ ทำให้ต้องสิ้นเปลืองพื้นที่ ฝังกลบ นอกจากนี้หากเกิดการรั่วไหลของสารปรุงแต่งหรือสารประกอบที่เป็นพิษของพลาสติก ก็จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนตามมา เช่น ส่งกลิ่นเหม็น เกิดน้ำเสียจากน้ำชะขยะปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำใต้ดิน ทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและเกิดมลพิษทางอากาศ เป็นต้น นอกจากนี้ปัญหาการจัดการขยะพลาสติก ยังเกิดจากประชาชนขาดองค์ความรู้และจิตสำนึกเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ที่จะลดและคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางหรือแหล่งกำเนิดอย่างถูกวิธี ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษพบว่า ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นมีสัดส่วนองค์ประกอบที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โดยสามารถนำมาแปรรูปใช้ใหม่ได้ร้อยละ 30-35 และนำมาหมักทำปุ๋ยได้ร้อยละ 45-50 แต่ปัจจุบันอัตราการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ มีเพียงร้อยละ 18 ซึ่งยังคงเป็นอัตราที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับขยะมูลฝอยที่มีศักยภาพในการนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ ทำให้วัสดุจากการรีไซเคิลที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนวัตถุดิบใหม่กลับเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมยังมีน้อย ดังนั้นผู้วิจัยเห็นควรให้ประเทศไทยนำมาตรการที่มีลักษณะเป็นการเพิ่มแรงจูงใจ ให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมากขึ้น ซึ่งมาตรการที่มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ การจัดเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ประกอบกับการใช้ระบบมัดจำขวด ซึ่งจะทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคเกิดความใส่ใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะขวดน้ำพลาสติกให้นำกลับมาแปรรูปใช้ใหม่มากขึ้นได้ ดังตัวอย่างเช่น ในประเทศนอร์เวย์ที่ได้มีการจัดเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มควบคู่ไปกับระบบมัดจำ ในวงจรระบบ รีไซเคิล โดยเริ่มต้นจากผู้ประกอบการสินค้าเครื่องดื่มจะถูกเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม และหากเข้าสู่ระบบมัดจำก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ลดอัตราภาษีหรือยกเว้นภาษีบรรจุภัณฑ์ตามอัตราส่วนการนำกลับมาใช้ใหม่ของขวดบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม และหากสามารถรีไซเคิลขวดบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มได้มากกว่าร้อยละ 95 ก็จะไม่ต้องเสียภาษี โดยจะมีองค์กร Infinitum เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและอุตสาหกรรมค้าปลีก เป็นผู้ดูแลระบบการรับคืนบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม รวมทั้งจัดระบบการคืนมัดจำขวด ขนส่ง คัดแยก และนำเข้าโรงงานรีไซเคิล ฯลฯ นอกจากนี้สำหรับผู้บริโภคสินค้าเครื่องดื่มที่มีค่ามัดจำบรรจุภัณฑ์รวมไปในราคาจำหน่าย สามารถคืนขวดได้ตามเครื่องแลกขวดอัตโนมัติที่ตั้งอยู่ตามร้านค้าต่าง ๆ หรือสถานีบริการน้ำมัน โดยเครื่องรับคืนขวดจะอ่านข้อมูลบาร์โค้ดบนฉลากก่อนออกใบเสร็จคืนเงินให้ เพื่อนำไปขึ้นเงินสด ใช้จ่ายแทนเงินสด หรือสามารถบริจาคได้ ดังนั้นการจัดเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มประกอบกับการใช้ระบบมัดจำ จะสามารถเข้ามามีส่วนช่วยในการคัดแยกขยะโดยทุกภาคส่วนและเป็นระบบมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ผู้ค้าปลีก ตลอดจนผู้บริโภค


มาตรการทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ช่วยบรรเทาภาระภาษีให้กับลูกจ้างแรงงานในระบบที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19), ชมพูนุท ขาวนวล Jan 2020

มาตรการทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ช่วยบรรเทาภาระภาษีให้กับลูกจ้างแรงงานในระบบที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19), ชมพูนุท ขาวนวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2562 เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ในเวลาต่อมา จีนและองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุว่า ไวรัสชนิดนี้คือ "เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่" ซึ่งเชื่อว่ามีต้นตอมาจากตลาดสดที่ขายอาหารทะเลและอาหารป่าในเมืองอู่ฮั่น โดยหลังจากเก็บตัวอย่างไวรัสจากคนไข้นำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ สำหรับประเทศไทยรู้จักไวรัสในตระกูลนี้มาแล้วจากโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง หรือ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome - SARS) ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรนา และพบการระบาดครั้งแรกปลายปี ค.ศ. 2002 ที่ประเทศจีนเช่นกัน ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่พบผู้ติดเชื้อไวรัส โคโรนาสายพันธุ์ใหม่นอกจีนแผ่นดินใหญ่ โดยกระทรวงสาธารณสุขรายงานเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 พบว่ามีผู้ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อรายแรกเป็นนักท่องเที่ยวหญิงชาวจีน อายุ 61 ปีเดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่นถึงไทยวันที่ 3 มกราคม 2563 โดยเจ้าหน้าที่ได้ตรวจพบจากการคัดกรองด้วยเครื่องเทอร์โมสแกน จากนั้นได้ถูกนำตัวเข้ารับการรักษาที่สถาบันบำราศนราดูรจนหายและตรวจไม่พบเชื้อ ก่อนที่จะเดินทางกลับจีนวันที่ 18 มกราคม 2563 ประเทศไทยเผชิญอยู่กับวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปี และดูเหมือนว่าสถานการณ์กำลังจะดีขึ้นแต่ก็กลับชะงักลงอีกครั้ง หลังจากพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีกในระลอกที่ 2 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่พบหญิงไทยวัย 67 ปี อาชีพค้าขายที่ตลาดกลางกุ้ง ในตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร ติดเชื้อโดยไม่มีประวัติการเดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งหมายความว่าผู้ติดเชื้อรายนี้ไม่ได้เป็น "ต้นเชื้อ" ทางกรมควบคุมโรคจึงได้พยายามค้นหาต้นเชื้อหรือสาเหตุการติดเชื้อของหญิงรายนี้ ซึ่งคาดว่าเป็นการติดเชื้อจากแรงงานชาวเมียนมาในตลาดกลางกุ้ง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแรงงานเมียนมาอยู่อย่างหนาแน่น นอกจากนี้ยังพบอีกว่าการกระจายของเชื้อในรอบนี้ไม่ใช่สายพันธุ์จากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนแล้ว แต่กลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ G ซึ่งแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วมากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 8 - 9 เท่าตัว จึงเป็นเหตุให้คนไทยกลับมาเผชิญกับวิกฤตการณ์ของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อีกครั้ง ซึ่ง ณ วันที่ทำวิจัยฉบับนี้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ก็ยังคงไม่มีแนวโน้มที่จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลง แม้ว่าจะมีวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ผ่านการทดลองในคนในระยะที่ 3 และมีการอนุมัติให้ใช้เป็นกรณีฉุกเฉินอยู่ในหลายประเทศ ในเวลานี้มีอยู่ด้วยกัน 6 ตัวด้วยกัน คือ ไฟเซอร์/ไบออนเทค, โมเดอร์นา, แอสทราเซเนกา, สปุตนิควี, …


มาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของประเทศไทย, เฟื่องลดา มนตรีสา Jan 2020

มาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของประเทศไทย, เฟื่องลดา มนตรีสา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากในระหว่างปี พ.ศ. 2563 ทั่วโลกได้เผชิญกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระบาดไปอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ทำให้ส่งผลกระทบทั้งต่อวิถีการ ดำรงชีวิตของผู้คนทั่วไป รวมไปถึงสภาพเศรฐกิจของแต่ละประเทศก็ได้รับกระทบเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกัน ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการอย่างมาก ทั้งในด้านการลงทุนจากในประเทศและนอกประเทศ การท่องเที่ยวที่ซบเซา ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีแนวโน้มหยุดชะงักไม่สามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยความเสียหาย จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อเศรษฐกิจนั้นกระทบภาคธุรกิจหลายกิจการทั้งใน ส่วนของภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรมที่มีการปิดตัวลง ทำให้เกิดการเลิกจ้างแรงงาน จะเห็นว่าจากผลกระทบในส่วนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้ลามมากระทบในส่วนของภาคประชาชน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ทางรัฐบาลจึงได้มีเร่งออกมาตรการช่วงเหลือต่างๆ ทั้งในส่วนของภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีเม็ดเงินไหลเวียนใน ระบบเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นการช่วยเหลือบรรเทาในภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบให้สามารถดำเนิน กิจการต่อไปได้แต่อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ยังคงมีการระบาด อย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน และไม่มีสัญญาณว่าจะบรรเทาลงในเร็ววัน จึงได้ มีการศึกษามาตรการทางภาษีเงินได้ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 ของต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้อง กับสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษามาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนของบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทย และศึกษา วิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 ของประเทศออสเตรเลียและเมียนมา เพื่อจะนำแนวทางมาตรการทางภาษีมาปรับ ประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบัน โดยจากการศึกษาพบว่ามาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยยังมีบางมาตรการ ที่มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้สิทธิประโยชน์ไม่ชัดเจน ให้สิทธิประโยชน์ในทรัพย์สินแค่บางประเภท บางกลุ่มธุรกิจ หรือให้สิทธิประโยชน์สำหรับการจ้างแรงงานเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก จาการกล่าวมาจึง จะเห็นได้ว่ามาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ประกาศใช้แล้วในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีประสิทธิภาพ และความชัดเจนเพียงพอในการส่งเสริมการลงทุน รวมไปถึงไม่ได้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตมาก เท่าที่ควร ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางมาตรการทางภาษีประเทศออสเตรเลียและประเทศเมียนมาบาง มาตรการมาปรับประยุกต์ใช้ในส่วนของการส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้มาตรการดังกล่าวมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น โดยมาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนในทรัพย์สินที่ควรจะส่งเสริมการลงทุนในทุก ประเภทของทรัพย์สินและทุกกลุ่มธุรกิจ รวมถึงการออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนในทรัพย์สินและ การจ้างแรงงานที่สามารถให้ตัดรายจ่ายได้มากขึ้นในปีที่ธุรกิจประสบกับสภาพเศรษฐกิจในสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นอกจากจะเป็นการช่วยส่งเสริมการลงทุนและการกระตุ้นเศรษฐกิจ แล้ว ยังเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีและยังช่วยให้มีกระแสเงินสดหมุนเวียนในบริษัทมากขึ้นอีกด้วย เพื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนั้น ๆ จะได้ดำเนินกิจการผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจนี้ไปได้


สิทธิของธนาคารในฐานะผู้ออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศ: ศึกษากรณีลูกหนี้นำเงินฝากมา เป็นหลักประกัน และอยู่ระหว่างกระบวนการฟื้นฟูกิจการ, พลชา บูรณกาญจน์ Jan 2020

สิทธิของธนาคารในฐานะผู้ออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศ: ศึกษากรณีลูกหนี้นำเงินฝากมา เป็นหลักประกัน และอยู่ระหว่างกระบวนการฟื้นฟูกิจการ, พลชา บูรณกาญจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันธนาคารในประเทศไทย ได้มีการให้บริการผลิตภัณฑ์ด้านสินเชื่อให้แก่ลูกหนี้ในหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อภายในประเทศ เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Notes: PN) หรือสินเชื่อสำหรับการเข้าทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เช่น สินเชื่อเพื่อการนำเข้าและส่งออก (Trade Finance) รวมไปถึงการให้บริการการออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศ (Standby Letter of Credit: SBLC) โดยการให้บริการออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศ หรือ Standby Letter of Credit (“SBLC”) ของธนาคารนั้น มีวัตถุประสงค์สำหรับกรณีที่ลูกหนี้จะเข้าทำนิติกรรมสัญญากับบุคคลอื่น ไม่วาจะเป็นสัญญาการดำเนินงาน หรือสัญญาที่มีข้อผูกพันต้องชำระเงินต่างๆ โดยคู่สัญญาอีกฝ่ายนั้นจะมีความเสี่ยงจากการที่ลูกหนี้จะไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้อย่างครบถ้วน และก่อให้เกิดความเสียหาย เช่น ไม่สามารถปฎิบัติหรือส่งมอบงานได้ตามกำหนดเวลา หรือไม่สามารถชำระเงินได้ครบตามที่กำหนดไว้ เป็นต้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวคู่สัญญาอีกฝ่ายจึงได้มีข้อกำหนดให้ลูกหนี้ต้องนำหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารวางเข้าค้ำประกันสำหรับการดำเนินงาน หรือการเข้าทำสัญญาต่างๆ ดังนั้นลูกหนี้จึงมีคำขอออกหนังสือค้ำประกันมายังธนาคารที่ตนมีวงเงินสินเชื่ออยู่ เพื่อให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศและเข้าไปผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันให้แก่ลูกหนี้บนสัญญาประธานต่างๆ ที่ลูกหนี้ได้เข้าทำนิติกรรมกับคู่สัญญาอีกฝ่าย ต่อมาหากลูกหนี้ไม่สามารถปฎิบัติตามสัญญาประธานดังกล่าวได้ คู่สัญญาอีกฝ่ายในฐานะผู้รับผลประโยชน์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ธนาคารชำระหนี้แทนตามจำนวนเงินที่ระบุในหนังสือค้ำประกันต่างประเทศแต่ละฉบับ ดังนั้นการที่ธนาคารเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันผ่านการออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศ จะเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ผู้รับผลประโยชน์ว่าหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้วก็จะสามารถเรียกให้ธนาคารชำระหนี้แทนได้ และธนาคารก็มีสิทธิที่จะมาไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ตามในภายหลังได้ ทั้งนี้หากลูกหนี้ตามสัญญาสินเชื่อของธนาคารเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ และอยู่ในสภาวะการพักชำระหนี้ (Automatic Stay) ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541) มาตรา 90/12 คำสั่งสภาวะการพักชำระหนี้ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวไม่ได้มีผลไปถึงคู่สัญญาที่อยู่ในต่างประเทศ ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือหากลูกหนี้ได้มีการเข้าทำสัญญาที่มีข้อผูกพันต้องชำระเงินแก่เจ้าหนี้ต่างประเทศ โดยสัญญาดังกล่าวถูกค้ำประกันโดยหนังสือค้ำประกันต่างประเทศที่ออกจากธนาคารในประเทศไทย ต่อมาหากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประธาน เจ้าหนี้ต่างประเทศยังคงบังคับชำระหนี้ดังกล่าวผ่านการเรียกร้องให้ชำระหนี้ใต้ความผูกพันตามหนังสือค้ำประกันต่างประเทศที่ธนาคารได้มีการออกเพื่อค้ำประกันไว้ ซึ่งโดยทั่วไปธนาคารมีหน้าที่ที่จะต้องชำระทันทีโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิดของลูกหนี้ โดยปัจจุบันเกิดปัญหาขึ้นว่าธนาคารสามารถมาไล่เบี้ยกับลูกหนี้ขณะที่ลูกหนี้อยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการได้อย่างไร และกรณีที่ลูกหนี้ได้มีการมอบหลักประกันเป็นการจดทะเบียนทางธุรกิจหลักประกันบัญชีเงินฝากไว้ ธนาคารสามารถบังคับหลักประกันดังกล่าวเพื่อมาชำระหนี้ได้ทันทีหรือไม่ หรือจะต้องมีการยื่นขอรับชำระหนี้ตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการ และรอรับชำระหนี้ตามแผนของลูกหนี้ในภายหลัง ซึ่งธนาคารในฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่มีหลักประกันอาจจะไม่ได้รับชำระหนี้ตามที่ควรจะเป็นซึ่งจะขึ้นอยู่กับแผนฟื้นฟูกิจการที่ผู้นำแผนจะนำส่งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และจะต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของเจ้าหนี้ทั้งหมด จากประเด็นปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าคำสั่งสภาวะการพักชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541) ยังไม่สามารถระงับการบังคับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ประเทศได้ อันส่งผลให้เกิดความเสียหายและความเสี่ยงต่อธนาคารในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกัน รวมถึงตัวลูกหนี้เองที่อาจจะไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการฟิ้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรศึกษาถึงบทบัญญัติของกฎหมายไทยที่จะเข้ามาคุ้มครองลูกหนี้และธนาคารจากการเรียกรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ต่างประเทศระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างกระบวนการฟื้นฟูกิจการ


แนวทางในการนำการวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 (ปรับปรุง 2562) มาใช้กับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล, คุณานนท์ ปราสาทวัฒนา Jan 2020

แนวทางในการนำการวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 (ปรับปรุง 2562) มาใช้กับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล, คุณานนท์ ปราสาทวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้มูลค่ายุติธรรม (Fair Value) สำหรับการรายงานข้อมูลทางการเงินเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งพบได้จากการที่มาตรฐานการบัญชีให้ความสำคัญต่อการใช้มูลค่ายุติธรรมในการวัดมูลค่าสินทรัพย์โดยเชื่อว่ามูลค่ายุติธรรมช่วยส่งเสริมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance) ของผู้ใช้งบการเงินมากกว่าราคาทุนเดิม (Historical Cost) แต่อย่างไรก็ตาม ราคาทุนเดิมเป็นมูลค่าในอดีตที่แสดงให้เห็นหลักฐานอันเที่ยงธรรม และเป็นหลักเกณฑ์การวัดมูลค่าพื้นฐานที่ใช้ในการวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรก (Initial Measurement) ในขณะเดียวกันราคาทุนเดิม เป็นจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่กิจการจ่าย หรือมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนอื่นที่กิจการมอบให้เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ ณ เวลาที่ได้สินทรัพย์นั้นมาหรือ ณ เวลาที่ก่อสร้างสินทรัพย์นั้น ซึ่งทางภาษีอากรใช้ราคาทุนเดิมในการรับรู้รายการทางภาษีอากร เพราะถือว่าเป็นมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่เกิดรายการ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป มูลค่าของสินทรัพย์ที่เคยบันทึกไว้ในราคาทุนเดิมย่อมมีมูลค่าที่แตกต่างไปจากวันที่เกิดรายการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากหลายๆ ปัจจัยเช่น สภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง การถือครองอสังหาริมทรัพย์มีวัตถุประสงค์การถือครองฯ ที่แตกต่างกัน เช่น การถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้งาน การถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้เผื่อขาย และการถือครองอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน หรือเรียกอีกอย่างคือหาประโยชน์จากรายได้ค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ หรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของทรัพย์สิน (Capital Gain) หรือทั้งสองอย่าง แต่อย่างไรก็ตาม การถือครองอสังหาริมทรัพย์ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน จะส่งผลต่อการใช้วิธีการปฏิบัติทางการบัญชีที่แตกต่างกัน เพื่อให้มูลค่าทรัพย์สินที่แสดงอยู่บนงบการเงินสามารถสะท้อนมูลค่าที่เหมาะสม และผู้ใช้งบการเงินสามารถใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อใช้ในการตัดสินใจ “อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน” เป็นสินทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อหาประโยชน์ในการหารายได้ค่าเช่า หรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าสินทรัพย์หรือทั้งสองอย่าง ทั้งนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อใช้ในการผลิตหรือจัดหาสินค้าหรือบริการ หรือใช้ในการบริหารงานของตนหรือ มีไว้ตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ กิจการจะต้องบันทึกอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ได้มาด้วยราคาทุน หลังจากนั้นกิจการสามารถเลือกวิธีการวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนด้วยวิธีมูลค่ายุติธรรม หรือวิธีราคาทุน แต่ต้องใช้วิธีเดียวกันสำหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนทั้งหมดที่กิจการมีอยู่ ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนั้นมีลักษณะพิเศษกว่าสินทรัพย์ชนิดอื่นและมีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการถือครองที่แตกต่างจากสินทรัพย์ทั่วไป โดยบริษัทที่มีอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนส่วนมากเป็นบริษัทที่มีสภาพคล่องสูง มีเงินทุนสูง เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนจะอยู่บริเวณพื้นที่ที่มีความเจริญ ได้รับการพัฒนาแล้ว อยู่ใจกลางเมือง เดินทางสะดวก ง่ายต่อการปล่อยเช่า หรือถือครองไว้เพื่อเก็งกำไร หวังการเพิ่มขึ้นของมูลค่าทรัพย์ และพร้อมที่จะขายเมื่อทรัพย์สินสามารถสร้างกำไรจนถึงระดับที่พอใจ ดังนั้นจะพบว่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อใช้งานเองหรือไว้เพื่อดำเนินกิจการเอง ลักษณะพิเศษของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนี้ยังถูกแยกแสดงรายการบนงบการเงินอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเกิดความเข้าใจ บ่งบอกถึงความสำคัญของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนี้อย่างเด่นชัดว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีลักษณะที่แตกต่างจากสินทรัพย์ทั่วไป การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของสรรพากรจะจัดเก็บต่อเมื่อขายทรัพย์สินไป ส่วนกำไรจากการวัดมูลค่าสินทรัพย์ยังไม่สามารถนำมาใช้ในทางภาษีได้ ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่มีมาแต่เนิ่นนานและไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชากรส่วนมากทำอาชีพเกษตรกรรม ที่ดินส่วนมากจึงไม่ได้รับการพัฒนาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมเท่าที่ควร จึงทำให้ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ไม่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จึงไม่มีแนวคิดที่จะจัดเก็บภาษีอากรจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าทรัพย์สิน แต่ในปัจจุบันนักธุรกิจต่างมองหาโอกาสและจังหวะจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ เพราะกำไรของอสังหาริมทรัพย์นั้นหากวัดเป็นตัวเงินจะมีมูลค่ามหาศาลจึงเป็นที่ต้องการของนักธุรกิจ ประเทศไทยได้เห็นถึงปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของมูลค่าทรัพย์สิน โดยเริ่มนำแนวคิดเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีจากมูลค่าทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าทรัพย์สินนั้นจะยังไม่ถูกขายหรือจำหน่ายไป โดยมีการศึกษาและการเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อ “ร่างพระราชบัญญัติภาษีการที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ” โดยเนื้อหาสรุปได้ว่า การจัดเก็บภาษีในปัจจุบันของประเทศไทย ไม่สะท้อนต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากมูลค่าที่ดินและอสังหาริมทรัพย์มีการปรับมูลค่าเพิ่มขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นในต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ ประเทศโปแลนด์ ฮ่องกง และประเทศสหรัฐอเมริกามีการจัดเก็บภาษีในลักษณะนี้ที่เรียกว่า ภาษีลาภลอยเช่นกัน ดังนั้นเห็นได้ว่า …


การนำความตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีอากรมาเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี กรณีเงินได้จากการลงทุนในตลาดทุน, สิริกาญจน์ ดอกกลาง Jan 2020

การนำความตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีอากรมาเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี กรณีเงินได้จากการลงทุนในตลาดทุน, สิริกาญจน์ ดอกกลาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษาในเรื่องความตกลงร่วมมือระหว่างประเทศในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีอากร โดยศึกษาถึงที่มาและหลักการความร่วมมือระหว่างประเทศ กฎหมายภายในของประเทศไทย ตลอดจนผลิตภัณฑ์ทางการเงินและภาษีเงินได้ของนักลงทุนในตลาดทุนไทย เพื่อนํามาปรับใช้กับการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึง เสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายภายในของประเทศไทยที่ไม่สอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศการเข้าถึงข้อมูลทางภาษีของนักลงทุนของกรมสรรพากรไทยอาจมีข้อจํากัดในด้านอํานาจและขอบเขต ดังนั้น หากมีการนําส่งข้อมูลของนักลงทุนจากสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางในตลาดทุนให้แก่กรมสรรพากรไทย ประกอบกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีอากรระหว่างประเทศผ่านพันธกรณีความร่วมมือระหว่างประเทศ จะส่งผลให้กรมสรรพากรไทยสามารถจัดเก็บข้อมูลทางภาษีได้อย่างครบถ้วน จากการศึกษา พบว่า OECD มีรูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งหมด 3 ประเภท และมีกรอบความร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ Global Forum on Transparency and Exchange of Information for Tax Purposes (Global Forum) ซึ่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัติโดยชุดข้อมูล Common Reporting Standard (CRS) จะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางการเงินของนักลงทุนที่สถาบันทางการเงินเป็นผู้นําส่ง ดังนั้น เมื่อประเทศไทยได้เข้าร่วมในกรอบความร่วมมือดังกล่าว จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่ Global Forum ได้กําหนดไว้และด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยต้องแก้ไขปรับปรุงข้อบทในประมวลรัษฎากร เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนขอมูลทางภาษีระหว่างประเทศได้ตามมาตรฐานและครอบคลุมทุกรูปแบบ


ข้อจำกัดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการทุจริตในธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข่อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562, ภัคจิรา ตั้งสุทธิมงคล Jan 2020

ข้อจำกัดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการทุจริตในธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข่อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562, ภัคจิรา ตั้งสุทธิมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กิจกรรมของชมรมตรวจสอบและป้องกันการทุจริตในธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างธนาคารพาณิชย์ ซึ่งทำให้มีประเด็นปัญหาว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นการปฏิบัติสอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562ที่กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลหากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเว้นแต่กฎหมายจะบัญญัติยกเว้นไว้ หรือไม่ การศึกษาพบว่า กิจกรรมการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตของชมรมตรวจสอบและ ป้องกันการทุจริตในภาคธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของประเทศไทย ยังมีข้อจำกัด ทำได้เพียงกิจกรรมที่จำกัดเฉพาะเป็นฐานของธนาคารเองเท่านั้น ซึ่งจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับให้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์สาธารณะได้มากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จึงเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายโดยยกระดับชมรมตรวจสอบและป้องกันการทุจริต ให้มีฐานะเป็นองค์กรที่มีอำนาจออกกฎหมายเพื่อให้มีผลใช้บังคับสอดคล้องกับการปฏิบัติงานภาคธุรกิจธนาคาร และเพื่อป้องกันผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศกิจกรรมของชมรมตรวจสอบและป้องกันการทุจริตในธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างธนาคารพาณิชย์ ซึ่งทำให้มีประเด็นปัญหาว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นการปฏิบัติสอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562ที่กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลหากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเว้นแต่กฎหมายจะบัญญัติยกเว้นไว้ หรือไม่ การศึกษาพบว่า กิจกรรมการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตของชมรมตรวจสอบและ ป้องกันการทุจริตในภาคธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของประเทศไทย ยังมีข้อจำกัด ทำได้เพียงกิจกรรมที่จำกัดเฉพาะเป็นฐานของธนาคารเองเท่านั้น ซึ่งจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับให้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์สาธารณะได้มากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จึงเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายโดยยกระดับชมรมตรวจสอบและป้องกันการทุจริต ให้มีฐานะเป็นองค์กรที่มีอำนาจออกกฎหมายเพื่อให้มีผลใช้บังคับสอดคล้องกับการปฏิบัติงานภาคธุรกิจธนาคาร และเพื่อป้องกันผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ


ข้อพิจารณาตามหลักการประมวลผลข้อมูลเท่าที่จำเป็น (Data Minimization) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (Personally Identifiable Information) ของกรมสรรพากร, นิสากร ทองประเสริฐ Jan 2020

ข้อพิจารณาตามหลักการประมวลผลข้อมูลเท่าที่จำเป็น (Data Minimization) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (Personally Identifiable Information) ของกรมสรรพากร, นิสากร ทองประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แบบแสดงรายการภาษีของกรมสรรพากรมีลักษณะใช้ร่วมกันสําหรับเงินได้พึงประเมินทุกประเภท ส่งผลให้กรมสรรพากรจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีเงินได้หลายรายการ ซึ่งทําให้มีประเด็นปัญหาว่า การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของกรมสรรพากรเป็นไปตามหลักการประมวลผลข้อมูลเท่าที่จําเป็นแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือไม่ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงศึกษารายการข้อมูลส่วนบุคคลในแบบแสดงรายการภาษีของกรมสรรพากรโดยพิจารณาตามหลักการประมวลผลข้อมูลเท่าที่จําเป็นในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของกรมสรรพากร โดยการเทียบเคียงแบบแสดงรายการภาษีของต่างประเทศ พบว่าแบบแสดงรายการภาษีของประเทศไทยมีลักษณะการใช้ร่วมกันสําหรับทุกประเภทเงินได้ การจัดเก็บข้อมูลจึงไม่มีความเฉพาะเจาะจงสําหรับเงินได้แต่ละประเภท มีการจัดเก็บข้อมูลบางรายการซ้ำากันหลายครั้งทำให้การจัดเก็บข้อมูลเกิดความซ้ําซ้อน และมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลมากเกินความจําเป็นเนื่องจากข้อมูลบางรายการที่ไม่มีความเกี่ยวข้องต่อการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีจึงเห็นว่าการปรับเปลี่ยนแบบแสดงรายการภาษีโดยการแยกออกตามประเภทของเงินได้พึงประเมิน เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลมีความเฉพาะเจาะจง และจัดเก็บข้อมูลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีจากเงินได้แต่ละประเภท ส่งผลให้ข้อมูลที่จัดเก็บนั้นไม่ซ้ำซ้อนและไม่มากเกินกว่าความจําเป็นตามหลักการประมวลผลข้อมูลเท่าที่จําเป็น


การเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้กับเจ้าพนักงานในหน่วยงานจัดเก็บภาษีอากรในการดำเนินคดีอาญา : กรณีศึกษาอำนาจฟ้องและดำเนินคดีภาษีอากรที่มีโทษอาญา, ศิรดา อรุณชัยภิรมย์ Jan 2020

การเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้กับเจ้าพนักงานในหน่วยงานจัดเก็บภาษีอากรในการดำเนินคดีอาญา : กรณีศึกษาอำนาจฟ้องและดำเนินคดีภาษีอากรที่มีโทษอาญา, ศิรดา อรุณชัยภิรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากการดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับภาษีอากรของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น ไม่มีกฎหมายวิธีพิจารณาความเป็นบทบัญญัติเฉพาะ กระบวนการทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรจึงเป็นไปตามบทบัญญัติกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั่วไป ทำให้เจ้าพนักงานในหน่วยงานจัดเก็บภาษีหรือกรมสรรพากรต้องส่งเรื่องพร้อมด้วยบันทึกข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่าง ๆ ไปให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน และพนักงานสอบสวนจึงส่งสำนวนพร้อมทั้งความเห็นให้พนักงานอัยการพิจารณาและทำคำสั่งฟ้องคดีต่อไป ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เกิดความล่าช้า แต่ยังทำให้กระบวนการดำเนินคดีอาญาทางภาษีอากรขาดประสิทธิภาพอีกด้วย จากการศึกษาพบว่า จึงควรแก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับภาษีอากรโดยการเพิ่มอำนาจฟ้องแก่เจ้าหน้าที่สรรพากร เพื่อให้เจ้าหน้าที่สรรพากรสามารถดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับภาษีอากรได้


บุคคลผู้มีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, พิพัฒน์ พิพัฒน์ผจง Jan 2020

บุคคลผู้มีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, พิพัฒน์ พิพัฒน์ผจง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การยกเว้นภาษีตามมาตรา 40 41 และ 96 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มี วัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีที่ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินประเภทที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบเกษตรกรรม หากประชาชนผู้เสียภาษีปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนดไว้อย่าง ครบถ้วน ก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปีภาษีนั้น เมื่อพิจารณาการยกเว้นภาษีข้างต้น ปรากฎว่ามาตราดังกล่าวยกเว้นภาษีให้เฉพาะบุคคลผู้มีกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น เนื่องจากบทบัญญัติในมาตราใช้คําว่า “เจ้าของ” ซึ่งมิได้หมายความรวมถึงผู้มี สิทธิครอบครองในที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นผู้เสียภาษีอีกประเภทหนึ่งตามนิยามในมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้นผู้มีสิทธิครอบครองจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีและยังคงต้องเสียภาษีตามปกติ แม้จะได้ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกําหนดไว้อย่างครบถ้วนเฉกเช่นผู้เสียภาษีประเภทเจ้าของแล้วก็ตาม การบัญญัติกฎหมายโดยเรียกเก็บภาษีจากเจ้าของและผู้มีสิทธิครอบครอง แต่เมื่อมีการยกเว้นภาษีกลับยกเว้นให้เฉพาะเจ้าของ และการนําสิทธิเหนือทรัพย์สินของผู้เสียภาษีมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณายกเว้นภาษีทรัพย์สินเป็นการบัญญัติกฎหมายที่มิได้คํานึงถึงหลักการบริหารภาษีที่ดี รวมไปถึงแนวคิดพื้นฐานในการจัดเก็บและยกเว้นภาษีทรัพย์สิน จึงก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการเสียภาษีระหว่างเจ้าของกับผู้มีสิทธิครอบครอง และปัญหาการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังนั้น การยกเว้นภาษีตามมาตราดังกล่าวจึงควรได้รับการแก้ไขให้ครอบคลุมถึงผู้มีสิทธิครอบครอง หรือมีมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดี ตลอดจนแนวคิดพื้นฐานในการจัดเก็บและยกเว้นภาษีทรัพย์สิน


บทบาทของการวิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมายก่อนการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้เสียภาษีตามพันธกรณีระหว่างประเทศ, ฉัตติกา มูลละ Jan 2020

บทบาทของการวิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมายก่อนการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้เสียภาษีตามพันธกรณีระหว่างประเทศ, ฉัตติกา มูลละ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กฎหมายเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกำหนดทิศทางของการพัฒนาประเทศ ทั้งยังส่งผลกระทบอีกหลายประการไม่ว่าจะในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการปกครอง จึงมีความพยายามที่จะเพิ่มคุณภาพของกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะเดียวก็ส่งผลกระทบต่อสังคมน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยการนำการวิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมาย (Regulatory Impact Analysis/ Regulatory Impact Assessment หรือ RIA) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของกฎหมายมาเป็นหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์เพื่อใช้ในการประกอบกระบวนการตรากฎหมาย โดยเอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งเน้นที่จะศึกษาในเรื่องของการวิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมายก่อนการเข้าร่วมความตกลงระหว่างประเทศ โดยจะศึกษาในกรณีของการเข้าร่วมความตกลงว่าด้วยความตกลงพหุภาคีว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารภาษี (Convention on Mutual Administrative Assistance in Tax Matter : MAC) รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบหากมาตรการนี้บังคับใช้ จากการศึกษาพบว่า เพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าร่วมความตกลงระหว่างประเทศ ควรมีการกำหนดให้มีกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบก่อนที่จะเข้าไปมีผลผูกพันกับความตกลงหรืออนุสัญญานั้น ๆ ทั้งนี้เพื่อพิจารณาว่าการเข้าร่วมความตกลงนั้นคุ้มค่าหรือไม่เมื่อเทียบกับผลกระทบ


ปัญหาการกำหนดข้อยกเว้นหน้าที่ในการยื่นรายการข้อมูลและจัดทำเอกสาร สำหรับห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร, ปิยพัชร พัฒนกิจเรือง Jan 2020

ปัญหาการกำหนดข้อยกเว้นหน้าที่ในการยื่นรายการข้อมูลและจัดทำเอกสาร สำหรับห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร, ปิยพัชร พัฒนกิจเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการจัดเก็บตาม พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, กานต์พิชชา ศิริสุข Jan 2020

ปัญหาการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการจัดเก็บตาม พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, กานต์พิชชา ศิริสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาหลักเกณฑ์วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ที่มีความมุ่งหมายที่จะลดการใช้ดุลยพินิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยแยกอํานาจหน้าที่ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินออกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกําหนดให้หน่วยงานส่วนกลางของภาครัฐ อย่างกรมธนารักษ์ สังกัดกระทรวงการคลังเข้ามารับผิดชอบในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบในการประเมินภาษี ผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า คือ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดทําบัญชีกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน (บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน) และบัญชีราคาประเมินทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติการประเมิน ราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. 2562 (ยังไม่ประกาศบังคับใช้) ซึ่งทั้งสองเป็นบัญชีที่ใช้เป็นฐานในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีวิธีการประเมินมูลค่าสิ่งปลูกสร้างที่ตายตัวไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้ประโยชน์ในตัวทรัพย์สินที่แตกต่างกัน และการจัดทําบัญชีราคาประเมินก็ไม่ได้พิจารณาถึงพื้นที่ทําเลที่ตั้งของทรัพย์สินที่ต่างกัน อันก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ที่มีทรัพย์สินตั้งอยู่ในทําเลที่แตกต่างกัน อีกทั้ง กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังคงเปิดช่องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งหาใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินราคาทรัพย์สินเข้ามามีบทบาทในการประเมินมูลค่าสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ และสิ่งปลูกสร้างประเภทห้องชุดส่งผลให้เกิดป๎ญหาที่ราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างบางประเภทที่มาจากดุลยพินิจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน และสร้างภาระให้กับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเกินสมควร นอกจากนี้ พบว่ายังมีความไม่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายสําหรับกรณีการจัดเก็บภาษีที่ดินที่มีข้อจํากัดการใช้ประโยชน์ประเภทที่ดินเสาไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่าน ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนในการประเมินมูลค่าที่ดินประเภทดังกล่าว ผู้เขียนได้ศึกษาหลักเกณฑ์ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามมาตรฐานสากล เพื่อศึกษาแนวทางการกําหนดวิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เหมาะสมกับทรัพย์สินแต่ละประเภท และศึกษาหลักเกณฑ์วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินและการประเมินภาษีของประเทศอังกฤษ เพื่อหาแนวทางแก้ไขป๎ญหาความไม่เหมาะสมในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศไทย


ปัญหาการเสนอคดีต่อศาลภาษีอากร ในกรณีเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการ ตามกฎหมายภาษีอากรยังไม่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด, ชุติณัชชา อินทรานุกูล Jan 2020

ปัญหาการเสนอคดีต่อศาลภาษีอากร ในกรณีเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการ ตามกฎหมายภาษีอากรยังไม่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด, ชุติณัชชา อินทรานุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รายงานเอกัตศึกษาเล่นนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาแนวทางในแก้ปัญหาความขัดหรือแย้งของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7(1) ประกอบมาตรา 8 กับพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2560, พระราชบัญญัติกรมศุลกากร พ.ศ.2560 และพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 ในคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรโดยเทียบเคียงกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยวิธีการศึกษาวิจัยทางเอกสารในการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์จากบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติ คำพิพากษาของศาลหนังสือกฎหมาย ตลอดจนเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า ขั้นตอนในการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับประเมินภาษีอากรและการคัดค้านหรืออุทธรณ์การประเมินภาษีอากร เป็นกระบวนการพิจารณาทางปกครองทั้งสิ้น และกฎหมายภาษีอากรที่ได้มีการปรับปรุง แก้ไขฉบับใหม่มีการให้สิทธิผู้อุทธรณ์สามารถฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรได้ ถึงแม้ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่มีคำวินิจฉัยก็ตาม ซึ่งคล้ายคลึงกับเงื่อนไขในการฟ้องคดีทางปกครอง แต่ในปัจจุบันสิทธิตามกฎหมายภาษีอากรดังกล่าวยังไม่สามารถกระทำได้อย่างเต็มที่เนื่องจากเงื่อนขในการฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรต้องมีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ด้วยเหตุนี้ จึงควรปรับปรุง แก้ไข เงื่อนไขในการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) ประกอบมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ให้คล้ายคลึงกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายปกครอง เพื่อทำให้สิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรสามารถกระทำได้ตามอย่างถูกต้อง และยังเป็นการทำให้การฟ้องคดีมีมาตรฐานในรูปแบบเดียวกัน อันเป็นการประกันมาตรฐานวิธีการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้กับประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย


ปัญหาทางกฎหมายในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับ สถาบันการเงิน, ธนา พันธุมะบำรุง Jan 2020

ปัญหาทางกฎหมายในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับ สถาบันการเงิน, ธนา พันธุมะบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์มุ่งศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมายในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงิน ซึ่งมีปัญหาทางกฎหมายอันเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอันได้แก่ (1) ปัญหาการก่อภาระผูกพันในอสังหาริมทรัพย์ ทั้งก่อนการก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิและภายหลังนำทรัพย์อิงสิทธิ มาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ (2) ปัญหาสถานะทางกฎหมายของทรัพย์อิงสิทธิ (3) ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้รับหลักประกัน อันได้แก่ การบอกเลิกสัญญาโอนทรัพย์อิงสิทธิ การยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิก่อนครบกำหนดเวลา และบทบัญญัติของตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ไม่คุ้มครองสิทธิของผู้รับหลักประกันในบางกรณี และ (4) ปัญหาการบังคับคดีกับทรัพย์อิงสิทธิ เอกัตศึกษานี้ดำเนินการโดยศึกษากฎหมายการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุกิจ พ.ศ. 2558 ของประเทศไทย และนำไปศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายการประกันการชำระหนี้ของต่างประเทศ ได้แก่ ระบบหลักประกันแบบ Uniform Commercial Code Article 9 ตามหลักกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และในระบบหลักประกันแบบ Floating Charge ตามหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษทำการวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การวิจัยนี้พบว่า การนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงินนั้น ตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 ได้กำหนดลักษณะเฉพาะของทรัพย์อิงสิทธิไว้ ซึ่งบทบัญญัติในบางมาตรายังเป็นอุปสรรคในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงิน อีกทั้งตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของทรัพย์อิงสิทธิ ในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ เอกัตศึกษานี้จึงเสนอให้ (1) การก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่มีภาระผูกผันและการก่อภาระผูกพันในอสังหาริมทรัพย์ภายหลังนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทงธุรกิจต้องได้รับความยินยอม (2) กำหนดสถานะทางกฎหมายของทรัพย์อิงสิทธิให้เป็นหลักประกันทางธุรกิจประเภทอสังหาริมทรัพย์ (3) การบอกเลิกสัญญาโอนทรัพย์อิงสิทธิและการยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิก่อนครบกำหนดเวลาภายหลังนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจต้องได้รับความยินยอมจากสถาบันการเงิน และแก้ไขบทบัญญัติในพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้รับหลักประกันในกรณีผู้ให้หลักประกันกระทำการโดยทุจริตจนเป็นเหตุให้ผู้รับหลักประกันไม่อาจบังคับหลักประกันทั้งหมดหรือแต่บางส่วนและ (4)กำหนดหลักเกณฑ์การบังคับคดีกับทรัพย์อิงสิทธิให้สามารถนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 334 และหมวด 4 บังคับโดยอนุโลม เพื่อให้สถาบันการเงินมีความเชื่อมั่นในการรับทรัพย์อิงสิทธิเป็นหลักประกันทางธุรกิจ อันส่งผลให้นักลงทุนหรือผ็ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย และเพื่อให้บรรลุเจตนรมณ์ของกฏหมายที่ต้องการให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการพัฒนาประเทศต่อไป


ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการในการดำเนินการกับของกลางที่เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560, ศจิกา ว่องวัฒนธรรม Jan 2020

ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการในการดำเนินการกับของกลางที่เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560, ศจิกา ว่องวัฒนธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ถึงปัญหาเกี่ยวกับมาตรการในการดําเนินการกับของกลางที่เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากการต้องปฏิบัติตามมาตรการตามกฎหมายศุลกากรที่บังคับใช้เกี่ยวกับของกลางที่เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่สามารถผลักดันขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ส่งคืนไปยังประเทศต้นทางได้ ก่อให้เกิดภาระการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมายมุ่งเอาผิดผู้กระทําความผิดเพื่อปราบปรามและสกัดกั้นการนําเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ แต่เมื่อนํามาตรการที่ใช้บังคับกับของกลางมาใช้กับขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้วนั้นกลับมีความไม่ตรงตามเจตนารมณ์ในการสกัดกั้นการนําเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว โดยกฎหมายศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ได้มีการบัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการดําเนินการกับของตกค้าง ของผ่านแดน และของถ่ายลําไว้เหมาะสมแล้วแต่ยังไม่มีวิธีดําเนินการที่เหมาะสมกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นของกลาง ในความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร ตามมาตรา 242 ฐานหลีกเลี่ยงข้อห้ามหรือข้อจํากัด ตามมาตรา 244 และฐานหลีกเลี่ยงข้อห้ามหรือข้อจํากัดประกอบฐานสําแดงเท็จ ตามมาตรา 244 ประกอบมาตรา 202 แล้วแต่กรณี ผู้เขียนจึงมุ่งทําการศึกษาวิจัยเพื่อเสนอแนะแนวทางปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและทําให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพ


ปัญหาเรื่องผลกระทบทางภาษีอากร กรณีสิ้นสุดสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ การส่งเสริมการลงทุนมาตรา 36 (1), จุฑารัตน์ รัตนตันติกุล Jan 2020

ปัญหาเรื่องผลกระทบทางภาษีอากร กรณีสิ้นสุดสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ การส่งเสริมการลงทุนมาตรา 36 (1), จุฑารัตน์ รัตนตันติกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตามมาตรา 36 (1) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ผู้ได้รับการส่งเสริมมีสิทธิ์ได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านส่งออกตามที่คณะกรรมการกําหนดโดยเฉพาะการยกเว้นอากรขาเข้าสําหรับวัตถุดิบและวัสดุจําเป็นที่ต้องนําเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อใช้ ผลิต ผสม หรือประกอบผลิตภัณฑ์ เฉพาะที่ใช้ในการส่งออก โดยมิให้นํากฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรมาใช้บังคับ ซึ่งผู้ได้รับการส่งเสริมต้องนําปริมาณวัตถุดิบหรือวัสดุจําเป็น ที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าที่ได้มีการผลิตและส่งออกไปต่างประเทศแล้วมาดําเนินการตัดบัญชีวัตถุดิบ ซึ่งหากตัดบัญชีไม่หมด ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องชําระอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมทั้งเบี้ยปรับเงินเพิ่ม และอาจต้องเสียภาษีสรรพสามิตตามปริมาณวัตถุดิบคงเหลือนั้นๆ หากวัตถุดิบนั้นเป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีสรรพสามิต นอกจากนี้เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับสิทธิและประโยชน์วัตถุดิบ วัตถุดิบใดที่นําเข้ามาโดยได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าต้องทําการตัดบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาการได้รับสิทธิและประโยชน์ หากมียอดวัตถุดิบคงเหลือผู้ได้รับการส่งเสริมต้องชําระอากรขาเข้าวัตถุดิบตามสภาพ ณ วันนําเข้า อย่างไรก็ดี ทางปฏิบัติพบว่า มีกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมพบว่ายังมีวัตถุดิบนําเข้าที่เหลืออยู่ซึ่งยังมิได้มีการส่งออกและยังไม่ได้ชําระอากรขาเข้าภายหลังที่ระยะเวลาการนําเข้าผ่านไปกว่า 10 ปีแล้ว จึงมีประเด็นปัญหาเรื่องอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินในการออกแบบแจ้งเพื่อประเมินภาษีศุลกากร ประเมินภาษีสรรพสามิต ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายแต่ละฉบับ นอกจากนี้ยังมีประเด็นผลกระทบด้านภาษีต่างๆที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ อากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมไปถึงเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ของภาษีดังกล่าว ซึ่งจากการศึกษาพบว่ากิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า กรณีสิ้นสุดสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนมาตรา 36 (1) นั้น ยังมีความไม่ชัดเจนในเรื่องการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานและอายุความในการประเมินภาษีรวมถึงการจัดเก็บอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดี จึงได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เสียภาษีและผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีต่อไป