Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Banking and Finance Law

Chulalongkorn University

2020

Articles 31 - 42 of 42

Full-Text Articles in Law

ปัญหาความไม่ชัดเจนของกฎหมายกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book), พภัสสรณ์ พัฒนฉัตรรุ่งรุจ Jan 2020

ปัญหาความไม่ชัดเจนของกฎหมายกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book), พภัสสรณ์ พัฒนฉัตรรุ่งรุจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้ มุ่งศึกษาประเด็นปัญหาความไม่ชัดเจนของกฎหมายในการกำหนดประเภทและขอบเขตของหนังสือหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงรูปแบบของการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และแนวทางการคำนวณภาษีกรณีธุรกรรมที่ไม่สามารถแบ่งแยกราคาได้ อีกทั้งได้เสนอให้มีการจัดเก็บภาษีอัตราศูนย์สำหรับการจำหน่ายหนังสือหรือการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทตำราเรียน เนื่องจากประมวลรัษฎากรกำหนดให้มีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการจำหน่ายหนังสือหรือการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และตำราเรียน แต่อย่างไรก็ดี กฎหมายดังกล่าวไม่มีความชัดเจนแต่อย่างใด ทั้งกรณีการกำหนดประเภทและขอบเขตของหนังสือหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และรูปแบบการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่จะได้รับยกว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงวิธีการคำนวณภาษีกรณีการทำธุรกรรมที่ไม่สามารถแบ่งแยกราคาได้ ก็มิได้มีการกำหนดแนวทางในการคำนวณภาษีไว้ อันทำให้รัฐอาจสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษี นอกจากนี้ ควรกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราศูนย์สำหรับการจำหน่ายหนังสือหรือการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทตำราเรียน เพื่อให้ปลอดภาระภาษีโดยสิ้นเชิง ผู้เขียนจึงได้ศึกษาแนวคิดและกฎหมาย โดยพิจารณาเปรียบเทียบกับแนวทางการจัดเก็บภาษีหรับการจำหน่ายหนังสือหรือการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในสหราชอาณาจักร เพื่อเสนอแนะแนวทางอันทำให้กฎหมายมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น


ปัญหาค่าอากร ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนสูญหายโดยธรรมชาติ, กรกนก มะณี Jan 2020

ปัญหาค่าอากร ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนสูญหายโดยธรรมชาติ, กรกนก มะณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้จัดทําขึ้นเพื่อมุ่งศึกษาเกี่ยวกับ ปัญหาค่าอากร ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนสูญหายโดยธรรมชาติยังไม่มีความชัดเจนของกฎหมายในกรณีถ้าของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนสูญหายโดยธรรมชาตินั้นจะต้องเสียภาษีหรือไม่ โดยหลักการของคลังสินค้าทัณฑ์บนถ้าผู้นําเข้าได้นําเข้าของจากนอกราชอาณาจักรและได้นําเข้าเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร ผู้นําเข้าจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้า แต่หากมีการนําเข้าบริโภคในประเทศ ผู้นําเข้าจะต้องเสียภาษีนําเข้า หากพิจารณาของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนสูญหายโดยธรรมชาติ ผู้นําเข้าจะต้องเสียภาษีในกรณีของดังกล่าวสูญหายโดยที่มิได้มีการนําออกนอกราชอาณาจักรหรือไม่นั้นเห็นว่า เมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติศุลกากรพบว่าตามมาตรา 125 วางหลักว่า ของที่สูญหายนั้น ถ้ามีเหตุอันสมควรจะได้รับยกเว้นอากร ซึ่งไม่มีความชัดเจนของกฎหมายว่าเหตุใดถือว่ามีเหตุอันสมควรและการสูญหายโดยธรรมชาติถือว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ ทั้งเมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ.2560 ไม่มีการบัญญัติในเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว มีเพียงตัวอย่างหนังสือยอมรับอัตราการสูญหาย(การระเหย) ที่ออกโดยอธิบดีให้เฉพาะรายที่ได้มีคําขอว่าหากมีการสูญหายจากการผลิตตามอัตราที่ยอมรับได้จะได้รับยกเว้นภาษีมิได้ผูกพันต่อผู้เสียภาษีรายอื่นว่าจะได้รับยกเว้นภาษีตามหนังสือฉบับดังกล่าวหรือไม่ และเมื่อพิจารณาภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร คําพิพากษาฎีกาที่ 7839-7840/2560 วางหลักว่า การสูญหายคือการขาย ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ ผู้นําเข้าจึงต้องรับผิดในการเสียภาษี และเสียเงินเพิ่มเป็นจำนวนมาก ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าจะกฎหมายดังกล่าวมีความไม่ชัดเจนต่อผู้ประกอบการส่งผลต่อการลงทุนในประเทศ จึงเห็นสมควรมีการแก้ไขกฎหมายให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศทั่วโลกได้โดยเฉพาะในเรื่องการส่งเสริมการส่งออก


ปัญหาความไม่เหมาะสมของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 กับสิทธิของผู้เสียภาษีอากร ศึกษากรณีการชำระค่าอากรแทนการวางประกัน, กัลยกร ภมรบุตร Jan 2020

ปัญหาความไม่เหมาะสมของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 กับสิทธิของผู้เสียภาษีอากร ศึกษากรณีการชำระค่าอากรแทนการวางประกัน, กัลยกร ภมรบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับค่าอากรเกิดขึ้นขณะของกำลังผ่านพิธีการศุลกากร หากพนักงานศุลกากรมีความเห็นเบื้องต้นในขณะผ่านพิธีการศุลกากรว่าผู้นำของเข้ายังเสียอากรไม่ครบถ้วน และผู้นำของเข้าก็ยินยอมชำระอากรไปตามนั้น แม้ต่อมาจะมีการพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว พนักงานศุลกากรยังมีความเห็นตามเดิม ผู้นำของเข้าก็จะไม่มีช่องทางให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 เนื่องจากมีการชำระอากรครบถ้วนแล้ว พนักงานศุลกากรจึงไม่ออกแบบแจ้งการประเมินให้ ผู้นำของเข้าจึงไม่อาจอุทธรณ์ได้ แม้ตามมาตรา 55 จะกำหนดให้ผู้นำของเข้าชำระอากรตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้า และวางเงินเพิ่มเติมเป็นประกันหรือวางประกันเป็นอย่างอื่นจนครบจำนวนเงินอากรสูงสุดที่อาจต้องเสียสำหรับของนั้น แต่ปัญหาที่ตามมาคือ เมื่อผู้นำของเข้าวางประกันเพิ่มเติมเป็นเงิน จะมีค่าเทียบเท่ากับการชำระอากรไปก่อนตามความเห็นเบื้องต้นของพนักงานศุลกากร เพราะหากพนักงานศุลกากรได้วินิฉัยปัญหาค่าอากรและเห็นว่าเงินประกันดังกล่าวคุ้มค่าอากรแล้ว จะผลักเงินประกันนั้นเป็นค่าอากรตามจำนวนที่ประเมิน และถือว่าได้เสียอากรครบถ้วนแล้วเช่นเดียวกัน จึงทำให้ผู้นำของเข้าไม่ได้รับแบบแจ้งการประเมินที่ให้ผู้นำของเข้าที่ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยสามารถอุทธรณ์ไปยังคณะกรรมการพิจารณอุทธรณ์ได้ กรณีจึงกลายเป็นว่าจะต้องวางประกันด้วยหนังสือค้ำประกันของธนาคารเท่านั้นจึงจะได้รับแบบแจ้งการประเมิน กรณีไม่ได้รับแบบแจ้งการประเมินหากประสงค์ที่จะอุทธรณ์ จะต้องอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นช่องทางที่ไม่เหมาะสม อันเป็นการทำให้ผู้เสียอากรได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้เสียภาษีอากรที่ไม่เท่เทียมกัน จึงไม่สอดคล้องกับสิทธิของผู้รับคำสั่งทางปกครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากร และหลักภาษีอากรที่ดี นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อการอุทธรณ์ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย เพราะแบบแจ้งการประเมินของศุลกากรจะมีการระบุถึงภาษีทั้งสองประเภทในฉบับเดียวกันด้วย ทำให้ผู้ที่ประสงค์จะอุทธรณ์ไม่ได้รับหลักฐานในการนำไปประกอบการยื่นอุทธรณ์เช่นเดียวกัน ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 เปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และประมวลรัษฎากร ประกอบกับหลักการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป


ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำกิจการมาเป็นหลักประกัน ทางธุรกิจตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558, บุณฑริกา เทพารักษ์ Jan 2020

ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำกิจการมาเป็นหลักประกัน ทางธุรกิจตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558, บุณฑริกา เทพารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเรื่องการนำกิจการมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจเพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำกิจการมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เอกัตศึกษานี้ดำเนินการศึกษาโดยวิธีวิจัยทางเอกสารเกี่ยวกับกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในการรับกิจการเป็นหลักประกันทางธุรกิจเพื่อขอสินเชื่อ โดยศึกษาทั้งกฎหมายของประเทศไทยและกฎหมายของต่างประเทศ และวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวกับการรับกิจการเป็นหลักประกันของกฎหมายและหลักเกณฑ์ต่างๆ ของไทยและศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นแม่แบบในการนำหลักกฎหมายมาร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ของประเทศไทย และนำมาวิเคราะห์ถึงปัญหาเกี่ยวกับการรับกิจการเป็นหลักประกันทางธุรกิจของไทยที่มีอัตราที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการรับหลักประกันทางธุรกิจประเภทอื่น งานวิจัยนี้พบว่า ปัญหาการไม่รับหลักประกันทางธุรกิจประเภทกิจการเพราะผู้รับหลักประกันมีความกังวลเกี่ยวกับการบังคับหลักประกัน วิธีการในการประเมินมูลค่าและคุณสมบัติของผู้ประเมินมูลค่าและผู้บังคับหลักประกัน ทำให้ไม่เกิดการรับหลักประกันประเภทกิจการได้จริงในทางปฏิบัติวิจัยนี้เสนอให้ตรากฎหมายเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการประเมินมูลค่ากิจการให้ใช้วิธี 4 วิธีในการประเมินและต้องประเมินมูลค่าปีละครั้งและเพิ่มทางเลือกกรณีบังคับกิจการให้สามารถเลือกได้ว่าจะบังคับกิจการออกขายหรือเพียงยึดอำนาจบริหารและกำหนดคุณสมบัติของผู้ประเมินมูลค่าให้เป็นผู้ที่มีหน่วยงานรับรองและคุณสมบัติของผู้บังคับหลักประกันให้มีคุณสมบัติเช่นเดียวกันผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ


ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดเก็บและประเมินภาษีอากรของหน่วยงานจัดเก็บภาษีที่ไม่สอดคล้องกับคำพิพากษาของศาลภาษีอากร : ศึกษากรณีการประเมินเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร, ธันวาเทพ กานต์สมเกียรติ Jan 2020

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดเก็บและประเมินภาษีอากรของหน่วยงานจัดเก็บภาษีที่ไม่สอดคล้องกับคำพิพากษาของศาลภาษีอากร : ศึกษากรณีการประเมินเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร, ธันวาเทพ กานต์สมเกียรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจัดเก็บเงินเพิ่มภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กฎหมายไม่ได้กำหนดบทบัญญัติไว้อย่างชัดเจนถึงวิธีการคำนวณภาษีที่ต้องชำระในกรณีเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายทำให้เกิดวิธีการคำนวณหลายแนวทางจากการตีความกฎหมายของหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากร คือ กรมสรรพากร คำนวณโดยไม่คำนึงถึงภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และจากองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดตัดสินข้อพิพาททางภาษีอากร คือ ศาลภาษีอากร ตีความในทางตรงกันข้าม จากการคำนวณที่แตกต่างกันนี้ส่งผลให้ได้ผลลัพธ์จำนวนภาษีที่ต้องช าระหลายจำนวนแตกต่างกันและเกิดการดำเนินการจัดเก็บและประเมินภาษีอากรของกรมสรรพากรโดยอาศัยความไม่ชัดเจนของกฎหมายอย่างไม่สอดคล้องกับคำพิพากษาของศาล ความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติกฎหมายเป็นสาเหตุก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่อผู้เสียภาษีให้ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้เสียภาษีขาดสิทธิเรียกร้องต่อฝ่ายปกครองจากการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายในการใช้สิทธิทางศาล ประสบภาระเกี่ยวกับการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรและการลิดรอนสิทธิในทรัพย์สินจากเงินที่ต้องชำระตามการประเมินหรือการทุเลาการเสียภาษีอากร จากการศึกษาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมด้วยการกำหนดบทบัญญัติกฎหมายให้เกิดความชัดเจนตามแนวทางคำพิพากษาของศาลภาษีอากร


พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 : ศึกษากรณีการฟอกเงินโดยใช้เงินเสมือนในการพนันออนไลน์, วีรภัทร พัฒนะโชติกุล Jan 2020

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 : ศึกษากรณีการฟอกเงินโดยใช้เงินเสมือนในการพนันออนไลน์, วีรภัทร พัฒนะโชติกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาและผลกระทบจากปัญหาช่องว่างของกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในประเทศไทยกรณีการฟอกเงินโดยใช้เงินเสมือนในการพนันออนไลน์ การกำหนดความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการพนันออนไลน์ และแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการศึกษากับแนวทางสากล รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับของสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ จากการศึกษาพบว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่สามฉบับ คือ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพระราชบัญญัติการพนัน และ พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล อย่างไรก็ดีบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามเงินเสมือนจากการกระทำผิดฐานฟอกเงินในธุรกิจการพนันออนไลน์ ทำให้เกิดช่องว่างทางกฎหมายส่งผลให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไม่สามารถดำเนินการป้องกันและยึดอายัดเงินเสมือนได้ นอกจากนี้ยังไม่ได้กำหนดคำนิยามของ "การพนันออนไลน์" ไว้ชัดเจนอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดมูลฐาน ทำให้ขัดต่อหลักการตีความโดยเคร่งครัดตามหลักกฎหมายอาญาและส่งผลให้เกิดการตีความเกินเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนั้นผู้เขียนจึงได้เสนอให้มีการออกกฏกระทรวงตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกำหนดมาตรการในการป้องกันและปราบปรามเงินเสมือนในการกระทำความผิดฐานฟอกเงินในธุรกิจการพนันออนไลน์และกำหนดนิยามของ "การพนันออนไลน์" ไว้ในพระราชบัญญัติการพนันโดยนำแนวทางสากลและกฎหมายพนันออนไลน์ของสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้เพื่อขจัดปัญหาช่องว่างทางกฎหมาย เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยใช้เงินเสมือนในการพนันออนไลน์มีประสิทธิภาพ


มาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนในกองทุนรวมจากการถูกลดทอนมูลค่าหน่วยลงทุน, ณัฐศศิ ฝีมือช่าง Jan 2020

มาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนในกองทุนรวมจากการถูกลดทอนมูลค่าหน่วยลงทุน, ณัฐศศิ ฝีมือช่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนในกองทุนรวมจากการถูกลดทอน มูลค่าหน่วยลงทุน (dilution) ซึ่งเกิดจากการทำรายการซื้อขายหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนในปริมาณมากที่ทำให้ เกิดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการทำธุรกรรมของกองทุนรวมอันส่งผลกระทบต่อผู้ลงทุนในกองทุนรวมที่ไม่ได้ ทำรายการซื้อขายหน่วยลงทุนด้วย ด้วยวิธีการชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้ (Pay In-Kind) ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถคุ้มครองผู้ลงทุนรายย่อยซึ่งเป็นผู้ลงทุนส่วนใหญ่ของกองทุนรวมได้อย่างแท้จริง ผู้เขียนได้ศึกษามาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนจากการถูกลดทอนมูลค่าหน่วยลงทุน และหลักเกณฑ์ของมาตร การ ดังกล่าวในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศได้มี การพัฒนาและบัญญัติกฎหมายจากแนวคิดและหลักการส่งต่อต้นทุนในการทำธุรกรรมซื้อขายของกองทุนรวม ไปยังผู้ลงทุนที่ทำรายการซื้อขายหน่วยลงทุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการถูกลดทอน มูลค่าหน่วยลงทุนของผู้ลงทุ นในกองทุนรวมเป็นสำคัญ และมุ่งต่อประโยชน์ของผู้ลงทุนในกองทุนรวม เป็นสำคัญ รายงานฉบับนี้ จึงเสนอให้มีปรับปรุงร่างกฎหมายคุ้มครองผู้ลงทุนจากการถูกลดทอนมูลค่าหน่วยลงทุน โดยให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดที่มีการคำนึงถึงการคุ้มครองผู้ลงทุนในกองทุนรวม การป้องกัน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการเปิดเผยข้อมูลในระดับที่จำเป็นและเหมาะสม


แนวทางการกำหนดภาระภาษีของการส่งตัวพนักงานต่างชาติเข้ามาทำงานให้กับบริษัทในเครือในประเทศไทย, ดวงแข กสิผล Jan 2020

แนวทางการกำหนดภาระภาษีของการส่งตัวพนักงานต่างชาติเข้ามาทำงานให้กับบริษัทในเครือในประเทศไทย, ดวงแข กสิผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


แนวทางการปรับลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลากรเพื่อความสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการ, นรภัทร วีระโจง Jan 2020

แนวทางการปรับลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลากรเพื่อความสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการ, นรภัทร วีระโจง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแก้ปัญหาหนี้สินผ่านกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น เป็นกระบวนการที่เจ้าหนี้และลูกหนี้จะมาตกลงทำการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้เพื่อที่ว่ากิจการของลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพันตัวจะได้มีโอกาสกลับมาดำเนินธุรกิจและมีผลกำไรได้อย่างปกติอีกครั้ง แทนที่จะต้องชำระบัญชีและเลิกกิจการไป ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ การปรับลดค่าใช้จ่ายทางด้านบุคลากรนับว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ อย่างไรก็ดี ในการปรับลดใช้จ่ายทางด้านบุคลากรของบริษัทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการนั้นจะมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งมีเจตนารมณ์ของกฎหมายแต่ละฉบับต่างก็มุ่งที่จะคุ้มครองผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกัน การปรับลดใช้จ่ายทางด้านบุคลากรของบริษัทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายไทยในปัจจุบันจึงกระทำได้อย่างค่อนข้างจำกัดและไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากขาดหลักเกณฑ์และมาตรการดำเนินการที่เหมาะสม เอกัตศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวคิดและหลักเกณฑ์ในการปรับลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากรของลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา และกฎหมายของสหราชอาณาจักร เพื่อนำมาเป็นแนวในการปรับปรุงกฎหลักเกณฑ์ตามกฎหมายฟื้นฟูกิจการ และกฏหมายแรงงานของไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปรับลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลากรของลูกหนี้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการให้มีความเหมาะสม สามารถบังคับใช้ได้จริงและมีประสิทธิภาพ และเกิดความสมดุลระหว่างสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง และสิทธิในการดำเนินการที่จำเป็นเพื่อความสำเร็จขอการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้


แนวทางการพัฒนาการจัดเก็บภาษีการเข้าพักโรงแรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม, พัทธมน บุญมี Jan 2020

แนวทางการพัฒนาการจัดเก็บภาษีการเข้าพักโรงแรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม, พัทธมน บุญมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาษีการเข้าพักโรงแรม คือ รายได้ของรัฐที่เรียกเก็บจากการเข้าพักในโรงแรมหรือที่พักประเภทอื่น ๆ ของนักท่องเที่ยว ซึ่งไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยในประเทศไทยจัดเก็บรายได้ดังกล่าวในลักษณะของค่าธรรมเนียมบํารุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดและค่าธรรมเนียมบํารุงกรุงเทพมหานครโดยกฎหมายให้อํานาจแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดและกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเรียกเก็บภาษีการเข้าพักโรงแรมจากผู้พักในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมได้ซึ่งกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ประเทศไทยมีเพียงฉบับเดียว คือ พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 ดังนั้น เฉพาะการเข้าพักในสถานที่พักที่เป็นโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 เท่านั้น ที่จะต้องเสียภาษีการเข้าพักโรงแรม ทําให้เกิดความไม่เสมอภาคและไม่ยุติธรรมแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเพราะผู้ที่เข้าพักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ย่อมไม่ต้องเสียภาษีการเข้าพักโรงแรม เพราะฉะนั้น ควรมีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สามารถจัดเก็บภาษีการเข้าพักโรงแรมจากการเข้าพักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมได้ โดยจากการศึกษาวิเคราะห์ผู้วิจัยเห็นว่าแนวทางการพัฒนาการจัดเก็บภาษีการเข้าพักโรงแรมจากสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เหมาะสม คือ (1) ควรตรากฎหมายภาษีการเข้าพักโรงแรมให้เป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติเพื่อให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดีและ (2) ควรปฎิรูปกฎหมายที่เกี่ยวกับสถานที่พักแรม เพื่อส่งเสริมและควบคุมสถานที่พักแรมที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ ทั้งนี้การปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว นอกจากจะทําให้การจัดเก็บภาษีการเข้าพักโรงแรมสอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดีแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพและอํานวยรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย


ปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร ศึกษากรณีกิจการขนส่งระหว่างประเทศ, วาสิตา วราสิทธิชัย Jan 2020

ปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร ศึกษากรณีกิจการขนส่งระหว่างประเทศ, วาสิตา วราสิทธิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภายหลังการบังคับใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 หลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้จากกิจการขนส่งระหว่างประเทศ จะเป็นไปตามประเภทของผู้ประกอบการ กล่าวคือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศจะอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 67 โดยต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะรายได้จากการขนส่งระหว่างประเทศก่อนหักรายจ่ายใด ในอัตราร้อยละ 3 ส่วนรายได้อื่นของกิจการเสียภาษีจากกำไรสุทธิ แต่สำหรับนิติบุคคลไทยจะเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิซึ่งเป็นรายได้ทั้งหมดของกิจการในอัตราร้อยละ 20 เห็นได้ว่าแม้จะประกอบกิจการประเภทเดียวกันแต่หลักเกณฑ์ที่ใช้จัดเก็บภาษีแตกต่างกัน อย่างไรก็ดีการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวในการจัดเก็บภาษีส่งผลให้ผู้ประกอบการสองประเภทมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ไม่เท่ากันซึ่งขัดกับหลักความเป็นธรรมทางภาษี ทั้งยังเกิดปัญหาการแบ่งแยกรายได้จากการเสียภาษีในฐานภาษีที่แตกต่างกันและเมื่อไม่มีการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนของรายได้จากการขนส่งระหว่างประเทศที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 67 ส่งผลให้มีการถ่ายโอนรายได้กันภายในกิจการเพื่อให้ได้เสียภาษีในจำนวนที่น้อยที่สุดอันเป็นการเปิดช่องและนำไปสู่การหลบหลีกภาษีอากร ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงทำการศึกษาหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีจากกิจการขนส่งระหว่างประเทศของต่างประเทศเพื่อหาแนวทางการจัดเก็บภาษีที่เหมาะสมกับกิจการดังกล่าว โดยผู้เขียนเห็นว่าควรเปลี่ยนหลักเกณฑ์ให้จัดเก็บภาษีจากกำไรสุทธิของกิจการซึ่งเป็นหลักเกณฑ์เดียวกันกับการจัดเก็บภาษีจากนิติบุคคลไทยที่ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ นอกจากจะสอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดีแล้ว การเปลี่ยนหลักเกณฑ์เช่นนี้ยังขจัดปัญหาการแบ่งแยกรายได้ภายในกิจการเดียวกันได้อีกด้วย


ราคาประเมินโอนหุ้นเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล : ศึกษากรณีซื้อขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์, พหล คันธคามชิต Jan 2020

ราคาประเมินโอนหุ้นเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล : ศึกษากรณีซื้อขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์, พหล คันธคามชิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.