Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2019

Theses/Dissertations

Computer Sciences

Institution
Keyword
Publication

Articles 151 - 160 of 160

Full-Text Articles in Engineering

เครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้งานเชิงฮิวริสติกสำหรับแอปพลิเคชันแอนดรอยด์เพื่อเด็กอายุ 6 – 12 ปี, ณัฏฐิกา ศรีเกียรติวงศ์ Jan 2019

เครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้งานเชิงฮิวริสติกสำหรับแอปพลิเคชันแอนดรอยด์เพื่อเด็กอายุ 6 – 12 ปี, ณัฏฐิกา ศรีเกียรติวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับเด็กนั้นมีความแตกต่างจากการออกแบบโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับผู้ใช้งานที่เป็นผู้ใหญ่เนื่องจากเด็กมีพฤติกรรมและพัฒนาการที่ต่างกับผู้ใหญ่ และยังต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้และความสามารถในการใช้งานอีกด้วย การประเมินเชิงฮิวริสติกเป็นวิธีการประเมินความสามารถในการใช้งานส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ที่ได้รับความนิยม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความสามารถในการใช้งานทำการเปรียบเทียบการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้กับแนวทางการออกแบบหรือฮิวริสติกว่ามีความขัดแย้งกับแนวทางการออกแบบแต่ละข้อหรือไม่ แต่เนื่องจากแนวทางการออกแบบมีเป็นจำนวนมากจึงทำให้เป็นภาระในการประเมิน ทำให้บ่อยครั้งเกิดการตรวจพบข้อผิดพลาดได้ไม่ครบถ้วน จึงทำให้การประเมินเชิงฮิวริสติกมีประสิทธิภาพไม่ดีนัก งานวิจัยนี้ได้ทำการรวบรวมและปรับปรุงแนวทางการออกแบบความสามารถในการใช้งานเชิงฮิวริสติกสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อเด็กอายุ 6–12 ปี มาจากหลายแหล่ง แล้วนำไปประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้สำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน แนวทางการออกแบบที่ได้จะแบ่งออกเป็น 12 หมวด รวมทั้งหมด 94 รายการ จากนั้นได้ทำการพัฒนาเครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้งาน ซึ่งสามารถประเมินจากรหัสต้นฉบับของแอปพลิเคชันแอนดรอยด์ตามแนวทางการออกแบบเฉพาะในส่วนที่สามารถตรวจสอบได้อย่างอัตโนมัติจำนวน 25 รายการ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ประเมินในการประเมินความสามารถในการใช้งานส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ จากการทดสอบการประเมินความสามารถในการใช้งานของ 5 แอปพลิเคชันสำหรับเด็กบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ตามรายการประเมิน 25 รายการที่สามารถตรวจสอบได้อย่างอัตโนมัติพบว่า เครื่องมือสามารถตรวจหาข้อผิดพลาดในการออกแบบที่ผู้ประเมินทั้งที่เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้และที่เป็นนักพัฒนาแอปพลิเคชันไม่สามารถตรวจพบได้ ในขณะที่เครื่องมือเองยังมีข้อจำกัดที่ทำให้ตรวจไม่พบข้อผิดพลาดที่ผู้ประเมินตรวจพบได้เช่นกัน ถึงอย่างนั้นก็ตามค่าเฉลี่ยของจำนวนจุดที่พบข้อผิดพลาดในการออกแบบเมื่อประเมินด้วยเครื่องมือมีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ประเมินทั้งสองกลุ่มที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และจากการทดสอบประสิทธิภาพด้านเวลายังพบว่า เครื่องมือสามารถช่วยลดเวลาในการประเมินได้อีกด้วย


การแปลงกระแสงานยอร์ลที่มีเงื่อนไขเวลาไปเป็นสโตแคสติกเพทริเน็ตส์ทั่วไป, สุพัตรา บุญญะวัตร Jan 2019

การแปลงกระแสงานยอร์ลที่มีเงื่อนไขเวลาไปเป็นสโตแคสติกเพทริเน็ตส์ทั่วไป, สุพัตรา บุญญะวัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันโลกทางธุรกิจมีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา ผู้ประกอบการทางธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนและการบริหารจัดการเวลา ทรัพยากร รวมไปถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยในการจำลองกระบวนการทางธุรกิจ เช่น แผนภาพบีพีเอ็มเอ็น บีเพล และกระแสงานยอว์ล เป็นต้น แต่เครื่องมือดังกล่าวยังไม่สามารถระบุเวลาเฉลี่ยของแต่ละงานในการพัฒนาระบบได้ งานวิทยานิพนธ์นี้ได้เสนอการแปลงกระแสงานยอว์ลไปเป็นสโตแคสติกเพทริเน็ตแบบทั่วไป ซึ่งในงานวิทยานิพนธ์นี้เลือกใช้กระแสงานยอว์ลมาใช้ในการสร้างแบบจำลองกระบวนการทางธุรกิจเพราะกระแสงานยอว์ลมีเครื่องมือ YAWL Editor ที่มีฟีเจอร์ในการตรวจสอบคุณสมบัติของแบบจำลองที่สร้างขึ้น เช่น ตรวจสอบสภาวะติดตายของระบบ เป็นต้น ถึงแม้ว่ากระแสงานยอว์ลจะมีฟีเจอร์ที่ดีดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น แต่กระแสงานยอว์ลไม่สามารถวิเคราะห์ข้อจำกัดด้านเวลาได้ ดังนั้นในงานวิทยานิพนธ์นี้จึงได้เสนอการแปลงกระแสงานยอว์ลที่มีเงื่อนไขของเวลาไปเป็นสโตแคสติกเพทริเน็ตส์ทั่วไป โดยผู้วิจัยจะเพิ่มค่าเฉลี่ยของเวลาเข้าไปในสัญลักษณ์ของกระแสงานยอว์ลมาตรฐานหลังจากที่แปลงเป็นสโตแคสติกเพทริเน็ตส์ทั่วไปแล้ว โดยใช้การวิเคราะห์ความน่าจะเป็นของเวลาในรูปแบบความน่าจะเป็นที่มีการแจกแจงแบบเอ็กโพเนนเชียลในการสาธิตการใช้งานโมเดล


ระบบการจัดการมูลค่าข้อมูลจากเกมสู่เกมด้วยบล็อกเชน, ชานน ยาคล้าย Jan 2019

ระบบการจัดการมูลค่าข้อมูลจากเกมสู่เกมด้วยบล็อกเชน, ชานน ยาคล้าย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แม้ว่าในปัจจุบันบล็อกเชนจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายอุตสาหกรรม แต่ในอุตสาหกรรมเกมนั้น บล็อกเชนไม่ได้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางมากนัก นอกจากนี้ แม้ว่าในอุสาหกรรมเกมจะมีผู้เล่นอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่มีเกมหรือแพลตฟอร์มใดที่ให้สิทธิผู้เล่นในการเป็นเจ้าของสินทรัพย์หรือข้อมูลภายในเกมอย่างแท้จริง โดยแม้จะมีความพยายามในการระดมทุนเพื่อทำเกมหรือแพลตฟอร์มที่ให้ผู้เล่นได้มีโอกาสเป็นเจ้าของสินทรัพย์หรือข้อมูลภายในเกมอยู่บ้าง แต่ก็ยังคงอยู่ในขั้นตอนการทดลองที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และผู้เล่นยังต้องพึ่งพาระบบนิเวศน์ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ อีกด้วย ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยจึงประสงค์ที่จะนำเสนอสถาปัตยกรรมกลางที่ทำให้ผู้เล่นเกมสามารถเป็นเจ้าของเวลาที่ตนเองใช้ภายในเกมได้โดยใช้บล็อกเชนสาธารณะ ทั้งผู้เล่นยังสามารถนำเวลาดังกล่าวไปใช้ในเกมอื่นได้ด้วย โดยใช้มาตราฐานโทเคนดิจิทัล ERC-20 บนอีเธอเรี่ยม นอกจากนี้ รูปแบบสถาปัตยกรรมที่นำเสนอดังกล่าวยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกบล็อกเชนสาธารณะ และยังเป็นประโยชน์ต่อทุกองค์ประกอบของระบบนิเวศน์ อาทิเช่น ผู้เล่น บล็อกเชนโหนด และผู้พัฒนาเกม โดยผลการทดลองในงานวิทยานิพนธ์นี้ ยังแสดงว่าแนวความคิดดังกล่าวทำให้ผู้เล่นใช้เวลาในการเล่นเกมนานขึ้น และมีแนวโน้มที่จะอยากเล่นเกมใหม่ๆ ที่สามารถนำมูลค่าในเกมเดิมไปใช้ได้ แต่ทั้งนี้ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผล อาทิเช่น ประเภทของเกม การแลกเปลี่ยนค่าของเวลาภายในเกม เป็นต้น


การประเมินการส่งผ่านข้อมูลส่วนตัวของเเอปพลิเคชันโดยวิเคราะห์จากนโยบายความเป็นส่วนตัว, เมธัส นาคเสนีย์ Jan 2019

การประเมินการส่งผ่านข้อมูลส่วนตัวของเเอปพลิเคชันโดยวิเคราะห์จากนโยบายความเป็นส่วนตัว, เมธัส นาคเสนีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โมไบล์เเอปพลิเคชันในปัจจุบันได้ขอเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการเพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปพัฒนาการให้บริการ เช่น ข้อมูลส่วนตัว อีเมล ซึ่งการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้มีทั้งจุดประสงค์ในการใช้ข้อมูลในทางที่ดีเเละไม่ดี จึงเป็นเรื่องที่ผู้ใช้บริการควรตระหนักถึง ทั้งนี้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบรายละเอียดการนำข้อมูลไปใช้จากเเหล่งที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ได้เเก่ นโยบายความเป็นส่วนตัว เเต่เนื่องจากนโยบายความเป็นส่วนตัวมีข้อความที่ยาวเเละทำความเข้าใจได้ยาก ผู้ใช้บริการอาจพลาดส่วนสำคัญจากการอ่านนโยบายความเป็นส่วนตัวได้ ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงได้ตั้งข้อสมมุติฐานเพื่อทำการพิสูจน์สมมุติฐานว่าการประเมินการส่งผ่านข้อมูลส่วนตัวของเเอปพลิเคชันสามารถวิเคราะห์ได้จากข้อความในนโยบายความเป็นส่วนตัวหรือไม่ โดยการใช้การเรียนรู้ด้วยเครื่องเข้ามาช่วยเพื่อที่จะประเมินการส่งผ่านของข้อมูลส่วนตัวเเทนการอ่านจากนโยบายความเป็นส่วนตัว


เครื่องมือวิเคราะห์แบบรวมสำหรับการแปรผันของจำนวนชุดดีเอ็นเอบนลำดับเอ็กโซม, เสาวภาค จันทร์วิกูล Jan 2019

เครื่องมือวิเคราะห์แบบรวมสำหรับการแปรผันของจำนวนชุดดีเอ็นเอบนลำดับเอ็กโซม, เสาวภาค จันทร์วิกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการแปรผันของจำนวนชุดดีเอ็นเอบนลำดับเอ็กโซม หรือที่เรียกว่าการศึกษาซีเอ็นวีบนเอ็กโซม เป็นหนึ่งในการศึกษาการแปรผันเชิงโครงสร้างของสารพันธุกรรมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน การศึกษานี้สามารถช่วยนักวิจัยให้เข้าใจวิวัฒนาการของมนุษย์ การวินิจฉัยโรค และการตอบสนองต่อยาที่ใช้รักษาโรคได้ แต่ในขณะเดียวกันการศึกษานี้ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายเนื่องจากกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งเอ็กโซมมาพร้อมกับค่าผลบวกเท็จสูงมาก และเมื่อนำเอ็กโซมที่มีค่าผลบวกเท็จสูงนี้มาตรวจจับหาการแปรผันของจำนวนชุดดีเอ็นเอบนลำดับเอ็กโซมก็ยิ่งก่อให้เกิดค่าผลบวกเท็จสูงยิ่งขึ้น อีกทั้งการแปรผันนี้ยังมีคุณลักษณะที่หลากหลายทำให้นักวิจัยไม่สามารถสร้างเครื่องมือตรวจจับที่ครอบคลุมคุณลักษณะทั้งหมดได้ นักวิจัยได้พยายามจัดการกับปัญหานี้ด้วยการสร้างเครื่องมือตรวจจับการแปรผันจำนวนมากที่มีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามยังไม่มีเครื่องมือตรวจจับการแปรผันเครื่องมือใดสามารถแก้ปัญหานี้ได้ อีกทั้งเครื่องมือตรวจจับการแปรผันส่วนใหญ่ขาดความสะดวก และความยืดหยุ่นในการใช้งาน เช่น ผู้ใช้ต้องติดตั้งเครื่องมือตรวจจับการแปรผันผ่านทางคอมมานไลน์ เครื่องมือตรวจจับไม่ให้คำอธิบายประกอบให้กับการแปรผันที่ตรวจจับได้ และไม่เปิดเผยข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล เป็นต้น จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงสร้างเครื่องมือตรวจจับการแปรผันของจำนวนชุดดีเอ็นเอบนลำดับเอ็กโซมแบบบูรณาการในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันซึ่งง่ายต่อการติดตั้งที่ชื่อว่า “อินซีเอ็นวี” เครื่องมือนี้สามารถรวมผลลัพธ์จากเครื่องมือตรวจจับซีเอ็นวีหลายเครื่องมือเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจจับการแปรผัน หาความสัมพันธ์ของการแปรผันจากหลายตัวอย่างเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค และจำกัดความเป็นไปได้ในการค้นพบการแปรผันตำแหน่งใหม่ที่ยังไม่เคยถูกรายงานในฐานข้อมูลการแปรผันทางพันธุกรรม เป็นต้น


ตัวสร้างสตับและไดร์เวอร์สำหรับการทดสอบรวมของคลาสจากแผนภาพลำดับและแผนภาพคลาส, พีรวุฒิ เหลืองเรืองโรจน์ Jan 2019

ตัวสร้างสตับและไดร์เวอร์สำหรับการทดสอบรวมของคลาสจากแผนภาพลำดับและแผนภาพคลาส, พีรวุฒิ เหลืองเรืองโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ นักเขียนโปรแกรมแต่ละคนอาจจะเขียนโปรแกรมแต่ละส่วนเสร็จไม่พร้อมกัน หากต้องรอนักเขียนโปรแกรมทุกคนเขียนโปรแกรมเสร็จสิ้นจึงเริ่มการทดสอบจะเป็นการเสียเวลา การทดสอบซอฟต์แวร์จึงเริ่มทันทีเมื่อรหัสต้นฉบับบางส่วนพัฒนาเสร็จสิ้น ซึ่งสตับและไดร์เวอร์จะถูกนำมาใช้แทนมอดูลที่ยังพัฒนาไม่เสร็จ อย่างไรก็ตามสตับและไดร์เวอร์เป็นรหัสต้นฉบับเสียเปล่าที่ถูกสร้างเพื่อใช้เพียงครั้งเดียวและไม่สามารถนำมาใช้กับโครงการอื่น ๆ ได้ การสร้างสตับและไดร์เวอร์จึงควรใช้ความพยายามในการพัฒนาให้น้อยที่สุด งานวิจัยก่อนหน้าได้นำเสนอตัวสร้างสตับและไดร์เวอร์โดยใช้ข้อมูลจากแผนภาพลำดับและแผนภาพคลาส ซึ่งมีข้อจำกัดด้านการสร้างสตับและไดร์เวอร์สำหรับคลาสนามธรรม คลาสภายใน และอินเตอร์เฟส รวมทั้งสามารถเลือกคลาสภายใต้การทดสอบได้เพียงคลาสเดียวและไม่สามารถสร้างกรณีทดสอบได้ โดยงานวิจัยนี้จะพัฒนาตัวสร้าง สตับและไดร์เวอร์ที่แก้ไขข้อจำกัดของงานวิจัยดังกล่าว ผู้ทดสอบสามารถสร้างสตับและไดร์เวอร์สำหรับการทดสอบรวมของคลาสโดยนำเข้าแผนภาพลำดับและแผนภาพคลาสในรูปเอกซ์เอ็มแอล จากนั้นตัวสร้างจะประมวลผลแผนภาพและสร้างกราฟการเรียกใช้งานขึ้นมา ผู้ทดสอบสามารถเลือกกคลาสภายใต้การทดสอบได้ตั้งแต่หนึ่งคลาสขึ้นไป และตัวสร้างจะรวบรวมสตับและไดร์เวอร์ที่ต้องใช้ทดสอบคลาสที่เลือกและสร้างรหัสต้นฉบับของสตับและไดร์เวอร์ขึ้นมาเพื่อทดสอบคลาสเหล่านั้น นอกจากนี้ตัวสร้างจะสุ่มค่าของข้อมูลทดสอบได้แก่ข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่คาดหวังลงไปในไดร์เวอร์ จากนั้นตัวสร้างจะส่งออกไฟล์รหัสต้นฉบับเพื่อการทดสอบรวมคลาสดังกล่าว ซึ่งสตับและไดร์เวอร์ที่สร้างขึ้นมาจะนำไปทดสอบรวมกับกรณีศึกษา 3 กรณี ซึ่งพบว่าสตับและไดร์เวอร์ที่ถูกสร้างขึ้นสามารถแทนที่คลาสที่ยังพัฒนาไม่เสร็จได้


A Peer-To-Peer Protocol For Prioritized Software Updates On Wireless Sensor Networks, Natchanon Nuntanirund Jan 2019

A Peer-To-Peer Protocol For Prioritized Software Updates On Wireless Sensor Networks, Natchanon Nuntanirund

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Software updating is essential for devices in wireless sensor networks for adding new features, improving performance, or patching vulnerabilities. But since some deployed devices are unable to be accessed directly, data dissemination protocol is used for distributing the update to those devices. However, each software updating may have different priority, for instance, an update that adds an optional feature does not have to be applied as fast as an update that patches severe vulnerabilities. This research presents a reliable data dissemination protocol which is configurable for energy-speed trade-off deriving some concepts from BitTorrent such as Handshaking, Segmented File Transfer, and …


Semi-Supervised Deep Learning With Malignet For Bone Lesion Instance Segmentation Using Bone Scintigraphy, Terapap Apiparakoon Jan 2019

Semi-Supervised Deep Learning With Malignet For Bone Lesion Instance Segmentation Using Bone Scintigraphy, Terapap Apiparakoon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

One challenge in applying deep learning to medical imaging is the lack of labeled data. Although large amounts of clinical data are available, acquiring labeled image data is difficult, especially for bone scintigraphy (i.e., 2D bone imaging) images. Bone scintigraphy images are generally noisy, and ground-truth or gold standard information from surgical or pathological reports may not be available. We propose a novel neural network model that can segment abnormal hotspots and classify bone cancer metastases in the chest area in a semi-supervised manner. Our proposed model, called MaligNet, is an instance segmentation model that incorporates ladder networks to harness …


Semantic Segmentation On Remotely Sensed Images Using Deep Convolutional Encoder-Decoder Neural Network, Teerapong Panboonyuen Jan 2019

Semantic Segmentation On Remotely Sensed Images Using Deep Convolutional Encoder-Decoder Neural Network, Teerapong Panboonyuen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

One of the fundamental tasks in remote sensing is the semantic segmentation of the aerial and satellite images. It plays a vital role in applications, such as agriculture planning, map updates, route optimization, and navigation. The state-of-the-art model is the Deep Convolutional Encoder-Decoder (DCED). However, the accuracy is still limited since the architecture is not designed for recovering low-level features, e.g., river, low vegetation on remotely sensed images, and the training data in this domain are deficient. In this dissertation, we aim to propose the semantic segmentation architecture in five aspects, designed explicitly for the remotely sensed field. First, we …


เครื่องมือวิเคราะห์ผลกระทบต่อซอร์สโค้ดไฮเบอร์เนตและกรณีทดสอบสำหรับการเปลี่ยนแปลงสคีมาฐานข้อมูล, อมรรัตน์ ใจมูล Jan 2019

เครื่องมือวิเคราะห์ผลกระทบต่อซอร์สโค้ดไฮเบอร์เนตและกรณีทดสอบสำหรับการเปลี่ยนแปลงสคีมาฐานข้อมูล, อมรรัตน์ ใจมูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบฐานข้อมูลเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพราะมีการจัดการความสอดคล้องของข้อมูลและทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลไม่ได้อยู่ในสภาพที่ไม่ถูกต้อง โดยในแต่ละรอบของการพัฒนาซอฟต์แวร์จะมีเปอร์เซ็นต์ของความซับซ้อนและขนาดของฐานข้อมูลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสคีมาฐานข้อมูลจะส่งผลกระทบต่อซอร์สโค้ดที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงกรณีทดสอบที่มักจะนำไปสู่ความล้มเหลวของกระบวนการซอฟต์แวร์ได้ นักวิจัยบางคนวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การจัดการตัวกำหนดค่า การตรวจสอบความสัมพันธ์ในรูปแบบย้อนกลับ และการแบ่งส่วนของโปรแกรม เป็นการวิเคราะห์ผลกระทบเพื่อระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาเหล่านั้นไม่ได้เน้นถึงผลกระทบที่มีต่อซอร์สโค้ดและกรณีทดสอบ ดังนั้นงานวิจัยนี้นำเสนอเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบต่อซอร์สโค้ดไฮเบอร์เนตและกรณีทดสอบสำหรับการเปลี่ยนแปลงสคีมาฐานข้อมูล นอกจากนี้เครื่องมือยังสามารถแสดงให้ผู้ใช้ได้ทราบถึงตำแหน่งของผลกระทบที่เกิดขึ้นในซอร์สโค้ดและกรณีทดสอบรวมไปถึงตำแหน่งของซอร์สโค้ดและกรณีทดสอบที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขบนซอร์สโค้ดและการณีทดสอบที่ได้รับผลกระทบอีกด้วย สุดท้ายนี้เครื่องมือที่สร้างขึ้นจะถูกนำไปทดสอบกับกรณีศึกษา 3 กรณี ซึ่งพบว่าซอร์สโค้ดและกรณีทดสอบที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสคีมาฐานข้อมูลสามารถนำกลับไปใช้งานต่อได้อย่างสมบูรณ์เนื่องจากได้รับการปรับปรุงแก้ไขจากเครื่องมือที่สร้างขึ้น