Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1621 - 1650 of 1650

Full-Text Articles in Engineering

การพัฒนาเทคนิคการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ที่บันทึกภาพโดยใช้กล้องดิจิทัลสำหรับคัดกรองของเหลว, นพรัตน์ แก้วใหม่ Jan 2017

การพัฒนาเทคนิคการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ที่บันทึกภาพโดยใช้กล้องดิจิทัลสำหรับคัดกรองของเหลว, นพรัตน์ แก้วใหม่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคนิคการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์โดยใช้กล้องถ่ายภาพดิจิทัลสำหรับคัดกรองของเหลวติดไฟจากการหาค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนรังสี ระบบถ่ายภาพด้วยรังสีประกอบด้วยกล้องถ่ายภาพดิจิทัลร่วมด้วยแผ่นเรืองรังสีเป็นฉากรับภาพถ่ายรังสีและควบคุมกล้องด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผ่าน USB ภาพถ่ายด้วยรังสีของของเหลวชนิดต่าง ๆ ที่บรรจุในขวดพลาสติกบางทรงเหลี่ยมความกว้าง 6 เซนติเมตร โดยใช้ค่าความต่างศักย์ของเครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ระหว่าง 90 -160 กิโลโวลต์ ภาพถ่ายด้วยรังสีถูกวิเคราะห์ด้วยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมา ซึ่งใช้เทคนิคการคำนวณหาค่าและเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนรังสีของของเหลวใด ๆ เทียบกับของน้ำที่ถูกถ่ายภาพด้วยปริมาณรังสีเอ็กซ์ด้วยเงื่อนไขเดียวกัน จากผลการทดลองพบว่า เทคนิคการถ่ายภาพและซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้คัดแยกของเหลวชนิดติดไฟและของเหลวชนิดที่ไม่ติดไฟได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถนำเทคนิคนี้ไปพัฒนาต่อยอดในงานด้านรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้เกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้นได้


การพัฒนาผลึกซีเซียมไอโอไดด์โดยเทคนิคการเจือสารร่วมหลายชนิด, อิมรอน วาเด็ง Jan 2017

การพัฒนาผลึกซีเซียมไอโอไดด์โดยเทคนิคการเจือสารร่วมหลายชนิด, อิมรอน วาเด็ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พัฒนาผลึกซีเซียมไอโอไดด์เพื่อการตรวจวัดรังสี โดยวิธีการปลูกแบบบริดจ์แมน-สต็อกบาร์เกอร์ (Bridgman-Stockbarger) และศึกษาถึงการพัฒนาผลึกโดยการเจือผลึกด้วยแคลเซียม (Ca) หรือ แทลเลียม (Tl) หรือ เจือร่วมกันทั้งสองชนิด คือ ผลึก CsI(Ca), CsI(Tl) และCsI(Tl,Ca) โดยควบคุมให้มีอัตราการปลูกผลึกหรือตกผลึกของผลึก CsI(Tl) คือ 0.65 มิลลิเมตร/ชั่วโมง และอัตรา 0.57 มิลลิเมตร/ชั่วโมง สำหรับผลึก CsI(Ca) และ CsI(Tl,Ca) โดยมีสัดส่วนการผสม CsI ต่อสารเจือ คือ 99.65 : 0.35 ผลึก CsI(Ca), CsI(Tl) และผลึก CsI(Tl,Ca) ที่ปลูกได้นั้นมีความใส โดยผลึกทั้งสามก้อนมีโครงสร้างผลึกแบบคิวบิกที่มีการจัดเรียงอะตอมแบบพหุสัณฐาน โดยมีโครงสร้างเดียวที่เด่นชัด คือ โครงสร้างผลึกระนาบ (110) โดยที่ผลึก CsI(Tl) นั้นมีคุณภาพเชิงโครงสร้างผลึกดีที่สุด และรองลงมา คือ ผลึก CsI(Tl,Ca) แต่ว่าผลึก CsI(Ca) นั้นมีโครงสร้างผลึกระนาบเด่นชัดพอกัน 2 ระนาบ คือ ระนาบ (110) และ ระนาบ (211) คุณสมบัติเชิงแสงของผลึกที่มีการเจือด้วยสารต่างนั้น พบว่า ผลึก CsI(Ca), CsI(Tl,Ca) มีการเปล่งแสงย่านสีฟ้าที่ความยาวคลื่นประมาณ 420-450 นาโนเมตร และสำหรับกรณีผลึก CsI(Tl) เปล่งแสงย่านสีส้มที่ความยาวคลื่นประมาณ 590 นาโนเมตร โดยที่ผลึก CsI(Tl) มีประสิทธิภาพสัมพัทธ์ของการเปล่งแสงได้ดีที่สุด และรองลงมาคือ ผลึก CsI(Tl,Ca) และ CsI(Ca) ตามลำดับ ซึ่งคุณสมบัติเชิงแสงนี้มีความสอดคล้องกับผลการศึกษาการส่องผ่านแสงของผลึกที่พบว่า ผลึก CsI(Tl), CsI(Ca) และ CsI(Tl,Ca) มีค่า Eg คือ 2.21 อิเล็กตรอนโวลต์, 2.88 อิเล็กตรอนโวลต์ และ 2.48 …


การจำลองการกระจายตัวในชั้นบรรยากาศของซีเซียม-137ปลดปล่อยจากอุบัติเหตุสมมติในโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์: กรณีศึกษาประเทศจีนและเวียดนาม, นรากานต์ คุณศรีเมฆ Jan 2017

การจำลองการกระจายตัวในชั้นบรรยากาศของซีเซียม-137ปลดปล่อยจากอุบัติเหตุสมมติในโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์: กรณีศึกษาประเทศจีนและเวียดนาม, นรากานต์ คุณศรีเมฆ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุการณ์อุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ ฟุกุชิมะ ในปี 2011 แสดงให้เห็นว่านิวไคลด์กัมมันตรังสีที่รั่วไหลจากอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์สามารถกระจายตัวไปได้ไกลถึงประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อพิจารณาจำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ถูกสร้างขึ้น ณ บริเวณใกล้เคียงประเทศไทยพบว่ามีโรงไฟฟ้าทั้งหมด 4 แห่ง ประกอบไปด้วยโรงไฟฟ้า Ninh Thuan ในประเทศเวียดนาม โรงไฟฟ้า Fangchenggang, Changjang และ Yangjiang ในประเทศจีน หากโรงไฟฟ้าเหล่านี้เกิดอุบัติเหตุระดับรุนแรง มีความเป็นไปได้ที่นิวไคลด์กัมมันตรังสีจะกระจายตัวมายังประเทศไทย ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาเส้นทางการเคลื่อนที่ของนิวไคลด์กัมมันตรังสีและประเมินผลกระทบทางรังสีที่ประเทศไทยได้รับจากโรงไฟฟ้าดังกล่าว โดยในการศึกษานี้ใช้กระบวนการสำหรับวิเคราะห์ผลสองกระบวนการร่วมกัน กระบวนการที่หนึ่งใช้ข้อมูลภูมิอากาศ ณ ตำแหน่งที่นิวไคลด์กัมมันตรังสีเคลื่อนที่ผ่านสำหรับคำนวณคะแนนการกระจายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสี โดยใช้เกณฑ์คะแนนที่ถูกสร้างจากเงื่อนไขสภาพอากาศที่ส่งผลให้นิวไคลด์กัมมันตรังสีกระจายตัวได้มากที่สุด กระบวนการที่สองใช้ค่ากัมมันตภาพรังสีบนชั้นบรรยากาศและข้อมูลภูมิอากาศ ณ ตำแหน่งวิเคราะห์ผลในกระบวนการแรก เป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับจำลองผลในโปรแกรม HotSpot ผลจากการวิเคราะห์ของทั้งสองกระบวนการชี้ให้เห็นว่านิวไคลด์กัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งในประเทศจีนเคลื่อนที่ไปยังชายฝั่งตอนกลางของประเทศเวียดนาม จากนั้นมุ่งหน้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในขณะที่นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่รั่วไหลจากโรงไฟฟ้า Ninh Thuan เคลื่อนที่ไปยังทิศตะวันตกของโรงไฟฟ้า และเปลี่ยนทิศการเคลื่อนที่ไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือก่อนมุ่งหน้าเข้าสู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาค่าปริมาณรังสีสมมูลยังผลสุทธิในบริเวณที่ได้รับผลกระทบทางรังสีจากโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งพบว่า ค่าปริมาณรังสีสมมูลยังผลสุทธิ ณ บริเวณดังกล่าวมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ความปลอดภัยทางรังสี (1 mSv) ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่ประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบทางรังสีอย่างมีนัยสำคัญเมื่อโรงไฟฟ้าทั้ง 4 แห่งเกิดอุบัติเหตุระดับรุนแรง


Space Utilisation Strategy For Thailand Underground Transit Station. A Case Study Of Thailand Cultural Centre Underground Station, Wirasinee Tongsoo Jan 2017

Space Utilisation Strategy For Thailand Underground Transit Station. A Case Study Of Thailand Cultural Centre Underground Station, Wirasinee Tongsoo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The ridership of Thailand underground station continuously increases every year. On the other hand, space management of terminal of underground station does not success as expected. The main reason is space does not have strategy to handle. majority of renter rarely stay until the completion of the rental contract, and they prefer to break the contract, pay the fine and move business elsewhere. According to research, there is no research study about this for Thailand underground station. In order to create appreciate plan for Thailand underground station in 2022. The strategy is core to integrate plan. Passengers would be attracted …


Development Of Novel Electrocoagulation Reactor (Ecr) For Turbidity Removal And Decolorization From Textile Industry Wastewater, Penghour Hong Jan 2017

Development Of Novel Electrocoagulation Reactor (Ecr) For Turbidity Removal And Decolorization From Textile Industry Wastewater, Penghour Hong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

High concentration of dyes together with turbidity were frequently found in the effluents of textile industry wastewater, which are the toxic substances. To remove these contaminants, the combination between electrocoagulation process (EC) and separation has been proposed in this study. The objective of this present work is to design and evaluate the new electrocoagulation reactor (ECR) for treating dye and turbidity from synthetic textile wastewater. The optimization of electrode configuration and design parameter were examined with the batch column reactor for containing 4 liters of wastewater. The result showed that monopolar arrangement within the inner gap 1.5 cm and current …


ผลกระทบของสัดส่วนการผสมทรายเคลือบเรซินที่มีผลต่อคุณสมบัติและต้นทุน, ภูวดล ศิริวิมลพันธุ์ Jan 2017

ผลกระทบของสัดส่วนการผสมทรายเคลือบเรซินที่มีผลต่อคุณสมบัติและต้นทุน, ภูวดล ศิริวิมลพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสัดส่วนการผสมทรายเคลือบเรซินที่มีค่าคุณสมบัติอยู่ในช่วงความต้องการของลูกค้า และเพื่อลดต้นทุนวัตถุดิบของทรายเคลือบเรซิน เนื่องจากก่อนการปรับปรุง แต่ละสูตรการผลิตจะถูกผสมจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และยังไม่มีวิธีการที่แน่ชัดสำหรับการหาสัดส่วนการผสมเพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ทำให้ต้องเสียเวลาในการลองผิดลองถูกเพื่อให้ได้ค่าคุณสมบัติตามที่ต้องการและเกิดต้นทุนวัตถุดิบที่สูงเกินความจำเป็น งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์การออกแบบการทดลองแบบส่วนประสมกลาง เพื่อหาสัดส่วนการผสมทรายเคลือบเรซินที่เหมาะสม โดยมีปัจจัยนำเข้าทั้งหมด 5 ปัจจัยได้แก่ ทรายเอ ทรายบี เรซินเอ เรซินบี และเปอร์เซ็นต์เรซิน และมีตัวแปรตอบสนองทั้งหมด 7 ปัจจัย ได้แก่ ความทนแรงดัดโค้ง การขยายตัวทางความร้อน ปริมาณการสูญเสียหลังการเผา ค่าความโก่งงอ อุณหภูมิต่ำสุดที่ทรายเซตตัว ค่าแก๊ส และต้นทุนวัตถุดิบในส่วนของทรายและเรซิน จากนั้นทำการทดลองและวิเคราะห์ผลการทดลองเพื่อหาสมการความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้ากับตัวแปรตอบสนองโดยใช้เทคนิคการคัดเลือกตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (Stepwise Regression) ชนิดการเลือกตัวแปรโดยวิธีการลดตัวแปรอิสระ (Backward Elimination) จากนั้นทำการหาสัดส่วนการผสมใหม่ด้วยวิธีการหาจุดที่เหมาะสม ผลที่ได้จากการหาสัดส่วนการผสมใหม่ทั้งหมด 25 สูตรการผลิต พบว่าค่าคุณสมบัติทั้ง 6 ชนิดของทั้ง 25 สูตรการผลิตอยู่ในช่วงการยอมรับของโรงงาน และสามารถลดต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ลง 28.36% จากต้นทุนวัตถุดิบที่ได้จากสัดส่วนการผสมเก่า ซึ่งคิดเป็นต้นทุนที่ลดลง 42,293,318 บาทต่อปี


Effects Of Titania Phase And Tungsten Loading Content In W/Tio2 Catalysts On Dehydration Of Ethanol To Diethyl Ether, Pongsatorn Kerdnoi Jan 2017

Effects Of Titania Phase And Tungsten Loading Content In W/Tio2 Catalysts On Dehydration Of Ethanol To Diethyl Ether, Pongsatorn Kerdnoi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, ethanol which is one of the most used renewable energies can be converted into the more valuable compounds. It was reported that titania-supported tungsten (W/TiO2) catalyst is able to convert ethanol into diethyl ether. However, titania support has different crystalline phases that can result in differences of physicochemical properties for the catalyst. Therefore, the present work reports on the catalytic behaviors of both different phases of titania and tungsten loading contents in catalytic ethanol dehydration to diethyl ether. To prepare the catalysts, the three different phases [anatase (A), rutile (R), and mixed phases (P25)] of titania supports were impregnated …


Molecular Beam Epitaxial Growth Of Gasb And Insb Nanostructures On (001) Ge Substrates, Zon - Jan 2017

Molecular Beam Epitaxial Growth Of Gasb And Insb Nanostructures On (001) Ge Substrates, Zon -

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The self-assembled GaSb and InSb nanostructures (quantum dots, QDs) are grown on (001) Ge substrates in Stranski-Krastanow growth mode by molecular beam epitaxy. The structural properties are characterized by ex situ atomic force microscopy (AFM), and the related optical properties are observed by photoluminescence (PL) spectroscopy. Growing of polar GaAs on non-polar Ge creates anti-phase domains (APDs). By careful controlling of growth, APDs surface becomes flat and having large surface area (~µm2) which is sufficient to form QD array in each domain. The effects of APDs on the formation of QDs are discussed. By varying the growth conditions, different QD …


การแกซิฟิเคชันของขี้เลื่อยจากอุตสาหกรรมการแปรรูปไม้ในเตาปฏิกรณ์แบบไซโคลน, อดิศา วงศ์วานรุ่งเรือง Jan 2017

การแกซิฟิเคชันของขี้เลื่อยจากอุตสาหกรรมการแปรรูปไม้ในเตาปฏิกรณ์แบบไซโคลน, อดิศา วงศ์วานรุ่งเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงของการแกซิฟิเคชันขี้เลื่อยจากอุตสาหกรรมการแปรรูปไม้ในเตาปฏิกรณ์ไซโคลนซึ่งช่วยให้อนุภาคขนาดเล็กได้รับความร้อนโดยตรงจากผนังของไซโคลนเข้าสู่อนุภาคทำให้เกิดปฏิกิริยา และคัดแยกผลิตภัณฑ์ของแข็งที่เกิดขึ้นออกจากแก๊สผลิตภัณฑ์ได้ในขณะเดียวกัน ขี้เลื่อยที่ใช้เป็นขี้เลื่อยผสมระหว่างไม้ยางและไม้เบญจพรรณ มีขนาดอนุภาค 150-250 ไมโครเมตร สภาวะการทำงาน คือ อุณหภูมิ 700 800 และ 900 องศาเซลเซียส ที่อัตราส่วนสมมูล 0.15 0.30 0.45 และ 0.60 อัตราการไหลของแก๊สเข้าระบบ 0.36 0.78 และ 1.56 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส อัตราส่วนสมมูล 0.30 โดยวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ดังนี้ องค์ประกอบของแก๊สเชื้อเพลิง (CO, CO2, CH4, H2 และ CnHm) ค่าการแปรสภาพของคาร์บอน และไฮโดรเจนของวัตถุดิบ ค่าความร้อนของแก๊สเชื้อเพลิง และค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนของระบบผลิตแก๊สเชื้อเพลิง จากการทดลองพบว่าอุณหภูมิมีผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิง โดยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่าการแปรสภาพของคาร์บอน และไฮโดรเจน ค่าความร้อนของแก๊สผลิตภัณฑ์ และค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนของระบบผลิตแก๊สเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันอัตราส่วนสมมูลก็ส่งผลเช่นเดียวกันกับอุณหภูมิ โดยประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้นตามอัตราส่วนสมมูลจนถึงค่าสูดที่สุด จากนั้นประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงของระบบจะลดต่ำลงเมื่ออัตราส่วนสมมูลเพิ่มขึ้น โดยอุณหภูมิ และอัตราส่วนสมมูลที่ให้ประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงสูงที่สุดคือ 900 องศาเซลเซียส ที่อัตราส่วนสมมูล 0.45 สำหรับอัตราการไหลของแก๊สเข้าระบบที่ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงสูงที่สุด คือ 0.78 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง


การแก้ปัญหาการจัดตารางปฏิบัติงานนักบินของสายการบินราคาประหยัดโดยใช้วิธีเมตาฮิวริสติก, กนกพร อารยิกานนท์ Jan 2017

การแก้ปัญหาการจัดตารางปฏิบัติงานนักบินของสายการบินราคาประหยัดโดยใช้วิธีเมตาฮิวริสติก, กนกพร อารยิกานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันจำนวนเที่ยวบินของสายการบินราคาประหยัดมีเพิ่มมากขึ้นตามความต้องการของลูกค้าที่นิยมเดินทางด้วยเครื่องบิน ต้นทุนฝ่ายปฏิบัติการด้านพนักงานมีค่าใช้จ่ายสูงเป็นอันดับสองรองจากน้ำมันแต่ด้วยทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดจึงจำเป็นต้องจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม งานวิจัยนี้จึงเป็นการแก้ปัญหาการจัดสรรนักบินที่สามารถปฏิบัติการบินในแต่ละรูปแบบเที่ยวบินในตารางรายเดือนได้ ปัญหานี้มีความซับซ้อนทั้งกฏและข้อบังคับที่ต้องพิจารณาเป็นข้อจำกัดหลักและรอง ทั้งนี้ จะต้องเป็นไปตามตามประกาศกรมการบินพลเรือนตามประกาศอย่างเคร่งครัด เนื่องจากเป็นสายการบินราคาประหยัดจึงมุ่งเน้นที่จะลดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้งานวิจัยจึงมีเป้าหมายที่จะช่วยปรับภาระงาน จัดสรรตารางงานนักบินของระดับงานอาวุโส และปรับการกระจายรูปแบบเที่ยวบินให้นักบินแต่ละคนเท่าเทียมกันอีกด้วย ปัญหาการจัดตารางปฏิบัติงานเป็นปัญหาที่มีขนาดใหญ่และข้อจำกัดหลายด้านจึงเสนอวิธีเมตาฮิวริสติกเพื่อการจัดตารางปฏิบัติงานนักบินของสายการบินราคาประหยัด อัลกอริทึมแบบผสมระหว่างวิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนกร่วมกับอัลกอริทึมการผสมพันธุ์ผึ้ง (MOEA/D-HBMO) จึงถูกประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหามากวัตถุประสงค์และการจัดตารางปฏิบัติงานนักบินที่ซับซ้อนนี้ ผลที่ได้จากงานวิจัยพบว่าอัลกอริทึม MOEA/D-HBMO มีประสิทธิภาพดีที่สุดทั้งปัญหาขนาดเล็ก กลาง และใหญ่


Methane Adsorption By Carbon Molecular Sieve Derived From Polycarbonate And Polyaniline, Jakchai Thawornwatthanasirikul Jan 2017

Methane Adsorption By Carbon Molecular Sieve Derived From Polycarbonate And Polyaniline, Jakchai Thawornwatthanasirikul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The adsorptions of methane by carbon molecular sieves (CMS) were investigated at 35°C and 45°C by volumetric apparatus with the pressure range from 0 to 800 psia. CMS was prepared from polymer precursors such as polycarbonate (PC) and polyaniline (PANI) by carbonization under nitrogen inert atmosphere and activation by CO2 at temperature 700, 800 and 900°C. The yield of CMS is decreased with increasing carbonization and activation temperature. The methane adsorption capacity at 35°C of CMS derived from PC is 2.82 mmol CH4/g. The methane adsorption of the samples from PC is higher than those obtained from PANI for the …


การเตรียมแกรฟีนออกไซด์สำหรับการประยุกต์ในกระดาษคราฟต์, กชพร ตันกันภัย Jan 2017

การเตรียมแกรฟีนออกไซด์สำหรับการประยุกต์ในกระดาษคราฟต์, กชพร ตันกันภัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการเติมแกรฟีนออกไซด์ต่อสมบัติด้านความแข็งแรงของกระดาษ โดยการทดลองแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการเปรียบเทียบผลของแกรฟีนออกไซด์ที่เตรียมด้วยวิธีโมดิฟายด์ฮัมเมอร์และที่เตรียมด้วยวิธีทางเคมีไฟฟ้าที่มีต่อสมบัติด้านความแข็งแรงของกระดาษ เพื่อดูว่าการเตรียมแกรฟีนออกไซด์วิธีไหนให้ผลต่อสมบัติด้านความแข็งแรงของกระดาษดีที่สุดและนำผลที่ได้ไปใช้ในส่วนที่ 2 ต่อไป โดยในส่วนที่ 2 นั้นเป็นการนำแกรฟีนออกไซด์มาปรับปรุงโครงสร้างเพื่อเพิ่มสมบัติการนำไฟฟ้าก่อนที่จะนำไปเคลือบผิวกระดาษ จากผลการทดลองพบว่าแกรฟีนออกไซด์ที่เตรียมโดยวิธีโมดิฟายด์ฮัมเมอร์ให้สมบัติของกระดาษดีกว่าแกรฟีนออกไซด์ที่เตรียมโดยวิธีทางเคมีไฟฟ้า เนื่องจากแกรฟีนออกไซด์จากวิธีโมดิฟายด์ฮัมเมอร์เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันสมบูรณ์กว่า โดยการใส่แกรฟีนออกไซด์ที่เตรียมโดยวิธีโมดิฟายด์ฮัมเมอร์ลงในกระดาษที่ความเข้มข้นร้อยละ 15 ต่อน้ำหนักเยื่อแห้งส่งผลให้ความแข็งแรงของกระดาษสูงสุด นอกจากนี้ยังพบว่าการใส่สารเพิ่มความแข็งแรงของกระดาษร่วมกับแกรฟีนออกไซด์ยิ่งส่งผลให้ต่อสมบัติด้านความแข็งแรงเพิ่มขึ้น โดยพบว่าไคโทซานให้สมบัติด้านความแข็งแรงสูงกว่าแคทไอออนิกพอลิอะคริลาไมด์ เนื่องจากไคโทซานมีค่าศักย์ไฟฟ้าที่เป็นบวกมากกว่าทำให้สามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนกับแกรฟีนออกไซด์และเส้นใยได้ดีกว่า จากนั้นทำการปรับปรุงแกรฟีนออกไซด์ที่เตรียมด้วยวิธีโมดิฟายด์ฮัมเมอร์เพื่อเพิ่มสมบัติการนำไฟฟ้า โดยนำมาทำปฏิกิริยารีดักชันกับไฮดราซีนโมโนไฮเดรตหรือ แอล-แอสคอบิก ที่สภาวะความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 9-10 จากการทดลองพบว่าการปรับปรุงแกรฟีนออกไซด์โดยใช้แอล-แอสคอบิกให้ค่าการนำไฟฟ้าของแกรฟีนออกไซด์สูงกว่าการปรับปรุงแกรฟีนออกไซด์โดยใช้ไฮดราซีนโมโนไฮเดรต และเมื่อนำแกรฟีนออกไซด์ที่ได้ไปเคลือบผิวกระดาษพบว่าค่าการนำไฟฟ้าลดลงเนื่องจากกระดาษมีสมบัติเป็นฉนวน อย่างไรก็ตาม หากมีการนำกระดาษที่ผ่านการเคลือบด้วยแกรฟีนออกไซด์ไปขัดผิวกลับพบว่าค่าการนำไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการขัดผิวช่วยให้รูพรุนในกระดาษลดลงและแกรฟีนออกไซด์มีการกระจายตัวอยู่ที่ผิวหน้าของกระดาษมากขึ้น


อิทธิพลของสารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบต่อการเกิดเจลของไฟโบรอินไหมไทยและการประยุกต์ใช้ในการควบคุมการปลดปล่อยเคอร์คูมิน, ณัฐกานต์ จันทร์ทอง Jan 2017

อิทธิพลของสารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบต่อการเกิดเจลของไฟโบรอินไหมไทยและการประยุกต์ใช้ในการควบคุมการปลดปล่อยเคอร์คูมิน, ณัฐกานต์ จันทร์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาไฮโดรเจลไฟโบรอินไหมไทย (SF) ที่ถูกกระตุ้นด้วยการเติมสารลดแรงตึงผิวประเภทประจุลบชนิดต่างๆ เพื่อประยุกต์ใช้ในการควบคุมการปลดปล่อยเคอร์คูมินและใช้เป็นเจลทากระตุ้นการหายของแผล โดยได้ทำการศึกษาอิทธิพลของสารลดแรงตึงผิวประเภทประจุลบชนิดต่างๆ ได้แก่ sodium octyl sulfate (SOS), sodium dodecyl sulfate (SDS) และ sodium tetradecyl sulfate (STS) ซึ่งมีสูตรโครงสร้างเคมีคล้ายกัน แต่มีความยาวของสายอัลคิลแตกต่างกัน ต่อพฤติกรรมการเกิดเจลไฟโบรอินไหมไทย พบว่าสารลดแรงตึงผิวประเภทประจุลบทั้ง 3 ชนิด สามารถเร่งการเกิดเจล ณ อุณหภูมิ 37oC, pH 7.4 ได้ในช่วงระยะเวลา 14 นาที ถึง 144 ชั่วโมง ขึ้นกับชนิดและความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิว กลไกการเกิดเจลดังกล่าวเป็นการเกิดร่วมกันระหว่างอันตรกิริยาของส่วนที่ไม่ชอบน้ำ อัตรากิริยาของไฟฟ้าสถิตระหว่างโมเลกุลของไฟโบรอินไหมไทยและโมเลกุลของสารลดแรงตึงผิวและการเกิดเจลตามธรรมชาติของไฟโบรอินไหมไทยโดยกลไกดังกล่าวจะกระตุ้นการเกิดโครงสร้างทุติยภูมิชนิด β-sheet ซึ่งมีเสถียรภาพและผันกลับไม่ได้ งานวิจัยนี้ พบว่า ไฮโดรเจลไฟโบรอินไหมไทยที่กระตุ้นด้วย STS 0.09% โดยน้ำหนัก มีระยะเวลาการเกิดเจลรวดเร็ว (20 นาที) เจลมีความคงตัวสูง อัตราการย่อยสลายช้า และสามารถปลดปล่อยเคอร์คูมินได้เนิ่นนาน นอกจากนี้ยังไม่เป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังของหนู เมื่อทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO 10993 part 5 และเมื่อทดสอบประสิทธิภาพของไฮโดรเจลในการยับยั้งการอักเสบและกระตุ้นการหายของแผลชนิดสูญเสียทั้งชั้นในหนูทดลองพบว่า ไฮโดรเจลไฟโบรอินไหมไทยที่ไม่บรรจุและบรรจุเคอร์คูมินสามารถยับยั้งการอักเสบของแผลได้ในช่วง 3 วันแรกของการรักษา และเร่งการหายของแผลโดยการกระตุ้นการสร้างเซลล์เยื่อบุผิวได้ดีเทียบเท่ากับแผลกลุ่มที่รักษาด้วยไฟบรินเจล อันเนื่องมาจากไฟโบรอินไหมมีความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อ และมีอัตราการย่อยสลายที่เหมาะสม ส่วนเคอร์คูมินมีฤทธิ์ในการยับยั้งการอักเสบ จึงสรุปได้ว่า ไฮโดรเจลไฟโบรอินไหมไทยนี้มีประสิทธิภาพในการควบคุมการปลดปล่อยเคอร์คูมินและการกระตุ้นการหายของแผล


ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนเมื่อเปลี่ยนสารทำความเย็น Hcfc-22 เป็น Hfc-32, พรรณิภา เจียมศิริโรจน์ Jan 2017

ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนเมื่อเปลี่ยนสารทำความเย็น Hcfc-22 เป็น Hfc-32, พรรณิภา เจียมศิริโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามฤดูกาล (Cooling Seasonal Performance Factor: CSPF) ของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ที่ความเร็วรอบคอมเพรสเซอร์คงที่ เมื่อเปลี่ยนสารทำความเย็น HCFC-22 เป็น HFC-32 ที่ขนาดทำความเย็น 2,638 3,517 5,276 และ 7,034 วัตต์ จากผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศที่เข้าร่วมโครงการ Thailand HPMP Stage I ทั้ง 11 ผู้ผลิต การวิเคราะห์เปรียบเทียบอ้างอิงตามมาตรฐาน ISO 16358-1 โดยใช้ชุดอุณหภูมิ (Outdoor Bin Temperature) ของประเทศไทย โดยกำหนดให้ภาระการทำความเย็น (Cooling Load) ขึ้นกับอุณหภูมิภายนอกเพียงอย่างเดียว พบว่าเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น HFC-32 มีค่า CSPF มากกว่า HCFC-22 ร้อยละ 4.99 การวิเคราะห์เปรียบเทียบ CSPF ของเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น HFC-32 โดยสมมตชั่วโมงการใช้งานต่อปี 3 กรณี ได้แก่ (1) กรณีใช้งาน 24 ชั่วโมงต่อวัน (2) กรณีใช้งาน 12 ชั่วโมง ในตอนกลางวัน (6.00-18.00 น.) และ (3) กรณีใช้งาน 12 ชั่วโมง ในตอนกลางคืน (18.00-6.00 น.) เทียบกับ CSPF ที่ใช้ช่วงอุณหภูมิตามค่าแนะนำ (Default) พบว่า CSPF ทั้ง 3 กรณี ต่ำกว่าค่า CSPF ที่ใช้ช่วงอุณหภูมิตามค่าแนะนำ เป็นผลมาจากการกระจายตัวของอุณหภูมิประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงที่มีอุณหภูมิสูง (อุณหภูมิเฉลี่ยทั้ง 3 กรณี มีค่าสูงกว่า) ส่วนสุดท้ายเป็นการวิเคราะห์ผลประหยัด พบว่า หากมีการใช้งานเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น HFC-32 แทน HCFC-22 ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่า กรณีใช้งาน 24 …


Functionalization Of Carbon Nanohorns And Their Catalysis Applications, Chompoopitch Termvidchakorn Jan 2017

Functionalization Of Carbon Nanohorns And Their Catalysis Applications, Chompoopitch Termvidchakorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Carbon nanohorns (CNHs) synthesized by gas-injected arc-in-water method were functionalized in this study. Metal (Ni, Cu, Fe, Pd, and Pt) and their alloy (NiCu, NiFe, NiPd, and NiPt) hybridized with CNHs were successfully produced. In addition, thermal and acid treatment was applied on the hybridized materials. Effect of metal loading and functionalizing conditions on characteristics of CNHs and functionalized CNHs was examined based on transmission electron microscope (TEM), energy-dispersive X-ray spectroscopy (EDX), X-ray diffraction (XRD), N2 sorption, Raman spectroscopy, Fourier transform infrared (FT-IR) spectrometer, temperature programmed desorption of ammonia (NH3-TPD) analysis. The functionalized CNHs were applied as a catalyst in …


การพัฒนาแผ่นปะทะของเสื้อเกราะกันกระสุนจากพอลิเบนซอกซาซีนคอมพอสิทที่เสริมแรงด้วยเส้นใยคาร์บอนและเส้นใยแก้ว, ธัญชนก นุชสุภาพ Jan 2017

การพัฒนาแผ่นปะทะของเสื้อเกราะกันกระสุนจากพอลิเบนซอกซาซีนคอมพอสิทที่เสริมแรงด้วยเส้นใยคาร์บอนและเส้นใยแก้ว, ธัญชนก นุชสุภาพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการพัฒนาเกราะแข็งกันกระสุนจากวัสดุพอลิเมอร์คอมพอสิทพอลิเบนซอกซาซีนเสริมแรงด้วยเส้นใยคาร์บอนและเส้นใยแก้วชนิดชนิดความแข็งแรงสูง (S glass) ในส่วนของแผ่นหน้าหรือแผ่นปะทะให้มีน้ำหนักเบาและมีประสิทธิภาพทางกลสูงขึ้น โดยนำเส้นใยคาร์บอนที่มีสมบัติความหนาแน่นต่ำและมีความแข็งแรงสูงมาใช้ร่วมกับเส้นใยแก้วชนิดความแข็งแรงสูง ที่มีสมบัติรับแรงกระแทกได้สูง ความแข็งสูง และราคาต่ำ โดยศึกษาอิทธิพลของจำนวนชั้นและการจัดลำดับชั้นของเส้นใยคาร์บอนร่วมกับเส้นใยแก้วชนิดความแข็งแรงสูง ในส่วนของแผ่นปะทะต่อประสิทธิภาพการทำลายหัวกระสุน สมบัติทางกายภาพ และทางกลเพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นเกราะกันกระสุน จากผลการทดลองในส่วนของสมบัติทางกลของการจัดลำดับชั้นเส้นใยคาร์บอนร่วมกับเส้นใยแก้วพบว่า การจัดลำดับชั้นแบบโครงสร้างแซนวิชจะให้ค่าสูงสุด โดยค่าความแข็งแรงภายใต้แรงดึงและภายใต้แรงกระแทกสูงสุดในชิ้นงานที่มีรูปแบบเส้นใยคาร์บอนเป็นแกนกลาง (GCG) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 401 เมกะปาสคาล และ 250 กิโลจูลต่อตารางเมตร ในส่วนของค่าความแข็งที่ผิวมีค่าสูงเมื่อวัดค่าด้านที่เสริมแรงด้วยเส้นใยแก้ว สำหรับสมบัติทางกายภาพพบว่า พอลิเบนซอกซาซีนเมตริกยึดติดได้ดีกับเส้นใยคาร์บอนและเส้นใยแก้วตรวจสอบโดยพิจารณาโครงสร้างสัณฐานของวัสดุคอมพอสิทพอลิเบนซอกซาซีนที่เสริมแรงด้วยเส้นใยคาร์บอนและเส้นใยแก้ว การทดสอบความแข็งแรงของวัสดุจากการทดสอบยิงพบว่า เสื้อเกราะแข็งกันกระสุนที่ประกอบด้วยพอลิเบนซอกซาซีนเสริมแรงด้วยเส้นใยคาร์บอนและเส้นใยแก้วชนิดความแข็งแรงสูง โดยมีการจัดลำดับชั้นแบบโครงสร้างแซนวิชโดยเส้นใยคาร์บอนเป็นแกนกลางของวัสดุ จำนวน 2 แผ่นประกบกับพอลิเบนซอกซาซีนอัลลอยด์เสริมแรงด้วยเส้นใยอะรามิดจำนวน 1 แผ่น ซึ่งมีค่าหนาแน่นเชิงพื้นที่ 4.18 กรัม/ตารางเซนติเมตร สามารถต้านการเจาะทะลุของกระสุน 7.62 x 51 มม. ที่ความเร็ว 847 ± 9 เมตรต่อวินาที ตามมาตรฐาน NIJ-0101.06 ที่ระดับภัยคุกคามระดับ 3 ได้


การกำจัดไนโตรเจนมอนอกไซด์พร้อมโทลูอีนบนตัวเร่งปฏิกิริยา V2o5/Tio2 ที่ได้รับการเสริมด้วย Mgo, วิรวงรอง ทองทวี Jan 2017

การกำจัดไนโตรเจนมอนอกไซด์พร้อมโทลูอีนบนตัวเร่งปฏิกิริยา V2o5/Tio2 ที่ได้รับการเสริมด้วย Mgo, วิรวงรอง ทองทวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในการกำจัด NO ออกจากแก๊สไอเสีย โดยการทำปฏิกิริยากับแอมโมเนีย กระบวนการดังกล่าวเรียกว่าการรีดักชันแบบเจาะจงหรือ SCR นอกจากนี้ตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2 ยังมีความสามารถในการออกซิไดซ์สารประกอบอินทรีย์ให้กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำหรือสารประกอบออกซิจิเนต ในงานวิจัยนี้ศึกษาความเป็นไปได้ในการกำจัด NO ร่วมกับโทลูอีนโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2 แต่ตัวเร่งปฏิกิริยานี้ให้ร้อยละผลได้ไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์น้อย ผลิตภัณฑ์หลักที่เกิดจากการออกซิไดซ์คือ กรดเบนโซอิกซึ่งสามารถดูดซับบนพื้นผิวของตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2ได้น้อย ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีแนวความคิดที่จะเพิ่มการดูดซับของกรดเบนโซอิกและทำให้สลายตัวไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากขึ้น โดยการเติมแมกนีเซียมออกไซด์ลงไปบนตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2 และศึกษาผลของการเติมแมกนีเซียมออกไซด์ลงบนตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2 ซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ในงานวิจัยนี้ถูกเตรียมด้วยวิธีการเคลือบฝังแบบเปียก และถูกวิเคราะห์คุณลักษณะด้วยเทคนิค ICP, XRD, single point BET measurement, NH3-TPD และ pyridine adsorption โดยอุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาจะอยู่ในช่วง 120 – 450°C ระบบที่ใช้ศึกษาถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ระบบการออกซิไดซ์โทลูอีน ระบบระบบปฏิกิริยารีดักชันแบบเจาะจง และระบบปฏิกิริยารวม ผลการทดสอบพบว่า การเติมแมกนีเซียมออกไซด์ลงไปในตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้ความสามารถของตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2 ในการกำจัด NO และการออกซิไดซ์โทลูอีนลดต่ำลง แต่อย่างไรก็ตามกลับพบว่าการเติมแมกนีเซียมออกไซด์สามารถเพิ่มสัดส่วนการเปลี่ยนโทลูอีนไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ได้ โดยตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2 ที่เติมด้วย 0.5 % โดยน้ำหนักของแมกนีเซียมออกไซด์ค่า %yield ของคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดถึง 87.65% สำหรับระบบการกำจัด NO ร่วมกับโทลูอีนพบว่า โทลูอีนทำให้ความสมารถในการกำจัด NO เพิ่มสูงขึ้นที่อุณหภูมิสูงเมื่อเทียบกับระบบรีดักชันแบบเจาะจง นอกจากนี้ยังมีการตรวจพบสารเบนโซไนไตรล์ ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างแอมโมเนียกับโทลูอีน การเติมแมกนีเซียมออกไซด์ลงไปในตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้สามารถลดการเกิดสารเบนโซไนไตรล์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ข้างเคียงที่ไม่ต้องการได้


การประเมินประสิทธิภาพของการซ่อมแซมรอยร้าวคอนกรีตโดยวิธีการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์, กานต์ จันทร์ประสิทธิ์ Jan 2017

การประเมินประสิทธิภาพของการซ่อมแซมรอยร้าวคอนกรีตโดยวิธีการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์, กานต์ จันทร์ประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการประเมินคุณสมบัติของการซ่อมแซมรอยร้าวด้วยวิธีการชักนำให้เกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์ หรือวิธีเอ็มไอซีพี (Microbially induced calcium carbonate precipitation; MICP) โดยใช้แบคทีเรียชนิดบาซิลลัส สฟีรีคัส สายพันธุ์ ATCC22257 ซึ่งเป็นแบคทีเรียในกลุ่มที่สามารถตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตได้ การเตรียมสารเคมีทำโดยการแยกสารละลายออกเป็น 2 ส่วน ประกอบไปด้วย ยูเรีย และสารละลายซึ่งมีส่วนผสมของเชื้อจุลินทรีย์ แคลเซียมคลอไรด์ และสารอาหารสำหรับเชื้อแบคทีเรีย ในการซ่อมแซมคอนกรีตนั้นจะใช้การหยอดสารเคมีทุก 24 ชม. เป็นเวลา 20 วัน ในการศึกษานี้จะเตรียมตัวอย่างมอร์ตาร์ขนาด 15 ลบ.ซม. โดยตัวอย่างที่มีรอยร้าวจะเตรียมโดยใช้แผ่นทองแดงความหนา 0.4 มม. ใส่ไว้ที่ความลึก 2 ซม. ระหว่างการหล่อก้อนตัวอย่าง ทำการประเมินประสิทธิภาพของการซ่อมแซมด้วย 1) การวัดขนาดของรอยร้าวโดยใช้เลนส์ขยายขนาด 40 เท่าด้วยกล้องถ่ายรูปโทรศัพท์มือถือ 2) การทดสอบค่ากำลังรับแรงอัด 3) การทดสอบความสามารถในการซึมผ่านของน้ำ และ 4) การวัดคลื่นความถี่อัลตร้าโซนิค โดยเปรียบเทียบผลการประเมินระหว่างตัวอย่างควบคุม ตัวอย่างที่มีรอยร้าว และตัวอย่างที่ซ่อมแซม ผลการทดลองพบว่าขนาดของรอยร้าวลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากทำการซ่อมแซมไปทั้งสิ้น 6 วัน และการเปลี่ยนแปลงขนาดรอยร้าวเริ่มคงที่เมื่อผ่านไป 12 วัน โดยหลังทำการซ่อมแซมทั้งสิ้น 20 วัน พบว่าสามารถลดขนาดรอยร้าวได้ถึงร้อยละ 84.87 ซึ่งสอดคล้องกับการวัดค่าความเร็วคลื่นความถี่อัลตร้าโซนิคที่ส่งผ่านตัวอย่าง โดยความเร็วคลื่นความถี่หลังผ่านการซ่อมแซมมีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 82.06 อีกทั้งหลังการซ่อมแซมพบว่าค่ากำลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้นกว่าตัวอย่างแบบมีรอยร้าวร้อยละ 27 และคิดเป็นร้อยละ 89.4 จากตัวอย่างแบบไม่มีรอยร้าว นอกจากนั้นหลังการซ่อมแซมยังพบว่าระยะการซึมของน้ำลดลงจากตัวอย่างที่มีรอยร้าวร้อยละ 27.21 และมากกว่าตัวอย่างแบบไม่มีรอยร้าวร้อยละ 108.86 จึงสรุปได้ว่าการซ่อมแซมโดยวิธีวิธีการชักนำให้เกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์นั้นสามารถใช้เป็นทางเลือกสำหรับการซ่อมแซมรอยร้าวได้


การลดเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟันที่ขึ้นกับการตัดออกเสียงรบกวนแบบปรับตัว, จิฏิณ เข็มวงษ์ Jan 2017

การลดเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟันที่ขึ้นกับการตัดออกเสียงรบกวนแบบปรับตัว, จิฏิณ เข็มวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอเทคนิคการลดเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟันแบบสองขั้นตอน (Two-Step Dental-Drill Noise Reduction, TSDNR) โดยใช้ระบบการตัดออกเสียงรบกวนแบบปรับตัว (Adaptive Noise Cancellation, ANC) เทคนิคที่นำเสนอถูกออกแบบสำหรับหูฟังสวมศีรษะตัดออกเสียงรบกวน (noise-cancelling headphone) เพื่อให้ทันตแพทย์และคนไข้สวมใส่ขณะที่มีการรักษาฟัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการสูญเสียการได้ยินของทันตแพทย์ที่ต้องทำงานภายใต้สถานการณ์ที่มีเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟันเป็นระยะเวลานานๆ เทคนิค TSDNR ประกอบด้วยสองขั้นตอน เพื่อลดเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟัน ในขั้นตอนแรก ขั้นตอนวิธีการสกัดความถี่หลักมูลและความถี่ฮาร์มอนิก (fundamental-and-harmonic frequencies extraction algorithm) ถูกนำเสนอเพื่อใช้ประมาณความถี่หลักมูลและความถี่ฮาร์มอนิกของเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟัน หลังจากนั้น สัญญาณไซนูซอยด์ของความถี่หลักมูลและความถี่ฮาร์มอนิกต่างๆจะถูกสร้างและใช้เป็นสัญญาณอ้างอิงของระบบ ANC หลายระบบพร้อมๆกันเพื่อตัดออกความถี่หลักมูลและความถี่ฮาร์มอนิกของเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟัน ในขั้นตอนที่สอง ตัวกรองแบบปรับตัวอีกตัวหนึ่งของระบบ ANC จะถูกใช้ร่วมกับตัวกรองผ่านสูงเพื่อกำจัดองค์ประกอบความถี่สูงอื่นๆของเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟัน ผลการจำลองผ่านคอมพิวเตอร์โดยใช้เสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟันที่บันทึกเสียงไว้ และสัญญาณเสียงพูดจากฐานข้อมูล IEEE แสดงให้เห็นว่าเทคนิค TSDNR ที่นำเสนอสามารถลดเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านของสมรรถนะในการลดทอนเสียงรบกวนและในด้านของคุณภาพของเสียงพูด ยิ่งไปกว่านั้น ผลจากการทดสอบฟังจากผู้ฟัง 15 คน ยืนยันประสิทธิภาพของเทคนิคที่นำเสนอนี้อีกด้วย


ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแบบไฮบริดที่เหมาะสมที่สุดเมื่อพิจารณาเงื่อนไขศักยภาพพลังงานหมุนเวียน, วีรยา อิ่มเจริญกุล Jan 2017

ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแบบไฮบริดที่เหมาะสมที่สุดเมื่อพิจารณาเงื่อนไขศักยภาพพลังงานหมุนเวียน, วีรยา อิ่มเจริญกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยเป็นแหล่งพลังงานที่มีแนวโน้มจะขาดแคลนในอนาคต ประเทศไทยจึงมีการส่งเสริมให้ใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าสามารถก่อให้เกิดปัญหากับระบบไฟฟ้าได้ เนื่องจากพลังงานหมุนเวียนมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา นโยบายระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแบบไฮบริด (Hybrid) เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีกำลังผลิตไฟฟ้าสม่ำเสมอมากขึ้น อย่างไรก็ตามการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จะขึ้นอยู่กับศักยภาพพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ จึงต้องมีการศึกษาระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแบบไฮบริดที่ให้ผลประโยชน์จากการขายไฟฟ้าสูงที่สุดในขณะที่ยังคงทำให้กำลังผลิตไฟฟ้ามีความสม่ำเสมอ และ อยู่ภายใต้ศักยภาพพลังงานหมุนเวียนที่มีในพื้นที่ วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแบบไฮบริดที่เหมาะสมที่สุดภายใต้เงื่อนไขศักยภาพพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ ด้วยการวิเคราะห์ผลประโยชน์จากการขายไฟฟ้าที่มากที่สุด โดยต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าจะทำการพิจารณาจาก ค่าติดตั้งอุปกรณ์ ค่าดำเนินการและบำรุงรักษา และ ค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า สำหรับเงื่อนไขบังคับในส่วนรูปแบบการเดินเครื่องคือ ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแบบไฮบริดต้องสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้อย่างสม่ำเสมอตามนโยบาย SPP Hybrid firm ของภาครัฐ เงื่อนไขบังคับในส่วนของเชื้อเพลิงคือ ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแบบไฮบริดต้องผลิตไฟฟ้าได้ภายใต้ศักยภาพพลังงานหมุนเวียนและแผนการจัดหาแหล่งพลังงานในพื้นที่ ซึ่งแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ถูกนำมาวิเคราะห์ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานก๊าซชีวภาพ และ พลังงานขยะ


การคัดแยกไวรัสคอมพิวเตอร์จากรหัสฐานสอง, ประสิทธิ์ อุษาฟ้าพนัส Jan 2017

การคัดแยกไวรัสคอมพิวเตอร์จากรหัสฐานสอง, ประสิทธิ์ อุษาฟ้าพนัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอการใช้การเรียนรู้แบบมีผู้สอนเพื่อตรวจจับไฟล์ไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ไม่เคยพบมาก่อนแบบ static ผู้วิจัยได้ทดสอบกับตัวแยกประเภทจำนวน 3 แบบ คือ random forest, multilayer perceptron และ extreme gradient boosting ชุดข้อมูลประกอบด้วย 6319 ไฟล์ executable แต่ละไฟล์ถูกสกัดด้วย objdump แล้วจัดเรียงตามคะแนน TF-IDF เพื่อหา feature ที่เหมาะสม ผลลัพธ์เปรียบเทียบด้วย F1-score คือ สามารถใช้ตัวแยกประเภทแบบ random forest ร่วมกับข้อมูลที่มี 20 attribute ได้ 0.937 F1-score ซึ่งมากกว่าบรรทัดฐานอยู่ 0.031 F1-score และ สามารถใช้ตัวแยกประเภทแบบ extreme gradient boosting ร่วมกับข้อมูลที่มี 500 attribute ได้ 0.962 F1-score ซึ่งมากกว่าบรรทัดฐานอยู่ 0.041 F1-score จึงสรุปได้ว่าวิธีการในงานวิจัยนี้สามารถเพิ่ม precision และ recall ของการแยกประเภทได้


การสร้างมิวแตนท์สําหรับนิพจน์เงื่อนไขบนแบบจําลองบีพีเอ็มเอ็น, ปฤษฎี ท่าดีสม Jan 2017

การสร้างมิวแตนท์สําหรับนิพจน์เงื่อนไขบนแบบจําลองบีพีเอ็มเอ็น, ปฤษฎี ท่าดีสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นเป็นแบบจำลองเชิงธุรกิจที่ถูกพัฒนาให้สามารถประมวลกระบวนการกิจกรรมเชิงธุรกิจบนเครื่องประมวลผลแบบจำลอง ซึ่งความสามารถดังกล่าวเป็นสาเหตุให้ต้องมีการทดสอบการทำงานของกระบวนการกิจกรรมบนแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามเงื่อนไขทางธุรกิจ นักทดสอบจึงได้นำเสนอวิธีการสร้างกรณีทดสอบด้วยเทคนิคที่แตกต่างกัน แต่กรณีทดสอบเหล่านั้นยังไม่มีการประเมินคุณภาพ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทดสอบมิวเทชันบนแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นในงานวิจัยนี้ ทั้งนี้การทดสอบมิวเทชันบนแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นของงานวิจัยนี้จะเริ่มต้นที่การกำหนดตัวดำเนินการมิวเทชันสำหรับแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็น จากนั้นพัฒนาเครื่องมือสร้างมิวแตนท์ขึ้นมาเพื่อสามารถทำการทดสอบมิวเทชันบนแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นได้ งานวิจัยนี้ได้กำหนดตัวดำเนินการมิวเทชันของแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นได้ทั้งหมด 25 ตัวดำเนินการ และพัฒนาเครื่องมือสร้างมิวแตนท์สำหรับนิพจน์เงื่อนไขบนแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นขึ้น ด้วยตัวดำเนินการสำหรับนิพจน์เงื่อนไข 3 ตัวดำเนินการคือตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ตัวดำเนินการเชิงสัมพันธ์ และตัวดำเนินการเชิงตรรกะ จากนั้นนำมิวแตนท์ที่ได้จากเครื่องมือสร้างมิวแตนท์มาทำการทดสอบมิวเทชัน หลังจาก ทดสอบมิวเทชันกับกรณีทดสอบที่ได้จากงานวิจัยก่อนหน้า ทำให้ทราบว่าผลการทดสอบของแต่ละเทคนิคการสร้างกรณีทดสอบนั้นมีค่าคะแนนมิวเทชันที่แตกต่างกัน ชุดกรณีทดสอบที่มีค่าคะแนนมิวเทชันมากที่สุด เป็นชุดกรณีทดสอบที่มีคุณภาพที่สุด


การประเมินความสามารถในการทำนายของโปรแกรม Relap/Scdapsim Mod 3.4 อ้างอิงกับการทดลอง Pbf Sfd 1-4, ณัฐวรา บาริศรี Jan 2017

การประเมินความสามารถในการทำนายของโปรแกรม Relap/Scdapsim Mod 3.4 อ้างอิงกับการทดลอง Pbf Sfd 1-4, ณัฐวรา บาริศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในอดีตที่ผ่านมาได้เกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ที่สร้างความเสียหายร้ายแรงและส่งผลกระทบต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทรีไมล์ไอส์แลนด์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ด้วยเหตุนี้ปัญหาด้านความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงกลายเป็นประเด็นสำคัญและมีการริเริ่มดำเนินงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ การวิจัยครั้งนี้จึงได้เลือกศึกษาประเด็นของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อทำนายพฤติกรรมที่อาจจะเกิดขึ้นในแกนปฏิกรณ์ เนื่องจากโปรแกรมสามารถจำลองเหตุการณ์ ประเมินการเกิดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และได้เลือกใช้โปรแกรม RELAP/SCDAPSIM MOD3.4 ซึ่งสามารถทำนายพฤติกรรมของเชื้อเพลิงและระบบต่างๆของเครื่องปฏิกรณ์ในช่วงที่เกิดอุบัติเหตุระดับรุนแรงในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ เช่น สามารถจำลองพฤติกรรมของระบบหล่อเย็น การปล่อยผลผลิตฟิชชัน อัตราการสร้างไฮโดรเจนภายใต้สภาวะชั่วคราว ความร้อน ความดัน อัตราการไหล การออกซิเดชันของแท่งเชื้อเพลิง การหลอมละลายของมัดเชื้อเพลิง ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างซึ่งเกิดจากการทรุดตัวและความไม่เสถียรในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โดยได้ทำการประเมินความสามารถในการทำนายของโปรแกรม RELAP/SCDAPSIM MOD 3.4 อ้างอิงกับการทดลอง PBF SFD 1-4 (Power Burst Facility Severe Fuel Damage Test 1-4) และใช้เงื่อนไขจากการทดลองในการวิเคราะห์พร้อมทั้งเปรียบเทียบผลการคำนวณ ซึ่งได้แก่ ระดับน้ำในแกนปฏิกรณ์ อุณหภูมิของเชื้อเพลิง ปลอกเชื้อเพลิง และโครงห่อหุ้มแกนปฏิกรณ์ (shroud) และอัตราการเกิดก๊าซไฮโดรเจน จากผลการคำนวณพบว่าโปรแกรม RELAP/SCDAPSIM MOD 3.4 สามารถทำนายผลการทดลองได้ใกล้เคียงกับผลการทดลองจริงและมีความแม่นยำในการคำนวณผล อย่างไรก็ตามยังมีบางช่วงที่ไม่สอดคล้องกับผลการทดลองซึ่งอาจเป็นผลมาจากวิธีการป้อนข้อมูลในไฟล์ข้อมูลนำเข้าหรือโมเดลบางส่วนที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาต่อไป


Effects Of Titanium Dioxide Structure And Cobalt Addition On The Catalytic Properties Of Ru/Tio2 In The Selective Hydrogenation Of Furfural To Furfuryl Alcohol, Natdanai Nanthasanti Jan 2017

Effects Of Titanium Dioxide Structure And Cobalt Addition On The Catalytic Properties Of Ru/Tio2 In The Selective Hydrogenation Of Furfural To Furfuryl Alcohol, Natdanai Nanthasanti

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Furfuryl alcohol, an important intermediate for the production of many fine chemicals, is typically produced by the selective hydrogenation of lignocellulosic biomass-derived furfural using supported metal catalysts. In this research, 1.5%wt Ru catalysts supported on nanocrystalline TiO2 were prepared by incipient wetness impregnation method. The effects of crystallographic of TiO2 and Co addition in the range of 0.2-0.8 wt% on the catalytic properties of Ru/TiO2 were investigated in the selective hydrogenation of furfural to furfural alcohol at 50?C, 20 bar of H2, and 2 h reaction time. It was found that Ru supported on anatase phase TiO2 exhibited the highest …


Effects Of Titania Phase And Tungsten Loading Content In W/Tio2 Catalysts On Dehydration Of Ethanol To Diethyl Ether, Pongsatorn Kerdnoi Jan 2017

Effects Of Titania Phase And Tungsten Loading Content In W/Tio2 Catalysts On Dehydration Of Ethanol To Diethyl Ether, Pongsatorn Kerdnoi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, ethanol which is one of the most used renewable energies can be converted into the more valuable compounds. It was reported that titania-supported tungsten (W/TiO2) catalyst is able to convert ethanol into diethyl ether. However, titania support has different crystalline phases that can result in differences of physicochemical properties for the catalyst. Therefore, the present work reports on the catalytic behaviors of both different phases of titania and tungsten loading contents in catalytic ethanol dehydration to diethyl ether. To prepare the catalysts, the three different phases [anatase (A), rutile (R), and mixed phases (P25)] of titania supports were impregnated …


Determination Of Mass Transfer Coefficient Of Co2 In Solutions Of Monoethanolamine, 2-(Methylamino)Ethanol And Dimethylaminoethanol In Packed Absorption Column, Parintorn Vaewhongs Jan 2017

Determination Of Mass Transfer Coefficient Of Co2 In Solutions Of Monoethanolamine, 2-(Methylamino)Ethanol And Dimethylaminoethanol In Packed Absorption Column, Parintorn Vaewhongs

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this study, mass transfer of two new solvents, 2-MAE and DMAE were studied with various factors affecting mass transfer coefficient in comparison with MEA. Effect of solvent types, CO2 inlet loading 0.0, 0.1 and 0.2 mol/mol, solvent concentration 3, 4 and 5 kmol/m3, solvent flow rate 5.3, 10.6 and 15.9 m3/(m2·h) and CO2 content 13-15 v/v% in gas feed were investigated. In all cases, 2-MAE performed highest mass transfer rate among others. The highest mass transfer rate was 1.2656 kmol/(kPa·h·m3) for the case that CO2 inlet loading 0.0 mol/mol, solvent concentration 3 kmol/m3, solvent flow rate 10.6 m3/(m2·h) and …


The Effect Of Adsorption On Photocatalytic Degradation Of Phenyl Urea Herbicides On Zinc Oxide, Sutaporn Meephon Jan 2017

The Effect Of Adsorption On Photocatalytic Degradation Of Phenyl Urea Herbicides On Zinc Oxide, Sutaporn Meephon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The effect of adsorption on photocatalytic degradation was studied by using zinc oxide with different morphologies and exposed surfaces as the photocatalyst. Polar zinc-terminated surface and polar oxygen-terminated surface are dominating planes on the top and bottom of a crystal of ZnO conventional particles, while non-polar surface is the main plane on the side of ZnO nanorods. These surfaces affect the adsorption behavior of phenylurea herbicides, i.e. diuron, linuron and 3,4-dichloroaniline. Consequently, they cause the difference in photocatalytic degradation rate and intermediate products formed during the degradation. The adsorption capacity of ZnO conventional particles is about twice as high as …


Using Sound To Describe Scenes With Still And Moving Obstacles, Kawin Metsiritrakul Jan 2017

Using Sound To Describe Scenes With Still And Moving Obstacles, Kawin Metsiritrakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The information human get from sight and hearing sense are similar. With these correlations, there are many works that take this idea to describe the spatial information with sound. The previous works only described the nearest obstacle with the direction and distance information to sound. To let the user clearly understand the spatial information in the scene, we aim to develop the describing solution from spatial information to auditory information including direction, distance, boundary and speed info with the multiple obstacle descriptions. The participants took the experiment by controlling the character and avoiding the obstacles in the different scenarios to …


Determination Of Waste Treatment Fee Pricing Mechanism For Municipal Solid Waste By Mechanical Biological Treatment Method Utilising The Public Private Partnership Model In Thailand, Adrian Paul Raj Jan 2017

Determination Of Waste Treatment Fee Pricing Mechanism For Municipal Solid Waste By Mechanical Biological Treatment Method Utilising The Public Private Partnership Model In Thailand, Adrian Paul Raj

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Private participation in the development of municipal solid waste treatment projects through public-private partnership models accelerate the implementation of sustainable treatment technologies such as Mechanical Biological Treatment (MBT) facilities within developing countries without creating excessive burden to government infrastructure investment. The introduction of preset pricing mechanism to regulate potential waste treatment fee structure based on pre-determined project internal rate-of-return mitigates multi-party risks, such as the potential developer project losses or the opportunity to profiteer. Research encompasses technical assessment of project requirements for implementation of required technologies, commercial analysis of project capital expenditure (CAPEX), operational expenditure (OPEX) and assessment of revenue …


Effect Of Oxygen-Containing Functional Groups On Methane Adsorption By Activated Carbon, Kittima Dheerapreampree Jan 2017

Effect Of Oxygen-Containing Functional Groups On Methane Adsorption By Activated Carbon, Kittima Dheerapreampree

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Natural gas has been applied as a fuel for vehicle because it is cheaper and cleaner burning than other fuels. In the vehicle, natural gas is ordinarily reserved by compressing and storing under high pressure at room temperature but this method has several limitations (e.g. low energy density, high weight of tank). Therefore, a porous material with high specific surface area (e.g. activated carbon) is suggested to eliminate the limitations of natural gas storage by compression, natural gas is adsorbed at relatively low pressure and room temperature. The adsorption capacity of activated carbons is related with their physical and chemical …