Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

2017

Electrical and Computer Engineering

Chulalongkorn University

Articles 1 - 30 of 44

Full-Text Articles in Engineering

การประมาณตำแหน่งความผิดพร่องแบบไม่สมมาตรในระบบไฟฟ้าโดยวิธีอิมพีแดนซ์ร่วมกับข้อมูลแจ้งเตือนแรงดันไม่สมดุลจากมิเตอร์แบบเอเอ็มอาร์, ณัฐกฤตา ฤทธิ์รักษ์ Jan 2017

การประมาณตำแหน่งความผิดพร่องแบบไม่สมมาตรในระบบไฟฟ้าโดยวิธีอิมพีแดนซ์ร่วมกับข้อมูลแจ้งเตือนแรงดันไม่สมดุลจากมิเตอร์แบบเอเอ็มอาร์, ณัฐกฤตา ฤทธิ์รักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอ การประยุกต์การประมาณตำแหน่งความผิดพร่องในระบบจำหน่ายไฟฟ้าโดยวิธีใช้ค่าอิมพีแดนซ์ (Impedance based method) ร่วมกับการใช้สัญญาณแจ้งเตือนความผิดปกติแรงดันไม่สมดุลจากมิเตอร์แบบเอเอ็มอาร์ โดยทดสอบการประมาณตำแหน่งความผิดพร่องแบบไม่สมมาตรในระบบจำหน่ายไฟฟ้า อาศัยการจำลองข้อมูลระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และข้อมูลเหตุการณ์ความผิดพร่องแบบไม่สมมาตร ได้แก่ ความผิดพร่องแบบเฟสเดียวลงดิน ความผิดพร่องแบบสองเฟส และความผิดพร่องแบบสองเฟสลงดิน ผ่านโปรแกรม ATP (Alternative transient program) ข้อมูลที่ได้จากการจำลองระบบจะนำไปวิเคราะห์ตำแหน่งความผิดพร่องโดยวิธีใช้ค่าอิมพีแดนซ์ เพื่อศึกษาความคลาดเคลื่อนของระยะทางความผิดพร่อง ผลการศึกษาพบว่า การประมาณตำแหน่งความผิดพร่องในระบบจำหน่ายไฟฟ้าโดยวิธีใช้ค่าอิมพีแดนซ์ มีค่าความคลาดเคลื่อนของระยะทางความผิดพร่องอยู่ในช่วง 0-2 กิโลเมตร คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 7% เนื่องจากระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นระบบแบบเรเดียล ส่งผลให้ระยะทางความผิดพร่องที่คำนวณได้ ให้ค่าตำแหน่งความผิดพร่องได้หลายค่า ซึ่งเมื่อนำข้อมูลสัญญาณแจ้งเตือนความผิดปกติแรงดันไม่สมดุลจากมิเตอร์เอเอ็มอาร์มมาพิจารณาร่วมด้วย พบว่าข้อมูลสัญญาณแจ้งเตือนความผิดปกติแรงดันไม่สมดุลสามารถลดตำแหน่งความผิดพร่องที่เป็นไปได้ให้เหลือน้อยลงได้ เมื่อพิจารณาตำแหน่งความผิดพร่องที่เป็นไปได้ที่อยู่ใกล้เคียง กับสายย่อยที่มิเตอร์แจ้งเตือนความผิดปกติแรงดันไม่สมดุล สามารถลดค่าความคลาดเคลื่อนของระยะทางความผิดพร่องลงได้ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดไม่เกิน 4% และในกรณีความผิดพร่องแบบเฟสเดียวลงดิน พบว่าบางข้อมูลให้ค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนของระยะทางสายย่อยที่เกิดความผิดพร่องสูงกว่า ค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนที่ได้จากกระประมาณตำแหน่งความผิดพร่องโดยวิธีอิมพีแดนซ์ คิดเป็น 18.60% ซึ่งเป็นผลมาจากการแบ่งระยะทางของสายย่อยที่มีระยะมากเกินไป เนื่องจากมิเตอร์ที่ติดตั้งในระบบไฟฟ้ากระจายตัวไม่สม่ำเสมอ


การศึกษาผลกระทบของการเชื่อมต่อผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กบนระบบส่งย่อย, นภสินธุ์ ศักดิ์วงศ์ Jan 2017

การศึกษาผลกระทบของการเชื่อมต่อผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กบนระบบส่งย่อย, นภสินธุ์ ศักดิ์วงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ นำเสนอตัวอย่างการศึกษาการเชื่อมต่อผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทกังหันแก๊สและกังหันไอน้ำกับระบบส่งย่อย 115 kV โดยจำลองด้วยโปรแกรม DIgSILENT เพื่อศึกษาผลกระทบที่มีต่อระบบไฟฟ้าในด้านต่างๆ เช่น ระดับแรงดันไฟฟ้า ขนาดกระแสลัดวงจร กำลังสูญเสีย แรงดันตกชั่วขณะ และเสถียรภาพ เป็นต้น ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การเชื่อมต่อระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวที่จ่ายกำลังด้วยค่าตัวประกอบกำลังที่เหมาะสม สามารถควบคุมระดับแรงดันไฟฟ้า และลดกำลังสูญเสียรวมในระบบไฟฟ้า แต่ในอีกด้าน ระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวอาจส่งผลให้กระแสลัดวงจรและแรงดันตกชั่วขณะมีค่าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การแยกตัวของระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวอย่างกะทันหัน อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าได้ ซึ่งผลการศึกษาทั้งหมดจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนควบคุมและป้องกันระบบไฟฟ้า


การวิเคราะห์ผลประโยชน์และต้นทุนของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาร่วมกับแบตเตอรี่, บรมัตถ์ ต่างวิวัฒน์ Jan 2017

การวิเคราะห์ผลประโยชน์และต้นทุนของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาร่วมกับแบตเตอรี่, บรมัตถ์ ต่างวิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ต้นทุนการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีแนวโน้มลดลงทุกๆ ปี จนในปัจจุบัน การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคามีต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้กับราคาค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าได้แล้ว อย่างไรก็ตาม ในบางประเทศรวมทั้งประเทศไทย ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการรับซื้อไฟฟ้าที่จ่ายจากระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์คืนเข้าสู่ระบบจำหน่าย ทำให้เจ้าของบ้านยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านของตนขนาดเท่าไร นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ราคาของแบตเตอรี่ก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง การติดตั้งแบตเตอรี่ร่วมกับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาอาจช่วยลดต้นทุนโดยรวมของระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และค่าไฟฟ้าที่ซื้อจากการไฟฟ้าได้เช่นกัน โดยทั่วไป การวิเคราะห์ผลประโยชน์และต้นทุนเพื่อกำหนดขนาดของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับแบตเตอรี่ มักแก้ปัญหาด้วยวิธีการออปติไมเซชันแบบแคลคูลัส หรือแบบขั้นตอนเชิงวิวัฒนาการ เช่น วิธีเชิงพันธุกรรม เป็นต้น โดยพิจารณารูปแบบการรับและคายประจุของแบตเตอรี่ในรูปของอนุกรมเวลาซึ่งมีความซับซ้อนและอาจใช้เวลาในการแก้ปัญหานาน ดังนั้น ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จะนำเสนอวิธีการที่เรียบง่ายมากขึ้น โดยจะพิจารณาการรับและคายประจุของแบตเตอรี่อยู่ในรูปของก้อนพลังงานที่มีช่วงเวลาในการรับและคายประจุแน่นอนแล้วนำไปพิจารณาร่วมกับลักษณะการใช้ไฟฟ้าโดยตรง จากนั้นปัญหาดังกล่าวจะถูกแก้โดยการกำหนดขอบเขตของเซตคำตอบของปัญหาที่เป็นไปได้อย่างเป็นระบบแล้วเลือกค่าที่ดีที่สุดภายใต้เซตนั้นแทนการแก้ปัญหาด้วยวิธีการออปติไมเซชันโดยตรง ส่วนการคำนวณผลประโยชน์และต้นทุนยังคงใช้ในรูปของอนุกรมเวลาซึ่งมีผลการคำนวณที่แม่นยำ วิธีการที่นำเสนอได้ใช้ทดสอบกับลักษณะการใช้ไฟฟ้าของบ้านอยู่อาศัยโดยพิจารณาค่าไฟฟ้าเป็นแบบอัตราก้าวหน้า และกิจการขนาดกลางโดยพิจารณาค่าไฟฟ้าเป็นแบบอัตราตามช่วงเวลาของการใช้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มีความสมเหตุสมผลและใกล้เคียงกับงานวิจัยในอดีตที่ผ่านมา แต่มีความซับซ้อนของปัญหาลดลงอย่างมาก


การออกแบบและสร้างชุดต้นแบบของเครื่องปรับจุดทำงานที่เหมาะสมของแผงเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับระบบผลิตไฟฟ้า โดยใช้วงจรคอนเวอร์เตอร์แบบซีต้า ด้วยวิธีการควบคุมจุดกำลังสูงสุดแบบโมดิฟายอะแดปทีฟการรบกวนและการสังเกต, ดวงพร เล็กอุทัย Jan 2017

การออกแบบและสร้างชุดต้นแบบของเครื่องปรับจุดทำงานที่เหมาะสมของแผงเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับระบบผลิตไฟฟ้า โดยใช้วงจรคอนเวอร์เตอร์แบบซีต้า ด้วยวิธีการควบคุมจุดกำลังสูงสุดแบบโมดิฟายอะแดปทีฟการรบกวนและการสังเกต, ดวงพร เล็กอุทัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอเครื่องปรับจุดทำงานที่เหมาะสมของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ โดยประกอบด้วยวงจรคอนเวอร์เตอร์แบบซีต้าและกระบวนการหาจุดกำลังสูงสุดแบบโมดิฟายอะแดปทีฟการรบกวนและการสังเกต เนื่องจากการต่อระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์กับโหลดคงที่ จะทำให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ไม่สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้สูงสุด หากความเข้มแสงที่ฉายส่องให้กับแผง ไม่เหมาะสมกับค่าความต้านทานโหลด เครื่องปรับจุดการทำงานนี้จะประพฤติตัวเสมือนโหลด ที่สามารถปรับค่าความต้านทานได้อัตโนมัติ ช่วยให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นเมื่อต่อกับโหลดคงที่แม้จะถูกบังแสงแดด และเป็นกำลังไฟฟ้าสูงสุด ณ ความเข้มแสงขณะนั้น วิทยานิพนธ์นี้ได้จำลองแบบโดยใช้โปรแกรม PSIM และสร้างชุดต้นแบบของเครื่องปรับ จุดทำงานที่เหมาะสมเพื่อนำมาทดลองกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 1 แผง ขนาด 20 วัตต์ และ 2 แผงอนุกรม รวม 40 วัตต์ ที่ความเข้มแสงเต็มที่ 100% หรือเท่ากับ 900 วัตต์/ตารางเมตร และ ที่ความเข้มแสงลดลงเหลือ 80% 50% และ 20% ตามลำดับ จากผลการทดสอบพบว่าเครื่องปรับ จุดทำงานที่เหมาะสมสามารถช่วยให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุดทุกค่า ความเข้มแสง แต่เนื่องจากการสูญเสียภายในเครื่องปรับจุดทำงานจึงทำให้มีผลต่อกำลังไฟฟ้าที่โหลดได้รับ กล่าวคือ ที่ความเข้มแสง 100% และ 80% แผงเซลล์ฯ ให้กำลังไฟฟ้ามากกว่ากรณีที่ไม่มี เครื่องปรับจุดทำงานที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามโหลดได้รับกำลังไฟฟ้ามากกว่า สำหรับกรณีที่มี การใช้เครื่องปรับจุดทำงานที่เหมาะสมของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ณ ความเข้มแสงในการทดลองเท่ากับ 50% และ 20%


การกำหนดขนาดแบตเตอรี่ที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นระบบพลังงานสำรองในระบบผลิตไฟฟ้า, พชรพล สกุลสุธีบุตร Jan 2017

การกำหนดขนาดแบตเตอรี่ที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นระบบพลังงานสำรองในระบบผลิตไฟฟ้า, พชรพล สกุลสุธีบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการที่ปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี ภาครัฐจึงต้องวางแผนเพิ่มกำลังผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าเพื่อรักษาความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ทั้งนี้ การสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีความเชื่อถือได้สูงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ภาครัฐใช้ในการแก้ปัญหามาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ใช้ระยะเวลาเตรียมการนานและอาจไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ ดังนั้น ภาครัฐจึงจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าควบคู่ไปกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกเพื่อจัดหาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการอย่างมั่นคง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดี พลังงานหมุนเวียนก็มีความไม่แน่นอนและมีความผันผวนสูงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระดับความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าซึ่งอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นระยะเวลานานได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงได้เสนอแนวคิดในการนำแบตเตอรี่เข้ามาใช้เป็นระบบพลังงานสำรองในระบบผลิตไฟฟ้า และนำเสนอหลักการกำหนดขนาดของแบตเตอรี่ให้มีความเหมาะสมเพื่อเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบผลิตไฟฟ้าและลดการเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ โดยขนาดของแบตเตอรี่จะถูกกำหนดจากดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบผลิตไฟฟ้า อาทิเช่น พลังงานที่คาดว่าจะไม่ได้รับการจ่ายต่อปี และความถี่ในการเกิดไฟฟ้าดับต่อปี เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อถือได้เหล่านี้จะถูกคำนวณมาจากการจำลองสถานะการทำงานของระบบไฟฟ้าแบบ Monte Carlo ที่พัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรม MATLAB สำหรับตัวอย่างการวิเคราะห์เพื่อกำหนดขนาดที่เหมาะสมของแบตเตอรี่เพื่อใช้เป็นระบบพลังงานสำรองในระบบผลิตไฟฟ้าจะอาศัยระบบทดสอบ IEEE-RTS96 นอกจากนี้ จะทำการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้าของประเทศไทยที่อ้างอิงตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ฉบับปี พ.ศ. 2558 - 2579 โดยแบ่งการพิจารณาออกเป็น 6 ภูมิภาคตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยด้วย


แนวทางการสร้างโปรแกรมพลวัตเพื่อวางแผนการบำรุงรักษาแบบเหมาะที่สุดของอุปกรณ์หลักในสถานีไฟฟ้าโดยพิจารณาค่าใช้จ่ายและความเชื่อถือได้, สุรวิชญ์ เลาหนันทน์ Jan 2017

แนวทางการสร้างโปรแกรมพลวัตเพื่อวางแผนการบำรุงรักษาแบบเหมาะที่สุดของอุปกรณ์หลักในสถานีไฟฟ้าโดยพิจารณาค่าใช้จ่ายและความเชื่อถือได้, สุรวิชญ์ เลาหนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบริหารสินทรัพย์ภายในสถานีไฟฟ้าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ โดยเฉพาะระบบเฝ้าระวังสภาวะเพื่อวางแผนงานการบำรุงรักษา การกำหนดแผนงานบำรุงรักษานั้นส่งผลกระทบต่อการทำงานอุปกรณ์ ความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายวงชีพ วิทยานิพนธ์นี้มุ่งความสนใจกับการวางแผนบำรุงรักษาระยะยาวโดยพิจารณาความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า การวางแผนบำรุงรักษาสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ ระดับอุปกรณ์ และระดับสถานีไฟฟ้า เราใช้การแจกแจงแบบไวบูลล์เพื่อประมาณฟังก์ชันความเชื่อถือได้ของอุปกรณ์ ความเชื่อถือได้ของสถานีไฟฟ้ากำหนดโดยใช้วิธีเซตตัดต่ำสุด และอาจประมาณด้วยความเชื่อถือได้ของอุปกรณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างแรงต่อความเชื่อถือได้ของระบบ การกำหนดแผนงานบำรุงรักษามีรูปแบบเป็นปัญหาการหาค่าเหมาะที่สุดแบบไม่ต่อเนื่อง เพื่อหาค่าใช้จ่ายวงชีพต่ำที่สุด ภายใต้เงื่อนไขอายุประสิทธิผลสุดท้ายของอุปกรณ์และเงื่อนไขบังคับของความเชื่อถือได้ การหาคำตอบเหมาะที่สุดของการวางแผนบำรุงรักษามีความซับซ้อนและใช้เวลามาก วิทยานิพนธ์นี้เสนอแนวทางของการสร้างโปรแกรมพลวัตเพื่อหาคำตอบเหมาะที่สุดย่อย โดยทำให้ค่าขอบเขตบนของค่าใช้จ่ายวงชีพมีค่าต่ำสุด เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายวงชีพที่ได้จากวิธีการสร้างโปรแกรมพลวัต กับคำตอบจากวิธีพันธุกรรมและการบำรุงรักษาตามเวลา เราพบว่าวิธีการสร้างโปรแกรมพลวัตให้แผนงานบำรุงรักษามีค่าใช้จ่ายวงชีพน้อยกว่า และสอดคล้องกับความเชื่อถือได้ที่กำหนด


การวิเคราะห์ฮาร์มอนิกของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในระบบไฟฟ้ากำลัง, อรวรรณ กังวาฬ Jan 2017

การวิเคราะห์ฮาร์มอนิกของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในระบบไฟฟ้ากำลัง, อรวรรณ กังวาฬ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการวิเคราะห์ฮาร์มอนิกของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในระบบไฟฟ้ากำลัง โดยพิจารณาดัชนีทางฮาร์มอนิก อันได้แก่ ค่าร้อยละค่าความเพี้ยนฮาร์มอนิกรวม (Total Harmonic Distortion) และค่าฮาร์มอนิกแต่ละลำดับ (Individual Harmonic) โดยพิจารณาอยู่ภายใต้ ข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า ของการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2558 ในการทดสอบจะทำการทดสอบจากการเชื่อมต่อระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เข้ากับระบบโครงข่ายไฟฟ้า 3 แห่ง ของการไฟฟ้านครหลวง ที่มีระดับแรงดันแตกต่างกัน ได้แก่ ระดับแรงดันสูง (115 kV) ระดับแรงดันปานกลาง (24 kV) และระดับแรงดันต่ำ (230/400 V) ที่มีโครงสร้างทั้งแบบเรเดียลและโครงข่าย ผลการจำลองแบบที่ได้อยู่ในรูปแบบของค่าความเพี้ยนแรงดันฮาร์มอนิกรวม (Total Harmonic Distortion) และค่าแรงดันฮาร์มอนิกแต่ละลำดับ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่าวางแผนของการไฟฟ้านครหลวง และจากนั้นจะทำการหาปริมาณกำลังผลิตติดตั้งของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ยอมให้ติดตั้งได้โดยไม่เกินค่าวางแผนนั้น เพื่อเสนอแนะปริมาณกำลังผลิตติดตั้งที่เหมาะสมใหม่ให้แก่การไฟฟ้าด้วยโปรแกรม DIgSILENT PowerFactory จากการวิเคราะห์ผลการทดสอบพบว่าระบบจำหน่ายไฟฟ้าทั้ง 3 ระดับแรงดัน มีค่าความเพี้ยนแรงดันฮาร์มอนิกรวมและค่าแรงดันฮาร์มอนิกแต่ละลำดับแตกต่างกันไปตามกรณีและรูปแบบการจ่ายกระแสฮาร์มอนิก โดยปริมาณกำลังผลิตติดตั้งของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จะติดตั้งได้มากที่สุดในกรณีที่ระบบจำหน่ายไฟฟ้าไม่มีค่าแรงดันฮาร์มอนิกเบื้องหลังที่แหล่งจ่ายต้นทาง และมีการจ่ายกระแสฮาร์มอนิกจากอินเวอร์เตอร์รูปแบบที่ 3 (ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จ่ายกระแสฮาร์มอนิกตามข้อมูลการทดสอบอินเวอร์เตอร์จากบริษัทผู้ผลิตอินเวอร์เตอร์ โดยปรับปริมาณกระแสฮาร์มอนิกแต่ละลำดับให้มีผลรวมความเพี้ยนกระแสฮาร์มอนิกรวมเท่ากับ 5%) ทั้งนี้ในวิทยานิพนธ์นี้ยังได้ทำการศึกษาและสรุปข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบกับข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงอีกด้วย


การตั้งค่าเป้าหมายดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้ากำลังโดยพิจารณาค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง, อมร ฉมังหัตถพงศ์ Jan 2017

การตั้งค่าเป้าหมายดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้ากำลังโดยพิจารณาค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง, อมร ฉมังหัตถพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการให้บริการด้านไฟฟ้าของผู้จำหน่ายไฟฟ้า เนื่องจากระบบไฟฟ้าที่มีความเชื่อถือได้ที่ดีจะสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นการปรับปรุงความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความเชื่อถือได้ที่ดี จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้จำหน่ายไฟฟ้าที่ควรกระทำ ซึ่งการปรับปรุงความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าจะต้องมีการประเมินค่าดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า เพื่อให้ทราบถึงระดับความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าที่มีอยู่ และมีการกำหนดค่าเป้าหมายค่าดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า เพื่อให้ทราบถึงระดับความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าที่ต้องการ โดยค่าเป้าหมายที่กำหนดนั้นควรมีการพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีความท้าทายที่เหมาะสมกับศักยภาพและทรัพยากรที่มีอยู่ อีกทั้งยังต้องมีวิธีการที่ให้ได้มาซึ่งค่าเป้าหมายอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถนำไปกำหนดกิจกรรมบำรุงรักษา และวางแผนปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะนำเสนอแนวทางเลือกหนึ่ง ในการตั้งค่าเป้าหมายค่าดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าที่มีความรวดเร็ว รวมทั้งพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย เช่น ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ความยาวสายระบบไฟฟ้า โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงแบบพหุ (Multiple Linear Regression Analysis) และวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงอย่างง่าย (Simple Linear Regression Analysis) ในการคาดการณ์ค่าดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าให้สอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ เพื่อให้ได้รับค่าเป้าหมายค่าดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าที่เหมาะสม


การประเมินความต้องการเทคโนโลยีพลังงานในภาคคมนาคมขนส่งทางถนนเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, คุณชนก ปรีชาสถิตย์ Jan 2017

การประเมินความต้องการเทคโนโลยีพลังงานในภาคคมนาคมขนส่งทางถนนเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, คุณชนก ปรีชาสถิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาความต้องการเทคโนโลยีพลังงานเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคคมนาคมขนส่งทางถนน โดยการจัดลำดับความสำคัญของเทคโนโลยี/ทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมสนับสนุนเทคโนโลยีพลังงานของภาคคมนาคมขนส่งทางถนนที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การศึกษานี้ใช้วิธีการวิเคราะห์ในรูปแบบ Multi-Criteria Analysis (MCA) โดยกำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย เกณฑ์ด้านความพร้อม และด้านผลกระทบ และกำหนดให้ผู้เชี่ยวชาญในภาคขนส่งประเมินเพื่อให้คะแนนกับเทคโนโลยี/ทางเลือกพลังงานของภาคคมนาคมขนส่งทางถนนที่สามารถประเมินได้ ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ แบ่งเป็น 3 ประเด็น ประเด็นแรกคือการจัดลำดับความสำคัญของเกณฑ์ พบว่าความพร้อม 3 อันดับแรกที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่ ด้านนโยบาย โครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ด้านการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน และด้านต้นทุนและผลประโยชน์ ตามลำดับ สำหรับผลกระทบพบว่าด้านสิ่งแวดล้อมเป็นบริบทที่มีความสำคัญมากที่สุด ประเด็นที่สอง คือ วิเคราะห์ผลที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญและจัดลำดับเทคโนโลยี/ทางเลือกที่มีผลกระทบสูง ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม พบว่า 5 อันดับของเทคโนโลยี/ทางเลือกในภาคคมนาคมขนส่งทางถนนที่มีความพร้อมและผลกระทบสูง ได้แก่ ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (ถนนและราง) ระบบตั๋วร่วม การปรับปรุงระบบขนส่งการระวางสินค้าและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนมาสู่การขนส่งทางรางและน้ำ และการวางผังเมือง ตามลำดับ สำหรับประเด็นที่สาม คือการนำเทคโนโลยี/ทางเลือกที่มีผลกระทบสูงมาวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านความพร้อมโดยการวิเคราะห์ช่องว่าง (gap analysis) เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายและแผนเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานของภาคคมนาคมขนส่งทางถนนที่เหมาะสมกับประเทศไทยต่อไป


การประเมินความต้องการเทคโนโลยีพลังงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ศิวพร ปรีชา Jan 2017

การประเมินความต้องการเทคโนโลยีพลังงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ศิวพร ปรีชา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาความต้องการเทคโนโลยีพลังงานเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและจัดลำดับความสำคัญของเทคโนโลยีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามเจตจำนงของประเทศไทยที่ให้ไว้กับภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ซึ่งงานวิจัยนี้กำหนดเกณฑ์การประเมินเป็นสองด้านประกอบด้วย ด้านความพร้อม (11 ประเด็น) และด้านผลกระทบ (4 ประเด็น) และอ้างอิงรายการเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมการผลิตจาก 3 กลุ่มประเภทพลังงาน คือ กลุ่มพลังงานทางเลือก/พลังงานหมุนเวียน กลุ่มเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน และกลุ่มการบริหารจัดการพลังงาน ตามเอกสารของ UNFCCC ซึ่งทำการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และวิเคราะห์ด้วยวิธีการประเมินทางเลือกจากหลายเกณฑ์ (MCA) จากผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญของเกณฑ์ด้านความพร้อมในประเด็นนโยบาย โครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และด้านผลกระทบในประเด็นสิ่งแวดล้อมสูงที่สุด โดยผลการจัดลำความสำคัญของเทคโนโลยีพลังงานเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคอุตสาหกรรมการผลิต พบว่า เทคโนโลยีระบบความร้อน ระบายอากาศ ปรับอากาศ (HVAC) เชื้อเพลิงชีวมวล/เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด/การทำความร้อนแบบรวมศูนย์ (Biomass heating, wood pellets, district heating) ระบบไฟฟ้าพลังงานร่วม (CHP) ก๊าซพลังงานสะอาดจากชีวมวล (biogas) และการประหยัดพลังงานของอุตสาหกรรมซีเมนต์ มีความพร้อมและผลกระทบสูงสุดตามลำดับ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวมีความพร้อมในประเด็นสถานการณ์ปัจจุบันของเทคโนโลยีในประเทศไทยต่ำ โดยปัจจุบันประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานและเทคโนโลยีพลังงานที่มีประสิทธิภาพจากต่างประเทศ ทำให้การกระจายตัวของเทคโนโลยีกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและความพร้อมสูงเท่านั้น


Multiple Face Detection And Recognition On Embedded Computer Vision System, Savath Saypadith Jan 2017

Multiple Face Detection And Recognition On Embedded Computer Vision System, Savath Saypadith

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Face recognition is widely used in many applications such as biometric for authentication, surveillance system, user-identification, and personalized technology. The state-of-the-art algorithm based on Convolutional Neural Network (CNN) can achieve up to 99% of recognition accuracy. However, there is a limitation to implement the CNN based technique into embedded system to recognize multiple face in real-time as it requires extensive computation. In this thesis, we propose a framework for multiple face recognition which consists of face detection algorithm, face recognition, and tracking. Our face recognition algorithm based on state of the art deep CNN with small computational parameters. The tracking …


การศึกษาความคุ้มค่าของการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดจากทะลายปาล์มเปล่า, กษิเดช สาลีพัฒนา Jan 2017

การศึกษาความคุ้มค่าของการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดจากทะลายปาล์มเปล่า, กษิเดช สาลีพัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ทะลายปาล์มเปล่าเป็นของเสียอุตสาหกรรมที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ และมีศักยภาพที่จะใช้ผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ด แต่ปัจจุบันยังไม่แพร่หลาย เนื่องจากทะลายปาล์มเปล่ามีโพแทสเซียมปริมาณสูง ก่อให้เกิดตะกรันหลังเผาไหม้ (การเกาะตัวของเถ้าบนท่อไอน้ำร้อนยิ่งยวด) ซึ่งโดยทั่วไปสามารถลดปัญหาการเกิดตะกรันดังกล่าว 2 แนวทาง คือ การเจือจางหรือลดสัดส่วนโพแทสเซียมในเชื้อเพลิงอัดเม็ดโดยผสมทะลายปาล์มเปล่ากับชีวมวลที่มีโพแทสเซียมปริมาณต่ำ และการใช้ดินขาวเป็นสารเติมแต่ง งานวิจัยนี้จึงทำการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ด 2 ชุด โดยชุดแรกผสมทะลายปาล์มเปล่ากับขี้เลื่อยไม้ยางพารา อัตราส่วน 1:6 และชุดที่สองผสมดินขาวร้อยละ 7.8 ทำการทดสอบคุณสมบัติเชื้อเพลิงอัดเม็ดเทียบมาตรฐานการซื้อขาย พร้อมกับศึกษาเปรียบเทียบความคุ้มค่าของการลงทุนผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดทั้งสองชุด ผลการทดสอบคุณสมบัติของเชื้อเพลิงอัดเม็ดจากทะลายปาล์มเปล่า ทะลายปาล์มผสมขี้เลื่อยยางพารา และทะลายปาล์มผสมดินขาว พบค่าความร้อน 18.30, 18.13, และ 17.06 MJ/kg ตามลำดับ ซึ่งผ่านมาตรฐานการซื้อขาย (Enplus Grade B 16.5 MJ/kg และ Korean 4th Grade 16.9 MJ/kg) ขณะที่ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบปริมาณไนโตรเจนอยู่ในช่วง 0.36-0.62 %โดยน้ำหนัก (Enplus Grade B ไม่เกิน 1.0 %โดยน้ำหนัก และKorean 4th Grade ไม่เกิน 0.3%โดยน้ำหนัก) พบปริมาณซัลเฟอร์อยู่ในช่วง 0.53-0.68 %โดยน้ำหนัก (Enplus Grade B ไม่เกิน 0.3%โดยน้ำหนัก และKorean 4th Grade ไม่เกิน 0.05 %โดยน้ำหนัก) ดังนั้นเชื้อเพลิงอัดเม็ดจากทะลายปาล์มจำเป็นต้องใช้ในอุตสาหกรรมที่มีระบบบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เพื่อป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าการลงทุนผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ด กรณีโรงงานผลิตน้ำมันปาล์มเป็นผู้ลงทุนเอง (ไม่มีค่าใช้จ่ายวัตถุดิบทะลายปาล์มเปล่า) พบว่าเชื้อเพลิงอัดเม็ดจากทะลายปาล์มเปล่าผสมดินขาว ราคาขาย 1,960 บาทต่อตัน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ 13,139,329 บาท อัตราผลตอบแทนภายในร้อยละ 20 ระยะเวลาคืนทุน 5 ปี 2 เดือน มีความเป็นไปได้ในการผลิตมากที่สุด โดยนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วมสำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง


ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและพลังงานจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขนส่งของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์, ธนะรัชต์ งามเสงี่ยม Jan 2017

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและพลังงานจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขนส่งของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์, ธนะรัชต์ งามเสงี่ยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างด้านการขนส่งของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ย่อมจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของทั้งอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์เอง และสาขาการผลิตอื่นๆ ภายในห่วงโซ่อุปทานเดียวกันอีกด้วย งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขนส่งของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ โดยใช้แบบจำลองปัจจัยการผลิตและผลผลิต จากการคำนวณการเปลี่ยนแปลงต้นทุนการขนส่งรวมของปูนซีเมนต์ในสถานการณ์ปัจจุบันและสถานการณ์จำลอง พบว่า ในสถานการณ์จำลองที่ 1 ซึ่งกำหนดให้เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางถนนเป็นทางราง ต้นทุนรวมของการขนส่งปูนซีเมนต์ทั้งระบบจะลดลงเหลือร้อยละ 53.71 ของมูลค่าเดิม ในขณะที่ ในสถานการณ์จำลองที่ 2 ซึ่งกำหนดให้เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางถนนเป็นทางรางและทางทะเล ต้นทุนรวมของการขนส่งปูนซีเมนต์ทั้งระบบจะลดลงเหลือร้อยละ 49.44 ของมูลค่าเดิม การวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขนส่งของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ต่อปริมาณการใช้พลังงานรวมของทั้งประเทศ พบว่า การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขนส่งตามสถานการณ์จำลองที่ 1 และสถานการณ์จำลองที่ 2 จะช่วยลดการใช้พลังงานรวมของทั้งระบบเศรษฐกิจลงได้ ร้อยละ 0.0498 และร้อยละ 0.0532 ตามลำดับ นอกจากนี้ การศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขนส่งต่อการเปลี่ยนแปลงด้านราคาผลผลิตพบว่า ทั้งสองสถานการณ์จำลองให้ผลที่สอดคล้องกัน กล่าวคือ สาขาการผลิตที่มีการลดลงของราคาผลผลิตมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต การก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์อโลหะ ปูนซีเมนต์ และ ประปา ซึ่งล้วนแต่เป็นสาขาการผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ทั้งสิ้น ดังนั้นภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและทางทะเล เพื่อกระจายผลผลิตไปยังสาขาการผลิตอื่นๆ และผู้บริโภคขั้นสุดท้ายให้มากขึ้น เพราะนอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตสินค้า แล้วยังช่วยลดการใช้พลังงานรวมของทั้งระบบเศรษฐกิจลงได้อีกด้วย


การจัดการพลังงานในอาคารเรียน กรณีศึกษา อาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, ปนิดา ตะสิทธิ์ Jan 2017

การจัดการพลังงานในอาคารเรียน กรณีศึกษา อาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, ปนิดา ตะสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการจัดการพลังงานในอาคารเรียนโดยใช้ อาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นกรณีศึกษา อาคาร มีพื้นที่ใช้งานทั้งหมด 22,222 ตารางเมตร มีคนใช้งาน 13,000 คนต่อวัน และทำงานในวันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.00-16.00 น. การศึกษานี้มุ่งเน้นที่ระบบปรับอากาศและระบบไฟฟ้าแสงสว่าง โดยเก็บข้อมูลการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและตรวจวัดประสิทธิภาพของอุปกรณ์ก่อนการปรับปรุง เพื่อหามาตรการอนุรักษ์พลังงานที่จะทำให้อาคารมีการจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ จากนั้นวิเคราะห์ผลการประหยัดพลังงานจากมาตรการที่กำหนดเพื่อหาความคุ้มค่าในการลงทุน จากผลงานวิจัยในปี 2559 อาคาร มีการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ทั้งหมด 7,152,840 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 31,336,591 บาทต่อปี และมีดัชนีการใช้พลังงานตลอดปี 322 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตร สัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด ประกอบด้วย ระบบปรับอากาศ 68 เปอร์เซ็นต์ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง 30 เปอร์เซ็นต์ และระบบอื่นๆ 2 เปอร์เซ็นต์ ผลการวิเคราะห์ได้มาตรการอนุรักษ์พลังงาน 3 มาตรการ ได้แก่ (1) เปลี่ยนหลอดไฟฟ้าจากหลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นหลอด LED มีระยะเวลาคืนทุน 2.3 ปี (2) เปลี่ยนเครื่องทำน้ำเย็นใหม่ 1 เครื่อง มีระยะเวลาคืนทุน 15.1 ปี และ (3) ติดตั้งอินเวอร์เตอร์เพื่อปรับความเร็วรอบที่เครื่องสูบน้ำเย็นมีระยะเวลาคืนทุน 0.7 ปี สรุปรวมผลการจัดการการใช้พลังงานในอาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ทุกมาตรการ สามารถประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารได้ 476,524 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี เป็นเงินที่ประหยัดได้ 2,087,174 บาทต่อปี


การประเมินทางเลือกของการลงทุนโรงไฟฟ้าขยะชุมชนขนาด 3 เมกะวัตต์ โดยวิธีการเรียลออปชั่น, พชรพร เพ็งอ้น Jan 2017

การประเมินทางเลือกของการลงทุนโรงไฟฟ้าขยะชุมชนขนาด 3 เมกะวัตต์ โดยวิธีการเรียลออปชั่น, พชรพร เพ็งอ้น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์ความยืดหยุ่นของปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนและประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัยต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป ด้วยการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากโครงการด้วยตัวชี้วัดทางการเงินร่วมกับการจำลองสถานการณ์มอนติ คาร์โล โดยทำการศึกษาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะขนาด 3 เมกกะวัตต์ ประกอบด้วยการลงทุนในโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีเตาเผาขยะมูลฝอย เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น และเทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไร้อากาศและการผลิตขยะเชื้อเพลิง ซึ่งมีทางเลือก 10 ทางเลือก ผลการวิจัยพบว่า การลงทุนในโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไร้อากาศ (Anaerobic digestion) และการผลิตขยะเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel) ขนาด 3 MW มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) และอัตราผลตอบแทนภายในการลงทุน (IRR) สูงที่สุด เท่ากับ 120.59 ล้านบาท และ 10.24% ผลจากการวิเคราะห์ความอ่อนไหว พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะชุมชนมากที่สุดคือ เงินลงทุนของแต่ละเทคโนโลยี รายได้จากการขายไฟฟ้าและรายได้จากค่ากำจัดขยะ ผลจากการจำลองสถานการณ์มอนติ คาร์โล เพื่อนำมาประเมินความเสี่ยงของโครงการและทำการวิเคราะห์หาความยืดหยุ่นของการลงทุน โดยใช้ค่าความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้นมาเขียนเป็นแผนภูมิต้นไม้ สรุปได้ว่า ทางเลือกที่มีความยืดหยุ่นมากที่สุดคือ การลงทุนเทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไร้อากาศ (Anaerobic digestion) และการผลิตขยะเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel) ขนาด 4.5 MW มีความยืดหยุ่นเท่ากับ 366.16 ล้านบาท


ปัจจัยด้านอุณหภูมิภายนอกของประเทศไทยที่มีผลต่อค่าประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์, พัชราพรรณ การะเกต Jan 2017

ปัจจัยด้านอุณหภูมิภายนอกของประเทศไทยที่มีผลต่อค่าประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์, พัชราพรรณ การะเกต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ศึกษาความแตกต่างของชุดอุณหภูมิเพื่อหาค่าประสิทธิภาพพลังงานตามฤดูกาลของเครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์ (Cooling Seasonal performance factor, CSPF) ตามมาตรฐาน ISO 16358 – 1 : 2013 โดยกำหนดให้ภาระทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศขึ้นกับสภาวะอากาศภายนอกอย่างเดียว ซึ่งวิเคราะห์ระหว่างชุดอุณหภูมิภายนอกตามค่าแนะนำกับชุดอุณหภูมิภายนอกตามสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย การวิเคราะห์ค่า CSPF ของเครื่องปรับอากาศ ทั้งหมด 17 ยี่ห้อ 23 รุ่น ที่มีขนาดทำความเย็น 2,638 3,517 5,276 และ 7,034 วัตต์ โดยเปรียบเทียบ 2 กรณี กรณีที่ 1 ใช้ชุดอุณหภูมิ (outdoor bin temperature) จากค่าแนะนำ (default) และกรณีที่ 2 ใช้ชุดอุณหภูมิตามสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย พบว่า ค่า CSPF ในกรณีที่ 1 มีค่า 4.51 4.12 4.12 และ 4.10 ตามลำดับ และ กรณีที่ 2 มีค่า 4.40 4.03 4.03 และ 4.00 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบทั้ง 2 กรณี พบว่า ค่า CSPF ที่คำนวณโดยใช้ชุดอุณหภูมิของประเทศไทย มีค่าลดลงร้อยละ 2.28 เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยมีค่าสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจากค่าแนะนำ นอกจากนี้ ได้วิเคราะห์ค่า CSPF โดยใช้ชุดอุณหภูมิภายนอกตามสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เมื่อปรับช่วงอุณหภูมิจาก 20 – 35 องศาเซลเซียส เป็น 20 – 40 องศาเซลเซียส เพื่อสะท้อนช่วงอุณหภูมิที่ใช้งานเครื่องปรับอากาศจริง ส่งผลให้ค่า CSPF มีค่าลดลงร้อยละ 0.59 ดังนั้นการวิเคราะห์ค่า CSPF โดยใช้ชุดอุณหภูมิภายนอกตามสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยมีความจำเป็น เพื่อให้สะท้อนประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์ที่เกิดขึ้นจริง


การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ประโยชน์ชานอ้อยเพื่อการผลิตไฟฟ้ากับการผลิตเอทานอล, พิมพ์รัก เสนาจักร์ Jan 2017

การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ประโยชน์ชานอ้อยเพื่อการผลิตไฟฟ้ากับการผลิตเอทานอล, พิมพ์รัก เสนาจักร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชานอ้อยเป็นหนึ่งในผลพลอยได้ที่สำคัญของอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล ในแต่ละปีจะมีชานอ้อยเกิดขึ้นประมาณ 28 ล้านตัน จึงมีความพยายามที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชานอ้อยเหล่านี้ เช่น นำไปผลิตเยื่อกระดาษ หรืออาหารสัตว์ เป็นต้น งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบความคุ้มค่าต่อการลงทุนระหว่างโครงการผลิตไฟฟ้าและโครงการผลิตเอทานอลจากชานอ้อย ภายใต้ข้อกำหนดว่า ราคาขายเอทานอลอยู่ที่ 25 บาทต่อลิตร และ ไฟฟ้าซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตเอทานอลขายได้ในอัตราของนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in-Tariff (FiT) ในขณะที่ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากการกระบวนการเผาตรงขายได้ในอัตราการรับซื้อไฟฟ้าแบบ Time of Use Rate (TOU) และใช้อัตราคิดลดเท่ากับร้อยละ 8.25 ผลการวิเคราะห์พบว่า ในกรณีที่ใช้ปริมาณชานอ้อยเท่ากันคือ 1.4 ล้านตันต่อปี โครงการขยายโรงงานเพื่อผลิตเอทานอลจากชานอ้อย จะมีค่าอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ร้อยละ 15.15 มูลค่าปัจจุบัน (NPV) 129.45 ล้าน USD ในขณะที่โครงการผลิตไฟฟ้าจากชานอ้อยด้วยวิธีเผาตรง จะมีค่าอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ร้อยละ 18.39 มูลค่าปัจจุบัน (NPV) 62.23 ล้าน USD นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อโครงการผลิตเอทานอลจากชานอ้อยมากที่สุดคือ ราคาขายเอทานอล และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อโครงการโครงการผลิตไฟฟ้าจากชานอ้อยมากที่สุด คือ ราคารับซื้อไฟฟ้าของภาครัฐ ทั้งนี้ โครงการผลิตเอทานอลจะคุ้มทุนเมื่อราคาเอทานอลสูงกว่า 22.60 บาท และต้องก่อตั้งโรงงานที่มีกำลังการผลิตมากกว่า 410,000 ลิตรต่อวัน สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้า หากรัฐบาลไม่มีการสนับสนุนและรับซื้อไฟฟ้าในอัตราเดียวกับที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยขายส่ง จะทำให้โครงการผลิตไฟฟ้าจากชานอ้อยไม่คุ้มทุน ท้ายที่สุด เมื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการรวมสองเทคโนโลยีไว้ภายในโรงงานเดียวกันพบว่า ควรใช้ชานอ้อยเพื่อผลิตเอทานอลในสัดส่วนร้อยละ 75 ของปริมาณชานอ้อยทั้งหมด จึงจะคุ้มค่าต่อการลงทุน เนื่องจากการผลิตเอทานอลมีต้นทุนค่าเครื่องจักรที่สูง การผลิตในปริมาณน้อยจะไม่คุ้มทุน อีกทั้งหากผลิตไฟฟ้าในปริมาณมาก จะถูกบังคับให้ขายไฟฟ้าในราคารับซื้อที่ถูกลง ดังนั้นจึงควรใช้ชานอ้อยเพื่อผลิตเอทานอลในสัดส่วนที่มากกว่าการนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า


การประเมินความต้องการทางเทคโนโลยีพลังงานในภาคการผลิตไฟฟ้าเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, วิสรรค์ ศรีอนันต์ Jan 2017

การประเมินความต้องการทางเทคโนโลยีพลังงานในภาคการผลิตไฟฟ้าเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, วิสรรค์ ศรีอนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาความต้องการเทคโนโลยีพลังงานในภาคการผลิตไฟฟ้า เพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีจุดประสงค์เพื่อจัดลำดับความสำคัญของเทคโนโลยี/ทางเลือก เพื่อนำไปจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมสนับสนุนเทคโนโลยีพลังงานของภาคการผลิตไฟฟ้า ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การศึกษานี้ใช้วิธีการวิเคราะห์ Multi-criteria Analysis (MCA) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญในภาคการผลิตไฟฟ้า ทำการประเมินเพื่อให้คะแนนกับเทคโนโลยี/ทางเลือกพลังงาน ที่สามารถทำการประเมินได้ ซึ่งรายการเทคโนโลยี/ทางเลือก ถูกอ้างอิงจากเอกสารของ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) และสำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย 2 เกณฑ์หลัก คือ เกณฑ์ด้านความพร้อม และ เกณฑ์ด้านผลกระทบ ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า เกณฑ์ด้านความพร้อมที่ทางผู้เชี่ยวชาญเล็งเห็นถึงความสำคัญมากสุด คือ ด้านการยอมรับจากสังคม ในด้านผลกระทบที่ทางผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญ คือ ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม: มลพิษทางอากาศ, มลพิษทางน้ำ, การปนเปื้อน ฯลฯ เป็นอันดับแรก และ ผลจัดอันดับเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญพบว่า เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นอันดับแรก และลำดับที่ 2 คือ พลังงานไฟฟ้าร่วมโดยใช้แก๊สธรรมชาติแบบทั่วไป ที่ส่งผลกระทบสูงและมีความพร้อมสูง อีกทั้งเมื่อนำกลุ่มเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบสูงมาวิเคราะห์ช่องว่าง ประเด็นหลักที่สำคัญคือ ต้นทุนและผลประโยชน์ และ การสนับสนุนด้านการเงิน ที่ยังต้องได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมที่มากขึ้น ทั้งนี้จึงนำไปสู่ข้อเสนอแนะนโยบายควรให้มีองค์กรหรือสถาบันวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม ทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้กับประเทศไทยโดนเฉพาะ อีกทั้งตั้งกองทุนการสนับสนุนเทคโนโลยี รวมไปถึงกฎหมายควบคุมต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก


การใช้ประโยชน์เถ้ากะลาปาล์มเป็นสารเร่งปฏิกิริยาในการผลิตไบโอดีเซล, สุเชษฐ เทพอาษา Jan 2017

การใช้ประโยชน์เถ้ากะลาปาล์มเป็นสารเร่งปฏิกิริยาในการผลิตไบโอดีเซล, สุเชษฐ เทพอาษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการใช้ประโยชน์เถ้ากะลาปาล์มเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว โดยทำการทดลองที่หลากหลายสภาวะ อาทิ สัดส่วนโดยโมลเมทานอลต่อน้ำมันพืช ร้อยละโดยน้ำหนักของตัวเร่งปฏิกิริยา อุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการเผาเถ้ากะลาปาล์ม เป็นต้น โดยที่ทุกการทดลองใช้น้ำมันพืชปริมาณ 200 กรัม ทำปฏิกิริยาที่ 65 OC เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาที่ได้จากการเผาเถ้ากะลาปาล์มที่ 900 OC เป็นเวลา 4 ชั่วโมง ให้ผลผลิตและคุณภาพไบโอดีเซลสูงกว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ได้จากการเผาเถ้ากะลาปาล์มที่ 800 OC เป็นเวลา 4 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบว่าสภาวะการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วสำหรับการศึกษานี้ คือ การผลิตไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ได้จากการเผาเถ้ากะลาปาล์มที่ 900 OC เป็นเวลา 4 ชั่วโมง ปริมาณร้อยละ 1 โดยน้ำหนักน้ำมันพืชที่ใช้ตั้งต้น เติมเมทานอล 3 เท่าโดยโมลน้ำมันพืช ทำปฏิกิริยาที่ 65 OC เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ทั้งนี้พบว่าไบโอดีเซลที่ผลิต ณ สภาวะเหมาะสมนี้ จะให้ผลผลิตไบโอดีเซลสูงถึง 85.6% และมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานกำหนดโดยกระทรวงพลังงานของประเทศไทย


Optimal Sizing, Siting, And Scheduling Of Bess For Mitigatingvoltage Problem In Distribution Utilities With Highpenetration Of Pv Rooftops, Anh Thi Nguyen Jan 2017

Optimal Sizing, Siting, And Scheduling Of Bess For Mitigatingvoltage Problem In Distribution Utilities With Highpenetration Of Pv Rooftops, Anh Thi Nguyen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

For ambition of reducing CO2 emission and reliance on fossil fuels, solar power generation has been received special supports and deployed rapidly in many distribution networks. However, with a high presence of solar power generation, power grid control is no longer simple as conventional one due to natural variation of solar power and large space dispersion of solar power systems. The negative impacts comprise power system stability, electric power quality involving frequency and voltage criteria and other potential issues. Among these impacts, voltage problem is most obvious. Many solutions have been proposed to solve the voltage problem whereas battery energy …


A Tree-Based Collision Resolution Algorithm For Rfid Using Bayesian Tag Estimation, Sanika Krishnamali Wijayasekara Jan 2017

A Tree-Based Collision Resolution Algorithm For Rfid Using Bayesian Tag Estimation, Sanika Krishnamali Wijayasekara

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Radio Frequency IDentification (RFID) is a promising wireless object identifying technology which uses radio frequency waves to transmit data between an RFID reader and tags. The RFID systems have been effectively applied in different areas, like manufacturing, healthcare, supply chain, transportation and agriculture. Despite the vast deployment of the RFID technology in practice, the inherent RFID tag collision problem still persists as a serious concern and remains a challenge. The tag collision problem happens when some tags in reader's vicinity try to transmit data to a reader simultaneously without priori coordination. The existing RFID Electronic Product Code (EPC) Class 1 …


A Revisit To Impulse Breakdown Voltage Of Standard Air Gaps, Chhoum Vathana Chhom Jan 2017

A Revisit To Impulse Breakdown Voltage Of Standard Air Gaps, Chhoum Vathana Chhom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

By its simplicity, sphere gaps method for the measuring of peak voltage is preferred to be used as standard for calibration purposes. The limits of accuracy of the standard sphere-gaps depends on the ratio of the gap spacing S to the sphere diameter D, as follows. For AC, switching and lightning impulse voltage, S ≤0.5D, uncertainty is ±3%, but for gap spacing 0.75D > S > 0.5D, the uncertainty is larger than ±3%. However, the U50% disruptive discharge of some standard spheres at the same gap spacing showed the different value from each other. The significant case occurred between 5cm and 10cm …


การออกแบบการควบคุมเชิงทำนายแบบจำลองไม่เชิงเส้นสำหรับแขนเพนดูลัมผกผันโดยใช้การป้อนกลับสัญญาณขาออก, เพชรกฤษณ์ ภิญโญภาวศุทธิ Jan 2017

การออกแบบการควบคุมเชิงทำนายแบบจำลองไม่เชิงเส้นสำหรับแขนเพนดูลัมผกผันโดยใช้การป้อนกลับสัญญาณขาออก, เพชรกฤษณ์ ภิญโญภาวศุทธิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้เสนอการออกแบบของการควบคุมเชิงทำนายแบบจำลองไม่เชิงเส้นสำหรับแขนเพนดูลัมผกผันโดยใช้การป้อนกลับสัญญาณขาออก การควบคุมเชิงทำนายแบบจำลองไม่เชิงเส้นได้รับความสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากการควบคุมกระบวนการสามารถประยุกต์กับระบบไม่เชิงเส้น การควบคุมเชิงทำนายแบบจำลองไม่เชิงเส้นมีรูปแบบเป็นปัญหาการหาค่าเหมาะที่สุดที่เวลาสุ่มการควบคุมเชิงทำนายแบบจำลองไม่เชิงเส้นมีวัตถุประสงค์เพื่อคุมค่าสัญญาณขาออกและตามรอยสัญญาณอ้างอิง ในทางปฏิบัติตัวแปรสถานะบางตัวเท่านั้นที่วัดได้เมื่อมีเพียงการวัดสัญญาณขาออกเราจึงออกแบบตัวสังเกตแบบไม่เชิงเส้นเพื่อประมาณสถานะที่วัดค่าไม่ได้ จากนั้นจะนำตัวแปรสถานะที่ประมาณได้ เป็นสัญญาณป้อนกลับเพื่อคำนวณหาสัญญาณควบคุมเหมาะที่สุด เราประยุกต์ใช้การควบคุมเชิงทำนายแบบจำลองไม่เชิงเส้นอิงตัวสังเกตกับแขนเพนดูลัมผกผันบนรถผลลัพธ์เชิงตัวเลขแสดงการควบคุมเชิงทำนายแบบจำลองไม่เชิงเส้นโดยเปรียบเทียบระหว่างการป้อนกลับสัญญาณขาออกกับการป้อนกลับตัวแปรสถานะพบว่า ตัวสังเกตไม่เชิงเส้นให้สถานะที่ประมาณใกล้เคียงกับสถานะจริง ซึ่งยืนยันเสถียรภาพของตัวสังเกตไม่เชิงเส้นนอกจากนั้น การควบคุมเชิงทำนายแบบจำลองที่ใช้การป้อนกลับสัญญาณขาออกให้สมรรถนะใกล้เคียงกับผลตอบสนองที่ใช้การป้อนกลับสถานะ


การวิเคราะห์ผลกระทบจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนต่อกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่าย และ ต้นทุนการเดินเครื่องสำหรับการวางแผนล่วงหน้า 1 วัน, เฉลิมจิต กลั่นสุภา Jan 2017

การวิเคราะห์ผลกระทบจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนต่อกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่าย และ ต้นทุนการเดินเครื่องสำหรับการวางแผนล่วงหน้า 1 วัน, เฉลิมจิต กลั่นสุภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยวางแผนการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและจัดสรรกำลังการผลิต จากต้นทุนการผลิตของแต่ละโรงไฟฟ้าและการพยากรณ์ค่าความต้องการใช้ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ค่าความต้องการใช้ไฟฟ้านั้นมีความผันผวนตลอดทั้งวัน ส่งผลให้การวางแผนการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นต้องการกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองพร้อมจ่าย ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนต่อกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองพร้อมจ่ายและต้นทุนการผลิตไฟฟ้า โดยใช้การจัดสรรกำลังผลิตที่พิจารณาถึงต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดเหตุไฟฟ้าดับ ซึ่งในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้พิจารณากรณีที่เพิ่มการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในระบบผลิตไฟฟ้า และ ใช้แบบจำลองระบบผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในกรณีต่างๆ พบว่า เมื่อระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนมีความผันผวนสูงจะส่งผลให้ระบบผลิตไฟฟ้าต้องจัดสรรกำลังผลิตให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองพร้อมจ่ายสูง ในด้านของต้นทุนการผลิตพบว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยรวมของ กฟผ. จะลดลงเนื่องจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนช่วยลดความต้องการใช้ไฟฟ้าในระบบ อย่างไรก็ตาม กฟผ. จะมีต้นทุนในการรับซื้อไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน


อัลกอริทึมการควบคุมโหลดโดยตรงที่คำนึงถึงความสะดวกสบายสำหรับระบบการตอบสนองด้านโหลด, กุศะภณ เพชรสุวรรณ Jan 2017

อัลกอริทึมการควบคุมโหลดโดยตรงที่คำนึงถึงความสะดวกสบายสำหรับระบบการตอบสนองด้านโหลด, กุศะภณ เพชรสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การควบคุมโหลดโดยตรงเป็นมาตรการหนึ่งของการตอบสนองด้านโหลดโดยทำการควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าระยะไกลผ่านโครงข่ายสื่อสาร สำหรับประเทศไทยเครื่องปรับอากาศเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นเป้าหมายหลัก เนื่องจากว่ามีการใช้กำลังไฟฟ้าที่สูงมากในช่วงฤดูร้อน ในหัวข้อนี้ได้ใช้เทคนิคการจัดลำดับการเปิดปิดโหลดสำหรับศูนย์การควบคุมโหลดในการควบคุมเครื่องปรับอากาศโดยการเปิดปิดเครื่องปรับอากาศบางเครื่องซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดคือให้ผู้ที่ถูกควบคุมยังคงรู้สึกสบายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในงานนี้ได้มีการใช้การโปรแกรมเชิงเส้นในการแก้ปัญหาออฟติไมเซชั่น และพัฒนาอัลกอริทึมนี้ โดยทดสอบจากกลุ่มของเครื่องปรับอากาศจำลองจำนวน 2,000 เครื่อง (12,000 บีทียู/ชม. 500 เครื่อง; 18,000 บีทียู/ชม. 500 เครื่อง; 24,000 บีทียู/ชม. 1,000 เครื่อง) ในหลายสถานการณ์ เช่น วันที่อากาศปกติ หรือวันที่อากาศร้อนจัด พบว่าอัลกอริทึมนี้สามารถควบคุมไฟฟ้าให้ไม่เกินระดับกำลังที่กำหนดไว้ได้ และสามารถลดกำลังไฟฟ้าได้ 1) 500 กิโลวัตต์ โดยที่ผู้ที่ถูกควบคุมส่วนมากยังคงรู้สึกสบาย 2) 1,000 กิโลวัตต์ โดยที่ผู้ที่ถูกควบยังรู้สึกสบายอยู่ 80-60% 3) 1,500 กิโลวัตต์ โดยที่ผู้ที่ถูกควบยังรู้สึกสบายอยู่ 50-40%


การศึกษาผลกระทบด้านแรงดันตกชั่วขณะต่อระบบจำหน่าย เนื่องจากการทดสอบความทนต่อการลัดวงจรของหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส, เริงศักดิ์ อ่อนจินดา Jan 2017

การศึกษาผลกระทบด้านแรงดันตกชั่วขณะต่อระบบจำหน่าย เนื่องจากการทดสอบความทนต่อการลัดวงจรของหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส, เริงศักดิ์ อ่อนจินดา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้มีความยินยอมและอนุญาตให้สถาบัน/ห้องปฏิบัติภายในประเทศไทย สามารถใช้ระบบไฟฟ้ากำลังของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ในการทดสอบความสามารถการทนต่อการลัดวงจรของหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส สำหรับระบบจำหน่าย 22 kV และ 33 kV ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ ตามสเปคอ้างอิงเลขที่ RTRN-035/2558 ซึ่งปัจจุบันมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นสถาบัน/ห้องปฏิบัติการภายในประเทศที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้การยอมรับ และใช้ระบบไฟฟ้ากำลัง ระดับแรงดัน 22 kV ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าในการทดสอบฯ ผลจากการเชื่อมต่อวงจรที่ใช้สำหรับการทดสอบฯ กับระบบไฟฟ้ากำลังของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขณะทำการทดสอบฯ อาจมีส่วนทำให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพกำลังไฟฟ้า (Power Quality) ในระบบไฟฟ้ากำลังของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะมุ่งเน้นศึกษาผลกระทบด้านแรงดันตกชั่วขณะ (Voltage sag) ต่อระบบไฟฟ้ากำลังของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในการทดสอบความสามารถการทนต่อการลัดวงจรของหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส สำหรับระบบจำหน่าย 22 kV และ 33 kV ในพื้นที่ตัวอย่าง ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบัน/ห้องปฏิบัติการที่ทำการทดสอบฯ ณ ปัจจุบัน โดยการนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มาสร้างแบบจำลองระบบไฟฟ้าในพื้นที่ตัวอย่าง และวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ทางวิศวกรรมไฟฟ้า DIgSILENT PowerFactory เพื่อให้ทราบถึงระดับความรุนแรงของผลกระทบด้านแรงดันตกชั่วขณะต่อระบบไฟฟ้ากำลังของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่นที่อยู่ใกล้กับสถาบัน/ห้องปฏิบัติการที่ทำการทดสอบฯ และเพื่อเสนอแนะวิธีการหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านแรงดันตกชั่วขณะต่อระบบไฟฟ้ากำลังของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำหรับสถาบัน/ห้องปฏิบัติการที่จะทำการทดสอบฯ ทั้งที่มีอยู่เดิมแล้ว และอาจเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต


การพัฒนาต้นแบบโครงข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายสำหรับการทำเกษตรแม่นยำในเรือนเพาะปลูก, กฤษฎี วิทิตศานต์ Jan 2017

การพัฒนาต้นแบบโครงข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายสำหรับการทำเกษตรแม่นยำในเรือนเพาะปลูก, กฤษฎี วิทิตศานต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการพัฒนาต้นแบบระบบโครงข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายสำหรับการทำเกษตรแม่นยำในเรือนเพาะปลูก ภายในระบบประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ต่างๆสำหรับใช้วัดค่าพารามิเตอร์มาเป็นตัวแปรในการควบคุมอุปกรณ์ปรับสภาพแวดล้อม โดยระบบนี้ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและการควบคุมที่ใช้โดยทั่วไปรวมถึงการออกแบบให้เหมาะสมแก่การใช้งานภายในเรือนเพาะปลูกที่สามารถควบคุมปัจจัยหรือค่าพารามิเตอร์ต่างๆได้ง่ายกว่าพื้นที่เพาะปลูกแบบเปิด ส่วนต่างๆของระบบสามารถสื่อการกันได้โดยมี Raspberry pi เป็นเกตเวย์และเป็นส่วนประมวลผลหลักซึ่งใช้การสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นด้วย UDP โพรโทคอลผ่านการเชื่อมต่อแบบ Wi-Fi ข้อมูลค่าพารามิเตอร์ที่ผ่านเข้ามาซึ่งเก็บได้จากเซ็นเซอร์จะนำไปเก็บไว้บนคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ ระบบมีการนำกระบวนการตัดสินใจแบบ Fuzzy logic เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อควบคุมอุปกรณ์ปรับสภาพให้พื้นที่เพาะปลูกอยู่ในภาวะเหมาะสม ระบบนี้สามารถเฝ้าดูค่าพารามิเตอร์ต่างๆผ่านทางเว็บบราวเซอร์บนโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ความได้เปรียบด้านการใช้งานเทคโนโลยี Wi-Fi คือความมีบทบาทอย่างกว้างขวางในปัจจุบันและอุปกรณ์ที่ออกมารองรับมากขึ้นเรื่อยๆจึงมีโอกาสพัฒนาต่อยอดได้ง่าย


กรณีศึกษาการออกแบบการป้องกันกระแสเกินสำหรับปฏิบัติการไมโครกริดในระบบจำหน่าย, จิรณัฐ์ ตั้งจิตติจริยา Jan 2017

กรณีศึกษาการออกแบบการป้องกันกระแสเกินสำหรับปฏิบัติการไมโครกริดในระบบจำหน่าย, จิรณัฐ์ ตั้งจิตติจริยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาของระบบป้องกันเป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่การไฟฟ้าวิตกกังวลและส่งผลต่อการอนุญาตให้เกิดการจ่ายไฟฟ้าแบบระบบไฟฟ้าแยกโดด เนื่องจากผลของการเชื่อมต่อแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กแบบกระจายตัว ทำให้กระแสโหลดที่จ่ายจากโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าในวงจรนั้นน้อยลง และปัญหาการเปลี่ยนแปลงสถานะการจ่ายไฟฟ้า ทำให้กระแสโหลดและกระแสความผิดพร่องมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำงานของรีเลย์ป้องกันกระแสเกินของอุปกรณ์ป้องกันของการไฟฟ้า เป็นสาเหตุทำให้รีเลย์ป้องกันกระแสเกินทำงานผิดพลาดได้ หากไม่มีการปรับเปลี่ยนค่าปรับตั้งให้เหมาะสมวิทยานิพนธ์นี้จะแก้ไขปัญหาของระบบป้องกันของไมโครกริดที่เกี่ยวกับรีเลย์ป้องกันกระแสเกิน ด้วยการใช้รีเลย์ป้องกันกระแสเกินที่สามารถปรับตัวได้ในสถานะต่าง ๆ เช่น สถานะเชื่อมต่อโครงข่าย สถานะจ่ายไฟฟ้าแบบระบบไฟฟ้าแยกโดด และคำนึงถึงการประสานการป้องกันระหว่างอุปกรณ์ป้องกัน ทดสอบกับระบบทดสอบที่จำลองจากระบบจริงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คำนวณและจำลองการทำงานด้วยโปรแกรม Power Factory DIgSILENT


การประเมินกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายของระบบผลิตไฟฟ้าโดยพิจารณาการเข้ามาของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน, ชยณัฐ ภู่มหภิญโญ Jan 2017

การประเมินกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายของระบบผลิตไฟฟ้าโดยพิจารณาการเข้ามาของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน, ชยณัฐ ภู่มหภิญโญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยมีค่าเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจำเป็นต้องจัดหาแหล่งพลังงานเพื่อผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้า เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจึงมีแนวโน้มที่จะถูกติดตั้งในระบบไฟฟ้าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม พลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่ต่อเนื่องและไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบไฟฟ้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคตจึงหมายความว่า แนวโน้มของกำลังผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่ในระบบในอนาคตจะมีความไม่แน่นอนสูงขึ้น หากกำลังไฟฟ้าที่ผลิตจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนมีค่าลดลงอย่างรวดเร็ว โรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องอยู่ในระบบต้องเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าให้ทันเวลา ดังนั้น ระบบไฟฟ้าต้องมีกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความผันผวนของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอวิธีการประเมินกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายเพื่อหาค่ากำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายที่เหมาะสมที่สุด โดยมีฟังก์ชันวัตถุประสงค์คือผลรวมของต้นทุนที่ใช้ในการเดินเครื่องโรงไฟฟ้ากับค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหากเกิดเหตุไฟฟ้าดับ แม้ว่าการเพิ่มกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายทำให้ค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหากเกิดเหตุไฟฟ้าดับลดลง แต่การเพิ่มกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายทำให้ต้นทุนในการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าสูงขึ้น เนื่องจากจำนวนโรงไฟฟ้าที่ถูกสั่งเดินเครื่องอาจเพิ่มขึ้น กำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายที่เหมาะสมที่สุดถูกคำนวณโดยอาศัยการวางแผนผลิตไฟฟ้าและการจัดสรรกำลังผลิตไฟฟ้า เพื่อทำให้ค่าฟังก์ชันวัตถุประสงค์มีค่าต่ำที่สุด นอกจากนี้ ผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนต่อกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายจะถูกวิเคราะห์ โดยอาศัยแบบจำลองระบบไฟฟ้าอ้างอิงตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558 - 2579 โดยผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า เมื่อระบบไฟฟ้ามีระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ระบบไฟฟ้าต้องการกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายเพิ่มขึ้น


เครือข่ายตัวตรวจรู้แบบไร้สายบลูทูธ - ไวไฟเพื่อใช้วัดอุณหภูมิ ความชื้นและความเข้มแสง, ธนวิชญ์ มานิตย์โชติพิสิฐ Jan 2017

เครือข่ายตัวตรวจรู้แบบไร้สายบลูทูธ - ไวไฟเพื่อใช้วัดอุณหภูมิ ความชื้นและความเข้มแสง, ธนวิชญ์ มานิตย์โชติพิสิฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการพัฒนาระบบเครือข่ายตัวตรวจรู้แบบไร้สายบลูทูธ - ไวไฟเพื่อใช้วัดอุณหภูมิ ความชื้น ความเข้มแสง และจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวไปยังฐานข้อมูลตามมาตรฐาน IEEE1888 โดยตัวตรวจรู้ขนาดเล็กที่ถูกออกแบบให้ใช้พลังงานน้อยและสามารถทำงานได้นานโดยใช้พลังงานจากถ่านเม็ดกระดุมจะส่งข้อมูลด้วยสัญญาณบลูทูธพลังงานต่ำ ไปยังเกตเวย์ที่เชื่อมต่ออยู่กับสัญญาณไวไฟ และเกตเวย์ก็จะส่งข้อมูลโดยใช้มาตรฐานการสื่อสาร IEEE1888 ไปเก็บยังฐานข้อมูล