Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Construction Engineering and Management

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 31 - 60 of 173

Full-Text Articles in Engineering

การวิเคราะห์ความต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารที่พักอาศัยคอนกรีตหล่อสำเร็จที่จุดต่อระหว่างเสาและคานเป็นแบบแผ่นเกี่ยว, ณัฐวุฒิ ชวดฉิม Jan 2021

การวิเคราะห์ความต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารที่พักอาศัยคอนกรีตหล่อสำเร็จที่จุดต่อระหว่างเสาและคานเป็นแบบแผ่นเกี่ยว, ณัฐวุฒิ ชวดฉิม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร โดยการก่อสร้างระบบคอนกรีตหล่อสำเร็จ เป็นวิธีการก่อสร้างที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งจะสามารถควบคุมคุณภาพของชิ้นส่วนให้มีความแข็งแรง และใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างที่หน้างานลดลง ในช่วงก่อนที่กฎกระทรวงฉบับที่ 46 (พ.ศ.2540) และกฎกระทรวง พ.ศ.2550 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 จะมีผลบังคับใช้ มิได้คำนึงถึงการคำนวณและการออกแบบให้โครงสร้างอาคารให้รับแรงแผ่นดินไหว ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่อาคารจะเกิดความเสียหายของโครงสร้างได้ งานวิจัยนี้จึงเลือกพิจารณาอาคารตัวอย่างเป็นอาคารที่พักอาคารจำนวน 2 ชั้น โดยมีจุดต่อระหว่างเสาและคานเป็นแบบแผ่นเกี่ยว (socket) และจุดต่อระหว่างเสาและเสาเป็นแบบสลักเกลียว (bolting) โดยจะทำการเปรียบเทียบแบบจำลองทั้งหมด 3 แบบ คือโครงสร้างคอนกรีตหล่อในที่ (cast-in-place concrete) โครงสร้างคอนกรีตหล่อสำเร็จเมื่อพิจารณาส่วนยื่นของคาน และโครงสร้างคอนกรีตหล่อสำเร็จเมื่อไม่พิจารณาส่วนยื่นของคาน โดยทั้ง 3 แบบจะใช้แบบอาคารเดียวกัน และสมมติที่ตั้งของอาคารตัวอย่างอยู่ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่และสมมติประเภทของชั้นดินเป็นประเภท D ซึ่งจะทำการวิเคราะห์โครงสร้างภายใต้แผ่นดินไหวโดยวิธีการผลักทางด้านข้าง (pushover analysis) และวิธีวิเคราะห์การตอบสนองไม่เชิงเส้นประวัติเวลา (Nonlinear Response History Analysis) ตามมาตรฐาน มยผ.1301/1302-61 โดยสร้างแบบจำลองชิ้นส่วนเสาและคานเป็นแบบเชิงเส้นและไม่เชิงเส้นในโปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้าง ETABS V18 และกำหนดจุดรองรับเป็นแบบยึดแน่น เพื่อประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนของโครงสร้างและการเคลื่อนตัวสัมพัทธ์ระหว่างชั้น ผลการศึกษาพบว่าอาคารตัวอย่างทั้ง 3 แบบมีค่าอัตราส่วนระหว่างแรงที่ต้องต้านทานต่อกำลังที่หน้าตัดรับได้ (DCR) มีค่ามากกว่า 1 หมายความว่าหน้าตัดเสาและคานไม่สามารถรับแรงที่เกิดขึ้นได้ ในส่วนของการประเมินความเสียหายโดยรวมของอาคารจากความเสียหายที่เกิดขึ้นในองค์อาคารและการเคลื่อนตัวสัมพัทธ์ระหว่างชั้นพบว่าอาคาร CIP มีความเสียหายไม่ผ่านเกณฑ์ระดับป้องกันการพังทลาย สำหรับอาคาร PCB มีความเสียหายอยู่ในเกณฑ์ของระดับป้องกันการพังทลาย ซึ่งเป็นระดับที่มีความเสียหายรุนแรงมาก สุดท้ายอาคาร PCNB มีความเสียหายไม่ผ่านเกณฑ์ระดับป้องกันการพังทลาย


สมบัติของปอร์ตแลนด์ซีเมนต์และจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่ใช้มวลรวมหยาบจากขยะพลาสติกชนิดโพลีโพรไพลีน, ธิติ กางโหลน Jan 2021

สมบัติของปอร์ตแลนด์ซีเมนต์และจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่ใช้มวลรวมหยาบจากขยะพลาสติกชนิดโพลีโพรไพลีน, ธิติ กางโหลน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่เป็นมวลรวมหยาบสำหรับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และจีโอโพลิเมอร์คอนกรีต โดยแทนที่ในปริมาณร้อยละ 10, 30 และ 50 โดยปริมาตร โดยมีแผนการทดสอบสมบัติทางวิศวกรรมของคอนกรีตครอบคลุมการทดสอบค่าการไหลแผ่, เวลาการก่อตัว, กำลังอัด, กำลังดัด, กำลังรับแรงดึงแยกของคอนกรีต และความทนทานต่อการกัดกร่อนจากกรดซัลฟิวริก ผลการทดสอบคอนกรีตที่ถูกแทนที่ด้วยพลาสติกถูกนำมาเปรียบเทียบกับผลการทดสอบของคอนกรีตควบคุมที่ผสมมวลรวมหยาบจากวัสดุธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการรับกำลังอัดของปอร์ตแลนด์ซีเมนต์คอนกรีตและจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตมีค่าลดลงตามปริมาณพลาสติกที่เพิ่มขึ้นทั้งของอายุบ่ม 7 และ 28 วัน การใช้มวลรวมพลาสติกไม่ส่งผลต่อกำลังดัดและกำลังดึงแยกของปอร์ตแลนด์ซีเมนต์คอนกรีตอย่างมีนัยสำคัญ ในทางตรงกันข้ามกำลังดัดและกำลังดึงแยกของจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตมีค่าลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณมวลรวมพลาสติก ส่วนในด้านความสามารถในการทนกรดซัลฟิวริกนั้นตัวอย่างที่เป็นจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตจะมีการทนกรดซัลฟิวริกดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อมีการผสมพลาสติกเข้าไปแทนที่ในมวลรวมหยาบ


เสถียรภาพของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้กำแพงที่มีความชะลูดภายใต้แผ่นดินไหว, ชวิสรา เทศประสิทธิ์ Jan 2021

เสถียรภาพของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้กำแพงที่มีความชะลูดภายใต้แผ่นดินไหว, ชวิสรา เทศประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความหนาของกำแพงโครงสร้างที่ใช้ออกแบบอาคารสูงในปัจจุบันมีค่าน้อยกว่าค่าที่ใช้ในอดีต ส่งผลให้กำแพงอาจขาดเสถียรภาพทางด้านข้าง อาจพบกำแพงโครงสร้างในประเทศไทยที่มีความหนาเพียง 100 มิลลิเมตร ส่งผลให้อัตราส่วนความระหว่างความสูงต่อความหนามากกว่า 25 ซึ่งกำหนดไว้ใน Uniform Building Code (UBC 1997) และ ACI 318-19 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบว่าอาคารสูงที่ได้รับการออกแบบตามมาตรฐานในปัจจุบันและมีกำแพงโครงสร้างที่มีความชะลูดค่อนข้างมาก เช่น มีอัตราส่วนความสูงต่อความหนากำแพงเท่ากับ 15 20 และ 25 ว่ามีเสถียรภาพเพียงพอในการต้านทานแผ่นดินไหวได้หรือไม่ อาคารตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 30 ชั้น ระบบโครงสร้างเป็นแบบกำแพงรับน้ำหนักบรรทุกแนวดิ่ง โดยระบบต้านทานแรงด้านข้างเป็นกำแพงรับแรงเฉือนแบบที่มีการให้รายละเอียดความเหนียวพิเศษ การศึกษานี้จะคำนวณการตอบสนองต่อแผ่นดินไหวและตรวจสอบเสถียรภาพด้วยวิธีแบบประวัติเวลาไม่เชิงเส้น (Nonlinear Response History Analysis, NLRHA) และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์จากการจำลองชิ้นส่วนกำแพงเดี่ยว 2 ลักษณะคือ เอลิเมนต์แบบเส้น (line element) และเอลิเมนต์แบบเปลือกบาง (shell element) รวมถึงศึกษาผลการขยายความรุนแรงของแผ่นดินไหวต่อค่าตอบสนองร่วมด้วย ผลการศึกษาพบว่ากำแพงในอาคารตัวอย่างมีเสถียรภาพเพียงพอในการต้านทานแรงทางด้านข้าง นอกจากนี้การรับแรงในระนาบของกำแพงมีค่าสูงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการรับแรงนอกระนาบของกำแพง ส่งผลให้ความความเครียดของกำแพงเดี่ยวมีค่ามากเมื่อรับแรงในระนาบอาจนำไปสู่การครากของเหล็กเสริมแนวดิ่งและการอัดแตกของคอนกรีตในกำแพงได้ แต่ความเครียดของกำแพงเดี่ยวมีค่าน้อยมากเมื่อรับแรงกระทำตั้งฉากกับระนาบ ความเครียดอัดในกำแพงพบว่ามีค่าไม่เกิน 0.002


การศึกษากลไกและเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนและความเสี่ยงของผู้มีส่วนได้เสียหลักในสัญญา Ppp O&M ของโครงการทางหลวงระหว่างเมืองในประเทศไทย, นันทพัฒน์ ปิ่นตบแต่ง Jan 2021

การศึกษากลไกและเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนและความเสี่ยงของผู้มีส่วนได้เสียหลักในสัญญา Ppp O&M ของโครงการทางหลวงระหว่างเมืองในประเทศไทย, นันทพัฒน์ ปิ่นตบแต่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันรัฐได้เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการของรัฐในรูปแบบของการจ้างดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ (PPP O&M) สัญญารูปแบบดังกล่าว รายได้จากการเก็บค่าผ่านทางจะเป็นของรัฐทั้งหมด แล้วจ่ายผลตอบแทนให้กับเอกชนในลักษณะอัตราเหมาจ่าย โดยรัฐต้องแบกรับความเสี่ยงด้านการตลาด (Market risk) เช่น ความเสี่ยงด้านปริมาณจราจร เป็นต้น ส่วนเอกชนแบกรับความเสี่ยงด้านการลงทุนงานระบบ และค่ายใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษา สัญญา PPP O&M ได้นำกลไกการจ่ายค่าตอบแทน (Payment mechanisms) ที่เรียกว่า “Availability Payment หรือ AP” โดยอาจจะมีการปรับลดค่าตอบแทน (Payment Adjustment) ถ้าเอกชนผู้ให้บริการไม่สามารถรักษาสภาพความพร้อมใช้และคุณภาพของการให้บริการได้ตามสัญญา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการจ่ายค่าตอบแทนตามความพร้อมใช้ และเกณฑ์การคำนวณการปรับค่าตอบแทนของสัญญา PPP O&M และเพื่อสร้างกรอบการคำนวณ (Computational framework) สำหรับวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน ปัจจัยเสี่ยงและระดับความเสี่ยง (Risk variables and risk profile) ของผู้มีส่วนได้เสียหลัก ได้แก่ (1) รัฐเจ้าของโครงการ (2) เอกชนผู้ให้บริการ และ (3) สถาบันการเงินผู้ให้เงินกู้ยืม ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสียหลักในการพัฒนากลไกการจ่ายค่าตอบแทน โดยงานวิจัยนี้ใช้โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 บางปะอิน - นครราชสีมา เป็นโครงการกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่ากรอบการคำนวณที่ได้พัฒนาสามารถนำมาใช้ในการประเมินผลตอบแทนทางการเงินและระดับของความเสี่ยงของแต่ละฝ่าย โดยแสดงผลการประเมินความเสี่ยงในรูปแบบ Risk profile เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการความเสี่ยงให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย


ดัชนีการเข้าถึงของระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานครและการประยุกต์ใช้งาน, ณัฐกานต์ สุรางค์ศรีรัฐ Jan 2021

ดัชนีการเข้าถึงของระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานครและการประยุกต์ใช้งาน, ณัฐกานต์ สุรางค์ศรีรัฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สาเหตุหนึ่งของปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ เกิดจากการวางแผนเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่มีประสิทธิภาพ ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้โดยง่าย ส่งผลให้รถยนต์ส่วนบุคคลเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยม จากเหตุผลดังกล่าว ดัชนีการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรนำมาใช้ประกอบการวางแผนพัฒนาระบบจราจรและการขนส่ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ดัชนีการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะสำหรับพื้นที่กรุงเทพเขตชั้นใน ในบริบทของการเดินทางจากจุดศูนย์กลางของแขวงหนึ่งไปยังจุดศูนย์กลางของอีกแขวงหนึ่ง ปัจจัยที่ใช้ประกอบการคำนวณดัชนีการเข้าถึง ได้แก่ เวลาในการเดินทางทั้งหมด มูลค่าเวลา และปริมาณการเดินทาง เพื่อให้ทราบถึงสภาพการเดินทางในปัจจุบัน และนำเสนอแผนที่สีที่แสดงความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่าบริเวณที่มีดัชนีการเข้าถึงสูง กระจุกตัวอยู่บริเวณเขตพระนครและใจกลางเมือง และมีแนวโน้มลดลงเมื่อห่างออกจากบริเวณดังกล่าว โดยดัชนีการเข้าถึงมีค่าอยู่ในช่วง 0.54 ถึง 4.12 และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.57 โดยแขวงที่มีดัชนีการเข้าถึงมากที่สุดคือแขวงวังใหม่ และแขวงบางขุนนนท์มีดัชนีการเข้าถึงต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบดัชนีการเข้าถึงในปัจจุบัน กับดัชนีการเข้าถึงเมื่อเปลี่ยนจากการเดินเท้าเข้าสู่สถานีขนส่งสาธารณะเป็นการเดินทางรูปแบบอื่น พบว่าการเข้าสู่สถานีขนส่งด้วยรถจักรยานยนต์ ส่งผลให้ดัชนีการเข้าถึงลดลง ในขณะที่การเข้าสู่สถานีขนส่งด้วยจักรยานและการปรับปรุงคุณภาพทางเท้าให้ประชาชนสามารถเดินเท้าได้รวดเร็วขึ้น ส่งผลให้ดัชนีการเข้าถึงเพิ่มขึ้น ผลการศึกษาพบว่า การปรับปรุงความสามารถในการเข้าถึงโดยการใช้รถจักรยานยนต์เข้าสู่สถานีขนส่งเป็นนโยบายที่ไม่มีประสิทธิภาพ และควรส่งเสริมการใช้จักรยานเพื่อเชื่อมต่อสถานีขนส่งและการปรับปรุงคุณภาพทางเท้า


การศึกษาระดับความสำคัญขององค์ประกอบของการพัฒนาทุนมนุษย์และตัวแปรที่ส่งผลต่อการรักษาทุนมนุษย์ กรณีศึกษาของกรมชลประทาน, พรเทพ วุฒิวงศ์ Jan 2021

การศึกษาระดับความสำคัญขององค์ประกอบของการพัฒนาทุนมนุษย์และตัวแปรที่ส่งผลต่อการรักษาทุนมนุษย์ กรณีศึกษาของกรมชลประทาน, พรเทพ วุฒิวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรมชลประทานเป็นหนึ่งในหน่วยงานสำคัญของภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการน้ำและการชลประทานของประเทศ การพัฒนาวิศวกรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางด้านน้ำถือเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญตามแผนยุทธศาตร์ของกรมชลประทาน โดยผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาวิศวกรในแต่ละระดับตำแหน่งงาน ได้แก่ วิศวกรระดับปฏิบัติการ วิศวกรระดับชำนาญการ และวิศวกรระดับชำนาญการพิเศษ ตามแนวคิดของการพัฒนาทุนมนุษย์ที่เน้นการพัฒนาในด้าน “ความรู้ ทักษะ และความสามารถ” งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์หาองค์ประกอบและระดับความสำคัญขององค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาทุนมนุษย์ (2) ศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาและรักษาทุนมนุษย์ในแต่ละระดับตำแหน่งงาน และ (3) ศึกษาตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการรักษาทุนมนุษย์และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการรักษาทุนมนุษย์ พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างของลำดับความสำคัญของตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการรักษาบุคลากรในแต่ละระดับของตำแหน่งงานของกรมชลประทาน โดยใช้สถิติเชิงอนุมานวิธี One-way ANOVA และใช้การทดสอบ t-test เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผลต่อความแตกต่างของลำดับความสำคัญขององค์ประกอบและปัจจัยในแต่ละด้านของการพัฒนาบุคลากรในแต่ละระดับของตำแหน่งงาน โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ วิศวกรของกรมชลประทาน 264 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ระดับความสำคัญลำดับสูงสุดกับองค์ประกอบของทุนมนุษย์ต่อไปนี้ (1) ความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมศาสตร์ (2) ทักษะด้านมนุษย์ และ (3) ความสามารถในการเเยกแยะ กำหนดและหาทางเเก้ปัญหาโดยใช้หลักความรู้ด้านวิศวกรรม ด้านปัจจัยที่มีผลต่อรักษาวิศวกรขององค์การพบว่าระดับการศึกษามีผลต่อตัวแปรด้านการรักษาทุนมนุษย์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ


สมบัติเชิงกลของคอนกรีตที่มีเถ้าลอย ขยะพลาสติกรีไซเคิล และ กราฟีนนาโนเพลทเลตเป็นส่วนประกอบ, พัฒนวิทย์ ตระบันพฤกษ์ Jan 2021

สมบัติเชิงกลของคอนกรีตที่มีเถ้าลอย ขยะพลาสติกรีไซเคิล และ กราฟีนนาโนเพลทเลตเป็นส่วนประกอบ, พัฒนวิทย์ ตระบันพฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปริมาณขยะพลาสติกรีไซเคิล เถ้าลอย และ กราฟีนนาโนเพลทเลต (GNP) ที่ส่งผลต่อสมบัติทางกลของคอนกรีต โดยใช้ขยะพลาสติกรีไซเคิลแทนที่มวลรวมหยาบในปริมาณ 0%, 15%, 30%, 45% และ 60% โดยปริมาตร ใช้เถ้าลอยแทนที่ปูนซีเมนต์ในปริมาณ 0%, 20%, 40%, 60% และ 80% โดยปริมาตร และใช้ GNP เป็นสารเติมแต่งเพื่อลดผลกระทบจากการใช้ขยะพลาสติกรีไซเคิล ในปริมาณ 0%, 0.075%, 0.15%, 0.225% และ 0.30% โดยน้ำหนักของวัสดุเชื่อมประสาน ซึ่งการทดสอบสมบัติทางกลประกอบด้วย กำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดึงแยก กำลังรับแรงดัด และโมดูลัสความยืดหยุ่นของคอนกรีต ที่อายุบ่ม 3, 7 และ 28 วัน จากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าขยะพลาสติกรีไซเคิลสามารถนำมาใช้แทนที่ในมวลรวมหยาบและเถ้าลอยสามารถนำมาใช้ในการแทนที่ปูนซีเมนต์ได้ โดยการแทนที่ของขยะพลาสติกรีไซเคิลและเถ้าลอยส่งผลให้กำลังของคอนกรีตลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนผสมควบคุม อย่างไรก็ตามเมื่อเพิ่มสาร GNP เข้าไปในส่วนผสมสามารถปรับปรุงสมบัติทางกลของคอนกรีตให้เพิ่มขึ้น โดยส่วนผสมมีปริมาณของขยะพลาสติกรีไซเคิล 15% โดยปริมาตร มีปริมาณของเถ้าลอย 20% โดยปริมาตร และมี GNP 0.225% โดยน้ำหนัก ให้กำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดึงแยก กำลังรับแรงดัด และโมดูลัสความยืดหยุ่นที่อายุการบ่ม 28 วันสูงที่สุด โดยกำลังรับแรงอัดมีค่าเพิ่มขึ้น 10.1% กำลังรับแรงดึงแยกมีค่าเพิ่มขึ้น 27.3% กำลังรับแรงดัดมีค่าเพิ่มขึ้น 27.7% และโมดูลัสความยืดหยุ่นมีค่าเพิ่มขึ้น 13.8% เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนผสมควบคุม


การวิเคราะห์ผลตอบสนองของอุโมงค์หน้าตัดวงกลมต่อแผ่นดินไหวในชั้นดินกรุงเทพ, พัทธ์ธีรา เพชรแก้ว Jan 2021

การวิเคราะห์ผลตอบสนองของอุโมงค์หน้าตัดวงกลมต่อแผ่นดินไหวในชั้นดินกรุงเทพ, พัทธ์ธีรา เพชรแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างใต้ดินภายใต้แรงสั่นสะเทือนในชั้นดินกรุงเทพยังมีค่อนข้างจำกัด จึงยังขาดความชัดเจนว่าโครงสร้างใต้ดินในกรุงเทพจะมีปลอดภัยต่อการใช้จากแรงกระทำของแผ่นดินไหวระยะไกลหรือไม่ เนื่อจากกรุงเทพตั้งอยู่บนชั้นดินเหนียวอ่อนถึงแข็งปานกลางที่สามารถขยายคลื่นแผ่นดินไหวที่อยู่ห่างไกลออกไปได้ 3-4 เท่า งานวิจัยนี้วิเคราะห์พฤติกรรมผลตอบสนองของอุโมงค์หน้าตัดวงกลมต่อการสั่นสะเทือนแนวขวางของแผ่นดินไหวด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ 2 มิติในเงื่อนไขระนาบความเครียด พิจารณาแรงกระทำแผ่นดินไหวใน 3 ทิศทาง ได้แก่ แนวราบ ทิศตะวันออก–ตะวันตก ทิศเหนือ-ใต้ และแนวดิ่ง แผ่นดินไหวที่ใช้ในการออกแบบจะเลือกจากเหตุการณ์ในอดีตซึ่งมีความเร่งตอบสนองเชิงสเปกตรัมคล้ายคลึงกับเกณฑ์กำหนดการออกแบบบแผ่นดินไหวในกรุงเทพ และถูกปรับขนาดอัตราเร่งสูงสุดให้มีค่าเท่ากับอัตราเร่งสูงสุดที่มีโอกาสเกิดไม่เกิน 2% ในรอบ 50 ปีของกรุงเทพ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าชั้นดินกรุงเทพสามารถขยายขนาดคลื่นได้ทั้งทิศทางแนวราบและแนวดิ่งผ่านความแตกต่างของชั้นดิน อย่างไรก็ตามความเค้นสูงสุดที่เกิดขึ้นในวงผนังอุโมงค์ภายใต้การกำหนดอัตราความหน่วงดินที่ 5% และ 1% ไม่เกินกำลังอัดของคอนกรีตและกำลังของโครงสร้างวงผนังอุโมงค์ การกระจัดที่ตำแหน่งอุโมงค์จากผลการตอบสนองของดินภายใต้แรงแผ่นดินไหวมีความใกล้เคียงและสอดคล้องกับการกระจัดของผนังอุโมงค์ นอกจากนี้จาการศึกษาพบว่าการเสียรูปของหน้าตัดอุโมงค์ระหว่างได้รับแรงแผ่นดินไหวให้ค่าที่น้อย อย่างไรก็ตามควรมีการพิจารณาผลตอบสนองของโครงสร้างใต้ดินต่อแรงกระทำแผ่นดินไหวในรูปอื่น เช่น ในรูปแบบสามมิติ


ระบบตรวจวัดฝุ่นละอองในโครงการก่อสร้างอาคารโดยเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ, ภูมิ ฉั่วสุวรรณ์ Jan 2021

ระบบตรวจวัดฝุ่นละอองในโครงการก่อสร้างอาคารโดยเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ, ภูมิ ฉั่วสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันปัญหามลพิษทางอากาศนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ โดยเมืองใหญ่ทั่วโลกต่างประสบปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กมีค่าเกินมาตรฐาน ซึ่งอุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็นหนึ่งในผู้ก่อให้เกิดฝุ่นละออง เนื่องจากฝุ่นละอองจากการก่อสร้างอาคารสามารถปลิวหรือฟุ้งกระจายไปได้ไกล งานวิจัยนี้จึงต้องการนำเสนอระบบในการวัดและตรวจสอบการกระจายตัวของฝุ่นละออง (PM2.5 และ PM10) ในบริเวณโดยรอบโครงการก่อสร้างอาคาร โดยนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับและเซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 และ PM 10 มาใช้ในการตรวจวัดการกระจายตัวของฝุ่นละออง เนื่องจากการวัดปริมาณฝุ่นละอองในปัจจุบันนั้นเป็นการติดเครื่องมือวัดไว้ที่จุดใดจุดหนึ่ง ดังนั้นการนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับมาใช้นั้นจะทำให้สามารถวัดปริมาณฝุ่นละอองได้ทุกจุดที่ต้องการ ซึ่งเมื่อนำค่าปริมาณฝุ่นละอองที่วัดได้และค่าตำแหน่ง (พิกัด) มาทำการพล็อตกราฟการกระจายตัวใน Building Information Modeling (BIM) และแสดงกราฟการกระจายตัวโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) ทำให้เห็นภาพเสมือนอยู่ในสภาพแวดล้อมจริง จะทำให้เห็นการกระจายตัวของฝุ่นละอองจากการก่อสร้างอาคารไปยังพื้นที่บริเวณโดยรอบ หลังจากนั้นทำการทดสอบความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือ และทดสอบระบบที่ใช้ในการวัดปริมาณฝุ่นละอองกับกรณีศึกษา ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างบ้านจัดสรรและโครงการก่อสร้างอาคาร วิเคราะห์ปัญหาฝุ่นละอองเบื้องต้นและศึกษาความเหมาะสมหรือข้อจำกัดการใช้งานระบบตรวจวัดปริมาณฝุ่นละออง


การใช้แอปพลิเคชันจัดส่งอาหารและผลกระทบต่อการเดินทางเพื่อบริโภคอาหารในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกรุงเทพมหานคร, วิศรุต แท่นแก้ว Jan 2021

การใช้แอปพลิเคชันจัดส่งอาหารและผลกระทบต่อการเดินทางเพื่อบริโภคอาหารในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกรุงเทพมหานคร, วิศรุต แท่นแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แอปพลิเคชันจัดส่งอาหารได้เข้ามามีบทบาทต่อการบริโภคอาหารในสังคมไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางเพื่อบริโภคอาหารในร้านอาหารมาเป็นการสั่งผ่านแอปพลิเคชันเพื่อบริโภคที่บ้านแทน อย่างไรก็ดีการมีบริการแอปพลิเคชันจัดส่งอาหารจะมีผลช่วยลดการเดินทางในภาพรวมหรือไม่ยังคงเป็นคำถามที่สำคัญ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของการใช้งานแอปพลิเคชันจัดส่งอาหารต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางโดยรวมเพื่อการบริโภคอาหาร และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความถี่ในการใช้แอปพลิเคชันจัดส่งอาหารภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่ล็อคดาวน์) โดยมีประชากรกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่เคยใช้งานแอปพลิเคชันจัดส่งอาหารและมีที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 405 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าการใช้บริการแอปพลิเคชันจัดส่งอาหารส่งผลให้ระยะทางในการเดินทางโดยรวมเพิ่มขึ้นจากความต้องการที่ถูกเหนี่ยวนำ (Induced demand) ที่เกิดจากบริการดังกล่าว และจากการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเชิงอันดับ (Ordered logistic regression) โดยมีตัวแปรความสามารถในการเดินทาง ตัวแปรที่กำหนดจากสมมติฐานด้านความสามารถในการเข้าถึงร้านอาหาร (Accessibility Efficiency) และตัวแปรที่กำหนดจากสมมติฐานด้านการแพร่กระจายนวัตกรรม (Innovation Diffusion) ร่วมกับตัวแปรทางด้านประชากรและเศรษฐศาสตร์ จากผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มคนที่มีอายุเทียบเท่าหรือมากกว่า 40 ปีขึ้นไป กลุ่มคนที่มีที่ทำงานอยู่ห่างจากตลาดมากกว่า 500 เมตร มีโอกาสที่จะสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันเพิ่มขึ้น และกลุ่มคนที่มีรายได้ระหว่าง 15,001 – 30,000 บาทต่อเดือนมีโอกาสที่จะสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันลดลงในช่วงที่มีมาตรการล็อคดาวน์บังคับใช้อยู่เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาด


การวิเคราะห์กระจกเทมเปอร์ติดฟิล์มนิรภัยภายใต้แรงระเบิดด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, สิรวิชญ์ อัครสุต Jan 2021

การวิเคราะห์กระจกเทมเปอร์ติดฟิล์มนิรภัยภายใต้แรงระเบิดด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, สิรวิชญ์ อัครสุต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันล้วนก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางทรัพย์สินและชีวิต อันตรายจะเกิดมากยิ่งขึ้นหากบริเวณที่เกิดการระเบิดมีกระจก มีเหตุการณ์ระเบิดเกิดขึ้นที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ทำให้กระจกบริเวณอาคารราชการได้รับความเสียหาย แต่ไม่มีเศษกระจกที่ก่อให้เกิดอันตรายได้เนื่องจากมีการติดตั้งฟิล์มนิรภัยในบริเวณดังกล่าว ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงนำเสนอการวิเคราะห์กระจกเทมเปอร์ติดฟิล์มนิรภัยภายใต้แรงระเบิดด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ เพื่อทำนายพฤติกรรมของกระจกเทมเปอร์และสามารถจำลองพฤติกรรมกระจกเทมเปอร์ติดฟิล์มนิรภัย งานวิจัยเริ่มต้นจากการสร้างแบบจำลองกระจกเทมเปอร์ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมต์เพื่อพิจารณาผลของน้ำหนักกระทำแบบแผ่กระจายสม่ำเสมอ และแรงระเบิดและตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลองกับการทดสอบในอดีต จากนั้นสร้างแบบจำลองกระจกเทมเปอร์ติดฟิล์มนิรภัยตามกรณีศึกษา โดยเริ่มจากระยะการระเบิด 1 m, 2 m และ 4 m โดยแรงระเบิด TNT เริ่มที่ 1 kg และทำการเพิ่มแรงระเบิดขึ้นจนกว่าฟิล์มนิรภัยจะขาด เพื่อหาแรงระเบิดสูงสุดที่ฟิล์มสามารถทนได้ ผลจากแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์พบว่า ที่ระยะระเบิด 2 m ฟิล์มจะขาดเมื่อระเบิดมีขนาด 2 kg และที่ระยะระเบิด 4 m ฟิล์มจะขาดเมื่อระเบิดมีขนาด 6 kg โดยมีค่าโก่งตัวที่จุดศูนย์กลางแผ่นกระจกอยู่ที่ประมาณ 140 mm


การวิเคราะห์ความพึงพอใจของพนักงานขับรถต่อค่าตอบแทน และความพึงพอใจของผู้โดยสารต่อบริการรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร, สุชารีย์ รวิธรธาดา Jan 2021

การวิเคราะห์ความพึงพอใจของพนักงานขับรถต่อค่าตอบแทน และความพึงพอใจของผู้โดยสารต่อบริการรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร, สุชารีย์ รวิธรธาดา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากข้อมูลปัญหาคุณภาพการบริการของพนักงานขับรถโดยสารประจำทางใกรุงเทพมหานคร และปัจจัยด้านรายได้และสวัสดิการของพนักงานขับรถโดยสารที่แตกต่างกันของกลุ่มผู้ประกอบการ การวิจัยนี้ได้ศึกษาตัวแปร และปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจในค่าตอบแทนการทำงานของพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง กับปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจของผู้โดยสารต่อคุณภาพการบริการและการขับขี่ของพนักงาน เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยความพึงพอใจต่อรายได้ของพนักงานต่อปัจจัยความพึงพอใจในการบริการที่ผู้โดยสารได้รับ ทำการศึกษาโดยรวบรวมประเด็นข้อร้องเรียนการให้บริการรถโดยสารประจำทางจากฐานข้อมูลของขสมก. เพื่อออกแบบชุดคำถามสำหรับเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างพนักงานขับรถโดยสาร และกลุ่มตัวอย่างผู้โดยสาร โดยเก็บสำรวจข้อมูลเชิงบรรยายปัจจัยเชิงเศรษฐกิจและสังคม และข้อมูลเชิงอันดับของระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยต่าง ๆ ของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกเชิงอันดับ จากการศึกษาพบว่า ระดับรายได้และสถานะสมรสมีผลต่อระดับความพึงพอใจในรายได้ของพนักงาน ในขณะที่ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงานในอาชีพ และจำนวนชั่วโมงการทำงาน มีผลต่อระดับความพึงพอใจในชั่วการทำงานของพนักงาน โดยในกลุ่มพนักงานเอกชนที่ไม่มีรายได้ขั้นต่ำที่แน่นอน มีระดับความพึงพอใจในรายได้และชั่วโมงการทำงานอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าพนักงานขสมก. ซึ่งมีรูปแบบค่าตอบแทนการทำงานแบบรายเดือนและมีสวัสดิการพื้นฐานให้แก่พนักงาน เช่นเดียวกับผลการวิเคราะห์ในฝั่งผู้โดยสารที่มีระดับความพึงพอใจในการขับขี่และการบริการของพนักงานเอกชนต่ำกว่าพนักงานขสมก. ดังนั้น การพิจารณาค่าตอบแทนการทำงาน ชั่วโมงการทำงาน และสภาพแวดล้อมให้แก่พนักงานขับรถโดยสารอย่างเหมาะสม มีความสำคัญต่อการส่งเสริมให้พนักงานเกิดแรงจูงใจในการผลิตการบริการที่มีคุณภาพและเป็นที่พึงพอใจให้กับผู้โดยสารได้


การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการถอดปริมาณและจัดการวัสดุผนังอิฐก่อ, เมธาสิทธิ์ จันทร์พิทักษ์ Jan 2021

การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการถอดปริมาณและจัดการวัสดุผนังอิฐก่อ, เมธาสิทธิ์ จันทร์พิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผนังอิฐก่อเป็นการก่อสร้างที่เป็นที่นิยมในการก่อสร้างอาคาร ในการถอดปริมาณวัสดุก่อผนังมักจะใช้การประมาณวัสดุเป็นอัตราส่วนจากพื้นที่ผนัง ซึ่งมักจะไม่มีรูปแบบที่มีรายละเอียดข้อมูลชิ้นส่วนที่ละเอียดเพียงพอ และยังมีผลต่อการถอดปริมาณที่มักจะถอดปริมาณได้ไม่ตรงกับความเป็นจริงเนื่องจากผนังแต่ละผืนมีลักษณะแตกต่างกันไป ส่งผลให้การก่อสร้างที่ได้อาจไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น ไม่มีการเสริมเสาเอ็นหรือคานทับหลังในตำแหน่งที่ควรทำ ขนาดหรือระยะของเสาเอ็นและคานทับหลังไม่เป็นตามมาตรฐานงานก่อสร้าง ต้องมีการแก้ไขงานก่อสร้างและทำให้เกิดขยะ ซึ่งเป็นผลต่อการก่อสร้างทั้งด้านคุณภาพ เวลา และงบประมาณ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการใช้งานแบบจำลองสารสนเทศอาคารโดยใช้การคำนวณจากข้อมูล BIM เพื่อถอดปริมาณและสร้างข้อมูลรายละเอียดการก่อสร้างชิ้นส่วนเสาเอ็น คานทับหลัง และอิฐในผนังอิฐก่อ โดยงานวิจัยใช้โปรแกรม Dynamo ผ่านโปรแกรม Autodesk Revit ในการสร้างวิธีการคำนวณและชุดคำสั่งเพื่อคำนวณตำแหน่ง ความยาว และปริมาณของชิ้นส่วนเสาเอ็น คานทับหลัง และอิฐ ผลการวิเคราะห์พบว่าใช้เวลาในการถอดปริมาณน้อยและสามารถให้แสดงผลในรูปแบบสามมิติได้ ซึ่งช่วยเสริมในการมองเห็นรายละเอียดตำแหน่งและความยาวของชิ้นส่วนเสาเอ็น คานทับหลัง และอิฐแต่ละชิ้นได้ สามารถนำข้อมูลของชิ้นส่วนแต่ละชิ้นไปช่วยในการวางแผนการก่อสร้างต่อไป


การประยุกต์ใช้ผนังสลายพลังงานแบบวิสโคอิลาสติกสำหรับอาคารสูงในประเทศไทย, ภัทรพงศ์ พงษ์ภัทรา Jan 2021

การประยุกต์ใช้ผนังสลายพลังงานแบบวิสโคอิลาสติกสำหรับอาคารสูงในประเทศไทย, ภัทรพงศ์ พงษ์ภัทรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบโครงสร้างอาคารสูงซึ่งมีความชะลูด มักพบกับปัญหาการออกแบบให้อาคารผ่านเกณฑ์มาตรฐานการเคลื่อนที่ทางด้านข้าง เพราะอาคารสูงมีความอ่อนไหวต่อแรงด้านข้างมาก โดยปกติการเคลื่อนที่ของอาคารภายใต้แรงลมต้องไม่เกิน 1/500 ของความสูงอาคาร ตาม มยผ 1311-50 และการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างชั้นภายใต้แรงแผ่นดินไหวต้องไม่เกิน 0.015 ตาม มยผ 1301/1302-61 เพื่อให้อาคารมีความมั่นคงแข็งแรงและไม่เกิดการแตกร้าวเสียหายในสภาวะน้ำหนักบรรทุกใช้งาน ในต่างประเทศมีการใช้งานผนังสลายพลังงาน (Wall damper) ช่วยต้านทานแรงแผ่นดินไหวและแรงลมในอาคาร โดยผนังสลายพลังงานเป็นแผ่นเหล็กขนาดใหญ่จุ่มอยู่ในของเหลวหนืด เมื่ออาคารเกิดการเคลื่อนที่ทางด้านข้างก็จะเกิดเป็นแรงหน่วง (Damping force) จากการเฉือน (Shearing action) ผ่านของเหลวหนืด ช่วยต้านทานแรงด้านข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งผนังสลายพลังงานยังติดตั้งได้สะดวกและไม่กระทบต่อความสวยงามของอาคาร งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาถึงประสิทธิภาพและความเหมาะสมในการประยุกต์ใช้ผนังสลายพลังงานสำหรับอาคารสูงในประเทศไทย โดยวิเคราะห์ผลตอบสนองของโครงสร้างไม่เชิงเส้นแบบประวัติเวลา เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของการลดการเคลื่อนตัวทางด้านข้างของอาคาร ด้วยวิธีการติดตั้งผนังสลายพลังงานกับการเพิ่มขนาดของโครงสร้างเสาและกำแพงรับแรงเฉือน ผลการศึกษาพบว่าการติดตั้งผนังสลายพลังงานมีความคุ้มค่าทางด้านต้นทุนกว่าการเพิ่มขนาดของโครงสร้าง ผนังสลายพลังงานจึงเป็นอีกทางเลือกในการเพิ่มคุณสมบัติสลายพลังงานให้กับโครงสร้าง และทำให้สามารถควบคุมการเคลื่อนตัวของอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Structural Optimization Under Limited Natural Frequency Constraints Using Comprehensive Learning Phasor Particle Swarm Optimization, Ei Cho Pyone Jan 2021

Structural Optimization Under Limited Natural Frequency Constraints Using Comprehensive Learning Phasor Particle Swarm Optimization, Ei Cho Pyone

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this research, a phasor particle swarm optimization with comprehensive learning strategy (CLPPSO) is proposed for the optimal design of dome-like truss structures under the limited frequency-constraints. The proposed scheme is a new variant of PSO techniques with the direct combination of both the phasor theory in mathematics and comprehensive learning strategy to the particle swarm optimization. In order to model particle control parameters, a phase angle incorporating the periodic sine and cosine functions is essentially applied through which only the previous best positions of all particles are used to update the exemplar particle’s velocity during the optimization process. This …


Simultaneous Size And Shape Structural Optimization Using Enhanced Comprehensive Learning Particle Swarm Optimization, Soviphou Muong Jan 2021

Simultaneous Size And Shape Structural Optimization Using Enhanced Comprehensive Learning Particle Swarm Optimization, Soviphou Muong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study proposes a simultaneous size and shape structural optimization on truss structures using a metaheuristic algorithm, namely Enhanced Comprehensive Learning Particle Swarm Optimization (ECLPSO) which is based on the CLPSO algorithm. CLPSO itself was originated from a famous Particle Swarm Optimization (PSO) that was invented based on behaviour or movement of a bird flock. CLPSO is an improved PSO algorithm which has good exploration ability but is poor in exploitation. Thus, ECLPSO introduces of two enhancements, including perturbation-based exploitation and adaptive learning probabilities, to improve the exploitation ability and to adjust the learning probabilities of each particle, respectively. The …


พฤติกรรมการไหลของสารละลายโพลิเมอร์ในดินทรายกรุงเทพฯ, เบญจพล เบญจวรางกูล Jan 2021

พฤติกรรมการไหลของสารละลายโพลิเมอร์ในดินทรายกรุงเทพฯ, เบญจพล เบญจวรางกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารละลายโพลิเมอร์พีเอชพีเอ นิยมนำมาใช้ในการรักษาเสถียรภาพของหลุมเจาะในการก่อสร้างเสาเข็มเจาะในชั้นดินกรุงเทพฯ แต่เนื่องจากสารละลายโพลิเมอร์พีเอชพีเอสามารถไหลซึมเข้าไปในชั้นทรายได้ง่ายจึงเกิดการสูญเสียเป็นปริมาณมากในระหว่างการก่อสร้าง โดยค่าอัตราการไหลจะเปลี่ยนแปลงไปตามค่าความเข้มข้นของสารละลายโพลิเมอร์ และอัตราการปนเปื้อนฝุ่นดินเหนียวในระหว่างการขุดเจาะผ่านชั้นดินเหนียวกรุงเทพฯ ผลการทดสอบจากงานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นว่าค่าอัตราการไหลของสารละลายโพลิเมอร์แปรผันตามค่าความเข้มข้นของสารละลายโพลิเมอร์ ในขณะที่ค่าอัตราการไหลของของสารละลายโพลิเมอร์แปรผกผันกับอัตราการปนเปื้อนฝุ่นดินเหนียวในสารละลายโพลิเมอร์ นอกจากนี้ค่าความเข้มข้นของสารละลายโพลิเมอร์ และอัตราการปนเปื้อนฝุ่นดินเหนียวยังส่งผลต่อความสามารถในการไหลผ่านดินทรายของสารละลาย โดยการปนเปื้อนฝุ่นดินเหนียวจะลดค่าความหนืดของสารละลายโพลิเมอร์ลง ดังนั้นปริมาณการไหลของสารละลายโพลิเมอร์เข้าไปในดินทรายมีค่าแปรผันตามอัตราการปนเปื้อนของฝุ่นดินเหนียวในสารละลายโพลิเมอร์ ในขณะที่ปริมาณการไหลของสารละลายโพลิเมอร์เข้าไปในดินทรายมีค่าแปรผกผันกับค่าความเข้มข้นของสารละลายโพลิเมอร์


การศึกษา​ปัจจัยของการจัดการทรัพยา​กรมนุษย์​และการจัดการความรู้​ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน​ของ​บริษัท​รับเหมาก่อสร้าง​โครงสร้าง​พื้นฐาน​ไทย, ชนาธิป ควาภาพงษ์ Jan 2021

การศึกษา​ปัจจัยของการจัดการทรัพยา​กรมนุษย์​และการจัดการความรู้​ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน​ของ​บริษัท​รับเหมาก่อสร้าง​โครงสร้าง​พื้นฐาน​ไทย, ชนาธิป ควาภาพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากสภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นของอุตสาหกรรมก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานไทยในปัจจุบัน การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยใช้เงินทุน และเครื่องจักรอาจไม่เพียงพอ สิ่งใหม่ที่สามารถทำได้เพื่อรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน คือ การนำแนวคิดของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) และการจัดการความรู้ (KM) มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้น งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับความสัมพันธ์ของแต่ละองค์ประกอบของปัจจัยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การสรรหาและคัดเลือก การฝึกอบรมและพัฒนา ผลตอบแทน และการประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมถึงการจัดการความรู้ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การจัดเก็บและสืบค้นความรู้ และการถ่ายทอดและใช้ความรู้ ที่ส่งผลการเพิ่มขึ้นของผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงินตามแนวคิด Balanced scorecard (BSC) ของบริษัทรับเหมาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานไทย โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโคงสร้าง (SEM) ผลลัพธ์ที่ได้พบว่า ทั้งการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการความรู้ และผลการดำเนินงานขององค์การมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยการจัดการทรัพยากรมนุษย์มีอิทธิพลต่อการเพิ่มขึ้นของผลการดำเนินงานขององค์การมากที่สุด และยังมีอิทธิพลในทางบวกต่อการจัดการความรู้ซึ่งสามารถส่งผ่านอิทธิพลทางอ้อมไปยังผลการดำเนินงานขององค์การได้ในอีกทางหนึ่ง


ความตั้งใจต่อการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็กภายในตัวรถ, ตุลยา อรุณรังสิกุล Jan 2021

ความตั้งใจต่อการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็กภายในตัวรถ, ตุลยา อรุณรังสิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 1 ในกลุ่มสาเหตุภายนอกของการป่วยและการตายของกลุ่มเด็กอายุ 0 – 14 ปี ในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา โดยมีอัตราการใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กน้อยกว่าร้อยละ 1 เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตั้งใจต่อการใช้งาน พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็ก เพื่อกำหนดนโยบายและข้อเสนอแนะในการเพิ่มอัตราการใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior: TPB) ซึ่งได้เก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ จากผู้ปกครองของเด็กอายุ 0 – 12 ปี ในโรงเรียนเอกชน 2 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 815 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ผลการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและแบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) พบว่า เหตุผลหลักที่ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็ก คือ เด็กไม่ยอมใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจต่อการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็ก ได้แก่ ความสนใจและการแนะนำอุปกรณ์ความปลอดภัย การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การเข้าถึงอุปกรณ์ความปลอดภัย การบังคับใช้กฎหมายและการจัดโครงการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย และความเคยชินต่อการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย ซึ่งระดับการศึกษาที่สูงขึ้นและจำนวนเด็กในความดูแลที่มากกว่า 1 คน มีแนวโน้มที่จะมีความตั้งใจต่อการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็กเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามควรจัดโครงการส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้การใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็ก เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญและเพิ่มการใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็กอย่างถูกต้อง ตลอดจนการรับมือกับพฤติกรรมการปฏิเสธของเด็กอย่างเหมาะสม


ระเบียบวิธีการเรียนรู้กลุ่มอนุภาคสำหรับการกำหนดตำแหน่งข้อต่อที่น้อยที่สุด ในการออกแบบบ้านโมดูลาร์สำเร็จรูป, ธมลวรรณ สุวรรณศรี Jan 2021

ระเบียบวิธีการเรียนรู้กลุ่มอนุภาคสำหรับการกำหนดตำแหน่งข้อต่อที่น้อยที่สุด ในการออกแบบบ้านโมดูลาร์สำเร็จรูป, ธมลวรรณ สุวรรณศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่อยู่อาศัยโมดูลาร์สำเร็จรูปได้รับความนิยมมากขึ้นในหลายประเทศด้วยการก่อสร้างที่รวดเร็วและประหยัดพื้นที่ที่ใช้สำหรับเตรียมการก่อสร้าง เทคโนโลยีการก่อสร้างสำเร็จรูปนี้มีข้อได้เปรียบในด้านความสามารถในการจัดเก็บและสามารถขนส่งไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ง่าย ด้วยความหลากหลายของโครงสร้างโครงข้อแข็งทั่วไป ที่อยู่อาศัยโมดูลาร์สำเร็จรูปจะประกอบด้วยชุดแผงเหล็กสำเร็จรูปน้ำหนักเบาที่มีการออกแบบการเชื่อมต่ออย่างแม่นยำ (น็อตและสลักเกลียว และ/หรือ การเชื่อม) ต้นทุนการก่อสร้างและระยะเวลาที่ใช้ในการประกอบติดตั้งมีความสัมพันธ์กับจำนวนของการเชื่อมต่อที่มีการออกแบบไว้ ในงานวิจัยนี้นำเสนอระเบียบวิธีการเรียนรู้กลุ่มอนุภาคอย่างครอบคลุม (Comprehensive Learning Particle Swarm Optimization: CLPSO) ในการหาตำแหน่งข้อต่อที่น้อยที่สุดที่จำเป็นต่อการประกอบที่อยู่อาศัยโมดูลาร์แบบกึ่งแยกส่วนภายใต้แรงกระทำที่กำหนดและข้อกำหนดตามมาตรฐานการออกแบบ AISC-LRFD การเชื่อมต่อต่างๆ ใช้การผสมผสานรูปแบบการเชื่อมต่อที่ถูกออกแบบไว้ห้ารูปแบบโดยกำหนดตำแหน่งที่เป็นไปได้ไว้ล่วงหน้า พฤติกรรมของโครงสร้างจะถูกอธิบายด้วยเงื่อนไขความสอดคล้องของระยะกระจัดที่เปลี่ยนไปของแต่ละองศาเสรี (ในระบบสามมิติ) ที่เชื่อมระหว่างจุดที่เชื่อมต่อแต่ละแผงเหล็ก ระเบียบวิธี CLPSO จะกำหนดตัวแปรเงื่อนไขของการเชื่อมต่อที่จุดต่างๆ ทั้งหมด และทำการหาคำตอบการวางตำแหน่งของการเชื่อมต่อในตำแหน่งต่างๆ ที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่ต้นทุนการก่อสร้างที่ต่ำที่สุด การประยุกต์ใช้ CLPSO ดังกล่าวจะนำเสนอผ่านแบบบ้านพักอาศัยของการเคหะแห่งชาติ


แรงต้านทานต่อการดันท่อของชั้นดินเหนียวอ่อนในกรุงเทพฯ, ปัณฑ์ งามแสงรัตน์ Jan 2021

แรงต้านทานต่อการดันท่อของชั้นดินเหนียวอ่อนในกรุงเทพฯ, ปัณฑ์ งามแสงรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การก่อสร้างอุโมงค์ด้วยระบบดันท่อเป็นการก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินโดยไม่เปิดหน้าดิน แรงเสียดทานระหว่างดินและผิวภายนอกของท่อดันเป็นแรงต้านทานหลักที่ส่งผลต่อแรงดันรวมที่ต้องใช้ในการดันท่อ ดังนั้นการลดแรงเสียดทานโดยการฉีดสารหล่อลื่นจึงเป็นวิธีการที่นิยมใช้ในงานดันท่อ อย่างไรก็ตามพฤติกรรมของดินรอบท่อดันนั้นจะส่งผลโดยตรงต่อการลดลงของแรงเสียดทานจากสารหล่อลื่น ในปัจจุบันวิธีการและขั้นตอนในการฉีดสารหล่อลื่นระหว่างการดันท่อนั้นเป็นไปอย่างไม่มีแบบแผน งานวิจัยฉบับนี้ได้ทำการทดลองเพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมที่แท้จริงของดินโดยรอบท่อดันที่เกิดขึ้นระหว่างการดันท่อ นำไปสู่การนำเสนอวิธีการและขั้นตอนการฉีดสารหล่อลื่นเพื่อให้การลดแรงเสียดทานมีประสิทธิผลสูงสุด วิธีการและขั้นตอนการฉีดสารหล่อลื่นที่ได้นำเสนอนั้นถูกนำไปทดสอบในการดันท่อทั้งหมด 2 ช่วงดัน โดยผลของการทดสอบแสดงให้เห็นถึงการลดลงของแรงเสียดทานมากถึง 45 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับการฉีดสารหล่อลื่นอย่างไม่มีแบบแผน


การเพิ่มประสิทธิภาพเชิงอุณหภูมิของฐานรากแพขนาดใหญ่ด้วยคอนกรีตเบาหล่อสำเร็จ, ภูริช ฉั่วสุวรรณ์ Jan 2021

การเพิ่มประสิทธิภาพเชิงอุณหภูมิของฐานรากแพขนาดใหญ่ด้วยคอนกรีตเบาหล่อสำเร็จ, ภูริช ฉั่วสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ฐานรากแพขนาดใหญ่เป็นที่นิยมใช้มากขึ้นในโครงการก่อสร้างอาคารสูง การก่อสร้างฐานรากแพขนาดใหญ่จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงปัญหาการแตกร้าวเนื่องจากอุณหภูมิ ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิบริเวณผิวและแกนภายในคอนกรีตที่แตกต่างกันมากจากความร้อนของปฏิกิริยาไฮเดรชันของคอนกรีตและการระบายความร้อนที่ดีกว่าบริเวณผิว ส่งผลให้เกิดความเค้นในคอนกรีตที่อาจสูงกว่ากำลังรับแรงดึงในช่วงแรกที่ยังพัฒนากำลังไม่เต็มที่ จึงมีความเสี่ยงเกิดปัญหาการแตกร้าวซึ่งส่งผลเสียต่อความทนทานของฐานรากแพ งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาและนำเสนอแนวคิดในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการแทนที่คอนกรีตบริเวณแกนกลางด้วยคอนกรีตเบาหล่อสำเร็จ เพื่อช่วยลดปริมาณความร้อนจากปฏิกิริยาไฮเดรชันและช่วยดูดซับความร้อนบริเวณแกนกลางของฐานราก การศึกษาอาศัยการสร้างแบบจำลอง 3D finite element เพื่อทำนายอุณหภูมิและความเค้นที่เกิดขึ้นในฐานรากแพจำนวน 2 ฐาน ซึ่งปรับเทียบผลกับการตรวจวัดอุณหภูมิของฐานรากแพจริง จากนั้นจึงพิจารณาการใส่คอนกรีตเบาหล่อสำเร็จในฐานรากแพในตำแหน่งที่มีความเค้นน้อยเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับการรับแรงของฐานรากแพ แล้วทำการวิเคราะห์ความแตกต่างของอุณหภูมิและตรวจสอบความเค้นที่เกิดขึ้นในฐานรากแพเปรียบเทียบกับกรณีการก่อสร้างแบบปกติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดการแตกร้าวเนื่องจากความร้อนของคอนกรีตฐานรากแพขนาดใหญ่


การประเมินความพร้อมสำหรับการประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติของบริษัทรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทย, รวีวรรณ ภู่สุวรรณ Jan 2021

การประเมินความพร้อมสำหรับการประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติของบริษัทรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทย, รวีวรรณ ภู่สุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันอุตสาหกรรมก่อสร้างทั่วโลกยังคงประสบปัญหาด้านประสิทธิภาพในการดำเนินงานการขาดแคลนแรงงานและต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมก่อสร้างคือการประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติในบริษัทรับเหมาก่อสร้าง เนื่องจากระบบอัตโนมัติช่วยลดการพึ่งพาแรงงาน ต้นทุนการก่อสร้าง และระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งมีความสำคัญต่อบริษัทรับเหมาก่อสร้าง โดยการพัฒนาระดับของอุตสาหกรรมมี 5 ระดับ ได้แก่ ระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป (Prefabrication) การนำเครื่องจักรมาใช้ (Mechanisation) ระบบอัตโนมัติ (Automation) หุ่นยนต์ (Robotics) และการทำซ้ำ (Reproduction) ซึ่งในปัจจุบันอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทยยังคงอยู่ใน 2 อันดับแรก คือ การนำระบบชิ้นส่วนสำเร็จและเครื่องจักรกลมาใช้ในการก่อสร้าง ในขณะที่อุตสาหกรรมก่อสร้างในต่างประเทศเริ่มมีการก้าวข้ามระดับมาใช้ระบบอัตโนมัติมากขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการประเมินความพร้อมของบริษัทรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทยสำหรับการนำระบบอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้ โดยงานวิจัยนี้มีขั้นตอนการดำเนินงานคือการรวบรวมปัจจัยภายในและภายนอกเพื่อพัฒนาแบบสอบถามโดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis) เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัจจัยที่สำคัญและความพร้อมของบริษัทรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทยสำหรับการประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติในปัจจุบันใช้โดยวิธีการประเมินปัจจัยภายในและภายนอก (IFE & EFE Matrix) และตารางเมทริกซ์ปัจจัยภายในและภายนอก (IE Matrix) ซึ่งผลจากการประเมินพบว่าบริษัทรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทยพร้อมที่จะเพิ่มระดับการปฏิบัติงานเพื่อขยายตัวในการประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น รวมถึงข้ามระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมจากการใช้เครื่องจักร (Mechanisation) มาเป็นระบบอัตโนมัติ (Automation) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว


การพัฒนาเครื่องมือประเมินความรู้สำหรับผู้ควบคุมงานก่อสร้างภาครัฐในประเด็นความขัดแย้งของการบริหารสัญญา, สิริภากร อ่องสิทธิเวช Jan 2021

การพัฒนาเครื่องมือประเมินความรู้สำหรับผู้ควบคุมงานก่อสร้างภาครัฐในประเด็นความขัดแย้งของการบริหารสัญญา, สิริภากร อ่องสิทธิเวช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความขัดแย้งในโครงการก่อสร้างเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ความขัดแย้งสามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุหลักได้แก่ เอกสารสัญญาและการบริหารสัญญา โดยความขัดแย้งจากเอกสารสัญญาเกิดจากเงื่อนไขของสัญญาที่ไม่ครบถ้วน และเอกสารสัญญามีความขัดแย้งกัน ในขณะที่ความขัดแย้งจากการบริหารสัญญาเกิดจากการปฏิบัติผิดสัญญาที่จงใจและไม่ได้จงใจ ซึ่งการจงใจปฏิบัติผิดสัญญาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้แต่การไม่ได้จงใจปฏิบัติผิดสัญญาอาจเกิดจากความประมาทหรือการขาดความเข้าใจในการปฏิบัติตามสัญญา การบริหารสัญญาเป็นหน้าที่สำคัญของผู้ควบคุมงานก่อสร้างภาครัฐที่ต้องมีความเข้าใจในการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ประเด็นความขัดแย้งของการบริหารสัญญา และพัฒนาเครื่องมือประเมินความรู้สำหรับผู้ควบคุมงานก่อสร้างภาครัฐในเรื่องความขัดแย้งของการจัดการสัญญา งานวิจัยเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ประเด็นความขัดแย้งของการบริหารสัญญาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารคำพิพากษาศาลปกครอง ผลการศึกษาเบื้องต้นพบประเด็นความขัดแย้ง 3 อันดับแรกเกี่ยวกับ ค่าปรับ การชำระค่าจ้าง และค่าเสียหาย งานวิจัยในส่วนที่สองเป็นพัฒนาเครื่องมือประเมินความรู้สำหรับผู้ควบคุมงานก่อสร้างภาครัฐ โดยใช้โมเดลภาวะสันนิษฐาน (Four Building Blocks) เป็นเครื่องมือสำหรับการออกแบบเกณฑ์การประเมิน การออกแบบข้อคำถาม การออกแบบเกณฑ์การให้คะแนน และโมเดลการวัด หลังจากนั้นเครื่องมือประเมินจะถูกตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผลลัพธ์ ภายหลังปรับปรุงการออกแบบคําถามพบว่าเกณฑ์การประเมินสามารถสะท้อนถึงระดับความเข้าใจได้ ผลการศึกษาพบว่าการประยุกต์ใช้เครื่องมือประเมินความรู้สามารถวัดความแตกต่างในระดับความเข้าใจภาพรวมเกี่ยวกับประเด็นความขัดแย้งจากการจัดการสัญญาระหว่างสองกลุ่มตัวอย่าง แต่อาจมีข้อจำกัดในการประเมินระดับความเข้าใจของบางประเด็นความขัดแย้ง


การออกแบบโครงสร้างตามความเชื่อถือได้อย่างเหมาะสมที่สุดโดยการทำงานร่วมระหว่างการจำลองเซตย่อยและการเรียนรู้ที่ครอบคลุมกลุ่มอนุภาค, อาณัติ สุธา Jan 2021

การออกแบบโครงสร้างตามความเชื่อถือได้อย่างเหมาะสมที่สุดโดยการทำงานร่วมระหว่างการจำลองเซตย่อยและการเรียนรู้ที่ครอบคลุมกลุ่มอนุภาค, อาณัติ สุธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเพิ่มประสิทธิภาพการออกแบบตามความน่าเชื่อถือ (RBDO) เพื่อจัดการกับการออกแบบความสมบูรณ์ของโครงสร้างที่คุ้มค่าโดยมีพารามิเตอร์ที่ไม่มีความแน่นอน การประมวลผลปัญหาระดับนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายจากภาระการคำนวณเพื่อกำหนดความน่าจะเป็นของความล้มเหลวของโครงสร้างที่เกิดขอบเขตฟังก์ชันสถานะจำกัด งานวิจัยนี้ได้เสนอวิธีการแยกส่วน RBDO อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอัลกอริทึมการเรียนรู้ที่ครอบคลุมกลุ่มอนุภาคให้เหมาะสมที่สุด(CLPSO) ทำงานร่วมกับการจำลองเซตย่อย (SS) ซึ่งเรียกว่าวิธีการ SS-CLPSO โดยพื้นฐานแล้ว วิธีการที่เสนอจะดำเนินการ CLPSO แบบวงวนด้วยการสมมุติพารามิเตอร์ที่แน่นอน แล้วพิจารณาจุดที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดที่สอดคล้องกับฟังก์ชันสถานะขีดจำกัดแล้วปรับปรุงภายในกระบวนการเพื่อประเมินความน่าเชื่อถือ จากข้อมูลการออกแบบของCLPSO จากนั้น SS จะประมาณสเปกตรัมของฟังก์ชันสถานะจำกัดภายใต้พารามิเตอร์ที่ไม่แน่นอน และใช้การจำลองมอนติคาร์โลสำหรับการทำนายความน่าจะเป็นของความล้มเหลว กลุ่มตัวอย่างจาก SS จะแสดงความน่าจะเป็นของความล้มเหลวของกลุ่มตัวอย่างภายใต้เงื่อนไขที่สร้างขึ้นในแต่ละเหตุการณ์ตามค่ากลางที่กำหนด SS-CLPSO ที่เสนอจะช่วยในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับปัญหา RBDO โดยมีการร่วมกันทำงานแบบวงวนจนได้ค่าความน่าจะเป็นของความล้มเหลวที่มีผลลัพธ์มาลู่เข้าใกล้เกณฑ์ที่กำหนด การประยุกต์ใช้วิธีการนี้แสดงให้เห็นผ่านการออกแบบโครงเหล็กภายใต้พารามิเตอร์และข้อจำกัดที่ไม่แน่นอนของความน่าจะเป็น


การใช้เศษแกรนิตทดแทนมวลรวมละเอียดในคอนกรีตกำลังสูงที่ผสมซิลิกาฟูม, ศุภากร อังกินันท์ Jan 2021

การใช้เศษแกรนิตทดแทนมวลรวมละเอียดในคอนกรีตกำลังสูงที่ผสมซิลิกาฟูม, ศุภากร อังกินันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการก่อสร้างมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นตามความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม งานด้านวิศวกรรมโยธาถือเป็นงานหลักที่สำคัญในการช่วยขับเคลื่อนความเจริญของประเทศในการพัฒนาและสรรค์สร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานดังนั้นแล้วงานวิจัยและนวัตกรรมด้านวัสดุจะส่งผลในการส่งเสริมการเติบโตแบบก้าวกระโดดของประเทศ การศึกษาและวิจัยด้านคอนกรีตเพื่อลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการพัฒนาวัสดุงานก่อสร้างชนิดใหม่ๆ จึงมีบทบาทความสำคัญอย่างมาก คอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลามายาวนานตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากมีความสะดวก ง่ายต่อการทำงาน และยังมีคุณสมบัติเชิงกลที่ดี อีกทั้งในปัจจุบันยังมีการทดลองและวิจัยเพื่อศึกษาการพัฒนาคุณสมบัติของคอนกรีตมาอย่างต่อเนื่อง หินแกรนิตซึ่งได้จากการระเบิดภูเขามักถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง อย่างไรก็ตามกระบวนการผลิตก่อให้เกิดเศษหินแกรนิตที่ไม่สารนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องเสียพื้นที่ในการกองเก็บทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากฝุ่น ดังนั้นเพื่อที่จะลดผลกระทบดังกล่าวแนวทางที่สามารถทำได้ คือ การนำเศษหินแกรนิตมาใช้แทนทรายธรรมชาติ การแทนที่ทรายธรรมชาติด้วยเศษหินแกรนิตทั้งหมดเมื่อเที่ยบกับการใช้ทรายธรรมชาติร้อยละ 100 กำลังอัดจะลดลงเล็กน้อยอย่างไม่มีนัยสำคัญ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เศษหินแกรนิตแทนทรายธรรมชาติในการผลิตคอนกรีตกำลังสูงและใช้ซิลิกาฟูมมาปรับปรุงคุณสมบัติเชิงกลของคอนกรีตกำลังสูง


ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ต่อพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, จณิตตา จารุวัฒนานนท์ Jan 2020

ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ต่อพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, จณิตตา จารุวัฒนานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเดินทาง กล่าวคือประชาชนมีแนวโน้มหลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และหันไปใช้รถยนต์ส่วนบุคคลซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการจราจรและขนส่งในภาพรวม ทั้งนี้การใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดีจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และลดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางไปใช้รถยนต์ได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของมาตรการป้องกัน COVID-19 ได้แก่ มาตรการด้านการกักตัว การสวมหน้ากากอนามัย การฉีดวัคซีน ปัจจัยด้านลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม และทัศนคติเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเดินทางในสถานการณ์สมมติที่มีเงื่อนไขของจำนวนผู้ติดเชื้อ และสัดส่วนของผู้ได้รับวัคซีนที่แตกต่างกัน โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลแบบ Stated Preference ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ใช้รถไฟฟ้าในการเดินทางและมีทางเลือกในการเดินทางเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลหรือแท็กซี่ โดยทำการวิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการและปัจจัยอื่น ๆ ด้วยวิธีสถิติเชิงพรรณนา และแบบจำลองโลจิตพหุนาม ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบการเดินทางในแต่ละสถานการณ์ จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า หากจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น รวมถึงหากมีการผ่อนปรนมาตราการการสวมหน้ากากอนามัยขณะเดินทางและมาตรการการกักตัวผู้ที่มาจากต่างประเทศจะส่งผลให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้รถไฟฟ้าจริง ซึ่งผู้ที่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทาง คือ ผู้เดินทางเพศชาย ผู้ที่มีผู้พักอาศัยร่วมกันที่อายุต่ำกว่า 12 ปี มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ผู้ที่คิดว่าไม่สามารถป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ COVID-19 ได้ ผู้ที่เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าควรมีการรณรงค์การใส่หน้ากากอนามัยในพื้นที่สาธารณะ ผู้ที่เห็นด้วยว่าไม่ควรมีการผ่อนปรนให้ทำกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่ระบาด และผู้ที่เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าการใช้พื้นที่ร่วมกันในระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ อย่างไรก็ดีหากจำเป็นต้องมีการผ่อนปรนมาตรการต่าง ๆ (มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการการกักตัวสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ) จำเป็นต้องมีมาตรการฉีดวัคซีนควบคู่ไปด้วยก็จะสามารถลดสามารถลดแนวโน้มที่คนจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางได้


การพัฒนาผนังสลายพลังงานแบบวิสโคอิลาสติก, ฐิติพงศ์ เจริญสุข Jan 2020

การพัฒนาผนังสลายพลังงานแบบวิสโคอิลาสติก, ฐิติพงศ์ เจริญสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพัฒนาผนังสลายพลังงานแบบวิสโคอิลาสติก (Viscoelastic wall dampers) ด้วยวัสดุ Asphalt (ยางมะตอย) และ Polyisobutene (PIB) แม้ว่าในปัจจุบันมีผู้ผลิตอุปกรณ์สลายพลังงานสำหรับอาคารเพื่อต้านทานแผ่นดินไหวและแรงลมจำหน่าย แต่มีราคาแพงเพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษาที่สูง นอกจากนั้นยังพบว่า ส่วนใหญ่มีรูปแบบที่กระทบต่อความสวยงามด้านสถาปัตยกรรม ในงานวิจัยนี้จึงพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาผนังสลายพลังงานแบบวิสโคอิลาสติกด้วยวัสดุที่มีราคาไม่แพง มีรูปแบบคล้ายผนังอาคารทั่วไปเพื่อไม่กระทบต่อความสวยงามของอาคาร โดยทำการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของผนังสลายพลังงานจากการทดสอบชิ้นงานตัวอย่างขนาดย่อส่วนในห้องปฏิบัติการ ภายใต้แรงกระทำแบบวัฏจักร (Cyclic testing) ตามมาตรฐาน ASCE 7-16 ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าวัสดุ PIB มีคุณสมบัติในการสลายพลังงานที่ดี และมีเสถียรภาพภายใต้การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ จึงนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของผนังสลายพลังงานชนิด PIB มาประมาณคุณสมบัติของผนังสลายพลังงานขนาดเท่าของจริง เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการสลายพลังงานกับผลิตภัณฑ์ผนังสลายพลังงานแบบหนืด (Viscous Wall Damper) ของต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่าผนังสลายพลังงานแบบวิสโคอิลาสติคที่พัฒนามีประสิทธิภาพในการสลายพลังงานดีกว่าผนังสลายพลังงานแบบหนืดอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้สามารถลดขนาดและจำนวนผนังสลายพลังงานที่ต้องติดตั้งในอาคารได้ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการออกแบบต้านทานแผ่นดินไหวและแรงลมที่อาจประหยัดและมีประสิทธิภาพกว่าวิธีการปกติที่นิยมเพิ่มขนาดส่วนโครงสร้างให้มีกำลังหรือสติฟเนสมากขึ้น


อิทธิพลจาก Covid-19 ที่ส่งผลต่อการใช้ระบบการให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชันในกรุงเทพมหานคร, วัฒนา เล้าสินวัฒนา Jan 2020

อิทธิพลจาก Covid-19 ที่ส่งผลต่อการใช้ระบบการให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชันในกรุงเทพมหานคร, วัฒนา เล้าสินวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของสังคมเมือง จำนวนประชากรและความต้องการในการเดินทางเพิ่มสูงขึ้น การเข้ามาของแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร (Ride-hailing applications: RHA) เข้ามาเป็นตัวเลือกในการเดินทางของผู้คนในปัจจุบัน เนื่องจากมีความสะดวก ง่ายต่อการใช้งาน และมีความน่าเชื่อถือ ทำให้องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับรูปแบบการเดินทางประเภทนี้เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาระบบขนส่งเพื่อรองรับการเติบโตของสังคมเมืองในประเทศไทยในอนาคต งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารในรูปแบบรถยนต์ วัตถุประสงค์ของการเดินทางด้วยบริการนี้ และรูปการเดินทางอื่นที่ถูกแทนที่โดยแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารกับปัจจัยด้านคุณลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และปัจจัยด้านทัศนคติ โดยใช้แบบจำลองการถดถอยโลจิสติกทวิ (Binary logistic regression) และแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกทางเลือกเรียงลำดับ (Ordered logistic regression) จากผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อายุน้อย รายได้สูง และผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนมาอย่างยาวนาน เป็นปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มที่จะใช้แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร และจากการศึกษาระดับความถี่ในการใช้งาน พบว่า การปิดประเทศ ส่งผลให้ระดับความถี่ในการเดินทางด้วยแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารลดลง อีกทั้งยังปัจจัยด้านอายุที่สูงขึ้น และระดับการศึกษาที่ดีขึ้น ก็ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้งานแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร มีความถี่ในการใช้งานที่ลดลง จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถเป็นกลุ่มเดียวกับผู้ใช้บริการแท็กซี่ ซึ่งแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารมีแนวโน้มในการถูกนำมาใช้ทดแทนแท็กซี่ ดังนั้นการกำกับดูแลจึงมีความจำเป็นในการรักษาความเท่าเทียมในการแข่งขัน


การวิเคราะห์ตัวประกอบความเข้มของความเค้นสำหรับรอยร้าวที่ปีกในคานเหล็กหน้าตัดรูปตัวไอที่ซ่อมแซมด้วยแผ่นปะพอลิเมอร์เสริมเส้นใย, กิตติชัย กันต์งาม Jan 2020

การวิเคราะห์ตัวประกอบความเข้มของความเค้นสำหรับรอยร้าวที่ปีกในคานเหล็กหน้าตัดรูปตัวไอที่ซ่อมแซมด้วยแผ่นปะพอลิเมอร์เสริมเส้นใย, กิตติชัย กันต์งาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์หาค่าตัวประกอบความเข้มของความเค้น (SIF) สำหรับคานเหล็กหน้าตัดรูปตัวไอที่มีรอยร้าวที่ปีกแบบสมมาตรภายใต้แรงดึงหรือแรงดัดทั้งที่ไม่มีและมีการซ่อมแซมด้วยแผ่นปะ ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่า SIF และความยาวรอยร้าวที่ปีกหรือเอว พบว่าเมื่อความยาวรอยร้าวที่ปีกหรือเอวมีค่ามากขึ้นจะส่งผลกระทบให้ค่า SIF (ที่ปีก) กรณีรับแรงดึง สูงกว่ากรณีรับแรงดัด ในขณะที่ค่า SIF (ที่เอว) กรณีรับแรงดัดมีค่าสูงกว่ากรณีรับแรงดึง ทั้งที่ไม่มีและมีการซ่อมแซมด้วยแผ่นปะ และการศึกษาผลกระทบของมิติคานเหล็ก พบว่าอัตราส่วนระหว่างพื้นที่หน้าตัดของปีกทั้งหมดต่อพื้นที่หน้าตัดของแผ่นเอวส่งผลกระทบต่อค่า SIF กรณีที่ไม่มีการซ่อมแซมด้วยแผ่นปะ มากกว่าค่า SIF กรณีที่มีการซ่อมแซมด้วยแผ่นปะ และในทางกลับกันอัตราส่วนระหว่างความลึกของคานต่อความกว้างของปีก ส่งผลกระทบต่อค่า SIF กรณีที่มีการซ่อมแซมด้วยแผ่นปะ มากกว่าค่า SIF กรณีที่ไม่มีการซ่อมแซมด้วยแผ่นปะ ทั้งที่ปีกและเอวภายใต้แรงดึงหรือแรงดัด ในขณะที่ความหนาและมอดุลัสของชั้นกาวส่งผลกระทบให้ค่า SIF ลดลงเพียงเล็กน้อย สุดท้ายงานวิจัยนี้นำเสนอสมการทำนายค่า SIF โดยสมการที่นำเสนอได้พัฒนาจากการวิเคราะห์ฐานข้อมูล SIF กว่า 43740 ข้อมูล ที่ได้จากการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ กว่า 21870 ครั้ง ด้วยโปรแกรมเชิงพันธุกรรม