Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Construction Engineering and Management

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2021

Articles 31 - 33 of 33

Full-Text Articles in Engineering

การออกแบบโครงสร้างตามความเชื่อถือได้อย่างเหมาะสมที่สุดโดยการทำงานร่วมระหว่างการจำลองเซตย่อยและการเรียนรู้ที่ครอบคลุมกลุ่มอนุภาค, อาณัติ สุธา Jan 2021

การออกแบบโครงสร้างตามความเชื่อถือได้อย่างเหมาะสมที่สุดโดยการทำงานร่วมระหว่างการจำลองเซตย่อยและการเรียนรู้ที่ครอบคลุมกลุ่มอนุภาค, อาณัติ สุธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเพิ่มประสิทธิภาพการออกแบบตามความน่าเชื่อถือ (RBDO) เพื่อจัดการกับการออกแบบความสมบูรณ์ของโครงสร้างที่คุ้มค่าโดยมีพารามิเตอร์ที่ไม่มีความแน่นอน การประมวลผลปัญหาระดับนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายจากภาระการคำนวณเพื่อกำหนดความน่าจะเป็นของความล้มเหลวของโครงสร้างที่เกิดขอบเขตฟังก์ชันสถานะจำกัด งานวิจัยนี้ได้เสนอวิธีการแยกส่วน RBDO อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอัลกอริทึมการเรียนรู้ที่ครอบคลุมกลุ่มอนุภาคให้เหมาะสมที่สุด(CLPSO) ทำงานร่วมกับการจำลองเซตย่อย (SS) ซึ่งเรียกว่าวิธีการ SS-CLPSO โดยพื้นฐานแล้ว วิธีการที่เสนอจะดำเนินการ CLPSO แบบวงวนด้วยการสมมุติพารามิเตอร์ที่แน่นอน แล้วพิจารณาจุดที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดที่สอดคล้องกับฟังก์ชันสถานะขีดจำกัดแล้วปรับปรุงภายในกระบวนการเพื่อประเมินความน่าเชื่อถือ จากข้อมูลการออกแบบของCLPSO จากนั้น SS จะประมาณสเปกตรัมของฟังก์ชันสถานะจำกัดภายใต้พารามิเตอร์ที่ไม่แน่นอน และใช้การจำลองมอนติคาร์โลสำหรับการทำนายความน่าจะเป็นของความล้มเหลว กลุ่มตัวอย่างจาก SS จะแสดงความน่าจะเป็นของความล้มเหลวของกลุ่มตัวอย่างภายใต้เงื่อนไขที่สร้างขึ้นในแต่ละเหตุการณ์ตามค่ากลางที่กำหนด SS-CLPSO ที่เสนอจะช่วยในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับปัญหา RBDO โดยมีการร่วมกันทำงานแบบวงวนจนได้ค่าความน่าจะเป็นของความล้มเหลวที่มีผลลัพธ์มาลู่เข้าใกล้เกณฑ์ที่กำหนด การประยุกต์ใช้วิธีการนี้แสดงให้เห็นผ่านการออกแบบโครงเหล็กภายใต้พารามิเตอร์และข้อจำกัดที่ไม่แน่นอนของความน่าจะเป็น


การเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างอาคารสูงภายใต้แรงลมและแผ่นดินไหวด้วยคอนกรีตโมดูลัสยืดหยุ่นสูง, ฐิติภูมิ พัวจินดาเนตร Jan 2021

การเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างอาคารสูงภายใต้แรงลมและแผ่นดินไหวด้วยคอนกรีตโมดูลัสยืดหยุ่นสูง, ฐิติภูมิ พัวจินดาเนตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้คอนกรัตโมดูลัสยืดหยุ่นสูง (High Modulus Concrete, HMC) ที่มีต่อการเคลื่อนตัวด้านข้างของอาคารสูง โดยการประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการนำ HMC มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบก่อสร้างอาคารสูง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ (1) สร้างแบบจำลองอาคาร และ วิเคราะห์การเคลื่อนตัวที่ชั้นหลังคา (RD) และ สัดส่วนความปลอดภัย (D/C Ratio) ของอาคารตัวอย่างเมื่อได้รับแรงด้านข้างตามมาตรฐานแรงลมและแรงแผ่นดินไหว ในโปรแกรม ETABS (2) ศึกษาผลของการประยุกต์ใช้ HMC ที่มีต่อการเคลื่อนตัวที่ชั้นหลังคา (RD) ภายใต้แรงลม โดยเสนอสมการประมาณสมการการเคลื่อนตัวที่หลังคา (RDE) และทำการเปรียบเทียบผลการคำนวณที่ได้กับค่าจากโปรแกรม ETABS (3) ศึกษากรณีขยายขนาดหน้าตัดอาคารโดยวิธีการพอก (Concrete Jacketing) ด้วยคอนกรีตทั่วไป (4) วิเคราะห์และหาค่า RD และ ค่า D/C หลังการประยุกต์ใช้ HMC และการพอกด้วยคอนกรีตทั่วไป (5) ศึกษาความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ระหว่าง การประยุกต์ใช้ HMC และ การเพิ่มหน้าตัดโดยการพอกด้วยคอนกรีตทั่วไป ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า (1) สมการประมาณการเคลื่อนตัวที่ชั้นหลังคาให้ค่าที่แม่นยำโดยมีความแตกต่างจากค่าที่คำนวณโดย ETABS คิดเป็นค่าร้อยละเฉลี่ยเท่ากับ 0.63%±1.22% (2) บริเวณช่วงล่างของอาคาร (Lower Portion) เป็นตำแหน่งที่ เหมาะสมที่สุด (Suitable Position) สำหรับการประยุกต์ใช้ HMC เพื่อควบคุมการเคลื่อนตัวด้านข้างให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (3) การประยุกต์ใช้ HMC ในอาคารจะไม่ทำให้อาคารสูญสียพื้นที่ใช้สอย (Usage Area)เมื่อเทียบกับการพอกด้วยคอนกรีตทั่วไป (4) เมื่อพิจารณามูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์จะพบว่าการประยุกต์ใช้ HMCให้ประโยชน์เชิงเศรษฐศาสตร์ สูงกว่า การพอก ดังนั้นการประยุกต์ใช้คอนกรีตโมดูลัสยืดหยุ่นสูง (HMC) จึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมในการควบคุมการเคลื่อนตัวด้านข้างของอาคารสูงอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ากว่าวิธีการเพิ่มขนาดหน้าตัดขององค์อาคาร


การใช้เศษแกรนิตทดแทนมวลรวมละเอียดในคอนกรีตกำลังสูงที่ผสมซิลิกาฟูม, ศุภากร อังกินันท์ Jan 2021

การใช้เศษแกรนิตทดแทนมวลรวมละเอียดในคอนกรีตกำลังสูงที่ผสมซิลิกาฟูม, ศุภากร อังกินันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการก่อสร้างมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นตามความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม งานด้านวิศวกรรมโยธาถือเป็นงานหลักที่สำคัญในการช่วยขับเคลื่อนความเจริญของประเทศในการพัฒนาและสรรค์สร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานดังนั้นแล้วงานวิจัยและนวัตกรรมด้านวัสดุจะส่งผลในการส่งเสริมการเติบโตแบบก้าวกระโดดของประเทศ การศึกษาและวิจัยด้านคอนกรีตเพื่อลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการพัฒนาวัสดุงานก่อสร้างชนิดใหม่ๆ จึงมีบทบาทความสำคัญอย่างมาก คอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลามายาวนานตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากมีความสะดวก ง่ายต่อการทำงาน และยังมีคุณสมบัติเชิงกลที่ดี อีกทั้งในปัจจุบันยังมีการทดลองและวิจัยเพื่อศึกษาการพัฒนาคุณสมบัติของคอนกรีตมาอย่างต่อเนื่อง หินแกรนิตซึ่งได้จากการระเบิดภูเขามักถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง อย่างไรก็ตามกระบวนการผลิตก่อให้เกิดเศษหินแกรนิตที่ไม่สารนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องเสียพื้นที่ในการกองเก็บทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากฝุ่น ดังนั้นเพื่อที่จะลดผลกระทบดังกล่าวแนวทางที่สามารถทำได้ คือ การนำเศษหินแกรนิตมาใช้แทนทรายธรรมชาติ การแทนที่ทรายธรรมชาติด้วยเศษหินแกรนิตทั้งหมดเมื่อเที่ยบกับการใช้ทรายธรรมชาติร้อยละ 100 กำลังอัดจะลดลงเล็กน้อยอย่างไม่มีนัยสำคัญ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เศษหินแกรนิตแทนทรายธรรมชาติในการผลิตคอนกรีตกำลังสูงและใช้ซิลิกาฟูมมาปรับปรุงคุณสมบัติเชิงกลของคอนกรีตกำลังสูง