Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Biomedical Engineering and Bioengineering

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2018

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Engineering

การเตรียมโครงเลี้ยงเซลล์จากไฟโบรอินไหมไทยและไบโอแอคทีฟกลาสเพื่องานวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก, พิมพ์นารา วัฒนะชัย Jan 2018

การเตรียมโครงเลี้ยงเซลล์จากไฟโบรอินไหมไทยและไบโอแอคทีฟกลาสเพื่องานวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก, พิมพ์นารา วัฒนะชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมโครงเลี้ยงเซลล์สำหรับงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก โดยใช้ไฟโบรอินไหมไทย (SF) และไบโอแอคทีฟกลาส (BG) เชื่อมขวางด้วย 3-ไกลซิดอกซีโพรพิลไตรเอทอกซีไซเลน ((3-Glycidoxypropyl)trimethoxysilane; GPTMS) และขึ้นรูปด้วยวิธีโฟมมิง (Foaming) ผลการวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีด้วยเทคนิค FTIR ยืนยันการเชื่อมขวางระหว่าง SF และ BG เมื่อทดสอบการรับแรงกด พบว่าโครงเลี้ยงเซลล์ผสม SF-BG มีมอดูลัสการกดเพิ่มขึ้นจากโครงเลี้ยงเซลล์ SF ถึง 11 เท่า และไม่มากเกินมอดูลัสของกระดูกจริงดังเช่นโครงเลี้ยงเซลล์ BG ทั้งนี้เสถียรภาพของโครงเลี้ยงเซลล์ผสมที่เชื่อมขวางทั้งสภาวะในน้ำหรือในสารละลายเอนไซม์โปรติเอส XIV ดีกว่าเสถียรภาพของโครงเลี้ยงเซลล์ SF และโครงเลี้ยงเซลล์ผสมที่ไม่ผ่านการเชื่อมขวาง เมื่อทดสอบความไม่เป็นพิษต่อเซลล์ตาม ISO 10993 part 5 พบว่าโครงเลี้ยงเซลล์ผสมไม่มีความเป็นพิษ และผลการทดสอบฤทธิ์ชีวภาพในห้องปฏิบัติการโดยใช้เซลล์กระดูก (SaOS-2 cell line) พบว่าโครงเลี้ยงเซลล์ผสมมีความสามารถในการส่งเสริมการสร้างกระดูก เมื่อพิจารณาจากผลการยึดเกาะ การเจริญเติบโต ระดับกิจกรรมของเอนไซม์แอลคาไลน์ฟอสฟาเตส ปริมาณแคลเซียมที่สะสมภายในเซลล์ และปริมาณแคลเซียมที่ตกตะกอนลงบนโครงเลี้ยงเซลล์ ดังนั้นโครงเลี้ยงเซลล์ผสมชนิดใหม่จาก SF และ BG มีศักยภาพในการใช้เป็นโครงเลี้ยงเซลล์สำหรับงานวิศวกรรมทางเนื้อเยื่อต่อไปในอนาคต


การพัฒนาระบบตรวจวัดแคลเซียมออกซาเลตในปัสสาวะเพื่อการคัดกรองโรคนิ่วไต, พิชญุตม์ ฤกษนันทน์ Jan 2018

การพัฒนาระบบตรวจวัดแคลเซียมออกซาเลตในปัสสาวะเพื่อการคัดกรองโรคนิ่วไต, พิชญุตม์ ฤกษนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ได้ทำการพัฒนาระบบตรวจคัดกรองผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคนิ่วไต (Kidney stone disease) โดยใช้วิธี Indole Calcium Oxalate Crystalization Index : iCOCI ซึ่งเป็นการตรวจวัดความเข้มสีที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างออกซาเลตในปัสสาวะกับสาร Indole reagent โดยได้ทำการศึกษาถึงตัวแปรต่าง ๆ ที่มีผลต่อการวัดเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของวิธี iCOCI ซึ่งพบว่าสามารถลดเวลาในขั้นตอนการบ่มปัสสาวะได้เหลือเพียง 10 นาที และการใช้ Indole reagent ที่ความเข้มข้น 2.5 mg/ml สามารถให้ความแยกชัดในการตรวจคัดกรองได้สูงที่สุด จากนั้นได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของการตรวจคัดกรองโดยนำตัวอย่างปัสสาวะของกลุ่มผู้ที่มีสุขภาพดีและกลุ่มผู้ป่วยโรคนิ่วไต กลุ่มล่ะ 60 ตัวอย่างมาทำการตรวจวัดโดยใช้วิธี iCOCI ร่วมกับระบบวัดทางแสงที่พัฒนาขึ้นโดยใช้เซนเซอร์อาเรย์ที่ตอบสนองต่อแสงที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ ซึ่งพบว่าการใช้ค่าการดูดกลืนแสงของสารตัวอย่างที่ความยาวคลื่น 600 nm จะสามารถให้ประสิทธิภาพของการตรวจคัดกรองได้สูงสุดคือได้ค่าความไวและความจำเพาะในการตรวจคัดกรองมากกว่า 70% ซึ่งเพียงพอต่อการนำไปใช้งานเพื่อตรวจคัดกรองในทางคลีนิค นอกจากนี้ยังได้ทำการพัฒนาระบบผสมและนำส่งสาร และระบบแปลและแสดงผลการตรวจคัดกรองเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการนำไปพัฒนาเป็นระบบแบบอัตโนมัติโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ในการควบคุม ซึ่งจากการทดสอบพบว่าระบบทั้งหมดที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการตรวจวัดที่ใกล้เคียงกับการนำไปใช้งานจริงนอกสถานพยาบาลได้อย่างเหมาะสม จึงทำให้มีความเป็นไปได้ในการนำระบบที่ได้พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้ในการตรวจคัดกรองโรคนิ้วไตแบบไม่รุกล้า (Non-invasive) ได้ต่อไป