Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 333

Full-Text Articles in Engineering

การพัฒนาเครื่องสำอางลดริ้วรอยซึ่งมีเบต้ากลูแคนที่สกัดจากเห็ดแครง, สุจิตรา โนนทิง Jan 2018

การพัฒนาเครื่องสำอางลดริ้วรอยซึ่งมีเบต้ากลูแคนที่สกัดจากเห็ดแครง, สุจิตรา โนนทิง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผนังเซลล์ของเห็ดแครงประกอบไปด้วยเบต้ากลูแคนอยู่ภายในโครงสร้างผนังเซลล์ชื่อว่า Schizophyllan ซึ่งเป็นโพลีแซคคาไรด์ที่ละลายน้ำได้และมีคุณสมบัติของเวชสำอางที่หลากหลาย งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสกัดเบต้ากลูแคนด้วยน้ำจากเห็ดแครงซึ่งเหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปและเพื่อศึกษาการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เจลที่มีส่วนผสมของสารสกัด สภาวะในการสกัดด้วยน้ำที่เหมาะสม คือ ที่สัดส่วนของของแข็งต่อของเหลว 1:10 อุณหภูมิในการสกัด 75 องศาเซลเซียส และเวลาที่ใช้ในการสกัด 3 ชั่วโมง ปริมาณเบต้ากลูแคนที่สกัดได้จากการใช้สภาวะควบคุมดังกล่าวเท่ากับร้อยละ 9.20 ± 0.22 และมีค่ายับยั้งการเกิดออกซิเดชันจากการทดสอบด้วยวิธี DPPHเท่ากับร้อยละ 73.62 ±1.69 ผลของการใช้คลื่นไมโครเวฟเพื่อการปรับสภาพเบื้องต้นได้ถูกทดสอบโดยการใช้การออกแบบชนิด Box-behnken และวิเคราะห์สภาวะที่เหมาะสมของปัจจัยสำคัญด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนอง (RSM) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผลได้ของการสกัดและปริมาณเบต้ากลูแคนมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อใช้คลื่นไมโครเวฟในการปรับสภาพเบื้องต้น ผลการทดลองทั้งสองมีความเหมาะสมกับแบบจำลองการถดถอยควอดราติก โดยมีค่าความน่าจะเป็นที่แสดงให้เห็นว่าแบบจำลองดังกล่าวมีนัยสำคัญ (p-value<0.05) สภาวะการปรับสภาพเบื้องต้นด้วยการใช้คลื่นรังสีไมโครเวฟที่เหมาะสม คือ การใช้รังสีไมโครเวฟเป็นเวลา 3.2 นาที อุณหภูมิการใช้รังสี 79.9 องศาเซลเซียส และเวลาที่ใช้ในการสกัด 2.2 ชั่วโมง ค่าผลได้การสกัดสูงสุดและปริมาณเบต้ากลูแคนได้รับเท่ากับ 4.84 กรัม และร้อยละ 15.26 ตามลำดับ นอกจากนี้ ทำการศึกษาการขึ้นตำรับเจลสำหรับดวงตาที่มีสารสกัดเห็ดแครง ตำรับเจลสำหรับดวงตาที่มี อริสโตเฟลค ซิลค์และคาร์โบพอล 940 ให้ลักษณะทางกายภาพที่ดีที่สุด ทุกตำรับไม่แสดงอาการระคายเคือง (การแตกตัวของเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าร้อยละ 5) และผลิตภัณฑ์ทั้งสองมีความคงตัวที่สูงหลังจากการทดสอบด้วยวิธีเก็บในที่เย็นสลับร้อน ผลของงานวิจัยนี้ได้สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากสารสกัดเห็ดแครงเพื่อเป็นเบต้ากลูแคนในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง


การประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกในการฝังคำเพื่อสร้างแบบจำลองสำหรับทำนายผลการวินิจฉัยโรคจากบันทึกทางการแพทย์ของแผนกออร์โธปิดิกส์, ธนากร รัตนจริยา Jan 2018

การประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกในการฝังคำเพื่อสร้างแบบจำลองสำหรับทำนายผลการวินิจฉัยโรคจากบันทึกทางการแพทย์ของแผนกออร์โธปิดิกส์, ธนากร รัตนจริยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จะนำเสนอวิธีการฝังคำในการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อสร้างแบบจำลองสำหรับทำนายผลการวินิจฉัยโรค ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลการวินิจฉัยโรคของแพทย์ผิดพลาดคือประสบการณ์ของแพทย์ที่ไม่เพียงพอ โดยการวินิจฉัยโรคที่ผิดพลาดนั้น นอกจากจะนำไปสู่การรักษาที่ผิดพลาดแล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยเสียทั้งเงินและเวลา ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาการวินิจฉัยที่ผิดพลาด งานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการประยุกต์ใช้การเรียนรู้เชิงลึกกับการฝังคำ เพื่อทำนายผลการวินิจฉัยโรคจากระบบเวชระเบียน โดยจะสร้างแบบจำลองจากการใช้ข้อมูลในบันทึกของแพทย์ ซึ่งข้อมูลจะถูกนำไปวิเคราะห์ผ่านแบบจำลอง เพื่อทำนายผลการวินิจฉัยโรคที่มีความน่าจะเป็นออกมา เรียงตามลำดับความเชื่อมั่น และสุดท้ายจะใช้อัตราผลบวกจริง อัตราผลบวกเท็จ และค่าความแม่นยำมาเป็นตัววัดประสิทธิภาพของแบบจำลองที่ได้ ซึ่งพบว่าค่าความแม่นยำของแบบจำลองในงานวิจัยนี้มีค่าเท่ากับ 99.95% และอัตราผลบวกจริงมีค่าเท่ากับ 86.64% ด้วยการทำนายผลลัพธ์อันดับแรกเพียงอันดับเดียว


Simulation Model For Outbound Logistics In Quarry Business, Chanyakan Chawaranggoon Jan 2018

Simulation Model For Outbound Logistics In Quarry Business, Chanyakan Chawaranggoon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study of outbound logistics is part of quarrying process where final products are being served to customers. It includes all activities begins from when a truck entering weight station to when the truck leaves the system after a final weighing. An increasing of customer demands within limited serving space and limited resources cause a higher total flow time customer spent in the system which also leads to longer queues. The study aims to simulate a current outbound logistics for a quarry business using ARENA simulation model and analyze truck queueing and loader scheduling policy that help reduce total flow …


Thermal Stability Characterization Of Tunneling Magneto Resistive Structure For Data Storage Applications, Pornchai Rakpongsiri Jan 2018

Thermal Stability Characterization Of Tunneling Magneto Resistive Structure For Data Storage Applications, Pornchai Rakpongsiri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The conventional read sensor technology used in hard disk drives is the tunneling magneto resistive (TMR) device. The revolutions of technology have been developed to achieve high performance of reading signal resulting in very thin and complicated device layers which thermal induced degradation and defects would be concerned. In this research, a thermal stress has been applied to TMR devices between 150-250 ℃ for reliability investigation. The resistance, amplitude and asymmetry parameters, before and after the thermal stress, were measured using a quasi-static tester (QST). The results showed the temperature dependence of the percentage change in QST resistance, asymmetry and …


Chance Constrained Optimization For Petrochemical Supply Chain With The Validation Technique, Kan Rungphanich Jan 2018

Chance Constrained Optimization For Petrochemical Supply Chain With The Validation Technique, Kan Rungphanich

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, the profit is more concern in industry due to high business competition. Therefore, reducing the cost is needed to survive competition. Stochastic optimization had been interesting method to reduce opportunity and over-demand loss in the supply chain under uncertainties. Chance constrained optimization is one of the approaches to stochastic optimization. The uncertainties are included in chance constraint of event under level of confidence. This method is used to design the realistic supply chain giving more stabilities than deterministic optimization. The two case studies have been used to show the effectiveness of chance constrained optimization: the simple supply chain network …


Novel (Cu-Sn) And (Ni-Sn) Catalysts Prepared By Mechanical Alloying, Sakollapath Pithakratanayothin Jan 2018

Novel (Cu-Sn) And (Ni-Sn) Catalysts Prepared By Mechanical Alloying, Sakollapath Pithakratanayothin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research was aimed to synthesize intermetallic catalysts using mechanical alloying (Ma) technique. Copper (Cu) and nickel (Ni) were chosen to study since not only their properties are closed to the noble metal properties, e.g. platinum and palladium, but also they are not expensive. However, as also found in noble metals, both Cu and Ni metals are oxidized easily in air. To overcome this problem, either Cu or Ni was mixed with tin (Sn) to obtain bimetallics, viz. CuSn or NiSn, respectively. Therefore, this research was focused on finding the optimal conditions to synthesize both CuSn and NiSn bimetallics using …


Hydrogen Production From Sorption Enhanced Chemical Looping Steam Ethanol Reforming Using Calcium Oxide/ Copper Oxide/ Nickel Oxide Multifunctional Catalyst, Talita Nimmas Jan 2018

Hydrogen Production From Sorption Enhanced Chemical Looping Steam Ethanol Reforming Using Calcium Oxide/ Copper Oxide/ Nickel Oxide Multifunctional Catalyst, Talita Nimmas

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Multifunctional catalyst was developed for hydrogen production via sorption enhanced chemical looping ethanol steam reforming. Calcium acetate (Ca2Ac) and calcium chloride (CaCl) were used as calcium precursor. Sodium carbonate (Na2CO3) and urea (CO(NH2)2) were used as carbonate precursor. The NiO/CaOAc-Urea-Ca12Al14O33 showed the longest pre-breakthrough period of 60 min and 88% of hydrogen purity at steam to ethanol molar ratio (S/E) of 4:1, temperature 600 ﹾC. Stability of NiO/CaOAc-Urea-Ca12Al14O33 was tested over 10 cycles and the results showed hydrogen purity can be maintained at 90% during pre-breakthrough period. The effect of synthesis method: sol-mixing and sol-gel, on hydrogen production was compared …


การศึกษาและวิเคราะห์เครือข่ายการท่องเที่ยวภายในประเทศไทย, กฤษฎาภฤศ ปึงภัทรกิจ Jan 2018

การศึกษาและวิเคราะห์เครือข่ายการท่องเที่ยวภายในประเทศไทย, กฤษฎาภฤศ ปึงภัทรกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนา ศึกษา และวิเคราะห์เครือข่ายการท่องเที่ยวของประเทศไทยผ่านทางทฤษฎีเครือข่าย และค่าความเป็นศูนย์กลางแบบต่างๆ เพื่อใช้ในการระบุบทบาทหน้าที่ของแต่ละพื้นที่การท่องเที่ยว อันจะนำไปสู่การวางแผนพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืนต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ เครือข่ายการท่องเที่ยวที่ถูกพัฒนาขึ้นจัดเป็นเครือข่ายแบบถ่วงน้ำหนักที่ค่าน้ำหนักของความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่การท่องเที่ยวแปรผันตามค่าอัตราการไหลของนักท่องเที่ยวระหว่างพื้นที่ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยส่งเสริมการท่องเที่ยวต่างๆ เช่น จำนวนแหล่งท่องเที่ยว และที่พักในพื้นที่ท่องเที่ยว จากผลการศึกษา ผู้วิจัยพบว่า กรุงเทพมหานครถือเป็นจุดศูนย์กลางการท่องเที่ยวของประเทศไทยในทุกแง่มุม ส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องมาจากความพร้อมด้านประชากร และศักยภาพในการสนับสนุนการท่องเที่ยว ในขณะที่จังหวัดรอบนอกของกรุงเทพมหานครมีความสำคัญในเชิงการรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปยังจุดศูนย์กลางการท่องเที่ยว นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่า จังหวัดเชียงใหม่ ปัตตานี ราชบุรี ชลบุรี ร้อยเอ็ด ถือเป็นจุดศูนย์กลางของพื้นที่การท่องเที่ยวรองในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย โดยมีจังหวัดนครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่สำคัญต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่การท่องเที่ยวภายในประเทศ


ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการโรงแรมในความแตกต่างของชนชาติ, กาญจนสุดา อุ่นศรี Jan 2018

ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการโรงแรมในความแตกต่างของชนชาติ, กาญจนสุดา อุ่นศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความแตกต่างของผู้รับบริการแต่ละชนชาติที่ส่งผลต่อคุณลักษณะคุณภาพบริการแตกต่างกันและ 2) ปัจจัยคุณลักษณะคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในแต่ละชนชาติ งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้เทคนิคตามมาตรวัด SERVQUAL ในการวิจัยเชิงสำรวจกับผู้รับบริการที่มาใช้บริการโรงแรมหรู ระดับ 5 ดาวแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างจำนวน 400 ชุด ทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา ประกอบด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบด้วยวิธีการวิเคราะห์ความสำคัญและผลการปฏิบัติงาน สร้างโมเดลสมการโครงสร้างและการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐานของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้รับบริการแต่ละชนชาติมีคุณลักษณะคุณภาพบริการที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และความกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างมีความ สอดคล้องตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้ดังนี้ ค่าCMIN/DF เท่ากับ 3.428 ค่าGFI เท่ากับ 0.914 ค่าCFI เท่ากับ 0.971 ค่าRMR เท่ากับ 0.017 และค่าRMSEA เท่ากับ 0.078 แสดงให้เห็นว่า ชนชาติที่แตกต่างกันสามารถส่งผลต่อคุณลักษณะคุณภาพบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คุณลักษณะคุณภาพบริการเป็นตัวแปรส่งผลต่อความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ท้ายที่สุดงานวิจัยได้อภิปรายผลและให้ข้อเสนอแนะในการสร้างความพึงพอใจจากคุณลักษณะคุณภาพบริการแต่ละชนชาติไว้อย่างสัมฤทธิ์ผล ซึ่งทำให้ความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.15 เป็น 94.36


การปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้าสำหรับโรงงานผลิตชุดชั้นในสตรี, ธนิชกาญจน์ ภูภัทรกิจ Jan 2018

การปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้าสำหรับโรงงานผลิตชุดชั้นในสตรี, ธนิชกาญจน์ ภูภัทรกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง การปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้าสำหรับโรงงานผลิตชุดชั้นในสตรี มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบการจัดการของคลังสินค้าที่กำลังประสบปัญหาการรับมือกับปริมาณความต้องการที่ไม่แน่นอน รวมทั้งการจัดสรรการใช้สอยพื้นที่ที่มีอยู่อย่างไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ โดยพบว่าการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพนี้ส่งผลให้การส่งสินค้าสำเร็จรูปไปยังลูกค้าตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 ถึง 40 ได้เพียงเฉลี่ยอาทิตย์ละ 84% ค่าความแปรปรวนอยู่ที่ 16% ซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดคือ 95% ต่อสัปดาห์ โดยสาเหตุหลักมาจากการค้นหาวัตถุดิบล่าช้าของคลังสินค้า ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสายการผลิตได้ ก่อให้เกิดการหยุดชะงักของสายการผลิต หรือ Downtime เพื่อที่จะลดปัญหาการหยุดชะงักของสาย และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคลังสินค้า รวมทั้งการจัดการพื้นของคลังสินค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงมีการนำหลักการ ABC Classification ผสมผสานกับการจัดการแผนผังคลังสินค้าใหม่ พบว่า (1) สามารถกำจัดจำนวนพาเล็ทที่วางสินค้าไม่จำเป็นได้สูงถึง 1,342 พาเล็ท คืนพื้นที่สำหรับการจัดการวัตถุดิบในอนาคต (2) การจัดวางแผนผังคลังสินค้าโดยอาศัยหลักการ FIFO ทำให้การจัดวางสินค้า การค้นหา และการไปหยิบสินค้าเป็นไปได้โดยสะดวก สามารถลดชั่วโมงการหยุดชะงักของสายการผลิตอันเกิดจากความล่าช้าในการหาวัตถุดิบได้ จากเดิม 79,930 ชั่วโมง • คน เป็น 3,048 ชั่วโมง • คน หรือลดลง 96.19% (3) สามารถลดค่าใช้ในการเช่ายืมอุปกรณ์ภายในคลังสินค้าได้ถึง 300,000 บาทต่อเดือน รวมทั้งยังสามารถลดค่าเช่าคลังสินค้าภายนอกและค่าขนส่งได้ถึง 600,000 บาทต่อเดือน


การปรับปรุงกระบวนการทดสอบทางไฟฟ้าของแผงวงจรรวม ด้วยหลักการวิเคราะห์แบบลำดับชั้น, ทิฆัมพร ศรีสวัสดิ์ Jan 2018

การปรับปรุงกระบวนการทดสอบทางไฟฟ้าของแผงวงจรรวม ด้วยหลักการวิเคราะห์แบบลำดับชั้น, ทิฆัมพร ศรีสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราของเสียที่เกิดจากความผิดพลาดในการทดสอบทางไฟฟ้าเนื่องจากการเปิดของวงจร และหาค่าปรับตั้งปัจจัยของเครื่องจักรที่ใช้ในการทดสอบที่เหมาะสมเพื่อให้อัตราของเสียที่เกิดจากความผิดพลาดในการทดสอบทางไฟฟ้าเนื่องจากการเปิดของวงจรมีค่าน้อยที่สุด ขั้นตอนการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาในงานวิจัยนี้เลือกใช้เครื่องมือแผนผังและสาเหตุหลังจากนั้นจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่ออัตราของเสียที่การเกิดจากความผิดพลาดในการทดสอบทางไฟฟ้าเนื่องจากการเปิดของวงจร โดยใช้ FMEA ในขั้นตอนการปรับปรุงได้ทำการคัดเลือกเครื่องจักรโดยใช้หลักการคัดเลือกเครื่องจับงานที่เหมาะสมกับชิ้นงาน โดยอาศัยหลักการกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ จากนั้นทำการทดลองเพื่อหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมของเครื่องจักรโดยอาศัยวิธีการพื้นผิวตอบสนองแบบส่วนประสมกลางชนิดแบบ Faced Central Composite Design: CCF จากการวิเคราะห์การออกแบบการทดลองเบื้องต้น พบว่าที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ปัจจัยที่มีผลต่อตัวแปรตอบสนองอย่างมีนัยสำคัญเพื่อนำไปปรับปรุงหาระดับของปัจจัยที่เหมาะสม คือ B ความสูงของคานยกเข็มทดสอบ 100 ไมโครเมตร, C จำนวนครั้งในการทำความสะอาดเข็มทดสอบ 372 touchdown/time. นอกจากนั้นทางผู้วิจัยได้จัดทำแผนควบคุม และวิธีการปฏิบัติงานใหม่ของการตั้งค่าเครื่องจักรเพื่อสร้างเป็นมาตรฐานในการตั้งค่าเครื่องจักรให้แก่พนักงานควบคุมเครื่องจักรต่อไป หลังจากปรับปรุงกระบวนการทดสอบทางไฟฟ้าพบว่าอัตราของเสียหลังการปรับปรุงโดยเฉลี่ยอยู่ 0.0045% หรือ 45 ตัวในหนึ่งล้านตัว (45 PPM) โดยก่อนปรับปรุงกระบวนการอัตราของเสียลดลงจากก่อนปรับปรุงเท่ากับ 2.2355% คิดเป็นร้อยละ 99.79 ของ % ของเสียในกระบวนการก่อนปรับปรุง และสามารถลดความสูญเสียได้ 1,322,926 บาทต่อปี


ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความผันแปรของคุณสมบัติเชิงกลหลังการอบอ่อนของเหล็กแผ่นรีดเย็น, เรืองยศ วิเชียรรักษ์ Jan 2018

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความผันแปรของคุณสมบัติเชิงกลหลังการอบอ่อนของเหล็กแผ่นรีดเย็น, เรืองยศ วิเชียรรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหล็กแผ่นรีดเย็นชนิดม้วน ที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตโดยกระบวนการอบอ่อนแบบเตาอบ พบว่าค่าสมบัติเชิงกลของเหล็กแผ่นจะมีความผันแปรในแต่ละตำแหน่งของความยาวม้วน โดยปัจจัยสำคัญในกระบวนการอบอ่อนได้แก่ อุณหภูมิการอบอ่อน และเวลาที่ใช้ในการอบอ่อน ถูกนำมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุของความผันแปรของค่าสมบัติเชิงกล วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ทดลองโดยใช้เหล็กแผ่นรีดเย็นที่ผ่านกระบวนการรีดในอุตสาหกรรมที่สัดส่วนการถูกรีดในสัดส่วนการรีดที่เท่ากัน และนำมาผ่านกระบวนการอบอ่อนโดยควบคุมอุณหภูมิการอบอ่อน และเวลาที่ใช้ในการอบอ่อน ในห้องปฏิบัติการ โดยอุณหภูมิการอบอ่อน ได้แก่ 570, 610, 650, 700◦C และเวลาที่ใช้ในการอบอ่อน ได้แก่ 0.5, 1, 2 ชั่วโมง จากนั้นนำชิ้นงานไปตรวจวัดค่าสมบัติเชิงกล ได้แก่ ค่าความเค้นคราก ค่าความเค้นแรงดึงสูงสุด ค่าเปอร์เซ็นต์การยืดตัว และค่าความแข็ง รวมถึงตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคในเนื้อเหล็ก ผลการทดสอบพบว่า (1) การเพิ่มอุณหภูมิการอบอ่อน ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อการลดลงอย่างของค่าความเค้นคราก ค่าความเค้นแรงดึงสูงสุด และค่าความแข็ง แต่ในส่วนค่าเปอร์เซ็นต์การยืดตัว มีค่าสูงขึ้น (2) การเพิ่มเวลาที่ใช้ในการอบอ่อน ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อค่าสมบัติเชิงกลเช่นเดียวกันกับการเพิ่มอุณหภูมิการอบอ่อน (3) ที่อุณหภูมิการอบอ่อน 650◦C และเวลาที่ใช้ในการอบอ่อน 2 ชั่วโมง ให้ผลลัพธ์ค่าสมบัติเชิงกล มีค่าใกล้เคียงค่าเป้าหมาย (4) ขนาดของโครงสร้างจุลภาคในเนื้อเหล็กมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิในการอบอ่อนเพิ่มมากขึ้น (5) ปัจจัยได้แก่อุณหภูมิการอบอ่อน และเวลาที่ใช้ในการอบอ่อน นั้นส่งผลกระทบต่อความผันแปรของค่าสมบัติเชิงกลของชิ้นงานทดสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การลดการสูญเสียในการผลิตของโรงงานผลิตหลอดไฟสำหรับยานยนต์, นานา รัตนนิยม Jan 2018

การลดการสูญเสียในการผลิตของโรงงานผลิตหลอดไฟสำหรับยานยนต์, นานา รัตนนิยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตหลอดไฟสำหรับยานยนต์ โดยเป็นการสูญเสียที่เกิดจากข้อบกพร่องในการผลิต โดยมีการแบ่งกลุ่มการสูญเสียเป็น 2 ประเภท คือ การสูญเสียที่เกิดภายในกระบวนการผลิตและการสูญเสียที่เกิดระหว่างกระบวนการผลิตหนึ่งไปยังกระบวนการหนึ่ง โดยการสูญเสียที่ทำการวิเคราะห์ทั้งหมดในกระบวนการขึ้นรูปและดูดอากาศของหลอดไฟประเภทไฟหน้า รุ่น T19 ด้วยการประยุกต์ใช้การประเมินการขัดข้องและผลกระทบ (FMEA) ด้วยการประเมินความรุนแรง (Severity) โอกาสในการเกิด (Occurrence) และความสามารถในการตรวจจับ (Detection) เพื่อนำไปคำนวณค่าดัชนีความเสี่ยง (RPN) และดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่อง เมื่อค่าดัชนีความเสี่ยงมากกว่า 100 คะแนน งานวิจัยนี้เริ่มจากการศึกษาข้อมูลปริมาณการขาย มูลค่าที่ขายได้ ต้นทุนการผลิต การสูญเสียและแนวโน้มการเกิดของแต่ละประเภทหลอดไฟ จากนั้นได้ทำการศึกษากระบวนการผลิตของหลอดไฟประเภทไฟหน้า T19 ในทุกกระบวนการ พบว่า กระบวนการขึ้นรูปและดูดอากาศมีมูลค่าการสูญเสียในอัตราส่วนร้อยละ 82 เทียบกับผลรวมการสูญเสียทุกกระบวนการ จึงทำการค้นหาข้อบกพร่องทั้งหมดที่สามารถเกิดได้โดยคณะทำงาน และทำการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องเมื่อได้คะแนนดัชนีความเสี่ยง RPN ตามข้อกำหนดการประเมิน หลังจากนั้นได้ค้นหาสาเหตุของปัญหาด้วยการระดมความคิด แผนผังเหตุและผล การทดลอง พิสูจน์ตามหลัก 3 จริง จึงสามารถลดข้อบกพร่องได้ทั้ง 11 หัวข้อของการสูญเสีย ผลการดำเนินการพบว่ากระบวนการขึ้นรูปและดูดอากาศมีข้อบกพร่องที่ทำให้เกิดการสูญเสียมีค่าดัชนีความเสี่ยงมากกว่า 100 เท่ากับ 11 หัวข้อ หลังจากการดำเนินการแก้ไขและได้ทำการประเมินอีกครั้งพบว่า ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงภาวะความรุนแรงได้ แต่สามารถลดโอกาสในการเกิด และเพิ่มความสามารถในการตรวจจับ โดยค่าดัชนีความเสี่ยง RPN ที่มีค่าน้อยกว่า 100 มีทั้งหมด 10 หัวข้อ และมี 1 หัวข้อที่ยังมีค่ามากกว่า 100 เนื่องจากยังไม่สามารถเพิ่มความสามารถในการตรวจจับได้ การดำเนินการนี้ส่งผลให้มูลค่าการสูญเสียลดลง คิดเป็นร้อยละ 2.60 เมื่อเทียบกับมูลค่าการผลิต ส่งผลให้สามารถลดความสูญเสียลงคิดเป็นมูลค่า 392,390.37 บาทต่อเดือน ซึ่งทำให้ต้นทุนของผลิตภัณฑ์ลดลงได้ในที่สุด


การทวนสอบเชิงรูปนัยของการออกแบบบีพีเอ็มเอ็นโดยใช้โมเดลเช็คกิง, ชานนท์ เดชสุภา Jan 2018

การทวนสอบเชิงรูปนัยของการออกแบบบีพีเอ็มเอ็นโดยใช้โมเดลเช็คกิง, ชานนท์ เดชสุภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทวนสอบโมเดลบีพีเอ็มเอ็นด้วยวิธีโมเดลเช็คกิงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้มั่นใจว่าโมเดลบีพีเอ็มเอ็นที่ออกแบบปราศจากปัญหาติดตายและปราศจากคุณสมบัติที่ไม่พึงประสงค์ที่เป็นสาเหตุโมเดลไม่ตรงตามความต้องการหรือส่งผลให้ระบบหยุดทำงาน คุณสมบัติของโมเดลบีพีเอ็มเอ็นที่จำเป็นต้องทวนสอบได้แก่ คุณสมบัติความปลอดภัยและคุณสมบัติความสมบูรณ์ ขั้นตอนการทวนสอบด้วยวิธีโมเดลเช็คกิงค่อนข้างซับซ้อนเพราะเกี่ยวข้องกับภาษารูปนัยที่ใช้อธิบายโมเดลเชิงนามธรรมและการใช้เครื่องมือทวนสอบ รวมถึงอาจต้องใช้เทคนิคเฉพาะเพื่อจัดการโมเดลบีพีเอ็มเอ็นที่มีขนาดใหญ่ที่เป็นสาเหตุของปัญหาการระเบิดของปริภูมิสถานะ การสร้างโมเดลนามธรรมโดยอัตโนมัติช่วยลดความผิดพลาดและเวลาที่ใช้ในการสร้างโมเดล สามารถจัดการโมเดลที่มีขนาดใหญ่และปัญหาการระเบิดของปริภูมิสถานะได้ งานวิจัยนี้เสนอเทคนิคการทวนสอบคุณสมบัติความปลอดภัย คุณสมบัติความสมบูรณ์ของโมเดลบีพีเอ็มเอ็นด้วยวิธีโมเดลเช็คกิง คัลเลอร์เพทริเน็ตหรือซีพีเอ็นถูกนำมาใช้อธิบายโมเดลนามธรรม เทคนิคการแบ่งโมเดลออกเป็นโมเดลย่อยและการจัดโครงสร้างโมเดลแบบมีลำดับชั้นถูกนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการระเบิดของปริภูมิสถานะ กรอบงานได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้แปลงโมเดลบีพีเอ็มเอ็นเป็นโมเดลซีพีเอ็นและมีตัวสร้างและค้นปริภูมิสถานะจากโมเดลซีพีเอ็น ซึ่งกรอบงานเป็นตัวเลือกที่มีประโยชน์สำหรับนักออกแบบกระบวนการซอฟต์แวร์ที่ต้องการทวนสอบโมเดลบีพีเอ็มเอ็นที่มีขนาดใหญ่


แบบจำลองทำนายผลคำตัดสินและประเด็นในคดีอาญาที่เรียนรู้จากคำพิพากษาศาลฎีกาไทย โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก, กานกวิญจน์ โค้วสีหวัฒน์ Jan 2018

แบบจำลองทำนายผลคำตัดสินและประเด็นในคดีอาญาที่เรียนรู้จากคำพิพากษาศาลฎีกาไทย โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก, กานกวิญจน์ โค้วสีหวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำนายผลคำตัดสินในคดีอาญาด้วยแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เทคนิคที่ใช้ในแบบจำลองดังกล่าวมักใช้ตัวแทนข้อความที่มีที่มาจากแบบจำลองถุงคำ ซึ่งไม่สนใจลำดับของข้อความทำให้สูญเสียบริบทของข้อความ และผลลัพธ์การทำนายมีความแม่นยำลดลง ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแบบจำลองทำนายผลคำตัดสินและประเด็นในคดีอาญาซึ่งเรียนรู้จากคำพิพากษาศาลฎีกาไทยโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกผ่านชุดโครงข่ายประสาทเทียม แบบจำลองนี้สร้างตัวแทนข้อความด้วยโครงข่ายประตูวกกลับสองทิศทางร่วมด้วยกลไกจุดสนใจ ก่อนนำตัวแทนข้อความนั้นไปทำนายผลคำตัดสินและประเด็นในคดีอาญาด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบโมดูลซึ่งจำลองโครงสร้างความรับผิดทางอาญาตามทฤษฎีกฎหมายอาญา ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองให้ประสิทธิภาพสูงกว่าแบบจำลองที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องเดิมอย่างเนอีฟเบยส์และเอสวีเอ็ม เมื่อพิจารณาจากค่า F1 นอกจากนี้ แบบจำลองยังให้ประสิทธิภาพสูงในการทำนายประเด็นในคดีอาญาบางประเด็นซึ่งมีผลต่อการทำนายผลคำตัดสินในคดีอาญาด้วย นอกจากนั้น ผลการทดลองสะท้อนให้เห็นว่า การใช้โครงข่ายประตูวกกลับสองทิศทางร่วมด้วยกลไกจุดสนใจสามารถสร้างตัวแทนข้อความที่ดีกว่าแบบจำลองดั้งเดิมที่มีลักษณะเดียวกันกับถุงคำ ตลอดจนโครงข่ายประสาทเทียมแบบโมดูลสามารถจำลองโครงสร้างความรับผิดทางอาญาได้


การสร้างแบบจำลองเครือข่ายทางรถไฟด้วยไทมด์คัลเลอร์เพทริเน็ต, นิติพัฒน์ ทรงวิโรจน์ Jan 2018

การสร้างแบบจำลองเครือข่ายทางรถไฟด้วยไทมด์คัลเลอร์เพทริเน็ต, นิติพัฒน์ ทรงวิโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทวนสอบเชิงรูปนัยสามารถนำไปใช้เป็นทางเลือกในการทวนสอบแบบจำลองต้นแบบที่ออกแบบให้ทราบถึงข้อผิดพลาดหรือคุณลักษณะด้านความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม การออกแบบแบบจำลองเครือข่ายทางรถไฟขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนค่อนข้างมากอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ง่าย วิทยานิพนธ์นี้จึงได้นำเสนอทางเลือกในการสร้างแบบจำลองเครือข่ายทางรถไฟโดยใช้มอดูลที่ถูกสร้างขึ้นจากแบบจำลองไทมด์คัลเลอร์เพทริเน็ตซึ่งเป็นแบบจำลองเชิงรูปนัยแทนการสร้างแบบจำลองไทมด์คัลเลอร์เพทริเน็ตแบบทั่วไป โดยวิทยานิพนธ์ได้นำเสนอมอดูลมาตรฐานที่แทนส่วนประกอบในเครือข่ายทางรถไฟ คือ สถานีรถไฟ และ รางรถไฟ รองรับประเภทรถไฟโดยสาร 3 ประเภทและการควบคุมการเดินรถไฟโดยใช้ตารางเวลารถไฟที่สามารถกำหนดได้ พร้อมทั้งนำเสนอกฎและเงื่อนไขในการต่อประสานมอดูลเหล่านั้นเพื่อประกอบกันเป็นเครือข่ายทางรถไฟขนาดใหญ่ได้ โดยมีเครื่องมือที่ถูกพัฒนาในวิทยานิพนธ์ช่วยเหลือผู้ใช้ในการสร้างและแปลงเครือข่ายทางรถไฟที่ถูกออกแบบไปเป็นไทมด์คัลเลอร์เพทริเน็ต ผลลัพธ์การจำลองแสดงผลผ่านโปรแกรมเครื่องมือ ซีพีเอ็น เพื่อตรวจหาความถูกต้อง และความปลอดภัยของแบบจำลองเครือข่ายทางรถไฟและตารางรถไฟที่นำเข้ามาตรวจสอบ โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาสำหรับเครือข่ายทางรถไฟจำนวน 8 สถานี พร้อมทำการจำลองเหตุการณ์ความล่าช้าที่เกิดขึ้นที่เครือข่ายทางรถไฟ เพื่อตรวจสอบผลกระทบที่เกิดขึ้น


ระบบควบคุมเวกเตอร์แบบไร้เซนเซอร์วัดตำแหน่งสำหรับเครื่องจักรกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำชนิดป้อนสองทางโดยใช้ตัวสังเกตลดอันดับแบบปรับตัวที่มีการป้อนกลับกระแสสเตเตอร์, ศุภษร หมื่นพล Jan 2018

ระบบควบคุมเวกเตอร์แบบไร้เซนเซอร์วัดตำแหน่งสำหรับเครื่องจักรกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำชนิดป้อนสองทางโดยใช้ตัวสังเกตลดอันดับแบบปรับตัวที่มีการป้อนกลับกระแสสเตเตอร์, ศุภษร หมื่นพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอระบบควบคุมเวกเตอร์ไรเซนเซอร์วัดตำแหน่งสำหรับเครื่องจักรกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำชนิดป้อนสองทาง โดยใช้ตัวสังเกตลดอันดับแบบปรับตัวจากแบบจำลองสเตเตอร์ แนวคิดที่นำเสนอมีการคำนวณที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน และไม่จำเป็นต้องคำนวณค่าปริพันธ์ของสเตเตอร์ฟลักซ์ ทำให้ลดปัญหาเรื่องการเลื่อนของสัญญาณไฟตรงได้ การวิเคราะห์เสถียรภาพของแบบจำลองในวิทยานิพนธ์นี้ใช้วิธีการทำให้ระบบเป็นเชิงเส้นและใช้ทฤษฎีบทเราท์-เฮอร์วิตช์ยืนยันเสถียรภาพของระบบรอบ ๆ จุดทำงาน นอกจากนี้ยังนำเสนอแนวทางการออกแบบอัตราขยายป้อนกลับและอัตราขยายป้อนกลับแบบปรับตัวสำหรับตัวประมาณตำแหน่ง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบตัวควบคุม อีกทั้งเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบของการประมาณตำแหน่งเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของเครื่องจักรกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำชนิดป้อนสองทาง และสุดท้ายนี้เพื่อเป็นการยืนยันแนวคิดทางทฤษฎีโดยการจำลองผลด้วยโปรแกรม Matlab/Simulink และการทดสอบด้วยระบบจริง โดยระบบควบคุมเวกเตอร์ไรเซนเซอร์วัดตำแหน่ง สามารถทำงานได้ทุกเงื่อนไขการทำงาน และสามารถควบคุมกระแสโรเตอร์ได้อย่างอิสระสอดคล้องหลักการการควบคุมแบบแยกการเชื่อมร่วม


การเตรียมโครงเลี้ยงเซลล์จากไฟโบรอินไหมไทยและไบโอแอคทีฟกลาสเพื่องานวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก, พิมพ์นารา วัฒนะชัย Jan 2018

การเตรียมโครงเลี้ยงเซลล์จากไฟโบรอินไหมไทยและไบโอแอคทีฟกลาสเพื่องานวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก, พิมพ์นารา วัฒนะชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมโครงเลี้ยงเซลล์สำหรับงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก โดยใช้ไฟโบรอินไหมไทย (SF) และไบโอแอคทีฟกลาส (BG) เชื่อมขวางด้วย 3-ไกลซิดอกซีโพรพิลไตรเอทอกซีไซเลน ((3-Glycidoxypropyl)trimethoxysilane; GPTMS) และขึ้นรูปด้วยวิธีโฟมมิง (Foaming) ผลการวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีด้วยเทคนิค FTIR ยืนยันการเชื่อมขวางระหว่าง SF และ BG เมื่อทดสอบการรับแรงกด พบว่าโครงเลี้ยงเซลล์ผสม SF-BG มีมอดูลัสการกดเพิ่มขึ้นจากโครงเลี้ยงเซลล์ SF ถึง 11 เท่า และไม่มากเกินมอดูลัสของกระดูกจริงดังเช่นโครงเลี้ยงเซลล์ BG ทั้งนี้เสถียรภาพของโครงเลี้ยงเซลล์ผสมที่เชื่อมขวางทั้งสภาวะในน้ำหรือในสารละลายเอนไซม์โปรติเอส XIV ดีกว่าเสถียรภาพของโครงเลี้ยงเซลล์ SF และโครงเลี้ยงเซลล์ผสมที่ไม่ผ่านการเชื่อมขวาง เมื่อทดสอบความไม่เป็นพิษต่อเซลล์ตาม ISO 10993 part 5 พบว่าโครงเลี้ยงเซลล์ผสมไม่มีความเป็นพิษ และผลการทดสอบฤทธิ์ชีวภาพในห้องปฏิบัติการโดยใช้เซลล์กระดูก (SaOS-2 cell line) พบว่าโครงเลี้ยงเซลล์ผสมมีความสามารถในการส่งเสริมการสร้างกระดูก เมื่อพิจารณาจากผลการยึดเกาะ การเจริญเติบโต ระดับกิจกรรมของเอนไซม์แอลคาไลน์ฟอสฟาเตส ปริมาณแคลเซียมที่สะสมภายในเซลล์ และปริมาณแคลเซียมที่ตกตะกอนลงบนโครงเลี้ยงเซลล์ ดังนั้นโครงเลี้ยงเซลล์ผสมชนิดใหม่จาก SF และ BG มีศักยภาพในการใช้เป็นโครงเลี้ยงเซลล์สำหรับงานวิศวกรรมทางเนื้อเยื่อต่อไปในอนาคต


ระบบสังเคราะห์เสียงร้องเพลงภาษาไทยโดยใช้แบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟ, ลัทธพล จีระประดิษฐ Jan 2018

ระบบสังเคราะห์เสียงร้องเพลงภาษาไทยโดยใช้แบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟ, ลัทธพล จีระประดิษฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การร้องเพลงในแต่ละภาษานั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวบางอย่างซึ่งส่งผลให้การพัฒนาความเป็นธรรมชาติของเสียงร้องเพลงสังเคราะห์ในแต่ละภาษานั้นมีความท้าทายแตกต่างกัน เสียงวรรณยุกต์เป็นส่วนที่มีผลมากกับการสื่อสารในภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ แต่ระบบสังเคราะห์เสียงร้องเพลงในปัจจุบันไม่ได้คำนึงถึงเสียงวรรณยุกต์ นอกจากนี้เมลิสมาเป็นอีกสถานการณ์หนึ่งที่พบได้บ่อยครั้งในการร้องเพลงป็อปไทยซึ่งต้องมีการจัดการเพื่อจำลองการร้องเมลิสมา เป้าหมายของวิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งเน้นที่การปรับระบบสังเคราะห์เสียงร้องเพลงให้รองรับการจำลองเสียงในสถานการณ์เมลิสมาและผลกระทบของเสียงวรรณยุกต์ งานวิทยานิพนธ์นี้เสนอ 1) ปัจจัยบริบทที่ใช้ในระบบสังเคราะห์เสียงร้องเพลงสำหรับภาษาที่วรรณยุกต์มีผลต่อเสียงร้องเพลงและคำนึงถึงเมลิสมา 2) วิธีการทำสำเนารูปเขียน จากการประเมินผลพบว่า วิธีการทำสำเนารูปเขียนที่เสนอทั้งสองแบบนั้นส่งผลให้ระบบสังเคราะห์เสียงร้องเพลงรองรับเมลิสมา โดยวิธีการทำสำเนารูปเขียนที่คำนึงถึงสระเสียงสั้น-ยาวและตัวสะกดนั้นมีรูปคลื่นของเสียงร้องเพลงสังเคราะห์ใกล้เคียงกับรูปคลื่นของเสียงร้องเพลงจริงมากกว่า รวมถึงมีความเป็นธรรมชาติมากกว่าโดยใช้มาตรวัดเอ็มโอเอส อีกทั้งเมื่อมีปัจจัยบริบทที่เกี่ยวข้องกับเสียงวรรณยุกต์ เค้ารูปของความถี่มูลฐานที่สังเคราะห์ได้นั้นมีความใกล้เคียงเสียงร้องเพลงจริงมากกว่าในระบบที่ไม่มีปัจจัยบริบทที่เกี่ยวข้องกับเสียงวรรณยุกต์ และมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้นโดยใช้มาตรวัดเอ็มโอเอส นอกจากนี้เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมชาติให้เสียงร้องเพลงสังเคราะห์จึงมีการทดลองเกี่ยวกับจำนวนสถานะของแบบจำลองเสียงพบว่า เมื่อจำนวนสถานะเพิ่มขึ้น ความเป็นธรรมชาติของเสียงร้องเพลงสังเคราะห์ก็มากขึ้น แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งเสียงร้องเพลงสังเคราะห์ที่ได้จะมีความเป็นธรรมชาติลดลง


การศึกษากลไกการดักจับอนุภาคภายในหลุมจุลภาครูปทรงสามเหลี่ยม, ภาคภูมิ ยิ่งประทานพร Jan 2018

การศึกษากลไกการดักจับอนุภาคภายในหลุมจุลภาครูปทรงสามเหลี่ยม, ภาคภูมิ ยิ่งประทานพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาแบ่งออกเป็นสองวัตถุประสงค์หลัก อย่างแรกเป็นการศึกษากลไกการดักจับอนุภาคโดยอาศัยหลักการหมุนวนที่เกิดขึ้นภายในหลุมสามเหลี่ยมคือ สามเหลี่ยมมุมเท่า สามเหลี่ยมมุมแหลม และสามเหลี่ยมมุมป้าน ผลจากการจำลองการไหลพบว่าของไหลที่บริเวณหลุมรูปทรงสามเหลี่ยมจะเกิดการไหลแบบหมุนวนสำคัญ 2 รูปแบบคือ การหมุนวนภายในหลุมโดยแกนการหมุนตั้งฉากกับทิศทางการไหล และการหมุนวนที่ขอบด้านหน้าหลุมโดยมีแกนการหมุนในทิศทางเดียวกับการไหล โดยการหมุนแบบแรกเป็นการดักจับอนุภาคลงสู่หลุม ทั้งนี้การหมุนวนภายในหลุมและการหมุนวนที่ขอบด้านหน้าหลุมจะเกิดการปฏิสัมพันธ์ของการหมุนวนจนทำให้เกิดการหมุนวนอีกกลุ่มหนึ่งภายในหลุมเรียกว่าการหมุนวนทุติยภูมิ การหมุนวนนี้อาจช่วยประคองอนุภาคที่ถูกดักจับให้อยู่กลางหลุมแต่หากมีขนาดการหมุนวนที่มากเกินไปอาจส่งผลให้อนุภาคหลุดออกจากหลุมได้ โดยสามเหลี่ยมมุมป้านจะมีขนาดการหมุนวนทุติยภูมิสูงที่สุด ดังนั้นหากมีอนุภาคถูกดักจับภายในหลุมมีความเป็นไปได้สูงที่อนุภาคจะถูกแรงหมุนวนดันออกจากหลุมสำหรับกรณีสามเหลี่ยมมุมป้านรองลงมาถือสามเหลี่ยมมุมเท่าและสามเหลี่ยมมุมแหลมตามลำดับ วัตถุประสงค์ที่สองคือการนำเสนอรูปแบบการดักจับอนุภาคโดยอาศัยการทดลองประกอบ รูปแบบการดักจับใหม่นี้เริ่มจากการดักจับอนุภาคให้เต็มหลุมที่อัตราการไหลต่ำก่อนจากนั้นเพิ่มอัตราการไหลเพื่อเพิ่มขนาดของการไหลหมุนวนทุติยภูมิส่งผลให้อนุภาคออกจากหลุมมากขึ้น โดยอุปกรณ์การไหลประกอบไปด้วยช่องการไหลที่พื้นมีการเรียงตัวของหลุมจุลภาครูปทรงสามเหลี่ยม สำหรับการทดลองเริ่มจากการนำอนุภาคพลาสติกผสมเข้ากับสารละลาย PBS และฉีดเข้าสู่อุปกรณ์การไหลที่อัตราการไหลประมาณ 10 มิลลิลิตรต่อชั่วโมงเพื่อดักจับอนุภาคให้เต็มหลุมจากนั้นปรับอัตราการไหลสูงเพื่อดันอนุภาคออกจากหลุมจนกระทั่งเหลือเพียงอนุภาคเดี่ยว โดยที่อัตราการไหล 500 มิลลิลิตรต่อชั่วโมงเป็นเวลา 2 นาที พบว่าสามเหลี่ยมมุมเท่า สามเหลี่ยมมุมแหลม และสามเหลี่ยมมุมป้านสามารถดักจับอนุภาคเดี่ยวได้ 83.6% 31.5% และ 16.7% ตามลำดับ ซึ่งสามเหลี่ยมมุมแหลมจะกักเก็บอนุภาคไว้ภายในหลุมได้มากเนื่องจากมีขนาดการหมุนวนทุติยภูมิในหลุมที่ต่ำแต่สามเหลี่ยมมุมป้านมีขนาดการหมุนวนทุติยภูมิสูงสุดส่งผลให้อนุภาคส่วนใหญ่ถูกดันออกจากหลุมจนหมด


การเลือกระบบการก่อสร้างแบบโมดูลาร์สำหรับอาคารพักอาศัยแบบเตี้ยในประเทศไทย, บุญชาญ ไผทสมาน Jan 2018

การเลือกระบบการก่อสร้างแบบโมดูลาร์สำหรับอาคารพักอาศัยแบบเตี้ยในประเทศไทย, บุญชาญ ไผทสมาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการก่อสร้างของไทยประสบปัญหาหลายประการซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา โดยได้เริ่มมีการประยุกต์ใช้การก่อสร้างด้วยระบบโมดูลาร์เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ยังไม่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและยังไม่สามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสม งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัจจัยสำหรับเลือกรูปแบบการก่อสร้างด้วยระบบโมดูลาร์และนำเสนอรูปแบบของการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยแบบเตี้ยประเภททาวน์เฮ้าส์และคอนโดมิเนียมแบบเตี้ยด้วยระบบโมดูลาร์ที่เหมาะสม โดยใช้ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจำนวน 17 ราย และใช้เทคนิคเดลฟายในการหาข้อสรุป จากนั้นใช้กระบวนการวิเคราะห์ลำดับชั้น (AHP) ในการเปรียบเทียบรูปแบบของการก่อสร้างด้วยระบบโมดูลาร์แต่ละชนิดโดยใช้ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 ราย จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ใช้สำหรับเลือกรูปแบบการก่อสร้างด้วยระบบโมดูลาร์มีทั้งหมด 12 ปัจจัย ได้แก่ ความน่าเชื่อถือของโครงการ เวลา ต้นทุน คุณภาพ สิ่งแวดล้อม แรงงาน การขนส่ง ความยืดหยุ่น ความปลอดภัย ความชำนาญของแรงงาน ความหลากหลาย และข้อจำกัดของพื้นที่ก่อสร้าง สำหรับรูปแบบของการก่อสร้างด้วยระบบโมดูลาร์ที่เหมาะสมในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดพบว่าเป็นโมดูลาร์ชนิดเต็มรูปแบบและงานภายในแล้วเสร็จสมบูรณ์เนื่องจากมีการผลิตและติดตั้งงานภายในแล้วเสร็จจากโรงงานผลิตจึงสามารถควบคุมคุณภาพได้ สามารถถูกติดตั้งได้รวดเร็วที่หน่วยงานก่อสร้าง นอกจากนี้มีการใช้เครื่องจักรในการทำงานเป็นหลักจึงสามารถลดความต้องการใช้แรงงานเป็นหลักลงได้


การออกแบบระบบขนส่งผู้สูงอายุเพื่อกิจกรรมในชุมชน กรณีศึกษา: ชุมชนวังทองหลางและบึงยี่โถ, ทรงพร สุวัฒิกะ Jan 2018

การออกแบบระบบขนส่งผู้สูงอายุเพื่อกิจกรรมในชุมชน กรณีศึกษา: ชุมชนวังทองหลางและบึงยี่โถ, ทรงพร สุวัฒิกะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิเคราะห์และออกแบบระบบการขนส่งให้กับผู้สูงอายุเพื่อการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุในการเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างปลอดภัย โดยพื้นที่ที่ทำการศึกษาคือชุมชนในเขตวังทองหลางและชุมชนในตำบลบึงยี่โถ ซึ่งเป็นชุมชนที่มีศูนย์กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ งานวิจัยนี้แบ่งการสำรวจเป็น 2 ขั้นตอน โดยขั้นแรกเป็นการสำรวจพฤติกรรมการเดินทาง การเลือกรูปแบบการบริการขนส่ง และการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลจากการสำรวจขั้นแรกนำไปสู่แบบสอบถามการจำลองสถานการณ์การเลือกระบบขนส่งภายในชุมชน โดยทำการสอบถามกับผู้สูงอายุรวม 400 ท่าน โดยระบบขนส่งที่ผู้สูงอายุต้องการมีรูปแบบการบริการที่คล้ายกัน โดยทั้งสองชุมชนต้องการการบริการขนส่งที่มีตารางเวลาที่แน่นอน ต้องการค่าโดยสารที่มีราคาต่ำ ส่วนรูปแบบรถแตกต่างกันออกไป ชุมชนวังทองหลางซึ่งอยู่ในเขตเมือง ผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำ สนใจรถสี่ล้อเล็ก ส่วนชุมชนบึงยี่โถซึ่งเป็นชุมชนชานเมือง ผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำเช่นเดียวกัน สนใจรถกอล์ฟและนำผลจากการสำรวจมาวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองสมการถดถอยเชิงเส้นเพื่อหาปริมาณการเดินทางในแต่ละระบบขนส่ง และผลจากแบบจำลองพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกระบบขนส่งภายในชุมชนที่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับชุมชนในเขตเมืองได้แก่ เพศหญิง รายได้ ระยะการเดินทาง รูปแบบการเดินรถ รูปแบบรถบริการ และค่าโดยสาร ส่วนชุมชนชานเมืองได้แก่ เพศหญิง อายุ รายได้ ระยะการเดินทาง รูปแบบการเดินรถ รูปแบบรถ และค่าโดยสาร และผลจากการสำรวจนี้สามารถนำมาใช้ประมาณการต้นทุนและรายรับที่คาดว่าจะเกิดขึ้น สามารถหาระบบขนส่งที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุภายในชุมชน ทั้งนี้หน่วยงานที่ดูแลผู้สูงอายุสามารถนำมาวางแผนและเตรียมงบประมาณในการสนับสนุน หรือเป็นข้อเสนอแนะในการวางแผนการจัดระบบขนส่งที่มีความยั่งยืนให้กับชุมชน และงานวิจัยนี้จะเป็นแบบอย่างให้กับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป


การวิเคราะห์พฤติกรรมรับแรงอัดของเสาวัสดุผสมเหล็กหน้าตัดรูปตัวเอชหุ้มด้วยคอนกรีตบางส่วน, ปภาณ บางประสิทธิ์ Jan 2018

การวิเคราะห์พฤติกรรมรับแรงอัดของเสาวัสดุผสมเหล็กหน้าตัดรูปตัวเอชหุ้มด้วยคอนกรีตบางส่วน, ปภาณ บางประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนองานวิจัยการศึกษาพฤติกรรมรับแรงอัดของเสาสั้นวัสดุผสมเหล็กหุ้มด้วยคอนกรีตบางส่วน (PCES) โดยพฤติกรรมรับแรงอัดของเสาสั้น PCES ประกอบไปด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างแรงอัดกับหน่วยการหดตัวตามแนวแกน กำลังรับแรงอัด และรูปแบบการวิบัติ งานวิจัยนี้เริ่มต้นจากการทดสอบเสาสั้น PCES หน้าตัดเหล็กรูปตัวเอชจำนวน 12 ตัวอย่างภายใต้แรงอัดกระทำต่อเนื่องตรงศูนย์ มีตัวแปรในการทดสอบได้แก่ การเปรียบเทียบพฤติกรรมรับแรงอัดของเสาสั้น PCES ที่ใช้เหล็กรีดร้อนกับเสาสั้น PCES ที่ใช้เหล็กเชื่อมประกอบ รวมถึงศึกษาผลของการเสริมเหล็กเส้นภายในเสาและผลของขนาดหน้าตัดเสาต่อพฤติกรรมรับแรงอัดของเสา จากนั้นศึกษากลไกการกระทำต่อกันระหว่างเหล็กรูปพรรณและคอนกรีตเพื่อใช้หาค่าแรงดันโอบรัดที่กระทำต่อคอนกรีต และนำเสนอแบบจำลองการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงอัดกับหน่วยการหดตัวตามแนวแกนของคอนกรีตที่พิจารณาผลการโอบรัดที่เหล็กรูปพรรณกระทำต่อคอนกรีต เพื่อทำนายกำลังรับแรงอัดของเสาสั้น PCES หน้าตัดเหล็กรูปตัวเอช และหน้าตัดเหล็กรูปกากบาท จากการเปรียบเทียบผลจากแบบจำลองกับผลการทดสอบ พบว่า แบบจำลองสามารถทำนายค่ากำลังรับแรงอัดได้แม่นยำกับผลการทดสอบมากกว่าค่าจากสมการออกแบบตามข้อกำหนด AISC360-16 ที่ไม่ได้พิจารณาแฟกเตอร์ความปลอดภัย สุดท้ายทำการศึกษาผลกระทบของตัวแปรออกแบบต่อพฤติกรรมรับแรงอัดของเสาสั้น PCES เหล็กรูปตัวเอชโดยใช้แบบจำลองที่เสนอ พบว่า 1.) กำลังรับแรงอัดของคอนกรีตที่ได้รับการโอบรัดจะมีค่าสูงขึ้นเมื่อ ความชะลูดของปีกเหล็กและกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตมีค่าต่ำลง ในขณะที่กำลังรับแรงที่จุดครากของเหล็กมีค่าสูงขึ้น และ 2.) กำลังรับแรงอัดของเอวเหล็กจะมีค่าต่ำลงเมื่อ ความชะลูดของปีกเหล็กมีค่าต่ำลง และความชะลูดของเอวเหล็กมีค่าสูงขึ้น


การพัฒนาฟิล์มบรรจุภัณฑ์บรรยากาศดัดแปรจากสารผสมระหว่างพอลิเอธิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำกับเทอร์โมพลาสติกพอลิเอสเทอร์อีลาสโตเมอร์, กันตพงศ์ สักลอ Jan 2018

การพัฒนาฟิล์มบรรจุภัณฑ์บรรยากาศดัดแปรจากสารผสมระหว่างพอลิเอธิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำกับเทอร์โมพลาสติกพอลิเอสเทอร์อีลาสโตเมอร์, กันตพงศ์ สักลอ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาฟิล์มบรรจุภัณฑ์บรรยากาศดัดแปร (Modified Atmosphere Packaging Film) โดยศึกษาถึงผลของปริมาณสารเทอร์โมพลาสติกพอลิเอสเทอร์อิลาสโตเมอร์ (TPEE) ในสัดส่วน 0 - 50% โดยน้ำหนักที่ถูกผสมเข้าไปในพอลิเอธิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) และสภาวะการขึ้นรูปฟิล์ม ได้แก่ อัตราเร็วในการดึงฟิล์ม (Film Pulling Speed) ช่วง 200 - 240 rpm และอุณหภูมิหล่อเย็นฟิล์ม 15 - 50 องศาเซลเซียสต่อค่าความสามารถในการซึมผ่านแก๊สและไอน้ำของฟิล์มที่ได้ ผลการทดลองพบว่าการเติม TPEE ลงใน LDPE ในปริมาณที่มากขึ้นส่งผลให้ความสามารถในการซึมผ่านไอน้ำและแก๊สของ MAP Film มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะ TPEE มีความสามารถในการซึมผ่านไอน้ำและแก๊สสูงกว่า LDPE นอกจากนี้การเพิ่มอัตราเร็วในการดึงฟิล์มส่งผลทำให้ช่องว่าง (Void) บริเวณรอยต่อระหว่างวัฏภาคของ LDPE กับ TPEE กว้างขึ้น ส่งผลให้อัตราการซึมผ่านของไอน้ำและแก๊สเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ในทางกลับกัน การเพิ่มอุณหภูมิหล่อเย็นฟิล์มส่งผลให้เปอร์เซ็นต์ความเป็นผลึกของฟิล์มเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราการซึมผ่านของไอน้ำและแก๊สมีแนวโน้มลดลง ส่วนการทำนายเวลาที่แก๊สในถุงบรรจุภัณฑ์เข้าสู่สภาวะคงตัวและปริมาณแก๊สในถุงบรรจุภัณฑ์โดยใช้โปรแกรม MATLAB พบว่า ภายใต้สภาวะที่ศึกษา แก๊สในถุงบรรจุภัณฑ์เข้าสู่สภาวะคงตัวภายในเวลา 24 ชั่วโมง โดยที่ MAP Film ที่มีค่าความสามารถในการซึมผ่านแก๊สออกซิเจนสูงกว่า ทำให้ปริมาณแก๊สออกซิเจนภายในถุงบรรจุภัณฑ์ที่สภาวะคงตัวมีค่าสูงกว่าและในทางกลับกัน MAP Film ที่มีค่าความสามารถในการซึมผ่านแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่า ทำให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ภายในถุงบรรจุภัณฑ์ที่สภาวะคงตัวมีค่าน้อยกว่า


การจัดการความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดโดยใช้แบตเตอรี่เพื่อปรับปรุงแรงดันตกในระบบจำหน่ายไฟฟ้าขณะมียานยนต์ไฟฟ้า, พิทยุตม์ ภิรมย์จิตต์ Jan 2018

การจัดการความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดโดยใช้แบตเตอรี่เพื่อปรับปรุงแรงดันตกในระบบจำหน่ายไฟฟ้าขณะมียานยนต์ไฟฟ้า, พิทยุตม์ ภิรมย์จิตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาระบบสำรองพลังงานโดยใช้แบตเตอรี่ เพื่อปรับลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือจากระบบไฟฟ้าภายนอก ในขณะที่มียานยนต์ไฟฟ้าต่อเข้ากับระบบ และปรับปรุงแรงดันตกขณะที่มียานยนต์ไฟฟ้าต่อเข้ากับระบบ รวมไปถึงจำลองขนาดที่เหมาะสมของแบตเตอรี่ที่นำมาติดตั้งในระบบไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับปรับลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดและกำหนดให้แรงดันอยู่ในช่วงที่กำหนดเพื่อปรับปรุงปัญหาแรงดันตก โดยพิจารณาการติดตั้งแบตเตอรี่เพียงจุดเดียวเท่านั้น ผลจากการจำลองแบบจะแบ่งการพิจารณาออกเป็นกรณีประจุไฟฟ้าให้กับยานยนต์ไฟฟ้าที่ระดับแรงดันต่ำ 240 โวลต์ ที่ใช้การประจุไฟฟ้ากระแสสลับระดับที่หนึ่ง และกรณีประจุไฟฟ้าให้กับยานยนต์ไฟฟ้าที่ระดับแรงดันปานกลาง 24.9 กิโลโวลต์ ที่ใช้การประจุไฟฟ้ากระแสสลับระดับที่หนึ่งและสองร่วมกัน โดยจำลองคุณลักษณะยานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่รวมไปถึงการวิเคราะห์การไหลของกำลังไฟฟ้า และจำลองหาขนาดของแบตเตอรี่ที่เหมาะสมโดยทดสอบติดตั้งระบบสำรองพลังงาน 3 ตำแหน่งที่แตกต่างกันได้แก่ ตำแหน่งต้นสายจำหน่าย ที่บัส 820 ตำแหน่งกลางสายจำหน่าย ที่บัส 846 และ ตำแหน่งปลายสายจำหน่าย ที่บัส 888 ด้วยเทคนิคการจับกลุ่มข้อมูล ผ่านโปรแกรม MATPOWER 6.0 ร่วมกับโปรแกรม DIgSILENT PowerFactory 15.1 และแบ่งผลการทดสอบตามระดับ Penetration ที่ ร้อยละ 30, 40, 50 ตามลำดับ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ปริมาณยานยนต์ไฟฟ้าส่งผลกระทบกับระดับแรงดันไฟฟ้าตกในระบบจำหน่ายไฟฟ้า โดยเกิดจากการนำยานยนต์ไฟฟ้ามาเชื่อมต่อจากภาระชนิดที่อยู่อาศัยเพื่อประจุไฟฟ้าในช่วงเวลาเร่งด่วน โดยการติดตั้งระบบสำรองพลังงานโดยใช้แบตเตอรี่ เพียงตำแหน่งเดียวในระบบไฟฟ้า สามารถรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในขอบเขตได้ อย่างไรก็ตาม การติดตั้งแบตเตอรี่ในตำแหน่งที่ใกล้กับจุดที่มีโอกาสเกิดแรงดันตกได้มากนั้น ระบบดังกล่าวจะมีค่าดัชนีความรุนแรงระดับแรงดันตกที่สะท้อนความสามารถปรับปรุงระดับแรงดันตกได้ดีกว่าการติดตั้งแบตเตอรี่ในตำแหน่งที่ไกลกว่า


ระบบของไหลจุลภาคเพื่อดักจับเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรียด้วยแรงแม่เหล็กที่เหนี่ยวนำโดยโครงสร้างนิกเกิล, พชร หนูสวัสดิ์ Jan 2018

ระบบของไหลจุลภาคเพื่อดักจับเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรียด้วยแรงแม่เหล็กที่เหนี่ยวนำโดยโครงสร้างนิกเกิล, พชร หนูสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการคัดแยกเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรียโดยอาศัยแม่เหล็กถาวรพร้อมกับการใช้โครงสร้างเสานิกเกิลขนาดเล็กซึ่งเป็นวัสดุเฟอโรแมกนีติก เพื่อเพิ่มเกรเดียนของสนามแม่เหล็กโดยมีการศึกษาผลของรูปร่างโครงสร้างเสาขนาดเล็กต่อขนาดของแรงแมกนีโตเฟอรีติกและแรงต้านการไหลที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อมีโครงสร้างวัสดุเฟอโรแมกนีติกมาขวางในสนามแม่เหล็กจะทำให้เกิดเกรเดียนของสนามแม่เหล็กขึ้นและขนาดของเกรเดียนจะเปลี่ยนแปลงไปขึ้นกับรูปร่างของโครงสร้างเสาขนาดเล็ก โดยแรงแมกนีโตเฟอรีติกจะมีค่ามากขึ้นเมื่อเกรเดียนของสนามแม่เหล็กสูงขึ้น ในการศึกษานี้ได้ศึกษารูปร่างเสาขนาดเล็กสามรูปร่างคือสี่เหลี่ยม รูปวี และรูปดับเบิ้ลยูผ่านโปรแกรมจำลองทางคอมพิวเตอร์ COMSOL Multiphysics® เมื่อเปรียบเทียบระหว่างรูปร่างของเสาทั้งสามแบบพบว่าเสาสี่เหลี่ยมจะทำให้เกิดแรงแมกนีโตเฟอรีติกผลักให้อนุภาคไม่ติดกับโครงสร้างทางด้านหน้าแต่ในเสาวีและดับเบิ้ลยูจะมีแรงแมกนีโตเฟอรีติกที่ดึงดูดอนุภาคได้ ซึ่งจะเป็นข้อดีที่อาจจะทำให้เสาทั้งสองมีการดักจับอนุภาคได้ดีขึ้น หลังจากนั้นระบบของไหลจุลภาคที่มีโครงสร้างทั้งสามแบบได้ออกแบบและสร้างขึ้น โดยโครงสร้างเสานิกเกิลมีขนาด 200x200 ไมโครเมตร มีความสูง 30 ไมโครเมตร สำหรับโครงสร้างตัววีและดับเบิ้ลยูจะมีส่วนเว้าลึกเข้าไปในโครงสร้างประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวเสาและทำทดลองกับอนุภาคพาราแมกนีติกที่มีขนาด 5 และ 10 ไมโครเมตรและเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรียเพื่อประเมินความสามารถของระบบ ในการทดลองได้ใช้อัตราการไหลที่ 0.04 มิลลิลิตรต่อนาที และเพิ่มอัตราการไหลขึ้นไปเป็น 0.4 และ 0.8 มิลลิลิตรต่อนาที ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าเสาวีและเสาดับเบิ้ลยูมีความสามารถในการดักจับอนุภาคพาราแมกนีติกและเซลล์ที่ติดเชื้อมาลาเรียได้มากกว่ารูปร่างสี่เหลี่ยม ซึ่งอนุภาคพาราแมกนีติกและเซลล์ที่ติดเชื้อมาลาเรียจะเคลื่อนที่เข้าไปติดในบริเวณส่วนเว้าของรูปร่างวีและรูปร่างดับเบิ้ลยู เนื่องจากในบริเวณส่วนเว้าของเสาวีและดับเบิ้ลยูมีขนาดแรงต้านการไหลต่ำแต่มีแรงแมกนีโตเฟอรีติกที่สามารถดึงดูดอนุภาคได้


สมการเชิงประจักษ์สำหรับความแข็งเกร็งของคู่เฟืองตรงด้วยผลจากระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, ทิวา นันตะภักดิ์ Jan 2018

สมการเชิงประจักษ์สำหรับความแข็งเกร็งของคู่เฟืองตรงด้วยผลจากระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, ทิวา นันตะภักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความแข็งเกร็งของเฟืองตรงเป็นพารามิเตอร์สำคัญที่ใช้ในการศึกษาการสั่นสะเทือนของเฟือง หากทราบค่าที่แม่นยำจะสามารถนำไปใช้ในแบบจำลองเพื่อทำนายลักษณะการสั่นสะเทือนของเฟืองตรงได้อย่างถูกต้อง การหาความแข็งเกร็งของเฟืองตรงโดยส่วนใหญ่มักใช้วิธีการวิเคราะห์ หรือใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ถึงแม้ว่าวิธีเหล่านี้จะสามารถใช้หาค่าความแข็งเกร็งได้ แต่เนื่องจากการคำนวณโดยวิธีการวิเคราะห์มีความซับซ้อน ส่วนการคำนวณด้วยโปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์มีความยากลำบากในการจัดการสัมผัสของฟันเฟืองและใช้เวลาคำนวณมาก วิธีทั้งสองจึงยังไม่สะดวกในการนำไปใช้งานจริง ในวิทยานิพนธ์นี้จึงมีเป้าหมายที่จะสร้างสมการอย่างง่ายเพื่อคำนวณค่าความแข็งเกร็งของเฟืองตรง สมการที่สร้างขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) สมการคำนวณความแข็งเกร็งส่วนทรงกระบอกเฟือง ซึ่งสร้างโดยใช้สมการพื้นฐานกลศาสตร์ของแข็ง และ 2) สมการคำนวณความแข็งเกร็งของคู่ฟันเฟือง ซึ่งสร้างโดยใช้ผลการคำนวณพื้นฐานจากระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ การสร้างสมการในส่วนที่ 2 ทำโดยเลือกพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับความแข็งเกร็งของฟันเฟือง และจัดรูปแบบสมการให้เหมาะสม ต่อจากนั้นหาความสัมพันธ์ของความแข็งเกร็งของฟันเฟืองที่มีพารามิเตอร์รูปร่างต่างๆ กับตำแหน่งการขบด้วยวิธีการถดถอยแบบพหุนาม โดยใช้ข้อมูลผลการคำนวณด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ของชุดเฟืองจำนวน 8 ชุดที่มีพารามิเตอร์แตกต่างกัน และมีภาระกระทำต่างๆ กัน ความแข็งเกร็งของคู่เฟืองหาได้โดยรวมความแข็งเกร็งทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันแบบอนุกรม การตรวจสอบความแม่นยำของสมการที่สร้างขึ้นทำโดยเปรียบเทียบความแข็งเกร็งที่คำนวณได้กับผลจากระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ โดยเปรียบเทียบทั้งกรณีความแข็งเกร็งของชุดเฟืองตั้งต้นที่ใช้สร้างสมการ และชุดเฟืองอื่นที่มีค่าพารามิเตอร์ต่างจากชุดเฟืองตั้งต้น รวมทั้งตรวจสอบผลกับงานวิจัยอื่นด้วย ผลที่ได้พบว่าค่าความแข็งเกร็งที่ได้มีค่าใกล้เคียงกัน และมีความคลาดเคลื่อนสูงสุดไม่เกิน 10% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสมการที่สร้างขึ้นสามารถทำนายค่าความแข็งเกร็งได้อย่างถูกต้องและสามารถนำไปใช้กับคู่เฟืองอื่นๆ ได้


การวิเคราะห์สมรรถนะของเซลล์เชื้อเพลิงชนิดออกไซด์ของแข็งที่ใช้ก๊าซที่ระบายออกจากระบบสำหรับการผลิตไฟฟ้า, จุฑามาศ ไชยชาญสกุล Jan 2018

การวิเคราะห์สมรรถนะของเซลล์เชื้อเพลิงชนิดออกไซด์ของแข็งที่ใช้ก๊าซที่ระบายออกจากระบบสำหรับการผลิตไฟฟ้า, จุฑามาศ ไชยชาญสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ก๊าซที่ถูกปล่อยออกมาจากหอเผาทิ้งในกระบวนการผลิตปิโตรเลียมและปิโตรเคมีส่วนใหญ่มีองค์ประกอบที่เป็นก๊าซเรือนกระจก ปัจจุบันได้มีการศึกษาเพื่อลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซจากหอเผาทิ้ง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกและการสูญเสียพลังงานจากการเผาไหม้ก๊าซในหอเผาทิ้งอีกด้วย งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการนำก๊าซทิ้งที่ระบายออกจากกระบวนการผลิตที่ผ่านกระบวนการรีฟอร์มมิงกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยใช้เซลล์เชื้อเพลิงชนิดออกไซด์แข็ง แบบจำลองระบบเซลล์เชื้อเพลิงที่ใช้ก๊าซทิ้งจากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งมีก๊าซ ไฮโดรเจน และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบหลัก ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรมจำลองกระบวนการ แอสเพน พลัส แบบจำลองระบบเซลล์เชื้อเพลิงที่ได้ถูกนำมาใช้ในการศึกษาผลของสภาวะการดำเนินงานของระบบเซลล์เชื้อเพลิง ที่มีต่อประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงในก๊าซทิ้ง การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์เชื้อเพลิง และความสามารถในการลดปริมาณก๊าซทิ้งที่ระบายออกจากกระบวนการผลิตที่จะส่งไปยังหอเผาทิ้ง จากการวิจัยพบว่ากระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำที่มีค่าสัดส่วนคาร์บอนต่อไอน้ำเป็น 2.5 สารมารถเปลี่ยนรูปก๊าซทิ้งที่ระบายอออกจากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมเป็นก๊าซไฮโดรเจนได้สูงกว่ากระบวนการอื่น ซึ่งมีประสิทธิภาพในการผลิตคือร้อยละ 27.37 ที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส ในขณะที่กระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิต่ำที่มีค่าสัดส่วนไอน้ำต่อคาร์บอนเป็น 0.7 และกระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหมาะสำหรับการเปลี่ยนรูปก๊าซทิ้งจากกระบวนการกลั่นน้ำมันให้เป็นก๊าซมีเทน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการผลิตคือร้อยละ 69.02 และ 59.99 ที่อุณหภูมิ 300 และ 760 องศาเซลเซียสตามลำดับ ก๊าซทิ้งจากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมที่ผ่านกระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิต่ำสามารถผลิตพลังงานงานไฟฟ้าได้ดีที่สุด (1472.68 kW) และมีประสิทธิภาพทางไฟฟ้าของเซลล์เชื้อเพลิงคือร้อยละ 32.30 โดยการป้อนก๊าซทิ้งจากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมปริมาณ 435 กิโลกรัมต่อชั่วโมง เข้าไปในกระบวนการและสามารถลดการการปลดปล่อยปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ของหอเผาทิ้งได้สูงถึงร้อยละ 76.76 และ 76.38 ตามลำดับ


การจําแนกรอยโรควัณโรคปอดด้วยโครงข่ายแคปซูล, ตะวันส่องแสง การย์กวินพงศ์ Jan 2018

การจําแนกรอยโรควัณโรคปอดด้วยโครงข่ายแคปซูล, ตะวันส่องแสง การย์กวินพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการจำแนกภาพทางการแพทย์ได้มีการขยายตัวเติบโตเป็นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โครงข่ายประสาทคอนโวลูชันหรือซีเอ็นเอ็นเป็นหนึ่งในหลายแบบจำลองสมรรถนะสูงที่รู้จักกันดีสำหรับการจำแนกและการแบ่งส่วนภาพ งานวิจัยนี้เสนอแนวคิดการใช้คอมพิวเตอร์ที่สามารถช่วยวินิจฉัยในเบื้องต้นการติดเชื้อวัณโรค ผู้วิจัยได้ปรับแต่งสถาปัตยกรรมซีเอ็นเอ็นสามโครงสร้างประกอบด้วย อเล็กซ์เน็ต วีจีจี-16 และ แคปส์เน็ต เพื่อจำแนกรอยโรควัณโรคบนภาพเอกซเรย์ทรวงอกหรือซีเอกซ์อาร์ที่ได้มาจากไลบรารีทางการแพทย์แห่งชาติและชุดข้อมูลไทยส่วนตัว ตัววัดที่ใช้ประเมินสมรรถนะตัวจำแนกประเภททั้งสาม ได้แก่ ความแม่นยำ ความไว และความจำเพาะ การทดสอบแบบจำลองทั้งสามบนชุดข้อมูลที่เพิ่มจำนวนด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบสับเปลี่ยนให้ผลลัพธ์ค่าความแม่นยำที่เพิ่มขึ้นทุกแบบจำลอง นอกจากนี้ ยังได้มีการประเมินสมรรถนะแบบจำลองบนชุดข้อมูลที่เพิ่มจำนวนตัวอย่างด้วยการหมุนภาพ เนื่องจากในความเป็นจริงภาพซีเอกซ์อาร์อาจไม่ได้ตั้งตรงในแนวดิ่ง ผลการประเมินพบว่า แคปส์เน็ตให้ค่าตัววัดที่ดีกว่าแบบจำลองอเล็กซ์เน็ต และวีจีจี-16 เมื่อทำนายภาพแอฟฟีน


พฤติกรรมสถิตของรอยต่อแบบทาบเดี่ยวระหว่างเหล็กและพอลิเมอร์เสริมเส้นใยที่ยึดเหนี่ยวด้วยวัสดุประสาน, บารมี กุลเกียรติอนันต์ Jan 2018

พฤติกรรมสถิตของรอยต่อแบบทาบเดี่ยวระหว่างเหล็กและพอลิเมอร์เสริมเส้นใยที่ยึดเหนี่ยวด้วยวัสดุประสาน, บารมี กุลเกียรติอนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การยึดเหนี่ยวระหว่างพอลิเมอร์เสริมเส้นใยและผิวเหล็กเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของ การเสริมกำลังภายนอกด้วยวัสดุพอลิเมอร์เสริมเส้นใย งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กและ แผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน ประกอบด้วยกำลังยึดเหนี่ยว ความยาวยึดเหนี่ยวประสิทธิผล พลังงาน ต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัส และรูปแบบการวิบัติ โดยทำการทดสอบรอยต่อแบบทาบเดี่ยว (เหล็กรูปตัวเอช ขนาด 150×150×7×10 มม. ยึดติดกับแผ่น CFRP ด้วยวัสดุเชื่อมประสาน) จำนวน 17 ตัวอย่าง ตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วย ความยาวของระยะยึดเหนี่ยว (75, 150, 250,และ 400 มม.) ขนาดรอยร้าวที่ผิว (0, 25, และ 50 มม.) อัตราส่วนสติฟเนสของเหล็กต่อวัสดุพอลิเมอร์เสริมเส้นใย (5.33 และ 8.21) และผลของอีพอกซีบนรอยร้าว เริ่มต้น จากผลการทดสอบพบว่า ค่ามอดุลัสยืดหยุ่นของ FRP มีผลทำให้กำลังยึดเหนี่ยวลดลง 18% ระยะยึด เหนี่ยวประสิทธิผลเพิ่มขึ้น 21% และพลังงานต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัสลดลง 59% รอยร้าวเริ่มต้นที่ยาวขึ้น มีผลทำให้กำลังยึดเหนี่ยวลดลง 15% ระยะยึดเหนี่ยวประสิทธิผลเพิ่มขึ้น 7% และพลังงานต้านทานการแตกหักที่ ผิวสัมผัสลดลง 9% อีกทั้งอีพอกซีบนรอยร้าวเริ่มต้นมีผลทำให้กำลังยึดเหนี่ยวลดลง 2% แต่ไม่มีผลอย่างเห็นได้ ชัดต่อระยะยึดเหนี่ยวประสิทธิผล และพลังงานต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัสลดลง 22% ประเภทการวิบัติของ ชิ้นงานไม่มีข้อสังเกตอย่างเห็นได้ชัดต่อผลของรอยร้าวเริ่มต้นแต่อัตราส่วนสติฟเนสมีผลทำให้การวิบัติของบาง ชิ้นงานเปลี่ยนไปจากการวิบัติระหว่างผิวอีพอกซีและแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยเป็นแบบวิบัติระหว่างผิวอีพอกซี และแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยผสมวิบัติจากการหลุดล่อนของแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใย นอกจากนี้ผลของการใช้ สมการทำนายกำลังยึดเหนี่ยวสูงสุดและระยะยึดเหนี่ยวประสิทธิผลได้ทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกับผลทดสอบ