Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Health and Physical Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Theses/Dissertations

2021

Discipline
Institution
Keyword
Publication

Articles 91 - 93 of 93

Full-Text Articles in Health and Physical Education

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคช่วยจำที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2, วรกุล นนทรักส์ Jan 2021

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคช่วยจำที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2, วรกุล นนทรักส์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยการใช้เทคนิคช่วยจำ และ2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคช่วยจำ และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ที่เรียนวิชากระบี่กระบองภาคเรียนที่ 2 จำนวน 56 คน แบ่งกลุ่มโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยการจับฉลากเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 28 คน กลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคช่วยจำ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองด้านความรู้ ด้านเจตคติ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านทักษะ และด้านสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองด้านความรู้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านเจตคติ และด้านทักษะของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคช่วยจำสูงขึ้นกว่าก่อนการได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคช่วยจำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านความรู้ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านเจตคติ ด้านทักษะ(ไม้รำที่ 5-8) ด้านสมรรถภาพทางกาย นักเรียนเพศหญิงกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในรายการความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว และความทนทานของระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจ ส่วนนักเรียนเพศชายไม่มีความแตกต่างกัน


การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการตั้งคำถามแบบโสเครติสเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศิริลักษณ์ ไทยพงษ์ Jan 2021

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการตั้งคำถามแบบโสเครติสเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศิริลักษณ์ ไทยพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและของนักเรียนกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 60 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการตั้งคำถามแบบโสเครติสจำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการตั้งคำถามแบบโสเครติส จำนวน 8 แผน และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ หลังการทดลองของกลุ่มควบคุมแตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านเจตคติ การปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังการทดลองของกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, อารักษ์ มุ่งหมาย Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, อารักษ์ มุ่งหมาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ ศึกษาระดับการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนมัธยมศึกษา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ กับแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนมัธยมศึกษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนมัธยมศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 600 คนจากนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสุ่มด้วยวิธีแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายการทดสอบไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารอยู่ในระดับน้อย การรับรู้และทัศนคติระดับปานกลาง และแนวโน้มพฤติกกรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในระดับมาก ด้านความสัมพันธ์กับปัจจัยลักษณะทั่วไป: การเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์กับ ระดับชั้น พฤติกรรมการสูบบุหรี่ธรรมดา และรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง การรับรู้มีความสัมพันธ์รายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับระดับชั้น พฤติกรรมการสูบบุหรี่ธรรมดา และรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านระดับชั้น ด้านอายุ ด้านพฤติกรรมการสูบบุหรี่ธรรมดาและปัจจัยด้านรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครองด้านความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า: การเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์เชิงลบขนาดต่ำ (r =-0.12) การรับรู้ไม่มีความสัมพันธ์ (r = 0.00) และทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกขนาดกลาง (r = 0.65)