Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Administration and Supervision Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2020

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 50

Full-Text Articles in Educational Administration and Supervision

แนวทางการพัฒนาครูกลุ่มโรงเรียนลาซาลในประเทศไทย ตามกรอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, พงษ์พัฒน์ คาโสจันทร์ Jan 2020

แนวทางการพัฒนาครูกลุ่มโรงเรียนลาซาลในประเทศไทย ตามกรอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, พงษ์พัฒน์ คาโสจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูกลุ่มโรงเรียนลาซาลในประเทศไทย ตามกรอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาครูกลุ่มโรงเรียนลาซาลในประเทศไทย ตามกรอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียนลาซาลโชติรวีนครสวรรค์ โรงเรียนลาซาลจันทบุรี (มารดาพิทักษ์) โรงเรียนลาซาล และโรงเรียนลาซาลสังขละบุรี ปีการศึกษา 2563 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร ครูระดับปฐมวัย ครูระดับประถมศึกษา ครูระดับมัธยมศึกษา จำนวน 243 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูกลุ่มโรงเรียนลาซาลในประเทศไทยตามกรอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีลำดับความต้องการจำเป็นจากสูงไปหาต่ำ คือ ด้านการใช้ทักษะดิจิทัล (PNI [Modified] = 0.325) ด้านการจัดการและการบริหาร (PNI [Modified] = 0.298) ด้านการจัดการเรียนการสอน (PNI [Modified] = 0.286) ด้านการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู (PNI [Modified] = 0.280) ด้านความเข้าใจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการศึกษา (PNI [Modified] = 0.274) และด้านหลักสูตรและการประเมิน (PNI [Modified] = 0.264) ตามลำดับ และรูปแบบและวิธีการพัฒนาครู พบว่า การพัฒนาในระหว่างปฏิบัติงานมีผู้เลือกตอบ ร้อยละ 54.887 และวิธีการพัฒนาครู 3 ลำดับที่มีค่าร้อยละสูงสุด รูปแบบการพัฒนาในระหว่างปฏิบัติงาน คือ การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (ร้อยละ 20.646) รูปแบบการพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน คือ การอบรมสัมมนา …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ตามแนวคิดกรอบความคิดแบบเติบโต, เมียวดี ดีพูน Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ตามแนวคิดกรอบความคิดแบบเติบโต, เมียวดี ดีพูน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ตามแนวคิดกรอบความคิดแบบเติบโต 2) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ตามแนวคิดกรอบความคิดแบบเติบโต ประชากร คือ โรงเรียนกลุ่มที่ 5 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 11 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย จำนวน 285 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูโรงเรียนกลุ่มที่ 5 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีวัดความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นสูงสุดของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ตามแนวคิดกรอบความคิดแบบเติบโต คือการพัฒนาหลักสูตร (PNI [modified] = 0.321) รองลงมา คือ การเรียนการสอน (PNI [modified] = 0.312) และวัดและประเมินผล (PNI [modified] = 0.307) ตามลำดับ ซึ่งการบริหารวิชาการทั้งหมดมีองค์ประกอบของกรอบความคิดแบบเติบโต ที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การเรียนรู้จากคำวิพากษ์วิจารณ์ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชากาโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ตามแนวคิดกรอบความคิดแบบเติบโต มีทั้งหมด 3 แนวทางหลัก 6 แนวทางย่อย และ 19 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียงลำดับตามความต้องการจำเป็น ดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตโดยเน้นด้านการเรียนรู้จากคำวิพากษ์วิจารณ์ ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย 7 …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท ตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม, เรวัตร อยู่เกิด Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท ตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม, เรวัตร อยู่เกิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาทตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกจังหวัดชัยนาทตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาทและผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท รวมทั้งสิ้นจำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ฐานนิยม และใช้เทคนิคดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาทที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร รองลงมา คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ การวัดและประเมินผล ตามลำดับ ซึ่งองค์ประกอบทักษะทางพฤติกรรมที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ความมั่นคงทางอารมณ์ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาทตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 3 อันดับมีทั้งหมด 3 แนวทาง ดังนี้ (1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ ทักษะทางพฤติกรรมความมั่นคงทางอารมณ์ (2) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ทักษะทางพฤติกรรมด้านความมั่นคงทางอารมณ์ (3) พัฒนาการวัดและประเมินตามสภาพจริงที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ทักษะทางพฤติกรรมด้านความมั่นคงทางอารมณ์


แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามแนวคิดพลังสุขภาพจิต, นรารัตน์ หงษ์สกุล Jan 2020

แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามแนวคิดพลังสุขภาพจิต, นรารัตน์ หงษ์สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามแนวคิดพลังสุขภาพจิต และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามแนวคิดพลังสุขภาพจิต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี 4 โรงเรียน และมีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งสิ้นจำนวน 207 คน ผู้บริหาร จำนวน 21 คน ครูและบุคลากรจำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม และใช้ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามแนวคิดพลังสุขภาพจิตที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยมีคุณลักษณะพลังสุขภาพจิต ด้านการมีศักยภาพในการแก้ปัญหาเป็นคุณลักษณะที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นรองลงมาคือ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยมีคุณลักษณะพลังสุขภาพจิต ด้านการปรับตัวและยืดหยุ่นเป็นคุณลักษณะที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด และการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ลำดับที่ 3 คือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน โดยมีคุณลักษณะพลังสุขภาพจิต ด้านการมีศักยภาพในการแก้ปัญหาเป็นคุณลักษณะที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด และ 2) แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามแนวคิดพลังสุขภาพจิต ประกอบด้วย 3 แนวทาง โดยเรียงตามลำดับความต้องการจำเป็น ได้แก่ (1) พัฒนาวิธีการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลที่เน้นพลังสุขภาพจิต ด้านการมีศักยภาพในการแก้ปัญหา (2) พัฒนาระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนที่เน้นพลังสุขภาพจิต ด้านการปรับตัวและการมีความยืดหยุ่น (3) ยกระดับการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่เน้นพลังสุขภาพจิต ด้านการมีศักยภาพในการแก้ปัญหา


แนวทางพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดการให้บริการที่เป็นเลิศ, สุนิสา ยาไทย Jan 2020

แนวทางพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดการให้บริการที่เป็นเลิศ, สุนิสา ยาไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดการให้บริการที่เป็นเลิศ โดยการเก็บข้อมูลจากบุคลากรสายปฏิบัติการในหลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท รวมจำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้ดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI [Modified]) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดการให้บริการที่เป็นเลิศ พบว่า สภาพปัจจุบันของการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยที่สูงที่สุด คือ การมุ่งมั่นพัฒนาผลการปฏิบัติงานและด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การปฏิบัติงานที่บรรลุเป้าหมายและความคาดหวังอย่างต่อเนื่อง และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการกการศึกษา หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดการให้บริการที่เป็นเลิศ เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การแสวงหาคำท้ายท้ายใหม่ ๆ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การมุ่งมั่นพัฒนาผลการปฏิบัติงานและความมุ่งมั่นสร้างความเป็นเลิศในระดับมหาวิทยาลัย 2. แนวทางพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดการให้บริการที่เป็นเลิศ ประกอบด้วย 2 แนวทางดังนี้ 1) การพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สามารถปฏิบัติงานที่บรรลุเป้าหมายและความคาดหวังอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษาในระหว่างการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการให้คำปรึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการสอนงาน 2) การพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้สามารถแสวงหาความท้าทายใหม่ ๆ ด้วยการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษานอกเวลาการปฏิบัติและในระหว่างการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการศึกษาดูงาน


กลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์, เทพสุดา เมฆวิลัย Jan 2020

กลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์, เทพสุดา เมฆวิลัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการและสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ และ 3) พัฒนา กลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ ใช้ระเบียบวิธีผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Design) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data Collection) ร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data Collection) กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 42 เขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 342 โรงเรียน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดการบริหารวิชาการและแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ 2. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ 3. แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการใช้สถิติเชิงบรรยายคือ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การส่งเสริมและพัฒนาให้มีแหล่งเรียนรู้ และการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กรอบแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ ประกอบด้วย การพัฒนานักเรียนในด้านดังต่อไปนี้ 1) ความสงสัยใคร่รู้ (Curiosity) 2) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) 3) การวิพากษ์ (Criticism) 4) การสื่อสาร (Communication) 5) การร่วมมือ (Collaboration) 6) ความเห็นอกเห็นใจ (Compassion) 7) การตั้งสติ (Composure) 8) ความเป็นพลเมือง (Citizenship) 2. ความต้องการจำเป็นสูงสุดของการพัฒนาการบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์ คือ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก, อัมพิกา สิริพรม Jan 2020

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก, อัมพิกา สิริพรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนและกรอบแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Research) ที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากร คือโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จำนวน 194 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 131 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือผู้อำนวยการโรงเรียนและครูวิชาการโรงเรียน จำนวน 262 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนรู้ (3) การวัดและประเมินผล (4) การพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา กรอบแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก มี 7 สมรรถนะ ได้แก่ (1) สมรรถนะด้านการสื่อสาร (2) สมรรถนะด้านการคิดเชิงนวัตกรรม (3) สมรรถนะด้านการเป็นผู้ประกอบการ (4) สมรรถนะด้านการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ (5) สมรรถนะด้านวัฒนธรรมและความเป็นพลเมือง (6) สมรรถนะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารนเทศ (7) สมรรถนะด้านการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน 2) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกสูงที่สุด คือการพัฒนาหลักสูตร เมื่อพิจารณาเป็นรายสมรรถนะ สมรรถนะที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือสมรรถนะการคิดเชิงนวัตกรรม 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ (1) พลิกโฉมหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก มี 2 กลยุทธ์รอง 12 วิธีดำเนินการ (2) ปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก มี 2 กลยุทธ์รอง …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองโลก, นันทนา ชมชื่น Jan 2020

กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองโลก, นันทนา ชมชื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาและแนวคิดความเป็นพลเมืองโลก 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองโลก 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองโลก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบพหุระยะแบบผสานวิธี (Multiphase Mixed Methods Research) ประชากรได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2,358 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 339 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนละ 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและหัวหน้ากลุ่มสาระอื่นๆ โรงเรียนละ 2 คน และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและครูผู้สอนกลุ่มสาระอื่นๆ โรงเรียนละ 2 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นด้วยเทคนิค PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาหลักสูตร 2) การจัดการเรียนการสอน 3) การวัดผลและประเมินผล 4) การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กรอบแนวคิดความเป็นพลเมืองโลก ประกอบด้วย 1) ด้านความรู้ความเข้าใจ 2) ด้านอารมณ์ – สังคม 3) ด้านพฤติกรรม (2) สภาพปัจจุบันพบว่าอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และสภาพที่พึงประสงค์พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล (3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองโลก ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ 1) เร่งรัดพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดความเป็นพลเมืองโลก มี 2 กลยุทธ์รอง ได้แก่ 1.1) เพิ่มการกำหนดจุดมุ่งหมายและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองโลกด้านความรู้ความเข้าใจและด้านพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1.2) ส่งเสริมการนำผลการพัฒนาหลักสูตรไปใช้ในเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองโลกด้านความรู้ความเข้าใจและด้านพฤติกรรมตามสภาพเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป 2) ยกระดับการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองโลก มี …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ, อิฏฐิรา ทรงกิติพิศาล Jan 2020

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ, อิฏฐิรา ทรงกิติพิศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาและแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ 2) ศึกษาระดับสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ และ 4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยผสมวิธีพหุระยะ (Multi – phase Mixed Method Design Research) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 341 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานหลักสูตร ครูผู้สอน และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 4 งาน ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร (3) การวัดและประเมินผล และ (4) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ กรอบแนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 3 สมรรถนะหลัก 11 สมรรถนะย่อย ได้แก่ (1) สมรรถนะเชิงความสัมพันธ์ ประกอบด้วย 4 สมรรถนะย่อย ได้แก่ การมีจริยธรรมและความซื่อสัตย์ การมีความฉลาดทางอารมณ์และความรอบรู้ในตนเอง การยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม และการเป็นนักต่อรองที่มีประสิทธิภาพ (2) สมรรถนะเชิงงาน ประกอบด้วย 4 สมรรถนะย่อย ได้แก่ การสร้างนวัตกรรม การมีความสามารถทางสติปัญญา การมุ่งเน้นการปรับปรุง และการบริหารองค์การ และ (3) สมรรถนะการกำหนดภาพอนาคตที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย 3 สมรรถนะย่อย ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ …


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามเป้าประสงค์หลักของแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, สถาพร บุตรใสย์ Jan 2020

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามเป้าประสงค์หลักของแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, สถาพร บุตรใสย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาและเป้าประสงค์หลักของแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามและ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามเป้าประสงค์หลักของแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multi-phase Mixed Method Design Research) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก รวม 66 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาประกอบด้วย การวางแผน การนำแผนไปปฏิบัติ การติดตามและประเมินผล กรอบแนวคิดเป้าประสงค์หลักของแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย เป้าประสงค์ด้านผู้เรียน ด้านผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนากำลังคนสู่พื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ 2) จุดแข็งของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามเป้าประสงค์หลักของแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก คือ การนำแผนไปปฏิบัติในด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ จุดอ่อน คือ การติดตามและประเมินผลในด้านสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนากำลังคนสู่พื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ด้านผู้เรียน ด้านผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และการวางแผนในด้านสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนากำลังคนสู่พื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและด้านผู้เรียน ตามลำดับ โอกาสของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามเป้าประสงค์หลักของแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สภาพสังคมและชุมชน ภาวะคุกคาม คือ สภาพการเมืองและนโยบายของรัฐ และสภาพเศรษฐกิจ 3) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามเป้าประสงค์หลักของแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก 9 กลยุทธ์รอง และ 31 วิธีดำเนินการ โดยกลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย (1) พลิกโฉมการพัฒนาผู้เรียนที่มุ่งเน้นความรู้อุตสาหกรรมใหม่ ทักษะภาษาต่างประเทศที่สองเพื่อการสื่อสารและทักษะการสร้างนวัตกรรม (2) ยกระดับการพัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มุ่งเน้นความรู้อุตสาหกรรรมใหม่และศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับการปฏิบัติจากสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลอง และ (3) สร้างภาคีเครือข่ายการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ความเป็นเมืองอุตสาหกรรมใหม่


การพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดทักษะภาวะผู้นำในอนาคต, จินดา สรรประสิทธิ์ Jan 2020

การพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดทักษะภาวะผู้นำในอนาคต, จินดา สรรประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาและทักษะภาวะผู้นำในอนาคต 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดทักษะภาวะผู้นำในอนาคต และ 3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดทักษะภาวะผู้นำในอนาคต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 388 แห่ง และ โรงเรียนต้นแบบการเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำ จำนวน 3 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบประเมินกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดทักษะภาวะผู้นำในอนาคต 3) แบบสัมภาษณ์โรงเรียนต้นแบบ และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างนวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดทักษะภาวะผู้นำในอนาคต วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย (1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (2) การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และ (3) การพัฒนาการวัดและประเมินผล กรอบแนวคิดทักษะภาวะผู้นำในอนาคต ประกอบด้วย การพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้มีทักษะต่อไปนี้ (1) ทักษะการสร้างความมั่นใจในตนเอง (2) ทักษะการปรับตัว (3) ทักษะการสร้างความไว้วางใจ (4) ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล (5) ทักษะการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ (6) ทักษะการสร้างแรงบันดาลใจ (7) ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (8) ทักษะการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (9) ทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และ (10) ทักษะการสร้างนวัตกรรมบนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม 2) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดทักษะภาวะผู้นำในอนาคต โดยภาพรวม อยู่ในระดับสูง (PNImodified = 0.108) ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นพบว่า การบริหารงานวิชาการด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาการวัดและประเมินผล (PNImodified = 0.127) รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (PNImodified = 0.117) …


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามแนวคิดทักษะนวัตกรสังคม, ภาณุภัทร ลิ้มจำรูญ Jan 2020

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามแนวคิดทักษะนวัตกรสังคม, ภาณุภัทร ลิ้มจำรูญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศและแนวคิดทักษะนวัตกรสังคม 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามแนวคิดทักษะนวัตกรสังคม และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามแนวคิดทักษะนวัตกรสังคม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase mixed methods design) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และวิธีการผสมวิธี (Mixed methods research) ตัวอย่างประชากรเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่เปิดสอนชั้น ม.1 - ม.6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 92 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารสู่ความเป็นเลิศประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ การนำองค์กร กลยุทธ์ นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ บุคลากร การปฏิบัติการ และผลลัพธ์ ส่วนกรอบแนวคิดทักษะนวัตกรสังคมประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ การประสานงานอย่างจริงจัง การคิดเชิงระบบ การเปลี่ยนแปลงสังคมที่เข้าใจและเห็นใจผู้อื่น และการเป็นผู้ประกอบการโดยผ่านการประเมินความเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามแนวคิดทักษะนวัตกรสังคม มี 3 ประการ ได้แก่ (1) การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศมีจุดอ่อน 4 ด้าน คือ การปฏิบัติการ ผลลัพธ์ กลยุทธ์ และบุคลากร และจุดแข็งมี 3 ด้าน คือ การวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการนำองค์กร ตามลำดับ …


รูปแบบโรงเรียนผลิตภัณฑ์พลาสติกตามแนวคิดโรงงานแห่งการเรียนรู้และเศรษฐกิจพลาสติกใหม่, พิชญา ชูเอกวงศ์ Jan 2020

รูปแบบโรงเรียนผลิตภัณฑ์พลาสติกตามแนวคิดโรงงานแห่งการเรียนรู้และเศรษฐกิจพลาสติกใหม่, พิชญา ชูเอกวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดโรงงานแห่งการเรียนรู้ และแนวคิดเศรษฐกิจพลาสติกใหม่ 2) ศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของโรงเรียนผลิตภัณฑ์พลาสติกตามแนวคิดโรงงานแห่งการเรียนรู้ และเศรษฐกิจพลาสติกใหม่ และ 3) พัฒนารูปแบบโรงเรียนผลิตภัณฑ์พลาสติกตามแนวคิดโรงงานแห่งการเรียนรู้ และเศรษฐกิจพลาสติกใหม่ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพตามขั้นตอนการคิดออกแบบ ผู้ให้ข้อมูลเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา ผู้อำนวยการ อาจารย์ผู้สอน ผู้เรียนอาชีวศึกษาด้านพลาสติก ผู้ประกอบการโรงงานผลิตภัณฑ์พลาสติก และสถาบันพลาสติก นักวิจัยและผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบ และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดโรงงานแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วย (1) รูปแบบการดำเนินการ (2) จุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมาย (3) ผลิตภัณฑ์ (4) กระบวนการผลิต (5) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (6) การสอน ส่วนกรอบแนวคิดเศรษฐกิจพลาสติกใหม่ ประกอบด้วย (1) การออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกใหม่ที่ไม่ใช้หรือลดการใช้พลาสติกโดยไม่จำเป็น (2) การออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ซ้ำได้ (3) การออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่รีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ (4) ผู้ผลิตและผู้ขายบรรจุภัณฑ์พลาสติกมีความรับผิดชอบในการทำให้เกิดการใช้ซ้ำ รีไซเคิล หรือการย่อยสลาย (5) การออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกโดยใช้ทรัพยากรที่ไม่หมดสิ้นหรือใช้แล้วใช้ใหม่ได้ (6) การออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ปลอดสารเคมีอันตราย มีความปลอดภัย ไม่เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และเคารพในสิทธิความเป็นมนุษย์ของผู้เกี่ยวข้อง 2) สภาพที่พึงประสงค์ของโรงเรียนผลิตภัณฑ์พลาสติกมี 6 ประการ (1) รูปแบบการดำเนินการ โดยสถาบันพลาสติก สอนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค แหล่งเงินทุนจากภายนอกในช่วงแรก ตามด้วยเงินทุนภายในจากการขายสินค้าและการเก็บค่าเรียนหลักสูตรเมื่อมีความพร้อม (2) จุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมาย คือ การจัดการศึกษาผู้เรียนระดับปวส. และการฝึกอบรมบุคลากรกลุ่มพนักงาน/ช่างเทคนิค ผู้ประกอบการ และบุคคลที่สนใจ (3) ผลิตภัณฑ์ที่ผลิต ต้องรีไซเคิลได้ มีอยู่ในตลาดทั่วไป นำไปใช้ได้จริง และสามารถขาย สร้างรายได้ (4) กระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยการผลิตเป็นล็อตหรือผลิตต่อเนื่อง (5) สภาพแวดล้อม เป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติพร้อมกับการใช้ดิจิทัลสนับสนุน …


แนวทางพัฒนาการบริหารงานการให้บริการช่วยเหลือเด็กพิการตามแนวคิดการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโรงเรียนเรียนร่วม, มนัชญา แก้วอินทรชัย Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารงานการให้บริการช่วยเหลือเด็กพิการตามแนวคิดการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโรงเรียนเรียนร่วม, มนัชญา แก้วอินทรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานการให้บริการช่วยเหลือเด็กพิการ ตามแนวคิดการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโรงเรียนเรียนร่วม 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานการให้บริการช่วยเหลือเด็กพิการตามแนวคิดการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโรงเรียนเรียนร่วม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ และผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และข้าราชการครู จำนวน 386 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ฐานนิยม และใช้เทคนิคดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การพัฒนาการบริหารงานการให้บริการช่วยเหลือเด็กพิการที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด 3 ลำดับแรก คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ รองลงมา คือ การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและการส่งต่อ และการให้บริการเตรียมความพร้อมและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการสอน (IIP) ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานการให้บริการช่วยเหลือเด็กพิการตามแนวคิดการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโรงเรียนเรียนร่วม โดยนำเสนอตามลำดับที่มีความต้องการจำเป็นสูงเป็น 3 อันดับแรก มีทั้งหมด 3 แนวทางดังนี้ (1) พัฒนาการเก็บรวบรวมข้อมูลของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ทางด้านอารมณ์ การจูงใจและ บุคลิกภาพ (2) ส่งเสริมการนิเทศติดตาม ประเมินผล และการส่งต่อ ทางด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับเด็กพิการ (3) พัฒนาการให้บริการเตรียมความพร้อมและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการสอนให้สอดคล้องกับองค์ประกอบทางด้านสิ่งแวดล้อม


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวม, ฐิติพร แต่งพลกรัง Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวม, ฐิติพร แต่งพลกรัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวม โดยใช้กรอบการบริหารวิชาการร่วมกับกรอบการศึกษาแบบเรียนรวม ผู้ให้ข้อมูล โรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 52 โรงเรียน แบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 52 คน ครู จำนวน 59 คน และนักเรียน จำนวน 93 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 204 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความครอบคลุมและความเหมาะสม (Item Objective Congruence: IOC) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โส่วนสภาพอันพึงประสงค์โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การวัดและประเมินผล (PNImodified = 0.513) 2) โดยตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวมด้านที่มีความต้องการจำเป็นพัฒนาสูงที่สุด คือ ด้านนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษและนักเรียนทั่วไปทุกคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางวิชาการ ทักษะการสื่อสารและทักษะทางสังคมดีขึ้นนักเรียนชอบไปโรงเรียนและมีความพึงพอใจในครูผู้สอนมากขึ้น รวมทั้งมีแรงจูงใจในการทำงานการเรียนและทัศนคติเชิงบวกมากขึ้น แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชาตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวม ที่มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง


แนวทางพัฒนาการบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล, เปมิกา ภาคแก้ว Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล, เปมิกา ภาคแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2. นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่จัดการเรียนการสอนถึงระดับประถมศึกษา จำนวน 328 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่จัดการเรียนการสอนถึงระดับประถมศึกษา จำนวน 181 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNIModified) ฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลด้านผลลัพธ์ที่มีความต้องการสูงสุด คือ ผลลัพธ์ด้านบุคลากร (PNIModified = 0.173) และกระบวนการบริหารความเป็นเลิศที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนานักเรียนด้านการเข้าถึงสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล (PNIModified = 0.162) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารความเป็นเลิศ ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล มี 6 แนวทางหลัก 14 แนวทางย่อย และ 67 วิธีดำเนินการ โดยเรียงตามลำดับดัชนีความต้องการจำเป็นดังนี้ (1) พัฒนานักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2) พัฒนาการวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ และ พัฒนาการปฏิบัติการ (3) พัฒนากลยุทธ์ (4) พัฒนาการนำองค์กร และ …


แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว, ปฏิญญา มุขสาร Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว, ปฏิญญา มุขสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive) ประชากร คือ โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 119 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครู รวมจำนวน 238 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว เมื่อพิจารณาตามขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ พบว่า ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษามีความต้องการจำเป็นสูงสุด (PNImodified = 0.508) รองลงมาเป็นด้านการวัดและประเมินผล (PNImodified = 0.500) ส่วนด้านการจัดการเรียนการสอน มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด (PNImodified= 0.496) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว ประกอบด้วย 1) พัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาที่บูรณาการสอดแทรกเนื้อหาและแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว มี 2 แนวทางย่อย 2) พัฒนาการนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะพลเมืองสีเขียว มี 2 แนวทางย่อย 3) พัฒนาแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว มี 2 แนวทางย่อย 4) พัฒนาการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะพลเมืองสีเขียว มี 2 แนวทางย่อย และ 5) ส่งเสริมให้มีการออกแบบสื่อการสอนที่มีความทันสมัย จัดให้มีการประกวดสื่อ และนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว มี 3 แนวทางย่อย


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะของคนในสังคม 5.0, อจลา ศิริเสรีวรรณ Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะของคนในสังคม 5.0, อจลา ศิริเสรีวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ และทักษะของคนในสังคม 5.0 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะของคนในสังคม 5.0 และ 3) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะของคนในสังคม 5.0 โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ประชากร คือ โรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 362 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 193 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าหรือรองหัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครู รวมทั้งสิ้น 579 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล กรอบแนวคิดทักษะของคนในสังคม 5.0 ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะดิจิทัล ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลการตีความและตอบสนองต่อความรู้และสารสนเทศ ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และสืบค้นทางวิทยาศาสตร์เพื่อการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ทักษะการบริหารจัดการคน และทักษะการค้นหาและสร้างคุณค่า 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะของคนในสังคม 5.0 อยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแยกรายด้าน พบว่า สภาพปัจจุบัน การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัลของคนในสังคม 5.0 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (ค่าเฉลี่ย = 3.734) และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลการตีความและตอบสนองต่อความรู้และสารสนเทศของคนในสังคม 5.0 มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (ค่าเฉลี่ย = 3.563) สภาพที่พึงประสงค์ การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ของคนในสังคม 5.0 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด …


แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้, อนงค์กาญจน์ ศรีจันทร์ Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้, อนงค์กาญจน์ ศรีจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล กรุงเทพมหานคร จำนวน 47 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน 43 คน ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 44 คน นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการนักเรียน 43 คน และผู้ปกครอง 43 คน รวมผู้ให้ข้อมูลจำนวน 173 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNIModified) และฐานนิยม (Mode) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้นั้น คือ การประเมินผลเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีความต้องการจำเป็นสูงสุด (PNIModified = 0.351) และ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ มี 3 แนวทางหลัก ได้แก่ แนวทางหลักที่ 1 พัฒนาการวางแผนที่มุ่งเน้นวิสัยทัศน์ของโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย 5 แนวทางรอง 17 วิธีดำเนินการ แนวทางหลักที่ 2 ยกระดับการนำแผนไปสู่การปฏิบัติที่มุ่งเน้นปรัชญาของโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย 3 แนวทางรอง 10 วิธีดำเนินการ และแนวทางหลักที่ 3 เร่งรัดการประเมินผลที่มุ่งเน้นวิสัยทัศน์ของโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย 4 แนวทางรอง 15 วิธีดำเนินการ


แนวทางพัฒนาพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกร, วิมลพร ปานดำ Jan 2020

แนวทางพัฒนาพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกร, วิมลพร ปานดำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะนวัตกร ของนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกร 3) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกร ประชากรในการวิจัย คือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหาร ครู และนักเรียน จำนวน 284 คน โดยแบ่งเป็น ผู้บริหาร สถานศึกษา จำนวน 14 คน ครูจำนวน 28 คน และนักเรียน จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบประเมินระดับสมรรถนะนวัตกรของนักเรียน แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกร และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ฐานนิยม และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการใช้เทคนิค (PNIModified) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ตามลำดับ (สภาพปัจจุบัน ค่าเฉลี่ย = 3.826) (สภาพที่พึงประสงค์ ค่าเฉลี่ย = 4.577) ด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ผู้อำนวยการเรียนรู้ (PNImodified = 0.222) รองลงมาคือ เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ (PNImodified = 0.210 ) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำสุดคือ คือ พื้นที่ (PNImodified =0.153) ระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะนวัตกร อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมุ่งความสำเร็จ (Mean =4.542) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2 อันสุดท้าย คือ ความกล้าเสี่ยง (Mean =3.442) และการคิดแก้ปัญหา (Mean =3.205) และ 3) แนวทางการพัฒนาพื้นที่นักประดิษฐ์อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก …


แนวทางใหม่ในการพัฒนาครูโรงเรียนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก, ดิษพล รุ่งโรจน์วรวัฒนา Jan 2020

แนวทางใหม่ในการพัฒนาครูโรงเรียนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก, ดิษพล รุ่งโรจน์วรวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกของครูโรงเรียนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูโรงเรียนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางใหม่ในการพัฒนาครูโรงเรียนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก งานวิจัยนี้มีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จำนวน37 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลงานวิจัยนี้มีทั้งหมด 616 คน แบ่งเป็น ผู้บริหารโรงเรียนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จำนวน 37 คน จาก 37 โรงเรียน หัวหน้าฝ่ายจิตตาภิบาลโรงเรียนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จำนวน 37 คน จาก 37 โรงเรียน ซึ่งเลือกแบบเจาะจง และครูโรงเรียนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โรงเรียนละ 15 คน รวมครูทั้งหมดเป็น 542 คน ซึ่งลดลงจากจำนวนที่ตั้งไว้ตอนแรก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกของครูโรงเรียนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูโรงเรียนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก และแบบประเมินความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางการใหม่ในการพัฒนาครูโรงเรียนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกแต่ละประการของครูโรงเรียนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดอยู่ในระดับมากเป็นส่วนใหญ่ และมีรายละเอียดแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 2) การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูโรงเรียนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ทำให้ทราบถึงลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกของครูแต่ละประการ โดยสามลำดับแรกคือ ลำดับที่ 1 การเจริญชีวิตจิตร่วมกับนักเรียนโดยตรงและต่อรายบุคคล ค่าความต้องการจำเป็นในการพัฒนา 0.300 ลำดับที่ 2 การเป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนคำสอน จริยธรรม ศีลธรรม และศาสนา ค่าความต้องการจำเป็นในการพัฒนา 0.275 และลำดับที่ 3 การร่วมงานกับส่วนต่าง ๆ ของชุมชน ค่าความต้องการจำเป็นในการพัฒนา 0.272 และ 3) แนวทางใหม่ในการพัฒนาครูโรงเรียนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก สามลำดับแรกคือ แนวทางที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกด้านการเจริญชีวิตจิตร่วมกับนักเรียนโดยตรงและต่อรายบุคคล แนวทางที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกด้านการเป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนคำสอน และแนวทางที่ 3 การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาครูตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกด้านการร่วมงานกับส่วนต่าง …


แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนหอวังตามแนวคิดคุณลักษณะนวัตกร, พิมพ์ชนก หงษาวดี Jan 2020

แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนหอวังตามแนวคิดคุณลักษณะนวัตกร, พิมพ์ชนก หงษาวดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนหอวังตามแนวคิดคุณลักษณะนวัตกร 2. นำเสนอแนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนหอวังตามแนวคิดคุณลักษณะนวัตกร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนหอวัง รวมทั้งสิ้น จำนวน 145 คน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหอวัง จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล จำนวน 1 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และ ครูโรงเรียนหอวัง ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 143 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนหอวังตามแนวคิดคุณลักษณะนวัตกร สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNI [Modified]) ฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนหอวังตามแนวคิดคุณลักษณะนวัตกร สูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านการมีแรงบันดาลใจในการคิดอย่างสร้างสรรค์ มีความต้องการจำเป็นสูงสุด (PNI [Modified] = 0.175) รองลงมาคือด้านการมีวิสัยทัศน์และเป็นผู้นำในการวางแผน (PNI [Modified] = 0.156) และ ด้านความสามารถคิดแก้ปัญหา (PNI [Modified] = 0.147) ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนหอวังตามแนวคิดคุณลักษณนวัตกร มี 2 แนวทางหลัก ได้แก่ 1. การพัฒนาครูผ่านการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงเพื่อพัฒนาคุณลักษณะนวัตกรให้มีแรงบันดาลใจในการคิดอย่างสร้างสรรค์เสริมสร้างการมีวิสัยทัศน์และเป็นผู้นำในการวางแผนเพิ่มขีดความสามารถคิดแก้ปัญหา ประกอบด้วย 3 แนวทางย่อย 11 วิธีดำเนินการ และ 2. …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการ โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม, ฉัตรวิมล มากทรัพย์ Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการ โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม, ฉัตรวิมล มากทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ตามแนวคิดการเรียนรู้การบริการสังคม 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ตามแนวคิดการเรียนรู้ ด้วยการบริการสังคม ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 97 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ 1 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารวิชาการ 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 คน และครู 87 คน กำหนดขนาดของตัวอย่างด้วยวิธีการของ Krejcie and Morgan ค.ศ. 1970 โดยระดับความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างเท่ากับ 0.05 และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนแบบประเมินค่า สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (Modified Proiority Needs Index : PNI [modified]) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบริหารวิชาการของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม ภาพรวม มีความต้องการจำเป็น (PIN [modified] = 0.324) โดยการบริหารวิชาการที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร รองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับและการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการค้นคว้า 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก 6 แนวทางย่อย 27 …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโปรแกรมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์สองภาษา ตามแนวคิดสมรรถนะนวัติกรและผู้ประกอบการ, ปิยนุช มงคล Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโปรแกรมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์สองภาษา ตามแนวคิดสมรรถนะนวัติกรและผู้ประกอบการ, ปิยนุช มงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโปรแกรมวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สองภาษา ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรและผู้ประกอบการ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการโปรแกรมวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สองภาษา ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรและผู้ประกอบการ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจงโรงเรียนที่มีโปรแกรมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์สองภาษา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย และโรงเรียนพูลเจริญวิทยาคม โดยมีผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งสิ้น 33 คน ประกอบด้วยคณะผู้บริหารจำนวน 9 คน และครูจำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโปรแกรมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์สองภาษาตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรและผู้ประกอบการและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโปรแกรมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์สองภาษาตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรและผู้ประกอบการของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา ฐานนิยมและจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร PNI [modified] ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโปรแกรมวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สองภาษา ตามแนวคิดสมรรถนะ นวัตกรและผู้ประกอบการ ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNI [modified]=0.36) รองลงมาคือด้านการจัดการเรียนการสอน (PNI [modified]= 0.31) ด้านการพัฒนาสื่อและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (PNI[modified]=0.27) และด้านการวัดและประเมินผล (PNI [modified]=0.26) ตามลำดับ ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะนวัตกรและผู้ประกอบการด้านที่มีความจำเป็นสูงสุดคือ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (PNI [modified]=0.36) ความต้องการความสำเร็จ (PNI [modified]=0.34) และการสร้างเครือข่าย (PNI [modified]=0.27) ตามลำดับ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโปรแกรมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์สองภาษา ตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรและผู้ประกอบการ มีแนวทางการบริหารวิชาการทั้งหมด 4 แนวทาง และ 17 วิธีการ ดำเนินการดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาหลักสูตรที่เน้นสมรรถนะนวัตกรและผู้ประกอบการด้านความต้องการความสำเร็จและความคิดสร้างสรรค์ มี 5 วิธีดำเนินการ แนวทางที่ 2 ปรับปรุงการนิเทศการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะนวัตกรและผู้ประกอบการด้านความริเริ่มสร้างสรรค์และความกล้าเสี่ยง มี 4 วิธีดำเนินการ แนวทางที่ 3 พัฒนาการจัดหา ผลิต …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโปรแกรมห้องเรียนกีฬา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดราชบุรีตามแนวคิดพหุปัญญา, กิตติพิชญ์ เอียดซัง Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโปรแกรมห้องเรียนกีฬา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดราชบุรีตามแนวคิดพหุปัญญา, กิตติพิชญ์ เอียดซัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโปรแกรมห้องเรียนกีฬาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดราชบุรีตามแนวคิดพหุปัญญา 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาโปรแกรมห้องเรียนกีฬาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดราชบุรีตามแนวคิดพหุปัญญา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดราชบุรี จำนวน 26 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน 5 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 19 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 40 คน และครูผู้สอนรายวิชา จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกเจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNI [Modified]) ฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชการโปรแกรมห้องเรียนกีฬาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดราชบุรีตามแนวคิดพหุปัญญา ที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] =0.120) รองลงมา คือการวัดและประเมินผล (PNI [Modified] = 0.111) และการจัดการเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.101) ตามลำดับ และ 2) แนวทางพัฒนาการบริหาวิชาการโปรแกรมห้องเรียนกีฬาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดราชบุรีตามแนวคิดพหุปัญญา มี 3 แนวทางหลัก ได้แก่ แนวทางหลักที่ 1 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถพหุปัญญาของนักเรียน ประกอบด้วย 4 แนวทางรอง 8 วิธีดำเนินการ แนวทางหลักที่ 2 พัฒนาการวัดและประเมินผลที่ส่งเสริมความสามารถพหุปัญญาของนักเรียน ประกอบด้วย 2 แนวทางรอง 5 วิธีดำเนินการ และแนวทางหลักที่ 3 พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถพหุปัญญาของนักเรียน ประกอบด้วย …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง กลุ่มโรงเรียนท่าจีนก้าวหน้า ตามแนวคิดคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, ปริษา อัคคีเดช Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง กลุ่มโรงเรียนท่าจีนก้าวหน้า ตามแนวคิดคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, ปริษา อัคคีเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง กลุ่มโรงเรียนท่าจีนก้าวหน้า ตามแนวคิดคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และ 2)ศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางกลุ่มโรงเรียนท่าจีนก้าวหน้าตามแนวคิดคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 7 คน และครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง กลุ่มโรงเรียนท่าจีนก้าวหน้า 7 โรงเรียน จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง กลุ่มโรงเรียนท่าจีนก้าวหน้า ตามแนวคิดคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางกลุ่มโรงเรียนท่าจีนก้าวหน้า ตามแนวคิดคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNI [modified] = 0.176) รองลงมา คือ การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา (PNI [modified] = 0.162) การวัดและประเมินผล (PNI [modified] = 0.156) และด้านการจัดการเรียนการสอน (PNI [modified] = 0.152) ตามลำดับ ซึ่งการบริหาวิชาการทั้งหมดมีองค์ประกอบของกรอบคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การมีความกล้าเสี่ยงที่จะลงมือทำสิ่งใหม่ ๆ (PNI [modified] = 0.181) และ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางกลุ่มโรงเรียนท่าจีนก้าวหน้า ตามแนวคิดคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มี 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อย 22 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียงลำดับตามความต้องการจำเป็น ดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาการประเมินผลการใช้หลักสูตรเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ด้านการมีความกล้าเสี่ยง ที่จะลงมือทำสิ่งใหม่ ๆ ประกอบด้วย แนวทางย่อย 4 วิธีดำเนินการ …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคล, ณัฐพงษ์ เกรียงไกรวงษ์ Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคล, ณัฐพงษ์ เกรียงไกรวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลและ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคล ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย ประชากร คือ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ขึ้นไปของจังหวัดเลย ประกอบด้วย 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเลยพิทยาคม โรงเรียนเชียงคาน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย และโรงเรียนศรีสงครามวิทยา ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนรวม จำนวน 124 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ฐานนิยมและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ลำดับดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคล ในภาพรวม พบว่าขอบข่ายการบริหารวิชาการที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การวัดและประเมินผล รองลงมาคือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการศึกษา ตามลำดับ ในภาพรวมขององค์ประกอบของการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคล พบว่า องค์ประกอบของการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลที่มีลำดับดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การกำหนดเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง รองลงมา คือ การกำหนดวิธีการเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น ตามลำดับ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการมีทั้งหมด 4 แนวทาง ดังนี้ (1) การพัฒนาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทีส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลด้านการกำหนดเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง (2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลด้านการกำหนดเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง (3) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลด้านการกำหนดเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง (4) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลด้านการกำหนดเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของผู้เรียน, ธัญมน นวลโฉม Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของผู้เรียน, ธัญมน นวลโฉม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของผู้เรียน 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดคุณลักษณะการคิดบวกของผู้เรียน ประชากร คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่ม 2 ที่กำหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดสุขภาวะ จำนวน 5 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 332 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 17 คน ครู จำนวน 255 คน และนักเรียน จำนวน 60 คน จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เรื่อง แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของผู้เรียน และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของผู้เรียน โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การวัดประเมินผล (PNI [Modified] = 0.437) รองลงมา คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [Moditied] = 0.431) การแนะแนว (PNI [Modified] = 0.424) และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การจัดการเรียนการสอน (PNI [Modified] = 0.409) ความต้องการจำเป็นของคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของผู้เรียนด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการมองโลกในแง่ดี (PNI [Modified] = 0.434) รองลงมา คือ ด้านความฉลาดทางอารมณ์ (PNI [Modified] = 0.429) ด้านความคิดสร้างสรรค์ (PNI [Modified] = 0.427) ด้านการมีคุณธรรม (PNI [Modified] = 0.426) และด้านความเชื่อมั่นในตนเอง (PNI …


แนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตราชนครินทร์ ตามแนวคิดคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์, เกณิกา บริบูรณ์ Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตราชนครินทร์ ตามแนวคิดคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์, เกณิกา บริบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตราชนครินทร์ ตามแนวคิดคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์ 2. นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตราชนครินทร์ตามแนวคิดคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนในสหวิทยาเขตราชนครินทร์ จำนวน 5 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารและครูในสหวิทยาเขตราชนครินทร์ 209 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการ 5 คน รองผู้อำนวยการ 15 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 40 คน ครู 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลลัพธ์ของการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุดคือ ผลลัพธ์ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (PNI [Modified] = 0.386) มีคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์ด้านการรู้จักคิดตั้งคำถามและการเปิดใจกว้าง มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด (PNI [Modified] = 0.462) และ การบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุดคือ ด้านบุคลากร (PNI [Modified] = 0.476) มีคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์ด้านการเปิดใจกว้าง มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด (PNI [Modified] = 0.486) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศ 6 แนวทาง โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ดังนี้ (1) พัฒนาการบริหารบุคลากรสู่ความเป็นเลิศในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักณะตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและเปิดใจกว้าง มี 2 แนวทางรอง และ 6 วิธีการพัฒนา (2) พัฒนาการวัด วิเคราะห์ และจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ ในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะรู้จักคิดตั้งคำถามและเปิดใจกว้าง มี 2 แนวทางรอง และ 6 วิธีการพัฒนา (3) พัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศให้เกิดคุณลักษณะ เปิดใจกว้างและแสวงหาข้อเท็จจริงมี 2 …


Approaches For The Development Of Teachers' Intercultural Competence At Saint Andrews International School Bangkok, Chatchawan Thumrongarchariyakun Jan 2020

Approaches For The Development Of Teachers' Intercultural Competence At Saint Andrews International School Bangkok, Chatchawan Thumrongarchariyakun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Despite the fact that intercultural competence of teachers seems to have the potential to predict organizational success, not many researchers have looked into the way of developing them in each different context. Saint Andrews International School Bangkok offered multi-cultural environment for both students and teachers, necessitating intercultural competence for every to culturally blend in. This research aims to 1) analyse needs for development of teachers’ intercultural competence at Saint Andrews International School Bangkok, and 2) propose appropriate approaches for the development of teachers’ intercultural competence. They were investigated using an online survey results from returned 165 teachers at Saint Andrews …