Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2021

Educational Assessment, Evaluation, and Research

Chulalongkorn University

Articles 1 - 27 of 27

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาชายนีอาร์แอปพลิเคชันเพื่อวิเคราะห์และส่งเสริมชั้นเรียนนวัตกรรมของครู, โยธณัฐ บุญโญ Jan 2021

การพัฒนาชายนีอาร์แอปพลิเคชันเพื่อวิเคราะห์และส่งเสริมชั้นเรียนนวัตกรรมของครู, โยธณัฐ บุญโญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชั้นเรียนนวัตกรรมเป็นชั้นเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดทักษะที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ 1) วิเคราะห์ระดับความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครูที่มีตัวแปรภูมิหลังแตกต่างกัน 2) วิเคราะห์จัดกลุ่มความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรม ของครู โดยการเปรียบเทียบการจัดกลุ่ม 4 วิธี ได้แก่ การแบ่งกลุ่มตามตัวแปรภูมิหลัง คะแนนดิบ คะแนนองค์ประกอบ และการวิเคราะห์กลุ่มแฝง 3) วิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผลต่อความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครู 4) เพื่อพัฒนา Shiny R ที่ใช้ในการวิเคราะห์และจัดกลุ่มความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครู 5) เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครูแต่ละกลุ่ม ตัวอย่างวิจัย คือ ครูที่สอนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 386 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรประเมินค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมอยู่ในระดับมาก โดยครูที่สอนโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษมีค่าเฉลี่ยความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมมากกว่าครูที่สอนโรงเรียนขนาดกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมีขนาดอิทธิพลในระดับสูง (F(4, 382) = 2.91, p = .005, ES= .035) 2) การจัดกลุ่มความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครูตามคะแนนดิบ คะแนนองค์ประกอบ มีความสัมพันธ์กับการจัดกลุ่มตามผลการวิเคราะห์กลุ่มแฝงมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง (rraw(384) = .846, p < .001, rfs (384) = .871, p < .001) และการจัดกลุ่มตามตัวแปรภูมิหลัง (การพัฒนาตนเองด้านเทคโนโลยี) มีความสัมพันธ์กับการจัดกลุ่มแบบอื่น ๆ ต่ำ 3) ครูที่มีคะแนนการสอนเชิงนวัตกรรมสูง สภาพแวดล้อมเชิงนวัตกรรมสูง และครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่ จะมีโอกาสอยู่ในกลุ่มครูพัฒนานวัตกรสูง 4) แอปพลิเคชันชายนีอาร์ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ คำชี้แจงการใช้งาน แบบสอบถามประเมินความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรม แดชบอร์ด และแหล่งเรียนรู้ หลังจากทดลองใช้แอปพลิเคชันชายนีอาร์ ผู้ใช้งาน มีความพึงพอใจในการใช้งานค่อนข้างสูง รวมทั้งผู้ใช้งานมีความคิดเห็นว่าแอปพลิเคชันชายนีอาร์มีประโยชน์ในการใช้งาน และมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมความเป็น ชั้นเรียนนวัตกรรมของครูในระดับค่อนข้างสูง 5) การพัฒนาและส่งเสริมความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครูแต่ละกลุ่มมีจำนวน 25 แนวทาง เช่น ครูควรใช้การสอนเชิงนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ และผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้ครูแสดงความคิดเห็นในการทำงาน


การพัฒนาคู่มือครูเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์กับโลกแห่งความจริง : การสร้างแผนภาพมโนทัศน์และการวิเคราะห์วาทกรรมทางคณิตศาสตร์, สุจิตรา โง้วอมราภรณ์ Jan 2021

การพัฒนาคู่มือครูเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์กับโลกแห่งความจริง : การสร้างแผนภาพมโนทัศน์และการวิเคราะห์วาทกรรมทางคณิตศาสตร์, สุจิตรา โง้วอมราภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันครูสอนคณิตศาสตร์ควรให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์กับโลกแห่งความจริง การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวปฏิบัติในการเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์กับบริบทโลกแห่งความจริงของครูโดยการสร้างแผนภาพมโนทัศน์ จากข้อมูลการสัมภาษณ์และแหล่งเอกสารต่าง ๆ 2) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์เทคนิคการสื่อสารและตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อเชื่อมโยงบทเรียนกับบริบทโลกแห่งความจริงโดยใช้การวิเคราะห์วาทกรรมทางคณิตศาสตร์จากข้อมูลการสัมภาษณ์และแหล่งเอกสารต่าง ๆ และ 3) เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือครูเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์กับบริบทโลกแห่งความจริงและตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของครูคณิตศาสตร์ แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 และ 2 ใช้การศึกษาข้อมูลเอกสารและสัมภาษณ์ครูที่มีคุณลักษณะตามที่กำหนด จำนวน 9 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างและการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อนำข้อมูลไปใช้สร้างแผนภาพมโนทัศน์แสดงแนวปฏิบัติในการเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์ จากนั้นนำแผนภาพทั้ง 3 ประเภทไปตรวจประเมินแผนภาพมโนทัศน์ และนำข้อมูลที่สรุปเพื่อปรับแก้ไปกำหนดประเด็นเป็นองค์ประกอบในคู่มือครู ขั้นที่ 2 ใช้การวิเคราะห์วาทกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของ Kabael และ Baran (2017) ที่อ้างอิงแนวคิดของ Sfard (2001) เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการเชื่อมโยง และเพิ่มการพิจารณาอีกหนึ่งมิติเพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ (misconception on maths) ที่ปรากฏผ่านวาทกรรมทางคณิตศาสตร์ของครู ขั้นที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากทั้งสองขั้นตอน ไปสร้างและพัฒนาคู่มือครูเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์กับบริบทโลกแห่งความจริงและตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของครูคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1. แนวปฏิบัติของครูในการเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์กับบริบทโลกแห่งความจริง พบว่า ครูมักยกตัวอย่างโจทย์บริบทส่วนบุคคลมากที่สุด โดยเลือกใช้แหล่งข้อมูลทางการศึกษาจาก 4 แหล่งข้อมูล ได้แก่ หนังสือคณิตศาสตร์ เว็บไซต์ทางการศึกษา การเข้าร่วมการอบรม และการศึกษาดูงาน ด้านวิธีการสอนครูเน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง รวมถึงจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่หลากหลาย ปัญหาในการสอนเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์อาจเกิดจากครูขาดความพร้อมด้านเวลาในการจัดเตรียมสื่อการสอนและมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการสอนเชื่อมโยง รวมถึงความพร้อมของนักเรียนในเรื่องพื้นความรู้เดิมไม่เพียงพอ ขาดความสนใจในการเรียนและขาดสมาธิในการเรียน 2. ข้อค้นพบเกี่ยวกับลักษณะวาทกรรมที่ไม่เหมาะสมพบว่า 1) ครูมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการเชื่อมโยง ใช้คำไม่ตรงกับจุดประสงค์ เลือกใช้คำไม่เหมาะสมและให้ข้อมูลไม่เพียงพอ และ 2) ครูมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ 3. คู่มือครู ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ 2) สาระความรู้ 3) การออกแบบตัวอย่างโจทย์ปัญหาที่เชื่อมโยงโลกจริง 4) ตัวอย่างวาทกรรมทางคณิตศาสตร์ 5) คลังสื่อการเรียนรู้ 6) ตัวอย่างกิจกรรม 7) ตัวอย่างแผนการสอน และ 8) แบบประเมินตนเอง …


การพัฒนาวิธีการปรับการให้คะแนนจากตัวเลือกที่เว้นไว้สำหรับเป็นทางเลือกในการตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วนของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก, ภัคจิรา บวรธรรมรัตน์ Jan 2021

การพัฒนาวิธีการปรับการให้คะแนนจากตัวเลือกที่เว้นไว้สำหรับเป็นทางเลือกในการตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วนของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก, ภัคจิรา บวรธรรมรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกที่มีวิธีการให้คะแนนความรู้บางส่วน 4 วิธี ประกอบด้วย วิธีการนับ 2 (Count-2) วิธีการให้คะแนนบางส่วน 50 (PS50) วิธีการเพิ่มคะแนนตัวเลือกที่เว้นไว้ (LO) และวิธีประยุกต์การเพิ่มคะแนนตัวเลือกที่เว้นไว้ (MLO) ตัวอย่างวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนคณิตศาสตร์ -วิทยาศาสตร์ จำนวน 1,178 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก เรื่องเคมีอินทรีย์ จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการวิเคราะห์สถิติพื้นฐานของคะแนนสอบ ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel และ SPSS การวิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติ ได้แก่ ความยาก (b) อำนาจจำแนก (a) ฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบ (IIF) ฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบ (TIF) สัมประสิทธิ์ความเที่ยง โดยวิเคราะห์ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ โมเดล G-PCM ด้วยโปรแกรม R วิเคราะห์เปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติ สัมประสิทธิ์ความเที่ยงแอลฟาของครอนบาค และความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสอบที่ได้จากการตรวจให้คะแนนทั้ง 4 วิธีกับเกรดวิชาเคมี การเรียนพิเศษวิชาเคมี และความรู้สึกต่อวิชาเคมี ด้วยโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์สถิติพื้นฐานของคะแนน พบว่า เมื่อตรวจให้คะแนนด้วยวิธี MLO คะแนนจะมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (12.05) และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนเมื่อตรวจให้คะแนนทั้ง 4 วิธี พบว่า คะแนนที่ได้เมื่อตรวจให้คะแนนแต่ละวิธีมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์กันสูงถึงสูงมาก 2. ผลการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความยากและอำนาจจำแนก พบว่า ข้อสอบมีความยากเฉลี่ยและอำนาจจำแนกเฉลี่ยสูงสุดเมื่อตรวจให้คะแนนด้วย PS50 (b = 0.39, a = 0.95) รองลงมาคือ วิธี Count-2 (b = 0.39, a = 0.64) วิธี MLO …


แนวทางการส่งเสริมความสามารถในการใช้ Udl ของนิสิตครูสำหรับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย : การประยุกต์ใช้วิธีการวาดเส้นเวลา, พลากร จันทร์บูรณ์ Jan 2021

แนวทางการส่งเสริมความสามารถในการใช้ Udl ของนิสิตครูสำหรับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย : การประยุกต์ใช้วิธีการวาดเส้นเวลา, พลากร จันทร์บูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เป็นสากล (UDL) เป็นกรอบแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลายได้ โดยมีหลักการ 3 ข้อ ได้แก่ 1) วิธีการที่หลากหลายสำหรับการนำเสนอ 2) วิธีการที่หลากหลายสำหรับการแสดงออกพฤติกรรมและความคิด และ 3) วิธีการที่หลากหลายสำหรับความยึดมั่นผูกพัน จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการใช้ UDL ของนิสิตครูสำหรับจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย การวิจัยครั้งนี้จึงวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้ UDL ของนิสิตครูสำหรับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย 2) เพื่อวิเคราะห์ความสามารถและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการใช้ UDL ของนิสิตครู สำหรับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย 3) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดที่ควรพัฒนาของการจัดการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตร์ในการส่งเสริมความสามารถในการใช้ UDL ของนิสิตครู โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการวาดเส้นเวลา และ 4) เพื่อพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมความสามารถในการใช้ UDL ของนิสิตครูสำหรับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถในการใช้ UDL ของนิสิตครู โดยสร้างเครื่องมือการวัดความสามารถในการใช้ UDL ระยะที่ 2 การวิเคราะห์ความสามารถและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการใช้ UDL ของนิสิตครู โดยมีตัวอย่างวิจัย คือ นิสิตครูที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2559 และ 2560 จำนวน 135 คน รวมทั้งจัดกลุ่มของนิสิตครูตามระดับความสามารถในการใช้ UDL ด้วยเทคนิค K – Means clustering และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสารหลักสูตร ประมวลรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา การสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาจิตวิทยาและการสัมภาษณ์นิสิตครู ระยะที่ 3 เป็นการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการใช้ UDL ของนิสิตครู ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถในการใช้ UDL พบว่า มีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC, 1.00) มีความเที่ยง (Cronbach’s alpha, .76 - .88) มีความตรงเชิงโครงสร้างเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (χ2 (1, N = 92) = …


แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะของนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล : การวิเคราะห์ข้ามกรณี, จีรศักดิ์ วงศ์กาญจนฉัตร Jan 2021

แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะของนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล : การวิเคราะห์ข้ามกรณี, จีรศักดิ์ วงศ์กาญจนฉัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล เป็นคุณลักษณะของนักเรียนในกระบวนการคิด ค้นคว้า ประยุกต์ใช้สื่อแอปพลิเคชัน และนำเสนอข้อค้นพบความรู้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัลของนักเรียน 2) เพื่อวิเคราะห์ และเปรียบเทียบคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัลของนักเรียนที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน 3) เพื่อวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล และปัญหาอุปสรรค ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ และ 4) เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะของนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะนักวิจัย รุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และทดลองใช้กับนักเรียน ระยะที่ 2 การวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล โดย เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนจำนวน 645 คน และครูจำนวน 34 คน โดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากโรงเรียนสังกัด สพฐ. และสช. ในเขตกรุงเทพฯ เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถามคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล และแบบสอบถามการจัดการเรียนรู้ ลักษณะมาตรประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย 1) วิเคราะห์ค่าสถิติบรรยาย ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติที 2) วิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับ และ3) วิเคราะห์ข้ามกรณี โดยเลือกครูกรณีศึกษาจำนวน 6 คน จากการจัดกลุ่มด้วยเทคนิค cluster analysis และระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล โดยนำข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพสังเคราะห์ร่วมกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1) การช่างสงสัย 2) การสืบค้นสำรวจ 3) การร่วมมือกับผู้อื่น 4) การคิดแก้ปัญหา 5) การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และ 6) การสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เครื่องมือวัดมีคุณภาพด้านความตรง และความเที่ยง โมเดลคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล มีความตรงเชิงโครงสร้าง พิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนได้แก่ ไค-สแควร์ (7, N=65) = …


ความเที่ยงภายใต้เงื่อนไขการทดสอบที่ต่างกันของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิด วิจารณญาณทางคณิตศาสตร์:การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง, ภัคจิรา จงสุกใส Jan 2021

ความเที่ยงภายใต้เงื่อนไขการทดสอบที่ต่างกันของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิด วิจารณญาณทางคณิตศาสตร์:การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง, ภัคจิรา จงสุกใส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์และวิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) ตรวจสอบคุณภาพวิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นในแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ (3) เปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้วิธีตรวจให้คะแนนที่แตกต่างกันโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 90 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ และเกณฑ์การตรวจให้คะแนน ผลการวิจัย พบว่า (1) แบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์แต่ละข้อคำถามสอดคล้องกับกระบวนการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ และวิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้น ชั้นที่ 1 ประเมินตามข้อรายการย่อยให้คะแนนแบบมาตรประมาณค่า 3 ระดับ ชั้นที่ 2 แปลงคะแนนชั้นที่ 1 (2) วิธีตรวจ ให้คะแนนรูบริกสองชั้นมีความตรงเชิงเนื้อหาสอดคล้องกับแนวคำตอบ ความเที่ยงในการตรวจให้คะแนนภายในผู้ประเมินและความเที่ยงในการตรวจให้คะแนนระหว่างผู้ประเมินมีค่าสูง และ (3) ผลการเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง สำหรับทุกวิธีตรวจให้คะแนนแบบสอบที่มีความเที่ยงตั้งแต่ 0.7 ขึ้นไป เมื่อพิจารณาภายใต้ผู้ประเมินจำนวน 1 คน จะใช้แบบสอบ 6 เหตุการณ์ ภายใต้ผู้ประเมินจำนวน 2 คน จะใช้แบบสอบ 5 เหตุการณ์ พบว่า วิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นให้ค่าความเที่ยงสูงสุด รองลงมา คือ วิธีตรวจให้คะแนนวิเคราะห์ย่อยและวิธีตรวจให้คะแนน Knox ตามลำดับ และผลการเปรียบเทียบความแตกต่างความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้น โดยเทียบกับวิธีตรวจให้คะแนนวิเคราะห์ย่อยและวิธีตรวจให้คะแนน Knox พบว่า วิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นมีความเที่ยงสูงกว่าวิธีตรวจให้คะแนนวิเคราะห์ย่อยและวิธีตรวจให้คะแนน Knox อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.1 ตามลำดับ


การออกแบบและพัฒนากิจกรรมบนแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อส่งเสริมการใช้ E-Par ในชั้นเรียนสำหรับครูวิทยาศาสตร์, กรวิก อยู่พันดุง Jan 2021

การออกแบบและพัฒนากิจกรรมบนแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อส่งเสริมการใช้ E-Par ในชั้นเรียนสำหรับครูวิทยาศาสตร์, กรวิก อยู่พันดุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาและออกแบบกิจกรรมของครูบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมการใช้ e-PAR ในชั้นเรียนของครูวิทยาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา วิธีแก้ปัญหา และเจตคติของครูที่มีต่อการใช้ PAR ในการแก้ปัญหา เพื่อที่จะนำไปพัฒนาเป็นหลักการออกแบบกิจกรรมและแหล่งการเรียนรู้ และนำกิจกรรมต้นแบบไปทดลองใช้และประเมินผลที่เกิดขึ้นกับครูวิทยาศาสตร์หลังการใช้กิจกรรมต้นแบบ โดยมีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหา วิธีแก้ปัญหา และเจตคติของครูต่อการใช้ PAR จากการตอบแบบสอบถาม ของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 156 คน โดยได้ตัวอย่างจากการสุ่มอย่างง่าย และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และสรุปผลร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูลจากการสัมภาษณ์ของครูตัวอย่างวิจัย จำนวน 10 คน โดยระยะที่ 2 การกำหนดหลักการออกแบบเพื่อพัฒนากิจกรรมบนแพลตฟอร์มออนไลน์และแหล่งเรียนรู้ โดยพัฒนาหลักออกแบบจากข้ออ้างเชิงเหตุผลร่วมกับผลการวิจัยระยะที่ 1 สร้างเป็นกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์กับครูตัวอย่างวิจัย จำนวน 6 คน และ ระยะที่ 3 การการประเมินและสะท้อนผลจากการทดลองใช้กิจกรรมต้นแบบ ถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาหลักการออกแบบใหม่ ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. สภาพปัญหาในที่พบเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและมีหลายสาเหตุของปัญหา ครูส่วนใหญ่แก้ปัญหาจากประสบการณ์และความรู้ของครู และเจตคติที่ดีของครูต่อการใช้ PAR ในการแก้ปัญหา โดยปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดคือด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (M = 4.464, SD = 0.531) 2. ข้ออ้างเชิงเหตุผลที่นำมาใช้ในการกำหนดหลักการออกแบบ คือ คือ แนวคิดของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และแนวคิดการยอมรับและใช้วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา หลักการออกแบบต้นแบบกิจกรรมฯ ประกอบด้วย ประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ คือ การสร้างความเข้าใจและการยอมรับการใช้ PAR ในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ การส่งเสริมทักษะการทำงานร่วมกัน และ การส่งเริมการประเมินตนเองและพัฒนาการทำงานของครู โดยผ่านกระบวนการ 4 กระบวนการ 3. ผลการใช้กิจกรรมต้นแบบ พบว่า สามารถใช้ในการส่งเสริมการทำงานของครูวิทยาศาสตร์ได้เหมาะสม โดยครู เกิดความเข้าใจ มีเจตคติที่ดี และ มีทักษะการใช้ PAR รวมถึงมีการนำ PAR ไปประยุกต์ใช้ มีการเสนอหลักการออกแบบใหม่ เป็นหลักการออกแบบระดับทั่วไป 6 ข้อ และหลักการออกแบบระดับพื้นที่ …


แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลโดยใช้คราวด์ซอร์สซิ่งและการทำเหมืองข้อความ, กนิศ์พิชญา อัฐมาธิตภักดี Jan 2021

แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลโดยใช้คราวด์ซอร์สซิ่งและการทำเหมืองข้อความ, กนิศ์พิชญา อัฐมาธิตภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำงานในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลที่เป็นประโยชน์และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำไปได้จริง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่กำหนดอยู่ในหลักสูตรอาชีวศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย 3) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่กำหนดอยู่ในหลักสูตรกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัล โดยการรวบรวมข้อมูล 2 ส่วน คือ 1) การรวบรวมข้อมูลจากหลักสูตรอาชีวศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในช่วงปี 2562-2563 และ 2) การรวบรวมข้อมูลคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย จำนวน 3 แหล่ง ประกอบด้วย การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยและต่างประเทศ การศึกษาคุณสมบัติในการสมัครงาน (job description) และการศึกษาความต้องการของผู้ประกอบการ ที่ได้จากการประยุกต์ใช้คราวด์ซอร์สซิ่ง (crowdsourcing) และการทำเหมืองข้อความ (text mining) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เครือข่ายข้อความ (text network analysis) ด้วยโปรแกรม R และประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ (cross–impact analysis) ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่หลักสูตรต้องการร่วมกัน เช่น ความรู้กฎหมายในงานอาชีพ ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ทักษะการใช้โปรแกรมพื้นฐาน ทักษะการคิดคำนวณ การปรับตัว ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดวิเคราะห์ 2. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลที่สำคัญจำแนกตามกลุ่มความต้องการของตลาดแรงงาน พบว่า 1) กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ความรู้เมคคาทรอนิกส์ ทักษะการใช้โฟล์คลิฟ 2) กลุ่มเกษตรและประมง ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 3) กลุ่มธุรกิจและบริการ ได้แก่ ทักษะการขายออนไลน์ ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ทักษะการควบคุมต้นทุน ทักษะการประสานงาน ทักษะการเจรจาต่อรอง 3. ความสอดคล้องระหว่างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่กำหนดอยู่ในหลักสูตรกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายในแต่ละกลุ่มความต้องการของตลาดแรงงานแตกต่างกันไม่มากนัก (closeness= 0.156-0.239) โดยกลุ่มอุตสาหกรรมมีความสอดคล้องระหว่างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่กำหนดในหลักสูตรและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายมากที่สุด (closeness = 0.239) รองลงมาคือ กลุ่มธุรกิจและบริการ (closeness = 0.234) และกลุ่มเกษตรและประมง (closeness = 0.156) 4. แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัล มีดังนี้ …


การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยสามระดับในวิชาเคมีที่มีระดับความมั่นใจแตกต่างกัน, ขวัญกมล ใต้สำโรง Jan 2021

การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยสามระดับในวิชาเคมีที่มีระดับความมั่นใจแตกต่างกัน, ขวัญกมล ใต้สำโรง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาเคมี เรื่อง สมดุลเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงและความเที่ยงแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนสามระดับในวิชาเคมีเมื่อใช้ระดับความมั่นใจที่แตกต่างกัน 3) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพด้านความตรงและความเที่ยงของแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนสามระดับในวิชาเคมีเมื่อใช้ระดับความมั่นใจที่แตกต่างกัน และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความสอดคล้องของผลการวินิจฉัยจากแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนสามระดับในวิชาเคมีด้วยวิธีการสอบซ้ำ ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 180 คน เครื่องมือวิจัยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบสอบวินิจฉัยสามระดับ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบวินิจฉัยฉบับที่ 1 มีระดับความมั่นใจ 2 ระดับ 2) แบบวินิจฉัยฉบับที่ 2 มีระดับความมั่นใจ 4 ระดับ และ 3) แบบวินิจฉัยฉบับที่ 3 มีระดับความมั่นใจ 6 ระดับ และแบบสัมภาษณ์การคิดออกเสียงสำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) คุณสมบัติทางจิตมิติ ด้านความตรงและความเที่ยง และ 2) คุณภาพของการวินิจฉัย โดยพิจารณาจากความสอดคล้องของผลการวินิจฉัยด้วยวิธีการสอบซ้ำ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมของคะแนนการวินิจฉัยในครั้งที่ 1 และ 2 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาเคมี เรื่อง สมดุลเคมี พบว่า มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนมากที่สุด คือ สภาวะสมดุล รองลงมาคือ ค่าคงที่สมดุล และปัจจัยที่มีผลต่อสมดุล 2) ผลการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงและความเที่ยงแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนสามระดับในวิชาเคมีเมื่อใช้ระดับความมั่นใจที่แตกต่างกัน สรุปผลได้ดังนี้ 2.1) คุณภาพด้านความตรง พบว่า แบบสอบฉบับที่ 1, 2 และ 3 มีค่าความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์จากแบบสอบวินิจฉัยสามระดับเทียบกับการสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการคิดออกเสียง เท่ากับ .519, .842 และ .753 ตามลำดับ ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ของความสัมพันธ์ระหว่างคำตอบของนักเรียนในระดับเนื้อหาและเหตุผลกับคำตอบในระดับความมั่นใจ เท่ากับ .676, .208. …


แนวทางการพัฒนาหลักสูตรวิชาการงานอาชีพในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพในอนาคต, วัชรสินธุ์ เพ็งบุบผา Jan 2021

แนวทางการพัฒนาหลักสูตรวิชาการงานอาชีพในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพในอนาคต, วัชรสินธุ์ เพ็งบุบผา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในอนาคตตามมุมมองของผู้ประกอบการ 2) เพื่อวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนของครูและระดับทักษะการประกอบอาชีพของนักเรียนตามหลักสูตรการงานอาชีพในปัจจุบันกำหนดและตามมุมมองของผู้ประกอบการ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรวิชาการงานอาชีพในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในอนาคตแก่ผู้เรียน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในอนาคตตามมองของผู้ประกอบการ ซึ่งตัวอย่างวิจัย ได้แก่ ผู้ประกอบการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในอนาคต โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนของครูและระดับทักษะการประกอบอาชีพของนักเรียนตามหลักสูตรการงานอาชีพในปัจจุบันกำหนดและตามมุมมองของผู้ประกอบการ ซึ่งตัวอย่างวิจัยได้แก่ ครูวิชาการงานอาชีพจำนวน 12 คน และ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 301 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยกับครูวิชาการงานอาชีพ ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพของการสอนทักษะการประกอบอาชีพ และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพของทักษะการประกอบอาชีพ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ระยะที่ 3 การนำเสนอแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรวิชาการงานอาชีพในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในอนาคตแก่ผู้เรียน ซึ่งตัวอย่างวิจัย ได้แก่ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการจำนวน 1 คน ครูวิชาการงานอาชีพจำนวน 1 คน และผู้ประกอบการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาหลักสูตรวิชาการงานอาชีพในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในอนาคตแก่ผู้เรียนอนาคต โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ทักษะการประกอบอาชีพในอนาคตซึ่งจัดลำดับความสำคัญจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดตามมุมมองของผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 11 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสื่อสารอย่างใส่ใจ ทักษะการคล่องตัว ทักษะการประสานงาน ทักษะการกระหายเรียนรู้ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการบริหารงาน ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ทักษะการคิดนวัตกรรม ทักษะส่วนบุคคล ทักษะการรู้ทันเทคโนโลยี และประสบการณ์ในอาชีพ 2) การจัดการเรียนการสอนของครูและระดับทักษะการประกอบอาชีพของนักเรียนตามหลักสูตรการงานอาชีพในปัจจุบันกำหนดและตามมุมมองของผู้ประกอบการ พบว่า ระดับการสอนทักษะการประกอบอาชีพของครูมัธยมศึกษาวิชาการงานอาชีพอยู่ในระดับมากที่สุดแต่ระดับทักษะการประกอบอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ทักษะการประสานงาน ทักษะการบริหารงาน ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการกระหายเรียนรู้ ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ทักษะการรู้ทันเทคโนโลยี …


การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีทดแทนค่าสูญหายในข้อมูลพหุระดับ: การประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา, นวลรัตน์ ฉิมสุด Jan 2021

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีทดแทนค่าสูญหายในข้อมูลพหุระดับ: การประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา, นวลรัตน์ ฉิมสุด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีทดแทนค่าข้อมูลสูญหาย 3 วิธี ได้แก่วิธี MI-FCS, วิธี RF และวิธี Opt.impute ซึ่งประกอบด้วย วิธี Opt.knn , Opt.tree, วิธี Opt.svm, และวิธี Opt.cv โดยใช้การจำลองข้อมูลและนำผลที่ได้มาประยุกต์ใช้กับข้อมูลจริง (2) เพื่อวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ด้วยโมเดลพหุระดับโดยใช้ข้อมูลที่มีการทดแทนค่าสูญหาย และเปรียบเทียบผลที่ได้ กับการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ไม่ได้ทดแทนค่าสูญหาย ผลการวิจัยพบว่า (1) จากการพิจารณาผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีทดแทนค่าสูญหายโดยใช้การจำลองข้อมูลในภาพรวม จะพบว่าส่วนใหญ่วิธีทดแทนค่าสูญหาย Otp.impute มีแนวโน้มให้ประสิทธิภาพสูงที่สุด รองลงมาคือ วิธีทดแทนค่าสูญหาย RF และวิธีทดแทนค่าสูญหาย MI – FCS ตามลำดับ (2) ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2,109 โรงเรียนที่อยู่ในสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.) นำวิธีทดแทนค่าสูญหายที่ได้จากการจำลองข้อมูลมาประยุกต์ใช้กับข้อมูลทุติยภูมิดังกล่าว ผลการวิจัย จะพบว่าสัดส่วนของนักเรียนที่ครอบครัวขาดแคลนทุนทรัพย์และไม่ได้พักอาศัยอยู่กับบิดามารดาระดับโรงเรียน ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนระดับโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และเมื่อเปรียบเทียบผลที่ได้กับการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ไม่ได้ทดแทนค่าสูญหาย แสดงให้เห็นว่าหากนำข้อมูลวิเคราะห์ผลการวิจัยโดยไม่คำนึงถึงค่าสูญหาย หรือตัดค่าสูญหายทิ้ง อาจจะส่งผลกระทบต่อการประมาณค่าพารามิเตอร์ที่แท้จริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หรือไม่สามารถอนุมานไปสู่ประชากรได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ


ความเหมาะสมของโมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนแบบสะท้อนและแบบก่อตัว : การวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบเบส์, พิมพ์ลักษณ์ เจริญวานิชกูร Jan 2021

ความเหมาะสมของโมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนแบบสะท้อนและแบบก่อตัว : การวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบเบส์, พิมพ์ลักษณ์ เจริญวานิชกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความเหมาะสมของโมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระหว่างโมเดลการวัดแบบสะท้อนและแบบก่อตัว 2) เปรียบเทียบความเป็นพลเมืองดิจิทัลและองค์ประกอบของความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนที่มีภูมิหลังต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 450 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัล จำนวน 46 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบเบส์ และการวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบความถี่ ด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนแบบสะท้อน (Reflective-Reflective) มีความเหมาะสมมากกว่าโมเดลการวัดแบบก่อตัว (Reflective-Formative) 2) ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียน เมื่อเปรียบเทียบตามเพศ ระดับชั้น ระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการพักผ่อน และระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อพบปะกับเพื่อนฝูง พบว่ามีความเป็นพลเมืองดิจิทัลแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อเปรียบเทียบตามแผนการเรียน ขนาดโรงเรียน และระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา พบว่ามีความเป็นพลเมืองดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์ระหว่างขนาดโรงเรียนและแผนการเรียน พบว่า โรงเรียนขนาดกลาง นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนวิทย์–คณิตและศิลป์–คำนวณมีความเป็นพลเมืองดิจิทัลสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนศิลป์–ภาษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พิจารณาองค์ประกอบของความเป็นพลเมืองดิจิทัล พบว่า องค์ประกอบที่ 1 การรู้ดิจิทัล นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนวิทย์–คณิตและศิลป์–คำนวณมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนศิลป์–ภาษา นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดกลาง และนักเรียนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา 5-6 ชั่วโมง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ใช้เวลา 3-4 ชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบที่ 2 การมีส่วนร่วมทางดิจิทัล นักเรียนหญิงมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนชาย นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนวิทย์–คณิตและศิลป์–คำนวณมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนศิลป์–ภาษา นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบที่ 3 การรักษาอัตลักษณ์ในโลกดิจิทัล นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนวิทย์–คณิตและศิลป์–คำนวณมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนศิลป์–ภาษา นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดกลาง และนักเรียนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา 5-6 ชั่วโมง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง 1-2 ชั่วโมง และ 3-4 ชั่วโมง และนักเรียนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษามากกว่า 6 ชั่วโมง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง และ 3-4 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบที่ 4 การมีจริยธรรมในการใช้ดิจิทัล …


การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา, อักษราภัคส์ โกสินรุ่งเรือง Jan 2021

การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา, อักษราภัคส์ โกสินรุ่งเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพของทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน 2) ตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 893 คน และครูผู้สอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 78 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งเก็บข้อมูลจากโรงเรียนจำนวน 39 แห่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดกรุงเทพมหานคร สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามสำหรับนักเรียน และแบบสอบถามสำหรับครู การวิเคราะห์สถิติบรรยายด้วยโปรแกรม SPSS 22.0 และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ (The Multilevel Structural Equation Model: MSEM) ด้วยโปรแกรม Mplus 8.8 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพของทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง เพศหญิงและเพศชายมีระดับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมไม่แตกต่างกัน 2) โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 86.903, df = 71, p-value = 0.0966 และ RMSEA = 0.016) โดยระดับนักเรียน พบว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย เจตคติต่อการเรียน และความเชื่ออำนาจภายในตน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน อีกทั้งการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยยังส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนโดยส่งผ่านความเชื่ออำนาจภายในตนของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับระดับโรงเรียนพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และบรรยากาศในชั้นเรียน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรทำนายทั้งหมดในระดับนักเรียนและระดับโรงเรียนสามารถอธิบายความแปรปรวนของทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมได้ร้อยละ 71 และ 95 ตามลำดับ


การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลการถดถอยเชิงลำดับชั้นที่มีอัตสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่และโมเดลการถดถอยพหุระดับสำหรับการทำนายความอยู่ดีมีสุขของนักเรียน, ประภาพรรณ ยดย้อย Jan 2021

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลการถดถอยเชิงลำดับชั้นที่มีอัตสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่และโมเดลการถดถอยพหุระดับสำหรับการทำนายความอยู่ดีมีสุขของนักเรียน, ประภาพรรณ ยดย้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความอยู่ดีมีสุขของนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญทางการศึกษาเชิงบวกและโรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมให้นักเรียนทุกคนมีความอยู่ดีมีสุข การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะความอยู่ดีมีสุขของนักเรียน บรรยากาศโรงเรียน และความร่วมมือระหว่างโรงเรียนจำแนกตามภูมิหลังและพื้นที่ (2) เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของความอยู่ดีมีสุขของนักเรียนระหว่างโมเดลการถดถอยเชิงลำดับชั้นที่มีอัตสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ (Hierarchical Spatial Autoregressive Model: HSAR) กับโมเดลการถดถอยพหุระดับ (Multilevel Regression Model: MLM) ด้วยวิธีการประมาณค่าแบบเบย์ (Bayesian estimation) และใช้อัลกอรึทึมการสุ่มตัวอย่างด้วยลูกโซ่มาร์คอฟมอนติคาร์โล (Markov Chain Monte Carlo) โดยใช้ข้อมูลจริงจากนักเรียน 1,981 คน และคุณครู 282 คน ของโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 55 โรงเรียน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน มีตัวแปรทำนายสำคัญ คือ บรรยากาศโรงเรียน และความร่วมมือระหว่างโรงเรียนซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ข้ามระดับ (cross-level interaction term) ของความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับบรรยากาศโรงเรียนโดยความร่วมมือระหว่างโรงเรียนเป็นตัวแปรปรับ (moderator) และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นตัวแปรควบคุม (covariate) ผลการวิจัยพบว่า โมเดลทั้งสองมีประสิทธิภาพในการทำนายความอยู่ดีมีสุขของนักเรียนใกล้เคียงกัน (R2 MLM = 0.534, R2 HSAR = 0.529, LLMLM = -2039.6, LLHSAR = -2389.75, DICMLM = 4151.91, DICHSAR = 4955.43) แต่ให้สารสนเทศในมุมมองที่แตกต่างกัน โดยโมเดล HSAR จะให้รายละเอียดได้มากกว่าโดยเฉพาะการแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของความสัมพันธ์เชิงพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญ (Lambda = 0.70 , SE = 0.30) ในขณะที่โมเดล MLM ไม่สามารถให้ผลวิเคราะห์ส่วนนี้ได้อีกทั้งยังตรวจพบอัตสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในเศษเหลือของโมเดล MLM (Moran’s I = 0.09, p-value = 0.031) ซึ่งเป็นการละเมิดข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์ถดถอยอีกด้วย โมเดล HSAR จึงเป็นโมเดลที่เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยเชิงสาเหตุของความอยู่ดีมีสุขของนักเรียนมากกว่า ผลการวิเคราะห์จากโมเดล HSAR …


แนวทางการส่งเสริมความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาครูโดยใช้การสัมภาษณ์ด้วยการกำหนดสถานการณ์และงานเป็นฐาน, พิชญาภัค ประจวบกลาง Jan 2021

แนวทางการส่งเสริมความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาครูโดยใช้การสัมภาษณ์ด้วยการกำหนดสถานการณ์และงานเป็นฐาน, พิชญาภัค ประจวบกลาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การที่นักศึกษาครูมีความตั้งใจประกอบอาชีพครูลดลงหลังจบการศึกษา ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของประเทศ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 4 ข้อ ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีผลต่อความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาครู โดยใช้การสัมภาษณ์ด้วยการกำหนดสถานการณ์และงานเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาระดับความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาครู 3) เพื่อวิเคราะห์ความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาครู โดยใช้การสัมภาษณ์ด้วยการกำหนดสถานการณ์และงานเป็นฐาน และ 4) เพื่อสังเคราะห์แนวทางในการส่งเสริมความตั้งใจประกอบอาชีพครูสำหรับนักศึกษาครู การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจประกอบอาชีพครูและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมความตั้งใจประกอบอาชีพครูด้วยการสัมภาษณ์ด้วยการกำหนดสถานการณ์และงานเป็นฐาน มีผู้ให้ข้อมูล 12 คน ประกอบเวย ครูต้นแบบ ครูในโรงเรียนด้อยโอกาส ครูที่มีปัญหาการจัดการเรียนการสอน และครูที่มีปัญหาพฤติกรรมนักเรียน ระยะที่ 2.1 ศึกษาระดับความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาด้วยแบบสอบถามที่พัฒนามาจากข้อมูลที่ได้ในระยะที่ 1 และความคิดเห็นต่อการดำเนินการของหลักสูตร ของนักศึกษาครูทั้งสิ้น 217 คน และระยะที่ 2.2 ศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์ด้วยการกำหนดสถานการณ์และงานเป็นฐาน เกี่ยวกับความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามในระยะที่ 2.1 จำนวน 12 คน ที่มีการเปลี่ยนแปลงของความตั้งใจประกอบอาชีพครู 6 ลักษณะได้แก่ 1) เพิ่มขึ้น 2) ลดลง 3) คงที่ในระดับสูง 4) คงที่ในระดับกลาง 5) คงที่ในระดับต่ำ และ 6) ไม่คงที่ และข้อเสนอแนะในการดำเนินการของหลักสูตร และระยะที่ 3 สังเคราะห์เป็นร่างแนวทางส่งเสริมความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาครูและให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบความเหมาสมและปรับแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สถานการณ์ที่มีผลต่อความตั้งใจประกอบอาชีพครูในมุมมองของครู ประกอบด้วย 7 กลุ่มสถานการณ์หลัก ได้แก่ 1) พฤติกรรมและการเรียนรู้ของผู้เรียนไม่เหมาะสม 2) การขาดความพร้อมของครอบครัวและความร่วมมือของชุมชน 3) การปรับตัวไม่ได้ของครูในโรงเรียนด้อยโอกาส 4) ความขัดแย้งในการทำงานกับเพื่อนครูในโรงเรียน 5) ระบบการบริหารของโรงเรียนไม่มีประสิทธิภาพ 6) การจัดการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และ 7) มีภาระงานนอกเหนือการสอนเป็นจำนวนมาก 2. โดยภาพรวมนักศึกษามีระดับความตั้งใจประกอบอาชีพครูใน 3 ช่วงเวลา ดังนี้ 1) ช่วงเริ่มศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง (3.32) 2) …


การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแล, ภัทร์พิชชา ครุฑางคะ Jan 2021

การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแล, ภัทร์พิชชา ครุฑางคะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการูแลเด็กของผู้ดูแล ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลเด็กควรได้รับการพัฒนาให้สามารถดูแลเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรมีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแลเด็ก 2) เพื่อวิจัยและพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแลเด็กในชุมชนและประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองใช้ และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแลเด็กในชุมชนจากผลการพัฒนาหลักสูตร โดยจำแนกการวิจัยออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก การพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแล โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบของความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็ก และสร้างเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กจากการบูรณาการ 2 แนวคิด ได้แก่ 1) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 2) การเลี้ยงดู ในลักษณะเป็นพหุมิติภายในข้อคำถาม ส่วนที่ 2 กระบวนการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร และส่วนที่ 3 แนวทางการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแล ใช้การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรร่วมกับการนำแนวคิดการเสริมพลังและแนวคิดการมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเข้ามาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับสภาพบริบทของชุมชน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแลที่สร้างขึ้นตามโมเดลการวัดแบบพหุมิติ มี 2 องค์ประกอบหลัก คือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการเลี้ยงดู ในแต่ละข้อคำถามถูกออกแบบให้เป็นพหุมิติภายในข้อคำถาม คือ มีคุณภาพทั้งการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 มีการตรวจสอบความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในจากตัวอย่างจำนวน 345 คน มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค อยู่ระหว่าง .820 ถึง .903 และคำนวณค่าสัมประสิทธิ์โอเมกา อยู่ระหว่าง .827 ถึง .905 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุมิติของโมเดลการวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็ก พบว่าโมเดลการวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( / (343, N=345) = 446.23, p = .0001, CFI = .979, TLI = .974, SRMR = .051, RMSEA = .030, AIC = 14556.473, BIC = 15140.692) และมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ ( / df) เท่ากับ 1.30 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 2 แสดงว่า …


การพัฒนาแบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบสำหรับสถานศึกษาเฉพาะทาง, นุรซีตา เพอแสละ Jan 2021

การพัฒนาแบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบสำหรับสถานศึกษาเฉพาะทาง, นุรซีตา เพอแสละ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบสำหรับสถานศึกษาเฉพาะทางระดับปริญญาตรี โดยประยุกต์ใช้แบบวัดบังคับเลือกพหุมิติแบบคู่เทียบและโมเดลการตอบสนองพหุมิติแบบคู่เทียบ 2) ตรวจสอบคุณภาพด้านความตรง ความเที่ยง และการป้องกันการตั้งใจบิดเบือนคำตอบ และ 3) สร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดที่พัฒนาขึ้น โดยมีตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนในสถานศึกษาเฉพาะทางระดับปริญญาตรีจำนวน 1,300 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบรูปแบบพหุมิติแบบคู่เทียบ 2) แบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบรูปแบบมาตรประมาณค่า และ 3) แบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ The Next Big Five Inventory: BFI2 (Soto & John, 2017) การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดประกอบด้วย การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ ความตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เมทริกซ์พหุลักษณะ-พหุวิธี ตรวจสอบความเที่ยงโดยการทดสอบซ้ำและการใช้ค่า Marginal Reliability การตรวจสอบคุณภาพด้านการป้องกันการตั้งใจบิดเบือนคำตอบโดยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง รวมทั้งการสร้างเกณฑ์ปกติโดยใช้คะแนนสเตไนน์ ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ได้แก่ การแสดงออกอย่างเปิดเผย ความประนีประนอม การมีจิตสำนึก อารมณ์เชิงลบ และการมีจิตใจที่เปิดกว้าง แบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้นในรูปแบบพหุมิติแบบคู่เทียบประกอบด้วยคู่ของข้อความแต่ละองค์ประกอบที่จับคู่กันตรงตามเงื่อนไขทั้งหมด 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับอยู่ที่ .91 การตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์พบว่าคะแนนบุคลิกภาพกับเกณฑ์ขั้นสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.05 การตรวจสอบความตรงเชิงทฤษฎีพบหลักฐานสนับสนุนความตรงแบบลู่เข้าและไม่พบหลักฐานการเกิดความลำเอียงของวิธีการวัด การตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงโดยวิธีการทดสอบซ้ำและการใช้ค่า Marginal Reliability มีค่าในช่วง .49 - .85 แสดงให้เห็นว่าความเที่ยงของแบบวัดที่พัฒนาขึ้นอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ในทุกองค์ประกอบ สำหรับการตรวจสอบคุณภาพด้านการป้องกันการตั้งใจบิดเบือนคำตอบพบว่า แบบวัดบังคับเลือกสามารถควบคุมการตั้งใจบิดเบือนคำตอบได้ดีกว่าแบบวัดรูปแบบมาตรประมาณค่า โดยสามารถลดอัตราการเปลี่ยนแปลงคำตอบ อัตราการเฟ้อของคะแนน การเปลี่ยนแปลงของผลการจัดอันดับและผลการคัดเลือกได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม การใช้แบบวัดรูปแบบบังคับเลือกยังไม่สามารถกำจัดอิทธิพลของการตั้งใจบิดเบือนคำตอบของผู้ตอบแบบวัดได้อย่างสมบูรณ์ 3) เกณฑ์ปกติของแบบวัดโดยใช้วิธีการหาคะแนนสเตไนน์ แบ่งระดับบุคลิกภาพออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับต่ำ กลาง และสูง โดยการแสดงออกอย่างเปิดเผยมีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ -.093 และ .374 ความประนีประนอม -1.42 และ -.114 ความมีจิตสำนึก -.287 และ .459 อารมณ์เชิงลบ -.785 และ .218 การมีจิตใจที่เปิดกว้าง …


การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาลตามกรอบการเรียนรู้ของมิลเลอร์ โดยใช้การกำหนดกิจกรรมสมรรถนะทางวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้, กุสุมา กังหลี Jan 2021

การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาลตามกรอบการเรียนรู้ของมิลเลอร์ โดยใช้การกำหนดกิจกรรมสมรรถนะทางวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้, กุสุมา กังหลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาลตามกรอบการเรียนรู้ของมิลเลอร์ โดยใช้การกำหนดกิจกรรมสมรรถนะทางวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิก และ 3) ประเมินประสิทธิผลและคุณภาพของการใช้รูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิก ผู้ให้ข้อมูลในการพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิก คือ ผู้ทรงคุณวุฒิทางการพยาบาลจำนวน 37 คน กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้รูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิก คือ อาจารย์พยาบาล จำนวน 2 คน และนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามกิจกรรมสมรรถนะทางวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้ แบบสอบถามองค์ประกอบการประเมินสมรรถนะทางคลินิก แบบประเมินสมรรถนะทางคลินิกและเกณฑ์การให้คะแนน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. รูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิกที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) กิจกรรมสมรรถนะทางวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้ที่จำเป็นของนักศึกษาพยาบาล จำนวน 25 ด้าน 82 กิจกรรม แบ่งกิจกรรมตามระดับการกำกับดูแล ระดับที่ 1 ถึง ระดับที่ 5 เป็น 4, 25, 12, 20 และ 21 กิจกรรม ตามลำดับ 2) องค์ประกอบการประเมินสมรรถนะทางคลินิก ประกอบด้วย สมรรถนะหลักทางวิชาชีพการพยาบาล 5 องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ระดับความสามารถ 22 ตัวบ่งชี้ และ 3) แบบประเมินสมรรถนะทางคลินิกและเกณฑ์การให้คะแนนที่พัฒนาขึ้นพบว่า สมรรถนะหลักด้านการปฏิบัติการพยาบาลมีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ สมรรถนะหลักด้านจริยธรรมจรรยาบรรณและกฎหมาย และรูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิก ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียม ขั้นดำเนินการ และขั้นสรุป 2. ผลการประเมินสมรรถนะทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล โดยใช้การกำหนดกิจกรรมสมรรถนะทางวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้ 2 กิจกรรม คือ EPA: การฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำ และ EPA: การดูดเสมหะพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีสมรรถนะทางคลินิกและระดับการกำกับดูแลผ่านเกณฑ์ ผลการประมาณค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของรูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิกแบบ p x r x o พบว่า เมื่อจำนวนผู้ประเมิน …


การออกแบบแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออฟไลน์และออนไลน์, ธีรวัฒน์ ศรีบุรมย์ Jan 2021

การออกแบบแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออฟไลน์และออนไลน์, ธีรวัฒน์ ศรีบุรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รูปแบบการทำงานเป็นทีมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูเปลี่ยนแปลงไปเป็นการทำงานในบริบทออนไลน์มากยิ่งขึ้นจำเป็นต้องส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออฟไลน์และออนไลน์ให้ครูทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ทักษะการทำงานเป็นทีมและทีมเสมือน ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรคของการทำงานเป็นทีมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (2) เพื่อออกแบบแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออฟไลน์และออนไลน์ที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของครู (3) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนไปใช้ในบริบทจริง ทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ การแบ่งปันความรู้และสารสนเทศ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ความเป็นผู้นำ และความเชื่อมั่นที่มีต่อเพื่อน ศึกษากับครูจำนวน 360 คนใช้วิธีการเลือกตัวอย่างตามสะดวก (convenience sampling) จากการเก็บข้อมูลแบบออนไลน์และฉบับกระดาษ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามการทำงานเป็นทีมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยง และความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย (1) สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) สถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม (one-way ANOVA) และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม (paired-samples t-test) ดำเนินการวิจัยด้วยการคิดออกแบบ (Design Thinking) แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ทักษะการทำงานเป็นทีมและทีมเสมือน เป็นการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพขั้นเข้าใจ ผลที่ได้นำไปสู่ขั้นกำหนดปัญหา ระยะที่ 2 การออกแบบแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนขั้นสร้างความคิด ขั้นสร้างต้นแบบ และขั้นทดลอง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ครูมีทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนค่อนข้างสูง ครูที่สอนระดับชั้นมัธยมปลายมีทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนสูงกว่าครูที่สอนชั้นประถมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูที่เป็นผู้นำมีทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนสูงกว่าครูที่เป็นสมาชิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบ ครูส่วนใหญ่สามารถแบ่งปันความรู้สารสนเทศและเป็นผู้นำในรูปแบบเผชิญหน้ากันได้ดีกว่าการทำงานเป็นทีมเสมือน และครูมีคุณลักษณะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือน 7 ลักษณะ 2. แนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย (1) แนวทางพื้นฐานสำหรับส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนโดยจะต้องสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ส่งเสริมความเป็นผู้นำ ความเชื่อมั่นที่มีต่อเพื่อน สร้างความไว้วางใจ กำหนดและใช้เครื่องมือสำหรับทำงานร่วมกันบนพื้นที่ออนไลน์ ฯลฯ และ (2) แนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของครู ประกอบด้วย สภาพปัญหา จุดเน้นที่ควรส่งเสริม บทบาทหน้าที่ กิจกรรม/กระบวนการ วิธีการสื่อสาร การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เช่น ส่งเสริมการใช้เครื่องมือแบบ Interactive …


การพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลเพื่อประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครู : การประยุกต์ใช้โมเดลทวิองค์ประกอบพหุกลุ่ม, วิสรุต สุวรรณสันติสุข Jan 2021

การพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลเพื่อประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครู : การประยุกต์ใช้โมเดลทวิองค์ประกอบพหุกลุ่ม, วิสรุต สุวรรณสันติสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์เป็นความสามารถของบุคคลหนึ่ง ๆ ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นในภาพรวมทั้งระบบกายภาพ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยประยุกต์ใช้การนำความรู้ทางภูมิศาสตร์ไปใช้ผ่านการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตีความ วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้และสรุปเป็นสารสนเทศ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครู 2. เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครูที่มีภูมิหลังต่างกัน แบ่งวิธีการดำเนินวิจัยออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ และระยะที่ 2 การวิเคราะห์ระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครูที่มีภูมิหลังต่างกัน ตัวอย่างวิจัยในครั้งนี้เป็น นักศึกษาครูระดับปริญญาตรีจำนวน 310 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การพัฒนาเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครูใน 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านความรู้ทางภูมิศาสตร์ และองค์ประกอบด้านการนำความรู้ทางภูมิศาสตร์ไปใช้ โดยเครื่องมือประเมินนั้นต้องมีการกำหนดสถานการณ์ รูปแบบเครื่องมือที่ใช้ ลักษณะของข้อคำถามและรูปแบบของตัวลวงในแต่ละองค์ประกอบย่อยของความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ 2. ผลการวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ โดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาพบว่าเครื่องมือมีความตรงเชิงเนื้อหาจากการประเมินความสอดคล้องเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญมีค่า IOC อยู่ระหว่าง .50-1.00 ความตรงเชิงโครงสร้างพบว่า โมเดลการวัดความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2= (18, N = 310) = 41.377, p = .001, CFI= .892, TLI = .832, RMSEA = .065, SRMR = .075) โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานโมเดลเฉพาะเจาะจง (specific model) ด้านความรู้ทางภูมิศาสตร์อยู่ระหว่าง .103-.517 ด้านการนำความรู้ทางภูมิศาสตร์ไปใช้อยู่ระหว่าง .114-.399 และในโมเดลทั่วไป (general model) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานด้านความรู้ทางภูมิศาสตร์อยู่ระหว่าง .122-.487 และด้านการนำความรู้ทางภูมิศาสตร์ไปใช้อยู่ระหว่าง .125-.601 ส่วนค่าสัมประสิทธิ์การทำนายอยู่ระหว่าง .120-.466 และตรวจสอบความเที่ยงด้วยวิธีการหาค่า KR-20 เท่ากับ 0.71 ดังนั้นเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครูที่สร้างขึ้นจึงมีคุณภาพสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง 3. นักศึกษาครูที่เรียนต่างสาขาวิชากันมีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์แตกต่างกัน (F(1, 308) = 118.612, p < .001) โดยนักศึกษาครูสาขาวิชาสังคมศึกษามีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์สูงกว่านักศึกษาครูสาขาวิชาอื่นทุกสาขาวิชา ส่วนนักศึกษาครูที่เรียนต่างชั้นปีกันก็มีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์แตกต่างกัน (F(4, 305) = 10.140, p < .001) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่แล้ว พบว่า นักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 มีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์สูงกว่านักศึกษาครูชั้นปีที่ 2 และนักศึกษาครูชั้นปีที่ 3 นักศึกษาครูที่มีภูมิลำเนาต่างกันมีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ไม่แตกต่างกัน (F(5, 304) = .828, p = .531) และนักศึกษาครูที่เคยมีประสบการณ์เข้ารับการอบรม สัมมนาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์มีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์สูงกว่านักศึกษาครูที่ไม่เคยเข้ารับการอบรม สัมมนาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ (F(1, 308) = 56.369, p < .001) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05


การพัฒนาแบบวัดความสามารถในการฟื้นพลังที่คำนึงถึงการตอบตามความปรารถนาของสังคมสำหรับนักเรียนพยาบาลทหาร, นุชปิยา ทองโชติ Jan 2021

การพัฒนาแบบวัดความสามารถในการฟื้นพลังที่คำนึงถึงการตอบตามความปรารถนาของสังคมสำหรับนักเรียนพยาบาลทหาร, นุชปิยา ทองโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบวัดความสามารถในการฟื้นพลังและแบบวัดการตอบตามความปรารถนาของสังคมสำหรับนักเรียนพยาบาลทหาร 2) ตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติ 3) ศึกษาระดับความสามารถในการฟื้นพลัง 4) เปรียบเทียบระดับความสามารถในการฟื้นพลังของนักเรียนพยาบาลทหารที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคมและไม่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคม สำหรับตัวอย่างวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนพยาบาลทหารของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 492 คน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย ค่าอำนาจจำแนก ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับนิยามตัวแปรที่ต้องการวัด การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ผลการวิจัย พบว่า 1. แบบวัดความสามารถในการฟื้นพลังที่พัฒนาขึ้นมีจำนวน 58 ข้อ เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย คือ ปัจจัยสนับสนุนจากภายนอก ปัจจัยสนับสนุนจากภายใน ปัจจัยด้านทักษะในการจัดการปัญหาและสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ส่วนแบบวัดการตอบตามความปรารถนาของสังคมมีจำนวน 10 ข้อ เป็นมาตรประมาณค่า 7 ระดับ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ การหลอกลวงตนเอง และ การจัดการความประทับใจ 2. คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดความสามารถในการฟื้นพลังสำหรับนักเรียนพยาบาลทหาร ประกอบด้วย 1) ค่าอำนาจจำแนก มีค่าอยู่ระหว่าง 0.31-0.66 2) ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับนิยามตัวแปรที่ต้องการวัด อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 3) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง พบว่า โมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2=95.32 df=86 p=0.23 CFI=1.00 NFI=0.92 RMR=0.04 RMSEA= 0.00) 4) สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.95 ส่วนคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบการวัดการตอบความปรารถนาของสังคมประกอบด้วย 1) ค่าอำนาจจำแนก มีค่าอยู่ระหว่าง 0.20-0.46 ค่าดัชนีความสอดคล้องข้อคำถามกับตัวแปรที่ต้องการวัด อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 3) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง พบว่า โมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2= 41.21 df=29 p=0.06 CFI=0.98 NFI=0.95 RMR=0.02 RMSEA=0.03 และ 4) สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.57 …


การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร, ขวัญเรือน จอมโคกสูง Jan 2021

การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร, ขวัญเรือน จอมโคกสูง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การประชุมกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 159 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ แบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การประเมินแผนงาน/โครงการ 2) การประเมินหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 3) การประเมินบุคลากร 4) การประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา 2. การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยประเด็นตรวจสอบหลัก 4 ประเด็น จำนวน 88 รายการตรวจสอบ มีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 มีความเที่ยงทั้งฉบับในระดับ 0.94 ผู้อำนวยการสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครมีระดับสมรรถนะการประเมินส่วนใหญ่ในระดับเชี่ยวชาญ การเปรียบเทียบสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามเพศ อายุ ระดับวุฒิการศึกษา ระดับวิทยฐานะ และขนาดโรงเรียน พบว่า สมรรถนะ การประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การประเมินตนเองโดยใช้รูบริกที่มีวิธีการต่างกันที่มีต่อพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์: วิธีแอนโนเทตประยุกต์และดับเบิ้ลเลเยอร์, พงศ์พล จินตนประเสริฐ Jan 2021

การประเมินตนเองโดยใช้รูบริกที่มีวิธีการต่างกันที่มีต่อพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์: วิธีแอนโนเทตประยุกต์และดับเบิ้ลเลเยอร์, พงศ์พล จินตนประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการประเมินทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของตนเอง กับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ ที่มีต่อพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน และ 2) เปรียบเทียบพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ในแต่ละระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ ที่ประเมินทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของตนเอง โดยใช้วิธีการประเมินตนเองที่แตกต่างกัน ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 100 คน เครื่องมือวิจัย คือ 1) แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และ 2) แบบสอบคู่ขนานทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการประเมินทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของตนเองกับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์สูงที่ได้รับการประเมินตนเองด้วยวิธีการที่แตกต่างกันมีพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ปานกลางที่ได้รับการประเมินทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของตนเองด้วยวิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์และวิธีการรูบริกดับเบิ้ลเลเยอร์มีพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่าวิธีการไม่ใช้เครื่องมืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และในส่วนของนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ต่ำที่ได้รับการประเมินทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของตนเองด้วยวิธีการรูบริกดับเบิ้ลเลเยอร์มีพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่าวิธีการไม่ใช้เครื่องมือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาแบบวัดการต้านทุจริตสำหรับนักเรียนประถมศึกษา, วนัสนันท์ ใจมณี Jan 2021

การพัฒนาแบบวัดการต้านทุจริตสำหรับนักเรียนประถมศึกษา, วนัสนันท์ ใจมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดการต้านทุจริตของนักเรียนชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐานในเขตรุงเทพมหานคร จำนวน 720 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดการตอบตามความปรารถนาของสังคม และแบบวัดการต้านทุจริตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงอ้างอิง ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. แบบวัดการต้านทุจริตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาพัฒนาขึ้น มีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์แบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 31 ข้อ แบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1)การมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทุจริต 2) การมีจิตพอเพียง 3) การละอายต่อการทุจริต4) การไม่ทนต่อการทุจริต มีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ตั้งแต่ 0.60 – 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.10 - 0.54 มีความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 โดยมีค่าความเที่ยงด้านการมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทุจริตค่าเท่ากับ 0.56 ด้านการมีจิตพอเพียงมีค่าเท่ากับ 0.62 ด้านการละอายต่อการทุจริตมีค่าเท่ากับ 0.62 และด้านการไม่ทนต่อการทุจริตมีค่าเท่ากับ 0.55ความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดจากการตรวจสอบด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง พบว่า โมเดลแบบวัดการต้านทุจริตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 35.27,df = 33,p = 0.36,AGFI = 0.99,RMR = 0.02, RMSES = 0.01) 2. เกณฑ์การแปลความหมายของคะแนนที่ได้จากแบบวัดการต้านทุจริตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา เป็นเกณฑ์แบบทีปกติ (normalized T -score) โดยภาพรวมการต้านทุจริตทีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 5 – 29 มีคะแนนทีปกติระหว่าง T21 – T61 เมื่อแบ่งรายองค์ประกอบ ด้านองค์ประกอบการมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทุจริต นักเรียนมีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 0 – 12 มีคะแนนทีปกติระหว่าง T21 …


การพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้ด้านการตระหนักรู้สถานการณ์ของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาลโดยใช้เว็บแอปพลิเคชัน, ปาริชาต อภิเดชากุล Jan 2021

การพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้ด้านการตระหนักรู้สถานการณ์ของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาลโดยใช้เว็บแอปพลิเคชัน, ปาริชาต อภิเดชากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้ด้านการตระหนักรู้สถานการณ์ของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาลโดยใช้เว็บแอปพลิเคชัน และ 2) เพื่อประเมินคุณภาพของรูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้ด้านการตระหนักรู้สถานการณ์ของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาลโดยใช้เว็บแอปพลิเคชัน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาวิสัญญีพยาบาลจำนวน 176 คน และอาจารย์นิเทศงานจำนวน 5 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดการตระหนักรู้สถานการณ์ แบบประเมินคุณภาพของผู้ใช้งานในการเชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชันกับผู้ใช้งาน แบบตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้ฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์เพียร์สัน การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มเดียว พารามิเตอร์ความง่าย พารามิเตอร์อำนาจจำแนก การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายใน ผลการวิจัยพบว่า 1.รูปแบบการประเมินฯที่พัฒนาขึ้นเป็นการเรียนรู้โดยใช้เว็บแอปพลิเคชันประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 1) การประเมินโดยใช้แบบวัดมัลติมีเดียของสถานการณ์การระงับความรู้สึกทั่วไปเพื่อการผ่าตัดคลอดในสถานการณ์ระยะเตรียมการ นำสลบ และการใส่ท่อช่วยหายใจ ประกอบด้วยแบบทดสอบหลายตัวเลือกเพื่อวัดตัวบ่งชื้ที่ 1-6 ได้แก่ การรวบรวบข้อมูล การตรวจความผิดปกติ การตีความ การสรุประเด็นปัญหา การคาดคะเนการปฏิบัติ และการคาดคะเนเหตการณ์ 2) การประมวลผลคะแนนและวิเคราะห์ผลประเมินตามเกณฑ์ระหว่างเรียนรู้และสิ้นสุดการเรียนรู้ 3) การให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีเพื่อช่วยปรับปรุงผู้เรียนในด้านข้อบกพร่องและเรียนรู้จนกว่าจะผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โดยข้อคำถามเพื่อวัดการตระหนักรู้สถานการณ์จำนวน 48 ข้อที่สอดคล้องกับโมเดล 2PL ได้รับการตรวจสอบคุณภาพรายข้อ พารามิเตอร์ความง่ายอยู่ระหว่าง -1.87 ถึง 3.91 พารามิเตอร์อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง -1.28 ถึง 2.06 และการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า (Chi-square = 3.84, df=5 , p=0.573) ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในเท่ากับ 0.75 และข้อมูลย้อนกลับมีความตรงเชิงเนื้อหา ได้ฟอร์มข้อสอบสร้างจากข้อคำถามวัดการตระหนักรู้สถานการณ์ต้นแบบจำนวน 41 ฟอร์มซึ่งมีความตรงเชิงเนื้อหา 2.รูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้ด้านการตระหนักรู้สถานการณ์ของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาลมีคุณภาพทุกด้านในระดับมากที่สุด โดยด้านความถูกต้อง มีคุณภาพในระดับมากที่สุด ผลการทดลองใช้รูปแบบการประเมินการตระหนักรู้สถานการณ์ของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาลโดยเว็บแอปพลิเคชัน พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคิดเป็นร้อยละ 91.67 โดยในสถานการณ์ที่ 1 มีนักศึกษาไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุด นักศึกษามีคะแนนการตระหนักรู้สถานการณ์ด้านการคาดการณ์มากที่สุด ผลการสำรวจความพึงพอใจในการเชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชันกับผู้ใช้งาน โดยค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านความรู้สึกโดยรวมที่มีต่อเว็บแอปพลิเคชัน ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการประเมินทักษะภาคปฏิบัติกับค่าทดสอบพบว่ามีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สันระหว่างคะแนนรวมที่ได้จากการประเมินการตระหนักรู้สถานการณ์โดยใช้แอปพลิเคชันต่อคะแนนประเมินทักษะภาคปฏิบัติ พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนารูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตี: การประยุกต์ใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์, ภูรินท์ เทพสถิตย์ Jan 2021

การพัฒนารูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตี: การประยุกต์ใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์, ภูรินท์ เทพสถิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตีโดยใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ และ (2) ตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของรูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตีโดยใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ ตัวอย่างวิจัย คือ (1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่บรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี 4 ชนิด ประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็ก จำนวน 84 คน และ (2) ผู้ประเมินทักษะดนตรีไทยที่มีความเชี่ยวชาญและผ่านการอบรม จำนวน 6 ท่าน เครื่องมือวิจัย คือ รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตี ประกอบด้วยเกณฑ์ 8 ด้าน 12 ข้อรายการประเมิน โดยแต่ละข้อรายการประเมินจะประกอบไปด้วยระดับคุณภาพ 5 ระดับ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย (1) การสังเคราะห์และตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของรูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตี (2) การทดลองใช้รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตี และ (3) การตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของรูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตีโดยประยุกต์ใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ วิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติโดยใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ผ่านฟาเซตที่เกี่ยวข้อง 4 ฟาเซต ได้แก่ ฟาเซตนักเรียน ฟาเซตผู้ประเมิน ฟาเซตเครื่องดนตรี และฟาเซตข้อรายการประเมิน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตีที่พัฒนาด้วยโมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ มีลักษณะเป็นรูบริกที่มีเกณฑ์ 8 ด้าน 12 ข้อรายการประเมิน มีระดับคุณภาพของข้อรายการประเมินหลังการปรับปรุงประสิทธิผลจาก 5 ระดับเป็นจำนวน 2 ถึง 3 ระดับ รูบริกถูกพัฒนาเป็นคู่มือการใช้รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยที่ประกอบด้วย (1) คำชี้แจงการใช้รูบริก ขอบเขตของทักษะที่เป็นเป้าหมายของการใช้รูบริกและกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมกับการใช้รูบริก (2) ภาระงานที่กลุ่มเป้าหมายต้องปฏิบัติ (3) ข้อตกลงเบื้องต้นและข้อควรคำนึงก่อนการใช้รูบริก (4) นิยามเชิงปฏิบัติการของเกณฑ์และข้อรายการประเมิน (5) รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทย และ (6) การแปลผลการประเมิน 2. รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตีที่พัฒนาด้วยโมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ แสดงถึงคุณภาพของคุณสมบัติทางจิตมิติที่ครบถ้วน โดยมีดัชนี IOC บ่งชี้ถึงความตรงเชิงเนื้อหา แสดงให้เห็นถึงการมีเนื้อหาของข้อรายการประเมินและคำอธิบายที่ครอบคลุมทักษะที่ต้องการประเมิน ความสอดคล้องกลมกลืนกับโมเดลของฟาเซตทั้ง 4 ฟาเซต ค่า point-measure correlation ของฟาเซตข้อรายการประเมิน …


ข้อเสนอทางเลือกเพื่อลดภาวะความท้อแท้ในการทำงานของครูจากปัจจัยเสี่ยงในโรงเรียน : การวิเคราะห์ต้นไม้เอสอีเอ็ม, ดวงฤทัย เด่นจารุกูล Jan 2021

ข้อเสนอทางเลือกเพื่อลดภาวะความท้อแท้ในการทำงานของครูจากปัจจัยเสี่ยงในโรงเรียน : การวิเคราะห์ต้นไม้เอสอีเอ็ม, ดวงฤทัย เด่นจารุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความท้อแท้ในการทำงานเกิดจากการตอบสนองต่อความเครียดเป็นเวลานานโดยไม่สามารถจัดการได้ การวิจัยนี้ศึกษา 1) ระดับความท้อแท้ในการทำงานและปัจจัยเสี่ยงในโรงเรียน 2) พัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยเสี่ยง 3) จำแนกกลุ่มของครูโดยใช้การวิเคราะห์ต้นไม้เอสอีเอ็ม และ 4) พัฒนาข้อเสนอทางเลือกในการลดความท้อแท้ในการทำงาน ตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 720 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ และวิเคราะห์ด้วย Independent sample t-test one-way ANOVA โมเดลสมการโครงสร้าง และต้นไม้เอสอีเอ็ม (SEM tree) จำแนกกลุ่มครูตามความแปรปรวนและสัมประสิทธิ์อิทธิพลที่แตกต่างกัน พบว่า ครูมีความท้อแท้ในการทำงานในระดับปานกลาง (M =33.60, SD = 9.41) โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความท้อแท้ คือ อายุ รายได้ ประสบการณ์ทำงาน จำนวนงานนอกเหนืองานสอน และการทำงานฝ่ายงบประมาณและแผนงาน ซึ่งการรับรู้ความสามารถในตนเอง และการสนับสนุนจากโรงเรียน ส่งผลต่อความท้อแท้ในการทำงานของครู โดยมีความยึดมั่นผูกพันในการทำงาน เป็นตัวแปรส่งผ่านแบบบางส่วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (chi-square (346, N = 720) = 1142.254, p < .001, CFI = .931, TLI = .919, RMSEA = 0.057 และ SRMR = 0.079) ส่วนกลยุทธ์การเผชิญปัญหาเป็นปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อความท้อแท้ในการทำงาน จากการวิเคราะห์ต้นไม้เอสอีเอ็มจำแนกครูเป็น 6 กลุ่มที่มีปัจจัยภูมิหลังต่างกัน พัฒนาทางเลือกในการลดความท้อแท้ในการทำงานไปยังครู ผู้บริหาร ผู้ออกนโยบายและสถานผลิตครู และประเมินความเหมาะสม พบว่า ข้อเสนอทางเลือกมีความความเป็นไปได้ระดับมาก และมีประโยชน์ในทางปฏิบัติระดับมากที่สุด