Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2011

Journal

Chulalongkorn University

Keyword

Articles 1 - 12 of 12

Full-Text Articles in Education

คุณลักษณะสำคัญของครูปฐมวัยตามการรับรู้ของนิสิตชั้นปีที่ ๔, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ Jan 2011

คุณลักษณะสำคัญของครูปฐมวัยตามการรับรู้ของนิสิตชั้นปีที่ ๔, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะสำคัญของครูปฐมวัยตามการรับรู้ของนิสิต ชั้นปีที่ ๔ กลุ่มเป้าหมายคือ นิสิตชั้นปีที่ ๔ จำนวน ๖๙ คน ของสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เรียนรายวิชางานครูระดับปฐมวัย ในปีการศึกษา ๒๕๕๑ ๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามปลายเปิด ๑ ชุด และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอผลด้วยการบรรยาย ผลของการศึกษาคุณลักษณะสำคัญของครูปฐมวัยตามการรับรู้ของ นิสิตชั้นปีที่ ๔ นำเสนอ ๒ ด้านดังนี้ ๑) ด้านบุคลิกภาพ การแต่งกายสุภาพเหมาะสมกับการเป็นครู กิริยาท่าทางในการนั่ง ยืน เดิน เป็นแบบอย่างได้ อารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความสะอาดทั้งร่างกาย และเครื่องแต่งกาย มีอารมณ์ขันและใช้คำพูดได้เหมาะสมกับบุคคลและโอกาส ๒) ด้านประสิทธิภาพ ทางวิชาการ ประกอบด้วย ๓ ด้าน คือ ความรู้ ความพร้อมและทักษะ ความรู้ ครูควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา หลักสูตร การสอน พัฒนาการเด็ก และการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้ให้แก่เด็ก ความพร้อม ครูต้องมีการตระเตรียมการสอนด้วยการศึกษาหลักสูตรและพัฒนา แผนการสอนด้วยวิธีการสอนที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการเตรียมสื่อและวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนและมีเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการเด็กด้วย เกณฑ์ที่ชัดเจน ทักษะการสอน ดำเนินการสอนตามแผนที่กำหนดและมีกิจกรรมที่หลากหลายให้เป็นไป ตามความสนใจของเด็ก จัดกิจกรรมทั้งรายบุคคล กลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ จัดสภาพแวดล้อมที่ถูก สุขลักษณะและเอื้อต่อการเรียนรู้ นำผลของการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กมาปรับ การจัดการเรียนการสอน


มุมห้องเรียน, ประณาท เทียนศรี Jan 2011

มุมห้องเรียน, ประณาท เทียนศรี

Journal of Education Studies

No abstract provided.


คิดนอกกรอบ, ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล Jan 2011

คิดนอกกรอบ, ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การออกแบบการจัดการเรียนการสอนเรื่องฟังก์ชันเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่คงทนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับกับการเรียนรู้ตามสภาพจริง, ปิยวดี วงษ์ใหญ่, ไพโรจน์ น่วมนุ่ม Jan 2011

การออกแบบการจัดการเรียนการสอนเรื่องฟังก์ชันเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่คงทนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับกับการเรียนรู้ตามสภาพจริง, ปิยวดี วงษ์ใหญ่, ไพโรจน์ น่วมนุ่ม

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อออกแบบการจัดการเรียนการสอนเรื่องฟังก์ชันโดยใช้วิธีการ ออกแบบย้อนกลับกับการเรียนรู้ตามสภาพจริง และเพื่อศึกษาประสิทธิผลในด้านความเข้าใจที่คงทน และศึกษาพัฒนาการของความเข้าใจเรื่องฟังก์ชัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้กลุ่มทดลอง กลุ่มเดียวและมีการทดสอบหลังทดลอง ๒ ครั้ง เพื่อออกแบบและหาประสิทธิผลของการจัดการเรียน การสอนเรื่องฟังก์ชัน โดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับกับการเรียนรู้ตามสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๒๑ คน ใช้เวลา ๑๐ สัปดาห์เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบ วัดความเข้าใจเรื่องฟังก์ชัน (หลังการทดลอง และหลังการทดลอง ๓ สัปดาห์) ใบกิจกรรม แบบสังเกต พฤติกรรม แบบบันทึกการสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการผ่านเกณฑ์เป็นรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้การทดสอบทวินาม การทดสอบทีแบบรายคู่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป มีความเข้าใจเรื่องฟังก์ชันแต่ละด้านผ่านเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๑๐ ภายหลัง การทดลอง ๓ สัปดาห์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ มีความคงทนของความเข้าใจเรื่องฟังก์ชันแต่ละ ด้านและ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีพัฒนาการของความเข้าใจเรื่องฟังก์ชันทั้งสามด้านดีขึ้น อย่างเป็นลำดับ


จับกระแสการศึกษาโลก, ปิยะ ศักดิ์เจริญ, วีรวิทย์ เรืองสุวรรณ, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Jan 2011

จับกระแสการศึกษาโลก, ปิยะ ศักดิ์เจริญ, วีรวิทย์ เรืองสุวรรณ, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


เปิดประเด็น, ยศวีร์ สายฟ้า Jan 2011

เปิดประเด็น, ยศวีร์ สายฟ้า

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การวิจัยและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดบางอ้อยช้าง(นันทศรีวิบูลย์บำรุง), รัชนีกร หงส์พนัส Jan 2011

การวิจัยและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดบางอ้อยช้าง(นันทศรีวิบูลย์บำรุง), รัชนีกร หงส์พนัส

Journal of Education Studies

รายงานการวิจัยและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดบางอ้อยช้าง(นันทศรีวิบูลย์บำรุง)เป็นโครงการย่อยของ โครงการวิจัยหลัก เรื่องโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษา (๑) บริบทของ โรงเรียน (๒) ลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และโปรแกรมการพัฒนาโรงเรียนในสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ที่ได้ดำเนินการตามโครงการ ๑๗ โครงการ (๓) ผลการดำเนิน โครงการ ๑๗ โครงการ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีที่มีต่อการพัฒนา โรงเรียนในด้านผู้บริหารและระบบการบริหาร ครูและระบบการจัดการเรียนการสอน ระบบสภาพ แวดล้อมของโรงเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน (๔) ผลกระทบของการพัฒนาโรงเรียนตามโครงการ ๑๗ โครงการที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้และวิถีชีวิต ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษาในโรงเรียนและผลกระทบที่มีต่อชุมชน วิธีการดำเนินการวิจัยจาก การเก็บข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนวัดบางอ้อยช้าง (นันทศรีวิบูลย์บำรุง) โดยเก็บ ข้อมูลจากแบบสอบถามและสังเกตการณ์และบันทึกการเข้าร่วมโครงการต่างๆ ตามแผนพัฒนาสถาน ศึกษา ปีงบประมาณ ๒๕๕๒ ของโรงเรียนวัดบางอ้อยช้าง (นันทศรีวิบูลย์บำรุง) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นเวลา ๒ ภาคการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ๑) โรงเรียนวัดบางอ้อยช้าง(นันทศรีวิบูลย์บำรุง) เป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี บริเวณโรงเรียนเป็นที่ตั้งของวัดบางอ้อยช้าง มีครูรวมทั้งสิ้น ๑๔ คน จำนวน นักเรียนทั้งหมด ๑๖๗ คน เป็นนักเรียนชายส่วนมาก และมีนักเรียนหญิงจำนวน ๗๔ คน สัดส่วน ครู: นักเรียน คือ ๑ : ๘ ๒) ลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และโปรแกรมการพัฒนา โรงเรียน โดยภาพรวมพบว่า การพัฒนาโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ประกอบ ด้วย ๔ แผนงาน ๑๗ โครงการ ๓) ผลการดำเนินโครงการ ๑๗ โครงการ พบว่าด้านการจัดการเรียน การสอน ครูปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเอื้อซึ่ง กันและกัน ครูมีองค์ความรู้และได้รับประโยชน์ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา …


การพัฒนารูปแบบชุดฝึกอบรมการส่งเสริมการรู้สารสนเทศตามลักษณะของกลุ่มผู้เรียนสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, นรีภัทร ผิวพอใช้ Jan 2011

การพัฒนารูปแบบชุดฝึกอบรมการส่งเสริมการรู้สารสนเทศตามลักษณะของกลุ่มผู้เรียนสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, นรีภัทร ผิวพอใช้

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การรู้สารสนเทศ และพัฒนารูปแบบชุดฝึกอบรมการ ส่งเสริมการรู้สารสนเทศตามลักษณะของกลุ่มผู้เรียนสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต เก็บข้อมูลโดยใช้ ๑) แบบสำรวจระดับการรู้สารสนเทศ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยสังเคราะห์จากมาตรฐานการรู้สารสนเทศของ อเมริกาและออสเตรเลีย ๒) รูปแบบชุดฝึกอบรมการรู้สารสนเทศตามลักษณะของกลุ่มผู้เรียนสำหรับ นักศึกษาปริญญาบัณฑิต มี ๓ รูปแบบ คือ เอกสารชุดฝึกอบรม เว็บไซต์ ซีดีรอม โดยทั้ง ๓ รูปแบบ ประกอบด้วย ๕ ส่วน ได้แก่ หลักการและเหตุผล จุดประสงค์ การประเมินผลก่อนเรียน กิจกรรม การเรียนที่จัดตามจุดประสงค์ และการประเมินผลหลังเรียน เนื้อหาประกอบด้วย ๖ โมดูล ตาม มาตรฐานการรู้สารสนเทศ ทดลองใช้รูปแบบชุดฝึกอบรมการรู้สารสนเทศ โดยใช้เอกสารชุดฝึกอบรม สำหรับผู้เรียนที่มีการรู้สารสนเทศระดับต่ำ เว็บไซต์และซีดีรอมสำหรับผู้เรียนที่มีการรู้สารสนเทศ ทุกระดับ ๓) แบบทดสอบการรู้สารสนเทศ เพื่อใช้จำแนกกลุ่มผู้เรียนด้วยคะแนนเปอร์เซ็นไทล์ ผลการ ศึกษา พบว่า ระดับการรู้สารสนเทศของนักศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับดี และผลการทดลองใช้ รูปแบบชุดฝึกอบรมพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .๐๕


การพัฒนาและทดลองใช้โปรแกรมการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการคิดไตร่ตรองของนิสิตครูระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ, นันทกาญจน์ ชินประหัษฐ์, สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา Jan 2011

การพัฒนาและทดลองใช้โปรแกรมการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการคิดไตร่ตรองของนิสิตครูระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ, นันทกาญจน์ ชินประหัษฐ์, สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ ๑) ศึกษาสภาพการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๒) สร้างและพัฒนาโปรแกรมการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการคิดไตร่ตรองของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และ ๓) ศึกษาผลการทดลองใช้โปรแกรมฯการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น ๓ ระยะ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ การสร้างและพัฒนาโปรแกรม และการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจ คือ นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ ๕ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ ซึ่งผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมาแล้ว ๒ ภาคการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น๒๔๔ คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยกึ่งทดลอง คือ นิสิตคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน ๓ คู่ (๖ คน) แบ่งเป็นนิสิตกลุ่มทดลอง ๓ คน และนิสิตกลุ่มควบคุม ๓ คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบวัดระดับความสามารถในการคิดไตร่ตรอง แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอน และแบบสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติบรรยาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ๑) นิสิตมีปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ๕ประเด็น (๑) ขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กระบวน และขั้นตอนการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (๒) ขาดความชัดเจนของรูปแบบการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนว่าควรเป็นการทำวิจัยแบบ ๕ บท หรือการทำวิจัยแบบ เล่มเล็กหลายเล่ม (๓) นิสิตมีภาระงานมาก ประกอบกับการทำวิจัยต้องใช้เวลามาก และนิสิตไม่สามารถบริหารจัดการเวลาได้ ทำให้ไม่มีเวลาในการทำวิจัย และรู้สึกว่าการทำวิจัยเป็นการเพิ่มภาระงาน (๔) ขาดงบประมาณในการทำวิจัย และ (๕) ปัญหาที่เกิดจากตัวนิสิตเองเช่น ความเกียจคร้าน ความไม่สม่ำเสมอในการจดบันทึก ๒) โปรแกรมการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการคิดไตร่ตรอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดไตร่ตรองของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูผ่านระบบการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ๔ แบบ คือการอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง การชี้แนะ การเขียนบันทึกหลังการสอนอย่างไตร่ตรอง และการเขียนกรณีศึกษา ๓) ผลการทดลองใช้โปรแกรมฯ พบว่าสามารถพัฒนาการคิดไตร่ตรองของกลุ่มที่ใช้โปรแกรมฯ ได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้โปรแกรมฯ ในกรณีศึกษาที่ ๑ และ ๒


กระบวนการนำแนวคิดจิตตปัญญาศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและประสบการณ์เรียนรู้ของนิสิตวิชาการวัดผลและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ Jan 2011

กระบวนการนำแนวคิดจิตตปัญญาศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและประสบการณ์เรียนรู้ของนิสิตวิชาการวัดผลและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ ๑) ศึกษากระบวนการนำแนวคิดจิตตปัญญาศึกษามาใช้ในการ จัดการเรียนการสอนรายวิชาการวัดผลและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย สำหรับนิสิตระดับปริญญาโท และ ๒) ศึกษาประสบการณ์การเรียนรู้ของนิสิตในด้านการตระหนักรู้ต่อตนเอง ผู้อื่น และวิชาชีพ บริบทของการวิจัยเป็นชั้นเรียนรายวิชาการวัดผลและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ที่เปิดสอนในภาค การศึกษาปลาย ปีการศึกษา ๒๕๕๑ สำหรับนิสิตปริญญาโท ภาคนอกเวลาราชการ จำนวน ๓๒ คน เก็บ ข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การดึงข้อมูลจากบันทึกสะท้อนการเรียนรู้ของนิสิต และ การสัมภาษณ์กลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการจัดระบบข้อมูลตามวิธีการ แบบอุปนัยกระบวนการนำแนวคิดจิตตปัญญาศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการวัดผล และประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยประกอบด้วย ๓ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) การเตรียมการ ประกอบด้วย การเตรียมชีวิตและการเตรียมวิชา ๒) การจัดการเรียนการสอน เป็นการดำเนินการภายใต้บรรยากาศ ของชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ และ ๓) การประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ที่ครอบคลุมองค์ความรู้ทั้ง ๓ ภาค คือ ภาคจิตวิญญาณ ภาควิชาชีพครู ปฐมวัย และภาควิชาการ ประสบการณ์เรียนรู้ที่เกิดขึ้นสามารถสรุปเป็นประเด็นการตระหนักรู้ต่อ ตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อวิชาชีพ ดังนี้ ๑) การตระหนักรู้ต่อตนเอง ได้แก่ การเข้าใจตนเอง การรู้เท่าทัน ตนเอง การปล่อยวาง ไม่ตัดสิน การเปิดใจกว้าง การเห็นคุณค่าในตนเอง การพัฒนาตนเอง การสังเกต ที่ละเอียดลออ การมองโลกในแง่ดีและมีความสุข การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ๒) การตระหนักรู้ต่อผู้อื่น ได้แก่ การเข้าใจและยอมรับผู้อื่น การมองเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง การเห็นอกเห็นใจและเห็นคุณค่าของผู้อื่น ๓) การตระหนักรู้ต่อวิชาชีพ การมองเด็กตามความเป็นจริง การสอนที่สอดคล้องกับ ธรรมชาติของเด็ก การเท่าทันตัวเองของครู การพัฒนาตนเองของครู การเป็นครูที่ใส่ใจเด็ก การเห็น คุณค่าของงานครู


ผลของโปรแกรมการฝึกซ้อมแบบวงจรที่มีต่อการพัฒนาสมรรถภาพทางกลไกของนักกรีฑาบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, กรัณย์ ปัญโญ Jan 2011

ผลของโปรแกรมการฝึกซ้อมแบบวงจรที่มีต่อการพัฒนาสมรรถภาพทางกลไกของนักกรีฑาบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, กรัณย์ ปัญโญ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกลไกของนักกรีฑาบุคลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างก่อนและหลังเข้ารับการฝึกตามโปรแกรมการฝึกแบบวงจร โดยการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกก่อนและหลังเข้ารับการฝึกตามโปรแกรมการฝึก ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยมีนักกีฬากรีฑาบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เข้ารับการทดสอบ จำนวน ๑๐ คน ผลการวิจัยจากการเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกลไกก่อนและหลังการฝึก สรุปได้ดังนี้ ๑) การทดสอบ แรงบีบมือ พบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนเพิ่มขึ้น ได้ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ ๑.๕๕ กิโลกรัม ๒) การทดสอบแรงเหยียดขา พบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้น ได้ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ ๕.๓๖ กิโลกรัม ๓) การทดสอบยืนกระโดดไกล พบว่า พลังระเบิดของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้น ได้ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ ๕.๙๐ เซนติเมตร ๔) การทดสอบยืนก้มตัว พบว่า ความอ่อนตัวเพิ่มขึ้น ได้ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ ๓.๑๐ เซนติเมตร ๕) การวัดปริมาตรความจุปอด พบว่า ความจุปอดเพิ่มขึ้น ได้ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ ๓๔๕ มิลลิลิตร ๖) การทดสอบวิ่งเก็บของ ๔๐ เมตร พบว่า ความคล่องแคล่วว่องไวเพิ่มขึ้น โดยได้ ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ ๐.๔๑ วินาที ๗) การทดสอบวิ่งเร็ว ๕๐ เมตร พบว่า ความเร็วเพิ่มขึ้น โดยได้ ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ ๐.๔๓ วินาที


แนะนำหนังสือ, อาชัญญา รัตนอุบล Jan 2011

แนะนำหนังสือ, อาชัญญา รัตนอุบล

Journal of Education Studies

No abstract provided.