Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

2019

Keyword

Articles 31 - 60 of 172

Full-Text Articles in Education

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเรื่องความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6, กิรณา จิรโชติเดโช, นพพร แหยมแสง, วรนุช แหยมแสง Jul 2019

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเรื่องความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6, กิรณา จิรโชติเดโช, นพพร แหยมแสง, วรนุช แหยมแสง

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎี การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง จํานวน 42 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบงกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ (1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (2) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า (1) กิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 81.03/80.63 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 (2) กลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเรื่องความน่าจะเป็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


ไดโนเสาร์ในห้องเรียน : การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางบรรพชีวินวิทยาในด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา, ชลิดา จูงพันธ์ Jul 2019

ไดโนเสาร์ในห้องเรียน : การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางบรรพชีวินวิทยาในด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา, ชลิดา จูงพันธ์

Journal of Education Studies

ไดโนเสาร์และซากดึกดําบรรพ์อื่น ๆ มีอิทธิพลต่อมนุษย์ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ไปจนถึงด้านการศึกษามายาวนาน ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ซากดึกดําบรรพ์ถูกนํามาใช้ด้านเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ใน 3 ลักษณะคือ 1) ทําหน้าที่เป็นเครื่องมือช่วยสร้างแรงจูงใจ และเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนสนใจกิจกรรมในชั้นเรียน 2) ทําหน้าที่เป็นเครื่องมือนําเข้าสู่บทเรียนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน 3) นํามาใช้เพื่อเข้าใจอาชีพ และวิธีการทํางานของนักวิทยาศาสตร์ ผลการศึกษายังพบว่าซากดึกดําบรรพ์ถูกนํามาใช้กับในชั้นเรียนตั้งแต่ในระดับปฐมวัยไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ยิ่งไปกว่านั้นยังพบอีกว่า วิธีการวิจัยทางบรรพชีวินวิทยามีศักยภาพอย่างยิ่งในการนําไปใช้ส่งเสริมทักษะด้านการทําวิจัยของครู อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยบางชิ้นที่ระบุถึงข้อจํากัดในการนําซากดึกดําบรรพ์มาใช้ในด้านการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอายุของผู้เรียน


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, นิพิฐพร โกมลกิติศักดิ์, นันทรัตน์ เจริญกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jul 2019

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, นิพิฐพร โกมลกิติศักดิ์, นันทรัตน์ เจริญกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบแนวคิด สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม และพัฒนาเป็นกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานใช้การศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ และสังเคราะห์กรอบแนวคิด จากนั้นเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ยกร่างกลยุทธ์ และจัดประชุมสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวน 397 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินกรอบแนวคิดแบบสอบถาม สภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ และแบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของกลยุทธ์
ผลการวิจัยพบว่า (1) กรอบแนวคิดกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนฯ ประกอบด้วยแนวคิดหลัก 3 เรื่อง ได้แก่ การบริหารวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ วิธีเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (2) สภาพที่พึงประสงค์ด้านการจัดการเรียนการสอนและสภาพเทคโนโลยีมีค่าเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์สูงที่สุดอยู่ในระดับมาก (3) จุดแข็งของการบริหารโรงเรียน คือ การจัดการเรียนการสอน ส่วนจุดอ่อนคือ การพัฒนาหลักสูตร การวัดและประเมินผลการพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาส ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ ส่วนภาวะคุกคาม ได้แก่ นโยบายของรัฐบาล สภาพสังคม และสภาพเทคโนโลยี (4) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนฯ มี 4 กลยุทธ์หลัก 11 กลยุทธ์รอง


การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้เชิงวิชาชีพแบบฐานสมรรถนะ, ภาวพรรณ ขําทับ Jul 2019

การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้เชิงวิชาชีพแบบฐานสมรรถนะ, ภาวพรรณ ขําทับ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้เชิงวิชาชีพแบบฐานสมรรถนะ และ 2) ประเมินประสิทธิภาพระบบการจัดการเรียนรู้เชิงวิชาชีพแบบฐานสมรรถนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อระบบการจัดการเรียนรู้เชิงวิชาชีพแบบฐานสมรรถนะ ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบโดยใช้กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ส่วน ได้แก่ การจัดการข้อมูลผู้ใช้ การจัดการรายวิชา การจัดการบทเรียนโมดูล การจัดการแบบทดสอบและการประเมินผลและการจัดการรายงาน ซึ่งได้ออกแบบระบบให้ใช้งานง่ายเหมาะสมกับทุกอุปกรณ์ ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบอยู่ในระดับดีมาก ผลการศึกษาพบว่า ผู้เชี่ยวชาญประเมินประสิทธิภาพการใช้งานระบบรวมทุกด้านอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50


รูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาด้วยการมีส่วนร่วมแบบเข้มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล, รัชนี พันออด Jul 2019

รูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาด้วยการมีส่วนร่วมแบบเข้มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล, รัชนี พันออด

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ กําหนดรูปแบบ และประเมินรูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาด้วยการมีส่วนร่วมแบบเข้มของผู้มีส่วนได้ส่วนนเสียเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล ประชากร ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑล โรงเรียนละ 9 คน จาก 761 โรง รวมทั้งสิ้น 6,849 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาด้วยการมีส่วนนร่วมแบบเข้มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) การปฏิรูปการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา (2) การปฏิรูปการจัดทําหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ (3) การปฏิรูปการประกันคุณภาพการศึกษา และ (4) การปฏิรูปการวัดและประเมินผลซึ่งรวมได้เป็น 15 องค์ประกอบย่อย 2) รูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาฯ เป็นชุดของการเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การปฏิบัติ การรับผลที่เกิดขึ้น และการประเมินผล ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงจุดเน้นวัตถุประสงค์ กระบวนการ และวิธีการ ให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล และ 3) รูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาฯ ในภาพรวม มีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อมูลมีการกระจายตัวน้อย


การพัฒนาระบบการจัดการความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาในเครือข่ายสหวิทยาเขตสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42, รุ่งนภา ธีฆะพร, นันทิยา น้อยจันทร์, ธานี เกสทอง Jul 2019

การพัฒนาระบบการจัดการความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาในเครือข่ายสหวิทยาเขตสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42, รุ่งนภา ธีฆะพร, นันทิยา น้อยจันทร์, ธานี เกสทอง

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาในเครือข่ายสหวิทยาเขต สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 มี 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพการจัดการความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาในเครือข่ายสหวิทยาเขต สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 ผู้ให้ข้อมูล จํานวน 376 คน 2) การสร้างระบบการจัดการความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาในเครือข่ายสหวิทยาเขตโดยใช้เทคนิคการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 17 คน และ3) การทดลองใช้ระบบการจัดการความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาในเครือข่ายสหวิทยาเขต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาในเครือข่ายสหวิทยาเขตมีสภาพการปฏิบัติงานที่เป็นจริงโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและมีสภาพการปฏิบัติงานที่คาดหวังโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระบบการจัดการความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาในเครือข่ายสหวิทยาเขต ดําเนินการความร่วมมือทางวิชาการโดยการจัดการด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) มีคุณภาพในระดับมาก 3) ผลการทดลองใช้ระบบการจัดการความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า กลุ่มผู้ทดลองใช้ระบบมีความพึงพอใจต่อการนําระบบไปใช้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก


การศึกษาตามอัธยาศัย : แนะนําหนังสือ, ณิชาภัทร โทนรัตน์ Jul 2019

การศึกษาตามอัธยาศัย : แนะนําหนังสือ, ณิชาภัทร โทนรัตน์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


กรอบแนวคิดของกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล, กัญจนา ศิลปกิจยาน, วรวรรณ เหมชะญาติ Jul 2019

กรอบแนวคิดของกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล, กัญจนา ศิลปกิจยาน, วรวรรณ เหมชะญาติ

Journal of Education Studies

บทความนี้นําเสนอผลการสังเคราะห์กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดสะเต็มศึกษา แนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร และความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล โดยผลการศึกษาที่ได้ คือ กระบวนการเรียนการสอนที่ประกอบไปด้วยขั้นจํานวน 4 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นเสนอปัญหา 2) ขั้นสืบสอบ 3) ขั้นเชื่อมโยงความรู้ และ 4) ขั้นประมวลผลการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาลใน 3 ด้าน ได้แก่ การสนทนาโต้ตอบ การเลาเรื่องหรือเหตุการณ์ และการสร้างสัญลักษณ์


การพัฒนาตัวบ่งชี้การอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง, กิตติกันตพงศ์ ศรีบัวนํา, วีรฉัตร์ สุปัญโญ, กุลธิดา จันทร์เจริญ Jul 2019

การพัฒนาตัวบ่งชี้การอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง, กิตติกันตพงศ์ ศรีบัวนํา, วีรฉัตร์ สุปัญโญ, กุลธิดา จันทร์เจริญ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้การอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมืองกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจํานวน 297 ชุมชน ใน 24 เขตของกรุงเทพมหานคร จํานวนทั้งสิ้น 5,807 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้การอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง ประกอบด้วย ด้านกาย ได้แก่ การเสียสละ 6 ตัวบ่งชี้ การเคารพกติกาสังคม 5 ตัวบ่งชี้ และการยอมรับซึ่งกันและกัน 5 ตัวบ่งชี้ ด้านวาจา ได้แก่ การพูดถูกกาลเทศะ 5 ตัวบ่งชี้ และการพูดสร้างสรรค์ 6 ตัวบ่งชี้ และด้านใจ ได้แก่ การทัศนคติที่ดีต่อความแตกต่างระหว่างของบุคคล จํานวน 7 ตัวบ่งชี้ การปรารถนาดีต่อผู้อื่น 8 ตัวบ่งชี้ และการรักษาความดีของตัวเอง จํานวน 8 ตัวบ่งชี้ รวมทั้งสิ้น 50 ตัวบ่งชี้ และ 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง (Second order confirmatory factor analysis) พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาได้จากค่าไคสแควร์ (Chi-square) มีค่าเท่ากับ 1344.94 ค่าความน่าจะเป็น เท่ากับ 0.16 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน เท่ากับ 0.85 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว เท่ากับ 0.81 และค่าความคลาดเคลื่อน เท่ากับ 0.08


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับแนวคิดมโนทัศน์ดาราศาสตร์พื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ม้ง, วสุพงษ์ อิวาง, กรีฑา แก้วคง Jul 2019

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับแนวคิดมโนทัศน์ดาราศาสตร์พื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ม้ง, วสุพงษ์ อิวาง, กรีฑา แก้วคง

Journal of Education Studies

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ดาราศาสตร์พื้นฐานของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จํานวน 14 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยนักเรียนตอบคําถามเชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับปรากฏการณ์พื้นฐานทางดาราศาสตร์ 18 ข้อ ผ่านการพูด การวาดภาพ และการปั้นดินนํ้ามัน ผลการสัมภาษณ์นําจัดกลุ่มโดยพิจารณาจากระดับความเข้าใจมโนทัศน์ ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีมโนทัศน์ดาราศาสตร์พื้นฐานที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับรูปร่าง การเกิดเงา และการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุบนท้องฟ้า ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์ของนักเรียนแต่ละคน


ข้อเสนอแนวโน้มนโยบายการผลิตครูประถมศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน การพัฒนานโยบายการเตรียมครูเพื่อพัฒนาคุณภาพ นักเรียนประถมศึกษา, สุธิดารัตน์ มัทธวรัตน์, ปองสิน วิเศษคิริ, พฤทธิ์ คิริบรรณพิทักษ์ Jul 2019

ข้อเสนอแนวโน้มนโยบายการผลิตครูประถมศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน การพัฒนานโยบายการเตรียมครูเพื่อพัฒนาคุณภาพ นักเรียนประถมศึกษา, สุธิดารัตน์ มัทธวรัตน์, ปองสิน วิเศษคิริ, พฤทธิ์ คิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเชิงนโยบายการผลิตครูประถมศึกษาของประเทศที่ ประสบความสำเร็จในระดับโลก และ 2) พัฒนานโยบายการเตรียมครูเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนประถม ศึกษาของประเทศไทย ใช้การวิจัยอนาคตแบบ EDFR ด้วยการวิจัยเอกสารเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ ของประเทศที่ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาระดับโลก จำนวน 11 ประเทศ เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์และแบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 50 คน เกี่ยวกับแนวโน้มนโยบายการผลิตครูประถมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความกี่ ค่าร้อยละมัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการศึกษา พบว่า แนวคิดและแนวโน้มเชิงนโยบายการผลิตครู มี 6 ด้าน คือ 1) ด้านการคัดเลือกคนเข้าเรียนครูประถม ศึกษา 2) ด้านหลักสูตรการผลิตครูประถมศึกษา 3) ด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 4) ด้านมาตรฐาน ของสถาบันผลิตครู 5) ด้านการให้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และ 6) ด้านการมีส่วนร่วมขององค์กร ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง


The Effectiveness Of Using Electronics Augmented Reality (Ar) Based Social Story Book To Decrease Inappropriate Behaviors Of Children With Autism, Angkhana Khantreejitranon Jul 2019

The Effectiveness Of Using Electronics Augmented Reality (Ar) Based Social Story Book To Decrease Inappropriate Behaviors Of Children With Autism, Angkhana Khantreejitranon

Journal of Education Studies

This research aimed 1) to investigate the inappropriate behaviors of children with autism, 2) to examine the effectiveness of the electronics augmented reality (AR) based social story book used for decreasing the inappropriate autistic behaviors. The target group of this specific study was 5 children with autism. The study adopted a single subject research design, ABA, which involved exploring the social behavioral problems of 5 children with autism, analyzing data and creating social story books, and developing those social story books into 5 electronics augmented reality (AR) based social story books (one story per child). The social behavioral problems of …


การจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของเทคโนโลยีในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ยุคใหม่โดยใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม, มุสตากีม อาแว, ญาสุมิน วรกิจจานนท์, ปิยพร ศักดิ์ภิรมย์, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ Jul 2019

การจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของเทคโนโลยีในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ยุคใหม่โดยใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม, มุสตากีม อาแว, ญาสุมิน วรกิจจานนท์, ปิยพร ศักดิ์ภิรมย์, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ

Journal of Education Studies

การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ ได้เปลี่ยนผ่านจากการมุ่งเน้นการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติไปสู่ยุคของการใช้เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาท้าทาย ผู้เรียนจึงจําเป็นต้องเรียนรู้ธรรมชาติของเทคโนโลยีที่มีลักษณะเฉพาะตัว ได้แก่ เทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ กระบวนการสร้างเทคโนโลยีสามารถเกิดข้อผิดพลาดได้ เทคโนโลยีมีความแตกต่างไปตามบริบทของพื้นที่และเทคโนโลยีมีผลกระทบรอบด้านทั้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยแนวทางการสอนธรรมชาติของเทคโนโลยีในวิชาวิทยาศาสตร์ควรบูรณาการกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม ร่วมกับการสะท้อนคิดอย่างชัดแจ้งของนักเรียนท้ายบทเรียน ซึ่งมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว EDP ที่สําคัญ 3 รูปแบบ คือ โมเดล SLED, 6E Learning และ Project-Based Learning ร่วมกับแนวทางการประเมินผลตามสภาพจริงตามตัวชี้วัดตามมาตรฐานสะเต็มศึกษาของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้เพื่อนํามาสู่การยกระดับการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ตามบริบทและกระแสสังคมในปจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ


Learning Analytics: The Relationship Between Cultural Differences And Online Behaviors, Patiphan Pholmat, Chaklam Silpasuwanchai Jul 2019

Learning Analytics: The Relationship Between Cultural Differences And Online Behaviors, Patiphan Pholmat, Chaklam Silpasuwanchai

Journal of Education Studies

This paper investigated online behaviors from 233 students using the Blackboard platform. Descriptive and inferential statistics were performed, crossing cultures and online behaviors with a focus on Learning Analytics method. Culture was found to have a significant effect on online behaviors, in which there is significant difference between cultures on content view counts (p = .015). There is no significant effect of cultures was found on assignment submission counts (p = .22) or discussion submission counts (p = .084). Further post-hoc analysis with Bonferroni correction confirms the difference between Africa and Europe and America, between South Asia and Europe and …


การประยุกต์ใช้การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางเพื่อพัฒนาความพร้อมในการสอนของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, วัลภา สถิรพันธุ์, พัชรัตน์ ลออปักษา Jul 2019

การประยุกต์ใช้การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางเพื่อพัฒนาความพร้อมในการสอนของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, วัลภา สถิรพันธุ์, พัชรัตน์ ลออปักษา

Journal of Education Studies

ปัจจุบันการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางเป็นที่นิยมยอมรับในวงกว้าง มีการวิจัยนําไปประยุกต์ใช้สอนตามศาสตร์ต่าง ๆ และในระดับชั้นที่หลากหลาย เนื่องจากการสอนแบบห้องเรียนกลับทางช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ช่วยให้มีอิสระในการสืบค้นและได้รับข้อมูลที่หลากหลายตามความสนใจนอกเหนือจากตําราในชั้นเรียน และสําหรับในส่วนของศาสตร์การสอน การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางมีความสําคัญมากกว่านั้น เนื่องจากในกระบวนการการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางช่วยให้นักศึกษาวิชาชีพครูได้ฝึกทักษะการสอนผ่านการถ่ายทอดความรู้ หรือข้อมูลต่าง ๆ ด้วยวิธีที่หลากหลาย สร้างความมั่นใจในการสอนเพื่อเตรียมพร้อมในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และการสอนในอนาคต บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอการประยุกต์ใช้การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางสําหรับนักศึกษา วิชาชีพครู โดยบูรณาการกับหลักการให้คําแนะนํา หลักการสอน และหลักการสะท้อนการเรียนรู้ ร่วมกับเนื้อหาของรายวิชา การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางในบทความนี้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นรับการแนะนํา 2) ขั้นเตรียมการ 3) ขั้นนําเสนอ ผ่านการถ่ายทอดความรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ การบรรยาย การสาธิต และการแสดงบทบาทสมมติ และ 4) ขั้นอภิปรายการเรียนรู้ โดยภาพรวมผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้รูปแบบนี้แต่หากยังไม่คุ้นชินต่อการปรับเปลี่ยนวิธีเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนควรคอยให้คําแนะนําและคําปรึกษาแก่นักศึกษาอย่างเหมาะสม


รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน, เกียรติศักดิ์ สาสุทธิ์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ Jul 2019

รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน, เกียรติศักดิ์ สาสุทธิ์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบ กําหนดรูปแบบ และประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ประชากรที่ใช้ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก 42 เขตพื้นที่การศึกษา รวมจํานวน 2,287 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อํานวยการ หรือรองผู้อํานวยการกลุ่มงานบริหารวิชาการ จากโรงเรียน 377 โรง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามองค์ประกอบ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สมการถดถอย
ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ หลักสูตรและการนําหลักสูตรไปใช้ การจัดการเรียนการสอน การประกันคุณภาพการศึกษา การวิเคราะห์ความสําคัญ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์หลักการ 2) รูปแบบการบริหารงานวิชาการฯ ประกอบด้วย หลักสูตรและการนําไปใช้ การจัดการเรียนการสอน และการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการบริหารการเปลี่ยนแปลงภายใต้ภายใต้กรอบของการวางแผน การปฏิบัติการ และการสะท้อนผล ตามองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการ โดยมีการกําหนดเกณฑ์การประกันคุณภาพภายในที่สอดคล้องกับการสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์จากสาระหลักสูตรท้องถิ่น และ 3) รูปแบบการบริหารงานวิชาการฯ มีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในระดับมากที่สุด


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, ศุภณัฐ พานา, ยศวีร์ สายฟ้า, วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา Jul 2019

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, ศุภณัฐ พานา, ยศวีร์ สายฟ้า, วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด ทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดย เป็นการวิจัยและพัฒนา มีระยะเวลาในการทดลอง 15 สัปดาห์ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวิติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้ เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If และระยะการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมายใน การวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบวัดทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และแบบวัดการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้ เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน แนวทางในการจัดการเรียนการสอน การเตรียมการสอน และขั้นตอนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “TIMER” ได้แก่ (1) ขั้นการสนทนาเกี่ยวกับประเด็นทางประวัติศาสตร์ (Talk about historical issue) (2) ขั้นการจินตนาการเกี่ยวกับอดีต (Imagine about the past) (3) ขั้นการจัดการกับหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ (Manage evidence) (4) ขั้นการสำรวจผ่านกาลเวลา (Exploration through time) และ (5) ขั้นการสะท้อนถึงอดีต (Refection to the past) ตลอดจนการวัดและประเมินผล 2. คุณภาพของรูป แบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If พบว่า นักเรียนมีทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์หลัง การทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการเปลี่ยนแปลงของทักษะ การคิดทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ไปในทางที่ดีขึ้น


รูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสํานึกสาธารณะของทหารกองประจําการ, ศุภวดี มีเพียร, อาชัญญา รัตนอุบล, จุฬารัตน์ เพชรวิเศษ Jul 2019

รูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสํานึกสาธารณะของทหารกองประจําการ, ศุภวดี มีเพียร, อาชัญญา รัตนอุบล, จุฬารัตน์ เพชรวิเศษ

Journal of Education Studies

จิตสำนึกสาธารณะเป็นคุณลักษณะสำคัญทำให้บุคคลสามารถขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างสมบูรณ์ ทหารกองประจำการเป็นกำลังพลที่สำคัญของกองทัพ ดังนั้น การวิจัยในครั้งนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะของทหารกองประจำการโดย ใช้แนวคิดการเรียนรู้ผู้ใหญ่และการเรียนรู้โดยการรับใช้สังคม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มทหารกองประจำ การที่ผ่านการฝึกอบรมและมีเวลาราชการเหลือก่อนปลดประจำการไม่เกิน 6 เดือน จากหน่วยกองพัน ทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 4 ที่เข้าร่วมการฝึกอบรม จำนวน 30 นาย ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการฝึก อบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะของทหารกองประจำการ ประกอบด้วย 1) การเตรียมความพร้อม 2) ความร่วมมือกับชุมชน 3) การสร้างวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 4) การเตรียมความพร้อมก่อนให้บริการชุมชน 5) การให้บริการชุมชน 6) การสะท้อนคิด และ 7) การประเมินผล ส่วนผลของระดับจิตสำนึกสาธารณะของ ทหารกองประจำการ พบว่า ทหารกองประจำการมีระดับจิตสำนึกสาธารณะเพิ่มขึ้น ภายหลังที่ได้รับ การฝึกอบรม โดยจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่มีจิตสำนึกสาธารณะด้านการคำนึงถึงประโยชน์ของสังคมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.6 ทั้งนี้รูปแบบการฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปสู่การพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะของทหาร กองประจำการได้ ซึ่งสามารถช่วยเหลือชุมชน สังคม และประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน


การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, วุฒินัย วังหอม, สมคิด สร้อยน้ำ, ประพรทิพย์ คุณากรพิทักษ์ Jul 2019

การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, วุฒินัย วังหอม, สมคิด สร้อยน้ำ, ประพรทิพย์ คุณากรพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการบริหารคุณภาพของโรงเรียน มัธยมศึกษาขนาดกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ดำเนินงาน 4 ระยะ คือ (1) การศึกษาองค์ประกอบการบริหารคุณภาพโดยการสังเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จด้านการบริหาร 5 คน (2) การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพ โดยใช้เทคนิค เดลฟายจากผู้เชี่ยวชาญ21 คน(3)การตรวจสอบรูปแบบการบริหารคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร 180 คน และ (4) การประเมินรูปแบบการบริหารคุณภาพ โดยการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการบริหารคุณภาพ มี 8 องค์ประกอบ คือ (1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (2) การวางแผนกลยุทธ์ (3) การสร้างทีมงานและทีมงาน (4) เทคโนโลยีและ (5) การมุ่งเน้นผู้รับบริการ (6) ความรับผิดชอบต่อสังคม (7) ผลลัพธ์การดำเนินการ และ (8) การติดตามความก้าวหน้า 2) ผลตรวจ สอบรูปแบบการบริหารคุณภาพพบว่า ผู้บริหารมิความคิดเห็นสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารคุณภาพพบว่าผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ารูปแบบการบริหารคุณภาพมีประโยชน์ มีความเหมาะสม และมิความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด


ผลของการสอนแบบนิรนัยผ่านโมบายเลิร์นนิงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีผลการเรียนต่างกัน, แคทลียา ศรีแปลก Jul 2019

ผลของการสอนแบบนิรนัยผ่านโมบายเลิร์นนิงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีผลการเรียนต่างกัน, แคทลียา ศรีแปลก

Journal of Education Studies

การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ (1) ผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบนิรนัยผ่านโมบายเลิร์นนิงและวิธีการสอนแบบปกติ (2) ผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนของนักเรียนได้รับการสอนแบบนิรนัยผ่านโมบายเลิร์นนิง (3) ผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบนิรนัยผ่านโมบายเลิร์นนิงกลุ่มเก่ง กลาง และอ่อน (4) แรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบนิรนัยผ่านโมบายเลิร์นนิงและวิธีการสอนปกติ และ (5) แรงจูงใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบนิรนัยผ่านโมบายเลิร์นนิงกลุ่มเก่ง กลาง และอ่อน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบฝึกหัดผ่านโมบายเลิร์นนิง แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามแรงจูงใจในการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติพื้นฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลอง (1) มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) กลุ่มเก่ง กลาง และอ่อน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนกลุ่มสูงมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มอ่อนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (4) มีระดับแรงจูงใจในการเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (5) กลุ่มเก่ง กลาง และอ่อนมีแรงจูงใจในการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนกลุ่มสูงมีแรงจูงใจในการเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มปานกลางอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ


การศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะนอกสถานที่ที่มีต่อการพัฒนาสุนทรียภาพของนักเรียนประถมศึกษา, สมใจ จงรักวิทย์ Jul 2019

การศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะนอกสถานที่ที่มีต่อการพัฒนาสุนทรียภาพของนักเรียนประถมศึกษา, สมใจ จงรักวิทย์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาการจัดกิจกรรมศิลปะ นอกสถานที่ที่มีต่อการพัฒนาสุนทรียภาพของนักเรียนประถมศึกษา 2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะ นอกสถานที่ที่มีต่อการพัฒนาสุนทรียภาพของนักเรียนประถมศึกษา 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อ การจัดกิจกรรมศิลปะนอกสถานที่ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโครงการเสริม ศักยภาพทางด้านศิลปะ (Art learning)โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 25 คน ทำกิจกรรมศิลปะนอกสถานที่ 6 กิจกรรม โดยใช้แผนการทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือในการวิจัย 1) แผนการเรียนรู้ 7 แผน 2) แบบบันทึกการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่ 6 ฉบับ 3) แบบทดสอบสุนทรียภาพ 4) คู1มือวิเคราะห์การแสดงออกทางสุนทรียภาพ 5) แบบสังเกตพฤติกรรม การแสดงออกทางสุนทรียะ 6) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมศิลปะนอก สถานที่ 7) แบบสอบถามภูมิหลังทางศิลปะของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการประมาณค่า ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติทดสอบค่าที (t-test) ที่ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1) จากการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่ทำให้เกิดการพัฒนา ศิลปะนอกสถานที่เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพของนักเรียน 6 กิจกรรม 2) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับ พัฒนาการสุนทรียภาพของนักเรียนหลังเข้าร่วมกิจกรรม (M = 3.70) สูงกว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม (M = 1.91) อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 3) นักเรียนมิความคิดเห็นต่อกิจกรรมศิลปะนอกสถานที่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด กิจกรรมที่ชื่นชอบมากที่สุดได้แก่ กิจกรรมที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 36 และกิจกรรมที่ประทับใจ มากที่สุด ได้แก่ กิจกรรมที่ 4


การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย, ปัณณ์ธิชา ถนนนอก, รัชชุกาญจน์ ทองถาวร, ไพบูลย์ อุปันโน Jul 2019

การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย, ปัณณ์ธิชา ถนนนอก, รัชชุกาญจน์ ทองถาวร, ไพบูลย์ อุปันโน

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม 2) เพื่อศึกษาผลการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม 3) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2/8 โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จํานวน 35 คนซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งผู้วิจัยกําหนดเกณฑ์คะแนนการผ่านร้อยละ 70.00
ผลการวิจัย พบว่า: 1. ได้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม 2. ผลการคิดวิเคราะห์ของกลุ่มเป้าหมายที่เรียนด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 92.85 สูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ คือร้อยละ 70.00 และคะแนนเฉลี่ยการคิดวิเคราะห์ทุกด้านสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนด ซึ่งสามารถเรียงลําดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ การจัดหมวดหมู่ (ร้อยละ100) รองลงมาได้แก่ การคาดคะเน (ร้อยละ 96.71) การหาความสัมพันธ์(ร้อยละ 91.42) การเปรียบเทียบ (ร้อยละ 89.28) และการสํารวจ(ร้อยละ 87.86) ตามลําดับ 3. ผลการประเมินการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ของกลุ่มเป้าหมายพบว่าคะแนนผลการประเมินการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 93.14 สูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้คือร้อยละ 70.00


แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, กนกพร ศิริโรจน์, อุบลวรรณ หงส์วิทยากร, ละเอียด ศิลาน้อย Jul 2019

แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, กนกพร ศิริโรจน์, อุบลวรรณ หงส์วิทยากร, ละเอียด ศิลาน้อย

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาคุณลักษณะ วิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ และนําเสนอแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ตัวอย่างได้แก่ 570 ตัวอย่าง จากชุมชน/พื้นที่ที่มีการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทั้งหมด 57 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากกรณีศึกษา จํานวน 4 ชุมชน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบ Snow ball และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะตามองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) ความยั่งยืน 1.2) การเรียนรู้และมีส่วนร่วมในศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา เอกลักษณ์/อัตลักษณ์เฉพาะถิ่นระหว่างนักท่องเที่ยวและเจ้าของพื้นที่ และ 1.3) ความผูกพันระหว่างนักท่องเที่ยวและเจ้าบ้าน 2) สถานการณ์การเรียนรู้ของชุมชนฯ พบว่า 2.1) เนื้อหา/องค์ความรู้ เรื่อง การสร้างความภาคภูมิใจและตระหนักรู้ในคุณค่าความเป็นชุมชนเจ้าของวัฒนธรรม เป็นเรื่องที่ชุมชนให้ความสําคัญมากที่สุด (M = 4.37) 2.2) วิธีการเรียนรู้ที่ชุมชนให้ความสําคัญมากที่สุด คือ ประสบการณ์ที่ได้รับจากการทดลองปฏิบัติจริง (M = 4.16) และ 2.3) แหล่งการเรียนรู้ที่ชุมชนให้ความสําคัญมากที่สุด คือ ปราชญ์ชาวบ้าน ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น (M = 4.37) และ 3) แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ การวางแผนร่วมกัน การจัดสรรรายได้ การทํางานเป็นทีมการประชุมร่วมกัน และการทํางานอย่างเป็นระบบ


Development Of An Instructional Model Based On Inquiry-Based Learning And 360 Degree Feedback Approaches To Enhance English Argumentative Writing Ability Of Undergraduate Students, Waraporn Tongjean, Ruedeerath Chusanachoti, Aumporn Makanong Jul 2019

Development Of An Instructional Model Based On Inquiry-Based Learning And 360 Degree Feedback Approaches To Enhance English Argumentative Writing Ability Of Undergraduate Students, Waraporn Tongjean, Ruedeerath Chusanachoti, Aumporn Makanong

Journal of Education Studies

The purpose of this study was to develop and study the effectiveness of an instructional model based on inquiry-based learning and 360 degree feedback approaches to enhance the English argumentative writing ability of undergraduate students. The sample was 36 sophomore English major students of Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. The data collection instruments were the argumentative writing ability tests. Data were analyzed by the arithmetic mean, standard deviation, and t-test. The findings of this study revealed that 1) the instructional model based on inquiry-based learning and 360 degree feedback approaches consisted of 4 steps: 1.1 stimulating curiosity, 1.2 making …


ผลการใช้กิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เรื่องเพศศึกษา โดยใช้แนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยที่มีต่อค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมไทย, ชัชวรรณ จูงกลาง, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Jul 2019

ผลการใช้กิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เรื่องเพศศึกษา โดยใช้แนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยที่มีต่อค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมไทย, ชัชวรรณ จูงกลาง, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เรื่องเพศศึกษาก่อนทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้แนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยที่มีต่อค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมไทย เลือกตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย (Sample random sampling) โดยการจับฉลากตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจํานวน 60 คน โรงเรียนเสาไห้ "วิมลวิทยานุกูล" จังหวัดสระบุรี แบ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับการใช้กิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เรื่องเพศศึกษาโดยใช้แนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย จํานวน 30 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการใช้กิจกรรม"ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"เรื่องเพศศึกษาแบบปกติ จํานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยได้แก่ แผนกิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เรื่องเพศศึกษาโดยใช้แนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย จํานวน 8 แผนกิจกรรม และแบบวัดค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยการทดสอบค่าที (Dependent t-test ในการทดสอบภายในกลุ่ม และ Independent t-test ในการทดสอบระหว่างกลุ่ม)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมไทย หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมไทย หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่มีต่อทักษะกลไกการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย, ณัฐิกา เพ็งลี Jul 2019

ผลของโปรแกรมทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่มีต่อทักษะกลไกการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย, ณัฐิกา เพ็งลี

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่มีต่อทักษะกลไกการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนอนุบาลในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอนุบาลอายุระหว่าง 4-5 ปี จํานวน 36 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 18 คน กลุ่มทดลอง 18 คน ทําการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที เก็บข้อมูลก่อนการทดลอง และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 โดยทดสอบทักษะกลไกเคลื่อนไหว 3 ด้าน คือ 1) ทักษะการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ 2) ทักษะการควบคุมอุปกรณ์ และ 3) พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกลไกการเคลื่อนไหวแต่ละด้านระหว่างกลุ่มด้วยสถิติที (Independent t-test) และภายในกลุ่มด้วยสถิติที (Paired t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกลไกการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ด้าน ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกลไกการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ด้าน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกลไกการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ด้าน หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกลไกการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ด้าน หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ไม่แตกต่างกับก่อนการทดลอง


การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ชรินทิพย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, สุรชัย สิกขาบัณฑิต Jul 2019

การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ชรินทิพย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, สุรชัย สิกขาบัณฑิต

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) ศึกษาระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงการบริหารการศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ 3) ศึกษาการบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่ส่งผลการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จํานวน 322 คน คํานวณขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan (1970) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อยู่ในระดับมาก (2) การบริหารการเปลี่ยนแปลงการบริหารการศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีโดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยด้านการกํากับติดตามมีค่ามากที่สุด (3) การบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาด้านการมีส่วนร่วม และด้านการกํากับติดตามสมการถดถอยพหุคูณของการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คือ การบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี = 1.5887 + 0.156 (การมีส่วนร่วม) + (การกํากับติดตาม)


Cu Flipped Smart: นวัตกรรมจากฐานการวิจัยสําหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, จินตวีร์ คล้ายสังข์ Jul 2019

Cu Flipped Smart: นวัตกรรมจากฐานการวิจัยสําหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, จินตวีร์ คล้ายสังข์

Journal of Education Studies

บทความนี้นําเสนอระบบ CU Flipped Smart หรือ CUFS ซึ่งเป็นนวัตกรรมกระบวนการเรียนรู้ที่ได้พัฒนาจากงานวิจัยเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะในห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะอาชีพและทักษะชีวิตสําหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา โดย CUFS เป็นการผสมผสานแนวคิดของเทคโนโลยีอัจฉริยะกับแนวคิดเรื่องห้องเรียนกลับด้านเพื่อให้เกิดกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะในห้องเรียนกลับด้านที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะอาชีพและทักษะชีวิต ซึ่งเป็นทักษะหนึ่งที่สําคัญในการเรียน การทํางาน และการดํารงชีวิตชองผู้เรียนต่อไป บทความจะฉายภาพกรอบแนวคิดและทฤษฎีที่เป็นฐานคิดในการพัฒนานวัตกรรมฯ ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม แนวคิดเรื่องการกํากับตนเองในการเรียนรู้ จากนั้นจะนําเสนอจุดเด่นของนวัตกรรมฯ ที่เน้นการออกแบบแบบเรซสปอนซีพ (Responsive design) เพื่อสามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์โมบายที่หลากหลาย ตอบโจทย์แนวคิด Bring your own devices (BYOD) อีกทั้งยังมีการนําแนวคิดเกมิฟิเคชันมาเสริมเพื่อให้ระบบฯ มีความท้าทายกับผู้เรียนแห่งยุคดิจิทัลนี้ และในส่วนสุดท้ายจะเป็นการสรุปผลที่ได้จากงานวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรม โดยได้ออกแบบและพัฒนาตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา สําหรับเป็นแนวทางในการนําไปประยุกต์ใช้ในบริบทจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลแก่ผู้เรียนสูงสุดต่อไป


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล, ดุษฎี อุปการ, อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร Jul 2019

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล, ดุษฎี อุปการ, อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล และ 2) ศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนฯ 2) การนําร่องกระบวนการเรียนการสอนฯ และ 3) การศึกษา
ผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนํ้าพี้มิตรภาพที่ 214 จํานวน 35 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 18 คน และกลุ่มควบคุม 17 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ระยะเวลาในการดําเนินการวิจัย 16 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินหัวใจและดอกไม้ แบบประเมินเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ (Executive functions) และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กระบวนการเรียนการสอนฯ มี 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นกระตุ้นสมอง ขั้นหยุดคิดก่อนเล่น ขั้นเล่นร่วมกัน และขั้นสะท้อนความสําเร็จ 2) ผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยควบคุมคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีขนาดอิทธิพลมาก


การพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะขิมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเดี่ยวขิมเพลงสารถี อัตราจังหวะ 3 ชั้น, ศศิรัตน์ บรรยายกิจ Jul 2019

การพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะขิมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเดี่ยวขิมเพลงสารถี อัตราจังหวะ 3 ชั้น, ศศิรัตน์ บรรยายกิจ

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดแบบฝึกทักษะ 2) ประเมินผลการทดลองใช้ชุดแบบ ฝึกทักษะ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นิสิตวิชาเอกดนตรีไทย เครื่องมือเอกขิม ระดับชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาดนตรี ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสังเกตทักษะ การเดี่ยวขิม แบบบันทึกการฝึกซ้อมทักษะการเดี่ยวขิม แบบวัดความพึงพอใจต่อการใช้ชุดแบบฝึกทักษะ การวิเคราะห์ข้อมูลในรูปตารางประกอบคำบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า (1) ทักษะการเดี่ยวขิมดีกว่า ก่อนการเรียนการสอน (2) ทักษะการเดี่ยวขิมดีกว่าก่อนการเรียน และมีพัฒนาการต่อเนื่องทุกสัปดาห์ (3) ผลการประเมินรายสัปดาห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 คน มีพัฒนาการดีขึ้นเป็นลำดับ (4) ความพึงพอใจ ของนิสิตต่อการเรียนโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน พบว่า ส่วนที่ 1 ผู้เรียนทั้ง 2 คน มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ส่วนที่ 2 พบว่าผู้เรียนทั้ง 2 มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ส่วนที่ 3 พบว่า ชุดแบบฝึกทักษะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นิสิตพัฒนาทักษะขิมในทุกด้าน