Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 155

Full-Text Articles in Education

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในโรงเรียนขนาดเล็ก, นิดาวรรณ ทองไทย Jan 2019

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในโรงเรียนขนาดเล็ก, นิดาวรรณ ทองไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ 2) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์กับผู้เรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนขนาดเล็กแห่งหนึ่งในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี จำนวน 24 คนได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียน-หลังเรียน แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมในการแก้ปัญหา และ แบบบันทึกการสัมภาษณ์แนวทางการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนแตกต่างจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยคะแนนทักษะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2) ผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แตกต่างจากผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยคะแนนทักษะผู้เรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม 3) ผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์มีทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น


ผลการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาที่มีต่อคุณลักษณะตามมาตรฐานครูของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา, พัฒนาภรณ์ มุสิกะสาร Jan 2019

ผลการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาที่มีต่อคุณลักษณะตามมาตรฐานครูของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา, พัฒนาภรณ์ มุสิกะสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สะเต็มศึกษาเป็นแนวคิดที่เหมาะกับการเรียนรู้ของนักเรียนในยุคปัจจุบัน การให้ความรู้กับครูผ่านการอบรมเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าวจึงมีความสำคัญในการช่วยให้นักเรียนได้ใช้ทั้งความรู้และทักษะควบคู่กันไป วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลของมาตรฐานครูที่ได้รับหลังการอบรมที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ 2) เพื่อศึกษาผลของมาตรฐานครูจากการนำสิ่งที่ได้รับจากการอบรมของครูผู้สอนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 คือ ครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในประเทศไทย ที่ผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษา ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม รวมทั้งสิ้น 156 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าความถี่ (f ) ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄ ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบเลือกตอบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่มที่ 2 คือ ครูผู้สอนที่ผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา ศูนย์สะเต็มศึกษาตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา) จำนวน 2 โรงเรียน โดยสัมภาษณ์และสังเกตการสอนครูผู้สอนโรงเรียนละ 2 คน จำนวนทั้งสิ้น 4 คน รวมทั้งสัมภาษณ์นักเรียนโรงเรียนละ 5 คน จำนวนทั้งสิ้น 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาที่ผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษา มีการปฏิบัติตามมาตรฐานครูของของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 (S.D.=0.76) 2) ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาหลังการนำสิ่งที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในชั้นเรียนประถมศึกษาตามมาตรฐานครูของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา มีระดับการปฏิบัติปานกลาง มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.59 (S.D.=0.78)


การศึกษากระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1, รัตนมน เกษจุฬาศรีโรจน์ Jan 2019

การศึกษากระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1, รัตนมน เกษจุฬาศรีโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบผสมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการจัดกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียน 4 สังกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร และ(2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการจัดกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียน 4 สังกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างในการศึกษาวิจัย ได้แก่ ครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนทั้ง 4 สังกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ (1) แบบสำรวจการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กประถมศึกษา และ(2) แบบสัมภาษณ์ครูเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ครูมีการปฏิบัติงานที่ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กอยู่ในระดับ มากที่สุด (M = 4.54, SD = 0.39) รองลงมาคือด้านการสังเกตพฤติกรรมและประเมินผลการเรียนรู้ของเด็ก (M = 4.42, SD = 0.47) ด้านการชี้แนะโดยตรงเพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้และการปรับตัว (M = 4.41, SD = 0.39) และด้านการเป็นแบบอย่างในการประพฤติตนสำหรับเด็ก (M = 4.28, SD = 0.36) อยู่ในระดับมาก และครูมีปฏิบัติงานที่ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม ด้านการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างอิสระน้อยที่สุด (M = 4.03, SD = 0.44)


ผลการใช้ชุดกิจกรรมรูปแบบเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง: กรณีศึกษาสภานักเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, รัตนาวดี แม่นอุดม Jan 2019

ผลการใช้ชุดกิจกรรมรูปแบบเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง: กรณีศึกษาสภานักเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, รัตนาวดี แม่นอุดม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมรูปแบบเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งสำหรับสภานักเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สภานักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 จำนวน 31 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง 2) แบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบกึ่งโครงสร้าง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมรูปแบบเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ย จำนวน 18 กิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมรูปแบบเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ยด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติทดสอบ (Paired-Sample t-test) วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยใช้ค่าสถิติแบบ (Independent-sample-t-test) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมรูปแบบเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ยมีความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนเข้าใจความคิดความรู้สึกของตนเองและรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น รู้จักการเป็นผู้ฟังที่ดีและตระหนักถึงคุณค่าของกระบวนการเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ยว่ามีความสำคัญกับตนเองในมิติของการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในโรงเรียน


ผลของการจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างระหว่างบุุคคลโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, ลักษมี แป้นสุข Jan 2019

ผลของการจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างระหว่างบุุคคลโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, ลักษมี แป้นสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนตามความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้เทคนิคผังกราฟิก และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้เทคนิคผังกราฟิก ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์) สังกัดสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 93 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยใช้เทคนิคผังกราฟิก แบบทดสอบทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียน ที่มีลักษณะเป็นแบบอัตนัยโดยการเขียนเป็นเรื่องราวเชิงบรรยาย จำนวน 2 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้เทคนิคผังกราฟิก มีทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้เทคนิคผังกราฟิก


Effects Of Using Tiered Instruction And Gamification Teaching Method On English Oral Communication Ability Of Ninth Grade Students, Pathomroek Phueakphud Jan 2019

Effects Of Using Tiered Instruction And Gamification Teaching Method On English Oral Communication Ability Of Ninth Grade Students, Pathomroek Phueakphud

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This quasi-experimental research was conducted with two purposes: 1) to investigate the effects of tiered instruction and gamification teaching method on students’ English oral communication ability in overall and analytical views and 2) investigate the effects between tiered instruction and gamification teaching method and conventional instruction on students’ English oral communication ability. The participants were ninth grade students of a small-sized secondary school in Chumphon, selected by purposive sampling into two mixed-ability classrooms.They were cluster-randomly assigned into experimental group with 22 students learned by tiered instruction and gamification teaching method, and control group of 18 students learned by conventional instruction. …


Effects Of Tiered English Reading Instruction On Reading Comprehension Ability And Opinions Of Lower Secondary School Students, Piyawadee White Jan 2019

Effects Of Tiered English Reading Instruction On Reading Comprehension Ability And Opinions Of Lower Secondary School Students, Piyawadee White

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Differentiated Instruction (DI) is an instructional approach that can be used in English reading classrooms for second language learners to accommodate a wide range of student reading abilities. Tiering is one specific DI strategy that aims to adapt instruction to different levels so all students in a mixed-ability classroom are adequately challenged. This study explored the effects of tiering instruction on the English reading comprehension of secondary school students in Thailand. Three parts of each lesson were tiered: content (reading texts), process (the way students make sense of the reading texts), and product (post-reading tasks). The students were also tiered …


Effect Of The Scaffolded Reading Experience Using A Graphic Novel On The English Reading Comprehension And Reading Motivation Of Thai Efi Students, Uthumporn Kennedy Jan 2019

Effect Of The Scaffolded Reading Experience Using A Graphic Novel On The English Reading Comprehension And Reading Motivation Of Thai Efi Students, Uthumporn Kennedy

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this study were 1) to investigate the effect of a graphic novel on students’ English reading comprehension and 2) to explore students’ English reading motivation while reading a graphic novel. Participants included 20 tenth grade Thai EFL students, who were studying in an Intensive English course. The experiment took 12 periods. The instruments used in this research were the English reading comprehension test, reading motivation questionnaires, lesson plans and student journals. The Paired sample t-test was used to investigate the difference between students’ mean scores between the Pre- and Post- English reading comprehension and reading motivation test …


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในบริบทการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ ด้วยวิธีการอภิปรายร่วมกับเทคนิค Think - Talk - Write เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, เดช พละเดช Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในบริบทการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ ด้วยวิธีการอภิปรายร่วมกับเทคนิค Think - Talk - Write เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, เดช พละเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในบริบทการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ด้วยวิธีการอภิปรายร่วมกับเทคนิค Think – Talk – Write เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้ในบริบทการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ ด้วยวิธีการอภิปรายร่วมกับเทคนิค Think - Talk - Write เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ในบริบทการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ ด้วยวิธีการอภิปรายร่วมกับเทคนิค Think - Talk - Write เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายได้แก่ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนหอวัง ปทุมธานี อำเภอปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ใช้ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 31 คน สำหรับการศึกษาบริบทการใช้งาน 2) ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจประเมินรูปแบบการเรียนรู้ จำนวน 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้ฯประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบคือ 1) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน 2) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน 3) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหา 4) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเครื่องมือ 2) ความสามารถทางการสื่อสารของผู้เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ในบริบทการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ ด้วยวิธีการอภิปรายร่วมกับเทคนิค Think - Talk - Write เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) ผลของการนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ฯ พบว่า ผลการประเมินรูปแบบอยู่ในระดับดี


โมเดลการออกแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ด้วยการสืบสอบบนฐานการโต้แย้ง, เจตนิพิฐ แท่นทอง Jan 2019

โมเดลการออกแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ด้วยการสืบสอบบนฐานการโต้แย้ง, เจตนิพิฐ แท่นทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอโมเดลการออกแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำนวน 105 คน วิเคราะห์ผลโดยใช้ดัชนีความต้องการจำเป็น ตัวอย่างที่ทดลองออกแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ คือ ผู้วิจัย เมื่อผู้วิจัยพัฒนาโปรแกรมสถานการณ์จำลองเสมือนจริงส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์แล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จำนวน 40 คน วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยการทดสอบที จากนั้นนำเสนอโมเดลการออกแบบ และรูปแบบของสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความเหมาะสมและรับรองโมเดลการออกแบบ และรูปแบบของของสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ผลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และฐานนิยม ผลการวิจัย พบว่า สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ในปัจจุบันไม่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้สามารถสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์โดยใช้คอมพิวเตอร์ แลัการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ได้เท่าที่ควรจะเป็น 2. ขั้นตอนของการการออบแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ประกอบไปด้วย 18 ขั้นตอน 3. ผู้เรียนที่เรียนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีคะแนนการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน มีความเห็นว่าโมเดลการออกแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับดีมาก 5. ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน มีความเห็นว่ารูปแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับดีมาก


รูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์ร่วมกันสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์, เทพยพงษ์ เศษคึมบง Jan 2019

รูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์ร่วมกันสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์, เทพยพงษ์ เศษคึมบง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาเอกสารและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ในโลกเสมือน การคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน และส่วนประกอบที่สนับสนุนการคิดสร้างสรรค์ของทีมเสมือน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์ร่วมกันสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ฯ และ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ฯ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 33 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 จำนวน 67 คน และจัดทีมแบบคละความสามารถออกเป็น 14 ทีม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ ระบบการจัดการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 3 มิติ (โลกเสมือน) และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินการคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน แบบสังเกตการมีส่วนร่วมในการคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน แบบประเมินคุณภาพของผลงานการจัดนิทรรศการทางการศึกษาในโลกเสมือนของนักศึกษา และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์ร่วมกันสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) โลกเสมือน 2) การจัดสภาพแวดล้อม 3 มิติ 3) เครื่องมือสื่อสารและการทำงานร่วมกัน 4) กิจกรรมการเรียนรู้ในโลกเสมือน 5) บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง 6) ส่วนประกอบที่สนับสนุนการคิดสร้างสรรค์ของทีมเสมือน และ 7) การประเมินผล และประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ 1) เตรียมการในชั้นเรียนปกติ 2) ร่วมเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ 2.1) ร่วมสำรวจตรวจตราสถานการณ์ 2.2) ร่วมคิดร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ 2.3) ร่วมค้นคว้าสืบเสาะข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ 2.4) ร่วมเสนอแนวทางในการแก้ไขสถานการณ์ 2.5) ร่วมคัดร่วมเลือกวิธีการแก้ไขสถานการณ์ และ 2.6) ร่วมสรุปแนวคิดการแก้ไขสถานการณ์ …


การพัฒนารูปแบบยูเลิร์นนิงด้วยวีดิทัศน์สถานการณ์แบบมีปฏิสัมพันธ์และการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาทางไกลระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเปิด, กิตติพันธ์ นาคมงคล Jan 2019

การพัฒนารูปแบบยูเลิร์นนิงด้วยวีดิทัศน์สถานการณ์แบบมีปฏิสัมพันธ์และการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาทางไกลระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเปิด, กิตติพันธ์ นาคมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบยูเลิร์นนิงด้วยวีดิทัศน์สถานการณ์แบบมีปฏิสัมพันธ์และการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาทางไกลระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเปิด 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบยูเลิร์นนิงฯ และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบยูเลิร์นนิงฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและความต้องการของนักศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบยูเลิร์นนิงฯ แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ U-learning (Ujalearn U-learning for all-เสิร์ฟความรู้สู่คนอยากเรียน) และแผนการกำกับกิจกรรม แบบประเมินรูปแบบฯ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบยูเลิร์นนิงฯ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาความคิดเห็น ได้แก่ นักศึกษาทางไกล ระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเปิด จำนวน 384 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนทางไกล จำนวน 3 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนทางไกล จำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักศึกษาทางไกล ระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 45 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบยูเลิร์นนิงด้วยวีดิทัศน์สถานการณ์แบบมีปฏิสัมพันธ์และการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาทางไกลระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเปิดที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1.1) ปัจจัยนำเข้าหรือองค์ประกอบของยูเลิร์นนิง ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ บุคลากร (Personnel) กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities) สื่อการเรียนรู้ (Learning Media) เครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีการสื่อสาร (Tools, Equipment and Information Technology) และแบบประเมินผล (Evaluation) 1.2) กระบวนการจัดการเรียนรู้ (Learning Process) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Preparation Before Learning) ขั้นจัดการเรียนรู้ด้วยวีดิทัศน์สถานการณ์แบบมีปฏิสัมพันธ์และการสะท้อนคิด (Interactive Scenario Video Learning & …


ผลการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคโคออปโคออปโดยใช้เครื่องมือการจัดการงานที่มีต่อความมุ่งมั่นในการทำงานสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, จริยาภรณ์ สวัสดิ์พูน Jan 2019

ผลการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคโคออปโคออปโดยใช้เครื่องมือการจัดการงานที่มีต่อความมุ่งมั่นในการทำงานสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, จริยาภรณ์ สวัสดิ์พูน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลของความมุ่งมั่นในการทำงานก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 ที่เรียนรู้ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคโคออปโคออปโดยใช้เครื่องมือการจัดการงาน และ (2) เปรียบเทียบผลของความมุ่งมั่นในการทำงานหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 ที่เรียนรู้ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคโคออปโคออปโดยใช้เครื่องมือการจัดการงานกับนักเรียนกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 ที่เรียนรู้ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคโคออปโคออป กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสิงหวิทยาคม จำนวน 54 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ (2) เครื่องมือการจัดการงาน (3) แบบวัดความมุ่งมั่นในการทำงาน และ (4) แบบสังเกตพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงาน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 มีค่าคะแนนเฉลี่ยของความมุ่งมั่นในการทำงานก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 และนักเรียนกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 มีค่าคะแนนเฉลี่ยของความมุ่งมั่นในการทำงานหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 อยู่ในระดับดีเยี่ยม


มาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่21, ทองจันทร์ เติมจิตร Jan 2019

มาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่21, ทองจันทร์ เติมจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ มาตรฐาน ตัวชี้วัด การจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อจัดทำและนำเสนอมาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่1 วิเคราะห์ สังเคราะห์ เอกสาร วรรณกรรม งานวิจัย และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ระยะที่2 จัดทำมาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ระยะที่3 การศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียน ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 255 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า (1) มาตรฐานการจัดการสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มี 4 มาตรฐาน 13 องค์ประกอบ 43 ตัวชี้วัด ประกอบด้วยมาตรฐานที่ 1) ด้านการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 มี 4 องค์ประกอบ 1) กระบวนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ 2) ความรู้ ทักษะ คุณธรรม 3) การพัฒนาผู้สอน 4) การพัฒนาผู้เรียน มี 14 ตัวชี้วัด มาตรฐานที่ 2) ด้านการใช้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 1) การใช้สื่อการเรียนรู้ 2) เทคโนโลยีการเรียนรู้ 3) การประเมินสื่อการเรียนรู้ มี 12 ตัวชี้วัด มาตรฐานที่3) ด้านการจัดการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ในประเทศไทย : การวิเคราะห์อภิมาน, ธนกร ชัยสิทธิ์ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ในประเทศไทย : การวิเคราะห์อภิมาน, ธนกร ชัยสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อวิเคราะห์สรุปผลเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของการวิจัยทางด้านการเรียนรู้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ 2) เพื่อวิเคราะห์หาค่าขนาดอิทธิพลจากปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อผลการเรียนรู้ของงานวิจัยทางด้านการเรียนรู้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ และ 3) เพื่อสังเคราะห์ข้อสรุปการเรียนรู้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้ จากการวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยตามองค์ประกอบกรอบแนวคิดพื้นฐานของการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยงานวิจัยที่นำมาวิเคราะห์ในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่ตีพิมพ์ระหว่างปี 2552-2562 จำนวน 66 เล่ม ผลการวิจัยพบว่า 1.งานวิจัยทางด้านการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่นำมาวิเคราะห์ครั้งนี้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 2552-2562 ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่ผลิตและเผยแพร่ในปี พ.ศ.2558 มากที่สุด (21.2%) ด้านสถาบันที่ผลิตงานวิจัยพบว่า เป็นงานวิจัยที่ผลิตจากมหาวิทยาลัยศิลปากร มากที่สุด (19.7%) ด้านระดับงานวิจัย พบว่าเป็นงานวิจัยที่ทำขึ้นในรูปแบบวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญามหาบัณฑิตมากที่สุด (69.7%) 2. งานวิจัยที่มีข้อมูลเพียงพอในการนำมาวิเคราะห์หาค่าขนาดอิทธิพล จำนวน 66 เรื่อง มีจำนวนค่าขนาดอิทธิพลจากระดับชุดการทดสอบสมมติฐาน 149 ค่า มีค่าเฉลี่ยของค่าขนาดอิทธิพลโดยรวมที่มีผลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้โดยรวมในการจัดการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ( d = 1.50) 3.ผลการสังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการเรียนรู้ในการจัดการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ ตามองค์ประกอบแนวคิดพื้นฐาน 3 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านศาสตร์การสอนหรือวิธีการสอนพบว่า ศาสตร์การสอนที่นำมาใช้ในการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้มากที่สุดคือ รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ ซึ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้อยู่ในระดับสูงมาก 2)ด้านเนื้อหาวิชาที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ คือ มีการใช้เนื้อหาวิชาในกลุ่มวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีมากที่สุด ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้อยู่ในระดับที่สูงมาก 3)ด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการเรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้แก่ เทคโนโลยีด้านระบบการจัดการเรียนการสอน พบว่า มีการใช้ระบบปฏิบัติการ Android ในการจัดระบบการเรียนการสอนมากที่สุด ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ด้านเทคโนโลยีด้านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า มีการใช้ VDO ในการเรียนการสอนมากที่สุด ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้อยู่ในระดับสูง ด้านระดับขั้นของการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ช่วง 30–79% ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้อยู่ในระดับค่อนข้างสูง และรูปแบบเนื้อหาบทเรียนที่เรียนด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ในระดับปานกลาง


ผลของการใช้โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ที่มีต่อการทำงานร่วมกันสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, นพดล แสงทอง Jan 2019

ผลของการใช้โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ที่มีต่อการทำงานร่วมกันสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, นพดล แสงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์สำหรับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เปรียบเทียบผลของการทำงานร่วมกันก่อนและหลังเรียนของกลุ่มผู้เรียนที่ใช้โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ 3) เปรียบเทียบผลของการทำงานร่วมกันหลังเรียนของกลุ่มผู้เรียนที่ใช้โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์กับกลุ่มที่ใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มผู้เรียนที่ใช้โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 ที่ใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ และกลุ่มทดลองที่ 2 ที่ใช้โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ จำนวนกลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ 3) แบบวัดทักษะการทำงานร่วมกัน 4) แบบสังเกตพฤติกรรม และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1) ผลการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์สำหรับมัธยมศึกษาตอนต้นภาพรวมในระดับมากที่สุด 2) กลุ่มผู้เรียนที่ใช้โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะการทำงานร่วมกันหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) กลุ่มผู้เรียนที่ใช้โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะการทำงานร่วมกันหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มผู้เรียนที่ใช้เทคนิคจิ๊กซอว์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 4) กลุ่มผู้เรียนที่ใช้โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์มีความพึงพอใจภาพรวมในระดับมาก


การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของนักเทคโนโลยีการศึกษา, ชไมพร อินทร์แก้ว Jan 2019

การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของนักเทคโนโลยีการศึกษา, ชไมพร อินทร์แก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษาเป็นการเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพได้ตามเกณฑ์และสอดคล้องกับมาตรฐานเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงของวิชาชีพ เพื่อความอยู่รอดและความยั่งยืนของวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษาในยุคเทคโนโลยีพลิกผัน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของนักเทคโนโลยีการศึกษาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) ศึกษาวิเคราะห์ระดับสมรรถนะของนักเทคโนโลยีการศึกษา และ 3) นำเสนอตัวบ่งชี้สมรรถนะของนักเทคโนโลยีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่าน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 10 คน และนักเทคโนโลยีการศึกษา 985 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินการรับรองตัวบ่งชี้สมรรถนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและองค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (f-test) สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของนักเทคโนโลยีการศึกษาได้สมรรถนะ 5 สมรรรถนะ 14 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ สมรรถนะที่ 1 ความรู้ทางวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษา มี 2 ตัวบ่งชี้ สมรรถนะที่ 2 คุณลักษณะของนักเทคโนโลยีการศึกษา มี 3 ตัวบ่งชี้ สมรรถนะที่ 3 ทักษะวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษา มี 3 ตัวบ่งชี้ สมรรถนะที่ 4 การบริหารจัดการและจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ มี 3 ตัวบ่งชี้ และสมรรถนะที่ 5 การพัฒนาวิชาชีพเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต มี 3 ตัวบ่งชี้ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะอันดับที่สอง พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square=33.27 , df = 30, p = 0.311, AGFI = 0.98, SRMR = 0.013, RMSEA = 0.011, CN = 1501.43) โดยค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 5 …


การพัฒนาชุดการสอนกลไกหุ่นยนต์ด้วยกระบวนการออกแบบ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนประถมศึกษา, วรัชญ์ น่วมอยู่ Jan 2019

การพัฒนาชุดการสอนกลไกหุ่นยนต์ด้วยกระบวนการออกแบบ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนประถมศึกษา, วรัชญ์ น่วมอยู่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนกลไกหุ่นยนต์ด้วยกระบวนการออกแบบ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนประถมศึกษา 2) ศึกษาผลการใช้ชุดการสอนกลไกหุ่นยนต์ด้วยกระบวนการอกแบบ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประสาทวิทยานนทบุรี ปีการศึกษา 2561 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการสอนกลไกหุ่นยนต์ แบบทดสอบวัดการคิดอย่างเป็นระบบของชุดการสอนกลไกหุ่นยนต์ และแบบสังเกตพฤติกรรมการคิดอย่างเป็นระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ชุดการสอนกลไกหุ่นยนต์ด้วยกระบวนการออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงระบบของนักเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบได้แก่ (1) ครู (2) นักเรียน (3) สื่อการเรียนรู้ และ (4) การวัดและประเมินผล และมีขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการออกแบบ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นนำเสนอสถานการณ์ (2) ขั้นพิจารณาปัญหา (3) ขั้นพัฒนาแนวทางการคิด (4) ขั้นเรียนรู้ผลงานกลุ่ม (5) ขั้นทดสอบปรับปรุงและประเมินผล (6) ขั้นสรุปรวมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และจากการทดลองผลคะแนนจากการทดสอบความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบของชุดการสอนกลไกหุ่นยนต์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


การพัฒนาระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทย, ศุภัทรพร อุปพงษ์ Jan 2019

การพัฒนาระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทย, ศุภัทรพร อุปพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อพัฒนาระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 2) เพื่อพัฒนาระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 3) เพื่อประเมินระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ตัวอย่างในการวิจัยได้ คือ ตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ผู้บริหารโรงเรียน 6 คน และตัวแทนครู 6 คน ตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ผู้บริหารโรงเรียนและตัวแทนครู 246 คน และตัวอย่างเพื่อร่างระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัล ใช้เทคนิคเดลฟายโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และคู่มือระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัยระหว่างควอไทล์ และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัล พบว่า ความต้องการจำเป็นในการเปลี่ยนผ่าน แต่ละองค์ประกอบ คือ 1) การใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหารายบุคคลของนักเรียน (PNIModified =0.19) 2) การพัฒนาความรู้ ทักษะและความเชี่ยวชาญในด้านการใช้เทคโนโลยีของบุคลากร (PNIModified =0.20) 3) การใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลเปิดที่เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ (PNIModified =0.22)และ 4) การนำแหล่งเรียนรู้ทางไกล มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน (PNIModified =0.22) 2. ระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัลระบบการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนดิจิทัลสำหรับโรงเรียนประถมเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทย มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 นักเรียน องค์ประกอบที่ 2 บุคลากร องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการ องค์ประกอบที่ 4 รูปแบบองค์กร โดยมี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพในแต่ละองค์ประกอบ 2) กำหนดยุทธศาสตร์เชิงกลยุทธ์ 3) ออกแบบการดำเนินการ 4) ดำเนินการปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนผ่าน และ …


รูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ส่วนบุคคลที่ใช้การชี้แนะทางปัญญาเพื่อส่งเสริมกรอบความคิดแบบเติบโตในการพัฒนาความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา, สุกานดา จงเสริมตระกูล Jan 2019

รูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ส่วนบุคคลที่ใช้การชี้แนะทางปัญญาเพื่อส่งเสริมกรอบความคิดแบบเติบโตในการพัฒนาความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา, สุกานดา จงเสริมตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยและองค์ประกอบของรูปแบบเครือข่ายฯ 2) พัฒนารูปแบบเครือข่ายฯ และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบเครือข่ายฯ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1)ศึกษาปัจจัยและองค์ประกอบของรูปแบบ โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากครูในสถานศึกษาที่มีนโยบายการใช้เทคโนโลยีในการการสอน 179 คน และนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง 2)พัฒนารูปแบบฯ และ 3)ทดลองใช้รูปแบบ โดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสังเกตจากกลุ่มตัวอย่างเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ส่วนประกอบ รูปแบบเครือข่ายฯ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1. เครือข่ายการเรียนรู้ส่วนบุคคลฯ ที่มี 8 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) การเรียนรู้ตามอัธยาศัย 2) ความน่าเชื่อถือของเครือข่าย 3) การมีแหล่งข่าวสารทางวิชาชีพ 4) การมีศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 5) ความน่าเชื่อถือของสมาชิก 6) การมีคนรู้จักในเครือข่าย 7) การติดต่อสื่อสารตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว และ 8) ความสนใจร่วมกัน และ 2. พื้นที่การเรียนรู้ส่วนบุคคลใช้การชี้แนะทางปัญญาฯ ที่มี 5 องค์ประกอบย่อย และ 6 องค์ประกอบที่สอดคล้อง ได้แก่ 1) การเรียนรู้แบบนำตนเอง 2) การมีผู้ชี้แนะให้คำปรึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบย่อยที่สอดคล้อง 3 องค์ประกอบ คือ ผู้ชี้แนะน่าเชื่อถือ ผู้ชี้แนะช่วยให้ผู้รับการชี้แนะพัฒนาตนเอง และผู้ชี้แนะสร้างแรงจูงใจได้ 3) การติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว 4) การมีระบบสำหรับการชี้แนะ ซึ่งมีองค์ประกอบย่อยที่สอดคล้อง 3 องค์ประกอบ คือ การประเมินผลด้วยการสะท้อนคิด การสังเกตการนำไปใช้ และการให้คำชี้แนะในการวางแผน และ5) การเข้าถึงพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกัน


ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทย, หทัยภัทร โอสุวรรณ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทย, หทัยภัทร โอสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทย 2) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทย 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลฯ ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตที่มีต่อแนวทางการแก้ปัญหาการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทย การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1, 2, และ 3 จำนวน 614 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์อิทธิพลด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) และขั้นตอนที่ 2 การนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับอาจารย์พฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยา จิตแพทย์ และครูแนะแนว และนำผลมาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทย พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นทั่วประเทศมีพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ 2. โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต ได้แก่ ปัจจัยด้านครอบครัว (β = -0.63) และปัจจัยส่วนบุคคล (β = -1.34) และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต ได้แก่ ปัจจัยอินเทอร์เน็ตและสื่อ ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านโรงเรียน โดยส่งผ่านปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงที่สุดต่อปัจจัยส่วนบุคคล คือ ปัจจัยด้านอินเทอร์เน็ตและสื่อ (β = -0.37) รองลงมา คือ ปัจจัยด้านครอบครัว (β = 0.17) และปัจจัยด้านโรงเรียนน้อยที่สุด (β = 0.12) ซึ่งโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 113.822, df = 42, p = 0.000, GFI = 0.98, AGFI = 0.95, …


โมเดลการออกแบบการฝึกอบรมอิงกรณีศึกษาออนไลน์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ, อัญญารัตน์ สุทัศน์ ณ อยุธยา Jan 2019

โมเดลการออกแบบการฝึกอบรมอิงกรณีศึกษาออนไลน์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ, อัญญารัตน์ สุทัศน์ ณ อยุธยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอโมเดลการออกแบบการฝึกอบรมอิงกรณีศึกษาออนไลน์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ (NADDIA Model) โดยกลุ่มตัวอย่างสำหรับศึกษาความคิดเห็น ได้แก่ ผู้บริหาร หรือผู้จัดการฝ่ายการบริการบนเครื่องบินจำนวน 5 คน หัวหน้าฝ่ายการบริการบนเครื่องบิน หรือผู้สอนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจำนวน 39 คน และพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจำนวน 296 คนและผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 18 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองโมเดลการออกแบบการฝึกอบรมฯ ได้แก่ ผู้สอนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจากบริษัทการบินไทย สายการบินเดลต้าแอร์ไลน์ และลุฟท์ฮันซ่า จำนวนทั้งหมด 6 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับทดลองออกแบบแผนการฝึกอบรมและกิจกรรมเครื่องมือวัด ตามโมเดลการออกแบบการฝึกอบรมอิงกรณีศึกษาออนไลน์ฯ จำนวน 1 คน ทดลองฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมฯ กับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จำนวน 12 คน ระยะเวลา 7 สัปดาห์ วิเคราะห์ผลด้วยค่าเฉลี่ยของคะแนน (Paired Samples t-Test) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลการออกแบบการฝึกอบรมฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ทีม มุ่งเน้นการออกแบบการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ (2) กลยุทธ์ ประกอบด้วยการฝึกอบรมอิงกรณีศึกษา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเขียนแผนภูมิวงจรปัญหา การตั้งคำถามตามกฎพื้นฐานการคิดดีเอสอาร์พี (DSRP) และการฝึกอบรมผ่านระบบออนไลน์ (3) ระบบจัดการเรียนรู้ โดยใช้ห้องเรียนออนไลน์สำหรับจัดการฝึกอบรมผ่านระบบออนไลน์ (4) สื่อและเนื้อหา สื่อสำหรับการฝึกอบรมทั้งในชั้นเรียนและผ่านระบบออนไลน์ ได้แก่ ห้องเรียนออนไลน์ ห้องสนทนาเฉพาะกลุ่ม จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เว็บสำเร็จรูปสำหรับการสื่อสารและประกาศข้อมูลเฉพาะกลุ่ม และทรัพยากรการเรียนรู้ที่เอื้อต่อทักษะการคิดเชิงระบบ และส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้แก่ แผนการฝึกอบรม สไลด์ประกอบการฝึกอบรม เอกสารการฝึกอบรม คู่มือการใช้งานโปรแกรม ภาพประกอบ ใบงานสรุปประเด็น แบบฝึกหัดวัดความเข้าใจผ่านระบบออนไลน์ ลิงก์เกี่ยวกับแนวคิดของกฎพื้นฐานการคิดดีเอสอาร์พี (DSRP) ลิงก์เกี่ยวกับแนวคิดการเขียนแผนภูมิวงจรปัญหา เว็บการสร้างวีดิทัศน์อิงกรณีศึกษา แบบประเมินรูบริกในการออกแบบแผนการฝึกอบรมและกิจกรรมเครื่องมือวัดสำหรับวัดผู้สอนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และแบบประเมินตนเองก่อนและหลังการฝึกอบรมเกี่ยวกับความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ สำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และขั้นตอนการออกแบบโมเดลฯ 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การจัดการความจำเป็น (N) …


การพัฒนาระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด โดยใช้วิธีดัชนีลำดับความสำคัญสูงสุด และวิธีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานแบบจำกัดความก้าวหน้า, รังสิมาภรณ์ หนูน้อย Jan 2019

การพัฒนาระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด โดยใช้วิธีดัชนีลำดับความสำคัญสูงสุด และวิธีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานแบบจำกัดความก้าวหน้า, รังสิมาภรณ์ หนูน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด โดยใช้วิธีดัชนีลำดับความสำคัญสูงสุด และวิธีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานแบบจำกัดความก้าวหน้า และเพื่อประเมินคุณภาพระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริดโดยการประเมินแบบอิงมาตรฐาน การประเมินฮิวริสติค และการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบการทดสอบ โดยงานวิจัยครั้งนี้ศึกษาภายใต้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบ 3 พารามิเตอร์ การพัฒนาระบบ การทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด ใช้ข้อสอบแบบฝึกพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของสถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 640 ข้อ มีการตรวจสอบคุณภาพข้อสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ จำนวน 1,109 คน และทดลองใช้ระบบทดสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพระบบ ประกอบด้วยแบบประเมินอิงมาตรฐาน แบบประเมินฮิวริสติค และแบบประเมิน ความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบ การทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้และความโด่ง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การพัฒนาระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด โดยใช้วิธีดัชนีลำดับความสำคัญสูงสุด และวิธีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานแบบจำกัดความก้าวหน้า ซึ่งทดสอบผ่านระบบออนไลน์ ระบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) รูปแบบของระบบการทดสอบ 2) การทดสอบ ซึ่งประกอบไปด้วย จุดเริ่มต้นการทดสอบ การประมาณค่าความสามารถผู้สอบด้วยวิธีการประมาณค่าด้วยความเป็นไปได้สูงสุด (MLE) การคัดเลือกข้อสอบด้วยวิธีดัชนีลำดับความสำคัญสูงสุด (MPI) การควบคุมการใช้ข้อสอบซ้ำด้วยวิธีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานแบบจำกัดความก้าวหน้า (PR-SE) การยุติการทดสอบ (≤0.3) และ 3) การรายงานผลการทดสอบ 2. ผลการประเมินคุณภาพระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด ด้วยการประเมิน แบบอิงมาตรฐานภาพรวมระบบการทดสอบมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (M= 4.59, SD = 0.35) ผลการประเมินระบบ แบบฮิวริสติคภาพรวมระบบการทดสอบมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (M= 4.42, SD= 0.33) และผลการประเมิน ความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบการทดสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด ภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากต่อระบบการทดสอบ (M=3.91, SD= 0.50)


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, ศิรดา กันอ่ำ Jan 2019

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, ศิรดา กันอ่ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม 3) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม และ 5) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ กรุงเทพมหานคร จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยร้อยละ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ในทางที่ดีขึ้น


อนาคตภาพห้องสมุดมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคมไทย, กนกกร กมลเพ็ชร Jan 2019

อนาคตภาพห้องสมุดมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคมไทย, กนกกร กมลเพ็ชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ฉายภาพอนาคตของสังคมไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า 2) วิเคราะห์ภาพปัจจุบันของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในการบริการชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 3) สร้างอนาคตภาพของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต กำหนดขอบเขตการวิจัยด้านระยะเวลาของอนาคตระหว่าง พ.ศ. 2565 – 2585 และขอบเขตด้านเนื้อหาเฉพาะบทบาทของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเท่านั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสารจำนวน 30 ฉบับ การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 11 คน การสัมภาษณ์ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยและผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยระดับหัวหน้างาน จำนวน 12 คน การใช้แบบสอบถามปลายเปิดแก่ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดระดับปฏิบัติการจำนวน 150 คน และการประชุมกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. อนาคตของสังคมไทยในอีก 20 ปี ข้างหน้า จะเป็นสังคมดิจิทัล คนไทยในอนาคตจะมีความเป็นตัวของตัวเองในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม ระบบการศึกษาจะเปลี่ยนไปสู่การส่งเสริมให้คนในสังคมมีคุณลักษณะของการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยจะเป็นหน่วยงานหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย 2. ปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยมีการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่สังคมในลักษณะของการให้บริการสารสนเทศทั้งแก่บุคลากรและนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ตลอดจนบุคคลภายนอก แต่ยังจำกัดอยู่ในขอบเขตและภารกิจที่กำหนดไว้ 3. บทบาทของมหาวิทยาลัยในอนาคตควรประกอบด้วย 3.1) บทบาทในการเป็นแหล่งแพร่กระจายข้อมูล 3.2) บทบาทในการเป็นพื้นที่การเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 3.3) บทบาทในการเป็นผู้สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กระบวนการเรียนรู้


แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม: กรณีศึกษาผู้ขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร, อิสรา สงวนพงศ์ Jan 2019

แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม: กรณีศึกษาผู้ขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร, อิสรา สงวนพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ขับรถแท็กซี่ 2) วิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ขับรถแท็กซี่ และ 3) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ขับรถแท็กซี่โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมตามมาตรฐานจริยธรรมด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ส่วนบุคคลและนิติบุคคลในกรุงเทพมหานคร โดยการเลือกแบบเจาะจง การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญโดยใช้เทคนิคการอ้างอิงต่อเนื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาบนฐานคิดทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของกิดเดนส์ (1984) และการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูรา (1971) ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพและปัจจัยทางสังคมที่เกิดจากโครงสร้างทางสังคมเชิงนโยบายสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขส่งผลให้ผู้ขับรถแท็กซี่ได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นรูปธรรม สภาพเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายทำให้ผู้ขับรถแท็กซี่ต้องเพิ่มชั่วโมงทำงาน และการออกแบบเทคโนโลยีที่ใช้งานง่ายและมีค่าใช้จ่ายถูกลงทำให้ผู้ขับรถแท็กซี่ได้รับข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้น 2) ผู้ขับรถแท็กซี่มีกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมในการเข้าถึงสิทธิและโอกาสจากภาครัฐและกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในกลุ่มอาชีพโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ และ 3) แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ขับรถแท็กซี่โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม ประกอบด้วย การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรของรัฐ โดยกรมการขนส่งทางบกบูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานประกันสังคมเพื่อส่งเสริมการให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและการเพิ่มความคุ้มครองทางสังคมแก่ผู้ขับรถแท็กซี่ และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมโดยการขยายจากพื้นที่จริงไปสู่พื้นที่ทางสังคมรูปแบบใหม่ (พื้นที่เสมือน) เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในกลุ่มอาชีพผู้ขับรถแท็กซี่ โดยกรมการขนส่งทางบกดำเนินงานร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในการพัฒนาทักษะอาชีพและการส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีสู่ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ผู้ขับรถแท็กซี่จึงมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมจากการพัฒนาตนเองและการแบ่งปันความรู้และความสามารถพิเศษที่ส่งต่อไปยังผู้คนจำนวนมากโดยใช้โซเชียลแอพพลิเคชั่นเป็นกลไกสำคัญ


แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมอาชีพคนพิการ, รัชนี จันทร์ทับทอง Jan 2019

แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมอาชีพคนพิการ, รัชนี จันทร์ทับทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาการส่งเสริมอาชีพคนพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการส่งเสริมอาชีพคนพิการ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมอาชีพคนพิการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสำรวจ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการส่งเสริมอาชีพคนพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ( x̄ = 2.87) สภาพที่คาดหวังในการส่งเสริมอาชีพคนพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาพรวมอยู่ ระดับปานกลาง ( x̄ = 3.18 ) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมอาชีพคนพิการ ลำดับที่1 คือ การเตรียมความพร้อมคนพิการสู่การประกอบอาชีพ ลำดับที่ 2 คือ การส่งเสริมการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน และ ลำดับที่ 3 คือ การพัฒนาทักษะการทำงานให้สอดคล้องกับการประกอบอาชีพ และสภาพปัญหาการส่งเสริมอาชีพคนพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหาที่พบสูงสุด ได้แก่ ปัญหางบประมาณไม่เพียงพอ 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการส่งเสริมอาชีพคนพิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นแบบอย่างที่ดี เกิดกระบวนการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการรับรู้และตระหนัก ขั้นการวิเคราะห์ปัญหา ขั้นการประเมินทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ขั้นการวางแผนดำเนินงาน ขั้นการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ ขั้นการประเมินผลและขั้นการพัฒนาต่อยอด กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กรและทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นแบบอย่างที่ดีสามารถส่งเสริมอาชีพคนพิการได้อย่างยั่งยืน 3) แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมอาชีพคนพิการ ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ผู้ร่วมเรียนรู้ เหตุผลและความจำเป็น ประเด็นการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ทั้ง 7 ขั้นตอน เพื่อทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดกระบวนการเรียนรู้ในการส่งเสริมอาชีพคนพิการ สามารถเป็นผู้กระทำการขับเคลื่อนงานด้านคนพิการ สร้างการเปลี่ยนแปลงกับโครงสร้าง คือ นโยบาย กฎหมาย ทัศนคติ ทรัพยากร ภาคีเครือข่ายได้อย่างงดงาม นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการได้อย่างยั่งยืน


การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย, นฤดี โสรัตน์ Jan 2019

การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย, นฤดี โสรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะความเข้มแข็งของครอบครัว วิธีและปัจจัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย 2) พัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย 3) เสนอแนวทางการใช้กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย ระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาแบบพหุกรณีศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารและสื่อ แบบสัมภาษณ์ และประเด็นสนทนากลุ่ม โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะของบริบทสังคมไทยที่มีในครอบครัวนำไปใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหาของทุกวัตถุประสงค์ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย (1) เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 1: ศึกษาเอกสารและสื่อจำนวน 12 รายการ และสัมภาษณ์เชิงลึก ครอบครัวที่มีความเข้มแข็งจำนวน 15 ครอบครัว (2) เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 2: สัมภาษณ์ครอบครัวที่มีความเข้มแข็ง 15 ครอบครัวเดิม และการสนทนากลุ่มครั้งที่ 1 (3) เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 3: สนทนากลุ่มครั้งที่ 2 และสรุปแนวทางการใช้กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย โดยผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ที่ 1 มี 3 ส่วน คือ 1.1) ลักษณะความเข้มแข็งของครอบครัว มี 9 ประการ ดังนี้ (1) มีสัมพันธภาพที่ดี (2) รู้บทบาทหน้าที่ของตน (3) การยึดมั่นคำสัญญา เชื่อใจ และมีความเชื่อ (4) มีการสื่อสารระหว่างกันและกันในด้านบวก (5) มีทุนทางสังคม (6) มีความสามารถในการพึ่งตนเอง (7) มีความสามารถในการจัดการปัญหา (8) มีหลักคำสอนศาสนายึดเหนี่ยวจิตใจในครอบครัว (9) มีลักษณะความเป็นพ่อแม่ต้นแบบและเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต 1.2) วิธีการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย มี 6 ประการ ดังนี้ (1) การพูดคุย สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (2) การทำตัวเป็นแบบอย่าง (3) การปรับตัว การปรับวิธีคิด การปรับความเชื่อ และความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง (4) การเรียนรู้ในครอบครัว (5) การปลูกฝังให้เป็นครอบครัวคุณธรรม (6) การเรียนรู้ทักษะชีวิตและทักษะการอยู่ร่วมกันกับคนอื่น …


อนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูการศึกษานอกระบบเเละการศึกษาตามอัธยาศัย, ประพิมพ์ อัตตะนันทน์ Jan 2019

อนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูการศึกษานอกระบบเเละการศึกษาตามอัธยาศัย, ประพิมพ์ อัตตะนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษา สภาพ ปัญหา และความต้องการ ด้านพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2. เพื่อฉายอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. และ 3.เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. งานวิจัยนี้ใช้เทคนิควิธีวิจัยแบบผสมผสาน ส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณคือผู้วิจัยได้ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการกับครูการศึกษานอกระบบเเละการศึกษาตามอัธยาศัย หรือครูกศน. จำนวน 2,145 คน ทั่วประเทศไทย ด้วยแบบสอบถามแบบเลือกตอบ ส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพคือ การฉายอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน.ด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 18 คน จัดประชุมสนทนากลุ่มย่อย กับครูกศน.จำนวน 18 คน จากนั้นจึงสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิของกศน.ทั้ง 9 ท่าน เกี่ยวกับขั้นตอนในการพัฒนาและกลไกในการสนับสนุนเพื่อให้พื้นที่การเรียนรู้เกิดขึ้นจริง และผู้วิจัยจึงนำข้อมูลทั้งหมดสังเคราะห์เป็นอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. ในการศึกษาความเป็นได้ของอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิของกศน.ทั้ง 9 ท่าน และการจัดประชุมกลุ่มย่อย กับครูกศน.18 ท่าน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจุบันครูใช้ศูนย์การเรียนชุมชนและห้องสมุดเป็นพื้นที่การเรียนรู้หลัก และพบว่าพื้นที่การเรียนรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ที่แท้จริงของครูกศน. และครูกศน.ต้องการให้พัฒนาพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองสำหรับครูกศน.โดยเฉพาะขึ้น 2) ผลการวิจัยระบุว่า ควรพัฒนาพื้นที่เดิมหรือเเหล่งการเรียนรู้เดิมที่สำนักงานกศน.มี เช่น กศน.ตำบล ให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. เเละให้ใช้คลังสารสนเทศดิจิทัลที่สำนักงานกศน.มีอยู่เดิม เช่น DMIS (Directive Management Information System) เเละเว็บไซต์ที่ครูกศน.จัดทำขึ้นกันเอง มาพัฒนาต่อยอดเเละส่งเสริมให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. โดยอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน.ประกอบไปด้วย 2.1) ลักษณะของพื้นที่การเรียนรู้ทั้ง 6 คือ วัตถุประสงค์ พื้นที่การเรียนรู้ (ความดึงดูด ความรู้สึกปลอดภัยและสบายใจ ความยืดหยุ่นและความสะดวกสบาย และความสามารถในการรองรับการใช้งานที่หลากหลาย) การสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกัน กิจกรรมการเรียนรู้ในพื้นที่การเรียนรู้ ความเป็นไปได้ 2.2) ขั้นตอนการพัฒนาพื้นที่เดิมเเหล่งการเรียนรู้เดิมให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ 7 ขั้นตอน กำหนดทีมงาน พิจารณาพื้นที่เดิม จัดสรรทรัพยากร ปรับปรุงพื้นที่ วางแผนกิจกรรม ประชาสัมพันธ์ ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และ 2.3) กลไกสนับสนุนเพื่อให้พื้นที่การเรียนรู้เกิดขึ้นจริง 11 กลไก คือ การออกแบบที่มีประสิทธิภาพ นโยบายที่เกี่ยวข้อง งบประมาณ บทบาทผู้บริหาร ความร่วมมือกับเครือข่าย …


การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนบนฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างเป้าหมายในชีวิตสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, อริสา สุมามาลย์ Jan 2019

การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนบนฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างเป้าหมายในชีวิตสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, อริสา สุมามาลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนบนฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างเป้าหมายในชีวิต สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) จัดทำข้อเสนอแนะในการนำกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนบนฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างเป้าหมายในชีวิต สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ไปขยายผลสู่การปฏิบัติในพื้นที่อื่น ระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัยคือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติ ขั้นสังเกตผล และขั้นการสะท้อนผล เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1.แบบบันทึกการจัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ 2.ใบสมัครเข้าร่วมกระบวนการ 3.แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 4.แบบบันทึกภาคสนาม 5. แบบบันทึกการทบทวนหลังการจัดกิจกรรม 6.แบบรายงานตนเองของนักศึกษา 7.แบบสัมภาษณ์กลุ่ม และ 8.แผนปฏิบัติการการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนบนฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างเป้าหมายในชีวิต สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า กระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนบนฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อเสริมสร้างเป้าหมายในชีวิต สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มี 4 องค์ประกอบดังนี้ 1. กระบวนการ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมผู้เรียน 2) การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการวางแผนร่วมกัน 3) การวิเคราะห์ความต้องการในการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมเป้าหมายในชีวิต 4) การแปลงความต้องการในเรียนรู้ให้เป็นวัตถุประสงค์ และออกแบบประสบการณ์ในการเรียนรู้ 5) การลงมือปฏิบัติตามแผนการเรียนรู้ 6) การประเมินผลการเรียนรู้ 2. หลักการ 3 มีหลักการ ได้แก่ 1) การพากลับสู่ด้านใน 2) การเรียนรู้ร่วมกันด้วยความเมตตา 3) การเคารพประสบการณ์และความต้องการของผู้เรียน 3.เงื่อนไขที่ต้องมี 2 เงื่อนไข ได้แก่ 1) นักศึกษามีความตั้งใจที่จะพัฒนาตัวเอง 2) นักศึกษาสามารถจัดสรรเวลาเพื่อข้าร่วมกระบวนการได้ และ 4.ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายและเข้าใจได้ง่าย 2) บรรยากาศการเรียนรู้ที่สบายใจ 3) ผู้จัดการเรียนรู้ที่เข้าใจและใส่ใจผู้เรียน 4) การให้กำลังใจกันระหว่างนักศึกษา 5) การเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ และข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ที่ 2 พบว่า ข้อเสนอแนะในการนำกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนบนฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างเป้าหมายในชีวิต สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ไปขยายผลสู่การปฏิบัติในพื้นที่อื่นได้นำเสนอ 6 ประเด็นได้แก่ …