Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2019

กลยุทธ์

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Education

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, นิพิฐพร โกมลกิติศักดิ์, นันทรัตน์ เจริญกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jul 2019

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, นิพิฐพร โกมลกิติศักดิ์, นันทรัตน์ เจริญกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบแนวคิด สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม และพัฒนาเป็นกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานใช้การศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ และสังเคราะห์กรอบแนวคิด จากนั้นเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ยกร่างกลยุทธ์ และจัดประชุมสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวน 397 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินกรอบแนวคิดแบบสอบถาม สภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ และแบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของกลยุทธ์
ผลการวิจัยพบว่า (1) กรอบแนวคิดกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนฯ ประกอบด้วยแนวคิดหลัก 3 เรื่อง ได้แก่ การบริหารวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ วิธีเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (2) สภาพที่พึงประสงค์ด้านการจัดการเรียนการสอนและสภาพเทคโนโลยีมีค่าเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์สูงที่สุดอยู่ในระดับมาก (3) จุดแข็งของการบริหารโรงเรียน คือ การจัดการเรียนการสอน ส่วนจุดอ่อนคือ การพัฒนาหลักสูตร การวัดและประเมินผลการพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาส ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ ส่วนภาวะคุกคาม ได้แก่ นโยบายของรัฐบาล สภาพสังคม และสภาพเทคโนโลยี (4) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนฯ มี 4 กลยุทธ์หลัก 11 กลยุทธ์รอง


กลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8, วิศนี ใจฉกาจ, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง Jan 2019

กลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8, วิศนี ใจฉกาจ, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของความต้องการในการพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ (2) สภาพพึงประสงค์และสภาพแวดล้อมของ (3) ศึกษาสภาพแวดล้อมของการพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ (4) นําเสนอกลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ ประชากร คือ ครูโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 จํานวน 2,683 คน กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 335 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ แล้วเลือกการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสํารวจฉบับร่างและแบบประเมินกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (X = 3.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การสอนคิดวิเคราะห์เนื้อหา มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (X = 3.93) สภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาครูในภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (X = 4.32) พิจารณา รายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสอนคิดวิเคราะห์เนื้อหา มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (X= 4.35) ผลการทดสอบค่าดัชนีจัดเรียงลําดับความสําคัญความต้องการจําเป็น ในภาพรวมมีค่า PNImodified เท่ากับ 0.116เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การสอนคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ มีค่า PNImodified เท่ากับ 0.120 เป็นลําดับที่หนึ่ง ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม พบว่า 1) จุดแข็ง (S) มีทั้งหมด 3 ประเด็น 2) จุดอ่อน (W)มีทั้งหมด 5 ประเด็น 3) โอกาส (O) มีทั้งหมด 9 ประเด็น 4) ภาวะคุกคาม (T) มีทั้งหมด 3 ประเด็น กลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ โรงเรียนมัธยมศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8ประกอบด้วย …


กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก, ปรตี ประทุมสุวรรณ์, บัญชา ชลาภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก, ปรตี ประทุมสุวรรณ์, บัญชา ชลาภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจําเป็นและพัฒนากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก ดําเนินการวิจัยโดยใช้วิธีแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลจากโรงเรียนมาตรฐานสากลจํานวน 226 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลางและสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดโดยเรียงลําดับความต้องการจําเป็นด้วยดัชนี PNIModified ได้เป็น 1) การกําหนดวัตถุประสงค์ 2) การระบุความเสี่ยง 3) การประเมินความเสี่ยง 4) การจัดการและจัดทําแผน และ 5) การรายงานและติดตามผล สําหรับกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก ประกอบไปด้วยกลยุทธ์หลัก 3 กลยุทธ์ กลยุทธ์รอง 12 กลยุทธ์ และวิธีการดําเนินงาน 37 วิธี


กลยุทธ์การกำกับผลลัพธ์การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธนภัทร พงษ์อร่าม, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ Jan 2019

กลยุทธ์การกำกับผลลัพธ์การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธนภัทร พงษ์อร่าม, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสําคัญ กําหนดกลยุทธ์ และประเมินกลยุทธ์ การกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อํานวยการสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมจํานวน 464 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามองค์ประกอบการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา 3) แบบสอบถามเพื่อระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา 4) แบบประเมินโอกาสและอุปสรรคของการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา และ5) แบบประเมินแผนกลยุทธ์เพื่อกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์ปัจจัย การวิเคราะห์ SWOT และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบสําคัญของการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษาฯ ประกอบด้วย4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การจัดและใช้แหล่งเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลรวมทั้งสิ้น 22 องค์ประกอบ 2) กลยุทธ์การกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษาฯประกอบด้วย กลยุทธ์การปฏิบัติ จุดมุ่งหมายเชิงกลยุทธ์ แนวทางการดําเนินการ และตัวชี้วัดความสําเร็จ3) กลยุทธ์การกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษาฯ ในภาพรวมมีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อมูลมีการกระจายตัวน้อย