Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Higher Education

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2018

Articles 1 - 7 of 7

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมของอาจารย์หลักสูตรนานาชาติ, กัลญา โอภาสเสถียร Jan 2018

การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมของอาจารย์หลักสูตรนานาชาติ, กัลญา โอภาสเสถียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ แบบวัดสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมของอาจารย์หลักสูตรนานาชาติ และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมของอาจารย์หลักสูตรนานาชาติ (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมของอาจารย์หลักสูตรนานาชาติ ตัวอย่างวิจัยคือ อาจารย์หลักสูตรนานาชาติมหาวิทยาลัยรัฐบาลและในกำกับจำนวน 289 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบวัดสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมของอาจารย์หลักสูตรนานาชาติที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมของอาจารย์หลักสูตรนานาชาติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงบรรยาย สถิติเชิงอ้างอิงโดยใช้การทดสอบที และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมของอาจารย์หลักสูตรนานาชาติ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 7 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบด้านความรู้ในการสื่อสารและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้คือ ความรู้ความเข้าใจในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม และความรู้ความเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษา องค์ประกอบด้านทัศนคติต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้คือ ความตระหนักในความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษา การเปิดใจยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษา และการใฝ่รู้ในความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษา องค์ประกอบด้านการปฏิสัมพันธ์และการสอนระหว่างวัฒนธรรม ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้คือ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการสอนนักศึกษาที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ส่วนแบบวัดสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมของอาจารย์หลักสูตรนานาชาติที่พัฒนาขึ้นมีเนื้อหาครอบคลุมทั้ง 3 องค์ประกอบ จำนวน 43 ข้อคำถามโดยมีลักษณะเป็นแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับซึ่งได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญว่ามีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC = .71 - 1.00) และมีความเที่ยงของแบบวัดแต่ละองค์ประกอบระหว่าง 0.822 - 0.939 โดยมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.947 และโมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมของอาจารย์หลักสูตรนานาชาติที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( 2 = 3.48, df = 6, P-value = 0.747, GFI = 1.00, AGFI = 0.98, SRMR = 0.012, RMSEA = 0.000 และ CN = 1400.28 )
2) อาจารย์หลักสูตรนานาชาติที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีระดับสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมทุกด้านอยู่ในระดับมาก …


รูปแบบการบริหารจัดการนิสิตนักศึกษาข้ามเพศในสถาบันอุดมศึกษาไทย, อาทิตย์ อินต๊ะแก้ว Jan 2018

รูปแบบการบริหารจัดการนิสิตนักศึกษาข้ามเพศในสถาบันอุดมศึกษาไทย, อาทิตย์ อินต๊ะแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงนโยบายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้ชีวิตของนิสิตนักศึกษาข้ามเพศและการบริหารจัดการนิสิตนักศึกษาข้ามเพศของสถาบันอุดมศึกษาไทย (2) วิเคราะห์แนวทางการบริหารจัดการที่ดีของสถาบันอุดมศึกษากรณีศึกษาของไทยต่อนิสิตนักศึกษาข้ามเพศและเปรียบเทียบการบริหารจัดการนิสิตนักศึกษาข้ามเพศของสถาบันอุดมศึกษาไทยและต่างประเทศ และ (3) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการนิสิตนักศึกษาข้ามเพศในสถาบันอุดมศึกษาไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย นิสิตนักศึกษาข้ามเพศจำนวน 52 คน อาจารย์ 20 คนและผู้บริหารจำนวน 24 คนจาก 24 สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศไทย ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การศึกษาเอกสารและภาพถ่าย การประชุมสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร แบบสัมภาษณ์นิสิตนักศึกษาข้ามเพศ แบบสัมภาษณ์อาจารย์ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบบันทึกการประชุมสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ และเครื่องบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. นิสิตนักศึกษาข้ามเพศส่วนใหญ่ได้รับการยอมรับและมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อบุคคลทั่วไปสามารถเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นผู้นำในกิจกรรมต่างๆของมหาวิทยาลัย นิสิตนักศึกษาข้ามเพศสามารถแสดงออกโดยการใช้คำพูดเพื่อแสดงถึงเพศที่ตนเองต้องการได้ รวมถึงการแต่งกายข้ามเพศในการเข้าเรียน การเข้าสอบและเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรได้ในขณะที่บางมหาวิทยาลัยยังไม่มีแนวปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว นิสิตนักศึกษาข้ามเพศส่วนใหญ่เลือกใช้ห้องน้ำเพศหญิงมากกว่าเพศชายเนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัยและความสะอาด นิสิตนักศึกษาข้ามเพศมีการจัดสรรเงินบางส่วนในการดูแลตนเองทางด้านรูปร่างและผิวพรรณเป็นพิเศษ นิสิตนักศึกษาข้ามเพศส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเลือกที่จะปรึกษาเรื่องส่วนตัวกับเพื่อนและรุ่นพี่ที่เป็นบุคคลข้ามเพศมากกว่าอาจารย์และเจ้าหน้าที่ภายในมหาวิทยาลัยและนิสิตนักศึกษาข้ามเพศส่วนใหญ่ต้องอาศัยอยู่ในหอพักที่มีการแบ่งแยกตามเพศกำเนิด มีการส่งเสริมการให้ความรู้และความเข้าใจในเรื่องของเพศวิถีและความหลากหลายทางเพศในมหาวิทยาลัยเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจต่อความหลากหลายในสังคมมหาวิทยาลัย
2. สถาบันอุดมศึกษาไทยที่มีแนวปฏิบัติที่ดีให้เสรีภาพต่อนิสิตนักศึกษาข้ามเพศในการเข้าร่วมและจัดกิจกรรมต่างๆ การออกประกาศหรือแนวทางปฏิบัติในการแต่งกายของนิสิตนักศึกษาข้ามเพศอย่างชัดเจน การจัดสรรห้องน้ำเสมอภาคซึ่งเป็นห้องน้ำที่นิสิตนักศึกษาทุกคนสามารถเข้าใช้บริการร่วมกันได้รวมถึงนิสิตนักศึกษาพิการ บุคลากรหรืออาจารย์ผู้สูงอายุต่างๆ การบริการให้คำปรึกษาและสุขภาพแก่นิสิตนักศึกษาโดยความร่วมมือกับทางคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมีนักจิตวิทยาและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเพศคอยให้บริการในศูนย์การให้คำปรึกษาและสุขภาพแก่นิสิตและนักศึกษาข้ามเพศ การเปิดรายวิชาและหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเพศวิถีและบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศให้กับนิสิตนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
3. รูปแบบการบริหารจัดการนิสิตนักศึกษาข้ามเพศในสถาบันอุดมศึกษาไทย (FICE Model) ประกอบด้วยการบริหารจัดการนิสิตนักศึกษาข้ามเพศใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การบริหารจัดการด้านเสรีภาพ การแสดงออกและกิจกรรม (F: Freedom, Gender Expression, and Activity Management) ด้านที่ 2 การบริหารจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก (I: Infrastructure and Facility Management) ด้านที่ 3 การบริหารจัดการด้านการให้คำปรึกษาและสุขภาพ (C: Counselling and Healthcare Service Management) และด้านที่ 4 การบริหารจัดการด้านการส่งเสริมการให้ความรู้และความเข้าใจในเรื่องของเพศวิถีและความหลากหลายทางเพศ (E: Educational and Training Program Management)


โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ.ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ของนักศึกษาพยาบาล, พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ Jan 2018

โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ.ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ของนักศึกษาพยาบาล, พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรอบรู้ทางสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลที่อยู่ในภูมิภาค และระดับชั้นปีแตกต่างกัน และศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักศึกษาพยาบาล การดำเนินงานวิจัย คือแบบพหุวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการสำรวจความรอบรู้ทางสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล ประเมินด้วย ข้อมูลพื้นฐานและแบบประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพในนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 - ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 390 คน ของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุขในภูมิภาคต่าง ๆ จำนวน 12 แห่ง ระยะที่ 2 เป้นการการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 72 คน เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2561 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 36 คน นักศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี เป็นกลุ่มทดลอง และนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท เป็น กลุ่มควบคุม ตามลำดับ เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักศึกษาพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักศึกษาพยาบาล แบบ และแบบประเมินความเชื่อมั่นแห่งตน ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพ และแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพตามหลักปฏิบัติตน 3 อ. ของนักศึกษาพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย มีดังนี้
1.นักศึกษาพยาบาลที่เรียนในวิทยาลัยพยาบาล ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคต่างกันมีคะแนนความรอบรู้ทางสุขภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ F (3, 386) = 3.02, p=0.03 …


Development Of An International Curriculum Model In Education Management For Vietnam Higher Education Institutions, Thi My Ngoc Nguyen Jan 2018

Development Of An International Curriculum Model In Education Management For Vietnam Higher Education Institutions, Thi My Ngoc Nguyen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this research are (1) to investigate the current state and the need for internationalization of curriculum of Master Degree in Education Management for Vietnam higher education institutions (2) to analyze good practices for the internationalization of curriculum of Master Degree in Education Management in international universities, (3) to develop an international curriculum management model for Vietnam higher education institutions. The samples include (1) seven policy makers at national and institutional level (2) five administrators at faculty level (3) 67 faculty members, and (4) 217 students from five Vietnamese higher education institutions offering Master Degree in Education Management. …


การพัฒนาโปรแกรมการเพิ่มพูนความสามารถในการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนของนักศึกษาพยาบาลทหาร-ตำรวจ, ชุติมา ฮากิม Jan 2018

การพัฒนาโปรแกรมการเพิ่มพูนความสามารถในการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนของนักศึกษาพยาบาลทหาร-ตำรวจ, ชุติมา ฮากิม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบความสามารถในการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนของนักศึกษาพยาบาลทหาร-ตำรวจ 2) พัฒนาโปรแกรมการเพิ่มพูนความสามารถในการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนของนักศึกษาพยาบาลทหาร-ตำรวจ และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มพูนความสามารถในการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนของนักศึกษาพยาบาลทหาร-ตำรวจ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบพหุวิธี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 294 คน ของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ 2) นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ของวิทยาลัยพยาบาลตำรวจและวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ จำนวน 72 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการเพิ่มพูนความสามารถในการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนของนักศึกษาพยาบาลทหาร-ตำรวจ 2) แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และ 3) แบบสอบถามความสามารถในการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืน วิเคราะห์องค์ประกอบความสามารถในการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.72 วิเคราะห์ความสามารถในการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (MANOVA) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืน ประกอบด้วย X²=96.503, p=.115 df=81 X²= 1.191, GFI =.960, AGFI=.934, CFI =.997, SRMR=.034, RMSEA=.025 องค์ประกอบความสามารถในการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนของนักศึกษาพยาบาลทหาร-ตำรวจ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การทำดี (0.923) การมีความเข้มแข็งทางจิตใจ (0.918) การคิดดี (0.906) การมีสัมพันธภาพที่ดี (0.840) และการเสริมพลังอำนาจในตนเอง (0.736) 2) โปรแกรมการเพิ่มพูนความสามารถในการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนของนักศึกษาพยาบาลทหาร-ตำรวจ ประกอบด้วยกิจกรรมเสริมหลักสูตร 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมรู้จักตนเอง กิจกรรมสร้างพลังบวก กิจกรรมคุณค่าของฉัน และกิจกรรมสร้างโลกสวย ใช้ระยะเวลา 3 วัน …


การพัฒนารูปแบบวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย, อุไร นิโรธนันท์ Jan 2018

การพัฒนารูปแบบวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย, อุไร นิโรธนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์นานาชาติในประเทศไทย และการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์ที่ดีในต่างประเทศ 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย 3) พัฒนารูปแบบการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย และ 4) นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์นานาชาติในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาพยาบาลชาวไทยและชาวต่างชาติ ในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์นานาชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษานานาชาติ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์สาระ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ในภาพรวมการจัดการศึกษาพยาบาลนานาชาติ ระดับปริญญาตรีในประเทศไทยยังมีน้อย มีสถานะเป็นคณะภายใต้มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและเอกชน กำหนดวิสัยทัศน์สู่การเป็นนานาชาติ และทำความร่วมมือทางวิชาการกับนานาชาติ ส่วนการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์ที่ดีในต่างประเทศ จะเน้นวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำของโลกในด้านการจัดศึกษา การวิจัย และให้บริการวิชาการ พันธกิจในการบูรณาการแหล่งทุน การวิจัย การจัดการศึกษาและการปฏิบัติเข้าด้วยกัน จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การเรียนร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ การใช้เว็บ และโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง
2. ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย จากมุมมองของผู้สอนและนักศึกษาพยาบาล พบว่ารายการประเมินที่มีค่าสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1) แลกเปลี่ยนนักศึกษากับสถาบันการศึกษาพยาบาลในต่างประเทศ 2) กำหนดให้การศึกษา อบรม ดูงานในต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา 3) เปิดสอนหลักสูตรสองปริญญาร่วมกับสถาบันการศึกษาพยาบาลในต่างประเทศระบบ 4) การเบิก-จ่ายงบประมาณคล่องตัว รวดเร็ว เอื้อต่อการดำเนินงานด้านการศึกษาพยาบาลนานาชาติ และ 5) แลกเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอนกับสถาบันในต่างประเทศ
3. รูปแบบการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย สถานภาพและโครงสร้างขององค์กร และองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยส่งเสริมระดับชาติและระดับสถาบัน แบ่งเป็น 1) ปัจจัยส่งเสริมระดับชาติ ซึ่งมี 4 องค์ประกอบย่อย คือ การสร้างพันธมิตร การสร้างรายได้และการค้าในเชิงพาณิชย์ ความร่วมมือระดับชาติและสถาบัน การพัฒนาสังคม วัฒนธรรม และความเข้าใจซึ่งกันและกัน 2) …


ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า, ภีมพิพัฒน์ มโนมัยกุล Jan 2018

ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า, ภีมพิพัฒน์ มโนมัยกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน สภาพปัญหาของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและสภาพในอนาคตของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า 2) วิเคราะห์แนวโน้มทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า 3) นำเสนอยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) มหาวิทยาลัยเอกชน จำนวนทั้งหมด 34 แห่ง โดยผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร คณบดี รองคณบดีฝ่ายบริหารของกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 136 คน 2) ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 15 คน 3) ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ จำนวน 5 คน 4) ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบร่างยุทธศาสตร์ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์สาระ แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบตรวจสอบร่างยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สาระ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน SWOT IFAS EFAS SFAS กราฟแสดงปัจจัยยุทธศาสตร์ และ TOWS Matrix ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง หากพิจารณาตามรายด้าน พบว่า สถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้ความสำคัญในระดับที่มากในด้านการฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้ความสำคัญในระดับปานกลางในด้านการมีส่วนร่วมในงานและการสร้างความผูกพันในองค์กร ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์หรือการวางแผนกำลังคน ด้านการประเมินผลการปฎิบัติงาน ด้านการสรรหาและการคัดเลือก และด้านการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์หรือการบริหารค่าตอบแทน ตามลำดับ สำหรับสภาพในอนาคตของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาตามรายด้าน พบว่า สถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้ความสำคัญในระดับมากในทุกด้าน โดยด้านที่ให้ความสำคัญสูงที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในงานและการสร้างความผูกพันในองค์กร 2. แนวโน้มทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า ประกอบด้วย แนวโน้มด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์หรือการวางแผนอัตรากำลังคน 12 ข้อ แนวโน้มด้านการสรรหาและการคัดเลือกบุคลากร 13 ข้อ แนวโน้มด้านการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์หรือการบริหารค่าตอบแทน 14 ข้อ แนวโน้มด้านการฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 14 ข้อ …