Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 144

Full-Text Articles in Education

ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชันที่มีต่อความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นครินทร์ สุกใส Jan 2018

ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชันที่มีต่อความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นครินทร์ สุกใส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ก่อนและหลังใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชัน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชันกับกลุ่มที่ใช้การจัดการเรียนการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงและดำเนินการสุ่มนักเรียน 2 ห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชัน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยดำเนินการจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียนทั้งสองกลุ่มใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 16 คาบเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ ฉบับก่อนเรียนมีค่าความเที่ยง (สัมประสิทธิ์แอลฟา) เท่ากับ 0.89 และฉบับหลังเรียน ค่าความเที่ยง (สัมประสิทธิ์แอลฟา) เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมของนิสิตนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต, พัชรา วงค์ตาผา Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมของนิสิตนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต, พัชรา วงค์ตาผา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมของนิสิตนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 35 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การออกแบบและสร้างชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งได้มาจากด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบสมมุติฐานด้วย t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ มีองค์ประกอบได้ แก่ 1) กลุ่มบุคคล ผู้เรียนและผู้สอน 2) การเรียนแบบเผชิญหน้า 3) การเรียนแบบออนไลน์ 4) การติดต่อสื่อสาร 5) ระบบจัดการเรียนรู้ และหลักการสอนแบบทริซ ทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น ขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการเตรียมสมองการเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 ขั้นการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย บริบทของผู้ใช้ ขั้นที่ 3 ขั้นการสร้างไอเดีย พัฒนาแนวความคิด และเลือกแนวคิดในการออกแบบ ขั้นที่ 4. ขั้นสร้างต้นแบบ รับฟังคำติชมจากผู้ใช้ ปรับปรุง และขั้นที่ 5 ขั้นนำมาทดสอบและใช้งานจริง 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต ผู้เรียน มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนารูปแบบการคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหาร ตามแนวคิดสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกไทย ในศตวรรษที่ 21, ตวงพร ศรีชัย Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหาร ตามแนวคิดสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกไทย ในศตวรรษที่ 21, ตวงพร ศรีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกไทยในศตวรรษที่ 21 และกรอบ แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก 2) ศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกไทย ในศตวรรษที่ 21 และสภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบการคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก และ 3) พัฒนารูปแบบการคัดเลือกนักเรียน เตรียมทหารตามแนวคิดสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกไทยในศตวรรษที่ 21 ดำเนินการวิจัยโดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการเก็บข้อมูล จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด ประกอบด้วย นายทหารสัญญาบัตรกองทัพบก ไทยที่มีสมรรถนะสูง จำนวน 10 นาย และนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกไทยที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกระบวนการคัดเลือกนักเรียนนายร้อยทหารบกของ ไทยและต่างประเทศ จำนวน 4 นาย บุคลากรที่ทำหน้าที่บริหาร ผู้สอน และนายทหารปกครองจากโรงเรียนเตรียมทหารและโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จำนวน 5 นาย เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ ลักษณะคำถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ และคำถามปลายเปิด วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาก การศึกษาเอกสาร และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกไทยในศตวรรษที่ 21 มีสมรรถนะ 9 ด้าน และกรอบ แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก มีทั้งหมด 6 รูปแบบ 2) สภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตร กองทัพบกไทยในศตวรรษที่ 21 เรียงลำดับความสำคัญของสมรรถนะจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ 1) พันธสัญญาและความจงรักภักดีต่อกองทัพ และสถาบันหลัก ของชาติ 2) การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 3) ความตระหนัก 4) ความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ 5) ความเป็นผู้นำ 6) ความสามารถในการบริหารจัดการ 7) ความ ยืดหยุ่น 8) การปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว และ 9) ความเป็นพันธมิตร สภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบการคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก ประกอบด้วย รูปแบบการพิจารณาใบสมัคร รูปแบบการทดสอบ 3 ด้าน คือ การทดสอบทางวิชาการ การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย และการทดสอบทาง จิตวิทยา รูปแบบการพิจารณาภาวะผู้นำ รูปแบบการตรวจร่างกาย รูปแบบการสัมภาษณ์ และ รูปแบบการตัดสินผลการคัดเลือก …


แนวทางพัฒนาการวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร, พิชญ์ภรณ์ เกื้ออรุณ Jan 2018

แนวทางพัฒนาการวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร, พิชญ์ภรณ์ เกื้ออรุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยบรรยายเชิงปริมาณ (Quantitative Descriptive Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 จำนวน 67 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูหัวหน้างาน จำนวน 153 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวทางพัฒนาการวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางใน โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานครแบ่งเป็น 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์การวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา อยู่ในระดับมาก ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยภาพรวมคือ 0.260 (PNImodified = 0.260) และกระบวนการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง พบว่า การวิเคราะห์ความสามารถและสมรรถภาพบุคคล มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด ( PNImodified = 0.311) การกำหนดตำแหน่งงานเป้าหมาย หรือ ตำแหน่งหลัก ที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด (PNImodified = 0.260) 2) แนวทางพัฒนาการวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางใน โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วย 5 แนวทางหลัก และ 5 แนวทางรอง


แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง, จิตรแก้ว พงษ์ไชย Jan 2018

แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง, จิตรแก้ว พงษ์ไชย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 2. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 6 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน 6 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 6 คน และครู 56 คน รวมผู้ให้ข้อมูล จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNIModified) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.65) และมาก (M=4.40) ตามลำดับ โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ (PNIModified=0.699) รองลงมา คือ การปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงาน (PNIModified=0.682) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุดคือ การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายในการปฏิบัติงานร่วมกัน (PNIModified=0.601) แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง มีทั้งหมด 5 แนวทาง โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นตามลำดับ ดังนี้ 1) การพัฒนากระบวนการวางแผนการออกแบบหลักสูตรสะเต็มศึกษาอย่างเป็นระบบของสมาชิกในเครือข่าย 2) การพัฒนากระบวนการปรับปรุงและพัฒนาการออกแบบหลักสูตรสะเต็มศึกษาของสมาชิกในเครือข่าย 3) การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการจัดสรรและบริหารงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาระหว่างสมาชิกในเครือข่าย 4) การพัฒนากระบวนการนำแผนการออกแบบหลักสูตรสะเต็มศึกษาไปสู่การปฏิบัติและเสนอผลสะท้อนกลับระหว่างสมาชิกในเครือข่าย และ 5) การพัฒนากระบวนการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายในการจัดสรรและบริหารงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาร่วมกันของสมาชิกในเครือข่าย


แนวทางพัฒนาการบริหารคนเก่งของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร, ภาคี เดชตรัยรัตน์ Jan 2018

แนวทางพัฒนาการบริหารคนเก่งของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร, ภาคี เดชตรัยรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารคนเก่ง 2. นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารคนเก่งของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ฝ่ายงานการบริหารบุคคล และข้าราชการครูที่มีวิทยฐาณะครูชำนาญการพิเศษ (ค.ศ.3) ขึ้นไป จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร จำนวน 463 คน โดยใช้เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารคนเก่ง ด้านการพัฒนาคนเก่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการรักษาคนเก่ง และด้านการจ่ายค่าตอบแทนและให้รางวัลคนเก่งมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2. สภาพพึงประสงค์ของการบริหารคนเก่ง ด้านการรักษาคนเก่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการพัฒนาคนเก่ง และด้านการจ่ายค่าตอบแทนและให้รางวัลคนเก่งมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด และ 3. แนวทางการบริหารคนเก่ง แบ่งเป็น 7 แนวทาง คือ 1) เมื่อคนเก่งมีผลงานดีเด่น ผู้อำนวยการโรงเรียนควรให้การยกย่องชมเชย 2) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรแจ้งให้คนเก่งทราบถึงนโยบาย แนวทาง และกลยุทธ์ของโรงเรียน รวมไปถึงมีแนวทางให้คนเก่งสามารถมีส่วนร่วมให้โรงเรียนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรสร้างกลยุทธ์ในการขึ้นเงินเดือนให้แก่คนเก่งและครูอื่นๆ เพื่อปรับให้คุณสมบัติสอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์โรงเรียน 4) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรกำหนดกลยุทธ์การบริหารคนเก่งให้สอดคล้องกับเป้าหมาย นโยบาย และทิศทางของโรงเรียน 5) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรมีนโยบายกระตุ้นให้คนเก่งคิดแบบก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองตามความสามารถ 6) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อกูลและสนับสนุนให้ครูทุกคนได้แสดงความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ 7) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรมอบหมายให้คนเก่งเข้าร่วมการฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกองค์การ หรือร่วมกิจกรรมต่างๆ


แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูในโรงเรียนประถมศึกษา, มณีรัตน์ ปรางค์ทอง Jan 2018

แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูในโรงเรียนประถมศึกษา, มณีรัตน์ ปรางค์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนประถมศึกษา 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนประถมศึกษา โดยเก็บข้อมูลจากครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 304 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนประถมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พฤติกรรมด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด คือ พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่น และพฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ ส่วนพฤติกรรมด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับมาก คือ พฤติกรรมความอดทนอดกลั้น และพฤติกรรมความสำนึกในหน้าที่ 2. ภาพรวมแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนประถมศึกษา มีแนวทางการพัฒนาเป็นรูปแบบผสมผสานระหว่างการฝึกอบรมในขณะปฎิบัติงานและการฝึกอบรมนอกงาน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านพฤติกรรมความสำนึกในหน้าที่แนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การเรียนรู้แบบออนไลน์และการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว ด้านพฤติกรรมความอดทนอดกลั้นแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การอบรมสัมมนาและการเรียนรู้ผ่านการทำงานกลุ่ม ด้านพฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การศึกษาดูงานและการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฎิบัติจริงหรือการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ด้านพฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่นแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ ระบบพี่เลี้ยงและการศึกษาดูงาน และด้านพฤติกรรมการให้ความร่วมมือแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การศึกษาดูงานและการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความไว้วางใจของคณะครู และคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา, มินตรา ลายสนิทเสรีกุล Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความไว้วางใจของคณะครู และคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา, มินตรา ลายสนิทเสรีกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความไว้วางใจของคณะครูและคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความไว้วางใจของคณะครูและคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความไว้วางใจของคณะครูและคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา โดยการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed-Method Research) โดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยเชิงสำรวจ และการสนทนากลุ่ม ประชากรคือโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสพฐ. สุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 333 โรงและเก็บข้อมูลจาก ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มสาระฯ และครู นำมาคำนวณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงวิเคราะห์ค่าความต้องการจำเป็น และนำมาพัฒนาเป็นกลยุทธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดของงานวิจัยสร้างจากกรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ กรอบแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กรอบแนวคิดความไว้วางใจของคณะครู และกรอบแนวคิดคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการวัดและประเมินผลมีค่าเฉลี่ยภาพรวมมากที่สุด ส่วนการพัฒนาหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยภาพรวมน้อยที่สุด 3) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความไว้วางใจของคณะครูและคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ กลยุทธ์หลักที่ 1 ปฏิรูปหลักสูตรด้านคุณภาพผลลัพธ์ทางการศึกษาด้วยแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและความไว้วางใจของคณะครู กลยุทธ์หลักที่ 2 ปฏิวัติการจัดการเรียนการสอนด้วยแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและความไว้วางใจของคณะครูเพื่อให้เกิดคุณภาพผลลัพธ์ทางการศึกษา และกลยุทธ์หลักที่ 3 ยกระดับการวัดและประเมินผลคุณภาพผลลัพธ์ทางการศึกษาด้วยความไว้วางใจของคณะครูและชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อันประกอบด้วย 9 กลยุทธ์รอง และ 21 วิธีดำเนินการ


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว, ปาฑ์ ไกรวิญญ์ Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว, ปาฑ์ ไกรวิญญ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาและการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว และ 3) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีอธิบายขยายความ (Explanatory Sequential Mixed Methods Design) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data Collection) ร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data Collection) กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนเอกชนที่มีการเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่6 จำนวน 240 โรงเรียน ทั่วประเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาและการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการใช้สถิติเชิงบรรยาย คือร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการวัดและประเมินผล กรอบแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว ประกอบด้วย การพัฒนานักเรียนในด้านดังต่อไปนี้ 1) การตระหนักในสถานการณ์ (Situational Awareness) 2) การตระหนักถึงจุดมุ่งหมาย (Sense of Purpose) 3) ความเข้าใจในผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Understanding) 4) สไตล์การใช้อำนาจ (Power Style) 5) ความตระหนักในการเชื่อมโยง(Connective Awareness) 6) การตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ (Reflective Judgement) 7) การตระหนักในตนเอง(Self-awareness) 8) แรงจูงใจเชิงพัฒนา (Developmental Motivation) 2. สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก( x̄ = 3.5735) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามแนวคิดสมรรถนะข้ามสายงาน, น้ำอ้อย ชินวงศ์ Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารวิชาการสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามแนวคิดสมรรถนะข้ามสายงาน, น้ำอ้อย ชินวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐและสมรรถนะข้ามสายงาน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามแนวคิดสมรรถนะข้ามสายงาน 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามแนวคิดสมรรถนะข้ามสายงาน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase mixed method approach) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ จำนวน 24 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ได้แก่ คณบดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตนักศึกษา หัวหน้าภาควิชา และคณาจารย์ รวมจำนวน 448 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ความเหมาะสมของกรอบแนวคิดวิจัย แบบสอบถาม แบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ประกอบด้วยการดำเนินงาน 4 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนการสอน (3) การจัดกิจการพัฒนานิสิตนักศึกษา และ (4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กรอบแนวคิดสมรรถนะข้ามสายงาน ประกอบด้วย สมรรถนะหลัก 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) การคิดวิพากษ์และนวัตกรรม (2) ทักษะระหว่างบุคคล (3) ทักษะภายในบุคคล (4) ความเป็นพลเมืองโลก และ (5) ความฉลาดรู้ทางสื่อและสารสนเทศ 2) สภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การพัฒนาหลักสูตร 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามแนวคิดสมรรถนะข้ามสายงาน ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก 12 กลยุทธ์รอง 37 วิธีดำเนินการ โดยมีกลยุทธ์หลัก คือ (1) เร่งรัดพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดสมรรถนะข้ามสายงาน มีกลยุทธ์รองคือ 1.1) …


กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของกลุ่มจิตอาสา, ชยานนท์ ภาคีวัฒน์ Jan 2018

กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของกลุ่มจิตอาสา, ชยานนท์ ภาคีวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ของกลุ่มจิตอาสา 2) เพื่อนำเสนอกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของกลุ่มจิตอาสา กลุ่มตัวอย่างคือ บ้านชาเลม บ้านพักฉุกเฉิน, สำนักงานคุ้มครองเด็ก สภาคริสตจักรในประเทศไทย, สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย แผนกเยาวชน และฝ่ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้น ได้แก่ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ โดยการจำแนกประเภทข้อมูล และการเปรียบเทียบข้อมูล ผลของการวิจัยพบว่ากระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของกลุ่มจิตอาสา มีทั้งหมด 4 กระบวนการคือ 1) การตอบสนองต่อสถานการณ์สังคมที่เกิดขึ้น ข้อที่มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุด คือให้เกียรติต่อผู้อื่นมีค่าเฉลี่ย 4.37 2) การกำหนดวิธีการเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุด คือเห็นความสำคัญของการมีเครือข่ายการทำงานระหว่างกลุ่มจิตอาสามีค่าเฉลี่ย 4.28 3) กระบวนการเสริมสร้าง จิตสาธารณะ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุดคือสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคม เช่น กิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด กิจกรรมต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า กิจกรรมรณรงค์ปฏิบัติตามกฎจราจร เป็นต้น มีค่าเฉลี่ย 3.98 4) การเปลี่ยนแปลง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุดคือเห็นความสำคัญของการทำจิตสาธารณะมากขึ้นมีค่าเฉลี่ย 4.22 และยังพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างจิตสาธารณะคือครอบครัว ตั้งแต่ก่อนเข้าร่วมกลุ่มจิตอาสา นอกจากนี้พบว่าสื่อโซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคปัจจุบัน มีบทบาทสำคัญอีกด้วย การนำเสนอกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของกลุ่มจิตอาสา มีประเด็นที่สำคัญ คือ การสอนบุตรด้วยความรัก, การรู้จักใช้คำพูดที่สื่อสารเชิงบวก และการประพฤติตนให้เป็นแบบอย่าง ของการมีจิตสาธารณะ, มีการป้องกันสื่อด้านลบ, การอบรมเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์แก่สมาชิก การมีบุคคลผู้ทำหน้าที่ดูแลพื้นที่โซเชียลมีเดียของกลุ่มจิตอาสาเพื่อคัดกรองข้อมูลที่ไม่ดีก่อนที่สมาชิกจะได้อ่าน และนำเสนอข้อมูลที่เป็นด้านบวก และการเสริมสร้างจิตสาธารณะผ่านคำสอนทางศาสนา


แผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างสันติสุข ปี พ.ศ. 2548 - 2551: ศึกษากรณีความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับกระบวนการกำหนดนโยบายการศึกษา, สุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์ Jan 2018

แผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างสันติสุข ปี พ.ศ. 2548 - 2551: ศึกษากรณีความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับกระบวนการกำหนดนโยบายการศึกษา, สุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุและปัจจัยในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างสันติสุข พ.ศ. 2548 - 2551 และ 2) วิเคราะห์ผลกระทบของความสัมพันธ์เชิงอำนาจในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างสันติสุข ปี พ.ศ. 2548 - 2551 โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้กรอบการวิเคราะห์นโยบายในขั้นตอนการระบุปัญหา (agenda - setting) และตัวแบบนโยบายแบบรัฐนิยม เป็นกรอบแนวคิดของงานวิจัย ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุและปัจจัยในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ มีอยู่ 2 ประการหลัก ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านเอกลักษณ์ ประกอบด้วย 1.1) เอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ และ 1.2) เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และ 2) ปัจจัยด้านการเมือง / ความมั่นคง ประกอบด้วย 2.1) มติมหาชน 2.2) ทรรศนะของชนชั้นปกครอง 2.3) อิทธิพลของพรรคการเมือง 2.4) กลุ่มผลประโยชน์ 2.5) ระบบราชการ และ 2.6) แรงกดดันจากสังคม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในกรณีนี้เข้าข่ายตัวแบบรัฐนิยม (statist model) มากที่สุดคือ รัฐมีบทบาทนำในการกำหนดนโยบาย โดยไม่มีปัจจัยหรืออิทธิพลของกลุ่มอื่น ๆ มาสนับสนุนหรือคัดค้านการผลักดันประเด็นปัญหา ผู้มีอำนาจในการกำหนดและตัดสินนโยบายมีเพียง 4 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรีสามคนซึ่งใช้อำนาจผลักดันประเด็นปัญหาของตนเองให้เข้าสู่วาระนโยบาย โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตัดสินใจเลือกว่าจะเอาแนวทางไหน อำนาจสูงสุดจึงอยู่ที่พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร และสุดท้ายรองนายกรัฐมนตรี นายจาตุรนต์ ฉายแสงสามารถผลักดันประเด็นปัญหาเข้าสู่วาระนโยบายได้สำเร็จ เพื่อให้นโยบายการศึกษามาจากการระบุปัญหาที่เหมาะสมและเกิดสัมฤทธิผลในทางปฏิบัติด้วย จึงควรมีแนวทางดังต่อไปนี้ 1) ควรให้กลุ่ม / องค์กร ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้มีส่วนร่วมในการระบุปัญหาตั้งแต่ต้น 2) ตัวแบบกระบวนการเป็นตัวแบบที่น่าจะเหมาะสมที่สุดสำหรับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และ 3) หากต้องการให้นโยบายการศึกษาสอดคล้องกับความประสงค์และผลประโยชน์ของสาธารณะมากที่สุด ผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงการศึกษา (รวมถึงสื่อมวลชน) ต้องพยายามหาช่องทางและโอกาสในการเสนอประเด็นปัญหาให้ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายได้รับทราบด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจัดสัมมนา การจัดทำรายงานวิจัย การเสนอข่าวในสื่อสาธารณะ เป็นต้น


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้บนเครือข่ายด้วยการรวมพลังและเสริมสร้างอำนาจเพื่อส่งเสริมพลวัตการเรียนรู้ สำหรับครูในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ศุภมาส อติไพบูลย์ Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้บนเครือข่ายด้วยการรวมพลังและเสริมสร้างอำนาจเพื่อส่งเสริมพลวัตการเรียนรู้ สำหรับครูในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ศุภมาส อติไพบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงต์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับการรวมพลัง และระดับการเสริมสร้างอำนาจของครู 2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้บนเครือข่ายด้วยการรวมพลังและเสริมสร้างอำนาจ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้บนเครือข่ายด้วยการรวมพลังและเสริมสร้างอำนาจ และ4) นำเสนอรูปแบบการเรียนรู้บนเครือข่ายด้วยการรวมพลังและเสริมสร้างอำนาจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับการรวมพลัง และระดับการเสริมสร้างอำนาจเป็นครูในสังกัด จำนวน 298 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างรูปแบบเป็นผู้เชี่ยวชาญจำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองรูปแบบเป็นครูจำนวน 106 คน จากโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 1 โรงเรียนและ โรงเรียนขนาดกลาง 1 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การรวมพลัง และการเสริมสร้างอำนาจ 2) แบบวัดคุณลักษณะพลวัตการเรียนรู้ 3) แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับพฤติกรรมพลวัตการเรียนรู้ และ 4) แบบประเมินโครงการพัฒนานักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูที่ส่งผลต่อพลวัตการเรียนรู้ ได้แก่ 1) เวลาการเข้าใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ สามารถทำนายได้ร้อยละ 22 (R² = .022) 2) ระยะเวลาการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ สามารถทำนายได้ร้อยละ 9 (R² = .009) 3) วัตถุประสงค์การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ สามารถทำนายได้ร้อยละ 28 (R² =.028) 4) ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูล สามารถทำนายได้ร้อยละ 36 (R² = .036) 5) ประสบการณ์การใช้เครือข่ายสังคนออนไลน์ สามารถทำนายได้ร้อยละ 31 (R² =.031) 6) จำนวนเพื่อนในเครือข่ายสังคมออนไลน์ สามารถทำนายได้ร้อยละ 53 (R² =.053) และ 7) เครื่องมือที่ควรมีในเครือข่ายสังคมออนไลน์ สามารถทำนายได้ร้อยละ 25 (R² =.025) 2. องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้บนเครือข่ายด้วยการรวมพลังและเสริมสร้างอำนาจ ประกอบด้วย 5 …


ผลการใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเองเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วันวิสา ป้อมประสิทธิ์ Jan 2018

ผลการใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเองเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วันวิสา ป้อมประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองที่ใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเองเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าว 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้ใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเอง กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสระแก้ว จำนวน 50 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือนักเรียนกลุ่มทดลองจำนวน 25 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมจำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเอง จำนวน 14 แผน แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวตามสถานการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มทดลองหลังได้รับการใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มทดลองหลังได้รับการใช้กิจกรรมพลศึกษาตามแนวคิดการกำกับตนเองเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวสูงขึ้นกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การศึกษาพัฒนาการของหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา, ทัศน์ทอง เข็มกลัด Jan 2018

การศึกษาพัฒนาการของหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา, ทัศน์ทอง เข็มกลัด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา 2) ศึกษาพัฒนาการของการนำหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาไปใช้ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการนำหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาไปใช้ โดยศึกษาหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตั้งแต่หลักสูตร พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ. 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวิเคราะห์พัฒนาการหลักสูตร แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและครูผู้สอน และแบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. พัฒนาการของหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1.1 วัตถุประสงค์ หลักสูตร พ.ศ. 2503-2518 เป็นการเรียนเพื่อให้รู้จักธรรมชาติ หลักสูตร พ.ศ. 2521-2533 พัฒนาเพื่อให้นำความรู้ไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตได้ และต่อมาหลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 พัฒนาเป็นเพื่อให้เข้าใจมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม 1.2 โครงสร้าง/เวลา หลักสูตร พ.ศ. 2503-2518 เป็นหลักสูตรรายวิชา ต่อมาหลักสูตร พ.ศ. 2521-2533 บูรณาการเป็นวิชาสังคมศึกษา และหลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 เป็นสาระหนึ่งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ด้านเวลาในการจัดหลักสูตร ตั้งแต่หลักสูตร พ.ศ. 2503-2551 มีแนวโน้มลดลง 1.3 เนื้อหา หลักสูตร พ.ศ. 2503-2533 เน้นเรื่องกายภาพโลกและแผนที่ ต่อมาหลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 พัฒนาเป็นเรื่องปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ มนุษย์และสิ่งแวดล้อม 1.4 วิธีการจัดการเรียนรู้ หลักสูตร พ.ศ. 2503-2533 แนะนำวิธีสอนโดยใช้ภูมิภาคด้วยวิธีการบรรยาย ต่อมาหลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 เน้นกระบวนการสืบสอบและสร้างองค์ความรู้ 1.5 วัสดุหลักสูตร หลักสูตร พ.ศ. 2503-2551 ใช้เอกสารหลักสูตรเป็นหลัก 1.6 การประเมินผลหลักสูตร หลักสูตร พ.ศ. 2503-2533 เน้นการประเมินผลลัพธ์จากการใช้หลักสูตร ด้วยการรายงานผลการใช้หลักสูตรจากสถานศึกษา หลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 เป็นการประเมินผลลัพธ์จากการใช้หลักสูตร ด้วยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติเป็นหลัก 2. พัฒนาการของการนำหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาไปใช้ …


การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดการสืบสอบแบบร่วมมือ, วิชญา ผิวคำ Jan 2018

การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดการสืบสอบแบบร่วมมือ, วิชญา ผิวคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดการสืบสอบแบบร่วมมือ 2) ศึกษาผลการใช้กระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดการสืบสอบแบบร่วมมือที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครู การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้กรณีศึกษา ได้แก่ นักศึกษาครูสาขาวิชาประถมศึกษารวม 14 คน ซึ่งการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาและสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้พัฒนากระบวนการสร้างเสริมภาวะครูผู้นำ ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดสืบสอบแบบร่วมมือ ระยะที่ 3 การทดลองใช้กระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้น และระยะที่ 4 การนำเสนอกระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดสืบสอบแบบร่วมมือแบบสมบูรณ์ โดยใช้เวลาในการนำกระบวนการไปใช้ 1 ปีการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนของกระบวนการ ระยะเวลาของกระบวนการ และการประเมินผล มีหลักการคือ 1)การเรียนรู้ของนักศึกษาครูเกิดขึ้นโดยการรวมกลุ่มเพื่อการแสวงหาคำตอบหรือความรู้ จากการตั้งเป้าหมายให้สมาชิกนักศึกษาครูเกิดความสนใจในการปรับเปลี่ยนกรอบความคิดที่เคยยึดมั่นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกรอบแนวคิดใหม่ 2) การให้นักศึกษาครูตระหนักถึงปัญหา ด้วยการใช้คำถามเพื่อการวิเคราะห์ การตีความ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ นำไปสู่การทบทวนกรอบความคิดและความเชื่อ 3) การใช้คำถามและการสนทนาเชิงเหตุผลให้นักศึกษาครูใคร่ครวญร่วมกัน เพื่อตรวจสอบและทบทวนสถานการณ์ที่เป็นปัญหานำไปสู่การวางแผน การออกแบบ ค้นหาข้อสรุปเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติใหม่ต่อไป 4) การให้นักศึกษาครูสะท้อนการเรียนรู้และประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติที่เกิดขึ้นเป็นวงจรซ้ำๆ ผ่านการใคร่ครวญและการสานเสวนานำไปสู่การปรับกรอบความคิด และมีขั้นตอนของกระบวนการ 9 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ก่อเกิดกลุ่ม ขั้นที่ 2 ตรวจสอบเพื่อรับรู้ ขั้นที่ 3 ทำความเข้าใจประสบการณ์ ขั้นที่ 4 ค้นหาแนวทางปฏิบัติ ขั้นที่ 5 หาความรู้เพื่อวางแผน ขั้นที่ 6 ทดลองลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 7 ตรวจสอบประเมินผล ขั้นที่ 8 ออกแบบตัวตน และขั้นที่ 9 ตัดสินใจเพื่อยืนยัน 2) การศึกษาผลการใช้กระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษา พบว่า หลังใช้กระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้น นักศึกษาครูทั้ง 14 กรณีศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงภาวะครูผู้นำด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลทั้งการร่วมมือและการพัฒนาตนเอง และด้านทักษะทั้งการสื่อสารและการปฏิบัติการสอน และมีระดับภาวะครูผู้นำในระดับมาก เป็นจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50 และเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับภาวะผู้นำมาสู่ระดับมากเป็นจำนวนมากที่สุด …


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาตามทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคมและแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความแวดไวทางวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา, พจนีย์ หนักทอง Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาตามทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคมและแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความแวดไวทางวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา, พจนีย์ หนักทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาตามทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคมและแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความแวดไวทางวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาตามทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคมและแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความแวดไวทางวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา ระยะที่ 3 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยนำไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 37 คน ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ใช้ระยะเวลาในการทดลองทั้งหมด 16 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 100 นาที และระยะที่ 4 การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนฉบับสมบูรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความแวดไวทางวัฒนธรรม แบบสอบถามความแวดไวทางวัฒนธรรม และแบบสะท้อนความคิดและการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนประกอบด้วยหลักการ 5 ข้อ ได้แก่ 1) การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เดิมของผู้เรียนทั้งทางด้านภาษาและวัฒนธรรมกับประสบการณ์ใหม่ จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของการรับผิดชอบการเรียนรู้และตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ของตนเอง 2) การเรียนรู้ภาษาจะเกิดขึ้นได้ดี หากผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในสภาพบริบทจริงหรือเสมือนจริงที่ใกล้เคียงกับชีวิตประจำวันของผู้เรียน 3) การเรียนรู้ภาษาจะเกิดขึ้นได้ดีหากผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในบริบทและสถานการณ์ที่มีความหลากหลาย 4) การเรียนรู้ภาษาจะเกิดขึ้นได้ดีหากผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาควบคู่กับวัฒนธรรมผ่านกระบวนการสะท้อนคิดเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับ และ 5) เมื่อผู้เรียนได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นที่มีบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และมีโอกาสแลกเปลี่ยนมุมมองทางภาษาและวัฒนธรรม หลังจากการได้รับประสบการณ์จะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในความแตกต่างทางด้านทัศนคติและการแสดงออกของผู้อื่นมากยิ่งขึ้น โดยมีขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) ขั้นสร้างความเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม 2) ขั้นเสนอประสบการณ์ใหม่ 3) ขั้นสะท้อนคิดจากประสบการณ์ 4) ขั้นเสริมหลักการ และ 5) ขั้นเปลี่ยนผ่านสู่สถานการณ์ใหม่ ผลการศึกษาคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความแวดไวทางวัฒนธรรมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบแต่ละด้าน 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความแวดไวทางวัฒนธรรมหลังการทดลองมากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผู้เรียนมีพัฒนาการของความแวดไวทางวัฒนธรรมก่อน ระหว่าง และหลังการทดลอง โดยมีความแวดไวทางวัฒนธรรมระหว่างการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และมีความแวดไวทางวัฒนธรรมหลังการทดลองสูงกว่าระหว่างการทดลอง


ผลการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์ที่มีต่อการรู้เรื่องการเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ปรินทร์ ทองเผือก Jan 2018

ผลการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์ที่มีต่อการรู้เรื่องการเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ปรินทร์ ทองเผือก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์ที่มีต่อการรู้เรื่องการเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ คือ แบบวัดการรู้เรื่องการเงิน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ แบบบันทึกประเด็นการอภิปรายหลังเล่นเกม และบันทึกการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์ ใช้เวลาในการทดลองจำนวน 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 คาบ คาบละ 50 นาที รวมทั้งสิ้น 16 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์มีค่าเฉลี่ยของคะแนนการรู้เรื่องการเงินหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการรู้เรื่องการเงินในทุกองค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรู้และความสามารถทางการเงิน 2) เจตคติทางการเงิน และ 3) แนวโน้มของพฤติกรรมทางการเงิน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์มีผลการเปลี่ยนแปลงของการรู้เรื่องการเงินเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ความรู้และความสามารถทางการเงิน 2) แนวโน้มของพฤติกรรมทางการเงิน และ 3) เจตคติทางการเงิน โดยมีผลการเปลี่ยนแปลงการรู้เรื่องการเงินในแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้ 2.1 ความรู้และความสามารถทางการเงิน มีผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในด้าน 1) ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลตามบริบททางการเงิน และ 2) ความสามารถในการประเมินประเด็นทางการเงิน 2.2 เจตคติทางการเงิน มีผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในด้าน 1) ความพึงพอใจในการใช้จ่ายและเก็บออมในระยะยาว และ 2) ความพึงพอใจที่มีต่อฐานะทางการเงินในปัจจุบันและอนาคต 2.3 แนวโน้มของพฤติกรรมทางการเงิน มีผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในด้าน 1) การดูแลการเงินส่วนบุคคลอย่างรอบคอบ 2) …


โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ.ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ของนักศึกษาพยาบาล, พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ Jan 2018

โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ.ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ของนักศึกษาพยาบาล, พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรอบรู้ทางสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลที่อยู่ในภูมิภาค และระดับชั้นปีแตกต่างกัน และศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักศึกษาพยาบาล การดำเนินงานวิจัย คือแบบพหุวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการสำรวจความรอบรู้ทางสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล ประเมินด้วย ข้อมูลพื้นฐานและแบบประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพในนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 - ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 390 คน ของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุขในภูมิภาคต่าง ๆ จำนวน 12 แห่ง ระยะที่ 2 เป้นการการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 72 คน เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2561 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 36 คน นักศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี เป็นกลุ่มทดลอง และนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท เป็น กลุ่มควบคุม ตามลำดับ เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักศึกษาพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักศึกษาพยาบาล แบบ และแบบประเมินความเชื่อมั่นแห่งตน ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพ และแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพตามหลักปฏิบัติตน 3 อ. ของนักศึกษาพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย มีดังนี้
1.นักศึกษาพยาบาลที่เรียนในวิทยาลัยพยาบาล ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคต่างกันมีคะแนนความรอบรู้ทางสุขภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ F (3, 386) = 3.02, p=0.03 …


การพัฒนารูปแบบวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย, อุไร นิโรธนันท์ Jan 2018

การพัฒนารูปแบบวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย, อุไร นิโรธนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์นานาชาติในประเทศไทย และการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์ที่ดีในต่างประเทศ 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย 3) พัฒนารูปแบบการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย และ 4) นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์นานาชาติในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาพยาบาลชาวไทยและชาวต่างชาติ ในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์นานาชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษานานาชาติ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์สาระ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ในภาพรวมการจัดการศึกษาพยาบาลนานาชาติ ระดับปริญญาตรีในประเทศไทยยังมีน้อย มีสถานะเป็นคณะภายใต้มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและเอกชน กำหนดวิสัยทัศน์สู่การเป็นนานาชาติ และทำความร่วมมือทางวิชาการกับนานาชาติ ส่วนการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์ที่ดีในต่างประเทศ จะเน้นวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำของโลกในด้านการจัดศึกษา การวิจัย และให้บริการวิชาการ พันธกิจในการบูรณาการแหล่งทุน การวิจัย การจัดการศึกษาและการปฏิบัติเข้าด้วยกัน จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การเรียนร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ การใช้เว็บ และโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง
2. ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย จากมุมมองของผู้สอนและนักศึกษาพยาบาล พบว่ารายการประเมินที่มีค่าสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1) แลกเปลี่ยนนักศึกษากับสถาบันการศึกษาพยาบาลในต่างประเทศ 2) กำหนดให้การศึกษา อบรม ดูงานในต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา 3) เปิดสอนหลักสูตรสองปริญญาร่วมกับสถาบันการศึกษาพยาบาลในต่างประเทศระบบ 4) การเบิก-จ่ายงบประมาณคล่องตัว รวดเร็ว เอื้อต่อการดำเนินงานด้านการศึกษาพยาบาลนานาชาติ และ 5) แลกเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอนกับสถาบันในต่างประเทศ
3. รูปแบบการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย สถานภาพและโครงสร้างขององค์กร และองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยส่งเสริมระดับชาติและระดับสถาบัน แบ่งเป็น 1) ปัจจัยส่งเสริมระดับชาติ ซึ่งมี 4 องค์ประกอบย่อย คือ การสร้างพันธมิตร การสร้างรายได้และการค้าในเชิงพาณิชย์ ความร่วมมือระดับชาติและสถาบัน การพัฒนาสังคม วัฒนธรรม และความเข้าใจซึ่งกันและกัน 2) …


แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลสำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา: การประยุกต์แนวคิดการออกแบบแบบปรับเหมาะ, สมเกียรติ แก้วเกาะสะบ้า Jan 2018

แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลสำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา: การประยุกต์แนวคิดการออกแบบแบบปรับเหมาะ, สมเกียรติ แก้วเกาะสะบ้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัล (ERCDA) เป็นตัวแปรพหุมิติระหว่างสมรรถนะวิจัยและสมรรถนะดิจิทัล ที่ผ่านมามี การพัฒนาเครื่องมือสำหรับวัด ERCDA แบบแยกสมรรถนะจำนวนมากซึ่งนอกจากจะใช้ข้อคำถามจำนวนมากแล้วยังไม่สามารถวัดความเป็นพหุ มิติของ ERCDA ได้อีกด้วย ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดและเครื่องมือวัดสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุค ดิจิทัลของผู้เรียนในระดับบัณฑิตศึกษาตามแนวคิดการออกแบบแบบปรับเหมาะ (2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุค ดิจิทัลของผู้เรียนที่มีภูมิหลังด้านการวิจัยแตกต่างกัน (3) เพื่อพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลสำหรับ ผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษาตามแนวคิดการออกแบบแบบปรับเหมาะ ตัวอย่างวิจัยเป็นนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาศึกษาศาสตร์ แบ่งเป็นขั้นตอนการพัฒนาโมเดลและเครื่องมือวัด 360 คน ขั้นตอนการวัดสมรรถนะ 415 คน เก็บข้อมูลโดยการสำรวจแบบปรับเหมาะด้วย คอมพิวเตอร์ผ่าน www.shinyApps.io ที่สร้างจาก mirtCAT R package และพัฒนาโดย ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ (2562) ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลการวัดสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลแบบพหุมิติภายในข้อคำถามมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ χ2 (90, N = 360) = 95.93, p = .03, DIC = 23143.03, BIC = 23656.06 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ ด้านสมรรถนะวิจัยอยู่ในช่วง .14 - .45 ตัวบ่งชี้ด้านสมรรถนะดิจิทัลอยู่ในช่วง .02-.59 ( .10 =R² =< .41) 2) ผลการเปรียบเทียบพหุตัวแปรสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนที่มีสาขาวิชาต่างกันมีพหุ ตัวแปรสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (F (18, 758) = 17.76, p < .001) มีขนาด อิทธิพลอยู่ในระดับสูง (ηp² = .30) ส่วนขนาดอิทธิพลของแต่ละตัวบ่งชี้รวม 9 ตัว อยู่ในช่วงระหว่าง (ηp² = .02-.19, ŵp² = .01-.18) ผู้เรียน สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษามีสมรรถนะวิจัยและสมรรถนะดิจิทัลด้านการประเมินและการบริหารจัดการสูงกว่าทุกสาขาวิชาวิชาอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนทุกกลุ่มมีสมรรถนะวิจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกต่ำกว่าด้านอื่น ๆ 3) แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลสำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา (1) ผู้เรียนทุกกลุ่ม สาขาวิชาควรได้รับการเสริมสร้างสมรรถนะวิจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกเป็นอันดับแรก (2) ผู้เรียนสาขาอื่น ๆ ควรได้รับการเสริมสร้างสมรรถนะ วิจัยและสมรรถนะดิจิทัลในทุกด้าน และ (3) สามารถนาแนวคิดการจัดกระทำแบบปรับเหมาะมาออกแบบการสอนให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้เรียน


การพัฒนาเครื่องมือวัดการปฏิบัติของครูในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, ศิริปรียา ใจบุญมา Jan 2018

การพัฒนาเครื่องมือวัดการปฏิบัติของครูในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, ศิริปรียา ใจบุญมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (professional learning communities: PLC) เป็นกลยุทธ์หนึ่งสำหรับการพัฒนาการเรียนรู้ของครูและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งสำหรับในประเทศไทยได้กำหนดให้เป็นนโยบายทางการศึกษา แต่ยังไม่ปรากฏผลการปฏิบัติของครูที่ประสบผลสำเร็จว่าอยู่ในระดับใด การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดการปฏิบัติของครูในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน 2) เพื่อวิเคราะห์วิธีการขับเคลื่อนและการปฏิบัติของครูในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน และเปรียบเทียบการปฏิบัติของครูที่อยู่ในโรงเรียนที่มีวิธีการขับเคลื่อนที่แตกต่างกัน และ 3) เพื่อวิเคราะห์และอธิบายถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติของครูในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกคือการพัฒนาเครื่องมือวัดการปฏิบัติของครูโดยลงพื้นที่เพื่อทำการสังเกตและสัมภาษณ์นักวิชาการ ครู ผู้บริหารในโรงเรียนที่มีการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 8 โรงเรียน เพื่อนำข้อมูลมาเป็นฐานในการสร้างเครื่องมือ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่สร้างขึ้นโดยการวิเคราะห์ความเที่ยงและความตรงเชิงโครงสร้าง ระยะที่สองคือการศึกษาการปฏิบัติของครูในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยเก็บข้อมูลกับครูในเขตกรุงเทพและปริมณฑลจำนวน 206 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามการปฏิบัติของครู ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ PLC ของครู วิธีการขับเคลื่อน PLC ในโรงเรียน การสนับสนุนของโรงเรียน สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนครู และคุณลักษณะด้านการสะท้อนคิดของครู โดยเครื่องมือมีคุณภาพทั้งด้านความตรงและความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติบรรยาย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การจัดกลุ่มของวิธีการขับเคลื่อนโดยใช้การวิเคราะห์กลุ่มแฝง และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1. เครื่องมือวัดการปฏิบัติของครูในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีข้อคำถามทั้งหมด 23 ข้อ มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ เครื่องมือวัดการปฏิบัติของครูในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมีค่าความเที่ยง .874-.912 และการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า โมเดลการวัดการปฏิบัติของครูในชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพมีความตรงเชิงโครงสร้าง พิจารณาจากเมตริกซ์ความแปรปรวน-ความแปรปรวนร่วมของข้อมูลเชิงประจักษ์สอดคล้องกับทฤษฎี (Chi-Square (2, N=206)= 2.940, p=.230, RMSEA=0.073, SRMR=0.008) 2. การปฏิบัติของครูในการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพทั้ง 4 ด้านคือ การวางแผนการทำงาน การดำเนินการในแผนการทำงาน การตรวจสอบผลการดำเนินการ การปรับปรุงแผนการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.08-3.37) โดยวิธีการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนตามการรับรู้ของครูแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะคือ กลุ่มที่ 1 โรงเรียนที่มีการขับเคลื่อนแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างเป็นระบบและเน้นการกำกับติดตาม กลุ่ม 2 คือ โรงเรียนที่มีการขับเคลื่อนแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในระดับที่ค่อนข้างน้อย กลุ่ม 3 โรงเรียนที่มีการขับเคลื่อนแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่เน้นให้ความรู้แต่ยังขาดการกำกับติดตาม โดยการปฏิบัติของครูที่อยู่ในโรงเรียนกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 สูงกว่าครูที่อยู่ในโรงเรียนกลุ่ม 2 3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติของครูในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนพบว่า …


การวิจัยการออกแบบและการศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้เพื่อพัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบการส่งเสริมกรอบคิดทางบวกด้านการวิจัยของครู, วิภาวี ศิริลักษณ์ Jan 2018

การวิจัยการออกแบบและการศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้เพื่อพัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบการส่งเสริมกรอบคิดทางบวกด้านการวิจัยของครู, วิภาวี ศิริลักษณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวิชาชีพครู แต่ครูบางส่วนยังมีกรอบคิดทางลบต่อการวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยนี้ จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและลักษณะของกรอบคิดติดยึดด้านการวิจัยของครู และตัวแปรในการอธิบายลักษณะของ กรอบคิดติดยึดด้านการวิจัย รวมถึงพัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบการส่งเสริมกรอบคิดทางบวกด้านการวิจัยของครู จากนั้นวิเคราะห์ผล ที่เกิดขึ้นจากการนำต้นแบบ ฯ สู่การปฏิบัติ และนำเสนอหลักการออกแบบใหม่โดยการถอดบทเรียนจากการวิจัย การวิจัยนี้ใช้แนวคิด การวิจัยการออกแบบและการศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้ โดยจำแนกขั้นตอนการวิจัยเป็น 3 ระยะ ระยะแรกเป็นการพัฒนาองค์ประกอบและเครื่องมือประเมินกรอบคิดทางบวก แบบประเมินที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับแบบพหุมิติภายในข้อคำถาม (5-point multidimensional-within-item rating scale) และตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความเที่ยงและความตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลแข่งขันเพื่อกำหนดโมเดลการวัดที่เหมาะสม ระยะที่สองเป็นการวิเคราะห์ลักษณะของกรอบคิดติดยึด และเปรียบเทียบกรอบคิดของครูที่มีภูมิหลังต่างกันโดยใช้การวิจัยเชิงบรรยายกับตัวอย่างวิจัยซึ่งเป็นครูจำนวน 502 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน ระยะที่สามเป็นการพัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบการส่งเสริม กรอบคิดทางบวกด้านการวิจัยตามข้ออ้างเชิงเหตุผล โดยอิงแนวคิด Atomic Habits และอิงข้อมูลจากผลการศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้ซึ่งเป็นครูที่คัดเลือกอย่างเจาะจงจำนวน 10 คน ผลการนำต้นแบบการส่งเสริมกรอบคิดทางบวกฯ ไปทดลองใช้กับครูประถมศึกษาจำนวน 3 คน ได้นำมาวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนกรอบคิดติดยึดของครู และถอดบทเรียนจากการวิจัยเป็นหลักการออกแบบใหม่สำหรับการจัดกิจกรรมส่งเสริมกรอบคิดทางบวกด้านการวิจัยของครู ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กรอบคิดติดยึดด้านการวิจัยประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ ความคิดที่มีต่อการวิจัย ความรู้สึกที่มีต่อการวิจัย และพฤติกรรมการวิจัย เนื้อหาสาระในข้อรายการของเครื่องมือประเมินเกี่ยวข้องกับการทำวิจัยในชั้นเรียนตามขั้นตอนการวางแผน/การปฏิบัติ/ การสังเกต/การสะท้อนคิด (PAOR) โดยภาพรวม เครื่องมือประเมินมีความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในขององค์ประกอบสามด้านระหว่าง .49 - .74 และมีความตรงเชิงโครงสร้าง (χ2 (30, N=502) = 38.931, p = .127, CFI = .995, TLI = .990, SRMR = .021, RMSEA = .024, AIC = 7913.336, BIC = 8166.452 2. โดยภาพรวม ครูมีกรอบคิดทางบวกด้านการวิจัยในระดับระดับปานกลาง (M = 3.50, SD …


ผลของโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ธชาทัช ไชยมุทา Jan 2018

ผลของโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ธชาทัช ไชยมุทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครฯ จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน ที่ได้รับการฝึกโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิส และ กลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน ที่ได้รับการฝึกโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 80 นาที แบบประเมินความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอลประกอบด้วย 1) แบบประเมินท่าทางการเสิร์ฟ 2) แบบวัดความแม่นยำการเสิร์ฟวอลเลย์บอลโดยใช้แบบทดสอบของสมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการแห่งสหรัฐอเมริกา (AAHPER Serving Accuracy Test) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบคะแนนความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอลนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบคะแนนความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอล นักเรียนกลุ่มควบคุมหลังการทดลองทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบคะแนนความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอลหลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์, ลาวัลย์ เวชอภิกุล Jan 2018

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์, ลาวัลย์ เวชอภิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์บริบทการปฏิบัติงานและความต้องการเสริมสร้างศักยภาพของอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์ 2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์ และ 3) จัดทำข้อเสนอแนะในการนำโปรแกรมไปสู่การปฏิบัติและขยายผลไปสู่พื้นที่อื่น ทำการศึกษากับกลุ่มอาสาสมัครของมูลนิธิโอโซนจังหวัดสงขลา จำนวน 10 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลอาสาสมัคร รวมถึงกลุ่มผู้บุกเบิกการทำงานในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก แบบสังเกต และประเด็นการสนทนากลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลศึกษา พบว่า 1) ศักยภาพที่อาสาสมัครต้องการได้รับการส่งเสริม แบ่งเป็น 4 ด้าน (1) บุคลิกภาพและการจัดการตนเอง (2) ความรู้ (3) ทักษะ และ (4) ทัศนคติ 2) โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์ ได้โปรแกรมที่ประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้ 8 กิจกรรม ได้แก่ (1) การสร้างบรรยากาศและความไว้วางใจซึ่งกันและกันภายในทีม (2) การทำความเข้าใจหลักการและกำหนดกติกาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกัน (3) การทบทวนและประเมินศักยภาพที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร (4) การออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ของตนเอง (5) การแลกเปลี่ยนเทคนิคและประสบการณ์ในการจัดการตนเอง (6) การทบทวนความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน (7) การฝึกทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานผ่านการลงมือปฏิบัติจริง และ (8) การสรุปทบทวนและสะท้อนคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และพัฒนา 3) ข้อเสนอแนะในการนำโปรแกรมไปปฏิบัติและขยายผล โดยแบ่งเป็นข้อเสนอแนะต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องระดับผู้บริหารองค์กรและฝ่ายพัฒนาศักยภาพขององค์กร ซึ่งเป็นผู้กำหนดแนวทางการนำโปรแกรมไปปฏิบัติและขยายผลโดยทำหน้าที่กำหนดผู้รับผิดชอบและสนับสนุนการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ทำหน้าที่ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่อาสาสมัคร (2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องระดับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นผู้นำโปรแกรมไปปฏิบัติโดยตรงจึงต้องทำความเข้าใจหลักการของการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนและเปิดใจยอมรับซึ่งกันและกันจึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ และ (3) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในหน่วยงานสนับสนุนระดับนโยบาย


การพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา, พงศธร ไพจิตร Jan 2018

การพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา, พงศธร ไพจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา โดยมีกระบวนการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการสร้างเสริมสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ อาจารย์นิเทศก์การศึกษา อาจารย์นิเทศก์วิชาพลศึกษา อาจารย์พี่เลี้ยง และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาพลศึกษา จำนวน 125 คน ที่ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 2) การพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรจำนวน 5 คน และใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำหลักสูตรไปใช้ 3) ทดลองใช้และประเมินผลหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครู สาขาวิชาพลศึกษา จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยวิธีจับสลากแบบไม่ใส่คืน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นในการสร้างเสริมสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา พบว่า มี 4 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะให้กับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาคือ การวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ทางพลศึกษา การวัดและประเมินผลทางพลศึกษา การจัดการเรียนรู้พลศึกษาและการจัดการชั้นเรียน และ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางพลศึกษา 2. ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครู สาขาวิชาพลศึกษาในภาพรวมโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.47, SD = 0.53) 3. ผลการทดลองใช้และประเมินผลหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา พบว่า 1) ประสิทธิภาพของหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษามีค่าประสิทธิภาพเชิงกระบวนการและประสิทธิภาพเชิงผลลัพธ์ (E1/E2) โดยเฉลี่ยเท่ากับ 83.81/82.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และ 2) หลังการเข้าร่วมหลักสูตร นักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีเจตคติอยู่ในระดับดี มีทักษะปฏิบัติทุกหน่วยการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก และมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก


แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน, คัทลียา สิงห์วี Jan 2018

แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน, คัทลียา สิงห์วี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยที่มีผลต่อค่าขนาดอิทธิพลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) เพื่อสรุปองค์ความรู้จากการวิเคราะห์อภิมานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ (1) ระยะการวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) การคัดเลือกและวิเคราะห์ตัวแปรคุณลักษณะของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ (3) ระยะการสังเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ วิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวนทั้งสิ้น 11 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัยและแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าขนาดอิทธิพลตามแนวคิดของ Glass ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวพบว่าตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยทั้งหมด 22 ตัวแปรส่งผลต่อขนาดอิทธิพลไม่แตกต่างกัน มีการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 10 รูปแบบที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพลในระดับสูง 2. องค์ความรู้จากการวิเคราะห์อภิมานพบว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ การจัดเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบจำลอง พฤติกรรมของครูมีทั้งหมด 10 พฤติกรรม และพฤติกรรมของนักเรียนมีทั้งหมด 7 พฤติกรรม 3. แนวทางที่ได้ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) กิจกรรมการเรียนการสอนควรอยู่ในรูปแบบที่เน้นทักษะกระบวนการ การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองมีค่าขนาดอิทธิพลต่อการส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสูงสุด เทคนิคที่ควรใช้คือเทคนิคการใช้คำถาม 2) สื่อการสอนควรใช้ของจริง ใบกิจกรรม และการจัดนิทรรศการ 3) การวัดและประเมินผลของคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ต้องครอบคลุมทั้ง 3 องค์ประกอบ คือ ข้อกล่าวอ้าง หลักฐานเชิงประจักษ์ และการให้เหตุผล


แนวทางการใช้ห้องเรียนกลับด้านในการเรียนการสอนวิชาเคมีสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ, เบญจพร สุคนธร Jan 2018

แนวทางการใช้ห้องเรียนกลับด้านในการเรียนการสอนวิชาเคมีสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ, เบญจพร สุคนธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำที่ใช้การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านในวิชาเคมี 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำที่ใช้การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านในวิชาเคมี และ 3) เสนอแนวทางการใช้ห้องเรียนกลับด้านในวิชาเคมี สำหรับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ การวิจัยมี 3 ตอน ตอนที่ 1 สร้างแนวทางการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตอนที่ 2 นำแนวทางที่ได้ไปทดลองใช้กับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธ์ทางการเรียนต่ำ ในรายวิชาเคมี จำนวน 4 รอบ แล้วศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียน และตอนที่ 3 เสนอแนวทางการใช้ห้องเรียนกลับด้านในวิชาเคมี สำหรับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนได้คะแนนทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จำนวนร้อยละ 53.68 อยู่ในระดับการผ่านเกณฑ์สูง 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านในระดับมาก ทั้ง 4 รอบ และ 3) ได้แนวทางการใช้ห้องเรียนกลับด้านในการเรียนการสอนวิชาเคมี สำหรับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ


ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า, ภีมพิพัฒน์ มโนมัยกุล Jan 2018

ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า, ภีมพิพัฒน์ มโนมัยกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน สภาพปัญหาของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและสภาพในอนาคตของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า 2) วิเคราะห์แนวโน้มทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า 3) นำเสนอยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) มหาวิทยาลัยเอกชน จำนวนทั้งหมด 34 แห่ง โดยผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร คณบดี รองคณบดีฝ่ายบริหารของกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 136 คน 2) ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 15 คน 3) ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ จำนวน 5 คน 4) ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบร่างยุทธศาสตร์ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์สาระ แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบตรวจสอบร่างยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สาระ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน SWOT IFAS EFAS SFAS กราฟแสดงปัจจัยยุทธศาสตร์ และ TOWS Matrix ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง หากพิจารณาตามรายด้าน พบว่า สถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้ความสำคัญในระดับที่มากในด้านการฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้ความสำคัญในระดับปานกลางในด้านการมีส่วนร่วมในงานและการสร้างความผูกพันในองค์กร ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์หรือการวางแผนกำลังคน ด้านการประเมินผลการปฎิบัติงาน ด้านการสรรหาและการคัดเลือก และด้านการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์หรือการบริหารค่าตอบแทน ตามลำดับ สำหรับสภาพในอนาคตของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาตามรายด้าน พบว่า สถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้ความสำคัญในระดับมากในทุกด้าน โดยด้านที่ให้ความสำคัญสูงที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในงานและการสร้างความผูกพันในองค์กร 2. แนวโน้มทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า ประกอบด้วย แนวโน้มด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์หรือการวางแผนอัตรากำลังคน 12 ข้อ แนวโน้มด้านการสรรหาและการคัดเลือกบุคลากร 13 ข้อ แนวโน้มด้านการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์หรือการบริหารค่าตอบแทน 14 ข้อ แนวโน้มด้านการฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 14 ข้อ …


คนโป๊ะ: ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการสืบทอดการทำประมงพื้นบ้านจังหวัดสมุทรสงคราม, พิมณิชา พรหมมานต Jan 2018

คนโป๊ะ: ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการสืบทอดการทำประมงพื้นบ้านจังหวัดสมุทรสงคราม, พิมณิชา พรหมมานต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์คุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นและการทำประมงพื้นบ้านจังหวัดสมุทรสงคราม 2) วิเคราะห์การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและการทำประมงพื้นบ้านจังหวัดสมุทรสงครามตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและ 3) นำเสนอแนวทางการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและการทำประมงพื้นบ้านจังหวัดสมุทรสงคราม ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การศึกษาเอกสารและการศึกษาภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิปัญญาและการทำประมงพื้นบ้านจังหวัดสมุทรสงครามมีคุณค่าจริยศาสตร์และสุนทรียศาสตร์ คุณค่าจริยศาสตร์ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติที่นำไปสู่การปรับตัวเข้าหาธรรมชาติและความรู้ด้านหัตถกรรมในการสร้างสรรค์เครื่องมือประมง ความคิดด้านจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อมสู่การทำประมงอย่างยั่งยืน ทักษะที่เกิดจากความเพียรพยายาม การเลี้ยงชีพอย่างพอเพียง การพัฒนาจิตใจ การพัฒนาสติปัญญา การเสริมสร้างอัตลักษณ์และความภาคภูมิใจให้ท้องถิ่น การสร้างความสามัคคีในชุมชน การสำนึกถึงประโยชน์ของส่วนรวม และคุณค่าสุนทรียศาสตร์ ได้แก่ ความรื่นรมย์ที่ได้จากการสัมผัสธรรมชาติในการทำประมงและความเรียบง่ายงดงามของเครื่องมือประมงพื้นบ้าน 2) การสืบทอดภูมิปัญญาการทำประมงพื้นบ้านตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็นการสืบทอดโดยการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นหลักโดยมีรากฐานจากครอบครัว ปัจจุบันผู้สืบทอดมีจำนวนลดลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ รวมถึงค่านิยมและทัศนคติ และ3) แนวทางการสืบทอดภูมิปัญญาและการทำประมงพื้นบ้านต้องทำไปพร้อมกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ควรส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยมากที่สุด การศึกษาในระบบและนอกระบบควรเข้ามามีบทบาท ชุมชนต้องเข้มแข็ง ภาครัฐต้องส่งเสริมการทำประมงเพื่อความยั่งยืน พื้นฐานสำคัญของการสืบทอดคือการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศและการสร้างทัศนคติที่ดีให้กับผู้สืบทอดและคนทั่วไปเพื่อให้การทำประมงพื้นบ้านสามารถสืบทอดต่อไปได้