Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Health and Physical Education

PDF

2021

Institution
Keyword
Publication
Publication Type

Articles 541 - 551 of 551

Full-Text Articles in Education

Nebline, January 2021 Jan 2021

Nebline, January 2021

NEBLINE Newsletter Archive from Nebraska Extension in Lancaster County

2020 Extension Highlight Highlights Responding as Local Needs Changed

Helping People Solve Real-World Problems

20,311 Youth Engaged in 4-H Programs

Make Your New Year’s Resolutions Stick

Recipe of the Month

Crop Production Clinics, Jan. 7, 14, and 21

Pesticide Applicator Trainings

Extension’s 2021 Master Gardener Trainings, Two Sites Available

Upcoming Green Industry Conferences

Garden Guide Things to do This Month

HEART OF 4-H VOLUNTEER AWARD: Emalea Dean

PASE Results

4-H Thanks Sponsors

4-H Announcements for 4-H’ers and Volunteers

4-H Thanks Volunteers

EXTENSION CALENDAR

EXTENSION NEWS


การพัฒนาโปรแกรมการเล่นตามแนวคิดแอคทีฟเพลย์ร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, จักรี อย่าเสียสัตย์ Jan 2021

การพัฒนาโปรแกรมการเล่นตามแนวคิดแอคทีฟเพลย์ร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, จักรี อย่าเสียสัตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการเล่นตามแนวคิดแอคทีฟเพลย์ร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย 2) ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาจำนวน 40 คนได้จากการสุ่มอย่างง่ายใน 1 โรงเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นและผ่านเกณฑ์คัดเข้า ทำการเก็บข้อมูล 3 ครั้ง คือ ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ และติดตามผลหลังสิ้นสุดการทดลอง 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ทดสอบด้วยสถิติที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกิจกรรม 8 กิจกรรม ประกอบด้วย (1) กิจกรรมวิ่งสนุก สุขหัวใจ (2) กิจกรรมกระโดดหรรษาสร้างพลังขาไปด้วยกัน (3) กิจกรรมรับลูกเทนนิสประสานสัมพันธ์ (4) กิจกรรมขว้างลูกเทนนิสพิชิตเป้าหมาย (5) กิจกรรมบันไดลิงวิ่งว่องไว (6) กิจกรรมกระโดด โลดเต้น กล้ามเนื้อแข็งแรง (7) เลี้ยงลูกฟุตบอลเพิ่มความรวดเร็ว และ (8) เตะลูกฟุตบอลรักษาสมดุล มีค่าดัชนีความสอดคล้องเฉลี่ยเท่ากับ 0.90 2) ประสิทธิผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนกลุ่มควบคุมหลังการทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความสามารถด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน, ฉัตรชณา เพริดพริ้ง Jan 2021

การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความสามารถด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน, ฉัตรชณา เพริดพริ้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความสามารถด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ฐานสมรรถนะของครูสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 2) ประเมินประสิทธิผลหลักสูตรอบรมที่พัฒนาขึ้น มีวิธีการดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรอบรม และการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรส่งเสริมความสามารถด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสุขศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่ภาคกลาง จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงและผ่านเกณฑ์การคัดเข้า ระยะเวลาการอบรม 3 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความรู้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของ ครูสุขศึกษา แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 2 ฉบับ ที่มีลักษณะคู่ขนานกัน ฉบับที่ 1 ใช้ก่อนการทดลอง ส่วนฉบับที่ 2 ใช้หลัง การทดลองมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.84, 0.83 ค่าความเที่ยง 0.83, 0.84 ค่าความยาก – ง่าย อยู่ในช่วง 0.6 – 0.75, 0.5 – 0.75 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.2 – 0.5, 0.2 - 0.5 ตามลำดับ ผลการตรวจสอบความเป็นคู่ขนานแบบวัดทั้ง 2 ฉบับได้ค่าดัชนี ความสอดคล้อง 0.88 และ พบว่า แบบวัดทั้ง 2 ฉบับไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนแบบประเมินการปฏิบัติในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะในวิชาสุขศึกษาโดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค (Scoring rubric) มีค่า ดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1 ค่าความเที่ยงโดยการวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน อยู่ระหว่าง 0.932 ถึง 0.986 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรอบรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย (1) หลักการและความเป็นมา (2) วัตถุประสงค์ (3) …


ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นรกมล กองสุข Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นรกมล กองสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะทั่วไปของประชากรกับระดับการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ และทัศนคติกับพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 450 คน ที่ได้จากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1)กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารและการรับรู้อยู่ในระดับน้อย ส่วนทัศนคติและพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์อยู่ในมาก 2) ความสัมพันธ์กับปัจจัยลักษณะทั่วไป การเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านระดับชั้นและปัจจัยด้านอายุ การรับรู้มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านเพศและปัจจัยด้านอายุ ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านเพศและปัจจัยด้านอายุ และพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านระดับชั้นและปัจจัยด้านอายุ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ พบว่า การเปิดรับข่าวสารมีระดับความสัมพันธ์ทางลบอยู่ในระดับต่ำ (r = -0.16) การรับรู้ไม่มีความสัมพันธ์ และทัศนคติมีระดับความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.31)


โปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19โดยใช้โมเดลเชิงนิเวศวิทยาสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, พรพล พุทธรักขิต Jan 2021

โปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19โดยใช้โมเดลเชิงนิเวศวิทยาสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, พรพล พุทธรักขิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายก่อนและหลังการทดลองของนิสิตนักศึกษากลุ่มทดลอง และของนิสิตนักศึกษากลุ่มควบคุม และ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนคะแนนความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายหลังการทดลองระหว่างนิสิตนักศึกษากลุ่มทดลองกับนิสิตนักศึกษากลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 50 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยใช้โมเดลเชิงนิเวศวิทยาจำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยใช้โมเดลเชิงนิเวศวิทยาจำนวน 25 คน ด้วยวิธีการจับคู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 โดยใช้โมเดลเชิงนิเวศวิทยา ประกอบด้วย 8 กิจกรรม ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความรู้เกี่ยวกิจกรรมทางกาย และแบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา, พิชาธรณ์ เผือกเชาวไว Jan 2021

การพัฒนาการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา, พิชาธรณ์ เผือกเชาวไว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารก่อน และหลังการทดลองของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์และของกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบปกติ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารหลัง การทดลองระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์ กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 80 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวมเท่ากับ 0.83 และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการสื่อสาร มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.83, 0.94, 1, และ 0.98 ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการสื่อสารด้วยค่า ที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการสื่อสารหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของกลุ่มควบคุมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านเจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการสื่อสารของกลุ่มควบคุมหลังการทดลองไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการสื่อสารของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิตนักศึกษา, วชิรวิทย์ พงษ์จีน Jan 2021

ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิตนักศึกษา, วชิรวิทย์ พงษ์จีน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิตนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาอาสาสมัคร (n=50) สุ่มแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มทดลองที่ออกกำลังด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาที่ความหนักร้อยละ 50 และ 80 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด เป็นระยะเวลา 21 นาทีต่อครั้ง จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (n=19) 2) กลุ่มทดลองที่ออกกำลังด้วยการกระโดดเชือกอย่างต่อเนื่องที่ความหนักระดับปานกลางที่ความหนักร้อยละ 70 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด เป็นระยะเวลา 30 นาทีต่อครั้ง จำนวน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ (n=20) และ 3) กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกาย (n=20) ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและความรู้นั้นประเมินก่อนและหลังออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ ในขณะที่การตอบสนองการรับรู้ทางจิตวิทยานั้นประเมินหลังการออกกำลังกายครั้งที่หนึ่งและครั้งสุดท้ายของการออกกำลังกาย การศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ เปรียบเทียบผลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ซึ่งใช้ค่าเฉลี่ยก่อนการทดลองเป็นตัวแปรร่วมหากพบความแตกต่างจะเปรียบเทียบเป็นรายคู่ ตามวิธีของบอนเฟอโรนี โดยมีค่าพื้นฐานก่อนการทดลองและเพศเป็นตัวแปรร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพด้านความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายประเภทแอโรบิกของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาสามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและพัฒนาด้านความรู้ของการออกกำลังกายของนิสิตนักศึกษาได้ไม่แตกต่างจากการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องที่ความหนักระดับปานกลาง


ผลของโปรแกรมการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวโดยใช้หลักการความก้าวหน้า​ที่มีต่อการทรงตัวและทักษะการรับลูกเสิร์ฟในกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศักดา สวัสดิ์วร Jan 2021

ผลของโปรแกรมการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวโดยใช้หลักการความก้าวหน้า​ที่มีต่อการทรงตัวและทักษะการรับลูกเสิร์ฟในกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศักดา สวัสดิ์วร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบการทรงตัวและทักษะการรับลูกเสิร์ฟ ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบการทรงตัวและทักษะการรับลูกเสิร์ฟ หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 ซึ่งเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดตัวแทนโรงเรียน จำนวน 30 คน ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน (วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์) วันละ 30 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของการทรงตัวและทักษะการรับลูกเสิร์ฟ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของการทรงตัวและทักษะการรับลูกเสิร์ฟ หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวโดยใช้หลักการความก้าวหน้าสามารถพัฒนาการทรงตัวแบบอยู่กับที่ การทรงตัวแบบเคลื่อนที่ และทักษะการรับลูกเสิร์ฟของนักเรียนมัธยมศึกษา ทำให้นักเรียนมีการทรงตัวและทักษะการรับลูกเสิร์ฟที่ดีขึ้น ส่งผลให้แสดงความสามารถและศักยภาพออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำมาซึ่งความความเป็นเลิศในกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด


ผลของโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อที่มีต่อความสามารถ ในการกระโดดเตะลูกตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกีฬา, สุวนันท์ แก้วคำไสย์ Jan 2021

ผลของโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อที่มีต่อความสามารถ ในการกระโดดเตะลูกตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกีฬา, สุวนันท์ แก้วคำไสย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อที่มีต่อความสามารถในการกระโดดเตะลูกตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกีฬาก่อนการทดลองและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อที่มีต่อความสามารถในการกระโดดเตะลูกตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกีฬาหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่เป็นนักกีฬาเซปักตะกร้อหญิง จำนวน 30 คน แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อ จำนวน 15 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่เข้าฝึกเซปักตะกร้อแบบปกติ จำนวน 15 คน โดยใช้วิธีจับคู่ (Matching Group) ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 60 นาที และทำการทดสอบความสามารถในการกระโดดเตะลูกตะกร้อก่อนการทดลองและหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่า ที (Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการทดสอบคะแนนความสามารถในการกระโดดเตะลูกตะกร้อหลังการทดลองของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนความสามารถในการกระโดดเตะลูกตะกร้อหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


โปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, อานนท์ กองสุวรรณ Jan 2021

โปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, อานนท์ กองสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคมจำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมจำนวน 20 คน โดยวิธีการจับคู่ (Matching Method) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.98 แบบวัดความตระหนักรู้และแบบวัดพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.99 และ 0.95 มีค่าความเที่ยง 0.84 และ 0.82 ระยะเวลาในการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05


ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, อารักษ์ มุ่งหมาย Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, อารักษ์ มุ่งหมาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ ศึกษาระดับการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนมัธยมศึกษา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ กับแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนมัธยมศึกษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนมัธยมศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 600 คนจากนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสุ่มด้วยวิธีแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายการทดสอบไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารอยู่ในระดับน้อย การรับรู้และทัศนคติระดับปานกลาง และแนวโน้มพฤติกกรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในระดับมาก ด้านความสัมพันธ์กับปัจจัยลักษณะทั่วไป: การเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์กับ ระดับชั้น พฤติกรรมการสูบบุหรี่ธรรมดา และรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง การรับรู้มีความสัมพันธ์รายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับระดับชั้น พฤติกรรมการสูบบุหรี่ธรรมดา และรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านระดับชั้น ด้านอายุ ด้านพฤติกรรมการสูบบุหรี่ธรรมดาและปัจจัยด้านรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครองด้านความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า: การเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์เชิงลบขนาดต่ำ (r =-0.12) การรับรู้ไม่มีความสัมพันธ์ (r = 0.00) และทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกขนาดกลาง (r = 0.65)