Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Psychology

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

Articles 1 - 17 of 17

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมส่งเสริมความสามารถในการฟื้นพลังของบุคลากรสายสนับสนุนทางการศึกษาที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่น วาย ในสถาบันอุดมศึกษา, กรผกา พัฒนกำพล Jan 2021

การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมส่งเสริมความสามารถในการฟื้นพลังของบุคลากรสายสนับสนุนทางการศึกษาที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่น วาย ในสถาบันอุดมศึกษา, กรผกา พัฒนกำพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์ประสบการณ์การใช้ชีวิตและการทำงาน และประสบการณ์การฝึกอบรมที่ส่งผลต่อความสามารถในการฟื้นพลังของบุคลากรสายสนับสนุนทางการศึกษาที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่น วาย 2. วิเคราะห์ผลของการใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟื้นพลังของบุคลากรสายสนับสนุนทางการศึกษาที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่น วาย ที่ออกแบบขึ้น 3. วิเคราะห์ความคิดเห็นของบุคลากรสายสนับสนุนทางการศึกษาที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่น วาย หลังจากที่ได้ใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ และ 4. นำเสนอโปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ การวิจัยนี้ประยุกต์แนวคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) ในการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาต้นแบบและระยะที่ 2 การทดสอบและวิเคราะห์ผลการใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ ระยะที่ 1 การพัฒนาต้นแบบดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นทำความเข้าใจ (Empathize) และขั้นนิยามปัญหา (Define) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ยากลำบากในชีวิตและการทำงาน และประสบการณ์ในการฝึกอบรมจากตัวอย่างวิจัยจำนวน 11 คน เพื่อนำข้อมูลมาสู่ขั้นตอนที่ 2 ขั้นระดมความคิด (Ideate) และขั้นสร้างต้นแบบ (Prototype) โดยการระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการการสังเคราะห์ทฤษฎี ข้อมูลประสบการณ์ และข้อมูลจากการระดมความคิด มาใช้ในการออกแบบโปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ ผลการวิจัยพบว่าตัวอย่างวิจัยมักเกิดความคิดและความรู้สึกในเชิงลบ และแสดงพฤติกรรมที่ต่อสู้ หลีกเลี่ยงหรือหยุดนิ่งเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่ยากลำบาก โดยใช้เทคนิคการมีสติและการผ่อนคลายความเครียดเป็นส่วนใหญ่ นำมาสู่โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ รูปแบบออนไลน์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อกิจกรรม คือ การตระหนักรู้และการยอมรับ การนิยามคุณค่าและการคิดเชิงบวก การสื่อสารเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์ และการตั้งเป้าหมายและการค้นหาสิ่งสนับสนุน จัดกิจกรรมครั้งละ 90 นาที โดยใช้แนวคิดการมีสติเป็นแนวคิดหลัก ระยะที่ 2 การทดสอบและวิเคราะห์ผลการใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ มีกลุ่มตัวอย่างวิจัยจำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ 1) โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ ที่พัฒนาขึ้นจากขั้นตอนในระยะที่ 1 2) แบบประเมินความสามารถในการฟื้นพลังสำหรับผู้ใหญ่ 3) แบบประเมินความพึงพอใจและประโยชน์ที่ได้จากการใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ และ 4) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างหลังจากการใช้โปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ ผลการวิจัยพบว่าคะแนนความสามารถในการฟื้นพลังก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และตัวอย่างวิจัยมีความพึงพอใจในโปรแกรมต้นแบบการฝึกอบรมฯ ในระดับมากที่สุดทุกด้าน …


ผลการใช้โปรแกรมพัฒนาการกำกับอารมณ์ที่มีต่อพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เป็นปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, ปิยากร อ่อนละออ Jan 2020

ผลการใช้โปรแกรมพัฒนาการกำกับอารมณ์ที่มีต่อพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เป็นปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, ปิยากร อ่อนละออ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาการกำกับอารมณ์ต่อพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เป็นปัญหา มีตัวอย่างวิจัยเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 41 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 21 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมพัฒนาการกำกับอารมณ์และแบบวัดพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เป็นปัญหา มีการเก็บข้อมูล 3 ครั้ง ได้แก่ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way repeated measures ANOVA) และการทดสอบที (Independent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาการกำกับอารมณ์มีคะแนนพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เป็นปัญหาไม่แตกต่างจากระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาการกำกับอารมณ์มีคะแนนพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เป็นปัญหาไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาการกำกับอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมส่งเสริมการแสวงหาความท้าทายในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎีกรอบความคิดของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, เจนจิรา จาติเทศะ Jan 2020

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการแสวงหาความท้าทายในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎีกรอบความคิดของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, เจนจิรา จาติเทศะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการแสวงหาความท้าทายในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎีกรอบความคิดของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตชั้นปีที่ 4 จากมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง มีรูปแบบการวิจัยเชิงทดลองเเท้จริง (True experimental research design) และนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 39 คน ถูกสุ่มเพื่อเข้าเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 19 คนเเละกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมส่งเสริมการแสวงหาความท้าทายในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎีกรอบความคิด และแบบวัดการแสวงหาความท้าทายในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) เเละเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะเเนนการเเสวงหาความท้าทายในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษระหว่างช่วงเวลาการวัดโดยใช้การวิเคราะห์ความเเปรปรวนทางเดียวเเบบวัดซ้ำ (One-way repeated measures ANOVA) เเละการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) นักศึกษากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการแสวงหาความท้าทายในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (M หลังทดลอง = 4.16, SD หลังทดลอง = 0.45, M ติดตามผล = 4.09, SD ติดตามผล = 0.46, F = 11.67, p = .00) มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 1.88 (2) หลังได้รับโปรแกรมและในระยะติดตามผลนักศึกษากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการแสวงหาความท้าทายในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ระยะหลังทดลอง Mทดลอง = 4.16, SD ทดลอง = 0.45, M ควบคุม = 3.37, SD ควบคุม = 0.19, t = 7.13, p = .00 และระยะติดตามผล Mทดลอง = 4.09, SD ทดลอง = …


ผลการใช้โปรแกรมสอนอ่านทางตรงส่งเสริมความพยายามที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาด้านการอ่าน, ชัยณรงค์ ขำบัณฑิต Jan 2019

ผลการใช้โปรแกรมสอนอ่านทางตรงส่งเสริมความพยายามที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาด้านการอ่าน, ชัยณรงค์ ขำบัณฑิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาด้านการอ่านในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสอนอ่านทางตรงส่งเสริมความพยายาม และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครองหลังจากการใช้โปรแกรมฯ การวิจัยครั้งนี้มีรูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดี่ยวแบบหลายเส้นฐานข้ามบุคคล แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเส้นฐาน และระยะได้รับการช่วยเหลือ รวมทั้งหมด 20 ครั้ง ครั้งละ 40 นาทีตัวอย่างวิจัยคือ นักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาด้านการอ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมสาธิตศึกษา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 3 คน ซึ่งผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจากแบบวัดความสามารถในการอ่านและการเสนอชื่อจากครูประจำชั้นและครูสอนวิชาภาษาไทย เครื่องมือวิจัย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือทดลอง ได้แก่ โปรแกรมสอนอ่านทางตรงส่งเสริมความพยายาม และเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำ และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น ใช้สถิติบรรยายวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนต่ำสุด-สูงสุด วิเคราะห์ด้วยกราฟเส้นเพื่อแสดงพัฒนาการของทักษะการอ่านสะกดคำ และวิเคราะห์ประเด็นความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวอย่างวิจัยทั้ง 3 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำเพิ่มขึ้นหลังได้รับโปรแกรมฯ ซึ่งในระยะได้รับการช่วยเหลือมีคะแนนการอ่านสะกดคำเพิ่มขึ้นสูงกว่าระยะเส้นฐาน และ 2) ผลการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครองที่มีต่อโปรแกรมฯ คือ มีผลเชิงบวกต่อการใช้โปรแกรมฯ และเห็นสมควรนำไปใช้ต่อเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาด้านการอ่าน


ผลของโปรแกรมการเปิดเผยตนเองที่มีต่อสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนและทักษะการทำงานแบบร่วมมือของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3, ธัญรดา แก้วกันหา Jan 2019

ผลของโปรแกรมการเปิดเผยตนเองที่มีต่อสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนและทักษะการทำงานแบบร่วมมือของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3, ธัญรดา แก้วกันหา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเปิดเผยตนเองที่มีต่อสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนและทักษะการทำงานแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักเรียนที่ผ่านการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายลำดับขั้นจากโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกการเปิดเผยตนเองที่พัฒนาขึ้นตามโมเดลการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบวัดสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนและแบบวัดทักษะการทำงานแบบร่วมมือดำเนินการก่อนและหลังการทดลอง รวมถึงในระยะติดตามผล ข้อมูลทางสถิติพื้นฐานที่ได้ถูกวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรพหุนาม (MANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรพหุนามแบบวัดซ้ำ (repeated MANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนและทักษะการทำงานแบบร่วมมือของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนและทักษะการทำงานแบบร่วมมือของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยคัดสรรทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา, ธีระ ยอน Jan 2019

ปัจจัยคัดสรรทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา, ธีระ ยอน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะปัจจัยคัดสรรทางจิตวิทยา 5 ปัจจัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรทางจิตวิทยากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา และ 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยปัจจัยคัดสรรทางจิตวิทยา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานกระทรวงศึกษาธิการฯ จังหวัดกำปงธม จำนวน 544 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบวัดการกำกับตนเองในการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ อัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ การเห็นคุณค่าในตนเอง และแบบวัดเจตคติต่อการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. การกำกับตนเองในการเรียน (RGU) การเห็นคุณค่าในตนเอง (SET) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (MOT) เจตคติต่อการเรียน (ATT) และอัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ (ASC) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 52.944 49.741 49.002 36.133 และ 35.738 ตามลำดับ 2. การกำกับตนเองในการเรียน (RGU) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (MOT) อัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ (ASC) การเห็นคุณค่าในตนเอง (SET) และเจตคติต่อการเรียน (ATT) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ตัวแปรที่มีอำนาจในการพยากรณ์ที่ดีที่สุดสำหรับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือการกำกับตนเองในการเรียน รองลงมา คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ได้สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ตามลำดับ ดังนี้ Y’ = 2.184RGU + 1.032MOT + 23.848 Z’ …


การส่งเสริมทักษะสมองด้านการบริหารและพฤติกรรมมุ่งงานโดยใช้โปรแกรมการพัฒนาทักษะอีเอฟผ่านการช่วยเหลือที่มีดนตรีเป็นฐานสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นในชั้นเรียนรวม, แพรวา ฤทธิ์สกุลชัย Jan 2019

การส่งเสริมทักษะสมองด้านการบริหารและพฤติกรรมมุ่งงานโดยใช้โปรแกรมการพัฒนาทักษะอีเอฟผ่านการช่วยเหลือที่มีดนตรีเป็นฐานสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นในชั้นเรียนรวม, แพรวา ฤทธิ์สกุลชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะอีเอฟผ่านการช่วยเหลือที่มีดนตรีเป็นฐานต่อทักษะสมองด้านการบริหารและพฤติกรรมมุ่งงานของนักเรียน ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนประถมศึกษาตอนต้นที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครแห่งหนึ่ง จำนวน 41 คน และครูประจำชั้นจำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการพัฒนาทักษะอีเอฟผ่านการช่วยเหลือที่มีดนตรีเป็นฐาน แบบวัดทักษะสมองด้านการบริหาร แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสัมภาษณ์ครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะสมองด้านการบริหารและค่าเฉลี่ยของจำนวนการเกิดพฤติกรรมมุ่งงานของนักเรียนในระยะก่อนทดลองและหลังทดลองด้วยการวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ (dependent sample t-test) และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณ (MANCOVA) เพื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครูประจำชั้น วิเคราะห์ด้วยการลงรหัสและวิเคราะห์ประเด็นเพื่อนำเสนอในรูปแบบการบรรยาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะสมองด้านการบริหาร และค่าเฉลี่ยของจำนวนการเกิดพฤติกรรมมุ่งงานสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะสมองด้านการบริหารสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของจำนวนการเกิดพฤติกรรมมุ่งงานไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม และ 4) ครูประจำชั้นมีความคิดเห็นต่อโปรแกรมฯ ในเชิงบวก


อิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อยโดยมีความเพียรและสุขภาวะเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ปวริศ ไชยลาโภ Jan 2019

อิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อยโดยมีความเพียรและสุขภาวะเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ปวริศ ไชยลาโภ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความเพียร สุขภาวะ และผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อย 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลอิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อยโดยมีความเพียรและสุขภาวะเป็นตัวแปรส่งผ่านกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) วิเคราะห์บทบาทการส่งผ่านของความเพียรและสุขภาวะในโมเดลอิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อย ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 2-5 จำนวน 805 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ มาตรวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง มาตรวัดความเพียร และมาตรวัดสุขภาวะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัย พบว่า 1) ในภาพรวมนักเรียนนายร้อยมีสุขภาวะอยู่ในระดับสูง (%RWB = 70.00) ในขณะที่ผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อย ความเพียร และการรับรู้ความสามารถของตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (%RCMA = 47.25; %RGRT = 44.00; %RSE = 35.00) 2) โมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = 44.620, df = 36, p = 0.131, Chi-Square/df = 1.239, GFI = 0.991, AGFI = 0.978, NFI = 0.997; RMR = 0.015, RMSEA = 0.018) 3) การรับรู้ความสามารถของตนเองส่งผลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อย (β = 0.765, p < .05) ในขณะที่ความเพียรส่งผลทางลบต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อย (β = -0.704, p < .05) อย่างไรก็ดีสุขภาวะไม่ได้ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร, สิริกุล กิตติมงคลชัย Jan 2019

การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร, สิริกุล กิตติมงคลชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมายและองค์ประกอบความสุขในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) สร้างเกณฑ์ปกติของมาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น การวิจัยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสังเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าจำนวน 24 คน การวิจัยระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อพัฒนา ตรวจสอบ และสร้างเกณฑ์ปกติของมาตรวัดความสุขในการเรียนกับนักเรียน 240 คน จากโรงเรียนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสุขในการเรียนที่ได้จากการศึกษาเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 12 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน (2) การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับครู (3) การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง (4) การมีสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงสมบูรณ์ (5) การเห็นคุณค่าในตนเอง (6) การเห็นคุณค่าในการเรียนรู้ (7) การมีเป้าหมายในการเรียนรู้ (8) การมีอารมณ์ทางบวกในการเรียนรู้ (9) การกำกับตนเองในการเรียนรู้ (10) ภาวะลื่นไหลในการเรียนรู้ (11) การได้เรียนในสิ่งที่ถนัดและสนใจ และ (12) การได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและเอื้อต่อการเรียนรู้ และ 2) มาตรวัดความสุขในการเรียนมีจำนวน 80 ข้อคำถาม ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ (1) ความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง (2) ความตรงเชิงภาวะสันนิษฐานสร้างด้วยเทคนิคกลุ่มรู้ชัด (t = 13.82, p < .05) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2=54.25, df =43, p = .117, χ2/df = 1.26, GFI=.964, RMSEA=.033, SRMR=.0329, CFI=.996, AGFI=.934) และ (3) ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับมีค่า .987 ผลการพัฒนาเกณฑ์ปกติในรูปแบบคะแนนทีปกติอยู่ในช่วง T17.16 – T74.78


ผลของโปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, วรัฐา นพพรเจริญกุล Jan 2018

ผลของโปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, วรัฐา นพพรเจริญกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ โปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต และแบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค การเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-Way Repeated Measures ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังจากได้รับโปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


การพัฒนาต้นแบบการช่วยเหลือทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมกรอบความคิดเติบโตและทักษะทาง การคำนวณสำหรับนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะเสี่ยงทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์, สัณห์ รังสรรค์ Jan 2018

การพัฒนาต้นแบบการช่วยเหลือทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมกรอบความคิดเติบโตและทักษะทาง การคำนวณสำหรับนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะเสี่ยงทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์, สัณห์ รังสรรค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อวิเคราะห์ประสบการณ์และผลการช่วยเหลือทางการศึกษาที่มีต่อกรอบความคิดเติบโตและทักษะทางการคำนวณของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ 2. เพื่อออกแบบต้นแบบการช่วยเหลือทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมกรอบความคิดเติบโตและทักษะทางการคำนวณของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงฯจากข้อมูลประสบการณ์ของนักเรียน 3. เพื่อวิเคราะห์ผลของการใช้ต้นแบบการช่วยเหลือทางการศึกษาที่มีต่อกรอบความคิดเติบโตและทักษะทางการคำนวณของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงฯ กระบวนการวิจัยประยุกต์ใช้ กระบวนการการคิดเชิงออกแบบ (design thinking process) เป็นแนวทางหลักในการดำเนินการวิจัย ซึ่งแบ่งการวิจัยและผลการวิจัยเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ดำเนินการสังเกต การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการวิเคราะห์เอกสาร เพื่อวิเคราะห์ประสบการณ์และผลการช่วยเหลือทางการศึกษาที่มีต่อกรอบความคิดเติบโตและทักษะทางการคำนวณศึกษากับนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 คน (นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย) ผู้ปกครองนักเรียน 5 คนและครู 3 คน ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า ที่ผ่านมานักเรียนกลุ่มเป้าหมายไม่เคยได้รับการช่วยเหลือทางการศึกษาอย่างเป็นทางการ มีเพียงการสอนเสริมจากครูเป็นครั้งคราว ผู้ปกครองนักเรียนเคยให้นักเรียนเรียนเสริมหลังเลิกเรียนแต่ปัจจุบันไม่มีนักเรียนคนใดเรียนเสริมหลังเลิกเรียน นักเรียนกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 เชื่อว่าตนเองไม่มีความสามารถในวิชาคณิตศาสตร์ ครูและผู้ปกครอง มีความเชื่อว่าสติปัญญาเป็นสิ่งที่ส่งผ่านทางพันธุกรรม ครูผู้สอนคณิตศาสตร์เชื่อว่า ศักยภาพในการเรียนรู้ของสมองเรียนรู้ได้อย่างจำกัด ลักษณะที่เป็นปัญหาจากการช่วยเหลือที่ผ่านมาคือ กิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์ไม่ตอบสนองการเรียนรู้ของนักเรียน การให้ข้อมูลป้อนกลับแก่นักเรียนในเชิงตัดสิน นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้สึกเชิงลบต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ระยะที่ 2 นำผลการศึกษาประสบการณ์ในระยะที่ 1 มานิยามปัญหาและใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการอภิปรายกลุ่ม (focus group discussion) เพื่อการระดมความคิดเพื่อออกแบบต้นแบบการช่วยเหลือจากครูผู้เชี่ยวชาญซึ่งเลือกมาแบบเจาะจงจำนวน 4 คน จากนั้นสังเคราะห์ผลจากการอภิปรายกลุ่มร่วมกับต้นแบบเชิงทฤษฎีที่สังเคราะห์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และออกแบบต้นแบบการช่วยเหลือทางการศึกษาฯ ที่จะนำไปใช้ในระยะที่ 3 ผลการวิจัยระยะที่ 2 พบว่า ต้นแบบดังกล่าวประกอบไปด้วยกิจกรรมทั้งหมด 10 กิจกรรม กิจกรรมละ 60 นาที แต่ละกิจกรรมแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ขั้นเสริมสร้างกรอบความคิด ขั้นคณิตคิดสนุก/สนุกคิด และขั้นปลุกพลังในตัวเอง ระยะที่ 3 ดำเนินวิจัยเชิงทดลองเพื่อวิเคราะห์ผลของการใช้ต้นแบบการช่วยเหลือทางการศึกษาที่มีต่อกรอบความคิดเติบโตและทักษะทางการคำนวณ โดยผู้ให้ข้อมูลคือ นักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงฯ จำนวน 3 คนและ ครู (ผู้ใช้ต้นแบบฯ) ที่ได้รับการคัดเลือกโดยใช้เกณฑ์ ผลการวิจัยระยะที่ 3 พบว่า หลังเข้ารับการทดลองนักเรียนทุกคนมีคะแนนกรอบความคิดเติบโตเพิ่มขึ้น มีคะแนนกรอบความคิดเติบโตเฉลี่ยหลังการทดลองเท่ากับ 20.67 (SD. …


การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกในการกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, สุภชาวัลย์ ชนะศักดิ์ Jan 2018

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกในการกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, สุภชาวัลย์ ชนะศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกในการกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านย่านตาขาว ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกในการกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์ และแบบประเมินการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกในการกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์ วิเคราะห์ข้อมูลผลการทดลองโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (One-way Repeated Measure ANOVA) และการทดสอบค่าที (T- test for Independent Samples) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ภายหลังการทดลอง และในระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกในการกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ภายหลังการทดลอง และในระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกในการกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตโดยใช้โปรแกรมการสนับสนุนอิสระด้วยตนเอง, วัชรินทร์ อินทร์นุ่ม Jan 2018

การเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตโดยใช้โปรแกรมการสนับสนุนอิสระด้วยตนเอง, วัชรินทร์ อินทร์นุ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลจากการใช้โปรแกรมการฝึกการสนับสนุนอิสระด้วยตนเองที่มีต่อความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาบัณฑิตชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง มีรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบแผนการทดลอง แบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design : CRD) นักศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน ถูกสุ่มเพื่อเข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 คน โดยมีเครื่องมือในการวิจัยคือ โปรแกรมฝึกการสนับสนุนอิสระด้วยตนเอง และแบบวัดความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) จากนั้นการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างช่วงเวลาของการวัดค่าเฉลี่ยของคะแนนของความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษาโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (one-way repeated measures ANOVA) และสถิติทดสอบทีแบบอิสระ (Independent sample t – test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษาในระยะหลังการฝึกและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการได้รับฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F (2,136) = 69.30 , p =.00, ηp 2 = .421) และ 2) ในระยะหลังการฝึกและระยะติดตามผลกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t (68) = 8.35, p = .00, d = 1.65, t (68) = 7.85, p = .00, d = 1.55 ตามลำดับ)


ผลการฝึกอนุมานสาเหตุไปที่ความพยายามที่มีต่อการผัดวันประกันพรุ่งในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2, ธนพล สุวรรณพงษ์ Jan 2017

ผลการฝึกอนุมานสาเหตุไปที่ความพยายามที่มีต่อการผัดวันประกันพรุ่งในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2, ธนพล สุวรรณพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผลการฝึกอนุมานสาเหตุที่ความพยายามที่มีต่อการผัดวันประกันพรุ่งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมการฝึกอนุมานสาเหตุที่ความพยายามระหว่างระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร จำนวน 49 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 24 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1. แบบวัดการผัดวันประกันพรุ่งในการเรียนและ 2. โปรแกรมการฝึกการอนุมานสาเหตุที่ความพยายาม โปรแกรมนี้ประกอบด้วยกิจกรรมการฝึก จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-Way Repeated measure ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการฝึกการอนุมานสาเหตุที่ความพยายามมีค่าเฉลี่ยจากแบบวัดการผัดวันประกันพรุ่งในการเรียนในระยะหลังการทดลองและติดตามผลไม่แตกต่างจากกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผล ค่าเฉลี่ยจากแบบวัดการผัดวันประกันพรุ่งในการเรียนของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการฝึกการอนุมานสาเหตุที่ความพยายามไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ผลของโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมที่มีต่อความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, เกวลิน กลัญชัย Jan 2017

ผลของโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมที่มีต่อความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, เกวลิน กลัญชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมที่มีต่อความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตัวอย่างของการทดลองครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 67 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมจำนวน 34 คน และกลุ่มควบคุมที่เรียนตามปกติจำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบวัดความวิตกกังวลในการสอบ และ 2. โปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-Way Repeated Measures ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลในการสอบในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลในการสอบในระยะหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลในการสอบในระยะติดตามผลไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลในการสอบในระยะติดตามผลสูงกว่าหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การเสริมสร้างความสามารถในการฟื้นพลังของนักเรียนระดับอาชีวศึกษาโดยใช้โปรแกรมฝึกการกำกับอารมณ์, ธนาภรณ์ เนียมกลั่น Jan 2017

การเสริมสร้างความสามารถในการฟื้นพลังของนักเรียนระดับอาชีวศึกษาโดยใช้โปรแกรมฝึกการกำกับอารมณ์, ธนาภรณ์ เนียมกลั่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลจากการใช้โปรแกรมฝึกการกำกับอารมณ์ที่มีต่อความสามารถในการฟื้นพลังของนักเรียนระดับอาชีวศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 62 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ โปรแกรมฝึกการกำกับอารมณ์ และแบบวัดความสามารถในการฟื้นพลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างช่วงเวลาของการวัดประเมินความสามารถในการฟื้นพลัง โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (one-way repeated measures ANOVA) และสถิติทดสอบทีแบบอิสระ (Independent sample t - test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ภายหลังการทดลองและในระยะติดตามผลกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการฟื้นพลังสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 2) ภายหลังการทดลองและในระยะติดตามผลกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการฟื้นพลังสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการคิดตามหลักโยนิโสมนสิการที่มีต่อความวิตกกังวลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, สุณัฐฐา สุนทรวิภาต Jan 2017

ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการคิดตามหลักโยนิโสมนสิการที่มีต่อความวิตกกังวลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, สุณัฐฐา สุนทรวิภาต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการฝึกทักษะการคิดตามหลักโยนิโสมนสิการที่มีต่อความวิตกกังวลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชวินิต มัธยม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 63 คน กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเพื่อเข้าเป็นกลุ่มทดลอง 31 คน และกลุ่มควบคุม 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ โปรแกรมการฝึกทักษะการคิดตามหลักโยนิโสมนสิการ และแบบวัดความวิตกกังวล การเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนการทดลอง ระยะทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล ในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมทำแบบวัดความวิตกกังวลซึ่งประกอบด้วยข้อคำถาม 79 ข้อ ใช้เวลาตอบ 30 นาที และในระยะทดลองกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกที่ประกอบด้วยกิจกรรมการฝึกทักษะการคิดตามหลักโยนิโสมนสิการ จำนวน 8 ครั้ง ใช้เวลาการฝึกครั้งละ 50 นาที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-Way Repeated Measures ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลนักเรียนในกลุ่มทดลองมีคะแนนความวิตกกังวลต่ำกว่านักเรียนในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลนักเรียนในกลุ่มทดลองมีคะแนนความวิตกกังวลต่ำกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05