Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Assessment, Evaluation, and Research

Chulalongkorn University

2018

Articles 1 - 15 of 15

Full-Text Articles in Education

แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลสำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา: การประยุกต์แนวคิดการออกแบบแบบปรับเหมาะ, สมเกียรติ แก้วเกาะสะบ้า Jan 2018

แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลสำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา: การประยุกต์แนวคิดการออกแบบแบบปรับเหมาะ, สมเกียรติ แก้วเกาะสะบ้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัล (ERCDA) เป็นตัวแปรพหุมิติระหว่างสมรรถนะวิจัยและสมรรถนะดิจิทัล ที่ผ่านมามี การพัฒนาเครื่องมือสำหรับวัด ERCDA แบบแยกสมรรถนะจำนวนมากซึ่งนอกจากจะใช้ข้อคำถามจำนวนมากแล้วยังไม่สามารถวัดความเป็นพหุ มิติของ ERCDA ได้อีกด้วย ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดและเครื่องมือวัดสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุค ดิจิทัลของผู้เรียนในระดับบัณฑิตศึกษาตามแนวคิดการออกแบบแบบปรับเหมาะ (2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุค ดิจิทัลของผู้เรียนที่มีภูมิหลังด้านการวิจัยแตกต่างกัน (3) เพื่อพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลสำหรับ ผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษาตามแนวคิดการออกแบบแบบปรับเหมาะ ตัวอย่างวิจัยเป็นนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาศึกษาศาสตร์ แบ่งเป็นขั้นตอนการพัฒนาโมเดลและเครื่องมือวัด 360 คน ขั้นตอนการวัดสมรรถนะ 415 คน เก็บข้อมูลโดยการสำรวจแบบปรับเหมาะด้วย คอมพิวเตอร์ผ่าน www.shinyApps.io ที่สร้างจาก mirtCAT R package และพัฒนาโดย ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ (2562) ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลการวัดสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลแบบพหุมิติภายในข้อคำถามมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ χ2 (90, N = 360) = 95.93, p = .03, DIC = 23143.03, BIC = 23656.06 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ ด้านสมรรถนะวิจัยอยู่ในช่วง .14 - .45 ตัวบ่งชี้ด้านสมรรถนะดิจิทัลอยู่ในช่วง .02-.59 ( .10 =R² =< .41) 2) ผลการเปรียบเทียบพหุตัวแปรสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนที่มีสาขาวิชาต่างกันมีพหุ ตัวแปรสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (F (18, 758) = 17.76, p < .001) มีขนาด อิทธิพลอยู่ในระดับสูง (ηp² = .30) ส่วนขนาดอิทธิพลของแต่ละตัวบ่งชี้รวม 9 ตัว อยู่ในช่วงระหว่าง (ηp² = .02-.19, ŵp² = .01-.18) ผู้เรียน สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษามีสมรรถนะวิจัยและสมรรถนะดิจิทัลด้านการประเมินและการบริหารจัดการสูงกว่าทุกสาขาวิชาวิชาอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนทุกกลุ่มมีสมรรถนะวิจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกต่ำกว่าด้านอื่น ๆ 3) แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัลสำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา (1) ผู้เรียนทุกกลุ่ม สาขาวิชาควรได้รับการเสริมสร้างสมรรถนะวิจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกเป็นอันดับแรก (2) ผู้เรียนสาขาอื่น ๆ ควรได้รับการเสริมสร้างสมรรถนะ วิจัยและสมรรถนะดิจิทัลในทุกด้าน และ (3) สามารถนาแนวคิดการจัดกระทำแบบปรับเหมาะมาออกแบบการสอนให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้เรียน


การพัฒนาเครื่องมือวัดการปฏิบัติของครูในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, ศิริปรียา ใจบุญมา Jan 2018

การพัฒนาเครื่องมือวัดการปฏิบัติของครูในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, ศิริปรียา ใจบุญมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (professional learning communities: PLC) เป็นกลยุทธ์หนึ่งสำหรับการพัฒนาการเรียนรู้ของครูและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งสำหรับในประเทศไทยได้กำหนดให้เป็นนโยบายทางการศึกษา แต่ยังไม่ปรากฏผลการปฏิบัติของครูที่ประสบผลสำเร็จว่าอยู่ในระดับใด การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดการปฏิบัติของครูในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน 2) เพื่อวิเคราะห์วิธีการขับเคลื่อนและการปฏิบัติของครูในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน และเปรียบเทียบการปฏิบัติของครูที่อยู่ในโรงเรียนที่มีวิธีการขับเคลื่อนที่แตกต่างกัน และ 3) เพื่อวิเคราะห์และอธิบายถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติของครูในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกคือการพัฒนาเครื่องมือวัดการปฏิบัติของครูโดยลงพื้นที่เพื่อทำการสังเกตและสัมภาษณ์นักวิชาการ ครู ผู้บริหารในโรงเรียนที่มีการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 8 โรงเรียน เพื่อนำข้อมูลมาเป็นฐานในการสร้างเครื่องมือ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่สร้างขึ้นโดยการวิเคราะห์ความเที่ยงและความตรงเชิงโครงสร้าง ระยะที่สองคือการศึกษาการปฏิบัติของครูในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยเก็บข้อมูลกับครูในเขตกรุงเทพและปริมณฑลจำนวน 206 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามการปฏิบัติของครู ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ PLC ของครู วิธีการขับเคลื่อน PLC ในโรงเรียน การสนับสนุนของโรงเรียน สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนครู และคุณลักษณะด้านการสะท้อนคิดของครู โดยเครื่องมือมีคุณภาพทั้งด้านความตรงและความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติบรรยาย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การจัดกลุ่มของวิธีการขับเคลื่อนโดยใช้การวิเคราะห์กลุ่มแฝง และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1. เครื่องมือวัดการปฏิบัติของครูในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีข้อคำถามทั้งหมด 23 ข้อ มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ เครื่องมือวัดการปฏิบัติของครูในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมีค่าความเที่ยง .874-.912 และการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า โมเดลการวัดการปฏิบัติของครูในชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพมีความตรงเชิงโครงสร้าง พิจารณาจากเมตริกซ์ความแปรปรวน-ความแปรปรวนร่วมของข้อมูลเชิงประจักษ์สอดคล้องกับทฤษฎี (Chi-Square (2, N=206)= 2.940, p=.230, RMSEA=0.073, SRMR=0.008) 2. การปฏิบัติของครูในการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพทั้ง 4 ด้านคือ การวางแผนการทำงาน การดำเนินการในแผนการทำงาน การตรวจสอบผลการดำเนินการ การปรับปรุงแผนการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.08-3.37) โดยวิธีการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนตามการรับรู้ของครูแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะคือ กลุ่มที่ 1 โรงเรียนที่มีการขับเคลื่อนแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างเป็นระบบและเน้นการกำกับติดตาม กลุ่ม 2 คือ โรงเรียนที่มีการขับเคลื่อนแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในระดับที่ค่อนข้างน้อย กลุ่ม 3 โรงเรียนที่มีการขับเคลื่อนแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่เน้นให้ความรู้แต่ยังขาดการกำกับติดตาม โดยการปฏิบัติของครูที่อยู่ในโรงเรียนกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 สูงกว่าครูที่อยู่ในโรงเรียนกลุ่ม 2 3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติของครูในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนพบว่า …


การวิจัยการออกแบบและการศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้เพื่อพัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบการส่งเสริมกรอบคิดทางบวกด้านการวิจัยของครู, วิภาวี ศิริลักษณ์ Jan 2018

การวิจัยการออกแบบและการศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้เพื่อพัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบการส่งเสริมกรอบคิดทางบวกด้านการวิจัยของครู, วิภาวี ศิริลักษณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวิชาชีพครู แต่ครูบางส่วนยังมีกรอบคิดทางลบต่อการวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยนี้ จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและลักษณะของกรอบคิดติดยึดด้านการวิจัยของครู และตัวแปรในการอธิบายลักษณะของ กรอบคิดติดยึดด้านการวิจัย รวมถึงพัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบการส่งเสริมกรอบคิดทางบวกด้านการวิจัยของครู จากนั้นวิเคราะห์ผล ที่เกิดขึ้นจากการนำต้นแบบ ฯ สู่การปฏิบัติ และนำเสนอหลักการออกแบบใหม่โดยการถอดบทเรียนจากการวิจัย การวิจัยนี้ใช้แนวคิด การวิจัยการออกแบบและการศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้ โดยจำแนกขั้นตอนการวิจัยเป็น 3 ระยะ ระยะแรกเป็นการพัฒนาองค์ประกอบและเครื่องมือประเมินกรอบคิดทางบวก แบบประเมินที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับแบบพหุมิติภายในข้อคำถาม (5-point multidimensional-within-item rating scale) และตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความเที่ยงและความตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลแข่งขันเพื่อกำหนดโมเดลการวัดที่เหมาะสม ระยะที่สองเป็นการวิเคราะห์ลักษณะของกรอบคิดติดยึด และเปรียบเทียบกรอบคิดของครูที่มีภูมิหลังต่างกันโดยใช้การวิจัยเชิงบรรยายกับตัวอย่างวิจัยซึ่งเป็นครูจำนวน 502 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน ระยะที่สามเป็นการพัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบการส่งเสริม กรอบคิดทางบวกด้านการวิจัยตามข้ออ้างเชิงเหตุผล โดยอิงแนวคิด Atomic Habits และอิงข้อมูลจากผลการศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้ซึ่งเป็นครูที่คัดเลือกอย่างเจาะจงจำนวน 10 คน ผลการนำต้นแบบการส่งเสริมกรอบคิดทางบวกฯ ไปทดลองใช้กับครูประถมศึกษาจำนวน 3 คน ได้นำมาวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนกรอบคิดติดยึดของครู และถอดบทเรียนจากการวิจัยเป็นหลักการออกแบบใหม่สำหรับการจัดกิจกรรมส่งเสริมกรอบคิดทางบวกด้านการวิจัยของครู ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กรอบคิดติดยึดด้านการวิจัยประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ ความคิดที่มีต่อการวิจัย ความรู้สึกที่มีต่อการวิจัย และพฤติกรรมการวิจัย เนื้อหาสาระในข้อรายการของเครื่องมือประเมินเกี่ยวข้องกับการทำวิจัยในชั้นเรียนตามขั้นตอนการวางแผน/การปฏิบัติ/ การสังเกต/การสะท้อนคิด (PAOR) โดยภาพรวม เครื่องมือประเมินมีความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในขององค์ประกอบสามด้านระหว่าง .49 - .74 และมีความตรงเชิงโครงสร้าง (χ2 (30, N=502) = 38.931, p = .127, CFI = .995, TLI = .990, SRMR = .021, RMSEA = .024, AIC = 7913.336, BIC = 8166.452 2. โดยภาพรวม ครูมีกรอบคิดทางบวกด้านการวิจัยในระดับระดับปานกลาง (M = 3.50, SD …


การเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของแบบสอบผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์รูปแบบผสมที่มีสัดส่วนของการตรวจให้คะแนนในแบบสอบแตกต่างกัน : การประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วนและโมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วนแบบทั่วไป, นรินทร บุญธรรมพาณิชย์ Jan 2018

การเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของแบบสอบผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์รูปแบบผสมที่มีสัดส่วนของการตรวจให้คะแนนในแบบสอบแตกต่างกัน : การประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วนและโมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วนแบบทั่วไป, นรินทร บุญธรรมพาณิชย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบสอบผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์รูปแบบผสมที่มีสัดส่วนของการตรวจให้คะแนนในแบบสอบแตกต่างกัน 2) วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนของการตรวจให้คะแนนในแบบสอบ และโมเดลการวิเคราะห์แบบสอบที่มีผลต่อความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของแบบสอบผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์รูปแบบผสม โดยวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ทั้งในภาพรวมของแบบสอบทั้ง 15 ฉบับและจำแนกตามสาระการเรียนรู้ทั้ง 5 สาระโดยแบบสอบผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแต่ละสาระการเรียนรู้มีสัดส่วนของการตรวจให้คะแนนที่แตกต่างกัน 3 สัดส่วน คือ60:40, 70:30 และ 80:20 ใช้โมเดลการวิเคราะห์แบบ 1pl และ 2pl ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) แบบสอบผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์รูปแบบผสมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า ด้านความเที่ยงของแบบสอบส่วนใหญ่มีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป และทุกฉบับเหมาะกับผู้สอบหรือนักเรียนที่มีความสามารถปานกลาง 2) ในภาพรวมของแบบสอบทั้ง 15 ฉบับ พบว่าไม่มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสัดส่วนการตรวจให้คะแนนและโมเดลการวิเคราะห์ ที่มีผลต่อค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน(SE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อศึกษาอิทธิพลหลักพบว่าสัดส่วนของการตรวจให้คะแนน มีผลต่อค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลการเปรียบเทียบรายคู่พบว่าค่าเฉลี่ย SE ระหว่างสัดส่วน 60:40 ต่ำกว่า 80:20 และ 70:30 ต่ำกว่า 80:20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนโมเดลการวิเคราะห์ มีผลต่อค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่าค่าเฉลี่ยของโมเดล 2pl ต่ำกว่าของโมเดล 1pl อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) เมื่อจำแนกตามสาระการเรียนรู้ พบว่ามีเพียงสาระการวัด เท่านั้นที่มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสัดส่วนการตรวจให้คะแนนและโมเดลการวิเคราะห์ ที่มีผลต่อค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่าค่าเฉลี่ย SE ของ 60:40(1pl) ต่ำกว่า 80:20(1pl), 60:40(2pl) ต่ำกว่า 80:20(1pl), 70:30(1pl) ต่ำกว่า 80:20(1pl), 70:30(2pl) ต่ำกว่า 80:20(1pl) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อศึกษาอิทธิพลหลักพบว่ามีเพียงสาระจำนวนและการดำเนินการที่สัดส่วนของการตรวจให้คะแนน มีผลต่อค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลการเปรียบเทียบรายคู่พบว่าค่าเฉลี่ย ระหว่างสัดส่วน 60:40 ต่ำกว่า 70:30, …


การพัฒนาแบบวัดอภิปัญญาโดยใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียสำหรับนักศึกษาพยาบาล : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, ปาริชาติ ทาโน Jan 2018

การพัฒนาแบบวัดอภิปัญญาโดยใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียสำหรับนักศึกษาพยาบาล : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, ปาริชาติ ทาโน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากรอบแนวคิด และโมเดลการวัดอภิปัญญาสำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดอภิปัญญาโดยใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียสำหรับนักศึกษาพยาบาล และ 3) กำหนดคะแนนจุดตัดของแบบวัดอภิปัญญาสำหรับนักศึกษาพยาบาล ตัวอย่างการวิจัยเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 จำนวน 862 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ และความโด่ง ใช้สถิติตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าพารามิเตอร์ , INFIT MNSQ, OUTFIT MNSQ, AIC, G2 และ Chi-Square ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลการวัดอภิปัญญาสำหรับนักศึกษาพยาบาลมี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิด ประกอบด้วย การรู้ตน การรู้งาน และการรู้กลวิธี 2) การควบคุมการรู้คิด ประกอบด้วย การวางแผนการกำกับติดตาม และการประเมินผล ซึ่งในการวัดอภิปัญญาของนักศึกษาพยาบาลจะครอบคลุมการบริการทางสุขภาพทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ 2) แบบวัดอภิปัญญาที่พัฒนาขึ้นมีค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน เท่ากับ 0.54 และความเที่ยง Marginal Reliability for Response Pattern Scores เท่ากับ 0.65 การตรวจสอบคุณภาพรายข้อตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CTT) พบว่า อำนาจจำแนก (r) มีค่าระหว่าง 0.13-0.33 ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบตรวจให้คะแนนมากกว่า 2 ค่า (polytomous IRT) พบว่า ค่าพารามิเตอร์ความชันร่วมของข้อคำถาม (α) อยู่ระหว่าง 0.15 ถึง 1.49 ค่าพารามิเตอร์ Treshold β1 มีค่าระหว่าง -33.69 …


การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลในห้องคลอดสำหรับนักศึกษาพยาบาล: การประยุกต์ใช้ศูนย์การประเมิน, พุทธิราภรณ์ หังสวนัส Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลในห้องคลอดสำหรับนักศึกษาพยาบาล: การประยุกต์ใช้ศูนย์การประเมิน, พุทธิราภรณ์ หังสวนัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลในห้องคลอดสำหรับนักศึกษาพยาบาล โดยการประยุกต์ใช้ศูนย์การประเมิน (2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบ และคู่มือการประเมินสมรรถนะที่พัฒนาขึ้น (3) เพื่อประเมินคุณภาพของรูปแบบการประเมินสมรรถนะภายหลังการทดลองใช้ ตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย อาจารย์ และนักศึกษาพยาบาล ได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองสถาบันจากคณะกรรมการสภาการพยาบาลเป็นระยะเวลา 5 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ รูปแบบการประเมินสมรรถนะ คู่มือการใช้รูปแบบการประเมินสมรรถนะ สถานการณ์จำลอง ใบบันทึกทางการพยาบาล แบบประเมินสมรรถนะ และแบบสอบความรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยาย และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงจากทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการประเมินสมรรถนะที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ขั้นตอน (ขั้นเตรียม ขั้นดำเนินการ และขั้นสรุปผล) (1) ขั้นเตรียม ประกอบด้วยการเตรียม 1) บุคลากร (ผู้ประเมิน, ผู้รับการประเมิน, และผู้คลอดจำลอง) 2) สถานที่เสมือนห้องคลอดจริง (4 ฐานการประเมิน) และ 3) วัสดุ/อุปกรณ์ (2) ขั้นดำเนินการ ประเมินสมรรถนะด้านทักษะ และพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลในฐานที่ 1-3 (การพยาบาลในระยะต่างๆ ของการคลอด) และประเมินสมรรถนะด้านความรู้ในฐานที่ 4 และ (3) ขั้นสรุปผล เป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้รับการประเมิน 2) ผลการใช้รูปแบบการประเมินสมรรถนะ พบว่า ในฐานที่ 1-3 (PxRxI) เมื่อจำนวนผู้ประเมิน และจำนวนข้อของรายการประเมินเพิ่มขึ้นส่งผลต่อค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสำหรับการตัดสินใจเชิงสัมพัทธ์ และค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสำหรับการตัดสินใจเชิงสัมบูรณ์ที่สูงขึ้น และ ในฐานที่ 4 (PxI) เมื่อจำนวนข้อของรายการประเมินเพิ่มขึ้นส่งผลต่อค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสำหรับการตัดสินใจเชิงสัมพัทธ์ และค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสำหรับการตัดสินใจเชิงสัมบูรณ์ที่สูงขึ้น 3) การประเมินคุณภาพของรูปแบบการประเมินสมรรถนะตามมาตรฐานการประเมินของ Stufflebeam 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเป็นประโยชน์ และด้านความถูกต้อง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยพุทธิปัญญาโดยใช้แผนที่ตัวแปรเชิงทฤษฎีและแบบทดสอบวินิจฉัยสามระดับในกระบวนการพยาบาลพื้นฐาน, ศุภามณ จันทร์สกุล Jan 2018

การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยพุทธิปัญญาโดยใช้แผนที่ตัวแปรเชิงทฤษฎีและแบบทดสอบวินิจฉัยสามระดับในกระบวนการพยาบาลพื้นฐาน, ศุภามณ จันทร์สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาและรายงานการให้ผลย้อนกลับการวินิจฉัยในการพัฒนาความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียนตามวิธีของแผนที่ตัวแปรเชิงทฤษฎีและแบบทดสอบวินิจฉัยสามระดับ 2) ตรวจสอบคุณภาพของวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาทั้งสองวิธี เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเกณฑ์คือเทคนิคการคิดออกเสียง และ 3) เปรียบเทียบผลการวินิจฉัยมโนทัศน์และมโนทัศน์คลาดเคลื่อนที่ได้จากทั้งสองวิธี ตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปี 2 หรือ 3 ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ขนาดของตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 1,329 คน เป็นตัวอย่างในตอนที่ 1 จำนวน 233 คน ตัวอย่างในตอนที่ 3 จำนวน 305 คน ตัวอย่างในตอนที่ 5 จำนวน 102 คน และตัวอย่างในตอนที่ 6 จำนวน 689 คน การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 6 ตอนดังนี้ ตอนที่ 1 การสำรวจกระบวนการคิดของนักศึกษาพยาบาล ตอนที่ 2 การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาทั้งสองวิธี ตอนที่ 3 การทดลองใช้และปรับปรุงวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาทั้งสองวิธี ตอนที่ 4 การสร้างรายงานการให้ผลย้อนกลับการวินิจฉัยของวิธีการทั้งสอง ตอนที่ 5 การตรวจสอบคุณภาพความตรงเชิงวินิจฉัยโดยเปรียบเทียบวิธีการทั้งสองกับวิธีเกณฑ์คือเทคนิคการคิดออกเสียง และตอนที่ 6 การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยพุทธิปัญญาจากวิธีการทั้งสองวิธี เครื่องมือวิจัยในตอนที่ 1 เป็นแบบทดสอบอัตนัยตอบโจทย์สถานการณ์ผู้ป่วย และในตอนที่ 3, 5, 6 เป็นแบบทดสอบวินิจฉัย 2 ชุด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 แบบทดสอบวินิจฉัยที่พัฒนาจากแผนที่ตัวแปรเชิงทฤษฎี และชุดที่ 2 แบบทดสอบวินิจฉัยสามระดับ สถิติวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบพิจารณาจากค่าสถิติความเหมาะสมรายข้อ ได้แก่ INFIT MNSQ, OUTFIT MNSQ, t-statistic, SE และค่าความเที่ยงแบบ EAP เปรียบเทียบวิธีวินิจฉัยแต่ละวิธีกับเทคนิคการคิดออกเสียงด้วย Wilcoxon signed-rank test และเปรียบเทียบสัดส่วนการจำแนกกลุ่มมโนทัศน์และมโนทัศน์คลาดเคลื่อนด้วย McNemar–Bowker test ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาและรายงานการให้ผลย้อนกลับตามแผนที่ตัวแปรเชิงทฤษฎีและแบบทดสอบวินิจฉัยสามระดับมีดังนี้ การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาตามแผนที่ตัวแปรโดยนำข้อมูลสำรวจกระบวนการคิดมาสร้างแผนที่ตัวแปร ออกแบบข้อสอบปรนัยหลายตัวเลือกแบบเรียงอันดับท้ายตัวเลือกให้เลือกมั่นใจ/ไม่มั่นใจ ให้คะแนน 3 ค่าคือ …


ทางเลือกสำหรับการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษาของนิสิตบัณฑิตศึกษาโดยใช้แนวคิดแผนภาพมโนทัศน์, จุฑามาศ แสงงาม Jan 2018

ทางเลือกสำหรับการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษาของนิสิตบัณฑิตศึกษาโดยใช้แนวคิดแผนภาพมโนทัศน์, จุฑามาศ แสงงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในฐานะนักวิจัยด้านการศึกษา การวิจัยทางด้านการศึกษากำลังนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในหลายๆ ด้าน ปัจจุบันวิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาในด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมแต่ไม่ใช่ทางการศึกษา ดังนั้นเป้าหมายสำคัญของการศึกษาครั้งนี้คือ การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษา ส่วนแรก เป็นการวิเคราะห์โครงสร้างเนื้อหา การจัดการเรียนรู้ และมโนทัศน์เกี่ยวกับวิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษาของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่เหมาะสมโดยใช้แผนภาพมโนทัศน์ มโนทัศน์เกี่ยวกับโครงสร้างของเนื้อหาและการจัดการเรียนรู้วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษาสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ด้วยการวิจัยเอกสารที่ครอบคลุมหลักสูตรรายวิชาและแผนการสอนที่สามารถเข้าถึงได้ จากหลักสูตรวิจัยทางการศึกษาและหลักสูตรวิทยาการในมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและมหาวิทยาลัย 10 อันดับแรกของโลก หลังจากนั้นลงรหัสข้อมูลแล้วนำไปสร้างแผนภาพมโนทัศน์ (CMaps) จากนั้นนำ CMaps จากการวิจัยเอกสารมาเป็นหัวข้อสำหรับการสัมภาษณ์นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาและอาจารย์ผู้สอนเกี่ยวกับความคิดเห็นเกี่ยวกับมโนทัศน์โครงสร้างเนื้อหาและการจัดการเรียนรู้วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษา ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นำไปสร้าง CMaps สำหรับนิสิต ผู้สอน และสรุปรวม CMaps จากทั้ง 3 ประเภทนี้ถูกนำมาเปรียบเทียบและสรุปเพื่อปรับแก้ จากนั้นนำ CMap ที่ปรับแก้แล้วไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการออกแบบการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษา สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษากลุ่มเล็ก ๆ ท้ายที่สุดการวิจัยครั้งนี้นำเสนอทางเลือกในการส่งเสริมการเรียนรู้วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาโดยใช้ข้อมูลการสำรวจจากนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาโดยวัดผ่านมิติความสำคัญและมิติของความเป็นไปได้ ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1. ผลการศึกษาโครงสร้างหลักสูตรรายวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา พบว่า หลักสูตรวิจัยการศึกษาเพียงส่วนน้อยที่มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีรายวิชาที่เกี่ยวข้องวิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัล วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลที่นิยมศึกษากันแพร่หลายมี 5 วิธี ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหาดิจิทัล การทดลองเสมือนจริง การวิเคราะห์เหมืองข้อมูล /เหมืองข้อความ การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาดิจิทัล และการนำเสนอข้อมูลทัศนภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับโครงสร้างของเนื้อหาและการจัดการเรียนรู้ CMap ที่สรุปแล้วประกอบด้วย 5 วิธีได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหาดิจิทัล การทดลองเสมือนจริง การวิเคราะห์เหมืองข้อมูล/เหมืองข้อความ การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาดิจิทัล และการนำเสนอข้อมูลทัศนภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์ 2. ผลการนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษาสำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษา ในภาพรวมมี 4 ประเด็นได้แก่ 1) การเลือกวิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัล 2) การเลือกเนื้อหาสำหรับการเรียนรู้วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัล 3) การเตรียมความพร้อม และ 4) ทางเลือกสำหรับการเรียนรู้วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษา และเมื่อพิจารณาความสำคัญความเป็นไปได้ของทางเลือกพบว่า ควรเตรียมความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่ผู้เรียนที่สนใจ และควรมีการบูรณาการวิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษาเชื่อมโยงกับรายวิชาอื่นๆ


การพัฒนาเครื่องมือวัดและโปรไฟล์การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบชี้ทิศสำหรับส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของนิสิตบัณฑิตศึกษา, ณัฐกานต์ ประจันบาน Jan 2018

การพัฒนาเครื่องมือวัดและโปรไฟล์การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบชี้ทิศสำหรับส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของนิสิตบัณฑิตศึกษา, ณัฐกานต์ ประจันบาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง เป็นกระบวนการเรียนรู้สำคัญที่สามารถนำบุคคลไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายใน เพื่อให้หลุดพ้นจากสภาพปัญหาหรือความรู้สึกที่ไม่พอใจในสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของนิสิตบัณฑิตศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์ระดับและการเปลี่ยนกลุ่มแฝงของกระบวนการเรียนรู้เพื่อ การเปลี่ยนแปลงของนิสิตบัณฑิตศึกษา 3) เพื่อออกแบบโปรไฟล์การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบชี้ทิศโดยใช้ผลการประเมินเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของนิสิตบัณฑิตศึกษา และ 4) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนกลุ่มแฝงของกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของนิสิตบัณฑิตศึกษา ตัวอย่างวิจัย คือ นิสิตบัณฑิตศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จำนวน 237 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือวัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงบรรยาย โดยโปรแกรม SPSS 22 การวิเคราะห์โมเดลการวัด การวิเคราะห์กลุ่มแฝง การวิเคราะห์การเปลี่ยนกลุ่มแฝง ด้วยโปรแกรม Mplus 7.11 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เครื่องมือวัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำแนกเป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการประเมินกรอบความคิดที่แตกต่างภายในจิตใจ 2) ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างทางเลือกหรือแนวทางในการเรียนรู้แบบใหม่ 3) ด้านการวางแผนในการเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างบทบาทใหม่ และ 4) ด้านการสร้างและบูรณาการสมรรถนะเข้ากับความรู้และประสบการณ์ภายใต้มุมมองใหม่ มีความตรงเชิงเนื้อหาจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่าความเที่ยงระหว่าง .806 - .863 มีความตรง เชิงโครงสร้างจากการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลการวัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ไค-สแควร์ (224, N = 100) = 259.516, p = .052, CFI = .972, TLI = .965, RMSEA = .040, SRMR = .073) มีความตรงเชิงลู่เข้าในระดับปานกลางถึงสูง (AVE มีค่า .446, .416, .579 และ .623 ตามลำดับ) มีความตรงเชิงจำแนกในระดับสูง (องค์ประกอบมีค่า AVE สูงกว่า ค่าสหสัมพันธ์ยกกำลังสองระหว่างองค์ประกอบ) และมีค่าความเที่ยงของตัวแปรแฝงเท่ากับ .813 .820 .868 และ .862 …


กลยุทธ์การส่งเสริมประสิทธิผลของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาที่ปรับให้เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคดิจิทัล, ดารุณี ทิพยกุลไพโรจน์ Jan 2018

กลยุทธ์การส่งเสริมประสิทธิผลของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาที่ปรับให้เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคดิจิทัล, ดารุณี ทิพยกุลไพโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ในยุคดิจิทัลของอาจารย์ที่ปรึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียน 2) เพื่อสร้างเครื่องมือวัดการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาและประสิทธิผลของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของผู้เรียนในยุคดิจิทัล 3) เพื่อวิเคราะห์สภาพของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน และ 4) เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการส่งเสริมกระบวนการการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคดิจิทัล ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก เป็นการวิเคราะห์กระบวนการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ในยุคดิจิทัลของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่สอง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลกับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาในยุคดิจิทัล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ความโด่ง ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบกลุ่มพหุ การวิเคราะห์กลุ่มแฝง และระยะที่สาม เป็นการสร้างกลยุทธ์ในการส่งเสริมการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคดิจิทัล โดยสัมภาษณ์นิสิตนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นรายคู่ จำนวน 7 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และนำกลยุทธ์ที่ได้ไปตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์กับผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ในยุคดิจิทัล เป็นการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ มาช่วยสนับสนุนในกระบวนการการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์เท่านั้น อาจารย์ที่ปรึกษาใช้วิธีการให้คำปรึกษาแบบผสมวิธีทั้งแบบตัวต่อตัวและกลุ่มนิสิตนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ในการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ตามขั้นตอนดังนี้ 1) การวิเคราะห์ผู้เรียน 2) การดำเนินการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ตามบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ประกอบด้วย การบริหารจัดการ การให้ความรู้ การให้ข้อมูลป้อนกลับ และการสนับสนุนทางด้านจิตใจ และ 3) การปรับวิธีการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน 2. เครื่องมือวัดการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาและประสิทธิผลของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของผู้เรียนในยุคดิจิทัลมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตรประมาณค่าที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพทั้งด้านความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.75 - 1.00 ด้านความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์อยู่ระหว่าง 0.892 - 0.893 และประสิทธิผลของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของผู้เรียนมีค่าเท่ากับ 0.951 3. การจัดกลุ่มแฝงนิสิตนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตามการใช้เทคโนโลยีในการให้คำปรึกษา สามารถจัดกลุ่มแฝงทั้งนิสิตนักศึกษาและกลุ่มแฝงของอาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนิสิตนักศึกษาได้ 3 กลุ่มแฝง ได้แก่ กลุ่มแฝงที่ 1 คือ …


การพัฒนาเครื่องมือวินิจฉัยและกิจกรรมปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการกำหนดปัญหาวิจัยทางการศึกษาสำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษา, สรวีย์ ศิริพิลา Jan 2018

การพัฒนาเครื่องมือวินิจฉัยและกิจกรรมปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการกำหนดปัญหาวิจัยทางการศึกษาสำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษา, สรวีย์ ศิริพิลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการวิจัย (research misconception) เป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนาน หากนักวิจัยมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการกำหนดปัญหาวิจัย ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกและขั้นตอนที่สำคัญในการทำวิจัย ย่อมส่งผลให้การกำหนดปัญหาวิจัยผิดพลาด และทำให้การวิจัยในขั้นตอนต่อไปผิดพลาดด้วย การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการกำหนดปัญหาวิจัยทางการศึกษา 2) เพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการกำหนดปัญหาวิจัยทางการศึกษาของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา และ 3) เพื่อพัฒนากิจกรรมปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการกำหนดปัญหาวิจัยทางการศึกษา ผู้วิจัยแบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาเครื่องมือวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการกำหนดปัญหาวิจัยทางการศึกษา 2) การวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้าน การกำหนดปัญหาวิจัยทางการศึกษาของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา และ 3) การพัฒนากิจกรรมปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการกำหนดปัญหาวิจัยทางการศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จำนวน 152 คน จากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย 8 แห่ง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) เพื่อใช้ในการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการกำหนดปัญหาวิจัยทางการศึกษา และตัวอย่างวิจัยสำหรับการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการกำหนดปัญหาวิจัยทางการศึกษาคือ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 15 คน ที่มีมโนทัศน์คลาดเคลื่อนด้านการกำหนดปัญหาวิจัยทางการศึกษา จากผล การวินิจฉัยในระยะที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับเกี่ยวกับการกำหนดปัญหาวิจัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบบสอบหลังร่วมกิจกรรม แบบบันทึกพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแผนการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการกำหนดปัญหาวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการกำหนดปัญหาวิจัยทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยข้อสอบจำนวน 32 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับ ครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการกำหนดปัญหาวิจัยทั้ง 11 ประเด็น ผลการตรวจสอบคุณภาพ พบว่าแบบสอบมีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง .67 - 1.00 แบบสอบระดับที่ 1 และ 2 มีค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน (KR-20) เท่ากับ .85 และ .81 ตามลำดับ นอกจากนี้มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.78 และ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.74 2. ผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการกำหนดปัญหาวิจัยทางการศึกษา พบว่าในภาพรวมนิสิตระดับบัณฑิตศึกษามี มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน …


การส่งเสริมระดับการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนและชั้นเรียน: การวิจัยพหุวิธีเพื่อพัฒนานโยบาย, อารี อิ่มสมบัติ Jan 2018

การส่งเสริมระดับการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนและชั้นเรียน: การวิจัยพหุวิธีเพื่อพัฒนานโยบาย, อารี อิ่มสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) สังเคราะห์การส่งเสริมของรัฐและผลที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนและชั้นเรียน 2) ศึกษาและวิเคราะห์ระดับการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนและชั้นเรียน การนำนโยบายของรัฐไปสู่การปฏิบัติ และปัจจัยความสำเร็จและปัจจัยอุปสรรคที่มีผลต่อระดับการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนและชั้นเรียน และ 3) พัฒนาแนวทางการส่งเสริมระดับการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนและชั้นเรียน การวิจัยขั้นตอนแรกใช้การวิจัยเอกสารและการวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยเชิงปริมาณเพื่อสังเคราะห์กระบวนการส่งเสริมและผลการส่งเสริมระดับการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนและในชั้นเรียน ประกอบด้วยการสังเคราะห์เอกสารและหลักฐานจำนวน 41 ฉบับ และงานวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 11 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการประมาณค่าดัชนีมาตรฐาน เพื่อใช้สนับสนุนการวิจัยขั้นตอนที่สองใน 2 กิจกรรม คือ 1) การสำรวจระดับการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนและในชั้นเรียน ตัวอย่างวิจัยประกอบด้วยครูผู้สอน จำนวน 1,260 คน และผู้อำนวยการหรือฝ่ายบริหารจำนวน 255 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยแบ่งเป็น 2 ชุด คือ เครื่องมือวิจัยสำหรับครูใช้วัดตัวแปรการใช้เทคโนโลยีในชั้นเรียน เครื่องมือวิจัยสำหรับผู้อำนวยการหรือฝ่ายบริหาร ใช้วัดตัวแปรการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียน เครื่องมือดังกล่าวมีคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยงและความตรงเชิงโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรม Mplus 2) การสัมภาษณ์ครูผู้สอนเรื่องการนำนโยบายของรัฐไปสู่การปฏิบัติ และปัจจัยความสำเร็จและปัจจัยอุปสรรค และใช้การวิจัยอนาคตเพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี ด้วยการประชุมกลุ่มย่อย (focus group) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รัฐบาลมีการส่งเสริมระดับการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนและในชั้นเรียนแบ่งออกได้เป็น การสนับสนุนความเสมอภาค การสนับสนุนการเรียนรู้จากความแตกต่างระหว่างบุคคล และการยกระดับมาตรฐานโรงเรียน ผลการวิเคราะห์อภิมาน พบว่ามีการวิจัยนโยบายด้านปฏิรูปการเรียนรู้มากที่สุด งานวิจัยส่วนใหญ่ศึกษาเรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนที่แตกต่างกันตามนโยบาย ซึ่งพบว่างานวิจัยที่มีค่าอิทธิพลสูง คือ งานวิจัยที่ศึกษานโยบายในช่วงปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2560 ซึ่งมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับแท็บเล็ตพีซี (one tablet PC per child) สมาร์ทคลาสรูม (smart classroom) 2) ระดับการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนอยู่ในระดับมากทั้งด้านการบริหารจัดการงานโรงเรียน ด้านการบริหารจัดการข้อมูลผู้เรียน ด้านงานงบประมาณ ด้านงานบุคลากร และด้านการกำกับดูแลด้านการเรียนการสอน ส่วนการใช้เทคโนโลยีในชั้นเรียนอยู่ในระดับปานกลางทั้งด้านการทำงานนอกเหนือเวลาสอน ด้านการใช้เทคโนโลยีในคาบเรียน ด้านการใช้เทคโนโลยีเฉพาะ และด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติแตกต่างกันตามบริบทขึ้นอยู่กับผู้บริหารและระบบติดตามเป็นสำคัญ ส่วนปัจจัยความสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีคือการรับรู้การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา และปัจจัยอุปสรรคที่สำคัญที่สุดคือความขาดแคลน 3) การวิจัยอนาคตพบภาพอนาคตจำนวน 5 ภาพทั้งที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ โดยมีแนวทางการส่งเสริมระดับการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนและในชั้นเรียน จำนวน 8 …


การพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้การตัดสินใจทางคลินิกด้านการพยาบาลสูติศาสตร์ ของนักศึกษาพยาบาล โดยใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์, ปาริชาติ สุขสวัสดิพร Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้การตัดสินใจทางคลินิกด้านการพยาบาลสูติศาสตร์ ของนักศึกษาพยาบาล โดยใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์, ปาริชาติ สุขสวัสดิพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้การตัดสินใจทางคลินิกด้านการพยาบาลสูติศาสตร์โดยใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ 2) ประเมินคุณภาพของรูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้ฯ ที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาผลการประเมินการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาลโดยใช้รูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้ฯ ที่พัฒนาขึ้น ตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 ที่เสร็จสิ้นการเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ที่มีภาวะผิดปกติแล้ว จำนวน 168 คน และอาจารย์นิเทศรายวิชานี้ จำนวน 12 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดการตัดสินใจทางคลินิก และแบบประเมินคุณภาพรูปแบบการประเมินฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS, IRTPRO และ LISREL ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการประเมินฯ ที่พัฒนาขึ้น เป็นการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ ประกอบด้วย 1) การประเมินโดยใช้แบบวัดมัลติมีเดียของสถานการณ์ทางคลินิกด้านการพยาบาลสูติศาสตร์ที่ครอบคลุมระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด ประกอบด้วยแบบทดสอบเลือกตอบหลายตัวเลือกและมาตรประมาณค่าเพื่อวัดตัวบ่งชี้ 11 ตัวของการตัดสินใจทางคลินิก โดยแบบทดสอบเลือกตอบหลายตัวเลือกข้อความใช้วัดตัวบ่งชี้ที่ 1-6 ได้แก่ การสังเกตจุดเน้น การจำแนกสิ่งผิดปกติ การแสวงหาข้อมูล การจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล การสรุปประเด็นปัญหา และการวางแผนการปฏิบัติ ใช้แบบทดสอบวิดีโอเลือกตอบหลายตัวเลือกวัดตัวบ่งชี้ที่ 7-9 ได้แก่ ทักษะการปฏิบัติ การสื่อสาร และพฤติกรรมการแสดงออกอย่างมีความมั่นใจ และการประเมินตนเองด้วยมาตรประมาณค่าเพื่อวัดตัวบ่งชี้ที่ 10-11 ได้แก่ การวิเคราะห์และประเมินตนเอง และความมุ่งมั่นปรับปรุงตนเอง 2) การประมวลผลคะแนนและวิเคราะห์ผลประเมินตามเกณฑ์ระหว่างเรียนรู้และเมื่อสิ้นสุดการเรียนรู้ และ 3) การให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีเพื่อให้ผู้เรียนปรับปรุงข้อบกพร่องและเรียนรู้จนกว่าจะผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 2. รูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้การตัดสินใจทางคลินิก ตามมาตรฐานการประเมินมีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.78, SD=0.17) โดยทุกด้านมีคุณภาพในระดับมากที่สุด โดยด้านความถูกต้องครอบคลุมมีคุณภาพในระดับมากที่สุด (M=4.85, SD=0.21) ส่วนด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อยที่สุด (M=4.69, SD=0.26) 3. ผลการประเมินการตัดสินใจทางคลินิกด้านการพยาบาลสูติศาสตร์โดยใช้รูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้การตัดสินใจทางคลินิก พบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยการตัดสินใจทางคลินิกโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=5.29, sig.=.000) โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุม (M=24.52, 22.93; SD=1.65, 2.21 ตามลำดับ) องค์ประกอบที่มีความแตกต่างกันคือ ด้านการตั้งข้อสังเกตและด้านการตอบสนอง แต่ด้านการตีความและด้านการสะท้อนคิด ไม่มีความแตกต่างกัน


การวัดและประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนในการผลิตครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ฑิตยา สิทธิโสภาสกุล Jan 2018

การวัดและประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนในการผลิตครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ฑิตยา สิทธิโสภาสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาและพัฒนาแผนที่ผลกระทบผลกระทบและตัวชี้วัดของผลตอบแทนทางสังคมในการผลิตครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา (2) ศึกษาและสร้างค่าแปลงทางการเงินของตัวชี้วัดผลกระทบของผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนในการผลิตครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา (3) พัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนในการผลิตครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา และ (4) ประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนในการผลิตครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิธีการดำเนินวิจัยใช้การวิจัยเชิงประเมินแบบผสมเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประยุกต์ใช้แนวคิดการวัดและประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Returns On Investment :SROI) โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการผลิตดุษฎีบัณฑิตตามหลักการทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง สร้างตัวชี้วัดผลกระทบ แล้วให้ค่าแปลงทางการเงินแก่ผลกระทบซึ่งเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพที่หลักสูตรได้สร้างขึ้น และนำมาคำนวณเปรียบเทียบกับมูลค่าทางการเงินของต้นทุนที่ใช้ไปในการดำเนินกิจกรรมของหลักสูตรเพื่อพิจารณาว่าการผลิตดุษฎีบัณฑิตสร้างผลตอบแทนทางสังคมคิดเป็นมูลค่าเท่าไรต่อเงินลงทุน 1 บาท เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และ แบบสอบถามเกี่ยวกับผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนทางการศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต วิเคราะห์ SROI โดยใช้การคำนวณค่าเฉลี่ย ร้อยละ อัตราการคิดลด ค่าผลกระทบ ค่าความอ่อนไหว ผลตอบแทนการทางสังคม จนถึงวัยเกษียณอายุ 60 ปี ของครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามหลักสูตรปี พ.ศ. 2535, 2541, 2549 และ 2551 โดยเก็บข้อมูลจากประชากร ได้แก่ ดุษฎีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ถึง 2559 จำนวน 102 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
(1) แผนที่ผลกระทบ พบว่า ปัจจัยนำเข้า ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ลงทุนในการผลิตดุษฎีบัณฑิต ประกอบด้วย ต้นทุนส่วนบุคคล และ ต้นทุนส่วนสังคม กิจกรรมหรือกระบวนการของหลักสูตร ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ผลผลิต ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ผลลัพธ์ ซึ่งเป็นผลได้/ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการ มีองค์ประกอบทั้งหมด 16 องค์ประกอบ ผลกระทบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ได้รับประโยชน์ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม หรือเป็นผลตอบแทนที่สังคมได้รับจากหลักสูตร ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ และตัวชี้วัดผลตอบแทนทางสังคมจากการผลิตดุษฎีบัณฑิต มีทั้งหมด 27 …


การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตนาการทุจริตในการทดสอบทางการศึกษา, อภิชา อารุณโรจน์ Jan 2018

การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตนาการทุจริตในการทดสอบทางการศึกษา, อภิชา อารุณโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่นำไปสู่เจตนาการทุจริตในการทดสอบทางการศึกษา 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุเจตนาการทุจริตในการทดสอบทางการศึกษา และ 3) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุเจตนาการทุจริตในการทดสอบทางการศึกษาระหว่างบริบทการทดสอบ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สาเหตุที่นำไปสู่เจตนาการทุจริตในการทดสอบทางการศึกษา ด้วยการสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์เอกสาร และระยะที่ 2 การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตนาการทุจริตในการทดสอบทางการศึกษา ตัวอย่างแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 374 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 จำนวน 406 คน นิสิตนักศึกษาคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จำนวน 302 คน และครูผู้สอน จำนวน 351 คน เลือกตัวอย่างโดยสะดวก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึก และแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์อิทธิพล และการวิเคราะห์กลุ่มพหุ ผลการวิจัยที่พบ คือ 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตนาการทุจริตในการทดสอบ ในบริบทการทดสอบในชั้นเรียน คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความต้องการผ่านการทดสอบ ความไม่พร้อมในการสอบ ความไม่มั่นใจในความสามารถ และปัจจัยสภาพแวดล้อม ได้แก่ แรงกดดันจากคนรอบตัว ค่านิยมสังคม ความยากของข้อสอบ และการบริหารจัดการทดสอบ และปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตนาการทุจริตในการทดสอบ ในบริบทการทดสอบที่มีเดิมพันสูง คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความต้องการผ่านการทดสอบ ความไม่พร้อมในการสอบ และปัจจัยสภาพแวดล้อม คือ การมองเห็นโอกาสการทุจริต และรางวัลหรือผลประโยชน์ 2. โมเดลเชิงสาเหตุเจตนาการทุจริตในการทดสอบทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 1.99, df = 1, p = 0.16, GFI = 1.00, AGFI = …