Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Adult and Continuing Education

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 45

Full-Text Articles in Education

ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน, จิราพัชร์ กิตติคุณวัฒนะ Jan 2022

ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน, จิราพัชร์ กิตติคุณวัฒนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง โดยการสุ่มแจกแบบสอบถามกับเขตที่มีจำนวนนักศึกษาชาวต่างชาติจำนวนมาก ทั้งสี่เขต คือ เขตบางบอน เขตบางขุนเทียน เขตห้วยขวาง และเขตสาทร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาจำนวน 183 คน จากนั้นนำระดับการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาวิเคราะห์เพื่อต่อยอดไปสร้างแผนและจัดกิจกรรมต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับการยอมรับความหลากหลายรวมทั้ง 3 ด้าน (ความตระหนัก,ความรู้,ทักษะทางวัฒนธรรม) เขตสาทรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x̄=4.23; S.D.=0.20) ตามมาด้วยเขตบางขุนเทียน (x̄=4.13; S.D.=0.37) เขตบางบอน (x̄=4.12; S.D.=0.23) และเขตห้วยขวาง (x̄=3.60; S.D.=0.28 )ตามลำดับ ผู้วิจัยจึงเลือกเขตห้วยขวางในการจัดกิจกรรมในระยะที่ 2 และระยะที่ 2 มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน โดยกิจกรรมที่จัดเป็นกิจกรรมที่ผสม 3 แนวคิด ประกอบด้วย แนวคิดการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและแนวคิดการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผลการจัดกิจกรรมพบว่าก่อนจัดกิจกรรมนักศึกษาเขตห้วยขวาง ระดับชั้นประถมศึกษา มีระดับการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ (x̄=3.61; S.D.=0.19) หลังจัดกิจกรรมที่ (x̄=4.33; S.D.=0.15) โดยค่าเฉลี่ยหลังเข้าร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม ที่ 0.72 คะแนน ผลการเปรียบค่า (t-test) มีค่า -26.40 แสดงว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปได้ว่ากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันมีผลต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน


ข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก, ศิริพร ทองแก้ว Jan 2022

ข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก, ศิริพร ทองแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันด้านการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็ก ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็ก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต และความต้องการด้านการจัดศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก 2) เพื่อพัฒนาข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ 1) เด็กอายุ 8-12 ปี จาก 39 จังหวัดทั่วประเทศซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละภูมิภาค จำนวน 9,604 คน 2) พ่อแม่ผู้ปกครอง และครู 3) ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามสถานการณ์ ปัญหา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของผู้เรียน แบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อทางเลือกนโยบาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีโทรศัพท์ หรือแทบเลตที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เป็นของตนเอง กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทำขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ การเล่นเกม รองลงมาคือการดูยูทูบ ช่วงเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต คือช่วงหลังเลิกเรียน ส่วนสถานที่ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ ที่บ้าน 2) ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าปัญหาจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตของกลุ่มตัวอย่างที่มีมากที่สุดคือการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาคือการได้รับคำแนะนำจากครูและการชักชวนของเพื่อน 3) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการที่จะเรียนรู้วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากพ่อแม่ผู้ปกครองมากที่สุด โดยการเรียนรู้จากที่บ้านผ่านการดูคลิปจากยูทูบและการค้นหาข้อมูลด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ 4) ข้อเสนอทางเลือกนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก ประกอบด้วย 9 ทางเลือกที่พัฒนาจากข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างผสมผสานกับแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ แบ่งเป็นทางเลือกการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน 3 ทางเลือก ทางเลือกการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย 5 ทางเลือก และทางเลือกสนับสนุนอีก 1 ทางเลือก


การวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง, ปรวรรณ ดวงรัตน์ Jan 2022

การวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง, ปรวรรณ ดวงรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งวางอยู่บนกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่สังเคราะห์มาจากวาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นมาในอดีต เพื่อตอบคำถามงานวิจัยที่ว่า 1) วาทกรรมใหม่ที่ควรจะสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุจะมีคุณลักษณะเป็นอย่างไรและจะสามารถนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมืองได้อย่างไร 2) รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมือง ควรมีลักษณะเป็นอย่างไร 3) ผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมืองจะเป็นอย่างไรและมีเงื่อนไขใดบ้างในการใช้ และ 4) ผลที่ได้จากการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมืองจะสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางของการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในสังคมเมืองต่อไปได้หรือไม่อย่างไร วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ 1) เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยออกเป็น 3 ระยะตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ระยะที่ 1 ใช้วิธีการศึกษาศึกษาเอกสารและสื่อสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่อยู่ในช่วงปี พ.ศ.2544-2555 โดยใช้หลักการวิเคราะห์วาทกรรมตามแนวทางของฟูโกต์และแฟร์คลาฟ และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ เพื่อใช้เป็นแนวคิดสำหรับการดำเนินงานวิจัยในระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมาการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง โดยใช้พื้นฐานของแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุนำมาพัฒนาร่วมกับองค์ประกอบของรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยศึกษาเฉพาะเจาะจงผู้สูงอายุในสังคมเมือง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในสังคมใน 6 ภูมิภาคของไทย จำนวนตัวอย่าง 112 คน นอกจากนี้ยังได้สัมภาษณ์ผู้ที่ทำงานด้านส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมทีเป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยเช่นกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การร่างรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง และนำเสนอต่อคณะผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจความเหมาะสมและความเป็นได้ที่จะนำไปใช้ สำหรับในระยะที่ 3 เป็นการศึกษาข้อเสนอแนวทางการนำรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมืองดังกล่าวไปใช้ โดยใช้การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้ต่อไป ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า คุณลักษณะของวาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในอดีตแบ่งได้เป็น 2 ช่วงเวลา คือ การเรียนรู้เป็นไปตามธรรมดาโลก จะมุ่งเน้นอำนาจของสถาบันศาสนาที่ระบุให้ผู้สูงอายุเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า การเรียนรู้ให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นช่วงเวลาที่ผู้สูงอายุต้องเรียนรู้การปรับตัวเพื่อตั้งรับกับความเปลี่ยนของสังคมที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยทั้ง 2 ช่วงเวลาแสดงให้เห็นถึงความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่แตกต่างกันออกไป ข้อค้นพบดังกล่าวได้นำมาพัฒนาเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง นำเสนอประเด็นการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 6 ประเด็น คือ 1) ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ 2) แหล่งเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 3) วิธีการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 4) เป้าหมายของการเรียนรู้ 5) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ และ 6) เนื้อหาที่จำเป็นต้องรู้ จากตัวบทที่พบในแต่ละประเด็น ผู้วิจัยได้นำมาพัฒนาร่วมกับองค์ประกอบของรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ซึ่งจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ พบว่า ประกอบด้วย หลักการของการส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้อำนวยความสะดวกทางการเรียนรู้ พื้นที่การเรียนรู้ ปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ ทรัพยากรส่งเสริมการเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ …


การพัฒนากระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน, ณัฐธิกา ศรีมกุฎพันธุ์ Jan 2022

การพัฒนากระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน, ณัฐธิกา ศรีมกุฎพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เชิงยืนยันองค์ประกอบของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของ Paul G. Stoltz และความสามารถทางอารมณ์ของ Daniel Goleman 2) เพื่อพัฒนากระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน 3) เพื่อจัดทำแนวทางสำหรับการนำกระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยไปใช้ โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้ใหญ่วัยทำงาน จำนวน 300 คน 2) ผู้ใหญ่วัยทำงานที่เข้าร่วมกระบวนการชี้แนะชีวิตฯ จำนวน 30 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิและตัวแทนจากผู้ใหญ่วัยทำงานที่เข้าร่วมโปรแกรมจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์ของผู้ใหญ่วัยทำงาน แบบสังเกตพฤติดรรมผู้รับการชี้แนะระหว่างการเข้าร่วมกระบวนการ แบบบันทึกรายละเอียดกระบวนการชี้แนะชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการวิเคราะห์เอกสารใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์เชิงยืนยันองค์ประกอบของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของ Paul G. Stoltz และความสามารถทางอารมณ์ของ Daniel Goleman พบว่าการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์ของผู้ใหญ่วัยทำงาน หลังจากปรับค่าความคลาดเคลื่อนระหว่างสองตัวแปรโดยใช้ค่าสถิติดัชนีการปรับโมเดลรวม จำนวน 17 คู่ ผลวิเคราะห์แบบจำลองของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี 2) กระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน มีทั้งหมด 3 ระยะ ประกอบด้วย (1) ระยะการเตรียมการก่อนการชี้แนะชีวิต (2) การชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ระบุความต้องการหรือปัญหาที่ต้องการแก้ไข ขั้นตอนที่ 2 สอบถามข้อมูลที่เป็นจริงในปัจจุบัน และค้นหาขอบเขตของสิ่งที่เกิดขึ้น ขั้นตอนที่ 3 ร่วมกันเลือกวิธีการที่จะทำให้บรรลุความต้องการ ขั้นตอนที่ 4 ร่วมกันออกแบบวิธีดำเนินการและวิธีการติดตามผล และ ขั้นตอนที่ 5 ร่วมกันติดตามผลและประเมินผลที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้รับการชี้แนะได้ประเมินตนเอง (3) ระยะที่ 3 หลังการชี้แนะ ประเมินผลการทดลองใช้กระบวนการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์หลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมทุกคน และ 3) แนวทางการนำกระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงานไปใช้มีประเด็นสำคัญ 3 ด้านได้แก่ (1) การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการ (2) การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการใช้กระบวนการ (3) การส่งเสริมการติดตามและประเมินผลกระบวนการ


กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ : กรณีศึกษานายอนันท์ ฐิตาคม, ธนกร จงทอง Jan 2022

กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ : กรณีศึกษานายอนันท์ ฐิตาคม, ธนกร จงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เส้นทางและกระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพของนายอนันท์ ฐิตาคม 2) เพื่อจัดทำแนวทางพัฒนานักเขียนการ์ตูนมืออาชีพโดยใช้กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยจากกรณีศึกษานายอนันท์ ฐิตาคม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือนาย อนันท์ ฐิตาคม และบุคคลใกล้ชิดที่เป็นเพื่อนร่วมงาน ลูกศิษย์ ผู้ช่วยในสถาบันการสอน The zero one ที่มีความเกี่ยวข้องกับนายอนันท์ ฐิตาคมมากกว่า 5 ปี และยินดีให้ข้อมูลจำนวน 3 ท่าน ดำเนินการวิจัยด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมจากการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) เส้นทางและกระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพของนายอนันท์ ฐิตาคม ประกอบไปด้วย 1) เรื่องราว เหตุการณ์ และปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ไปถึงเป้าหมายการเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ ได้แก่ เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจการเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ และปัจจัยสำคัญที่พัฒนาตนเองสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ 2) ด้านกระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน ประกอบไปด้วยกระบวนการที่สำคัญได้แก่ แนวคิดการเรียนรู้จากการปรับเปลี่ยนโมทัศน์ แนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ แนวคิดคิดเป็น แนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เป็นต้น 3) ด้านกระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ประกอบไปด้วยกระบวนการที่สำคัญได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น (2) แนวทางพัฒนานักเขียนการ์ตูนมืออาชีพโดยใช้กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัย ประกอบด้วยแนวทางทางปฏิบัติที่วางไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือขั้นตอนที่นำพาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของการเป็นนักเขียนการ์ตูน 10 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 จุดเริ่มต้นของการเป็นนักเขียนการ์ตูนเกิดจากการที่ผู้เรียนรักการอ่านการ์ตูน ชอบดูการ์ตูน ขั้นตอนที่ 2 การเริ่มฝึกฝนเพื่อสร้างพื้นฐานในการเขียนการ์ตูน ขั้นตอนที่ 3 การแสวงหาความรู้เพื่อเพิ่มโอกาสและทักษะของตนเอง ขั้นตอนที่ 4 การนำความรู้ที่ได้รับมาปฏิบัติ ฝึกฝน พัฒนาเรียนรู้ ปรับปรุงแก้ไข ขั้นตอนที่ 5 การสร้างสรรค์ผลงาน ขั้นตอนที่ 6 การตรวจสอบผลงานที่สร้างสรรค์ ขั้นตอนที่ 7 การปรับปรุงผลงาน ขั้นตอนที่ 8 การหาที่เผยแพร่ผลงาน ขั้นตอนที่ 9 ผลงานได้รับการยอม/ไม่ได้รับการยอมรับ ขั้นตอนที่ 10 นักเขียนการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จ


การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าว, ภานุมาส เหล่าสกุล Jan 2022

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าว, ภานุมาส เหล่าสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าว 2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าว 3) นำเสนอปัจจัยแห่งความสำเร็จและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าวที่พัฒนาขึ้น การศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าว ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี ในการออกแบบการวิจัยและพัฒนา โดยได้ดำเนินการทดลองแบบการทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังทดลอง มีลำดับขั้น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวางแผนพัฒนาโปรแกรมด้วยการวิเคราะห์ความต้องการการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการอุตสาหกรรม จำนวน 560 คน เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความต้องการในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าว ระยะที่ 2 การออกแบบพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าว และการนำโปรแกรมไปใช้ โดยมีการบูรณาการร่วมกันของแนวคิดของการพัฒนาโปรแกรม Boyle (1981) และแนวคิดสุขภาวะ ของ Burton (2010) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าที่สามารถสื่อสารภาษาไทย อ่านภาษาพม่าได้ และสมัครใจเข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความรู้ แบบประเมินทักษะ และทัศนคติ และระยะที่ 3 นำเสนอปัจจัยแห่งความสำเร็จและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของแรงงานต่างด้าวที่พัฒนาขึ้น โดยใช้แบบประเมินผลโปรแกรมโดยรวม ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการการเรียนรู้ เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยของสุขภาวะทุกด้านของกลุ่มตัวอย่างพบว่า สุขภาวะทางกายมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับน้อยที่สุด ( = 2.83) ดังนั้นแรงงานต่างด้าวมีความต้องการในการเรียนรู้ด้านสุขภาวะทางกายมากที่สุด โดยเนื้อหากิจกรรมครอบคลุมองค์ประกอบของสุขภาวะทางกาย ได้แก่ การมีร่างกายแข็งแรง การออกกำลังกาย การรับรู้ความสามารถทางกาย การพักผ่อน การจัดชีวิตส่วนตัวให้เหมาะสมกับการทำงาน การมีความเป็นอยู่ที่ดี การมีงานอดิเรก การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและอุบัติภัยต่าง ๆ การเข้าถึงข่าวสาร ทรัพยากร และโอกาสเพื่อการดูแลสุขภาพ การมีพฤติกรรมการกินที่ถูกส่วน มีประโยชน์และสะอาด การสามารถควบคุมน้ำหนักได้ การมีร่างกายที่สมส่วน และการมีวินัยในการใช้จ่ายเงิน 2. กระบวนการในการพัฒนาโปรแกรมมีการนำมิติคนคือ แนวคิดองค์กรแห่งความสุข ซึ่งมีความสอดคล้องกับมิติองค์กรอันได้แก่ แนวคิดสุขภาวะ มาบูรณาการกัน ได้ผลของปัจจัยพื้นฐานใหม่ของสุขภาวะเป็นกล่องแห่งความสุข 8 ประการ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา โดยกล่องแห่งความสุขมีความสัมพันธ์กับสุขภาวะทางกาย แบ่งออกเป็น 3 …


การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วลัยนาสภ์ มีพันธุ์ Jan 2022

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วลัยนาสภ์ มีพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความสามารถในการวางแผนอาชีพและความต้องการการเรียนรู้เพื่อการวางแผนอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) พัฒนาคู่มือการใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างในการทดลองโปรแกรม คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 20 คน จากนักเรียน 480 คนที่มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากการวิจัยในระยะแรก ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมีความสามารถในการวางแผนอาชีพในระดับสูงในภาพรวม ขั้นการวางแผนชีวิต (x̄ = 3.96 S.D. = 0.97) และขั้นการวินิจฉัยตนเอง (x̄ = 4.02 S.D. = 0.92) มีระดับน้อยกว่าขั้นการลงมือทำตามแผน (x̄ = 4.08 S.D. = 0.88) ความต้องการการเรียนรู้เรื่องการวางแผนอาชีพอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะเรื่องการสำรวจตนเอง (ร้อยละ 52) และการออกแบบเส้นทางเข้าสู่อาชีพ (ร้อยละ 19.4) 2. โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 2) ผู้เรียน 3) ผู้สอน 4) เนื้อหาในการเรียนรู้ 5) กิจกรรมการเรียนรู้ 6) ระยะเวลาในการจัด 7) ทรัพยากรการเรียนรู้ และ 8) การวัดและประเมินผล ผลการทดลองใช้โปรแกรม คือ กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้เนื้อหาการวางแผนอาชีพสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ 0.5 และกลุ่มทดลองมีความสามารถในการวางแผนอาชีพสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ก่อนเข้าร่วม x̄ = 2.37 หลังเข้าร่วม x̄ = 4.46) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมนี้ คือ 1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน 2) ผู้สอนเป็นเพื่อนร่วมเรียนรู้ 3) เนื้อหาในการเรียนรู้ที่ทันสมัย 4) กิจกรรมการเรียนรู้หลากหลาย 5) ระยะเวลาในการจัดที่ยืดหยุ่น 6) ทรัพยากรการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน และ 7) สถานที่ดำเนินกิจกรรมต้องมีความสะดวก เงื่อนไขที่ช่วยให้การจัดโปรแกรมนี้มีประสิทธิภาพ คือ 1) …


การวิจัยเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของชุมชนผ้าทอมือ, อรวิภา มงคลดาว Jan 2022

การวิจัยเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของชุมชนผ้าทอมือ, อรวิภา มงคลดาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของชุมชนผ้าทอมือ และนำเสนอแนวปฏิบัติการส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการสำหรับชุมชนทอผ้าทอมือ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นวางแผน ประกอบด้วย 3 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 เป็นการสังเคราะห์สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน และใช้แบบสอบถามสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือ กับผู้ประกอบการผ้าทอมือในประเทศไทย จำนวน 1,029 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์โปรแกรมสถิติทางคอมพิวเตอร์ และโปรแกรม LESREL กิจกรรมที่ 2 เป็นการระบุสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือที่ต้องการพัฒนาของกลุ่มทอผ้าซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย เป็นการกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือของชุมชนขุนอมแฮดใน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกภาคสนามและแบบสังเกตการณ์เข้าร่วมการเรียนรู้ วิเคราะห์ผลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา กิจกรรมที่ 3 การวางแผนพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการตามที่กลุ่มเป้าหมายระบุ เป็นการดำเนินการร่วมกันกับสมาชิกกลุ่มผ้าทอมือในชุมชนขุนอมแฮดใน ที่ยินดีเข้าร่วมการเรียนรู้จำนวน 55 คน ขั้นตอนที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ เป็นการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่ผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กำหนดไว้ ขั้นตอนที่ 3 ขั้นสังเกตผล เป็นการร่วมกันตรวจสอบการบรรลุผลตามแผนปฏิบัติการ และขั้นตอนที่ 4 ขั้นสะท้อนคิด ประกอบด้วย 2 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1.กิจกรรมร่วมสรุปและถอดบทเรียนจากประสบการณ์ที่ได้รับจากกระบวนการ และกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสังเคราะห์เป็นแนวปฏิบัติการส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือของชุมชน โดยปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ที่เกี่ยวข้องสำคัญ จำนวน 9 คน ได้แก่ 1.นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ รักษาการแทนพัฒนาการอำเภออำก๋อย 2.พัฒนาชุมชน อบต.สบโขง 3.ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภออมก๋อย 4.หัวหน้าศูนย์เรียนรู้การพัฒนาอมก๋อยฯ 5.หัวหน้าฝ่ายเผยแพร่และขยายผล ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาอมก๋อยฯ 6.ครู.กศน อำก๋อย ผู้ทำหน้าที่ส่งเสริมกิจกรรมอาชีพผ้าทอมือ 3 ท่าน และ 9.ผู้ใหญ่บ้านชุมชนขุนอมแฮดใน ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือ ประกอบด้วย สมรรถนะหลัก (core competency) มี 4 องค์ประกอบ และสมรรถนะทางวิชาชีพ (functional competency) มี 3 องค์ประกอบ 2. …


การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการส่งเสริมภาวะผู้นำสำหรับนายทหารสัญญาบัตรเพื่อนำกองทัพเรือสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต, รณยุทธ ขวัญมงคล Jan 2022

การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการส่งเสริมภาวะผู้นำสำหรับนายทหารสัญญาบัตรเพื่อนำกองทัพเรือสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต, รณยุทธ ขวัญมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพ ปัญหา ความต้องการการพัฒนาคุณลักษณะและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรกองทัพเรือ 2) พัฒนาแบบแผนการส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับนายทหารสัญญาบัตร และ 3) นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับนายทหารสัญญาบัตรโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อการเป็นกองทัพเรือแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ระยะแรกเป็นการวิเคราะห์สภาพ ปัญหา ความต้องการการพัฒนาคุณลักษณะและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรกองทัพเรือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นายทหารสัญญาบัตรสังกัดกองทัพเรือที่ปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการและวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกองทัพเรือ จำนวน 241 คน และนายทหารสัญญาบัตรนักเรียนเสนาธิการทหารเรือ จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNImodified ระยะที่สอง เป็นการพัฒนาแบบแผนการส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับนายทหารสัญญาบัตร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กร รวม 11 คน เครื่องมือการวิจัยมี 3 ชุด ระยะที่สามเป็นการนำแบบแผนที่พัฒนาไปใช้และศึกษาผลของแบบแผน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนเสนาธิการทหารเรือ จำนวน 28 คน และอาจารย์ผู้สอนหมวดวิชาความมั่นคง จำนวน 3 คน เครื่องมือการวิจัยมี 2 ชุด และระยะที่สี่ เป็นการนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบาย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษาตลอดชีวิต ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และด้านการศึกษาของกองทัพเรือ รวม 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นายทหารสัญญาบัตรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก ปัญหาในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนายทหารสัญญาบัตรสังกัดกองทัพเรือด้านการกระตุ้นทางปัญญาสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ การทำงานเป็นแบบอย่าง การส่งเสริมกำลังใจและการสร้างแรงบันดาลใจตามลำดับ 2) แบบแผนการส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับนายทหารสัญญาบัตรเป็นแบบแผนแบบผสมระหว่าง Top-Down Approach, Bottom Up Approach และ Practical Approach ประกอบด้วยการดำเนินการ 4 ระดับ ระดับบุคคลได้แก่ อาจารย์และผู้เรียน 3 องค์ประกอบ ระดับกรมยุทธศึกษาทหารเรือ 10 องค์ประกอบ ระดับกรมในกองทัพเรือ 15 องค์ประกอบ และระดับกองทัพเรือ 7 องค์ประกอบ …


Effects Of Using Self-Directed Learning To Foster Lifelong Learning Attitudes Of Functional Literacy Facilitators, Leakhena Orn Jan 2022

Effects Of Using Self-Directed Learning To Foster Lifelong Learning Attitudes Of Functional Literacy Facilitators, Leakhena Orn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to 1) investigate the effects of self-directed learning on lifelong learning attitudes of functional literacy facilitators; and to 2) propose recommendations for using self-directed learning to foster lifelong learning. The research used quantitative method by employing quasi-experimental design where pre-test and post-test are employed to explore whether self-directed learning activities would foster lifelong learning attitudes of functional literacy facilitators in the five aspects. With subject group consisted of 37 functional literacy facilitators who were working as teachers in functional literacy programs in Cambodia. Moreover, an in-depth interview with 5 adult educators has been employed to propose recommendations …


Development Of A Personalized Workplace Learning Program To Enhance The Cultural Intelligence Of Cabin Crew From International Airlines, Dech-Siri Nopas Jan 2021

Development Of A Personalized Workplace Learning Program To Enhance The Cultural Intelligence Of Cabin Crew From International Airlines, Dech-Siri Nopas

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis study employed R&D as a research methodology, and employ a qualitative method to collect the data. It aimed to 1) explore the background of cabin crew from the international airlines concerning cultural intelligence from seven key informants; 2) develop personalized workplace learning programs to enhance the cultural intelligence of cabin crew from the international airlines with seven key informants of the cabin crew and the researcher as a facilitator, and 3) propose a guideline for developing a personalized workplace learning program to enhance the cultural intelligence of cabin crew from the international airlines by developing all the findings …


การพัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบโปรแกรมการเรียนรู้ระหว่างวัยเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเด็ก, ชามาภัทร สิทธิอำนวย Jan 2021

การพัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบโปรแกรมการเรียนรู้ระหว่างวัยเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเด็ก, ชามาภัทร สิทธิอำนวย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โปรแกรมการเรียนรู้ระหว่างวัยถือเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาความแปลกแยกและลดการพึ่งพาทางสังคมของผู้สูงอายุ และยังสร้างให้เกิดความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างวัยจากการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะต่างตอบแทนของผู้สูงอายุและเด็ก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเด็กผ่านโปรแกรมการเรียนรู้ระหว่างวัยที่เหมาะสมกับบริบทไทย 2) พัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบโปรแกรมการเรียนรู้ระหว่างวัยเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเด็ก และ 3) ทดลองและประเมินผลการใช้ต้นแบบโปรแกรมการเรียนรู้ระหว่างวัยเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเด็ก และนำเสนอหลักการออกใหม่ที่ได้จากบทเรียนจากการวิจัย แบ่งการดำเนินวิจัยเป็น 3 ระยะตามวัตถุประสงค์การวิจัย โดยตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วยนักปฏิบัติจากในเมืองและนอกเมือง จำนวน 24 คน ตัวอย่างวิจัยระยะที่ 2 ประกอบด้วย นักวิชาการที่มีประสบการณ์ จำนวน 9 คน และ ตัวอย่างวิจัยในระยะที่ 3 ของการดำเนินการวิจัย คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-69 ปี และเด็กที่มีอายุระหว่าง 10-12 ปี อย่างละ 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการเรียนรู้ระหว่างวัยเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเด็กผ่านโปรแกรมการเรียนรู้ระหว่างวัยที่เหมาะสมกับบริบทไทย พบว่า นักปฏิบัติควรได้รับการส่งเสริมทั้งสิ้น 4 ประการ คือที่ 1) ความตระหนักรู้ในความสำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างวัย 2) ความต้องการจำเป็นด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างวัย 3) ความต้องการจำเป็นด้านทักษะการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างวัย 4) ความต้องการจำเป็นด้านความพร้อมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์เรียนรู้ระหว่างวัย หลักการออกแบบและต้นแบบโปรแกรมการเรียนรู้ระหว่างวัยพัฒนาจากแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ระหว่างวัยและแนวคิดการศึกษานอกระบบ ร่วมกับผลจากการระดมความคิดของนักปฏิบัติ ได้มาซึ่งร่างหลักการออกแบบตามแนวคิดของ Sandoval (2014) ซึ่งมีหลักการออกแบบทั่วไป 10 ประการ คือ 1) การสร้างความรู้สึกปลอดภัยในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยให้สมาชิกที่การตัดสินด้วยตนเอง 2) การจัดกิจกรรมที่ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้สึกว่าสามารถทำกิจกรรมได้ง่ายและสนุก 3) การส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างวัย 4) การกำหนดบทบาทของการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ในการสร้างการเรียนรู้ระหว่างวัย 5) การจัดกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน 6) การจัดกิจกรรมที่ตอบสนองตามความต้องการของข้อเสนอของผู้สูงอายุและเด็ก 7) การใช้การสื่อสารเชิงบวกในการจัดกิจกรรม 8) การส่งเสริมให้เกิดความเชื่อถือไว้วางใจกันของสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรม 9) การสร้างเงื่อนไขและสถานการณ์ที่ทำให้ผู้สูงอายุและเด็กมาพบและทำกิจกรรมร่วมกัน 10) การส่งเสริมศักยภาพในการจัดกิจกรรมของนักปฏิบัติในพื้นที่เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองในการจัดโปรแกรมการเรียนรู้ระหว่างวัยได้ด้วยตนเองและยั่งยืน ผลการทดลองและประเมินผลการใช้ต้นแบบโปรแกรมการเรียนรู้ระหว่างวัย พบว่า ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเด็ก โดยส่งผลให้เกิดตัวแปรผลลัพธ์ 7 ตัวแปรย่อย ได้แก่ ความเข้าใจและยอมรับในความแตกต่างระหว่างวัย อันนำมาซึ่งทัศนคติที่ดีต่อคนต่างวัย 2) มุมมองเชิงคุณค่าต่อคนต่างวัย 3) ความผูกพันธ์ระหว่างวัย …


ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อทักษะอาชีพของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ, ทวินันท์ ศรีสวัสดิ์ Jan 2021

ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อทักษะอาชีพของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ, ทวินันท์ ศรีสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อทักษะอาชีพของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อทักษะอาชีพของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามความต้องการทักษะอาชีพ แบบวัดความรู้ แบบสังเกตพฤติกรรม และการจัดสนทนากลุ่มจากผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดสิงห์บุรี โดยสรุปผลการวิจัยได้ ดังต่อไปนี้ 1. การพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนมีต่อทักษะอาชีพของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการทักษะอาชีพด้านคหกรรม และอาชีพศิลปหัตถกรรมงานฝีมือและสิ่งประดิษฐ์ และกิจกรรมการวางแผนเพื่อสร้างรายได้ โดยการวางแผนลักษณะของกิจกรรมร่วมกัน และสรุปได้ว่า ควรเป็นกิจกรรมที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องต่อความต้องการของผู้เรียน สามารถเข้าร่วมกลุ่มกับผู้อื่น และกิจกรรมก่อให้เกิดความรู้และทักษะที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ จากข้อมูลความต้องการทักษะอาชีพและลักษณะกิจกรรม ผู้วิจัยได้นำมาพัฒนาเป็นกิจกรรมตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนของโนลล์ ซึ่งกิจกรรมทักษะอาชีพของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ เกิดเป็นกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อทักษะอาชีพของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ รวมทั้งสิ้น 6 กิจกรรม กระบวนการของกิจกรรม มีตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1.สร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ คือ จัดให้ผู้สูงอายุเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลงก่อนการเริ่มกิจกรรมและกิจกรรมละลายพฤติกรรม 2.การวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน ผู้วิจัยได้ให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมเพื่อเข้าใจเป้าหมายของกิจกรรมในทิศทางเดียวกัน 3.วิเคราะห์ความต้องการ เป็นข้อมูลที่ได้จากการสรุปประเด็นจากแบบสอบถามความต้องการทักษะอาชีพ 4.กำหนดวัตถุประสงค์ ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตุประสงค์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน 5.การออกแบบกิจกรรม ได้แบ่งกิจกรรมการเรียนรู้ ออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) การเตรียมวัตถุดิบ/วัสดุ 2) การลงมือปฏิบัติกิจกรรม และ 3) การจัดตกแต่งให้สวยงาม 6.การดำเนินกิจกรรม จัดกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ โดยมีผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก 7.การประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการประเมินการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างผู้สอน ผู้เรียนและผู้วิจัย 2. ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อทักษะด้านอาชีพของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่า กิจกรรมทักษะอาชีพทั้ง 6 กิจกรรม เป็นการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้และทักษะที่เพิ่มมากขึ้น โดยได้จากการลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เมื่อเปรียบเทียบผลก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าหลังการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยค่าทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมทักษะอาชีพ 30 วัน ผู้วิจัยได้ติดตามผลการสะท้อนกลับของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุนำความรู้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกัน ที่แสดงให้เห็นถึงความคงทนของความรู้ที่ได้รับ นอกจากความรู้ที่ได้รับเพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาตนเอง ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลอง ได้นำทักษะอาชีพที่ได้จากกิจกรรมการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อประกอบเป็นอาชีพ ในการสร้างรายได้แก่ตนเอง มีการวางแผนเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับแหล่งจำหน่ายสินค้า และปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการวางแผนการตลาด จากนั้นจึงนำสินค้าไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ด้วยตนเอง และส่งผลพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้การเงินทุนหมุนเวียนในชุมชน …


การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความสามารถของครอบครัวและผู้ที่ไว้วางใจในการเสริมพลังอำนาจให้แก่ผู้ผ่านพ้นการถูกล่วงละเมิดทางเพศ, วิชชุตา อิสรานุวรรธน์ Jan 2021

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความสามารถของครอบครัวและผู้ที่ไว้วางใจในการเสริมพลังอำนาจให้แก่ผู้ผ่านพ้นการถูกล่วงละเมิดทางเพศ, วิชชุตา อิสรานุวรรธน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความสามารถของครอบครัวและผู้ที่ไว้วางใจในการเสริมพลังอำนาจให้แก่ผู้ผ่านพ้นการถูกล่วงละเมิดทางเพศ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางในการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความสามารถของครอบครัวและผู้ที่ไว้วางใจในการเสริมพลังอำนาจให้แก่ผู้ผ่านพ้นการถูกล่วงละเมิดทางเพศไปใช้ในบริบทสังคมไทย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย คือ (1) ผู้ผ่านพ้นการถูกล่วงละเมิดทางเพศ จำนวน 1 ราย และ (2) ครอบครัวและผู้ที่ไว้วางใจที่เข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 4 ราย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกการสังเกต และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความสามารถของครอบครัวและผู้ที่ไว้วางใจการเสริมพลังอำนาจให้แก่ผู้ผ่านพ้นการถูกล่วงละเมิดทางเพศ มีกระบวนการในการพัฒนา 8 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ศึกษาบริบทและกำหนดกลุ่มเป้าหมาย 2) สร้างความไว้วางใจและพื้นที่ปลอดภัย 3) สืบค้นสถานการณ์ปัญหา 4) ระบุขอบเขตเนื้อหาการเรียนรู้ 5) ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 6) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ 7) ประเมินผล และ 8) ติดตามผล และโปรแกรมประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ประการ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 2) วัตถุประสงค์ 3) ขอบเขตเนื้อหาการเรียนรู้ 4) กิจกรรมการเรียนรู้ 5) สภาพแวดล้อม และ 6) การประเมินผลและติดตามผลการเรียนรู้ ทั้งนี้ แนวทางในการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความสามารถของครอบครัวและผู้ที่ไว้วางใจในการเสริมพลังอำนาจให้แก่ผู้ผ่านพ้นการถูกล่วงละเมิดทางเพศไปใช้ในบริบทสังคมไทย ประกอบด้วย 1) การศึกษาบริบทของสังคมไทยในช่วงเวลานั้นๆ เพื่อให้โปรแกรมสอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ 2) การกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้นำไปใช้สามารถกำหนดได้โดยอิสระ แต่ต้องมีการพิจารณาให้เหมาะสม 3) การเตรียมคณะทำงานให้มีความพร้อม และมีความเข้าใจในการจัดโปรแกรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดพื้นฐานในการจัดโปรแกรม 4) การเลือกใช้กิจกรรมการเรียนรู้สามารถเลือกใช้ได้หลายรูปแบบ 5) การนำโปรแกรมไปใช้ด้วยความยืดหยุ่น 6) การติดตามประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย


การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์, พิมพ์ฬัฐช์ โกมลารชุน Jan 2021

การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์, พิมพ์ฬัฐช์ โกมลารชุน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ในการเตรียมความพร้อมกลับคืนสู่สังคม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ ใช้ระเบียบวิธีการแบบการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และประเด็นสนทนากลุ่ม โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย (1)เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 1:ศึกษาเอกสารและสื่อจำนวน 30 รายการ และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เคยเป็นเด็กในสถานสงเคราะห์และประสบความสำเร็จเมื่อออกมาใช้ชีวิตในสังคม นำผลที่ได้มาสร้างเป็นแบบสอบถาม 2 ชุด 1. เพื่อสอบถามเด็กในสถานสงเคราะห์ในขอบเขตของทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 2.เพื่อสอบถามเจ้าหน้าที่ในสถานสงเคราะห์เด็กเรื่องการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (2)เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 2 ทำการสนทนากลุ่ม เพื่อให้ได้รูปแบบการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ที่ 1.มี 2 ส่วน คือ 1.1) ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ มี 10 ทักษะ คือ (1) ทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (2) ทักษะด้านสุขภาพจิต การจัดการกับความเครียด มีจริยธรรม คุณธรรม มีวินัย (3) ทักษะด้านอาชีพ การเรียนรู้ และการจัดการเวลา (4) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหา (5) ทักษะการเขียน (6) ทักษะการอ่าน (7) ทักษะการร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆ ทำงานร่วมกับผู้อื่น (8) ทักษะคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (9) ทักษะความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (10) ทักษะการเงิน การคิดเลข คำนวณ 1.2) การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในสถานสงเคราะห์เด็ก มี 4 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านนโยบาย ประกอบด้วย พัฒนาการเรียนรู้แบบนำตนเอง พัฒนาทักษะด้านอาชีพ และพัฒนาตามศักยภาพของผู้เรียนที่แตกต่าง (2) ด้านบุคลากร ประกอบด้วย ผู้อำนวยความสะดวกและสร้างความร่วมมือในการเรียนรู้ ผู้แนะแนวทาง และผู้เรียนร่วม (3) สภาพแวดล้อม ประกอบด้วย ด้านกายภาพคือในห้องเรียน นอกห้องเรียน ภายในบ้าน ด้านจิตวิทยา ประกอบด้วยพฤติกรรม …


ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดแอนดราโกจีที่มีต่อการเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมชุมชนของเยาวชนจังหวัดชลบุรี, ปนัสยา เมฆพักตร์ Jan 2021

ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดแอนดราโกจีที่มีต่อการเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมชุมชนของเยาวชนจังหวัดชลบุรี, ปนัสยา เมฆพักตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมชุมชนของเยาวชนจังหวัดชลบุรี 2) สร้างกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดแอนดราโกจีที่มีต่อการเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมชุมชนของเยาวชนจังหวัดชลบุรี และ 3) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดแอนดราโกจีที่มีต่อการเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมชุมชนของเยาวชนจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ในการเก็บข้อมูล คือ เยาวชนในอำเภอศรีราชาที่มีอายุระหว่าง 14-18 ปี จำนวน 535 คน กลุ่มตัวอย่างในการทดลองกิจกรรม คือ เยาวชนในอำเภอศรีราชาที่มีอายุระหว่าง 14-18 ปี จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดระดับการเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมชุมชนของเยาวชน ประเด็นการสนทนากลุ่ม แผนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดแอนดราโกจีเพื่อการส่งเสริมการเห็นคุณค่าวัฒนธรรมชุมชน แบบวัดระดับการเห็นคุณค่าวัฒนธรรมชุมชนของเยาวชนจังหวัดชลบุรี (ประเพณีแห่พญายม) และแบบสะท้อนผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนฯ มีสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ dependent t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ α=0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมชุมชนของเยาวชนจังหวัดชลบุรี ที่ประกอบด้วย ประเพณีกองข้าวศรีราชา ประเพณีแห่พญายม และกีฬามวยตับจาก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเมื่อพิจารณารายละเอียด พบว่า วัฒนธรรมชุมชนที่เยาวชนจังหวัดชลบุรีมีค่าเฉลี่ยการเห็นคุณค่าต่ำที่สุด คือ ประเพณีแห่พญายม (x¯ = 3.15, S.D. = 0.10) ผู้วิจัยจึงนำประเพณีแห่พญายมมาใช้เป็นเนื้อหาในการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชนให้กับเยาวชนจังหวัดชลบุรี 2) การสร้างกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อการส่งเสริมการเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมชุมชน ประกอบด้วย 8 ขั้นตอนตามแนวคิดแอนดราโกจี ด้วยการจัดการสนทนากลุ่มที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความต้องการ ความสนใจ ความจำเป็นของผู้เรียน และสอดคล้องกับวิถีชีวิตหรือสภาพปัญหาของชุมชน 3) ผลการทดลองกิจกรรม พบว่า เยาวชนจังหวัดชลบุรีมีระดับค่าเฉลี่ยการเห็นคุณค่าวัฒนธรรมชุมชนหลังการทดลองเท่ากับ 4.69 สูงกว่าก่อนการทดลองกิจกรรมเท่ากับ 3.05 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้านพบว่า เยาวชนจังหวัดชลบุรีมีระดับความรู้ ความอ่อนไหว และการตระหนักทางวัฒนธรรมชุมชน(ประเพณีแห่พญายม) เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ด้าน แสดงว่า กิจกรรมการเรียนรู้นี้มีเนื้อหา รูปแบบการจัดกิจกรรม และกระบวนการถ่ายทอดความรู้ที่เหมาะสมในการส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดการเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ


แนวทางการส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของพลทหารกองประจำการในหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับขั้นพื้นฐาน, มณฑิตา ชมดี Jan 2021

แนวทางการส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของพลทหารกองประจำการในหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับขั้นพื้นฐาน, มณฑิตา ชมดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยในการส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง และนำเสนอแนวทางการส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของพลทหารกองประจำการในหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับขั้นพื้นฐาน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือพลทหารกองประจำการในหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1,140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามปัจจัยในการส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยในการส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การเห็นคุณค่าในตนเอง สัมพันธภาพกับครูและเพื่อน ลักษณะมุ่งอนาคต บทบาทของครู ความมีวินัยในตนเอง การเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง บรรยากาศการเรียนการสอน และแหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D.=0.52) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) แนวทางการส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ประกอบด้วย 5 แนวทาง ได้แก่ (1) ด้านสัมพันธภาพกับครูและเพื่อน ได้แก่ การจัดกิจกรรมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ (2) ด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง ได้แก่ การประเมินตนเองเป็นรายบุคคลเพื่อจัดกิจกรรมโครงการเรียนรู้ผ่านกิจวัตรประจำของพลทหารกองประจำการ (3) ด้านบทบาทของครู ได้แก่ การปรับแนวคิด สร้างเป้าหมายและสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เต็มศักยภาพ (4) ด้านการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ได้แก่ การแนะนำส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม (5) ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ได้แก่ การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง ส่งเสริมจินตนาการและตั้งเป้าหมายในอนาคต


การพัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่, เรือนทอง ไวทยะพานิช Jan 2020

การพัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่, เรือนทอง ไวทยะพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.พัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่ และ 2.เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่ กลุ่มเป้าหมายของการศึกษา คือ ผู้ใหญ่วัยแรงงาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ในชุมชนที่เป็นพื้นที่วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แผนการจัดเวทีชุมชน แบบบันทึกข้อมูล และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1. การพัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการรู้ดิจิทัล 2) กำหนดทิศทางการพัฒนาแผน 3) นำแผนไปทดลองใช้ 4) กำกับ ติดตาม และประเมินผลการใช้ และ 5) ถอดบทเรียน ปรับปรุงแผน และประกาศใช้แผน ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมาย ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ กิจกรรม เป้าหมาย ตัวชี้วัด แผนปฏิบัติ แนวทางพัฒนา การติดตามและประเมินผล โดยกลยุทธ์ของแผนมี 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์การบริหารจัดการชุมชนและการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) กลยุทธ์การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัล 3) กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพชีวิตดิจิทัล และ 4) กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลชุมชน 2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่ มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ข้อเสนอแนะด้านการบริหารจัดการชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ3) ข้อเสนอแนะด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัล


การนำเสนอรูปแบบเชิงกระบวนการในการบ่มเพาะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต: กรณีศึกษาครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย, สายทิพย์ พิริยะธนารักษ์ Jan 2020

การนำเสนอรูปแบบเชิงกระบวนการในการบ่มเพาะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต: กรณีศึกษาครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย, สายทิพย์ พิริยะธนารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์เส้นทางและกระบวนการเรียนรู้สู่การเป็นครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย 2) เพื่อสังเคราะห์แบบแผนของกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากเส้นทางและกระบวนการเรียนรู้ของครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบเชิงกระบวนการในการบ่มเพาะบุคคลให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากกรณีศึกษาครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูภูมิปัญญาแพทย์ไทย ที่ได้รับการสรรหาและยกย่องเชิดชูเกียรติครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2544 ถึงพ.ศ.2562 ซึ่งปัจจุบันมี 9 รุ่น ที่ยังมีชีวิตอยู่และยินดีให้ข้อมูล จำนวน 29 ท่าน ดำเนินการวิจัยด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมจากการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) เส้นทางสู่การเป็นครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย 1) เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อความสนใจและการตัดสินใจเป็นครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย 2) กระบวนการเรียนรู้สู่การเป็นครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ประกอบด้วยขั้นตอน 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดแนวคิดสำคัญในการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองทั้งจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และการลงมือปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 3 การคิดและลงมือแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบองค์ความรู้ ขั้นตอนที่ 5 การสร้างองค์ความรู้ ขั้นตอนที่ 6 การถ่ายทอดองค์ความรู้ และขั้นตอนที่ 7 การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (2) แบบแผนของกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากเส้นทางและกระบวนการเรียนรู้ของครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการในการเปลี่ยนผ่าน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเปลี่ยนแปลงสมมติฐานความเชื่อเดิม ประกอบด้วย เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความคิดและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพจิตใจ ระยะที่ 2 การเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินความรู้ที่มีอยู่เดิม 2) การค้นหาวิธีการ 3) การแสวงหาความรู้ และ4) การประเมินผล ระยะที่ 3 การแสดงออกทางพฤติกรรมและการปฏิบัติซ้ำ …


การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน, จิรัฏฐา จารุพิสิฐธร Jan 2020

การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน, จิรัฏฐา จารุพิสิฐธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) พัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน และ 3) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อศึกษาบริบทของการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร บุคลากร และสมาชิกของกรณีศึกษาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3 แห่ง จำนวน 15 คน ผู้วิจัยพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียนร่วมกับครูการศึกษานอกระบบโรงเรียนจำนวน 14 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึก และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์เป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อวิพากษ์ จำนวน 10 ท่าน ผลวิจัยพบว่า 1) บริบทของการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีดังนี้ (1) เป้าหมายหลักเป็นไปเพื่อการแก้ไขปัญหาซึ่งแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ (2) สมาชิกของชุมชนประกอบด้วยคนในชุมชน/องค์กร และคนภายนอกที่มีความสนใจ (3) กระบวนการเรียนรู้และลักษณะการเรียนรู้เริ่มจากปัญหาที่เกิดขึ้นและเรียนรู้ร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหานั้น (4) การสนับสนุนจากภายในและภายนอก สมาชิกของชุมชนถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ประสบความสำเร็จ (5) การประเมินผลการดำเนินงาน เป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เพื่อวิเคราะห์และติดตามความก้าวหน้า และ (6) การสร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาองค์ความรู้และการปฏิบัติที่ดีเป็นการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน มี 5 ขั้นตอน คือ (1) การศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอน (2) การร่วมกันวางแผนและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ (3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการสังเกตชั้นเรียน (4) การสะท้อนคิดและการปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ และ (5) การนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแล้วไปใช้ และประกอบด้วยบริบทของการพัฒนา 6 ประการ คือ (1) เป้าหมายหลักที่มุ่งพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกัน (2) ภาวะผู้นำที่เข้มแข็งและสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิก (3) การเรียนรู้ร่วมกันอย่างเปิดกว้างและจริงใจ (4) โครงสร้างที่สนับสนุนการดำเนินงาน (5) การประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะและต่อเนื่อง และ(6) เครือข่ายทางวิชาชีพที่เข้มแข็ง 3) แนวทางการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน ประกอบด้วย (1) แนวคิดพื้นฐานในการกำหนดนโยบาย (2) นโยบายการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน และ (3) การขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการศึกษานอกระบบโรงเรียน


การพัฒนาแนวทางการประยุกต์แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน, ลิขสิทธิ์ พุฒเขียว Jan 2020

การพัฒนาแนวทางการประยุกต์แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน, ลิขสิทธิ์ พุฒเขียว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อความเป็นไทในประเทศไทย 2) วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของกรณีตัวอย่างในการนำแนวคิดการศึกษาเพื่อความเป็นไทมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน และ 3) พัฒนาแนวทางการประยุกต์แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน ระเบียบวิธีที่ใช้คือการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร การศึกษาภาคสนาม การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ ประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นไท ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) แนวคิด ได้แก่ แนวคิดแบบองค์รวม หลักการความเป็นประชาธิปไตย หลักการความเป็นมนุษย์ และ หลักการมีส่วนร่วม 2) กระบวนการ ได้แก่ การวิเคราะห์ตนเอง การมองภาพรวมของกระบวนการทั้งหมด การสรุปองค์ความรู้และการสะท้อนกลับ การเชื่อมโยงความคิดและประยุกต์ใช้ และการสร้างแกนนำ 3) ผลลัพธ์ คือ ชี้นำตนเองและพึ่งตนเองได้ มีพลังอำนาจและมีความภาคภูมิใจในตนเอง และ เข้าใจตนเอง 4) สิ่งที่ผู้เรียนขาดไปคือเข้าใจวิถีทางประชาธิปไตย สำนึก หวงแหนบ้านเกิดและภูมิปัญญาท้องถิ่น รู้จักวิเคราะห์ คิดพิจารณาวินิจฉัยใคร่ครวญ และรู้เท่าทันโลกและแก้ปัญหาชีวิต และ 5) ลักษณะผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ด้านความรู้ต่อหน้าที่ ด้านเกี่ยวกับเนื้อหา และด้านเกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม 2) ปัจจัยความสำเร็จของกรณีตัวอย่างในการนำแนวคิดการศึกษาเพื่อความเป็นไทมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) เบื้องหลังปรัชญาและแนวคิด ได้แก่ ศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน เพื่อความเป็นไท สิทธิเสรีภาพ การรักษาอัตลักษณ์ชุมชนและกลุ่มชาติพันธุ์ 2) เงื่อนไขและบริบทในการจัดโครงการ/กิจกรรม ได้แก่ การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ เรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ส่งเสริมการรู้จักตนเอง เรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน และ ทำเพื่อส่วนรวม 3) การเตรียมผู้เรียน ได้แก่ ตั้งคำถาม มีเป้าหมายในตนเอง หาคำตอบอย่างเป็นระบบ และปฏิบัติการไปสู่การเปลี่ยนแปลง 4) การเตรียมและสนับสนุนผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ความรู้ต่อหน้าที่ ความรู้ในการจัดกิจกรรม และประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม 5) …


อนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล, วสุ ทัพพะรังสี Jan 2020

อนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล, วสุ ทัพพะรังสี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงอนาคตใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์หลักการ แนวคิด รูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล 2) เพื่อพัฒนาอนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล และ3) เพื่อนำเสนออนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล ด้วยการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยทั้งสิ้นจำนวน 27 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และสรุปแนวโน้มอนาคตรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุดดิจิทัล ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์หลักการ แนวคิด รูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล แสดงให้เห็นว่า หลักการที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการดำเนินงานมุ่งส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบ ขับเคลื่อนให้บุคคลและสังคมพัฒนาสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต เตรียมความพร้อมของประชากรในการดำรงชีวิตในยุคดิจิทัล แนวคิดที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการดำเนินงานเป็นแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบหลากหลายและผสมผสานทั้งการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ ผสมผสานการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมี 6 องค์ประกอบสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การจัดการเชิงกลยุทธ์ โครงสร้างการบริหาร รูปแบบการบริการความรู้ หลักสูตรค่ายวิทยาศาสตร์และการบริหารหลักสูตร การรับรองคุณภาพ และองค์กอบด้านสุดท้าย คือ เครือข่าย ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดเนื้อหาย่อยสำหรับการนำไปปฏิบัติจริงตั้งแต่ระดับบริหารจนถึงระดับปฏิบัติการ 3) ผลการนำเสนออนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล พบว่า แนวโน้มอนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล มีทั้งหมด 4 แนวโน้ม ได้แก่ 1)ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตรูปแบบที่ 1: ดิจิทัลไม่พร้อม - คนไม่พร้อม เป็นรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์ที่ขาดความพร้อมทั้งเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งการขาดความพร้อมของผู้สอนและผู้เรียน 2) ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตรูปแบบที่ 2: ดิจิทัลไม่พร้อม – คนพร้อม เป็นรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์ที่ขาดความพร้อมเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล แต่ผู้สอนและผู้เรียนมีความพร้อม 3)ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตรูปแบบที่ 3: ดิจิทัลพร้อม – คนไม่พร้อม เป็นรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์มีความพร้อมเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล แต่ผู้สอนและผู้เรียนขาดความพร้อม และ 4)ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตรูปแบบที่ 4: ดิจิทัลพร้อม - คนพร้อม เป็นรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์มีความพร้อมทั้งเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งความพร้อมของผู้สอนและผู้เรียน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดค่ายวิทยาศาสตร์สามารถนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมกับลักษณะของบริบทที่แตกต่างกันและให้สอดคล้องกับแนวโน้มอนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล เพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายของหน่วยงานในยุคดิจิทัลอย่างมั่นคง ยั่งยืน และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง


การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์, ปองเดช กวินปัถย์ Jan 2020

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์, ปองเดช กวินปัถย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์ (2). พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์ (3). พัฒนาคู่มือการจัดโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์ โดยแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คน ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์ โดยดำเนินการตามขั้นตอนการจัดโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดของ Houle (1972) 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นการวิเคราะห์ความต้องการในการเรียนรู้และกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นไปได้ 2) ขั้นการตัดสินใจดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ขั้นการกำหนดวัตถุประสงค์ 4) ขั้นการออกแบบรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมใช้แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ ของ Kolb (1984) 5 ขั้นการวางแผนกิจกรรมให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของผู้เรียน 6) ขั้นการนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติ 7) ขั้นการวัดและประเมินผล การศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในการนำโปรแกรม กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 คน ระยะที่ 3 การพัฒนาคู่มือการจัดโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์โดยการร่างคู่มือจากผลการพัฒนาโปรแกรม มีการตรวจสอบคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน และการจัดทำคู่มือฉบับสมบูรณ์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) คุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์บ่งออกเป็น 3 มิติ ประกอบด้วย 1) มิติเจตคติ 20 รายการ 2) มิติทักษะ 5 รายการ และ 3) มิติความรอบรู้ 3 รายการ (2) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโปรแกรมพบว่ากลุ่มทดลองมีคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง (3) ผลการพัฒนามือคู่มือโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ประกอบอาชีพศิลปะการแต่งหน้าเชิงสร้างสรรค์ ได้คู่มือที่มีขนาดรูปเล่มที่เหมาะสม ตัวอักษรอ่านง่ายชัดเจน กิจกรรมแต่ละขั้นตอนมีความชัดเจน เข้าใจง่ายเนื้อหาความรู้มีความเหมาะสมตรงกับความต้องการ


แนวทางในการส่งเสริมการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักเรียนประถมศึกษา, กฤษพร อยู่สวัสดิ์ Jan 2020

แนวทางในการส่งเสริมการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักเรียนประถมศึกษา, กฤษพร อยู่สวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนประถมศึกษา 2) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนประถมศึกษา และ 3) นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักเรียนประถมศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานครที่ศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2,990 คน จากประชากรจำนวน 3,313 คน และผู้ให้ข้อมูลกลุ่มต่างๆ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 7 คน ผู้บริหารโรงเรียน ครูและผู้ปกครองนักเรียน ในฐานะผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสนทนากลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุ โดยใช้โปรแกรม LISREL และการวิเคราะเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนประถมศึกษามี 5 องค์ประกอบ เรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ความสามารถในการเรียนรู้ แรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ ทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ความสามารถในการสื่อสาร และเจตคติต่อการเรียนรู้ 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนประถมศึกษามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x2/df=1.30, p=.08, GFI=1.00, AGFI=0.99, CFI=1.00, RMSEA=0.01, SRMR=0.00) โดยการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยด้านนักเรียนสูงสุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านโรงเรียน และปัจจัยด้านครอบครัว ตามลำดับ 3) แนวทางในการส่งเสริมการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักเรียนประถมศึกษาประกอบด้วยแนวทาง 4 ด้าน ได้แก่ 1) การส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้มุ่งอนาคต 2) การส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้เห็นคุณค่าในตนเอง 3) การส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้รู้จักตนเอง และ 4) การส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้มีอำนาจในตน ซึ่งดำเนินการโดยผู้บริหารโรงเรียน ครูและผู้ปกครอง ตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต


Guidelines To Enhance Community Participation In Community Learning Centers In The Kingdom Of Cambodia, Piseth Neak Jan 2020

Guidelines To Enhance Community Participation In Community Learning Centers In The Kingdom Of Cambodia, Piseth Neak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study aims to 1) analyze components of community participation in the CLCs in Cambodia; 2) study current states and desirable needs of community participation in enhancing community participation in the CLCs in Cambodia; 3) propose guidelines to enhance community participation in the CLCs in Cambodia. A semi-structured interview with 5 Cambodian experts has been employed, and all the keywords have been coded to analyze community participation components in the CLCs. Moreover, this research utilized a survey with the selected samples of 28 CLC committee members and 197 people using stratified random sampling by analyzing data through Means (x̅), Standard …


การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองในองค์กรเอกชน, ธนาวัฒน์ เอี่ยมอำไพ Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองในองค์กรเอกชน, ธนาวัฒน์ เอี่ยมอำไพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองสำหรับพนักงานองค์กรเอกชน 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองสำหรับพนักงานองค์กรเอกชนและนำเสนอปัจจัยเงื่อนไขการนำไปใช้ การวิจัยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปฎิบัติการ โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการสายการผลิตในองค์กรเอกชน จำนวน 5 คนที่ยินดีเข้าร่วมโปรแกรม ผู้วิจัยใช้แนวคิดกระบวนการพัฒนาตนเอง การเรียนรู้ในสถานประกอบการ การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ เป็นกรอบในการในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาตนเองในองค์กรเอกชน ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการเรียนรู้ในสถานประกอบการ มีแนวคิดการเรียนรู้คือ 1) เป้าหมายและประเด็นในการเรียนรู้ต้องเริ่มมาจากตัวพนักงาน 2) การเรียนรู้สามารถยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ 3) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นทันทีเมื่อต้องการใช้ประโยชน์ 4) การเรียนรู้ต้องมีความสำคัญกับสถานประกอบการ และ 5) การเรียนรู้ต้องมีความหมายกับพนักงาน ซึ่งกระบวนการการเรียนรู้ประกอบด้วยขั้นตอน การวิเคราะห์ตนเอง การตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ ดำเนินการเรียนรู้ตามที่ออกแบบ และสะท้อนผลการเรียนรู้ โดยสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ในสถานประกอบการ คือ ผ่อนคลายไม่กดดัน มีเครื่องมือที่ช่วยสำหรับการเรียนรู้ และทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ซึ่งพบว่าเงื่อนไขที่ต้องมีสำหรับการเรียนรู้ในสถานประกอบการคือ 1) สนับสนุนงานที่ทำอยู่ปัจจุบัน 2) มีความเกี่ยวข้องกับการเติบโต 3) การให้ความสำคัญของผู้บังคับบัญชา และปัจจัยแห่งความสำเร็จที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพคือ 1) วิธีการเรียนรู้ที่รวดเร็ว 2) ไม่เป็นงานเพิ่ม 3) การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 4) มุมมองที่มีต่อปัญหาตรงกัน ซึ่งบุคคลสำคัญที่มีบทบาทสนับสนุนการเรียนรู้ในสถานประกอบการคือ ผู้บังคับบัญชา ผู้มีส่วนรับผิดชอบด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเพื่อนร่วมงาน โดยการเรียนรู้ในสถานประกอบการต้องเกิดขึ้นภายใต้ความเชื่อพื้นฐานที่ว่า พนักงานทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ หากแต่ขาดความรู้ ทักษะ หรือพฤติกรรมการแสดงออกบางอย่างที่ยังไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานที่วางไว้ได้ 2. รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการ ประกอบด้วย 1) การส่งเสริมความเชื่อพื้นฐาน โดยให้เห็นว่าการเรียนรู้เริ่มที่ตัวพนักงาน และสนับสนุนงานที่ทำอยู่เดิม ให้การเรียนรู้ของพนักงานและสถานประกอบการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2) การส่งเสริมแนวคิดการเรียนรู้ โดยให้พนักงานรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ การตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกัน ทัศนคติการมองปัญหาเชิงบวก มีเครื่องมือและช่องทางการเรียนรู้ 3) การส่งเสริมกระบวนการการเรียนรู้ โดยให้มีทักษะสะท้อนคิด มีการสื่อสารความคาดหวัง มีวินัยในการเรียนรู้ 4) การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยฝ่ายบริหารให้การสนับสนุน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการเรียนรู้ 5) การส่งเสริมเงื่อนไขที่ต้องมี โดยให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้บังคับบัญชา และติดตามการเรียนรู้เป็นระยะ มีระบบการวัดผลที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ 6) การส่งเสริมปัจจัยแห่งความสำเร็จ โดยส่งเสริมความต่อเนื่องของการเรียนรู้และความไวในการปรับตัว และ7) การส่งเสริมบทบาทของผู้เกี่ยวข้อง ต้องมีทักษะเป็นผู้เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ และทักษะการเป็นที่ปรึกษา


อนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูการศึกษานอกระบบเเละการศึกษาตามอัธยาศัย, ประพิมพ์ อัตตะนันทน์ Jan 2019

อนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูการศึกษานอกระบบเเละการศึกษาตามอัธยาศัย, ประพิมพ์ อัตตะนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษา สภาพ ปัญหา และความต้องการ ด้านพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2. เพื่อฉายอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. และ 3.เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. งานวิจัยนี้ใช้เทคนิควิธีวิจัยแบบผสมผสาน ส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณคือผู้วิจัยได้ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการกับครูการศึกษานอกระบบเเละการศึกษาตามอัธยาศัย หรือครูกศน. จำนวน 2,145 คน ทั่วประเทศไทย ด้วยแบบสอบถามแบบเลือกตอบ ส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพคือ การฉายอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน.ด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 18 คน จัดประชุมสนทนากลุ่มย่อย กับครูกศน.จำนวน 18 คน จากนั้นจึงสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิของกศน.ทั้ง 9 ท่าน เกี่ยวกับขั้นตอนในการพัฒนาและกลไกในการสนับสนุนเพื่อให้พื้นที่การเรียนรู้เกิดขึ้นจริง และผู้วิจัยจึงนำข้อมูลทั้งหมดสังเคราะห์เป็นอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. ในการศึกษาความเป็นได้ของอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิของกศน.ทั้ง 9 ท่าน และการจัดประชุมกลุ่มย่อย กับครูกศน.18 ท่าน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจุบันครูใช้ศูนย์การเรียนชุมชนและห้องสมุดเป็นพื้นที่การเรียนรู้หลัก และพบว่าพื้นที่การเรียนรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ที่แท้จริงของครูกศน. และครูกศน.ต้องการให้พัฒนาพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองสำหรับครูกศน.โดยเฉพาะขึ้น 2) ผลการวิจัยระบุว่า ควรพัฒนาพื้นที่เดิมหรือเเหล่งการเรียนรู้เดิมที่สำนักงานกศน.มี เช่น กศน.ตำบล ให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. เเละให้ใช้คลังสารสนเทศดิจิทัลที่สำนักงานกศน.มีอยู่เดิม เช่น DMIS (Directive Management Information System) เเละเว็บไซต์ที่ครูกศน.จัดทำขึ้นกันเอง มาพัฒนาต่อยอดเเละส่งเสริมให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน. โดยอนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูกศน.ประกอบไปด้วย 2.1) ลักษณะของพื้นที่การเรียนรู้ทั้ง 6 คือ วัตถุประสงค์ พื้นที่การเรียนรู้ (ความดึงดูด ความรู้สึกปลอดภัยและสบายใจ ความยืดหยุ่นและความสะดวกสบาย และความสามารถในการรองรับการใช้งานที่หลากหลาย) การสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกัน กิจกรรมการเรียนรู้ในพื้นที่การเรียนรู้ ความเป็นไปได้ 2.2) ขั้นตอนการพัฒนาพื้นที่เดิมเเหล่งการเรียนรู้เดิมให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ 7 ขั้นตอน กำหนดทีมงาน พิจารณาพื้นที่เดิม จัดสรรทรัพยากร ปรับปรุงพื้นที่ วางแผนกิจกรรม ประชาสัมพันธ์ ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และ 2.3) กลไกสนับสนุนเพื่อให้พื้นที่การเรียนรู้เกิดขึ้นจริง 11 กลไก คือ การออกแบบที่มีประสิทธิภาพ นโยบายที่เกี่ยวข้อง งบประมาณ บทบาทผู้บริหาร ความร่วมมือกับเครือข่าย …


การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย, สมภพ ล้อเรืองสิน Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย, สมภพ ล้อเรืองสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการมีเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในบริบทเศรษฐกิจและสังคมไทยและศึกษาแนวทางการเรียนรู้ทางสังคมของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย (2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยและเสนอผลการทดลองใช้ (3) นำเสนอปัจจัยเงื่อนไขและแนวทางในการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยไปใช้ในอนาคต โดยแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ (1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นและศึกษาแนวทางการเรียนรู้ทางสังคมจากผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นจำนวน 124 คน (2) ศึกษาสภาพเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นของนักศึกษามหาวิทยาลัยประกอบด้วยนักศึกษาคณะนิติศาสตร์และคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหงจำนวน 1,000 คน และ 1,650 คน ตามลำดับ (3) ทดลองใช้โปรแกรมและศึกษาปัจจัยเงื่อนไขและนำเสนอแนวทางในการนำโปรแกรมไปใช้ในอนาคต ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) องค์ประกอบของเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในบริบทสังคมไทย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) องค์ประกอบด้านความรู้ความเข้าใจต่ออาชีพผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น 2) องค์ประกอบด้านความรู้สึกต่ออาชีพผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น 3) องค์ประกอบด้านพฤติกรรมที่สะท้อนแนวโน้มการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น และ 4) องค์ประกอบด้านการรับรู้ถึงศักยภาพของตนเองและแรงสนับสนุนจากสภาพแวดล้อม ในส่วนของแนวทางการเรียนรู้ทางสังคมของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่ประสบความสำเร็จมีลักษณะร่วมกันที่ชัดเจน คือ มีการเรียนรู้จากตัวแบบที่เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จและนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานของตนเองและนำภาพลักษณ์เชิงบวกของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จมาใช้เป็นแรงผลักดันตนเองให้ได้เป็นอย่างตัวแบบนั้น และใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เนื่องจากเป็นช่องทางข่าวสารที่สำคัญและทันสมัย (2) ผลการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน คือ กลุ่มทดลองมีระดับเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในองค์ประกอบด้านความรู้สึกต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น องค์ประกอบด้านพฤติกรรมที่สะท้อนแนวโน้มการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น และองค์ประกอบด้านการรับรู้ถึงศักยภาพของตนเองและแรงสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมสูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัจจัยและเงื่อนไขของการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยไปใช้พบว่า ปัจจัยได้แก่ 1) ผู้สอนเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสิ่งที่จะสอน 2) กลุ่มผู้เรียนมีความสนใจในกลุ่มวิสาหกิจที่คล้ายคลึงกัน 3) เนื้อหาต้องมีความทันสมัยตรงกับความสนใจของผู้เรียนและมีความยืดหยุ่น 4) กิจกรรมการเรียนรู้มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน 5) ระยะเวลาเหมาะสมกับผู้เรียนและผู้สอน และ เงื่อนไขได้แก่ 1) จำนวนผู้เรียนมีความเหมาะสมกับผู้สอน 2) ผู้สอนต้องประเมินตัดสินผู้เรียนในเชิงบวกมากกว่าตำหนิเชิงลบ


อนาคตภาพห้องสมุดมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคมไทย, กนกกร กมลเพ็ชร Jan 2019

อนาคตภาพห้องสมุดมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคมไทย, กนกกร กมลเพ็ชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ฉายภาพอนาคตของสังคมไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า 2) วิเคราะห์ภาพปัจจุบันของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในการบริการชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 3) สร้างอนาคตภาพของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต กำหนดขอบเขตการวิจัยด้านระยะเวลาของอนาคตระหว่าง พ.ศ. 2565 – 2585 และขอบเขตด้านเนื้อหาเฉพาะบทบาทของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเท่านั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสารจำนวน 30 ฉบับ การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 11 คน การสัมภาษณ์ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยและผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยระดับหัวหน้างาน จำนวน 12 คน การใช้แบบสอบถามปลายเปิดแก่ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดระดับปฏิบัติการจำนวน 150 คน และการประชุมกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. อนาคตของสังคมไทยในอีก 20 ปี ข้างหน้า จะเป็นสังคมดิจิทัล คนไทยในอนาคตจะมีความเป็นตัวของตัวเองในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม ระบบการศึกษาจะเปลี่ยนไปสู่การส่งเสริมให้คนในสังคมมีคุณลักษณะของการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยจะเป็นหน่วยงานหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย 2. ปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยมีการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่สังคมในลักษณะของการให้บริการสารสนเทศทั้งแก่บุคลากรและนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ตลอดจนบุคคลภายนอก แต่ยังจำกัดอยู่ในขอบเขตและภารกิจที่กำหนดไว้ 3. บทบาทของมหาวิทยาลัยในอนาคตควรประกอบด้วย 3.1) บทบาทในการเป็นแหล่งแพร่กระจายข้อมูล 3.2) บทบาทในการเป็นพื้นที่การเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 3.3) บทบาทในการเป็นผู้สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กระบวนการเรียนรู้


การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย, นฤดี โสรัตน์ Jan 2019

การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย, นฤดี โสรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะความเข้มแข็งของครอบครัว วิธีและปัจจัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย 2) พัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย 3) เสนอแนวทางการใช้กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย ระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาแบบพหุกรณีศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารและสื่อ แบบสัมภาษณ์ และประเด็นสนทนากลุ่ม โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะของบริบทสังคมไทยที่มีในครอบครัวนำไปใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหาของทุกวัตถุประสงค์ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย (1) เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 1: ศึกษาเอกสารและสื่อจำนวน 12 รายการ และสัมภาษณ์เชิงลึก ครอบครัวที่มีความเข้มแข็งจำนวน 15 ครอบครัว (2) เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 2: สัมภาษณ์ครอบครัวที่มีความเข้มแข็ง 15 ครอบครัวเดิม และการสนทนากลุ่มครั้งที่ 1 (3) เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 3: สนทนากลุ่มครั้งที่ 2 และสรุปแนวทางการใช้กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย โดยผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ที่ 1 มี 3 ส่วน คือ 1.1) ลักษณะความเข้มแข็งของครอบครัว มี 9 ประการ ดังนี้ (1) มีสัมพันธภาพที่ดี (2) รู้บทบาทหน้าที่ของตน (3) การยึดมั่นคำสัญญา เชื่อใจ และมีความเชื่อ (4) มีการสื่อสารระหว่างกันและกันในด้านบวก (5) มีทุนทางสังคม (6) มีความสามารถในการพึ่งตนเอง (7) มีความสามารถในการจัดการปัญหา (8) มีหลักคำสอนศาสนายึดเหนี่ยวจิตใจในครอบครัว (9) มีลักษณะความเป็นพ่อแม่ต้นแบบและเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต 1.2) วิธีการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย มี 6 ประการ ดังนี้ (1) การพูดคุย สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (2) การทำตัวเป็นแบบอย่าง (3) การปรับตัว การปรับวิธีคิด การปรับความเชื่อ และความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง (4) การเรียนรู้ในครอบครัว (5) การปลูกฝังให้เป็นครอบครัวคุณธรรม (6) การเรียนรู้ทักษะชีวิตและทักษะการอยู่ร่วมกันกับคนอื่น …