Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Operations and Supply Chain Management Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2021

Articles 1 - 30 of 52

Full-Text Articles in Operations and Supply Chain Management

การประเมินประสิทธิภาพระบบขนส่งด้วยกระบวนการกิจกรรมหลักด้านโลจิสติกส์ :กรณีศึกษาบริษัท Abc, นนทกร ธรรมไชยางกูร Jan 2021

การประเมินประสิทธิภาพระบบขนส่งด้วยกระบวนการกิจกรรมหลักด้านโลจิสติกส์ :กรณีศึกษาบริษัท Abc, นนทกร ธรรมไชยางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นพัฒนาตัวชี้วัดในการประเมินประสิทธิภาพระบบขนส่งด้วยกระบวนการกิจกรรมหลักด้านโลจิสติกส์ด้านการขนส่งและหลักความถูกต้อง ผ่านการทบทวนวรรณกรรมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะสรุปปัจจัยหลักด้านโลจิสติกส์สำหรับกำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง จากนั้นผู้วิจัยจึงได้พัฒนาตัวชี้วัดขึ้นจากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องขึ้นก่อนนำไปสัมภาษณ์เชิงลึกและนำส่งแบบประเมินปัจจัยเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของตัวชี้วัดให้กลุ่มตัวอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมขนส่งของบริษัทจำนวน 10 คน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้น และประเมินลำดับความสำคัญตามค่าน้ำหนักของปัจจัย หลังจากนั้นจึงทำการทดสอบการประเมินประสิทธิภาพระบบขนส่งด้วยข้อมูลย้อนหลัง 1 ปีของบริษัท (พ.ศ. 2562) ผลการศึกษาพบว่า ตัวชี้วัดในการประเมินประสิทธิภาพระบบขนส่งที่เหมาะสม ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก คือ การสื่อสาร ขนถ่ายและบรรจุ และการขนส่ง มีกิจกรรมละ 5 มิติ ประกอบด้วย มิติของผลิตภัณฑ์ คุณภาพ สถานที่ เวลา และต้นทุน รวมทั้งหมด 15 ตัวชี้วัด โดยกิจกรรมหลักด้านโลจิสติกที่มีความสำคัญสูงที่สุดคือ กิจกรรมขนถ่ายและบรรจุ รองลงมาคือ การสื่อสาร และการขนส่งตามลำดับ ภาพรวมของการประเมินตัวชี้วัดการขนส่งบริษัทขนส่ง ABC เฉลี่ยอยู่ที่ 4.72 คะแนน แม้ว่าการประเมินผลโดยรวมของบริษัทจะอยู่ในระดับดีมาก แต่กลับพบว่าในตัวชี้วัดระยะเวลาเฉลี่ยการส่งคําสั่งซื้อภายในองค์กรนั้นได้ คะแนนเพียง 2.0 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นบริษัทจึงควรให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบการสื่อสารภายในองค์กรมากยิ่งขึ้นเพื่อลดผลกระทบและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


การออกแบบกระบวนการจัดซื้อเครื่องใช้สำนักงานของธุรกิจขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง : กรณีศึกษาบริษัท Abc Drilling, มินตรา มณีฉาย Jan 2021

การออกแบบกระบวนการจัดซื้อเครื่องใช้สำนักงานของธุรกิจขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง : กรณีศึกษาบริษัท Abc Drilling, มินตรา มณีฉาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาด้านการจัดซื้อเครื่องใช้สำนักงานของบริษัทขุดเจาะน้ำมันที่ดำเนินการในประเทศไทย เพื่อเสนอข้อเสนอแนะในการจัดซื้อเครื่องใช้สำนักงานของบริษัทขุดเจาะน้ำมันทั้ง 3 แท่นขุดเจาะของบริษัท ABC Drilling เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดซื้อ (Purchasing Model) ที่มีประสิทธิภาพของบริษัท ABC Drilling และจัดทำ Organization Model ด้านการจัดซื้อจัดหา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลการจัดซื้อของปี พ.ศ.2563 เพื่อวิเคราะห์ผลงานการจัดซื้อและใช้แบบสอบถามเพื่อจัดทำข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่า การทำสัญญาจัดซื้อจัดหา (Fixed Price Agreement) ร่วมกับการทำประมูลแบบอัตโนมัติ (Automatic Bidding) ทำให้แท่นขุดเจาะที่ 1 สามารถประหยัดต้นทุน 5.39 % ส่วนแท่นขุดเจาะที่ 2 สามารถประหยัดต้นทุน 5.90 % และแท่นขุดเจาะที่ 3 สามารถประหยัดต้นทุน 8.03 % ดังนั้นเมื่อบริษัท ABC Drilling ทำสัญญาซื้อขาย (Fixed Price Agreement) ร่วมกับการทำประมูลแบบอัตโนมัติ (Automatic Bidding) จะทำให้บริษัทประหยัดต้นทุนโดยเฉลี่ย 6.44 % และผู้ให้สัมภาษณ์ทุกรายเห็นด้วยว่าควรมีการจัดซื้อแบบไฮบริด (Hybrid Procurement) โดย 85.71 % คิดเห็นว่าสินค้าหมวดหมู่ A ซึ่งเป็นสินค้าที่มีการสั่งซื้อเป็นประจำ โดยมีการสั่งซื้อสินค้าตั้งแต่ 6 รายการขึ้นไป และมียอดสั่งซื้อตั้งแต่ 20,000 บาทต่อปี ควรมีระบบการจัดซื้อแบบรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization Purchasing) 57.14 % คิดเห็นว่าสินค้าหมวดหมู่ B ซึ่งเป็นสินค้าที่หาซื้อได้ทั่วไป ราคาถูกควรมีระบบการจัดซื้อแบบรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization Purchasing) และ 71.43 % คิดเห็นว่าสินค้าหมวดหมู่ C ซึ่งเป็นสินค้าที่มีความเฉพาะเจาะจงและต้องตรวจสอบควรมีระบบการจัดซื้อแบบกระจายอำนาจ (Decentralization Purchasing)


การเปรียบเทียบการขนส่งอาหารทะเลแช่แข็ง ระหว่างการจ้างบริษัทภายนอกและการทำการขนส่งเองสำหรับการขายแบบออนไลน์, ชัญญรัชต์ วรัชต์ญารมย์ Jan 2021

การเปรียบเทียบการขนส่งอาหารทะเลแช่แข็ง ระหว่างการจ้างบริษัทภายนอกและการทำการขนส่งเองสำหรับการขายแบบออนไลน์, ชัญญรัชต์ วรัชต์ญารมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์ต้นทุนในการขนส่งอาหารทะเลแช่แข็ง เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการขนส่งอาหารทะเลแช่แข็ง ระหว่างการจ้างบริษัทขนส่งและการทำการขนส่งด้วยตนเอง โดยจะมีการนำปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการการขนส่งอาหารทะเลแช่แข็งมาเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจด้วย ได้แก่ ปัจจัยคุณภาพ ปัจจัยด้านเวลา และปัจจัยด้านต้นทุน ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมความคิดเห็นจากผู้บริหารของบริษัทกรณีศึกษา จำนวน 5 ท่าน ในการประเมินลำดับความสำคัญของปัจจัยหลักและปัจจัยรอง เพื่อนำข้อมูลมาผ่านการวิเคราะห์ด้วยหลักการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process : AHP) ผลการวิเคราะห์ต้นทุนในการขนส่งพบว่า การขนส่งด้วยตนเอง มีต้นทุนในการขนส่งที่มากที่สุด ส่วนการขนส่งด้วยตนเองผสมผสานกับการว่าจ้างบริษัทภายนอกจะมีต้นทุนในการขนส่งที่น้อยที่สุด ในส่วนของผลการวิเคราะห์จากหลักการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น พบว่า กลุ่มปัจจัยหลัก ปัจจัยคุณภาพมีลำดับความสำคัญมาเป็นลำดับที่ 1 มีค่าเฉลี่ยความสำคัญเท่ากับร้อยละ 68.19 ตามมาด้วยปัจจัยด้านเวลา และปัจจัยด้านต้นทุน มีค่าเฉลี่ยความสำคัญเท่ากับร้อยละ 17.30 และ 14.51 ตามลำดับ เมื่อนำผลการวิเคราะห์มาพิจารณาร่วมกันพบว่า ทางเลือกที่ดีที่สุดในการขนส่งอาหารทะเลแช่แข็ง คือ ทางเลือกที่ว่าจ้างบริษัทขนส่งตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยใช้บริษัทขนส่ง B Express มีผลคะแนนรวมอยู่ที่ 409.49 ตามมาด้วยทางเลือกที่ทางบริษัททำการขนส่งเองตลอดเส้นทาง จากนั้นเป็นทางเลือกที่เป็นการผสมผสานการขนส่งระหว่างทางบริษัทขนส่งเองและใช้บริการบริษัทขนส่ง และสุดท้ายเป็นทางเลือกที่ใช้บริการบริษัทขนส่งตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางการขนส่ง ในกรณีที่ใช้บริษัทขนส่งเป็นบริษัท A Express โดยมีคะแนนรวมเท่ากับ 405.74 336.72 และ 281.36 ตามลำดับ


การเปรียบเทียบรูปแบบการขนส่งการขนส่งแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ในเส้นทาง ไทย-จีน ในช่วง Covid-19, พงศกร เอื้อชีวกุล Jan 2021

การเปรียบเทียบรูปแบบการขนส่งการขนส่งแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ในเส้นทาง ไทย-จีน ในช่วง Covid-19, พงศกร เอื้อชีวกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นบทนี้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นโครงการวิจัย ประกอบด้วยการเปรียบเทียบรูปแบบการขนส่งการขนส่งแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ในเส้นทางไทย-จีนในช่วง Covid-19 รูปแบบการขนส่งทางเรือ ทางอากาศ และการขนส่งทางรถข้ามแดนที่เป็นการขนส่งทางหลัก ไปที่ประเทศจีน ในช่วง Covid -19 โดยประเภทสินค้าที่จะทำการศึกษาจะเป็น สินค้าแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีวัตถุประสงค์เพื่เปรียบเทียบการลดต้นทุนของการขนส่ง รวมถึงศึกษาประโยชน์ของรูปแบบการขนส่งในรูปแบบต่างๆ ซึ่งในช่วง Covid-19ที่ผ่านมาได้มีหลายปัจจัยที่ทำให้การขนส่งรูปแบบต่างๆเปลี่ยนแปลงไป เริ่มจากรวบรวมข้อมูลด้านการขนส่งในช่วงCovid-19 จากบริษัทกรณีศึกษาพร้อมกับศึกษาข้อมูลจากบริษัทผู้ขนส่งที่สามารถให้บริการได้หลากหลายรูปแบบเพื่อทราบถึงปัญหาในช่วงที่มีโรคระบาดเกิดขึ้นและศึกษาที่ต้นทุนค่าขนส่งแต่ละรูปแบบในช่วงCovid-19 และ ใช้กระบวนการวิเคราะห์ความสำคัญของปัจจัยต่างๆโดยเก็บรวบรวมการให้น้ำหนักจากผู้ผลิตแผงอิเล็กทรอนิกส์โดยกำหนดปัจจัยสำคัญในการขนส่งมา4อย่างได้แก่ ต้นทุนการขนส่งที่ประหยัด ความถี่ในการขนส่งที่สูง ระยะเวลาในการขนส่งที่สั้น และปริมาณการขนส่งต่อรอบจำนวนมาก โดยให้คะแนนการขนส่งทางเรือมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบคะแนนแล้ว แต่เนื่องจากสถานณการณ์ Covid-19 ทำให้การขนส่งทางรถข้ามแดนทางบกมีบทบาทมากขึ้นเนื่องจากสามารถประหยัดต้นทุนรองลงมาจากทางเรือและมีระยะเวลาการขนส่งที่รวดเร็วมากกว่าพร้อมทั้งสามารถกำหนดรอบการวิ่งได้ถี่และมั่นคงมากกว่าทางเรือ ส่วนการขนส่งทางอากาศถึงจะมีต้นทุนที่สูงที่สุดแต่เป็นการขนส่งที่มีระยะเวลาที่รวดเร็วที่สุดจึงจำเป็นอย่างมากในการใช้เติมสายการผลิตที่เร่งด่วนที่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วง Covid-19 โดยได้ใช้เครื่องมือการหาปริมาณหรือจำนวนการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสม (Economic Order Quantity) ด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม รวมกับการให้คะแนนของทางอื่นปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อการจัดส่ง


Gis Mapping Evaluation Of Stroke Service Areas In Bangkok Using Emergency Medical Services, Kiatirat Sreemongkol Jan 2021

Gis Mapping Evaluation Of Stroke Service Areas In Bangkok Using Emergency Medical Services, Kiatirat Sreemongkol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, stroke is the leading cause of death in Thailand. Patients must be treated within 4.5 hours from symptom onset to increase recovery rate. Time is therefore a critical factor of the success or failure of the treatments. The objective of this research is to investigate the service coverage of various healthcare centers through current Emergency Medical Services (EMS) in Bangkok. To get service coverages for Stroke in Bangkok, the updated speed of the traffic and the amount of time it takes for each mode of transport for the pre-hospital stroke process are collected and examined using GIS mapping. The …


การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนค่าขนส่งแบบเต็มคันระหว่างใช้ผู้ให้บริการขนส่งกับลงทุนรถขนส่งเอง : กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตรถบรรทุก, อธิการ ชาติศรีสัมพันธ์ Jan 2021

การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนค่าขนส่งแบบเต็มคันระหว่างใช้ผู้ให้บริการขนส่งกับลงทุนรถขนส่งเอง : กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตรถบรรทุก, อธิการ ชาติศรีสัมพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านต้นทุนในการลงทุนซื้อรถบรรทุกขนส่งสินค้าและบริหารงานขนส่งเอง เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้บริการจากผู้ให้บริการขนส่งอย่างที่ทำอยู่ในปัจจุบัน โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางการเงิน มาใช้ในการประเมินการใช้ประโยชน์และความคุ้มค่าที่จะลงทุน การวิจัยได้วิเคราะห์ถึงความต้องการในการใช้รถบรรทุกขนส่ง 6 ล้อของปีพ.ศ. 2563 พบว่ามีการใช้งานในเขตพื้นที่ 4 จังหวัด คือ จังหวัด ชลบุรี สระบุรี ระยอง และพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีปริมาณการใช้งานมากน้อยแตกต่างกันไป ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการแบ่งเป็น 4 โครงการ คือ โครงการที่ 1 ขอบเขตเฉพาะจังหวัดชลบุรี, โครงการที่ 2 ขอบเขตในจังหวัดชลบุรี และ สระบุรี, โครงการที่ 3 ขอบเขตในจังหวัดชลบุรี สระบุรี และ ระยอง และโครงการที่ 4 ขอบเขตในจังหวัดชลบุรี สระบุรี ระยอง และ พระนครศรีอยุธยาเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจเริ่มต้นโครงการซึ่งแต่ละโครงการมีจำนวนเที่ยวและลงทุนจำนวนรถไม่เท่ากัน ผลการศึกษาพบว่าปริมาณการใช้งานที่มากน้อยมีผลต่อความคุ้มค่าที่จะลงทุนรวมถึงผลตอบแทน และระยะเวลาคืนทุน ซึ่งทั้ง 4 โครงการอยู่ในเกณฑ์ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน แต่จะมีความแตกต่างกันออกไปในเรื่องของระยะเวลาคืนทุน ซึ่งโครงการที่ 1 ถึง 4 มีระยะเวลาคืนทุน 3 ปี 3 เดือน , 3 ปี 10 เดือน , 3 ปี 8 เดือน และ 3 ปี 2 เดือน ตามลำดับ นอกจากนั้น ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อความคุ้มค่าของโครงการในสถานะการณ์ปัจจุบันคือ ราคาน้ำมันดีเซลซึ่งมีความผันผวนและปรับราคาสูงขึ้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาในกรณีที่ราคาน้ำมันปรับราคาขึ้นถึง 35 บาทต่อลิตร ซึ่งทุกโครงการยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเป็นไปได้ และ มีความคุ้มค่าที่จะลงทุนซื้อรถบรรทุกขนส่งเอง


แบบจำลองทางเลือกเชิงพื้นที่สำหรับการตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากประจำ จังหวัดสุโขทัย, ณรัช วรากุลภิญโญ Jan 2021

แบบจำลองทางเลือกเชิงพื้นที่สำหรับการตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากประจำ จังหวัดสุโขทัย, ณรัช วรากุลภิญโญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อุทกภัยเป็นภัยธรรมชาติประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดซึ่งเกิดจากฝนตกหนัก หิมะละลายอย่างรวดเร็ว คลื่นพายุจากพายุไซโคลนเขตร้อนหรือสึนามิในพื้นที่ชายฝั่งทะเล ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน และคาดว่าความถี่และความรุนแรงของน้ำท่วมจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ประเทศไทยมักเกิดภัยพิบัตินี้อยู่เสมอ ซึ่งจังหวัดสุโขทัยเป็นอีกหนึ่งที่ต้องเผชิญกับปรากฏการณ์นี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้ว่าจะมีแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2563 แต่พื้นที่อพยพบางส่วนยังคงอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก วัตถุประสงค์ในศึกษาจึงทำการหาที่ตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวเพื่ออพยพประชาชนในพื้นที่และผู้ประสบภัยที่ต้องการสถานพยาบาล และหาเส้นทางที่เหมาะสมและสะดวกแก่ประชาชนในการอพยพจากหมู่บ้านไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราวและไปยังโรงพยาบาล การศึกษานี้ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และฟังก์ชันโซเวอร์ในไมโครซอฟต์ เอกซ์เซล เพื่อระบุตำแหน่งที่ตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว จากผลการวิจัยพบว่าในพื้นที่ที่ทำการศึกษามีหมู่บ้านจำนวน 41 หมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากประจำ แล้วสถานที่ตั้งโรงเรียนเป็นศูนย์พักพิงชั่วคราว โดยแบ่งการคำนวณออกเป็นร้อยละ 50 60 70 80 90 และ 100 ของประชากร ผลที่ได้จากการจำลองสถานการณ์ คือ จำนวนศูนย์พักพิงชั่วคราวสามารถรองรับผู้อพยพได้เพียงพอและมีระยะทางเฉลี่ยจากศูนย์พักพิงชั่วคราวไปยังโรงพยาบาลสั้นกว่าแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แต่ระยะทางเฉลี่ยรวมมากขึ้น


การแก้ไขปัญหาโรฮิงญาในมิติความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล, บุษยพรรณ ถิตานนท์ Jan 2021

การแก้ไขปัญหาโรฮิงญาในมิติความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล, บุษยพรรณ ถิตานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประเด็นปัญหาที่แท้จริงของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญา (2) เพื่อศึกษาผลกระทบของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาทางทะเลต่อความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล และ (3) เพื่อศึกษาหาแนวทาง และวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการ แก้ไขปัญหาของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างยั่งยืน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลปัญหาการลักลอบเข้าเมือง รวมทั้งทำการศึกษา ค้นคว้าแนวคิดและทฤษฎี รวมถึงเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการออกแบบคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า การหลบหนีเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโดยใช้เส้นทางทางทะเลมากขึ้น แต่ลดการแวะพักในประเทศไทยน้อยลง โดยมีต้นทางจากรัฐยะไข่ ประเทศพม่า ไปยังประเทศปลายทาง ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย หรือประเทศอินโดนีเซีย ใช้ประเทศไทยเป็นทั้งทางผ่านและปลายทางเช่นเดียวกัน ซึ่งสาเหตุของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญานั้นเปลี่ยนแปลงจากเหตุผลด้านเศรษฐกิจมาเป็นด้านของสิทธิ สถานะพลเมือง และการกดขี่ รวมถึงการใช้ความรุนแรง ซึ่งมีต้นเหตุมาจากประเทศต้นทาง โดยงานวิจัยในครั้งนี้สามารถสรุปถึงผลกระทบการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาต่อความมั่นคงของชาติทางทะเลได้ว่า มีผลกระทบในเชิงลบระดับปานกลาง โดยมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการใช้ประโยชน์จากทะเล แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมข้ามชาติ ขบวนการค้ามนุษย์ การใช้เรือไม่ชักธง และการหลบหนีเข้าเมืองทางทะเลซึ่งเป็นผลสืบเนื่องต่อความมั่นคงทางบก


ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล, ธมนวรรณ จงเจริญชัยวงศ์ Jan 2021

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล, ธมนวรรณ จงเจริญชัยวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และศึกษาลักษณะพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่เคยซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือ การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่าช่องทางการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ที่นิยม คือ Shopee และ Lazada ความถี่ในการสั่งซื้อส่วนใหญ่ซื้อเดือนละ 1 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการสั่งซื้อครั้งละ 501-1,000 บาท สินค้าที่นิยมซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ คือ ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสระผม และ ของใช้ในบ้าน เช่น น้ำยาทำความสะอาด กระดาษชำระ สาเหตุที่เลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ คือ ความสะดวกสบาย ราคา และโปรโมชั่นสินค้า นิยมชำระเงินผ่านบัตรเครดิต/บัตรเดบิต และชอบนโยบายการจัดส่งสินค้าแบบฟรีค่าจัดส่ง ไม่มียอดการสั่งซื้อขั้นต่ำ (ราคาสินค้ารวมค่าจัดส่ง) และยังคงจะซื้อสินค้ายี่ห้อเดิม แต่จะซื้อจากช่องทางออนไลน์อื่นที่มีราคาสินค้าและค่าจัดส่งที่ถูกกว่า ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 5 ปัจจัย ดังนี้ ปัจจัยด้านกายภาพและการนำเสนอ (Physical Evidence/Environment and Presentation) ปัจจัยการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ปัจจัยด้านการขนส่ง (Transportation) ปัจจัยด้านบุคคล (People) และปัจจัยผลิตภัณฑ์ (Product)


การคัดเลือกกลุ่มสินค้าเพื่อจัดเก็บในคลังสินค้าของโรงงานผลิต : กรณีศึกษา บริษัทผู้ผลิตสินค้าประเภทน้ำยาย้อมผม และน้ำยาบำรุงผม, อรรถพันธ์ สงกรานต์ Jan 2021

การคัดเลือกกลุ่มสินค้าเพื่อจัดเก็บในคลังสินค้าของโรงงานผลิต : กรณีศึกษา บริษัทผู้ผลิตสินค้าประเภทน้ำยาย้อมผม และน้ำยาบำรุงผม, อรรถพันธ์ สงกรานต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินทางเลือกของการย้ายกลุ่มสินค้าซึ่งถูกจัดเก็บอยู่ที่ศูนย์กระจายสินค้า ให้นำมาจัดเก็บที่โรงงานผลิตแทน เพื่อทำให้เกิดการขนส่งตรงจากโรงงานผลิตไปยังลูกค้าได้เลย ภายใต้เงื่อนไข หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดโดยบริษัทกรณีศึกษา โดยการประยุกต์กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ในการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงปริมาณ และปัจจัยเชิงคุณภาพที่ใช้ในการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ เพื่อหาผลลัพธ์ของทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดจากทางเลือกซึ่งประกอบด้วยสินค้า 3 กลุ่ม ในการวิจัยนี้ได้กำหนดค่าน้ำหนักความสำคัญของหลักเกณฑ์ ปัจจัย และทางเลือก จากการตอบแบบสอบถามจากผู้มีอำนาจในการตัดสินใจของบริษัท เมื่อได้ผลลัพธ์ของทางเลือกแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ความไวของหลักเกณฑ์ เพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือ และความเสถียรของทางเลือก ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักที่ส่งผลให้ทางเลือกเปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าน้ำหนัก ผลการดำเนินงานวิจัยพบว่า หลักเกณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกกลุ่มสินค้า ได้แก่ หลักเกณฑ์ด้านขั้นตอนการทำงาน ด้านต้นทุน ด้านการขนส่ง และด้านความเสี่ยง ตามลำดับ ส่วนปัจจัยรองที่มีผลต่อการเลือกกลุ่มสินค้า 3 อันดับ ได้แก่ ปัจจัยด้านความสามารถในการจองเรือ ต้นทุนการขนส่ง และการปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงาน ตามลำดับ จากการคำนวณตามกระบวนลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) สามารถสรุปได้ว่าสินค้ากลุ่มที่ 2 เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการย้ายมาจัดเก็บที่โรงงานผลิต และส่งตรงไปยังลูกค้า จากผลการวิเคราะห์ความไวพบว่า หากมีการปรับค่าน้ำหนักของหลักเกณฑ์ด้านต้นทุนเพิ่มขึ้นอีก 33% จะส่งผลให้สินค้ากลุ่มที่ 1 เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดแทน แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นน้อย เนื่องจากการลดต้นทุนรวมของการเลือกสินค้าทั้ง 3 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันมาก


การลดปัญหาการขาดแคลนสินค้าจากการล่าช้าในการขนส่งของธุรกิจนำเข้า-ส่งออกเคมีภัณฑ์, อัคพงษ์ จักสอง Jan 2021

การลดปัญหาการขาดแคลนสินค้าจากการล่าช้าในการขนส่งของธุรกิจนำเข้า-ส่งออกเคมีภัณฑ์, อัคพงษ์ จักสอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง การลดปัญหาการขาดแคลนสินค้าจากการล่าช้าในการขนส่ง ของธุรกิจนำเข้า – ส่งออกเคมีภัณฑ์ เป็นกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1. ลดปัญหาการขาดแคลนสินค้าขององค์กร 2. ปรับปรุงจุดสั่งซื้อใหม่ (Re-order Point : ROP) ให้มีประสิทธิภาพ 3. ลดต้นทุนในการจัดเก็บ และการสั่งซื้อสินค้า จากผลการศึกษาเรื่อง การลดปัญหาการขาดแคลนสินค้าจากการล่าช้าในการขนส่ง ของธุรกิจนำเข้า – ส่งออกเคมีภัณฑ์ การใช้จุดสั่งซื้อใหม่แบบเดิมที่บริษัทใช้อยู่ทำให้สินค้าเกิดความขาดแคลน เนื่องจากเกิดการล่าช้าในการผลิตและขนส่ง อีกทั้งเวลานำ (Lead time) ในการขนส่งจากประเทศเนเทอร์แลนด์ 120 วันซึ่งถือว่ามีระยะเวลานาน และยังมีความไม่แน่นอน ดังนั้นผู้วิจัยได้นำเครื่องมือ มาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร โดยการพยากรณ์ความต้องการ การกำหนดจุดสั่งซื้อใหม่ (Re-order Point : ROP) การกำหนดสินค้าเพื่อความปลอดภัย (Safety Stock) และการคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อประหยัด (Economic Order Quantity) เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสินค้าจากการล่าช้านการขนส่ง หรือ กรณีที่ฝ่ายขายมีการขายสินค้าเกินกว่า Demand ทำให้สินค้าเพียงพอต่อการขาย และผลจากการคำนวนพบว่า จากกรณีศึกษาสินค้าตัวอย่าง 5 รายการ มีผลให้ต้นทุนการสั่งซื้อและต้นทุนการเก็บรักษารวมลดลง 4,716,501.63 บาท หรือคิดเป็น 95%


การพยากรณ์ความต้องการเพื่อวางแผนการผลิตสินค้า : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์เซรามิก, สุภาภรณ์ สินวนาทรัพย์ Jan 2021

การพยากรณ์ความต้องการเพื่อวางแผนการผลิตสินค้า : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์เซรามิก, สุภาภรณ์ สินวนาทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บริษัทในกรณีศึกษาใช้วิธีการวางแผนการผลิตโดยอาศัยประสบการณ์ของผู้จัดการและพนักงานฝ่ายดูแลสินค้าคงคลังซึ่งส่งผลให้สินค้าในบางช่วงเวลาขาดแคลน ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนแผนการผลิตแบบฉับพลัน ส่งผลกระทบต่อสายการผลิต ทำให้ต้องหยุดเครื่องจักรเพื่อตั้งค่าใหม่ เสียโอกาสในการผลิตสินค้า และอัตราส่วนสินค้าที่ได้มาตรฐานจะลดลงจากค่าเฉลี่ย หรือบางครั้งก็เกิดปัญหาสินค้าคงคลังมีมากเกินความต้องการ เกิดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลังเพิ่มเติม และยังทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงขึ้นจากปกติ งานวิจัยชิ้นนี้จึงต้องการที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้การพยากรณ์ยอดขายสินค้าเข้ามาช่วยในการปรับปรุงแผนการผลิต เพื่อให้มีความแม่นยำและสอดคล้องกับคำสั่งซื้อจริงที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด งานวิจัยชิ้นนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลยอดขายย้อนหลังเป็นเวลา 36 เดือน โดยที่ใช้ข้อมูล 24 เดือนแรกในการหาตัวแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสม และใช้ข้อมูลอีก 12 เดือนที่เหลือในการวัดผล ซึ่งพบว่ารูปแบบของข้อมูลยอดขายของ 7 กลุ่มสินค้าหลัก มีลักษณะคงที่ ไม่มีแนวโน้มและไม่มีฤดูกาลเหมือนกันหมด จึงเลือกใช้วิธีวิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ วิธีการปรับเรียบเอกซ์โพเนนเชียลอย่างง่าย และวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ในการกำหนดตัวแบบที่เหมาะสมตามแต่ละกลุ่มสินค้า ก่อนที่จะทำการพยากรณ์ยอดขายและวางแผนการผลิตใหม่โดยมีเป้าหมายที่จะลดจำนวนครั้งที่ต้องสั่งผลิตสินค้าต่ำกว่ากำหนด และลดจำนวนสินค้าคงคลังและค่าใช้จ่ายในส่วนสินค้าคงคลังลง ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าแผนการผลิตใหม่ที่ใช้การพยากรณ์ยอดขายเข้ามาช่วยในการวางแผน สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของการเก็บรักษาสินค้าคงคลังโดยรวมลงเหลือ 4,188,094 บาท จากเดิม 4,646,831 บาท คิดเป็น 458,737 บาท หรือลดลง 9.87 %


การเปรียบเทียบต้นทุนระหว่างพาเลทแบบใช้ครั้งเดียวและพาเลทแบบหมุนเวียนของบริษัท : กรณีศึกษา ผู้ผลิตเม็ดพลาสติก, สิริพร เหล่าวงษ์สิริวัฒน์ Jan 2021

การเปรียบเทียบต้นทุนระหว่างพาเลทแบบใช้ครั้งเดียวและพาเลทแบบหมุนเวียนของบริษัท : กรณีศึกษา ผู้ผลิตเม็ดพลาสติก, สิริพร เหล่าวงษ์สิริวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่า ในด้านต้นทุนรวม ในการใช้พาเลทพลาติกหมุนเวียนหรือพาเลทไม้หมุนเวียน เพื่อทดแทนการใช้พาเลทไม้แบบใช้ครั้งเดียว เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อลดค่าใช้จ่ายของบริษัทกรณีศึกษา ผู้ผลิตเม็ดพลาสติก งานวิจัยฉบับนี้ประกอบไปด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลในอดีตที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง และการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัดเตรียมสินค้า การนับจำนวนสินค้า การจัดส่ง และการทำรับสินค้า ต่อมานำข้อมูลที่รวบรวมได้มาคำนวณประมาณการจำนวนพาเลทหมุนเวียนที่เหมาะสมในอนาคตและต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งเปรียบเทียบระหว่างการใช้พาเลทไม้ใช้ครั้งเดียวและพาเลทหมุนเวียน ผลการวิจัย พบว่าการลงทุนสำหรับพาเลทไม้หมุนเวียน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อยู่ที่ 3,422,441.70 บาท และพาเลทพลาสติกหมุนเวียนอยู่ที่ 3,198,231.26 บาท ดังนั้น ผู้วิจัยจึงแนะนำให้บริษัทกรณีศึกษาเปลี่ยนจากการใช้งานพาเลทไม้ใช้ครั้งเดียวมาเป็นพาเลทไม้หมุนเวียน เนื่องจาก ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ได้รับมีค่าสูงกว่า และโครงการนี้คุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งวิจัยฉบับนี้สามารถนำมาเป็นแนวทางให้บริษัทสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนด้านการขนส่งสินค้าต่อไป


การลดระยะเวลาการขนส่งและความเต็มใจที่จะจ่ายในการใช้บริการขนส่งภายในวันเดียวในเขตกรุงเทพมหานคร, วริทธิ์ ลิ้มสัมพันธ์ Jan 2021

การลดระยะเวลาการขนส่งและความเต็มใจที่จะจ่ายในการใช้บริการขนส่งภายในวันเดียวในเขตกรุงเทพมหานคร, วริทธิ์ ลิ้มสัมพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการลดระยะเวลาการขนส่งพัสดุให้สามารถส่งแบบภายในวัน (Same Day Delivery) ในเขตกรุงเทพมหานครของบริษัทผู้ให้บริการขนส่งและโลจิสติกส์เอกชนแห่งหนึ่งและศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายในการใช้บริการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางการปรับปรุงขั้นตอนการขนส่งและความสูญเปล่าที่เกิดขี้นในด้านของระยะเวลา โดยการสัมภาษณ์พนักงานที่เกี่ยวข้อง และการหาความสูญเปล่า 7 ประการ (7 Wastes) ที่เกิดขึ้น และนำเครื่องมือการลดความสูญเปล่าด้วยหลักการ ECRS ได้แก่ การกำจัด (Eliminate) การรวมกัน (Combine) การจัดใหม่ (Re-arrange) และการทำให้ง่าย (Simplify) มาปรับปรุงกระบวนการขนส่งและกระจายพัสดุของบริษัทจากขนส่งแบบวันถัดไป (Next Day Delivery) เป็นขนส่งแบบภายในวัน (Same Day Delivery) ภายในเขตกรุงเทพมหานคร จากการศึกษาและวิเคราะห์พบว่า กระบวนการหลังจากการปรับปรุงในเรื่องขั้นตอนกระบวนการกระจายพัสดุ ลดลงร้อยละ 28.57 ในเรื่องของระยะเวลาเฉลี่ยในการขนส่งพัสดุ ลดลงร้อยละ 58.03 และในเรื่องต้นทุนการกระจายพัสดุ พบว่าต้นทุนการกระจายพัสดุหลังการปรับปรุงจะเพิ่มขึ้นจากกระบวนการปัจจุบันร้อยละ 85.97 พร้อมทั้งทำการศึกษาแนวโน้มความสนใจที่จะใช้บริการและราคาที่ผู้ใช้บริการเต็มใจที่จะจ่าย (Willingness to Pay) ผ่านการทำแบบสอบถาม ซึ่งผลการศึกษาพบว่าประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด มีผู้ให้ราคาที่เต็มใจจ่ายมากที่สุดอยู่ที่ราคา 200 บาท และเต็มใจจ่ายที่ราคาน้อยที่สุดอยู่ที่ 39 บาท โดยมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายในการใช้บริการขนส่งพัสดุภายในวันในเขตกรุงเทพมหานครมีมูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 47.8 บาท โดยจากการศึกษางานวิจัยดังกล่าวเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจทำบริการขนส่งพัสดุภายในวันเดียว รวมถึงให้กระบวนการขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การลดระยะเวลาที่สูญเปล่าในกระบวนการทำงานต่อไป


การลดความคลาดเคลื่อนของวัตถุดิบคงคลัง กรณีศึกษาบริษัทแปรรูปอาหารแช่แข็ง, วาทินี ปทุมผาย Jan 2021

การลดความคลาดเคลื่อนของวัตถุดิบคงคลัง กรณีศึกษาบริษัทแปรรูปอาหารแช่แข็ง, วาทินี ปทุมผาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาความคลาดเคลื่อนของวัตถุดิบคงคลังบริษัทแปรรูปอาหารแช่แข็ง ที่ส่งผลกระทบต่อแผนการผลิตทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ ต้องขอเลื่อนแผนการส่งออก ทำให้ระดับความพึงพอใจของลูกค้าลดลง การศึกษาปัญหาใช้วิธีวิเคราะห์กิจกรรมในกระบวนการไหลของวัตถุดิบแต่ละแผนกที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกและการสำรวจข้อมูลภาคสนามในการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ตั้งแต่การวางแผนวัตถุดิบ จนวัตถุดิบถูกผลิตเป็นสินค้า ผลจากการศึกษาพบว่าปัญหาความคลาดเคลื่อนของวัตถุดิบเกิดจากปัจจัยหลัก 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านคน เช่น การบันทึกข้อมูลการรับวัตถุดิบผิดพลาด 2) ปัจจัยด้านขั้นตอนการทำงาน จากการทำงานร่วมกันหลายระบบส่งผลให้การถ่ายโอนข้อมูลไม่สอดคล้องกัน จากการศึกษาในครั้งนี้จึงได้เสนอแนะแนวทางการลดความคลาดเคลื่อนโดย 1) การนำระบบบาร์โค้ดมาใช้เพื่อลดข้อผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลการรับวัตถุดิบและการจัดเก็บวัตถุดิบ 2) การใช้ ABC Classification ในการกำหนดวงรอบการนับวัตถุดิบและการปรับยอด 3) การกำหนดความถี่การถ่ายโอนข้อมูลอัตโนมัติของระบบให้เหมาะสม 4) การก่อสร้างพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อรองรับปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น


การเปรียบเทียบการขนส่งที่เกิดจากการทดแทนขนาดตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเล, ภุมมรัตน์ ล่องพริก Jan 2021

การเปรียบเทียบการขนส่งที่เกิดจากการทดแทนขนาดตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเล, ภุมมรัตน์ ล่องพริก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการขนส่งที่เกิดจากการทดแทนขนาดตู้คอนเทนเนอร์ และ การรอตู้คอนเทนเนอร์ กรณีศึกษา บริษัทตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งออกสินค้าทางทะเล การวิจัยเป็นการผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่การวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางบกและทางทะเลแล้วนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่าใช้จ่ายในการทดแทนตู้คอนเทนเนอร์ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความคิดเห็นในการยอมรับการทดแทนขนาดตู้คอนเทนเนอร์และการรอตู้คอนเทนเนอร์ โดยทำการเปรียบเทียบรูปแบบการขนส่งทั้งสองกรณี เพื่อแนวทางเลือกในการตัดสินใจให้กับผู้ส่งออก ผลการศึกษาพบว่า ผู้ออกส่งร้อยละ 90 จากกลุ่มผู้ตัวอย่าง ภายใต้เงื่อนไขเทอมการค้า FOB ยอมรับการทดแทนตู้คอนเทนเนอร์ เนื่องจากมีต้นทุนขนส่งที่เกิดจากการทดแทนตู้คอนเทนเนอร์ที่ต่ำกว่าต้นทุนขนส่งที่เกิดจากการรอในการรอตู้คอนเทนเนอร์ นอกจากนี้ยังสามารถส่งออกสินค้าได้ทันเวลาตามที่กำหนดไว้ และสินค้าที่ผู้ส่งออกยอมรับการทดแทนตู้นั้น เป็นสินค้าที่ปลายทางต้องการสินค้าเร่งด่วน และสินค้าบริโภคที่เน่าเสียง่าย ส่วนผู้ส่งออกที่ยอมรับการรอตู้คอนเทนเนอร์ ร้อยละ 10 นั้นพบว่าผู้ส่งออกไม่พบต้นทุนขนส่งที่เกิดขึ้นจากการรอคอนเทนเนอร์ เนื่องจาก ผู้ส่งออกมีที่พักเก็บสินค้าแบบไม่ต้องเสียค่าใช้ในการจัดเก็บ โดยสินค้าที่ทำการส่งออกเป็นสินค้าที่น้ำหนักมากเกินไปกว่าที่ตู้ขนาดอื่นจะสามารถรับน้ำหนักทดแทนได้ และผู้ส่งออกไม่ยินยอมการตัดจำนวนสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ อีกทั้งปลายทางไม่ได้ต้องการที่สินค้าเร่งด่วน โดยยอมรับการรอส่งออกในเรือลำถัดไปโดยใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 7วันในการรอตู้คอนเทนเนอร์


การวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว : กรณีศึกษาการเกิดอุทกภัย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช, กนกวรรณ เกิดมีทรัพย์ Jan 2021

การวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว : กรณีศึกษาการเกิดอุทกภัย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช, กนกวรรณ เกิดมีทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวกรณีศึกษาการเกิดอุทกภัย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว กรณีเกิดเหตุอุทกภัย ภายในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากภายในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชเกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ส่งผลให้บางหมู่บ้านต้องอพยพออกจากแหล่งอาศัยเดิม ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์หาพื้นที่ในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมซ้ำซากบ่อยครั้งขึ้นไปเพื่อใช้เป็นต้นทางในการอพยพ และวิเคราะห์หาสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพที่สามารถรองรับผู้อพยพได้ เพื่อพิจารณาความสามารถในการรองรับผู้อพยพได้อย่างเพียงพอ จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์เส้นทางและระยะทางในการการอพยพของผู้ประสบภัย ผ่านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ผลการวิเคราะห์พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมซ้ำซากบ่อยครั้งขึ้นไปในพื้นที่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า มีพื้นที่ 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่างิ้ว ตำบลท่าซัก ตำบลท่าเรือ ตำบลท่าไร่ ตำบลนาเคียน ตำบลนาทราย ตำบลบางจาก ตำบลปากนคร ตำบลปากพูน ตำบลโพธิ์เสด็จและตำบลมะม่วงสองต้น และหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบรวม 65 หมู่บ้าน คิดเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมประมาณ 36.88 ตร.กม. หรือประมาณ 23,050 ไร่ มีประชากรได้รับผลกระทบและต้องอพยพออกจากพื้นที่น้ำท่วมประมาณ 7,924 คน และเมื่อพิจารณาสถานศึกษาที่มีศักยภาพในการรองรับผู้อพยพ ประกอบกับการวิเคราะห์หาเส้นทางและระยะทางในการอพยพแล้วพบว่า สถานศึกษาภายในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช 63 แห่ง สามารถรองรับผู้อพยพได้อย่างเพียงพอ และใช้ระยะทางที่น้อยที่สุดในการอพยพ


การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังประเภทอะไหล่รถยนต์, โชติรส แซ่อึ้ง Jan 2021

การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังประเภทอะไหล่รถยนต์, โชติรส แซ่อึ้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังประเภทอะไหล่รถยนต์ เป็นกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1. ลดต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลังโดยการมีต้นทุนต่ำที่สุดและมีปริมาณสินค้าที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า 2. จัดกลุ่มสินค้าตามลำคับความสำคัญและวางแผนการจัดสินค้าคงคลังในหมวดต่างๆให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 3. ลดปริมาณการจัดเก็บสินค้าคงคลังสำรองในรายการสินค้าที่มีมากเกินความต้องการและเพื่อหาจุดสั่งซื้อใหม่ ที่มีความเหมาะสมกับปริมาณการขาย จากผลการศึกษาเรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังประเภทอะไหล่รถยนต์ การจัดการสินค้าคงคลังแบบเดิมของบริษัทมีต้นทันที่สูงเนื่องจากมีการเก็บสินค้าไว้จำนวนมากเกินไปส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสูงตามไปด้วย ดังนั้นผู้วิจัยได้นำเครื่องมือต่างๆมาพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินค้าคงคลัง ซึ่งมีวิธีการจัดลำดับความสำคัญของสินค้าคงคลังโดยใช้เทคนิค ABC Classification การพยากรณ์ความต้องการ การคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อประหยัด (Economic Order Quantity) การกำหนดจุดสั่งซื้อใหม่ (Reorder Point : ROP) และการกำหนดสินค้าเพื่อความปลอดภัย (Safety Stock) ทำให้ต้นทุนรวมของบริษัทกรณีศึกษาทั้ง 5 รายการลดลงเท่ากับ 1,708,849.34 บาทหรือ 15%


การพยากรณ์ความต้องการและการกำหนดนโยบายพัสดุคงคลังผู้ผลิตยากรณีศึกษาบริษัท Aaa, ธราเทพ คำมูล Jan 2021

การพยากรณ์ความต้องการและการกำหนดนโยบายพัสดุคงคลังผู้ผลิตยากรณีศึกษาบริษัท Aaa, ธราเทพ คำมูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบโมเดลการพยากรณ์ที่เหมาะสมให้กับสินค้าที่ทำรายได้หลักให้กับบริษัทกรณีศึกษา เนื่องจากในปัจจุบันบริษัทกรณีศึกษาไม่มีรูปแบบการพยากรณ์ยอดขายสินค้าไม่ชัดเจนโดยทำการพยากรณ์ความต้องการล่วงหน้าและทำการวัดค่าความคลาดเคลื่อน (Error) เพื่อเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับแต่ละสินค้า อีกทั้งยังทำการศึกษานโยบายพัสดุคงคลังในปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษา โดยมุ่งเน้นเป้าหมายไปที่การลดต้นทุนพัสดุคงคลัง โดยในปัจจุบันพบว่าบริษัทกรณีศึกษามีระดับพัสดุคงคลังสูงซึ่งมีความไม่สอดคล้องไปในแนวเดียวกับความต้องการทำให้บริษัทกรณีศึกษามีค่าการเก็บรักษาสินค้าสูงตามไปด้วยเช่นกัน โดยนำค่าพยากรณ์ที่ได้มาช่วยในการกำหนดนโยบายพัสดุคงคลังรูปแบบใหม่ขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบกับนโยบายพัสดุคงคลังรูปแบบปัจจุบันรวมทั้งใช้วิธีการจำลองสถานการณ์เพื่อสร้างนโยบายพัสดุคงคลังที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลการศึกษาพบว่าภายใต้ขอบเขตการวิจัยสินค้าแต่ละชนิดมีรูปแบบการพยากรณ์ที่แตกต่างกันโดยต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย การวิจัยนี้สามารถแก้ปัญหาระดับพัสดุคงคลังของบริษัทกรณีศึกษาได้โดยนโยบายพัสดุคงรูปแบบใหม่สามารถลดต้นทุนรวมต่อปีได้หากเทียบกับนโยบายพัสดุคงคลังในรูปแบบปัจจุบัน


การวิเคราะห์ที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าลำไยสดในภาคเหนือที่เหมาะสมเพื่อการส่งออกไปยังประเทศจีน, พิมพ์ชนก วัทคุวัทพงษ์ Jan 2021

การวิเคราะห์ที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าลำไยสดในภาคเหนือที่เหมาะสมเพื่อการส่งออกไปยังประเทศจีน, พิมพ์ชนก วัทคุวัทพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์ที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าลำไยสดในภาคเหนือที่เหมาะสมเพื่อการส่งออกไปยังประเทศจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมลำไยสดจากเดิมที่อยู่กันแบบกระจัดกระจายในภาคเหนือก่อนการส่งออกเพื่อสู้กับโรงรับซื้อผลไม้จีนเนื่องจากการผูกขาดการซื้อขายและการกำหนดราคาผลไม้ไทยในปัจจุบัน หากปล่อยไว้โดยไม่มีการแก้ไข การป้องกัน หรือการควบคุม ธุรกิจการค้าผลไม้ไทยเพื่อการส่งออกอาจประสบวิกฤตได้ ในการคัดเลือกปัจจัยจะใช้หลักทฤษฎีการเลือกทำเลที่ตั้งตามแนวมหภาคและจุลภาค โดยเลือกหัวข้อหลักในการคัดเลือกอิงตามองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าประเภทเดียวกัน เพื่อกำหนดเป็นปัจจัยที่จะใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกจังหวัดที่เหมาะสมสำหรับที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้า พร้อมทั้งการนำเกณฑ์ด้านกฎกระทรวงและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เป็นตัวคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในจังหวัดนั้น โดยศูนย์กระจายสินค้าลำไยสดที่ต้องการจัดตั้งจะรับเอาผลผลิตจากแหล่งลำไยสด 50 อำเภอที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกใน 5 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา และจังหวัดน่าน ปลายทางของการส่งออกของไทยจะสิ้นสุดที่ด่านเชียงของ จังหวัดเชียงราย ผลการคัดเลือกพบว่า พื้นที่ที่เหมาะสมตามเกณฑ์คือพื้นที่สีม่วงในตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดยด้านเหนือจรดเส้นขนานระยะ 300 เมตรกับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1006 ด้านตะวันออกจรดเหมืองร่องเชี่ยวฝั่งตะวันตก ด้านใต้จรดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1006 ฟากเหนือ ด้านตะวันตกจรดน้ำแม่คาวฝั่งตะวันออก และการวิเคราะห์เมทริกซ์ระยะทางระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดปลายทาง (Origin-Destination cost matrix analysis) พบว่า พื้นที่ใกล้วัดบ้านมอญ ตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่ควรจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า โดยสามารถรับเอาลำไยสดได้สูงสุดทั้งหมด 50 อำเภอ และจำนวนลำไยที่ส่งออกไปยังประเทศจีนคิดเป็นประมาณ 690,533 ตัน/ปี


การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น บริษัทกรณีศึกษา : บริษัทรองเท้าและเสื้อผ้ากีฬา, ทศพล ทาเทพ Jan 2021

การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น บริษัทกรณีศึกษา : บริษัทรองเท้าและเสื้อผ้ากีฬา, ทศพล ทาเทพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ในการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าบริษัทกรณีศึกษารองเท้าและเสื้อผ้ากีฬา ซึ่งเป็นการพิจารณาปัจจัยเชิงคุณภาพและปัจจัยเชิงประมาณเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมในการตั้งคลังสินค้า โดยที่ทางเลือกในการตั้งคลังสินค้า 2 ทำเล คือ คลังสินค้าบางปะอิน และ คลังสินค้าบางนา การกำหนดงานวิจัยได้ใช้ผลคะแนนของค่าน้ำหนักความสำคัญที่ได้รับจากแบบสอบถามของผู้มีประสบการณ์ทางด้านโลจิสติกส์และมีสิทธิ์ในการตัดสินใจเพื่อหาค่าลำดับความสำคัญให้ได้ทางเลือกที่เหมาะสมกับบริษัทกรณีศึกษา นอกจากนี้เพื่อความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของทางเลือกที่ได้รับ ผู้วิจัยจึงมีการวิเคราะห์ความไวของหลักเกณฑ์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของทางเลือกที่มีความเสถียรและไม่เปลี่ยนแปลงไปตามค่าน้ำหนักความสำคัญของหลักเกณฑ์ที่ผู้วิจัยนำใช้ในการพิจารณา จากผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกที่ตั้งคลังสินค้าที่ได้จากการเก็บแบบสอบถาม ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือปัจจัยเชิงปริมาณได้แก่ ปัจจัยด้านต้นทุนการขนส่งและด้านต้นทุนการจัดการคลังสินค้า อีกส่วนคือปัจจัยเชิงคุณภาพได้แก่ การเข้าถึงลูกค้า ระบบสาธารณูปโภค ความพร้อมของระบบคมนาคม สังคมและชุมชน การก่อมลพิษจากการขนส่ง สภาพภูมิประเทศ และ ผลกระทบจากการจราจร อีกทั้งมีการแบ่งหลักเกณฑ์ตามนโยบายบริษัท คือ นโยบายด้านความยั่งยืนโดยแบ่งเป็น ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้หลักเกณฑ์ที่ใช้มีความสอดคล้องกับการดำเนินงานของบริษัท และได้เพิ่มหลักเกณฑ์ทางด้านต้นทุนที่แต่เดิมทางบริษัทใช้ในการพิจารณา โดยผลที่ได้จากการพิจารณากระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ และ วิเคราะห์ความไวของหลักเกณฑ์ พบว่าทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการจัดตั้งคลังสินค้าของบริษัทกรณี คือ คลังสินค้าบางนา


การวิเคราะห์ที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าของชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องจักรของ ท่าเรือแหลมฉบังในเขตพื้นที่ Eec กรณีศึกษาบริษัท Abc, ธนิสา รัตนโชติถาวร Jan 2021

การวิเคราะห์ที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าของชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องจักรของ ท่าเรือแหลมฉบังในเขตพื้นที่ Eec กรณีศึกษาบริษัท Abc, ธนิสา รัตนโชติถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์ที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าของชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องจักรของท่าเรือแหลมฉบัง ในเขตพื้นที่ EEC กรณีศึกษาบริษัท ABC มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าที่เหมาะสมให้กับบริษัทกรณีศึกษา เพื่อประโยชน์ทางด้านธุรกิจในการขยายกิจการของบริษัท และเพื่อเพิ่มความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ผู้วิจัยได้ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นเครื่องมือหลักในงานวิจัยชิ้นนี้ โดยได้มีการแบ่งการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง การวิเคราะห์ที่ตั้งศักยภาพของศูนย์กระจายสินค้า ด้วยการซ้อนทับชั้นข้อมูล ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยเกณฑ์ที่กำหนด ได้มาจากการทบทวนวรรณกรรม และจากหน่วยงานราชการต่างๆ ส่วนที่สอง การวิเคราะห์เลือกพื้นที่ที่เหมาะสมที่มีระยะทางรวมไปยังโรงงานลูกค้า ดีที่สุด 3 อันดับแรก โดยวิเคราะห์ร่วมกับปริมาณความต้องการสินค้าของแต่ละโรงงาน ด้วยวิธีการวิเคราะห์เมทริกซ์ค่าใช้จ่ายระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดปลายทาง (Origin-Destination Cost Matrix Analysis) และในส่วนที่สาม การคัดกรองพื้นที่ที่มีความเหมาะสมที่สุด โดยแบ่งออกเป็น 1) การคัดกรองพื้นที่ตามปัจจัยขนาดพื้นที่ 2) การคัดกรองพื้นที่ตามปัจจัยโบราณสถานและกิจการบริการสาธารณะ และ 3) การคัดกรองพื้นที่ตามปัจจัยราคาที่ดิน จากการวิเคราะห์ สามารถสรุปผลการศึกษาได้ว่า พื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าของบริษัทกรณีศึกษา ควรอยู่ในบริเวณตำบลหนองขาม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีพื้นที่รวม 155,085.16 ตารางเมตร มีความเหมาะสมทั้งขนาดพื้นที่ ราคาที่ดิน ระยะทางและปริมาณความต้องการสินค้า


การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด, ปริญญารัตน์ บุตรเงิน Jan 2021

การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด, ปริญญารัตน์ บุตรเงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับการตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด โดยเป็นการวิเคราะห์ผ่านระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ซึ่งปัจจัยได้จากการทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากการวิเคราะห์ 5 ปัจจัยในการเลือกพื้นที่ทางเลือกที่เหมาะสม พบว่า ปัจจัยขนาดพื้นที่เหมาะสมรวมถึงปัจจัยขอบเขตความปลอดภัยคือ พื้นที่ทางเลือกที่ 1, 3 และ 6 ปัจจัยเส้นทางคมนาคมหลักในนิคมอุตสาหกรรมคือ พื้นที่ทางเลือก 1, 2, 3, 5 และ 6 ปัจจัยเส้นทางการวางท่อส่งเชื้อเพลิงจากสถานีส่งเชื้อเพลิงภายในนิคมอุตสาหกรรม คือ พื้นที่ทางเลือก 1, 2, 3 และ 6 พบว่า พื้นที่ทางเลือก 1, 3 และ 6 ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด ในส่วนของการคัดกรองปัจจัยเพื่อหาทำเลที่เหมาะสมในพื้นที่ทางเลือก 1, 3 และ 6 พบว่า พื้นที่ทางเลือกที่ 1 ทางทิศใต้เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด


การปรับปรุงนโยบายการจัดการสินค้าคงคลัง : กรณีศึกษาบริษัทเทรดดิ้งชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, พิมพ์ธาดา สุวรรณสมพงศ์ Jan 2021

การปรับปรุงนโยบายการจัดการสินค้าคงคลัง : กรณีศึกษาบริษัทเทรดดิ้งชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, พิมพ์ธาดา สุวรรณสมพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาของการบริหารจัดการสินค้าคงคลังและกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงนโยบายสินค้าคงคลัง เพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยใช้การวิเคราะห์ ABC-XYZ Analysis เป็นเครื่องมือแบ่งกลุ่มสินค้า และใช้วิธีการควบคุมสินค้าคงคลังแบบกำหนดรอบ (Periodic Inventory System) จากนั้นทำการเปรียบเทียบตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังด้านต้นทุน เวลา และความน่าเชื่อถือในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผู้วิจัยได้คัดเลือกสินค้าเพื่อการศึกษาจำนวน 2 รายการ ซึ่งประสบปัญหาแตกต่างกัน ทำให้การคำนวณหาปริมาณสินค้าคงคลังสำรอง (Safety Stock) นั้นแตกต่างกัน ได้แก่ 1) สินค้าจากกลุ่ม AY ที่ยอดขายสูงมาก แต่มีความต้องการสินค้าและระยะเวลาจัดส่งที่แปรผัน 2) สินค้าจากกลุ่ม BX ที่ยอดขายสูง มีความต้องการสินค้าคงที่ แต่มีระยะเวลาจัดส่งแปรผัน อีกทั้งมีการกำหนดใช้ระดับการให้บริการ (Customer Service Level) ในหลายระดับสำหรับทดสอบและเปรียบเทียบผลลัพธ์จากตัวชี้วัดประสิทธิภาพ ผลจากการวิจัย พบว่าสามารถกำหนดแนวทางในการปรับปรุงนโยบายการจัดการสินค้าคงคลังได้ 3 แนวทาง ดังนี้ 1) มุ่งเน้นการตอบสนองการความต้องการอย่างสูงสุด 2) เพิ่มการตอบสนองความต้องการให้ดีเทียบเท่าในอดีต 3) เน้นควบคุมต้นทุนสินค้าคงคลัง และเพิ่มการตอบสนองความต้องการให้ดีขึ้นจากปัจจุบัน โดยเมื่อเทียบกับนโยบายปัจจุบันพบว่าทั้งสามแนวทางส่งผลให้ต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น 3.4% 2.3% และ 1.5% ตามลำดับ แต่จะทำให้ต้นทุนการเสียโอกาสในการขายและอัตราจำนวนสินค้าสำเร็จรูปขาดมือลดลงอย่างมาก ในขณะที่ระยะเวลาที่ใช้ในการขายสินค้าคงคลังคงเหลือจะเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียง 1 วันเท่านั้น


ความเต็มใจที่จะจ่ายค่าขนส่งแบบ On-Demand Deliveryในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล : กรณีศึกษา ห้างสรรพสินค้า, จิรักข์ เสือป่า Jan 2021

ความเต็มใจที่จะจ่ายค่าขนส่งแบบ On-Demand Deliveryในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล : กรณีศึกษา ห้างสรรพสินค้า, จิรักข์ เสือป่า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ ปัจจัยทางด้านพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการขนส่งสินค้าด่วนแบบ On-demand Delivery รวมถึงศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการขนส่งสินค้าด่วนแบบ On-demand delivery ของลูกค้าห้างสรรพสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์จำนวน 956 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง พร้อมทำการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคแบบทวิ (Binary Logistic Regression) พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจจ่ายค่าขนส่งด่วนแบบ On-demand Delivery จากการซื้อสินค้าประเภทแฟชั่นผ่านช่องทางออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา และ มูลค่าการซื้อสินค้าต่อครั้งมากกว่า 12,000 บาท ในขณะที่ราคาค่าขนส่งด่วนแบบ On-demand Delivery เริ่มต้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง เขตชั้นนอก และปริมณฑล มีความสัมพันธ์เชิงบวก กล่าวคือ หากราคาค่าขนส่งเพิ่มขึ้น 1 เท่า จะทำให้โอกาสการจ่ายค่าขนส่งด่วนแบบ On-demand Delivery ลดลง 0.162, 0.183, 0.200 และ 0.193 เท่า ตามลำดับ ในทางกลับกัน หากราคาค่าขนส่ง ลดลง 0.5 เท่า (50%) จะทำให้โอกาสการจ่ายค่าขนส่งด่วนฯ เพิ่มขึ้น 2.483, 2.339, 2.235 และ 2.276 เท่า ตามลำดับ จากผลการศึกษาข้างต้น ทำเพื่อให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างละเอียด และสามารถนำไปวางกลยุทธ์สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา ปรับปรุงการให้บริการขนส่งสินค้าประเภทเสื้อผ้าแฟชั่นได้อย่างเหมาะสม


ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล, ธมนวรรณ จงเจริญชัยวงศ์ Jan 2021

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล, ธมนวรรณ จงเจริญชัยวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และศึกษาลักษณะพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่เคยซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือ การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่าช่องทางการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ที่นิยม คือ Shopee และ Lazada ความถี่ในการสั่งซื้อส่วนใหญ่ซื้อเดือนละ 1 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการสั่งซื้อครั้งละ 501-1,000 บาท สินค้าที่นิยมซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ คือ ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสระผม และ ของใช้ในบ้าน เช่น น้ำยาทำความสะอาด กระดาษชำระ สาเหตุที่เลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ คือ ความสะดวกสบาย ราคา และโปรโมชั่นสินค้า นิยมชำระเงินผ่านบัตรเครดิต/บัตรเดบิต และชอบนโยบายการจัดส่งสินค้าแบบฟรีค่าจัดส่ง ไม่มียอดการสั่งซื้อขั้นต่ำ (ราคาสินค้ารวมค่าจัดส่ง) และยังคงจะซื้อสินค้ายี่ห้อเดิม แต่จะซื้อจากช่องทางออนไลน์อื่นที่มีราคาสินค้าและค่าจัดส่งที่ถูกกว่า ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 5 ปัจจัย ดังนี้ ปัจจัยด้านกายภาพและการนำเสนอ (Physical Evidence/Environment and Presentation) ปัจจัยการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ปัจจัยด้านการขนส่ง (Transportation) ปัจจัยด้านบุคคล (People) และปัจจัยผลิตภัณฑ์ (Product)


Contributing Factors In Aircraft Accidents Triggering Fatalities, Prakayphet Chalayonnawin Jan 2021

Contributing Factors In Aircraft Accidents Triggering Fatalities, Prakayphet Chalayonnawin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Air transport has always been considered the safest way to travel. It has contributed numerous economic and social benefits, for instance, connecting multimodal modes of transportation, increasing employment, driving global and local economic activities, reducing travel time and generating trade, tourism, and services, connecting people and countries, and supporting humanitarian activities in a remote rural area. Historical records on the fatality ratio suggested that air transportation has the highest likelihood of accidents (occurrences with fatalities) when compared to all other transportation modes, including highway, railroad, and water. Then, when an accident occurs, it largely affects various stakeholders. This study aims …


การบูรณาการระบบแสดงตนอัตโนมัติกับการตระหนักรู้ภาพสถานการณ์ทางทะเลของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.), จุฑามาศ พบสุข Jan 2021

การบูรณาการระบบแสดงตนอัตโนมัติกับการตระหนักรู้ภาพสถานการณ์ทางทะเลของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.), จุฑามาศ พบสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) กับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ด้วยข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ที่มาจากการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญในการสัมภาษณ์ แสดงความคิดเห็น ผ่านแบบสอบถามของเทคนิค Delphi กำหนดประเด็นสำคัญของปัญหา เพื่อสร้างเครื่องมือและเก็บข้อมูล นำมาใช้สรุปผล วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อแสดงว่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเป็นหนึ่งเดียวกันในการบูรณาการระบบ AIS และการผลักดันเชิงนโยบายของ MDA ผลการวิจัยพบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความเข้าใจการตระหนักรู้ภาพสถานการณ์ทางทะเล โดยเชื่อว่าการให้อำนาจผู้นำประเทศ ในด้านนโยบายเกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ส่งผลต่อความมั่นคงทางทะเลและยุทธศาสตร์ของประเทศที่ยั่งยืน โดยพบประเด็นปัญหาในเรื่องที่ MDA มีผลในเรื่องของแผนยุทธศาสตร์ ที่ใช้ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติในทุกด้าน จึงจำเป็นที่ต้องกำหนดหน่วยงานที่เข้าได้ถึงชั้นข้อมูลเพื่อการรักษาชั้นความลับ โดยให้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็นผู้ดำเนินการ อาศัยข้อมูลจากระบบ AIS เพื่อการรักษาความปลอดภัยในทะเลและตรวจสอบเรือที่ละเมิดอธิปไตยและกระทำผิดกฎหมาย ในน่านน้ำไทย โดยต้องดำเนินการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านเศรษฐกิจและผลประโยชน์สูงสุดที่ยั่งยืน ที่เกี่ยวเนื่องกับทะเลในทุกมิติ


การมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่งในการลดขยะบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการ, ฉัฐสุรีย์ รุ่งเจริญ Jan 2021

การมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่งในการลดขยะบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการ, ฉัฐสุรีย์ รุ่งเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและการมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่งในการจัดการขยะบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้การออกแบบการวิจัยเชิงพรรณา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติเชิงอนุมาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือประชาชนในชุมชน 2 ฝั่ง ซึ่งได้แก่ อำเภอเมือง และอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยเลือกเก็บข้อมูลชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณริมปากแม่น้ำเจ้าพระยาโดยเฉพาะ สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ย (t-test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance) เพื่อทดสอบสมมุติฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีการตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาขยะในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.58±0.94) และมีส่วนร่วมในการลดขยะในภาพรวมอยู่ในระดับบางครั้ง (ค่าเฉลี่ย 2.22±0.55) 2) ประชาชนที่มีเพศ อายุ อาชีพ อาชีพเสริม สถานภาพในครอบครัว จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนแตกต่างกัน มีการตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาของขยะแตกต่างกัน และประชาชนที่มีเพศ อายุ อาชีพ อาชีพเสริม จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนแตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการลดขยะแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


การเลือกใช้เทคนิคพยากรณ์สำหรับสินค้าประเภทเวชภัณฑ์, อธิเมศร์ เชาว์สุทธิศักดิ์ Jan 2021

การเลือกใช้เทคนิคพยากรณ์สำหรับสินค้าประเภทเวชภัณฑ์, อธิเมศร์ เชาว์สุทธิศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการเลือกใช้เทคนิคพยากรณ์สำหรับสินค้าประเภทเวชภัณฑ์ จากการวิเคราะห์ตัวอย่าง บริษัทตัวอย่าง A ซึ่งเป็นบริษัทนำเข้าสินค้าและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ปัจจุบันกำลังประสบปัญหาสินค้ามีอายุสั้น อันเนื่องมาจากปริมาณการสั่งซื้อสินค้ามีมากกว่าปริมาณที่สามารถขายออกไปได้ ปัญหาเหล่านี้มีสาเหตุมาจากการขาดความแม่นยำในการการวางแผนการขายสินค้า และการสำรองเวชภัณฑ์ที่มากกว่าความต้องการใช้จริง จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ด้วยการจัดการวัตถุดิบคงคลังพบว่า ในส่วนที่ 1จำแนกประเภทโดยใช้ด้วยวิธี ABC Classification ตามหลักเกณฑ์เรื่องอายุการเก็บรักษา สินค้ากลุ่ม A มีสินค้าทั้งหมด 12 รายการ โดยมีอายุการเก็บรักษาที่ 1 ปี โดยมีปริมาณการขายเฉลี่ย 3 ปีทั้งสิ้นจำนวน 45,339 ขวด และมีมูลค่าการขายเฉลี่ย 3 ปีทั้งสิ้นจำนวน 47,673,060 บาท โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.27 ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด ในส่วนที่ 2 การพยากรณ์ความต้องการ จากการคำณวนโดยใช้วิธีการพยากรณ์ทั้ง 7 วิธีกับ 12 รายการ ผู้วิจัยพบว่า แต่ละรายการสามารถใช้วิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุดแตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น วิธีการพยากรณ์ DECOMPOSITION METHOD เป็นวิธีที่ให้ค่าความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดโดยใช้ค่า MAD, MSE และ MAPE สำหรับรายการ ARIXTRA PFS 2.5MG./0.5 ML. 1X10เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ส่วนที่ 3 ต้นทุนรวมสินค้าคงคลังที่ต่ำที่สุดโดยรวมของกลุ่ม A ใน 2 แบบ พบว่ารูปแบบการจัดซื้อแบบปัจจุบันคือ 45,375,531 บาทต่อปี และรูปแบบการจัดซื้อแบบ EOQ คือ 33,545,039 บาทต่อปี มีค่ามากกว่าต้นทุนรวมสินค้าคงคลังที่ต่ำที่สุดโดยรวมในแบบ EOQ อยู่ที่ 11,830,492 บาท