Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Art and Design Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2021

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 21 of 21

Full-Text Articles in Art and Design

การออกแบบเรขศิลป์สำหรับแบรนด์บริการเตรียมความพร้อมวาระสุดท้ายของชีวิต, ภิภพ จำนงค์รักษ์ Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์สำหรับแบรนด์บริการเตรียมความพร้อมวาระสุดท้ายของชีวิต, ภิภพ จำนงค์รักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์สำหรับแบรนด์บริการเตรียมความพร้อมวาระสุดท้ายของชีวิต และเพื่อสร้างเรขศิลป์สำหรับแบรนด์บริการเตรียมความพร้อมวาระสุดท้ายของชีวิตโดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ โดยใช้วิธีสัมภาษณ์แบบรายบุคคลและทำแบบสอบถามกับกลุ่มเป้าหมายโดยเลือกกลุ่มเป้าหมายตัวอย่าง Silver Generation ที่มีอายุ 55 - 59 ปี จำนวน 10 ท่าน ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการบรรยายคุณลักษณะสิ่งที่ต้องการศึกษา ด้วยวิธีการรวมตัวแปร การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ หลังจากนั้นทำการสรุปผลออกมาเป็นลำดับ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์งานวิจัยพบว่า กลุ่มเป้าหมายตัวอย่างส่วนใหญ่นั้นเลือกสารที่ต้องการจะสื่อ (What to communicate) คือ “Fill Your Soul” โดยมีข้อสนับสนุน(Support) คือ การเตรียมพร้อมก่อนวาระสุดท้ายของชีวิตเพื่อเติมเต็มความสงบสุขในจิตใจ สร้างความรู้สึกอุ่นใจ จิตใจสงบสุข และสนุกในการใช้ชีวิต ซึ่งบุคลิกภาพของการสื่อสารใช้การผสมผสานของบุคลิกภาพสามแบบ คือ มีสีสัน (Colorful), มีชีวิตชีวา (Lively) และฉลาดเฉลียว (Bright) ดังนั้นจึงได้ข้อสรุปในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับแบรนด์บริการเตรียมความพร้อมวาระสุดท้ายของชีวิตว่าควรใช้องค์ประกอบที่มีชีวิตชีวา สีสันสดใส ดูปลอดภัย ซึ่งให้ความรู้สึกถึงความสนุกในการใช้ชีวิต โดยไร้ความกังวล


นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายเอาเทอร์แวร์สำหรับกลุ่มกรีน ฮิปสเตอร์ ด้วยแนวคิดโมดูลาร์ อินโนเวชั่น, อรปรียา ฤทธิโชติ Jan 2021

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายเอาเทอร์แวร์สำหรับกลุ่มกรีน ฮิปสเตอร์ ด้วยแนวคิดโมดูลาร์ อินโนเวชั่น, อรปรียา ฤทธิโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายเอาเทอร์แวร์ สำหรับกลุ่มกรีน ฮิปสเตอร์ (Green Hipster) ด้วยแนวคิดโมดูลาร์ อินโนเวชั่น (Modular Innovation) เป็นการวิจัยเพื่อหาแนวทางการออกแบบเครื่องแต่งกายสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ให้ความสนใจในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน พัฒนาควบคู่กับการเพิ่มประโยชน์ด้านการใช้สอยของเครื่องแต่งกาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการสร้างตราสินค้าเครื่องแต่งกายเอาเทอร์แวร์ สำหรับกลุ่มกรีน ฮิปสเตอร์ (Green Hipster) จากสิ่งทอรีไซเคิล ด้วยแนวคิดโมดูลาร์อินโนเวชั่น (Modular Innovation) โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณควบคู่กับกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย เริ่มตั้งแต่การศึกษากลุ่มเป้าหมาย กลุ่มกรีน ฮิปสเตอร์ (Green Hipster) ถึงข้อมูลทั่วไป (เพศ อายุ การศึกษา รายได้) และพฤติกรรมการบริโภคสินค้า เพื่อให้เข้าใจถึงรูปแบบและหลักเกณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้า ตลอดจนการศึกษาถึงลักษณะแบรนด์สินค้าในปัจจุบันทั้งต่างประเทศและในประเทศ เพื่อหาช่องว่างทางการตลาดที่สามารถตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้ ผู้วิจัยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามกลุ่มผู้บริโภคทั้งผู้หญิงและผู้ชายในเจเนอเรชั่นวาย มีอายุระหว่าง 23-35 ปี จำนวน 56 คน ผลจากการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายเพื่อกลุ่มกรีน ฮิปสเตอร์ที่มีความสนใจในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับแนวคิดโมดูลาร์อินโนเวชั่น สามารถมีแนวทางในการออกแบบร่วมกันได้ โดยการออกแบบที่สามารถปรับเปลี่ยนหรือถอดประกอบชิ้นส่วนได้ (Modular Design) และโอกาสการใช้สอยในรูปแบบลำลองกึ่งกิจกรรมกลางแจ้ง (Casual Outdoor) สามารถประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค ช่องว่างการตลาดสู่การสร้างสรรค์ตราสินค้าแฟชั่นได้ในอนาคต


การออกแบบเรขศิลป์สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน : กรณีศึกษาวัฒนธรรมอำเภอภูหลวง จังหวัดเลย, อิสริยาภรณ์ ชัยกุหลาบ Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน : กรณีศึกษาวัฒนธรรมอำเภอภูหลวง จังหวัดเลย, อิสริยาภรณ์ ชัยกุหลาบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องการออกแบบเรขศิลป์สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน : กรณีศึกษาวัฒนธรรมอำเภอภูหลวง จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หากลยุทธ์เผยแพร่แนวทางในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอภูหลวง จังหวัดเลย 2) กำหนดแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอภูหลวง จังหวัดเลย 3) พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ การดำเนินงานวิจัยใช้วิธีแบบผสม (Mixed Methodology) อาศัยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและแบรนด์ 5 คน ด้านการออกแบบเรขศิลป์ 5 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเบื้องต้น ค่าร้อยละ (Percentage) แล้วทำการสรุปผล การศึกษาพบว่า กลยุทธ์ในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอภูหลวง จังหวัดเลย คือ รูปแบบ Cheer up ที่แสดงความสดใส มีชีวิต มีความน่าสนใจดึงดูด โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น Gen-Y มีความเป็นตัวเองสูง แนวทางในการออกแบบลักษณะตราสินค้าแบบผสม (Combination Mark) โดยใช้สีที่แสดงอัตลักษณ์ของแบรนด์คือ สีขาว ดำ และสีฟ้า


การออกแบบเรขศิลป์แบรนด์อีคอมเมิร์ชวัสดุสำหรับนักออกแบบแฟชั่น, ฐิติกา มหาบุณย์ Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์แบรนด์อีคอมเมิร์ชวัสดุสำหรับนักออกแบบแฟชั่น, ฐิติกา มหาบุณย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการออกแบบเรขศิลป์แบรนด์อีคอมเมิร์ชวัสดุสำหรับนักออกแบบแฟชั่น โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1. เพื่อหากลยุทธ์และแนวทางการออกแบบเรขศิลป์แบรนด์อีคอมเมิร์ชวัสดุสำหรับนักออกแบบแฟชั่น 2. เพื่อหาองค์ประกอบหลักที่เหมาะสมในแนวทางการออกแบบเรขศิลป์แบรนด์อีคอมเมิร์ชวัสดุสำหรับนักออกแบบแฟชั่นให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนและวิธีการวิจัยโดยการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับย่านวัสดุ ทฤษฎีเกี่ยวกับการออกแบบแอปพลิเคชัน ทฤษฎีการออกแบบอัตลักษณ์องค์กร ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย นำข้อมูลมาวิเคราะห์ สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบต่อไป ผลการวิจัยสามารถชี้ให้เห็นได้ดังนี้ 1. กลยุทธ์ในการออกแบบแบรนด์อีคอมเมิร์ชวัสดุสำหรับนักออกแบบแฟชั่นได้สารที่ต้องการจะสื่อ (Concept) คือ ‘Fash in one’ และบุคลิกภาพของงานคือ ดูเป็นหนุ่มสาว เฉียบแหลม สนุกสนาน 2. แนวทางการออกแบบ UI ที่เหมาะสมคือ บรูทัลลิสต์ และการกลับมาของแฟลตดีไซน์ แนวทางการออกแบบ UX ที่เหมาะสมคือ ประสบการณ์ไร้รอยต่อ และ ประสบการณ์ผู้ใช้ส่วนบุคคล


ลวดลายจิตรกรรมและประติมากรรมประดับเรือนเจ้าพระยาอภัยภูเบศร, บุระเฉลิม ยมนาค Jan 2021

ลวดลายจิตรกรรมและประติมากรรมประดับเรือนเจ้าพระยาอภัยภูเบศร, บุระเฉลิม ยมนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง จิตรกรรมและประติมากรรมประดับเรือนเจ้าพระยาอภัยภูเบศร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ พัฒนาการ ความเป็นมา และกระบวนการเชิงช่าง ตลอดจนความหมายเชิงสัญลักษณ์ของลวดลายจิตรกรรมประดับเรือนเจ้าพระยาอภัยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี โดยอาศัยวิธีการศึกษาจากหลักการตกแต่งสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ผนวกกับการเปรียบเทียบลวดลายประดับของอาคารแบบยุโรปในประเทศไทยเพื่อกำหนดอายุ และทราบถึงระบบของการประดับตกแต่งที่มีความสัมพันธ์กับบริบทของตัวอาคารซึ่งจากการศึกษาพบว่า ลวดลายประดับภายในเรือนเจ้าพระยาอภัยภูเบศรนั้นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับลวดลายประดับของอาคารแบบยุโรปที่ร่วมสมัยกันภายในประเทศไทย ทั้งรูปแบบและวิธีการเชิงช่าง อาทิเช่น เรือนพระยาศรีธรรมาธิราชที่มีลวดลายจิตรกรรมประดับ ซึ่งปรากฏลวดลายในกลุ่มผลไม้และพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ผล และใบองุ่น โดยเป็นกลุ่มลวดลายที่ปรากฏในเรือนเจ้าพระยาอภัยภูเบศรในตำแหน่งห้องส่วนกลางของชั้นหนึ่งเช่นเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับบริบทของห้องและอาคารในลักษณะเดียวกัน ทั้งยังมีเทคนิคทางงานจิตรกรรมในการสร้างลวดลายที่คล้ายคลึงกัน คือ การใช้เทคนิคแม่พิมพ์ลายฉลุ(Stencil) เป็นต้นแบบสำหรับการสร้างลวดลายด้วยการลงสีบนแม่พิมพ์ ทั้งในลักษณะของการประคบและการทาสีเพื่อให้ลวดลายฉลุปรากฏขึ้นยังบริเวณที่ต้องการ ลวดลายจิตรกรรมประดับของเรือนเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเกือบทั้งหมดล้วนเป็นลายฉลุแบบ “วิกตอเรียน(Victorian)” ลายดอกไม้ช่วงผนังเหนือซุ้มประตู ณ ห้องโถงกลางชั้น 2 ปรากฏลายแบบ “อาร์ตนูโว(Art Nouveau)” ซึ่งสร้างขึ้นด้วยเทคนิคภาพพิมพ์ลายฉลุ นอกจากนี้ลวดลายประติมากรรมประดับยังปรากฏความสำคัญ โดยเฉพาะบริเวณหน้าจั่วของอาคาร ซึ่งประดับตกแต่งด้วยลวดลายพืชสมุนไพรอันสะท้อนถึงความเป็นตัวตนของท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร พร้อมทั้งยังเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการผลักดันให้เรือนแห่งนี้แปรสภาพมาเป็นโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรในภายหลังอีกประการหนึ่ง


นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีลักซ์ชัวรี่ปาร์ตี้แวร์ สําหรับกลุ่มโมเดิร์นเอธิคอล มิลเลนเนียล จากเทคนิคการถักนิตติ้ง ด้วยแนวคิดไร้เศษ, ปวีร์ ไพฑูรย์รังสฤษดิ์ Jan 2021

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีลักซ์ชัวรี่ปาร์ตี้แวร์ สําหรับกลุ่มโมเดิร์นเอธิคอล มิลเลนเนียล จากเทคนิคการถักนิตติ้ง ด้วยแนวคิดไร้เศษ, ปวีร์ ไพฑูรย์รังสฤษดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกในปัจจุบัน ทำให้ผู้บริโภครุ่นใหม่มีแนวโน้มการความสนใจและพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป โดยกลุ่มคนในช่วงอายุ 25-40 ปีหรือมิลเลนเนียลเจนเนอร์เรชัน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้ มีการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและสนใจถึงที่มาทางด้านจริยธรรมของสินค้าที่ใช้มากขึ้น ว่าเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวมหรือไม่ ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องของสีหรือรูปแบบเสื้อผ้าเหมือนที่ผ่านมาเท่านั้น ก่อให้เกิดกลุ่มเป้าหมายใหม่ ได้แก่ กลุ่ม โมเดิร์นเอธิคอลมิลเลนเนียล (Modern Ethical Millennials Consumers) ซึ่งเป็นผู้บริโภคที่นำเอาแนวคิดการบริโภคอย่างยั่งยืนมาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าแฟชั่น จากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย 6 คน ผู้ถูกสัมภาษณ์จำนวน 5 คน ให้ความเห็นว่า ในประเทศไทยมีตราสินค้าเครื่องแต่งกายทางเลือกที่ออกแบบด้วยแนวคิดความยั่งยืนน้อยมาก เมื่อต้องเลือกเครื่องแต่งกายสำหรับไปงานเลี้ยงสังสรรค์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังมีทางเลือกไม่มากในการเลือกเครื่องแต่งกายในโอกาสงานเลี้ยงสังสรรค์ ทั้งในด้านของวัสดุ ด้านการออกแบบ และด้านโอกาสการใช้สอย ทั้งนี้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเพิ่มเติมพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสนใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มาจากขยะและการจัดการขยะอย่างมาก เนื่องจากเป็นปัญหาที่พบเห็นได้ใกล้ตัว ดังนั้นการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยแนวคิดไร้เศษ หรือการออกแบบโดยยึดเอาแนวทางการลดขยะให้เหลือศูนย์ เพื่อเป็นการหยุดปัญหาตั้งแต่ต้นทาง จึงนับเป็นแนวทางการแก้ปัญหาการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้าที่ได้จากการถัก (Knitting) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแนวคิดการออกแบบแฟชั่นแบบไร้เศษ แต่ปัจจุบันมีการนำมาใช้ในการสร้างชิ้นงานแฟชั่น ลักซ์ชัวรี่ปาร์ตี้แวร์ (Luxury Partywear) ไม่มากนัก งานวิจัยนี้จึงเป็นทางเลือกทางการตลาดที่ผู้วิจัยพบว่า หากมีการพัฒนากระบวนการออกแบบลักซ์ชัวรี่ปาร์ตี้แวร์ (Luxury Partywear) จากการถัก (Knitting) จะส่งผลให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้น


การออกแบบเรขศิลป์เพื่อดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับกลุ่มเอ็กซ์โทรเวิร์ต, พาขวัญ นาคุณทรง Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์เพื่อดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับกลุ่มเอ็กซ์โทรเวิร์ต, พาขวัญ นาคุณทรง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์เพื่อดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับกลุ่มเอ็กซ์โทรเวิร์ต เนื่องจากสถานการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ ได้ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมต้องปรับเปลี่ยน หรือพฤติกรรมบางอย่างในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะกลุ่มคนเอ็กซ์โทรเวิร์ต ซึ่งพฤติกรรมที่ต้องปรับเปลี่ยนนั้นทำให้เกิดการพึ่งพาการใช้สื่อ หรือดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับใช้งานหรือติดต่อสื่อสารกับผู้คน ซึ่งผู้วิจัยเล็งเห็นว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันจะกลายเป็นเรื่องปกติในอนาคต ที่คนบางกลุ่มอาจคุ้นชินกับการใช้ชีวิต ทำกิจกรรม และทำงานภายในที่พักอาศัยของตนมากกว่าการออกไปทำงานข้างนอก จนกลายเป็นการใช้ชีวิตวิถีใหม่ หรือที่เรียกว่า New normal วิธีที่ใช้ในงานวิจัยคือ รวบรวมข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ดิจิทัลแพลตฟอร์ม บทความ งานวิจัย และสื่ออินเทอร์เน็ต โดยนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแบบสอบถามออนไลน์โดยให้กลุ่มเป้าหมาย จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้านเนื้อหา ข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ และสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเอ็กซ์โทรเวิร์ต เพื่อพิจารณาหาบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับโครงการการออกแบบเรขศิลป์เพื่อดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับกลุ่มเอ็กซ์โทรเวิร์ต และใช้แก้ปัญหานำวิจัยด้วยการออกแบบสื่อเรขศิลป์ สรุปผลการวิจัยพบว่า แนวโน้มในการออกแบบเรขศิลป์ควรใช้รูปทรงอิสระ และใช้สีสันที่สดใส มีชีวิตชีวา โดยเฉพาะสีส้ม จะช่วยกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายอยากใช้งานมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการออกแบบบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วม และสภาพแวดล้อมเสมือนจริง บนดิจิทัลแพลตฟอร์มจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ และสมควรนำมาใช้ในการออกแบบเรขศิลป์เพื่อดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับกลุ่มเอ็กซ์โทรเวิร์ต


การออกแบบเรขศิลป์สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า กรณีศึกษาจังหวัดตรัง, กนกพร สัตยาไชย Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า กรณีศึกษาจังหวัดตรัง, กนกพร สัตยาไชย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การท่องเที่ยวแนวเนิบช้าเป็นการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสบการณ์มากกว่าปริมาณกิจกรรม การพัฒนาการท่องเที่ยวแนวเนิบช้าจำเป็นต้องสร้างอัตลักษณ์ให้กับแหล่งท่องเที่ยว การออกแบบเรขศิลป์จึงถือเป็นกระบวนการสำคัญ โดยวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์ สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า 2. เพื่อระบุอัตลักษณ์จังหวัดตรัง 3. เพื่อหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์การท่องเที่ยวแนวเนิบช้าที่เหมาะสมกับการสื่อสารอัตลักษณ์ของกรณีศึกษาจังหวัดตรัง วิธีวิจัยประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 3 ชุดจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 9 ท่าน โดยจะนำผลงานที่มีแนวปฏิบัติเป็นเลิศ (Best practice) ที่ผ่านการคัดเลือกมาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดตรังมีอัตลักษณ์12 อัตลักษณ์ โดยแนวทางการออกแบบเรขศิลป์สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า กรณีศึกษาจังหวัดตรัง ประกอบไปด้วยผลจากการวิเคราะห์ด้วยเกณฑ์ทางเรขศิลป์ ดังนี้ คือ 1) ชนิดของตราสัญลักษณ์ควรเป็นแบบ Pictorial name mark 2) ประเภทของสัญญะควรเป็นแบบ Icon 3) แนวโน้มของตราสัญลักษณ์ควรเป็นแบบ Nature-inspired 4) ทฤษฎีเกสตอลท์ที่ควรใช้ คือ มีความสมมาตรแบบ Reflective มี Figure ground แบบ stable และมีการใช้หลักของ Proximity ร่วมด้วย 5) องค์ประกอบพื้นฐานทางการออกแบบอื่น 6) แบรนด์อาคิไทป์แบบนักปราชญ์ 7) แนวโน้มของเรขศิลป์แบบ Nature-inspired 8) แนวโน้มของเว็บไซต์แบบ Nature and sustainability 9) รูปแบบของเว็บไซต์เป็นการจัดข้อมูลสำคัญมากไปน้อย โดยคำตอบที่ได้นี้จะเป็นแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์ ซึ่งจะสามารถช่วยประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแนวเนิบช้าในจังหวัดตรังให้เป็นที่รู้จัก


การออกแบบลวดลายเรขศิลป์สำหรับบรรจุภัณฑ์ขนมพื้นบ้านจากอัตลักษณ์ทางศิลปกรรมจังหวัดสงขลา, ปวัลยา ขวัญแดง Jan 2021

การออกแบบลวดลายเรขศิลป์สำหรับบรรจุภัณฑ์ขนมพื้นบ้านจากอัตลักษณ์ทางศิลปกรรมจังหวัดสงขลา, ปวัลยา ขวัญแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเรื่องการออกแบบลวดลายเรขศิลป์สำหรับบรรจุภัณฑ์ขนมพื้นบ้านจากอัตลักษณ์ทางศิลปกรรมจังหวัดสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการของงานวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อศึกษารูปแบบวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดสงขลา 2.เพื่อหาองค์ประกอบของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ และการออกแบบลวดลายเรขศิลป์ 3.เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขนมพื้นบ้านของจังหวัดสงขลา ให้เป็นที่น่าสนใจของกลุ่มเป้าหมายเจนเนอเรชั่นวาย ขั้นตอนและวิธีการวิจัย โดยการเก็บข้อมูลจากวัฒนธรรมและศิลปกรรมของจังหวัดสงขลา เอกสาร งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และบทความอินเตอร์เน็ต นำข้อมูลประมวลผลการวิเคราะห์ สร้างแบบสอบถามประกอบกับสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบต่อไป ผลการวิจัยนี้สามารถชี้ให้เห็นได้ ดังนี้ 1.) วัฒนธรรมและศิลปกรรมของจังหวัดสงขลาที่สามารถนำมาออกแบบลวดลายเรขศิลป์ การที่ต้องการสื่อ (Concept) ดั้งเดิมแบบประเพณีไทย ร่วมสมัยแบบสงขลา บุคลิกภาพของงานคือ มีวัฒนธรรม (Culture) ดูเป็นธรรมชาติ (Natural) ลึกลับน่าค้นหา (Mysterious) ดูมีค่า (Precious) 2.) แนวทางในการหาองค์ประกอบของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ และการออกแบบลวดลายเรขศิลป์สำหรับขนมพื้นบ้าน 3.) ลวดลายเรขศิลป์ ที่สามารนำไปประยุกต์ใช้กับบรรจุภัณฑ์ขนมพื้นบ้านในประเพณีต่างๆ และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ลวดลายและบรรจุภัณฑ์สำหรับประเพณีตายายย่านและประเพณีแต่งงานกับนางไม้


การออกแบบเรขศิลป์สำหรับเศรษฐกิจขี้เกียจ : กรณีศึกษาธุรกิจบริการส่งอาหาร, พชร บุตตะโยธี Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์สำหรับเศรษฐกิจขี้เกียจ : กรณีศึกษาธุรกิจบริการส่งอาหาร, พชร บุตตะโยธี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เศรษฐกิจขี้เกียจเป็นธุรกิจแนวใหม่ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ต้องการความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต สามารถเก็บแรงหรือเวลาไว้ไปทำอย่างอื่นได้ ถือเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ธุรกิจที่เป็นกระแสสำคัญในปัจจุบันนี้คือ ธุรกิจบริการส่งอาหาร (Food Delivery) ทว่าธุรกิจนี้ยังมีช่องว่างทางการตลาดที่ยังไม่คลอบคลุมพฤติกรรมของคนไทยบางส่วนที่ยังคงต้องการความสะดวกสบายมากกว่าเดิม งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการออกแบบเรขศิลป์สำหรับเศรษฐกิจขี้เกียจ กรณีศึกษาธุรกิจบริการส่งอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อหากลยุทธ์สำหรับธุรกิจในเศรษฐกิจขี้เกียจ กรณีศึกษาธุรกิจบริการส่งอาหาร 2) เพื่อหาแนวทางการออกแบบแอปพลิเคชันสำหรับเศรษฐกิจขี้เกียจ กรณีศึกษาธุรกิจบริการส่งอาหาร 3) เพื่อหาแนวทางการออกแบบโฆษณาสำหรับเศรษฐกิจขี้เกียจ กรณีศึกษาธุรกิจบริการส่งอาหาร โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพรูปแบบ Practice Based Research ในการทำงานสร้างสรรค์โดยให้การปฏิบัติเป็นเครื่องมือนำไปสู่ความรู้ใหม่ การวิจัยครั้งนี้มี 2 ด้านที่ผู้วิจัยศึกษา คือ 1. ด้านการออกแบบแอปพลิเคชัน 2. ด้านการออกแบบโฆษณา โดยวิธีวิจัยด้านการออกแบบแอปพลิเคชัน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) เก็บรวบรวมวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2) สร้างเครื่องมือในการวิจัยครั้งที่ 1 3) เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ครั้งที่ 1 ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 3 ท่าน และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย (Focus group) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 16 ท่าน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ท่าน แบ่งกลุ่มตามเพศ 4) สร้างเครื่องมือในการวิจัยครั้งที่ 2 5) เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ครั้งที่ 2 จากผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มตัวอย่างเดิม ด้วยวิธีการเดิม ส่วนวิธีวิจัยด้านการออกแบบโฆษณา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) เก็บรวบรวมวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2) สร้างเครื่องมือในการวิจัย 3) เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 3 ท่าน และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย (Focus group) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 16 ท่าน …


การออกแบบเรขศิลป์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติของกลุ่มผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน, ศรัณยพงศ์ ธรรมขจัดภัยกุล Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติของกลุ่มผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน, ศรัณยพงศ์ ธรรมขจัดภัยกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องการออกแบบเรขศิลป์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติของกลุ่มผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีวัตถุประสงค์เพื่อหากลยุทธ์และแนวทางการออกแบบเรขศิลป์เพื่อการนำเสนอข้อมูลให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และเป็นกรณีศึกษาสำหรับนำไปต่อยอดและนำไปปรับใช้สำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ต่อไป โดยได้ผลการวิจัยดังนี้ 1. โมบายแอพพลิเคชันเป็นสื่อที่สามารถให้ข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ อย่างครบถ้วน พร้อมกับสามารถเชื่อมต่อกับแพลทฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ ได้อย่างสะดวกและง่ายดายจึงเป็นสื่อหลักสำหรับโครงการนี้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้สื่อรองอื่น ๆ ประกอบได้อีก เช่น เว็บไซต์ ของที่ระลึก ฯลฯ 2. แนวทางการสื่อสารที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายได้แก่การให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยใช้ Key message “The Thrill of Ecotourism” ในการสื่อสาร ซึ่งกำหนดบุคลิกภาพของของสารที่ต้องการสื่อโดยใช้การผสมผสานของบุคลิกภาพสองแบบ คือ “Outlaw และ Explorer” 3. แนวทางการออกแบบเรขศิลป์เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายได้แก่การใช้การออกแบบ UI ที่ดูทันสมัยและกำลังอยู่ในเทรนด์ โดยการเลือกใช้สีที่สบายตา ลดความแหลมคมขององค์ประกอบกราฟฟิกต่าง ๆ ด้วยการใช้วงกลมและเส้นโค้ง และใช้ฟอนต์ที่อ่านง่าย เป็นต้น และในด้านของ UX ต้องออกแบบและจัดวางอย่างเหมาะสม มีฟังก์ชันการทำงานครบถ้วน ปรับแต่งได้ และใช้องค์ประกอบเท่าที่จำเป็น เป็นต้น


การออกแบบเรขศิลป์เพื่อให้ความรู้โฮมีโอพาธีย์, มณิภา วัฒกีกุล Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์เพื่อให้ความรู้โฮมีโอพาธีย์, มณิภา วัฒกีกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสมเพื่อให้คนกลุ่มเจนเนอเรชั่น วาย เกิดความรู้และความเข้าใจได้ง่ายเกี่ยวกับการแพทย์ทางเลือกโฮมีโอพาธีย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ กลุ่มคนเจนเนอเรชั่น วาย ช่วงอายุระหว่าง 20 - 39 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลสถิติจากเว็บไซต์ เอกสารงานวิจัย หนังสือ บทความทางวิชาการ และสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย นำมารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในการออกแบบ ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า กลุ่มคนเจนเนอเรชั้น วาย นั้น มีสุขภาพทรุดโทรมจากการทำงานหนัก จึงเริ่มมีการหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นแต่ไม่มีเวลา อีกทั้งพฤติกรรมของกลุ่มกลุ่มคนเจนเนอเรชั่น วาย ใช้สมาร์ทโฟนและเล่นโซเชียลมีเดียเป็นหลัก ชอบสื่อสารและแสดง ออกผ่านสื่อใหม่และสื่อออนไลน์ต่างๆ ชอบเสพสื่อบันเทิงและชอบอ่านการ์ตูนดิจิตอลที่เป็นสื่อออนไลน์ กลุ่มเป้าหมายนั้นให้ความสนใจและพึงพอใจในการ์ตูนดิจิตอล จึงได้ผลสรุปว่าการ์ตูนดิจิตอลเป็นสื่อที่สามารถถ่ายองค์ความรู้โฮมีโอพาธีย์ที่เหมาะสมต่อกลุ่มคนเจนเนอเรชั่น วาย โดยการ์ตูนมีโครงสร้างในการเล่าเรื่องที่ละเอียดซับซ้อน สามารถถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆได้อย่างละเอียดและมีความน่าสนใจ รวมถึงสารที่ต้องการจะสื่อสำหรับการออกแบบเรขศิลป์เพื่อให้ความรู้โฮมีโอพาธีย์คือ ชีวิตที่ดีคือการเปลี่ยนแปลง และกลุ่มบุคลิกภาพที่เหมาะคือ สบายๆไม่มีกฎเกณฑ์ (Casual), เป็นธรรมชาติ (Natural), ทันสมัย (Modern)


การออกแบบเรขศิลป์สำหรับแบรนด์ธุรกิจเพื่อสัตว์เลี้ยงโดยใช้กลยุทธ์การตลาดโชคลาง, โยษิตา ชีวาสัจจาสกุล Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์สำหรับแบรนด์ธุรกิจเพื่อสัตว์เลี้ยงโดยใช้กลยุทธ์การตลาดโชคลาง, โยษิตา ชีวาสัจจาสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางการออกแบบกราฟิกสำหรับธุรกิจสัตว์เลี้ยงด้วยกลยุทธ์การตลาดโชคลาง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์จำนวน 3 ท่าน การสนทนากลุ่มระหว่างกลุ่มเป้าหมายจำนวน 5 ท่าน และการใช้แบบสอบถามกลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงจำนวน 15 ท่าน ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการบรรยายคุณลักษณะสิ่งที่ต้องการศึกษา ด้วยวิธีการรวมตัวแปร การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ หลังจากนั้นทำการสรุปผลออกมาเป็นลำดับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์งานวิจัยพบว่า เจ้าของสัตว์เลี้ยงเริ่มหันมาให้ความสนใจเรื่องโชคลางของสัตว์เลี้ยงและ เจ้าของสัตว์เลี้ยงโดยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่เรียกว่า Pet Humanization หรือการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเหมือนลูก และมีความเชื่อเกี่ยวกับโชคลางหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ ทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงและโชคลางมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น ดังนั้นจึงได้ข้อสรุปในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับธุรกิจสัตว์เลี้ยงโดยใช้องค์ประกอบด้านความเชื่อในงานออกแบบได้แก่ สีมงคล สิ่งของมงคล สัตว์มงคล และ ตัวเลขมงคล ซึ่งให้ความมงคลทั้งสัตว์เลี้ยงและเจ้าของในทุกด้าน


การออกแบบเรขศิลป์สำหรับมัลติแบรนด์ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน, สรัญรัตน์ ตันติบุญชู Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์สำหรับมัลติแบรนด์ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน, สรัญรัตน์ ตันติบุญชู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการออกแบบเรขศิลป์สำหรับมัลติแบรนด์ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์และกลยุทธ์สำหรับมัลติแบรนด์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ดำเนินวิธีการวิจัยโดย 1.ศึกษาและรวบรวมข้อมูล แนวคิด ทฤษฏี เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนและมัลติแบรนด์เพื่อนำข้อมูลมาหาอัตลักษณ์ให้กับโครงการ2.กำหนดกลุ่มเป้าหมายทางกายภาพและจินตภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมาย3.สรุปผล Insight ของกลุ่มเป้าหมายโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก4.รวบรวมข้อมูลการใช้สื่อของกลุ่มเป้าหมายและวิเคราะห์หาแนวทางการใช้สื่อของมัลติแบรนด์ 5.วิเคราะห์หาสารที่ต้องการจะสื่อ บุคลิกภาพและอารมณ์ และชื่อแบรนด์ จากแนวคิดหลักการและโดยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายและผู้เชี่ยวชาญ ผลวิจัยพบว่า สารที่ต้องการจะสื่อ คือ Easy Sustainable living และได้บุคลิกภาพและอารมณ์ คือ ทันสมัย (Modern) เข้าถึงง่าย เป็นมิตร (Friendly) สะดวกครบจบในที่เดียว (Livable) ได้ชื่อแบรนด์ คือ GreenGoods และได้แนวทางการออกแบบเรขศิลป์และเรขศิลป์สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับแบรนด์


การออกแบบเรขศิลป์สำหรับร้านอาหารออร์แกนิคเพื่อกลุ่มเจเนอเรชันซี, รีเบ็คก้า เบอร์โรว์ Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์สำหรับร้านอาหารออร์แกนิคเพื่อกลุ่มเจเนอเรชันซี, รีเบ็คก้า เบอร์โรว์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการออกแบบเรขศิลป์สำหรับร้านอาหารออร์แกนิคเพื่อกลุ่มเจเนอเรชันซีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหากลยุทธ์และแนวทางการออกแบบร้านอาหารออร์แกนิคเพื่อกลุ่มเจเนอเรชันซีรวมทั้งการศึกษาแนวทางการจัดองค์ประกอบทางเรขศิลป์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ร้านอาหารออร์แกนิคเพื่อกลุ่มเจเนอเรชันซี ขั้นตอนและวิธีการวิจัย โดยเก็บข้อมูลจากประเภทเอกสารงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ ตำราหนังสือ บทความเอกสาร อินเตอร์เน็ต สิ่งพิมพ์ ได้ทำการสัมภาษณ์ และสัมภาษณ์เชิงลึก จากประเภทกลุ่มเป้าหมาย และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ จากการเก็บข้อมูลที่ได้มานั้น นำมาวิเคราะห์ และสร้างเป็นแบบสอบถาม ทำให้ได้ข้อมูลนำมาดำเนินการออกแบบต่อไป สรุปผลการวิจัยพบว่า สารที่ต้องการจะสื่อสำหรับการออกแบบเรขศิลป์สำหรับร้านอาหารออร์แกนิคเพื่อกลุ่มเจเนอเรชันซีที่ใช้ กับร้านอาหาร คือ Fresh Journey การออกแบบเรขศิลป์ให้กับร้านอาหารสร้างเพื่อให้กลุ่มเจเนอเรชันซี


การออกแบบเรขศิลป์เพื่อแบรนด์บอร์ดเกมที่สอดแทรกความรู้สำหรับเจเนอเรชันวาย, เจียรนัย ธนูธรรมาคุณ Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์เพื่อแบรนด์บอร์ดเกมที่สอดแทรกความรู้สำหรับเจเนอเรชันวาย, เจียรนัย ธนูธรรมาคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์แบรนด์บอร์ดเกมที่สอดแทรกความรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมายเจเนอเรชันวาย วิธีที่ใช้ในการวิจัยงาน คือ ศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ บอร์ดเกม แบรนด์บอร์ดเกม และพฤติกรรมการเล่นบอร์ดเกม และพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดีย โดยผู้วิจัยจะนำข้อมูลที่ได้มาทำแบบสอบถามให้กับกลุ่มเป้าหมาย หลังจากนั้นผู้วิจัยจะวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์แบรนด์บอร์ดเกมที่สอดแทรกความรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมายเจเนอเรชันวาย หลังจากนั้นจึงสร้างสารที่ต้องการจะสื่อ และให้กลุ่มเป้าหมายประเมินและให้คะแนน จากนั้นผู้วิจัยได้สรุปหาสารที่ต้องการจะสื่อที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและแบรนด์บอร์ดเกม จากการศึกษาพบว่า แบรนด์บอร์ดเกมควรมีหน้าร้าน เพราะมีความสอดคล้องต่อพฤติกรรมการเล่นบอร์ดเกมของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในด้านของสถานที่เลือกเล่นบอร์ดเกม การศึกษากติกาการเล่นจากเพื่อนหรือให้พนักงานที่ร้านมาสอนให้ มีการเล่นบอร์ดเกมเดิมเพียง 1-3 ครั้ง รวมปถึงการเลือกซื้อบอร์ดเกมจะเลือกซื้อจากหน้าร้าน แนวโน้มของแบรนด์บอร์ดเกมที่สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายจะมีลักษณะ เป็นมิตร ดูสดใส และมีชีวิตชีวา รวมไปถึงการสอดแทรกความรู้ผ่านการเล่นบอร์ดเกม ก็สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ที่มีความกระตือรือร้น ชอบเข้าสังคม ชอบการเรียนรู้ และการหาความรู้รอบตัว


การออกแบบเรขศิลป์สิ่งแวดล้อมสําหรับศูนย์การออกแบบอัพไซเคิล, จินสมรรถ สิมะพิเชฐ Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์สิ่งแวดล้อมสําหรับศูนย์การออกแบบอัพไซเคิล, จินสมรรถ สิมะพิเชฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการออกแบบเรขศิลป์สิ่งแวดล้อมสำหรับศูนย์การออกแบบอัพไซเคิลมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหากลยุทธ์ในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับ Bangkok Upcycle Design Center และเพื่อศึกษาหาลักษณะของการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสมสำหรับ Bangkok Upcycle Design Center สำหรับการให้ความรู้ในเรื่องการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม และการให้ความสะดวกในการใช้งานของศูนย์การออกแบบอัพไซเคิลผ่านการออกแบบด้วยสื่อเรขศิลป์รูปแบบต่างๆ เครื่องมือในการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. การศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ Upcycling 2.ลำดับความสำคัญ และ ปริมาณเของเนื้อหาตามที่กลุ่มเป้าหมายควรจะรู้และนำข้อมูลทั้งหมดมาจัด Hierarchy 3. การกำหนดเกณฑ์กลุ่มเป้าหมายทางกายภาพ (Demographic) และทางจินตภาพ (Psychographic) จากการสัมภาษณ์ เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมายทั้ง 5คน 4. สรุปผลลักษณะ Persona และ Insight ของกลุ่มเป้าหมายจากการสัมภาษณ์ เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมายทั้ง 5คน 5.วิเคราะห์หาบุคลิกภาพและอารมณ์ จากสารที่ต้องการจะสื่อ และกลยุทธ์การใช้สื่อ จากการสอบถามกลุ่มเป้าหมาย และใช้การกรองด้วยคำสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า บุคลิกภาพและอารมณ์จากคำสำคัญทั้ง 3 ทันสมัย หัวใหม่ (Modern) มีพลังปราญปรียว (Dynamic) ใช้ได้จริง(Practical) ได้สารที่ต้องการจะสื่อ คือ Better for Future system ได้แนวทางการออกแบบเรขศิลป์ และเรขศิลป์สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพและอารมณ์


การออกแบบเรขศิลป์เพื่อแบรนด์คาเฟ่และการออกกำลังกาย, ชยุตม์ ศรพรหมมาศ Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์เพื่อแบรนด์คาเฟ่และการออกกำลังกาย, ชยุตม์ ศรพรหมมาศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์สำหรับแบรนด์ร้านคาเฟ่และการออกกำลังกายและเพื่อค้นหากลยุทธ์สำหรับแบรนด์ร้านคาเฟ่และการออกกำลังกาย วิธีที่ใช้ในงานวิจัยคือ การศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ คาเฟ่ การกิน และการออกกำลังกาย โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำแบบสอบถามกับกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาวัตถุประสงค์ของการออกแบบ พิจารณาหาบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับโครงการออกแบบเรขศิลป์คาเฟ่และการออกกำลังกาย และได้สร้างสารที่จะสื่อ โดยให้กลุ่มเป้าหมายประเมิณและให้คะแนน จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มในการออกแบบเรขศิลป์ปี 2564 แล้วใช้ผลงานที่ได้รางวัลจาก Indigo Design Awards 2021 เพื่อนำมาเปรียบเทียบหาความสอดคล้อง หาแนวทางในการออกแบบ สรุปผลการวิจัยพบว่า แนวโน้มในการออกแบบ แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ และ รูปทรงเรขาคณิต เป็นแนวทางที่ดี ที่ควรนำมาใช้ในการออกแบบเรขศิลป์เพื่อแบรนด์คาเฟ่และการออกกำลังกาย


การออกแบบเรขศิลป์จากทฤษฎีสตรีนิยม, ไพรินรดา แสงสว่าง Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์จากทฤษฎีสตรีนิยม, ไพรินรดา แสงสว่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

‘เฟมินิสต์’ หรือ สตรีนิยม เป็นการการเคารพในประสบการณ์ อัตลักษณ์ ความรู้และจุดแข็งของผู้หญิงที่หลากหลาย และมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้ผู้หญิงทุกคนตระหนักถึงสิทธิของตนอย่างเต็มที่ จุดประสงค์ของประเด็นนี้คือเพื่อสร้างความตระหนักถึงการรับรู้เรื่องสตรีนิยม แสดงให้เห็นถึงโอกาสอันดีในการศึกษาวิจัยและต่อยอดองค์ความรู้สู่การออกแบบเรขศิลป์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์จากทฤษฎีสตรีนิยม และศึกษาหากลยุทธ์เพื่อเผยแพร่แนวทางการออกแบบเรขศิลป์ที่ได้จากทฤษฎีสตรีนิยม ดำเนินวิธีการวิจัยโดย 1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีสตรีนิยมและต้นแบบบุคคลโดยการตอบแบบสอบถามและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านสตรีนิยม 2. วิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์และประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์วิเคราะห์ร่วมกับวรรณกรรมและเพื่อระบุแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการออกแบบกลยุทธ์ของกรณีศึกษา 3. สร้างแบบสอบถามจากสารที่ต้องการจะสื่อ และกลยุทธ์การใช้สื่อ โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์ และใช้การกรองด้วยคำสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1. คันพบลักษณะต้นแบบบุคคลผู้หญิง ซึ่งประกอบไปด้วยลักษณะของต้นแบบบุคคลทั้งหมด 4 ตันแบบ ได้แก่ หญิงสาว (Maiden), มารดา (Mother), หญิงผู้มีเสรี (Wild Woman), หญิงผู้รอบรู้ (Wise Woman) ซึ่งจะนำไปเป็นแนวทางในการออกแบบขั้นต่อไป 2. ได้กลยุทธ์ของ 4 กรณีศึกษาแบรนด์ไลฟ์สไตล์ที่ประยุกต์ใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบเรขศิลป์จากทฤษฎีสตรีนิยมและต้นแบบบุคคลผู้หญิง 3. แนวทางการออกแบบเรขศิลป์จากทฤษฎีสตรีนิยมและต้นแบบบุคคลผู้หญิงจึงได้บุคลิกภาพและอารมณ์ คือ ดูเหมาะสมที่จะใช้งาน (PRACTICAL), อิสระ ตามใจอยาก (FREE), จัด ๆ แรงกล้า (INTENSE) ได้สารที่ต้องการจะสื่อ คือ ความเป็นผู้หญิงที่ไร้กฎกณฑ์


การออกแบบเรขศิลป์เพื่อแบรนด์สุขภาพโดยใช้กลยุทธ์การตลาดแบบน่ารัก, ชนนิกานต์ กาญจนวัฒนกูล Jan 2021

การออกแบบเรขศิลป์เพื่อแบรนด์สุขภาพโดยใช้กลยุทธ์การตลาดแบบน่ารัก, ชนนิกานต์ กาญจนวัฒนกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยการออกแบบเรขศิลป์เพื่อแบรนด์สุขภาพ โดยใช้กลยุทธ์การตลาดแบบน่ารัก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างแนวการออกแบบเรขศิลป์เพื่อแบรนด์สุขภาพ โดยใช้กลยุทธ์การตลาดแบบน่ารัก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1.)วิเคราะห์ข้อมูลแบรนด์ Plant-Based Food ในไทย 2.)สัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่าง Millennials ที่ทาน Plant-Based Food 3.)แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาสารที่ใช้สื่อสารการออกแบบ 4.)แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างเพื่อหาสาร บุคลิกภาพ และชื่อแบรนด์ที่เหมาะสม 5.)วิเคราะห์ข้อมูลของมาสคอตและทฤษฎีความน่ารัก 6.)วิเคราะห์ข้อมูล 2021-22 Graphic Design and Packaging Trends 7.)สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1.)สื่อที่เหมาะสม ได้แก่ สื่อสารความน่ารักผ่าน Mascot หรือ Character 2.)สารที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ Fun in the Garden และบุคลิกภาพ คือ Natural (ดูเป็นธรรมชาติ), Lively (มีชีวิตชีวา), Enjoyable (สนุกสนาน) 3.)แนวทางการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสม Mascot ได้แก่ คนหรือสัตว์ และด้านทฤษฎีความน่ารัก กลมมน, ศรีษะใหญ่, เหมือนเด็ก, ตาโต, เรียบง่าย, ขนาดเล็ก, แก้มยุ้ย, ลำตัวอวบ, ไร้เดียงสา, น่าทะนุถนอม และด้านตัวอักษร San-Serif, Graphic Illustrations และ Muted Color Palettes


นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายปาร์ตี้แวร์ จากการแปรรูปน้ำยางพาราลาเท็กซ์ สำหรับสตรีครีเอทีฟคลาส ภายใต้แนวคิดศิลปะไร้รูปลักษณ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน, ณัฐนันท์ อยู่ชมบุญ Jan 2021

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายปาร์ตี้แวร์ จากการแปรรูปน้ำยางพาราลาเท็กซ์ สำหรับสตรีครีเอทีฟคลาส ภายใต้แนวคิดศิลปะไร้รูปลักษณ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน, ณัฐนันท์ อยู่ชมบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายปาร์ตี้แวร์ จากการแปรรูปน้ำยางพาราลาเท็กซ์ (PARA LATEX) สำหรับสตรีครีเอทีฟคลาส (Creative Class) ภายใต้แนวคิดศิลปะไร้รูปลักษณ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยเพื่อแนวทางในการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายปาร์ตี้แวร์ จากการแปรรูปวัสดุทางการเกษตรน้ำยางพาราลาเท็กซ์ โดยการต่อยอดและพัฒนานวัตกรรมการแปรรูปวัสดุที่มาจากวัสดุทางธรรมชาติ เพื่อให้มีคุณภาพและคุณสมบัติที่เหมาะสมสามารถเป็นวัสดุทางเลือกสำหรับอุตสาหกรรมแฟชั่นได้ โดยกระบวนการวิจัยได้เริ่มจากการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมการแปรรูปวัสดุทางการเกษตรน้ำยางพาราลาเท็กซ์เพื่อให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่นำมาต่อยอดเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายได้ และผู้วิจัยได้ทำการศึกษากลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจในด้านของวัสดุที่มีแปลกใหม่และนวัตกรรมล้ำสมัย พบว่า กลุ่มเป้าหมายสตรีครีเอทีฟคลาส คือ กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการโดยมีความต้องการรูปแบบผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเครื่องแต่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ โดยจากการทำแบบสอบจำนวน 100 ท่าน และการสัมภาษณ์ตัวแทนกลุ่มเป้าหมายสตรีครีเอทีฟคลาสจำนวน 3 ท่าน พบว่า กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจกับวัสดุจากนวัตกรรมการแปรรูปวัสดุทางการเกษตรน้ำยางพาราลาเท็กซ์ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความแปลกใหม่และยังพบในสินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายไม่มากนัก และกลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจและชื่นชอบกับแนวคิดทฤษฎีศิลปะไร้รูปลักษณ์ (Abstract Art) ในการสร้างสรรค์ลวดลายและโครงสร้างของเครื่องแต่งกาย โดยผลการวิจัยพบว่า วัสดุทางเลือกจากนวัตกรรมการแปรรูปวัสดุทางการเกษตรน้ำยางพาราลาเท็กซ์ (Para Latex) ได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายสตรีครีเอทีฟคลาส และจากการพัฒนาต่อยอดให้วัสดุสามารถสร้างสรรค์เป็นเครื่องแต่งกายประเภทปาร์ตี้แวร์ได้ จึงจะเห็นได้ว่า วัสดุจากนวัตกรรมการแปรรูปวัสดุทางการเกษตรน้ำยางพาราลาเท็กซ์นั้น สามารถเป็นวัสดุทางเลือกของอุตสาหกรรมแฟชั่นได้ และสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรของประเทศไทย ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน