Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architectural Technology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2020

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type

Articles 61 - 76 of 76

Full-Text Articles in Architectural Technology

การตอบสนองทางอารมณ์ต่อสี และการตกแต่งผนังของห้องพักผู้ป่วยเด็ก, อัศวิน ลาหนองแคน Jan 2020

การตอบสนองทางอารมณ์ต่อสี และการตกแต่งผนังของห้องพักผู้ป่วยเด็ก, อัศวิน ลาหนองแคน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงปีที่ผ่านมาแผนกกุมารเวชกรรมในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทางด้านการออกแบบ สีและลวดลายตกแต่งบนผนังในห้องพักผู้ป่วยเด็กเป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถสร้างบรรยากาศที่ดี มีผลต่อผู้ปกครองในการตัดสินใจแทนบุตร หลานเข้ารับการรักษาและพักฟื้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะสี และลวดลายตกแต่งผนังที่แตกต่างกันภายในสภาพแวดล้อมห้องพักผู้ป่วยเด็กที่มีต่ออารมณ์ของผู้ปกครอง โดยที่งานวิจัยนี้มีผู้ปกครองที่มีบุตร หลานเข้าร่วมทดสอบทั้งหมด 64 คน ผู้เข้าร่วมทดสอบได้ทำการให้คะแนนในการตอบสนองทางอารมณ์ของตนเองต่อภาพจำลองของห้องพักผู้ป่วยเด็ก ด้วยมีสีที่แตกต่างกัน 4 สี และผนังที่แตกต่างกัน 2 ผนัง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การมีสีและลวดลายตกแต่งในสภาพแวดล้อมนั้นส่งผลดีกับสภาพแวดล้อมห้องพักผู้ป่วยเด็ก คุณลักษณะสี และลวดลายตกแต่งผนังที่แตกต่างกัน ส่งผลต่ออารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ความรู้สึกด้านสภาพอารมณ์ ผนังตกแต่งลวดลายธรรมชาติโทนสีฟ้า (WDNC) ส่งผลต่อความพึงพอใจมากที่สุด สำหรับความรู้สึกด้านสภาพแวดล้อม ผนังตกแต่งลวดลายธรรมชาติโทนสีฟ้า (WDNC) และผนังสีฟ้า (WCC) ส่งผลต่อความพึงพอใจมากที่สุด งานวิจัยนี้สรุปได้ว่าคุณลักษณะของสี และลวดลายตกแต่งผนังเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบสภาพแวดล้อมห้องพักผู้ป่วยเด็ก มีส่วนสร้างอารมณ์ในเชิงบวก จูงใจผู้ปกครองตัดสินใจแทนผู้ป่วยเด็กเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สำหรับการต่อยอดด้านการศึกษาในอนาคต ควรพิจารณาปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านอื่น เช่น ปัจจัยด้านแสงสว่างร่วมด้วย


การออกแบบการสื่อสารข้อมูลพลังงานในอาคารสำนักงาน: กรณีศึกษา โครงการพัฒนาและติดตั้งระบบบริหารจัดการพลังงาน (Cu Bems) อาคารจามจุรี 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ชนก สินสมบูรณ์ชัย Jan 2020

การออกแบบการสื่อสารข้อมูลพลังงานในอาคารสำนักงาน: กรณีศึกษา โครงการพัฒนาและติดตั้งระบบบริหารจัดการพลังงาน (Cu Bems) อาคารจามจุรี 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ชนก สินสมบูรณ์ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสื่อสารข้อมูลพลังงานในอาคารสำนักงานระหว่างข้อมูลภาพ และข้อมูลเชิงสถิติ เพื่อออกแบบและประเมินรูปแบบการสื่อสารข้อมูลพลังงานที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการติดตามผลพลังงาน และคุณภาพในการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันของผู้ใช้อาคาร โดยงานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ปฏิบัติงานภายในอาคารจามจุรี 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 40 คน ใช้วิธีดำเนินงานวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม และการใช้แบบสอบถามวัดระดับแรงจูงใจต่อการอนุรักษ์พลังงานในสำนักงาน 5 ระดับ หลังทดลองใช้งานเว็บแอปพลิเคชันทั้ง 3 รูปแบบคือ 1) รูปแบบข้อมูลเชิงสถิติซึ่งเป็นรูปแบบเดิมของโครงการ CU BEMS 2) รูปแบบภาพเสมือนสัตว์เลี้ยง 3) รูปแบบภาพเสมือนระบบนิเวศในฟาร์ม ทดลองใช้งานรูปแบบละ 1 สัปดาห์ รวม 3 สัปดาห์ เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาการออกแบบครั้งที่ 2 เพิ่มเติมเป็นรูปแบบที่ 4 รูปแบบผสมผสานระหว่างภาพเสมือนและข้อมูลเชิงสถิติ เปรียบเทียบระดับแรงจูงใจกับการออกแบบครั้งที่ 1 และทดสอบความสามารถในการใช้งาน ด้วยวิธีการทดสอบทางไกล (Remote Usability Testing) ตามหลัก ISO 9241-11 วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับแบบสอบถามความพึงพอใจจากการใช้งานเว็บแอปพลิเคชัน (PSSUQ) ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการสื่อสารข้อมูลพลังงงานในสำนักงาน ควรประกอบด้วย 6 ส่วนได้แก่ 1) ส่วนการให้ความรู้และคำแนะนำในการลดใช้พลังงาน 2) ส่วนการตรวจสอบและติดตามผลพลังงาน 3) ส่วนการเปรียบเทียบข้อมูลพลังงาน 4) ส่วนการให้รางวัล 5) ส่วนแนะนำการใช้งานเว็บแอปพลิเคชัน 6) ส่วนการแจ้งเตือน กาารใช้เว็บแอปพลิเคชันทั้ง 4 รูปแบบ ส่งผลต่อการเกิดแรงจูงใจในการติดตามผลพลังงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่ารูปแบบผสมผสานส่งผลต่อการเกิดแรงจูงใจในการอนุรักษ์พลังงานในสำนักงานมากที่สุด จากการทดสอบความสามารถในการใช้งานพบว่า กลุ่มตัวอย่างสามารถใช้งานเว็บแอปพลิเคชันรูปแบบผสมผสานถูกต้องสมบูรณ์ 100% มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จึงสรุปได้ว่าการออกแบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสื่อสารข้อมูลการใช้พลังงานในอาคารจามจุรี 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงควรเป็นรูปแบบผสมผสาน และเนื่องจากการดำเนินงานวิจัยครั้งนี้อยู่ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ทำให้อาคารจามจุรี 5 ปิดทำการ จึงไม่สามารถวัดผลการใช้พลังงานจริงของอาคารได้ ท้ายที่สุดหากมีการศึกษาเพิ่มเติมงานวิจัยนี้จึงเสนอให้ขยายผลการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานของอาคารก่อน และหลังการทดลอง เพื่อศึกษาการใช้เว็บแอปพิลเคชันเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารสำนักงานให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น


ประสิทธิภาพการลดความชื้นในห้องน้ำด้วยลมร้อนจากเทอร์โมอิเล็กทริก, อนุสรณ์ เมืองแก้ว Jan 2020

ประสิทธิภาพการลดความชื้นในห้องน้ำด้วยลมร้อนจากเทอร์โมอิเล็กทริก, อนุสรณ์ เมืองแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research is to evaluate the relative efficiency and cost-effectiveness of dehumidifying a residential bathroom comparing the use of a thermoelectric device and a conventional heater which generates hot air output at 65deg. C. The research is divided into 3 parts. Frist, to find the relationship between the temperature of the hot air output and the dehumidifying rate inside the bathroom. This is to derive the air ventilation rate and steady state temperature in the bathroom. Second, to compare the relative humidity between interior and exterior of the bathroom in the case of not using hot air …


สัดส่วนพื้นผิวดูดซับเสียงต่อความเป็นส่วนตัวของคำพูด ในสำนักงานแบบเปิดโล่ง, ตระการตา มหาสุคนธ์ Jan 2020

สัดส่วนพื้นผิวดูดซับเสียงต่อความเป็นส่วนตัวของคำพูด ในสำนักงานแบบเปิดโล่ง, ตระการตา มหาสุคนธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนพื้นผิวดูดซับเสียงที่ส่งผลต่อความเป็นส่วนตัวของคำพูด ในสำนักงานแบบเปิดโล่ง โดยนำข้อมูลสภาพแวดล้อมจริงจากสำนักงานต้นแบบที่มีมลภาวะทางเสียงในสำนักงานแบบเปิดโล่งมาทำการวิเคราะห์ด้วยซอฟท์แวร์จำลองสถานการณ์มลภาวะเสียง EASE 4.2 โดยการคำนวณค่าระดับความดันเสียง SPL ที่ลดลงจากการดูดซับเสียงของวัสดุ จนส่งผลให้ดัชนีความเข้าใจในคำพูด STI ลดลง ด้วยการวัดและประเมินตามข้อกำหนด ISO 3382-3 Open-plan office ผลจากการวิเคราะห์ด้วยซอฟท์แวร์จำลองสถานการณ์ของสภาพแวดล้อมใหม่ พบว่า การใช้ฝ้าแบบ A1 หรือ A2 ที่มีลักษณะพื้นผิวเป็นรูพรุนมีค่าการดูดซับเสียงมากมาใช้แทนฝ้าแบบฉาบเรียบเดิมที่มีค่าการดูดซับเสียงน้อยตรงบริเวณแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนจากการสนทนา ในระดับติดตั้งที่ความสูง 3.40 เมตร และใช้แผงกั้นส่วนสูง 1.50 ปิดผิวลามิเนท ที่ ตลอดจนการใช้พื้นกระเบื้องยางร่วมด้วย ก็สามารถลดมลภาวะทางเสียงได้ และผ่านเกณฑ์มาตรฐาน


การอนุรักษ์และฟื้นฟูเรือนแถวพื้นถิ่นในย่านเมืองเก่าสกลนคร, ธรรศ วัฒนาเมธี Jan 2020

การอนุรักษ์และฟื้นฟูเรือนแถวพื้นถิ่นในย่านเมืองเก่าสกลนคร, ธรรศ วัฒนาเมธี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การอนุรักษ์และฟื้นฟูเป็นระดับการอนุรักษ์ที่ช่วยรักษาเรือนแถวพื้นถิ่นในย่านเมืองเก่าสกลนคร วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและการใช้งาน นอกจากนี้ การวิจัยนี้ยังศึกษาเหตุปัจจัย วัตถุประสงค์ และแนวคิดที่นำไปสู่เทคนิควิธีการอนุรักษ์และฟื้นฟูเรือนให้สอดคล้องกับการใช้งานในปัจจุบัน แล้วนำผลการศึกษามาสรุปและเสนอแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูที่เหมาะสมกับเรือนแถวพื้นถิ่น วิธีวิจัยเริ่มต้นจากการสำรวจพื้นที่ศึกษาเบื้องต้น ร่วมกับการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นคัดเลือกกรณีศึกษาเพื่อศึกษาเชิงลึกด้วยการสำรวจ การรังวัด และการสัมภาษณ์ การศึกษาพบว่า ในปัจจุบัน เรือนแถวพื้นถิ่นในย่านเมืองเก่าสกลนครคงเหลืออยู่มากกว่า 60 หลัง ส่วนใหญ่ยังมีการใช้งาน มีส่วนน้อยที่ถูกทิ้งร้าง การอนุรักษ์และฟื้นฟูจากกรณีศึกษาแสดงให้เห็นว่า เรือนแถวมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ซึ่งอาจลดทอนความแท้และบูรณภาพของเรือนลง ในทางกลับกัน การดำเนินงานได้ช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ส่งเสริมภูมิทัศน์ย่านเมืองเก่า บอกเล่าประวัติศาสตร์ของพื้นที่ รักษาองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรม ตลอดจนช่วยรักษาคุณค่าทางจิตวิญญาณของอาคาร ข้อเสนอแนะแนวทางการในการอนุรักษ์ฟื้นฟูเรือนประกอบด้วยการส่งเสริมภูมิทัศน์ย่านเมืองเก่าที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์ผนังและองค์ประกอบภายนอกด้านหน้า การส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างร่วมสมัย ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าด้านการใช้งานและเศรษฐกิจ การเพิ่มความสำคัญของการจัดทำเอกสารรวบรวมข้อมูลและบันทึกสภาพ การประเมินคุณค่าก่อนการดำเนินการ การอนุรักษ์ไม้และใช้วัสดุในท้องถิ่น ตลอดจนการวางแผนการบำรุงรักษาอาคารตามขั้นตอนการอนุรักษ์และฟื้นฟู


การออกแบบระบบแสงที่เหมาะสมสำหรับพืชสมุนไพรในโรงเรือน, จุลพัฒน์ ไม้แก้วธนวัฒน์ Jan 2020

การออกแบบระบบแสงที่เหมาะสมสำหรับพืชสมุนไพรในโรงเรือน, จุลพัฒน์ ไม้แก้วธนวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการทดสอบหลอดแอลอีดี (LEDs) พบว่า ความยาวคลื่นแสงในช่วง PAR มี ปริมาณโฟตอนแสงสม่ำเสมอน้อยกว่าแสงอาทิตย์, การกระจายแสงเป็นแบบกระจุกเมื่ออยู่ชิดแต่ กระจายเมื่ออยู่ห่าง, และเป็นอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ งานวิจัยนี้ทำการศึกษาอิทธิพลของช่วง ความยาวคลื่นแสง, มุมองศาแผ่นสะท้อนแสง, และพลังงานทดแทน ต่อลักษณะการเจริญเติบโตของพืช เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบระบบแสงที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืช โดยใช้หลอดแอลอีดี R: G: B = 2.04 : 2.12 : 1.00 , R: G: B = 1.47: 1.83: 1.00 และ 2.53: 2.67: 1.00 เปรียบเทียบกับ แสงอาทิตย์ R: G: B = 1.11: 1.20: 1.00 ร่วมกับมุมองศาแผ่นสะท้อนแสงทามุม 60◦ และ 90◦ จากระนาบพื้น และระบบโซลาเซลล์กระแสตรงเป็นอุปกรณ์ในการศึกษา โดยศึกษา Cannabis sativa L. (กัญชา) เป็นข้อมูลตั้งต้นและเลือก Tagetes erecta L. (ดาวเรือง) เป็นพืชตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ช่วงความยาวคลื่นแสงของแสงอาทิตย์ R: G: B = 1.11 : 1.20 : 1.00 ส่งผลทำให้ดาวเรืองมีการสร้างมวลลำต้นและมวลดอกมากที่สุด, แผ่นสะท้อนแสงทำมุม 60◦ จากระนาบพื้น ส่งผลทำให้ดาวเรืองมีการสร้างมวลเพิ่มขึ้นทุกส่วน และกัญชามีการสร้างมวลลำต้นและมวลดอกเพิ่มขึ้น, รวมถึงการใช้ระบบโซลาเซลล์กระแสตรงสำหรับปลูกพืชมีประสิทธิภาพในการสร้างมวลเฉลี่ย 83% จากไฟบ้าน โดยมีการค้นพบหลักการสำคัญเกี่ยวกับการสะท้อนแสงเข้าสู่ด้านข้างของต้นพืช เมื่อต้นพืชได้รับแสงบริเวณใต้ใบเพิ่มขึ้น จะไปกระตุ้นรงควัตถุดูดซับแสงในชั้น Spongy mesophyll บริเวณใต้ใบที่มีสัดส่วนค่าการสังเคราะห์เป็น 62% ของการได้รับแสงเหนือใบ ส่งผลทำให้ ต้นพืชมีการเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้น


ค่าใช้จ่ายส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัย, สิทธิพร อิสระศักดิ์ Jan 2020

ค่าใช้จ่ายส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัย, สิทธิพร อิสระศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารชุดพักอาศัยมีอายุการใช้งานจำกัด การใช้งานทำให้อาคารเกิดการเสื่อมสภาพ จึงเกิดความต้องการการดูแลบำรุงรักษา นำมาซึ่งค่าใช้จ่ายการดูแลตลอดการใช้งานอาคาร ค่าใช้จ่ายมีการบันทึกเป็นประจำทุกปี อ้างอิงมาตรฐานระบบบัญชี บัญชีค่าใช้จ่ายจึงไม่สะท้อนค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ชัดเจน อายุอาคารที่มากขึ้นส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้น การเข้าใจค่าใช้จ่ายการส่วนกลางอาคารชุดที่แท้จริง จึงเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อการวางแผนงานดูแลรักษาและกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายส่วนกลาง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างการใช้งานอาคาร เพื่อให้เกิดความชัดเจนของโครงสร้างค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และเพื่อเข้าใจค่าใช้จ่ายความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่าย ลักษณะอาคาร และอายุอาคาร อาศัยแนวทางการวิจัยเชิงประจักษ์ โดยการเลือกอาคารชุดพักอาศัยเป็นกลุ่มประชากรตัวอย่าง รวบรวมข้อมูลทูติยภูมิจากบัญชีรายจ่ายนิติบุคคลอาคารชุด 39 กรณีศึกษา ที่มีการบันทึกต่อเนื่อง 14 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2546-2560 ทั้งหมด 296 บัญชี จาการศึกษาทำให้เข้าใจว่า รายการค่าใช้จ่ายส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัยทั้งหมด 83 รายการ ได้แก่ หมวดสาธารณูปโภค หมวดบริหารและจัดการ หมวดบริการอาคาร และหมวดซ่อมแซมและบำรุงรักษา การวิเคราะห์สัดส่วนค่าส่วนกลางอาคารชุด พบว่า ค่าบริหารและจัดการ ร้อยละ 40 ค่าบริการอาคาร ร้อยละ 45 ค่าสาธารณูปโภค ร้อยละ 10 และค่าดูแลและบำรุงรักษา ร้อยละ 5 รูปแบบการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายจำแนกตามการบริหารทรัพยากรกายภาพ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลง ระหว่าง ร้อยละ 5-10 เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ พบใน ค่าบริหารและจัดการ ค่าบริการอาคาร และการสาธารณูปโภค และการเปลี่ยนแปลงมากกว่า ร้อยละ 10 เพิ่มอย่างกระจัดกระจาย พบใน ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายพื้นฐานสำคัญที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายส่วนอาคารชุดพักอาศัยมาก ได้แก่ ค่าบริหารอาคาร ค่าบริการทำความสะอาด ค่ารักษาความปลอดภัย และค่าไฟฟ้า การเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ช่วงปีที่ 1-3 เป็นช่วงที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นสูงสุด ช่วงปีที่ 4-5 ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคงที่ เมื่ออายุอาคารมากกว่าปีที่ 6 พบว่าค่าใช้จ่ายการซ่อมแซมและบำรุงรักษายังคงเพิ่มขึ้นอย่างกระจัดกระจาย อย่างมีนัยยะสำคัญกับรอบอายุอาคาร ผลทดสอบความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างค่าใช้จ่ายส่วนกลางและลักษณะอาคาร และเวลา พบว่า ค่าใช้จ่ายส่วนกลางสัมพันธ์กับระดับราคาและอายุอาคารอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติสูงมาก ค่าใช้จ่ายส่วนกลางแปรผันตามอายุอาคารและราคาขาย แต่แปรผกผันกับขนาดอาคาร จำนวนห้องชุด จำนวนชั้น จำนวนอาคาร …


การเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืนด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรณี:มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคกลาง กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, ทรงกิต การีซอ Jan 2020

การเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืนด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรณี:มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคกลาง กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, ทรงกิต การีซอ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะประเมินประสิทธิภาพทางความยั่งยืน และเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืน ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาโดยทำการศึกษาด้วยวิธีการประเมินมหาวิทยาลัยตามหลักเกณฑ์การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก (UI Green Metric World Ranking) เน้นการประเมินในหัวข้อที่ 2 ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ อันได้แก่ 1.อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน 2.อาคารอัจฉริยะทั้งหมดของมหาวิทยาลัย 3.พลังงานทดแทนซึ่งผลิตได้ในมหาวิทยาลัย 4.ปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดหารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด 5.อัตราส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียนหารด้วยการใช้พลังงานทั้งหมดต่อปี 6.องค์ประกอบของอาคารสีเขียวที่ดำเนินการตามนโยบายการก่อสร้างและปรับปรุงทั้งหมด 7.การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ 8.ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทั้งหมดหารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด โดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในหัวข้อ การประเมิน ข้อที่ 2 และแสดงแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนโดยคำนึงความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีผลการประเมิน อยู่ที่ 500 คะแนน และหากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาต้องการเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืนด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะต้องใช้งบประมาณในการลงทุนประมาณ 35,321,906 บาท และ มีระยะเวลาในการคุ้มทุนประมาณ 6-7 ปี หลังจากดำเนินการ ท้ายที่สุดนั้นในงานวิจัยนี้สรุปได้ว่าการเพิ่มพื้นที่อาคารอัจฉริยะและเพิ่มจำนวนแหล่งที่มาของพลังงานทดแทนอื่นนอกจากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นหัวข้อที่ดำเนินการได้ยากที่สุด ในส่วนของการดำเนินการที่มหาวิทยาลัยควรเริ่มดำเนินการคือการลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช่วยส่งเสริมการประหยัดพลังงานจะทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืนด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีกว่าเดิมและต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ที่คุ้มค่าต่อการลงทุนในอนาคต


ลักษณะทางกายภาพของแผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลเอกชน กรณีศึกษา โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในจังหวัดชลบุรี, กัณฐวรรณ ทับหนองฮี Jan 2020

ลักษณะทางกายภาพของแผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลเอกชน กรณีศึกษา โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในจังหวัดชลบุรี, กัณฐวรรณ ทับหนองฮี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงพยาบาลเอกชนเป็นธุรกิจการให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับผู้มีกำลังซื้อ และเป็นธุรกิจที่ใช้งบประมาณในการลงทุนสูง จึงต้องคำนึงถึงผลตอบแทน ทำให้โรงพยาบาลเอกชนมีการกำหนดนโยบายทางการตลาดที่สอดคล้องกับบริบทและอัตลักษณ์ของแต่ละแห่ง โดยโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดชลบุรีตั้งอยู่ในบริบทของเมืองที่แตกต่างกัน ทำให้มีเป้าหมายและนโยบายที่หลากหลาย ผู้วิจัยจึงตั้งสมมติฐานว่าการออกแบบเพื่อตอบสนองกับนโยบายที่แตกต่างกันของแต่ละโรงพยาบาลจะส่งผลให้มีลักษณะทางกายภาพต่างกันออกไป โดยเฉพาะแผนกผู้ป่วยนอก เนื่องจากเป็นแผนกแรกที่ลูกค้าเข้ามารับบริการและมีสัดส่วนการใช้บริการมากที่สุด จากการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าทั่วไป จะเน้นให้ลูกค้าได้รับความเป็นส่วนตัวและความสะดวกสบายสูง ด้วยการจัดรูปแบบพื้นที่แบบกระจายและมีขนาดพื้นที่พักคอย 16.34-19.01 ตร.ม.ต่อห้องตรวจ ซึ่งใหญ่กว่าโรงพยาบาลที่รับผู้ใช้สิทธิ์ประกันสังคม ด้วยขนาดพื้นที่พักคอย 13.68-15.78 ตร.ม.ต่อห้องตรวจ และการออกแบบพื้นที่แบบรวมและแบบกระจาย และจะมีการแยกแผนกประกันสังคมออกจากแผนกผู้ป่วยนอกอื่น ๆ โดยรวมห้องตรวจแต่ละกลุ่มโรคในพื้นที่เดียวกัน ส่วนโรงพยาบาลที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าชาวต่างชาติ จะมีแผนกรับรองต่างชาติเพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนขนาดพื้นที่พักคอยต่อห้องตรวจของแผนกประกันสังคม แผนกผู้ป่วยนอกทั่วไป และแผนกรับรองต่างชาติอยู่ที่ 14.47 , 15.08 และ 31.20 ตร.ม.ต่อห้อง และมีขนาดห้องตรวจของแผนกประกันสังคม แผนกผู้ป่วยนอกทั่วไป และแผนกรับรองต่างชาติอยู่ที่ 14.94 , 15.07 และ 17.60 ตร.ม.ต่อห้องตรวจตามลำดับ ส่วนโรงพยาบาลเอกชนที่มีการแพทย์เฉพาะทาง จะทำให้พื้นที่ของแผนกเฉพาะทางนั้นมีขนาดใหญ่กว่าแผนกอื่นๆ และมีการออกแบบพื้นที่พักคอยแบบกระจาย เพื่อแยกผู้ป่วยโรคทั่วไป และโรคเฉพาะทาง นอกจากนั้นการออกแบบลักษณะกายภาพของแผนกผู้ป่วยนอกควรมีความยืดหยุ่น เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนต้องปรับตัวตามสภาพตลาด และมีการวางแผนขยายตัวในอนาคต ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ โรงพยาบาลที่มีที่ดินมากจะออกแบบวางผัง ก่อสร้างและเปิดใช้อาคารเป็นระยะ ส่วนโรงพยาบาลที่มีที่ดินน้อย จะลงทุนก่อสร้างอาคารไว้ล่วงหน้า แล้วทยอยเปิดใช้พื้นที่เมื่อมีความต้องการของตลาด ทั้งนี้ต้องคำนึงร่วมกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบแผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลเอกชน ได้แก่ นโยบายของโรงพยาบาล กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ความสะดวกสบายและเป็นส่วนตัว งบประมาณและความคุ้มค่า ลักษณะเฉพาะของแผนก บุคลากร และเส้นทางสัญจร และมีข้อจำกัดเรื่อง รูปแบบที่ดิน พื้นที่ และงบประมาณที่เป็นไปตามความสามารถในการลงทุนของโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งในโรงพยาบาลกรณีศึกษาแต่ละแห่งจะมีปัจจัยและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้ลักษณะทางกายภาพของแผนกผู้ป่วยนอกมีความแตกต่างกันและโรงพยาบาลต้องบริหารจัดการพื้นที่ที่มีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและคุ้มค่า


อิทธิพลของการจัดแสดงสินค้าแบบเคลื่อนไหวในตู้แสดงสินค้าของร้านขายรองเท้ากีฬาต่อการรับรู้ทางอารมณ์และการตัดสินใจเข้าร้าน, จินดารัตน์ ศรีอัมพร Jan 2020

อิทธิพลของการจัดแสดงสินค้าแบบเคลื่อนไหวในตู้แสดงสินค้าของร้านขายรองเท้ากีฬาต่อการรับรู้ทางอารมณ์และการตัดสินใจเข้าร้าน, จินดารัตน์ ศรีอัมพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ของการจัดแสดงสินค้าแบบเคลื่อนไหวต่อการรับรู้อารมณ์และการตัดสินใจเข้าร้านรองเท้ากีฬา มีเป้าหมายหลักในการเสนอแนวทางการออกแบบในด้านการรับรู้อารมณ์ ความเหมาะสมและการตัดสินใจเข้าร้านค้า จากผู้เข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 92 คน เพศชายและหญิงอายุระหว่าง 21-60 ปี ดำเนินการทดสอบด้วยวิธีทดลองจากภาพวิดีโอ 3 มิติผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ และตอบแบบสอบถามจากปัจจัยของรูปแบบการจัดแสดง 3 รูปแบบ ได้แก่ คลื่นแนวนอน คลื่นแนวตั้ง วงกลม ร่วมกับปัจจัยความเร็ว 5 ระดับ ได้แก่ 0.00 เมตร/วินาที 0.12 เมตร/วินาที 0.24 เมตร/วินาที 0.36 เมตร/วินาที และ 0.48 เมตร/วินาที เพื่อประเมินการรับรู้อารมณ์จากคู่คำตรงข้าม 9 คู่ ผลการวิจัยพบว่าการจัดแสดงสินค้าแบบเคลื่อนไหวส่งผลต่อการรับรู้อารมณ์เชิงบวกและการตัดสินใจเข้าร้านรองเท้ากีฬามากกว่าการจัดแสดงสินค้าแบบไม่เคลื่อนไหว โดยพบว่ารูปแบบวงกลมที่ระดับความเร็ว 0.12 เมตร/วินาที ส่งผลต่อการรับรู้เชิงบวกและการตัดสินใจเข้าร้านมากที่สุด และการจัดแสดงสินค้าแบบคลื่นแนวตั้งส่งผลต่อการรับรู้เชิงบวกน้อยที่สุด นอกจากนั้นยังพบว่าในกรณีที่ไม่มีการเคลื่อนไหว รูปแบบการจัดแสดงแบบวงกลมให้ค่าเฉลี่ยทางการรับรู้อารมณ์เชิงบวกในทุกด้านของการรับรู้ทางอารมณ์ งานวิจัยนี้เสนอแนะว่าในอนาคตควรพิจารณาปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์จากกลุ่มที่มีกำลังซื้อ และปัจจัยด้านรูปแบบการจัดแสดงสินค้าแบบเคลื่อนไหวที่หลากหลายขึ้น รวมถึงการทดลองในสถานที่จริง


อิทธิพลของดนตรีพื้นหลังที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก และประสิทธิภาพความจำ ความคิดสร้างสรรค์กรณีศึกษา: สภาพแวดล้อมแบบพื้นที่ทำงานร่วมกัน, ประพจน์ สมรรถไท Jan 2020

อิทธิพลของดนตรีพื้นหลังที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก และประสิทธิภาพความจำ ความคิดสร้างสรรค์กรณีศึกษา: สภาพแวดล้อมแบบพื้นที่ทำงานร่วมกัน, ประพจน์ สมรรถไท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลของดนตรีพื้นหลังต่ออารมณ์ ความรู้สึก และประสิทธิภาพความจำ ความคิดสร้างสรรค์ ในสภาพแวดล้อมแบบพื้นที่ทำงานร่วมกัน เป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่นำ S-O-R Model มาใช้ในการเปรียบเทียบพื้นที่ทำงานร่วมกันที่มีดนตรีพื้นหลัง และไม่มีดนตรีพื้นหลัง โดยแนวดนตรีที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แนวดนตรี Jazz Bossa Nova แนว Classic และแนว Rock ซึ่งเล่นในอัตราจังหวะดนตรีที่ Adagio และ Allegro เก็บรวบรวมข้อมูลการตอบสนองทางอารมณ์ ประสิทธิภาพความจำและความคิดสร้างสรรค์จากผู้เข้าร่วมการวิจัย จำนวน 224 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองที่ใช้ดนตรีแนว Jazz Bossa Nova แนว Classic และแนว Rock มีอิทธิพลในเชิงบวกต่อการรับรู้อารมณ์ ความรู้สึก ความจำและความคิดสร้างสรรค์เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีดนตรีพื้นหลัง และผลการวิจัยแสดงว่าดนตรีแนว Jazz Bossa Nova อัตราจังหวะดนตรี Allegro tempo เหมาะสมกับการส่งเสริมการรับรู้สิ่งแวดล้อมในเชิงบวกในขณะที่ดนตรีแนว Classic อัตราจังหวะดนตรี Allegro ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพความจำและความคิดสร้างสรรค์ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกในเชิงบวก และงานวิจัยนี้เสนอว่า ในอนาคตควรมีการศึกษาเพิ่มเติมปัจจัยด้านเสียงดนตรีพื้นหลังแนวอื่น การมีคำร้องในเสียงดนตรี และปัจจัยความชื่นชอบส่วนบุคคล


ความเปลี่ยนแปลงของผังกายภาพโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พ.ศ. 2431-2563, วีระภัทร์ กระหม่อมทอง Jan 2020

ความเปลี่ยนแปลงของผังกายภาพโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พ.ศ. 2431-2563, วีระภัทร์ กระหม่อมทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาผังกายภาพโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ขนาดใหญ่และมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน เพื่อให้เข้าใจลักษณะและความเปลี่ยนแปลงของผังกายภายในโรงพยาบาลที่มีความซับซ้อน การศึกษาประกอบไปด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะผังกายภาพของโรงพยาบาลทั้งสองแห่งในช่วงเวลาต่าง ๆ การสังเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดทำผังจำลองและข้อมูลประกอบที่มีรูปแบบเดียวกันเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีกรอบในการวิเคราะห์ 4 ประเด็น คือ (1) ที่ดิน (2) การจัดอาคาร ที่ว่าง และทางสัญจร (3) ขนาดอาคารและที่ว่าง และ (4) การแบ่งส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผลการวิจัยพบว่า ผังกายภาพโรงพยาบาลทั้งสองแห่งมีความเปลี่ยนแปลงแบ่งได้เป็น 6 ช่วง จากผังที่มีอาคารขนาดเล็กใช้การระบายอากาศแบบธรรมชาติ มาเป็นผังที่มีอาคารขนาดใหญ่พิเศษใช้การระบายอากาศด้วยเครื่องกล โดยมีข้อค้นพบว่า ปัจจัยที่ทำให้ผังกายภาพโรงพยาบาลทั้งสองแห่งที่แล้วมาเกิดความเปลี่ยนแปลงได้แก่ (1) ขนาดที่ดิน โดยเฉพาะโรงพยาบาลศิริราชที่มีการขยายขอบเขตที่ดินหลายครั้ง (2) วิธีการระบายอากาศที่ทำให้ผังกายภาพในช่วงแรกมีที่ว่างระหว่างอาคาร (3) วิธีการเข้าถึงโรงพยาบาล จากที่เคยมีทางสัญจรทางน้ำ มาเพิ่มความสำคัญของการเข้าถึงทางถนน และการสร้างสถานีรถไฟฟ้า ทำให้เกิดทางเข้าใหม่ และถนนภายใน (4) ขนาดและความสูงอาคารที่สามารถก่อสร้างได้ใหญ่และสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้รวมประโยชน์ใช้สอยที่เคยกระจายอยู่ในอาคารที่เล็กกว่าได้ นอกจากนี้ยังพบว่า การจัดระเบียบการแบ่งส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินมักจะเกิดขึ้นหลังจากการจัดทำผังแม่บท และโรงพยาบาลทั้งสองแห่งต่างมีแนวความคิดทางด้านการอนุรักษ์อาคาร ทำให้ผังกายภาพยังคงมีอาคารขนาดเล็ก แม้ว่าจะสามารถสร้างอาคารได้กว่า 100,000 ตร.ม.แล้ว


Highrise In Tropics: Analyses And Syntheses On Core System Of Residential Highrise Buildings In Tropical Region, Khin Thu Thu Kyaw Nyunt Jan 2020

Highrise In Tropics: Analyses And Syntheses On Core System Of Residential Highrise Buildings In Tropical Region, Khin Thu Thu Kyaw Nyunt

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis entitled "High-rise in Tropics: Analyses and Syntheses on Core System of Residential High-rise Buildings in Tropical Region" is the study on the space composition of core and circulation systems of high-rise buildings to propose a design of residential high-rise building in the existing project called Star City Thanlyin in Yangon. This attempt is to begin to understand the differences between the positions of core and the composition of circulation systems that may effect the quality of spaces, especially in terms of natural light and ventilation. This thesis begins with a historical approach to study compositions of core system …


อิทธิพลของทิศทางการส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสงที่ส่งผลต่อการรับชมผ้าทอมือในพิพิธภัณฑ์, อาศิรา จรรยาวิศุทธ Jan 2020

อิทธิพลของทิศทางการส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสงที่ส่งผลต่อการรับชมผ้าทอมือในพิพิธภัณฑ์, อาศิรา จรรยาวิศุทธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอิทธิพลของทิศทางการส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสงที่ส่งผลต่อการรับชมผ้าทอมือที่จัดแสดงของผู้ชมในพิพิธภัณฑ์ ดำเนินการทดลองในห้องจำลองที่มีการปรับเปลี่ยนปัจจัยในการศึกษารวมทั้งสิ้น 24 สภาวะ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านทิศทางการส่องสว่าง ได้แก่ ทิศขนานกับเส้นพุ่ง (0°) ทิศเอียงทำมุมกับเส้นพุ่ง (45°) และทิศตั้งฉากกับเส้นพุ่ง (90°) ปัจจัยด้านอุณหภูมิสีของแสง ได้แก่ 3000K และ 4000K ทำการศึกษาในผ้าไหมทอมือ ได้แก่ ผ้าไหมยกดอกสีแดง ผ้าไหมยกดอกสีเขียว ผ้าไหมยกดอกเส้นทองและผ้าไหมยกดอกเส้นเงิน ทั้งนี้เก็บข้อมูลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน โดยใช้แบบสอบถามการจำแนกความหมายของคำ (semantic differential scale) ผลการศึกษาพบว่าทิศทางการส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสงมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของผู้ชมต่อผ้าทอมือที่จัดแสดงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้โดยภาพรวมพบว่าการเลือกใช้ทิศทางการส่องสว่างตั้งฉากกับเส้นพุ่ง (90°) ร่วมกับอุณหภูมิสีของแสง 3000K สามารถส่งเสริมการรับรู้เชิงบวกของผ้าได้หลายด้านมากที่สุด ทั้งด้านความมีสีสัน ความนุ่มนวล ความหรูหรา ความมันวาว ความมีมิติของพื้นผิว ความชัดเจนของลวดลายและความเป็นโลหะ ทั้งนี้ในการจัดแสดงผ้าทอมือแนะนำให้มีการจัดกลุ่มของผ้าตามโทนสีของผ้าหรือตามชนิดของเส้นใยที่ใช้ทอเพิ่มเติม เพื่อประกอบการเลือกใช้ทิศทางการส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสงที่ส่งเสริมการรับรู้เชิงบวกต่อผ้าที่จัดแสดง


Resignificación De Un Territorio Productor De Ladrillo Artesanal Vereda De Patio Bonito Nemocón Cundinamarca, Angélica María Riveros Loaiza, Jesica Tatiana Gómez, Andrés Felipe Sierra Jan 2020

Resignificación De Un Territorio Productor De Ladrillo Artesanal Vereda De Patio Bonito Nemocón Cundinamarca, Angélica María Riveros Loaiza, Jesica Tatiana Gómez, Andrés Felipe Sierra

Arquitectura

No abstract provided.


การตกแต่งแสงสำหรับงานแต่งงานช่วงเวลากลางคืนที่ชายหาด, อรพรรณ ไกรทอง Jan 2020

การตกแต่งแสงสำหรับงานแต่งงานช่วงเวลากลางคืนที่ชายหาด, อรพรรณ ไกรทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พิธีมงคลสมรสหรืองานแต่งงานเป็นหนึ่งในประเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันคู่บ่าวสาวนิยมใช้พื้นที่แบบนอกอาคารในการจัดงานแต่งงานมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีบรรยากาศที่ดี ซึ่งนิยมใช้พื้นที่บนดานฟ้าอาคาร ในสวน และพื้นที่ริมทะเล การจัดงานแต่งงานนิยมจัดกันสองช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงพิธีการในเวลาเช้าและช่วงพิธีฉลองในเวลากลางคืน การจัดงานฉลองงานแต่งงานมีหลายปัจจัยสำคัญหนึ่งในนั้นเป็นเรื่องการจัดแสง เนื่องจากในเวลากลางคืนจะไม่มีแสงสว่างที่เพียงพอ และการจัดแสงเป็นการตกแต่งสร้างให้เกิดความสวยงามและบรรยากาศที่ดีให้แก่งานอีกด้วย การศึกษาวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาเรื่องของการจัดตำแหน่งและทิศทางของแสงให้ได้ตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับฉากพิธีการต่าง ๆ ภายในงาน ได้แก่ ฉากถ่ายรูปหน้างาน ฉากพิธีการบนเวที และฉากพิธีโยนช่อดอกไม้ /พิธีตัดเค้ก/พิธีรินแชมเปญ ศึกษาการจัดแสงร่วมกับการใช้โทนสี ได้แก่ โทนสีร้อนและโทนสีเย็น ทำการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตการณ์จากพื้นที่จัดงานแต่งงานจริงจำนวน 18 งานแต่งงาน สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม จำนวน 45 คน นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เพื่อทำการสนทนาแบบกลุ่มเพื่อสอบถามความคิดเห็นแบบ Focus Group เพื่อให้กลุ่มตัวอย่าง เพศหญิงและเพศชาย อายุ 20-45 ปี จำนวน 100 คน ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นจากภาพถ่ายที่ได้จากการสังเกตการณ์จริงถึงความรู้สึกที่มีต่อรูปแบบของการจัดแสงไฟในตำแหน่งต่าง ๆ ในแต่ละพิธีการร่วมกับการเลือกใช้โทนสีในการตกแต่ง จากการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างพบว่าตำแหน่งและทิศทางของการจัดแสงที่มีการจัดตำแหน่งและทิศทางแสงอย่างน้อย 3 ตำแหน่ง ส่งผลต่อความรู้สึกชอบมากที่สุด และมีความรู้สึกชื่นชอบต่อการเลือกใช้โทนสีเย็นเป็นหลักมากที่สุด งานวิจัยนี้สรุปได้ว่าการจัดวางตำแหน่งทิศทางของแสงและการเลือกใช้โทนสีเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างอารมณ์และบรรยากาศที่ดี ดังนั้นการนำไปประยุกต์ใช้ จึงควรพิจารณาถึงการจัดวางตำแหน่งและทิศทางของแสงที่เหมาะสม รวมไปถึงการเลือกใช้โทนสีในอัตราส่วนที่เหมาะสม