Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architectural Technology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2020

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type

Articles 31 - 60 of 76

Full-Text Articles in Architectural Technology

A Comparative Study Of Cadworx Plant 2018 And Revit 2020 With Ez-Iso Add-In, For The Production Of Piping Isometrics, Bim Tudublin, Killian Lynch Jan 2020

A Comparative Study Of Cadworx Plant 2018 And Revit 2020 With Ez-Iso Add-In, For The Production Of Piping Isometrics, Bim Tudublin, Killian Lynch

Capstone Reports

BIM software evaluation and selection is a complex process. In this paper, a comparative study of Revit 2020 with Ez-ISO add-in, and CADWorx Plant 2018, was carried out. The aim of this study was to determine if a MEP contractor could consolidate software usage into one package, thereby reducing costs for pipework modelling and isometric production. A comprehensive evaluation was developed based on a literature review. A multicriteria decision-making method was used in conjunction with the software evaluation to ensure sound choices were made. An online survey of senior BIM professionals was conducted to validate the analysis and findings. The …


A Critical Examination Of The Use Of Business Intelligence (Bi) In The Optioneering Of Generative Design Models: A Case Study., Bim Tudublin, Davitt Lamon Jan 2020

A Critical Examination Of The Use Of Business Intelligence (Bi) In The Optioneering Of Generative Design Models: A Case Study., Bim Tudublin, Davitt Lamon

Capstone Reports

This research outlines the development of a generative des ign workflow for the architectural space planning of a 1,200 sq.m office located in Dublin, Ireland, and the application of statistical analysis and data visualisation for the optioneering of gen erated models. First, the paper defines a computational desig n model with the potential to generate a variety of office layouts, including circulation routes and desk locations. It then identifies three unique performance metrics that evaluate each design option. Finally, the study applies a multi objective genetic algorithm (MOGA) to explore the high dimensional design space of all potential options and …


A Critical Appraisal Of Findings And Solutions To Overcome Erroneous Bim Model Production And Information Delivery Workflows, Bim Tudublin, Ryan Forde Jan 2020

A Critical Appraisal Of Findings And Solutions To Overcome Erroneous Bim Model Production And Information Delivery Workflows, Bim Tudublin, Ryan Forde

Capstone Reports

There are many varying definitions of Building Information Modelling, all of which reflect its transformative capabilities and impact on the construction sector. BIM is an emerging technological and procedural shift within the AEC industry (Succar, 2009). BIM is not just a technological change, but also a procedural and workflow change (Charles Eastman, 2018). Despite the growth of BIM adoption and increasing levels of maturity regarding BIM standards, numerous issues still arise at a micro level during project execution. BIM invokes the need for workflows, frameworks and processes that imparts knowledge, heightens trust, increases efficiency and consistency while reducing fragmentation and …


Can The Integration Of Bim And Gis Enhance Information Management For Large Scale Linear Infrastructure Projects?, Bim Tudublin, Brendan Kennedy Jan 2020

Can The Integration Of Bim And Gis Enhance Information Management For Large Scale Linear Infrastructure Projects?, Bim Tudublin, Brendan Kennedy

Capstone Reports

The integration of BIM and GIS is the subject of considerable research, particularly as the two coalesce for the purpose of information management. Large scale infrastructure projects require best practice in terms of how information is managed given the volume of information generated throughout the project lifecycle and the numerous parties requiring access to project content. This paper investigates whether the integration of BIM and GIS can enhance information management on large scale linear infrastructure projects. The research comprised a literature review and interviews with a number of BIM/GIS professionals actively working on linear infrastructure projects across the world. Some …


Grayscale Portfolio, Brandon D. Chambers Jan 2020

Grayscale Portfolio, Brandon D. Chambers

2020 Symposium Creative Works

This collection is intended to evoke the sensory details that are intensified by grayscale photography. Although photography is a visual arts medium, it possesses the potential to engage the viewers’ auditory, tactical, and olfactory senses. The color symbolism theory argues that through natural association and psychological symbolism, colors have specific connotations and therefore, elicit certain emotions. If this is, in fact, the case, what then can be gained from an image that is void of color? I feel that color often distracts the viewer from the intimate details of the images and prevents them from fully immersing themselves in the …


Mercado Utopía Estructura Multifuncional, Mariana Ayala Rendón, Astrid Carolina Ortiz Garnica, Fabián David Gómez Bustamante Jan 2020

Mercado Utopía Estructura Multifuncional, Mariana Ayala Rendón, Astrid Carolina Ortiz Garnica, Fabián David Gómez Bustamante

Arquitectura

Antecedentes: La Universidad de La Salle en la sede Utopía que se encuentra en Yopal hace unos años comenzó a realizar un mercado después de la eucaristía de los días domingo, esta se hacía a la una de la tarde lo que permitía que varía personas que salían del encuentro compraran y consumieran los productos que los estudiantes vendían, esta actividad se pauso al aumentar de productos y de consumidores ya que no tenían un espacio en donde se pudieran acomodar bien. El laboratorio que apoya este trabajo de grado tiene como socio a Aruco empresa que produce madera contrachapada …


การศึกษาความเหมาะสมของห้องพักหลังออกกำลังกายของผู้สูงอายุ, พงศกร เจริญพงพันธุ์ Jan 2020

การศึกษาความเหมาะสมของห้องพักหลังออกกำลังกายของผู้สูงอายุ, พงศกร เจริญพงพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อร่างกายและความรู้สึกร้อนหนาวของผู้สูงอายุภายหลังการออกกำลังกาย 2) เพื่อออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำห้องพักหลังออกกำลังกาย (Cool down) สำหรับผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงห้องพักหลังออกกำลังกาย (Cool down) สำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย แบบแผนการวิจัยเป็นวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง (One Group Pretest Posttest Design) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพปกติ ผู้วิจัยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) จากบ้านพักคนชรา A ในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ และ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาวะน่าสบายของผู้สูงอายุ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา รูปภาพ กราฟแท่ง และสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทิศทางเดียว ผลการวิจัยแบ่งเป็น 2 ข้อ ได้แก่ 1) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกร้อนหนาวของผู้สูงอายุทั้งก่อนและหลังการออกแบบฯ พบว่า อุณหภูมิของอากาศมีค่าเท่ากับ 24.580 และ 26.066 องศาเซสเซียล โดยที่ข้อกำหนดของ ASHRAE เท่ากับ 24.5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 51.879% และ 51.665% สูงกว่าข้อกำหนดเล็กน้อย 1.665-1.879% ความเร็วลมเท่ากับ 0.131 และ 0.132 เมตรต่อวินาที ต่ำกว่าข้อกำหนดเล็กน้อย 0.18-0.19 เมตรต่อวินาที อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวรอบร่างกาย เท่ากับ 26.872 และ 28.066 องศาเซลเซียส และผลการประเมินสภาวะน่าสบายตามการรับรู้ประสาทสัมผัสของผู้สูงอายุ เท่ากับ -0.833 และ -0.628 ต่ำกว่าข้อกำหนดของ ASHRAE ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0 และ 2) การออกแบบและแนวทางการปรับปรุงห้องพักหลังออกกำลังกาย (Cool …


โครงสร้างไม้ไผ่ประกับกาวและไม้ยางพาราวัสดุโครงสร้างผสม 2x4 นิ้ว สำหรับหน่วยพักอาศัย, ศวิษฐ์ พิริยะสุรวงศ์ Jan 2020

โครงสร้างไม้ไผ่ประกับกาวและไม้ยางพาราวัสดุโครงสร้างผสม 2x4 นิ้ว สำหรับหน่วยพักอาศัย, ศวิษฐ์ พิริยะสุรวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไม้ประกับกาวเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเพื่อทดแทนความต้องการไม้หน้ากว้าง ซึ่งมีจำนวนทรัพยากรลดน้อยลง ประเทศไทยยังคงมีการพัฒนาไม้ประกับกาวในรูปแบบ "Glued laminated timber" ตั้งแต่ ค.ศ.1971 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นการนำไม้มาเรียงต่อกันเป็นชั้นในทิศทางเดียว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความแข็งแรงในการนำมาใช้เป็นโครงสร้าง นอกจากทรัพยากรไม้ในพื้นที่ป่าเบญจพรรณในประเทศไทย ยังมี "ไผ่" ซึ่งถือวัสดุทางเลือกที่คนให้ความสนใจในหลายมิติ การนำไผ่มาใช้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพความแข็งแรงของไม้ประกับกาว รวมถึงเป็นการทดแทนอัตราการใช้ไม้ในระบบป่าอุตสาหกรรมให้เกิดความเพียงพอต่อจำนวนทรัพยากรในประเทศไทย วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุผสมไม้ไผ่ประกับกาวและไม้ยางพารา ขนาด 2x4 นิ้ว 2) เพื่อสร้างต้นแบบวัสดุผสมไม้ไผ่ประกับกาวและไม้ยางพารา ขนาด 2x4 นิ้ว 3) เพื่อสรุปแนวทางมาตรฐานวัสดุผสมไม้ไผ่ประกับกาวและไม้ยางพารา ขนาด 2x4 นิ้ว ซึ่งมีกระบวนการวิจัยดังนี้ 1) ศึกษาพัฒนาการไม้ประกับกาว และไม้อัดประสาน ในระดับนานาชาติ และในประเทศไทย 2) ศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของไม้ไผ่ประกับกาวและไม้ยางพาราวัสดุผสม สำหรับหน่วยพักอาศัยด้วยวิธีการทดสอบในห้องทดลอง และกระบวนการวิเคราะห์ "Finite elements analysis" 3) ประยุกต์ใช้วัสดุผสมไม้ไผ่และไม้ยางพาราประกับกาว 2x4 นิ้ว เป็นต้นแบบโครงสร้างใหม่สำหรับหน่วยพักอาศัย แบบ 1 ชั้น ขนาดพื้นที่ 24 ตารางเมตร หน้ากว้างอาคาร 5.00 เมตร ลึก 4.80 เมตร จากการศึกษาพบว่าวัสดุผสมไม้ไผ่ประกับกาวและไม้ยางพารา ขนาด 2x4 นิ้ว สามารถใช้เป็นโครงสร้างทดแทนไม้ยางพาราประกับกาวขนาด 2x6 นิ้ว ในรูปแบบการก่อสร้างแบบเดิม ในส่วนของตงพื้น แม้ว่าคุณสมบัติของไม้ยางพาราจะมีระยะยุบตัวน้อยกว่าวัสดุผสมไม้ไผ่ประกับกาวและไม้ยางพารา 0.33141 mm. หรือคิดเป็น 27.96 % รูปแบบวัสดุผสมไม้ไผ่และไม้ยางพาราประกับกาวที่สอดคล้องกับระบบอุตสาหกรรมไม้ในประเทศไทย การก่อสร้างหน่วยพักอาศัยด้วยวัสดุผสมไม้ไผ่และไม้ยางพาราประกับกาวพบว่ารูปแบบโครงสร้างที่ใช้วัสดุผสมไม้ไผ่และไม้ยางพาราประกับกาว สามารถลดส่วนประกอบของอาคารได้แก่ การใช้ผนังรับน้ำหนักแทนเสา การลดส่วนประกอบของหลังคาในขณะที่ยังสามารถสนับสนุนการรับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคาได้ รูปแบบโครงสร้างวัสดุผสมไม้ไผ่และไม้ยางพาราประกับกาวสำหรับหน่วยพักอาศัย ยังสามารถลดปริมาณไม้จากที่ใช้ไม้คิดเป็นปริมาตรไม้จาก 72.44 ลูกบาศก์ฟุต เหลือเพียง 46.40 ลูกบาศก์ฟุต และลดระยะเวลาในการก่อสร้างหน่วยพักอาศัยได้ 20% เมื่อเทียบกับรูปแบบการก่อสร้างแบบเดิม


La Huella Del Cemento Aportes Del Cemento En La Arquitectura Republicana Bogotá Colombia 1910 - 1932, María Paula Neira Zúñiga Jan 2020

La Huella Del Cemento Aportes Del Cemento En La Arquitectura Republicana Bogotá Colombia 1910 - 1932, María Paula Neira Zúñiga

Arquitectura

Este estudio tiene el propósito de determinar los aportes del cemento a la arquitectura republicana en un período de tiempo comprendido entre 1910-1932, en Bogotá, Colombia. Para esta época se adelantaban procesos de industrialización en la capital del país y el cemento fue novedoso aportando a la evolución técnica, ornamental y funcional de la arquitectura. Esto se logró determinar gracias al análisis de tres casos de estudio: El Quiosco de la Luz (1910), El Edifi cio Pedro A. López (1919-123) y el Edifi cio Piedrahita (1930-1939) contrastando sus características arquitectónicas con las de edifi caciones de estilo colonial y republicano …


Achieving Sustainability Through Reducing Construction Waste During The Design Process: A Value Management Perspective, Ayman Ahmed Ezzat Othman, Sherouk Mohamed Abdelrahim Jan 2020

Achieving Sustainability Through Reducing Construction Waste During The Design Process: A Value Management Perspective, Ayman Ahmed Ezzat Othman, Sherouk Mohamed Abdelrahim

Architectural Engineering

Purpose:

The purpose of this paper is to investigate the role of Value Management towards achieving sustainability through reducing the construction waste during the design process.

Design/methodology/approach

To achieve the abovementioned aim, a research methodology consisting literature review and survey questionnaire is designed to achieve the following objectives: first, building a comprehensive understanding of the research topic through reviewing literature related to the nature of the construction industry, waste in construction, sustainability, the design phase and Value Management; second, presenting and analysing two case studies to validate the role of Value Management towards reducing waste in construction projects; third, conducting …


การปลูกผักไฮโดรโพรนิคโดยใช้พลังงานทดแทนเสริมบนดาดฟ้า, ประกาย คำภูศิริ Jan 2020

การปลูกผักไฮโดรโพรนิคโดยใช้พลังงานทดแทนเสริมบนดาดฟ้า, ประกาย คำภูศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเทคโนโลยีและระบบการปลูกผักไร้สารพิษที่ใช้พลังงานทดแทน 2) เพื่อศึกษาการออกแบบพื้นที่สำหรับปลูกผักไร้สารพิษให้เหมาะสมกับพื้นที่ในอาคารพาณิชย์หรือทาวน์เฮาส์ และ 3) เพื่อศึกษาผลที่ได้จากการปลูกผักไร้สารพิษทั้งจากแปลงที่ใช้พลังงานทดแทนจากแผงโซล่าเซลล์ และแปลงที่ไม่ใช้พลังงานทดแทนจากแผงโซล่าเซลล์ หน่วยวิเคราะห์ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ต้นผักกรีนโอ้ค จำนวน 60 ต้น แบ่งเป็น 2 แปลง คือ แปลงที่ใช้แผงโซล่าเซลล์ และแปลงที่ไม่ใช้แผงโซล่าเซลล์ แปลงละ 30 ต้น แปลงผักตั้งอยู่บนอาคารพาณิชย์ ณ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยเก็บผลการปลูกเป็นเวลา 45 วัน โดยเก็บสภาพภูมิอากาศทั่วไป ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณแสงแดด และความเร็วลม พบว่า สภาพภูมิอากาศทั่วไปของแปลงทั้งสองแตกต่างกัน จึงนำมาเป็นตัวแปรร่วม (covariate variable) ในการวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบพหุ (MANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า แปลงผักถูกออกแบบให้สามารถตั้งอยู่บนพื้นที่จำกัดเช่นกัน คือ บ้านพักอาศัยและสถานที่ทำงานบนอาคารพาณิชย์ แปลงผักทั้งสองแปลงถูกออกแบบให้มีปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืชครบถ้วน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ อากาศ น้ำ ธาตุอาหาร และที่ค้ำจุนลำต้น นอกจากนี้ แปลงผักทั้งสองยังถูกออกแบบให้เป็นการปลูกพืชในน้ำแบบน้ำไหล โดยใช้ท่อพลาสติกให้เป็นรางน้ำอยู่ด้านบน และมีถังพักน้ำ ซึ่งมีปั้มน้ำอยู่ด้านในถังน้ำเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของน้ำ แปลงทั้งสองแตกต่างกันเพียงแปลงที่ 1 ได้เชื่อมต่อแผงโซล่าเซลล์ ส่วนแปลงที่ 2 ใช้พลังงานไฟฟ้าจากอาคารตามปกติ นอกจากนี้ แปลงผักทั้งสองยังถูกออกแบบให้มีความสวยงามเพื่อเป็นพื้นที่สีเขียวสำหรับนั่งพักผ่อนหย่อนใจได้อีกด้วย ผลที่ได้จากการปลูกผักพบว่า การใช้แผงโซล่าเซลล์ของแปลงที่ 1 มีระยะเวลาคืนทุน 9 เดือน แปลงที่ 1 ได้ผลผลิต 3.2 กิโลกรัม ใช้เวลาในการปลูกและพลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าแปลงที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และแปลงที่ 2 ได้ผลผลิต 2.7 กิโลกรัม ส่วนปริมาณปุ๋ยและปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชไม่แตกต่างกัน


การก่อตัวของเกาะความร้อน กรณีศึกษาตำบลรังสิตในอำเภอธัญบุรี และตำบลคลองห้า และตำบลคลองหกในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี, สรชา ไววรกิจ Jan 2020

การก่อตัวของเกาะความร้อน กรณีศึกษาตำบลรังสิตในอำเภอธัญบุรี และตำบลคลองห้า และตำบลคลองหกในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี, สรชา ไววรกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนากายภาพของเมืองในประเทศไทยส่งผลให้เกิดเกาะความร้อนเมือง การศึกษานี้ใช้พื้นที่ตำบลรังสิต ตำบลคลองห้า และตำบลคลองหก จังหวัดปทุมธานีซึ่งมีการพัฒนาด้านกายภาพจากพื้นที่เกษตรกรรมเป็นพื้นที่เมืองหนาแน่นในระยะเวลา 20 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ถึง 2562 ตัวแปรที่มีอิทธิพลประกอบด้วย พื้นที่สีเขียว พื้นที่อาคารและสิ่งปลูกสร้าง ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า และปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากการจราจรขนส่ง ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบลเกิดความร้อนประมาณ 80 78 28 ล้านล้านบีทียู ตามลำดับแหล่งความร้อนสูงสุดจากธรรมชาติคือ แสงอาทิตย์ แหล่งความร้อนจากการพัฒนาเมืองคือ การใช้กระแสไฟฟ้า การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง และพื้นที่อาคารสิ่งปลูกสร้าง เมื่อพื้นที่สีเขียวลดลงและในขณะเดียวกันเปลี่ยนเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้าง ทำให้เกิดการสะสมความร้อนจากแสงอาทิตย์และสะสม ประกอบกับปัจจัยแหล่งความร้อนภายนอกเพิ่มเติม ได้แก่ พลังงานความร้อนจากไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการจราจรขนส่ง ทำให้อุณหภูมิอากาศในเมืองสูงขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ปี 2552 และ ปี 2562 มีอุณหภูมิอากาศสูงขึ้น 0.45 0.55 และ 0.8 องศาเซลเซียสตามลำดับ การบรรเทาสภาวะเกาะความร้อนเมืองมีปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้อง 4 ประการ ได้แก่ 1) การลดพื้นที่อาคารและสิ่งปลูกสร้าง 2) การลดปริมาณการใช้พลังงานโดยใช้อุปกรณ์และรูปแบบการอาคารแบบประหยัดพลังงาน 3) การใช้แหล่งพลังงานในการจราจรขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูง และลดปริมาณความร้อน 4) การเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อดูดซับความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์


สมรรถนะการถ่ายเทความร้อน และประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นขนาด 2.5 ไมครอนของแผงบังแดดโดยใช้พืชใบแคบ และใบกว้าง, เอกรัชต์ ปานแร่ Jan 2020

สมรรถนะการถ่ายเทความร้อน และประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นขนาด 2.5 ไมครอนของแผงบังแดดโดยใช้พืชใบแคบ และใบกว้าง, เอกรัชต์ ปานแร่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นในการใช้ Living wall เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวดักจับฝุ่นละออง PM2.5 ที่เป็นปัญหาทางด้านมลพิษทางอากาศ ศึกษาการหาค่าสัมประสิทธิ์ในการบังแดดของพืชไม่ผลัดใบโดยเปรียบเทียบระหว่างพืชใบแคบ และใบกว้างและช่วยในการลดความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในอาคาร ซึ่งเป็นการลดการใช้พลังงานภายในอาคาร และการลดอุณหภูมิภายนอกที่มีการติดตั้งแผงบังแดด แผงบังแดดและต้นพลูด่าง แผงบังแดดและต้นเศรษฐีเรือนนอก การทดลองในงานวิจัยนี้แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ การลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก และการลดการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์เข้าสู่ตัวอาคาร สำหรับฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 ที่เป็นปัญหาในพื้นที่ที่มีการจราจรคับคั่ง เมื่อติดตั้ง Living wall จะสามารถลดปริมาณฝุ่นขนาดเล็กที่เข้าสู่ตัวอาคารได้ร้อยละ 17.96-20.95 Living wall สามารถลดการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์เข้าสู่ตัวอาคารได้ดี เมื่อติดตั้งในทิศตะวันตกจะสามารถลดอุณหภูมิภายในอาคารลงถึง 1.49-3.66 องศาเซลเซียส ซึ่งมีประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิในช่วงบ่ายดีกว่าช่วงเช้า โดยลักษณะใบของต้นพืชที่ใช้ในงานวิจัยนี้ไม่ส่งผลต่อการลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารเนื่องจากค่า SC อยู่ในช่วง 0.05-6.06 ซึ่งไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาการใช้พลังงานตลอดทั้งปี และการลดฝุ่นขนาดเล็กที่เข้าสู่อาคาร ยังคงให้ผลดีกว่าการติดตั้งแผงบังแดดเพียงอย่างเดียว จากผลการทดลอง พบว่าพลูด่างสามารถลดค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าถึงร้อยละ 11.08 โดยมีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 1 ปี และมีค่าความหนาแน่นของพุ่มใบเท่ากับ 5.66 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐีเรือนนอกที่สามารถลดค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าถึงร้อยละ 8.57 โดยมีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 1 ปี และมีค่าความหนาแน่นของพุ่มใบเท่ากับ 2.4 จะพบว่าพลูด่างให้ผลการทดลองที่ดีที่สุดจึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้เป็นพืชที่ปลูกในแผงบังแดดเพื่อลดความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร


การจัดการงานดูแลรักษางานภูมิทัศน์ของคอนโดมิเนียมแบบอาคารสูง ในเขตกรุงเทพมหานครฯ และ ปริมณฑล : กรณีศึกษา 9 โครงการ, ภัทรพร เสนาธรรม Jan 2020

การจัดการงานดูแลรักษางานภูมิทัศน์ของคอนโดมิเนียมแบบอาคารสูง ในเขตกรุงเทพมหานครฯ และ ปริมณฑล : กรณีศึกษา 9 โครงการ, ภัทรพร เสนาธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการอาคารชุดพักอาศัยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล พื้นที่งานภูมิทัศน์ ประกอบด้วย พรรณไม้ และ องค์ประกอบอย่างอื่น เช่น ภูมิทัศน์ดาดแข็ง (Hardscape) แต่เมื่อเริ่มเปิดใช้งานอาคาร กลับพบว่างานภูมิทัศน์มีปัญหาเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งงานภูมิทัศน์นั้น ถือเป็นกายภาพส่วนหนึ่งของอาคาร ที่ต้องได้รับการดูแลรักษา (Building Service Operation) การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบงานภูมิทัศน์ที่พบในโครงการคอนโดมิเนียมแบบอาคารสูง โดยได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง ที่มีเกณฑ์การคัดเลือกจากโครงการอาคารชุดพักอาศัยที่มีลักษณะเป็นอาคารสูง ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 9 โครงการ โดยได้ทำการศึกษาข้อมูลในประเด็น รูปแบบงานภูมิทัศน์ที่พบในโครงการ, วิธีการจัดการงานดูแลรักษา, และ ค่าใช้จ่ายของงานดูแลรักษางานภูมิทัศน์ จากการศึกษาพบว่า ในทุกโครงการ จะพบสวนในระดับพื้นชั้น 1 และ สวนบนอาคาร สำหรับสวนแนวตั้ง พบใน 6 โครงการ เฉพาะในโครงการที่มีช่วงราคาขายสูง มากกว่า 130,000 บาท/ตร.ม.ขึ้นไป ในส่วนของข้อมูลบริษัทผู้รับจ้าง พบว่าทุกกรณีศึกษาเป็นการจัดจ้างผู้รับจ้างบริษัทดูแลรักษางานภูมิทัศน์ในรูปแบบของบริษัทภายนอก (Outsourcing) ทั้งหมด ขอบเขตของงานดูแลรักษา พบว่า สามารถแบ่งกลุ่มงานได้เป็น 4 กลุ่ม คือ งานดูแลรักษาประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน และ งานซ่อมบำรุงงานสวนเป็นครั้งคราว ซึ่งสามารถจัดกลุ่มประเภทงานดูแลรักษาได้เป็น งานดูแลรักษาระดับทั่วไป และ งานดูแลรักษาแบบเฉพาะทาง ในส่วนของราคาค่าบริการงานดูแลรักษางานภูมิทัศน์จะพบว่าเมื่อนำไปวิเคราะห์หาสัดส่วนต่อค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่เกิดขึ้นในแต่ละโครงการ พบเพียงไม่เกินร้อยละ 1 ของอัตราค่าใช้จ่ายต่อพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก จึงเป็นข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่ามูลค่าของการดูแลรักษางานภูมิทัศน์มีสัดส่วนที่น้อย แต่เป็นส่วนที่จะส่งผลต่อภาพลักษณ์ บรรยากาศ รวมถึงมูลค่าของโครงการในอนาคต ข้อค้นพบจากการศึกษา พบว่า การจัดการงานดูแลรักษางานภูมิทัศน์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีวิธีการจัดการที่ไม่แตกต่างกัน คือเป็นวิธีการจัดหาผู้ให้บริการงานดูแลรักษาสวนแบบ Outsourcing โดยที่การดำเนินงานดูแลรักษา ยังเป็นไปตามเงื่อนไขที่ไม่จำเพาะเจาะจงกับรูปแบบงานภูมิทัศน์ที่แตกต่างกัน จึงควรมีการจัดการวิธีการดูแลรักษางานภูมิทัศน์ให้เหมาะสมกับรูปแบบงานภูมิทัศน์ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ของโครงการเพื่อให้งานดูแลรักษางานภูมิทัศน์ มีคุณภาพที่ดีขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดูแลอาคารให้มีสภาพเหมือนตอนเปิดใช้งานให้ได้มากที่สุด


คุณค่าทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์: กรณีศึกษา ย่านถนนพรหมราช จังหวัดอุบลราชธานี, ลลิดา บุญมี Jan 2020

คุณค่าทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์: กรณีศึกษา ย่านถนนพรหมราช จังหวัดอุบลราชธานี, ลลิดา บุญมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน พื้นที่ประวัติศาสตร์ของหลายเมืองมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ ซึ่งหากพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพเพียงอย่างเดียวอาจเป็นเรื่องยากต่อการรับรู้คุณค่าและความสำคัญขององค์ประกอบเมือง ทั้งนี้ เมืองอุบลราชธานีเป็นหนึ่งตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ ปรากฏความหลากหลายของรูปแบบสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตของคนในสังคม คุณลักษณะเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าในพื้นที่ประวัติศาสตร์เมืองมีชั้นประวัติศาสตร์หลายชั้นซ้อนทับกันอยู่และอยู่ร่วมกันมาตั้งแต่ตั้งถิ่นฐานจนถึงปัจจุบัน วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของคุณลักษณะเมืองอุบลราชธานี และวิเคราะห์คุณค่าและความสำคัญขององค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อเป็นฐานความเข้าใจสำหรับการวางแผนอนุรักษ์และพัฒนาเมืองอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยใช้ทฤษฎีภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์เป็นกรอบและแนวทางสำหรับการศึกษาเมืองอย่างเป็นองค์รวม และใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสถานที่เพื่อทำความเข้าใจมุมมองของคนที่อยู่ในพื้นที่ต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ ผลการศึกษาพบว่าพัฒนาการของเมืองส่งผลต่อภูมิทัศน์เมืองในปัจจุบัน ดังนั้น การทำความเข้าใจคุณค่าและความสำคัญจึงต้องพิจารณาทั้งมิติที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมควบคู่กันไป เพื่อให้มิติที่คงอยู่ช่วยอธิบายประวัติศาสตร์ของเมืองภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ มุมมองของคนในจากพื้นที่กรณีศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า นอกเหนือจากลักษณะทางกายภาพแล้ว คนในให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขาผูกพันจากมิติอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ความเชื่อ สังคม การใช้งาน เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาครั้งนี้คือกระบวนการสำหรับการทำความเข้าใจเมืองและข้อเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาสำหรับเมืองประวัติศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นองค์รวม


การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานของไม้สักในงานสถาปัตยกรรม, มัชฌิมาศ มรรคา Jan 2020

การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานของไม้สักในงานสถาปัตยกรรม, มัชฌิมาศ มรรคา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยมีการผลิตและนำไม้สักจากป่าธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ภายในประเทศและด้านการค้ามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ด้วยคุณสมบัติเฉพาะของไม้สักสามารถนำไปใช้งานได้สารพัดประโยชน์ จึงทำให้เป็นที่ต้องการของนานาประเทศ จนไม้สักกลายเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นจำนวนมหาศาล อีกทั้งไม้สักไม่ได้มีคุณค่าเฉพาะด้านความงามของงานช่างเท่านั้น แต่ยังเป็นหลักฐานของยุคสมัยที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและคุณค่าความสำคัญผ่านการใช้งานด้วย จากการค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่ายังขาดงานวิจัยที่สร้างความเข้าใจในโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานไม้สักในงานสถาปัตยกรรม การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานของไม้สักในงานสถาปัตยกรรม และวิเคราะห์ถึงจุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเชื่อมโยงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ของห่วงโซ่ และลำดับพัฒนาการห่วงโซ่ในแต่ละช่วงเวลา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงจากอดีตถึงปัจจุบันชัดเจนมากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีการทบทวนวรรณกรรมด้านประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทั้งข้อมูลทางสถิติและปริมาณการใช้งาน รวมถึงเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในย่านการค้าไม้เพิ่มเติม นำข้อมูลที่ได้เหล่านี้มาคำนวณเพื่อประเมินการใช้งานไม้สักแต่ละยุคสมัยในประเทศไทย โดยเน้นการใช้ข้อมูลหลักฐานบันทึกทางสถิติจำนวนประชากร ปริมาณการส่งออก ในสมัยรัชกาลที่ 3 และหลังรัชกาลที่ 4 มาเป็นฐานหลักในการคำนวณปริมาณการใช้ไม้สัก จากการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานของไม้สักในงานสถาปัตยกรรมเกิดจากความสัมพันธ์ของห่วงโซ่ 2 ส่วน ได้แก่ (1) ผลผลิตและการใช้งานไม้สัก ตั้งแต่สมัยสุโขทัยที่มีการส่งไม้สักไปเป็นเครื่องบรรณาการให้กับจีน การลงทุนทำการค้าของพ่อค้าชาวจีน และเริ่มมีการค้าอย่างจริงจังเมื่อบริษัทชาวยุโรปเข้ามาลงทุนกิจการค้าไม้ในประเทศไทย ซึ่งมีปริมาณการส่งออกขอนสักสูงสุดถึง 120,000 ท่อนในสมัยรัชกาลที่ 5 และ (2) จุดเปลี่ยนสำคัญ โดยมีปัจจัยเชิงการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของห่วงโซ่ 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) การเข้ามาทำธุรกิจการทำไม้สัมปทานของชาวต่างชาติ 2) ผลกระทบต่อปริมาณพื้นที่ป่าไม้จากการทำสัมปทาน และ 3) ปริมาณความต้องการและการใช้งานไม้สักในแต่ละช่วงเวลา จากปัจจัยทั้ง 3 ส่งผลให้เกิดจุดเปลี่ยนตามลำดับเหตุการณ์ 10 จุด ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของห่วงโซ่ จากความสัมพันธ์ทั้ง 2 ส่วนที่กล่าวมานั้น ทำให้สามารถสรุปลำดับพัฒนาการห่วงโซ่อุปทานของไม้สักในงานสถาปัตยกรรมได้ 2 ส่วน ได้แก่ (1) พัฒนาการช่วงการเปลี่ยนแปลง สามารถแบ่งช่วงการเปลี่ยนแปลงได้ 4 ยุค ได้แก่ ยุคที่ 1 การเข้ามาทำไม้สักของพ่อค้าชาวจีน ยุคที่ 2 การเข้ามาทำสัมปทานป่าไม้ของบริษัทต่างชาติ ยุคที่ 3 การตั้งชุมชนโรงเลื่อยหลังวัดสระเกศ และยุคที่ 4 การขยายตัวไปยังย่านบางโพ (2) พัฒนาการโครงสร้างห่วงโซ่ของต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และผู้ใช้งาน ในแต่ละช่วงเวลามีความแตกต่างกัน สังเกตจากการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านแหล่งที่มาของไม้สัก การขนส่ง และการใช้งานไม้ โดยการสรุปแผนผังแสดงการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานของไม้สักแยกตามยุคสมัยไว้ ทำให้เกิดข้อสังเกตว่าความสมดุลของปริมาณการใช้งานไม้สักในแต่ละช่วงเวลาไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณขอนสักที่ผลิตได้ การรักษาสมดุลของไม้สักเพื่องานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมจะต้องมีการวางแผนล่วงหน้า ไม้สักจากสวนป่าปลูกยังคงไม่ใช่วัสดุหลักในการใช้งานในเร็ว ๆ …


Sistema Modular Para El Desarrollo Del Turismo De Naturaleza, Jeimy Alexandra Ardila Sanabria, Manuel Camilo Bohórquez Pineda Jan 2020

Sistema Modular Para El Desarrollo Del Turismo De Naturaleza, Jeimy Alexandra Ardila Sanabria, Manuel Camilo Bohórquez Pineda

Arquitectura

Este trabajo de grado se realizó con el propósito de entender y satisfacer el auge de las necesidades del turismo de naturaleza más específicamente en la ciudad de Yopal, Casanare. Se hizo una investigación de documentos y artículos en los cuáles se exponían el aumento del turismo en Yopal y su potencial para el ámbito del desarrollo del turismo de naturaleza por su ubicación geográfica. Se exploraron diferentes formas geométricas para lograr un sistema modular que fuera flexible a las diversas actividades del turismo de naturaleza, además, se eligió la madera como material para su construcción ya que permite la …


Casa Cultural Salvaguardando El Patrimonio Cultural De Barrio Abajo Barranquilla, Nicole Guilianna Cueto Rodríguez, Brigith Dayana Ferro Maldonado Jan 2020

Casa Cultural Salvaguardando El Patrimonio Cultural De Barrio Abajo Barranquilla, Nicole Guilianna Cueto Rodríguez, Brigith Dayana Ferro Maldonado

Arquitectura

No abstract provided.


A Lean Talent Management Framework For Maximizing Creativity In Architectural Design Firms, Ayman Ahmed Ezzat Othman, Mohamed Hesham Khalil Jan 2020

A Lean Talent Management Framework For Maximizing Creativity In Architectural Design Firms, Ayman Ahmed Ezzat Othman, Mohamed Hesham Khalil

Architectural Engineering

Being one of the creative industries worldwide, Architecture plays a significant role towards developing communities, fulfilling their needs and meeting their expectations. The divergence of societal problems and the complexity nature of projects called for creative and non-traditional solutions to address these problems and overcome complexities. Architectural Design Firms (ADFs) are responsible for achieving this mission, yet lack of motivation and demotivation acted as barriers for creativity. Recently, Talent Management (TM) was presented as an innovative approach for fostering creativity, balancing work-life commitments, enhancing motivation and reducing demotivation. However, lack of utilizing talented human capitals, which was counted as waste …


การเปลี่ยนแปลงสัณฐานย่านชุมชนเก่าเมืองรัตนโกสินทร์ กรณีศึกษาย่านสำเพ็ง, ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ Jan 2020

การเปลี่ยนแปลงสัณฐานย่านชุมชนเก่าเมืองรัตนโกสินทร์ กรณีศึกษาย่านสำเพ็ง, ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สำเพ็ง เป็นย่านการค้าชาวจีนนอกกำแพงเมืองที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ มีอาณาเขตตั้งแต่คลองวัดสามปลื้มถึงคลองวัดสำเพ็งหรือถนนมหาจักรถึงวัดปทุมคงคา ปัจจุบันสำเพ็งพัฒนาเป็นย่านศูนย์กลางการค้าและเป็นย่านชุมชนเก่าที่ถูกพัฒนาแบบไร้ทิศทางเนื่องจากขาดความเข้าใจในคุณค่าและความเป็นมาของย่านโดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นการตั้งถิ่นฐานชุมชนจีนในสำเพ็ง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและรูปแบบการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ และศึกษาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงสัณฐานกับการตั้งถิ่นฐานในสำเพ็งเพื่ออธิบายถึงความเป็นมาของพื้นที่ ซึ่งการศึกษาสัณฐานของย่านสำเพ็งในภาพรวมจะทำให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงและความเชื่อมโยงของลักษณะกายภาพในปัจจุบันกับในอดีตซึ่งสามารถนำไปต่อยอดในการออกแบบพัฒนาเมือง จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่าการศึกษาเกี่ยวกับภาพรวมของพื้นที่สำเพ็งโดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นกรุงรัตนโกสินทร์ถึงก่อนรัชกาลที่ 5 ยังมีอยู่น้อย โดยมากเป็นข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และการศึกษาเฉพาะพื้นที่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลานั้นเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ย่านสำเพ็งมีลักษณะแบบที่เห็นในปัจจุบันเนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนในพื้นที่ และจุดเปลี่ยนของการพัฒนาในพื้นที่ที่สำคัญหลายประการเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นมากกว่าในช่วงหลัง สัณฐานเดิมของพื้นที่สำเพ็งเป็นขนัดสวน มีแกนสำคัญคือถนนสำเพ็งซึ่งพัฒนามาจากเส้นทางเดินเชื่อมพระนครที่ประตูสะพานหันออกไปยังวัดต่างๆ ที่อยู่นอกเมืองริมแม่น้ำเจ้าพระยา สำเพ็งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับชุมชนจีนที่ตลาดน้อยและเชื่อมโยงกับพื้นที่คลองสานฝั่งธนบุรีด้วยท่าเรือหลายแห่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาและการย้ายไปมาของชาวจีนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ชุมชนจีนที่ย้ายมาจากท่าเตียนในช่วงรัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 3 มีศูนย์กลางชุมชนที่บริเวณถนนสำเพ็ง ต่อมาในรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 มีการตัดถนนเจริญกรุงจากทางช้างที่ประตูสามยอด ตัดถนนเยาวราชเข้าพระนครที่ป้อมมหาชัย และถนนอีกหลายสายเชื่อมเส้นทางในพื้นที่ เป็นการพัฒนาที่เกิดถัดขึ้นไปทางเหนือของถนนสำเพ็งและเชื่อมต่อกับพื้นที่เดิมด้วยตรอกซอยทางตั้งยาวจรดพื้นที่ริมน้ำ เมื่อเส้นทางสัญจรทั้งเก่าและใหม่ซ้อนทับกันจึงเกิดเป็นโครงข่ายและการพัฒนาบ้านเรือน ร้านค้า และพื้นที่ต่างๆ การพัฒนาดังกล่าวที่เกิดขึ้นเป็นผลจากปัจจัยทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการถือครองที่ดินจำนวนมากบริเวณริมน้ำตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นชุมชนโดยเชื้อพระวงศ์ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ดินบริเวณที่อยู่ถัดขึ้นไปจากถนนสำเพ็งตรอกอย่างตรอกอิศรานุภาพเป็นพื้นที่ค้าขายจนเกิดการขยายตัวของชุมชนเข้าไปในพื้นที่สวน ทั้งนี้หนึ่งในกลุ่มที่ทำให้เกิดการพัฒนาที่ดินในสำเพ็งคือชาวจีนที่มีฐานะหรือมีการผูกสัมพันธ์กับขุนนางเดิมในไทยทั้งทางสังคมและทางเศรษฐกิจ


การศึกษารูปแบบชุดสีทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่เมืองเก่าสงขลา, ณัฐกานต์ ประเสริฐสุข Jan 2020

การศึกษารูปแบบชุดสีทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่เมืองเก่าสงขลา, ณัฐกานต์ ประเสริฐสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พื้นที่เมืองเก่าเป็นสถานที่ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนานของประเทศไทยโดยเฉพาะงานสถาปัตยกรรม ที่ปัจจุบันเกิดความทรุดโทรมไปตามกาลเวลา การปรับปรุงสีอาคารเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำได้ง่ายและใช้งบประมาณน้อยกว่าวิธีอื่น ซึ่งการเลือกใช้สีและวัสดุให้มีความเหมาะสมนั้นเป็นสิ่งสำคัญ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมชุดสีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาคารพาณิชย์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์และลักษณะความกลมกลืนทางด้านสีของพื้นที่เมืองเก่าสงขลา โดยเก็บข้อมูลด้วยระบบดิจิตอลจากภาพถ่ายอาคารผ่านโปรแกรม Adobe Photoshop CS6 เพื่อหาค่าความถี่ของสีจากอาคารจำนวน 523 หลัง บนถนนหลักทั้ง 3 เส้นของเมืองเก่าสงขลา ผลแสดงให้เห็นว่าสีเทา สีขาวและสีน้ำตาล เป็นสีที่มีการใช้ในองค์ประกอบอาคารมากที่สุด โดยเมื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับสถานที่สำคัญในพื้นที่ทำให้ทราบถึงชุดสีที่แสดงถึงอัตลักษณ์ ได้แก่ สีขาว สีเทาอ่อนที่มีการเจือด้วยสีฟ้า สีเทากลางและสีแดง นอกจากนี้ยังพบว่าค่าความสดของสีอาคารส่วนใหญ่อยู่ในช่วงร้อยละ 0-20 มีค่าความสว่างของสีอยู่ในช่วงกว้างตั้งแต่ร้อยละ 21-100 และชุดสีที่มีการใช้มากที่สุดคือการใช้สีเดียว (Monochrome) การใช้สีคู่ตรงข้าม (Complementary) และการใช้สีที่อยู่ใกล้เคียงกัน (Analogous) ตามลำดับ งานวิจัยนี้ได้ผนวกทิศทางของแสงและตำแหน่งอาคารมาใช้ร่วมกับการเก็บค่าสีอาคาร โดยช่วยให้ได้ค่าสีที่มีความใกล้เคียงกับสีอาคารในภาพถ่ายมากขึ้น และยังเป็นแนวทางในการเลือกใช้สีให้กับเจ้าของอาคารและหน่วยงานที่ต้องการส่งเสริมภาพลักษณ์ในพื้นที่ ในท้ายที่สุดงานวิจัยชิ้นนี้ได้เสนอให้มีการเก็บค่าสีจากมุมสูงของพื้นที่ และการวิเคราะห์ค่าสีและค่าความสดของสี ร่วมกับทิศทางของแสงและตำแหน่งอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ


Centro De Aprendizaje Productivo Rural Familia Llano Grande Resignificación Del Territorio Por Medio De La Actividad Educativa Y Productiva, Zayra Valentina Baquero Rodríguez, Diana Alexandra Luengas Luna Jan 2020

Centro De Aprendizaje Productivo Rural Familia Llano Grande Resignificación Del Territorio Por Medio De La Actividad Educativa Y Productiva, Zayra Valentina Baquero Rodríguez, Diana Alexandra Luengas Luna

Arquitectura

No abstract provided.


Sistemas Modulares Para La Solución De Diversos Requerimientos Arquitectónicos, Cristian Alexander Olivos Ocampo, Johan Sebastián Mantilla López Jan 2020

Sistemas Modulares Para La Solución De Diversos Requerimientos Arquitectónicos, Cristian Alexander Olivos Ocampo, Johan Sebastián Mantilla López

Arquitectura

En las paginas de este documento encontraran todo el trabajo de grado llevado a cabo desde los dos últimos semestres para este proyecto llamado ´´Sistema modular para la resolución de diversos requerimientos arquitectónicos ´´, en el podrán hallar desde nuestros primeros dibujos y modelos 3D explorativos hasta renders elaborados sobre nuestras propuestas estructurales y espaciales a partir de la modularidad. Este fue un trabajo en conjunto con nuestros docentes Alex Pérez, Helmut Ramos y Carlos Nader del laboratorio Lab-Lahc de la universidad de La Salle, los cuales no brindaron todo su apoyo y conocimientos para llevar a cabo en todo …


Arquitectura Efímera Stand Paramétrico, María Fernanda Pineda Sierra, Danny Natalia Gallo Pinilla Jan 2020

Arquitectura Efímera Stand Paramétrico, María Fernanda Pineda Sierra, Danny Natalia Gallo Pinilla

Arquitectura

El presente proyecto se enmarca en una investigación de tipo experimental, basado en el estudio del desarrollo de las superficies regladas a partir del diseño paramétrico aplicado a un proceso de diseño enfocado en el desarrollo de una estructura efímera que posibilite la exhibición de productos al interior de un espacio cubierto. La propuesta final es el resultado es una exploración geométrica por medio de la fabricación digital, la técnica con la que se diseñó el módulo permite que se modifiquen las dimensiones del modulo de ser necesario. Comprende el desarrollo de una estructura efímera (Stand), manual de armado de …


Vivienda Progresiva Una Alternativa Para La Construcción De Hábitat En Sectores De Origen Informal Centro Poblado Rural El Porvenir I, Itagüí Antioquia, Laura Vanessa Vélez Díaz Jan 2020

Vivienda Progresiva Una Alternativa Para La Construcción De Hábitat En Sectores De Origen Informal Centro Poblado Rural El Porvenir I, Itagüí Antioquia, Laura Vanessa Vélez Díaz

Arquitectura

No abstract provided.


Cubiertas Para La Vida. Modulo Adaptable A Viviendas En Asentamientos De Origen Informal Con Posibilidades De Crecimiento Progresivo. Modelo Simulado En Tres Viviendas. Barrio Altos Del Pino Cazucá Soacha, Brahian Nayith Ortega Forero, Diego Fernando Ruiz Suarez, Daniel Stewar Uribe Romero Jan 2020

Cubiertas Para La Vida. Modulo Adaptable A Viviendas En Asentamientos De Origen Informal Con Posibilidades De Crecimiento Progresivo. Modelo Simulado En Tres Viviendas. Barrio Altos Del Pino Cazucá Soacha, Brahian Nayith Ortega Forero, Diego Fernando Ruiz Suarez, Daniel Stewar Uribe Romero

Arquitectura

No abstract provided.


Centro De Memoria Y Cultura, Medellín-Colombia., Diego Alejandro Pedraza Vega Jan 2020

Centro De Memoria Y Cultura, Medellín-Colombia., Diego Alejandro Pedraza Vega

Arquitectura

No abstract provided.


Applying Lca-Bim Integration For A Sustainable Management Process, Ayman Ahmed Ezzat Othman, Dalia Morsi Ahmed Morsi, Walaa S E Ismaeel, Ahmed Ehab Abd El Hamed Jan 2020

Applying Lca-Bim Integration For A Sustainable Management Process, Ayman Ahmed Ezzat Othman, Dalia Morsi Ahmed Morsi, Walaa S E Ismaeel, Ahmed Ehab Abd El Hamed

Architectural Engineering

This work investigates the benefits of performing Life Cycle Assessment (LCA) using Building Information Modelling (BIM) techniques on a case study management process. This provides insights for reducing the environmental impacts of building materials and elements along the life cycle of a concrete residential project in Egypt. The study follows the LCA ISO 14040 and 14044 guidelines, local materials database, Revit modelling and One-Click LCA plugin. The result outlines that most of the environmental impacts occur during the operation and manufacturing phase. It also shows that slabs and beams result in most of the environmental loads. In terms of the …


Alternativas Estructurales En Madera Para La Vivienda En Altura, Juan David Bravo De Los Ríos Jan 2020

Alternativas Estructurales En Madera Para La Vivienda En Altura, Juan David Bravo De Los Ríos

Arquitectura

Alternativas estructurales en madera para la vivienda en altura, es un proyecto que nace estudiando referentes de estructuras de madera en altura, donde se identifican los diferentes sistemas constructivos y maderas que permiten realizar estas estructuras, en este análisis aparecen algunas incógnitas sobre cual es el sistema constructivo mas idóneo para lograr el objetivo del trabajo, por lo que se realizan los respectivos estudios y comparaciones, entre sistemas constructivos y bases del diseño para vivienda, lo que permite determinar el sistema constructivo más adecuado para generar un edificio de madera en altura y sus diferentes componentes, teniendo en cuenta las …


Eco-Chip Block Mejoramiento De Vivienda Popular A Través De Un Material Reciclado, María Fernanda Villamizar Amado Jan 2020

Eco-Chip Block Mejoramiento De Vivienda Popular A Través De Un Material Reciclado, María Fernanda Villamizar Amado

Arquitectura

No abstract provided.