Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 61 - 88 of 88

Full-Text Articles in Architecture

ปัจจัยกำหนดการตัดสินใจในการเลือกซื้อหรือเช่าโครงการคอนโดมิเนียมเพื่ออยู่อาศัยของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, จิรวัฒน์ วิระพรสวรรค์ Jan 2019

ปัจจัยกำหนดการตัดสินใจในการเลือกซื้อหรือเช่าโครงการคอนโดมิเนียมเพื่ออยู่อาศัยของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, จิรวัฒน์ วิระพรสวรรค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสังคมเศรษฐกิจ ลักษณะทางกายภาพโครงการคอนโดมิเนียมและปัจจัยการตัดสินใจของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเลือกซื้อหรือเช่าโครงการคอนโดมิเนียมโดยการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจากนิสิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปีการศึกษา 2561 จำนวน 401 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มนิสิตผู้ซื้อและกลุ่มนิสิตผู้เช่า พบว่ามีสัดส่วนซื้อมากกว่า คิดเป็นร้อยละ 53 และกลุ่มนิสิตผู้เช่า 47 ตามลําดับ ส่วนใหญ่เป็นนิสิตชั้นปริญญาตรี เพศหญิง กลุ่มนิสิตผู้ซื้อ ด้านภูมิลําเนาเดิมพบว่านิสิตที่เลือกโครงการในกรุงเทพมหานครชั้นในมีภูมิลําเนาเดิมในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งต่างจากกลุ่มนิสิตในเขตกรุงเทพมหานครชั้นกลางและปริมณฑลที่มีภูมิลําเนามาจากต่างจังหวัด โดยประเภทที่อยู่อาศัยเดิมส่วนใหญ่คือ บ้าน ด้านรายได้ครัวเรือนของผู้ปกครอง กลุ่มนิสิตที่อยู่ในโครงการเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน พบว่าผู้ปกครองมีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 150,000 บาท กลุ่มนิสิตผู้เช่า พบว่านิสิตส่วนใหญ่มีภูมิลําเนามาจาก ต่างจังหวัด ด้านรายได้ครัวเรือนของผู้ปกครองพบว่าส่วนใหญ่ผู้ปกครองมีรายได้ต่อเดือนคือ 50,001-100,000 บาท โดยมีค่าเช่าสำหรับคอนโดมิเนียมต่อเดือนส่วนใหญ่คือ 15,001-20,000 ด้านทําเลที่ตั้งของโครงการที่ตั้งโครงการอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในพบนิสิตอยู่อาศัยมากที่สุด ได้แก่ เขต บางรัก เขตราชเทวี และพญาไท ขนาดห้องพักส่วนใหญ่คือ 21-30 ตารางเมตร แบบ 1 ห้องนอน กลุ่มนิสิตทั้งผู้ซื้อและนิสิตผู้เช่า ที่อาศัยอยู่ในเขตบางรัก ซึ่งเป็นทําเลที่ตั้งที่ใกล้กับมหาวิทยาลัย จะใช้วิธีการเดินมายังมหาวิทยาลัย และนิสิตในโครงการอื่นๆในพื้นที่ไกลออกไปจะใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อมายังมหาวิทยาลัย จากการศึกษาปัจจัยในการเลือกโครงการคอนโดมิเนียมของนิสิตในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นิสิตและผู้ปกครองต้องการความปลอดภัยให้แก่บุตรหลาน โดยพบว่า ทำเลที่ตั้งของโครงการเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุด โดยทำเลดังกล่าวต้องมีความสะดวกต่อการเดินทาง ใกล้สถาบันการศึกษาและมีความปลอดภัย โดยรายได้ครัวเรือนของผู้ปกครองเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเลือกทำเลที่ตั้งของโครงการ กรรมสิทธิ์ห้องพัก รวมถึงระดับของโครงการ สรุปการศึกษา เสนอแนะแนวทางควรมีการวางแผนจัดเตรียมพัฒนาและเพิ่มเติมที่พักอาศัยเพื่อรองรับสำหรับกลุ่มนิสิตเหล่านี้ ควรให้ความสำคัญกับลักษณะโครงการที่ต้องมีภาพลักษณ์ที่ดีและมีความปลอดภัย และหึความสำคัญทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอาทิเช่น ร้านอาหารและร้านสะดวกซื้อ พื้นที่ Co-Working space และสวนย่อมเพื่อการใช้ชีวิตอยู่อาศัยระหว่างการศึกษาในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ผู้เรียน การศึกษาครั้งนี้เพื่อให้เป็นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ร่วมถึงผู้บริหารสถานศึกษา เป็นแนวทางในการสร้างกลยุทธ์และการตัดสินใจในการลงทุนประเภทที่พักอาศัยโครงการคอนโดมิเนียมสอดคล้องความต้องการในปัจจุบัน


แนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงสถาปัตยกรรมของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา โครงการเดอะรูมสุขุมวิท69 และ เดอะรูมสาทร-ถนนปั้น, ชุติมา ศรีอรุณ Jan 2019

แนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงสถาปัตยกรรมของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา โครงการเดอะรูมสุขุมวิท69 และ เดอะรูมสาทร-ถนนปั้น, ชุติมา ศรีอรุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการสำรวจในปัจจุบันมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยในแนวสูงหรืออาคารชุดเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมากในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเนื่องจากการเจริญเติบโตของเมือง ในพื้นที่เขตชั้นในมีจำนวนจำกัดการพัฒนาอาคารสูงจึงเป็นทางเลือกที่ผู้ประกอบการต่างเลือกใช้นำมาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์และในปัจจุบันประชาชนก็หันมาอยู่อาศัยในอาคารประเภทอาคารชุดกันมากขึ้น ในประเทศเกาหลีใต้นั้นมีงานวิจัยที่ศึกษาถึงผลกระทบจากการอยู่อาศัยในอาคารสูงว่าด้วยลักษณะของอาคารที่สูงขึ้นไปนั้นทำให้มีความกังวลใจ ผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารสูงที่ตั้งแต่ชั้นที่ 18 ขึ้นไป อัตราเกิดโรควิตกกังวลสูงขึ้น ความดันเลือดสูงขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและเด็กทารก ผู้อยู่อาศัยมีความเครียดมากขึ้นจากเสียงรบกวน และการใช้งานลิฟต์รวมไปถึงด้านความปลอดภัยและอุบัติเหตุจึงเป็นเป็นที่มาในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะของผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารชุดในกรุงเทพมหานคร และหาแนวทางในการพัฒนาที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดที่ส่งเสริมสุขภาวะของผู้อยู่อาศัยต่อไป โดยศึกษาจากผู้อยู่อาศัย รวมไปถึงนำความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญมาสรุปผลเพื่อหาแนวทางโดยการเก็บข้อมูลใช้วิธีการเก็บแบบสอบถามและสัมภาษณ์ โดยลงพื้นที่ศึกษาโครงการเดอะรูมสุขุมวิท69 และเดอะรูมสาทร-ถนนปั้น ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าการอาศัยอยู่ในโครงการที่มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินส่งผลกับสุขภาวะของตนมากที่สุดเป็นอันดับแรก รองลงมา 4 อันดับ พบว่าเป็นปัจจัยด้านการบริหารจัดการทั้งสิ้น เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยภายในผู้อยู่อาศัย พบว่าปัจจัยทางด้านกายภาพทั่วไปมีผลคล้ายคลึงกับมุมมองของผู้อยู่อาศัย ส่วนกลุ่มปัจจัยลักษณะทางกายภาพของโครงการและกลุ่มปัจจัยการบริหารจัดการ มีความแตกต่างกัน ในด้านความสูงอาคาร จากการอาศัยอาคารชุดที่อาศัยในระดับชั้นที่แตกต่างกัน 3 ระดับ ได้แก่ ชั้น 1 – 8 ชั้น 9 – 24 และชั้น 25 ขึ้นไป มีระดับสุขภาวะไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มีความเห็นว่าปัจจัยทางด้านสังคมมีความ สำคัญต่อสุขภาวะของผู้อยู่อาศัยจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ปัจจัยบริหารจัดการ ในส่วนของปัจจัยด้านกายภาพที่ดีจะส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยมีสุขภาวะที่ดีขึ้น


รูปแบบโครงการคอนโดมิเนียมที่มีการขายโดยวิธีการรับประกันผลตอบแทนกับผู้ซื้อของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย, ชลิดา บุญหยง Jan 2019

รูปแบบโครงการคอนโดมิเนียมที่มีการขายโดยวิธีการรับประกันผลตอบแทนกับผู้ซื้อของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย, ชลิดา บุญหยง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการคอนโดมิเนียมที่มีการขายโดยเสนอผลตอบแทนแก่ผู้ซื้อภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดหรือการรับประกันอัตราผลตอบแทนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการนำโครงการไปบริหารโดยการปล่อยเช่าในรูปแบบต่างๆเพื่อจ่ายคืนเป็นผลตอบแทนให้ผู้ซื้อ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาลักษณะทางกายภาพและสภาพของโครงการ อัตราผลตอบแทนที่ให้กับผู้ซื้อและเงื่อนไขการขาย รวมถึงวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทน ใช้การรวบรวมข้อมูลช่วงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ – 31 สิงหาคม 2562 ผ่านเว็บไซด์ที่มีการขายโครงการลักษณะนี้และคัดเฉพาะโครงการที่สร้างแล้วเสร็จทั่วประเทศไทยเป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่ามี 67 โครงการ นอกจากนี้ยังใช้วิธีการสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ประกอบการหรือผู้ที่มีส่วนร่วมพัฒนา กลุ่มตัวอย่างในระดับผลตอบแทนน้อยจำนวน 6 โครงการ 5 บริษัท วิเคราะห์ผลโดยการจัดกลุ่มเปรียบเทียบและใช้สถิติเชิงพรรณนารวมถึงสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า 1) การกำหนดกลยุทธ์การขายคอนโดโดยผู้ประกอบการเสนอผลตอบแทนแก่ผู้ซื้อ มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการคือ (1) เพื่อเร่งการขายเนื่องจากมีคอนโดที่ยังค้างอยู่ในสต๊อกจึงต้องสร้างแรงจูงใจให้ผู้ซื้อ และ (2) เพื่อลดการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินโดยใช้เงินจากผู้ซื้อมาลงทุนพัฒนาโครงการแทนซึ่งผู้ซื้อส่วนใหญ่ซื้อคอนโดเพื่อการลงทุนมากกว่าอยู่อาศัยเอง 2) ลักษณะโครงการส่วนใหญ่สร้างระหว่างปี 2555-2562 ซึ่งตั้งอยู่ต่างจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวพบมากที่สุดในภาคใต้ (ภูเก็ต) และพัฒนาโดยผู้ประกอบการที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลักษณะอาคารส่วนใหญ่สูงไม่เกิน 8 ชั้น มีห้องพักทั้งแบบสตูดิโอจนถึง 3 ห้องนอน ราคาขายประมาณ 90,000-100,000 บาทต่อตารางเมตร มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญคือพื้นที่ต้อนรับและห้องอาหาร 3) การให้ผลตอบแทนกับผู้ซื้อพบว่าร้อยละ 82 ให้อัตราผลตอบแทนน้อยคือ 5-7% ต่อปี มีระยะเวลารับประกันต่ำกว่า 5 ปี (2-5ปี) เมื่อหมดสัญญาแล้วผู้ซื้อจะได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าของห้องชุดกลับคืน รองลงมาคือให้อัตราผลตอบแทนปานกลางและสูงคือ 7-9% ต่อปี และมากกว่า 9% ต่อปี มีระยะเวลารับประกันมากกว่า 5 ปี (5-20 ปี) เมื่อหมดสัญญาแล้วผู้ซื้อสามารถเลือกเงื่อนไขได้ว่าจะจัดการดูและห้องชุดด้วยตนเองหรือต่อสัญญากับโครงการหรือขายห้องชุดคืนโครงการซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละโครงการ 4) ลักษณะการบริหารโครงการพบว่าผลตอบแทนน้อยมีการบริหารจัดการโดยการนำไปปล่อยเช่าระยะยาว ในขณะที่ผลตอบแทนปานกลาง-สูง มีการปล่อยเช่าระยะสั้น 5) ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือระยะเวลาในการรับประกันผลตอบแทน โดยระยะเวลาการประกันผลตอบแทนยาวนานย่อมให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าโครงการที่ให้ระยะเวลารับประกันผลตอบแทนสั้น งานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นรูปแบบของโครงการคอนโดมิเนียมที่มีการขายโดยวิธีรับประกันผลตอบแทนที่มีอยู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย รวมถึงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจซื้อโดยเฉพาะการทำความเข้าใจลักษณะและที่มาที่ไปของเงื่อนไขต่างๆ ทั้งนี้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีการขายลักษณะดังกล่าว


การศึกษาผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่รอบโครงการรูปแบบผสม กรณีศึกษา โครงการ ไอคอนสยาม, วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน และ สามย่านมิตรทาวน์, นลินี ตรัสบวร Jan 2019

การศึกษาผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่รอบโครงการรูปแบบผสม กรณีศึกษา โครงการ ไอคอนสยาม, วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน และ สามย่านมิตรทาวน์, นลินี ตรัสบวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมของโครงการรูปแบบผสม กรณีศึกษา โครงการ ไอคอนสยาม, วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน และ สามย่านมิตรทาวน์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลกระทบมีตั้งแต่ช่วงก่อสร้างและหลังก่อสร้างโครงการ รูปแบบของผลกระทบมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ แบ่งผลกระทบออกเป็น 3 ด้าน ประกอบไปด้วย 1. ด้านเศรษฐกิจ 2. ด้านสังคม 3. ด้านสิ่งแวดล้อม 2) ในช่วงระยะเวลาของการก่อสร้าง ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีลักษณะรูปแบบเหมือนกัน แต่ผลที่ได้รับแตกต่างกันขึ้นอยู่กับระยะห่างจากโครงการ ส่วนใหญ่ในระยะ 0-100 เมตร ชุมชนได้รับผลกระทบเรื่องฝุ่นละออง กลิ่น และเสียงดังรบกวน ในระยะ 101-500 เมตร และระยะ 501-1,000 เมตร ได้รับผลกระทบได้เรื่องจราจรติดขัด จึงได้ข้อเสนอแนะแนวทางการลดผลกระทบ 1) หน่วยงานรัฐ ควรปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันโดยให้โครงการรูปแบบผสมในส่วนของศูนย์การค้าจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ 2) ผู้ประกอบการควรจัดตั้งบุคคลหรือนิติบุคคลฯที่มีความชำนาญการ ดำเนินการตรวจติดตามและวัดผลตั้งแต่เริ่มโครงการ ตลอดจนโครงการเปิดให้บริการ 3)ผู้ประกอบการควรศึกษาปัญหากับชุมชนก่อนที่จะมีการก่อสร้างอาคาร นำข้อจำกัดไปพิจารณากำหนดแนวทางเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน


การจัดให้มีที่จอดรถยนต์และการใช้งานที่จอดรถยนต์ของผู้อยู่อาศัยในโครงการอาคารชุดเปรียบเทียบตามระยะห่างของโครงการจากสถานีระบบขนส่งมวลชนแบบเร็ว, นัทชา เลิศประดิษฐ์ Jan 2019

การจัดให้มีที่จอดรถยนต์และการใช้งานที่จอดรถยนต์ของผู้อยู่อาศัยในโครงการอาคารชุดเปรียบเทียบตามระยะห่างของโครงการจากสถานีระบบขนส่งมวลชนแบบเร็ว, นัทชา เลิศประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการอาคารชุดในกรุงเทพมหานครอยู่ภายใต้กฎหมายซึ่งกำหนดจำนวนขั้นต่ำของที่จอดรถยนต์ที่ต้องจัดเตรียมในโครงการโดยกำหนดจำนวนที่จอดรถยนต์จากขนาดพื้นที่ห้องชุดและพื้นที่อาคาร อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยที่กล่าวถึงระยะเดินเท้าของคนที่แสดงถึงพฤติกรรมการเดินเท้าของผู้พักอาศัยโดยรอบสถานีระบบขนส่งมวลชนแบบเร็วหรือรถไฟฟ้าที่ต่างกันไปตามระยะห่างจากสถานี ซึ่งอาจส่งผลถึงความต่างของพฤติกรรมการใช้รถยนต์ของผู้พักอาศัย และการจัดเตรียมจำนวนที่จอดรถยนต์ในโครงการพักอาศัยที่ตั้งอยู่ในระยะห่างจากสถานีที่ต่างกัน อีกทั้ง การลงทุนพัฒนาโครงการอาคารชุดต้องใช้เงินลงทุนสูง ผู้ประกอบการจึงได้นำเสนอแนวคิดว่า การลดอัตราส่วนที่จอดรถยนต์ลงสามารถมีส่วนช่วยลดต้นทุนได้ โดยเฉพาะโครงการอาคารชุดตามทำเลแนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนแบบเร็วหรือรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นทำเลที่ที่ดินมีราคาสูง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์และพฤติกรรมการใช้งานที่จอดรถยนต์ของผู้อยู่อาศัยในโครงการอาคารชุดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เปรียบเทียบตามระยะห่างจากโครงการอาคารชุดถึงสถานีระบบขนส่งมวลชนแบบเร็ว โดยใช้วิธีการศึกษาทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านอุปทาน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างโครงการอาคารชุดจำนวน 430 โครงการ จากการสุ่มตัวอย่างจากรายชื่อโครงการอาคารชุดที่ได้รับอนุมัติความเห็นชอบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2561 ในเอกสารรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และด้านอุปสงค์ โดยศึกษาด้วยการเก็บแบบสอบถามข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานที่จอดรถยนต์ในโครงการอาคารชุดจากกลุ่มตัวอย่างผู้พักอาศัยจำนวน 293 คน ซึ่งอาศัยในโครงการอาคารชุดที่มีลักษณะเดียวกันกับโครงการกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาด้านอุปทาน จากนั้นจึงนำข้อมูลที่รวบรวมได้ มาวิเคราะห์เชิงสถิติ สรุปผล และอภิปราย จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า โครงการอาคารชุดในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่จัดเตรียมที่จอดรถยนต์ไว้เท่ากับจำนวนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31 ของจำนวนโครงการทั้งหมด โดยจัดเตรียมที่จอดรถยนต์ไว้โดยเฉลี่ยที่สัดส่วนร้อยละ 104 เมื่อเทียบกับจำนวนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 82 จัดเตรียมที่จอดรถยนต์ในโครงการไว้เป็นสัดส่วนไม่เกินค่าเฉลี่ยดังกล่าว เมื่อเทียบกับจำนวนห้องชุด โครงการอาคารชุดในภาพรวมมีการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์เฉลี่ยที่ร้อยละ 54 ต่อจำนวนห้องชุดในแต่ละโครงการ กล่าวคือ เตรียมไว้ประมาณกึ่งหนึ่งของจำนวนห้องชุดทั้งหมด ความแตกต่างของระยะห่างของที่ตั้งโครงการจากสถานีระบบขนส่งมวลชนแบบเร็วไม่ทำให้เกิดความแตกต่างในการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์ในแต่ละโครงการ โดยโครงการอาคารชุดที่ตั้งอยู่ในระยะห่างที่ต่างกันมีการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์ไว้ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยทั้งสิ้น โครงการอาคารชุดในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในมีแนวโน้มที่จะจัดเตรียมที่จอดรถยนต์เกินจากที่กฎหมายกำหนดในสัดส่วนที่สูงกว่าพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นกลาง และชั้นนอก ส่วนความแตกต่างของพื้นที่ในและนอกย่านศูนย์เศรษฐกิจ ไม่ก่อให้เกิดความต่างในการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์ในโครงการอาคารชุดนัก สำหรับโครงการที่จัดเตรียมที่จอดรถยนต์ไว้เกินกว่าจำนวนที่จอดรถยนต์ที่กฎหมายกำหนดค่อนข้างสูงนั้น จะตั้งอยู่ใกล้สถานีระบบขนส่งมวลชนรูปแบบสถานีทั่วไปที่ไม่ใช่สถานีร่วม เมื่อศึกษาพฤติกรรมการของผู้พักอาศัยในการใช้ที่จอดรถยนต์ในโครงการอาคารชุด พบว่า ร้อยละ 75 ของกลุ่มตัวอย่างใช้รถยนต์ในการเดินทางเป็นประจำ โดยมีสัดส่วนการใช้ที่จอดรถยนต์ในโครงการแตกต่างกันไปตามช่วงวันและเวลา ตั้งแต่ร้อยละ 15 ถึงร้อยละ 57 ต่อจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ในช่วงวันจันทร์-ศุกร์ผู้พักอาศัยกลุ่มตัวอย่างจอดรถยนต์เป็นจำนวนมากในช่วงเวลาตั้งแต่ 18.00-08.00 น. ในขณะที่ช่วงเวลา 08.00-18.00 มีอัตราการจอดรถยนต์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 18 ส่วนในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ผู้พักอาศัยกลุ่มตัวอย่างจะจอดรถยนต์ในโครงการเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 30 จากการอภิปรายผล ในภาพรวมที่จอดรถยนต์ที่โครงการจัดเตรียมซึ่งส่วนใหญ่เตรียมไว้ใกล้เคียงกับจำนวนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดนั้นมีความสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งานจริง และหากจะปรับลดจำนวนที่จอดรถยนต์ขั้นต่ำลงก็มีความเป็นไปได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ใกล้สถานีระบบขนส่งมวลชนแบบเร็ว เนื่องจากผู้พักอาศัยในระยะ 500 เมตรจากสถานีใช้การเดินเท้าเป็นรูปแบบการเดินทางหลัก ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดเรื่องระยะการเดินเท้าที่ผ่านมา


การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสิ่งอำนวยความสะดวก และพื้นที่ส่วนกลางในอาคารชุดพักอาศัย ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่าง พ.ศ.2536-2561, บุษกร ลี่สถาพรวงศา Jan 2019

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสิ่งอำนวยความสะดวก และพื้นที่ส่วนกลางในอาคารชุดพักอาศัย ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่าง พ.ศ.2536-2561, บุษกร ลี่สถาพรวงศา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสิ่งอำนวยความสะดวก และพื้นที่ส่วนกลางในอาคารชุดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ยุค เพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุและความสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยโดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ, ผู้เชี่ยวชาญ และแจกแบบสอบถามผ่านกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้อยู่อาศัยภายในอาคารชุดทั้ง 12 โครงการกรณีศึกษา ของ 3 บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นตัวแทนของระดับราคาขายสูง ปานกลางและปานกลางถึงล่าง จำนวน 304 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ คือ ราคาที่ดินที่สูงขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาโครงการมีห้องชุดที่ขนาดเล็กลงจากอดีตและทำให้พื้นที่ส่วนกลางมีความสำคัญมากขึ้น นำมาสู่ 2) ปัจจัยทางด้านคู่แข่ง ส่งผลให้การพัฒนาโครงการต้องศึกษาคู่แข่งถึงรายละเอียดพื้นที่ส่วนกลางเพื่อนำมาพัฒนาและเป็นกลยุทธ์การส่งเสริมการขาย ซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ กล่าวคือ เศรษฐกิจดีทำให้เกิดการแข่งขัน ประเภทพื้นที่ส่วนกลางเพิ่มขึ้น 3) ลักษณะการใช้งานพื้นที่ส่วนกลาง พบว่าพื้นที่ที่มีการใช้งานสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยเรียงลำดับความถี่การใช้งานมากไปน้อย ได้แก่ พื้นที่ส่วนกลางเพื่อด้านการบริการ, พื้นที่ส่วนกลางด้านกิจกรรม และพื้นที่ส่วนกลางด้านการพักผ่อนและทำงาน ตามลำดับ 4) ทัศนคติของผู้อยู่อาศัยต่อพื้นที่ส่วนกลาง และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต้องมีในโครงการ 3 อันดับแรก คือ ร้านค้าสะดวกซื้อ, ห้องออกกำลังกาย และสระว่ายน้ำ ส่วนด้านพื้นที่ส่วนกลาง และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ควรจะมีเพื่อสอดคล้องกับพฤติกรรม 3 อันดับแรก คือ จุดรับอาหารบริการสั่งซื้อ, พื้นที่ทำงานรวม และตู้ล็อคเกอร์รับฝากของ 24 ชั่วโมง ตามลำดับ จากการศึกษาจึงได้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่ส่วนกลางในอาคารชุด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ด้านกายภาพของพื้นที่ส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวก ควรใช้การออกแบบและตกแต่งที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้สอดคล้องตามพฤติกรรมผู้อยู่อาศัยในอนาคต เช่น อุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว การประหยัดพลังงาน และการออกแบบให้อากาศถ่ายเท ได้รับแสงสว่างจากธรรมชาติที่เพียงพอเหมาะสม 2) ด้านการบริหารจัดการของพื้นที่ส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวก ควรคำนึงถึงค่าส่วนกลางในระยะยาวสำหรับการปรับปรุงดูแลรักษาอาคารชุดในอนาคตที่จะเสื่อมสภาพลง เช่น งานระบบภายในอาคารและภายนอกอาคาร งานระบบสระว่ายน้ำ และงานปรับปรุงภายนอกอาคาร เป็นต้น


ปัจจัยการปฏิเสธสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของลูกค้าบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย กรณีศึกษา บริษัท เอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน), พัชญา โพธิรัตน์สมบัติ Jan 2019

ปัจจัยการปฏิเสธสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของลูกค้าบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย กรณีศึกษา บริษัท เอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน), พัชญา โพธิรัตน์สมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยนั้นเป็นสินเชื่อที่ให้แก่ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือกลุ่มบุคคลเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัย โดยมีที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นจำนองเป็นหลักประกัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป รวมถึงการให้สินเชื่อเพื่อรีไฟเเนนซ์ (Re-finance) จากสถาบันการเงินด้วย ดังนั้นปัจจัยที่ทำให้ผู้ขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยไม่ผ่านการอนุมัติจากสถาบันการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นอย่างมาก รวมถึงแนวทางในการแก้ไขสำหรับผู้ขอสินเชื่อที่ไม่ผ่านการอนุมัติ และวิธีการเตรียมความพร้อมในการขอสินเชื่อด้วย ซึ่งการอนุมัติสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยนั้นมีหลายปัจจัยประกอบกันไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอก เช่น มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารแห่งประเทศไทย (LTV) หรือนโยบายของแต่ละสถาบันการเงิน หรือปัจจัยภายในที่เกิดจากตัวผู้ขอกู้เอง เช่น อายุ รายได้ เป็นต้น จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยหลักมี 8 ปัจจัย คือ รายได้ไม่ผ่านเกณฑ์ ที่มาของรายได้ไม่ชัดเจน ภาระหนี้เกิน มีประวัติเครดิตไม่ดี (ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด) อายุ วุฒิการศึกษา ความมั่นคงของอาชีพ เเละเงินออม ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลทุติยภูมิของ ผู้ซื้อโครงการบ้านฟ้า ทาวน์นี่ ปิ่นเกล้า–ดอนหวาย บริษัท เอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) และผู้ซื้อโครงการพอส ไอดี คอนโด บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจัยหลักของการถูกปฏิเสธสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยคือ ภาระหนี้เกิน สรุปผลการศึกษาได้ว่า ปัจจัยการปฏิเสธสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยนั้น เกิดจากตัวผู้ขอกู้เป็นหลัก โดยส่วนใหญ่เเล้วเมื่อคนต้องการซื้อที่อยู่อาศัย มักจะเลือกที่อยู่อาศัยที่ตนอยากได้ เพราะการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยเป็นการสร้างหนี้สินระยะยาว เเละไม่ได้ซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ได้บ่อยๆ ด้วยเหตุนี้ทำให้คนทั่วไปอาจไม่ได้คำนึงถึงความเป็นไปได้ในการซื้อที่อยู่อาศัยนั้น ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้ขอกู้ไม่ผ่าน เพราะความต้องการของตนเองนั้น ไม่สัมพันธ์กับรายได้เเละรายจ่ายที่มีอยู่ ในอนาคต หากผู้ขอกู้ไม่เตรียมความพร้อมให้ตนเองก่อนการขอกู้ ย่อมเป็นเรื่องปกติที่จะถูกปฏิเสธสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่างๆ ควรเตรียมความพร้อมทั้งวินัยทางด้านการเงิน การออม ความโปร่งใสในการเดินบัญชี รวมถึงการประเมินตนเองในการเลือกที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมด้วย ซึ่งผู้ขอกู้ควรเตรียมความพร้อมให้แก่ตนเองในการขอสินเชื่อต่อไป


พฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพกรณีศึกษา : แขกรับเชิญรายการอายุน้อยร้อยล้าน, มณีศร อัฑฒ์วงศ์ไพศาล Jan 2019

พฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพกรณีศึกษา : แขกรับเชิญรายการอายุน้อยร้อยล้าน, มณีศร อัฑฒ์วงศ์ไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเกิดการชะลอตัว ในขณะที่ความต้องการที่อยู่อาศัยของประชากรไทยยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งที่อยู่อาศัยที่ประชากรไทยต้องการนั้นสัดส่วนจะอยู่ที่โครงการระดับราคาสูง ด้วยเหตุนี้ตลาดที่อยู่อาศัยราคาสูงจึงมีการเติบโตสวนทางกับเศรษฐกิจ ปัจจุบันที่อยู่อาศัยมีหลากหลายรูปแบบ โดยทั้งหมดทั้งมวลผู้ประสบความสำเร็จเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเลือกที่อยู่อาศัยได้ครบรูปแบบมากที่สุด ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพ กรณีศึกษาแขกรับเชิญรายการอายุน้อยร้อยล้าน โดยแขกรับเชิญรายการอายุน้อยร้อยล้านต้องเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีรายได้ของธุรกิจ 100 ล้านบาท/ปีขึ้นไป และมีอายุไม่เกิน 45 ปี สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีความสำเร็จในอาชีพ ซึ่งการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมและแนวโน้มการเลือกที่อยู่อาศัย ศึกษาปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในการวางแผนด้านที่อยู่อาศัยของผู้สบความสำเร็จในอาชีพ และเสนอแนะลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพ Generation X และ Y ทั้งนี้ดำเนินการโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูลและใช้การพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกที่อยู่อาศัยคือ ปัจจัยด้านรายได้ สมาชิกครัวเรือน ภูมิลำเนา และช่วงอายุ โดยลักษณะที่อยู่อาศัยที่ต้องการเมื่อประสบความสำเร็จแล้วคือ บ้านเดี่ยวที่ปลูกเอง และอยู่ในบริเวณเดียวกับสถานที่ทำงาน ซึ่งเป็นบริเวณชานเมือง เนื่องจากลุ่มผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีธุรกิจในระดับอุตาหกรรม ดังนั้นข้อจำกัดในการเลือกที่อยู่อาศัยของผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพคือ ทำเล และเวลาในการเดินทาง อีกทั้งยังต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกในที่อยู่อาศัย เช่น ระบบรักษาความปลอดภัย กล้องวงจรปิด พื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ และพื้นที่จอดรถ เป็นต้น ทั้งนี้นอกจากที่อยู่อาศัยที่ใช้เป็นที่พักอาศัยแล้ว ผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพยังพิจารณาที่อยู่อาศัยในด้านการลงทุน หรือการค้าขายอีกด้วย


ความต้องการในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, วรรณวสา ขำสุข Jan 2019

ความต้องการในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, วรรณวสา ขำสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปลี่ยนแปลงของประชากรสูงวัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มของประชากรสูงวัยทั่วโลก และมีแนวโน้มของประชากรสูงวัยที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้แต่ละประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบสังคมที่แตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม เช่น นโยบายประเทศ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ รวมถึงมีการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น มีค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการที่ประชากรแต่งงานลดลง การมีลูกลดลง ก็ส่งผลให้สัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเช่นกัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความสำคัญของสถานการณ์ ดังกล่าว และเล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลรักษาเฉพาะทางสำหรับผู้สูงอายุ จึงดำเนินการสร้างอาคารเพื่อดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรขึ้น โดยเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2558 และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอาคารว่า "อาคาร ส.ธ." ถือเป็นศูนย์การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ ซึ่งมีพื้นที่ 18 ชั้นที่มีหน่วยให้บริการดูแลผู้สูงวัยในทุก ๆ ด้าน เพื่อรองรับประชากรสูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ความต้องการของผู้สูงอายุก็แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ ในการศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของการอยู่อาศัยในของผู้สูงอายุ เพื่อนำมาวิเคราะห์ความต้องการในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุและเสนอแนะแนวทาง งบประมาณในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ในที่อยู่อาศัยแต่ละประเภท รวมทั้งติดตามผลการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ พบว่าสมาชิกชมรมฯ ส่วนมากมีที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯชั้นใน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในที่อยู่อาศัยรูปแบบบ้านเดี่ยว มีรายได้หลังเกษียณอยู่ในช่วง 20,001-50,000 บาท มากที่สุด โดยมากจะอาศัยร่วมกับญาติ พี่น้อง และใช้เงินเก็บส่วนตัวเป็นแหล่งเงินในการปรับปรุงที่อยู่อาศัย และมีจำนวนน้อยมากที่จะใช้เงินกู้เพื่อมาปรับปรุง พื้นที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือ ห้องน้ำ จึงควรเตรียมการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ด้วยการปรับปรุงวัสดุพื้นกันลื่นและราวจับช่วยพยุงสำหรับลุกนั่ง ซึ่งจะส่งผลต่องบประมาณในการปรับปรุง และพบว่าหากผู้สูงอายุส่วนมากมีรายได้ที่ 20,001-50,000 บาท จะใช้เวลาในการผ่อนจ่ายค่าอุปกรณ์ประเภทพื้นและราวจับ เป็นเวลามากกว่า 7 เดือน


กลยุทธ์การพัฒนาโครงการอาคารชุดของผู้ประกอบการท้องถิ่นในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์, วรัชยา รักคำมี Jan 2019

กลยุทธ์การพัฒนาโครงการอาคารชุดของผู้ประกอบการท้องถิ่นในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์, วรัชยา รักคำมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผู้ประกอบการท้องถิ่นเริ่มมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอาคารชุดนอกเหนือคู่แข่งที่มีความเชี่ยวชาญจากกรุงเทพมหานคร บทความวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษากลยุทธ์การพัฒนาโครงการอาคารชุดของผู้ประกอบการท้องถิ่นในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ โดยศึกษาแนวคิดและกลยุทธ์ในการพัฒนาโครงการ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไข ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการท้องถิ่น 3 บริษัท รวมถึงการสำรวจโครงการ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเพิ่มเติมถึงแนวคิดผู้ประกอบการผ่านความคิดเห็นผู้อยู่อาศัยจำนวน 55 ราย โดยใช้การถอดเทปสัมภาษณ์และวิเคราะห์คำสำคัญรวมถึงความหมายเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ประกอบท้องถิ่นทั้ง 3 ราย มีภูมิลำเนาเดิมจากอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีประสบการณ์การณ์การพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวราบมาก่อนที่จะเริ่มพัฒนาโครงการอาคารชุด โดยบุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วมในการพัฒนา ในฐานะผู้ประกอบการท้องถิ่นทำให้ได้เปรียบในการเข้าถึงข้อมูล การรับรู้ความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคและต้นทุนราคาที่ดิน 2) ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายมีแนวคิดในการพัฒนาโครงการอาคารชุดแตกต่างกันส่งผลต่อการเลือกใช้กลยุทธ์การพัฒนาที่แตกต่างกัน ถึงแม้จะมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายคล้ายคลึงกัน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและวิสัยทัศน์ขององค์กร ซึ่งรูปแบบโครงการเน้นการพัฒนาอาคารชุดความสูงไม่เกิน 8 ชั้น ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ที่มีระยะทางที่รถจักรยานยนต์เข้าถึงได้ เพื่อความสะดวกสบายต่อการเดินทาง มีการออกแบบและการเลือกใช้วัสดุที่แตกต่างกันเพื่อสร้างความแตกต่างในตลาด ส่งผลให้ราคาขายต่างกัน สำหรับผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ด้านโครงการอาคารชุดมาก่อนสามารถรับรู้ถึงความต้องการของผู้บริโภคและปัญหาในการพัฒนารูปแบบแนวสูง โดยได้มีการพัฒนาคุณภาพการก่อสร้างและเน้นบริการหลังการขายและการดูแลลูกค้า เพราะเป็นสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังและมั่นใจในตัวโครงการ 3) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประสบปัญหาในเรื่องการก่อสร้าง โดยเฉพาะงานก่อสร้างที่ยังไม่ได้คุณภาพ เนื่องจากทีมงานและผู้รับเหมายังขาดประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการแนวสูง ซึ่งส่งผลให้การขายชะลอตัวลง ทางผู้ประกอบการจึงได้จ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาควบคุมและดูแลงาน รวมถึงปัญหาวัสดุก่อสร้างไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ประกอบการต้องหาวัสดุคุณภาพที่ดีกว่าเข้ามาทดแทน งานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดในการพัฒนาโครงการอาคารชุดของผู้ประกอบการท้องถิ่น รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนหรือผู้ประกอบการที่มีความสนใจพัฒนาโครงการอาคารชุดในเขตหัวเมือง เพื่อเป็นแนวทางและลดความเสี่ยงในการพัฒนาที่นำไปสู่การประสบความสำเร็จต่อไป


ความสัมพันธ์ระหว่างที่อยู่อาศัยกับแหล่งงานของบุคลากรระดับกลาง: กรณีศึกษากระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี, สายธาร หนูเกลี้ยง Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างที่อยู่อาศัยกับแหล่งงานของบุคลากรระดับกลาง: กรณีศึกษากระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี, สายธาร หนูเกลี้ยง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี เป็นหน่วยงานราชการขนาดใหญ่ มีถนนล้อมรอบอยู่ทั้ง 4 ด้าน และมีวิธีการเข้าถึงหลากหลายวิธี รวมถึงมีรูปแบบและระดับราคาของที่อยู่อาศัยที่หลากหลาย ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในวิธีการเลือกที่อยู่อาศัยหรือการเดินทางเข้าสู่แหล่งงาน นำมาซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาลักษณะและที่ตั้งที่อยู่อาศัย พฤติกรรมการเดินทาง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างที่อยู่อาศัยกับที่แหล่งงาน ของบุคลากรระดับกลางในพื้นที่กระทรวงสาธารณสุข โดยใช้วิธีการแจกแบบสอบถาม จำนวน 367 ชุด ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-29 ปี สถานภาพโสด และมีอายุงาน 1-3 ปี ระดับเงินเดือน 18,001-21,000 บาท อาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรี จากกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีทั้งลักษณะการครอบครองที่อยู่อาศัยแบบเป็นเจ้าของเองและเช่า ผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เอง มีผู้ร่วมพักอาศัย จำนวน 2 คน โดยพักอาศัยกับบิดา – มารดา เป็นบ้านเดี่ยว/บ้านแฝด เหตุผลในการเลือกที่ตั้งที่อยู่อาศัยของทุกระดับรายได้ คือ การเดินทางสะดวก เดินทางไปทำงานโดยใช้รถยนต์ส่วนตัว ไม่มีผู้ร่วมเดินทาง ใช้ระยะเวลาเดินทาง 16-30 นาที เหตุผลในการเลือกวิธีการเดินทาง คือ ความสะดวก มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 21-50 บาท/วัน และวิธีการเดินทางที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุด ในการเดินทางไปทำงานของผู้ที่ไม่มีรถส่วนตัว กว่าครึ่งมีความคิดเห็นว่าการโดยสาร รถแท็กซี่ มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในการเดินทางไปทำงาน การถือครองกรรมสิทธิ์แบบเช่าที่อยู่อาศัย มีระดับราคาค่าเช่า 2,501-3,000 บาท/เดือน ภาระค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยจึงเป็นค่าเช่ามากกว่าค่าซื้อที่อยู่อาศัย ผลการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างที่อยู่อาศัยและที่ทำงาน สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มระดับรายได้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในระยะ 10 กิโลเมตรจากที่ทำงาน มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 5.53% ของรายได้ และมีค่าใช้จ่ายในการอยู่อาศัย 13.49% ของรายได้ ปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยการเดินทาง ได้แก่ ระดับเงินเดือน ค่าใช้จ่ายในการอยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และวิธีการเดินทาง ส่งผลต่อการเลือกที่ตั้งที่อยู่อาศัย โดยกลุ่มตัวอย่างที่เช่าที่อยู่อาศัยจะอาศัยอยู่ในระยะ 5 กิโลเมตร พักอาศัยในทำเลที่ใกล้กับกระทรวงสาธารณสุขมากกว่ากลุ่มอื่น และจะอยู่ใกล้กับแหล่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า กลุ่มที่มีรายได้ปานกลางค่อนต่ำ (ระดับรายได้ต่ำกว่า 15,000 -21,000 บาท) ที่เช่าอยู่อาศัยคนเดียวจะพักอาศัยในรูปแบบของ อพาร์ทเมนท์/หอพัก ในระดับราคาค่าเช่า 2,000-2,500 …


ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าพักและองค์ประกอบทางกายภาพของโฮสเทลบนถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร, อภินัทธ์ จูฬะติดตะ Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าพักและองค์ประกอบทางกายภาพของโฮสเทลบนถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร, อภินัทธ์ จูฬะติดตะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โฮสเทลเป็นธุรกิจที่พักแรมที่นิยมเนื่องจากลงทุนต่ำ ไม่มีข้อจำกัดที่ตายตัว ทำให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบมาสร้างจุดขายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว จากการศึกษาข้อมูลพบว่าปัจจัยทางด้านกายภาพมีความจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจโฮสเทลและสัมพันธ์กับลักษณะผู้เข้าพักอาศัย งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพและลักษณะผู้เข้าพักรวมถึงหาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวต่อองค์ประกอบทางกายภาพ โดยการสำรวจทางกายภาพและสัมภาษณ์ผู้เข้าพัก จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่าโฮสเทลบนถนนข้าวสารมีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบประกอบด้วย 1.โฮสเทลตึกแถวหรืออาคารพาณิชย์ 2.โฮสเทลบ้านเก่าดัดแปลง 3.โฮสเทลอาคารสร้างใหม่ จำนวนรวม 65 แห่ง จึงนำมาใช้เป็นกลุ่มประชากรในการศึกษา ผลการศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพโฮสเทลพบว่า 1.โฮสเทลแบบตึกแถวส่วนใหญ่มีขนาดตั้งแต่ 1-3 คูหา 3-4 ชั้น พื้นที่ชั้นล่างส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ต้อนรับและนั่งเล่นและบางแห่งมีการเพิ่มคาเฟ่เข้ามาหรือแบ่งให้เช่าชั้นล่างเพื่อสร้างรายได้ พื้นที่พักอาศัยมีห้องนอนรวมที่เป็นเตียง 2 ชั้น เตียงแบบรัง การออกแบบตกแต่งภายนอกและภายในส่วนใหญ่มีการใช้แนวคิดพื้นผิวทางสถาปัตยกรรมโดยการใช้สีเพื่อแบ่งขอบเขตอาคารและตกแต่งภายในโฮสเทลบางแห่งมีการใช้แนวคิดในการออกแบบ ใช้สีและวัสดุเพื่อสร้างความโดดเด่นจากสภาพแวดล้อม 2.โฮสเทลแบบบ้านเก่าดัดแปลงมีพื้นที่เปิดโล่งที่เป็นลักษณะสวนหย่อมอยู่ภายนอกอาคาร ส่วนภายในอาคารเป็นการปรับการใช้งานมาจากบ้านพักอาศัยเก่า 3.โฮสเทลอาคารสร้างใหม่มีพื้นที่นั่งเล่นส่วนกลางหลายจุดและมีพื้นที่ภายนอกอาคารที่มีลักษณะเป็นสระว่ายน้ำและบาร์เครื่องดื่ม จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมผู้เข้าพักกับองค์ประกอบทางกายภาพพบว่า 1.ผู้เข้าพักโฮสเทลตึกแถวที่มีพื้นที่ชั้นล่างเป็นพื้นที่นั่งเล่นและการตกแต่งทั่วไปมีการใช้งานพื้นที่ดังกล่าวในการปฏิสัมพันธ์แต่ไม่สัมพันธ์กับองค์ประกอบทางกายภาพ คือ ต้องการแค่ที่พัก มีรีวิวดี ใกล้ถนนข้าวสารและมีคนแนะนำ พบว่าในโฮสเทลที่มีคาเฟ่และมีการตกแต่งที่โดดเด่นจากสภาพแวดล้อม ผู้เข้าพักมีพฤติกรรมชอบถ่ายรูปหน้าอาคารเพื่อลงสื่อสังคมและมีการใช้งานพื้นที่ในลักษณะส่วนตัว อีกทั้งพื้นที่พักอาศัยเป็นเตียงแบบรังที่ให้ความรู้สึกมิดชิด ให้ความเป็นส่วนตัวซึ่งสัมพันธ์กับเหตุผลในการเข้าพักที่กล่าวว่า แปลก โดดเด่น รู้สึกเป็นส่วนตัว 2.ผู้เข้าพักโฮสเทลบ้านเก่าดัดแปลงพบว่ามีพฤติกรรมการใช้งานในพื้นที่ในโฮสเทลที่บรรยากาศดูสงบเป็นลักษณะพักผ่อนซึ่งสัมพันธ์กับเหตุผลในการเข้าพัก 3.ผู้เข้าพักโฮสเทลอาคารสร้างใหม่พบว่าพฤติกรรมการใช้งานในพื้นที่โฮสเทลส่วนใหญ่อยู่บริเวณภายนอกอาคาร จึงสรุปได้ว่าองค์ประกอบทางกายภาพที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าพักคือ 1.การออกแบบตกแต่งในโฮสเทลที่มีความโดดเด่นส่งผลทำให้เกิดพฤติกรรมการถ่ายรูปเพื่อลงสื่อสังคม 2.พื้นที่ใช้สอย ได้แก่ พื้นที่คาเฟ่ที่มีให้ความเป็นส่วนตัว พื้นที่พักอาศัยที่เป็นเตียงนอนแบบรังให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว และพื้นที่ภายนอกลักษณะสวนหย่อมที่มีการใช้งานในการพักผ่อน


กระบวนการทำให้เมืองมีชีวิตชีวาด้วยกราฟฟิตี้ในบทบาทของสตรีทอาร์ต, ณพัชร สุวรรณกิจ Jan 2019

กระบวนการทำให้เมืองมีชีวิตชีวาด้วยกราฟฟิตี้ในบทบาทของสตรีทอาร์ต, ณพัชร สุวรรณกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาปรากฏการณ์การทําให้เมืองมีชีวิตชีวาด้วยกราฟฟิตี้ในบทบาทของสตรีทอาร์ตภายใต้บริบทไทย ซึ่งภาพลักษณ์ของกราฟฟิตี้ในประเทศไทยยังแสดงถึงความเสื่อมโทรมของชุมชน ขณะเดียวกันกราฟฟิตี้ในบทบาทของสตรีทอาร์ตก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูเมือง ทําให้เมืองมีความน่าอยู่ ไม่เสื่อมโทรมเหมือนกราฟฟิตี้ทั่วไป และยังกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวให้กับชุมชน ดังนั้นจึงศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการฟื้นฟูเมืองโดยใช้กราฟฟิตี้และสตรีทอาร์ตเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์องค์ประกอบที่มีผลต่อกระบวนการดังกล่าว และศึกษาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนภายในโครงการกราฟฟิตี้และสตรีทอาร์ต โดยเปรียบเทียบความแตกต่างทั้ง 3 กรณีศึกษา ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์มีสามส่วน ได้แก่ ข้อมูลบริบทเชิงพื้นที่ที่ได้จากการทําแผนที่เดินดินจํานวน 3 แห่ง ได้แก่ย่านราชเทวี ย่านสยาม และเมืองภูเก็ต ข้อมูลทัศนคติและการรับรู้ที่มีต่อกราฟฟิตี้ในบทบาทของสตรีทอาร์ตจากการทําแบบสอบถามกับบุคคลทั่วไป จํานวน 572 ตัวอย่าง และรายละเอียดโครงการกราฟฟิตี้ในบทบาทของสตรีทอาร์ตในพื้นที่กรณีศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการกราฟฟิตี้ทั้ง 3 โครงการ ผลการศึกษาทัศนคติและการรับรู้ที่มีต่อกราฟฟิตี้ในบทบาทของสตรีทอาร์ตพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในกราฟฟิตี้และสตรีทอาร์ตในระดับที่สามารถแยกแยะได้ และมีทัศนคติเกี่ยวกับกราฟฟิตี้ในบทบาทของสตรีทอาร์ตเป็นไปในทางบวก และผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่าโครงการกราฟฟิตี้และสตรีทอาร์ตนั้นมีจุดประสงค์ในการปรับพื้นที่ให้เป็นย่านศิลปะ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว หรือถ่ายทอดวัฒนธรรมของชุมชนให้แก่ผู้สัญจร โดยเริ่มจากการวางแผนโครงการ การเสนอโครงการให้กับเจ้าของที่ดินเพื่อขอใช้สถานที่ในการจัดกิจกรรม การติดต่อเชิญศิลปินเข้ามาร่วมโครงการ และการประชาสัมพันธ์ ภายในโครงการได้มีส่วนร่วมกับบุคคลหลายกลุ่มได้แก่ หน่วยงานรัฐบาล องค์กรเอกชน องค์กรไม่แสวงผลกําไร ศิลปินและประชาชน


กลไกและสถาบันของตลาดริมทางบนพื้นที่สาธารณะในกรุงเทพมหานคร, ปาริษา มูสิกะคามะ Jan 2019

กลไกและสถาบันของตลาดริมทางบนพื้นที่สาธารณะในกรุงเทพมหานคร, ปาริษา มูสิกะคามะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกลไกและสถาบันในการกำกับดูแลตลาดริมทางบนพื้นที่สาธารณะกรุงเทพมหานครที่ได้รับอิทธิพลจากการท่องเที่ยวจำนวน 2 พื้นที่ ได้แก่ ถนนข้าวสารและถนนเยาวราช เพื่อ (1) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบและผลลัพธ์ของการกำกับดูแลที่แตกต่างกัน (2) วิเคราะห์ผลลัพธ์ของการกำกับดูแลผ่านกรอบแนวคิดเรื่องความยุติธรรมและความเป็นธรรม และ (3) วิเคราะห์บทบาทของนโยบายและการบังคับใช้นโยบายที่ส่งผลต่อความเป็นธรรมในการกำกับดูแลตลาดริมทางบนพื้นที่สาธารณะ การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบทฤษฎีฐานราก การรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 3 วิธี ได้แก่ การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสืบค้นเอกสาร วิธีการหลักในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการให้รหัส ซึ่งจะนำมาตรวจสอบสามเส้ากับข้อมูลการสำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้พื้นที่เชิงกายภาพ การดำเนินการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกิดขึ้นในระหว่างเดือนธันวาคม 2558 – กันยายน 2562 ผลการศึกษาสะท้อนว่าการกำกับดูแลพื้นที่สาธารณะบนถนนข้าวสารและเยาวราชล้วนสะท้อนปรากฎการณ์การทำให้พื้นที่สาธารณะเป็นสินค้าเอกชน ที่การกีดกันสิทธิในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์สามารถเกิดขึ้นได้ผ่านกลไก 3 ประเภท ได้แก่ ราคา อำนาจ และนโยบาย บทบาทหน้าที่ของทั้งสามกลไกกีดกัน ตลอดจนรูปแบบและผลลัพธ์ของการกำกับดูแลจะแตกต่างกันตามปัจจัย 2 ประการ คือ (1) บรรทัดฐานของสิทธิส่วนบุคคลบนพื้นที่สาธารณะ และ (2) โครงสร้างอำนาจของชุมชน การกำกับดูแลถนนข้าวสารมีรูปแบบแบบหุ้นส่วน ที่กลุ่มผลประโยชน์ซึ่งมีโครงสร้างอำนาจไม่แตกต่างกันสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจาต่อรองเพื่อพัฒนากลไกและสถาบัน ในขณะที่การกำกับดูแลบนถนนเยาวราชเป็นแบบกงสี ที่มีรัฐเป็นเถ้าแก่กงสีที่ทำหน้าที่กำหนดและบังคับใช้กฎกติกาเพื่อการจัดสรรสิทธิ กระจายผลประโยชน์ และและลดปัญหาขัดแย้ง ระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนจึงถูกขีดกรอบไว้อย่างชัดเจน การกำกับดูแลพื้นที่สาธารณะทั้งสองรูปแบบนำไปสู่ผลลัพธ์และกระบวนการที่ขาดความเป็นธรรมในลักษณะที่แตกต่างกัน


แนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล : กรณีศึกษาอาคารชุดพักอาศัยหนึ่งยูนิต, นรมณ อุไรเลิศประเสริฐ Jan 2019

แนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล : กรณีศึกษาอาคารชุดพักอาศัยหนึ่งยูนิต, นรมณ อุไรเลิศประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคตในหลากหลายแขนง รวมถึงที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน บทความนี้จึงมุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักในปัจจุบันและอนาคต รวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลโดยใช้วิธีการถอดความ (Coding data) จากบทความทางอินเทอเน็ต งานวิจัย บทความวิชาการ โดยผู้วิจัยพิจารณาคำ วลี และประโยค ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคปัจจุบัน และอนาคต จากนั้นนำมาจัดหมวดหมู่ (Categories) เพื่อกำหนดตัวแปรเบื้องต้นสำหรับตัวขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย 5 ปัจจัยคือ 1) Service 2) Control 3) Visualize 4) Personalize 5) Communicate และจำแนกประเภทของกิจกรรมสำหรับการอยู่อาศัยออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) กิจกรรมทางชีวภาพ 2) กิจกรรมทางการผลิต 3) กิจกรรมทางการปฏิสัมพันธ์ 4) กิจกรรมทางนันทนาการ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงผ่าน 3 องค์ประกอบของกิจกรรมได้แก่ 1) กริยาขั้นตอน 2) เครื่องมือ 3) พื้นที่ เพื่อศึกษาช่องว่างและนำเสนอแนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยก่อนและหลังการบูรณาการภายใต้แนวคิดของตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล ศึกษาโดยใช้กรณีศึกษากลุ่มกิจกรรมที่เกิดขึ้นในอาคารชุดพักอาศัยหนึ่งยูนิต ทั้งหมด 17 กิจกรรม ทำการจำแนกองค์ประกอบของกิจกรรมตามกริยาขั้นตอน เครื่องมือ และพื้นที่ จากนั้นวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง เมื่อนำตัวขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีเข้าไปแทนหรือเสริมในองค์ประกอบเดิม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลให้เกิดลักษณะการเปลี่ยนของที่อยู่อาศัยในเชิงขั้นตอนและกายภาพ 3 ลักษณะได้แก่ 1. ลักษณะลดลง 2. ลักษณะเพิ่มขึ้น 3. ลักษณะไม่เปลี่ยนแปลง การทำงานของตัวขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีเชิงขั้นตอนแบ่งเป็น 2 ลักษณะ 1. ทำงานส่งผลโดยตรงต่อกิจกรรม ประกอบด้วยตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล 3 ปัจจัยคือ Control Visualize และService 2. ทำงานส่งผลทางอ้อมต่อกิจกรรม ประกอบด้วยตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล Personalize และCommunicate ทางด้านกายภาพการออกแบบที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มการใช้งานพื้นที่เพิ่มขึ้นทางด้านผนัง (แนวตั้ง) และเพดาน (แนวนอน) การใช้งานพื้นที่ลดลงทางด้านพื้น (แนวนอน) ประมาน 40 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนการสร้างแนวทางการพัฒนาการการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต


การเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหัน, เทพพิทักษ์ นิลวรรณ์ Jan 2019

การเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหัน, เทพพิทักษ์ นิลวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหัน เป็นชุมชนที่มีความสำคัญและประวัติศาสตร์ยาวนานในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก ซึ่งมีองค์ประกอบทางกายภาพที่สำคัญคือ คลองโอ่งอ่าง ประตูเมือง สะพานหัน บ้านเจ้านาย เรือนแถว และตรอกซอกซอย สะท้อนให้เห็นความสำคัญและความหลากหลายของการใช้พื้นที่ชุมชนเป็นอย่างมาก จากการสำรวจพื้นที่ในปัจจุบันพบว่า ชุมชนยังคงสภาพการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมแบบเดิมอยู่ ในขณะที่พื้นที่ใกล้เคียงในบริบทเดียวกันเกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้การศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานของชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหันจึงเป็นการศึกษาที่สำคัญสะท้อนให้เห็นถึงเหตุและปัจจัยการยังคงสภาพการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมแบบเดิมอยู่ รวมถึงความหลากหลายของการใช้พื้นที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาในพื้นที่ศึกษาพบว่า ปัจจัยเชิงพื้นที่ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญประกอบด้วย 2 ปัจจัยได้แก่ 1) การพัฒนาเครือข่ายเส้นทางสัญจรสมัยรัชกาลที่ 5 และ2) การพัฒนาแปลงที่ดินสมัยรัชกาลที่ 5 ส่งผลให้ค้นพบประเด็น 3 ข้อได้แก่ 1) ลักษณะการเปลี่ยนรูปแปลงที่ดินและการใช้งานที่ดินชุมชน 3 รูปแบบคือ รูปแปลงที่คงเดิม รูปแปลงที่ดินซอยแปลง และรูปแปลงที่ดินผสม 2) พัฒนาการเส้นทางสัญจร 3 ช่วงเวลาคือ ช่วงที่ 1 เป็นแรกเริ่มของเส้นทางตรอกหลักและตรอกรอง ช่วงที่ 2 เป็นการพัฒนาตรอกและตัดถนนใหม่ และช่วงที่ 3 เป็นการพัฒนาตรอกย่อยภายในแปลงที่ดิน ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคือ ลักษณะดั้งเดิม การพัฒนาภายนอกชุมชน การพัฒนาภายในชุมชน และการพัฒนาภายในแปลง และ 3) สัณฐานการใช้พื้นตรอกซอกซอยของชุมชน ทำให้เกิดเอกลักษณ์ที่สำคัญคือ ตรอกยาฉุน ตรอกขี้หมา และตรอกแคบ ซึ่งเกิดจากปัจจัยคือ แปลงที่ดินและการใช้งานมาก่อนกฎหมาย และการพัฒนาภายในแปลง ซึ่งทั้งสามข้อค้นพบทำให้ชุมชนการยังคงสภาพการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมแบบเดิมอยู่ รวมถึงความหลากหลายของการใช้พื้นที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจมีการศึกษาในอนาคตต่อไป


กระบวนการประมาณราคาค่าก่อสร้างอาคารภาครัฐ ใน สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, มะโนสิน จันทะนูไล Jan 2019

กระบวนการประมาณราคาค่าก่อสร้างอาคารภาครัฐ ใน สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, มะโนสิน จันทะนูไล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการประมาณราคาค่าก่อสร้างอาคารภาครัฐใน สปป. ลาว มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา พัฒนาการการประมาณราคาก่อสร้างอาคารภาครัฐใน สปป. ลาว โดยเริ่มจากองค์ความรู้ของสถาบันศึกษาของภาครัฐ กระบวนการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในภาคงานก่อสร้าง จนถึงระเบียบวิธีเอกสารของภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการบริหารโครงการ โดยนำข้อมูลเบื้องต้นมาวิเคราะห์ และจัดทำเป็นโครงสร้างแบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้ปฏิบัติวิชาชีพ และคณาจารย์ผู้ที่เกี่ยวข้องในการศึกษา รวมทั้งสิ้น 15 ท่าน พร้อมทั้งศึกษารวบรวมจากเอกสารของกรณีศึกษาโครงการก่อสร้างอาคารภาครัฐที่ลงทุนแบบปกติ 9 โครงการ ผลการศึกษาพบว่า หลักการการประมาณราคาในการก่อสร้างอาคารของภาครัฐ มีการจัดทำโดย กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง กรมเคหะและผังเมือง ที่แบ่งขั้นความรับผิดชอบการตรวจสอบประเมินราคาก่อสร้างตามลำดับขั้นหน่วยงาน และเจ้าของงบประมาณ คือ ขั้นศูนย์กลาง ขั้นจังหวัด และขั้นเมือง พร้อมกำหนดสัมประสิทธิ์ตัวคูณวัสดุ เกณฑ์การเผื่อ และราคาต่อหน่วยตามประเภทอาคาร ที่ความสูง 1 - 4 ชั้น ใช้เพื่อตรวจสอบประเมินราคาค่าก่อสร้างอาคารภาครัฐ และอยู่ในระหว่างดำเนินการออกประกาศใช้ราคาต่อหน่วยแบบสำเร็จรูป ให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถใช้เป็นฐานอ้างอิงในการตรวจสอบ ในขั้นพิจารณาอนุมัติผ่านงบประมาณก่อสร้าง โดยกระทรวงแผนการและการลงทุนได้แบ่งโครงการลงทุนก่อสร้างออกเป็น 5 ประเภท ซึ่งขึ้นกับวงเงินก่อสร้าง และระยะเวลาดำเนินโครงการ นอกจากนั้น ยังมีความคิดเห็นอื่น ๆ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาระบบการประมาณราคาใน สปป. ลาว ควรเริ่มต้นสร้างระเบียบ และวิธีการประมาณราคาจากสถาบันศึกษาในการผลิตองค์ความรู้ และบุคคลากรสู่การปฏิบัติวิชาชีพ


การพัฒนาเครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการคำนวณปริมาณน้ำฝนไหลหลาก ในขั้นตอนการออกแบบขั้นต้น, ภัทรพล วัชรเมธากุล Jan 2019

การพัฒนาเครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการคำนวณปริมาณน้ำฝนไหลหลาก ในขั้นตอนการออกแบบขั้นต้น, ภัทรพล วัชรเมธากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันปัญหาน้ำท่วมขังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีการพัฒนาแล้ว อาทิเช่น กรุงเทพมหานคร ทำให้ มีเกณฑ์ในการออกแบบต่าง ๆ เช่น เกณฑ์ประเมินอาคารเขียว LEED เกณฑ์ประเมินอาคารเขียว TREES และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อออกแบบจัดการการระบายน้ำฝนไม่ให้ท่วมขังภายในพื้นที่ โดยมีแนวคิดของเกณฑ์ในการออกแบบคือ การหน่วงน้ำภายในพื้นที่ของโครงการให้ได้ปริมาณ หรืออัตราการไหลที่สามารถชะลอให้น้ำภายนอกโครงการระบายลงสู่ระบบสาธารณะได้ทัน ทำให้มีความจำเป็นในการคำนวณปริมาณน้ำฝนไหลหลาก ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณปริมาณน้ำฝนในปัจจุบัน เช่น การคำนวณมือ การใช้ตาราง Microsoft Excel หรือการใช้โปรแกรมเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำฝน มีความซับซ้อน และยุ่งยากแก่นักออกแบบ อีกทั้งยังต้องใช้ความรู้ด้านการจัดการน้ำฝนเพื่อใช้งานเครื่องมือ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) เข้ามาใช้ในการออกแบบโครงการต่าง ๆ โดยโปรแกรมที่ได้รับความนิยมมากในประเทศไทยได้แก่ โปรแกรม Revit ซึ่งภายในจะมีโปรแกรมเสริม Dynamo ที่มีความสามารถในการดึงข้อมูลจากแบบจำลองโปรแกรม Revit มาใช้ในการคำนวณข้อมูลทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน งานวิจัยนี้ได้เลือกพัฒนาเครื่องมือเสริมโดยใช้โปรแกรม Revit และ โปรแกรมเสริม Dynamo ที่สามารถคำนวณปริมาณน้ำฝนไหลหลากได้อย่างอัตโนมัติ และทำการเปรียบเทียบผลการคำนวณเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือ โดยเปรียบเทียบระหว่างเครื่องมือเสริมที่ได้จากการพัฒนา และการถอดปริมาณพื้นที่จากโปรแกรม Revit เพื่อนำมาคำนวณในโปรแกรม Microsoft Excel เครื่องมือเสริมที่ได้จากการพัฒนาประกอบด้วยไฟล์โปรแกรมต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ไฟล์โปรแกรม Revit, ไฟล์โปรแกรม Dynamo และไฟล์โปรแกรม Microsoft Excel โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนในการคำนวณสูงสุดประมาณ ±2.52% ซึ่งเป็นผลมาจากข้อจำกัดในการสร้างแบบจำลองอาคารที่มีผลต่อการใช้งานชุดคำสั่งภายในโปรแกรม Dynamo โดยเฉพาะองค์ประกอบ (Component) ที่มีพื้นผิวจำนวนมาก อาทิเช่น พื้นดิน (Topography) ซึ่งเมื่อใช้งาน Dynamo script เพื่อคำนวณหาพื้นที่รับน้ำที่ขนานกับผิวโลก จะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนที่มากขึ้น


การออกแบบอาคารชุดพักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, ผาไช แสงจะเลีน Jan 2019

การออกแบบอาคารชุดพักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, ผาไช แสงจะเลีน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันมีความนิยมก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย ด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป เพราะมีแบบห้องชุดพักอาศัยซ้ำกัน ในแต่ละโครงการ หลังจากสถาปนิกออกแบบแล้ว ทางโรงงานจะนำแบบไปปรับแก้ ให้สอดคล้องกับกระบวนการผลิต ซึ่งต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงมีวัตถุประสงค์จะออกแบบอาคารชุดพักอาศัย สำหรับก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยเลือกเอาโครงการ พลัมคอนโด ของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เป็นกรณีศึกษา จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าการใช้ระบบประสานพิกัดและกำหนดขนาดช่องเปิดมาตรฐาน ทำให้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปเป็นระบบมากขึ้น การเพิ่มระยะริมช่องเปิดให้มีระยะมากกว่า 60 เซนติเมตร ทำให้ไม่ต้องปรับระยะตะแกรงเหล็กเสริม และลดความเสี่ยง ที่จะเกิดปัญหาในการขนส่งและประกอบติดตั้ง นอกจากนั้นการยื่นแผ่นพื้นผนังสามารถลดปัญหารอยแตกร้าวบริเวณรอยต่อ และทำให้รูปด้านมีความหลากหลาย ปัจจุบันโครงการ พลัมคอนโด มี 13 แห่ง แต่ละแห่งมีผังพื้นแบบ Double Loaded Corridors ประกอบด้วยห้องชุดพักอาศัยแบบ STUDIO 1 รูปแบบ 1 BEDROOM 6 รูปแบบ 2 BEDROOM 5 รูปแบบ และมีขนาดพื้นที่ต่างกันในแต่ละโครงการ สำหรับข้อพิจารณาด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากเป็นอาคารสูงไม่เกิน 15 เมตร พื้นที่ไม่เกิน 2000 ตรม. ไม่ต้องจัดเตรียมที่จอดรถ ในขณะที่อาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร พื้นที่ไม่เกิน 4000ตรม. จะต้องจัดเตรียมที่จอดรถ หากมีจำนวนห้องไม่เกิน 80 ห้อง ก็ไม่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยจึงเสนอแบบห้องชุดพักอาศัย ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีรูปแบบ และจำนวนที่เหมาะสม มีผังพื้นห้องชุดที่มีรูปแบบและขนาดพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งทางเดินภายในอาคารแบบ Double Loaded Corridors, Single Loaded Corridor และ Open Loaded Corridor สำหรับอาคารชุดพักอาศัยที่มีพื้นที่อาคารไม่เกิน 2000 ตาราเมตร และ 4000 ตารางเมตร สำหรับอาคารชุดพักอาศัย 5 ชั้น (15 เมตร) และ 8 ชั้น (23 …


สถานการณ์ของการจัดทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารก่อสร้างจริงในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2553-2562, สุดากาญจน์ ธนาวุฒิ Jan 2019

สถานการณ์ของการจัดทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารก่อสร้างจริงในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2553-2562, สุดากาญจน์ ธนาวุฒิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันในประเทศไทยได้มีการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building information modeling หรือ BIM) ทั้งในกระบวนการก่อสร้าง และบำรุงรักษาอาคารทำให้กระบวนการทำงานมีความซับซ้อนขึ้นแตกต่างจากวิธีการเดิม ผู้เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้ว่าจ้าง ผู้ออกแบบ ผู้รับจ้างก่อสร้าง และที่ปรึกษาด้าน BIM จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนการทำงาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของแบบจำลองสารสนเทศอาคารก่อสร้างจริง (As-Built BIM) ในประเทศไทย ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำ โดยวิธีการดำเนินการวิจัยคือ กำหนดกรอบงานวิจัย ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มผู้ว่าจ้างจำนวน 3 ท่าน (2) กลุ่มผู้ออกแบบจำนวน 1 ท่าน (3) กลุ่มผู้รับจ้างก่อสร้างจำนวน 4 ท่าน และ(4) กลุ่มที่ปรึกษาด้าน BIM จำนวน 6 ท่าน พบอาคารกรณีศึกษา 12 อาคาร จากการศึกษาพบว่า สถานการณ์ของแบบจำลองสารสนเทศอาคารก่อสร้างจริง (As-Built BIM) ในประเทศไทย อาคารกรณีศึกษาที่มีการพัฒนามาถึง As-Built Model มาจากทั้งองค์กรรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน โดยองค์กรที่มีอาคารที่มีการพัฒนามาถึง As-Built Model มากที่สุด ได้แก่ องค์กรรัฐ องค์กรเอกชน และองค์กรรัฐวิสาหกิจตามลำดับ ประเภทอาคาร ได้แก่ โรงพยาบาล สำนักงาน อาคารเรียน ร้านค้า และอาคารอยู่อาศัยรวม ประเภทอาคารข้างต้นเป็นอาคารที่มีความซับซ้อน หรือมีความซ้ำของรูปแบบห้อง ขนาดอาคารเป็นอาคารขนาดใหญ่ตั้งแต่15,000 – 224,750 ตารางเมตร หรืออาคารขนาดเล็กที่มีการทำซ้ำเป็นจำนวนมาก มูลค่าโครงการเป็นโครงการที่มีมูลค่าสูงตั้งแต่ 324 – 12,500 ล้านบาท ลำดับของกลุ่มที่อยู่ในช่วงดำเนินการใช้ได้แก่ (1) กลุ่มผู้รับจ้างก่อสร้าง (2) กลุ่มผู้ออกแบบ และ (3) กลุ่มผู้ว่าจ้าง โดยวัตถุประสงค์ที่เหมือนกันของทั้ง 3 ผู้เกี่ยวข้องคือ ลดข้อผิดพลาดในการก่อสร้าง วัตถุประสงค์ที่เหมือนกันของผู้ออกแบบและผู้รับจ้างก่อสร้างคือเพื่อจัดส่งงานตามการบังคับใช้ของผู้ว่าจ้าง รายละเอียดของ …


ผลกระทบของความเสียหายในการก่อสร้างที่มีต่อการรับรู้มูลค่าและความพึงพอใจของลูกค้า: กรณีศึกษา คอนโดมิเนียม, รักษพร สุขัมศรี Jan 2019

ผลกระทบของความเสียหายในการก่อสร้างที่มีต่อการรับรู้มูลค่าและความพึงพอใจของลูกค้า: กรณีศึกษา คอนโดมิเนียม, รักษพร สุขัมศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเสียหายของอาคารไม่เพียงแต่ส่งผลต่อโครงสร้างแต่ยังมีผลต่อมุมมองในแง่คุณภาพ ความงามและมูลค่า โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การยอมรับได้ต่อความเสียหายที่มีผลต่อมูลค่าและความพึงพอใจระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มคนทั่วไป รวมถึงศึกษาถึงประเภทความเสียหายและระดับความรุนแรงที่ต่างกัน โดยกำหนดตัวแปรต้นคือ ประเภทความเสียหายและระดับความรุนแรง ตัวแปรตาม คือการประเมินการยอมรับได้และราคา โดยใช้การพิจารณาภาพจำลองความเสียหายที่เกิดจากความชื้น รอยแตกร้าวและรอยเปื้อนสกปรกจากคราบเลอะสีและปูน ในระดับความเสียหายที่ต่างกัน 4 ระดับ ประเมินจากค่าคะแนนระดับการยอมรับได้และมูลค่าตามความพึงพอใจ จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านงานก่อสร้างและกลุ่มคนทั่วไป ผลการศึกษาเมื่อนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีการประเมินที่ใกล้เคียงกัน แต่ในประเด็นร้อยละของราคาที่ลดลงจากความเสียหายที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติในระดับความรุนแรงที่มากกว่า 30% และเมื่อเปรียบเทียบความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งสามประเภท ความเสียหายที่เกิดจากความชื้นและรอยแตกร้าวมีการยอมรับได้ในทุกประเด็นที่น้อยกว่าความเสียหายที่เกิดจากรอยคราบเปื้อน ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทความเสียหายและระดับความรุนแรงมีผลต่อการรับรู้ของทั้งสองกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน ดังนั้นงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในแง่ของการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในงานก่อสร้างที่ไม่ให้เกินเกณฑ์การยอมรับได้คือ ความเสียหายที่เกิดจากความชื้นและรอยแตกร้าวในระดับความรุนแรงไม่เกิน 10% และไม่เกิน20% ของความเสียหายที่เกิดจากรอยเปื้อนเพราะมีผลต่อการยอมรับได้ทั้งในแง่ของคุณภาพและมูลค่าที่ลดลง


การสัญจรทางตั้งภายในโรงพยาบาล กรณีระบบลิฟต์ในอาคารสูงของโรงพยาบาลที่มีหอผู้ป่วยใน, พิมพ์ชนก อร่ามเจริญ Jan 2019

การสัญจรทางตั้งภายในโรงพยาบาล กรณีระบบลิฟต์ในอาคารสูงของโรงพยาบาลที่มีหอผู้ป่วยใน, พิมพ์ชนก อร่ามเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันโรงพยาบาลมีจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นประกอบกับพื้นที่มีจำกัด ทำให้โรงพยาบาลถูกออกแบบให้มีความสูงและจำนวนชั้นที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การสัญจรทางตั้งมีความสำคัญ โดยลิฟต์ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักที่ใช้ในการสัญจรทางตั้งภายในอาคารโรงพยาบาล ซึ่งการออกแบบลิฟต์ภายในโรงพยาบาล มีความซับซ้อนของการใช้งาน โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นเพียงเกณฑ์ขั้นต้นเพื่อความปลอดภัยที่บ่งบอกถึงลักษณะทั่วไปเท่านั้น ทำให้ไม่ได้มีความสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของการใช้งานในอาคารโรงพยาบาล ซึ่งเป็นอาคารที่มีความแตกต่างจากอาคารประเภทอื่นๆ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดในการออกแบบลิฟต์ภายในโรงพยาบาลที่มีหอผู้ป่วยใน ปัญหาและลักษณะการใช้งานของอาคารกรณีศึกษาในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของกลุ่มลิฟต์ภายในโรงพยาบาล โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยคือ ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ศึกษาและวิเคราะห์เส้นทางสัญจรทางตั้งภายในโรงพยาบาลจากแบบทางสถาปัตยกรรม จำนวน 21 อาคาร ประกอบกับการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน สัมภาษณ์กลุ่มผู้ใช้อาคารและสำรวจการใช้งานจริงของอาคารกรณีศึกษา 6 อาคารเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย จากการศึกษาพบว่าการออกแบบกลุ่มลิฟต์ในเส้นทางสัญจรทางตั้ง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการวางตำแหน่งของกลุ่มลิฟต์ ได้แก่ การเชื่อมต่อของเส้นทางสัญจรหลักภายในโรงพยาบาลและแนวทางการขยายทางสัญจรหลักในอนาคต รูปแบบของอาคาร เส้นทางการอพยพในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และการออกแบบเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ลิฟต์ภายในอาคารโรงพยาบาลถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท โดยเริ่มต้นจาก ลิฟต์เตียง ลิฟต์ดับเพลิงที่ส่วนใหญ่จะออกแบบให้เป็นลิฟต์สกปรกในเวลาปกติและลิฟต์สะอาด หากอาคารมีความซับซ้อนมากขึ้นอาจมีการเพิ่มลิฟต์ประเภทอื่นๆ ได้แก่ ลิฟต์โดยสาร ลิฟต์ฉุกเฉิน ลิฟต์ที่จอดรถ เป็นต้น ในการใช้งานจริงพบว่าจำนวนลิฟต์ในอาคารส่วนใหญ่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อมีการซ่อมบำรุง และมีการกำหนดลักษณะการใช้งานของลิฟต์เพิ่มเติมจากที่ผู้ออกแบบได้กำหนดไว้ เนื่องจากการใช้งานอาคารโรงพยาบาลต้องคำนึงถึงมาตรฐานการให้บริการ จึงเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนบางส่วนเพื่อให้ตอบสนองต่อเกณฑ์มาตรฐานการให้บริการในระดับสากล ยกตัวอย่างเช่น มีการกำหนดการใช้ลิฟต์บริการให้ขนส่งได้ทั้งของสะอาดและของสกปรกโดยการแบ่งเวลาการใช้งาน และมีการกันลิฟต์บริการให้เป็นลิฟต์ฉุกเฉิน เป็นต้น โดยผลการวิจัยจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการออกแบบเส้นทางสัญจรทางตั้งภายในโรงพยาบาลได้ในอนาคต


เปรียบเทียบกฎหมายการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรม ระหว่าง สปป ลาว และ ไทย, คำเล่า บูนยะวงลี Jan 2019

เปรียบเทียบกฎหมายการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรม ระหว่าง สปป ลาว และ ไทย, คำเล่า บูนยะวงลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กฎหมายการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ใน สปป ลาว มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งหมด 10 ฉบับ ประกอบด้วย กดหมายว่าด้วยกานปกปักฮักสาสิ่งแวดล้อม ดำลัด ข้อตกลง คำแนะนำ และละเบียบกาน ส่วนในประเทศไทย มีมาตั้ง แต่ปี พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งหมด 60 ฉบับ ประกอบด้วย พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง และประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ใน สปป ลาว กำหนดเรื่องการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ กานปะเมินผนกะทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และกานสึกสาเบื้องต้นเกี่ยวกับผนกะทบต่อสิ่งแวดล้อม (IEE) เช่นเดียวกันกับในประเทศไทยกำหนด 2 ประเภท ได้แก่ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เดิมเรียกว่า การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) เมื่อเปรียบเทียบด้านเนื้อหาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) พบว่า ใน สปป ลาว กำหนดประเภทและขนาดโครงการสถาปัตยกรรม ที่ต้องจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3 ประเภท ระยะเวลาการพิจารณารายงานฯ 95 วัน ไม่กำหนดจำนวนครั้งในการแก้ไขรายงานฯ กำหนดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานฯ เฉพาะในช่วงก่อสร้าง และกรณีไม่ส่งรายงานฯ ไม่มีโทษปรับ ส่วนประเทศไทย กำหนดประเภทและขนาดโครงการสถาปัตยกรรม 5 ประเภท ระยะเวลาการพิจารณารายงานฯ 75 วัน การแก้ไขรายงานฯ ทำได้เพียงครั้งเดียว กำหนดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานฯ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และกรณีไม่ส่งรายงานฯ มีโทษปรับ ส่วนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ใน สปป ลาว กำหนดประเภท และขนาดโครงการสถาปัตยกรรม ที่ต้องจัดทำรายงานฯ 4 ประเภท แต่ในประเทศไทย กำหนด 5 ประเภท และบังคับให้จัดทำรายงานฯ เฉพาะในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ทั้งนี้ การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของ …


ค่าใช้จ่าย การบำรุงรักษา การซ่อมแซมและการเปลี่ยนทดแทนงานระบบพื้นที่ส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูงกรณีศึกษา : อาคารชุด 4 อาคาร ในพื้นที่ส่วนกลางธุรกิจ กรุงเทพมหานคร, ภุชงค์ สุขเสนา Jan 2019

ค่าใช้จ่าย การบำรุงรักษา การซ่อมแซมและการเปลี่ยนทดแทนงานระบบพื้นที่ส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูงกรณีศึกษา : อาคารชุด 4 อาคาร ในพื้นที่ส่วนกลางธุรกิจ กรุงเทพมหานคร, ภุชงค์ สุขเสนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นที่จะศึกษาค่าใช้จ่ายการซ่อมแซมและบำรุงรักษางานระบบในพื้นที่ส่วนกลางที่เกิดขึ้น มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบถึง ลักษณะของค่าใช้จ่ายระบบประกอบอาคาร ในเรื่อง ผลรวมสัดส่วน โอกาสและช่วงราคา ในการเกิดของค่าใช้จ่ายแต่ละระบบประกอบอาคาร ในช่วงเวลา 20 ปี โดยใช้แนวทางการศึกษากรณีศึกษา (Case Study Approach) โดยคัดเลือกกลุ่มอาคารชุดพักอาศัยที่เป็นอาคารสูงตั้งแต่ 23 ชั้น ขึ้นไป ตั้งอยู่ในเขต CBD จำนวน 4 แห่ง โดยนำค่าใช้จ่ายในหมวดการซ่อมแซมและบำรุงรักษามาศึกษาตามวัตถุประสงค์ ผลการศึกษา พบว่าโอกาสการเกิดขึ้นของค่าใช้จ่ายระบบประกอบอาคารในหมวดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ระบบลิฟต์ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด 90-100% เริ่มเกิดค่าใช้จ่ายตั้งแต่ปีที่ 1 รองลงมาเป็นระบบหม้อแปลงไฟฟ้า และระบบไฟฟ้ากำลัง 60-75% เริ่มเกิดค่าใช้จ่ายตั้งแต่ปีที่ 3 โอกาสการเกิดค่าใช้จ่ายในหมวดค่าซ่อมแซม ของระบบไฟฟ้าสำรอง ที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด 50-65 % เริ่มตั้งแต่ช่วงปีที่ 1 รองลงมาเป็น ระบบดับเพลิง มีโอกาสเกิดขึ้น 45-60 % เริ่มมีค่าใช้จ่ายในช่วงปีที่ 3 น้อยที่สุด 5 % เป็นระบบหม้อแปลงไฟฟ้า เกิดขึ้น ในช่วงปีที่ 16 พบโอกาสการเกิดค่าใช้จ่ายในจ่ายในหมวดการเปลี่ยนทดแทน ของระบบลิฟต์ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด 35-55 % เริ่มตั้งแต่ช่วงปีที่ 6 รองลงมาเป็น ปั๊มน้ำเสีย มีโอกาสเกิดขึ้น 10-15 % เริ่มมีค่าใช้จ่ายในช่วงปีที่ 5 น้อยสุด 5 % เป็น การเปลี่ยนทดแทนระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบโทรศัพท์ ระบบควบคุมการเข้า-ออก ระบบดับเพลิง จากงานวิจัยทำให้ทราบว่า ควรจัดเตรียมงบประมาณเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายระบบประกอบอาคาร ในหมวดค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนทดแทน .ในรายการที่สำคัญ ช่วง 20 ปี ได้แก่ ระบบลิฟต์ รายการการเปลี่ยนสลิงลิฟต์ที่เกิดขึ้น 2 รอบ ในช่วงปีที่ 6-8 และปีที่ 14-16 มีราคาค่าใช้จ่ายเริ่มตั้งแต่ 200,000-1,600,000 บาท และระบบที่เกิดค่าใช้จ่าย …


แนวทางการปรับใช้ขนาดช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็ก สำหรับอาคารจอดรถยนต์ จำนวน 200 คัน, มนสิชา แจ่มโนทัย Jan 2019

แนวทางการปรับใช้ขนาดช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็ก สำหรับอาคารจอดรถยนต์ จำนวน 200 คัน, มนสิชา แจ่มโนทัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากกฎกระทรวงฉบับที่ 41 (พ.ศ.2537) เคยมีการปรับปรุงข้อกำหนดให้ช่องจอดรถยนต์เล็กลง จากขนาดกว้าง 2.50 x ยาว 6.00 เมตร เป็น 2.40 x 5.00 เมตร ต่อมามีนโยบายส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ส่งผลให้เกิดการใช้รถยนต์ขนาดเล็กเพิ่มขึ้น โดยการศึกษาเบื้องต้นพบว่าช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็กมีขนาดลดลงเป็น 2.30 x 4.20 เมตร ดังนั้นถ้าขนาดช่องจอดรถยนต์มีขนาดเล็กลง และมีหลายขนาดเพื่อรองรับรถยนต์ที่มีความหลากหลายในปัจจุบันได้ จะส่งผลให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้พื้นที่ช่องจอดรถยนต์ และประหยัดค่าก่อสร้างมากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลที่จะได้รับจากการปรับใช้ช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็กร่วมกับรถยนต์ขนาดทั่วไป จากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างช่องจอดรถยนต์ ทางวิ่ง โครงสร้าง ทางลาด และเปรียบเทียบอัตราส่วนของพื้นที่ระหว่างช่องจอดรถยนต์ขนาดทั่วไปและขนาดเล็กที่แตกต่างกัน เพื่อนำมาศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุนการก่อสร้าง ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อทำการสรุปแนวทางการปรับใช้ขนาดช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็ก สำหรับอาคารจอดรถยนต์ จำนวน 200 คัน จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เมื่อมีการปรับใช้และเพิ่มอัตราส่วนของจำนวนช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็กเข้าไปแทนที่ช่องจอดรถยนต์ขนาดทั่วไป สามารถลดขนาดพื้นที่ของอาคารเริ่มต้นได้ 1% และลดลงไปได้มากที่สุดถึง 3-4% โดยพื้นที่มีขนาดเฉลี่ยเท่ากับ 27-31 ตร.ม./คัน หรือลดลงต่อ 1 ชั้น เท่ากับ 2 ตร.ม./คัน นอกจากนี้การลงทุนการก่อสร้างยังลดลงในอัตราส่วนที่เท่ากันตามไปด้วย ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ามีผู้เห็นด้วยต่อการตัดสินใจในการปรับใช้ขนาดช่องจอดรถยนต์ที่เล็กลงและสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง นอกจากประหยัดค่าก่อสร้างมากขึ้นแล้ว พื้นที่เหลือสามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่ขายและพื้นที่เช่าได้ในอาคารชุดระดับปานกลาง-ต่ำ ห้างสรรพสินค้า และสำนักงานในเมือง โดยอัตราส่วนของช่องจอดรถยนต์ที่ต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทและที่ตั้งของอาคาร ซึ่งแนวความคิดนี้สามารถนำไปปรับใช้เป็นมาตรการส่งเสริมการพัฒนาการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน หรือ FAR Bonus ได้ และข้อเสนอแนะงานวิจัยนี้ นอกจากการลดพื้นที่ช่องจอดรถยนต์แล้ว ขนาดของทางวิ่งและทางลาด ควรมีขนาดที่สัมพันธ์กับพื้นที่ของช่องจอดรถยนต์ที่เล็กลงตามไปด้วย เพื่อให้เกิดการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


วัดบ้านเซเวียร์ : สถาปัตยกรรมวัดโรมันคาทอลิกสมัยใหม่ในประเทศไทย, สุภาวรรณ ปันดิ Jan 2019

วัดบ้านเซเวียร์ : สถาปัตยกรรมวัดโรมันคาทอลิกสมัยใหม่ในประเทศไทย, สุภาวรรณ ปันดิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการศึกษาสถาปัตยกรรมวัดบ้านเซเวียร์ ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ในปี ค.ศ.1971 การวิจัยเริ่มจากการตั้งคำถามเกี่ยวกับการผสานความเป็นสากลในสถาปัตยกรรมสมัยใหม่กับเอกลักษณ์เฉพาะในสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมของประเทศไทย การศึกษานี้ใช้ข้อมูลด้านเอกสารและการสัมภาษณ์ รวมทั้งการแยกแยะลักษณะสมัยใหม่และลักษณะดั้งเดิมออกจากกัน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของทั้งสองลักษณะดังกล่าว โดยมุ่งหวังว่าจะนำไปสู่ความเข้าใจแนวความคิดการผสานลักษณะสากลกับลักษณะไทย อันปรากฏเป็นอัตลักษณ์ของวัดโรมันคาทอลิกสมัยใหม่ในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่าสถาปนิกผู้ออกแบบผสานลักษณะสากลกับลักษณะไทยโดยเลือกใช้ลักษณะไทยที่เป็นลักษณะร่วมของสถาปัตยกรรมไทยในแต่ละภูมิภาค และเป็นลักษณะที่ใช้กันโดยทั่วไปในสถาปัตยกรรมทุกฐานานุศักดิ์มาประยุกต์ ผสมผสานกับรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่จนเกิดรูปแบบใหม่ที่มีความเป็นสากลและมีลักษณะไทยแบบกลาง ๆ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นของภูมิภาคไหนหรือของชนชั้นใด สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดการผสานลักษณะสากลกับลักษณะไทย ในสถาปัตยกรรมวัดบ้านเซเวียร์ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) การสังคายนาสากลวาติกันครั้งที่ 2 ที่สร้างกรอบแนวความคิดพื้นฐานสำหรับการสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในสถาปัตยกรรมวัดโรมันคาทอลิกยุคสมัยใหม่ 2) นโยบายของรัฐบาลไทย ที่มีเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมควบคู่ไปกับการส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติไทย ทำให้พระศาสนจักรคาทอลิกหันมาร่วมพัฒนาสังคมไทยและใช้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มีลักษณะไทยมาปรับใช้ในวัดโรมันคาทอลิก 3) แนวทางของคณะเยสุอิต ที่ส่งเสริมการพัฒนาคนรุ่นใหม่ตามแนวความคิดประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพของวัดบ้านเซเวียร์แห่งใหม่ เพื่อรองรับกิจกรรมของกลุ่มปัญญาชนของประเทศไทย และ 4) แนวความคิดของสถาปนิกในงานออกแบบวัดบ้านเซเวียร์ ซึ่งมีมิติของการสืบสาน การปรับเปลี่ยน การคิดใหม่-ทำใหม่ ทำให้เกิดการผสานทั้งลักษณะความเป็นสากลกับลักษณะดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมไทยและโบสถ์คาทอลิกจากตะวันตก


การประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาของอาคารสนามกีฬาในร่ม กรณีศึกษาโรงเรียนและมหาวิทยาลัย, วรรณจิต จันทร์เสละ Jan 2019

การประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาของอาคารสนามกีฬาในร่ม กรณีศึกษาโรงเรียนและมหาวิทยาลัย, วรรณจิต จันทร์เสละ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารสนามกีฬาในร่ม เป็นอาคารช่วงกว้างที่มีศักยภาพในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพและเปรียบเทียบการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาอาคารประเภทสนามกีฬาในร่มร่วมกับการใช้แสงธรรมชาติและไม่ใช้แสงธรรมชาติ และทำการคำนวณการสำรองพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่ โดยทำการเก็บข้อมูลลักษณะทางสถาปัตยกรรม สำรวจการใช้พลังงานไฟฟ้าจริงของอาคารและตารางการใช้อาคารสนามกีฬาในร่ม โดยเก็บข้อมูลอาคารสนามกีฬาในร่มจากภาคส่วนต่างๆ ของประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 22 อาคาร เพื่อสร้างแบบจำลองอาคารต้นแบบในการทดลอง โดยได้ทำการคำนวณพลังงานไฟฟ้าด้วยโปรแกรม System Advisor Model 2018.11.11 และประเมินศักยภาพการนำแสงธรรมชาติมาใช้ภายในอาคารด้วยโปรแกรม DIALux evo 8.2 โดยกำหนดอาคารจำลองทั้งสิ้น 3 ขนาด และ 4 รูปแบบหลังคาอาคารที่หันไปยังทิศทางต่างๆ ทั้งหมด 8 ทิศทาง จากผลการศึกษา พบว่า หลังคาทรงเพิงหมาแหงน มุมเอียงหลังคาที่ 15 องศา หลังคาอาคารหันไปทางทิศใต้ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สูงที่สุด จากข้อมูลพบว่า การติดตั้งช่องแสงธรรมชาติเพียงอย่างเดียวประหยัดไฟฟ้าได้ 20-32% ของการใช้พลังงานต่อวัน แต่อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ผลอื่นๆ เพิ่มเติม พบว่า การติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์หรือการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ร่วมกับการติดตั้งช่องแสงธรรมชาติประหยัดไฟฟ้าได้ 60-75% ของการใช้พลังงานต่อวัน การติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมร่วมกับแบตเตอรี่ประหยัดไฟฟ้าได้ 100% ของการใช้พลังงานต่อวัน ในส่วนของระยะเวลาคืนทุน พบว่า การติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ร่วมกับการติดตั้งช่องแสงธรรมชาติ มีระยะเวลาคืนทุนเร็วที่สุดเท่ากับ 5.1-7.8 ปี ท้ายที่สุดงานวิจัยชิ้นนี้ได้เสนอแนวทางการออกแบบติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของอาคารสนามกีฬาในร่ม โดยคาดการณ์พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในอาคาร ค่าใช้จ่ายในการลงทุนและระยะเวลาคืนทุนจากขนาดพื้นที่ของอาคาร


การพัฒนาโปรแกรมเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อช่วยในการประเมินประสิทธิภาพการใช้พื้นที่อาคารเรียนในมหาวิทยาลัย, ปวริศร์ คำมุลตรี Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อช่วยในการประเมินประสิทธิภาพการใช้พื้นที่อาคารเรียนในมหาวิทยาลัย, ปวริศร์ คำมุลตรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มหาวิทยาลัยได้กำหนดแนวทางการพัฒนาในด้านการบูรณาการ การพัฒนาและบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมกายภาพ อาคารสิ่งก่อสร้าง และพื้นที่ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการนั้นได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาทำการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร พร้อมทั้งจัดทำรายงานส่ง อย่างไรก็ตามปริมาณข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์นั้นมีจำนวนมากและข้อมูลมีความซับซ้อน ซึ่งขาดการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดระหว่างหน่วยงาน รวมถึงใช้ระยะเวลาในการประเมินมาก ในการวิจัยนี้จึงได้พัฒนาเครื่องมือที่ช่วยในการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารร่วมกับการใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร โดยมีขั้นตอนในการใช้งานแบ่งเป็น 4 ส่วนหลักคือ ส่วนที่ 1 การเตรียมระบบข้อมูลสำหรับเป็นฐานข้อมูลและการแสดงผล และการเตรียมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร ส่วนที่ 2 การตั้งค่าฐานข้อมูลและกระบวนการเชื่อมโยงข้อมูล ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร และการแสดงผลในแบบแปลนและในรูปแบบรายงาน ทั้งในระดับอาคารและระดับคณะ/สำนัก ส่วนที่ 4 เสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร ในรูปแบบรายงาน จากการใช้งานเครื่องมือที่ได้พัฒนาสำหรับแต่ละอาคาร ใช้เวลาแต่ละขั้นตอนประมาณ 5 นาที ซึ่งทำให้ได้ผลลัพธ์ 4 อย่าง ได้แก่ 1) การแสดงผลการประเมินตามค่าระดับสีในแบบแปลนบนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร 2) รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารในระดับอาคาร 3) รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารในระดับคณะ/สำนัก 4) รายงานแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร โดยในส่วนโปรแกรมที่ได้พัฒนานี้จะทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างแบบจำลองสารสนเทศอาคารและฐานข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานข้อมูลในแบบจำลองสารสนเทศอาคาร รวมถึงช่วยลดระยะเวลาในการประเมินผล