Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 88

Full-Text Articles in Architecture

ความพึงพอใจเครื่องเรือนที่จัดให้พร้อมการขาย ของกลุ่มผู้ซื้อห้องชุดพักอาศัยระดับราคาปานกลาง กรณีศึกษา โครงการเดอะทรี สุขุมวิท 71 และโครงการพลัม คอนโด รามคำแหง สเตชั่น, ปานประดับ สังเขป Jan 2019

ความพึงพอใจเครื่องเรือนที่จัดให้พร้อมการขาย ของกลุ่มผู้ซื้อห้องชุดพักอาศัยระดับราคาปานกลาง กรณีศึกษา โครงการเดอะทรี สุขุมวิท 71 และโครงการพลัม คอนโด รามคำแหง สเตชั่น, ปานประดับ สังเขป

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผู้ประกอบการมีการจัดรายการส่งเสริมการขายหลายรูปแบบเพื่อเร่งระบายสินค้าคงเหลือ เครื่องเรือนพร้อมการขายเป็นรายการส่งเสริมการขายลักษณะหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจต่อผู้ที่มีกำลังซื้อและสนใจครอบครองห้องชุด ให้ตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม พฤติกรรมการใช้งาน และความพึงพอใจเครื่องเรือนที่จัดให้พร้อมการขาย โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ มาวิเคราะห์ร่วมกับแนวคิดการเลือกและการจัดเครื่องเรือนในพื้นที่ขนาดเล็ก แนวคิดความพึงพอใจของมนุษย์ เพื่อสรุปรูปแบบเครื่องเรือนที่สอดคล้องกับพฤติกรรม และลักษณะผู้ซื้อห้องชุด ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 21 – 40 ปี มีราคาห้องชุดส่วนใหญ่ในระดับราคาปานกลางตั้งแต่ 2,000,001 – 2,500,000 บาท รายได้ครัวเรือนต่อเดือนตั้งแต่ 25,001 บาทขึ้นไป รายจ่ายครัวเรือนต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท รายจ่ายห้องชุดต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท มีงบประมาณในการซื้อเครื่องเรือนส่วนใหญ่ 50,001 – 100,000 บาท จากการศึกษาพฤติกรรมการใช้งานเครื่องเรือนพบว่า เครื่องเรือนบางชนิดมีการใช้งานมากกว่า 1 รูปแบบเนื่องจากมีพื้นที่จำกัดและขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการอยู่อาศัย เช่น โซฟา ใช้เพื่อนั่งเล่นและนอนหลับ, โต๊ะกลาง ใช้เพื่อพักผ่อนและทำงาน เป็นต้น มีความพึงพอใจเครื่องเรือนพร้อมการขายที่มีลักษณะติดตายมากกว่าเครื่องเรือนลอยตัว บางชนิดมีที่เก็บของน้อยเกินไป บางชนิดมีขนาดไม่เหมาะสมกับพื้นที่ บางชนิดวัสดุไม่มีความแข็งแรงทนทาน โดยกลุ่มตัวอย่างที่เลือกห้องชุดแบบเครื่องเรือนบางส่วน เนื่องจากอยู่อาศัยเองและต้องการตกแต่งเอง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เลือกห้องชุดแบบเครื่องเรือนพร้อมอยู่ เนื่องจากสะดวกพร้อมอยู่ ต้องการประหยัดงบประมาณ และต้องการปล่อยเช่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้านพฤติกรรมการใช้งานพบว่า เครื่องเรือนที่จัดให้พร้อมการขายในห้องชุดขนาดเล็กสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งานน้อย จึงควรออกแบบให้มีความยืดหยุ่น รองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ควรออกแบบเครื่องเรือนควบคู่กับการวางผังห้องชุด เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า สอดคล้อง และเหมาะสมกับพื้นที่ภายในห้องชุด ควรเพิ่มที่เก็บของทั้งแนวตั้งและแนวนอนให้ได้มากที่สุด จึงไม่ควรจัดเครื่องเรือนพร้อมการขายแบบสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด และมุ่งเน้นการจัดเครื่องเรือนที่จำเป็นต่อการใช้งานมากไปน้อยตามลำดับ โดยคำนึงถึงความต้องการพื้นที่ในแต่ละอิริยาบทพื้นฐานตามหลักการเทียบส่วนมนุษย์ (Human Scale) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ขนาดของพื้นที่ภายในห้องชุดมีผลต่อการจัดวางผังเครื่องเรือน และจุดประสงค์การครอบครองห้องชุดมีผลต่อความต้องการได้รับเครื่องเรือนพร้อมการขาย ข้อเสนอแนะต่อผู้ประกอบการ คือ ควรจัดกลุ่มเครื่องเรือนออกเป็น 3 กลุ่ม แบบ “Typical Priority” เพื่อให้ผู้ซื้อห้องชุดสามารถเลือกรับเครื่องเรือนในรูปแบบที่สอดคล้องกับพฤติกรรม


พฤติกรรมด้านการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้า ในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : พาต้า ปิ่นเกล้า, เอ็มบีเค เซ็นเตอร์, จัตุรัสจามจุรี และเทสโก้ โลตัส พระราม 1, ภัสร์นลิน เลิศดำรงค์ไชย Jan 2019

พฤติกรรมด้านการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้า ในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : พาต้า ปิ่นเกล้า, เอ็มบีเค เซ็นเตอร์, จัตุรัสจามจุรี และเทสโก้ โลตัส พระราม 1, ภัสร์นลิน เลิศดำรงค์ไชย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้า เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุ นำไปสู่การจัดการพื้นที่ภายในห้างสรรพสินค้าที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ ผ่านการใช้วิธีสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้สูงอายุภายที่มาใช้พื้นที่ในห้างสรรพสินค้า สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในด้านการจัดการพื้นที่ภายในห้างสรรพสินค้า (ผู้ประกอบการ) จากผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้สูงอายุเลือกใช้พื้นที่ของห้างสรรพสินค้าเป็นสถานที่ที่มานอกเหนือจากบ้านหรือ Second place โดยพฤติกรรมการมาใช้พื้นที่แตกต่างกันตามจุดเด่นและจุดขายของแต่ละสถานที่ ปัจจัยเรื่องทำเลที่ตั้งของห้างฯ มีผลต่อรูปแบบการเดินทางมาของผู้สูงอายุ ทำให้วัตถุประสงค์ของการมาใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุแตกต่างกันออกไปตามแต่ละสถานที่ 2) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เห็นว่าควรจัดให้มีพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้า โดยจัดให้เป็นพื้นที่สำหรับนั่งมากที่สุด และเป็นพื้นที่ทางสังคมรองลงมาเพื่อลดความเหงา และโดดเดี่ยว ดังนั้นการจัดการพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้าควรพิจารณาประเด็นของพฤติกรรมและความต้องการของผู้สูงอายุควบคู่ไปกับจุดเด่น จุดขายของสถานที่นั้นๆ ผู้ประกอบการตระหนักถึงประเด็นการมาของสังคมสูงวัยและพฤติกรรมนิยมมาใช้พื้นที่ในห้างสรรพสินค้าของผู้สูงอายุ แต่ยังไม่เห็นถึงความสำคัญหรือแรงจูงใจในการพัฒนาพื้นที่ ทั้งนี้ภาครัฐจึงควรออกนโยบายผลักดันและส่งเสริมให้ภาคเอกชนเห็นถึงความสำคัญ สร้างแรงจูงใจในการจัดเตรียมพื้นที่ให้เป็นสวัสดิการพื้นที่ทางสังคมในเมือง ด้วยการรณรงค์ขอความร่วมมือ ลดอัตราภาษีแก่ห้างสรรพสินค้าที่พัฒนาพื้นที่บางส่วนให้เป็นพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุ ให้รางวัล เพื่อดึงดูดให้พื้นที่ห้างสรรพสินค้าอื่นๆ นำไปปฏิบัติตาม เพื่อสวัสดิการด้านพื้นที่ทางสังคมนี้จะได้ครอบคลุมทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน


รูปแบบการบริหารจัดการอาคารชุดของโครงการบ้านเอื้ออาทร ในเขตกรุงเทพมหานคร, วันฟ้า ศรีพวงเพิศ Jan 2019

รูปแบบการบริหารจัดการอาคารชุดของโครงการบ้านเอื้ออาทร ในเขตกรุงเทพมหานคร, วันฟ้า ศรีพวงเพิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการบ้านเอื้ออาทรในรูปแบบอาคารชุดเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งการเคหะแห่งชาติก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองและยกระดับคุณภาพชีวิต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารนิติบุคคลอาคารชุด ศึกษาความพอพึงใจของผู้อยู่อาศัย และวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยในแต่ละรูปแบบ โดยมีขอบเขตการศึกษา คือ ศึกษาโครงการบ้านเอื้ออาทรอาคารชุดในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 นิติบุคคล 4 โครงการ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้จัดการนิติบุคคล การศึกษารายงานประจำปี และแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด แบ่งเป็นนิติบุคคลละ 50 ชุด ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันมีรูปแบบการบริหารจัดการอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ การบริหารโดยเจ้าของร่วมและการบริหารโดยบริษัท และมีโครงสร้างการบริหารจัดการทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 ที่ไม่มีผู้ช่วยผู้จัดการนิติบุคคล ผู้จัดการนิติบุคคลจะควบคุมดูแลฝ่ายปฏิบัติงานเอง รูปแบบที่ 2 มีผู้จัดการนิติบุคคลและผู้ช่วยผู้จัดการนิติบุคคลควบคุมดูแลฝ่ายปฏิบัติงานร่วมกัน และรูปแบบที่ 3 มีผู้ช่วยผู้จัดการนิติบุคคลควบคุมดูแลฝ่ายปฏิบัติงาน ผู้จัดการนิติบุคคลจะดูแลเพียงการวางนโยบายการบริหารเท่านั้น ด้านการจัดจ้างฝ่ายปฏิบัติงาน พบว่า มีรูปแบบการจัดจ้างฝ่ายปฏิบัติการ 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการจัดจ้างบริษัท จัดจ้างผู้อยู่อาศัยในนามบริษัท และจัดจ้างผู้อยู่อาศัย ด้านการวางแผนนโยบาย พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมส่วนใหญ่เน้นการบริหารทางด้านกายภาพ ซึ่งรูปแบบการบริหารโดยบริษัทจะมีนโยบายที่ครอบคลุมมากกว่า ด้านการวางแผนดูแลชุมชน พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมส่วนใหญ่จะมีการวางแผนการงานเป็นรายปีแต่ไม่ระบุเดือนในการทำงาน ต่างจากรูปแบบการบริหารโดยบริษัทที่มีแผนการทำงานเป็นรายปีและระบุเดือนในการทำงาน ซึ่งการบริหารมีเพียงการบริหารตามนโยบาย ไม่มีคู่มือการบริหารนิติบุคคลอาคารชุด ด้านการบริหารจัดการด้านการเงิน พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมมีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย (ขาดทุน) แต่รูปแบบการบริหารโดยบริษัทมีรายรับมากกว่ารายจ่าย (กำไร) และในด้านการจัดเก็บค่าส่วนกลาง พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมมีหนี้ค้างชำระต่อเดือนเฉลี่ยร้อยละ 20-40 แต่รูปแบบการบริหารโดยบริษัทมีหนี้ค้างชำระต่อเดือนเฉลี่ยร้อยละ 2-5 ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกชุมชน พบว่า ทั้ง 2 รูปแบบไม่แตกต่างกันมากนักเพราะทั้ง 2 รูปแบบต่างมีการพัฒนาคุณชีวิตของสมาชิกชุมชนไม่ครบทุกด้าน ด้านความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยในการบริหารทั้ง 2 รูปแบบ ซึ่งแยกการบริหารเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหาร ด้านกายภาพ ด้านความสะอาด ด้านความปลอดภัย ด้านสาธารณูปโภค และด้านการดูแลทรัพย์สิน ระหว่างรูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมและรูปแบบการบริหารโดยบริษัท พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมมีระดับความพึงพอใจปานกลางค่อนข้างต่ำ ต่างกับรูปแบบการบริหารโดยบริษัทมีระดับความพึงพอใจปานกลางค่อนข้างสูง เมื่อแยกรูปแบบการบริหาร พบว่า ด้านที่ระดับความพึงพอใจแตกต่างกัน …


ผลกระทบของสวนสาธารณะที่ส่งผลต่ออสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบ:กรณีศึกษา สวนสันติภาพ, สัณฑศักย์ ตันติเมฆบุตร Jan 2019

ผลกระทบของสวนสาธารณะที่ส่งผลต่ออสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบ:กรณีศึกษา สวนสันติภาพ, สัณฑศักย์ ตันติเมฆบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สวนสาธารณะเป็นพื้นที่สีเขียวที่สำคัญของเมือง ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อประชาชน โดยสวนสาธารณะก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้านต่อประชาชนที่อยู่อาศัยหรือทำงานในพื้นที่โดยรอบ รวมทั้งโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่โดยรอบ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลของผู้ใช้บริการสวนสาธารณะ และวิเคราะห์ผลกระทบของสวนสาธารณะที่ส่งผลต่ออสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบ โดยการศึกษาครั้งนี้ได้เลือก สวนสันติภาพ ที่ตั้งอยู่ในเขตราชเทวี เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากเป็นสวนประเภทสวนละแวกบ้าน ซึ่งมีขนาดและระยะรัศมีบริการเหมาะสมแก่การศึกษา รวมถึงตำแหน่งที่ตั้งและบริบทโดยรอบที่มีอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภท โดยมีระเบียบวิธีในการศึกษาคือ 1) ทบทวนเอกสาร หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2) สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง และ 3) วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ โดยในงานวิจัยนี้มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ใช้บริการสวนสันติภาพ จำนวน 286 คน และผู้จัดการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบภายในโครงการอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบสวนสันติภาพ จำนวน 13 คนจาก 13 โครงการ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อผู้ใช้บริการสันติภาพที่มีการใช้งานอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบ และข้อมูลด้านพฤติกรรมการใช้จ่ายในพื้นที่โดยรอบสวนสาธารณะของผู้ใช้บริการสันติภาพ รวมถึงผลกระทบในด้านต่าง ๆ ของสวนสันติภาพที่ส่งผลต่ออสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบ โดยจากการศึกษาสามารถสรุปผลได้ดังนี้ 1) ข้อมูลด้านประชากรและข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานสวนสาธารณะของผู้ใช้บริการสวนสันติภาพ จากกลุ่มตัวอย่างของผู้ใช้บริการสวนสันติภาพ พบว่า ผู้ใช้บริการสวนสันติภาพส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 41-50 ปี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้ในช่วง 15,001-30,000 บาทต่อคนต่อเดือน โดยส่วนมากอาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยแนวสูง และเป็นประเภทเช่า มีลักษณะการใช้งานเป็นการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่มาใช้งานคนเดียว ในช่วงเวลา 15.00-21.00 น. มีระยะเวลาการใช้งานต่ำกว่า 60 นาที โดยมาใช้งานสัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง เดินทางโดยการเดินเท้า และใช้ระยะเวลาต่ำกว่า 15 นาที โดยส่วนมากเดินทางมาจากที่อยู่อาศัย และกลับที่อยู่อาศัยหลังใช้งานเสร็จ 2) ผู้ใช้บริการสวนสันติภาพที่มีการใช้จ่ายในพื้นที่โดยรอบคิดเป็นร้อยละ 70.63 ของผู้ใช้บริการสวนสันติภาพทั้งหมด ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมี 2 ประเภท ได้แก่ ค่าใช้จ่ายประเภทซื้อสินค้า และค่าใช้จ่ายประเภทอาหารและเครื่องดื่ม โดยส่วนใหญ่ของค่าใช้จ่ายจะเป็นประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อครั้งอยู่ที่ 107 บาท โดยผู้ใช้บริการสวนสันติภาพกลุ่มที่มีการใช้จ่ายมากกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ กลุ่มที่มีอาชีพธุรกิจส่วนตัวและทำงานอิสระ กลุ่มที่มีรายได้ 15,000 บาท ขึ้นไป กลุ่มที่มาใช้งานเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ กลุ่มที่มาใช้งานในช่วงเวลา 15:00-18:00 …


ปัจจัยทำเลที่ตั้งของแปลงขายภายในโครงการที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา โครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์ราคาขายไม่เกิน 4 ล้านบาท ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, สุพัชฌาย์ ศรีสมบูรณ์ Jan 2019

ปัจจัยทำเลที่ตั้งของแปลงขายภายในโครงการที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา โครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์ราคาขายไม่เกิน 4 ล้านบาท ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, สุพัชฌาย์ ศรีสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากแนวโน้มการพัฒนาโครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยข้อมูลในปีพ.ศ. 2561 มีการขออนุญาตโครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์มากถึง 55,812 แปลง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.72 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56 จากโครงการจัดสรรประเภทที่อยู่อาศัยทั้งหมด 99,311 แปลง ทำให้เกิดการแข่งขันของผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น และเมื่อศึกษางานวิจัยถึงปัจจัยที่ผู้บริโภคเลือกซื้อที่อยู่อาศัย พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคส่วนใหญ่ คือ ราคา ประกอบกับการสังเกตุถึงราคาขายของโครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์พบว่ามีราคาขายที่แตกต่างกันทั้งที่ขนาดแปลงใกล้เคียงกันและแบบบ้านเหมือนกัน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยด้านตำแหน่งที่ตั้งของแปลงขายภายในโครงการที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาทั้งในด้านบวกและด้านลบ โดยมีขั้นตอนการศึกษา คือ 1) ศึกษารวบรวมข้อมูล 2) สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 3) กำหนดตัวแปร 4) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง 5) วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาในครั้งนี้เป็นโครงการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์ราคาขายไม่เกิน 4 ล้านบาทในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งหมด 15 โครงการ จำนวน 4,541 แปลง จากผู้ประกอบการจำนวน 3 ราย โดยทำการศึกษา 5 กลุ่มปัจจัย 27 ตัวแปร ประกอบด้วยปัจจัยด้านตำแหน่งที่ตั้ง 2 ตัวแปร ปัจจัยด้านลักษณะกายภาพด้านข้างของแปลงริม 10 ตัวแปร ปัจจัยด้านทิศ 4 ตัวแปร ปัจจัยด้านถนนด้านหน้าแปลง 4 ตัวแปร และปัจจัยด้านวิวทิวทัศน์ 7 ตัวแปร แล้วนำตัวแปรมาวิเคราะห์ด้วยวิธีวิสมการการถดถอย (Regression Analysis) เพื่อหาความมีนัยสำคัญต่าง ๆ ของตัวแปร จากการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยราคาขายของกลุ่มตัวอย่าง 5 ลำดับแรก ได้แก่ ตัวแปรลักษณะกายภาพด้านข้างของแปลงริมติดกับช่องกลับรถ ส่งผลต่อราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.900 ตัวแปรตำแหน่งแปลงกลาง ส่งผลต่อราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.794 ตัวแปรลักษณะกายภาพด้านข้างของแปลงริมติดกับสวนหย่อม ส่งผลต่อราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.484 ตัวแปรวิวทิวทัศน์ตรงข้ามแปลงเป็นสวนสาธารณะ ส่งผลต่อราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.283 และตัวแปรวิวทิวทัศน์ตรงข้ามแปลงเป็นสโมสรสระว่ายน้ำ ส่งผลต่อราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.190 ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลส่งผลให้ราคาลดลงมี 2 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรวิวทิวทัศน์ตรงข้ามแปลงเป็นที่พักขยะ ส่งผลต่อราคาลดลงร้อยละ 17.957 และตัวแปรลักษณะกายภาพด้านข้างของแปลงริมติดกับหลังบ้านอื่น ส่งผลต่อราคาลดลงร้อยละ …


การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณสำหรับกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร, อภิชญาฎา ภู่ระหงษ์ Jan 2019

การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณสำหรับกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร, อภิชญาฎา ภู่ระหงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณเป็นสิ่งที่ควรมีการวางแผนทันทีที่มีโอกาส จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่าคนไทยเริ่มวางแผนเกษียณในวัย 42 ปี และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการออมเพื่อเกษียณเมื่ออายุมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเศรษฐกิจ สังคม และที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนวัยก่อนเกษียณช่วงอายุ 40-59 ปี แนวคิดต่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณ และการวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณของกลุ่มคนดังกล่าว โดยสอบถามกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น 400 คน ผลจากการศึกษาพบว่า 1) ผู้ที่มีแนวคิดในการวางแผนฯต่อผู้ที่ยังไม่มีการวางแผนฯในสัดส่วนประมาณร้อยละ 66 : 34 ตามลำดับ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณ ได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ประจำ (ต่อเดือน) รูปแบบที่อยู่อาศัย-ทำเลที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน และการวางแผนด้านที่อยู่อาศัยในวัยเกษียณ 2) การวางแผนด้านที่อยู่อาศัยของผู้ที่มีการวางแผนฯ ร้อยละ 57.3 มีแนวคิดที่จะย้ายที่อยู่อาศัย รูปแบบบ้านปลูกเองเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73.1) ในขณะที่ผู้ที่ยังไม่มีการวางแผนฯร้อยละ 55.1 ต้องการอาศัยอยู่ที่เดิม และกว่าร้อยละ 79.8 ยังไม่มีแนวคิดที่จะปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับวัยเกษียณ 3) การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณพบว่าคนวัยก่อนเกษียณเลือกที่จะวางแผนโดยการออมเงิน (ร้อยละ 70) ในสัดส่วนร้อยละ 21 ของรายได้และเริ่มออมเมื่ออายุเฉลี่ย 32 ปี ในขณะที่ผู้ที่ยังไม่มีการวางแผนฯ ให้เหตุผลที่ยังไม่วางแผนเนื่องจากยังมีภาระหนี้สิน ค่าใช้จ่ายมาก และมีเงินไม่พอที่จะออม (ร้อยละ 55) และจากการประมาณค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาทต่อเดือน จากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มคนวัยก่อนเกษียณช่วงอายุ 40-59 ปีมีการเตรียมความพร้อมในวัยเกษียณด้านการวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณแต่ยังขาดการวางแผนด้านที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการเป็นวัยเกษียณ อีกทั้งยังมีกลุ่มที่ยังไม่วางแผนอีกกว่าร้อยละ 35 ที่มีรายได้ต่อเดือนที่ไม่มากพอ ความมั่นคงในอาชีพ ประกอบกับหนี้สินจากที่อยู่อาศัยส่งผลให้การเตรียมความพร้อมในวัยเกษียณยังรวมถึงการวางแผนค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณน้อยเกินจริง ส่งผลให้ภาครัฐยังต้องมีบทบาทในการในการสนับสนุนกลุ่มคนวัยเกษียณในด้านการวางแผนดังกล่าวเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อบุตรหลาน และส่งเสริมด้านที่อยู่อาศัยเพื่อไม่ให้เกิดหนี้สินในวัยเกษียณ


การพัฒนาโครงการอาคารชุดตากอากาศแบบขายแล้วรับเช่ากลับคืนเพื่อปล่อยเช่าระยะยาวในจังหวัดภูเก็ตกรณีศึกษา โครงการ แคสเซีย ภูเก็ต และ โครงการ แซทเทอร์เดย์ เรสซิเดนซ์, อลิสา เลื่อนลอย Jan 2019

การพัฒนาโครงการอาคารชุดตากอากาศแบบขายแล้วรับเช่ากลับคืนเพื่อปล่อยเช่าระยะยาวในจังหวัดภูเก็ตกรณีศึกษา โครงการ แคสเซีย ภูเก็ต และ โครงการ แซทเทอร์เดย์ เรสซิเดนซ์, อลิสา เลื่อนลอย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาโครงการอาคารชุดตากอากาศแบบขายแล้วรับเช่ากลับคืนได้รับความนิยมจากผู้ประกอบการและมีผู้สนใจซื้อเพื่อการลงทุน วิธีการคือผู้ประกอบการขายห้องชุดให้กับผู้ซื้อ แล้วทำสัญญาขอเช่ากลับคืนมาดำเนินกิจการที่พักเพื่อปล่อยเช่าระยะยาว แล้วจ่ายผลตอบแทนแก่เจ้าของห้องชุดตามสัญญา งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาแนวคิด กระบวนการพัฒนาและบริหารจัดการโครงการประเภทดังกล่าว รวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการพัฒนา โดยทำการศึกษาผ่านกรณีศึกษาในจังหวัดภูเก็ต 2 แห่งที่มีรูปแบบการบริหารที่แตกต่างกัน รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและผู้บริหารโครงการ การสำรวจพื้นที่ และรวบรวมความคิดเห็นของผู้เช่าจากเว็ปไซด์การท่องเที่ยว แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความเหมือนและต่างเพื่อสรุปบทเรียนสำคัญในการพัฒนาโครงการ ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะและองค์ประกอบทางกายภาพของโครงการ มีความคล้ายคลึงกับอาคารชุดเพื่อพักอาศัย ที่สามารถแยกทรัพย์ส่วนบุคคล และทรัพย์ส่วนกลางได้ ซึ่งภายในห้องชุดนั้นมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมแก่การเช่าระยะยาว ในขณะเดียวกันพื้นที่ส่วนกลางก็มีความคล้ายคลึงกับที่พักเพื่อการท่องเที่ยวด้วย 2) พบรูปแบบการบริหารจัดการ 2 รูปแบบ ได้แก่ บริหารจัดการโดยผู้ประกอบการ และ บริหารจัดการร่วมกับเครือโรงแรม โดยที่ทั้ง 2 รูปแบบ จำเป็นต้องมีส่วนงานที่สำคัญ 2 ส่วนได้แก่ ส่วนงานดูแลผู้เช่าที่ให้บริการคล้ายโรงแรม และส่วนงานดูแลลูกค้าผู้ซื้อในด้านผลตอบแทนและสิทธิประโยชน์ 3) สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการพัฒนาโครงการ คือ รูปแบบโครงการที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า การควบคุมต้นทุน บริหารจัดการบุคลากร และที่สำคัญคือการบริหารจัดการโครงการที่ดี การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาโครงการอาคารชุดตากอากาศแบบขายแล้วรับเช่ากลับคืนเพื่อปล่อยเช่าระยะยาวนั้น ถือเป็น “กลยุทธ์การบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์” ให้ก่อให้เกิดรายได้ โดยใช้หลักการบริหารจัดการทั้งด้านกายภาพ การเงินและการบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าทั้งกลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มผู้เช่าได้เป็นอย่างดี โดยผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการรายใหม่ที่สนใจพัฒนาโครงการ และผู้ที่สนใจซื้อให้เข้าใจโครงการประเภทนี้มากยิ่งขึ้น


บทบาทของรถกับข้าวในการทำให้ชุมชนในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชุมชน “หมู่บ้านลาดพร้าววิลเลจ” ในเขตลาดพร้าว, ณฐมน พุ่มงาม Jan 2019

บทบาทของรถกับข้าวในการทำให้ชุมชนในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชุมชน “หมู่บ้านลาดพร้าววิลเลจ” ในเขตลาดพร้าว, ณฐมน พุ่มงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรุงเทพมหานครได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ ปี 2553-2544 ส่งผลให้จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยในอนาคต เนื่องจากยังขาดองค์ประกอบเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยอยู่หลายประการ โดยเฉพาะตลาดสดหรือซูเปอร์มาร์เก็ตในระยะละแวกบ้าน จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่ามีการค้ารถกับข้าวเกิดขึ้นในชานเมืองทำหน้าที่เหมือนตลาดสดเคลื่อนที่เข้าหาผู้สูงอายุ นำมาสู่คำถามงานวิจัยที่ว่า รถกับข้าวทำให้ชานเมืองเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุหรือไม่? ปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้รถกับข้าวมีบทบาทต่อเมืองและผู้สูงอายุ? งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฎการณ์รถกับข้าวที่มีผลต่อการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในชานเมืองกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ปัจจัยและบทบาทของรถกับข้าวที่ทำให้เมืองเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ อภิปรายผลการศึกษาและเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาเมือง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงประจักษ์ ผลจากการทบทวนวรรณกรรมและการสังเกตการณ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการค้ารถกับข้าวที่ตลาดบางกะปิจะถูกนำไปใช้ในการสร้างกรอบวิจัย ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลการค้ารถกับข้าวในชุมชนหมู่บ้านลาดพร้าววิลเลจ เขตลาดพร้าว ในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยใช้แบบสังเกตการณ์ แบบสัมภาษณ์ผู้ประกอบการจำนวน 3-5 ตัวอย่างและแบบสอบถามกึ่งสัมภาษณ์ผู้บริโภคสูงอายุ 60-65 ตัวอย่าง เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ และการบอกต่อ ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสังคมเชิงกายภาพ ผลการศึกษาพบว่ารถกับข้าวมีรูปแบบการให้บริการไม่แตกต่างกับรูปแบบการให้บริการรถกับข้าวเมื่อ 10 ปีก่อน แต่ในปัจจุบันพบว่าบริบททางกายภาพเมืองและความต้องการรถกับข้าวของผู้สูงอายุ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลอิทธิพลต่อการคงอยู่ของการค้ารถกับข้าวในชานเมือง ในทางตรงกันข้ามรถกับข้าวก็ส่งอิทธิพลต่อเมืองและผู้สูงอายุในลักษณะของการเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายและเป็นที่ต้องการสำหรับคนสูงอายุในย่านชานเมืองซึ่งก็คือ ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ตหรือแหล่งซื้อกับข้าวที่อยู่ในละแวกบ้าน อาจสรุปได้ว่ารถกับข้าวเป็นองค์ประกอบที่ไม่เป็นทางการของเมืองที่เปลี่ยนชานเมืองกรุงเทพมหานครให้เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ ด้วยการเคลื่อนที่เข้าหาผู้สูงอายุและความยืดหยุ่นตอบรับกับความต้องการของผู้สูงอายุทั้งในด้านสินค้าและบริการ ส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างสะดวก นอกจากนั้น การค้ารถกับข้าวก่อให้เกิดพื้นที่ทางสังคมในชั่วขณะเอื้อให้ผู้สูงอายุออกมาทำกิจกรรมทางสังคม พบปะผู้คน อันส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุ ในสถาการณ์ โควิด-19 รถกับข้าวช่วยให้ผู้คนในชุมชนสามารถกักกันตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยไม่ได้รับผลกระทบด้านการเข้าถึงอาหาร


คุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของผู้หญิง: กรณีศึกษา เคาน์เตอร์เครื่องสำอาง, กิตติมา วงษ์มะเซาะ Jan 2019

คุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของผู้หญิง: กรณีศึกษา เคาน์เตอร์เครื่องสำอาง, กิตติมา วงษ์มะเซาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจความงามมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการแข่งขันสูง ส่งผลให้บริษัทเครื่องสำอางต่างพัฒนารูปแบบเคาน์เตอร์เครื่องสำอางเพื่อดึงดูดผู้บริโภค การออกแบบแสงก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถสร้างบรรยากาศที่ดีรวมไปถึงการออกแบบแสงกับกระจกให้ลูกค้าได้ลองใช้สินค้าร่วมกับการประเมินรูปลักษณ์ตนเองเพื่อพิจารณาการซื้อเครื่องสำอาง การศึกษาวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาคุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของในเคาน์เตอร์เครื่องสำอาง จากผู้เข้าร่วม 60 คน เข้าทดสอบแบบจำลองเคาน์เตอร์เครื่องสำอางจุดแต่งหน้าที่จัดแสงด้วยลักษณะอุณหภูมิสีของแสง 2700 และ 6500 เคลวิน โดยใช้สีผนังที่แตกต่างกัน 4 สี ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีขาว และสีดำ เพื่อศึกษาผลต่อความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมและการประเมินรูปลักษณ์ตนเองด้วยการให้คะแนนจากคู่คำความหมายตรงข้ามทั้งหมด 8 คู่ ศึกษาในกลุ่มประชากรผู้หญิงพบว่าลักษณะอุณหภูมิสีของแสงและสีของสภาพแวดล้อมมีผลต่อความพึงพอใจของผู้หญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยเคาน์เตอร์เครื่องสำอางที่ใช้ลักษณะอุณหภูมิสีของแสงที่ 6500 เคลวิน ส่งผลต่อความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมผนังสีขาว รองลงมาคือผนังสีแดง งานวิจัยนี้สรุปได้ว่าคุณลักษณะของสีในสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิสีของแสงเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบที่มีส่วนสร้างอารมณ์ในเชิงบวกต่อการประเมินรูปลักษณ์ตนเองและสภาพแวดล้อมเคาน์เตอร์เครื่องสำอาง ดังนั้นการนำไปประยุกต์ใช้ จึงควรพิจารณารูปแบบการตกแต่งภายในร้าน โดยเลือกใช้สีโทนธรรมชาติและสีแท้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม และเลือกใช้แสงทีมีอุณหภูมิสีเหมาะสมกับรูปแบบของผลิตภัณฑ์และบริบทของร้านค้า


สมรรถนะการใช้งานและประสิทธิภาพด้านพลังงานของแผ่นหลังคาเหล็กที่มีระบบการเคลือบสีแตกต่างกัน, ธนพล ไคร้งาม Jan 2019

สมรรถนะการใช้งานและประสิทธิภาพด้านพลังงานของแผ่นหลังคาเหล็กที่มีระบบการเคลือบสีแตกต่างกัน, ธนพล ไคร้งาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพความคงทนต่อการกัดกร่อน การเปลี่ยนแปลงของสีบนแผ่นเหล็กเคลือบสีที่มีระบบสีแตกต่างกัน รวมทั้งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคาร แผ่นเหล็กเคลือบสีใช้ในการทดสอบประกอบด้วยระบบสีโพลีเอสเตอร์ชั้นเดียวและสองชั้น และแบ่งตามโทนสี ทำการทดสอบแบบเร่งสภาวะในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ความคงทนต่อการกัดกร่อนด้วยการพ่นละอองน้ำเกลือเป็นเวลา 1,000 ชั่วโมง และความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมเป็นเวลา 2,000 ชั่วโมง จากนั้นทำวัดค่าการสะท้อนรังสีอาทิตย์และจำลองการใช้พลังงานด้วยโปรแกรม VisualDOE 4.1 เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าระบบปรับอากาศก่อนและหลังการทดสอบดังกล่าว ผลทดสอบพบว่าแผ่นเหล็กเคลือบสีสองชั้นมีความคงทนต่อการกัดกร่อนดีกว่าแผ่นเหล็กเคลือบสีชั้นเดียว ชั้นเคลือบโลหะอะลูมิเนียมผสมสังกะสีจะมีความคงทนต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่าชั้นเคลือบสังกะสี สังเกตได้จากลักษณะการกัดกร่อนที่มีการพองตัวของสีและการเกิดสนิมขาวตามรอยกรีดผิวหน้าของชิ้นงานทดสอบ การเปลี่ยนแปลงของสีบนแผ่นทดสอบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อมีระยะเวลาการทดสอบนานขึ้น สีโทนอ่อนจะมีค่าการเปลี่ยนแปลงสูงสุด แผ่นเหล็กเคลือบสีสองชั้นที่มีชั้นเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสีมีค่าการเปลี่ยนแปลงของสีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับชิ้นงานอื่น หากประเมินเทียบกับมาตรฐานแล้ว สีโทนกลางทุกตัวอย่างทดสอบมีค่าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไม่เกิน 5 หน่วย การสะท้อนรังสีอาทิตย์หลังการทดสอบความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมมีค่าลดลงระหว่างร้อยละ 0.10 ถึง 3.30 แผ่นเหล็กเคลือบสังกะสีเคลือบสีสองชั้น สีโทนกลาง มีค่าลดลงสูงสุดร้อยละ 7.80 และแผ่นเหล็กเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสีเคลือบสีสองชั้น โทนเข้ม มีค่าการสะท้อนรังสีอาทิตย์สูงขึ้น เนื่องจากผลกระทบจากการเสื่อมสภาพของชั้นเคลือบสีภายนอก ทำให้เกิดไทเทเนียมไดออกไซด์ที่มีส่วนประกอบเป็นผงสีขาวบนผิวตัวอย่างทดสอบ การจำลองการใช้พลังงานไฟฟ้าของระบบปรับอากาศ แผ่นเหล็กเคลือบสีโทนอ่อนมีการใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำสุด หากพิจารณาตลอดปี เดือนมีนาคมมีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดและต่ำสุดในเดือนธันวาคม การใช้พลังงานไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้านค้าเปิดเวลา 7:00 น. เวลา 14:00 น. ที่มีการใช้พลังงานสูงสุดและจะลดลงมาจนกระทั่งปิดร้านเวลา 21:00 น. การเลือกแผ่นหลังคาเหล็กสีโทนอ่อนเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสีและเคลือบสีสองชั้นจะช่วยเพิ่มอายุการใช้งานทางด้านสมรรถะของวัสดุ ทั้งยังลดการถ่ายเทความร้อนสู่ตัวอาคาร ประหยัดพลังงานที่ใช้กับระบบปรับอากาศภายในอาคารได้ถึงร้อยละ 34 หากเทียบกับการใช้สีโทนเข้ม หรือร้อยละ 18 หากเป็นสีโทนอ่อนเหมือนกัน


การระบุคุณค่าเรือนแถวเก่าริมน้ำประแสเพื่อการอนุรักษ์, นรีรัตน์ ไกรทอง Jan 2019

การระบุคุณค่าเรือนแถวเก่าริมน้ำประแสเพื่อการอนุรักษ์, นรีรัตน์ ไกรทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนริมน้ำประแสเป็นย่านประวัติศาสตร์ อันเป็นพื้นที่ที่ชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน มาตั้งรกรากอยู่ในกลุ่มเรือนแถวไม้ริมแม่น้ำนานกว่าหนึ่งร้อยปี อาชีพหลักของคนในท้องถิ่นคือการจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค และทำการประมงพื้นบ้าน ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าผู้อยู่อาศัยในชุมชนจะตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม และต้องการที่จะรักษาคุณค่าเหล่านั้น แต่พวกเขาไม่สามารถต้านทานการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเมืองที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ ระบบการขนส่ง ตลอดจนวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับแม่น้ำ ได้ส่งผลให้อัตลักษณ์ของชุมชนค่อยๆ สูญหายไป จากผลการสำรวจพื้นที่ภาคสนาม การสัมภาษณ์ชาวบ้าน และกระบวนการประเมินคุณค่า สามารถสรุปได้ว่า เป้าหมายในการอนุรักษ์เรือนแถวเก่าริมน้ำประแส คือการรักษาลักษณะสำคัญของพื้นที่ ซึ่งหมายถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม บนฐานของการใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายและสงบสุข ดังนั้นการอนุรักษ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง ควรครอบคลุมแนวทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสมดุล ในการรองรับคุณภาพชีวิตที่ดี ในขณะที่ส่งเสริมการปรับการใช้สอยตามความต้องการในปัจจุบัน คุณค่าสำคัญที่ควรรักษาไว้ ประกอบด้วย 1) คุณค่าจากภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ ที่รวมถึง องค์ประกอบของเมือง และการตั้งถิ่นฐานบริเวณปากแม่น้ำ ที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และพืชพรรณ เครือข่ายของถนนสายหลักและตรอก ในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตร และพื้นที่สาธารณะริมน้ำ การเชื่อมต่อที่ดีระหว่างกิจกรรมภายในอาคารและทางเดินสาธารณะ และทัศนียภาพอันงดงามของเรือนแถวแบบดั้งเดิม ที่เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างเหมาะสม 2) คุณค่าที่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสถาปัตยกรรม รูปแบบสถาปัตยกรรมและโครงสร้างตามช่วงเวลาก่อสร้าง 4 ช่วง (40-100 ปี) แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบที่มีลักษณะเฉพาะ และแสดงฝีมือช่างในท้องถิ่นแต่ละยุคสมัย และ 3) คุณค่าตามการใช้งานของเรือนแถว อันประกอบด้วยการอยู่อาศัยและการทำงานในร้านค้า และการใช้งานแบบใหม่ที่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของกิจกรรมการท่องเที่ยว


ทัศนคติต่อภูมิทัศน์ด้านการส่งเสริมความรู้สึกถึงการฟื้นคืนพลังจากความเหนื่อยล้าทางจิตใจ, พีรพรรณ ธีรบุษยเวศย์ Jan 2019

ทัศนคติต่อภูมิทัศน์ด้านการส่งเสริมความรู้สึกถึงการฟื้นคืนพลังจากความเหนื่อยล้าทางจิตใจ, พีรพรรณ ธีรบุษยเวศย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการศึกษาเกี่ยวกับภูมิทัศน์ธรรมชาติในฐานะที่มีส่วนในการช่วยฟื้นฟูจิตใจและส่งเสริมสุขภาวะนั้นเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ สำหรับวิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบภูมิทัศน์ธรรมชาติที่สามารถส่งเสริมความรู้สึกถึงการฟื้นคืนพลังจากความเหนื่อยล้าทางจิตใจ จากการบูรณาการแนวคิดและทฤษฏีทางจิตวิทยาสภาพแวดล้อมในทฤษฎีฟื้นฟูความใส่ใจ (The Attention Restoration Theory: ART) เข้ากับองค์ความรู้ทางภูมิสถาปัตยกรรม ซึ่งคือแนวความคิดเรื่องความพึงพอใจต่อภูมิทัศน์ (Landscape preference) ทั้งนี้กระบวนการวิจัยคือการประยุกต์นำเครื่องมือมาตรวัดทางจิตวิทยาเข้ามาใช้ทดสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อศึกษาคุณสมบัติในการส่งเสริมความรู้สึกถึงฟื้นคืนพลังของภูมิทัศน์ธรรมชาติ 3 แบบคือ ภูมิทัศน์ป่า ภูมิทัศน์ทุ่งหญ้า และภูมิทัศน์ริมน้ำ และความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเหนื่อยล้าทางจิตใจกับทัศนคติต่อภูมิทัศน์ธรรมชาติด้านการส่งเสริมความรู้สึกถึงการฟื้นคืนพลังจากความเหนื่อยล้าทางจิตใจ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบภูมิทัศน์ให้สามารถรองรับการปรับตัวต่อปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างมีประสิทธิภาพในสังคมต่อไป ผลการวิจัยสรุปว่า ลักษณะภูมิทัศน์ที่มีคุณสมบัติดีที่สุดในการส่งเสริมความรู้สึกถึงการฟื้นคืนพลัง คือ ภูมิทัศน์ริมน้ำ และองค์ประกอบภูมิทัศน์ที่มีคุณสมบัติที่ดีที่สุดคือ ต้นไม้ใหญ่ทรงร่มที่อยู่ริมน้ำ สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างความเหนื่อยล้าทางจิตใจกับความรู้สึกถึงการฟื้นคืนพลังในภูมิทัศน์แต่ละแบบนั้นยังไม่ชัดเจน แต่บางองค์ประกอบภูมิทัศน์ที่คัดเลือกมาใช้เป็นตัวแทนในการทดสอบมีความสัมพันธ์กับระดับความเหนื่อยล้าทางจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้การศึกษายังพบว่า นอกจากองค์ประกอบที่มีคุณภาพที่ดีแล้ว การจัดองค์ประกอบยังมีความสำคัญต่อการส่งเสริมความรู้สึกถึงการฟื้นคืนพลังอีกด้วย


การจัดการกู้สภาพภายหลังเหตุเพลิงไหม้ในอาคารโรงพยาบาล : กรณีศึกษา อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ปวันรัตน์ ดวงสุธา Jan 2019

การจัดการกู้สภาพภายหลังเหตุเพลิงไหม้ในอาคารโรงพยาบาล : กรณีศึกษา อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ปวันรัตน์ ดวงสุธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุการณ์เพลิงไหม้อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 ก่อให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่ให้บริการของโรงพยาบาล ในการจัดการเหตุและความเสียหายด้านกายภาพอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายกายภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการกู้สภาพภายหลังเหตุเพลิงไหม้ในอาคารโรงพยาบาลรวมถึงบทบาทของฝ่ายจัดการอาคารในการดำเนินงาน โดยรวบรวมข้อมูลจากการสืบค้นเอกสาร, การเข้าร่วมสังเกตการณ์ในที่ประชุม และจากการสอบถามและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง นำมาจัดเรียงและวิเคราะห์ข้อมูล ถอดบทเรียนจากการศึกษา สรุปผลและทำการอภิปรายผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่า ในการจัดการเหตุเพลิงไหม้แบ่งการดำเนินงานได้เป็น 4 ช่วงย่อย คือ การแจ้งเหตุ การระงับเหตุ การอพยพ และการบรรเทาสถานการณ์ ในการระงับเหตุและการบรรเทาสถานการณ์ฝ่ายจัดการอาคารดำเนินการร่วมกับบุคคลภายนอกองค์กรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญ ในการจัดการความเสียหายด้านกายภาพภายหลังเหตุเพลิงไหม้ มีทั้งหมด 6 ช่วงดำเนินการในช่วงเวลาทับซ้อนกัน เริ่มตั้งแต่การบรรเทาสถานการณ์ในช่วงจัดการเหตุ, ช่วงแก้ไขสถานการณ์ระยะสั้น, ช่วงการประเมินความเสียหาย, ช่วงหยุดความเสียหาย, ช่วงการเตรียมสภาพและตรวจสอบสภาพ และช่วงการปรับปรุงสภาพ วิธีการดำเนินงานในการจัดการความเสียหายด้านกายภาพภายหลังเหตุเพลิงไหม้แบ่งได้เป็น 2 หมวดหลัก คือ หมวดงานอาคารและหมวดงานอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยงานที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้มีวิธีในดำเนินงานซับซ้อนที่สุดและยังเกี่ยวพันกับงานระบบอาคารที่ต้องสนับสนุนการทำงานเครื่อง ส่วนหมวดงานอาคารมีวิธีการดำเนินงานที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเช่นกัน นอกจากนี้วิธีการดำเนินงานขึ้นอยู่ลักษณะและระดับความเสียหายในพื้นที่ อุปสรรคและข้อจำกัดที่พบคือ การสรุปมูลค่าเคลมประกันที่ใช้เวลานานเนื่องจากลักษณะของอุปกรณ์ทางการแพทย์ของฝ่ายรังสีที่มีมูลค่าสูงและมีความซับซ้อน การออกแบบล่าช้าเพราะขาดข้อมูล และโครงสร้างการดำเนินงานแบบราชการที่ไม่เอื้อต่อความเร็ว ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานช่วงการปรับปรุงสภาพ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงลักษณะของความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ต่อโรงพยาบาลที่ส่งผลเสียหายโดยตรงต่อทรัพยากรกายภาพที่มีลักษณะเฉพาะและมีมูลค่าสูง ควบคุมเรื่องขั้นตอนการทำงานและเวลาที่ใช้ได้ลำบากเพราะขึ้นอยู่กับสภาพความเสียหายที่พบและต้องแก้ไขเป็นลำดับ ทั้งนี้ยังส่งผลกระทบไปถึงภารกิจหลักของโรงพยาบาลคือการให้บริการรักษา ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นในพื้นที่ของโรงพยาบาล โดยควรนำบทเรียนจากเหตุที่เกิดขึ้นมาปรับใช้กับการวางแผนและปรับปรุงแผนซึ่งเป็นหนึ่งในบทบาทของฝ่ายจัดการอาคารที่ควรต้องทำในช่วงก่อนการเกิดเหตุเพลิงไหม้ กรณีเกิดเพลิงไหม้ขึ้น ฝ่ายจัดการอาคารมีบทบาทคือการบริหารแผนงานและจัดการงานที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


การใช้และการจัดการข้อมูลในแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพอาคารชุด, มยุรฉัตร ฉัตรสุวรรณ Jan 2019

การใช้และการจัดการข้อมูลในแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพอาคารชุด, มยุรฉัตร ฉัตรสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาความต้องการใช้ประโยชน์จากแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling : BIM) ในการบริหารจัดการอาคารชุด (Condominium) จากปัญหาปัจจุบันในการกำหนดระดับการพัฒนาตามทฤษฎีจะเป็นแบบจำลองที่มีความละเอียดสูงสุด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อสรุปความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการอาคารชุด เพื่อทราบลักษณะข้อมูลที่ต้องการใช้จริง และเป็นแนวทางเบื้องต้นในการจัดการข้อมูลด้วยกระบวนการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารที่คาดว่าเหมาะสมกับการบริหารจัดการอาคารประเภทอาคารชุด ผู้วิจัยศึกษาทฤษฎีลักษณะงานการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพอาคารชุด และทฤษฎีการใช้ประโยชน์แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM Uses) ในช่วงการบริหารจัดการอาคาร เพื่อใช้ในการสร้างแบบสอบถามและนำไปสอบถามกลุ่มตัวอย่างในองค์กรที่มีแนวโน้มใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารในการบริหารจัดการอาคารชุด โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 5 ปี จาก ผู้จัดการอาคารชุด จำนวน 35 คน และผู้จัดการวิศวกรรม จำนวน 30 คน เพื่อทราบถึงลักษณะข้อมูลที่ต้องการใช้เพื่อการบริหารจัดการอาคาร รวมถึงได้ทำการสัมภาษณ์ที่ปรึกษาด้านแบบจำลองสารสนเทศอาคารจำนวน 5 คน เพื่อทราบถึงแนวทางการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารในช่วงการบริหารจัดการอาคารชุด ผลการศึกษา ชี้ว่าผู้จัดการอาคารชุดจากกลุ่มตัวอย่าง ให้ความสำคัญมากกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการอาคารชุด โดยมีมุมมองที่ให้ความสำคัญมากที่สุดในเรื่องการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนในเรื่องการวางแผนการซ่อมบำรุง ลักษณะข้อมูลที่ผู้จัดการอาคารเลือกใช้ในวางแผนการบริหารจัดการอาคารชุดมากที่สุดคือเรื่อง กราฟิกในแบบ 2 มิติ ส่วนผู้จัดการวิศวกรรมอาคารเลือกลักษณะข้อมูลในวางแผนการปฏิบัติงานมากที่สุดคือเรื่อง ที่ไม่ใช่กราฟิก คือเอกสารข้อมูล และผลจากการสัมภาษณ์ที่ปรึกษาด้านแบบจำลองสารสนเทศอาคาร พบว่าการจัดการข้อมูลในช่วงบริหารจัดการอาคารควรมีลักษณะที่ต้องลดทอนข้อมูลให้น้อยเฉพาะที่ต้องการใช้ เพื่อการจัดการข้อมูลและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


แนวความคิดและรูปแบบแผงกันแดดในงานสถาปัตยกรรมของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา, ศรัณย์รัตน์ เจริญผล Jan 2019

แนวความคิดและรูปแบบแผงกันแดดในงานสถาปัตยกรรมของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา, ศรัณย์รัตน์ เจริญผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาแนวความคิดและรูปแบบแผงกันแดดในงานออกแบบ ของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ช่วงต้น ระหว่าง พ.ศ. 2509-2515 โดยมุ่งศึกษาสถาปัตยกรรมที่มีการใช้แผงกันแดดเป็นองค์ประกอบหลัก ประกอบด้วยอาคารกรณีศึกษาจำนวน 9 หลัง ได้แก่ โรงแรมมโนราห์ (พ.ศ. 2509) โรงแรมเพรสิเดนท์ (พ.ศ. 2509) ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลสีลม (พ.ศ. 2510) อาคารแอนนา (พ.ศ. 2510) อาคารกรุงเทพสหกล (พ.ศ. 2511) ห้องสมุดสถานสอนภาษาเอ.ยู.เอ (พ.ศ. 2513) บ้านศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอกกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา (พ.ศ. 2514) สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2514) และศูนย์เซเวียร์ (พ.ศ. 2515) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การออกแบบแผงกันแดดในผลงานออกแบบของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา ใน 3 ลักษณะ คือ ประเภทของการกันแดด ตำแหน่งของแผงกันแดด และภาษาสถาปัตยกรรม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เริ่มจากการรวบรวมเอกสารชั้นต้น ได้แก่ หนังสือ และงานวิชาการที่เป็นพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ สถาปัตยกรรมในเขตร้อนชื้น สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย และแบบสถาปัตยกรรมอาคารกรณีศึกษา ประกอบกับเอกสารชั้นรองที่เกี่ยวข้องหรืออ้างถึงศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา การวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาจากแบบสถาปัตยกรรมของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา เป็นหลัก ด้วยการสร้างแบบสถาปัตยกรรมขึ้นใหม่ ประกอบกับการสำรวจและถ่ายภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบแผงกันแดดและผิวอาคาร รวมถึงการสัมภาษณ์บุคคลที่ได้ร่วมงานกับศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา เพื่อศึกษาแนวความคิดและที่มาในการออกแบบ โดยสรุป การออกแบบแผงกันแดดของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา มีการคำนึงถึงทิศทางของการกันแดด ฝน ด้วยการใช้รูปทรงเรขาคณิตในจังหวะและสัดส่วนที่เหมาะสมและมีความหลากหลาย ประกอบกับการใช้วัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้างที่สอดคล้องกับยุคสมัยอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด อันมีส่วนสำคัญในการสร้างอัตลักษณ์ให้กับอาคาร ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสง่างามอย่างเรียบง่าย เรียบร้อย เป็นเอกลักษณ์สำคัญที่ปรากฏในผลงานออกแบบของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผลจากการศึกษานี้อาจนำไปสู่การพิจารณาในบริบทของสถาปนิกร่วมสมัย ซึ่งจะช่วยต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย


การสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร สำหรับการบริหารจัดการกายภาพ ของอาคารที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ, สุดารัตน์ ทิพย์ทวีชัย Jan 2019

การสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร สำหรับการบริหารจัดการกายภาพ ของอาคารที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ, สุดารัตน์ ทิพย์ทวีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสร้างแบบจำลองสารสนเทศ สำหรับการบริหารจัดการกายภาพ ของอาคารที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ จากการสร้างองค์ประกอบกายภาพอาคารของกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงขั้นตอนการสร้างแบบจำลองสารสนเทศ (BIM) และการประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมในการบริหารจัดการกายภาพของกระทรวงการต่างประเทศ การศึกษาแนวคิดการบริหารจัดการกายภาพอาคารสถานที่ โดยการรวบรวมข้อมูลองค์ประกอบกายภาพ ทำให้เกิดความเข้าใจการบริหารจัดการกายภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการสร้างแบบจำลองสารสนเทศ (BIM) และประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการกายภาพทางไกล (Distant Management) ระหว่างสำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สิน กระทรวงการต่างประเทศ อาคารสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ปัญหาข้อมูลทางกายภาพ ที่เป็นแบบก่อสร้างจริง (As built drawing) ประกอบด้วยอาคารเดิมที่เป็นแบบกระดาษพิมพ์เขียว และอาคารใหม่ที่เป็นแบบไฟล์ดิจิตอล เมื่อนำไปสำรวจสภาพจริงของอาคารกรณีศึกษา พบว่าข้อมูลมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงแก้ไขอาคาร โดยไม่มีการบันทึกข้อมูลไว้ ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการสร้างแบบจำลองสารสนเทศ (BIM) ใช้โปรแกรมกราฟฟิกซอฟ อาคิแคต (Graphicsoft ArchiCAD) ที่ประกอบด้วย ข้อมูลเชิงกราฟิก (Graphic) เป็นมุมมองภาพเสมือนจริง 3 มิติ และข้อมูลไม่ใช่กราฟิก (Non-Graphic) ซึ่งเป็นอักขระตัวเลข ที่มีรายละเอียดที่จำเป็น ตลอดจนวิเคราะห์แบบจำลองสารสนเทศ (BIM) กับการบริหารจัดการอาคารสถานที่ และนำเสนอผลการศึกษาต่อเจ้าหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สิน กระทรวงการต่างประเทศ จากการนำเสนอผลการศึกษา พบว่าเจ้าหน้าที่สำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สิน กระทรวงการต่างประเทศ มีความเห็นว่า การมีแบบจำลองสารสนเทศ (BIM) จากมุมมองภาพเสมือนจริง 3 มิติ ทำให้การสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่สำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สิน กระทรวงการต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ประจำอาคารสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศมีความชัดเจน ถูกต้องมากขึ้น ส่วนข้อมูลอักขระและตัวเลข ช่วยในการจดบันทึก สามารถรวบรวมข้อมูลและเพิ่มเติมรายละเอียดได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการบริหารจัดการกายภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้พบข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ คำนึงถึงเรื่องงบประมาณ การลงทุนในการจัดทำแบบจำลองสารสนเทศ (BIM) สำหรับการพัฒนาข้อมูลระบบบริหารกายภาพ และบุคลากรในการดูแลบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยในรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต


Architectural Joinery Design To Prevent Water Leakage In A Precast Concrete Detached House, Prokchol Vataniyobol Jan 2019

Architectural Joinery Design To Prevent Water Leakage In A Precast Concrete Detached House, Prokchol Vataniyobol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The precast concrete construction is widely used in Thailand by customers and developers for residential development. For many decades of building with the precast concrete wall system, the common problems of water leakage are the most pressing concerns. This thesis aims to find the issues that lead to the causes of water penetration and propose a solution to prevent water leakage. From the literature review, the sources of water leakage are at the connection location between the precast modules. The water can penetrate through the opening with the four forces: a momentum of the raindrop, capillary action, gravity, and air …


Serial Cultural Heritage Concept, Values Identification, And Management : Case Study Angkor - Phimai Cultural Route, Saowalux Poshyanandana Jan 2019

Serial Cultural Heritage Concept, Values Identification, And Management : Case Study Angkor - Phimai Cultural Route, Saowalux Poshyanandana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Serial cultural heritage refers to groups of cultural heritage sites which are formed as series by significant cultural linkage. It is a category of cultural heritage which has played important roles in World Heritage context, however, it has not been given appropriate attention in general context although it prevails in all cultures. This thesis, therefore, investigated into serial cultural heritage and has clarified its identification, concept, applications, categorization, values identification, and management, both in World Heritage and general contexts, which can be used as initiative frameworks for future works and studies in the issue of serial cultural heritage. To summarize, …


Traditional Design In An Ancient Village Of Tanintharyi, Winn Myintzu, Soe Thainkha, Elizabeth H. Moore Jan 2019

Traditional Design In An Ancient Village Of Tanintharyi, Winn Myintzu, Soe Thainkha, Elizabeth H. Moore

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

The ancient village of Thagara is located circa ten kilometres north of Dawei, Tanintharyi Region of Lower Myanmar. While Thagara's archaeology and the domestic religious architecture such as the pagodas and monasteries have been well documented, this article is the first to classify the main elements of the domestic dwellings. Five key components of the vernacular architecture are identified: the style of the house facade, the building materials, the hearth, the rice barn and the shrine. Constructed with local materials, the facades and roofs were designed to meet the challenges of the monsoonal climate and the hearth and rice barn …


Refining The Adaptive Capacity Framework For World Heritage Management, Montira Unakul Jan 2019

Refining The Adaptive Capacity Framework For World Heritage Management, Montira Unakul

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

Well-developed in the context of climate change, the concept of adaptive capacity has so far not been applied extensively to the study of World Heritage management. This paper applies the analytic framework of adaptive capacity to better understand how institutional attributes enable or hinder systemic adaptation in managing World Heritage sites as boundaries of practice expand due to changing concepts of heritage and emerging management challenges. Drawing upon case studies from Southeast Asia, the study proposes a refined framework with the following dimensions of adaptive capacity: cognitive frames, learning capacity, resources, formal governance measures, organizational relationships, and agency.


The Effects Of Franco-Siamese Treaties On Ubon Ratchathani Urban Landscape Transformation, Lalida Boonmee Jan 2019

The Effects Of Franco-Siamese Treaties On Ubon Ratchathani Urban Landscape Transformation, Lalida Boonmee

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

In the written history, Ubon Ratchathani, most documents point out that the urban areas have developed and changed because of the administrative reforms from Bangkok since the reign of King Chulalongkorn, Rama V. While this domestic cause has certainly been at play, there is another cause connected to foreign colonisation of the Indochina area. French troops forced Siam to accept the Franco-Siamese treaty in 1893, which affected the boundaries of Siam near the Mekong River. This article will address the effects of Franco-Siamese treaties on the Ubon Ratchathani urban landscape, and will highlight the urban elements which currently contribute to …


Collaborative Community Design Processes In Rural And Urban Settlements In Thailand, Sadanu Sukkasame Jan 2019

Collaborative Community Design Processes In Rural And Urban Settlements In Thailand, Sadanu Sukkasame

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

This paper compares two contrasting processes of low-income community design in rural and urban areas in Thailand. The low-income Srabot community in the urban area is constructing a new settlement on newly purchased land. In parallel, the indigenous Banggloy community is located in the National Park as a community who were forcibly evicted from their village home to an allocated area where they constructed dwellings in the new village. Both cases were supported by housing loans and funding from the Thai Community Organizations Development Institute (CODI)1. The aim of this paper is to examine collaborative learning process based on low-income …


Evaluating The Policy Outcomes For Urban Resiliency In Informal Settlements Since Independence In Dhaka, Bangladesh: A Review, Ishrat Momtaz Badhan, Asma Siddika Jan 2019

Evaluating The Policy Outcomes For Urban Resiliency In Informal Settlements Since Independence In Dhaka, Bangladesh: A Review, Ishrat Momtaz Badhan, Asma Siddika

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

Today's cities are characterized by the process of urbanization, which in most cases is integrated with the escalation of informal settlements due to excessive migration followed by a housing crisis. This is a common situation for most cities in developing countries, such as Dhaka, the capital city of Bangladesh. Dhaka has emerged as one of the fastest growing megacities in recent times, which receives a major number of rural to urban migrants annually due to its growth as the major economic hub of Bangladesh. Dhaka has one of the largest populations among all global cities, which results in a critical …


การจำแนกและวิเคราะห์ทัศนียภาพภูมิทัศน์แม่น้ำยมตอนบน กรณีศึกษาหมู่บ้านดอนชัยสักทอง อำเภอสอง จังหวัดแพร่, เจนจิรา ลิมะวิรัชพงษ์ Jan 2019

การจำแนกและวิเคราะห์ทัศนียภาพภูมิทัศน์แม่น้ำยมตอนบน กรณีศึกษาหมู่บ้านดอนชัยสักทอง อำเภอสอง จังหวัดแพร่, เจนจิรา ลิมะวิรัชพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภูมิทัศน์แม่น้ำเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์ที่มีสายน้ำเป็นศูนย์กลาง โดยแม่น้ำเป็นสายน้ำที่ไหลตามพื้นผิวโลกมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตบกและน้ำ ซึ่งพลวัตของน้ำส่งผลต่อแม่น้ำทำให้เกิดความหลากหลายของผลผลิตที่มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และนิเวศบริการ การวิจัยมุ่งเน้นที่ชุมชนบ้านดอนชัยสักทองซึ่งตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำยมตอนบนของประเทศไทย เป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับภูมิทัศน์แม่น้ำ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อจำแนกองค์ประกอบและปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิทัศน์แม่น้ำยมตอนบนและการรับรู้สภาพแวดล้อมที่นำมาสู่การวิเคราะห์ทัศนียภาพ โดยกระบวนการวิจัยประกอบไปด้วย การสอบถามมุขปาฐะ การวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และการตีความทัศนียภาพจากภาพถ่ายที่เป็นเครื่องมือแสดงองค์ความรู้ทางนิเวศวิทยาของแม่น้ำยมตอนบนจากการตีความภาพ ผลการวิจัยพบว่าการเปรียบเทียบองค์ประกอบทางกายภาพของท้องถิ่นแม่น้ำยมตอนบนเกิดจากการรับรู้สภาพแวดล้อมของมนุษย์ ซึ่งจากลักษณะภูมิทัศน์ที่แตกต่างกันทำให้เกิดนิเวศบริการทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ได้แก่ ความเชื่อ ความรู้ในการใช้งานทรัพยากร การดำรงชีพและบรรทัดฐาน ที่อธิบายความสัมพันธ์ของการวิเคราะห์ทัศนียภาพ ในผลสรุปจากทัศนียภาพแสดงลักษณะภูมิทัศน์ที่โดดเด่น คือ หาดและแก่ง ที่สร้างให้เกิดความเข้าใจและอนุรักษ์ และใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนการใช้ประโยชน์ภูมิทัศน์แม่น้ำยมตอนบน


การออกแบบและประโยชน์ตามหลักความยั่งยืนของสวนเกษตรดาดฟ้าในกรุงเทพมหานคร, ภควัฒน์ มีกุล Jan 2019

การออกแบบและประโยชน์ตามหลักความยั่งยืนของสวนเกษตรดาดฟ้าในกรุงเทพมหานคร, ภควัฒน์ มีกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการสวนเกษตรดาดฟ้า (Rooftop Urban Agriculture : RA) เป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหาร บนอาคารในพื้นที่เมืองใหญ่ต่าง ๆ ทั่วโลก มีรูปแบบการปฏิบัติ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จุดมุ่งหมาย แนวทางการออกแบบ และประโยชน์ที่แตกต่างกัน งานวิจัยนี้ศึกษาการออกแบบ และประโยชน์ของโครงการสวนเกษตรดาดฟ้าที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย (1) ศูนย์การเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ สวนเกษตรดาดฟ้า เขตหลักสี่ (2) ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะ (3) สวนผักดาดฟ้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (4) โครงการพักอาศัย คอนโดมีเนียม ออนิกซ์ พหลโยธิน โดย ศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูล คัดเลือก และสำรวจพื้นที่ศึกษา สอบถามข้อมูลบุคคลากรที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ และเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้ในเชิงข้อคำนึงในการออกแบบ และประโยชน์ที่เกิดขึ้น โดยใช้หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ผลการวิจัยพบว่าโครงการสวนเกษตรดาดฟ้าในกรุงเทพมหานคร แบ่งได้เป็น สวนเกษตรดาดฟ้าที่ออกแบบมาพร้อมกับอาคาร และที่ต่อเติมในภายหลัง โดยประเด็นสำคัญในการพิจารณาพื้นที่โครงการ ประกอบด้วย การเข้าถึงที่สะดวกเพื่อการดูแลในระยะยาว มีการกันลม และพรางแสงที่ดี สอดรับกับการใช้งานของตัวอาคาร ในเรื่องการก่อสร้าง สวนที่มีการออกแบบพร้อมกับตัวอาคารจะมีความสะดวกในการใช้งาน แต่สวนที่ต่อเติมในภายหลัง ก็เป็นตัวอย่างของนวัตกรรมการเพาะปลูกน้ำหนักเบาที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ในด้านองค์ประกอบ ควรพิจารณาความเหมาะสมของภาพแวดล้อมอาคาร และพืชพรรณชนิดต่าง ๆ ประกอบด้วย พืชผักระยะสั้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก ไม้เลื้อย ไม้ต้นขนาดเล็ก ไม้ดอก วิธีการปลูกที่เหมาะสมกับขนาด และโครงสร้างอาคาร ในด้านการบำรุงรักษา ผู้จัดการโครงการจะต้องมีองค์ความรู้ในการบำรุงดิน การรดน้ำ การควบคุมคุณภาพผลผลิต และศัตรูพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ดาดฟ้า ประโยชน์ด้านสังคมที่พบโดยเด่นชัดที่สุด คือ การเป็นพื้นที่การเรียนรู้ในเรื่องการเกษตรให้คนเมือง เข้าใจที่มาของอาหาร และการเป็นพื้นที่ส่วนกลางที่แสดงอัตลักษณ์ของชุมชน ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ทั้งในเรื่องความหลากหลายระบบนิเวศและพืชพรรณ การพัฒนาคุณภาพอากาศ การลดความร้อน การชะลอน้ำฝนในระดับเมืองจนถึงอาคาร ด้านเศรษฐกิจ เป็นประโยชน์ที่ต่อเนื่องจากด้านอื่น ๆ ทั้งการลดลงของค่าใช้จ่ายในการขนส่งอาหาร ราคาอาหาร ค่าใช้ของจ่ายอาคารและครัวเรือน การเพิ่มตำแหน่งงาน การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหน่วยงาน และเพิ่มการตระหนักถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่ดาดฟ้าบนอาคารในเมือง


Institutional Dynamics And Adaptive Capacity In World Heritage Management: Case Studies From Southeast Asia, Montira Unakul Jan 2019

Institutional Dynamics And Adaptive Capacity In World Heritage Management: Case Studies From Southeast Asia, Montira Unakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Over the past 40 years, heritage site management institutions have had to contend with expanding “boundaries of practice”: the evolution of heritage concepts and the emergence of global and transnational threats and broader sustainable development issues. Yet, many heritage site management institutions are still mired in conventional heritage mandates and approaches. This study looks at the ability of World Heritage site management institutions to adapt to this changing landscape. Global monitoring exercises show that World Heritage sites are struggling with this increased complexity, with many sites under active monitoring, sometimes for years. The sluggishness of change suggests that a deeper …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบในพื้นที่รอยต่อเมืองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, กชกร ธรรมกีรติ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบในพื้นที่รอยต่อเมืองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, กชกร ธรรมกีรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันในกรุงเทพมหานครมีการขยายตัวสู่จังหวัดปริมณฑลโดยเฉพาะในพื้นที่รอยต่อของกรุงเทพและปริมณฑลมีการพัฒนาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ทำให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการเริ่มหันมาอยู่อาศัยและลงทุนโครงการที่อยู่อาศัยชานเมืองบริเวณพื้นที่รอยต่อ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลนั้นมีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีข้อกำหนดทางกฎหมายเป็นข้อบังคับและจำกัดแนวทางการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ได้แก่ กฎหมายผังเมือง กฎหมายควบคุมอาคาร ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้ซื้อคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่มีความเห็นว่าโครงการคอนโดมิเนียมระหว่างกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการแตกต่างกัน ซึ่งปัจจัยความแตกต่างของราคาที่พักอาศัยและปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อห้องพักอาศัยมากที่สุด และกลุ่มผู้ซื้อบ้านเดี่ยวส่วนใหญ่มีความเห็นว่าโครงการบ้านเดี่ยวระหว่างกรุงเทพมหานครและนครปฐมแตกต่างกันและความแตกต่างนั้นส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่พักอาศัย ซึ่งปัจจัยความแตกต่างของราคาที่พักอาศัย ปัจจัยด้านบุคคลากร และปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่พักอาศัยมากที่สุด และในส่วนของแนวทางการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบพบว่าการแบ่งเขตระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลไม่มีผลต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย


โอกาสและข้อจำกัดในการนำแนวคิดเกษตรในชุมชน มาใช้ในการฟื้นฟูชุมชนที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ กรณีศึกษา เคหะชุมชนคลองจั่น, กันติกร มหาโชติกุล Jan 2019

โอกาสและข้อจำกัดในการนำแนวคิดเกษตรในชุมชน มาใช้ในการฟื้นฟูชุมชนที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ กรณีศึกษา เคหะชุมชนคลองจั่น, กันติกร มหาโชติกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เคหะชุมชนคลองจั่น เป็นโครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ มีอายุใช้งานมากว่า 40 ปี มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เก่าและไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยไม่ดีเท่าที่ควร และขาดพื้นที่ส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาโอกาสและข้อจำกัดในการนำแนวคิดเกษตรในชุมชนมาใช้ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในเคหะชุมชนคลองจั่น โดยศึกษาปัจจัยทางกายภาพ ปัจจัยด้านผู้อยู่อาศัย ปัจจัยด้านการเคหะแห่งชาติ และปัจจัยด้านการบริหารจัดการโครงการ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และนำผลการศึกษาไปวิเคราะห์โอกาสและข้อจำกัดในการพัฒนาชุมชนเพื่อเป็นข้อเสนอต่อการเคหะแห่งชาติในการพัฒนาและปรับปรุงแผนการดำเนินงานเพื่อการฟื้นฟูชุมชนต่อไป จากการศึกษาพบว่า เคหะชุมชนคลองจั่น มีทั้งโอกาสและข้อจำกัดในการฟื้นฟู ดังนี้ (1) ปัจจัยทางกายภาพ เป็นโอกาส เนื่องจากมีพื้นที่ที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินการและการเพาะปลูก (2) ปัจจัยด้านผู้อยู่อาศัย เป็นข้อจำกัด โดยพบผู้อยู่อาศัย 2 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าของห้อง และผู้เช่า ทั้งสองกลุ่มมีความต้องการในการทำเกษตรในชุมชน แต่พบว่ามีเพียงเจ้าของห้องที่มาเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งกลุ่มเจ้าของห้องเป็นผู้สูงอายุ มีจำนวนที่น้อยกว่าผู้เช่า มีรายได้น้อย ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการทำเกษตรกรรม ทำให้เป็นข้อจำกัดในด้านการบริหารจัดการโครงการด้วย (3) ปัจจัยด้านการเคหะแห่งชาติ เป็นโอกาส สามารถให้การสนับสนุนการใช้พื้นที่ชั่วคราวได้ และเงินลงทุนในเบื้องต้นบางส่วน แต่ต้องการให้คนในชุมชนเข้ามาร่วมดำเนินการและลงทุน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ความเป็นเจ้าของชุมชน และเพื่อให้ชุมชนเป็นผู้ดูแลรักษาพื้นที่ จึงสามารถสรุปได้ว่าเคหะชุมชนคลองจั่นมีโอกาสในปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพและปัจจัยด้านการเคหะแห่งชาติ แต่ยังพบข้อจำกัดในปัจจัยด้านผู้อยู่อาศัยและปัจจัยด้านการบริหารจัดการโครงการ จากผลการวิจัยจึงมีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการเปลี่ยนข้อจำกัดให้เป็นโอกาสในการฟื้นฟูชุมชนด้วยแนวคิดเกษตรในชุมชน คือ (1) ส่งเสริมการทำกิจกรรมระหว่างผู้อยู่อาศัยทั้ง 2 กลุ่ม และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น เสริมสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการดำเนินการเกษตรในชุมชน ทั้งในด้านการดูแลรักษาพื้นที่ การบริหารจัดการโครงการ และการลงทุน เพื่อสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง และความเป็นเจ้าของชุมชน (2) การเคหะแห่งชาติและชุมชน ควรร่วมมือกันกำหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนาโครงการฯอย่างชัดเจน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับการเคหะแห่งชาติและภาคีที่จะให้การสนับสนุน นอกจากนี้หากการทำเกษตรในชุมชนประสบผลสำเร็จ การเคหะแห่งชาติและชุมชนอาจช่วยกันผลักดันให้เคหะชุมชนคลองจั่นเป็นชุมชนตัวอย่าง เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้จากการฟื้นฟูด้วยแนวคิดเกษตรในชุมชนกระจายสู่ชุมชนอื่น ๆ ของการเคหะแห่งชาติต่อไป


การจัดสวัสดิการที่พักอาศัยให้พนักงานโรงงานทอผ้าโดยเจ้าของกิจการในพื้นที่ชานเมืองด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานคร, จิตสุภา ศรัทธาทิพย์ Jan 2019

การจัดสวัสดิการที่พักอาศัยให้พนักงานโรงงานทอผ้าโดยเจ้าของกิจการในพื้นที่ชานเมืองด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานคร, จิตสุภา ศรัทธาทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อุตสาหกรรมทอผ้าเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานในการดำเนินกิจการจำนวนมาก ผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งจึงมีการจัดที่พักอาศัยสวัสดิการให้กับแรงงาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ หรือเป็นเครื่องมือจูงใจในการทำงาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและแนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักอาศัยสวัสดิการให้กับแรงงานโรงงานทอผ้าของผู้ประกอบการ รวมถึงทัศนคติของแรงงานที่มีต่อที่พักอาศัย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโรงงาน 3 แห่ง ขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ขนาดละ 1 แห่ง ในพื้นที่อำเภอ อ้อมน้อย อ้อมใหญ่ และไร่ขิง สำรวจพื้นที่ที่พักอาศัยสวัสดิการ และสัมภาษณ์แรงงานโรงงานทั้ง 3 แห่ง จำนวน 41 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวคิดการจัดให้มีที่พักอาศัยของผู้ประกอบการโรงงานทั้ง 3 แห่งมีความแตกต่างกัน โดยผู้ประกอบการโรงงานขนาดใหญ่เห็นว่าที่พักสำหรับแรงงานเป็นสวัสดิการที่อำนวยความสะดวกให้แรงงาน ซึ่งเหมาะสมกับลักษณะงานของโรงงาน ในขณะที่โรงงานขนาดกลางจัดให้มีที่พักสวัสดิการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแรงงาน เพราะแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติ ส่วนโรงงานขนาดเล็กจัดที่พักอาศัยเพื่อเป็นเครื่องมือดึงดูดใจให้แรงงานเลือกทำงานกับโรงงาน และเพื่อให้สามารถแข่งขันกับโรงงานอื่นได้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการโรงงานทั้ง 3 แห่ง คิดว่ารัฐบาลไม่ควรกำหนดให้ต้องมีการจัดที่พักสวัสดิการ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านพื้นที่ ต้นทุนของโรงงาน และความต้องการของแรงงานที่แตกต่างกัน 2) การพัฒนาที่พักอาศัยของโรงงานทั้ง 3 แห่งแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ (1) อาคารที่พักที่อยู่บริเวณเดียวกับโรงงานและ (2) ที่พักที่รวมอยู่เป็นส่วนหนึ่งของอาคารโรงงาน โดยโรงงานขนาดใหญ่และขนาดกลางมีลักษณะที่พักในรูปแบบที่ (1) ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาที่พักอาศัยคือการควบคุมต้นทุนการดูแลอาคารในระยะยาว จึงสร้างอาคารที่ดูแลง่ายและเพื่อลดปัญหาการอยู่อาศัยของแรงงาน 3) แนวทางการบริหารจัดการที่พักอาศัยของโรงงานทั้ง 3 แห่งแตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัยทั้งแนวคิดผู้ประกอบการเอง ลักษณะการดำเนินงาน ลักษณะพฤติกรรมของแรงงาน จำนวนและอายุงานของแรงงาน ทั้งนี้ การบริหารจัดการที่ต่างกันส่งผลต่อสภาพอาคารที่พักให้มีความต่างกันด้วย 4) ความคิดเห็นและความพึงพอใจของแรงงานต่อที่พักอาศัยสวัสดิการ พบว่าแรงงานของโรงงานเล็กมีความพึงพอใจในที่พักอาศัยน้อยกว่าแรงงานของโรงงานอีก 2 แห่ง อย่างไรก็ดีแรงงานส่วนใหญ่มักไม่ต้องการอะไรเพิ่มเติม เนื่องจากเข้าใจว่าเป็นที่พักอาศัยโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าอาศัยภายนอกโรงงาน งานวิจัยฉบับนี้ชี้ให้เห็นแนวคิดของผู้ประกอบการในการจัดให้มีที่พักอาศัยสวัสดิการ แนวทางการพัฒนาและการบริหารจัดการ รวมถึงประโยชน์และข้อจำกัดของการมีที่พักอาศัยสวัสดิการ ผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการคำนึงถึงความเหมาะสมในการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักอาศัยสวัสดิการ รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนที่พักอาศัยของกลุ่มแรงงานผู้มีรายได้น้อยต่อไป


โอกาสและข้อจำกัดในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ตามหลักมาตรการ Pud (Planned Unit Development): กรณีศึกษาโครงการถนนกรุงเทพกรีฑา-ตัดใหม่, จักรกฤช วิสุทธินันท์ Jan 2019

โอกาสและข้อจำกัดในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ตามหลักมาตรการ Pud (Planned Unit Development): กรณีศึกษาโครงการถนนกรุงเทพกรีฑา-ตัดใหม่, จักรกฤช วิสุทธินันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเมือง สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานครได้กำหนดมาตรการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ หรือมาตรการ PUD (Planned Unit Development) ภายใต้ (ร่าง) ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) เพื่อเป็นเครื่องมือในพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้งผู้ประกอบการ ประชาชน และสาธารณะ งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาสและข้อจำกัดในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ตามหลักมาตรการ PUD (Planned Unit Development) โดยคัดเลือกโครงการถนนกรุงเทพกรีฑา-ตัดใหม่ ของ บจม.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค บนที่ดินขนาด 300 ไร่ เป็นกรณีศึกษา โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การออกแบบโครงการจำลอง และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการ ปัจจุบันโครงการเดิม (โครงการถนนกรุงเทพกรีฑา-ตัดใหม่) เป็นโครงการประเภทที่อยู่อาศัยบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮม ประกอบด้วย 5 โครงการย่อย ใน 6 แปลงที่ดิน ตั้งอยู่บนที่ดินที่ผังเมืองรวมกำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินไว้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.3) เมื่อนำโครงการเดิมนี้ มาออกแบบเป็นโครงการที่นำใช้ มาตรการ PUD สามารถปรับย่านการใช้ประโยชน์ที่ดินสูงสุดเป็นประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.6) โดยที่ค่าอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR) ในพื้นที่โครงการไม่เปลี่ยนแปลง เกิดเป็นรูปแบบโครงการที่ผสมผสานระหว่างที่อยู่อาศัยกับกิจกรรมอื่นๆ จากการศึกษาด้านการตลาดของโครงการ เมื่อนำใช้มาตรการ PUD จึงพบความเป็นไปได้ขององค์ประกอบ 4 ประเภท ได้แก่ (1) โครงการเวลเนสเซ็นเตอร์และสปอร์ต คลับ (2) โรงแรม (3) โรงเรียนนานาชาติ และ(4) ศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์ มอลล์ เมื่อนำ 4 องค์ประกอบดังกล่าว มาทำการศึกษาด้านกฎหมาย จึงพบว่ากฎหมายเอื้ออำนวยให้สามารถดำเนินการได้ จากการออกแบบวางผังทางกายภาพโครงการ เมื่อนำใช้มาตรการ PUD เกิดเป็นอัตราการใช้ประโยชน์ที่ดินดังนี้ (1) ที่อยู่อาศัย ร้อยละ 68 (2) โรงเรียนนานาชาติ ร้อยละ 13 (3) โรงแรม ร้อยละ 5 (4) โครงการเวลเนสเซ็นเตอร์และสปอร์ต คลับ ร้อยละ 5 และ(5) …