Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 72

Full-Text Articles in Architecture

บทบาทของรถกับข้าวในการทำให้ชุมชนในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชุมชน “หมู่บ้านลาดพร้าววิลเลจ” ในเขตลาดพร้าว, ณฐมน พุ่มงาม Jan 2019

บทบาทของรถกับข้าวในการทำให้ชุมชนในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชุมชน “หมู่บ้านลาดพร้าววิลเลจ” ในเขตลาดพร้าว, ณฐมน พุ่มงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรุงเทพมหานครได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ ปี 2553-2544 ส่งผลให้จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยในอนาคต เนื่องจากยังขาดองค์ประกอบเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยอยู่หลายประการ โดยเฉพาะตลาดสดหรือซูเปอร์มาร์เก็ตในระยะละแวกบ้าน จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่ามีการค้ารถกับข้าวเกิดขึ้นในชานเมืองทำหน้าที่เหมือนตลาดสดเคลื่อนที่เข้าหาผู้สูงอายุ นำมาสู่คำถามงานวิจัยที่ว่า รถกับข้าวทำให้ชานเมืองเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุหรือไม่? ปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้รถกับข้าวมีบทบาทต่อเมืองและผู้สูงอายุ? งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฎการณ์รถกับข้าวที่มีผลต่อการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในชานเมืองกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ปัจจัยและบทบาทของรถกับข้าวที่ทำให้เมืองเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ อภิปรายผลการศึกษาและเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาเมือง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงประจักษ์ ผลจากการทบทวนวรรณกรรมและการสังเกตการณ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการค้ารถกับข้าวที่ตลาดบางกะปิจะถูกนำไปใช้ในการสร้างกรอบวิจัย ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลการค้ารถกับข้าวในชุมชนหมู่บ้านลาดพร้าววิลเลจ เขตลาดพร้าว ในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยใช้แบบสังเกตการณ์ แบบสัมภาษณ์ผู้ประกอบการจำนวน 3-5 ตัวอย่างและแบบสอบถามกึ่งสัมภาษณ์ผู้บริโภคสูงอายุ 60-65 ตัวอย่าง เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ และการบอกต่อ ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสังคมเชิงกายภาพ ผลการศึกษาพบว่ารถกับข้าวมีรูปแบบการให้บริการไม่แตกต่างกับรูปแบบการให้บริการรถกับข้าวเมื่อ 10 ปีก่อน แต่ในปัจจุบันพบว่าบริบททางกายภาพเมืองและความต้องการรถกับข้าวของผู้สูงอายุ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลอิทธิพลต่อการคงอยู่ของการค้ารถกับข้าวในชานเมือง ในทางตรงกันข้ามรถกับข้าวก็ส่งอิทธิพลต่อเมืองและผู้สูงอายุในลักษณะของการเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายและเป็นที่ต้องการสำหรับคนสูงอายุในย่านชานเมืองซึ่งก็คือ ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ตหรือแหล่งซื้อกับข้าวที่อยู่ในละแวกบ้าน อาจสรุปได้ว่ารถกับข้าวเป็นองค์ประกอบที่ไม่เป็นทางการของเมืองที่เปลี่ยนชานเมืองกรุงเทพมหานครให้เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ ด้วยการเคลื่อนที่เข้าหาผู้สูงอายุและความยืดหยุ่นตอบรับกับความต้องการของผู้สูงอายุทั้งในด้านสินค้าและบริการ ส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างสะดวก นอกจากนั้น การค้ารถกับข้าวก่อให้เกิดพื้นที่ทางสังคมในชั่วขณะเอื้อให้ผู้สูงอายุออกมาทำกิจกรรมทางสังคม พบปะผู้คน อันส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุ ในสถาการณ์ โควิด-19 รถกับข้าวช่วยให้ผู้คนในชุมชนสามารถกักกันตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยไม่ได้รับผลกระทบด้านการเข้าถึงอาหาร


คุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของผู้หญิง: กรณีศึกษา เคาน์เตอร์เครื่องสำอาง, กิตติมา วงษ์มะเซาะ Jan 2019

คุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของผู้หญิง: กรณีศึกษา เคาน์เตอร์เครื่องสำอาง, กิตติมา วงษ์มะเซาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจความงามมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการแข่งขันสูง ส่งผลให้บริษัทเครื่องสำอางต่างพัฒนารูปแบบเคาน์เตอร์เครื่องสำอางเพื่อดึงดูดผู้บริโภค การออกแบบแสงก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถสร้างบรรยากาศที่ดีรวมไปถึงการออกแบบแสงกับกระจกให้ลูกค้าได้ลองใช้สินค้าร่วมกับการประเมินรูปลักษณ์ตนเองเพื่อพิจารณาการซื้อเครื่องสำอาง การศึกษาวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาคุณลักษณะของสีและแสงต่อความพึงพอใจของในเคาน์เตอร์เครื่องสำอาง จากผู้เข้าร่วม 60 คน เข้าทดสอบแบบจำลองเคาน์เตอร์เครื่องสำอางจุดแต่งหน้าที่จัดแสงด้วยลักษณะอุณหภูมิสีของแสง 2700 และ 6500 เคลวิน โดยใช้สีผนังที่แตกต่างกัน 4 สี ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีขาว และสีดำ เพื่อศึกษาผลต่อความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมและการประเมินรูปลักษณ์ตนเองด้วยการให้คะแนนจากคู่คำความหมายตรงข้ามทั้งหมด 8 คู่ ศึกษาในกลุ่มประชากรผู้หญิงพบว่าลักษณะอุณหภูมิสีของแสงและสีของสภาพแวดล้อมมีผลต่อความพึงพอใจของผู้หญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยเคาน์เตอร์เครื่องสำอางที่ใช้ลักษณะอุณหภูมิสีของแสงที่ 6500 เคลวิน ส่งผลต่อความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมผนังสีขาว รองลงมาคือผนังสีแดง งานวิจัยนี้สรุปได้ว่าคุณลักษณะของสีในสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิสีของแสงเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบที่มีส่วนสร้างอารมณ์ในเชิงบวกต่อการประเมินรูปลักษณ์ตนเองและสภาพแวดล้อมเคาน์เตอร์เครื่องสำอาง ดังนั้นการนำไปประยุกต์ใช้ จึงควรพิจารณารูปแบบการตกแต่งภายในร้าน โดยเลือกใช้สีโทนธรรมชาติและสีแท้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม และเลือกใช้แสงทีมีอุณหภูมิสีเหมาะสมกับรูปแบบของผลิตภัณฑ์และบริบทของร้านค้า


การระบุคุณค่าเรือนแถวเก่าริมน้ำประแสเพื่อการอนุรักษ์, นรีรัตน์ ไกรทอง Jan 2019

การระบุคุณค่าเรือนแถวเก่าริมน้ำประแสเพื่อการอนุรักษ์, นรีรัตน์ ไกรทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนริมน้ำประแสเป็นย่านประวัติศาสตร์ อันเป็นพื้นที่ที่ชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน มาตั้งรกรากอยู่ในกลุ่มเรือนแถวไม้ริมแม่น้ำนานกว่าหนึ่งร้อยปี อาชีพหลักของคนในท้องถิ่นคือการจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค และทำการประมงพื้นบ้าน ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าผู้อยู่อาศัยในชุมชนจะตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม และต้องการที่จะรักษาคุณค่าเหล่านั้น แต่พวกเขาไม่สามารถต้านทานการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเมืองที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ ระบบการขนส่ง ตลอดจนวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับแม่น้ำ ได้ส่งผลให้อัตลักษณ์ของชุมชนค่อยๆ สูญหายไป จากผลการสำรวจพื้นที่ภาคสนาม การสัมภาษณ์ชาวบ้าน และกระบวนการประเมินคุณค่า สามารถสรุปได้ว่า เป้าหมายในการอนุรักษ์เรือนแถวเก่าริมน้ำประแส คือการรักษาลักษณะสำคัญของพื้นที่ ซึ่งหมายถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม บนฐานของการใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายและสงบสุข ดังนั้นการอนุรักษ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง ควรครอบคลุมแนวทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสมดุล ในการรองรับคุณภาพชีวิตที่ดี ในขณะที่ส่งเสริมการปรับการใช้สอยตามความต้องการในปัจจุบัน คุณค่าสำคัญที่ควรรักษาไว้ ประกอบด้วย 1) คุณค่าจากภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ ที่รวมถึง องค์ประกอบของเมือง และการตั้งถิ่นฐานบริเวณปากแม่น้ำ ที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และพืชพรรณ เครือข่ายของถนนสายหลักและตรอก ในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตร และพื้นที่สาธารณะริมน้ำ การเชื่อมต่อที่ดีระหว่างกิจกรรมภายในอาคารและทางเดินสาธารณะ และทัศนียภาพอันงดงามของเรือนแถวแบบดั้งเดิม ที่เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างเหมาะสม 2) คุณค่าที่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสถาปัตยกรรม รูปแบบสถาปัตยกรรมและโครงสร้างตามช่วงเวลาก่อสร้าง 4 ช่วง (40-100 ปี) แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบที่มีลักษณะเฉพาะ และแสดงฝีมือช่างในท้องถิ่นแต่ละยุคสมัย และ 3) คุณค่าตามการใช้งานของเรือนแถว อันประกอบด้วยการอยู่อาศัยและการทำงานในร้านค้า และการใช้งานแบบใหม่ที่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของกิจกรรมการท่องเที่ยว


การใช้และการจัดการข้อมูลในแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพอาคารชุด, มยุรฉัตร ฉัตรสุวรรณ Jan 2019

การใช้และการจัดการข้อมูลในแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพอาคารชุด, มยุรฉัตร ฉัตรสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาความต้องการใช้ประโยชน์จากแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling : BIM) ในการบริหารจัดการอาคารชุด (Condominium) จากปัญหาปัจจุบันในการกำหนดระดับการพัฒนาตามทฤษฎีจะเป็นแบบจำลองที่มีความละเอียดสูงสุด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อสรุปความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการอาคารชุด เพื่อทราบลักษณะข้อมูลที่ต้องการใช้จริง และเป็นแนวทางเบื้องต้นในการจัดการข้อมูลด้วยกระบวนการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารที่คาดว่าเหมาะสมกับการบริหารจัดการอาคารประเภทอาคารชุด ผู้วิจัยศึกษาทฤษฎีลักษณะงานการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพอาคารชุด และทฤษฎีการใช้ประโยชน์แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM Uses) ในช่วงการบริหารจัดการอาคาร เพื่อใช้ในการสร้างแบบสอบถามและนำไปสอบถามกลุ่มตัวอย่างในองค์กรที่มีแนวโน้มใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารในการบริหารจัดการอาคารชุด โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 5 ปี จาก ผู้จัดการอาคารชุด จำนวน 35 คน และผู้จัดการวิศวกรรม จำนวน 30 คน เพื่อทราบถึงลักษณะข้อมูลที่ต้องการใช้เพื่อการบริหารจัดการอาคาร รวมถึงได้ทำการสัมภาษณ์ที่ปรึกษาด้านแบบจำลองสารสนเทศอาคารจำนวน 5 คน เพื่อทราบถึงแนวทางการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารในช่วงการบริหารจัดการอาคารชุด ผลการศึกษา ชี้ว่าผู้จัดการอาคารชุดจากกลุ่มตัวอย่าง ให้ความสำคัญมากกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการอาคารชุด โดยมีมุมมองที่ให้ความสำคัญมากที่สุดในเรื่องการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนในเรื่องการวางแผนการซ่อมบำรุง ลักษณะข้อมูลที่ผู้จัดการอาคารเลือกใช้ในวางแผนการบริหารจัดการอาคารชุดมากที่สุดคือเรื่อง กราฟิกในแบบ 2 มิติ ส่วนผู้จัดการวิศวกรรมอาคารเลือกลักษณะข้อมูลในวางแผนการปฏิบัติงานมากที่สุดคือเรื่อง ที่ไม่ใช่กราฟิก คือเอกสารข้อมูล และผลจากการสัมภาษณ์ที่ปรึกษาด้านแบบจำลองสารสนเทศอาคาร พบว่าการจัดการข้อมูลในช่วงบริหารจัดการอาคารควรมีลักษณะที่ต้องลดทอนข้อมูลให้น้อยเฉพาะที่ต้องการใช้ เพื่อการจัดการข้อมูลและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


แนวความคิดและรูปแบบแผงกันแดดในงานสถาปัตยกรรมของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา, ศรัณย์รัตน์ เจริญผล Jan 2019

แนวความคิดและรูปแบบแผงกันแดดในงานสถาปัตยกรรมของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา, ศรัณย์รัตน์ เจริญผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาแนวความคิดและรูปแบบแผงกันแดดในงานออกแบบ ของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ช่วงต้น ระหว่าง พ.ศ. 2509-2515 โดยมุ่งศึกษาสถาปัตยกรรมที่มีการใช้แผงกันแดดเป็นองค์ประกอบหลัก ประกอบด้วยอาคารกรณีศึกษาจำนวน 9 หลัง ได้แก่ โรงแรมมโนราห์ (พ.ศ. 2509) โรงแรมเพรสิเดนท์ (พ.ศ. 2509) ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลสีลม (พ.ศ. 2510) อาคารแอนนา (พ.ศ. 2510) อาคารกรุงเทพสหกล (พ.ศ. 2511) ห้องสมุดสถานสอนภาษาเอ.ยู.เอ (พ.ศ. 2513) บ้านศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอกกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา (พ.ศ. 2514) สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2514) และศูนย์เซเวียร์ (พ.ศ. 2515) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การออกแบบแผงกันแดดในผลงานออกแบบของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา ใน 3 ลักษณะ คือ ประเภทของการกันแดด ตำแหน่งของแผงกันแดด และภาษาสถาปัตยกรรม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เริ่มจากการรวบรวมเอกสารชั้นต้น ได้แก่ หนังสือ และงานวิชาการที่เป็นพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ สถาปัตยกรรมในเขตร้อนชื้น สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย และแบบสถาปัตยกรรมอาคารกรณีศึกษา ประกอบกับเอกสารชั้นรองที่เกี่ยวข้องหรืออ้างถึงศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา การวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาจากแบบสถาปัตยกรรมของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา เป็นหลัก ด้วยการสร้างแบบสถาปัตยกรรมขึ้นใหม่ ประกอบกับการสำรวจและถ่ายภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบแผงกันแดดและผิวอาคาร รวมถึงการสัมภาษณ์บุคคลที่ได้ร่วมงานกับศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา เพื่อศึกษาแนวความคิดและที่มาในการออกแบบ โดยสรุป การออกแบบแผงกันแดดของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา มีการคำนึงถึงทิศทางของการกันแดด ฝน ด้วยการใช้รูปทรงเรขาคณิตในจังหวะและสัดส่วนที่เหมาะสมและมีความหลากหลาย ประกอบกับการใช้วัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้างที่สอดคล้องกับยุคสมัยอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด อันมีส่วนสำคัญในการสร้างอัตลักษณ์ให้กับอาคาร ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสง่างามอย่างเรียบง่าย เรียบร้อย เป็นเอกลักษณ์สำคัญที่ปรากฏในผลงานออกแบบของศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผลจากการศึกษานี้อาจนำไปสู่การพิจารณาในบริบทของสถาปนิกร่วมสมัย ซึ่งจะช่วยต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย


Serial Cultural Heritage Concept, Values Identification, And Management : Case Study Angkor - Phimai Cultural Route, Saowalux Poshyanandana Jan 2019

Serial Cultural Heritage Concept, Values Identification, And Management : Case Study Angkor - Phimai Cultural Route, Saowalux Poshyanandana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Serial cultural heritage refers to groups of cultural heritage sites which are formed as series by significant cultural linkage. It is a category of cultural heritage which has played important roles in World Heritage context, however, it has not been given appropriate attention in general context although it prevails in all cultures. This thesis, therefore, investigated into serial cultural heritage and has clarified its identification, concept, applications, categorization, values identification, and management, both in World Heritage and general contexts, which can be used as initiative frameworks for future works and studies in the issue of serial cultural heritage. To summarize, …


การเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหัน, เทพพิทักษ์ นิลวรรณ์ Jan 2019

การเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหัน, เทพพิทักษ์ นิลวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหัน เป็นชุมชนที่มีความสำคัญและประวัติศาสตร์ยาวนานในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก ซึ่งมีองค์ประกอบทางกายภาพที่สำคัญคือ คลองโอ่งอ่าง ประตูเมือง สะพานหัน บ้านเจ้านาย เรือนแถว และตรอกซอกซอย สะท้อนให้เห็นความสำคัญและความหลากหลายของการใช้พื้นที่ชุมชนเป็นอย่างมาก จากการสำรวจพื้นที่ในปัจจุบันพบว่า ชุมชนยังคงสภาพการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมแบบเดิมอยู่ ในขณะที่พื้นที่ใกล้เคียงในบริบทเดียวกันเกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้การศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานของชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหันจึงเป็นการศึกษาที่สำคัญสะท้อนให้เห็นถึงเหตุและปัจจัยการยังคงสภาพการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมแบบเดิมอยู่ รวมถึงความหลากหลายของการใช้พื้นที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาในพื้นที่ศึกษาพบว่า ปัจจัยเชิงพื้นที่ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญประกอบด้วย 2 ปัจจัยได้แก่ 1) การพัฒนาเครือข่ายเส้นทางสัญจรสมัยรัชกาลที่ 5 และ2) การพัฒนาแปลงที่ดินสมัยรัชกาลที่ 5 ส่งผลให้ค้นพบประเด็น 3 ข้อได้แก่ 1) ลักษณะการเปลี่ยนรูปแปลงที่ดินและการใช้งานที่ดินชุมชน 3 รูปแบบคือ รูปแปลงที่คงเดิม รูปแปลงที่ดินซอยแปลง และรูปแปลงที่ดินผสม 2) พัฒนาการเส้นทางสัญจร 3 ช่วงเวลาคือ ช่วงที่ 1 เป็นแรกเริ่มของเส้นทางตรอกหลักและตรอกรอง ช่วงที่ 2 เป็นการพัฒนาตรอกและตัดถนนใหม่ และช่วงที่ 3 เป็นการพัฒนาตรอกย่อยภายในแปลงที่ดิน ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคือ ลักษณะดั้งเดิม การพัฒนาภายนอกชุมชน การพัฒนาภายในชุมชน และการพัฒนาภายในแปลง และ 3) สัณฐานการใช้พื้นตรอกซอกซอยของชุมชน ทำให้เกิดเอกลักษณ์ที่สำคัญคือ ตรอกยาฉุน ตรอกขี้หมา และตรอกแคบ ซึ่งเกิดจากปัจจัยคือ แปลงที่ดินและการใช้งานมาก่อนกฎหมาย และการพัฒนาภายในแปลง ซึ่งทั้งสามข้อค้นพบทำให้ชุมชนการยังคงสภาพการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมแบบเดิมอยู่ รวมถึงความหลากหลายของการใช้พื้นที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจมีการศึกษาในอนาคตต่อไป


อิทธิพลของอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์เครื่องประดับอัญมณีที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้ซื้อ, ชโลทร สุขเกษม Jan 2019

อิทธิพลของอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์เครื่องประดับอัญมณีที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้ซื้อ, ชโลทร สุขเกษม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์เครื่องประดับอัญมณีที่มีผลต่อการรับรู้ความรู้สึกของผู้ซื้อต่อเครื่องประดับอัญมณีและบรรยากาศภายในตู้ โดยเก็บข้อมูลจากตัวอย่างวิจัยจำนวน 33 คน อายุระหว่าง 23-40 ปี ด้วยแบบสอบถามการจำแนกความหมายของคำ 6 คู่คำตรงข้าม ดำเนินการทดลองในห้องจำลองที่มีการปรับเปลี่ยนปัจจัยภายในตู้จำลอง 18 สภาวะแสง ประกอบด้วย ปัจจัยด้านอุณหภูมิสีของแสง 4000K 6000K และแสงผสมระหว่าง 4000K และ 6000K ปัจจัยด้านสีภายในตู้โชว์ ได้แก่ สีขาวและสีดำ ทำการศึกษากับเครื่องประดับอัญมณีเทียม ทับทิม ไพลิน และเพชร จากผลการวิจัยพบว่าอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของผู้ซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อุณหภูมิสีของแสง 6000K และอุณหภูมิสีของแสงผสมระหว่าง 4000K และ 6000K เมื่อจัดแสดงร่วมกับเครื่องประดับไพลินและเพชร ตัวอย่างวิจัยมีการรับรู้ความรู้สึกเชิงบวก ส่วนสีภายในตู้โชว์ ตัวอย่างวิจัยรับรู้ความรู้สึกเชิงบวกกับสีดำในด้านบรรยากาศ และกับสีขาวในด้านเครื่องประดับ และยังพบว่าปัจจัยด้านสีภายในตู้โชว์ไม่มีอิทธิพลต่อความเป็นประกายของเครื่องประดับ งานวิจัยนี้มีข้อสรุปว่าอุณหภูมิสีของแสงและสีภายในตู้โชว์มีส่วนสร้างการรับรู้ความรู้สึกเชิงบวกต่อเครื่องประดับอัญมณีและบรรยากาศภายในตู้โชว์


เปรียบเทียบกฎหมายการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรม ระหว่าง สปป ลาว และ ไทย, คำเล่า บูนยะวงลี Jan 2019

เปรียบเทียบกฎหมายการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรม ระหว่าง สปป ลาว และ ไทย, คำเล่า บูนยะวงลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กฎหมายการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ใน สปป ลาว มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งหมด 10 ฉบับ ประกอบด้วย กดหมายว่าด้วยกานปกปักฮักสาสิ่งแวดล้อม ดำลัด ข้อตกลง คำแนะนำ และละเบียบกาน ส่วนในประเทศไทย มีมาตั้ง แต่ปี พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งหมด 60 ฉบับ ประกอบด้วย พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง และประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ใน สปป ลาว กำหนดเรื่องการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ กานปะเมินผนกะทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และกานสึกสาเบื้องต้นเกี่ยวกับผนกะทบต่อสิ่งแวดล้อม (IEE) เช่นเดียวกันกับในประเทศไทยกำหนด 2 ประเภท ได้แก่ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เดิมเรียกว่า การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) เมื่อเปรียบเทียบด้านเนื้อหาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) พบว่า ใน สปป ลาว กำหนดประเภทและขนาดโครงการสถาปัตยกรรม ที่ต้องจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3 ประเภท ระยะเวลาการพิจารณารายงานฯ 95 วัน ไม่กำหนดจำนวนครั้งในการแก้ไขรายงานฯ กำหนดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานฯ เฉพาะในช่วงก่อสร้าง และกรณีไม่ส่งรายงานฯ ไม่มีโทษปรับ ส่วนประเทศไทย กำหนดประเภทและขนาดโครงการสถาปัตยกรรม 5 ประเภท ระยะเวลาการพิจารณารายงานฯ 75 วัน การแก้ไขรายงานฯ ทำได้เพียงครั้งเดียว กำหนดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานฯ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และกรณีไม่ส่งรายงานฯ มีโทษปรับ ส่วนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ใน สปป ลาว กำหนดประเภท และขนาดโครงการสถาปัตยกรรม ที่ต้องจัดทำรายงานฯ 4 ประเภท แต่ในประเทศไทย กำหนด 5 ประเภท และบังคับให้จัดทำรายงานฯ เฉพาะในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ทั้งนี้ การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของ …


ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการและปรับปรุงอาคารสำนักงานแนวตั้งให้เป็นอาคารเขียวตามมาตรฐาน Leed O+M V.4.1 : กรณีศึกษาอาคารซันทาวเวอร์ส, ณัฐวิชช์ ชูเกียรติ์ธนากิจ Jan 2019

ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการและปรับปรุงอาคารสำนักงานแนวตั้งให้เป็นอาคารเขียวตามมาตรฐาน Leed O+M V.4.1 : กรณีศึกษาอาคารซันทาวเวอร์ส, ณัฐวิชช์ ชูเกียรติ์ธนากิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาอาคารสำนักงานเดิมให้เป็นอาคารเขียวตามมาตรฐาน LEED O+M V.4.1 จะต้องมีการศึกษาลักษณะทางกายภาพของอาคารสำนักงานโดยรวมก่อน เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล หาจุดบกพร่อง ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับปรุงก่อนเข้าสู่กระบวนการประเมินจริง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงอาคารสำนักงานเก่าตามมาตรฐานอาคารเขียว LEED O+M V.4.1 และศึกษามาตรฐานอาคารเขียว LEED O+M V.4.1 เพื่อนำมาปรับใช้กับอาคารสำนักงานเก่า ผลการศึกษาพบว่า อาคารสำนักงานที่เปิดใช้งานก่อนปี พ.ศ.2540 ที่ผู้วิจัยได้คัดเลือกมาจำนวน 21 อาคาร มีลักษณะเด่นโดยรวมคือ เป็นอาคารที่สูงเกิน 100 เมตรขึ้นไป มีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 80,000 - 100,000 ตารางเมตร จำนวนชั้นอย่างน้อย 20 ชั้น ภายในตัวอาคารจะมีร้านค้าหรือร้านอาหาร เปลือกอาคารมักเลือกใช้กระจกสะท้อนแสง ผนังอาคารส่วนทึบกรุหินแกรนิต หรือปิดผิวด้วยอลูมิเนียมคอมโพสิต ระบบปรับอากาศเลือกใช้ระบบ Water Cooled Package ด้วยลักษณะร่วมที่เด่นชัดดังกล่าวจึงได้เลือกอาคารซันทาวเวอร์สมาเป็นอาคารกรณีศึกษา ผลการประเมินก่อนการปรับปรุงอาคารได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 74/100 คะแนน ซึ่งจะได้รับการรับรองในระดับ GOLD แสดงให้เห็นว่าถึงแม้อาคารจะไม่มีการปรับปรุง แต่ถ้าหากอาคารมีการบริหารจัดการที่ดีพอ ดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอก็สามารถได้รับการรับรองเกณฑ์ LEED O+M V.4.1 ในระดับ GOLD ได้ ดังนั้น การปรับปรุงเพื่อให้ได้การรับรองในระดับ PLATINUM จึงมีความเป็นไปได้เป็นทางเลือกที่น่าจะทำ หลังการปรับปรุงในระดับ PLATINUM อาคารซันทาวเวอร์สได้คะแนนทั้งสิ้น 81/100 คะแนน ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงทั้งสิ้น 12,309,824.00 บาท คิดเป็น 100.11 บาท/ตร.ม. การปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (เปลี่ยนหลอดไฟ, ปรับปรุงหอทำความเย็น) สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้จริง แต่จะไม่ได้คะแนน LEED เพิ่ม เนื่องจากส่วนที่ปรับปรุงเป็นสัดส่วนการใช้พลังงานที่น้อยมากเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ดังนั้น การปรับปรุงอาคารเพื่อทำคะแนนในหัวข้อคะแนน จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากกว่าการทำคะแนนในข้อประสิทธิภาพ


สมรรถนะการใช้งานและประสิทธิภาพด้านพลังงานของแผ่นหลังคาเหล็กที่มีระบบการเคลือบสีแตกต่างกัน, ธนพล ไคร้งาม Jan 2019

สมรรถนะการใช้งานและประสิทธิภาพด้านพลังงานของแผ่นหลังคาเหล็กที่มีระบบการเคลือบสีแตกต่างกัน, ธนพล ไคร้งาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพความคงทนต่อการกัดกร่อน การเปลี่ยนแปลงของสีบนแผ่นเหล็กเคลือบสีที่มีระบบสีแตกต่างกัน รวมทั้งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคาร แผ่นเหล็กเคลือบสีใช้ในการทดสอบประกอบด้วยระบบสีโพลีเอสเตอร์ชั้นเดียวและสองชั้น และแบ่งตามโทนสี ทำการทดสอบแบบเร่งสภาวะในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ความคงทนต่อการกัดกร่อนด้วยการพ่นละอองน้ำเกลือเป็นเวลา 1,000 ชั่วโมง และความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมเป็นเวลา 2,000 ชั่วโมง จากนั้นทำวัดค่าการสะท้อนรังสีอาทิตย์และจำลองการใช้พลังงานด้วยโปรแกรม VisualDOE 4.1 เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าระบบปรับอากาศก่อนและหลังการทดสอบดังกล่าว ผลทดสอบพบว่าแผ่นเหล็กเคลือบสีสองชั้นมีความคงทนต่อการกัดกร่อนดีกว่าแผ่นเหล็กเคลือบสีชั้นเดียว ชั้นเคลือบโลหะอะลูมิเนียมผสมสังกะสีจะมีความคงทนต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่าชั้นเคลือบสังกะสี สังเกตได้จากลักษณะการกัดกร่อนที่มีการพองตัวของสีและการเกิดสนิมขาวตามรอยกรีดผิวหน้าของชิ้นงานทดสอบ การเปลี่ยนแปลงของสีบนแผ่นทดสอบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อมีระยะเวลาการทดสอบนานขึ้น สีโทนอ่อนจะมีค่าการเปลี่ยนแปลงสูงสุด แผ่นเหล็กเคลือบสีสองชั้นที่มีชั้นเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสีมีค่าการเปลี่ยนแปลงของสีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับชิ้นงานอื่น หากประเมินเทียบกับมาตรฐานแล้ว สีโทนกลางทุกตัวอย่างทดสอบมีค่าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไม่เกิน 5 หน่วย การสะท้อนรังสีอาทิตย์หลังการทดสอบความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมมีค่าลดลงระหว่างร้อยละ 0.10 ถึง 3.30 แผ่นเหล็กเคลือบสังกะสีเคลือบสีสองชั้น สีโทนกลาง มีค่าลดลงสูงสุดร้อยละ 7.80 และแผ่นเหล็กเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสีเคลือบสีสองชั้น โทนเข้ม มีค่าการสะท้อนรังสีอาทิตย์สูงขึ้น เนื่องจากผลกระทบจากการเสื่อมสภาพของชั้นเคลือบสีภายนอก ทำให้เกิดไทเทเนียมไดออกไซด์ที่มีส่วนประกอบเป็นผงสีขาวบนผิวตัวอย่างทดสอบ การจำลองการใช้พลังงานไฟฟ้าของระบบปรับอากาศ แผ่นเหล็กเคลือบสีโทนอ่อนมีการใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำสุด หากพิจารณาตลอดปี เดือนมีนาคมมีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดและต่ำสุดในเดือนธันวาคม การใช้พลังงานไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้านค้าเปิดเวลา 7:00 น. เวลา 14:00 น. ที่มีการใช้พลังงานสูงสุดและจะลดลงมาจนกระทั่งปิดร้านเวลา 21:00 น. การเลือกแผ่นหลังคาเหล็กสีโทนอ่อนเคลือบอะลูมิเนียมผสมสังกะสีและเคลือบสีสองชั้นจะช่วยเพิ่มอายุการใช้งานทางด้านสมรรถะของวัสดุ ทั้งยังลดการถ่ายเทความร้อนสู่ตัวอาคาร ประหยัดพลังงานที่ใช้กับระบบปรับอากาศภายในอาคารได้ถึงร้อยละ 34 หากเทียบกับการใช้สีโทนเข้ม หรือร้อยละ 18 หากเป็นสีโทนอ่อนเหมือนกัน


การพัฒนาโปรแกรมเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อช่วยในการประเมินประสิทธิภาพการใช้พื้นที่อาคารเรียนในมหาวิทยาลัย, ปวริศร์ คำมุลตรี Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อช่วยในการประเมินประสิทธิภาพการใช้พื้นที่อาคารเรียนในมหาวิทยาลัย, ปวริศร์ คำมุลตรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มหาวิทยาลัยได้กำหนดแนวทางการพัฒนาในด้านการบูรณาการ การพัฒนาและบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมกายภาพ อาคารสิ่งก่อสร้าง และพื้นที่ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการนั้นได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาทำการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร พร้อมทั้งจัดทำรายงานส่ง อย่างไรก็ตามปริมาณข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์นั้นมีจำนวนมากและข้อมูลมีความซับซ้อน ซึ่งขาดการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดระหว่างหน่วยงาน รวมถึงใช้ระยะเวลาในการประเมินมาก ในการวิจัยนี้จึงได้พัฒนาเครื่องมือที่ช่วยในการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารร่วมกับการใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร โดยมีขั้นตอนในการใช้งานแบ่งเป็น 4 ส่วนหลักคือ ส่วนที่ 1 การเตรียมระบบข้อมูลสำหรับเป็นฐานข้อมูลและการแสดงผล และการเตรียมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร ส่วนที่ 2 การตั้งค่าฐานข้อมูลและกระบวนการเชื่อมโยงข้อมูล ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร และการแสดงผลในแบบแปลนและในรูปแบบรายงาน ทั้งในระดับอาคารและระดับคณะ/สำนัก ส่วนที่ 4 เสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร ในรูปแบบรายงาน จากการใช้งานเครื่องมือที่ได้พัฒนาสำหรับแต่ละอาคาร ใช้เวลาแต่ละขั้นตอนประมาณ 5 นาที ซึ่งทำให้ได้ผลลัพธ์ 4 อย่าง ได้แก่ 1) การแสดงผลการประเมินตามค่าระดับสีในแบบแปลนบนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร 2) รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารในระดับอาคาร 3) รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารในระดับคณะ/สำนัก 4) รายงานแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร โดยในส่วนโปรแกรมที่ได้พัฒนานี้จะทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างแบบจำลองสารสนเทศอาคารและฐานข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานข้อมูลในแบบจำลองสารสนเทศอาคาร รวมถึงช่วยลดระยะเวลาในการประเมินผล


องค์ประกอบทางกายภาพของห้องชุดพักอาศัยแบบ 1 ห้องนอนที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางใจของผู้อยู่อาศัย: กรณีศึกษาโครงการอาคารชุด บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), เมธาวี อื้ออารีย์กุล Jan 2019

องค์ประกอบทางกายภาพของห้องชุดพักอาศัยแบบ 1 ห้องนอนที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางใจของผู้อยู่อาศัย: กรณีศึกษาโครงการอาคารชุด บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), เมธาวี อื้ออารีย์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาแนวคิดสุขภาวะทางใจหรือความสุขเป็นสิ่งที่อยู่ในความสนใจมายาวนาน แต่การศึกษาเรื่องสุขภาวะทางใจในการอยู่อาศัยนั้นยังมีการศึกษาไม่มากนัก ในปัจจุบันการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยมีจํานวนอาคารชุดที่เพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ประเด็นเรื่องสุขภาวะทางใจในการอยู่อาศัยในอาคารชุดจึงเป็นเรื่องที่ควรได้รับการคํานึงถึงอย่างยิ่ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพของห้องชุดและสุขภาวะทางใจในการอยู่อาศัย เพื่อวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางกายภาพที่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อสุขภาวะทางใจในการอยู่อาศัย และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนารูปแบบองค์ประกอบทางกายภาพของห้องชุด โดยใช้การรวบรวมแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม ในการพัฒนาเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้อยู่อาศัยในรูปแบบห้องชุด 1 ห้องนอนของโครงการลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา, ลุมพินี เพลส รัชโยธิน และลุมพินี เพลส พระราม4 – กล้วยน้ำไท รวมจํานวน 146 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติร่วมกับการวิเคราะห์ผังห้องชุด ผลการศึกษาพบว่า (1) ลักษณะทางกายภาพของรูปแบบห้องชุด 4 รูปแบบ ในรูปแบบ B1 จากโครงการลุมพินี เพลส รัชโยธินและรูปแบบ C1 จากโครงการลุมพินี เพลส กล้วยน้ำไท มีรูปแบบการวางผังเหมือนกัน ส่วนในรูปแบบ A1 และ A2 จากโครงการลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา มีความแตกต่างกันที่รูปแบบ A2 มีระเบียงบริเวณส่วนนอน ทั้งนี้รูปแบบ A1 และ A2 นั้นจะแตกต่างจากรูปแบบ B1 และ C1 อย่างชัดเจนในลักษณะการวางผัง, ลำดับการเข้าถึง, การกำหนดขอบเขตและการเชื่อมต่อในแต่ละพื้นที่ (2) ลักษณะครัวเรือน ลักษณะการอยู่อาศัยและปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางใจของผู้อยู่อาศัย จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 รูปแบบห้องชุด พบว่ามีความแตกต่างกันในบางหัวข้อ ได้แก่ อาชีพหลัก ในรูปแบบ B1 ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา ส่วนรูปแบบอื่น ๆ เป็นพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน, ระดับรายได้ มีความหลากหลายในแต่ละรูปแบบ โดยจะอยู่ในช่วง ต่ำกว่า 20,000 – 60,000 บาท, ผู้อยู่อาศัยร่วมกัน ในรูปแบบ C1 ส่วนใหญ่อยู่อาศัยคนเดียว ส่วนรูปแบบอื่น ๆ อยู่อาศัยร่วมกับครอบครัว และลักษณะที่อยู่อาศัยเดิม ในรูปแบบ …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบในพื้นที่รอยต่อเมืองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, กชกร ธรรมกีรติ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบในพื้นที่รอยต่อเมืองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, กชกร ธรรมกีรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันในกรุงเทพมหานครมีการขยายตัวสู่จังหวัดปริมณฑลโดยเฉพาะในพื้นที่รอยต่อของกรุงเทพและปริมณฑลมีการพัฒนาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ทำให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการเริ่มหันมาอยู่อาศัยและลงทุนโครงการที่อยู่อาศัยชานเมืองบริเวณพื้นที่รอยต่อ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลนั้นมีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีข้อกำหนดทางกฎหมายเป็นข้อบังคับและจำกัดแนวทางการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ได้แก่ กฎหมายผังเมือง กฎหมายควบคุมอาคาร ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้ซื้อคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่มีความเห็นว่าโครงการคอนโดมิเนียมระหว่างกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการแตกต่างกัน ซึ่งปัจจัยความแตกต่างของราคาที่พักอาศัยและปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อห้องพักอาศัยมากที่สุด และกลุ่มผู้ซื้อบ้านเดี่ยวส่วนใหญ่มีความเห็นว่าโครงการบ้านเดี่ยวระหว่างกรุงเทพมหานครและนครปฐมแตกต่างกันและความแตกต่างนั้นส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่พักอาศัย ซึ่งปัจจัยความแตกต่างของราคาที่พักอาศัย ปัจจัยด้านบุคคลากร และปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่พักอาศัยมากที่สุด และในส่วนของแนวทางการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบพบว่าการแบ่งเขตระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลไม่มีผลต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย


การปรับปรุงวิธีการออกแบบทาวน์เฮาส์ที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, จุฬาลักษณ์ อมรเศรษฐพงศ์ Jan 2019

การปรับปรุงวิธีการออกแบบทาวน์เฮาส์ที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, จุฬาลักษณ์ อมรเศรษฐพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เพื่อให้แบบทาวน์เฮาส์ของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ในแต่ละโครงการมีลักษณะเฉพาะ ทำให้ขั้นตอนการออกแบบทาวน์เฮาส์และชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปปัจจุบัน ใช้ระยะเวลานานถึง 63 วัน ในขณะที่การก่อสร้างทาวน์เฮาส์พร้อมกัน 7 คูหา ใช้ระยะเวลาเพียง 50 วัน จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะลดเวลาและขั้นตอนการออกแบบทาวน์เฮาส์และชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โครงการทาวน์เฮาส์พฤกษาวิลล์ ที่ใช้เป็นกรณีศึกษา มีขนาด 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ และที่จอดรถ 1 คัน ประกอบด้วยชิ้นส่วนผนังคอนกรีตสำเร็จรูปจำนวน 29 ชิ้น 29 รูปแบบ จากงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่า เมื่อใช้ระบบประสานพิกัด ลดรูปแบบช่องเปิด และเพิ่มระยะริมช่องเปิด สามารถลดรูปแบบชิ้นส่วนผนังคอนกรีตสำเร็จรูป เหลือเพียง 20 ชิ้น 11 รูปแบบเท่านั้นแต่ทาวน์เฮาส์จะมีแบบเรียบๆเหมือนกันหมด แต่ละโครงการไม่มีลักษณะเฉพาะ นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดการใช้วิธียื่นครีบผนัง เปลี่ยนตำแหน่งผนัง และเชื่อมระนาบแผ่นผนัง ที่นอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาน้ำรั่วซึมบริเวณรอยต่อของผนังแล้ว ยังช่วยให้แบบทาวน์เฮาส์มีความแตกต่างกัน ผู้วิจัยจึงออกแบบชิ้นส่วนผนังคอนกรีตสำเร็จรูปจำนวน 87 ชิ้น 16 รูปแบบ มาใช้ทดลองออกแบบทาวน์เฮาส์ ได้ 4 แบบ ที่แตกต่างกัน จึงเสนอให้ฝ่ายสถาปนิกและฝ่ายโรงงาน ประชุมจัดทำแบบทาวน์เฮาส์มาตรฐาน โดยให้สถาปนิกใช้วิธีดังกล่าว ออกแบบทาวน์เฮาส์เพิ่มเติม ให้ได้หลากหลายแบบ และเก็บเป็นคลังแบบ ส่วนฝ่ายโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป เตรียมไว้ในคลัง เมื่อมีโครงการใหม่ ทางโครงการใช้วิธีเลือกแบบทาวน์เฮาส์ และเลือกชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป จากคลัง ไปก่อสร้างได้ทันทีเป็นการลดเวลาและขั้นตอนการออกแบบทาวน์เฮาส์และชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปลงได้ ทั้งนี้การพัฒนาคลังรูปแบบและชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่เสนอนี้ ยังสามารถพัฒนาเข้าสู่ แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling-BIM) ได้ต่อไป


รูปแบบโครงการคอนโดมิเนียมที่มีการขายโดยวิธีการรับประกันผลตอบแทนกับผู้ซื้อของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย, ชลิดา บุญหยง Jan 2019

รูปแบบโครงการคอนโดมิเนียมที่มีการขายโดยวิธีการรับประกันผลตอบแทนกับผู้ซื้อของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย, ชลิดา บุญหยง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการคอนโดมิเนียมที่มีการขายโดยเสนอผลตอบแทนแก่ผู้ซื้อภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดหรือการรับประกันอัตราผลตอบแทนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการนำโครงการไปบริหารโดยการปล่อยเช่าในรูปแบบต่างๆเพื่อจ่ายคืนเป็นผลตอบแทนให้ผู้ซื้อ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาลักษณะทางกายภาพและสภาพของโครงการ อัตราผลตอบแทนที่ให้กับผู้ซื้อและเงื่อนไขการขาย รวมถึงวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทน ใช้การรวบรวมข้อมูลช่วงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ – 31 สิงหาคม 2562 ผ่านเว็บไซด์ที่มีการขายโครงการลักษณะนี้และคัดเฉพาะโครงการที่สร้างแล้วเสร็จทั่วประเทศไทยเป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่ามี 67 โครงการ นอกจากนี้ยังใช้วิธีการสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ประกอบการหรือผู้ที่มีส่วนร่วมพัฒนา กลุ่มตัวอย่างในระดับผลตอบแทนน้อยจำนวน 6 โครงการ 5 บริษัท วิเคราะห์ผลโดยการจัดกลุ่มเปรียบเทียบและใช้สถิติเชิงพรรณนารวมถึงสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า 1) การกำหนดกลยุทธ์การขายคอนโดโดยผู้ประกอบการเสนอผลตอบแทนแก่ผู้ซื้อ มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการคือ (1) เพื่อเร่งการขายเนื่องจากมีคอนโดที่ยังค้างอยู่ในสต๊อกจึงต้องสร้างแรงจูงใจให้ผู้ซื้อ และ (2) เพื่อลดการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินโดยใช้เงินจากผู้ซื้อมาลงทุนพัฒนาโครงการแทนซึ่งผู้ซื้อส่วนใหญ่ซื้อคอนโดเพื่อการลงทุนมากกว่าอยู่อาศัยเอง 2) ลักษณะโครงการส่วนใหญ่สร้างระหว่างปี 2555-2562 ซึ่งตั้งอยู่ต่างจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวพบมากที่สุดในภาคใต้ (ภูเก็ต) และพัฒนาโดยผู้ประกอบการที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลักษณะอาคารส่วนใหญ่สูงไม่เกิน 8 ชั้น มีห้องพักทั้งแบบสตูดิโอจนถึง 3 ห้องนอน ราคาขายประมาณ 90,000-100,000 บาทต่อตารางเมตร มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญคือพื้นที่ต้อนรับและห้องอาหาร 3) การให้ผลตอบแทนกับผู้ซื้อพบว่าร้อยละ 82 ให้อัตราผลตอบแทนน้อยคือ 5-7% ต่อปี มีระยะเวลารับประกันต่ำกว่า 5 ปี (2-5ปี) เมื่อหมดสัญญาแล้วผู้ซื้อจะได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าของห้องชุดกลับคืน รองลงมาคือให้อัตราผลตอบแทนปานกลางและสูงคือ 7-9% ต่อปี และมากกว่า 9% ต่อปี มีระยะเวลารับประกันมากกว่า 5 ปี (5-20 ปี) เมื่อหมดสัญญาแล้วผู้ซื้อสามารถเลือกเงื่อนไขได้ว่าจะจัดการดูและห้องชุดด้วยตนเองหรือต่อสัญญากับโครงการหรือขายห้องชุดคืนโครงการซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละโครงการ 4) ลักษณะการบริหารโครงการพบว่าผลตอบแทนน้อยมีการบริหารจัดการโดยการนำไปปล่อยเช่าระยะยาว ในขณะที่ผลตอบแทนปานกลาง-สูง มีการปล่อยเช่าระยะสั้น 5) ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือระยะเวลาในการรับประกันผลตอบแทน โดยระยะเวลาการประกันผลตอบแทนยาวนานย่อมให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าโครงการที่ให้ระยะเวลารับประกันผลตอบแทนสั้น งานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นรูปแบบของโครงการคอนโดมิเนียมที่มีการขายโดยวิธีรับประกันผลตอบแทนที่มีอยู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย รวมถึงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจซื้อโดยเฉพาะการทำความเข้าใจลักษณะและที่มาที่ไปของเงื่อนไขต่างๆ ทั้งนี้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีการขายลักษณะดังกล่าว


แนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงสถาปัตยกรรมของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา โครงการเดอะรูมสุขุมวิท69 และ เดอะรูมสาทร-ถนนปั้น, ชุติมา ศรีอรุณ Jan 2019

แนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงสถาปัตยกรรมของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา โครงการเดอะรูมสุขุมวิท69 และ เดอะรูมสาทร-ถนนปั้น, ชุติมา ศรีอรุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการสำรวจในปัจจุบันมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยในแนวสูงหรืออาคารชุดเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมากในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเนื่องจากการเจริญเติบโตของเมือง ในพื้นที่เขตชั้นในมีจำนวนจำกัดการพัฒนาอาคารสูงจึงเป็นทางเลือกที่ผู้ประกอบการต่างเลือกใช้นำมาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์และในปัจจุบันประชาชนก็หันมาอยู่อาศัยในอาคารประเภทอาคารชุดกันมากขึ้น ในประเทศเกาหลีใต้นั้นมีงานวิจัยที่ศึกษาถึงผลกระทบจากการอยู่อาศัยในอาคารสูงว่าด้วยลักษณะของอาคารที่สูงขึ้นไปนั้นทำให้มีความกังวลใจ ผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารสูงที่ตั้งแต่ชั้นที่ 18 ขึ้นไป อัตราเกิดโรควิตกกังวลสูงขึ้น ความดันเลือดสูงขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและเด็กทารก ผู้อยู่อาศัยมีความเครียดมากขึ้นจากเสียงรบกวน และการใช้งานลิฟต์รวมไปถึงด้านความปลอดภัยและอุบัติเหตุจึงเป็นเป็นที่มาในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะของผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารชุดในกรุงเทพมหานคร และหาแนวทางในการพัฒนาที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดที่ส่งเสริมสุขภาวะของผู้อยู่อาศัยต่อไป โดยศึกษาจากผู้อยู่อาศัย รวมไปถึงนำความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญมาสรุปผลเพื่อหาแนวทางโดยการเก็บข้อมูลใช้วิธีการเก็บแบบสอบถามและสัมภาษณ์ โดยลงพื้นที่ศึกษาโครงการเดอะรูมสุขุมวิท69 และเดอะรูมสาทร-ถนนปั้น ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าการอาศัยอยู่ในโครงการที่มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินส่งผลกับสุขภาวะของตนมากที่สุดเป็นอันดับแรก รองลงมา 4 อันดับ พบว่าเป็นปัจจัยด้านการบริหารจัดการทั้งสิ้น เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยภายในผู้อยู่อาศัย พบว่าปัจจัยทางด้านกายภาพทั่วไปมีผลคล้ายคลึงกับมุมมองของผู้อยู่อาศัย ส่วนกลุ่มปัจจัยลักษณะทางกายภาพของโครงการและกลุ่มปัจจัยการบริหารจัดการ มีความแตกต่างกัน ในด้านความสูงอาคาร จากการอาศัยอาคารชุดที่อาศัยในระดับชั้นที่แตกต่างกัน 3 ระดับ ได้แก่ ชั้น 1 – 8 ชั้น 9 – 24 และชั้น 25 ขึ้นไป มีระดับสุขภาวะไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มีความเห็นว่าปัจจัยทางด้านสังคมมีความ สำคัญต่อสุขภาวะของผู้อยู่อาศัยจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ปัจจัยบริหารจัดการ ในส่วนของปัจจัยด้านกายภาพที่ดีจะส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยมีสุขภาวะที่ดีขึ้น


การศึกษาผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่รอบโครงการรูปแบบผสม กรณีศึกษา โครงการ ไอคอนสยาม, วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน และ สามย่านมิตรทาวน์, นลินี ตรัสบวร Jan 2019

การศึกษาผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่รอบโครงการรูปแบบผสม กรณีศึกษา โครงการ ไอคอนสยาม, วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน และ สามย่านมิตรทาวน์, นลินี ตรัสบวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมของโครงการรูปแบบผสม กรณีศึกษา โครงการ ไอคอนสยาม, วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน และ สามย่านมิตรทาวน์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลกระทบมีตั้งแต่ช่วงก่อสร้างและหลังก่อสร้างโครงการ รูปแบบของผลกระทบมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ แบ่งผลกระทบออกเป็น 3 ด้าน ประกอบไปด้วย 1. ด้านเศรษฐกิจ 2. ด้านสังคม 3. ด้านสิ่งแวดล้อม 2) ในช่วงระยะเวลาของการก่อสร้าง ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีลักษณะรูปแบบเหมือนกัน แต่ผลที่ได้รับแตกต่างกันขึ้นอยู่กับระยะห่างจากโครงการ ส่วนใหญ่ในระยะ 0-100 เมตร ชุมชนได้รับผลกระทบเรื่องฝุ่นละออง กลิ่น และเสียงดังรบกวน ในระยะ 101-500 เมตร และระยะ 501-1,000 เมตร ได้รับผลกระทบได้เรื่องจราจรติดขัด จึงได้ข้อเสนอแนะแนวทางการลดผลกระทบ 1) หน่วยงานรัฐ ควรปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันโดยให้โครงการรูปแบบผสมในส่วนของศูนย์การค้าจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ 2) ผู้ประกอบการควรจัดตั้งบุคคลหรือนิติบุคคลฯที่มีความชำนาญการ ดำเนินการตรวจติดตามและวัดผลตั้งแต่เริ่มโครงการ ตลอดจนโครงการเปิดให้บริการ 3)ผู้ประกอบการควรศึกษาปัญหากับชุมชนก่อนที่จะมีการก่อสร้างอาคาร นำข้อจำกัดไปพิจารณากำหนดแนวทางเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน


กลยุทธ์ในการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยกรณีศึกษา บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน), พรรณรัตน์ หะรารักษ์ Jan 2019

กลยุทธ์ในการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยกรณีศึกษา บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน), พรรณรัตน์ หะรารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่ถือว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศเป็นอย่างมาก โดยมีความสำเร็จของภาคเอกชนเป็นรากฐานที่สำคัญ แต่ก็เป็นธุรกิจที่มักจะได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอาคารชุดมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงมากในปัจจุบัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์ระดับองค์กรของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงวิธีการในการรับมือกับสภาพเศรษฐกิจในแต่ละปีที่ส่งผลถึงกลยุทธ์ระดับผลิตภัณฑ์ และแนวคิดในการพัฒนาของอาคารชุดแต่ละแบรนด์ที่มีในปัจจุบัน จากการเลือกกรณีศึกษาที่มีความโดดเด่นด้านรายได้ คือบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารเผยแพร่ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ รายงานข้อมูลประจำปี (56-1) และเอกสารอ้างอิงต่างๆ จากนั้นจึงเก็บข้อมูลปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) แบ่งโครงสร้างบริษัทเป็นฝั่งแวลูและพรีเมียม ซึ่งมีกลยุทธ์และแนวคิดที่แตกต่างกัน โดยฝั่งแวลูเน้นการสร้างฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่เป็นหลัก ไม่ซับซ้อน เน้นราคาและทำเล ส่วนฝั่งพรีเมียมเน้นการสร้างความแตกต่างจากไลฟ์สไตล์ลูกค้า ในส่วนของเป้าหมายและการกำหนดทิศทางของแต่ละปีนั้น บริษัทคำนึงถึงการปรับตัวตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยการสร้างแบรนด์ให้เกิดความหลากหลาย ครอบคลุมทุกกลุ่มตลาด เพื่อที่จะสามารถปรับตัวให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ในทุกสภาวะเศรษฐกิจ ผลการศึกษาสรุปว่า กลยุทธ์การพัฒนาสำหรับอาคารชุดพักอาศัยของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) คือการขยายพอร์ทให้เติบโตและยืดหยุ่นตามสภาวะตลาด โดยการสร้างธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ และบริการที่หลากหลาย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปรับตัวตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในแต่ละปี ซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วงระยะเวลา คือ ช่วงที่ 1 (พ.ศ.2550-2553) เริ่มพัฒนาโครงการอาคารชุด ใช้กลยุทธ์การบริหารต้นทุนและกระจายการลงทุน สอดคล้องกับนโยบาย BOI ของรัฐบาล ช่วงที่ 2 (พ.ศ.2554-2557) เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่และปัญหาการเมือง จึงยังคงเน้นกลยุทธ์การบริหารต้นทุนเป็นหลัก โดยมีกลยุทธ์สร้างเสร็จไว เร่งการรับรู้รายได้และสร้างความแข็งแรงในองค์กรเป็นกลยุทธ์รอง และช่วงที่ 3 (พ.ศ.2558-2562) ตลาดบนเป็นที่ต้องการ เริ่มมีการแข่งขันด้านนวัตกรรม การพัฒนาโครงการแบบมิกซ์ยูส ทำให้เกิดแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับไลฟ์สไตล์ลูกค้ามากขึ้น เน้นกลยุทธ์เพิ่มมูลค่า กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์และการตลาดแบบออนไลน์ โดยที่กลยุทธ์หลักยังคงเป็นเรื่องของการบริหารต้นทุน


กลยุทธ์การตลาดกับการกำหนดค่าใช้จ่ายการตลาดของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วง พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2561, นิอาซีร่า นิสาเฮาะ Jan 2019

กลยุทธ์การตลาดกับการกำหนดค่าใช้จ่ายการตลาดของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วง พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2561, นิอาซีร่า นิสาเฮาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กลยุทธ์การตลาดเป็นแผนสำคัญที่บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องกำหนดเพื่อการดำเนินงาน กลยุทธ์ที่มีเป้าหมายและใช้ในช่วงเวลาต่างกันย่อมส่งผลต่อค่าใช้จ่ายการตลาดที่ต่างกันด้วย ทั้งนี้ การปรับกลยุทธ์และค่าใช้จ่ายถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จของบริษัท งานวิจัยนี้มุ่งศึกษากลยุทธ์การตลาดและค่าใช้จ่ายการตลาดของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (บริษัท) รวมถึงวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายการตลาดกับกลยุทธ์ช่วงพ.ศ. 2557-2561 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญช่วงหนึ่ง รวบรวมข้อมูลจากแบบรายงานประจำปีและงบการเงินของ 20 บริษัท แบ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ 3 แห่ง ขนาดกลาง 5 แห่ง และขนาดเล็ก 12 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลกลยุทธ์โดยการถอดความ หาคำสำคัญ และเปรียบเทียบแต่ละช่วงปี รวมถึงวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายการตลาดตามช่วงเวลา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกลยุทธ์และค่าใช้จ่ายโดยการพิจารณาเงื่อนไขแวดล้อมของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1) การที่เศรษฐกิจชะลอตัวทำให้บริษัทปรับกลยุทธ์ ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน โดยบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กที่เน้นโครงการแนวราบ (กลุ่ม A) มีกลยุทธ์ที่ใกล้เคียงกันคือ การขยายฐานโครงการแนวราบระดับกลาง-บน ขณะที่บริษัทขนาดเล็กที่เน้นโครงการแนวสูง (กลุ่ม B) เน้นพัฒนาโครงการแนวสูงระดับกลาง-ล่างถึงบนเป็นหลัก 2) ประเภทกลยุทธ์ที่นำมาใช้ พบว่า ทุกขนาดบริษัทมีการใช้กลยุทธ์การตลาดที่เหมือนกัน โดยใช้กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุด รองลงมาใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด ซึ่งสะท้อนให้เห็นแนวคิดการพัฒนาที่ให้ความสำคัญด้านอุปสงค์ความต้องการที่อยู่อาศัย โดยมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ทำเล ตลอดจนทำการสื่อสารถึงลูกค้าแต่ละกลุ่มให้เหมาะสม สำหรับกลยุทธ์ด้านราคา บริษัทขนาดใหญ่ใช้มากเป็นอันดับที่ 4 ขณะที่บริษัทขนาดกลางและบริษัทขนาดเล็กใช้มากเป็นอันดับที่ 3 3) การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การตลาดในช่วงปี 2557-2561 พบว่า ทุกบริษัทมีการใช้กลยุทธ์ที่สำคัญคือ การขยายฐานกลุ่มลูกค้าครอบคลุมทุกระดับราคา และการพัฒนาโครงการแนวราบเพิ่มขึ้น ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง และเน้นใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายการตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเช่นกัน 4) อัตราค่าใช้จ่ายการตลาดต่อรายได้ พบว่า ทุกขนาดบริษัทมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทขนาดใหญ่มีอัตราค่าใช้จ่ายการตลาดต่อรายได้น้อยที่สุดเฉลี่ย 7.80% รองลงมาคือบริษัทขนาดเล็ก กลุ่ม B เฉลี่ย 8.75%, บริษัทขนาดกลางเฉลี่ย 9.08% และบริษัทขนาดเล็ก กลุ่ม A เฉลี่ย 9.62% ตามลำดับ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของโครงการแนวราบมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายการตลาด ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นการกำหนดกลยุทธ์การตลาดของบริษัทที่แตกต่างกันในแต่ละปีส่งผลต่อค่าใช้จ่ายการตลาด โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวบริษัทใช้กลยุทธ์ขยายตลาดกรุงเทพฯปริมณฑล ต่างจังหวัด ในระดับกลาง-บน ขณะที่ช่วงเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจะเริ่มใช้กลยุทธ์การขยายตลาดต่างชาติ ตลาดระดับบน และล่าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในการนำไปพิจารณาวางแผนกลยุทธ์และค่าใช้จ่ายการตลาดตามความเหมาะสมของการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย


ปัจจัยการปฏิเสธสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของลูกค้าบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย กรณีศึกษา บริษัท เอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน), พัชญา โพธิรัตน์สมบัติ Jan 2019

ปัจจัยการปฏิเสธสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของลูกค้าบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย กรณีศึกษา บริษัท เอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน), พัชญา โพธิรัตน์สมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยนั้นเป็นสินเชื่อที่ให้แก่ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือกลุ่มบุคคลเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัย โดยมีที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นจำนองเป็นหลักประกัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป รวมถึงการให้สินเชื่อเพื่อรีไฟเเนนซ์ (Re-finance) จากสถาบันการเงินด้วย ดังนั้นปัจจัยที่ทำให้ผู้ขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยไม่ผ่านการอนุมัติจากสถาบันการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นอย่างมาก รวมถึงแนวทางในการแก้ไขสำหรับผู้ขอสินเชื่อที่ไม่ผ่านการอนุมัติ และวิธีการเตรียมความพร้อมในการขอสินเชื่อด้วย ซึ่งการอนุมัติสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยนั้นมีหลายปัจจัยประกอบกันไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอก เช่น มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารแห่งประเทศไทย (LTV) หรือนโยบายของแต่ละสถาบันการเงิน หรือปัจจัยภายในที่เกิดจากตัวผู้ขอกู้เอง เช่น อายุ รายได้ เป็นต้น จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยหลักมี 8 ปัจจัย คือ รายได้ไม่ผ่านเกณฑ์ ที่มาของรายได้ไม่ชัดเจน ภาระหนี้เกิน มีประวัติเครดิตไม่ดี (ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด) อายุ วุฒิการศึกษา ความมั่นคงของอาชีพ เเละเงินออม ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลทุติยภูมิของ ผู้ซื้อโครงการบ้านฟ้า ทาวน์นี่ ปิ่นเกล้า–ดอนหวาย บริษัท เอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) และผู้ซื้อโครงการพอส ไอดี คอนโด บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจัยหลักของการถูกปฏิเสธสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยคือ ภาระหนี้เกิน สรุปผลการศึกษาได้ว่า ปัจจัยการปฏิเสธสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยนั้น เกิดจากตัวผู้ขอกู้เป็นหลัก โดยส่วนใหญ่เเล้วเมื่อคนต้องการซื้อที่อยู่อาศัย มักจะเลือกที่อยู่อาศัยที่ตนอยากได้ เพราะการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยเป็นการสร้างหนี้สินระยะยาว เเละไม่ได้ซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ได้บ่อยๆ ด้วยเหตุนี้ทำให้คนทั่วไปอาจไม่ได้คำนึงถึงความเป็นไปได้ในการซื้อที่อยู่อาศัยนั้น ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้ขอกู้ไม่ผ่าน เพราะความต้องการของตนเองนั้น ไม่สัมพันธ์กับรายได้เเละรายจ่ายที่มีอยู่ ในอนาคต หากผู้ขอกู้ไม่เตรียมความพร้อมให้ตนเองก่อนการขอกู้ ย่อมเป็นเรื่องปกติที่จะถูกปฏิเสธสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่างๆ ควรเตรียมความพร้อมทั้งวินัยทางด้านการเงิน การออม ความโปร่งใสในการเดินบัญชี รวมถึงการประเมินตนเองในการเลือกที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมด้วย ซึ่งผู้ขอกู้ควรเตรียมความพร้อมให้แก่ตนเองในการขอสินเชื่อต่อไป


ความพึงพอใจเครื่องเรือนที่จัดให้พร้อมการขาย ของกลุ่มผู้ซื้อห้องชุดพักอาศัยระดับราคาปานกลาง กรณีศึกษา โครงการเดอะทรี สุขุมวิท 71 และโครงการพลัม คอนโด รามคำแหง สเตชั่น, ปานประดับ สังเขป Jan 2019

ความพึงพอใจเครื่องเรือนที่จัดให้พร้อมการขาย ของกลุ่มผู้ซื้อห้องชุดพักอาศัยระดับราคาปานกลาง กรณีศึกษา โครงการเดอะทรี สุขุมวิท 71 และโครงการพลัม คอนโด รามคำแหง สเตชั่น, ปานประดับ สังเขป

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผู้ประกอบการมีการจัดรายการส่งเสริมการขายหลายรูปแบบเพื่อเร่งระบายสินค้าคงเหลือ เครื่องเรือนพร้อมการขายเป็นรายการส่งเสริมการขายลักษณะหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจต่อผู้ที่มีกำลังซื้อและสนใจครอบครองห้องชุด ให้ตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม พฤติกรรมการใช้งาน และความพึงพอใจเครื่องเรือนที่จัดให้พร้อมการขาย โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ มาวิเคราะห์ร่วมกับแนวคิดการเลือกและการจัดเครื่องเรือนในพื้นที่ขนาดเล็ก แนวคิดความพึงพอใจของมนุษย์ เพื่อสรุปรูปแบบเครื่องเรือนที่สอดคล้องกับพฤติกรรม และลักษณะผู้ซื้อห้องชุด ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 21 – 40 ปี มีราคาห้องชุดส่วนใหญ่ในระดับราคาปานกลางตั้งแต่ 2,000,001 – 2,500,000 บาท รายได้ครัวเรือนต่อเดือนตั้งแต่ 25,001 บาทขึ้นไป รายจ่ายครัวเรือนต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท รายจ่ายห้องชุดต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท มีงบประมาณในการซื้อเครื่องเรือนส่วนใหญ่ 50,001 – 100,000 บาท จากการศึกษาพฤติกรรมการใช้งานเครื่องเรือนพบว่า เครื่องเรือนบางชนิดมีการใช้งานมากกว่า 1 รูปแบบเนื่องจากมีพื้นที่จำกัดและขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการอยู่อาศัย เช่น โซฟา ใช้เพื่อนั่งเล่นและนอนหลับ, โต๊ะกลาง ใช้เพื่อพักผ่อนและทำงาน เป็นต้น มีความพึงพอใจเครื่องเรือนพร้อมการขายที่มีลักษณะติดตายมากกว่าเครื่องเรือนลอยตัว บางชนิดมีที่เก็บของน้อยเกินไป บางชนิดมีขนาดไม่เหมาะสมกับพื้นที่ บางชนิดวัสดุไม่มีความแข็งแรงทนทาน โดยกลุ่มตัวอย่างที่เลือกห้องชุดแบบเครื่องเรือนบางส่วน เนื่องจากอยู่อาศัยเองและต้องการตกแต่งเอง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เลือกห้องชุดแบบเครื่องเรือนพร้อมอยู่ เนื่องจากสะดวกพร้อมอยู่ ต้องการประหยัดงบประมาณ และต้องการปล่อยเช่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้านพฤติกรรมการใช้งานพบว่า เครื่องเรือนที่จัดให้พร้อมการขายในห้องชุดขนาดเล็กสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งานน้อย จึงควรออกแบบให้มีความยืดหยุ่น รองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ควรออกแบบเครื่องเรือนควบคู่กับการวางผังห้องชุด เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า สอดคล้อง และเหมาะสมกับพื้นที่ภายในห้องชุด ควรเพิ่มที่เก็บของทั้งแนวตั้งและแนวนอนให้ได้มากที่สุด จึงไม่ควรจัดเครื่องเรือนพร้อมการขายแบบสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด และมุ่งเน้นการจัดเครื่องเรือนที่จำเป็นต่อการใช้งานมากไปน้อยตามลำดับ โดยคำนึงถึงความต้องการพื้นที่ในแต่ละอิริยาบทพื้นฐานตามหลักการเทียบส่วนมนุษย์ (Human Scale) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ขนาดของพื้นที่ภายในห้องชุดมีผลต่อการจัดวางผังเครื่องเรือน และจุดประสงค์การครอบครองห้องชุดมีผลต่อความต้องการได้รับเครื่องเรือนพร้อมการขาย ข้อเสนอแนะต่อผู้ประกอบการ คือ ควรจัดกลุ่มเครื่องเรือนออกเป็น 3 กลุ่ม แบบ “Typical Priority” เพื่อให้ผู้ซื้อห้องชุดสามารถเลือกรับเครื่องเรือนในรูปแบบที่สอดคล้องกับพฤติกรรม


พฤติกรรมด้านการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้า ในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : พาต้า ปิ่นเกล้า, เอ็มบีเค เซ็นเตอร์, จัตุรัสจามจุรี และเทสโก้ โลตัส พระราม 1, ภัสร์นลิน เลิศดำรงค์ไชย Jan 2019

พฤติกรรมด้านการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้า ในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : พาต้า ปิ่นเกล้า, เอ็มบีเค เซ็นเตอร์, จัตุรัสจามจุรี และเทสโก้ โลตัส พระราม 1, ภัสร์นลิน เลิศดำรงค์ไชย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้า เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุ นำไปสู่การจัดการพื้นที่ภายในห้างสรรพสินค้าที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ ผ่านการใช้วิธีสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้สูงอายุภายที่มาใช้พื้นที่ในห้างสรรพสินค้า สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในด้านการจัดการพื้นที่ภายในห้างสรรพสินค้า (ผู้ประกอบการ) จากผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้สูงอายุเลือกใช้พื้นที่ของห้างสรรพสินค้าเป็นสถานที่ที่มานอกเหนือจากบ้านหรือ Second place โดยพฤติกรรมการมาใช้พื้นที่แตกต่างกันตามจุดเด่นและจุดขายของแต่ละสถานที่ ปัจจัยเรื่องทำเลที่ตั้งของห้างฯ มีผลต่อรูปแบบการเดินทางมาของผู้สูงอายุ ทำให้วัตถุประสงค์ของการมาใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุแตกต่างกันออกไปตามแต่ละสถานที่ 2) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เห็นว่าควรจัดให้มีพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้า โดยจัดให้เป็นพื้นที่สำหรับนั่งมากที่สุด และเป็นพื้นที่ทางสังคมรองลงมาเพื่อลดความเหงา และโดดเดี่ยว ดังนั้นการจัดการพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้าควรพิจารณาประเด็นของพฤติกรรมและความต้องการของผู้สูงอายุควบคู่ไปกับจุดเด่น จุดขายของสถานที่นั้นๆ ผู้ประกอบการตระหนักถึงประเด็นการมาของสังคมสูงวัยและพฤติกรรมนิยมมาใช้พื้นที่ในห้างสรรพสินค้าของผู้สูงอายุ แต่ยังไม่เห็นถึงความสำคัญหรือแรงจูงใจในการพัฒนาพื้นที่ ทั้งนี้ภาครัฐจึงควรออกนโยบายผลักดันและส่งเสริมให้ภาคเอกชนเห็นถึงความสำคัญ สร้างแรงจูงใจในการจัดเตรียมพื้นที่ให้เป็นสวัสดิการพื้นที่ทางสังคมในเมือง ด้วยการรณรงค์ขอความร่วมมือ ลดอัตราภาษีแก่ห้างสรรพสินค้าที่พัฒนาพื้นที่บางส่วนให้เป็นพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุ ให้รางวัล เพื่อดึงดูดให้พื้นที่ห้างสรรพสินค้าอื่นๆ นำไปปฏิบัติตาม เพื่อสวัสดิการด้านพื้นที่ทางสังคมนี้จะได้ครอบคลุมทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน


พฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพกรณีศึกษา : แขกรับเชิญรายการอายุน้อยร้อยล้าน, มณีศร อัฑฒ์วงศ์ไพศาล Jan 2019

พฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพกรณีศึกษา : แขกรับเชิญรายการอายุน้อยร้อยล้าน, มณีศร อัฑฒ์วงศ์ไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเกิดการชะลอตัว ในขณะที่ความต้องการที่อยู่อาศัยของประชากรไทยยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งที่อยู่อาศัยที่ประชากรไทยต้องการนั้นสัดส่วนจะอยู่ที่โครงการระดับราคาสูง ด้วยเหตุนี้ตลาดที่อยู่อาศัยราคาสูงจึงมีการเติบโตสวนทางกับเศรษฐกิจ ปัจจุบันที่อยู่อาศัยมีหลากหลายรูปแบบ โดยทั้งหมดทั้งมวลผู้ประสบความสำเร็จเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเลือกที่อยู่อาศัยได้ครบรูปแบบมากที่สุด ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพ กรณีศึกษาแขกรับเชิญรายการอายุน้อยร้อยล้าน โดยแขกรับเชิญรายการอายุน้อยร้อยล้านต้องเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีรายได้ของธุรกิจ 100 ล้านบาท/ปีขึ้นไป และมีอายุไม่เกิน 45 ปี สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีความสำเร็จในอาชีพ ซึ่งการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมและแนวโน้มการเลือกที่อยู่อาศัย ศึกษาปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในการวางแผนด้านที่อยู่อาศัยของผู้สบความสำเร็จในอาชีพ และเสนอแนะลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพ Generation X และ Y ทั้งนี้ดำเนินการโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูลและใช้การพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกที่อยู่อาศัยคือ ปัจจัยด้านรายได้ สมาชิกครัวเรือน ภูมิลำเนา และช่วงอายุ โดยลักษณะที่อยู่อาศัยที่ต้องการเมื่อประสบความสำเร็จแล้วคือ บ้านเดี่ยวที่ปลูกเอง และอยู่ในบริเวณเดียวกับสถานที่ทำงาน ซึ่งเป็นบริเวณชานเมือง เนื่องจากลุ่มผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีธุรกิจในระดับอุตาหกรรม ดังนั้นข้อจำกัดในการเลือกที่อยู่อาศัยของผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพคือ ทำเล และเวลาในการเดินทาง อีกทั้งยังต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกในที่อยู่อาศัย เช่น ระบบรักษาความปลอดภัย กล้องวงจรปิด พื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ และพื้นที่จอดรถ เป็นต้น ทั้งนี้นอกจากที่อยู่อาศัยที่ใช้เป็นที่พักอาศัยแล้ว ผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพยังพิจารณาที่อยู่อาศัยในด้านการลงทุน หรือการค้าขายอีกด้วย


แนวทางการปรับปรุงพื้นที่ภายนอกอาคาร ตามนโยบายกำลังพลของกองทัพบก:กรณีศึกษา โครงการอาคารสงเคราะห์กองทัพบก (ส่วนกลาง) พื้นที่สามเสน และ พื้นที่พญาไท, ภิญญวัฒน์ รุ่งสิตา Jan 2019

แนวทางการปรับปรุงพื้นที่ภายนอกอาคาร ตามนโยบายกำลังพลของกองทัพบก:กรณีศึกษา โครงการอาคารสงเคราะห์กองทัพบก (ส่วนกลาง) พื้นที่สามเสน และ พื้นที่พญาไท, ภิญญวัฒน์ รุ่งสิตา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการอาคารสงเคราะห์กองทัพบก (ส่วนกลาง) นอกจากเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อสภาพการอยู่อาศัยของกำลังพลและครอบครัวแล้ว ยังมีความสำคัญต่อการเอื้อให้เกิดการใช้พื้นที่เพื่อตอบสนองต่อนโยบายกำลังพลของกองทัพบกที่กำหนดทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณภาพการอยู่อาศัยของกำลังพลทุกระดับชั้นและครอบครัว 2) ด้านสมรรถภาพทางกายของกำลังพล และ 3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ และการใช้พื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการในปัจจุบันกับความสอดคล้องกับนโยบายที่กำหนด เพื่อนำไปสู่แนวทางการปรับปรุงพื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการต่อไป โดยคัดเลือกกรณีศึกษา 2 พื้นที่ซึ่งมีขนาดพื้นที่โครงการใกล้เคียงกัน แต่มีรูปแบบพื้นที่ภายนอกอาคารต่างกัน ได้แก่ พื้นที่สามเสน และ พื้นที่พญาไท โดยรวบรวมข้อมูลลักษณะทางกายภาพจากการสำรวจ รวบรวมข้อมูลการใช้พื้นที่จากการสังเกต การสัมภาษณ์ และการสอบถาม เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยหลักเกณฑ์การประเมินลักษณะทางกายภาพ การแจกแจงจำนวนผู้ใช้พื้นที่ และโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการพื้นที่สามเสนเป็นรูปแบบคอร์ทล้อมด้วยอาคารพักอาศัย ส่วนลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการพื้นที่พญาไทเป็นรูปแบบเส้นแนวยาว โดยผลการประเมินพบว่า โครงการพื้นที่สามเสนมีคะแนนลักษณะทางกายภาพมากกว่าพื้นที่พญาไท คิดเป็น 91 คะแนนต่อ 81 คะแนน โดยเฉพาะปัจจัยด้านขนาด และที่ตั้งขององค์ประกอบต่าง ๆ ของพื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการ อีกทั้งผลการศึกษาเรื่องการใช้พื้นที่พบว่า จำนวนผู้ใช้พื้นที่ภายนอกอาคารทั้งหมดเฉลี่ยในหนึ่งวันในโครงการพื้นที่สามเสนมีมากกว่าพื้นที่พญาไท คิดเป็นร้อยละ 9.69 ต่อร้อยละ 8.41 ของจำนวนผู้พักอาศัยโดยประมาณในแต่ละโครงการ ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่าพื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการพื้นที่สามเสนมีลักษณะทางกายภาพ และการใช้พื้นที่สอดคล้องกับนโยบายที่กำหนดทั้ง 3 ด้าน แต่พื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการพื้นที่พญาไทมีลักษณะทางกายภาพ และการใช้พื้นที่สอดคล้องกับนโยบายเพียง 2 ด้านเท่านั้น ได้แก่ ด้านคุณภาพการอยู่อาศัย และด้านความสัมพันธ์ฯ โดยไม่สอดคล้องกับนโยบายด้านสมรรถภาพทางกายของกำลังพล เนื่องจากไม่พบการใช้พื้นที่เพื่อการออกกำลังกายสำหรับการทดสอบสมรรถภาพทางกายรายการลุกนั่ง อีกทั้งกำลังพลของโครงการพื้นที่สามเสนรู้จักกำลังพลต่างชั้นยศใหม่เพิ่มเติมจากการใช้พื้นที่โดยเฉลี่ยมากกว่ากำลังพลของพื้นที่พญาไท คิดเป็นจำนวน 3.21 คน ต่อ 3.02 คน แนวทางการปรับปรุงพื้นที่ภายนอกอาคารในโครงการให้สอดคล้องกับนโยบายที่กำหนดมากยิ่งขึ้น ได้แก่ การพัฒนาพื้นที่ว่างที่ไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์ การจัดระบบการสัญจรเพื่อเพิ่มเส้นทางออกกำลังกายโดยรอบโครงการ การปรับปรุงพื้นที่เดิมให้เอื้อต่อการใช้ที่สอดคล้องกับนโยบายมากยิ่งขึ้น และการติดตั้งอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกให้ครอบคลุมพื้นที่ประกอบกิจกรรม ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการทั้งด้านการดูแลรักษาสภาพทางกายภาพ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมนโยบาย ตลอดจนด้านคุณภาพการอยู่อาศัยภายในโครงการ นอกจากนี้ควรมีการศึกษาด้านงบประมาณในการดำเนินการ การเงินการลงทุนเพิ่มเติม และควรศึกษาพื้นที่อื่น ๆ ในโครงการอาคารสงเคราะห์กองทัพบก (ส่วนกลาง) เพิ่มเติมเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และหรือมาตรฐานในการออกแบบพื้นที่ภายนอกอาคารส่วนกลางในอนาคตให้สมบูรณ์และตอบสนองนโยบายได้ดีที่สุด


ความต้องการในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, วรรณวสา ขำสุข Jan 2019

ความต้องการในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, วรรณวสา ขำสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปลี่ยนแปลงของประชากรสูงวัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มของประชากรสูงวัยทั่วโลก และมีแนวโน้มของประชากรสูงวัยที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้แต่ละประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบสังคมที่แตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม เช่น นโยบายประเทศ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ รวมถึงมีการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น มีค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการที่ประชากรแต่งงานลดลง การมีลูกลดลง ก็ส่งผลให้สัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเช่นกัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความสำคัญของสถานการณ์ ดังกล่าว และเล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลรักษาเฉพาะทางสำหรับผู้สูงอายุ จึงดำเนินการสร้างอาคารเพื่อดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรขึ้น โดยเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2558 และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอาคารว่า "อาคาร ส.ธ." ถือเป็นศูนย์การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ ซึ่งมีพื้นที่ 18 ชั้นที่มีหน่วยให้บริการดูแลผู้สูงวัยในทุก ๆ ด้าน เพื่อรองรับประชากรสูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ความต้องการของผู้สูงอายุก็แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ ในการศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของการอยู่อาศัยในของผู้สูงอายุ เพื่อนำมาวิเคราะห์ความต้องการในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุและเสนอแนะแนวทาง งบประมาณในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ในที่อยู่อาศัยแต่ละประเภท รวมทั้งติดตามผลการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ พบว่าสมาชิกชมรมฯ ส่วนมากมีที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯชั้นใน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในที่อยู่อาศัยรูปแบบบ้านเดี่ยว มีรายได้หลังเกษียณอยู่ในช่วง 20,001-50,000 บาท มากที่สุด โดยมากจะอาศัยร่วมกับญาติ พี่น้อง และใช้เงินเก็บส่วนตัวเป็นแหล่งเงินในการปรับปรุงที่อยู่อาศัย และมีจำนวนน้อยมากที่จะใช้เงินกู้เพื่อมาปรับปรุง พื้นที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือ ห้องน้ำ จึงควรเตรียมการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ด้วยการปรับปรุงวัสดุพื้นกันลื่นและราวจับช่วยพยุงสำหรับลุกนั่ง ซึ่งจะส่งผลต่องบประมาณในการปรับปรุง และพบว่าหากผู้สูงอายุส่วนมากมีรายได้ที่ 20,001-50,000 บาท จะใช้เวลาในการผ่อนจ่ายค่าอุปกรณ์ประเภทพื้นและราวจับ เป็นเวลามากกว่า 7 เดือน


รูปแบบการบริหารจัดการอาคารชุดของโครงการบ้านเอื้ออาทร ในเขตกรุงเทพมหานคร, วันฟ้า ศรีพวงเพิศ Jan 2019

รูปแบบการบริหารจัดการอาคารชุดของโครงการบ้านเอื้ออาทร ในเขตกรุงเทพมหานคร, วันฟ้า ศรีพวงเพิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการบ้านเอื้ออาทรในรูปแบบอาคารชุดเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งการเคหะแห่งชาติก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองและยกระดับคุณภาพชีวิต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารนิติบุคคลอาคารชุด ศึกษาความพอพึงใจของผู้อยู่อาศัย และวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยในแต่ละรูปแบบ โดยมีขอบเขตการศึกษา คือ ศึกษาโครงการบ้านเอื้ออาทรอาคารชุดในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 นิติบุคคล 4 โครงการ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้จัดการนิติบุคคล การศึกษารายงานประจำปี และแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด แบ่งเป็นนิติบุคคลละ 50 ชุด ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันมีรูปแบบการบริหารจัดการอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ การบริหารโดยเจ้าของร่วมและการบริหารโดยบริษัท และมีโครงสร้างการบริหารจัดการทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 ที่ไม่มีผู้ช่วยผู้จัดการนิติบุคคล ผู้จัดการนิติบุคคลจะควบคุมดูแลฝ่ายปฏิบัติงานเอง รูปแบบที่ 2 มีผู้จัดการนิติบุคคลและผู้ช่วยผู้จัดการนิติบุคคลควบคุมดูแลฝ่ายปฏิบัติงานร่วมกัน และรูปแบบที่ 3 มีผู้ช่วยผู้จัดการนิติบุคคลควบคุมดูแลฝ่ายปฏิบัติงาน ผู้จัดการนิติบุคคลจะดูแลเพียงการวางนโยบายการบริหารเท่านั้น ด้านการจัดจ้างฝ่ายปฏิบัติงาน พบว่า มีรูปแบบการจัดจ้างฝ่ายปฏิบัติการ 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการจัดจ้างบริษัท จัดจ้างผู้อยู่อาศัยในนามบริษัท และจัดจ้างผู้อยู่อาศัย ด้านการวางแผนนโยบาย พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมส่วนใหญ่เน้นการบริหารทางด้านกายภาพ ซึ่งรูปแบบการบริหารโดยบริษัทจะมีนโยบายที่ครอบคลุมมากกว่า ด้านการวางแผนดูแลชุมชน พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมส่วนใหญ่จะมีการวางแผนการงานเป็นรายปีแต่ไม่ระบุเดือนในการทำงาน ต่างจากรูปแบบการบริหารโดยบริษัทที่มีแผนการทำงานเป็นรายปีและระบุเดือนในการทำงาน ซึ่งการบริหารมีเพียงการบริหารตามนโยบาย ไม่มีคู่มือการบริหารนิติบุคคลอาคารชุด ด้านการบริหารจัดการด้านการเงิน พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมมีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย (ขาดทุน) แต่รูปแบบการบริหารโดยบริษัทมีรายรับมากกว่ารายจ่าย (กำไร) และในด้านการจัดเก็บค่าส่วนกลาง พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมมีหนี้ค้างชำระต่อเดือนเฉลี่ยร้อยละ 20-40 แต่รูปแบบการบริหารโดยบริษัทมีหนี้ค้างชำระต่อเดือนเฉลี่ยร้อยละ 2-5 ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกชุมชน พบว่า ทั้ง 2 รูปแบบไม่แตกต่างกันมากนักเพราะทั้ง 2 รูปแบบต่างมีการพัฒนาคุณชีวิตของสมาชิกชุมชนไม่ครบทุกด้าน ด้านความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยในการบริหารทั้ง 2 รูปแบบ ซึ่งแยกการบริหารเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหาร ด้านกายภาพ ด้านความสะอาด ด้านความปลอดภัย ด้านสาธารณูปโภค และด้านการดูแลทรัพย์สิน ระหว่างรูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมและรูปแบบการบริหารโดยบริษัท พบว่า รูปแบบการบริหารโดยเจ้าของร่วมมีระดับความพึงพอใจปานกลางค่อนข้างต่ำ ต่างกับรูปแบบการบริหารโดยบริษัทมีระดับความพึงพอใจปานกลางค่อนข้างสูง เมื่อแยกรูปแบบการบริหาร พบว่า ด้านที่ระดับความพึงพอใจแตกต่างกัน …


ความสัมพันธ์ระหว่างที่อยู่อาศัยกับแหล่งงานของบุคลากรระดับกลาง: กรณีศึกษากระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี, สายธาร หนูเกลี้ยง Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างที่อยู่อาศัยกับแหล่งงานของบุคลากรระดับกลาง: กรณีศึกษากระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี, สายธาร หนูเกลี้ยง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี เป็นหน่วยงานราชการขนาดใหญ่ มีถนนล้อมรอบอยู่ทั้ง 4 ด้าน และมีวิธีการเข้าถึงหลากหลายวิธี รวมถึงมีรูปแบบและระดับราคาของที่อยู่อาศัยที่หลากหลาย ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในวิธีการเลือกที่อยู่อาศัยหรือการเดินทางเข้าสู่แหล่งงาน นำมาซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาลักษณะและที่ตั้งที่อยู่อาศัย พฤติกรรมการเดินทาง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างที่อยู่อาศัยกับที่แหล่งงาน ของบุคลากรระดับกลางในพื้นที่กระทรวงสาธารณสุข โดยใช้วิธีการแจกแบบสอบถาม จำนวน 367 ชุด ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-29 ปี สถานภาพโสด และมีอายุงาน 1-3 ปี ระดับเงินเดือน 18,001-21,000 บาท อาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรี จากกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีทั้งลักษณะการครอบครองที่อยู่อาศัยแบบเป็นเจ้าของเองและเช่า ผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เอง มีผู้ร่วมพักอาศัย จำนวน 2 คน โดยพักอาศัยกับบิดา – มารดา เป็นบ้านเดี่ยว/บ้านแฝด เหตุผลในการเลือกที่ตั้งที่อยู่อาศัยของทุกระดับรายได้ คือ การเดินทางสะดวก เดินทางไปทำงานโดยใช้รถยนต์ส่วนตัว ไม่มีผู้ร่วมเดินทาง ใช้ระยะเวลาเดินทาง 16-30 นาที เหตุผลในการเลือกวิธีการเดินทาง คือ ความสะดวก มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 21-50 บาท/วัน และวิธีการเดินทางที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุด ในการเดินทางไปทำงานของผู้ที่ไม่มีรถส่วนตัว กว่าครึ่งมีความคิดเห็นว่าการโดยสาร รถแท็กซี่ มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในการเดินทางไปทำงาน การถือครองกรรมสิทธิ์แบบเช่าที่อยู่อาศัย มีระดับราคาค่าเช่า 2,501-3,000 บาท/เดือน ภาระค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยจึงเป็นค่าเช่ามากกว่าค่าซื้อที่อยู่อาศัย ผลการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างที่อยู่อาศัยและที่ทำงาน สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มระดับรายได้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในระยะ 10 กิโลเมตรจากที่ทำงาน มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 5.53% ของรายได้ และมีค่าใช้จ่ายในการอยู่อาศัย 13.49% ของรายได้ ปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยการเดินทาง ได้แก่ ระดับเงินเดือน ค่าใช้จ่ายในการอยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และวิธีการเดินทาง ส่งผลต่อการเลือกที่ตั้งที่อยู่อาศัย โดยกลุ่มตัวอย่างที่เช่าที่อยู่อาศัยจะอาศัยอยู่ในระยะ 5 กิโลเมตร พักอาศัยในทำเลที่ใกล้กับกระทรวงสาธารณสุขมากกว่ากลุ่มอื่น และจะอยู่ใกล้กับแหล่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า กลุ่มที่มีรายได้ปานกลางค่อนต่ำ (ระดับรายได้ต่ำกว่า 15,000 -21,000 บาท) ที่เช่าอยู่อาศัยคนเดียวจะพักอาศัยในรูปแบบของ อพาร์ทเมนท์/หอพัก ในระดับราคาค่าเช่า 2,000-2,500 …


การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณสำหรับกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร, อภิชญาฎา ภู่ระหงษ์ Jan 2019

การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณสำหรับกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร, อภิชญาฎา ภู่ระหงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณเป็นสิ่งที่ควรมีการวางแผนทันทีที่มีโอกาส จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่าคนไทยเริ่มวางแผนเกษียณในวัย 42 ปี และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการออมเพื่อเกษียณเมื่ออายุมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเศรษฐกิจ สังคม และที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนวัยก่อนเกษียณช่วงอายุ 40-59 ปี แนวคิดต่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณ และการวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณของกลุ่มคนดังกล่าว โดยสอบถามกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น 400 คน ผลจากการศึกษาพบว่า 1) ผู้ที่มีแนวคิดในการวางแผนฯต่อผู้ที่ยังไม่มีการวางแผนฯในสัดส่วนประมาณร้อยละ 66 : 34 ตามลำดับ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณ ได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ประจำ (ต่อเดือน) รูปแบบที่อยู่อาศัย-ทำเลที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน และการวางแผนด้านที่อยู่อาศัยในวัยเกษียณ 2) การวางแผนด้านที่อยู่อาศัยของผู้ที่มีการวางแผนฯ ร้อยละ 57.3 มีแนวคิดที่จะย้ายที่อยู่อาศัย รูปแบบบ้านปลูกเองเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73.1) ในขณะที่ผู้ที่ยังไม่มีการวางแผนฯร้อยละ 55.1 ต้องการอาศัยอยู่ที่เดิม และกว่าร้อยละ 79.8 ยังไม่มีแนวคิดที่จะปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับวัยเกษียณ 3) การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณพบว่าคนวัยก่อนเกษียณเลือกที่จะวางแผนโดยการออมเงิน (ร้อยละ 70) ในสัดส่วนร้อยละ 21 ของรายได้และเริ่มออมเมื่ออายุเฉลี่ย 32 ปี ในขณะที่ผู้ที่ยังไม่มีการวางแผนฯ ให้เหตุผลที่ยังไม่วางแผนเนื่องจากยังมีภาระหนี้สิน ค่าใช้จ่ายมาก และมีเงินไม่พอที่จะออม (ร้อยละ 55) และจากการประมาณค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาทต่อเดือน จากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มคนวัยก่อนเกษียณช่วงอายุ 40-59 ปีมีการเตรียมความพร้อมในวัยเกษียณด้านการวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณแต่ยังขาดการวางแผนด้านที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการเป็นวัยเกษียณ อีกทั้งยังมีกลุ่มที่ยังไม่วางแผนอีกกว่าร้อยละ 35 ที่มีรายได้ต่อเดือนที่ไม่มากพอ ความมั่นคงในอาชีพ ประกอบกับหนี้สินจากที่อยู่อาศัยส่งผลให้การเตรียมความพร้อมในวัยเกษียณยังรวมถึงการวางแผนค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณน้อยเกินจริง ส่งผลให้ภาครัฐยังต้องมีบทบาทในการในการสนับสนุนกลุ่มคนวัยเกษียณในด้านการวางแผนดังกล่าวเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อบุตรหลาน และส่งเสริมด้านที่อยู่อาศัยเพื่อไม่ให้เกิดหนี้สินในวัยเกษียณ


ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าพักและองค์ประกอบทางกายภาพของโฮสเทลบนถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร, อภินัทธ์ จูฬะติดตะ Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าพักและองค์ประกอบทางกายภาพของโฮสเทลบนถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร, อภินัทธ์ จูฬะติดตะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โฮสเทลเป็นธุรกิจที่พักแรมที่นิยมเนื่องจากลงทุนต่ำ ไม่มีข้อจำกัดที่ตายตัว ทำให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบมาสร้างจุดขายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว จากการศึกษาข้อมูลพบว่าปัจจัยทางด้านกายภาพมีความจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจโฮสเทลและสัมพันธ์กับลักษณะผู้เข้าพักอาศัย งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพและลักษณะผู้เข้าพักรวมถึงหาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวต่อองค์ประกอบทางกายภาพ โดยการสำรวจทางกายภาพและสัมภาษณ์ผู้เข้าพัก จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่าโฮสเทลบนถนนข้าวสารมีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบประกอบด้วย 1.โฮสเทลตึกแถวหรืออาคารพาณิชย์ 2.โฮสเทลบ้านเก่าดัดแปลง 3.โฮสเทลอาคารสร้างใหม่ จำนวนรวม 65 แห่ง จึงนำมาใช้เป็นกลุ่มประชากรในการศึกษา ผลการศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพโฮสเทลพบว่า 1.โฮสเทลแบบตึกแถวส่วนใหญ่มีขนาดตั้งแต่ 1-3 คูหา 3-4 ชั้น พื้นที่ชั้นล่างส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ต้อนรับและนั่งเล่นและบางแห่งมีการเพิ่มคาเฟ่เข้ามาหรือแบ่งให้เช่าชั้นล่างเพื่อสร้างรายได้ พื้นที่พักอาศัยมีห้องนอนรวมที่เป็นเตียง 2 ชั้น เตียงแบบรัง การออกแบบตกแต่งภายนอกและภายในส่วนใหญ่มีการใช้แนวคิดพื้นผิวทางสถาปัตยกรรมโดยการใช้สีเพื่อแบ่งขอบเขตอาคารและตกแต่งภายในโฮสเทลบางแห่งมีการใช้แนวคิดในการออกแบบ ใช้สีและวัสดุเพื่อสร้างความโดดเด่นจากสภาพแวดล้อม 2.โฮสเทลแบบบ้านเก่าดัดแปลงมีพื้นที่เปิดโล่งที่เป็นลักษณะสวนหย่อมอยู่ภายนอกอาคาร ส่วนภายในอาคารเป็นการปรับการใช้งานมาจากบ้านพักอาศัยเก่า 3.โฮสเทลอาคารสร้างใหม่มีพื้นที่นั่งเล่นส่วนกลางหลายจุดและมีพื้นที่ภายนอกอาคารที่มีลักษณะเป็นสระว่ายน้ำและบาร์เครื่องดื่ม จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมผู้เข้าพักกับองค์ประกอบทางกายภาพพบว่า 1.ผู้เข้าพักโฮสเทลตึกแถวที่มีพื้นที่ชั้นล่างเป็นพื้นที่นั่งเล่นและการตกแต่งทั่วไปมีการใช้งานพื้นที่ดังกล่าวในการปฏิสัมพันธ์แต่ไม่สัมพันธ์กับองค์ประกอบทางกายภาพ คือ ต้องการแค่ที่พัก มีรีวิวดี ใกล้ถนนข้าวสารและมีคนแนะนำ พบว่าในโฮสเทลที่มีคาเฟ่และมีการตกแต่งที่โดดเด่นจากสภาพแวดล้อม ผู้เข้าพักมีพฤติกรรมชอบถ่ายรูปหน้าอาคารเพื่อลงสื่อสังคมและมีการใช้งานพื้นที่ในลักษณะส่วนตัว อีกทั้งพื้นที่พักอาศัยเป็นเตียงแบบรังที่ให้ความรู้สึกมิดชิด ให้ความเป็นส่วนตัวซึ่งสัมพันธ์กับเหตุผลในการเข้าพักที่กล่าวว่า แปลก โดดเด่น รู้สึกเป็นส่วนตัว 2.ผู้เข้าพักโฮสเทลบ้านเก่าดัดแปลงพบว่ามีพฤติกรรมการใช้งานในพื้นที่ในโฮสเทลที่บรรยากาศดูสงบเป็นลักษณะพักผ่อนซึ่งสัมพันธ์กับเหตุผลในการเข้าพัก 3.ผู้เข้าพักโฮสเทลอาคารสร้างใหม่พบว่าพฤติกรรมการใช้งานในพื้นที่โฮสเทลส่วนใหญ่อยู่บริเวณภายนอกอาคาร จึงสรุปได้ว่าองค์ประกอบทางกายภาพที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าพักคือ 1.การออกแบบตกแต่งในโฮสเทลที่มีความโดดเด่นส่งผลทำให้เกิดพฤติกรรมการถ่ายรูปเพื่อลงสื่อสังคม 2.พื้นที่ใช้สอย ได้แก่ พื้นที่คาเฟ่ที่มีให้ความเป็นส่วนตัว พื้นที่พักอาศัยที่เป็นเตียงนอนแบบรังให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว และพื้นที่ภายนอกลักษณะสวนหย่อมที่มีการใช้งานในการพักผ่อน