Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 46 of 46

Full-Text Articles in Architecture

Collaborative Community Design Processes In Rural And Urban Settlements In Thailand, Sadanu Sukkasame Jan 2019

Collaborative Community Design Processes In Rural And Urban Settlements In Thailand, Sadanu Sukkasame

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

This paper compares two contrasting processes of low-income community design in rural and urban areas in Thailand. The low-income Srabot community in the urban area is constructing a new settlement on newly purchased land. In parallel, the indigenous Banggloy community is located in the National Park as a community who were forcibly evicted from their village home to an allocated area where they constructed dwellings in the new village. Both cases were supported by housing loans and funding from the Thai Community Organizations Development Institute (CODI)1. The aim of this paper is to examine collaborative learning process based on low-income …


Evaluating The Policy Outcomes For Urban Resiliency In Informal Settlements Since Independence In Dhaka, Bangladesh: A Review, Ishrat Momtaz Badhan, Asma Siddika Jan 2019

Evaluating The Policy Outcomes For Urban Resiliency In Informal Settlements Since Independence In Dhaka, Bangladesh: A Review, Ishrat Momtaz Badhan, Asma Siddika

NAKHARA (Journal of Environmental Design and Planning)

Today's cities are characterized by the process of urbanization, which in most cases is integrated with the escalation of informal settlements due to excessive migration followed by a housing crisis. This is a common situation for most cities in developing countries, such as Dhaka, the capital city of Bangladesh. Dhaka has emerged as one of the fastest growing megacities in recent times, which receives a major number of rural to urban migrants annually due to its growth as the major economic hub of Bangladesh. Dhaka has one of the largest populations among all global cities, which results in a critical …


แนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล : กรณีศึกษาอาคารชุดพักอาศัยหนึ่งยูนิต, นรมณ อุไรเลิศประเสริฐ Jan 2019

แนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล : กรณีศึกษาอาคารชุดพักอาศัยหนึ่งยูนิต, นรมณ อุไรเลิศประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคตในหลากหลายแขนง รวมถึงที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน บทความนี้จึงมุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักในปัจจุบันและอนาคต รวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลโดยใช้วิธีการถอดความ (Coding data) จากบทความทางอินเทอเน็ต งานวิจัย บทความวิชาการ โดยผู้วิจัยพิจารณาคำ วลี และประโยค ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคปัจจุบัน และอนาคต จากนั้นนำมาจัดหมวดหมู่ (Categories) เพื่อกำหนดตัวแปรเบื้องต้นสำหรับตัวขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย 5 ปัจจัยคือ 1) Service 2) Control 3) Visualize 4) Personalize 5) Communicate และจำแนกประเภทของกิจกรรมสำหรับการอยู่อาศัยออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) กิจกรรมทางชีวภาพ 2) กิจกรรมทางการผลิต 3) กิจกรรมทางการปฏิสัมพันธ์ 4) กิจกรรมทางนันทนาการ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงผ่าน 3 องค์ประกอบของกิจกรรมได้แก่ 1) กริยาขั้นตอน 2) เครื่องมือ 3) พื้นที่ เพื่อศึกษาช่องว่างและนำเสนอแนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยก่อนและหลังการบูรณาการภายใต้แนวคิดของตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล ศึกษาโดยใช้กรณีศึกษากลุ่มกิจกรรมที่เกิดขึ้นในอาคารชุดพักอาศัยหนึ่งยูนิต ทั้งหมด 17 กิจกรรม ทำการจำแนกองค์ประกอบของกิจกรรมตามกริยาขั้นตอน เครื่องมือ และพื้นที่ จากนั้นวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง เมื่อนำตัวขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีเข้าไปแทนหรือเสริมในองค์ประกอบเดิม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลให้เกิดลักษณะการเปลี่ยนของที่อยู่อาศัยในเชิงขั้นตอนและกายภาพ 3 ลักษณะได้แก่ 1. ลักษณะลดลง 2. ลักษณะเพิ่มขึ้น 3. ลักษณะไม่เปลี่ยนแปลง การทำงานของตัวขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีเชิงขั้นตอนแบ่งเป็น 2 ลักษณะ 1. ทำงานส่งผลโดยตรงต่อกิจกรรม ประกอบด้วยตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล 3 ปัจจัยคือ Control Visualize และService 2. ทำงานส่งผลทางอ้อมต่อกิจกรรม ประกอบด้วยตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล Personalize และCommunicate ทางด้านกายภาพการออกแบบที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มการใช้งานพื้นที่เพิ่มขึ้นทางด้านผนัง (แนวตั้ง) และเพดาน (แนวนอน) การใช้งานพื้นที่ลดลงทางด้านพื้น (แนวนอน) ประมาน 40 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนการสร้างแนวทางการพัฒนาการการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต


การเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหัน, เทพพิทักษ์ นิลวรรณ์ Jan 2019

การเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหัน, เทพพิทักษ์ นิลวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหัน เป็นชุมชนที่มีความสำคัญและประวัติศาสตร์ยาวนานในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก ซึ่งมีองค์ประกอบทางกายภาพที่สำคัญคือ คลองโอ่งอ่าง ประตูเมือง สะพานหัน บ้านเจ้านาย เรือนแถว และตรอกซอกซอย สะท้อนให้เห็นความสำคัญและความหลากหลายของการใช้พื้นที่ชุมชนเป็นอย่างมาก จากการสำรวจพื้นที่ในปัจจุบันพบว่า ชุมชนยังคงสภาพการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมแบบเดิมอยู่ ในขณะที่พื้นที่ใกล้เคียงในบริบทเดียวกันเกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้การศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานของชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหันจึงเป็นการศึกษาที่สำคัญสะท้อนให้เห็นถึงเหตุและปัจจัยการยังคงสภาพการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมแบบเดิมอยู่ รวมถึงความหลากหลายของการใช้พื้นที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาในพื้นที่ศึกษาพบว่า ปัจจัยเชิงพื้นที่ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญประกอบด้วย 2 ปัจจัยได้แก่ 1) การพัฒนาเครือข่ายเส้นทางสัญจรสมัยรัชกาลที่ 5 และ2) การพัฒนาแปลงที่ดินสมัยรัชกาลที่ 5 ส่งผลให้ค้นพบประเด็น 3 ข้อได้แก่ 1) ลักษณะการเปลี่ยนรูปแปลงที่ดินและการใช้งานที่ดินชุมชน 3 รูปแบบคือ รูปแปลงที่คงเดิม รูปแปลงที่ดินซอยแปลง และรูปแปลงที่ดินผสม 2) พัฒนาการเส้นทางสัญจร 3 ช่วงเวลาคือ ช่วงที่ 1 เป็นแรกเริ่มของเส้นทางตรอกหลักและตรอกรอง ช่วงที่ 2 เป็นการพัฒนาตรอกและตัดถนนใหม่ และช่วงที่ 3 เป็นการพัฒนาตรอกย่อยภายในแปลงที่ดิน ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคือ ลักษณะดั้งเดิม การพัฒนาภายนอกชุมชน การพัฒนาภายในชุมชน และการพัฒนาภายในแปลง และ 3) สัณฐานการใช้พื้นตรอกซอกซอยของชุมชน ทำให้เกิดเอกลักษณ์ที่สำคัญคือ ตรอกยาฉุน ตรอกขี้หมา และตรอกแคบ ซึ่งเกิดจากปัจจัยคือ แปลงที่ดินและการใช้งานมาก่อนกฎหมาย และการพัฒนาภายในแปลง ซึ่งทั้งสามข้อค้นพบทำให้ชุมชนการยังคงสภาพการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมแบบเดิมอยู่ รวมถึงความหลากหลายของการใช้พื้นที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจมีการศึกษาในอนาคตต่อไป


กระบวนการประมาณราคาค่าก่อสร้างอาคารภาครัฐ ใน สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, มะโนสิน จันทะนูไล Jan 2019

กระบวนการประมาณราคาค่าก่อสร้างอาคารภาครัฐ ใน สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, มะโนสิน จันทะนูไล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการประมาณราคาค่าก่อสร้างอาคารภาครัฐใน สปป. ลาว มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา พัฒนาการการประมาณราคาก่อสร้างอาคารภาครัฐใน สปป. ลาว โดยเริ่มจากองค์ความรู้ของสถาบันศึกษาของภาครัฐ กระบวนการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในภาคงานก่อสร้าง จนถึงระเบียบวิธีเอกสารของภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการบริหารโครงการ โดยนำข้อมูลเบื้องต้นมาวิเคราะห์ และจัดทำเป็นโครงสร้างแบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้ปฏิบัติวิชาชีพ และคณาจารย์ผู้ที่เกี่ยวข้องในการศึกษา รวมทั้งสิ้น 15 ท่าน พร้อมทั้งศึกษารวบรวมจากเอกสารของกรณีศึกษาโครงการก่อสร้างอาคารภาครัฐที่ลงทุนแบบปกติ 9 โครงการ ผลการศึกษาพบว่า หลักการการประมาณราคาในการก่อสร้างอาคารของภาครัฐ มีการจัดทำโดย กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง กรมเคหะและผังเมือง ที่แบ่งขั้นความรับผิดชอบการตรวจสอบประเมินราคาก่อสร้างตามลำดับขั้นหน่วยงาน และเจ้าของงบประมาณ คือ ขั้นศูนย์กลาง ขั้นจังหวัด และขั้นเมือง พร้อมกำหนดสัมประสิทธิ์ตัวคูณวัสดุ เกณฑ์การเผื่อ และราคาต่อหน่วยตามประเภทอาคาร ที่ความสูง 1 - 4 ชั้น ใช้เพื่อตรวจสอบประเมินราคาค่าก่อสร้างอาคารภาครัฐ และอยู่ในระหว่างดำเนินการออกประกาศใช้ราคาต่อหน่วยแบบสำเร็จรูป ให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถใช้เป็นฐานอ้างอิงในการตรวจสอบ ในขั้นพิจารณาอนุมัติผ่านงบประมาณก่อสร้าง โดยกระทรวงแผนการและการลงทุนได้แบ่งโครงการลงทุนก่อสร้างออกเป็น 5 ประเภท ซึ่งขึ้นกับวงเงินก่อสร้าง และระยะเวลาดำเนินโครงการ นอกจากนั้น ยังมีความคิดเห็นอื่น ๆ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาระบบการประมาณราคาใน สปป. ลาว ควรเริ่มต้นสร้างระเบียบ และวิธีการประมาณราคาจากสถาบันศึกษาในการผลิตองค์ความรู้ และบุคคลากรสู่การปฏิบัติวิชาชีพ


การพัฒนาเครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการคำนวณปริมาณน้ำฝนไหลหลาก ในขั้นตอนการออกแบบขั้นต้น, ภัทรพล วัชรเมธากุล Jan 2019

การพัฒนาเครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการคำนวณปริมาณน้ำฝนไหลหลาก ในขั้นตอนการออกแบบขั้นต้น, ภัทรพล วัชรเมธากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันปัญหาน้ำท่วมขังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีการพัฒนาแล้ว อาทิเช่น กรุงเทพมหานคร ทำให้ มีเกณฑ์ในการออกแบบต่าง ๆ เช่น เกณฑ์ประเมินอาคารเขียว LEED เกณฑ์ประเมินอาคารเขียว TREES และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อออกแบบจัดการการระบายน้ำฝนไม่ให้ท่วมขังภายในพื้นที่ โดยมีแนวคิดของเกณฑ์ในการออกแบบคือ การหน่วงน้ำภายในพื้นที่ของโครงการให้ได้ปริมาณ หรืออัตราการไหลที่สามารถชะลอให้น้ำภายนอกโครงการระบายลงสู่ระบบสาธารณะได้ทัน ทำให้มีความจำเป็นในการคำนวณปริมาณน้ำฝนไหลหลาก ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณปริมาณน้ำฝนในปัจจุบัน เช่น การคำนวณมือ การใช้ตาราง Microsoft Excel หรือการใช้โปรแกรมเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำฝน มีความซับซ้อน และยุ่งยากแก่นักออกแบบ อีกทั้งยังต้องใช้ความรู้ด้านการจัดการน้ำฝนเพื่อใช้งานเครื่องมือ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) เข้ามาใช้ในการออกแบบโครงการต่าง ๆ โดยโปรแกรมที่ได้รับความนิยมมากในประเทศไทยได้แก่ โปรแกรม Revit ซึ่งภายในจะมีโปรแกรมเสริม Dynamo ที่มีความสามารถในการดึงข้อมูลจากแบบจำลองโปรแกรม Revit มาใช้ในการคำนวณข้อมูลทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน งานวิจัยนี้ได้เลือกพัฒนาเครื่องมือเสริมโดยใช้โปรแกรม Revit และ โปรแกรมเสริม Dynamo ที่สามารถคำนวณปริมาณน้ำฝนไหลหลากได้อย่างอัตโนมัติ และทำการเปรียบเทียบผลการคำนวณเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือ โดยเปรียบเทียบระหว่างเครื่องมือเสริมที่ได้จากการพัฒนา และการถอดปริมาณพื้นที่จากโปรแกรม Revit เพื่อนำมาคำนวณในโปรแกรม Microsoft Excel เครื่องมือเสริมที่ได้จากการพัฒนาประกอบด้วยไฟล์โปรแกรมต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ไฟล์โปรแกรม Revit, ไฟล์โปรแกรม Dynamo และไฟล์โปรแกรม Microsoft Excel โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนในการคำนวณสูงสุดประมาณ ±2.52% ซึ่งเป็นผลมาจากข้อจำกัดในการสร้างแบบจำลองอาคารที่มีผลต่อการใช้งานชุดคำสั่งภายในโปรแกรม Dynamo โดยเฉพาะองค์ประกอบ (Component) ที่มีพื้นผิวจำนวนมาก อาทิเช่น พื้นดิน (Topography) ซึ่งเมื่อใช้งาน Dynamo script เพื่อคำนวณหาพื้นที่รับน้ำที่ขนานกับผิวโลก จะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนที่มากขึ้น


การออกแบบอาคารชุดพักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, ผาไช แสงจะเลีน Jan 2019

การออกแบบอาคารชุดพักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป, ผาไช แสงจะเลีน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันมีความนิยมก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย ด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป เพราะมีแบบห้องชุดพักอาศัยซ้ำกัน ในแต่ละโครงการ หลังจากสถาปนิกออกแบบแล้ว ทางโรงงานจะนำแบบไปปรับแก้ ให้สอดคล้องกับกระบวนการผลิต ซึ่งต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงมีวัตถุประสงค์จะออกแบบอาคารชุดพักอาศัย สำหรับก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยเลือกเอาโครงการ พลัมคอนโด ของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เป็นกรณีศึกษา จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าการใช้ระบบประสานพิกัดและกำหนดขนาดช่องเปิดมาตรฐาน ทำให้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปเป็นระบบมากขึ้น การเพิ่มระยะริมช่องเปิดให้มีระยะมากกว่า 60 เซนติเมตร ทำให้ไม่ต้องปรับระยะตะแกรงเหล็กเสริม และลดความเสี่ยง ที่จะเกิดปัญหาในการขนส่งและประกอบติดตั้ง นอกจากนั้นการยื่นแผ่นพื้นผนังสามารถลดปัญหารอยแตกร้าวบริเวณรอยต่อ และทำให้รูปด้านมีความหลากหลาย ปัจจุบันโครงการ พลัมคอนโด มี 13 แห่ง แต่ละแห่งมีผังพื้นแบบ Double Loaded Corridors ประกอบด้วยห้องชุดพักอาศัยแบบ STUDIO 1 รูปแบบ 1 BEDROOM 6 รูปแบบ 2 BEDROOM 5 รูปแบบ และมีขนาดพื้นที่ต่างกันในแต่ละโครงการ สำหรับข้อพิจารณาด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากเป็นอาคารสูงไม่เกิน 15 เมตร พื้นที่ไม่เกิน 2000 ตรม. ไม่ต้องจัดเตรียมที่จอดรถ ในขณะที่อาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร พื้นที่ไม่เกิน 4000ตรม. จะต้องจัดเตรียมที่จอดรถ หากมีจำนวนห้องไม่เกิน 80 ห้อง ก็ไม่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยจึงเสนอแบบห้องชุดพักอาศัย ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีรูปแบบ และจำนวนที่เหมาะสม มีผังพื้นห้องชุดที่มีรูปแบบและขนาดพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งทางเดินภายในอาคารแบบ Double Loaded Corridors, Single Loaded Corridor และ Open Loaded Corridor สำหรับอาคารชุดพักอาศัยที่มีพื้นที่อาคารไม่เกิน 2000 ตาราเมตร และ 4000 ตารางเมตร สำหรับอาคารชุดพักอาศัย 5 ชั้น (15 เมตร) และ 8 ชั้น (23 …


สถานการณ์ของการจัดทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารก่อสร้างจริงในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2553-2562, สุดากาญจน์ ธนาวุฒิ Jan 2019

สถานการณ์ของการจัดทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารก่อสร้างจริงในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2553-2562, สุดากาญจน์ ธนาวุฒิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันในประเทศไทยได้มีการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building information modeling หรือ BIM) ทั้งในกระบวนการก่อสร้าง และบำรุงรักษาอาคารทำให้กระบวนการทำงานมีความซับซ้อนขึ้นแตกต่างจากวิธีการเดิม ผู้เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้ว่าจ้าง ผู้ออกแบบ ผู้รับจ้างก่อสร้าง และที่ปรึกษาด้าน BIM จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนการทำงาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของแบบจำลองสารสนเทศอาคารก่อสร้างจริง (As-Built BIM) ในประเทศไทย ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำ โดยวิธีการดำเนินการวิจัยคือ กำหนดกรอบงานวิจัย ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มผู้ว่าจ้างจำนวน 3 ท่าน (2) กลุ่มผู้ออกแบบจำนวน 1 ท่าน (3) กลุ่มผู้รับจ้างก่อสร้างจำนวน 4 ท่าน และ(4) กลุ่มที่ปรึกษาด้าน BIM จำนวน 6 ท่าน พบอาคารกรณีศึกษา 12 อาคาร จากการศึกษาพบว่า สถานการณ์ของแบบจำลองสารสนเทศอาคารก่อสร้างจริง (As-Built BIM) ในประเทศไทย อาคารกรณีศึกษาที่มีการพัฒนามาถึง As-Built Model มาจากทั้งองค์กรรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน โดยองค์กรที่มีอาคารที่มีการพัฒนามาถึง As-Built Model มากที่สุด ได้แก่ องค์กรรัฐ องค์กรเอกชน และองค์กรรัฐวิสาหกิจตามลำดับ ประเภทอาคาร ได้แก่ โรงพยาบาล สำนักงาน อาคารเรียน ร้านค้า และอาคารอยู่อาศัยรวม ประเภทอาคารข้างต้นเป็นอาคารที่มีความซับซ้อน หรือมีความซ้ำของรูปแบบห้อง ขนาดอาคารเป็นอาคารขนาดใหญ่ตั้งแต่15,000 – 224,750 ตารางเมตร หรืออาคารขนาดเล็กที่มีการทำซ้ำเป็นจำนวนมาก มูลค่าโครงการเป็นโครงการที่มีมูลค่าสูงตั้งแต่ 324 – 12,500 ล้านบาท ลำดับของกลุ่มที่อยู่ในช่วงดำเนินการใช้ได้แก่ (1) กลุ่มผู้รับจ้างก่อสร้าง (2) กลุ่มผู้ออกแบบ และ (3) กลุ่มผู้ว่าจ้าง โดยวัตถุประสงค์ที่เหมือนกันของทั้ง 3 ผู้เกี่ยวข้องคือ ลดข้อผิดพลาดในการก่อสร้าง วัตถุประสงค์ที่เหมือนกันของผู้ออกแบบและผู้รับจ้างก่อสร้างคือเพื่อจัดส่งงานตามการบังคับใช้ของผู้ว่าจ้าง รายละเอียดของ …


ผลกระทบของความเสียหายในการก่อสร้างที่มีต่อการรับรู้มูลค่าและความพึงพอใจของลูกค้า: กรณีศึกษา คอนโดมิเนียม, รักษพร สุขัมศรี Jan 2019

ผลกระทบของความเสียหายในการก่อสร้างที่มีต่อการรับรู้มูลค่าและความพึงพอใจของลูกค้า: กรณีศึกษา คอนโดมิเนียม, รักษพร สุขัมศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเสียหายของอาคารไม่เพียงแต่ส่งผลต่อโครงสร้างแต่ยังมีผลต่อมุมมองในแง่คุณภาพ ความงามและมูลค่า โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การยอมรับได้ต่อความเสียหายที่มีผลต่อมูลค่าและความพึงพอใจระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มคนทั่วไป รวมถึงศึกษาถึงประเภทความเสียหายและระดับความรุนแรงที่ต่างกัน โดยกำหนดตัวแปรต้นคือ ประเภทความเสียหายและระดับความรุนแรง ตัวแปรตาม คือการประเมินการยอมรับได้และราคา โดยใช้การพิจารณาภาพจำลองความเสียหายที่เกิดจากความชื้น รอยแตกร้าวและรอยเปื้อนสกปรกจากคราบเลอะสีและปูน ในระดับความเสียหายที่ต่างกัน 4 ระดับ ประเมินจากค่าคะแนนระดับการยอมรับได้และมูลค่าตามความพึงพอใจ จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านงานก่อสร้างและกลุ่มคนทั่วไป ผลการศึกษาเมื่อนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีการประเมินที่ใกล้เคียงกัน แต่ในประเด็นร้อยละของราคาที่ลดลงจากความเสียหายที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติในระดับความรุนแรงที่มากกว่า 30% และเมื่อเปรียบเทียบความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งสามประเภท ความเสียหายที่เกิดจากความชื้นและรอยแตกร้าวมีการยอมรับได้ในทุกประเด็นที่น้อยกว่าความเสียหายที่เกิดจากรอยคราบเปื้อน ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทความเสียหายและระดับความรุนแรงมีผลต่อการรับรู้ของทั้งสองกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน ดังนั้นงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในแง่ของการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในงานก่อสร้างที่ไม่ให้เกินเกณฑ์การยอมรับได้คือ ความเสียหายที่เกิดจากความชื้นและรอยแตกร้าวในระดับความรุนแรงไม่เกิน 10% และไม่เกิน20% ของความเสียหายที่เกิดจากรอยเปื้อนเพราะมีผลต่อการยอมรับได้ทั้งในแง่ของคุณภาพและมูลค่าที่ลดลง


การสัญจรทางตั้งภายในโรงพยาบาล กรณีระบบลิฟต์ในอาคารสูงของโรงพยาบาลที่มีหอผู้ป่วยใน, พิมพ์ชนก อร่ามเจริญ Jan 2019

การสัญจรทางตั้งภายในโรงพยาบาล กรณีระบบลิฟต์ในอาคารสูงของโรงพยาบาลที่มีหอผู้ป่วยใน, พิมพ์ชนก อร่ามเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันโรงพยาบาลมีจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นประกอบกับพื้นที่มีจำกัด ทำให้โรงพยาบาลถูกออกแบบให้มีความสูงและจำนวนชั้นที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การสัญจรทางตั้งมีความสำคัญ โดยลิฟต์ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักที่ใช้ในการสัญจรทางตั้งภายในอาคารโรงพยาบาล ซึ่งการออกแบบลิฟต์ภายในโรงพยาบาล มีความซับซ้อนของการใช้งาน โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นเพียงเกณฑ์ขั้นต้นเพื่อความปลอดภัยที่บ่งบอกถึงลักษณะทั่วไปเท่านั้น ทำให้ไม่ได้มีความสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของการใช้งานในอาคารโรงพยาบาล ซึ่งเป็นอาคารที่มีความแตกต่างจากอาคารประเภทอื่นๆ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดในการออกแบบลิฟต์ภายในโรงพยาบาลที่มีหอผู้ป่วยใน ปัญหาและลักษณะการใช้งานของอาคารกรณีศึกษาในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของกลุ่มลิฟต์ภายในโรงพยาบาล โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยคือ ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ศึกษาและวิเคราะห์เส้นทางสัญจรทางตั้งภายในโรงพยาบาลจากแบบทางสถาปัตยกรรม จำนวน 21 อาคาร ประกอบกับการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน สัมภาษณ์กลุ่มผู้ใช้อาคารและสำรวจการใช้งานจริงของอาคารกรณีศึกษา 6 อาคารเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย จากการศึกษาพบว่าการออกแบบกลุ่มลิฟต์ในเส้นทางสัญจรทางตั้ง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการวางตำแหน่งของกลุ่มลิฟต์ ได้แก่ การเชื่อมต่อของเส้นทางสัญจรหลักภายในโรงพยาบาลและแนวทางการขยายทางสัญจรหลักในอนาคต รูปแบบของอาคาร เส้นทางการอพยพในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และการออกแบบเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ลิฟต์ภายในอาคารโรงพยาบาลถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท โดยเริ่มต้นจาก ลิฟต์เตียง ลิฟต์ดับเพลิงที่ส่วนใหญ่จะออกแบบให้เป็นลิฟต์สกปรกในเวลาปกติและลิฟต์สะอาด หากอาคารมีความซับซ้อนมากขึ้นอาจมีการเพิ่มลิฟต์ประเภทอื่นๆ ได้แก่ ลิฟต์โดยสาร ลิฟต์ฉุกเฉิน ลิฟต์ที่จอดรถ เป็นต้น ในการใช้งานจริงพบว่าจำนวนลิฟต์ในอาคารส่วนใหญ่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อมีการซ่อมบำรุง และมีการกำหนดลักษณะการใช้งานของลิฟต์เพิ่มเติมจากที่ผู้ออกแบบได้กำหนดไว้ เนื่องจากการใช้งานอาคารโรงพยาบาลต้องคำนึงถึงมาตรฐานการให้บริการ จึงเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนบางส่วนเพื่อให้ตอบสนองต่อเกณฑ์มาตรฐานการให้บริการในระดับสากล ยกตัวอย่างเช่น มีการกำหนดการใช้ลิฟต์บริการให้ขนส่งได้ทั้งของสะอาดและของสกปรกโดยการแบ่งเวลาการใช้งาน และมีการกันลิฟต์บริการให้เป็นลิฟต์ฉุกเฉิน เป็นต้น โดยผลการวิจัยจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการออกแบบเส้นทางสัญจรทางตั้งภายในโรงพยาบาลได้ในอนาคต


เปรียบเทียบกฎหมายการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรม ระหว่าง สปป ลาว และ ไทย, คำเล่า บูนยะวงลี Jan 2019

เปรียบเทียบกฎหมายการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรม ระหว่าง สปป ลาว และ ไทย, คำเล่า บูนยะวงลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กฎหมายการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ใน สปป ลาว มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งหมด 10 ฉบับ ประกอบด้วย กดหมายว่าด้วยกานปกปักฮักสาสิ่งแวดล้อม ดำลัด ข้อตกลง คำแนะนำ และละเบียบกาน ส่วนในประเทศไทย มีมาตั้ง แต่ปี พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งหมด 60 ฉบับ ประกอบด้วย พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง และประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ใน สปป ลาว กำหนดเรื่องการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ กานปะเมินผนกะทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และกานสึกสาเบื้องต้นเกี่ยวกับผนกะทบต่อสิ่งแวดล้อม (IEE) เช่นเดียวกันกับในประเทศไทยกำหนด 2 ประเภท ได้แก่ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เดิมเรียกว่า การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) เมื่อเปรียบเทียบด้านเนื้อหาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) พบว่า ใน สปป ลาว กำหนดประเภทและขนาดโครงการสถาปัตยกรรม ที่ต้องจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3 ประเภท ระยะเวลาการพิจารณารายงานฯ 95 วัน ไม่กำหนดจำนวนครั้งในการแก้ไขรายงานฯ กำหนดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานฯ เฉพาะในช่วงก่อสร้าง และกรณีไม่ส่งรายงานฯ ไม่มีโทษปรับ ส่วนประเทศไทย กำหนดประเภทและขนาดโครงการสถาปัตยกรรม 5 ประเภท ระยะเวลาการพิจารณารายงานฯ 75 วัน การแก้ไขรายงานฯ ทำได้เพียงครั้งเดียว กำหนดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานฯ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และกรณีไม่ส่งรายงานฯ มีโทษปรับ ส่วนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ใน สปป ลาว กำหนดประเภท และขนาดโครงการสถาปัตยกรรม ที่ต้องจัดทำรายงานฯ 4 ประเภท แต่ในประเทศไทย กำหนด 5 ประเภท และบังคับให้จัดทำรายงานฯ เฉพาะในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ทั้งนี้ การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของ …


ค่าใช้จ่าย การบำรุงรักษา การซ่อมแซมและการเปลี่ยนทดแทนงานระบบพื้นที่ส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูงกรณีศึกษา : อาคารชุด 4 อาคาร ในพื้นที่ส่วนกลางธุรกิจ กรุงเทพมหานคร, ภุชงค์ สุขเสนา Jan 2019

ค่าใช้จ่าย การบำรุงรักษา การซ่อมแซมและการเปลี่ยนทดแทนงานระบบพื้นที่ส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูงกรณีศึกษา : อาคารชุด 4 อาคาร ในพื้นที่ส่วนกลางธุรกิจ กรุงเทพมหานคร, ภุชงค์ สุขเสนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นที่จะศึกษาค่าใช้จ่ายการซ่อมแซมและบำรุงรักษางานระบบในพื้นที่ส่วนกลางที่เกิดขึ้น มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบถึง ลักษณะของค่าใช้จ่ายระบบประกอบอาคาร ในเรื่อง ผลรวมสัดส่วน โอกาสและช่วงราคา ในการเกิดของค่าใช้จ่ายแต่ละระบบประกอบอาคาร ในช่วงเวลา 20 ปี โดยใช้แนวทางการศึกษากรณีศึกษา (Case Study Approach) โดยคัดเลือกกลุ่มอาคารชุดพักอาศัยที่เป็นอาคารสูงตั้งแต่ 23 ชั้น ขึ้นไป ตั้งอยู่ในเขต CBD จำนวน 4 แห่ง โดยนำค่าใช้จ่ายในหมวดการซ่อมแซมและบำรุงรักษามาศึกษาตามวัตถุประสงค์ ผลการศึกษา พบว่าโอกาสการเกิดขึ้นของค่าใช้จ่ายระบบประกอบอาคารในหมวดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ระบบลิฟต์ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด 90-100% เริ่มเกิดค่าใช้จ่ายตั้งแต่ปีที่ 1 รองลงมาเป็นระบบหม้อแปลงไฟฟ้า และระบบไฟฟ้ากำลัง 60-75% เริ่มเกิดค่าใช้จ่ายตั้งแต่ปีที่ 3 โอกาสการเกิดค่าใช้จ่ายในหมวดค่าซ่อมแซม ของระบบไฟฟ้าสำรอง ที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด 50-65 % เริ่มตั้งแต่ช่วงปีที่ 1 รองลงมาเป็น ระบบดับเพลิง มีโอกาสเกิดขึ้น 45-60 % เริ่มมีค่าใช้จ่ายในช่วงปีที่ 3 น้อยที่สุด 5 % เป็นระบบหม้อแปลงไฟฟ้า เกิดขึ้น ในช่วงปีที่ 16 พบโอกาสการเกิดค่าใช้จ่ายในจ่ายในหมวดการเปลี่ยนทดแทน ของระบบลิฟต์ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด 35-55 % เริ่มตั้งแต่ช่วงปีที่ 6 รองลงมาเป็น ปั๊มน้ำเสีย มีโอกาสเกิดขึ้น 10-15 % เริ่มมีค่าใช้จ่ายในช่วงปีที่ 5 น้อยสุด 5 % เป็น การเปลี่ยนทดแทนระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบโทรศัพท์ ระบบควบคุมการเข้า-ออก ระบบดับเพลิง จากงานวิจัยทำให้ทราบว่า ควรจัดเตรียมงบประมาณเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายระบบประกอบอาคาร ในหมวดค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนทดแทน .ในรายการที่สำคัญ ช่วง 20 ปี ได้แก่ ระบบลิฟต์ รายการการเปลี่ยนสลิงลิฟต์ที่เกิดขึ้น 2 รอบ ในช่วงปีที่ 6-8 และปีที่ 14-16 มีราคาค่าใช้จ่ายเริ่มตั้งแต่ 200,000-1,600,000 บาท และระบบที่เกิดค่าใช้จ่าย …


แนวทางการปรับใช้ขนาดช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็ก สำหรับอาคารจอดรถยนต์ จำนวน 200 คัน, มนสิชา แจ่มโนทัย Jan 2019

แนวทางการปรับใช้ขนาดช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็ก สำหรับอาคารจอดรถยนต์ จำนวน 200 คัน, มนสิชา แจ่มโนทัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากกฎกระทรวงฉบับที่ 41 (พ.ศ.2537) เคยมีการปรับปรุงข้อกำหนดให้ช่องจอดรถยนต์เล็กลง จากขนาดกว้าง 2.50 x ยาว 6.00 เมตร เป็น 2.40 x 5.00 เมตร ต่อมามีนโยบายส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ส่งผลให้เกิดการใช้รถยนต์ขนาดเล็กเพิ่มขึ้น โดยการศึกษาเบื้องต้นพบว่าช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็กมีขนาดลดลงเป็น 2.30 x 4.20 เมตร ดังนั้นถ้าขนาดช่องจอดรถยนต์มีขนาดเล็กลง และมีหลายขนาดเพื่อรองรับรถยนต์ที่มีความหลากหลายในปัจจุบันได้ จะส่งผลให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้พื้นที่ช่องจอดรถยนต์ และประหยัดค่าก่อสร้างมากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลที่จะได้รับจากการปรับใช้ช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็กร่วมกับรถยนต์ขนาดทั่วไป จากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างช่องจอดรถยนต์ ทางวิ่ง โครงสร้าง ทางลาด และเปรียบเทียบอัตราส่วนของพื้นที่ระหว่างช่องจอดรถยนต์ขนาดทั่วไปและขนาดเล็กที่แตกต่างกัน เพื่อนำมาศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุนการก่อสร้าง ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อทำการสรุปแนวทางการปรับใช้ขนาดช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็ก สำหรับอาคารจอดรถยนต์ จำนวน 200 คัน จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เมื่อมีการปรับใช้และเพิ่มอัตราส่วนของจำนวนช่องจอดรถยนต์ขนาดเล็กเข้าไปแทนที่ช่องจอดรถยนต์ขนาดทั่วไป สามารถลดขนาดพื้นที่ของอาคารเริ่มต้นได้ 1% และลดลงไปได้มากที่สุดถึง 3-4% โดยพื้นที่มีขนาดเฉลี่ยเท่ากับ 27-31 ตร.ม./คัน หรือลดลงต่อ 1 ชั้น เท่ากับ 2 ตร.ม./คัน นอกจากนี้การลงทุนการก่อสร้างยังลดลงในอัตราส่วนที่เท่ากันตามไปด้วย ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ามีผู้เห็นด้วยต่อการตัดสินใจในการปรับใช้ขนาดช่องจอดรถยนต์ที่เล็กลงและสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง นอกจากประหยัดค่าก่อสร้างมากขึ้นแล้ว พื้นที่เหลือสามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่ขายและพื้นที่เช่าได้ในอาคารชุดระดับปานกลาง-ต่ำ ห้างสรรพสินค้า และสำนักงานในเมือง โดยอัตราส่วนของช่องจอดรถยนต์ที่ต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทและที่ตั้งของอาคาร ซึ่งแนวความคิดนี้สามารถนำไปปรับใช้เป็นมาตรการส่งเสริมการพัฒนาการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน หรือ FAR Bonus ได้ และข้อเสนอแนะงานวิจัยนี้ นอกจากการลดพื้นที่ช่องจอดรถยนต์แล้ว ขนาดของทางวิ่งและทางลาด ควรมีขนาดที่สัมพันธ์กับพื้นที่ของช่องจอดรถยนต์ที่เล็กลงตามไปด้วย เพื่อให้เกิดการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


วัดบ้านเซเวียร์ : สถาปัตยกรรมวัดโรมันคาทอลิกสมัยใหม่ในประเทศไทย, สุภาวรรณ ปันดิ Jan 2019

วัดบ้านเซเวียร์ : สถาปัตยกรรมวัดโรมันคาทอลิกสมัยใหม่ในประเทศไทย, สุภาวรรณ ปันดิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการศึกษาสถาปัตยกรรมวัดบ้านเซเวียร์ ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ในปี ค.ศ.1971 การวิจัยเริ่มจากการตั้งคำถามเกี่ยวกับการผสานความเป็นสากลในสถาปัตยกรรมสมัยใหม่กับเอกลักษณ์เฉพาะในสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมของประเทศไทย การศึกษานี้ใช้ข้อมูลด้านเอกสารและการสัมภาษณ์ รวมทั้งการแยกแยะลักษณะสมัยใหม่และลักษณะดั้งเดิมออกจากกัน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของทั้งสองลักษณะดังกล่าว โดยมุ่งหวังว่าจะนำไปสู่ความเข้าใจแนวความคิดการผสานลักษณะสากลกับลักษณะไทย อันปรากฏเป็นอัตลักษณ์ของวัดโรมันคาทอลิกสมัยใหม่ในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่าสถาปนิกผู้ออกแบบผสานลักษณะสากลกับลักษณะไทยโดยเลือกใช้ลักษณะไทยที่เป็นลักษณะร่วมของสถาปัตยกรรมไทยในแต่ละภูมิภาค และเป็นลักษณะที่ใช้กันโดยทั่วไปในสถาปัตยกรรมทุกฐานานุศักดิ์มาประยุกต์ ผสมผสานกับรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่จนเกิดรูปแบบใหม่ที่มีความเป็นสากลและมีลักษณะไทยแบบกลาง ๆ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นของภูมิภาคไหนหรือของชนชั้นใด สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดการผสานลักษณะสากลกับลักษณะไทย ในสถาปัตยกรรมวัดบ้านเซเวียร์ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) การสังคายนาสากลวาติกันครั้งที่ 2 ที่สร้างกรอบแนวความคิดพื้นฐานสำหรับการสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในสถาปัตยกรรมวัดโรมันคาทอลิกยุคสมัยใหม่ 2) นโยบายของรัฐบาลไทย ที่มีเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมควบคู่ไปกับการส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติไทย ทำให้พระศาสนจักรคาทอลิกหันมาร่วมพัฒนาสังคมไทยและใช้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มีลักษณะไทยมาปรับใช้ในวัดโรมันคาทอลิก 3) แนวทางของคณะเยสุอิต ที่ส่งเสริมการพัฒนาคนรุ่นใหม่ตามแนวความคิดประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพของวัดบ้านเซเวียร์แห่งใหม่ เพื่อรองรับกิจกรรมของกลุ่มปัญญาชนของประเทศไทย และ 4) แนวความคิดของสถาปนิกในงานออกแบบวัดบ้านเซเวียร์ ซึ่งมีมิติของการสืบสาน การปรับเปลี่ยน การคิดใหม่-ทำใหม่ ทำให้เกิดการผสานทั้งลักษณะความเป็นสากลกับลักษณะดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมไทยและโบสถ์คาทอลิกจากตะวันตก


การประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาของอาคารสนามกีฬาในร่ม กรณีศึกษาโรงเรียนและมหาวิทยาลัย, วรรณจิต จันทร์เสละ Jan 2019

การประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาของอาคารสนามกีฬาในร่ม กรณีศึกษาโรงเรียนและมหาวิทยาลัย, วรรณจิต จันทร์เสละ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารสนามกีฬาในร่ม เป็นอาคารช่วงกว้างที่มีศักยภาพในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพและเปรียบเทียบการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาอาคารประเภทสนามกีฬาในร่มร่วมกับการใช้แสงธรรมชาติและไม่ใช้แสงธรรมชาติ และทำการคำนวณการสำรองพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่ โดยทำการเก็บข้อมูลลักษณะทางสถาปัตยกรรม สำรวจการใช้พลังงานไฟฟ้าจริงของอาคารและตารางการใช้อาคารสนามกีฬาในร่ม โดยเก็บข้อมูลอาคารสนามกีฬาในร่มจากภาคส่วนต่างๆ ของประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 22 อาคาร เพื่อสร้างแบบจำลองอาคารต้นแบบในการทดลอง โดยได้ทำการคำนวณพลังงานไฟฟ้าด้วยโปรแกรม System Advisor Model 2018.11.11 และประเมินศักยภาพการนำแสงธรรมชาติมาใช้ภายในอาคารด้วยโปรแกรม DIALux evo 8.2 โดยกำหนดอาคารจำลองทั้งสิ้น 3 ขนาด และ 4 รูปแบบหลังคาอาคารที่หันไปยังทิศทางต่างๆ ทั้งหมด 8 ทิศทาง จากผลการศึกษา พบว่า หลังคาทรงเพิงหมาแหงน มุมเอียงหลังคาที่ 15 องศา หลังคาอาคารหันไปทางทิศใต้ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สูงที่สุด จากข้อมูลพบว่า การติดตั้งช่องแสงธรรมชาติเพียงอย่างเดียวประหยัดไฟฟ้าได้ 20-32% ของการใช้พลังงานต่อวัน แต่อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ผลอื่นๆ เพิ่มเติม พบว่า การติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์หรือการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ร่วมกับการติดตั้งช่องแสงธรรมชาติประหยัดไฟฟ้าได้ 60-75% ของการใช้พลังงานต่อวัน การติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมร่วมกับแบตเตอรี่ประหยัดไฟฟ้าได้ 100% ของการใช้พลังงานต่อวัน ในส่วนของระยะเวลาคืนทุน พบว่า การติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ร่วมกับการติดตั้งช่องแสงธรรมชาติ มีระยะเวลาคืนทุนเร็วที่สุดเท่ากับ 5.1-7.8 ปี ท้ายที่สุดงานวิจัยชิ้นนี้ได้เสนอแนวทางการออกแบบติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของอาคารสนามกีฬาในร่ม โดยคาดการณ์พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในอาคาร ค่าใช้จ่ายในการลงทุนและระยะเวลาคืนทุนจากขนาดพื้นที่ของอาคาร


การพัฒนาโปรแกรมเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อช่วยในการประเมินประสิทธิภาพการใช้พื้นที่อาคารเรียนในมหาวิทยาลัย, ปวริศร์ คำมุลตรี Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อช่วยในการประเมินประสิทธิภาพการใช้พื้นที่อาคารเรียนในมหาวิทยาลัย, ปวริศร์ คำมุลตรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มหาวิทยาลัยได้กำหนดแนวทางการพัฒนาในด้านการบูรณาการ การพัฒนาและบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมกายภาพ อาคารสิ่งก่อสร้าง และพื้นที่ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการนั้นได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาทำการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร พร้อมทั้งจัดทำรายงานส่ง อย่างไรก็ตามปริมาณข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์นั้นมีจำนวนมากและข้อมูลมีความซับซ้อน ซึ่งขาดการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดระหว่างหน่วยงาน รวมถึงใช้ระยะเวลาในการประเมินมาก ในการวิจัยนี้จึงได้พัฒนาเครื่องมือที่ช่วยในการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารร่วมกับการใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร โดยมีขั้นตอนในการใช้งานแบ่งเป็น 4 ส่วนหลักคือ ส่วนที่ 1 การเตรียมระบบข้อมูลสำหรับเป็นฐานข้อมูลและการแสดงผล และการเตรียมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร ส่วนที่ 2 การตั้งค่าฐานข้อมูลและกระบวนการเชื่อมโยงข้อมูล ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร และการแสดงผลในแบบแปลนและในรูปแบบรายงาน ทั้งในระดับอาคารและระดับคณะ/สำนัก ส่วนที่ 4 เสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร ในรูปแบบรายงาน จากการใช้งานเครื่องมือที่ได้พัฒนาสำหรับแต่ละอาคาร ใช้เวลาแต่ละขั้นตอนประมาณ 5 นาที ซึ่งทำให้ได้ผลลัพธ์ 4 อย่าง ได้แก่ 1) การแสดงผลการประเมินตามค่าระดับสีในแบบแปลนบนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร 2) รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารในระดับอาคาร 3) รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารในระดับคณะ/สำนัก 4) รายงานแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร โดยในส่วนโปรแกรมที่ได้พัฒนานี้จะทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างแบบจำลองสารสนเทศอาคารและฐานข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานข้อมูลในแบบจำลองสารสนเทศอาคาร รวมถึงช่วยลดระยะเวลาในการประเมินผล