Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

PDF

1996

Institution
Keyword
Publication
Publication Type

Articles 31 - 60 of 61

Full-Text Articles in Entire DC Network

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะฟันผุกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างและการดูแลอนามัยในช่องปากของนักเรียน ชั้นประถมปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, จารุวรรณ ตันกุรานันท์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล May 1996

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะฟันผุกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างและการดูแลอนามัยในช่องปากของนักเรียน ชั้นประถมปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, จารุวรรณ ตันกุรานันท์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

การวิจัยนี้เป็นการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะโรคฟันผุกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่าง การดูแลอนามัยในช่องปาก ของเด็กนักเรียนประถมปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 592 คน จาก 18 โรงเรียนพบว่ามีอัตราชุกของโรคฟันผุร้อยละ 82.9 ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดเป็นซี่ ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (mean DMFT + SD) = 2.84 ± 2.21 จํานวนเงินที่ใช้ซื้ออาหารว่างมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ จํานวนเงินที่ได้รับมาโรงเรียนและความถี่ของการบริโภคอาหารว่าง (r = 0.5730, 0.1629 ที่ p< .001 ตามลําดับ) ค่าฟันผุถอนอุดเป็นด้าน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับจํานวนเงินที่ได้รับมาโรงเรียน และจํานวนเงินที่ใช้ซื้ออาหารว่าง (r = ที่ p < 0.05 ตามลําดับ) คะแนนการแปรงฟันมีความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามกับความถี่ของการบริโภคอาหารว่างและ จํานวนเงินที่ใช้ซื้ออาหารว่าง (r = 0.1036, -0.0918 ที่ p<0.05 ตามลําดับ) เมื่อจําแนกนักเรียนตามกลุ่มการแปรงฟัน และความถี่ของการบริโภคอาหารว่าง พบว่า นักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนการแปรงฟันต่ำที่สุดและความถี่ ของการบริโภคอาหารว่างสูงที่สุดมีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดสูงที่สุด (mean DMFS = 6.18) ในขณะที่นักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนการแปรงฟันสูงที่สุดและความถี่ของการบริโภคอาหารว่างต่ำที่สุด มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดต่ำที่สุด (mean DMFS = 3.50) แสดงว่าเด็กนักเรียนที่มีความถี่ของการบริโภคอาหารว่างสูงและคะแนนการแปรงฟันต่ำ มีแนวโน้มของการเป็นโรคฟันผุสูงกว่าเด็กนักเรียนที่มีความถี่ของการบริโภคอาหารว่างต่ำและคะแนนการแปรงฟันสูง และควรทําการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป เพื่อให้ได้ผลชัดเจนมากขึ้น


เมทริกซ์เมแทลโลโพรทีเนส : ภาพรวมในปัจจุบัน, เอมอร เบญจวงศ์กุลชัย May 1996

เมทริกซ์เมแทลโลโพรทีเนส : ภาพรวมในปัจจุบัน, เอมอร เบญจวงศ์กุลชัย

Chulalongkorn University Dental Journal

เมทริกซ์เมแทลโลโพรทีเนส เป็นกลุ่มของเอนโดเพปที่เดสที่มีสังกะสีอยู่ในโมเลกุล ทําหน้าที่ย่อยสลายสารนอกเซลล์ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้ทางชีวเคมีเกี่ยวกับโครงสร้าง หน้าที่ การควบคุม การทํางาน การวิเคราะห์ ตลอดจนงานวิจัยในปัจจุบันและอนาคตของเอนไซม์กลุ่มนี้


การเกิดรอยผุซ้ำรอบวัสดุบูรณะคอฟัน: การศึกษาโดยใช้ระบบฟันผุจําลอง, ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์, ปรารถนา ดำรงเกียรติเวช, รักษ์รัฐ สิทธิโชค May 1996

การเกิดรอยผุซ้ำรอบวัสดุบูรณะคอฟัน: การศึกษาโดยใช้ระบบฟันผุจําลอง, ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์, ปรารถนา ดำรงเกียรติเวช, รักษ์รัฐ สิทธิโชค

Chulalongkorn University Dental Journal

การบูรณะฟันแควิตีแบบคลาสไฟว์ด้วยวัสดุคอมโพสิตเรซิน และ กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ มักจะประสบปัญหารอยรั่วตามขอบและนําไปสู่การเกิดรอยผุซ้ำรอบวัสดุบูรณะต่อไป การศึกษานี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัสดุบูรณะฟัน 2 ชนิด คือ คอมโพสิตเรซินซึ่งใช้ร่วมกับเดนทีนแอดฮีซิฟ และกลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ ถึงความสามารถของวัสดุในการต้านทานการเกิดรอยผุซ้ำโดยใช้ระบบฟันผุจําลอง โดยนําฟันกรามน้อยจํานวน 20 ซี่มาเตรียมแควิตี้แบบคลาสไฟว์ขนาด 2x3x1.5 มม แบ่งฟันเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 10 ซี่ กลุ่มแรก บูรณะด้วยคอมโพสิตเรซินยี่ห้อ Z-100 (3M) ร่วมกับเดนทีนแอดฮีซิฟ AllBond 2 (Bisco) กลุ่มหลังบูรณะด้วย กลาสไอโอโนเมอร์ยี่ห้อ Vitremer (3M) ตามคําแนะนําของบริษัทผู้ผลิต แล้วนําฟันทั้งหมดมาทายาทาเล็บโดยรอบโดยเว้นห่างจากขอบวัสดุ 1 มม. โดยรอบ หุ้มปลายรากด้วยขี้ผึ้งแล้วนําฟันทั้งหมดแช่ในน้ำยา Ten Cate Demineralizing Solution เป็นเวลา 1 สัปดาห์ แล้วนํามาล้างให้สะอาดแล้วตัดฟันตามแกนยาวซีละ 3 ส่วน นํามาตรวจหารอยผุที่เกิดขึ้นโดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงโพลาไรซ์ วัดความลึกหน่วยเป็นไมครอน จากผลการทดลองพบว่า กลาสไอโอโนเมอร์สามารถต้านทานการผุที่ผิวนอกของฟันได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับคอมโพสิตเรซิน และไม่พบรอยผุต่อที่ผนังแควิตในทั้งสองกลุ่ม ดังนั้น กลาสไอโอโนเมอร์อาจจะเหมาะสําหรับ สภาวะที่มีอัตราเสี่ยงต่อฟันผุสูง ขณะที่คอมโพสิตเรซินเหมาะสําหรับการบูรณะที่ต้องการความแข็งแรงและสวยงาม


อะมีโลบลาสติกไฟโบรมาในกระดูกขากรรไกรล่าง รายงานผู้ป่วย 1 ราย, เกษมศักดิ์ แก้วอิ่ม May 1996

อะมีโลบลาสติกไฟโบรมาในกระดูกขากรรไกรล่าง รายงานผู้ป่วย 1 ราย, เกษมศักดิ์ แก้วอิ่ม

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยเด็กอายุ 10 ปี ที่มีเนื้องอกอะมีโลบลาสติกไฟโบรมาในกระดูกขากรรไกรล่างซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก โดยมีอาการบวมของกระดูกขากรรไกรล่างเล็กน้อย จากภาพรังสีพบมีลักษณะเงากระดูกโปร่งรังสี ลักษณะคล้ายถุงน้ำเดียวรอบปลายรากของฟันน้ำนม # 73 และ # 74 เชื่อมต่อกับเยื่อหุ้มฟัน # 33 ข้อแนะนําในการรักษาโดยการทําศัลยกรรมควักออก และต้องติดตามการรักษาเป็นเวลานาน ทั้งนี้เนื่องจากเกิดเป็นซ้ำได้สูง และเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งได้


การเพิ่มมิติแนวดิ่งขณะสบฟันโดยการบูรณะชั่วคราว ชนิดติดแน่น : รายงานผู้ป่วย, มรกต ตันติประวรรณ May 1996

การเพิ่มมิติแนวดิ่งขณะสบฟันโดยการบูรณะชั่วคราว ชนิดติดแน่น : รายงานผู้ป่วย, มรกต ตันติประวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยฉบับนี้กล่าวถึง การเพิ่มมิติแนวดิ่งขณะสบฟันโดยใช้การบูรณะชั่วคราวชนิดติดแน่นในผู้ป่วยชายอายุ 21 ปี เป็นโรค amelogenesis imperfecta ซึ่งสูญเสียเคลือบฟัน และเนื้อฟัน ทางด้านบดเคี้ยวไปค่อนข้างมาก รวมทั้งสภาพเคลือบฟันที่เหลืออยู่รอบ ๆ ตัวฟันบาง และไม่แข็งแรง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาผู้ป่วยได้รับการรักษาการสึกกร่อนทางด้านบดเคี้ยว โดยใช้วัสดุอุดฟันทั้ง อะมัลกัม คอมโพสิต และกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ เพื่อคงสภาพมิติแนวดิ่งขณะสบฟันให้คงที่ และเพื่อรอเวลาให้โพรงเนื้อเยื่อฟันมีขนาดเหมาะสมที่จะสามารถครอบฟันถาวรได้ ทั้งนี้การทําครอบฟันในคนไข้รายนี้จําเป็นต้องเพิ่มความสูงในแนวดิ่ง เพื่อให้มีเนื้อที่ทางด้านบดเคี้ยวสําหรับครอบฟัน และความยาวของตัวฟันที่เหมาะสมในการยึดอยู่ (Retention) ของครอบฟัน วิธีการรักษาใช้อุดครอบ ด้วยคอมโพสิต (Composite onlay) รวมกับซีเมนต์ชนิดเรซิน (Resin cement) ยึดติดแน่นบนตัวฟัน เพื่อประเมินว่ากล้ามเนื้อบดเคี้ยว ข้อต่อขากรรไกร และฟันธรรมชาติของผู้ป่วยไม่มีอาการใด ๆ และผู้ป่วยสามารถบดเคี้ยวอาหารได้ตามปรกติภายหลังเพิ่มมิติแนวดิ่งขณะสบฟัน จากนั้นจึงทําการบูรณะครอบฟันถาวรต่อไป


ผลของสารฟอกสีฟันต่อการรั่วซึมตามขอบของแควิตี้คลาส V ที่บูรณะด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปรด้วยเรซิน, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์, บุญรัตน์ อำไพภิญโญกุล, ปนัดดา นิลดำ May 1996

ผลของสารฟอกสีฟันต่อการรั่วซึมตามขอบของแควิตี้คลาส V ที่บูรณะด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปรด้วยเรซิน, ชัยวัฒน์ มณีนุษย์, บุญรัตน์ อำไพภิญโญกุล, ปนัดดา นิลดำ

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษานี้เปรียบเทียบการรั่วซึมตามขอบของแควิตี้คลาส V ในฟันที่บูรณะด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ ชนิดดัดแปรด้วยเรซิน (Fuji II LC) ตรงบริเวณ cementoenamel junction ด้าน buccal surface แล้วฟอกสีฟันด้วย Britesmile (3.5% ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์) หรือ Opalescence (10% คาร์บาไมด์เปอร์ออกไซด์) เป็น เวลา 14 วัน โดยมีฟันที่บูรณะและแช่ในน้ำลายเทียมเป็นกลุ่มควบคุม ภายหลังการฟอกสี นําฟันทั้งสามกลุ่มมาผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ (thermocycling) จํานวน 250 รอบ ที่อุณหภูมิ 55±2°C และ 5±2°C และ ทดสอบการรั่วซึมตามขอบของแควิตี้ด้วยการแช่ในสารละลายซิลเวอร์ไนเตรด เข้มข้น 50% โดยน้ำหนักเป็นเวลา 4 ชั่วโมง และใน x-ray developing solution อีก 4 ชั่วโมง เมื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยการรั่วซึมทางสถิติด้วย one-way ANOVA ที่ความเชื่อมั่น 95% (a= 0.05) ผลปรากฏว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของค่าเฉลี่ยการรั่วซึมบริเวณผนังแควิตี้ด้านบดเคี้ยว (occlusal wall) หรือบริเวณผนังแควิตี้ด้านใกล้เหงือก (gingival wall) ระหว่างกลุ่มทดลองทั้งหมด (p > 0.05)


การจําลองการสบฟันในกลอุปกรณ์ขากรรไกรจําลองชนิดปรับได้บางส่วน, วันทนี มุทิรางกูร, สีชมพู นรภูมิพิภัชน์ May 1996

การจําลองการสบฟันในกลอุปกรณ์ขากรรไกรจําลองชนิดปรับได้บางส่วน, วันทนี มุทิรางกูร, สีชมพู นรภูมิพิภัชน์

Chulalongkorn University Dental Journal

การวิจัยนี้เป็นการจําลองการสบฟันของอาสาสมัคร 65 คน ในกลอุปกรณ์ขากรรไกรจําลองHanau รุ่น H2-PR เพื่อศึกษาว่า การจําลองการสบฟันในกลอุปกรณ์ขากรรไกรจําลองชนิดปรับได้บางส่วนสามารถทําได้ในทุก ๆ ตําแหน่งของขากรรไกรหรือไม่ พบว่าทันตแพทย์ 2 คนสามารถตรวจและจําลองการสบฟันในตําแหน่งความสัมพันธ์ในศูนย์ได้ตรงกันมากกว่าตําแหน่งสบฟันอื่น ๆ การจําลองการสบฟันของอาสาสมัคร 13 คน (ร้อยละ 20) ทําได้ถูกต้องในทุกตําแหน่งของขากรรไกร ส่วนการจําลองการสบฟันของอาสาสมัครที่เหลือ 52 คน (ร้อยละ 80) พบว่ามีการสบฟันในตําแหน่งต่าง ๆ ของขากรรไกรคลาดเคลื่อนตั้งแต่ 1 ตําแหน่งถึงไม่ถูกเลย โดยตําแหน่งที่จําลอง คลาดเคลื่อนพบกระจายในทุกตําแหน่งของขากรรไกร และความคลาดเคลื่อนในการจําลองการสบฟันในตําแหน่งต่าง ๆ ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับความถูกต้องของการจําลองการสบฟันที่ตําแหน่งความสัมพันธ์ในศูนย์ การจําลองการสบฟันในตําแหน่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องเรียงลําดับได้ดังนี้ การสบดุลทั้งด้านซ้ายและขวาสามารถจําลองได้เหมือนในช่องปากมากที่สุด (ร้อยละ 87.7 และ 89.2) การสบยื่น (ร้อยละ 75.4) ความสัมพันธ์ในศูนย์ (ร้อยละ 73.8) การสบทํางานด้านซ้ายและขวา (ร้อยละ 66.1 และ 60.0) และการสบในศูนย์ (ร้อยละ 36.9) ทั้งนี้การใช้แผ่น โลหะบางตรวจจุดสบฟันเพื่อประเมินความถูกต้องของการจําลองการสบในศูนย์อาจไม่เหมาะสม


Demineralization Inhibitory Ability Of Tooth-Colored Restorative Materials, Chaiwat Maneenut May 1996

Demineralization Inhibitory Ability Of Tooth-Colored Restorative Materials, Chaiwat Maneenut

Chulalongkorn University Dental Journal

Demineralization inhibitory ability of a polyacid-modified composite resin (Dyract®) was evaluated and compared to those of a composite resin (Scotchbond MP/Silux Plus) and a resin-modified glass ionomer restorative cement (Fuji II LC). A synthetic polymer acidified-gel technique was used in producing artificial caries-like lesion around standard Class V restorations of these materials. Demineralized lesions developed around the margin of all restorations and the depth of lesions were significantly different among all materials (P<0.05). Zone of inhibitions were only found at the tooth/restoration interface of all Fuji II LC restorations. In this study, demineralization inhibitory ability of the polyacid-modified composite resin was inferior to that of the resin-modified glass ionomer restorative cement but was superior to that of the composite resin.


ปะกิณกะ May 1996

ปะกิณกะ

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


"The Profession Of Dentistry:" The University Of Kentucky's Curriculum In Professional Ethics, David A. Nash Apr 1996

"The Profession Of Dentistry:" The University Of Kentucky's Curriculum In Professional Ethics, David A. Nash

Oral Health Science Faculty Publications

Among the most important learning that occurs in our nation's colleges of dentistry is learning to be a professional. While knowledge, perceptual-motor skills, and problem-solving abilities are basic to becoming a dentist, helping aspiring colleagues to apply their newly developing skills with integrity must be a fundamental concern. Increasingly, we are realizing that the quality of health care depends as significantly on the character of the health professional as it does on the individual's knowledge and skills. Concern for character, virtue, and integrity is the domain of ethics. This paper advances a justification for including a curriculum in professional ethics …


Relationship Between Design Marketing Strategies And Toothbrush Purchases By Consumers, Cynthia Lynn Garvin Apr 1996

Relationship Between Design Marketing Strategies And Toothbrush Purchases By Consumers, Cynthia Lynn Garvin

Dental Hygiene Theses & Dissertations

The purpose of this study was to investigate whether a relationship exists between design marketing strategies of toothbrushes (handle size, color, and shape; brush head size and shape; and bristle firmness and formation of toothbrushes) and toothbrush purchases made by consumers. To understand what consumers preferred, a self-designed, 24 item questionnaire, "Toothbrush Design and Consumer Preferences," was given to a convenience sample of 300 subjects ranging from ages 20 to 60 and over from the Old Dominion University campus in Norfolk, Virginia. Responses from each item were analyzed using frequency and percentages of responses, contingency tables, Kendall's tau b, and …


An Unusual Dilacerated Root Of A Second Maxillary Molar, W.C Ngeow Jan 1996

An Unusual Dilacerated Root Of A Second Maxillary Molar, W.C Ngeow

Wei Cheong Ngeow

An unusual case of a second maxillary molar with a dilacerated root visible clinically is described. Apicectomy followed by retrograde amalgam filling was performed whereby gingival coverage and gingival seal was achieved.


Virginia Dental Journal (Vol. 73, No. 1, 1996) Jan 1996

Virginia Dental Journal (Vol. 73, No. 1, 1996)

Virginia Dental Journal

No abstract provided.


Virginia Dental Journal (Vol. 73, No. 3, 1996) Jan 1996

Virginia Dental Journal (Vol. 73, No. 3, 1996)

Virginia Dental Journal

No abstract provided.


Use Of Gum Chewing And Electromyography In The Conservative Treatment Of Unilateral Masseter Muscle Hyperactivity, Marc F. Maday, Ben Rentfrow, Nathan T. Tear Jan 1996

Use Of Gum Chewing And Electromyography In The Conservative Treatment Of Unilateral Masseter Muscle Hyperactivity, Marc F. Maday, Ben Rentfrow, Nathan T. Tear

Masters Theses

It is estimated that up to 10% of the American public has some form of Temporomandibular Joint Disorder (TMD), of whom perhaps 5% may seek or need treatment. The purpose of this study is to demonstrate that chewing gum for 5 minutes on the involved side at levels less than maximal contraction will decrease resting muscle tone in the masseter muscle as demonstrated through surface electromyography.; This study examined 40 normal subjects as well as 6 people diagnosed with TMD. The results showed that there was a significant decrease in masseter output after the intervention as measured by EMG in …


In Vivo Early Plaque Colonization On Smooth Titanium Surface, A. Carrassi, A. Sardella, L. Rimondini Jan 1996

In Vivo Early Plaque Colonization On Smooth Titanium Surface, A. Carrassi, A. Sardella, L. Rimondini

Cells and Materials

Plaque development on pure titanium in a 24-hour period is described in an in vivo human model. Stents with titanium and root cementum specimens were applied to volunteers, who suspended oral hygiene procedures for 24 hours. The specimens were removed at 2, 4 and 24 hours and studied with a scanning electron microscope. A global area of 240 µm x 300 µm, composed of the sum of twelve 20 µm x 25 µm fields randomly selected, was examined for each specimen. The presence of cocci, short rods, long rods and bacterial aggregation, and bacteria density was recorded for each field. …


Virginia Dental Journal (Vol. 73, No. 2, 1996) Jan 1996

Virginia Dental Journal (Vol. 73, No. 2, 1996)

Virginia Dental Journal

No abstract provided.


Ua60/5 Wku Dental Hygiene Class Of 1996, Wku Dental Hygiene Jan 1996

Ua60/5 Wku Dental Hygiene Class Of 1996, Wku Dental Hygiene

WKU Archives Records

Members of the 1996 dental hygiene class: Michelle Johnstone, Kimberly Craig, Sharon Keen, Jennifer Clardy, Danielle Hughes, Kerry Stockman, Kenya Holland, Elsie Cambron, Kendra Thrasher, Jamie Lyle, William Kail, Amanda Freeman, Angela Hatcher, Susan George, Bambi Hall, Mellissa Brown, Kimberly Jarboe, Deborah Gilbert, Janet Herbek, Tiffany Ramaswamy, Carla Gantz, Holly Zinsmeister, Kasey Goodman and Michelle Powers.


Physical And Biological Evaluation Of Hydroxylapatite Films Formed On Ti6a14v Substrates By Excimer Laser Ablation, Tatjana Dostálová, Miroslav Jelínek, Lucie Himmlová, Vlasta Pesáková, Milan Adam Jan 1996

Physical And Biological Evaluation Of Hydroxylapatite Films Formed On Ti6a14v Substrates By Excimer Laser Ablation, Tatjana Dostálová, Miroslav Jelínek, Lucie Himmlová, Vlasta Pesáková, Milan Adam

Cells and Materials

Thin films of hydroxylapatite, about 500 nm, were formed on Ti6Al4V by excimer laser ablation. Ten different deposition conditions were used such as deposition atmosphere (vacuum, pure water vapor, mixture of Ar and water vapor), substrate temperature, target-substrate distance and energy density. Mechanical and physical analyses were carried out by Rutherford backscattering and particle induced X-ray emission; crystallinity of films was determined by X-ray diffraction, surface topography by scanning electron microscopy and adhesion by a scratch test. Biological evaluation of samples was also performed. The fibroblast proliferation test was used, morphological evaluation of macrophages was carried out, and the activity …


Virginia Dental Journal (Vol. 73, No. 4, 1996) Jan 1996

Virginia Dental Journal (Vol. 73, No. 4, 1996)

Virginia Dental Journal

No abstract provided.


Health Professions Division Academic Year 1996-1997, Nova Southeastern University Jan 1996

Health Professions Division Academic Year 1996-1997, Nova Southeastern University

Health Professions Divisions Course Catalogs and Course Descriptions

No abstract provided.


การตั้งฟันกรามล่างแท้ซี่ที่สองที่เป็นฟันชนด้วยเครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้, วิภาวรรณ ฤทธิ์ถกล Jan 1996

การตั้งฟันกรามล่างแท้ซี่ที่สองที่เป็นฟันชนด้วยเครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้, วิภาวรรณ ฤทธิ์ถกล

Chulalongkorn University Dental Journal

การเกิดฟันกรามแท้ซี่ที่สองที่เป็นฟันชน อาจมีสาเหตุได้หลายประการ การรักษาฟันกรามแท้ซี่ที่สองที่เป็นฟันชน และมีสภาวะความรุนแรงของฟันชนปานกลาง สามารถทําได้โดยอาศัยเครื่องมือทางทันตกรรมจัดฟันทั้งชนิดติดแน่นและชนิดถอดได้ รายงานผู้ป่วยนี้ ได้แสดงถึงวิธีการประยุกต์ใช้เครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้ ร่วมกับการใช้ยางเพื่อตั้งฟันกรามล่างแท้ซี่ที่สองที่มีลักษณะเป็นฟันชน ส่วนประกอบที่สําคัญที่ใช้ในการตั้งฟัน ได้แก่ การใช้ตะขอดัด 2 ตัว ร่วมกับการดึงยางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/8 นิ้ว แรง 3.5 ออนซ์ ภายหลังผู้ป่วยใช้เครื่องมือนี้ 8 สัปดาห์ ฟันกรามแท้ซี่ที่สองที่เป็นฟันชนนั้นสามารถขึ้นสู่ช่องปากได้ตามปกติ เครื่องมือจัดฟันชนิดนี้สามารถทําได้ง่ายและใช้ได้ผลดี ซึ่งทันตแพทย์ทั่วไปสามารถนําเทคนิคนี้มาใช้ในการรักษาได้ ถึงแม้ว่าจะมีอุปกรณ์ทางทันตกรรมเพียงบางชิ้นเท่านั้น


ผลของคลอร์เฮกซิดีนร่วมกับการฉีดล้างแบบมีแรงดัน ต่อคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบ, สุนทร ระพิสุวรรณ, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร Jan 1996

ผลของคลอร์เฮกซิดีนร่วมกับการฉีดล้างแบบมีแรงดัน ต่อคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบ, สุนทร ระพิสุวรรณ, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร

Chulalongkorn University Dental Journal

เพื่อเปรียบเทียบผลทางคลินิกของน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนความเข้มข้นร้อยละ 0.03 และ 0.06 และน้ำยาควบคุม ร่วมกับการฉีดล้างช่องปากแบบมีแรงดัน ในการควบคุมการเกิดคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบ ในผู้ป่วย 10 คน ซึ่งฉีดน้ำยาวันละ 1 ครั้ง เสริมการแปรงฟัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ต่อน้ำยาแต่ละอย่าง มีระยะพัก 2 สัปดาห์ สําหรับการเปลี่ยนน้ำยา ผู้ป่วยทุกคนแปรงฟันโดยวิธีที่แปรงอยู่เดิม โดยใช้ยาสีฟันชนิดเดียวกัน ไม่มีการดูแลสุขอนามัยในช่องปากด้วยวิธีอื่น ผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการทําความสะอาดช่องปากให้มีดัชนีคราบจุลินทรีย์เท่ากับ 0 ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำยา ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจดัชนีคราบจุลินทรีย์ ดัชนีการมีเลือดออก ดัชนีดัดแปลงพีเอ็มเอและผลข้างเคียงก่อนและทุกสัปดาห์ของการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า การฉีดล้างช่องปากด้วยน้ำยาทั้งสามอย่าง สามารถลดคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) ในทุกสัปดาห์เมื่อเทียบกับก่อนการศึกษาและเมื่อสิ้นสุดการศึกษาไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P > 0.05) ระหว่างน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนทั้งสอง ความเข้มข้น อาการไม่พึงประสงค์ของน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนความเข้มข้นร้อยละ 0.03 น้อยกว่าความเข้มข้นร้อยละ 0.06 อย่างไรก็ตามพบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.05) สําหรับดัชนีคราบจุลินทรีย์และดัชนีดัดแปลงพีเอ็มเอ (ส่วนเหงือกสามเหลี่ยมระหว่างฟัน) ของน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนทั้ง 2 ความเข้มข้นกับน้ำยาควบคุมจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า การฉีดล้างแบบมีแรงดันด้วยน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนความเข้มข้นร้อยละ 0.03 จํานวน 400 มิลลิลิตรวันละ 1 ครั้ง เสริมการแปรงฟันตามปกติ เป็นวิธีที่เหมาะสมมากกว่าใช้คลอร์เฮกซิดีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.06 ในการลดคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า เครื่องฉีดล้างแบบมีแรงดันมีประสิทธิภาพ ในการควบคุมคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบโดยน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนจะช่วยเสริมประสิทธิภาพ


ปัจจัยที่มีผลต่อความยาวใบหน้า, ไชยรัตน์ เฉลิมรัตนโรจน์ Jan 1996

ปัจจัยที่มีผลต่อความยาวใบหน้า, ไชยรัตน์ เฉลิมรัตนโรจน์

Chulalongkorn University Dental Journal

ความยาวใบหน้าเป็นเกณฑ์สําคัญประการหนึ่งในการวินิจฉัยความสวยงามของใบหน้า ในการวางแผนรักษาผู้ป่วยที่กําลังเจริญเติบโตทันตแพทย์จัดฟันต้องมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงความยาวใบหน้า บทความนําเสนอปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงความยาวใบหน้า ประกอบด้วย การเจริญเติบโตของใบหน้า การบําบัดทางทันตกรรมจัดฟันด้วยเครื่องมือประเภทต่าง ๆ กล้ามเนื้อบดเคี้ยว ทางเดินหายใจ และปัจจัยอื่น ๆ โดยทั่วไปปัจจัยดังกล่าวข้างต้นโดยเฉพาะการบําบัดทางทันตกรรมจัดฟันมักทําให้ความยาวใบหน้าเพิ่มขึ้น ซึ่งทําให้ผลการรักษาด้อยลงในผู้ป่วยที่มีโครงสร้างใบหน้ายาว แต่จะเป็นผลดีต่อผู้ป่วยโครงสร้างใบหน้าสั้น


การกระจายของโรคฟันผุและสภาพความรุนแรงของโรคปริทันต์ ในประชากรมีอายุ 30-70 ปี ของจังหวัดสกลนคร, สุนทร ระพิสุวรรณ, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร Jan 1996

การกระจายของโรคฟันผุและสภาพความรุนแรงของโรคปริทันต์ ในประชากรมีอายุ 30-70 ปี ของจังหวัดสกลนคร, สุนทร ระพิสุวรรณ, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการสุ่มสํารวจประชากรที่อยู่ในหมู่บ้านอําเภอรอบนอกของจังหวัดสกลนคร อายุ 30-70 ปี เพื่อหาความชุกของโรคฟันผุจําแนกตามซี่ฟันและสถานะของโรคปริทันต์ โดยตําแหน่งของฟัน จํานวน 165 คน, เป็นเพศหญิง 96 คน (58.18%) พบว่า 93.90% ของ periodontal sextant มีหินปูนเกาะรอบคอฟัน, ตําแหน่ง ฟัน #11 มีความชุกของการเกิดหินปูนเกาะสูงกว่าตําแหน่งอื่น (89.31%) ในแง่ของความต้องการบริการรักษา 36% ของประชากรศึกษาต้องการการบําบัดที่ค่อนข้างซับซ้อน ค่าเฉลี่ยของฟันผุ ถอน อุด เท่ากับ 5.48 ต่อคน โดยฟันกรามล่างซี่สุดท้าย มีเปอร์เซ็นต์การผุมากที่สุด (16.97%) และฟันกรามซี่สุดท้ายมีเปอร์เซ็นต์การถอนมากที่สุด (22.12%) ฟันกรามบนซี่แรกจะมีเปอร์เซ็นต์การผุมากกว่าฟันกรามล่างซี่แรก ค่าเฉลี่ยของความต้องการอุด และถอน เท่ากับ 2.93 ที่ต่อคน ฟันกรามโดยทั่วไปของคนกลุ่มนี้จะพบฟันสึกจนถึงชั้นเนื้อฟันทุกคน


ความสําเร็จของการรักษาคลองรากฟัน, จงกลวรรณ ตันโตทัย, แมนสรวง อักษรนุกิจ Jan 1996

ความสําเร็จของการรักษาคลองรากฟัน, จงกลวรรณ ตันโตทัย, แมนสรวง อักษรนุกิจ

Chulalongkorn University Dental Journal

ความสําเร็จของการบูรณะฟันที่จะทําต่อไปภายหลังจากที่ได้ทําการรักษาคลองรากฟันแล้วนั้น มีปัจจัยที่ต้องคํานึงถึงอยู่หลายประการด้วยกัน ปัจจัยที่สําคัญ คือ การเลือกใช้วัสดุอย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งในบทความ นี้ได้รวบรวมข้อสําคัญในขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งทันตแพทย์ผู้ที่จะทําการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากแล้วควรคํานึงถึงก่อนที่จะทําการบูรณะต่อไป เช่น การพิจารณาว่าฟันที่ได้ทําการรักษาคลองรากนั้นมีความสําเร็จหรือไม่ ผลของวัสดุอุดคลองรากฟันและซีเมนต์เคลือบคลองรากที่ใช้ต่อการแนบบริเวณปลายราก รวมทั้งผลของการเตรียมช่องว่างสําหรับเดือยและน้ำยาล้างคลองรากต่อการรั่วบริเวณปลายราก


Silica Coating Methods For Resin-To-Metal Bonding, W. Iramaneerat, R. Panichuttra Jan 1996

Silica Coating Methods For Resin-To-Metal Bonding, W. Iramaneerat, R. Panichuttra

Chulalongkorn University Dental Journal

In Dentistry, bonding between resin cement and metal alloy plays an important role in many clinical applications. From several studies, the failures at resin-metal interface are the most frequently reported. Numerous methods are available for bonding resin to alloy. The sillica coating methods have been developed to improve chemo - mechanical retention. Three different silica coating methods were described. The original Silicoater system is a pyrolytic deposition of an intermediate SiOx layer to the alloy surface. The Rocatec system is a tribochemical silica coating process, including two sandblasting steps to the alloy surface. The Silicoater MD system is a thermal …


The Curvature Of The Palatal Root Canal Of The Maxillary Molars In The Thai Population, Mettachit Nawachinda Jan 1996

The Curvature Of The Palatal Root Canal Of The Maxillary Molars In The Thai Population, Mettachit Nawachinda

Chulalongkorn University Dental Journal

The objective of this study was to determine the degree of curvature of the palatal canal of maxillary molar teeth in the Thai population. The degree of curvature of palatal canals of two hundred and fourteen maxillary molars were measured using Schneider's method. The results were; 95 teeth or 44.39% were 0°, and 119 teeth or 55.60% were curved to the buccal, the ratio straight: curved was 1:1.25, the mean of curvature was 15.39°, the most frequency of curvature was 20°-29°. At the 95% confidence interval the incidence of the buccal curvature of palatal canal is 48.3% to 61.7%.


Differential Scanning Calorimetry (Dsc) Analyses Of Superelastic And Nonsuperelastic Nickel-Titanium Orthodontic Wires, T. Gerard Bradley, William A. Brantley, Bill M. Culbertson Jan 1996

Differential Scanning Calorimetry (Dsc) Analyses Of Superelastic And Nonsuperelastic Nickel-Titanium Orthodontic Wires, T. Gerard Bradley, William A. Brantley, Bill M. Culbertson

School of Dentistry Faculty Research and Publications

The purpose of this study was to determine the transformation temperatures for the austenitic, martensitic, and rhombohedral (R) structure phases in representative as-received commercial nitinol (NiTi) orthodontic wire alloys, to reconcile discrepancies among recent publications. Specimens were examined by differential scanning calorimetry (DSC) over a temperature range from approximately −170° C to 100° C, with a scanning rate of 10° C per minute. Two different pathways, with the intermediate R structure either absent or present, were observed for the transformation from martensitic to austenitic NiTi, whereas the reverse transformation from austenitic to martensitic NiTi always included the R structure. The …


Ada Constitution & Bylaws (1996), American Dental Association Jan 1996

Ada Constitution & Bylaws (1996), American Dental Association

Constitution & Bylaws

The ADA Commons Constitution & Bylaws archival collection comprises printed issues of the American Dental Association's Constitution and Bylaws. The collection also includes the ADA Charter and the ADA Code of Ethics issued 1924-1946.