Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

PDF

1996

Calcium hydroxide

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Entire DC Network

ผลการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตรปโตคอคคัสมิวแทนส์ ด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในการรักษาคลองรากฟัน, อัญชนา พานิชอัตรา, Ratanau-Bol K., Kunsi B. Sep 1996

ผลการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตรปโตคอคคัสมิวแทนส์ ด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในการรักษาคลองรากฟัน, อัญชนา พานิชอัตรา, Ratanau-Bol K., Kunsi B.

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการศึกษาถึงผลการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ ด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งใช้ในการรักษาคลองรากฟัน 4 ชนิด คือ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ผสมน้ำ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ ผสม ซี.เอ็ม.ซี.พี. ไวตาเพกซ์ และพัลป์เดนท์ โดยใช้จานเพาะเลี้ยงเชื้อผสมเลือด จํานวน 30 จาน เจาะหลุมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ม.ม. จํานวน 5 หลุม ในแต่ละจาน เพื่อใส่วัสดุทดสอบ 4 หลุม หลุมที่ 5 จะเป็นหลุมควบคุมนําจานเพาะเชื้อที่เตรียมแล้วไปอบในแคนเดิลจาร์ ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส แล้วนํามาวัดขอบเขตการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อในวันที่ 2,7 และ 14 ตามลําดับ พบว่าวัสดุทุกชนิดมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ได้โดยวัสดุทุกชนิดมีความแตกต่างกันในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ ยกเว้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง แคลเซียมไฮดรอกไซด์ผสมน้ำกับพัลป์เดนท์ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ และพบว่าแคลเซียมไฮดรอกไซด์ผสมซี.เอ็ม.ซี.พี. ให้ผลยับยั้งต่อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์มากที่สุด โดยที่ไวตาเพกซ์ให้ผลยับยั้งน้อยที่สุด ซึ่งในการทดลองนี้ได้เลือกใช้เชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ เนื่องจากเป็นเชื้อที่พบได้ในคลองรากฟันที่มีการติดเชื้อ และสามารถเพาะเลี้ยงได้ง่าย


การใส่ยาในคลองรากฟัน, สุจินดา วงศ์ศิริขจร, ปิยาณี พาณิชย์วิสัย Sep 1996

การใส่ยาในคลองรากฟัน, สุจินดา วงศ์ศิริขจร, ปิยาณี พาณิชย์วิสัย

Chulalongkorn University Dental Journal

เนื่องจากมีผู้ให้เหตุผลสนับสนุนและคัดค้านการใส่ยาในคลองรากฟัน บทความปริทัศน์นี้จะแสดงให้เห็นถึงข้อสรุปของการใส่ยาในคลองรากฟัน ซึ่งยังมีความจําเป็นอยู่ เนื่องจากมียาหลายชนิดที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้และยังไม่มียาชนิดใดมีคุณสมบัติตรงตามอุดมคติ การเลือกใช้ยาจึงควรพิจารณาตามคุณสมบัติที่ต้องการตามแต่กรณี ในการรักษาคลองรากฟันโดยทั่วไป คุณสมบัติหลักที่ต้องการ คือคุณสมบัติในการต้านจุลชีพ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ นับว่ามีความเหมาะสมมากที่สุดในขณะนี้ เนื่องจากมีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพที่ดีและออกฤทธิ์ได้นาน ช่วยละลายเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ยังกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อแข็ง และควบคุมการละลายรากฟันจากการอักเสบ กรณีที่ต้องการบรรเทาปวดหลังรักษานั้นยาในกลุ่มสเตียรอยด์สามารถลดปวดได้ในฟันเนื้อเยื่อในที่มีชีวิต