Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 36 of 36

Full-Text Articles in Entire DC Network

ผลของคลอร์เฮกซิดีนร่วมกับการฉีดล้างแบบมีแรงดัน ต่อคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบ, สุนทร ระพิสุวรรณ, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร Jan 1996

ผลของคลอร์เฮกซิดีนร่วมกับการฉีดล้างแบบมีแรงดัน ต่อคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบ, สุนทร ระพิสุวรรณ, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร

Chulalongkorn University Dental Journal

เพื่อเปรียบเทียบผลทางคลินิกของน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนความเข้มข้นร้อยละ 0.03 และ 0.06 และน้ำยาควบคุม ร่วมกับการฉีดล้างช่องปากแบบมีแรงดัน ในการควบคุมการเกิดคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบ ในผู้ป่วย 10 คน ซึ่งฉีดน้ำยาวันละ 1 ครั้ง เสริมการแปรงฟัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ต่อน้ำยาแต่ละอย่าง มีระยะพัก 2 สัปดาห์ สําหรับการเปลี่ยนน้ำยา ผู้ป่วยทุกคนแปรงฟันโดยวิธีที่แปรงอยู่เดิม โดยใช้ยาสีฟันชนิดเดียวกัน ไม่มีการดูแลสุขอนามัยในช่องปากด้วยวิธีอื่น ผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการทําความสะอาดช่องปากให้มีดัชนีคราบจุลินทรีย์เท่ากับ 0 ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำยา ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจดัชนีคราบจุลินทรีย์ ดัชนีการมีเลือดออก ดัชนีดัดแปลงพีเอ็มเอและผลข้างเคียงก่อนและทุกสัปดาห์ของการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า การฉีดล้างช่องปากด้วยน้ำยาทั้งสามอย่าง สามารถลดคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) ในทุกสัปดาห์เมื่อเทียบกับก่อนการศึกษาและเมื่อสิ้นสุดการศึกษาไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P > 0.05) ระหว่างน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนทั้งสอง ความเข้มข้น อาการไม่พึงประสงค์ของน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนความเข้มข้นร้อยละ 0.03 น้อยกว่าความเข้มข้นร้อยละ 0.06 อย่างไรก็ตามพบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.05) สําหรับดัชนีคราบจุลินทรีย์และดัชนีดัดแปลงพีเอ็มเอ (ส่วนเหงือกสามเหลี่ยมระหว่างฟัน) ของน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนทั้ง 2 ความเข้มข้นกับน้ำยาควบคุมจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า การฉีดล้างแบบมีแรงดันด้วยน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนความเข้มข้นร้อยละ 0.03 จํานวน 400 มิลลิลิตรวันละ 1 ครั้ง เสริมการแปรงฟันตามปกติ เป็นวิธีที่เหมาะสมมากกว่าใช้คลอร์เฮกซิดีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.06 ในการลดคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า เครื่องฉีดล้างแบบมีแรงดันมีประสิทธิภาพ ในการควบคุมคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบโดยน้ำยาคลอร์เฮกซิดีนจะช่วยเสริมประสิทธิภาพ


ปัจจัยที่มีผลต่อความยาวใบหน้า, ไชยรัตน์ เฉลิมรัตนโรจน์ Jan 1996

ปัจจัยที่มีผลต่อความยาวใบหน้า, ไชยรัตน์ เฉลิมรัตนโรจน์

Chulalongkorn University Dental Journal

ความยาวใบหน้าเป็นเกณฑ์สําคัญประการหนึ่งในการวินิจฉัยความสวยงามของใบหน้า ในการวางแผนรักษาผู้ป่วยที่กําลังเจริญเติบโตทันตแพทย์จัดฟันต้องมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงความยาวใบหน้า บทความนําเสนอปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงความยาวใบหน้า ประกอบด้วย การเจริญเติบโตของใบหน้า การบําบัดทางทันตกรรมจัดฟันด้วยเครื่องมือประเภทต่าง ๆ กล้ามเนื้อบดเคี้ยว ทางเดินหายใจ และปัจจัยอื่น ๆ โดยทั่วไปปัจจัยดังกล่าวข้างต้นโดยเฉพาะการบําบัดทางทันตกรรมจัดฟันมักทําให้ความยาวใบหน้าเพิ่มขึ้น ซึ่งทําให้ผลการรักษาด้อยลงในผู้ป่วยที่มีโครงสร้างใบหน้ายาว แต่จะเป็นผลดีต่อผู้ป่วยโครงสร้างใบหน้าสั้น


การกระจายของโรคฟันผุและสภาพความรุนแรงของโรคปริทันต์ ในประชากรมีอายุ 30-70 ปี ของจังหวัดสกลนคร, สุนทร ระพิสุวรรณ, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร Jan 1996

การกระจายของโรคฟันผุและสภาพความรุนแรงของโรคปริทันต์ ในประชากรมีอายุ 30-70 ปี ของจังหวัดสกลนคร, สุนทร ระพิสุวรรณ, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการสุ่มสํารวจประชากรที่อยู่ในหมู่บ้านอําเภอรอบนอกของจังหวัดสกลนคร อายุ 30-70 ปี เพื่อหาความชุกของโรคฟันผุจําแนกตามซี่ฟันและสถานะของโรคปริทันต์ โดยตําแหน่งของฟัน จํานวน 165 คน, เป็นเพศหญิง 96 คน (58.18%) พบว่า 93.90% ของ periodontal sextant มีหินปูนเกาะรอบคอฟัน, ตําแหน่ง ฟัน #11 มีความชุกของการเกิดหินปูนเกาะสูงกว่าตําแหน่งอื่น (89.31%) ในแง่ของความต้องการบริการรักษา 36% ของประชากรศึกษาต้องการการบําบัดที่ค่อนข้างซับซ้อน ค่าเฉลี่ยของฟันผุ ถอน อุด เท่ากับ 5.48 ต่อคน โดยฟันกรามล่างซี่สุดท้าย มีเปอร์เซ็นต์การผุมากที่สุด (16.97%) และฟันกรามซี่สุดท้ายมีเปอร์เซ็นต์การถอนมากที่สุด (22.12%) ฟันกรามบนซี่แรกจะมีเปอร์เซ็นต์การผุมากกว่าฟันกรามล่างซี่แรก ค่าเฉลี่ยของความต้องการอุด และถอน เท่ากับ 2.93 ที่ต่อคน ฟันกรามโดยทั่วไปของคนกลุ่มนี้จะพบฟันสึกจนถึงชั้นเนื้อฟันทุกคน


ความสําเร็จของการรักษาคลองรากฟัน, จงกลวรรณ ตันโตทัย, แมนสรวง อักษรนุกิจ Jan 1996

ความสําเร็จของการรักษาคลองรากฟัน, จงกลวรรณ ตันโตทัย, แมนสรวง อักษรนุกิจ

Chulalongkorn University Dental Journal

ความสําเร็จของการบูรณะฟันที่จะทําต่อไปภายหลังจากที่ได้ทําการรักษาคลองรากฟันแล้วนั้น มีปัจจัยที่ต้องคํานึงถึงอยู่หลายประการด้วยกัน ปัจจัยที่สําคัญ คือ การเลือกใช้วัสดุอย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งในบทความ นี้ได้รวบรวมข้อสําคัญในขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งทันตแพทย์ผู้ที่จะทําการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากแล้วควรคํานึงถึงก่อนที่จะทําการบูรณะต่อไป เช่น การพิจารณาว่าฟันที่ได้ทําการรักษาคลองรากนั้นมีความสําเร็จหรือไม่ ผลของวัสดุอุดคลองรากฟันและซีเมนต์เคลือบคลองรากที่ใช้ต่อการแนบบริเวณปลายราก รวมทั้งผลของการเตรียมช่องว่างสําหรับเดือยและน้ำยาล้างคลองรากต่อการรั่วบริเวณปลายราก


Silica Coating Methods For Resin-To-Metal Bonding, W. Iramaneerat, R. Panichuttra Jan 1996

Silica Coating Methods For Resin-To-Metal Bonding, W. Iramaneerat, R. Panichuttra

Chulalongkorn University Dental Journal

In Dentistry, bonding between resin cement and metal alloy plays an important role in many clinical applications. From several studies, the failures at resin-metal interface are the most frequently reported. Numerous methods are available for bonding resin to alloy. The sillica coating methods have been developed to improve chemo - mechanical retention. Three different silica coating methods were described. The original Silicoater system is a pyrolytic deposition of an intermediate SiOx layer to the alloy surface. The Rocatec system is a tribochemical silica coating process, including two sandblasting steps to the alloy surface. The Silicoater MD system is a thermal …


The Curvature Of The Palatal Root Canal Of The Maxillary Molars In The Thai Population, Mettachit Nawachinda Jan 1996

The Curvature Of The Palatal Root Canal Of The Maxillary Molars In The Thai Population, Mettachit Nawachinda

Chulalongkorn University Dental Journal

The objective of this study was to determine the degree of curvature of the palatal canal of maxillary molar teeth in the Thai population. The degree of curvature of palatal canals of two hundred and fourteen maxillary molars were measured using Schneider's method. The results were; 95 teeth or 44.39% were 0°, and 119 teeth or 55.60% were curved to the buccal, the ratio straight: curved was 1:1.25, the mean of curvature was 15.39°, the most frequency of curvature was 20°-29°. At the 95% confidence interval the incidence of the buccal curvature of palatal canal is 48.3% to 61.7%.