Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Sociology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 25 of 25

Full-Text Articles in Sociology

Domestic Customers' Perceived Value Toward Thai Cultural Products, Krittanan Deedenkeeratisakul Jan 2021

Domestic Customers' Perceived Value Toward Thai Cultural Products, Krittanan Deedenkeeratisakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As Thai cultural identity is one of the remarkable assets in Thai culture and has gained wider attention, there is a growing trend for the market to capture domestic customers' behavior. This study investigates consumers' value perceptions and their intentions to purchase Thai cultural products by extending the theory of consumption value through four values that influence perceived value of product attitude, which also affect purchase intention and customer satisfaction. Online Survey data from 412 people in Thailand were used to test the hypotheses, and content analysis of 9 in-depth interviewees was used to understand the product's perceptions better. The …


Governmentality In The Context Of Japan-Funded Farm-To-Market Road (Fmr) In Agdangan Quezon Province, Philippines, Ma. Josephine Therese Emily Teves Jan 2021

Governmentality In The Context Of Japan-Funded Farm-To-Market Road (Fmr) In Agdangan Quezon Province, Philippines, Ma. Josephine Therese Emily Teves

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Recent studies have focused on the role of Official Development Assistance (ODA) in financing infrastructural projects and rural development programs. This study demonstrates how Japanese and Filipino aid authorities facilitated a Japan ODA-funded Farm-to-Market Road (FMR) subproject as a solution aiming to achieve the Agrarian Reform Community’s (ARC) overall poverty reduction and rural economic growth agenda to contribute to this literature. Drawing on Foucault's governmentality, Escobar’s development discourse, and Li’s “The Will to Improve,” this study shows ODA as an alliance emphasizing power relations and analyzing processes and interactions within the ODA-funded FMR subproject management stages. This study also examines …


The Effect Of Population Structure On Economic Development: Thailand's Provincial Panel Data, Satayu Pattarakijkusol Jan 2021

The Effect Of Population Structure On Economic Development: Thailand's Provincial Panel Data, Satayu Pattarakijkusol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research investigates the effects of demographic change, the change of labor supply, and human capital on Thailand’s economic development. This will help shed light on the relationship between population (quantitatively and qualitatively) and economic development. The demographic dividends, the neoclassical growth Solow-Swan model, and human capital are adopted as the conceptual framework for this research. The secondary panel data at the provincial level from government officials will be used for statistical analysis. Fixed effect or random effect with lagged dependent variable is introduced into the estimated model. The finding suggests that the labor productivity, employment level, share of the …


The Impact Of Economic And Demographic Factors On Income Inequality: A Comparative Study Of Southeast Asian And Latin American Countries, Muhammad Syukron Mamun Jan 2021

The Impact Of Economic And Demographic Factors On Income Inequality: A Comparative Study Of Southeast Asian And Latin American Countries, Muhammad Syukron Mamun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Despite rapid economic growth, Southeast Asia and Latin America continue to have significant income inequality. This study applies fixed-effects regression estimation with the dynamic panel model with lagged independent variables and the fixed-effects analysis with endogenous covariates to examine the impact of economic and demographic factors on income inequality in 6 Southeast Asian and 15 Latin American countries from 1994 to 2017. Empirical results indicate that emissions, trade openness, old-age dependency ratio, human capital, and female population reduce income inequality, whereas industrialization, unemployment, young-age dependency ratio, and urban population increase income inequality in Southeast Asian countries. This study also finds …


“ที่นี่ไม่ได้แจกกัญชา แจกน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น”: ความเลื่อนไหลและกระบวนการทางสังคมของกัญชา, ศุภรดา เฟื่องฟู Jan 2021

“ที่นี่ไม่ได้แจกกัญชา แจกน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น”: ความเลื่อนไหลและกระบวนการทางสังคมของกัญชา, ศุภรดา เฟื่องฟู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาวัฒนธรรมชาติและกระบวนการทางสังคมของกัญชา ผ่านการสำรวจกิจกรรมจัดหา แปรรูปและแจกจ่ายกัญชาที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดภาคกลาง ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 - พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยดำเนินการอย่างเป็นปฏิปักษ์ต่อกฎหมายป้องปรามยาเสพติดของไทย ผู้วิจัยอาศัยแนววิเคราะห์เชิงวัตถุ-สัญญะและกรอบคิดเรื่องวัฒนธรรมชาติในการสำรวจปรากฎการณ์ดังกล่าว โดยเสนอว่ากัญชาเป็นวัตถุที่มีความเลื่อนไหลและหลากหลาย ทั้งในรูปแบบของวัตถุศักดิ์สิทธิ์ สินค้า ยารักษาโรค และสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนบุญ นอกจากนี้ผู้วิจัยเสนอว่า ปรากฏการณ์ผิดกฎหมายดังกล่าวดำรงอยู่ได้จากกระบวนการประกอบสร้างความศักดิ์สิทธิ์ที่มีลักษณะจำเพาะสองรูปแบบขึ้น ภายใต้พิธีกรรมแจกจ่ายกัญชาสองลักษณะ กล่าวคือ การประกอบสร้างความศักดิ์สิทธิ์แบบผูกขาดในพิธีกรรมเชิงการแพทย์ และการประกอบสร้างความศักดิ์สิทธิ์แบบรวบรวมในพิธีกรรมศาสนา กระบวนการทางสังคมของกัญชาดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นความพร่าเลือนและคร่อมข้ามของกรอบคิดทวิลักษณ์และปริมณฑลที่แน่นิ่ง ตายตัวต่าง ๆ ทั้งรัฐ/ราษฎร์ วิทยาศาสตร์/ศาสนา สาธารณะ/ส่วนตัว และได้นำไปสู่การขยับขยายเข้าใจต่อเรื่องการสั่งจ่ายยา โดยพิจารณาอิทธิพลของตัวแสดงที่ไม่ใช่มนุษย์ในบริบทด้วย


แนวทางการพัฒนาการดำเนินการของ “ศูนย์แคร์” กรมราชทัณฑ์, ปิยะวัฒน์ ปิ่นเจริญ Jan 2021

แนวทางการพัฒนาการดำเนินการของ “ศูนย์แคร์” กรมราชทัณฑ์, ปิยะวัฒน์ ปิ่นเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการทำงานของศูนย์แคร์ กรมราชทัณฑ์ วิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ และแนวทางการพัฒนาการดำเนินการของศูนย์แคร์ กรมราชทัณฑ์ การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับศูนย์แคร์ ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการกองพฤตินิสัย ผู้ปฏิบัติงานศูนย์แคร์ในเรือนจำ 4 แห่ง คือ ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำกลางนครสวรรค์ และเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร จำนวน 16 คน หน่วยงานเครือข่ายที่ปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์แคร์ จำนวน 7 คน และผู้พ้นโทษที่ได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์แคร์ จำนวน 5 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการทำงานของศูนย์แคร์ กรมราชทัณฑ์ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ กระบวนการก่อนปล่อยตัว กระบวนการในวันปล่อยตัว และกระบวนการภายหลังปล่อยตัว 2) ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของศูนย์แคร์ ได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านการให้ข้อมูลของผู้ต้องขัง ปัญหาด้านสังคม และปัญหาด้านข้อกฎหมาย และ 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินการของศูนย์แคร์ คือ การเพิ่มบุคลากรในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ในเรือนจำ/ทัณฑสถานที่ยังขาดแคลน การให้ผู้พ้นโทษที่ได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์แคร์เข้ามาบรรยายถึงประโยชน์ที่จะได้รับในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง การจัดทำสื่อหรือกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ตัวอย่างของผู้พ้นโทษที่สามารถกลับตัวได้ เพื่อให้สังคมเปลี่ยนทัศนคติ และการแก้ข้อกฎหมายเพื่อให้ผู้พ้นโทษได้มีโอกาสประกอบกิจการของตัวเองหรือได้รับการจ้างงานมากขึ้น


Global Talent Competitiveness Index: The Implication Of 6 Gtci Pillars On Singapore, Malaysia, And Thailand’S Real Gdp Per Capita To Promote Talent Development, Jintatat Chaiyapuck Jan 2021

Global Talent Competitiveness Index: The Implication Of 6 Gtci Pillars On Singapore, Malaysia, And Thailand’S Real Gdp Per Capita To Promote Talent Development, Jintatat Chaiyapuck

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aims to examine the implications of the Global Talent Competitiveness Index (GTCI) against real GDP per capita. Specifically, the study aims to show the relationship between 6 GTCI variables between Singapore, Malaysia, and Thailand and explore the significance and the implications of the GTCI index in the innovation-driven economies. The conceptual framework can be elaborated through 6 GTCI indices. The first four indices in the input model are: (1) enabling and impeding talent attraction and institutional development; (2) attracting talents; (3) growing talent through formal education, lifelong learning, and access to growth opportunities; and (4) retaining talents through …


The Role Of Economic Factors Affecting Thai Older Persons’ Life Satisfaction., Daria Turavinina Jan 2021

The Role Of Economic Factors Affecting Thai Older Persons’ Life Satisfaction., Daria Turavinina

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

An aging population is one of the significant demographic issues affecting the world. As Thailand is moving closer to being considered a super-aged society, major policy reforms must be made to prepare for this transition. Economic factors have long been established as one of the factors contributing to elderly life satisfaction. As the aging population is becoming an ever-increasing and more relevant phenomenon, policymakers' goals are shifting to accommodate the sociopolitical changes that will come with the demographic developments. This independent study examines a sample of n=4716 Thai elderly. The statistical techniques used in this study are Linear Regression and …


A Study Of Sustainability In The Energy Sector In Myanmar Between 2011 And 2020, Clara Mang Sui Tang Jan 2021

A Study Of Sustainability In The Energy Sector In Myanmar Between 2011 And 2020, Clara Mang Sui Tang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In modern society, energy becomes a life supporting mechanism, as it is not only entangled with the environment pillar of sustainable development, but also inseparably related to the economic and social pillars of society. Taking advantage of a qualitative research method, this study critically examines the level of sustainability of Myanmar’s energy sector between 2011 and 2020, using 2011 as a baseline, by observing three critical components: energy security, environmental considerations in energy production and securing financial health for the sector. Energy security, possessing uninterrupted availability of energy sources at an affordable price, is studied from available macro secondary data …


Ecological System And Psychosocial Well-Being Of Myanmar Migrant Workers During The Covid-19 Pandemic "A Case Of Mahachai", Susan Moe Kyaw Jan 2021

Ecological System And Psychosocial Well-Being Of Myanmar Migrant Workers During The Covid-19 Pandemic "A Case Of Mahachai", Susan Moe Kyaw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The complex interactions in each ecological setting influence the psychosocial well-being of a person. Migrant workers’ well-being is highly influenced by their working conditions, security, and social relationship. They encounter not only work-related stress, and discrimination, but are also caused by socio-economic changes during the global crisis such as the Covid-19 outbreak. Prior to the COVID-19 outbreak in Thailand, Mahachai has been a place of many studies and research as it hosts thousands of migrant workers, and its major seafood production, fishery, metal, and other factories in its area. It draws the attention of migration scholars, policymakers, and researchers to …


A Study Of Covid-19 Crisis Communication In Myanmar (January 2020-January 2021) : Divergences Between Ministry Of Health And Sports And State Counsellor, Aye Pa Pa Moe Jan 2021

A Study Of Covid-19 Crisis Communication In Myanmar (January 2020-January 2021) : Divergences Between Ministry Of Health And Sports And State Counsellor, Aye Pa Pa Moe

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Effective crisis communication is critical in a country like Myanmar, which has a vulnerable population and a newly democratically elected government. During the COVID-19 pandemic, Myanmar's government established multi communication channels to interact directly with its citizens and other actors, including government agencies, allowing for active stakeholder participation in crisis management. The purpose of this research is to identify the Myanmar government's crisis communication strategy in managing the COVID issue at the national level from January 2020 to January 2021. The study will take a three-stage approach to crisis management, with pre-crisis, crisis, and post-crisis stages. It also explored Myanmar's …


ปัจจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเส้นทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี, ศรัญญู จันทร์วงศ์ Jan 2021

ปัจจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเส้นทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี, ศรัญญู จันทร์วงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง "ปัจจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเส้นทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา ชุมชนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี" ในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณกับการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ 1) เพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรีที่สามารถนำมาต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่มและกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตัวแทนชุมชนและสมาชิกในชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี 3) เพื่อเสนอแนะปัจจัยที่นำไปสู่แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรีในอนาคต ผลการศึกษา พบว่า 1) ทุนทางวัฒนธรรมมีความสอดคล้องและเอื้อให้สามารถให้เกิดกระบวนการที่ดำเนินให้เกิดการพัฒนา โดยสามารถใช้ปัจจัยภายในชุมชนนำเสนอและยกระดับให้เกิดการสร้างแรงจูงใจนักท่องเที่ยวชาวไทย 2) การมีส่วนร่วมในชุมชนมีการให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวค่อนข้างน้อย เนื่องจากการจัดงานดำเนินการโดยกลุ่มแกนนำเป็นส่วนมาก ทำให้สมาชิกในชุมชนส่วนหนึ่งมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในระดับน้อย ทางด้านศักยภาพของชุมชนมีความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวชาวไทยในระดับที่ดี ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดแล้ว สังคมและชุมชน 3) แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเส้นทางวัฒนธรรมที่ต้องอาศัยการจัดการที่ดีและความมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เนื่องจากชุมชนมีทิ้งจุดเด่นและจุดที่ต้องปรับปรุงของชุมชนที่สามารถพัฒนาไปเป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และกระตุ้นเศรษฐกิจภายในชุมชนไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น โดยในชุมชนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรีมีปัจจัยอยู่ 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านการจัดการ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านการเข้าถึงและปัจจัยด้านสถานที่ท่องเที่ยว


การศึกษาการเคลื่อนย้ายของเสียข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทย, เชาว์วัศ สกุลวรวิทย์ Jan 2021

การศึกษาการเคลื่อนย้ายของเสียข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทย, เชาว์วัศ สกุลวรวิทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง การศึกษาการเคลื่อนย้ายของเสียข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเคลื่อนย้ายของเสียข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทย ศึกษาการบังคับใช้กฎหมาย ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนแสวงหาข้อเสนอแนะต่อการป้องกันและปราบปรามการเคลื่อนย้ายของเสียข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทยโดยใช้วิธีการในการดำเนินการวิจัย คือ การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 13 คน ประกอบด้วยพนักงานศุลกากร เจ้าพนักงานตำรวจ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ พนักงานอัยการ เจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษ ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบของการเคลื่อนย้ายของเสียข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทยที่พบมากที่สุด คือ การนำเข้าเศษพลาสติก ด้วยการขนส่งทางเรือโดยบรรจุของเสียในตู้สินค้า ซึ่งมีประเทศต้นทางที่สำคัญ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้กระทำผิดใช้วิธีการฉ้อฉลทางเอกสารเป็นหลัก และเป็นการกระทำโดยองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ในขณะที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายก็เผชิญกับปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย อาทิเช่น ปัญหาช่องว่างของกฎหมายในเรื่องหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตามกฎหมายศุลกากร เป็นต้น อันนำมาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการงดการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องเพื่อดำเนินคดีผู้กระทำผิดในชั้นศาล การนำพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 มาใช้ในการปราบปรามการเคลื่อนย้ายของเสียข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทย ตลอดจนการจัดการกับของเสียที่เป็นของกลางและของตกค้างด้วยการส่งกลับต้นทาง เป็นต้น


สายลับกับการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรมยาเสพติดในประเทศไทย, กิตติภพ บัวคลี่ Jan 2021

สายลับกับการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรมยาเสพติดในประเทศไทย, กิตติภพ บัวคลี่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องสายลับกับการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรมยาเสพติดในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมาและบทบาทของสายลับในการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรมยาเสพติดในประเทศไทย พร้อมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่สืบสวนกับบุคคลที่เป็นสายลับในการทำงานปราบปรามยาเสพติด เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนำสายลับมาใช้ในการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรมยาเสพติด โดยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่รัฐ สายลับ และบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม จำนวนทั้งสิ้น 27 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า สายลับเป็นกลวิธีในการหาข่าวที่ปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยบรรพกาล ตราบจนกระทั่งสังคมมีพัฒนาการทางด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา วิธีการใช้สายลับจึงได้ถูกนำมาปรับใช้ในการทำงานสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีภารกิจรักษาความสงบเรียบร้อยภายในรัฐและการควบคุมอาชญากรรม บทบาทที่คาดหวังของสายลับคือ การกระทำใด ๆ ที่ตอบสนองต่อภารกิจการสืบสวนปราบปรามยาเสพติดตามที่เจ้าหน้าที่ต้องการ ซึ่งเป็นงานที่เจ้าหน้าที่ไม่อาจกระทำได้โดยฐานะของเจ้าหน้าที่เองหรืออาจต้องใช้ระยะเวลานาน บทบาทความสำคัญของสายลับส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองของเจ้าหน้าที่แต่ละบุคคลซึ่งมีลักษณะเป็นอัตวิสัย รูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่สืบสวนกับบุคคลที่เป็นสายลับจะแตกต่างกันไปในแต่ละคู่สัมพันธ์ การใช้สายลับได้ก่อให้เกิดผลกระทบในหลายด้าน เป็นต้นว่า สายลับต้องอยู่ในวัฏจักรของการกระทำความผิดและมีโอกาสกลับไปกระทำความผิดซ้ำ และด้วยลักษณะที่เป็นความลับทำให้การตรวจสอบความโปร่งใสของการทำงานเป็นได้ยากอันส่งผลกระทบต่อสังคมและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหลายประการ แนวทางพัฒนาการสืบสวนโดยวิธีใช้สายลับที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยจึงควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 หมวด 1 ว่าด้วยการสืบสวน โดยให้ระบุถึงการสืบสวนโดยวิธีใช้สายลับ พัฒนาระบบงานยุติธรรมทางอาญาให้ทุกฝ่ายยึดหลักการค้นหาความจริงในเนื้อหา และสร้างมาตรการกำกับดูแลให้ดียิ่งขึ้น


Queering The Migrant Experience: Gay Filipino Workers’ Performance Of Gender And Sexual Identities In Bangkok, Hans Kevin Madanguit Jan 2021

Queering The Migrant Experience: Gay Filipino Workers’ Performance Of Gender And Sexual Identities In Bangkok, Hans Kevin Madanguit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Philippine migration scholarship heavily focuses on heteronormative issues that depict the migrant workers as heterosexuals. Due to this trend, there is a scarcity of studies on overseas Filipino workers who identify as part of the Lesbian, Gay, Bisexual, Transgender, and Queer (LGBTQ+) Community. Hence, this qualitative research focuses on eleven documented Filipino workers in Thailand who are males assigned at birth and identify as gay homosexuals. Individual informal interviews were employed to investigate how they practice their non-normative gender and sexuality, given their multiple yet intersectional social identities in a country with vibrant queer cultures. It also probes the …


The Karen Diaspora : Transnational Sense Of Belonging And Practices After The 2021 Myanmar Coup, Thinh Mai Phuc Jan 2021

The Karen Diaspora : Transnational Sense Of Belonging And Practices After The 2021 Myanmar Coup, Thinh Mai Phuc

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research examines the Karen diaspora’s transnational sense of belonging, ideological transition and tactics embodied in transnational activities after the 2021 Myanmar military coup. Looking at young Karen people in 5 host countries including the United States, Australia, Canada, Norway and Thailand, it is evident that those people in the diaspora still perceive the notion of homeland and maintain an emotional sense of belonging to their homeland after a long period of resettlement in host countries. In the context of the 2021 coup, those young people have engaged actively in transnational activities with various tactics used both on-site and online. …


Brain Drain Situation Of Thai Skilled Workers: Push-Pull Factors And Intentions To Return, Nawapat Choosuwan Jan 2021

Brain Drain Situation Of Thai Skilled Workers: Push-Pull Factors And Intentions To Return, Nawapat Choosuwan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Brain Drain occurs when a country loses human capital with specialized skills or with higher education due to worker emigration. In Thailand, the brain drain index has risen in recent years. As the problem of migration of Thai skilled workers remains and becomes worse, it is necessary to investigate the factors that contribute to brain drain of highly trained Thai professionals. The push and pull factors of international migration are used to investigate what motivates skilled people to leave their home country (push factor) and what motivates skilled workers to stay in the destination country (pull factor). Furthermore, the study …


Decision On Later Life Migration Of Myanmar Migrant Workers In Ranong Province, Thailand, Pyone Thidar Aung Jan 2021

Decision On Later Life Migration Of Myanmar Migrant Workers In Ranong Province, Thailand, Pyone Thidar Aung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Over the past five decades, international migration has grown worldwide (IOM, 2022). At the same time, global human life expectancy has been increasing on average because of better health care and improved medical care. Becoming older while being a migrant creates more challenges and vulnerabilities in everyday life. This study examines factors impacting their later life migration or settlement through Myanmar migrant workers in Ranong Province, Thailand. The empirical evidence is gathered from the survey using structured questionnaires and in-depth interviews. The result of the binary logistic regression study indicated that living conditions, receiving working skills in Thailand, political and …


Work Values Of Employees Across Multigenerational Workforce In Hospitality Industry In Thailand, Jatupathra Krancharoen Jan 2021

Work Values Of Employees Across Multigenerational Workforce In Hospitality Industry In Thailand, Jatupathra Krancharoen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A mixture of age diversity in workplace had been witnessed, yet an understanding of the association between multigenerational workforce and their work values was little known. As a result, many firms reported that the domestic conflicts were most likely to be due to the lack of generational understandability and appropriate HR policy in response to such a context. This study therefore aimed to: (1) examine the differences in work values across the generations of employees; (2) explore whether the demographic factors and parenthood status were associated with the work values of employees; (3) provide the policy suggestions/discussions on human resource …


Human Capital Development In Thailand: Lesson Learn From Singapore, Thunyaporn Techvitul Jan 2021

Human Capital Development In Thailand: Lesson Learn From Singapore, Thunyaporn Techvitul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper examines Human Capital Development in Thailand with a focus on policy recommendations. I applied interdisciplinary approaches to craft strategies for Thailand. Using literature reviews as a main tool of information collection, I study education policy and reforms in Thailand and Singapore to identify the strengths and weaknesses of the current situation in Thailand. By looking into Singapore’s success story, I summarize a few key points that Thailand can learn from Singapore. I additionally look at the current policy and make some revisions to it. I believe that going to college is very important for a country, therefore, I …


กระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล: การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเชิงนโยบาย, กานต์ ศรีสุวรรณ Jan 2021

กระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล: การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเชิงนโยบาย, กานต์ ศรีสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอขั้นตอนของกระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลในประเทศไทย กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับปรุงกฎหมายและพัฒนากระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน โดยเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของพยานหลักฐานดิจิทัล กระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล ประเด็นปัญหาและอุปสรรคจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสาร การลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกและกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่า กระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลในประเทศไทย 4 ขั้นตอน มีปัญหาและอุปสรรค คือ 1) การรวบรวมพยานหลักฐาน มีปัญหาในการรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์ขณะเกิดเหตุโดยไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข 2) การเก็บรักษาพยานหลักฐาน ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการจัดเก็บ และการจัดการพยานหลักฐานดิจิทัล 3) การวิเคราะห์พยานหลักฐานดิจิทัล บุคลากรบางส่วนขาดความเชี่ยวชาญที่จำเป็นเฉพาะด้าน 4) การนำเสนอผลพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล มีการโต้แย้ง หรือขาดน้ำหนักในการรับฟังในชั้นพิจารณาคดี ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ ควรมีการปรับปรุงพัฒนากระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลในประเทศไทยให้มีมาตรฐานการปฏิบัติที่ชัดเจนในทั้ง 4 ขั้นตอนให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล บุคลากรควรได้รับการอบรมเพิ่มเติมในประเด็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อช่วยลดปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสภาวิชาชีพนิติวิทยาศาสตร์ และจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแล โดยเริ่มต้นจากการส่งเสริมบทบาทของศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ที่มีอยู่เดิม เพื่อให้การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น การวิจัยนี้ ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจากทุนการศึกษาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต “100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” (The 100th Anniversary Chulalongkorn University Fund for Doctoral Scholarship) และทุน 90 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช [The 90th Anniversary of Chulalongkorn University Fund (Ratchadaphiseksomphot Endowment Fund)]


อาชญากรรมสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาผลกระทบของการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย, นภัสสร เปียจันทร์ Jan 2021

อาชญากรรมสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาผลกระทบของการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย, นภัสสร เปียจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องอาชญากรรมสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาผลกระทบของการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบของการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ศึกษาปัจจัยของการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยและเสนอแนะแนวทางและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขการลักลอบนําเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยให้สอดคล้องกับอนุสัญญาบาเซล (Basel Convention) โดยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญในหน่วยงานภาครัฐบาลและภาคประชาสังคม จำนวน 10 ราย ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์เริ่มมาจากการที่ประเทศจีนมีประกาศห้ามนำเข้าขยะรีไซเคิลอย่างเด็ดขาดในปี พ.ศ. 2560 และปัญหาการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่เดิมของประเทศไทย ทำให้ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีจำนวนสูงมากขึ้น พบการลักลอบโดยการสำแดงเท็จ การดำเนินการส่วนใหญ่มักยุติที่ชั้นศุลกากรโดยไม่เข้าสู่กระบวนการทางอาญาแม้จะมีกฎหมายระบุไว้ การลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ สุขภาพ สังคม ชุมชน และเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับปัจจัยของการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้น มีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านพื้นที่ ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ปัจจัยด้านการบังคับใช้กฎหมาย และปัจจัยด้านความคุ้มค่า ผลการศึกษาแนวทางในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์มีทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติงาน และการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย/นโยบาย/มาตรการ และการบังคับใช้อย่างเคร่งครัด และการสร้างจิตสำนึก และการตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้น


การตกเป็นเหยื่อการซื้อขายผลิตภัณฑ์ด้านความงามผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, จิตลดา สุจิตต์ Jan 2021

การตกเป็นเหยื่อการซื้อขายผลิตภัณฑ์ด้านความงามผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, จิตลดา สุจิตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัญหาการซื้อขายผลิตภัณฑ์ด้านความงามผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในสังคมไทย ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตกเป็นเหยื่อและการกระทำผิด รวมถึงผลลัพธ์ของการตกเป็นเหยื่อ และแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่ม จำนวน 19 คน ประกอบด้วย ผู้เสียหาย ผู้กระทำความผิด เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีและกำกับดูแล และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์ด้านความงามบนสื่อออนไลน์ และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยเก็บข้อมูลจากผู้เสียหายด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 27 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาที่พบ ได้แก่ ด้านกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย การชดเชยเยียวยา การควบคุมและกำกับดูแลร้านค้าออนไลน์ การควบคุมความปลอดภัยของสินค้ และการโฆษณาบนสื่อออนไลน์ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตกเป็นเหยื่อ ได้แก่ ค่านิยมการให้คุณค่าความงาม โอกาสในการตกเป็นเหยื่อ การมีส่วนร่วมของเหยื่อ การพึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่และพฤติกรรมของเหยื่อ ทั้งนี้ การพัฒนาแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อในเรื่องนี้ ประกอบด้วย การปรับปรุงอัตราโทษทางกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องสำอางให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน การกำกับดูแลเพื่อควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ การบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานของต่างประเทศในการสืบสวนสอบสวน เป็นต้น


การรับมือของภาครัฐกับการก่อการร้ายทางไซเบอร์ในประเทศไทย, นัทธมน เพชรกล้า Jan 2021

การรับมือของภาครัฐกับการก่อการร้ายทางไซเบอร์ในประเทศไทย, นัทธมน เพชรกล้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นับตั้งแต่อินเทอร์เน็ตถูกคิดค้นขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในโลกไซเบอร์ ปัญหาสำคัญที่สังคมกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้คือการเพิ่มขึ้นของการโจมตีทางไซเบอร์ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับการก่อการร้ายทางไซเบอร์ แต่ละประเทศในโลกกำลังเริ่มที่จะจัดการกับข้อกังวลของการก่อการร้ายทางอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นวิธีการใหม่ในการบรรลุเป้าหมายทางการเมือง ประเทศไทยเป็นหนึ่งที่กำลังตื่นตระหนกและให้ความสนใจในประเด็นนี้ แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ ประการจึงทำให้ความก้าวหน้าในการจัดการกับประเด็นนี้มีไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์การก่อการร้ายทางไซเบอร์ในประเทศไทยและสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทยในอนาคต วิจัยนี้จะทบทวนคำจำกัดความของคำว่าการก่อการร้ายทางไซเบอร์เพื่อกำหนดทิศทางการทำนโยบาย และแผนการเตรียมการของหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงของการก่อการร้ายทางไซเบอร์ไปในทางที่ถูกต้อง โดยการใช้เครื่องมือวิจัยในการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้ายไซเบอร์ของแต่ละองค์กร เพื่ออธิบายสถานการณ์การก่อการร้ายทางไซเบอร์และวิธีจัดการกับมันในอนาคต ผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์การก่อการร้ายไซเบอร์ในประเทศไทยนั้นเป็นเพียงแค่ภัยคุกคามทางไซเบอร์เท่านั้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามหน่วยงานภาครัฐของไทยก็มีศักยภาพในเรื่องของการออกกฎหมาย การใช้งบประมาณ และการเข้าถึงทางเทคโนโลยีอย่างปลอดภัยสำหรับประชาชน หากพิจารณาไปยังจุดอ่อนพบว่าประเทศไทยยังต้องมีการปรับปรุงในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย ข้อบกพร่องทางเทคโนโลยี และจำนวนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อลดจุดอ่อนที่กล่าวมา รัฐบาลจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการกระทำความผิดทางไซเบอร์ สร้างช่องทางทางอินเทอร์เน็ตใหม่ โดยที่รัฐสามารถควบคุมช่องทางทางไซเบอร์ได้ เพิ่มหลักสูตรความมั่นคงไซเบอร์ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย สร้างเครือข่ายสำรองกับประเทศอื่น ๆ หรือกับภาคเอกชนอื่น ๆ เพื่อรองรับการโจมตี


การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในศาลเยาวชนและครอบครัว : ศึกษาการพัฒนามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาชั้นหลังฟ้องคดี, อุดม ลาภิเศษพันธุ์ Jan 2021

การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในศาลเยาวชนและครอบครัว : ศึกษาการพัฒนามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาชั้นหลังฟ้องคดี, อุดม ลาภิเศษพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในศาลเยาวชนและครอบครัว : ศึกษาการพัฒนามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาชั้นหลังฟ้องคดี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนโดยศาลเยาวชนและครอบครัวผ่านการดำเนินการตามมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาชั้นหลังฟ้องคดี ที่ได้นำแนวทางการศึกษาการนำนโยบายไปปฏิบัติมาใช้เป็นแนววิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคผ่านปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวจากขั้นตอนการนำไปปฏิบัติ และศึกษาเปรียบเทียบกับกระบวนการของต่างประเทศ นำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการดำเนินการตามมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาชั้นหลังฟ้องคดี เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการนำไปปฏิบัติโดยศาลเยาวชนและครอบครัวได้ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสังเกต การอภิปรายกลุ่ม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ให้ได้ข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์แบบอุปนัย สร้างข้อสรุปเพื่อตอบคำถามการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินการตามมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาชั้นหลังฟ้องคดี เป็นทางเลือกหนึ่งแทนกระบวนการทางตุลาการปกติ ซึ่งประยุกต์มาจากงานยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ที่ผู้กระทำสำนึกผิดเข้าสู่กระบวนการของการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายผ่านการพูดคุย ให้ได้ผลเชิงสมานฉันท์ที่ผู้เสียหายได้รับการชดเชยเยียวยา และผู้กระทำผิดได้แก้ไขบำบัดฟื้นฟูเพื่อกลับคืนสู่สังคมด้วยดี ซึ่งพบปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติโดยศาลเยาวชนและครอบครัว 5 ประการ คือ ด้านกฎหมาย ด้านคุณภาพและความพอเพียงของทรัพยากร ด้านลักษณะหน่วยงานผู้ปฏิบัติ ด้านการสื่อสารและควบคุมดูแล และด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบท โดยสมควรปรับปรุงกฎหมาย จัดสรรทรัพยากร เพิ่มเติมหน่วยงานในองค์กรของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ และติดตามควบคุมดูแล เพื่อแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเยาวชนอย่างสมดุลกับการชดเชยเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมอย่างเหมาะสมกับบริบทของสังคม