Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Sociology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 21 of 21

Full-Text Articles in Sociology

มาตรการที่เหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ผลงานเพลงลิขสิทธิ์ในร้านอาหาร-ร้านกาแฟในกรุงเทพมหานคร, ชัยวัฒน์ ภมรเวชวรรณ Jan 2017

มาตรการที่เหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ผลงานเพลงลิขสิทธิ์ในร้านอาหาร-ร้านกาแฟในกรุงเทพมหานคร, ชัยวัฒน์ ภมรเวชวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายมาตรการสำหรับการเผยแพร่เพลงลิขสิทธิ์อย่างเหมาะสม และการลดปัญหาการเผยแพร่เพลงลิขสิทธิ์ในร้านอาหาร - ร้านกาแฟ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านอาหาร - ร้านกาแฟในกรุงเทพมหานคร จำนวน 9 คน และเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจในกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 คน และผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำนวน 1 คน การสุ่มตัวอย่างใช้แบบที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (snowball sampling) โดยใช้วิธีการพรรณนาข้อมูลร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมายที่สำคัญคือ การเลือกปฏิบัติในการตรวจสอบการเผยแพร่เพลง รวมไปถึงการแสวงหาผลประโยชน์แอบแฝงของผู้รับมอบอำนาจ ประกอบกับผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความรู้ในการเผยแพร่เพลงลิขสิทธิ์อยู่ในระดับน้อย 2) มาตรการที่เหมาะสมสำหรับการเผยแพร่เพลงลิขสิทธิ์คือ การกำหนดบทบาทการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์แอบแฝง และระบุรายละเอียดในข้อกฎหมายเกี่ยวกับข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ให้ชัดเจน โดยยึดผลประโยชน์ของเจ้าของผลงาน และการปกป้องคุ้มครองผลงานลิขสิทธิ์ 3) แนวทางการลดปัญหาและข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้คือ การให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์และการเผยแพร่เพลงลิขสิทธิ์แก่ประชาชน เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อลิขสิทธิ์ในประเทศไทยต่อไป


Socioeconomic Determinants Of Happiness Of The Elderly In Bhutan, Tashi Duba Jan 2017

Socioeconomic Determinants Of Happiness Of The Elderly In Bhutan, Tashi Duba

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Elderly in Bhutan are rising steadily as a proportion of total population. In 2015, population older than 60 constituted about 7.3% of the total population compared to 6.9% in 2010. By 2030, the elderly population is estimated to reach 10.1% of total population. Along with growing numbers of elderly in Bhutan and rapid socioeconomic transformations, the individual-level of happiness decreases with age, the lowest being among the elderly (the Gross National Happiness Index surveys of 2010 and 2015 and Bhutan Living Standard Survey 2012). Nevertheless, there is limited literature exploring factors that are associated with happiness of the elderly. This …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจ : ศึกษากรณีแชร์ลูกโซ่, พลิสสุภา พจนะลาวัณย์ Jan 2017

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจ : ศึกษากรณีแชร์ลูกโซ่, พลิสสุภา พจนะลาวัณย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจ : ศึกษากรณีแชร์ลูกโซ่" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของแชร์ลูกโซ่ในประเทศไทย ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตกเป็นเหยื่อของแชร์ลูกโซ่ และแนวทางการแก้ไขปัญหาการตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณควบคู่กับการศึกษาเชิงคุณภาพ ในการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากกลุ่มผู้ที่ตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่ จำนวน 396 คน ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรที่ศึกษาจำนวน 4 คน คือ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานโดยตรงเกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่ ผลการศึกษาพบว่า มีแชร์ลูกโซ่ในประเทศไทย 3 รูปแบบ คือ 1. รูปแบบของแชร์ลูกโซ่ที่ใช้วิธีการขายสินค้าและบริการ มีลักษณะชักชวนให้ร่วมเล่นแบบปากต่อปาก เช่น การขายสินค้า การลงทุนแบบต่างๆ 2. รูปแบบแชร์ลูกโซ่ที่ใช้วิธีการชักชวนให้มาเป็นสมาชิกจะมีลักษณะเหมือนยุคอดีต แต่เน้นการหาสมาชิกมากกว่าการขายสินค้า 3. รูปแบบแชร์ลูกโซ่ที่ใช้วิธีการให้ความรู้และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่เน้นการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือหาสมาชิกเข้าร่วม และการทดสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่ จำนวน 11 ตัวแปร ประกอบด้วย 1) ลักษณะของเหยื่ออาชญากรรม 2) ความเชื่อ 3) การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมตามแนวพุทธ 4) แบบแผนการดำเนินชีวิต 5) กิจวัตรประจำวัน 6) โอกาส 7) การบังคับ 8) การสนับสนุน 9) ความสามารถ 10) ค่านิยม และ 11) เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ ทั้งหมดส่งผลต่อพฤติกรรมการตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่ มีแนวทางในการแก้ไขปัญหา คือ 1) การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับรูปแบบของแชร์ลูกโซ่ที่หลากหลายและซับซ้อน 2) แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ทันทีเมื่อประชาชนตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่ เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด 3) ควรมีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปราบปราม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่ให้เกิดเป็นรูปธรรม และ 4) ควรแก้ไขบทลงโทษในความผิดเกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่ให้รุนแรงขึ้น เพื่อให้ผู้กระทำผิดเกิดความเกรงกลัว ไม่กล้ากระทำความผิด


ทายาทความรุนแรง : แนวคิดการประกอบสร้างทางสังคมต่อการจัดการประสบการณ์ความรุนแรง, นญา พราหมหันต์ Jan 2017

ทายาทความรุนแรง : แนวคิดการประกอบสร้างทางสังคมต่อการจัดการประสบการณ์ความรุนแรง, นญา พราหมหันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องทายาทความรุนแรง: แนวคิดการประกอบสร้างทางสังคมต่อการจัดการประสบการณ์ความรุนแรง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) เป็นเครื่องมือหลักในการรวบรวมข้อมูล ศึกษาวิจัยผ่านเรื่องเล่า (narrative) ของผู้หญิงอายุระหว่าง 20 - 60 ปี จำนวน 5 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มาจากพื้นฐานครอบครัวตั้งต้นที่รุนแรงหรือมีประสบการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นช่วงก่อนอายุ 20 ปีบริบูรณ์ จากการศึกษาวิจัย มีข้อค้นพบดังต่อไปนี้ 1) กรอบแนวคิดทายาทความรุนแรง อธิบายปัจเจกบุคคลที่มีประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัวซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับ "พิษ" "ความรุนแรง" หรือ "ผลกระทบในเชิงลบ"อันเนื่องมาจากประสบการณ์ดังกล่าว ซึ่งอาจสะท้อนผ่านทัศนคติที่รุนแรง อารมณ์ที่รุนแรง จนอาจนำไปสู่พฤติกรรมที่รุนแรงต่าง ๆ ต่อไปได้ 2) แนวคิดการประกอบสร้างทางสังคมเป็นการอธิบายกลไกทางสังคม 4 ระดับ ประกอบด้วย ความรุนแรงที่แฝงอยู่ในระดับความคิดความเชื่อหรือวัฒนธรรมที่รุนแรง (Toxic Root) สภาพแวดล้อมทางสังคมที่รุนแรง (Toxic Environment) ความสัมพันธ์ที่รุนแรง (Toxic Relationships) และปัจเจกบุคคลในฐานะทายาทความรุนแรง (Toxic Fruits) ซึ่งทั้งหมดถือเป็นปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้ความรุนแรงในฐานะโครงสร้างทางสังคมสามารถถูกสืบทอดและถ่ายทอดมาอย่างยาวนานรุ่นแล้วรุ่นเล่า 3) ทายาทความรุนแรงสามารถเลือกจัดการกับประสบการณ์ความรุนแรงได้ 2 แนวทาง ได้แก่ การจัดการด้วยวิถีทางที่รุนแรงและการจัดการด้วยวิถีทางที่ไม่รุนแรง (4) ปัจเจกบุคคลที่เติบโตมาจากพื้นฐานครอบครัวตั้งต้นที่รุนแรงมีแนวโน้มที่จะสืบทอดหรือผลิตซ้ำความรุนแรงต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม บุคคลนั้นก็สามารถเสริมสร้างพลังแห่งตนและเรียนรู้ที่จะจัดการประสบการณ์ความรุนแรงเหล่านั้นด้วยวิถีทางที่ไม่รุนแรงได้เช่นกัน 5) ในการยุติวงจรความรุนแรงในครอบครัว จำเป็นต้องอาศัย 2 พลังสำคัญ ทั้งพลังภายในของปัจเจกบุคคลเองและพลังภายนอกจากสังคมทุกภาคส่วนที่จะเข้ามามีส่วนในการแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวร่วมกัน เพราะฉะนั้นการเสริมสร้างพลังแห่งตนจึงต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการเสริมสร้างพลังทางสังคมเพื่อยุติโครงสร้างความรุนแรง โดยสรุป เนื่องจากมนุษย์ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ผลผลิตจากการประกอบสร้างทางสังคมเท่านั้น แต่มนุษย์เสมือนผลผลิตทางสังคมซึ่งมาพร้อมกับเมล็ดพันธุ์ที่ทรงพลัง ซึ่งมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงตนเองและมีความสามารถในการสร้างสรรค์สังคมไปในวิถีทางที่ดีขึ้นต่อไปได้


การกลับใจของผู้พ้นโทษผ่านทางการใช้ชีวิตในบ้านกึ่งวิถีแนวคริสต์ : ศึกษากรณีบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพรของมูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียน, ทิวาพร เดชมณี Jan 2017

การกลับใจของผู้พ้นโทษผ่านทางการใช้ชีวิตในบ้านกึ่งวิถีแนวคริสต์ : ศึกษากรณีบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพรของมูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียน, ทิวาพร เดชมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องการกลับใจของผู้พ้นโทษในบ้านกึ่งวิถีแนวคริสต์ ศึกษากรณีบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพร ของมูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและรูปแบบการดำเนินกระบวนการของบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพร กระบวนการกลับใจที่เกิดขึ้นกับผู้พ้นโทษที่สมัครใจเข้าร่วมในบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพร และแนวทางในการพัฒนาบทบาทของภาคประชาสังคมในรูปแบบของบ้านกึ่งวิถี ที่นำเอาหลักคำสอนในพระคริสตธรรมคัมภีร์มาปรับใช้ช่วยเหลือผู้พ้นโทษที่มีความแตกต่างหลากหลายให้กลับสู่สังคม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่ออธิบายประสบการณ์การกลับใจของผู้พ้นโทษและการดำเนินการในบ้านกึ่งวิถีแนวคริสต์ ผลการวิจัยพบว่า (1) การดำเนินงานของบ้านพระพรมีการดูแลสมาชิกอย่างเป็นระบบ กิจกรรมต่างๆส่งเสริมระเบียบวินัยและความรับผิดชอบของสมาชิก ดูแลปัจจัยพื้นฐาน ฝึกอาชีพเสริม และมีชั้นเรียนเพื่อพัฒนาความรู้ทางพระคัมภีร์ นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการจัดการกับอารมณ์และพฤติกรรมติดตัวของสมาชิกให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น มีคริสตจักรพระพรเป็นศูนย์กลางประสานงานกับผู้พ้นโทษและเป็นสถานที่ที่สมาชิกเก่าและใหม่สามารถกลับมารวมตัวกันได้ ซึ่งทำให้เกิดพันธะทางสังคมที่ต่อเนื่องช่วยในการสอดส่องดูแลพฤติกรรมอย่างไม่เป็นทางการเมื่อกลับสู่สังคม (2) กระบวนการกลับใจของสมาชิกในบ้านพระพร พบว่าสมาชิกมีการเปลี่ยนแปลงในจิตใจคือตัดสินใจที่จะละทิ้งการกระทำผิดและตั้งใจดำเนินชีวิตตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์เริ่มตั้งแต่ในเรือนจำ และมีสมาชิกบางคนเกิดการเปลี่ยนแปลงนี้เมื่อได้รับการฝึกฝนในบ้านพระพรแล้ว การเปลี่ยนแปลงเกิดทั้งด้านพฤติกรรม ด้านอัตมโนทัศน์ และด้านจิตวิญญาณส่งผลให้สมาชิกมีมุมมองใหม่ต่อตนเองและผู้อื่นในทางที่ดีขึ้น ช่วยให้พวกเขาดำเนินชีวิตในช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional Period) จากเรือนจำไปสู่สังคมภายนอกได้อย่างเข้มแข็ง (3) ควรมีการขยายแนวคิดในการส่งต่อผู้พ้นโทษจากเรือนจำไปอยู่ในการดูแลของคริสตจักรหรือให้หน่วยงานภาคเอกชนอื่นๆ เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาแบบครบวงจรโดยอาจพ่วงมิติของศาสนาอันจะส่งผลให้เกิดการช่วยเหลือผู้พ้นโทษที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น


Sisters, Boyfriends, And The Big City: Trans Entertainers And Sex Workers In Globalized Thailand, Leo Bernardo Escalante Villar Jan 2017

Sisters, Boyfriends, And The Big City: Trans Entertainers And Sex Workers In Globalized Thailand, Leo Bernardo Escalante Villar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As transgender issues penetrate mainstream human rights dialogue, most of the current understanding and research on this marginalized group revolve around the perspective of HIV/AIDS prevention and awareness. To add to the growing academic discourse on transgender women in the world of work, this research looks into the lives of transgender women sex workers and entertainers in the major cities of Bangkok and Pattaya in Thailand. The research uses a qualitative approach consisting of content analysis of relevant Thai policies and semi-structured interviews with 8 transgender women, a transgender-focused local NGO, and the management team of a prominent transgender cabaret …


Singaporean Malays' Perspectives Of Income Inequality And Its Impact On Their Opportunities In Singapore’S Education System, Ngak Leng Tan Jan 2017

Singaporean Malays' Perspectives Of Income Inequality And Its Impact On Their Opportunities In Singapore’S Education System, Ngak Leng Tan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Studies on the profile of income inequality revealed that Singaporean Malays continuously occupied the lowest income strata and fared relatively poorer in their academic performance compared to other races. In a highly competitive meritocratic education system that rewards relative merit, yet neglects how unequal backgrounds provided unfair starting points for some, such low-income Malay households may appear to be systemically disadvantaged by income inequality and their access to better education. Under these circumstances, income inequality is further perpetuated. Through the use of focus group discussions and in-depth interviews, my proposed research will seek to understand how Singaporean Malays perceive such …


การวิเคราะห์ปัจจัยหลักต่อความต้องการจ้างงานประชากรวัยทำงานวัยปลาย : กรณีศึกษาสถานประกอบการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, พิมพวรรณ วิเศษศรี Jan 2017

การวิเคราะห์ปัจจัยหลักต่อความต้องการจ้างงานประชากรวัยทำงานวัยปลาย : กรณีศึกษาสถานประกอบการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, พิมพวรรณ วิเศษศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดอีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า ความไม่สมดุลในโครงสร้างอายุประชากรอาจส่งผลให้ขาดแคลนประชากรวัยแรงงานได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของปัจจัยต่อความต้องการจ้างงานประชากรวัยทำงานวัยปลาย และเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของสถานประกอบการ ลักษณะของผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจด้านนโยบายการจ้างแรงงานที่มีอิทธิพลต่อการให้ระดับความสำคัญต่อปัจจัยหลักที่ใช้จ้างงานประชากรวัยทำงานวัยปลาย ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจด้านนโยบายการจ้างแรงงาน โดยใช้ข้อมูลรายชื่อบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 22 มิถุนายน 2559 กลุ่มตัวอย่าง 614 แห่งและมีการตอบกลับแบบสอบถามจำนวน 136 แห่ง คิดเป็นระดับความเชื่อมั่นที่ 90% ผลการศึกษาพบว่าสถานประกอบการกว่าร้อยละ 70 มีการจ้างงานประชากรวัยทำงานวัยปลายแล้ว และส่วนมากให้ค่าความสำคัญกับปัจจัยต่อความต้องการจ้างงานประชากรวัยทำงานวัยปลายจากสูงที่สุดไปต่ำที่สุด คือ ด้านประสบการณ์และความชำนาญในการทำงาน ด้านภาระรับผิดชอบงาน ด้านความพร้อมของสภาพร่างกาย ด้านความสามารถของนายจ้างในการจ่ายค่าตอบแทน ด้านประสบการณ์จากการฝึกอบรมและความรู้ในงาน ด้านความพร้อมในการทำงานเต็มเวลา ด้านความสามารถการใช้คอมพิวเตอร์ ด้านการศึกษา และด้านเพศ หากแต่สถานประกอบการบางลักษณะ อาทิ กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตและจำหน่ายกลับให้ค่าความสำคัญสูงสุดในปัจจัยด้านภาระรับผิดชอบงาน สถานประกอบการที่มีจำนวนพนักงานระหว่าง 50-200 คนให้ค่าความสำคัญในปัจจัยความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์แทนปัจจัยด้านความพร้อมของสภาพร่างกาย นอกจากนี้หากพิจารณาองค์ประกอบของสถานประกอบการโดยวิธีถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่มพบว่า ลักษณะของสถานประกอบการ ที่ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจ (ผู้ผลิต ผู้ผลิตและจำหน่าย บริการ) ทุนจดทะเบียน สถานการณ์การจ้างประชากรวัยทำงานวัยปลายในปัจจุบัน และตำแหน่งของผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจจ้างแรงงาน มีอิทธิพลต่อการพิจารณาจ้างงานในปัจจัยหลัก 4 ด้านคือ ด้านประสบการณ์และความชำนาญในการทำงาน ด้านภาระรับผิดชอบงาน ด้านสภาพร่างกาย และด้านประสบการณ์การฝึกอบรมและความรู้ในงานอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.1


ปัจจัยด้านประชากร เศรษฐกิจสังคม และอนามัยเจริญพันธุ์ที่ส่งผลต่อการมีบุตรคนแรกช้าของสตรีสมรสในประเทศไทย, ณิชกานต์ แก้วบัวดี Jan 2017

ปัจจัยด้านประชากร เศรษฐกิจสังคม และอนามัยเจริญพันธุ์ที่ส่งผลต่อการมีบุตรคนแรกช้าของสตรีสมรสในประเทศไทย, ณิชกานต์ แก้วบัวดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นำเสนอสถานการณ์และแนวโน้มของอายุเมื่อมีบุตรคนแรก และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากร เศรษฐกิจสังคม และอนามัยเจริญพันธุ์กับการมีบุตรคนแรกช้า ของสตรีสมรสในประเทศไทย การศึกษาประยุกต์ใช้แนวคิดตัวแบบเหตุและผลของอายุเมื่อมีบุตรคนแรก (Causal Model of Age at First Birth) ของ Rindfuss & St.John (1983) และใช้ข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจของโครงการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและความอยู่ดีมีสุขในบริบทสังคมสูงวัย (Survey of Population Change and Well-being in the Context of Aging Society : PCWAS) ของวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งดำเนินการจัดเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน - กันยายน พ.ศ. 2559 มีประชากรตัวอย่าง คือสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุระหว่าง 15-49 ปี ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่าง โดยการศึกษาครั้งนี้เลือกเฉพาะสตรีเคยสมรสอายุระหว่าง 30-49 ปี ที่มีบุตรเกิดมีชีพอย่าง 1 คน และมีข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ครบถ้วน (N=4,324) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สมการถดถอยแบบโลจิสติกทวิภาค (Binary Logistic Regression Analysis) โดยตัวแปรตามคืออายุเมื่อมีบุตรคนแรกช้าของสตรี แปลงค่าให้เป็นตัวแปรหุ่น โดย 0 แสดงอายุสตรีที่มีบุตรคนแรกก่อนอายุ 29 ปี และ 1 แสดงตรงกันข้าม ผลการศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มของอายุเมื่อมีบุตรคนแรกของสตรีสมรสในประเทศไทย พบว่าสตรีมีอายุเฉลี่ยเมื่อมีบุตรคนแรกอยู่ที่ 23.5 ปี โดยมีสัดส่วนของสตรีที่มีบุตรคนแรกก่อนอายุ 29 ปี และตั้งแต่ 29 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 82.6 และ 17.4 ตามลำดับ และอายุเมื่อมีบุตรคนแรกของสตรีมีแนวโน้มเป็นลักษณะคงที่ในช่วง ระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้พบว่า อายุแรกสมรส จำนวนบุตรที่ต้องการ ระดับการศึกษา เขตที่อาศัย การมุ่งเน้นการทำงาน สถานที่ทำงาน รายได้ปัจจุบัน ความสามารถในการมีบุตร …


ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางกาย สภาพแวดล้อม การมีส่วนร่วมทางสังคม และสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย, นามชัย กิตตินาคบัญชา Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางกาย สภาพแวดล้อม การมีส่วนร่วมทางสังคม และสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย, นามชัย กิตตินาคบัญชา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สังคมสูงวัยของไทยเริ่มประสบปัญหาการขาดสมดุลเชิงโครงสร้างประชากรโดยจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นแต่จำนวนวัยแรงงานกลับลดลงสะท้อนภาระพึ่งพิงทางสังคมสูงขึ้นเป็นลำดับ ดังนั้น การหาแนวทางเพิ่มหรือคงรักษาศักยภาพของผู้สูงอายุให้ได้อำนวยประโยชน์มากและยาวนานที่สุดจึงเป็นหนทางหนึ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับสังคมส่วนรวม ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะสามารถเข้าใจถึงสภาพที่กำหนดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุไทย (ซึ่งถูกยอมรับโดยทั่วกันว่าเป็นการใช้ศักยภาพในการสร้างประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้สูงอายุเองและต่อสังคมส่วนรวมด้วย) จากแนวคิดสมมติฐานการคล้อยตามสภาพแวดล้อม (The Environmental Docility Hypothesis) ทางนิเวศวิทยาการสูงอายุเชื่อว่า ความสามารถทางกายกับสภาพแวดล้อมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมซึ่งส่งผลถึงจิตใจของผู้สูงอายุด้วย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางกาย สภาพแวดล้อม การมีส่วนร่วมทางสังคม และสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุไทย และเพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถทางกายและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุที่ต่างและร่วมกันส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางสังคมและสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุ รวมทั้งเพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถทางกายและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุที่ส่งผลผ่านการมีส่วนร่วมทางสังคมไปสู่สุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุ โดยอาศัยข้อมูลจากโครงการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย ปีพ.ศ. 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งประชากรเป้าหมายคือผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้วิจัยได้ทำการถ่วงน้ำหนักด้วยโครงสร้างประชากรของประเทศ โดยตัวอย่างทั้งหมดหลังถ่วงน้ำหนักมีจำนวน 13,331 รายซึ่งเลือกเฉพาะผู้ตอบแบบสำรวจด้วยตนเอง จากนั้นจึงใช้การวิเคราะห์ทางสถิติความถดถอยเชิงซ้อน และการทดสอบความเป็นตัวแปรแทรกกลาง ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถทางกาย และสภาพแวดล้อมทางสังคม (จากครอบครัว และจากรัฐ/ชุมชน/สังคม) ต่างมีอิทธิพลทางตรงทางบวกต่อการมีส่วนร่วมทางสังคมและสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุ รวมทั้งต่างมีอิทธิพลทางอ้อมทางบวกผ่านการมีส่วนร่วมทางสังคมไปสู่สุขภาพจิตที่ดีด้วย แต่สำหรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในบ้านซึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับความสามารถทางกายส่งผลให้มีผลทางลบต่อการมีส่วนร่วมทางสังคม แต่มีอิทธิพลทางตรงทางบวกต่อสุขภาพจิตที่ดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนปฏิสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางกายกับสภาพแวดล้อมทางสังคมจากรัฐ/ชุมชน/สังคมมีอิทธิพลทางบวกต่อการมีส่วนร่วมทางสังคม และปฏิสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางกายกับสภาพแวดล้อมทางสังคมจากครอบครัวมีอิทธิพลทางบวกต่อสุขภาพจิตที่ดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 สรุปได้ว่า การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความสามารถทางกายที่มากและลดลงได้ช้าที่สุด และการสนับสนุนสภาพแวดล้อมทางสังคม (จากครอบครัว และจากรัฐ/ชุมชน/สังคม) ของผู้สูงอายุให้ได้มากจะทำให้ผู้สูงอายุสามารถรักษาทั้งการมีส่วนร่วมทางสังคมและสุขภาพจิตที่ดีไว้ได้มากและต่อเนื่องนานที่สุด รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางสังคมจากครอบครัวยังสามารถช่วยชะลอระดับสุขภาพจิตที่ดีที่จะลดลงจากผลของความสามารถทางกายที่ต้องลดลงตามอายุไว้ได้ด้วย และสภาพแวดล้อมทางสังคมจากรัฐ/ชุมชน/สังคมยังสามารถช่วยชะลอระดับการมีส่วนร่วมทางสังคมที่จะลดลงจากผลของความสามารถทางกายที่ต้องลดลงตามอายุไว้ได้ด้วย ผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ทั้งให้ภาครัฐหรือผู้เกี่ยวข้องด้านการบริหารนโยบายสาธารณะมีแนวทางสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุเพื่อสามารถนำศักยภาพของผู้สูงอายุไทยมาเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของประเทศได้เพิ่มขึ้น และสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีด้วย


ความอยู่ดีมีสุขทางด้านเศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทย, จารุวรรณ ศรีภักดี Jan 2017

ความอยู่ดีมีสุขทางด้านเศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทย, จารุวรรณ ศรีภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความอยู่ดีมีสุขทางเศรษฐกิจ และความเหลื่อมล้ำทางเพศ สถานภาพสมรส และความเป็นปึกแผ่นระหว่างสมาชิกต่างรุ่นในครอบครัวของผู้สูงอายุไทย รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ สถานภาพสมรส และความเป็นปึกแผ่นระหว่างสมาชิกต่างรุ่นในครอบครัวกับความอยู่ดีมีสุขทางด้านเศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่ตอบแบบสอบถามด้วยตนเองในโครงการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนทั้งสิ้น 26,793 คน โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติคแบบเรียงลำดับ เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่างๆ กับความอยู่ดีมีสุขทางด้านเศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทย ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุไทยมีความอยู่ดีมีสุขทางด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง แต่หากพิจารณาความอยู่ดีมีสุขทางด้านเศรษฐกิจ 4 มิติ พบว่า ผู้สูงอายุไทยมีความอยู่ดีมีสุขทางเศรษฐกิจด้านการดำรงชีพอยู่ในระดับที่สูงมาก มีความอยู่ดีมีสุขทางเศรษฐกิจด้านการทำงานอยู่ในระดับสูง มีความอยู่ดีมีสุขทางเศรษฐกิจด้านรายได้อยู่ในระดับปานกลาง และมีความอยู่ดีมีสุขทางเศรษฐกิจด้านทรัพย์สินและเงินออมอยู่ในระดับต่ำ โดยเมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอิสระแล้ว ผลการศึกษาได้ข้อค้นพบที่สำคัญ คือ ผู้สูงอายุเพศชายมีความอยู่ดีมีสุขทางด้านเศรษฐกิจสูงกว่าผู้สูงอายุเพศหญิง ผู้สูงอายุที่สมรสมีความอยู่ดีมีสุขทางด้านเศรษฐกิจสูงกว่าผู้สูงอายุที่เป็นโสด ผู้สูงอายุที่ได้รับเงินจากบุตรตั้งแต่ 30,000 บาทต่อปีขึ้นไป มีความอยู่ดีมีสุขทางด้านเศรษฐกิจสูงกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับเงินจากบุตร และผู้สูงอายุที่มีการเยี่ยมเยียนและติดต่อกับบุตรมีความอยู่ดีมีสุขทางด้านเศรษฐกิจสูงกว่าผู้สูงอายุที่ไม่เคยเยี่ยมเยียนและติดต่อกับบุตร ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมุ่งเน้นส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัว เพราะส่วนหนึ่งของการให้การช่วยเหลือเกื้อหนุนซึ่งกันและกันระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรมาจากสัมพันธภาพที่ดีและแน่นแฟ้น รวมทั้งส่งเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพในคู่สมรสที่มีความพร้อม เพื่อเป็นหลักประกันในอนาคตให้กับผู้สูงอายุไทยว่าอย่างน้อยเมื่อตกอยู่ในภาวะยากลำบากยังมีครอบครัวเป็นหลักให้พึ่งพา


Treading Water: An Ethnography Of The Plight And Capabilities Of Afghan Refugees In Indonesia, Jennifer Kay Moberg Jan 2017

Treading Water: An Ethnography Of The Plight And Capabilities Of Afghan Refugees In Indonesia, Jennifer Kay Moberg

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ACCORDING TO THE 2016 UNHCR STATISTICS, THERE ARE OVER 14,000 REFUGEES TRAPPED IN INDEFINITE TRANSIT IN INDONESIA, WITH FAINT HOPE OF EVER BEING RESETTLED TO ANY THIRD COUNTRY. THE WEST JAVA TOWN OF CISARUA ALONE HOSTS NEARLY 5,000 REFUGEES FROM THE ETHNIC HAZARA MINORITY GROUP FROM AFGHANISTAN. IN THEIR INTRACTABLE LIMBO, A GROUP OF THESE HAZARAS HAVE SET UP A NUMBER OF REFUGEE RUN LEARNING CENTRES AND COMMUNITY INITIATIVES, CREATING FOR THEMSELVES MEANING AND PURPOSE DURING THEIR UNBOUNDED TRANSIT. THIS TOWN AND POPULATION REPRESENT A UNIQUE CASE STUDY IN REFUGEE RESILIENCE, TRANSFORMATION, AND EMPOWERMENT IN LIGHT OF A DEEPENING GLOBAL …


The Challenges And Livelihood Strategies Of Pakistan's Urban Women Refugees In Bangkok,Thailand, Margaret Mbeyu Nguma Jan 2017

The Challenges And Livelihood Strategies Of Pakistan's Urban Women Refugees In Bangkok,Thailand, Margaret Mbeyu Nguma

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Despite the fact that Thailand is a non-signatory of the 1951Refugee Convention relating to the Status of Refugee and its 1967 protocol, it has become a home to many and still provides basic protection for many refugees and those who seek asylum. In principle with lack of some legal framework that recognizes and provides documents for asylum seekers and refugees, these subjects are treated as illegal migrants under the Thai Law article 12 of Immigration act. The focus of the study is to understand and examine the challenges and the livelihood strategies faced by Pakistan urban women refugees on access …


Development And Dynamics Of The Informal Workers In Thailand: A Case Study Of Informal Workers Network, Tanachot Assawarotjanamitre Jan 2017

Development And Dynamics Of The Informal Workers In Thailand: A Case Study Of Informal Workers Network, Tanachot Assawarotjanamitre

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis aims to analyze the informal worker movement that is associated with a labor NGO named HomeNet Thailand, which helped mobilize informal workers and strengthen their skills and knowledge. The core analysis of thesis follows Resource Mobilization Theory and Political Process Theory to analyze the informal workers' developments, conditions, and limitations. This thesis explores the Informal workers' situation during Yingluck Shinawatra's civilian government (2011-2014) and Prayut Chan-o-cha's miliatry government (2014-Present). The thesis consists of 5 parts. Firstly, an introduction elaborates the research methodology of Archival Research and Interview methods. Secondly, a literature review and theoretical framework show the limitations …


Who Governs The Wasteland? Bangkok’S Informal Recycling Sector In Urban Waste Management, Vanessa Hongsathavij Jan 2017

Who Governs The Wasteland? Bangkok’S Informal Recycling Sector In Urban Waste Management, Vanessa Hongsathavij

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Amidst rapid population growth and urbanization, municipalities confront many challenges posed by waste generation, and its subsequent collection and disposal. In light of these challenges, an integrated solid waste management has emerged as an alternative and more holistic approach to tackling waste challenges, including a more serious consideration of power dynamics and relationships between different actors and interests. Integrated solid waste management in developing countries further reveals an active informal sector and various practices of informality in resource recovery and recycling. Yet, it remains unclear if solid waste management systems can further integrate the informal sector in such a way …


Microcredit And Women's Empowerment In Dry Zone Area, Myanmar, Zon Phyu Linn Jan 2017

Microcredit And Women's Empowerment In Dry Zone Area, Myanmar, Zon Phyu Linn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Microcredit (microloans) has proved to be an important liberating force in societies where women have to struggle against repressive social and economic conditions. As a tradition in Myanmar society, women often take the back seat and are not active in decision-making despite working hard in all aspects of the economic sphere. The improvement in women's economic empowerment has the potential to lead to positive changes in both social and psychological dimensions. An important institution for promoting microcredits in Myanmar is Pact INGO, which is implementing a savings-led economic empowerment program for women, under the WORTH model. Since its launch, Pact …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกเรียนโขนนอกวิทยาลัยนาฏศิลป์ ในเขตกรุงเทพมหานคร, กันต์ จามรมาน Jan 2017

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกเรียนโขนนอกวิทยาลัยนาฏศิลป์ ในเขตกรุงเทพมหานคร, กันต์ จามรมาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการเลือกเรียนโขนนอกวิทยาลัยนาฏศิลป์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่เลือกเรียนโขนและศิลปะแขนงอื่น ๆ จำนวน 331 คน จากการสุ่มเลือกแบบเจาะจงกลุ่มจากโรงเรียนทั้งหมด 10 โรงเรียน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ มีแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผ่านการวิเคราะห์ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกเรียนโขน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกเรียนโขนนอกวิทยาลัยนาฏศิลป์ ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยกลุ่มปัจจัย 7 กลุ่ม ได้แก่ (1) ประโยชน์ของนาฏศิลป์โขนที่มีต่อตนเอง (2) ความสามารถทางโขน (3) ความคุ้นเคยเกี่ยวกับโขน (4) ความสอดคล้องเหมาะสมต่อตนเอง (5) สิ่งตอบแทนจากภายนอก (6) ทัศนคติของคนรอบข้าง (7) อาจารย์ผู้สอนและสถาบัน 2) ปัจจัยภายนอก 3 ตัว คือ สิ่งตอบแทนภายนอก ทัศนคติของคนรอบข้าง และอาจารย์ผู้สอนและสถาบัน ได้ส่งอิทธิพลไปยังปัจจัยภายใน ได้แก่ ความคุ้นเคยเกี่ยวกับโขน ความสามารถทางโขน ความสอดคล้องเหมาะสมต่อตนเองและประโยชน์ของนาฏศิลป์โขนที่มีต่อตนเอง 3) ปัญหาและอุปสรรคในการเรียนโขนสำหรับผู้เรียนนอกวิทยาลัยนาฏศิลป์ ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า (1) อาจารย์ผู้สอนและสถาบันเน้นที่การแสดงเป็นหลัก (2) โรงเรียนหรือสถาบันไม่มีอาจารย์ผู้สอนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโขนโดยตรงหรือมีอาจารย์ผู้สอนไม่เพียงพอ (3) ขาดความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการพัฒนาทักษะการแสดงโขน (4) โอกาสในการแสดงความสามารถมีน้อย (5) สถาบันขาดการยอมรับจากสังคมว่าเป็นสถาบันที่ดีมีคุณภาพ


An Analsis Of "Participation" In Participatory Irrigation Management: A Case Study Of Kraseaw Reservior, Suphan Buri Province, Thailand, Somruedee Karnphakdee Jan 2017

An Analsis Of "Participation" In Participatory Irrigation Management: A Case Study Of Kraseaw Reservior, Suphan Buri Province, Thailand, Somruedee Karnphakdee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Improving irrigation efficiency has been identified as the ultimate goal in irrigation management across the globe. In this, respect, Participatory Irrigation Management (PIM) has been implemented in Thailand to increase irrigation efficiency through reforming institutional structures and the establishment of the Water Users' Organization. The main purpose of this study is to analyze the participation of each stakeholder in the participatory irrigation management of the Kraseaw irrigation project, Suphan Buri province. The concept of participation and the ladders of participation have been adopted in the study of identify the participation of all stakeholders. Data collection methods included i-depth interviews, focus …


Exploring Collaborative Governance Approaches To Addressing Trafficking And Forced Labour Of Migrant Workers In Thailand’S Fisheries Industry, Sara Sunisa Pasang Lehman Jan 2017

Exploring Collaborative Governance Approaches To Addressing Trafficking And Forced Labour Of Migrant Workers In Thailand’S Fisheries Industry, Sara Sunisa Pasang Lehman

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand's fishing industry has been in the global spotlight in recent years with continued international attention on human rights abuses taking place on fishing vessels and in fish processing areas. Recently, the Thai Government, suppliers and retailers have been spurred to action to eliminate forced labour and human trafficking from seafood supply chains, including collaborating through new multi-stakeholder initiatives (MSIs). This paper explores different examples of collaboration between the public sector, industry and civil society to combat forced labor and trafficking in Thailand's fishing industry. This research uses a conceptual framework based on collaborative governance to conduct qualitative research using …


Knowledge Politics In National Nuclear Energy Planning In Thailand (2007-2017) With A Case Study Of Ubon Ratchathani Province, Tipakson Manpati Jan 2017

Knowledge Politics In National Nuclear Energy Planning In Thailand (2007-2017) With A Case Study Of Ubon Ratchathani Province, Tipakson Manpati

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand has long aspired to nuclear power for electricity generation, and there are plans for nuclear power projects in the most recent Power Development Plans (2015-2036) - PDP 2015. The reason for incorporating nuclear power relates to anticipation of growing energy demand. Nuclear power is seen as an attractive option for diversifying energy sources, as to date Thailand has largely depended on domestic natural gas reserves and imported fuel resources. On the one hand, nuclear power has been promoted as a 'low carbon' emission option to mitigate greenhouse gas (GHG) emissions. On the other hand, nuclear technology carries significant potential …


ความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ, วสวัตติ์ สุติญญามณี Jan 2017

ความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ, วสวัตติ์ สุติญญามณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นปึกแผ่นของประชากรต่างรุ่นในครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือรวมถึง 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความเป็นปึกแผ่นของประชากรต่างรุ่นในครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ และ 3)เพื่อศึกษารูปแบบโครงสร้างและความสัมพันธ์ในครอบครัวในอนาคตของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ โดยอาศัยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณนั้นเริ่มจากการวิจัยเอกสาร นำไปสู่การวิจัยเชิงสำรวจ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 - มิถุนายน 2559 โดยได้กลุ่มตัวอย่างจากการเก็บแบบสอบถามที่เป็นวัยแรงงาน ในครัวเรือนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง ม้ง ล่าหู่ และ อาข่า ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และน่าน ทั้งสิ้นจำนวน 1,285 คนที่เป็นตัวแทนครัวเรือน และกลุ่มตัวอย่างจากการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 50 คนที่มีสถานภาพโสดที่อยู่ในวัยแรงงานช่วงอายุ18-25 ปี ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์หลายตัวแปร (Multivariate Analysis) ผสมผสานกับข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำคัญดังนี้ 1) ระดับความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ จากมิติของความเป็นปึกแผ่นใน 4 มิติ คือ ความเป็นปึกแผ่นเชิงหน้าที่ ความเป็นปึกแผ่นเชิงความรู้สึก มิติความเป็นปึกแผ่นเชิงบรรทัดฐาน และความเป็นปึกแผ่นเชิงปฏิสัมพันธ์ร่วม พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาเผ่าประชากรต่างรุ่นในครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือโดยรวมมีระดับความเป็นปึกแผ่นมาก โดยกลุ่มชาติพันธุ์ม้งมีระดับสูงที่สุด รองลงมาคือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ล่าหู่ และอาข่า 2) เมื่อใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยวิธีการถดถอยพหุคูณโลจิสติกเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ พบว่าปัจจัยทางด้านทุนทางสังคม ในส่วนของ จำนวนบุตรในครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัว และลักษณะรูปแบบโครงสร้างครอบครัว ปัจจัยทางด้านความเป็นชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน ปัจจัยทางด้านทุนทางเศรษฐกิจ อันได้แก่ รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อปี และสถานภาพการทำงาน มีผลต่อระดับความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือโดยรวม และในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ 3) แนวโน้มโครงสร้างครอบครัวในด้านจำนวนบุตรของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือจากอดีตสู่อนาคต พบว่ามีแนวโน้มที่ลดลง 4) เมื่อใช้วิธีสมการถดถอยปัวซอง (Poisson Regression Analysis) เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนบุตรในปัจจุบันและความต้องการจำนวนบุตรที่จะมีในอนาคตในครอบครัว พบว่า ปัจจัยทางด้านความเป็นชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน ปัจจัยทางด้านทุนทางสังคม ในส่วนของ ลักษณะรูปแบบโครงสร้างครอบครัว ปัจจัยทางด้านมิติความสัมพันธ์ระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัว ปัจจัยทางด้านทุนมนุษย์ในส่วนของระดับการศึกษา มีผลต่อจำนวนบุตรในปัจจุบันและความต้องการจำนวนบุตรที่จะมีในอนาคตในครอบครัวของกลุ่มาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือโดยรวม และในแต่ละกลุ่มชาตพันธุ์ จากนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาเชิงคุณภาพถึงสาเหตุของการมีบุตรที่ลดลงจากเดิม อันเนื่องจากแนวคิดที่ว่าหากมีบุตรจำนวนมากจะเป็นภาระในการเลี้ยงดู แต่หากอยู่ในครอบครัวที่มีสมาชิกหลายรุ่นเป็นครอบครัวขยายก็จะมีความคิดที่จะมีความต้องการบุตรที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสามารถแบ่งเบาในการเลี้ยงดูดูแลบุตร 5) ภาพอนาคตรูปแบบโครงสร้างและความสัมพันธ์ในครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ โดยใช้วิธีการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พบว่าภาพอนาคตของครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือสอดคล้องกันทุกกลุ่มชาติพันธุ์ตั้งแต่ ปัจจัยด้านทุนทางสังคมที่ให้ความสำคัญกับการสมรสการสร้างครอบครัวซึ่งยังคงยึดถือปฏิบัติเป็นจารีตประเพณีที่สำคัญ รวมทั้งความต้องการในการอยู่ร่วมกันหลายรุ่นในครอบครัว ในส่วนปัจจัยความสัมพันธ์และความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการปฏิสัมพันธ์ลดลง แต่ยังคงมีความเชื่อเรื่องกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดาที่ยังเหนียวแน่นจากรุ่นสู่รุ่น ส่วนในด้านของปัจจัยทุนมนุษย์ในอนาคตจะมีการย้ายถิ่นมากขึ้นเนื่องจากมีความต้องการในการทำงานที่มีความมั่นคงทางรายได้ …