Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Sociology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 196

Full-Text Articles in Sociology

Employment Situation Of Older Persons In Vietnam: Impact Of Covid-19 And Individual Coping Strategies, Trieu Thi Phuong Jan 2023

Employment Situation Of Older Persons In Vietnam: Impact Of Covid-19 And Individual Coping Strategies, Trieu Thi Phuong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Providing a secured employment system is a sustainable strategy given the context of a rapid population aging in Vietnam when the country is still in the lower-middle income group and a large part of older persons are living in low socioeconomic conditions. This work aims to investigate the situation of older persons’ employment in Vietnam (employing the 2018 and 2020 Vietnam Housing and Living Standard Surveys) and the impact of COVID-19 on their employment and individual coping strategies to overcome employment difficulties (utilizing the 2021 Labour Force Survey). This study finds that older persons with retirement pension, facing health problems, …


Climate Imaginaries And Human Mobility: Complicating Climate Mobility As Adaptation In Thailand, Clare Steiner Jan 2022

Climate Imaginaries And Human Mobility: Complicating Climate Mobility As Adaptation In Thailand, Clare Steiner

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

For centuries, agricultural households in Thailand have engaged in mobility to adapt to environmental change and climate shocks. However, current framings of “climate migration as adaptation” obscure how these adaptation pathways are constructed by existing power relations, leaving institutions liable to re-enforce inequality. This thesis uses the concept of “imaginaries” to de-construct how certain knowledge and values advance over others in the process of negotiating and acting towards a preferable future. It employs a dual methodological approach with a case study of Baan Non Daeng in Ubon Ratchathani, Thailand to analyze dominant imaginaries in Thailand and their function and limitations …


ปัจจัยกำหนดการเข้าสู่การทำงาน รูปแบบการทำงาน และชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ในประเทศไทย, กนกนิษก์ ตัณฑ์กุลรัตน์ Jan 2022

ปัจจัยกำหนดการเข้าสู่การทำงาน รูปแบบการทำงาน และชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ในประเทศไทย, กนกนิษก์ ตัณฑ์กุลรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของเด็กอายุ 15-17 ปี ในประเทศไทยที่เข้าสู่การทำงาน รวมทั้ง รูปแบบการทำงานและชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ (เด็กอายุ 15-17 ปี ที่ทำงาน) นอกจากนี้ การวิจัยนี้ยังมุ่งศึกษาปัจจัยทางประชากรในครัวเรือนและลักษณะครัวเรือนที่ส่งผลต่อการเข้าสู่การทำงานของเด็ก ตลอดจน รูปแบบการทำงานและการทำงานในชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ ทั้งนี้ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาส 3 พ.ศ. 2561 ที่จัดเก็บโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับแรงงานวัยเยาว์ จำนวน 27 คน ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า แรงงานวัยเยาว์ส่วนใหญ่ทำงานช่วยเหลือธุรกิจในครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้าง รองลงมาคือการเป็นลูกจ้าง นอกจากนี้ ยังพบว่าแรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยมีสัดส่วนของการทำงานในชั่วโมงที่ยาวนานมากกว่าแรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานอย่างเดียว ส่วนปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเข้าสู่การทำงานในรูปแบบการทำงานอย่างเดียว ได้แก่ ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกคนอื่นในครัวเรือนที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน ความเกี่ยวพันทางญาติกับหัวหน้าครัวเรือน การขาดการเอาใจใส่ด้านการศึกษาของผู้ปกครอง สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ได้เก่ การหารายได้ที่เพียงพอเพื่อเลี้ยงครอบครัว การเป็นลูกจ้าง และการขาดทักษะชีวิตในการจัดการเวลา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะหลัก 4 ประการ ได้แก่ 1. ควรพิจารณาปัจจัยเสี่ยงในครัวเรือนและจัดการรายกรณีสำหรับเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้องกันการหลุดออกนอกระบบการศึกษาและช่วยให้แรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานอย่างเดียวกลับมาเรียนต่อได้ โดยอาจเป็นการทำงานควบคู่กับการเรียน 2. ควรพัฒนาทักษะการทำงานของเด็กเพื่อให้แรงงานได้มีโอกาสการทำงานที่ได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นทำให้มีชั่วโมงการทำงานที่น้อยลง 3. ควรร่วมมือกับนายจ้างในการออกแนวทางการกำหนดชั่วโมงการทำงานสำหรับแรงงานวัยเยาว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย รวมทั้งให้ครอบคลุมถึงกลุ่มเด็กที่เรียนในสายสามัญนอกเหนือจากสายอาชีพ 4. ควรพัฒนาทักษะชีวิติในการจัดการเวลาในการทำงานตั้งแต่วัยเยาว์เพื่อตอบสนองการทำงานในอนาคต


การป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งในเกมออนไลน์แนวต่อสู้: กรณีศึกษาเกม Valorant, ยุววัฒน์ ไตรจิต Jan 2022

การป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งในเกมออนไลน์แนวต่อสู้: กรณีศึกษาเกม Valorant, ยุววัฒน์ ไตรจิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์แนวต่อสู้:กรณีศึกษาเกม VALORANT เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเกมออนไลน์ แสวงหาสาเหตุของการกลั่นแกล้ง และวิธีการป้องกันและการรับมือการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์ เพื่อนำมาเผื่อแพร่และให้ความรู้กับผู้ที่มีความสนใจที่จะเข้าสู่โลกของสังคมเกมออนไลน์รับทราบถึงสาเหตุ รูปแบบ และวิธีการรับมือการกลั่นแกล้งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในสังคมเกมออนไลน์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกรูปแบบกึ่งโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่าสาเหตุของการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์แนวต่อสู้มีอยู่ 3 ปัจจัยหลักคือ 1) ปัจจัยด้านทักษะผู้เล่น 2) ปัจจัยเรื่องเพศของผู้เล่น 3) ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้แกล้ง โดยรูปแบบของการกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นภายในเกมออนไลน์จะเป็นรูปแบบของ 1) การใช้ Text Chat ที่เป็นการพิมพ์ข้อความเพื่อสื่อสาร 2) การใช้ Voice Chat ที่เป็นการใช้ระบบของเกมในการสื่อสารระหว่างผู้เล่นทางเสียง 3) การใช้ระบบการเล่นภายในเกมเพื่อขัดขวางหรือรบกวนการเล่นของผู้เล่น ในส่วนของการรับมือการกลั่นแกล้งภายในเกมออนไลน์จะประกอบไปด้วยการรับมือโดย 1) การประณีประณอมกับการกลั่นแกล้ง 2) การปิดช่องทางการสื่อสาร และ 3) การชักชวนเพื่อนหรือคนรู้จักมาร่วมเล่นเกมออนไลน์


วาทกรรมสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์กับงานยุติธรรมทางอาญาในสังคมไทย, สุวิทย์ รัตนสุคนธ์ Jan 2022

วาทกรรมสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์กับงานยุติธรรมทางอาญาในสังคมไทย, สุวิทย์ รัตนสุคนธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้เกิดการการประกอบสร้างอัตลักษณ์ตัวตนจนลิขสิทธิ์กลายมาเป็นสิทธิผูกขาดจนสามารถนำเอามาตรการทางอาญามาปรับใช้กับผู้ละเมิดสิทธิผูกขาดนี้ได้อย่างกลมกลืน ตลอดจนศึกษาองค์ความรู้ด้านอื่นๆ ที่อาจนำมาใช้เพื่อสร้างดุลยภาพในการคุ้มครองลิขสิทธิ์และลดความเป็นอาชญากรรมจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในสังคมไทยลง โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพจากการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การศึกษาและวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Studies and Discourse Analysis) โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลเชิงประจักษ์จากกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นผลมาจากแนวคิดสิทธิผูกขาดแห่งลิขสิทธิ์ของประเทศตะวันตกที่ไหลหลากเข้าสู่สังคมไทยเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจในยุคทุนนิยมและบริโภคนิยม สังคมไทยได้ยอมรับนับให้ลิขสิทธิ์ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของมนุษย์มีค่าเหนือกว่าทรัพย์สินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินำไปสู่การประกอบสร้างวาทกรรมความเป็นอัตลักษณ์ตัวตนและความสำคัญให้เกิดขึ้น การกระทำใดๆ อันเป็นการล่วงละเมิดสิทธิผูกขาดนี้เป็นการกระทำที่สังคมไม่อาจยอมรับได้ นำไปสู่การนำมาตรการทางอาญามาปรับใช้กับผู้ล่วงละเมิดจนเกิดความเป็นอาชญากรรมอย่างล้นหลามขึ้นในสังคมไทย การเกิดวาทกรรมนี้อาศัยบริบท ปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมโลกและในสังคมไทย กอปรกับการประกอบสร้างจากมนุษย์โดยตรง ด้วยการใช้มาตรการทางอาญาสร้างความรุนแรง การสร้างความเป็นอื่น การปิดฉลากตีตรา การทำลายผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากละเมิด การสร้างความชอบธรรมจากเหตุผลกระตุ้นการสร้างสรรค์และความเจริญทางเศรษฐกิจ ส่วนการกำหนดสร้างนิยามความหมายใหม่ซึ่งเป็นผลจากการแสดงปฏิกริยาตอบโต้ แข็งขืนของผู้ยึดถือวาทกรรมรองนำไปสู่กระบวนการรื้อสร้างใหม่ เพื่อตีแผ่ ขุดคุ้ยเอาสารัตถะองค์ความรู้ ความจริงที่แฝงฝัง ลืมเลือนอยู่ในสังคมไทยในด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีการสื่อสารและกติกาสากลออกมาให้ปรากฏ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยสร้างความสอดคล้องกับสังคมไทย สร้างความสมดุลและช่วยลดความเป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในสังคมไทย


Assessing The Contribution Of Thailand’S Poultry Agribusiness Towardsmitigating Climate Change, Tita Phairaksa Jan 2022

Assessing The Contribution Of Thailand’S Poultry Agribusiness Towardsmitigating Climate Change, Tita Phairaksa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research provides an overview of the Thailand agreement on greenhouse gas emissions, specifically focusing on the meat industry, and examines the roles of the government, private companies, and civil society in Thailand. Research indicates that the meat industry has significant environmental impacts, including greenhouse gas emissions, deforestation, and biodiversity loss. Livestock for meat consumption has been a major contributor to environmental issues such as climate change, water pollution, and deforestation. Livestock alone contributes a substantial percentage to global climate change. This issue has become a critical transboundary concern affecting not only one specific country or region. In response to …


การพัฒนาแนวทางการป้องกันกระทำผิดซ้ำในผู้ป่วยนิติจิตเวช, กฤตภาส ไทยวงษ์ Jan 2022

การพัฒนาแนวทางการป้องกันกระทำผิดซ้ำในผู้ป่วยนิติจิตเวช, กฤตภาส ไทยวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาของการกระทำผิดซ้ำที่เกิดขึ้นโดย ผู้ป่วยนิติจิตเวช อันได้แก่ สาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำ ตลอดจนปัญหา และอุปสรรคของการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยนิติจิตเวชกลับมากระทำผิดซ้ำ โดยผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิง คุณภาพจากทางเอกสารและมีการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ บุคลากรวิชาชีพทางสายสุขภาพจิตสังกัดกรมสุขภาพจิต และบุคลากรวิชาชีพทางสาย สุขภาพจิตสังกัดกรมราชทัณฑ์รวมทั้งสิ้น 7 คน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาของการกระทำผิดซ้ำในผู้ป่วยจิตเวชมีสาเหตุหลักมาจาก 1) ความเครียด ความกดดัน และความขับข้องใจที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย2) การขาดยา เพราะขาดคนช่วยดูแล ตลอดจนคนรอบข้างอย่างครอบครัวหรือชุมชนขาดความรู้ในการดูแลผู้ป่วย จิตเวช 3) การตีตราของผู้คนในชุมชน ส่งผลให้ผู้ป่วยขาดที่พึ่งและถูกกีดกันออกจากสังคมขณะที่ อุปสรรคในการป้องกันอยู่ด้วยกันดังนี้1) ปัญหาด้านยาเสพติด เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของ ยาเสพติดที่มีราคาถูกและหาง่าย 2) ปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพจิตของประชาชน และ 3) ปัญหาเชิงระบบและโครงสร้าง เพราะการขาดกำลังคนและรอยต่อของระบบการส่งต่อ ระหว่างสถานพยาบาลกับเรือนจำ สำหรับข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) การพัฒนาสถานพยาบาลที่มีความเฉพาะด้าน เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการบำบัดรักษาและครอบคลุมไปถึงการลงโทษตามแนวทางทฤษฎีการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟูตลอดจนเป็นการลดรอยต่อของระบบการส่งต่อผู้ป่วยนิติจิตเวช สถานพยาบาลกับทางเรือนจำ 2) การพัฒนากำลังคน เพื่อช่วยลดภาระงานบางส่วน โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยหรือผู้เคยต้องขังที่เคยกระทำความผิดต้องกลับสู่ชุมชน ควรมีการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้เฉพาะด้านนี้ให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง


Migrant Trainees And Social Inclusion : A Study Of Construction And Electronics Company In Japan, Kazuhiro Watanabe Jan 2022

Migrant Trainees And Social Inclusion : A Study Of Construction And Electronics Company In Japan, Kazuhiro Watanabe

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research analyzed the Technical Intern Training Program (TITP) by using the concept of social inclusion and discussed the factors that inhibit the social inclusion of trainees. Not much previous research on has been done on this because trainees are allowed to stay in Japan temporarily and they must go back to their home countries after the training is over. However, trainees contribute economic growth in Japan and play an important role for solving issues of the labor force. Realizing social inclusion of trainees is thus a significant issue for Japan. Factors that inhibit the social inclusion of trainees includes …


“ขอเป็นเด็กเลวในประวัติศาสตร์ไทย”: การร่วมเวลาและการรื้อถอนเขตแดนเวลาในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักเรียนมัธยมผ่านแคมเปญของเครือข่ายกลุ่ม “นักเรียนเลว”, กันต์ นาเมืองรักษ์ Jan 2022

“ขอเป็นเด็กเลวในประวัติศาสตร์ไทย”: การร่วมเวลาและการรื้อถอนเขตแดนเวลาในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักเรียนมัธยมผ่านแคมเปญของเครือข่ายกลุ่ม “นักเรียนเลว”, กันต์ นาเมืองรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้ทำการศึกษาความเปลี่ยนแปลงในการรับรู้ประวัติศาสตร์ของสังคมไทยจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเชิงเวลาที่กลุ่มนักเรียนเลวได้สร้างขึ้นในสังคมไทยผ่านแคมเปญและกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้ใช้มโนทัศน์ “การร่วมเวลา” และ “เขตแดนเวลา” ที่เกิดจากการบรรจบกันของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมภายใต้พลวัตของ "ความเป็นสังคม” แบบสมัยใหม่ที่แยก “ความเป็นประวัติศาสตร์” และ “ความเป็นประวัติการณ์” ออกจากกัน และใช้ชาติพันธุ์วรรณนาเชิงสถาบันที่ใช้จุดยืนทางสังคมของผู้ถูกศึกษาอย่างกลุ่มนักเรียนเลวและแนวร่วมเป็นวิธีวิทยาหลักในการสืบเสาะกระบวนการทางสังคมและเล่าผ่านการเขียนวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ จากการศึกษาปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในระดับต่างๆ ของกลุ่มเครือข่ายนักเรียนเลวและแนวร่วม ผู้วิจัยได้ทำการเล่าออกมาเป็น 3 บท โดยการใช้การข้องเกี่ยวทางสังคมเชิงเวลา 3 แบบเป็นแกนในการเล่า ได้แก่ ความทรงจำของการเป็นนักเรียน การต่อสู้สิทธิเสรีภาพเหนือเรือนร่างของนักเรียน และสถานะของนักเรียนในฐานะเยาวชนในการเมืองระดับชาติ อันสะท้อนถึงการร่วมอดีต ปัจจุบัน และอนาคตในการต่อสู้ทางการเมืองร่วมสมัย ซึ่งกลุ่มนักเรียนเลวได้ใช้กลวิธีและทรัพยากรต่างๆ ในการเคลื่อนไหวได้อย่างโดดเด่น จนทลาย "พรมแดนเวลา" ของการเติบโตทางความคิดเกี่ยวกับความเป็นผู้เยาว์แบบอนุรักษ์จารีตนิยมในวัฒนธรรมไทยได้สำเร็จ ซึ่งมีนัยยะสำคัญต่อแนวคิดเรื่องความก้าวหน้าทางสังคม แต่ก็ทำให้เห็นถึงการแบ่งขั้วทางเวลาที่เข้มข้นขึ้นในสังคมไทยไปด้วย ส่งผลให้ความเป็นผู้เยาว์กลายเป็นวาระทางการเมืองในสังคมไทยไปโดยสมบูรณ์


แนวทางการกำกับดูแลการรับมือภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรในยุคดิจิทัล, ชรินทร์ทิพย์ ปั้นสุวรรณ Jan 2022

แนวทางการกำกับดูแลการรับมือภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรในยุคดิจิทัล, ชรินทร์ทิพย์ ปั้นสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางสารสนเทศด้านสาธารณสุขและสาธารณูปโภค 2) ศึกษาโครงสร้างการกำกับดูแล การขับเคลื่อนการบังคับใช้นโยบายและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อสร้างความตระหนักและเฝ้าระวังภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ 3) ศึกษาแนวทางการเตรียมแผนการรับมือภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการกำกับดูแลการบริหารจัดการที่ดีด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในองค์กร เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ในอนาคต การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาจากเอกสารและการวิจัยภาคสนามโดยการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นผู้ปฏิบัติงานระดับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 22 คน เพื่ออธิบายถึงลักษณะภัยคุกคามทางไซเบอร์ตลอดจนการกำกับดูแลและรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ขององค์กร ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางสารสนเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น ได้แก่ โรงพยาบาล การไฟฟ้า และการประปา ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยและการให้บริการด้านสาธารณสุข ด้านสาธารณูปโภคที่สำคัญของประเทศ รวมไปถึงภาคการเงินการธนาคารและหน่วยงานด้านยุติธรรม 2) หลายหน่วยงานมีความตระหนักรู้ในการริเริ่มจัดทำนโยบาย แนวทางปฏิบัติและจัดลำดับความสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการประเมินความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ 3) หน่วยงานภาครัฐมีแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินงาน เพื่อลดแรงเสียดทานและความเสี่ยงต่างๆให้น้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรให้ความสำคัญและควรปรับปรุงกฎหมายไซเบอร์ให้มีการบังคับใช้และบทลงโทษที่ชัดเจน ด้วยการใช้มาตรการทางกฎหมายอาจไม่ใช่แค่เพื่อแก้ปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างความตระหนักรู้และพัฒนาสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารในกระบวนการธรรมรัฐไทย


เส้นทางชีวิตของผู้ต้องขังที่กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา, ปิยพงศ์ แซ่ตั้ง Jan 2022

เส้นทางชีวิตของผู้ต้องขังที่กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา, ปิยพงศ์ แซ่ตั้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจวิถีชีวิต ปัจจัยเสี่ยง แนวทางป้องกันและแก้ไขการกระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบเล่าเรื่องและใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลผ่านผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 แหล่ง ได้แก่ ผู้ต้องขังที่กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา จำนวน 3 ราย ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังที่กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา 6 ราย และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับผู้กระทำผิดในคดีข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่อง จำนวน 15 ราย จากนั้นจึงใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นสาระจากเรื่องเล่าโดยใช้โปรแกรมช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ATLAS.ti version 22 ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. วิถีชีวิตของผู้กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรามีลักษณะที่เป็นปัจเจก และผ่านเหตุการณ์ในแต่ละช่วงวัยที่ทำให้เกิดความเปราะบางทางบุคลิกภาพ ได้แก่ การเผชิญกับเหตุการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก การหลุดออกจากระบบการศึกษา ข้อจำกัดด้านทางเลือกในการประกอบอาชีพ ปัญหาการสร้างสัมพันธภาพทางสังคม และผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมจนเกิดพฤติกรรมการข่มขืนต่อเนื่อง 2. ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่พฤติกรรมข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่องแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ ปัจจัยภายใน (แรงกดดันที่นำไปสู่การข่มขืนกระทำชำเรา การขาดความผูกพันทางสังคม ความคิดที่ส่งเสริมการข่มขืนกระทำชำเรา การพัฒนาวิถีชีวิตแบบต่อต้านสังคม ความสนใจทางเพศที่ผิดปกติ และความผิดปกติทางบุคลิกภาพ) และปัจจัยภายนอก (โอกาสที่เอื้อต่อการข่มขืนกระทำชำเรา การดื่มสุราและเสพสารเสพติด การคบค้าสมาคมที่แตกต่างและพฤติกรรมข่มขืนกระทำชำเรา สื่อลามกและสื่อที่มีเนื้อหากระตุ้นเรื่องเพศ ค่านิยมที่เอื้อต่อการข่มขืนกระทำชำเรา) 3. การป้องกันพฤติกรรมข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่องจำเป็นต้องเริ่มจากการลดปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว การสร้างและทำให้เด็กคงอยู่ในระบบการศึกษาที่ปลอดภัย การสร้างระบบป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและความผิดปกติทางบุคลิกภาพ การให้ความสำคัญกับกระบวนการกลับสู่สังคมสำหรับผู้กระทำผิดที่พ้นโทษ การสร้างความตระหนักทางสังคมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการกระทำผิดและการตกเป็นเหยื่อ และการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการยุติธรรม ส่วนแนวทางการแก้ไขพฤติกรรมข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่อง ประกอบด้วย การปรับกระบวนทัศน์ที่เน้นการฟื้นฟูผู้กระทำผิด การพัฒนาระบบจำแนกประเภทผู้กระทำผิด การพัฒนาการบำบัดฟื้นฟูผู้กระทำผิด การพัฒนากระบวนการกลับสู่สังคมสำหรับผู้กระทำผิดที่พ้นโทษ การสร้างกลไกการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เหยื่ออาชญากรรมทางเพศ


ระบบเจ้าโคตรกับระบบงานยุติธรรมชุมชน : กรณีศึกษาบ้านเสียว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น, ภควรรณพร พิศุทธิสุวรรณ Jan 2022

ระบบเจ้าโคตรกับระบบงานยุติธรรมชุมชน : กรณีศึกษาบ้านเสียว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น, ภควรรณพร พิศุทธิสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

“ระบบเจ้าโคตรกับระบบงานยุติธรรมชุมชน: กรณีศึกษาบ้านเสียว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา รูปแบบและกลไกดำเนินงานของระบบเจ้าโคตรที่เป็นงานยุติธรรมเชิงจารีต ประเภทคดีหรือลักษณะข้อพิพาทที่ใช้ยุติปัญหา รวมถึงข้อดีและข้อจำกัดของการใช้ระบบเจ้าโคตร สภาพการดำรงอยู่ภายในชุมชนและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อระบบเจ้าโคตรเมื่อมีการนำงานยุติธรรมชุมชนรูปแบบอื่น ๆ ของภาครัฐเข้ามาใช้ปฏิบัติ ซึ่งสะท้อนถึงการรับรู้และมุมมองต่อการใช้ระบบเจ้าโคตรของหน่วยงานภาครัฐ และให้ข้อเสนอแนะเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างระบบเจ้าโคตรกับระบบงานยุติธรรมชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการศึกษาเชิงเอกสาร วิธีการสนทนาแบบกลุ่ม และวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ระบบเจ้าโคตรมีผู้อาวุโสที่คู่กรณีและชุมชนเคารพนับถือ เชื่อใจ และยอมรับในความประพฤติและการพูดจาให้เหตุผลเมื่อตัดสินความขัดแย้งให้เข้ามาทำหน้าที่คนกลางไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทระหว่างบุคคลที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยกระบวนการระงับข้อพิพาทจะเป็นแบบเรียบง่ายที่คนกลางพูดคุยซักถามเรื่องราวและเหตุผลจากคู่กรณีทั้งสองฝ่ายแล้วตัดสินความ แล้วจึงให้คู่กรณีตกลงเรื่องการชดใช้เยียวยากันโดยตรงต่อหน้าคนกลางและเริ่มต้นไกล่เกลี่ยสมานฉันท์ และร่วมกันการสร้างข้อตกลงจากการระงับข้อพิพาทที่คำนึงถึงความต้องการของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย หมู่บ้านเสียวจะใช้ระบบเจ้าโคตรกับความผิดที่มีเด็กหรือเยาวชนเป็นผู้กระทำ การใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว ความผิดที่กระทำต่อกันโดยประมาท ความผิดอาญาต่อส่วนตัวซึ่งรวมถึงคดีอนาจาร และความผิดลหุโทษ ระบบเจ้าโคตรมีข้อดี คือ ช่วยรักษาสภาพจิตใจคู่กรณีและดำรงสัมพันธภาพร่วมกันเอาไว้ ช่วยลดภาระของทางราชการและลดความขัดแย้งในสังคม ช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายประชาชนไปพร้อมกับลดปัญหาการดำเนินงานซึ่งกระบวนการยุติธรรมกำลังประสบอยู่โดยระงับไม่ให้ข้อพิพาทเล็กน้อยเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทว่ามีข้อจำกัด ได้แก่ การยึดโยงอยู่กับศรัทธาต่อตัวบุคคลทำให้ระบบขาดเสถียรภาพ อาจมีความเหมาะสมที่จะใช้ในสังคมขนาดเล็ก และไม่มีกฎหมายรองรับผลของการไกล่เกลี่ยหากเจ้าโคตรไม่ใช่ผู้ผ่านการอบรมเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยภาคประชาชน 2) ระบบเจ้าโคตรดำรงอยู่อย่างมีสัมพันธภาพกับงานยุติธรรมชุมชนแบบอื่นๆของภาครัฐ โดยการปรับตัวเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขการดำเนินงานยุติธรรมชุมชนของภาครัฐ ได้แก่ การมีคนกลางมากกว่าหนึ่งคน และการให้จัดทำเอกสารลายลักษณ์อักษรในกระบวนการระงับข้อพิพาทเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงตามกฎหมาย 3) ภาครัฐมีการรับรู้ระบบเจ้าโคตรที่ใช้จัดการความขัดแย้งภายในชุมชนอย่างจำกัด แม้ว่าจะมีมุมมองว่าระบบเจ้าโคตรมีศักยภาพต่อการระงับข้อพิพาทเบื้องต้นแต่ยังมีท่าทีแบ่งรบแบ่งสู้หากจะต้องส่งเสริมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานยุติธรรมชุมชนในพื้นที่ 4) ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยต่อการเชื่อมโยงระบบเจ้าโคตรกับระบบงานยุติธรรมชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมคือ ควรส่งเสริมให้ชุมชนนำระบบเจ้าโคตรซึ่งเป็นยุติธรรมเชิงจารีตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานยุติธรรมชุมชนในหมู่บ้านอย่างจริงจัง และควรเข้ามาให้ความช่วยเหลือด้านความรู้ทางกฎหมายที่จำเป็น และสนับสนุนให้ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกเครือข่ายศูนย์ยุติธรรมชุมชน และเจ้าโคตรรุ่นปัจจุบันอีกจำนวน 2 คนได้รับการอบรมในหลักสูตรผู้ไกล่เกลี่ยตามพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนตามกฎหมาย


การฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย, วนัสนันท์ กันทะวงศ์ Jan 2022

การฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย, วนัสนันท์ กันทะวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ศึกษาความสัมพันธ์ของการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต และศึกษาทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม โดยวิธีการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ตราด และสุราษฎร์ธานี และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร 10 ปีย้อนหลัง พ.ศ. 2556 - 2566 และใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนเครดิต นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ องค์กรไม่แสวงหากำไร ผลการศึกษาพบว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตสามารถบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน ก่อให้เกิดโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม และนำไปสู่การลงทุนรูปแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตไม่ได้เป็นอาชญากรรมในตัวเอง หากแต่มีการใช้เป็นเครื่องมือกระทำความผิดและนำไปสู่การฟอกเขียว การฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 1) ผู้กระทำ 2) กิจกรรมการฟอกเขียว 3) ฟอกเขียวด้วยกลไกคาร์บอน 4) เป้าหมาย 5) ผลกระทบ 6) กระทำด้วยเจตนา โดยผู้กระทำการฟอกเขียว ประกอบด้วย 1) บุคคลธรรมดา มีลักษณะอาชญากรคอปกขาว 2) นิติบุคคล มีลักษณะอาชญากรรมที่กระทำโดยบริษัทหรือธุรกิจองค์กร 3) รัฐ ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุจากความประมาทจากการประกาศนโยบายของรัฐ หรือการดำเนินการผิดพลาดที่นำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชัน การฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตสามารถเกิดใน 3 รูปแบบ ได้แก่ การใช้ช่องโหว่ของกระบวนการซื้อขายคาร์บอนเครดิต การพึ่งพาการชดเชยมากเกินไป และการใช้กลไกการทำธุรกรรมของกลไกคาร์บอน ความสัมพันธ์ของการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต จำแนกเป็น 2 ลักษณะคือ การซื้อขายคาร์บอนเครดิตช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน และการซื้อขายคาร์บอนเครดิตนำไปสู่ปัญหาสังคม 2 ลักษณะ ได้แก่ เป็นเครื่องมือการฟอกเขียว และ ก่อให้เกิดอาชญากรรมรูปแบบใหม่ในลักษณะห่วงโซ่อาชญากรรม ได้แก่ การฉ้อโกงประชาชน อาชญากรรมสิ่งแวดล้อม อาชญากรรมคอปกขาว อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ อาชญากรรมไซเบอร์ การฉ้อโกงภาษี และการฟอกเงิน จากการศึกษาทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับการฟอกเขียวด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตปรากฎว่า มีความสัมพันธ์กับการบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม และการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระดับน้อย มีความสัมพันธ์กับไม่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก …


ความยากจนในผู้สูงอายุไทย: การเปลี่ยนแปลงและปัจจัยเสี่ยง, สุพนิดา จิระสินวรรธนะ Jan 2022

ความยากจนในผู้สูงอายุไทย: การเปลี่ยนแปลงและปัจจัยเสี่ยง, สุพนิดา จิระสินวรรธนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยากจนของผู้สูงอายุไทยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 และศึกษาความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการศึกษาเปรียบเทียบความยากจนของผู้สูงอายุไทยระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 พบว่าสัดส่วนผู้สูงอายุไทยที่ยากจนลดลงจากร้อยละ 39.0 ในปี พ.ศ.2560 เป็นร้อยละ 34.1 ในปี พ.ศ.2564 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ประกอบด้วย อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส เขตที่อยู่อาศัย สถานภาพการทำงาน สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล และรูปแบบการอยู่อาศัย และพบว่าแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยในทิศทางเดียวกันทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ในขณะที่ปัจจัยด้านเพศและการพึ่งพิงรวมมีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในปี พ.ศ.2560 เท่านั้น และผลการศึกษาเปรียบเทียบความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 พบว่าสัดส่วนครัวเรือนผู้สูงอายุไทยที่ยากจนลดลงจากร้อยละ 11.5 ในปี พ.ศ.2560 เป็นร้อยละ 8.5 ในปี พ.ศ.2564 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ประกอบด้วย อายุหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกครัวเรือน การพึ่งพิงรวม ระดับการศึกษา และเขตที่อยู่อาศัย และพบว่าแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในทิศทางเดียวกันทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ยกเว้นอายุของหัวหน้าครัวเรือนที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในทิศทางตรงข้ามกันระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ในขณะที่ปัจจัยด้านสถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในปี พ.ศ.2560 เท่านั้น


การเปิดรับสื่อและคุณภาพชีวิตประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไป, กัลยกร ฝูงวานิช Jan 2022

การเปิดรับสื่อและคุณภาพชีวิตประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไป, กัลยกร ฝูงวานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อแต่ละประเภท ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อแต่ละประเภท และความสัมพันธ์ของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อแต่ละประเภทกับคุณภาพชีวิตประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้ข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560 และ 2564 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผลการศึกษาพบว่า ประชากรอายุ 50-59 ปี ร้อยละ 91.23 และอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ92.87 เปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองผ่านสื่ออย่างน้อย 1 ประเภท โดยจะเปิดรับสื่อแต่ละประเภทในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน และมีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อแต่ละประเภทแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม สื่อออนไลน์เป็นสื่อที่ประชากรทั้ง 2 กลุ่ม เปิดรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อประเภทอื่น ทั้งนี้อาจเนื่องจากในระหว่างปี พ.ศ. 2560 และ 2564 มีสถานการณ์การเกิดโรคระบาดโควิด-19 ทำให้การเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นมาตรการที่จำเป็นในการป้องกันตนเอง นำไปสู่การเพิ่มบทบาทการใช้สื่อออนไลน์ในชีวิตประจำวันของประชากรในทุกกลุ่มวัย นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่าการเปิดรับสื่อประเภทต่างๆมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไปในด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ การมีส่วนร่วม และ การมีหลักประกันและความมั่นคงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มประชากรอายุ 50-59 ปี การเปิดรับเฉพาะโทรทัศน์ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมีหลักประกันและความมั่นคง ขณะที่การเปิดรับเฉพาะสื่อบุคคล มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพใจและการมีส่วนร่วม และการเปิดรับเฉพาะสื่อออนไลน์ จะมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ และการมีส่วนร่วม เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เปิดรับสื่อประเภทใดเลย ในขณะที่กลุ่มประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป พบว่า การเปิดรับเฉพาะโทรทัศน์ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมีสุขภาพกาย การมีส่วนร่วม และการหลักประกันและความมั่นคง ขณะที่การเปิดรับเฉพาะสื่อบุคคล มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมีส่วนร่วม และการเปิดรับเฉพาะสื่อออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่เปิดรับสื่อประเภทใดเลย ทั้งนี้การเปิดรับสื่อที่มีความหลากหลายจะทำให้คุณภาพชีวิตของประชากรอายุ 50 ปีขึ้นไปดีขึ้น ทั้งในมิติด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ การมีส่วนร่วม และการมีหลักประกันและความมั่นคง โดยปัจจัยด้านประเภทสื่อที่เปิดรับและความหลากหลายของสื่อมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


Human Rights Due Diligence: Roles And Contributions Of Sustainability Professional In Thailand, Pimpilai Rumthum Jan 2022

Human Rights Due Diligence: Roles And Contributions Of Sustainability Professional In Thailand, Pimpilai Rumthum

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study examines the role of sustainability professionals in driving Human Rights Due Diligence (HRDD) within organizations and provides valuable insights into their responsibilities, competencies, and impact. As there was no study done to understand this particular career that tends to be trendy for sustainability businesses to achieve their goals beyond financial efficiency. The study examines the tasks, competencies, and impact of sustainability professionals from different viewpoints of related stakeholders. Using primary data gathered through semi-structured interviews, the research investigates the question that sustainability professionals positively contribute to HRDD processes. Through 9 interviews with key informants from diverse backgrounds, including …


Study On Nepalese Migrant Remittances: Usage, Gender Perspective And Remittance Methods, Tsering Diki Sherpa Jan 2022

Study On Nepalese Migrant Remittances: Usage, Gender Perspective And Remittance Methods, Tsering Diki Sherpa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study aims to shed light on remittance usage types and methods of remittance transfer to Nepalese migrant households. To achieve this, data from the Nepal Living Standards Survey III (NLSS III) was utilized, which comprises a sample size of 5,988 households selected from 499 primary sampling units (PSUs) included in the cross-sectional sample of the NLSS III survey. By analyzing and interpreting this data, the study investigates the allocation and utilization patterns of remittance funds by recipient households. It looks into their expense patterns, occupation types, destination countries, and how gender plays an active role in these dynamics. This …


Factors Associated With And Impacting Coming Out For Sexual Identity Minorities In The United States, Matthew Robert Kusen Jan 2022

Factors Associated With And Impacting Coming Out For Sexual Identity Minorities In The United States, Matthew Robert Kusen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to explore socio-demographic and other individual factors potentially associated with the probability of coming out as Lesbian, Gay, Bisexual, Queer and other sexual identities (LGBQ+) to friends and family and the probability of being outed as LGBQ+ to family members before being ready or without consent in the United States (UCS). This research analyzed quantitative data from the 2016-17 Generations Study, a nationally representative population-based survey collecting information from LGBQ+ persons residing across the US (N=1,416), and employed both descriptive and multivariate analyses, using the logistic regression model and the Cox proportional hazard model. Several factors were …


The Socio-Economic Determinants Of The Life Satisfaction Of Older Persons In Myanmar In 2019, Myo Thandar Jan 2022

The Socio-Economic Determinants Of The Life Satisfaction Of Older Persons In Myanmar In 2019, Myo Thandar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Myanmar has undergone significant demographic changes, and the share of the older population has increased. Myanmar is facing the challenge in providing social protections to the increasing number of older people, like many other rapidly-ageing societies. As people get older, their physical health and functional ability deteriorate and, as a result, their life satisfaction also declines in most cases. Therefore, it is crucial to consider factors that contribute to the perception of life satisfaction among this venerable cohort. This study explored the determinants of life satisfaction of older persons and investigated whether there are gender differences in the determinants of …


Preventive Health Care And Health Care Services Utilization Of Vietnamese Older Persons : Results From National Household Living Standards Survey 2018, Thao Nguyen Thi Jan 2022

Preventive Health Care And Health Care Services Utilization Of Vietnamese Older Persons : Results From National Household Living Standards Survey 2018, Thao Nguyen Thi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As many countries are aging rapidly, improving older persons’ health and reducing the burden of disease are important goals. However, many developing countries still lack effective policies in the areas of preventive health care and health services utilization of older persons. This study aims: (1) to determine the health status by severe injury report and health care service needs of Vietnamese older persons, (2) to investigate the factors associated with the use of health check-up services of Vietnamese older persons, and (3) to investigate the differences in health care services utilization between different medical needs of Vietnamese older persons. Using …


Southeast Asian Ministers Of Education Organization (Seameo) 'S Role In Digitalisation For Vocational Education Development : A Comparative Analysis Of Indonesia And Thailand, Anastasia Sylvia Jan 2022

Southeast Asian Ministers Of Education Organization (Seameo) 'S Role In Digitalisation For Vocational Education Development : A Comparative Analysis Of Indonesia And Thailand, Anastasia Sylvia

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis focuses on the role of the SEAMEO (Southeast Asian Ministers of Education Organization) role in vocational education development in Industry 4.0. Nowadays, there is a demand for the education sector to align with Industry 4.0, known as Education 4.0. In 2018, the SEAMEO, in collaboration with the GIZ, launched a Regional In-Service Training Modules project to support vocational education for Education 4.0. This study compares the impact of the Regional In-Service Training Modules project in two countries with a medium level of education performance in Southeast Asia: Indonesia and Thailand. This study employs a qualitative method with a …


Unpacking Gender Inequality For Inclusive Development: A Case Study Of Myanmar Female Migrant Workers In Samut Sakhon Province, Thailand, Hsan Thawdar Htun Jan 2022

Unpacking Gender Inequality For Inclusive Development: A Case Study Of Myanmar Female Migrant Workers In Samut Sakhon Province, Thailand, Hsan Thawdar Htun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study aims to address the issue of gender inequality in Thailand's seafood industry, with a specific focus on Myanmar female migrant workers in Mahachai (Samut Sakhon province). Although women migrant workers play a significant role in Thailand's economy, they have been facing various challenges in low-wage industries. Gender inequality remains a prominent concern in these low-skilled labor-intensive workplaces like seafood industry. While there have been studies on migration that include both men and women or focus solely on women, gender has not received sufficient emphasis in understanding the experiences of female migrant workers, particularly in the seafood industry. This …


Intersectionality And Livelihoods Of Conflict-Induced Displaced Myanmar Women In Mae Sot, Thailand, Su Myat Thwe Jan 2022

Intersectionality And Livelihoods Of Conflict-Induced Displaced Myanmar Women In Mae Sot, Thailand, Su Myat Thwe

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Sustainable Development Goals Report (2022) highlighted the global displacement crisis as 24.5 million population impacted by conflict by mid-2021; 311 out of every 100,000 people worldwide seeking refuge outside their country of origin[1]. The cycle of migration to Thailand from Myanmar has a special history with many intersecting factors of forced migration and a new trend emerges following 1st February 2021: only 1,527 cases in 9 shelters[2]; 986,670 regularized as migrant workers in 2021[3]; tens of thousands of unrecorded. The role of Myanmar’s unsung heroines cannot go forgotten. From a sociocultural conservative country with a constitution drafted by a …


จิตอาสาใต้โลกแห่งความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม: การคิดย้อนสะท้อนกลับและการสื่อสารของนักดำน้ำอาสาสมัครในประเทศไทย, จุฑามณี สมบูรณ์สุทธิ์ Jan 2022

จิตอาสาใต้โลกแห่งความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม: การคิดย้อนสะท้อนกลับและการสื่อสารของนักดำน้ำอาสาสมัครในประเทศไทย, จุฑามณี สมบูรณ์สุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง "จิตอาสาใต้โลกแห่งความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม: การคิดย้อนสะท้อนกลับและการสื่อสารของนักดำน้ำอาสาสมัครในประเทศไทย" มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการคิดย้อนสะท้อนกลับของนักดำน้ำอาสาสมัครที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสื่อ 2) ศึกษาสาเหตุ ปฏิบัติการการคิดย้อนสะท้อนกลับและการตอบโต้ของนักดำน้ำต่อสถานการณ์สังคมเสี่ยงวิกฤตทะเลไทย และ 3) ศึกษาสังคมเสี่ยงของการท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบต่อนักดำน้ำและการคิดย้อนสะท้อนกลับ ปรับตัว วิธีการวิจัยใช้การสัมภาษณ์ระดับลึกควบคู่กับการเข้าไปมีส่วนร่วมทำงานเป็นนักดำน้ำอาชีพ นักดำน้ำอาสาสมัครและเข้าฝึกเพื่อเป็นนักดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์ในค่ายทหาร พื้นที่หลักในการศึกษา ประกอบด้วย เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานีและเกาะพระ จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักดำน้ำอาชีพ นักดำน้ำอาสาสมัคร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 53 คน ผลการวิจัยพบว่า การนำเสนอข่าวสังคมความเสี่ยงของสื่อส่งผลให้เกิดการคิดย้อนสะท้อนกลับและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำน้ำให้เป็นนักดำน้ำอาสาสมัครในบริบทต่างๆ นอกจากนี้ ปัจจัยที่ส่งผลให้นักดำน้ำเกิดการคิดย้อนสะท้อนกลับและผันตัวเป็นอาสาสมัครใต้ทะเล ประกอบด้วย ประสบการณ์ตรงจากการลงไปสัมผัสโลกใต้ทะเล ความขัดแย้งทางทะเลและการเข้าร่วมอบรมด้านการอนุรักษ์ นักดำน้ำใช้วิธีจัดการปัญหาสังคมเสี่ยงและโต้ตอบผ่านสื่อด้วยการทำหน้าที่เป็นนักสื่อสารพลเมืองใต้ทะเล โดยใช้กล้องถ่ายรูปใต้น้ำควบคู่กับเครือข่ายสังคมออนไลน์ วิธีปรับตัวของนักดำน้ำภายใต้สังคมเสี่ยงแบบทุนนิยม คือการพัฒนาทักษะความรู้ สร้างจุดเด่น สร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและนำความรู้มาใช้ในงานอาสาสมัครเพื่อเคลื่อนไหวสังคม


การตกเป็นเหยื่อทางไซเบอร์ของผู้สูงอายุ, ธัญพิชชา สามารถ Jan 2022

การตกเป็นเหยื่อทางไซเบอร์ของผู้สูงอายุ, ธัญพิชชา สามารถ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงทางไซเบอร์ ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงทางไซเบอร์ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขการตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงทางไซเบอร์ของผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงทางไซเบอร์จำนวน 24 คน ผู้มีส่วนในการหลอกลวงจำนวน 5 คน และเจ้าหน้าที่และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือหรือการป้องกันผู้สูงอายุจากการถูกหลอกลวงทางไซเบอร์จำนวน 9 คน ผลการวิจัยแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุที่ถูกหลอกลวง ทางไซเบอร์ 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีรูปแบบและปัจจัยที่ทำให้ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงแตกต่างกัน คือ 1)ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงให้ลงทุน มีรูปแบบการถูกหลอกลวงโดยส่วนใหญ่ถูกชักชวนจากบุคคลที่รู้จักในกลุ่มไลน์ที่เคยลงทุนด้วยกัน หรือพบเห็นโฆษณาเชิญชวนบนสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีลักษณะของผลตอบแทนที่สูงเป็นสิ่งจูงใจ มีทั้งการให้ค่าตอบแทนจากการแนะนำสมาชิกใหม่ และไม่มีการให้ค่าตอบแทน ซึ่งผู้ที่มีส่วนในการหลอกลวงเป็นทั้งบุคคลธรรมดา และอยู่ในรูปแบบบริษัทจดทะเบียน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อพบว่ามี 8 ปัจจัย คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านความโลภ ด้านเทคโนโลยี ด้านการสร้างความน่าเชื่อถือของผู้หลอกลวง ด้านความรู้ความเข้าใจในการลงทุน ด้านสภาพความเป็นอยู่ ด้านการชักชวนให้ลงทุนจากญาติหรือคนรู้จัก และด้านความเชื่อมั่นใจตนเอง 2)ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงจากแก๊งคอลเซนเตอร์ มีรูปแบบการหลอกลวงในการสร้างความตกใจกลัว หรือเกิดความโลภ และมีระยะเวลาในการให้ตัดสินใจจำกัด ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อพบว่า มี 4 ปัจจัย คือ ด้านความกลัว ด้านความโลภ ด้านความไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี และด้านการอยู่เพียงลำพังขณะเกิดเหตุ 3)ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการซื้อสินค้าออนไลน์ ผู้หลอกลวงจะสร้างโพรไฟล์ให้ดูมีความน่าเชื่อถือ เปิดร้านขายบนสื่อสังคมออนไลน์ และขายผ่านตลาดกลางออนไลน์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ สินค้าที่หลอกลวงมักจะเป็นสินค้าที่ราคาไม่สูงนัก หรือเป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อพบว่ามี 3 ปัจจัยคือ ความไว้วางใจร้านค้าออนไลน์โดยไม่ได้ตรวจสอบ การส่งเสริมการขายที่ผิดปกติ และราคาสินค้าที่มีราคาไม่สูง 4)ผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกให้รักทางออนไลน์ มีรูปแบบการใช้จิตวิทยาในการหลอกลวง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและใช้ระยะเวลาในการสร้างความไว้วางใจ เลือกเหยื่อจากการดูโพรไฟล์บนสื่อสังคมออนไลน์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อพบว่ามี 4 ปัจจัย คือ ความรักความหลง ความน่าเชื่อถือ ด้านความเหงา และความอายของผู้ที่ถูกหลอก โดยการหลอกลวงทั้ง 4 รูปแบบมีปัจจัยร่วมกันคือ ความรู้ไม่เท่าทันการหลอกลวง สำหรับแนวทางการแก้ไขการตกเป็นเหยื่อ ได้แก่ การสร้างความตระหนักให้กับผู้สูงอายุในการรู้เท่าทันถึงรูปแบบการหลอกลวงทางไซเบอร์ การระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวผู้อื่นที่ไม่รู้จัก การให้คำปรึกษาในกลุ่มของครอบครัว การจัดตั้งเครือข่ายกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเผยแพร่ข่าวสารการหลอกลวงทางไซเบอร์ ความร่วมมือของภาคเอกชนผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการปิดกันช่องทางการหลอกลวงจากผู้หลอกลวง ตลอดจนหน่วยงานของรัฐในการออกมาตรการทางกฎหมายตลอดจนการบังคับใช้อย่างเคร่งครัด


ผู้ก่อการร้ายหญิง : ปัญหาและแนวทางการแก้ไข, พิมพ์ชนก จันทบูรณ์ Jan 2022

ผู้ก่อการร้ายหญิง : ปัญหาและแนวทางการแก้ไข, พิมพ์ชนก จันทบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง ผู้ก่อการร้ายหญิง : ปัญหาและแนวทางการแก้ไข เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลเหตุ จูงใจ บทบาท และกระบวนการในการที่ผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมในการก่อการร้าย ตลอดจนแสวงหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ผลจากการวิจัยพบว่า มูลเหตุจูงใจในการก่อการร้ายของผู้หญิงสามารถแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนที่เป็นปัจจัยดึงดูด อันเป็นปัจจัยจากฝั่งกลุ่มก่อการร้าย ได้แก่ กระบวนการชักชวนและจัดหาที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับความมีบารมีและความดึงดูดของผู้นำกลุ่มก่อการร้ายและส่วนที่เป็นปัจจัยผลักดัน อันเป็นปัจจัยที่มาจากแรงกระตุ้นของฝั่งผู้หญิงเอง ได้แก่ อารมณ์ส่วนตัว ศาสนา และการเมือง จนนำไปสู่การเข้าสู่กระบวนการโดยสมัครใจเพื่อไปมีส่วนร่วมในการก่อการร้าย โดยในต่างประเทศผู้หญิงมีทั้งบทบาทหลักในการก่อเหตุ และบทบาทสนับสนุน อาทิ การทำหน้าที่เป็นแม่ ภรรยา และจัดหาสมาชิก เป็นต้น ซึ่งมักถูกชักจูงผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก ขณะที่บางส่วนที่ไม่สมัครใจก็จะตกเป็นเหยื่อเพื่อแสวงประโยชน์ของกลุ่มก่อการร้าย ในส่วนของประเทศไทยนั้น การก่อการร้ายถูกชี้นำไปในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งผู้หญิงจะมีบทบาทในการสนับสนุนกลุ่มก่อความไม่สงบ อาทิ การทำหน้าที่ปฐมพยาบาล และการหารายได้ เป็นต้น โดยถูกชักจูงจากคนในครอบครัวและคนใกล้ตัว ประกอบกับการซึมซับข้อมูลและเรื่องเล่าต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์จากการอาศัยอยู่ในพื้นที่เป็นเวลานาน และเนื่องจากผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมในการก่อการร้ายในบทบาทต่าง ๆ อันเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่ขับเคลื่อนให้เกิดการก่อการร้ายในหลายพื้นที่ทั่วโลก ประชาคมระหว่างประเทศรวมทั้งประเทศไทยจึงได้มีการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องในการต่อต้านการก่อการร้ายทั้งในภาพรวมและในมิติของผู้หญิงในการก่อการร้ายเป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ดี ยังพบว่าหลายประเทศทั่วโลกยังคงเผชิญกับภัยคุกคามจากการก่อการร้ายจวบจนปัจจุบัน เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ปัญหาการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงดำเนินต่อเนื่องเรื่อยมาหลายทศวรรษ ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงนโยบาย การเพิ่มมาตรการป้องกันในระดับปฏิบัติ ตลอดจนการนำทฤษฎีทางอาชญาวิทยาและแนวทางการป้องกันจากต่างประเทศที่ได้ศึกษาไว้ มาเป็นกรอบในการจัดทำแนวทางในการป้องกันและแก้ไขทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการที่สอดคล้องกับบริบทของไทย


Domestic Customers' Perceived Value Toward Thai Cultural Products, Krittanan Deedenkeeratisakul Jan 2021

Domestic Customers' Perceived Value Toward Thai Cultural Products, Krittanan Deedenkeeratisakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As Thai cultural identity is one of the remarkable assets in Thai culture and has gained wider attention, there is a growing trend for the market to capture domestic customers' behavior. This study investigates consumers' value perceptions and their intentions to purchase Thai cultural products by extending the theory of consumption value through four values that influence perceived value of product attitude, which also affect purchase intention and customer satisfaction. Online Survey data from 412 people in Thailand were used to test the hypotheses, and content analysis of 9 in-depth interviewees was used to understand the product's perceptions better. The …


The Effect Of Population Structure On Economic Development: Thailand's Provincial Panel Data, Satayu Pattarakijkusol Jan 2021

The Effect Of Population Structure On Economic Development: Thailand's Provincial Panel Data, Satayu Pattarakijkusol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research investigates the effects of demographic change, the change of labor supply, and human capital on Thailand’s economic development. This will help shed light on the relationship between population (quantitatively and qualitatively) and economic development. The demographic dividends, the neoclassical growth Solow-Swan model, and human capital are adopted as the conceptual framework for this research. The secondary panel data at the provincial level from government officials will be used for statistical analysis. Fixed effect or random effect with lagged dependent variable is introduced into the estimated model. The finding suggests that the labor productivity, employment level, share of the …


The Impact Of Economic And Demographic Factors On Income Inequality: A Comparative Study Of Southeast Asian And Latin American Countries, Muhammad Syukron Mamun Jan 2021

The Impact Of Economic And Demographic Factors On Income Inequality: A Comparative Study Of Southeast Asian And Latin American Countries, Muhammad Syukron Mamun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Despite rapid economic growth, Southeast Asia and Latin America continue to have significant income inequality. This study applies fixed-effects regression estimation with the dynamic panel model with lagged independent variables and the fixed-effects analysis with endogenous covariates to examine the impact of economic and demographic factors on income inequality in 6 Southeast Asian and 15 Latin American countries from 1994 to 2017. Empirical results indicate that emissions, trade openness, old-age dependency ratio, human capital, and female population reduce income inequality, whereas industrialization, unemployment, young-age dependency ratio, and urban population increase income inequality in Southeast Asian countries. This study also finds …


“ที่นี่ไม่ได้แจกกัญชา แจกน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น”: ความเลื่อนไหลและกระบวนการทางสังคมของกัญชา, ศุภรดา เฟื่องฟู Jan 2021

“ที่นี่ไม่ได้แจกกัญชา แจกน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น”: ความเลื่อนไหลและกระบวนการทางสังคมของกัญชา, ศุภรดา เฟื่องฟู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาวัฒนธรรมชาติและกระบวนการทางสังคมของกัญชา ผ่านการสำรวจกิจกรรมจัดหา แปรรูปและแจกจ่ายกัญชาที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดภาคกลาง ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 - พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยดำเนินการอย่างเป็นปฏิปักษ์ต่อกฎหมายป้องปรามยาเสพติดของไทย ผู้วิจัยอาศัยแนววิเคราะห์เชิงวัตถุ-สัญญะและกรอบคิดเรื่องวัฒนธรรมชาติในการสำรวจปรากฎการณ์ดังกล่าว โดยเสนอว่ากัญชาเป็นวัตถุที่มีความเลื่อนไหลและหลากหลาย ทั้งในรูปแบบของวัตถุศักดิ์สิทธิ์ สินค้า ยารักษาโรค และสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนบุญ นอกจากนี้ผู้วิจัยเสนอว่า ปรากฏการณ์ผิดกฎหมายดังกล่าวดำรงอยู่ได้จากกระบวนการประกอบสร้างความศักดิ์สิทธิ์ที่มีลักษณะจำเพาะสองรูปแบบขึ้น ภายใต้พิธีกรรมแจกจ่ายกัญชาสองลักษณะ กล่าวคือ การประกอบสร้างความศักดิ์สิทธิ์แบบผูกขาดในพิธีกรรมเชิงการแพทย์ และการประกอบสร้างความศักดิ์สิทธิ์แบบรวบรวมในพิธีกรรมศาสนา กระบวนการทางสังคมของกัญชาดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นความพร่าเลือนและคร่อมข้ามของกรอบคิดทวิลักษณ์และปริมณฑลที่แน่นิ่ง ตายตัวต่าง ๆ ทั้งรัฐ/ราษฎร์ วิทยาศาสตร์/ศาสนา สาธารณะ/ส่วนตัว และได้นำไปสู่การขยับขยายเข้าใจต่อเรื่องการสั่งจ่ายยา โดยพิจารณาอิทธิพลของตัวแสดงที่ไม่ใช่มนุษย์ในบริบทด้วย