Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Sociology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Demography, Population, and Ecology

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 39

Full-Text Articles in Sociology

Human Rights Due Diligence: Roles And Contributions Of Sustainability Professional In Thailand, Pimpilai Rumthum Jan 2022

Human Rights Due Diligence: Roles And Contributions Of Sustainability Professional In Thailand, Pimpilai Rumthum

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study examines the role of sustainability professionals in driving Human Rights Due Diligence (HRDD) within organizations and provides valuable insights into their responsibilities, competencies, and impact. As there was no study done to understand this particular career that tends to be trendy for sustainability businesses to achieve their goals beyond financial efficiency. The study examines the tasks, competencies, and impact of sustainability professionals from different viewpoints of related stakeholders. Using primary data gathered through semi-structured interviews, the research investigates the question that sustainability professionals positively contribute to HRDD processes. Through 9 interviews with key informants from diverse backgrounds, including …


Study On Nepalese Migrant Remittances: Usage, Gender Perspective And Remittance Methods, Tsering Diki Sherpa Jan 2022

Study On Nepalese Migrant Remittances: Usage, Gender Perspective And Remittance Methods, Tsering Diki Sherpa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study aims to shed light on remittance usage types and methods of remittance transfer to Nepalese migrant households. To achieve this, data from the Nepal Living Standards Survey III (NLSS III) was utilized, which comprises a sample size of 5,988 households selected from 499 primary sampling units (PSUs) included in the cross-sectional sample of the NLSS III survey. By analyzing and interpreting this data, the study investigates the allocation and utilization patterns of remittance funds by recipient households. It looks into their expense patterns, occupation types, destination countries, and how gender plays an active role in these dynamics. This …


ปัจจัยกำหนดการเข้าสู่การทำงาน รูปแบบการทำงาน และชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ในประเทศไทย, กนกนิษก์ ตัณฑ์กุลรัตน์ Jan 2022

ปัจจัยกำหนดการเข้าสู่การทำงาน รูปแบบการทำงาน และชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ในประเทศไทย, กนกนิษก์ ตัณฑ์กุลรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของเด็กอายุ 15-17 ปี ในประเทศไทยที่เข้าสู่การทำงาน รวมทั้ง รูปแบบการทำงานและชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ (เด็กอายุ 15-17 ปี ที่ทำงาน) นอกจากนี้ การวิจัยนี้ยังมุ่งศึกษาปัจจัยทางประชากรในครัวเรือนและลักษณะครัวเรือนที่ส่งผลต่อการเข้าสู่การทำงานของเด็ก ตลอดจน รูปแบบการทำงานและการทำงานในชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ ทั้งนี้ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาส 3 พ.ศ. 2561 ที่จัดเก็บโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับแรงงานวัยเยาว์ จำนวน 27 คน ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า แรงงานวัยเยาว์ส่วนใหญ่ทำงานช่วยเหลือธุรกิจในครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้าง รองลงมาคือการเป็นลูกจ้าง นอกจากนี้ ยังพบว่าแรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยมีสัดส่วนของการทำงานในชั่วโมงที่ยาวนานมากกว่าแรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานอย่างเดียว ส่วนปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเข้าสู่การทำงานในรูปแบบการทำงานอย่างเดียว ได้แก่ ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกคนอื่นในครัวเรือนที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน ความเกี่ยวพันทางญาติกับหัวหน้าครัวเรือน การขาดการเอาใจใส่ด้านการศึกษาของผู้ปกครอง สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ได้เก่ การหารายได้ที่เพียงพอเพื่อเลี้ยงครอบครัว การเป็นลูกจ้าง และการขาดทักษะชีวิตในการจัดการเวลา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะหลัก 4 ประการ ได้แก่ 1. ควรพิจารณาปัจจัยเสี่ยงในครัวเรือนและจัดการรายกรณีสำหรับเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้องกันการหลุดออกนอกระบบการศึกษาและช่วยให้แรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานอย่างเดียวกลับมาเรียนต่อได้ โดยอาจเป็นการทำงานควบคู่กับการเรียน 2. ควรพัฒนาทักษะการทำงานของเด็กเพื่อให้แรงงานได้มีโอกาสการทำงานที่ได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นทำให้มีชั่วโมงการทำงานที่น้อยลง 3. ควรร่วมมือกับนายจ้างในการออกแนวทางการกำหนดชั่วโมงการทำงานสำหรับแรงงานวัยเยาว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย รวมทั้งให้ครอบคลุมถึงกลุ่มเด็กที่เรียนในสายสามัญนอกเหนือจากสายอาชีพ 4. ควรพัฒนาทักษะชีวิติในการจัดการเวลาในการทำงานตั้งแต่วัยเยาว์เพื่อตอบสนองการทำงานในอนาคต


ความยากจนในผู้สูงอายุไทย: การเปลี่ยนแปลงและปัจจัยเสี่ยง, สุพนิดา จิระสินวรรธนะ Jan 2022

ความยากจนในผู้สูงอายุไทย: การเปลี่ยนแปลงและปัจจัยเสี่ยง, สุพนิดา จิระสินวรรธนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยากจนของผู้สูงอายุไทยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 และศึกษาความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการศึกษาเปรียบเทียบความยากจนของผู้สูงอายุไทยระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 พบว่าสัดส่วนผู้สูงอายุไทยที่ยากจนลดลงจากร้อยละ 39.0 ในปี พ.ศ.2560 เป็นร้อยละ 34.1 ในปี พ.ศ.2564 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ประกอบด้วย อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส เขตที่อยู่อาศัย สถานภาพการทำงาน สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล และรูปแบบการอยู่อาศัย และพบว่าแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยในทิศทางเดียวกันทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ในขณะที่ปัจจัยด้านเพศและการพึ่งพิงรวมมีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในปี พ.ศ.2560 เท่านั้น และผลการศึกษาเปรียบเทียบความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 พบว่าสัดส่วนครัวเรือนผู้สูงอายุไทยที่ยากจนลดลงจากร้อยละ 11.5 ในปี พ.ศ.2560 เป็นร้อยละ 8.5 ในปี พ.ศ.2564 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ประกอบด้วย อายุหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกครัวเรือน การพึ่งพิงรวม ระดับการศึกษา และเขตที่อยู่อาศัย และพบว่าแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในทิศทางเดียวกันทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ยกเว้นอายุของหัวหน้าครัวเรือนที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในทิศทางตรงข้ามกันระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ในขณะที่ปัจจัยด้านสถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในปี พ.ศ.2560 เท่านั้น


Preventive Health Care And Health Care Services Utilization Of Vietnamese Older Persons : Results From National Household Living Standards Survey 2018, Thao Nguyen Thi Jan 2022

Preventive Health Care And Health Care Services Utilization Of Vietnamese Older Persons : Results From National Household Living Standards Survey 2018, Thao Nguyen Thi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As many countries are aging rapidly, improving older persons’ health and reducing the burden of disease are important goals. However, many developing countries still lack effective policies in the areas of preventive health care and health services utilization of older persons. This study aims: (1) to determine the health status by severe injury report and health care service needs of Vietnamese older persons, (2) to investigate the factors associated with the use of health check-up services of Vietnamese older persons, and (3) to investigate the differences in health care services utilization between different medical needs of Vietnamese older persons. Using …


Factors Associated With And Impacting Coming Out For Sexual Identity Minorities In The United States, Matthew Robert Kusen Jan 2022

Factors Associated With And Impacting Coming Out For Sexual Identity Minorities In The United States, Matthew Robert Kusen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to explore socio-demographic and other individual factors potentially associated with the probability of coming out as Lesbian, Gay, Bisexual, Queer and other sexual identities (LGBQ+) to friends and family and the probability of being outed as LGBQ+ to family members before being ready or without consent in the United States (UCS). This research analyzed quantitative data from the 2016-17 Generations Study, a nationally representative population-based survey collecting information from LGBQ+ persons residing across the US (N=1,416), and employed both descriptive and multivariate analyses, using the logistic regression model and the Cox proportional hazard model. Several factors were …


การเปิดรับสื่อและคุณภาพชีวิตประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไป, กัลยกร ฝูงวานิช Jan 2022

การเปิดรับสื่อและคุณภาพชีวิตประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไป, กัลยกร ฝูงวานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อแต่ละประเภท ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อแต่ละประเภท และความสัมพันธ์ของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อแต่ละประเภทกับคุณภาพชีวิตประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้ข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560 และ 2564 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผลการศึกษาพบว่า ประชากรอายุ 50-59 ปี ร้อยละ 91.23 และอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ92.87 เปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองผ่านสื่ออย่างน้อย 1 ประเภท โดยจะเปิดรับสื่อแต่ละประเภทในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน และมีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อแต่ละประเภทแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม สื่อออนไลน์เป็นสื่อที่ประชากรทั้ง 2 กลุ่ม เปิดรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อประเภทอื่น ทั้งนี้อาจเนื่องจากในระหว่างปี พ.ศ. 2560 และ 2564 มีสถานการณ์การเกิดโรคระบาดโควิด-19 ทำให้การเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นมาตรการที่จำเป็นในการป้องกันตนเอง นำไปสู่การเพิ่มบทบาทการใช้สื่อออนไลน์ในชีวิตประจำวันของประชากรในทุกกลุ่มวัย นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่าการเปิดรับสื่อประเภทต่างๆมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไปในด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ การมีส่วนร่วม และ การมีหลักประกันและความมั่นคงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มประชากรอายุ 50-59 ปี การเปิดรับเฉพาะโทรทัศน์ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมีหลักประกันและความมั่นคง ขณะที่การเปิดรับเฉพาะสื่อบุคคล มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพใจและการมีส่วนร่วม และการเปิดรับเฉพาะสื่อออนไลน์ จะมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ และการมีส่วนร่วม เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เปิดรับสื่อประเภทใดเลย ในขณะที่กลุ่มประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป พบว่า การเปิดรับเฉพาะโทรทัศน์ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมีสุขภาพกาย การมีส่วนร่วม และการหลักประกันและความมั่นคง ขณะที่การเปิดรับเฉพาะสื่อบุคคล มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมีส่วนร่วม และการเปิดรับเฉพาะสื่อออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่เปิดรับสื่อประเภทใดเลย ทั้งนี้การเปิดรับสื่อที่มีความหลากหลายจะทำให้คุณภาพชีวิตของประชากรอายุ 50 ปีขึ้นไปดีขึ้น ทั้งในมิติด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ การมีส่วนร่วม และการมีหลักประกันและความมั่นคง โดยปัจจัยด้านประเภทสื่อที่เปิดรับและความหลากหลายของสื่อมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


The Socio-Economic Determinants Of The Life Satisfaction Of Older Persons In Myanmar In 2019, Myo Thandar Jan 2022

The Socio-Economic Determinants Of The Life Satisfaction Of Older Persons In Myanmar In 2019, Myo Thandar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Myanmar has undergone significant demographic changes, and the share of the older population has increased. Myanmar is facing the challenge in providing social protections to the increasing number of older people, like many other rapidly-ageing societies. As people get older, their physical health and functional ability deteriorate and, as a result, their life satisfaction also declines in most cases. Therefore, it is crucial to consider factors that contribute to the perception of life satisfaction among this venerable cohort. This study explored the determinants of life satisfaction of older persons and investigated whether there are gender differences in the determinants of …


Brain Drain Situation Of Thai Skilled Workers: Push-Pull Factors And Intentions To Return, Nawapat Choosuwan Jan 2021

Brain Drain Situation Of Thai Skilled Workers: Push-Pull Factors And Intentions To Return, Nawapat Choosuwan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Brain Drain occurs when a country loses human capital with specialized skills or with higher education due to worker emigration. In Thailand, the brain drain index has risen in recent years. As the problem of migration of Thai skilled workers remains and becomes worse, it is necessary to investigate the factors that contribute to brain drain of highly trained Thai professionals. The push and pull factors of international migration are used to investigate what motivates skilled people to leave their home country (push factor) and what motivates skilled workers to stay in the destination country (pull factor). Furthermore, the study …


Global Talent Competitiveness Index: The Implication Of 6 Gtci Pillars On Singapore, Malaysia, And Thailand’S Real Gdp Per Capita To Promote Talent Development, Jintatat Chaiyapuck Jan 2021

Global Talent Competitiveness Index: The Implication Of 6 Gtci Pillars On Singapore, Malaysia, And Thailand’S Real Gdp Per Capita To Promote Talent Development, Jintatat Chaiyapuck

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aims to examine the implications of the Global Talent Competitiveness Index (GTCI) against real GDP per capita. Specifically, the study aims to show the relationship between 6 GTCI variables between Singapore, Malaysia, and Thailand and explore the significance and the implications of the GTCI index in the innovation-driven economies. The conceptual framework can be elaborated through 6 GTCI indices. The first four indices in the input model are: (1) enabling and impeding talent attraction and institutional development; (2) attracting talents; (3) growing talent through formal education, lifelong learning, and access to growth opportunities; and (4) retaining talents through …


Human Capital Development In Thailand: Lesson Learn From Singapore, Thunyaporn Techvitul Jan 2021

Human Capital Development In Thailand: Lesson Learn From Singapore, Thunyaporn Techvitul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper examines Human Capital Development in Thailand with a focus on policy recommendations. I applied interdisciplinary approaches to craft strategies for Thailand. Using literature reviews as a main tool of information collection, I study education policy and reforms in Thailand and Singapore to identify the strengths and weaknesses of the current situation in Thailand. By looking into Singapore’s success story, I summarize a few key points that Thailand can learn from Singapore. I additionally look at the current policy and make some revisions to it. I believe that going to college is very important for a country, therefore, I …


The Effect Of Population Structure On Economic Development: Thailand's Provincial Panel Data, Satayu Pattarakijkusol Jan 2021

The Effect Of Population Structure On Economic Development: Thailand's Provincial Panel Data, Satayu Pattarakijkusol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research investigates the effects of demographic change, the change of labor supply, and human capital on Thailand’s economic development. This will help shed light on the relationship between population (quantitatively and qualitatively) and economic development. The demographic dividends, the neoclassical growth Solow-Swan model, and human capital are adopted as the conceptual framework for this research. The secondary panel data at the provincial level from government officials will be used for statistical analysis. Fixed effect or random effect with lagged dependent variable is introduced into the estimated model. The finding suggests that the labor productivity, employment level, share of the …


The Role Of Economic Factors Affecting Thai Older Persons’ Life Satisfaction., Daria Turavinina Jan 2021

The Role Of Economic Factors Affecting Thai Older Persons’ Life Satisfaction., Daria Turavinina

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

An aging population is one of the significant demographic issues affecting the world. As Thailand is moving closer to being considered a super-aged society, major policy reforms must be made to prepare for this transition. Economic factors have long been established as one of the factors contributing to elderly life satisfaction. As the aging population is becoming an ever-increasing and more relevant phenomenon, policymakers' goals are shifting to accommodate the sociopolitical changes that will come with the demographic developments. This independent study examines a sample of n=4716 Thai elderly. The statistical techniques used in this study are Linear Regression and …


The Impact Of Economic And Demographic Factors On Income Inequality: A Comparative Study Of Southeast Asian And Latin American Countries, Muhammad Syukron Mamun Jan 2021

The Impact Of Economic And Demographic Factors On Income Inequality: A Comparative Study Of Southeast Asian And Latin American Countries, Muhammad Syukron Mamun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Despite rapid economic growth, Southeast Asia and Latin America continue to have significant income inequality. This study applies fixed-effects regression estimation with the dynamic panel model with lagged independent variables and the fixed-effects analysis with endogenous covariates to examine the impact of economic and demographic factors on income inequality in 6 Southeast Asian and 15 Latin American countries from 1994 to 2017. Empirical results indicate that emissions, trade openness, old-age dependency ratio, human capital, and female population reduce income inequality, whereas industrialization, unemployment, young-age dependency ratio, and urban population increase income inequality in Southeast Asian countries. This study also finds …


Decision On Later Life Migration Of Myanmar Migrant Workers In Ranong Province, Thailand, Pyone Thidar Aung Jan 2021

Decision On Later Life Migration Of Myanmar Migrant Workers In Ranong Province, Thailand, Pyone Thidar Aung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Over the past five decades, international migration has grown worldwide (IOM, 2022). At the same time, global human life expectancy has been increasing on average because of better health care and improved medical care. Becoming older while being a migrant creates more challenges and vulnerabilities in everyday life. This study examines factors impacting their later life migration or settlement through Myanmar migrant workers in Ranong Province, Thailand. The empirical evidence is gathered from the survey using structured questionnaires and in-depth interviews. The result of the binary logistic regression study indicated that living conditions, receiving working skills in Thailand, political and …


Work Values Of Employees Across Multigenerational Workforce In Hospitality Industry In Thailand, Jatupathra Krancharoen Jan 2021

Work Values Of Employees Across Multigenerational Workforce In Hospitality Industry In Thailand, Jatupathra Krancharoen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A mixture of age diversity in workplace had been witnessed, yet an understanding of the association between multigenerational workforce and their work values was little known. As a result, many firms reported that the domestic conflicts were most likely to be due to the lack of generational understandability and appropriate HR policy in response to such a context. This study therefore aimed to: (1) examine the differences in work values across the generations of employees; (2) explore whether the demographic factors and parenthood status were associated with the work values of employees; (3) provide the policy suggestions/discussions on human resource …


ความแตกต่างของการเสียชีวิตระหว่างเพศและภูมิภาคของประชากรวัยผู้ใหญ่ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2543-2560, ภัคจิรา น้อยจันทร์ Jan 2020

ความแตกต่างของการเสียชีวิตระหว่างเพศและภูมิภาคของประชากรวัยผู้ใหญ่ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2543-2560, ภัคจิรา น้อยจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างและแนวโน้มของความแตกต่างระหว่างเพศของการเสียชีวิตในแต่ละกลุ่มอายุประชากรในประเทศไทย 2) ศึกษาความแตกต่างและแนวโน้มของความแตกต่างระหว่างภาคของการเสียชีวิตในเพศชายและหญิง และ 3) ศึกษาปัจจัยเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสาธารณสุข ที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตอย่างหยาบเพศชายและหญิงในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ Burden of Disease Thailand (BOD) และ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข การวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และเชิงอนุมาน ในส่วนของการวิเคราะห์เชิงพรรณนาจะใช้แผนภูมิแสดงแนวโน้มของการตายในแต่ละกลุ่มอายุ เพศ และภูมิภาค โดยใช้การคำนวณมาตราวัด 3 รูปแบบ ได้แก่ อัตราส่วนระหว่างเพศของการเสียชีวิต (Sex ratio of mortality) ความแตกต่างระหว่างเพศของการเสียชีวิต (Sex differential in mortality) และ ความล่าช้าในการของอายุเพศชายและหญิง (Male and Female age delay in mortality) และการวิเคราะห์เชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multivariate analysis) ผลการศึกษา พบว่า เมื่อใช้มาตรวัดความแตกต่างระหว่างเพศของการเสียชีวิต ความแตกต่างและแนวโน้มของความแตกต่างของการเสียชีวิตระหว่างเพศชายและหญิงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามกลุ่มอายุของประชากร ในขณะที่มาตรวัดอัตราส่วนระหว่างเพศของการเสียชีวิตและอายุที่ล่าช้าในการเสียชีวิตของเพศชายและหญิงแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของการเสียชีวิตของเพศชายและหญิงที่ลดลงเมื่อประชากรมีอายุสูงขึ้น ในระดับภาคนั้น พบว่า ความแตกต่างของการเสียชีวิตของประชากรลดลงเมื่ออายุมากขึ้นในทุกภูมิภาค จากการใช้มาตรวัดอัตราส่วนระหว่างเพศของการเสียชีวิตและมาตรวัดอายุที่ล่าช้าในการเสียชีวิตของเพศชายและหญิง ในทางตรงกันข้ามเมื่อใช้มาตรวัดความแตกต่างระหว่างเพศของการเสียชีวิต ความแตกต่างของการเสียชีวิตในทุกภูมิภาคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นผันตรงกับอายุ แต่มีเพียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้นที่มีแนวโน้มของความแตกต่างเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ส่วนการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตอย่างหยาบเพศชายและหญิง พบว่า ตัวแปรผลิตภัณฑ์มวลรวมรายภาค จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ย ภูมิภาค (ภาคเหนือ และภาคกลาง) และปี มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตของเพศชายและหญิงสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้


การทำงานต่ำระดับของประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัยในประเทศไทย, สุกัญญา มีสกุลทอง Jan 2020

การทำงานต่ำระดับของประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัยในประเทศไทย, สุกัญญา มีสกุลทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์การทำงานต่ำระดับ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานต่ำระดับ และ 3) การเข้าสู่การทำงานต่ำระดับและการปรับตัวของประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัย โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานรูปแบบคู่ขนานเข้าหากัน การวิจัยเชิงปริมาณได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลโครงการสำรวจแรงงานนอกระบบ จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้กลุ่มตัวอย่าง 49,394 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกรณีตัวอย่าง 40 คน ครอบคลุม 5 ภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและสถิติอนุมานร่วมกับข้อค้นพบจากการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า การทำงานต่ำระดับของประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัยกระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทยทั้งด้านเวลา ด้านการศึกษา และด้านรายได้ โดยมีผู้ทำงานต่ำระดับมากกว่า 1 ด้านในลักษณะซับซ้อนและซ้ำซ้อน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยแบบจำลองโพรบิทพบว่า ในภาพรวมนั้น ปัจจัยซึ่งมีผลต่อการทำงานต่ำระดับทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ สถานภาพสมรส สถานะการจ้างงาน ประเภทอาชีพ ประเภทอุตสาหกรรม ภูมิภาคที่อยู่อาศัย ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลเฉพาะด้านการศึกษาและด้านรายได้ ได้แก่ รุ่น เพศ จำนวนปีที่ศึกษา ปัจจัยที่มีผลเฉพาะด้านเวลาและด้านการศึกษา ได้แก่ รายได้ และปัจจัยที่มีผลเฉพาะด้านรายได้ ได้แก่ เขตการปกครอง การเข้าสู่การทำงานต่ำระดับนั้นมีสาเหตุหลักและสาเหตุรองประกอบกันในลักษณะที่แตกต่างกันไป โดยอาจจัดการประกอบกันได้ 5 กลุ่ม ดังนี้ 1) การรักษาสมดุลระหว่างการทำงานกับการดูแลครอบครัวประกอบกับความไม่พึงพอใจในงานเดิม 2) การรักษาสมดุลระหว่างการทำงานกับการดูแลครอบครัวประกอบกับปัญหาสุขภาพ 3) การไม่สามารถหางานที่เหมาะสมได้ประกอบกับสาเหตุรองด้านความไม่พึงพอใจในงานเดิม ครอบครัวมีภาระหนี้สิน การออกจากระบบการศึกษากลางคัน สภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้อต่อการทำงาน ข้อจำกัดในการหางานเมื่อมีอายุมากขึ้น 4) ความพึงพอใจในงานประกอบกับสาเหตุรองด้านความไม่พึงพอใจในงานเดิม การมีปัญหาสุขภาพ ครอบครัวมีภาระหนี้สิน และ 5) ความพึงพอใจในงานประกอบกับปัญหาสุขภาพ ทั้งนี้ ภายหลังเข้าสู่การทำงานต่ำระดับพบการปรับตัวของทั้งประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัยใน 2 ลักษณะ คือ 1) การไม่ปรับตัว และ 2) การปรับตัวด้านจิตใจ ด้านการทำงาน ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม รวมถึงพบการปรับตัวของบุคคลใกล้ชิด ได้แก่ ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน นายจ้าง อย่างไรก็ตาม เมื่อพ้นช่วงการปรับตัวนั้น ทั้งประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัยยังมีความเสี่ยงต่อเนื่องทั้งด้านการทำงานและการดำรงชีวิต ดังนั้น …


ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย, เศรษฐการ หงษ์ศิริ Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย, เศรษฐการ หงษ์ศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต รวมไปถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะปัญหาทางสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลชั้นทุติยภูมิจากการสำรวจผู้สูงอายุภายใต้โครงการการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและความอยู่ดีมีสุขในบริบทสังคมสูงวัย พ.ศ. 2559 ซึ่งจัดทำโดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ที่มีบุตรมีชีวิตอย่างน้อย 1 คน จำนวนทั้งสิ้น 4,812 คน สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยทวินามลบที่มีผลกระทบจากศูนย์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า มีผู้สูงอายุราวร้อยละ 59.93 ที่รายงานว่าตนมีปัญหาทางสุขภาพจิตอย่างน้อย 1 อาการ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ผู้สูงอายุในกลุ่มนี้มีอาการโดยเฉลี่ยประมาณ 2.04 อาการ ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตร พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ราวร้อยละ 88.32 มีความสัมพันธ์กับบุตรอยู่ในระดับดี โดยผู้สูงอายุร้อยละ 47.90 มีบุตรที่มีความสัมพันธ์กันดีมาก และร้อยละ 2.58 เท่านั้นที่มีบุตรที่มีความสัมพันธ์กันไม่ดีเลย จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุเพศชายที่มีความสัมพันธ์กับบุตรในระดับดี และมีบุตรอย่างน้อย 1 คนที่มีความสัมพันธ์กันในระดับดีมาก มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต ในทุกแบบจำลอง ในขณะที่ ผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีความสัมพันธ์กับบุตรในระดับดี มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต เฉพาะในแบบจำลองที่ 1 เท่านั้น เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต ภายหลังเพิ่มการควบคุมอิทธิพลของปัจจัยอื่น ๆ พบว่า ปัจจัยด้านสุขภาพ ได้แก่ การประเมินสุขภาพตนเอง และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานและขั้นสูง และปัจจัยการเกื้อหนุนระหว่างรุ่น ได้แก่ รูปแบบการอยู่อาศัย การให้เงินแก่บุตร เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิตด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านประชากรและสังคม ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา เขตที่อยู่อาศัย ภูมิภาค ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ระดับรายได้ ความเพียงพอของรายได้ และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีความแตกต่างไปตามเพศของผู้สูงอายุด้วย


ความสัมพันธ์ระหว่างแรงบีบมือและความชุกโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะสมองเสื่อม และภาวะพึ่่งพิงในกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุไทย, อรวรรณ ประสิทธิ์ศิริผล Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างแรงบีบมือและความชุกโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะสมองเสื่อม และภาวะพึ่่งพิงในกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุไทย, อรวรรณ ประสิทธิ์ศิริผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคหลายชนิดและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในผู้สูงอายุสามารถป้องกันได้โดยการคัดกรองโรคเบื้องต้นและการใช้มาตรการที่เหมาะสม แรงบีบมือเป็นมาตรวัดที่ใช้งานง่ายและราคาไม่สูง และมาตรวัดนี้ผ่านการทดสอบความตรงในงานวิจัยหลายชิ้นว่าเป็นมาตรวัดที่เหมาะสมในการคัดกรองโรคหลายชนิดซึ่งให้ผลการศึกษาที่เด่นชัดในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีงานวิจัยไม่มากนักที่ศึกษาความแตกต่างของมาตรวัดแรงบีบมือ รวมถึงการศึกษาว่ามาตรวัดเหล่านี้ความสัมพันธ์กับโรคหัวและหลอดเลือดและภาวะสมองเสื่อมมากน้อยเพียงใด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมาตรวัดแรงบีบมือสามมาตรวัด (แรงบีบมือสัมบูรณ์ แรงบีบมือสัมพัทธ์ต่อน้ำหนักร่างกาย และแรงบีบมือสัมพัทธ์ต่อดัชนีมวลกาย) กับความชุกของโรคสามชนิด ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะสมองเสื่อม และภาวะพึ่งพิงในกิจวัตรประจำวัน รวมถึงค้นหามาตรวัดของแรงบีบมือที่เหมาะสมกับแต่ละโรคมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีการค้นหาปัจจัยเศรษฐกิจและสังคมและปัจจัยพฤติกรรมสุขภาพที่มีความสัมพันธ์มาตรวัดของแรงบีบมือทั้งสามมาตรวัด ข้อมูลของการศึกษานี้มาจากตัวอย่างอายุ 60 ปีขึ้นไปของการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-52 ผลการศึกษาบ่งชี้ความสัมพันธ์ทางลบระหว่างมาตรวัดแรงบีบมือทั้งสามมาตรวัดและความชุกของโรค รวมถึงความแปรปรวนของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในเพศ เมื่อพิจารณาค่าถ่วงน้ำหนักอาไคเคะ แรงบีบมือสัมพัทธ์ต่อน้ำหนักร่างกายเป็นมาตรวัดของแรงบีบมือที่ดีที่สุดสำหรับความชุกของโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งผู้สูงอายุชายและหญิง สำหรับภาวะสมองเสื่อมและภาวะพึ่งพิงในกิจวัตรประจำวัน มาตรวัดของแรงบีบมือที่ดีที่สุดสำหรับผู้สูงอายุชายคือ แรงบีบมือสัมบูรณ์ ส่วนผู้สูงอายุหญิงคือ แรงบีบมือสัมพัทธ์ต่อดัชนีมวลกาย ส่วนการศึกษาค่าจุดตัดที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุชายและหญิงที่สามารถจำแนกระหว่างผู้ที่มีภาวะปกติกับผู้ที่เป็นโรคด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ Receiver Operating Characteristic (ROC) นั้น ผลการศึกษาพบว่า ค่าอำนาจจำแนกโรคอยู่ในระดับต่ำมากถึงพอใช้ (AUC= 54.9% – 74.9%) นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นเมื่อควบคุมตัวแปรอื่นให้คงที่แล้ว พบว่า การศึกษา สถานะการทำงาน รายได้ พื้นที่อาศัย ภูมิภาค และกิจกรรมทางกายมีความสัมพันธ์กับแรงบีบมือของผู้สูงอายุชายอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ สถานะการทำงาน รายได้ ภูมิภาค การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับแรงบีบมือของผู้สูงอายุหญิงอย่างมีนัยสำคัญ ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการศึกษาคือ แรงบีบมือเป็นเครื่องมือคัดกรองที่มีประโยชน์และควรนำไปใช้ร่วมกับโปรแกรมตรวจคัดกรองปกติ นอกจากความสัมพันธ์ทางบวกของสถานะทำงานกับแรงบีบมือพบในผู้สูงอายุชายและหญิง สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลควรส่งเสริมการจ้างงานในผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับสุขภาพทางกายและจิตของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ควรมีการศึกษาครั้งต่อไปในสถานบริการทางคลินิคเพื่อยืนยันผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษา


การได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย, ฉัตรกมล พีรปัญญาวรานันท์ Jan 2019

การได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย, ฉัตรกมล พีรปัญญาวรานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การฝากครรภ์ที่มีคุณภาพส่งผลให้สุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกมีความปลอดภัย โดยมีส่วนสำคัญในการลดอัตราการตายของมารดา ตลอดจนส่งเสริมให้ทารกมีน้ำหนักแรกคลอดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และมีสุขภาวะที่ดีในตลอดช่วงวัย การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ และองค์ประกอบของการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย ตามกรอบแนวคิดขององค์การอนามัยโลก ซึ่งประกอบด้วย 1) การได้รับการฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ 2) การได้รับการฝากครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 5 ครั้ง และ 3) การได้รับการฝากครรภ์จากแพทย์ หรือพยาบาลวิชาชีพและการผดุงครรภ์ ซึ่งใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีวัยเจริญพันธุ์ในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุระหว่าง 15-49 ปี ที่คลอดบุตรคนสุดท้องภายใน 2 ปีก่อนการสัมภาษณ์ จำนวนทั้งสิ้น 2,092 คน และทำการวิเคราะห์ด้วยการถดถอยโพรบิท ผลการศึกษาพบว่า อายุขณะตั้งครรภ์บุตร ลำดับของบุตร ความต้องการมีบุตร อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ เพศของหัวหน้าครัวเรือน ระดับสถานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน ระดับการศึกษา ศานาที่นับถือ การเรียนเรื่องเพศศึกษาในโรงเรียน และพื้นที่อยู่อาศัย ส่งอิทธิพลต่อการได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ และองค์ประกอบของการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพที่แตกต่างกัน ฉะนั้น จึงนำไปสู่แนวทางการสนับสนุนให้สตรีตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพจากภาครัฐ ผ่านแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านสาธารณสุขในเชิงพื้นที่ ควบคู่กับการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ตรงจุด


สถานการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยากของสตรีไทย : ข้อค้นพบจากการสำรวจระดับประเทศ, ฤทธิเกียรติ งามสมศักดิ์ Jan 2019

สถานการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยากของสตรีไทย : ข้อค้นพบจากการสำรวจระดับประเทศ, ฤทธิเกียรติ งามสมศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รายงานสถานการณ์ของการรายงานภาวะมีบุตรยาก และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรายงานภาวะมีบุตรยาก ด้วยปัจจัยทางประชากร ปัจจัยอนามัยเจริญพันธุ์ ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยสุขภาพ และปัจจัยของคู่สมรส ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีสถานภาพกำลังสมรสแต่ยังไม่เคยมีบุตรในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลการสำรวจระดับประเทศซึ่งเป็นข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจของโครงการการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและความอยู่ดีมีสุขในบริบทสังคมสูงวัย ของวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งดำเนินการจัดเก็บข้อมูลในเดือนมิถุนายนถึงกันยายม พ.ศ.2559 มีกลุ่มประชากรตัวอย่างเป็นสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 49 ปี โดยการศึกษาครั้งนี้คัดเลือกเฉพาะสตรีที่มีอายุระหว่าง 25 ถึง 49 ปี มีสถานภาพกำลังสมรสแต่ยังไม่เคยมีบุตร และมีข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ที่สมบูรณ์ทั้งหมด 548 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกทวิภาค (Binary Logistic Regression Analysis) โดยมีตัวแปรตามเป็นการรายงานภาวะมีบุตรยากของสตรี กำหนดให้ 0 แสดงถึงสตรีที่ไม่มีการรายงานภาวะมีบุตรยาก (กลุ่มอ้างอิง) 1 แสดงถึง สตรีที่รายงานภาวะมีบุตรยาก ผลการศึกษาพบว่า สตรีมากกว่าครึ่ง คิดเป็นร้อยละ 51.5 รายงานภาวะมีบุตรยาก ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 35 ถึง 39 ปี โดยร้อยละ 61 ของสตรีกลุ่มนี้รายงานว่าตนเองมีบุตรยาก ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับการรายงานภาวะมีบุตรยากพบว่า ปัจจัยทางประชากร ได้แก่ อายุของสตรี จำนวนบุตรที่ปรารถนา ปัจจัยอนามัยเจริญพันธุ์ ได้แก่ การใช้การคุมกำเนิด การแท้ง ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ ระดับการศึกษาสตรี เขตที่อยู่อาศัย มีความสัมพันธ์กับการรายงายภาวะมีบุตรยากของสตรี


Projection And Determinants Of Cognitive Ability Among Older Persons In Thailand : Role Of Education, Paolo Miguel Vicerra Jan 2019

Projection And Determinants Of Cognitive Ability Among Older Persons In Thailand : Role Of Education, Paolo Miguel Vicerra

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis examines the role of education on cognitive ability among the older population of Thailand. The nationally-representative data primarily utilised in this thesis is 2016 Population Change and Well-being in the Context of Aging Society. Other datasets had been used in selected themes within this thesis. Multiple analytic approaches had been applied to this study to show various effects of education gradients on cognitive functioning. In the first study, education and other covariates including income, health status, living arrangement, and social participation among others had been analysed by gender to test if the significant factors would be similar. It …


Socio - Economic Determinants Of Teen Pregnancies In Mozambique, Arnaldo Timoteo Mandlate Jan 2018

Socio - Economic Determinants Of Teen Pregnancies In Mozambique, Arnaldo Timoteo Mandlate

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Teen pregnancy is considered a worldwide public health issue. According to United Nations Population Fund (2014), Mozambique was reported to be the country with the highest teen pregnancy rate in the Southern Africa region. From 2011 to 2015, the proportion of pregnant teens rose significantly from 38% to 46% (IMASIDA, 2015). Thereby, it is important to study factors leading to teen pregnancy incidence in order to draw policy recommendations in the issue. Previous studies in Mozambique applied a qualitative approach. This study fills the literature gaps using the binary logistic regression with a national cross- sectional dataset provided by IMASIDA-Demographic …


Socio-Economic And Demographic Determinants Of Modern Contraceptive Utilization Among Currently Married Women In Myanmar, Kyaw Than Min Jan 2018

Socio-Economic And Demographic Determinants Of Modern Contraceptive Utilization Among Currently Married Women In Myanmar, Kyaw Than Min

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The key purpose of this study is to explore socio-economic and demographic characteristics that influence modern contraceptive use of currently married women aged 15-49 in Myanmar. This study is contributing to fill the literature gaps at the national level. Even though there have been a number of studies on modern contraceptive use and family planning in Myanmar, these studies did not represent the whole nation. This study utilizes data from the Myanmar Demographic and Health Survey (MDHS) 2015-16, a national level cross-sectional dataset. Based on the study, the currently married women in this study included 6,597 women in Myanmar, 51 …


Sex-Composition Of Children And Fertility Desire In Vietnam, Hai Yen Thi Nguyen Jan 2018

Sex-Composition Of Children And Fertility Desire In Vietnam, Hai Yen Thi Nguyen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis aims to investigate whether the variation in sex composition of children can explain the variation of Vietnamese women's fertility desire. Vietnam has experienced rapid fertility decline since the middle of the 20th century but within a broader context of strong cultural norms regarding son preference. Thus, the sex composition of children is one of the key determinants of reproductive behavior within Vietnam. To my knowledge, no previous study has examined the relationship between sex composition of children and women's fertility desires in Vietnam. Using data from the 2014 Vietnam Multiple Indicator Cluster Survey (MICS) I investigate the association …


Socio Economic Determinants Of Spousal Violence Against Women In Myanmar, Lin Lin Mar Jan 2018

Socio Economic Determinants Of Spousal Violence Against Women In Myanmar, Lin Lin Mar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, the violence against women by spouses is a hidden social problem embedded in social and cultural norms in Myanmar. However, there are limited numbers of previous studies regarding spousal violence in Myanmar. Some studies utilized a qualitative approach, while some used a quantitative approach in some parts of Myanmar. This study aims to examine whether socioeconomic and demographic factors affecting spousal violence using a quantitative approach to fill the literature gap at the national level. It uses the data from the 2015-16 Myanmar Demographic and Health Survey. The explanatory variables are demographic and socio-economic characteristics of the women, their …


Impact Of Migration And Remittances On Children's Human Capital In Cambodia, Vatana Chea Jan 2018

Impact Of Migration And Remittances On Children's Human Capital In Cambodia, Vatana Chea

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This dissertation investigates the impacts of migration and remittances on human capital development of left-behind children in Cambodia. It contributes new evidence to a controversial debate in the literature on long-term impacts of migration and of remittances on the children. This is from the perspective of education, health, and consumption in remittance-recipient households compared with those in non-recipient ones. It relies on pooled data from Cambodia Socio-Economic Survey of 2009 and 2014, each of which comprises around 12,000 households in both rural and urban areas across all 25 provinces there. To evaluate the impact on household educational investment, the study …


Determinants Of Labor Force Participation Among Older Persons In Myanmar, Zaw Min Latt Jan 2018

Determinants Of Labor Force Participation Among Older Persons In Myanmar, Zaw Min Latt

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Population ageing is occurring in many parts of the world. Likewise, in Myanmar, population is ageing with a fast acceleration. The government is trying to find ways to improve wellbeing of older persons, and labour force participation is one of the important factors to reduce financial insecurity during old age. This study aims to investigate the situation of labour force participation and to identify the demographic and economic factors that influence the decision making of older people to join the labour force in Myanmar. This study uses dataset from the 2012 Survey of Older Persons in Myanmar which is nationally …


อิทธิพลของความรักความเข้าใจในครอบครัวต่อคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชนไทย, มนทกานติ์ รอดคล้าย Jan 2018

อิทธิพลของความรักความเข้าใจในครอบครัวต่อคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชนไทย, มนทกานติ์ รอดคล้าย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรักความเข้าใจในครอบครัวที่เกิดขึ้นระหว่างเด็กและเยาวชนกับครอบครัวของตนต่อคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชน โดยศึกษาสถานการณ์ความรักความเข้าใจในครอบครัวและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาวิธีการและแนวทางการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ผู้ปกครอง แบบแผนการวิจัยเป็นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยข้อมูลเชิงปริมาณที่ใช้นำมาจากข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและเยาวชนไทย พ.ศ.2558: ตามกรอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ที่ได้รับการอนุเคราะห์จากวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิเคราะห์ข้อมูลรวมถึงเปรียบเทียบผลการศึกษาด้วยสถิติการถดถอยพหุคูณ ในขณะที่การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อให้ทราบมุมมองและแนวทางการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชน ผลการศึกษาพบว่า ความรักความเข้าใจในครอบครัวมีอิทธิพลต่อคุณธรรมจริยธรรมของเด็กเป็นอย่างมากและเป็นไปในทางบวก โดยหากเด็กและเยาวชนได้รับความรักความเข้าใจในครอบครัวมากจะมีความสัมพันธ์ต่อคุณธรรมจริยธรรมส่วนตนให้เป็นไปในทางบวกเช่นกัน นอกจากนี้ปัจจัยลักษณะประชากรของเด็กและเยาวชนบางประการมีอิทธิพลต่อคุณธรรมจริยธรรมของเด็กเช่นกัน ประกอบด้วย ภาคที่อยู่อาศัย เพศ อายุ และการศึกษา ในขณะที่มีปัจจัยลักษณะครัวเรือนเพียงบางประการเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับคุณธรรมจริยธรรม และปัจจัยลักษณะผู้ปกครองเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณธรรมจริยธรรม นอกจากนี้ผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า พ่อแม่เลี้ยงดูลูกด้วยความเอาใจใส่และพร้อมที่จะให้ความรักความเข้าใจแก่ลูกอยู่เสมอ อีกทั้งยังตระหนักและมุ่งเน้นที่จะปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานแก่ลูกของตนโดยคุณธรรมหลักที่เน้นปลูกฝังได้แก่ ความซื่อสัตย์และรับผิดชอบต่อหน้าที่โดยมุ่งหวังให้ลูกเป็นคนดีของครอบครัวและสังคม การศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์ในการพัฒนาครอบครัวอย่างถูกวิธี เพื่อส่งเสริมการให้ความรักความเข้าใจในครอบครัวอันจะช่วยเสริมสร้างผลผลิตหรือเด็กและเยาวชนที่มีคุณธรรมจริยธรรมอันเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณภาพ