Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Psychology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2020

Articles 1 - 30 of 30

Full-Text Articles in Psychology

ผลของกลุ่มพัฒนาตนโดยมีภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี, ชิดชนก จินตนาวุฒิ Jan 2020

ผลของกลุ่มพัฒนาตนโดยมีภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี, ชิดชนก จินตนาวุฒิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยกึ่งทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มพัฒนาตนโดยมีภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรี อายุตั้งแต่ 18-23 ปี จำนวน 29 คน แบ่งเป็นกลุ่มพัฒนาตนโดยมีภาพยนตร์เป็นสื่อ 9 คน กลุ่มพัฒนาตนตามแนวทรอตเซอร์ 9 คน และกลุ่มชมภาพยนตร์ 11 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมกลุ่มพัฒนาตนโดยมีภาพยนตร์เป็นสื่อ สัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง รวม 5 ครั้ง โดยกลุ่มตัวอย่างตอบแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของ Ryden ในช่วงก่อนและหลังการวิจัย ข้อมูลที่ได้รับถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบผสม ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองในช่วงหลังการเข้ากลุ่มสูงกว่าก่อนการเข้ากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างของคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองภายหลังการเข้าร่วมกลุ่ม


อิทธิพลของเจตคติต่อเงิน ความตึงเครียดทางการเงิน และความหมายในชีวิตที่มีต่อภาวะซึมเศร้าของคนทำงานที่มีหนี้สิน, ชลพรรษ จรัญพงษ์ Jan 2020

อิทธิพลของเจตคติต่อเงิน ความตึงเครียดทางการเงิน และความหมายในชีวิตที่มีต่อภาวะซึมเศร้าของคนทำงานที่มีหนี้สิน, ชลพรรษ จรัญพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อเงิน ความตึงเครียดทางการเงิน และความหมายในชีวิต ต่อภาวะซึมเศร้าของทำงานที่มีภาวะหนี้สิน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นคนทำงานที่มีหนี้สินอายุเฉลี่ย 30.74±4.8 ปี จำนวน 201 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการเก็บแบบรายสะดวก วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพบว่าเจตคติต่อเงินแบบการหลีกเลี่ยงเงินมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .285, p < .01) เจตคติต่อเงินแบบการบูชาเงินมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .303, p < .01) และเจตคติต่อเงินแบบเงินคือสถานะมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .178, p < .05) ความตึงเครียดทางการเงินมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .460, p < .01) ความหมายในชีวิตมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.804, p < .01) โดยที่เจตคติต่อเงิน ความตึงเครียดทางการเงิน และความหมายในชีวิต สามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าในคนทำงานที่มีหนี้สินได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .680, p < .01) โดยผลกระทบทางการเงินจากสถานการณ์ COVID-19, เจตคติต่อเงิน, ความตึงเครียดทางการเงิน, และความหมายในชีวิต ร่วมกันทำนายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 69.5 (R2 = .695, p < .01) เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน (β) ของแต่ละตัวแปรทำนาย พบว่า ความหมายในชีวิตมีน้ำหนักค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานสูงที่สุด (β = -.75, p < .01) รองลงมาคือผลกระทบทางการเงินจากสถานการณ์ COVID-19 (β = .14, p < .01) และความตึงเครียดทางการเงิน (β = .13, p < .01) โดยเจตคติต่อเงินทั้ง 4 แบบ ไม่สามารถทำนายตัวแปรตามได้อย่างมีนัยสำคัญ


โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอิทธิพลภาวะผู้นำแบบมีเมตตากรุณา บูรณาการจากแนวคิดเชิงพุทธและตะวันตก ที่มีผลต่อความไว้วางใจ ความผูกพัน และ ความสร้างสรรค์ ในการทำงานของพนักงานชาวไทย, กิมาพร ลีสมิทธิ์ Jan 2020

โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอิทธิพลภาวะผู้นำแบบมีเมตตากรุณา บูรณาการจากแนวคิดเชิงพุทธและตะวันตก ที่มีผลต่อความไว้วางใจ ความผูกพัน และ ความสร้างสรรค์ ในการทำงานของพนักงานชาวไทย, กิมาพร ลีสมิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 การศึกษา ได้แก่ การพัฒนามาตรวัดภาวะผู้นำ และ การทดสอบสมมติฐานการวิจัย เก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างพนักงานจากสถาบันการเงินด้วยแบบสอบถามกระดาษ การศึกษาแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตรวจสอบมาตรวัดภาวะผู้นำแบบมีเมตตากรุณาเชิงพุทธ บนพื้นฐานของความไว้วางใจ มาตรวัดถูกทดสอบความตรงเชิงเนื้อหา วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (n = 203) และวัดความตรงเชิงโครงสร้าง (n = 324) โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและความตรงเชิงลู่เข้า ผลการพัฒนามาตรวัด ภาวะผู้นำแบบมีเมตตากรุณาเชิงพุทธแบบ 4 มิติตัวแปร ประกอบด้วย ด้านการส่งเสริม การเอาใจใส่ การออกแบบรางวัลและการชมเชย เพื่อแสดงการยกย่อง และ ความยึดมั่นในคุณธรรม สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์สูงสุด การทดสอบสมมติฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลระยะยาวของพฤติกรรมผู้นำ ความไว้วางใจในผู้นำ ที่มีผลต่อความผูกพัน ความสร้างสรรค์ของผู้ปฏิบัติงานในสังคมไทย การศึกษาจัดกระทำในโมเดลสมมติฐานภาคตัดขวางและการศึกษาระยะยาว วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (structural equation modeling: SEM) ด้วยโปรแกรมเอ็มพลัส (Mplus) ผลการศึกษาในโมเดลการศึกษาภาคตัดขวาง ความไว้วางใจในผู้นำเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำแบบมีเมตตากรุณาเชิงพุทธกับความผูกพันและความสร้างสรรค์ของพนักงาน ขณะที่ผลของโมเดลการศึกษาระยะยาว พบว่า ความไว้วางใจในผู้นำ (Time-1) ส่งผ่านอิทธิพลระหว่างภาวะผู้นำแบบมีเมตตากรุณาเชิงพุทธ (Time-1) และความผูกพัน (Time-2) แต่ไม่มีอิทธิผลส่งผ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อความสร้างสรรค์ (Time-2)


ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับอารมณ์ด้วยวิธีการทางความคิด รูปแบบความผูกพัน ปัจจัยทางความสัมพันธ์ กับความทุกข์ใจจากการเลิกรา ในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ผ่านประสบการณ์การเลิกรา, ศุภวรรณ นารถ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับอารมณ์ด้วยวิธีการทางความคิด รูปแบบความผูกพัน ปัจจัยทางความสัมพันธ์ กับความทุกข์ใจจากการเลิกรา ในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ผ่านประสบการณ์การเลิกรา, ศุภวรรณ นารถ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถในการทำนายความทุกข์ใจจากการเลิกรา ด้วยการกำกับอารมณ์ด้วยวิธีการทางความคิด รูปแบบความผูกพัน และปัจจัยทางความสัมพันธ์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงอนุมาน และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ โดยกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ผ่านประสบการณ์การเลิกรามาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน จำนวน 211 คน กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปซึ่งครอบคลุมถึงปัจจัยทางความสัมพันธ์ มาตรวัดความทุกข์ใจจากการเลิกรา มาตรวัดรูปแบบความผูกพันฉบับย่อ และมาตรวัดการกำกับอารมณ์ด้วยวิธีการทางความคิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการถดถอยพหุคูณแบบ Enter ผลการวิจัยสนับสนุนสมมติฐานโดยรวม ทั้งนี้ พบสหสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างความทุกข์ใจจากการเลิกรากับการใช้การกำกับอารมณ์ด้วยวิธีการทางความคิดแบบไม่เอื้อประโยชน์ (r = .41, p < .01) การมีรูปแบบความผูกพันแบบกังวล อันประกอบด้วย ความต้องการการยอมรับ (r = .25, p < .01) และความหมกมุ่นถึงความสัมพันธ์ (r = .39, p < .01) ในทางกลับกัน ความทุกข์ใจจากการเลิกรามีสหสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการมีคนรักใหม่ (r = -.16, p < .05) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบกว่าการกำกับอารมณ์ด้วยวิธีการทางความคิด รูปแบบความผูกพัน และปัจจัยทางความสัมพันธ์ร่วมกันทำนายความทุกข์ใจจากการเลิกราได้ร้อยละ 26 (p < .001) โดยมีเฉพาะการกำกับอารมณ์ฯ แบบไม่เอื้อประโยชน์ (β = .28, p < .001) รูปแบบความผูกพันด้านความหมกมุ่นถึงความสัมพันธ์ (β = .35, p < .001) และการมีคนรักใหม่ (β = -.18, p < .01) เท่านั้นที่สามารถทำนายความทุกข์ใจดังกล่าวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแนวทางในการทำความเข้าใจและลดความทุกข์ใจจากการเลิกราในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้ในอนาคต


ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกเชื่อมโยงทางสังคม และสุขภาวะของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุกเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ขจิตพันธ์ ธีรวรวัชร์ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกเชื่อมโยงทางสังคม และสุขภาวะของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุกเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ขจิตพันธ์ ธีรวรวัชร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นักเรียนมัธยมเป็นช่วงวัยรุ่นที่อาจเกิดความเครียดได้ง่าย จากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทั้งทางร่างกายอารมณ์จิตใจและสังคม จึงควรได้รับการสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกเชื่อมโยงทางสังคม และ การมีทักษะกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุก ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญที่ทำให้วัยรุ่นมีสุขภาวะที่ดี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการสนับสนุนทางสังคม และความรู้สึกเชื่อมโยงทางสังคม ต่อสุขภาวะ โดยมีกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุกเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,168 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกระดาษ ในช่วงเดือนธันวาคม 2563 และทางออนไลน์ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ เดือนมกราคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐานและโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modelling: SEM) โดยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัย พบว่า โมเดลเชิงสาเหตุของความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม และความรู้สึกเชื่อมโยงทางสังคม ที่มีต่อสุขภาวะ โดยมีกลวิธีจัดการปัญหาเชิงรุกเป็นตัวแปรส่งผ่าน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ χ2= 176.414, df =29, p <.001, RMSEA = .066, CFI = .978, TLI = .966, SRMR = .027 โดยการสนับสนุนทางสังคม สามารถอธิบายความแปรปรวนของกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุกได้ร้อยละ 29.9 ส่วนการสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกเชื่อมโยงทางสังคม และกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุก ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของสุขภาวะได้ร้อยละ 74.2 กลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุกเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบบางส่วนของอิทธิพลระหว่างการสนับสนุนทางสังคมต่อสุขภาวะ (อิทธิพลทางตรง=.539 ทางอ้อม=.177 รวม=.716) ส่วนความรู้สึกเชื่อมโยงทางสังคม และกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุก มีอิทธิพลทางตรงต่อสุขภาวะ (ทางตรง = .170, .324 ตามลำดับ) และการสนับสนุนทางสังคม มีอิทธิพลทางตรงต่อกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุก (ทางตรง =.547) จากผลการวิจัยดังกล่าวชี้ให้ผู้ปกครอง และครู เห็นความสำคัญของการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม และความรู้สึกเชื่อมโยงทางสังคม ซึ่งทำให้วัยรุ่นมีกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุกมากขึ้น และนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี


ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด รูปแบบความผูกพัน ต้นทุนทางจิตวิทยาและภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นที่มีประสบการณ์แยกจากบิดามารดา, ฐิตาพร แก้วบุญชู Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด รูปแบบความผูกพัน ต้นทุนทางจิตวิทยาและภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นที่มีประสบการณ์แยกจากบิดามารดา, ฐิตาพร แก้วบุญชู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ที่ความเครียด รูปแบบความผูกพัน ต้นทุนทางจิตวิทยามีกับภาวะซึมเศร้า และศึกษาความสามารถที่ปัจจัยเหล่านี้ทำนายภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นที่เคยมีประสบการณ์แยกจากบิดามารดา โดยเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการสุ่มแบบเจาะจงจำนวน 141 คน อายุ 18-25 ปี มีประสบการณ์แยกจากบิดาและ/หรือมารดาในช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 16 ปี เป็นเวลาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป และไม่อยู่ระหว่างการบำบัดรักษาทางจิตเวช กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งประกอบด้วย มาตรวัดความเครียด มาตรวัดรูปแบบความผูกพันห้ามิติ อันได้แก่ มิติความมั่นใจ มิติความไม่สบายใจเมื่อเกิดความใกล้ชิด มิติต้องการการยอมรับ มิติหมกมุ่นถึงความสัมพันธ์ และมิติความสัมพันธ์มีความสำคัญเป็นรอง มาตรวัดต้นทุนทางจิตวิทยา และมาตรวัดภาวะซึมเศร้า ข้อมูลที่ได้รับถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยวิธีการใส่ตัวแปรอิสระเข้าพร้อมกัน ผลการศึกษาพบว่าภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) กับความเครียด รูปแบบความผูกพันด้านต่างๆ และต้นทุนทางจิตวิทยา อย่างไรก็ตาม จากผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่าแม้ปัจจัยเหล่านี้ร่วมกันทำนายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าได้ร้อยละ 68 (R2 = .68, p < .001) แต่มีเฉพาะความเครียดเท่านั้นที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ประสบการณ์การเยียวยาจิตใจด้วยการเจริญวิปัสสนาในผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก, อาภาภรณ์ กิจวัฒนาไพบูลย์ Jan 2020

ประสบการณ์การเยียวยาจิตใจด้วยการเจริญวิปัสสนาในผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก, อาภาภรณ์ กิจวัฒนาไพบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเบื้องต้นของผู้ที่ฝึกเจริญวิปัสสนา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาในการวิเคราะห์ข้อมูล มีผู้ให้ข้อมูลหลัก 5 ราย อันเป็นผู้ที่ผ่านการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เช่น บิดามารดาหรือคู่สมรส และใช้การเจริญวิปัสสนาในการเยียวยาจิตใจจากการสูญเสีย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้คำถามสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ประสบการณ์การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักของผู้ที่ฝึกเจริญวิปัสสนา ประกอบไปด้วย 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ความทุกข์จากการสูญเสีย ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย คือ ความโศกเศร้าเสียใจ ความเจ็บปวด บีบคั้นใจ ความผิดหวัง การตำหนิกล่าวโทษ และการหลีกหนีจากสิ่งกระตุ้นความทรงจำ (2) การเยียวยาใจด้วยการรู้เท่าทัน สังเกต และเข้าใจทุกข์ ซึ่งประกอบด้วย 6 ประเด็นย่อย ได้แก่ ความทุกข์เกิดขึ้น (การหวนระลึกถึงความทรงจำเกี่ยวกับผู้จากไป และการ ท่วมท้นด้วยความรู้สึกเมื่อนึกถึงอดีต) การมีสติรู้เท่าทัน เห็นจิตที่กำลังทุกข์ การนำความรู้ทางธรรมมาเข้าใจความทุกข์ที่เกิดขึ้น การใช้สติเป็นฐานรับมือความทุกข์ (การตามดูความทุกข์โดยไม่ต้าน การหยุดความคิด ดึงใจกลับมาสู่ความรู้สึกตัวในปัจจุบัน และการใคร่ครวญหาเหตุแห่งทุกข์) ความทุกข์คลี่คลาย (ความคิดหยุดและคลายไป จิตสงบลง และการเห็นความจริง คลายความยึดติด ใจสงบว่าง) และ ความทุกข์กลับมาใหม่เมื่อมีเหตุกระตุ้น และ (3) ความเข้าใจโลกและชีวิตหลังการสูญเสีย ซึ่งประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสูญเสีย (การรู้ซึ้งถึงทุกข์จากการพลัดพราก การยอมรับความจริง พร้อมรับใจที่ยังคงกระเพื่อม การเห็นประโยชน์จากความทุกข์ และการเตรียมใจรับมือกับการสูญเสียในอนาคต) ความเข้าใจชีวิตผ่านหลักธรรม (การเห็นสภาวธรรมตามหลักธรรมคำสอน และการมองชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ) และ การตระหนักในคุณค่าของสติและวิปัสสนา (การใช้สติรับมือกับความทุกข์ด้านอื่นๆ การฝึกสติเพื่ออยู่กับปัจจุบันขณะ และการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างด้วยสติ) ข้อค้นพบจากการศึกษานี้สามารถนำมาใช้ทำความเข้าใจประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักและใช้การเจริญวิปัสสนาในการเยียวยาผลกระทบทางใจที่เกิดขึ้นอันนำไปสู่การยอมรับความสูญเสียได้ในที่สุด


ประสบการณ์ของผู้ให้การปรึกษาแนวพุทธในการพัฒนาความร่วมมือเชิงบำบัด, ณัฐวร เมฆมัลลิกา Jan 2020

ประสบการณ์ของผู้ให้การปรึกษาแนวพุทธในการพัฒนาความร่วมมือเชิงบำบัด, ณัฐวร เมฆมัลลิกา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ เพื่อศึกษาประสบการณ์ของผู้ให้การปรึกษาแนวพุทธในการพัฒนาความร่วมมือเชิงบำบัด ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ให้การปรึกษาแนวพุทธ จำนวน 7 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้คำถามสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ความสงบว่างด้วยความเข้าใจเห็นจริงในหลักธรรม เป็นหัวใจหลักตลอดกระบวนการทำงาน แบ่งออกเป็นประเด็นย่อยได้แก่ (1.1) ภาวะใจที่สงบว่าง และความเข้าใจเห็นจริงในหลักธรรม และ (1.2) รับรู้โลกของผู้มาปรึกษาอย่างเข้าใจ และเป็นสติช่วยให้ผู้มาปรึกษามองเห็นทุกข์ ความขุ่นมัวในใจตน (2) อุปสรรคที่ทำให้ความสัมพันธ์ชะงักงันและการก้าวข้ามอุปสรรค แบ่งออกเป็นประเด็นย่อยได้แก่ (2.1) อุปสรรคที่ทำให้ความสัมพันธ์ชะงักงัน และ (2.2) การก้าวข้ามอุปสรรค และประเด็นสุดท้าย (3) กระบวนการยกระดับจิตใจผู้มาปรึกษา แบ่งออกเป็นประเด็นย่อยได้แก่ (3.1) ผู้มาปรึกษาตระหนักในทุกข์ และเหตุที่มาของทุกข์ (3.2) ผู้มาปรึกษาเข้าใจโลกและชีวิต ละวางความทุกข์ได้ และ (3.3) ผู้มาปรึกษาพัฒนาโลกภายใน เติบโตในชีวิตมากขึ้น ข้อค้นพบในการวิจัยนี้ทำให้เข้าใจประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ให้การปรึกษาแนวพุทธในเรื่องของความร่วมมือเชิงบำบัด ซึ่งมีความสงบว่างของผู้ให้การปรึกษาด้วยศีล สมาธิ ปัญญาที่มาจากความเข้าใจเห็นจริงในหลักธรรม เป็นหัวใจหลักตลอดกระบวนการทำงานนั่นเอง


ประสบการณ์ทางจิตใจในประเด็นการถ่ายโอนย้อนกลับ ของนักจิตบำบัดในกระบวนการบำบัดรักษา, เจษฎา กลิ่นพูล Jan 2020

ประสบการณ์ทางจิตใจในประเด็นการถ่ายโอนย้อนกลับ ของนักจิตบำบัดในกระบวนการบำบัดรักษา, เจษฎา กลิ่นพูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจในประเด็นของการถ่ายโอนย้อนกลับของนักจิตบำบัดในกระบวนการบำบัดรักษา ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ (Interpretative Phenomenological Analysis: IPA) โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผู้เข้าร่วมวิจัยคือนักจิตบำบัดที่มีประสบการณ์ทำงานระหว่าง 5 – 10 ปี จำนวน 6 ราย ผลการวิจัยสามารถแบ่งได้ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ความรู้สึกเชื่อมโยงกับผู้รับบริการ ประกอบด้วย การพบประสบการณ์ที่นักจิตบำบัดคุ้นเคย การรู้สึกร่วมไปกับเรื่องราวของผู้รับบริการ และการไม่สามารถกักเก็บอารมณ์ที่รู้สึกต่อผู้รับบริการ 2) การถ่ายโอนย้อนกลับเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ ประกอบด้วย การขัดแย้งกับภาพที่นักจิตบำบัดคิดว่าควรจะเป็น และ การรบกวนชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัวของนักจิตบำบัด และ 3) การพยายามยุติการถ่ายโอนย้อนกลับ ประกอบด้วย นักจิตบำบัดจัดการตัวเอง (การดึงสติให้จดจ่อกับกระบวนการ การปรับกระบวนการบำบัดรักษาเพื่อเลี่ยงอิทธิพลของการถ่ายโอนย้อนกลับ การเพิ่มความรู้และความเข้าใจทางทฤษฎีและประสบการณ์ของตน การยอมรับในขอบเขตของนักจิตบำบัด) การปรึกษาอาจารย์นิเทศและพบนักจิตบำบัดของตน (การชี้ให้เห็นการถ่ายโอนย้อนกลับที่เกิดขึ้น การช่วยหาทางแก้ไขการถ่ายโอนย้อนกลับ) และการระบายและขอความเห็นจากคนรอบข้าง ซึ่งผลการวิจัยช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ของการถ่ายโอนย้อนกลับของนักจิตบำบัดเพิ่มขึ้น โดยจะเป็นประโยชน์ต่อนักจิตบำบัด ตลอดจนผู้ให้ฝึกอบรมหรือผู้ให้การนิเทศตระหนักถึงความสำคัญของประสบการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนา ฝึกฝน รวมถึงพัฒนางานในศาสตร์จิตบำบัดหรือจิตวิทยาการปรึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป


ประสบการณ์ภายในจิตใจของพนักงานตาบอดที่ทำงานในองค์กร, สโรชา กิตติสิริพันธุ์ Jan 2020

ประสบการณ์ภายในจิตใจของพนักงานตาบอดที่ทำงานในองค์กร, สโรชา กิตติสิริพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ภายในจิตใจของพนักงานตาบอดที่ทำงานในองค์กร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยคุณภาพแนววิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ (Interpretative Phenomenological Analysis: IPA) เก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นคนพิการทางการเห็นระดับสายตาบอดสนิทที่มีประสบการณ์ทำงานในองค์กรร่วมกับคนทั่วไปจำนวน 6 ราย ผลการวิจัยประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) แรงกดดันภายในใจก่อนเริ่มทำงาน ประกอบด้วย ความต้องการสร้างอัตลักษณ์จากการทำงาน ความจำกัดทางอาชีพ และความกังวลใจต่อการทำงาน 2) ความบีบคั้นทางใจเมื่อเริ่มเป็นพนักงานองค์กร ประกอบด้วย การขาดระบบสนับสนุนการทำงาน การขาดอิสระในการเคลื่อนไหว การถูกปิดกั้นการมีส่วนร่วม และข้อจำกัดเรื่องผลตอบแทนและความก้าวหน้าในอาชีพ 3) การรับมือกับความบีบคั้นทางใจในองค์กร ประกอบด้วย การรับมือปัญหาด้วยตนเอง และการสนับสนุนจาก คนรอบข้าง 4) การซึมซับการตีตราสู่ตนเอง ประกอบด้วย ความรู้สึกไม่ทัดเทียมกับผู้อื่น ความรู้สึกเป็นภาระ และความเจียมตัวในความพิการ ผู้วิจัยได้อภิปรายผลโดยอธิบายถึงการปรับตัวของพนักงานตาบอด และการซึมซับการตีตราสู่ตนเองของพนักงานตาบอด ผลการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลในมุมมองของพนักงานตาบอดในบริบทของการทำงาน เป็นประโยชน์ต่อการช่วยเหลือทางจิตใจและการปรับตัวให้แก่พนักงานตาบอด และวางแผนนโยบายที่เอื้อให้พนักงานตาบอดสามารถทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ


อิทธิพลกำกับของการรับรู้ความสามารถของตนจากการฝึกอบรมและการรับรู้การสนับสนุน จากหัวหน้างานที่มีต่อความสัมพันธ์ของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ กับการถ่ายโอนการฝึกอบรม, จันทร์แรม ชัยลัง Jan 2020

อิทธิพลกำกับของการรับรู้ความสามารถของตนจากการฝึกอบรมและการรับรู้การสนับสนุน จากหัวหน้างานที่มีต่อความสัมพันธ์ของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ กับการถ่ายโอนการฝึกอบรม, จันทร์แรม ชัยลัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลกำกับของการรับรู้ความสามารถของตนจากการฝึกอบรมและการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างาน ที่มีต่อความสัมพันธ์ของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับการถ่ายโอนการฝึกอบรมในกลุ่มข้าราชการกรมศุลกากร จำนวน 142 คน โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ (β = .183, p < .05) การรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างาน (β = .248, p < .01) และการรับรู้ความสามารถของตนจากการฝึกอบรม (β = .586, p < .01) มีอิทธิพลทางบวกต่อการถ่ายโอนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) การรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างานไม่มีอิทธิพลกำกับความสัมพันธ์ของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับการถ่ายโอนการฝึกอบรมและ 3) การรับรู้ความสามารถของตนจากการฝึกอบรมส่งผลต่ออิทธิพลกำกับของการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างานที่มีต่อความสัมพันธ์ของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับการถ่ายโอนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = -.170 , p < .05) กล่าวคือระดับการรับรู้ความสามารถของตนจากการฝึกอบรมของบุคคลที่แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างานที่กำกับความสัมพันธ์ของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับการนำความรู้ ทักษะและทัศนคติที่บุคคลได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ในการทำงาน ดังนั้นนอกจากองค์การจะให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน อันได้แก่ การสนับสนุนจากองค์การ และการสนับสนุนจากหัวหน้างาน ที่เอื้อต่อพฤติกรรมการถ่ายโอนการฝึกอบรมแล้ว การรับรู้ความสามารถของตนจากการฝึกอบรมถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการถ่ายโอนการฝึกอบรมเช่นกัน


อิทธิพลของการคุกคามจากการเหมารวมและการดูตัวแบบเชิงบวกต่อการรับรู้การคุกคามจากการเหมารวมและความเร็วในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของคนที่มีภาวะตาบอดสี, อนุสรณ์ อาศิรเลิศสิริ Jan 2020

อิทธิพลของการคุกคามจากการเหมารวมและการดูตัวแบบเชิงบวกต่อการรับรู้การคุกคามจากการเหมารวมและความเร็วในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของคนที่มีภาวะตาบอดสี, อนุสรณ์ อาศิรเลิศสิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการคุกคามจากการเหมารวมและการให้ตัวแบบเชิงบวกในกลุ่มคนที่มีภาวะตาบอดสีในประเทศไทยซึ่งเป็นเพศชายจํานวน 44 คน โดยสุ่มการจัดกระทําให้ผู้ร่วมการทดลองเข้าเงื่อนไขแบบ 2 x 2 โดยมีการอ่านข้อความที่มีการคุกคามจากการเหมารวม (หรืออ่านข้อความที่ไม่มีการคุกคาม) และการดูวิดีโอตัวแบบเชิงบวก (หรือดูวีดีโอที่ไม่มีตัวแบบเชิงบวก) เพื่อลดอิทธิพลของคุกคามจากการเหมารวม โดยมีการวัดความเร็วในการตอบสนองจากการทดสอบความเร็วในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากการเล่มเกม Stroop Task และทํามาตรวัดการรับรู้การถูกคุกคามจากการเหมารวม ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Two-way ANOVA พบว่ามีผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างเงื่อนไขการคุกคามจากการเหมารวมและการให้ตัวแบบเชิงบวก กล่าวคือกลุ่มที่ได้รับการคุกคามและได้ตัวแบบเชิงบวกมีคะแนนการรับรู้การถูกคุกคามตํ่ากว่ากลุ่มอื่น รวมถึงมีความเร็วในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ดี อย่างไรก็ตามไม่พบอิทธิผลหลักของการคุกคามจากการเหมารวมและการดูวีดีโอตัวแบบเชิงบวกในการทดลองนี้ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของการคุกคามจากการเหมารวมขึ้นอยู่กับการที่ผู้ร่วมวิจัยได้ชมวิดีโอตัวแบบเชิงบวกมาก่อนหรือไม่


อิทธิพลของสภาวะลื่นไหลต่อการพร่องในการควบคุมตน โดยมีความต้องการทางปัญญาเป็นตัวแปรกำกับ, ปรางค์ทิพย์ พงษ์ประเสริฐ Jan 2020

อิทธิพลของสภาวะลื่นไหลต่อการพร่องในการควบคุมตน โดยมีความต้องการทางปัญญาเป็นตัวแปรกำกับ, ปรางค์ทิพย์ พงษ์ประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ากิจกรรมที่ไม่ต้องออกแรง เช่น การพักผ่อนชั่วคราวหรือการทำในสิ่งที่นำไปสู่อารมณ์ทางบวกนั้นสามารถลดสภาวะการพร่องในการควบคุมตนเอง (ego depletion) กิจกรรมที่ใช้ความกระตือรือร้น เช่น สภาวะลื่นไหล (flow state) จากการเล่นเกมที่สมดุลกับความสามารถของบุคคลก็อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถลดสภาวะพร่องได้เช่นกัน การศึกษาครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาว่ากิจกรรมรูปแบบใดจะสามารถช่วยให้เรากลับมาควบคุมตนเองได้ดีเช่นเดิม การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดลองออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 134 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี ผู้เข้าร่วมการทดลองจะถูกจัดกระทำให้เกิดการพร่องในการควบคุมตนเองด้วยการกดทับความคิดจากคำสั่งห้ามคิดถึงหมีขาว จากนั้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้าสู่เงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งจากสี่เงื่อนไข ดังนี้ ก) พักผ่อนตามอัธยาศัย 6 นาที ข) เล่นเกม Tetris ในระดับปานกลาง ค) เล่นเกม Tetris ในระดับยาก หรือ ง) ดูวิดีโอตลก จากนั้น ผู้เข้าร่วมการทดลองจะต้องทำการสลับอักษรสุภาษิตไทยในระดับยาก ประสิทธิภาพในการลดสภาวะพร่องนั้นจะถูกวัดจากคะแนนและเวลาการสลับอักษร เพื่อทดสอบว่ากลุ่มตัวอย่างในเงื่อนไขใดสามารถสลับอักษรได้ดีที่สุดและมีความอดทนในการทำงานมากที่สุด ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการทางปัญญามีอิทธิพลต่อคะแนนการสลับอักษรอย่างมีนัยสำคัญ (F(1,126) = 20.33, p < 0.001) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างเงื่อนไขทั้งสี่เงื่อนไข ในขณะเดียวกัน พบว่ามีผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างเงื่อนไขการทดลองและความต้องการทางปัญญาอย่างมีนัยสำคัญต่อเวลาเฉลี่ยในการสลับอักษร (F(3,126) = 2.77, p < 0.05) และยังพบอิทธิพลหลักของความต้องการทางปัญญาต่อเวลาเฉลี่ยในการสลับอักษรอย่างมีนัยสำคัญ (F(3,126) = 5.67, p < 0.05) ผลของการทดลองยังไม่สามารถสรุปได้ว่าสภาวะลื่นไหลมีอิทธิพลต่อความถูกต้องและเวลาที่ใช้ในการสลับอักษร อย่างไรก็ดีผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าประสิทธิผลของการทำงานสลับอักษรหลังจากกิจกรรมการกดทับทางความคิดนั้นขึ้นอยู่กับระดับความต้องการทางปัญญาของบุคคล


ความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานกับความเหนื่อยหน่ายในงาน โดยมีกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและการสนับสนุนทางสังคมภายในองค์การเป็นตัวแปรกำกับ, สุดาทิพย์ วรเนติโพธิ์ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานกับความเหนื่อยหน่ายในงาน โดยมีกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและการสนับสนุนทางสังคมภายในองค์การเป็นตัวแปรกำกับ, สุดาทิพย์ วรเนติโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเหนื่อยหน่ายในงานเป็นอาการจากการทำงานที่เป็นที่รู้จักมากขึ้น เนื่องจากความเหนื่อยหน่ายในงานส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจ รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงาน ในอดีตพบว่าข้อเรียกร้องในงานเป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดความเหนื่อยหน่ายในงาน โดยสิ่งที่สามารถยับยั้งการเกิดความเหนื่อยหน่ายในงานได้คือทรัพยากรที่เอื้อต่องาน ตามทฤษฎีโมเดลข้อเรียกร้องในงานและแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องาน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและยืนยันทฤษฎีโมเดลข้อเรียกร้องในงานและแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องาน โดยเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงาน คือ ภาระงานและความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ที่มีตัวแปรกำกับเป็นทรัพยากรที่เอื้อต่องาน คือ การสนับสนุนทางสังคมในองค์การ และในการศึกษาครั้งนี้ได้เสริมทรัพยากรบุคคล คือ กลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา เข้ามาช่วยลดความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานกับความเหนื่อยหน่ายในงาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาในครั้งนี้คือข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ที่มีอายุงานราชการไม่ต่ำกว่า 1 ปี จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) มาตรวัดความเหนื่อยหน่ายในงาน 2) มาตรวัดภาระงาน 3) มาตรวัดการสนับสนุนทางสังคมในองค์การ และ 4) มาตรวัดกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าการปฏิสัมพันธ์สามทางระหว่างภาระงาน การสนับสนุนทางสังคมในองค์การ และกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสามารถทำนายผลของความเหนื่อยหน่ายในงาน โดยความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างภาระงานและความเหนื่อยหน่ายในงานจะลดลง เมื่อกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหามีระดับสูงร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในองค์การมีระดับสูง (β = -1.55, p < 0.05) กล่าวคือ ข้าราชการที่มีการสนับสนุนทางสังคมในองค์การร่วมกับกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในระดับสูง มีแนวโน้มที่จะมีความเหนื่อยหน่ายในงานต่ำกว่าข้าราชการที่มีการสนับสนุนทางสังคมในองค์การและกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในระดับต่ำ ข้อค้นพบนี้ยืนยันได้ว่าโมเดลข้อเรียกร้องในงานและแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานที่เสริมกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในฐานะทรัพยากรบุคคลสามารถยับยั้งอิทธิพลทางบวกระหว่างภาระงานต่อความเหนื่อยหน่ายในงาน


ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกกับความเหนื่อยหน่าย โดยมีแรงงานทางอารมณ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน, ณัฐพร ปานเกิดผล Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกกับความเหนื่อยหน่าย โดยมีแรงงานทางอารมณ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน, ณัฐพร ปานเกิดผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกที่มีต่อความเหนื่อยหน่าย โดยมีแรงงานทางอารมณ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน เก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์จากพนักงานบริการโรงพยาบาล 1 แห่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 185 คน ผลการวิจัย พบว่า แรงงานทางอารมณ์มิติการแสดงออกระดับพื้นผิวมีอิทธิพลส่งผ่านระหว่างการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกกับความเหนื่อยหน่ายในทุกมิติ ได้แก่ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ การลดคุณค่าความเป็นบุคคลในผู้อื่น และความสำเร็จส่วนบุคคล กล่าวคือ ความเหนื่อยหน่ายในตัวพนักงานในองค์กรนั้นมีอิทธิพลมากจากการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกในตัวพนักงาน ผ่านตัวแปรส่งผ่านด้านความไม่สอดคล้องทางอารมณ์ที่พนักงานแสดงออกระดับพื้นผิว แรงงานทางอารมณ์มิติการแสดงออกระดับพื้นผิวนี้ พนักงานจะแสร้งแสดงออกมาในสิ่งที่ตนไม่ได้รู้สึก เพียงเพื่อให้ตรงกับบทบาทและความคาดหวังขององค์การ ในขณะที่แรงงานทางอารมณ์มิติการแสดงออกระดับลึกเป็นตัวแปรส่งผ่านอิทธิพลของการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกที่ส่งไปยังความเหนื่อยหน่าย ในมิติด้านการลดค่าความเป็นบุคคลในผู้อื่น และความสำเร็จส่วนบุคคล กล่าวคือ ค่าความเหนื่อยหน่ายในตัวพนักงานในองค์กรมีผลจากอิทธิพลการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกและการแสดงออกระดับลึกของพนักงาน แรงงานทางอารมณ์มิติการแสดงออกระดับลึกนี้ พนักงานจะปรับความรู้สึกภายในกับการแสดงออกทางอารมณ์ภายนอกให้เกิดความสอดคล้องกัน จากการพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผู้รับบริการรู้สึก และสามารถตอบสนองต่อตวามต้องการในแต่ละสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ส่งอิทธิพลต่อค่าคะแนนที่ต่ำในด้านการลดค่าความเป็นบุคคลในผู้อื่น และค่าคะแนนที่สูงในด้านความสำเร็จส่วนบุคคล


ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบให้พลังกับพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงาน : บทบาทการกำกับอิทธิพลส่งผ่านของบรรทัดฐานองค์การที่สนับสนุนนวัตกรรมต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ ในกลุ่มพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์การการสื่อสารโทรคมนาคมภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร, ธนิศรา คงกระพันธ์ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบให้พลังกับพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงาน : บทบาทการกำกับอิทธิพลส่งผ่านของบรรทัดฐานองค์การที่สนับสนุนนวัตกรรมต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ ในกลุ่มพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์การการสื่อสารโทรคมนาคมภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร, ธนิศรา คงกระพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงานเป็นพฤติกรรมที่ควรพัฒนาให้เกิดในพนักงานขององค์การ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและรวดเร็วแต่การที่จะพัฒนาให้บุคลากรในองค์การเกิดพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงานได้ ปัจจัยที่สำคัญคือรูปแบบภาวะผู้นำ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดรวมถึงการแสดงออกทางพฤติกรรมของพนักงานในองค์การ พนักงานจะมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนหรือพัฒนาปรับปรุงทักษะความสามารถของตนเอง ก็จากการแบ่งปันมุมมองของผู้นำ ผู้นำมีความยืดหยุ่น ให้โอกาสและอิสระทางความคิดแก่พนักงานซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงานของพนักงานซึ่งรูปแบบภาวะผู้นำที่กล่าวไปคือ ภาวะผู้นำแบบให้พลัง โดยวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบให้พลังกับพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงานโดยมีการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่านและบรรทัดฐานองค์การที่สนับสนุนนวัตกรรมเป็นตัวแปรกำกับ ผู้เข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์การการสื่อสารโทรคมนาคม ภาคเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร โดยทำการเก็บข้อมูลจากองค์การโทรคมนาคม 2 แห่ง และมีผู้เข้าการวิจัยทั้งหมด 233 คน โดยวิเคราะห์สมมติฐานด้วยการทดสอบตัวแปรส่งผ่านและตัวแปรกำกับอย่างมีเงื่อนไข (moderated mediation model) ผ่านโปรแกรมเสริม PROCESS ใน SPSS ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า ภาวะผู้นำแบบให้พลังสามารถทำนายพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจด้านความสามารถในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านเพียงองค์ประกอบเดียว และเป็นการส่งผ่านเพียงบางส่วน (partial mediation) อย่างไรก็ตามผลการศึกษาพบว่าบรรทัดฐานองค์การสนับสนุนนวัตกรรมไม่เป็นตัวแปรกำกับในความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจกับพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงาน


ประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ที่เคยเป็นมะเร็งในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง, ลักษณ์พร ภาณุเกษมสิน Jan 2020

ประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ที่เคยเป็นมะเร็งในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง, ลักษณ์พร ภาณุเกษมสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ที่เคยเป็นมะเร็งในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งมีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์ในการเป็นมะเร็งและสิ้นสุดการรักษามาแล้วอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 7 คน โดยมีช่วงอายุ 58 - 67 ปี ผลการวิจัยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเด็นหลักคือ 1) ประสบการณ์เดิมที่นำไปสู่การเป็นจิตอาสา ประกอบด้วย ความเข้าใจความคิดความรู้สึกของผู้ป่วยมะเร็ง ความรู้ความเข้าใจที่ตกผลึกจากประสบการณ์ตรง และความเข้าใจเชิงปรัชญาในการมองโลกและชีวิต 2) การเข้าสู่ชมรมจิตอาสาเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง ประกอบด้วย การแสวงหาข้อมูลด้วยตนเอง และการได้รับข้อมูลจากผู้อื่นและ 3) สิ่งที่เอื้อให้เป็นจิตอาสาสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย กิจกรรมที่ทำได้รับการสนับสนุนจากสังคม การเปลี่ยนแปลงทางบวกในตนเอง และการมีทรัพยากรที่เอื้ออำนวยในการทำจิตอาสาสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง โดยการวิจัยนี้ช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ที่เคยเป็นมะเร็งในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งมากขึ้น โดยสามารถนำผลการวิจัยดังกล่าวไปพัฒนาการสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งให้มีความครอบคลุมทั่วถึงและเป็นระบบ รวมถึงจัดโครงการเพื่อพัฒนาอบรมผู้สนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งให้มีความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Influence Of Bully Victimization On Depressive Mood With Self-Compassion And Resilience As Mediators, Anchidtha Bowornkittikun Jan 2020

Influence Of Bully Victimization On Depressive Mood With Self-Compassion And Resilience As Mediators, Anchidtha Bowornkittikun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The present study was purposed to explore a theoretical model hypothesized to explain the relationship between bullying victimization and depressive mood with self-compassion and resilience as mediators. Participants were 371 junior high school students in the Bangkok metropolitan area. The participants' mean age was 12.95 years old. Participants were predominantly males and responded to the study measures online. Data obtained were analyzed using a path analysis on SPSS AMOS. The proposed theoretical model did not fit with the empirical data; hence, a model modification was conducted. Results indicated a good fit, (X2 (2, N=371) =2.42, p=.09). Self-compassion and resilience mediated …


The Mediating Role Of Motivation To Defend In The Relationships Between Empathy And Defending Behaviors Among Thai Secondary School Students: A Multi-Group Analysis, Jannapas Tubtimpairoj Jan 2020

The Mediating Role Of Motivation To Defend In The Relationships Between Empathy And Defending Behaviors Among Thai Secondary School Students: A Multi-Group Analysis, Jannapas Tubtimpairoj

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

School bullying has been a spreading and a growing concern of students' well-being. A student bystander with defending behaviors may be a key player to stop bullying and changing school climate. The present study was to explore the linkages of empathy, motivations to defend with defending behaviors in school bullying incidents among Thai secondary school students. The participants were 1,138 students in Mathayom II and Mathayom III (43.9% boy and 56.1% girl), aged 12 to 15 years (M = 13.83, SD = .66) who had online communication tools and completed the online questionnaire. Mediation analysis and multigroup analysis with structural …


Effects Of Sexism And Self-Construal On Women's Mental Intrusion And Autobiographical Memory, Natta Kambhu Jan 2020

Effects Of Sexism And Self-Construal On Women's Mental Intrusion And Autobiographical Memory, Natta Kambhu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This online experiment aims to examine self-construal as a moderator to prevent negative effect, namely, mental intrusions and autobiographical memory about being incompetent, from hostile and benevolent sexism. Thai female undergraduates (N = 89) aged between 18 to 24 (M = 20.30, SD = 1.30) were recruited through convenience sampling technique. Participants were randomly assigned to either benevolent sexism or hostile sexism condition followed by one of the three self-construal written task (independent, interdependent, or no self-construal conditions). Participants completed a set of short-term memory question in order to assessed their mental intrusions during the time completing the task and …


การปรับงานระดับกลุ่ม การปรับงานรายบุคคล และความผูกใจมั่นในงานระดับบุคคล: การวิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่านแบบเหลื่อมเวลาไขว้, ติณณ์ ชุ่มใจ Jan 2020

การปรับงานระดับกลุ่ม การปรับงานรายบุคคล และความผูกใจมั่นในงานระดับบุคคล: การวิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่านแบบเหลื่อมเวลาไขว้, ติณณ์ ชุ่มใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการปรับงานในระดับกลุ่ม การปรับงานในระดับบุคคล และความผูกใจมั่นในงานของบุคคล ในกลุ่มตัวอย่างพนักงานรายเดือนบริษัทเอกชนในประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ความสัมพันธ์ในช่วงเวลาเดียวกัน (cross-sectional study) และความสัมพันธ์ช่วงเหลื่อมเวลา (cross-lagged panel design) โดยเว้นช่วงการวัดครั้งละ 1 สัปดาห์ 3 ครั้ง (N = 175) ผลการวิเคราะห์การวัดในช่วงเวลาเดียวกันพบว่า ความสัมพันธ์ของการปรับงานระดับกลุ่ม การปรับงานรายบุคคล และความผูกใจมั่นในงาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดีและมีอิทธิพลทางตรงในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งพบว่าการปรับงานรายบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างการปรับงานระดับกลุ่มและความผูกใจมั่นในงานรายบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในช่วงเวลาเดียวกันทั้ง 3 ช่วงเวลา แต่อิทธิพลทางตรงในทางบวกของการปรับงานระดับกลุ่มที่ไปยังความผูกใจมั่นในงานระดับบุคคลนั้นไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลการวิเคราะห์แบบเหลื่อมเวลาไขว้ผู้วิจัยไม่พบอิทธิพลทางตรงในทางบวกที่มีนัยสำคัญทางสถิติของทุกเส้นอิทธิพลยกเว้นเส้นอิทธิพลของการปรับงานระดับกลุ่มครั้งที่ 1 ไปยัง การปรับงานรายบุคคลครั้งที่ 2


ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ ความเพลิน การยอมรับ และ ความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที ในนักแสดงละครเวที, อาภัสสร ผาติตานนท์ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ ความเพลิน การยอมรับ และ ความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที ในนักแสดงละครเวที, อาภัสสร ผาติตานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ ความเพลิน การยอมรับ และความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที กลุ่มตัวอย่างคือนักแสดงละครเวทีอายุระหว่าง 18-62 ปี มีประสบการณ์แสดงละครเวทีประเภทละครพูดหรือละครเพลง โดยละครดังกล่าวเป็นละครที่จัดแสดงเต็มเรื่องและมีผู้ชมอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่การแสดงเฉพาะบางฉากหรือบางองก์เพื่อการฝึกหัดหรือซ้อม กลุ่มตัวอย่างมีทั้งหมด 205 คน ใช้เครื่องมือวัดในการวิจัย 5 ฉบับ ได้แก่ มาตรวัดบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล มาตรวัดความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ มาตรวัดความเพลิน มาตรวัดการยอมรับ และมาตรวัดความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า บุคลิกภาพแบบวิตกกังวลมีสหสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที (r(203) = .52, p < .001, หนึ่งหาง) ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบมีสหสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที (r(203) = .66, p < .001, หนึ่งหาง) ความเพลินมีสหสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที (r(203) = -.44, p < .001, หนึ่งหาง) การยอมรับมีสหสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที (r(203) = -.41, p < .001, หนึ่งหาง) และบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ ความเพลิน และการยอมรับ ร่วมกันทำนายความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวทีได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R 2 = .50, p < .001) และอธิบายความแปรปรวนของความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวทีได้ร้อยละ 50


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการกับความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน, พธู พิมพ์ระเบียบ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการกับความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน, พธู พิมพ์ระเบียบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการบนสื่อออนไลน์และความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน ผ่านการทำแบบสอบถามออนไลน์ ในจำนวน 354 กลุ่มตัวอย่างผู้มีประสบการณ์ท่องอินเตอร์เน็ต รวม 1,062 ชุดข้อมูล จากการสุ่มแบบสะดวก โดยมีสมมติฐานงานวิจัยคือ ปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการที่สูง จะทำให้การรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลต่ำ ส่งผลให้ความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลสูงขึ้น จากการทดสอบสมมติฐานอาจกล่าวได้ว่า การรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการทั้งแบบแยกปัจจัยและรวมปัจจัยกับความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล แต่อย่างไรก็ตามทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการ และความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน ไม่เป็นไปตามสมมติฐานของงานวิจัย ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ผลการศึกษาเพิ่มเติมบนพื้นฐานการทบทวนวรรณกรรมและศึกษาให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการและความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคค โดยมีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์เป็นตัวแปรกำกับ ผลการวิจัยพบอิทธิพลกำกับของการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการกับความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล


ความสัมพันธ์ระหว่างมิติความผูกพันของผู้รับบริการกับสัมพันธภาพในการบำบัด โดยมีการรับรู้อวัจนภาษาของนักจิตวิทยาการปรึกษาในผู้มารับบริการปรึกษาเป็นตัวแปรส่งผ่าน, คีตา มากศิริ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างมิติความผูกพันของผู้รับบริการกับสัมพันธภาพในการบำบัด โดยมีการรับรู้อวัจนภาษาของนักจิตวิทยาการปรึกษาในผู้มารับบริการปรึกษาเป็นตัวแปรส่งผ่าน, คีตา มากศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัมพันธภาพระหว่างมิติความผูกพันของผู้รับบริการและสัมพันธภาพในการบำบัด โดยมีการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยาเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เคยมีประสบการณ์เข้ารับบริการปรึกษาทางจิตวิทยาจำนวน 137 คน อายุเฉลี่ย 26.15 ± 7.219 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ได้แก่ (1) แบบสอบถามอวัจนภาษาของนักจิตวิทยา (2) แบบสอบถามสัมพันธภาพในการบำบัด และ (3) แบบสอบถามรูปแบบความผูกพัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและทดสอบตัวแปรส่งผ่านโดยใช้คำสั่ง PROCESS (Hayes et al., 2017) ผลการวิจัยพบว่า มิติความผูกพันแบบวิตกกังวลของผู้รับบริการ มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกกับสัมพันธภาพในการบำบัด (r = .276, p < .01) และมิติความผูกพันแบบวิตกกังวลของผู้รับบริการ มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยา (r = .346, p < .01) ในขณะที่มิติความผูกพันแบบหลีกหนีของผู้รับบริการ มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับสัมพันธภาพในการบำบัด (r = -.302, p < .01) และมิติความผูกพันแบบหลีกหนีของผู้รับบริการมีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยา (r = -.179, p < .05) นอกจากนี้ การรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยา มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกกับสัมพันธภาพในการบำบัด (r = .546, p < .01) ผลการวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่าน พบว่า การรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยาส่งผลทางอ้อม (Indirect Effect) ระหว่างมิติความผูกพันแบบวิตกกังวลกับสัมพันธภาพในการบำบัดในระดับ .39 (p < .05) และการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยาส่งผลทางอ้อมระหว่างมิติความผูกพันแบบหลีกหนีของผู้รับบริการกับสัมพันธภาพในการบำบัดในระดับ -.18 (p < .05)


ประสบการณ์ทางจิตใจของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่ประสบกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ, วงศธรณ์ ทุมกิจจ์ Jan 2020

ประสบการณ์ทางจิตใจของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่ประสบกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ, วงศธรณ์ ทุมกิจจ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้ถึงประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เคยหรือประสบกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ โดยใช้ระเบียบวิจัยคุณภาพแนววิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ เก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เคยหรือกำลังประสบกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจทั้งหมด 7 ราย ผลการวิจัยพบ 3 ประเด็นหลักที่สำคัญได้แก่ 1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ ทักษะและประสบการณ์ และ การจัดการตนเองและการบริการโดยมีประเด็นย่อยได้แก่ การจัดการปัญหาส่วนตัว จำนวนผู้รับบริการต่อวันมากเกินไป และการควบคุมความเหนื่อยไม่ให้ถูกแสดงออกมา 2) ผลกระทบของสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ประกอบด้วย ประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตประจำวันลดลง และ ความยากที่จะแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจโดยมีประเด็นย่อยได้แก่ ความสามารถในการสะท้อนความรู้สึกของผู้รับบริการลดลงและ ไม่สามารถมีส่วนร่วมกับสังคมรอบข้าง 3) การจัดการกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ประกอบด้วย การให้เวลาดูแลตัวเอง และ การสนับสนุนจากสังคมรอบข้างโดยมีประเด็นย่อยได้แก่ อาจารย์นิเทศก์ช่วยทำความเข้าใจภาวะที่เกิดขึ้น และความเข้าใจจากคนสำคัญรอบข้าง โดยผลการวิจัยครั้งนี้ทำเพื่อเป็นข้อมูลให้แก่นักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เคยหรือประสบกับสภาวะกับความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง


ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์จากการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในมุมมองของผู้รับบริการ, สิรัช สุเมธกุล Jan 2020

ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์จากการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในมุมมองของผู้รับบริการ, สิรัช สุเมธกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของผู้เข้ารับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ที่เคยมีช่วงเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญที่เป็นประโยชน์เกิดขึ้นจากการเข้ารับบริการ เนื่องจากเป็นช่วงที่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับบริการสูง และยังไม่พบว่าเคยมีการศึกษาในประเทศไทย ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้คือการวิเคราะห์ปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 6 ราย ผลการวิจัยพบว่าประสบการณ์ของผู้รับบริการสามารถออกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ (1) คุณลักษณะของสัมพันธภาพที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ ประกอบด้วย 3 ประเด็นรอง คือการได้บอกเล่าเรื่องราวที่เก็บไว้ในใจ, นักจิตวิทยาการปรึกษาตั้งใจรับฟังและเข้าใจไปด้วยกัน และการรับรู้และพิจารณาโลกภายในโดยผู้รับบริการเอง (2) กระบวนการสำคัญที่นำไปสู่ความเข้าใจใหม่ ประกอบด้วย 4 ประเด็นรอง คือเกิดการสังเกตและทำความเข้าใจประสบการณ์ตัวเอง, เกิดการเปลี่ยนแปลง/ตั้งคำถามกับความเชื่อหรือความเข้าใจที่ตนมีอยู่เดิม, เกิดการทดลองทำสิ่งใหม่หรือแก้ปัญหาตามข้อสรุปที่ได้จากการปรึกษา และขยายมุมมองที่มีต่อสถานการณ์และทางเลือก และ (3) ผลลัพธ์เชิงบวกจากการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ประกอบด้วย 2 ประเด็นรอง คือการเพิ่มศักยภาพในการจัดการกับปัญหา/สถานการณ์ และการยอมรับตัวเองและอยู่กับปัญหาด้วยความเข้าใจ ผลการวิจัยนี้สะท้อนถึงภาพรวมของประสบการณ์และกลไกการเปลี่ยนแปลงตลอดจนผลลัพธ์ที่ผู้ให้ข้อมูลได้จากการเข้ารับบริการ ผลที่ได้สอดคล้องกับวรรณกรรมที่ผ่านมาหลายชิ้น และได้เสนอแนะประเด็นที่น่าศึกษาเพิ่มเติม คือการศึกษาถึงลักษณะของข้อมูลที่มีความสำคัญ และการศึกษากลไกของกระบวนการเกิดความเข้าใจใหม่ในบริบทที่กว้างขึ้น รวมถึงการนำมโนทัศน์เกี่ยวกับเรื่องระดับของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกระบวนการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเข้ามาช่วยกำหนดขอบเขตการศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น


ผลของเป้าหมายการกำกับต่อความมุ่งมั่นในตนเอง : การเปรียบเทียบระหว่างวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น, อาภา กำวิจิตรรัตนโยธา Jan 2020

ผลของเป้าหมายการกำกับต่อความมุ่งมั่นในตนเอง : การเปรียบเทียบระหว่างวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น, อาภา กำวิจิตรรัตนโยธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของเป้าหมายการกำกับต่อความมุ่งมั่นในตนเองระหว่างวัยรุ่นกับวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยมีผู้เข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 320 คน ซึ่งจะถูกแบ่งเข้าเงื่อนไขตามเป้าหมายการกำกับ ได้แก่ เงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบส่งเสริมจำนวน 160 คน และเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบป้องกันจำนวน 160 คน แต่ละเงื่อนไขประกอบด้วยวัยรุ่นอายุ 13-15 ปี จำนวน 80 คน และวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอายุ 18-24 ปี จำนวน 80 คน ซึ่งผู้เข้าร่วมการวิจัยถูกขอให้เขียนประสบการณ์ตามเงื่อนไขที่ได้รับ จากนั้นจึงตอบแบบวัดความมุ่งมั่นในตนเอง มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) และวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนความมุ่งมั่นในตนเองภายในกลุ่มเงื่อนไขระหว่างวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นด้วยการทดสอบทางสถิติ t-test เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความมุ่งมั่นในตนเองระหว่างกลุ่มวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นภายใต้แต่ละเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับในรูปแบบเดียวกันว่าแตกต่างกันอย่างไร จากผลการวิจัยพบว่า (1) มีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับกับช่วงวัยของผู้เข้าร่วมการวิจัยต่อคะแนนความมีอิสระอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .016 โดยภายใต้เงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบส่งเสริมวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีค่าเฉลี่ยคะแนนมากกว่าวัยรุ่น ในขณะที่ภายใต้เงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบป้องกันวัยรุ่นมีค่าเฉลี่ยคะแนนมากกว่าวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (2) ไม่พบการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับกับช่วงวัยของผู้เข้าร่วมการวิจัย ต่อคะแนนความต้องการมีความสัมพันธ์ และไม่พบอิทธิพลหลักของทั้งช่วงวัยและเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับที่มีต่อคะแนนความต้องการมีความสัมพันธ์ (3) มีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับกับช่วงวัยของผู้เข้าร่วมการวิจัยต่อคะแนนความต้องการรู้สึกประสบความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .016 โดยภายใต้เงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบส่งเสริมวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีค่าเฉลี่ยคะแนนมากกว่าวัยรุ่น ในขณะที่ภายใต้เงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบป้องกันวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีค่าเฉลี่ยคะแนนไม่แตกต่างกัน


โมเดลเชิงสาเหตุแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมและสุขภาวะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีชาวต่างประเทศที่ศึกษาในหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย, ทศพิธ รุจิระศักดิ์ Jan 2020

โมเดลเชิงสาเหตุแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมและสุขภาวะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีชาวต่างประเทศที่ศึกษาในหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย, ทศพิธ รุจิระศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุของแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมและกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมต่อสุขภาวะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่ศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ (2) ศึกษาบทบาทของการสนับสนุนทางสังคมในโมเดลเชิงสาเหตุดังกล่าว กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตนักศึกษาปริญญาตรี 207 คน (หญิง 127 คน ชาย 80 คน) อายุเฉลี่ย 21.68 + 2.11 ปี ระยะเวลาที่อาศัยในประเทศไทยเฉลี่ย 1.47+1.44 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรม มาตรวัดกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรม มาตรวัดการสนับสนุนทางสังคม และมาตรวัดสุขภาวะ เก็บข้อมูลทั้งแบบกระดาษและแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสร้างสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling) และการทดสอบโมเดลแข่งขัน ผลการวิจัยพบว่าโมเดลเชิงสาเหตุของแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมและสุขภาวะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่ศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ ที่มีกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 44.167, df = 34, p = .114, SRMR = 0.059, RMSEA = 0.038, CFI = 0.989) และในการวิเคราะห์โมเดลแข่งขัน พบว่าโมเดลเชิงสาเหตุของแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมและสุขภาวะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่ศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ ที่มีกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน โดยที่การสนับสนุนทางสังคมส่งผลต่อสุขภาวะผ่านกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรม เป็นโมเดลที่ดีที่สุด (Chi-square = 66.675, df = 50, p = .057, SRMR = 0.071, RMSEA = 0.040, CFI = 0.986) นอกจากนี้ผลการวิจัยยังบ่งชี้ว่า เมื่อนักศึกษาชาวต่างชาติเผชิญกับแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่มากขึ้น กลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมที่มีแนวโน้มจะถูกนำมาใช้ คือ กลยุทธ์การแยกตัว และเมื่อได้รับการสนับสนุนทางสังคมมากขึ้น กลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมที่นักศึกษาชาวต่างชาติมีแนวโน้มจะถูกนำมาใช้ คือ กลยุทธ์การบูรณาการ นอกจากนี้การสนับสนุนทางสังคมส่งผลทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อสุขภาวะผ่านกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมเฉพาะด้านการยึดมั่นต่อวัฒนธรรมสังคมถิ่นฐาน


อิทธิพลของการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงวัย โดยมีความต้องการพื้นฐาน ด้านจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน และเหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างเป็นตัวแปรกำกับ, ณฐวรรณ อรรณพไกรสร Jan 2020

อิทธิพลของการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงวัย โดยมีความต้องการพื้นฐาน ด้านจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน และเหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างเป็นตัวแปรกำกับ, ณฐวรรณ อรรณพไกรสร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ของความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่าง ในการทำนายความพึงพอใจในชีวิต โดยมีการเติมเต็มความต้องการพื้นฐานด้านจิตใจ (การเติมเต็มการมีอิสระในตนเอง การเติมเต็มความสัมพันธ์ และการเติมเต็มความสามารถ) เป็นตัวแปรส่งผ่าน และเหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่าง (เพื่อความสนุกสนาน เพื่อการรับรู้ถึงตัวตนและบทบาท และเพื่อการเข้าร่วมทางสังคม) เป็นตัวแปรกำกับ ในงานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ ที่มีการเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามและเลือกเก็บกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเก็บข้อมูลจากผู้สูงวัยที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปี สามารถดูแลและพึ่งพาตนเองในชีวิตประจำวันได้ อีกทั้ง มีการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างที่ตนเองชื่นชอบและไม่ได้รับรายได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยใช้เวลาอย่างต่ำ 30 นาทีเป็นต้นไป จำนวนทั้งสิ้น 232 คน จากผลการวิเคราะห์ในงานวิจัย ไม่พบอิทธิพลส่งผ่าน และอิทธิพลกำกับ (Moderated Mediation) ของโมเดลการวิจัย กล่าวคือ ไม่พบความสัมพันธ์ของความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างต่อการทำนายความพึงพอใจในชีวิต โดยมีการเติมเต็มความต้องการพื้นฐานด้านจิตใจ (การเติมเต็มการมีอิสระในตนเอง การเติมเต็มความสามารถ และ การเติมเต็มความสัมพันธ์) เป็นตัวแปรส่งผ่าน และเหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่าง (เพื่อความสนุกสนาน เพื่อการรับรู้ถึงตัวตนละบทบาท และเพื่อการเข้าร่วมทางสังคม) เป็นตัวแปรกำกับ อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างสามารถทำนายการเติมเต็มความต้องการด้านความสัมพันธ์ โดยขึ้นอยู่กับเหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างเพื่อการเข้าร่วมทางสังคม จึงสามารถกล่าวได้ว่า นอกจากการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างอย่างเป็นประจำ สิ่งสำคัญคือการรับรู้ประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างที่สามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้ ดังในงานวิจัยที่ผู้สูงวัยเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างเพื่อการเข้าร่วมทางสังคม และเข้าร่วมอย่างเป็นประจำ อาจนำไปสู่การได้รับการเติมเต็มความต้องการด้านความสัมพันธ์


ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาททางเพศ รูปแบบความผูกพัน กับความเมตตากรุณาต่อตนเองในกลุ่มนิสิตนักศึกษา, คงพล แวววรวิทย์ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาททางเพศ รูปแบบความผูกพัน กับความเมตตากรุณาต่อตนเองในกลุ่มนิสิตนักศึกษา, คงพล แวววรวิทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาททางเพศ รูปแบบความผูกพัน กับความเมตตากรุณาต่อตนเองในกลุ่มนิสิตนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตนักศึกษา จำนวน 199 คน อายุเฉลี่ย 20.32±.01 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) มาตรวัดบทบาททางเพศ (2) มาตรวัดรูปแบบความผูกพันในความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั่วไป ฉบับภาษาไทย และ (3) มาตรวัดความเมตตากรุณาต่อตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า บทบาททางเพศแบบความเป็นชายกับบทบาททางเพศแบบความเป็นหญิงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเมตตากรุณาต่อตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .22, p < .01) (r = .185, p < .01) ส่วนลักษณะความผูกพันแบบวิตกกังวลกับลักษณะความผูกพันแบบหลีกหนีมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเมตตากรุณาต่อตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.318, p < .01) (r = -.346, p < .01) โดยที่บทบาททางเพศแบบความเป็นชาย บทบาททางเพศแบบความเป็นหญิง ลักษณะความผูกพันแบบวิตกกังวล และลักษณะความผูกพันแบบหลีกหนีสามารถร่วมกันทำนายความเมตตากรุณาต่อตนเองในกลุ่มนิสิตนักศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความเมตตากรุณาต่อตนเองร้อยละ 23.2 (R2 = .232, p < .001) เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานของแต่ละตัวแปรทำนายลักษณะความผูกพันแบบวิตกกังวลมีน้ำหนักค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานสูงที่สุด (β = -.31, p < .001) ตามด้วยลักษณะความผูกพันแบบหลีกหนี (β = -.30, p < .001) ส่วนบทบาททางเพศแบบความเป็นชาย ไม่สามารถทำนายความเมตตากรุณาต่อตนเองได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .06, p = .375) เช่นเดียวกับบทบาททางเพศแบบความเป็นหญิง (β = .09, p = .244)