Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 316

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การเตรียมความพร้อมของบุคลากรภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล, ณภัทช์ฐนัน ศักดิ์เจริญกุล Jan 2019

การเตรียมความพร้อมของบุคลากรภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล, ณภัทช์ฐนัน ศักดิ์เจริญกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐและเพื่อวิเคราะห์กระบวนการการพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก และสังเกตการณ์ ผู้วิจัยเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยยึดตามวัตถุประสงค์ ได้แก่ กลุ่มแรก ผู้กำหนดนโยบายและทิศทางของหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐ และกลุ่มสอง ผู้รับผิดชอบนำนโยบายการพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐจากฝ่ายบริหารไปปฏิบัติและควบคุมการทำงานของหน่วยงานให้เป็นไปตามนโยบาย รวมทั้งหมด 6 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การกำหนดรหัสและจัดกลุ่มข้อมูลเชิงคุณภาพและใช้เทคนิควิเคราะห์ตามประเภทเนื้อหาโดยจำแนกข้อมูลผ่านการวิเคราะห์คำหลัก แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ การศึกษาพบว่า (1) แนวทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐเพื่อรองรับการเป็นรัฐบาลดิจิทัล ได้มีการกำหนดแนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัลภาครัฐออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะเริ่มต้น, ระยะการพัฒนา และระยะสมบูรณ์ มากกว่านั้นได้แบ่งกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง, กลุ่มผู้อำนวยการ, ผู้ทำงานด้านนโยบายและงานวิชาการ, ผู้ทำงานด้านบริการ, ผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ โดยจำแนกบทบาทและพฤติกรรมที่คาดหวังของบุคลากรแต่ละกลุ่มในการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัลรวม 18 บทบาท รวมทั้งกำหนดทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐออกเป็น 5 มิติการเรียนรู้ 7 กลุ่มทักษะ และ (2) กระบวนการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีของบุคลากรภาครัฐมีกลไกในการพัฒนา 3 กลไก คือ การฝึกอบรมแบบเข้าชั้นเรียน, การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการปรับโครงสร้างหน่วยงาน เมื่อคาดการณ์อีก 10 ปีข้างหน้า พ.ศ. 2569 การพัฒนาโดยการฝึกอบรมทั้งการเข้าชั้นเรียนและการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ที่กำหนดไว้น่าจะไม่เพียงพอต่อการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะดิจิทัลตามที่กำหนด ภาครัฐควรการนำบล็อกเชนแบบคอนซอเทียมมาประยุกต์ใช้เพื่อรวบรวมหลักสูตรฝึกอบรม


ฟุตบอลแฟนเพจกับการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการพนันฟุตบอล, พชรพล เกตุจินากูล Jan 2019

ฟุตบอลแฟนเพจกับการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการพนันฟุตบอล, พชรพล เกตุจินากูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการพนันในฟุตบอลแฟนเพจ และเพื่อศึกษาการรับรู้และประสบการณ์ของผู้รับสารที่ติดตามฟุตบอลแฟนเพจ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสม (Mixed methods research) แบ่งเป็นส่วนการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ฟุตบอลแฟนเพจที่มียอดการกดไลก์เกิน 1 ล้านไลก์ ประกอบด้วยฟุตบอลแฟนเพจ กูว่าแล้ว มันต้องยิง V2 และตุงตาข่าย เลือกโพสต์จากแต่ละแฟนเพจที่มียอดของการมีส่วนร่วม (Engagement) มากที่สุด จำนวน 10 อันดับแรก รวมทั้งสิ้น 20 โพสต์ ในระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1-31 มีนาคม พ.ศ. 2562 และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) (1) กลุ่มที่ติดตามกีฬาฟุตบอลและฟุตบอลแฟนเพจ และเล่นพนันฟุตบอล (2) กลุ่มที่ติดตามกีฬาฟุตบอลและฟุตบอลแฟนเพจ แต่ไม่เล่นพนันฟุตบอล เจาะจงกลุ่มตัวอย่างเป็น Generation Y กลุ่มละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 10 คน (3) บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแฟนเพจที่เกี่ยวข้องกับการพนันฟุตบอล จำนวน 3 คน และ (4) นักวิชาการที่มีผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการพนันฟุตบอล จำนวน 3 คน ผลการวิจัยพบว่าฟุตบอลแฟนเพจกูว่าแล้ว มันต้องยิง V2 และ ตุงตาข่าย มีวิธีการและเทคนิคการนำเสนอเนื้อหา 8 ประเด็น คือ (1) ใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิดนำเสนอเนื้อหาที่ไม่ได้เกี่ยวกับกีฬาฟุตบอล (2) ใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิดนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกีฬาฟุตบอล (3) ใช้กิจกรรมส่งเสริมการโปรโมท (4) ใช้ภาพกราฟิกประกอบโพสต์สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย (5) นำเสนอเนื้อหาแบบคลิปวิดีโอพร้อมข้อความ (6) นำเสนอเนื้อหาแบบเฟซบุ๊ก ไลฟ์ (7) ใช้ฟุตบอลแฟนเพจเครือข่าย และ (8) ใช้ความหมายอื่นแทนการใช้คำเชิญชวนที่สื่อถึงการพนันฟุตบอลโดยตรง สำหรับการรับรู้ในการติดตามฟุตบอลแฟนเพจที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการพนันฟุตบอล พบว่ามีการใช้โฆษณาโปรโมชันโปรโมทเว็บไซต์พนัน เนื้อหาเกี่ยวกับฟุตบอลส่วนใหญ่ถูกนำเสนอโดยไม่เน้นข้อเท็จจริง ผู้มีอิทธิพลทางความคิดมีส่วนในการตัดสินใจให้ผู้รับสารติดตามฟุตบอลแฟนเพจ การสื่อสารกลุ่มลับการพนันฟุตบอลในเฟซบุ๊ก เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลให้การเล่นพนันฟุตบอลออนไลน์นั้นง่ายและสะดวก ทำให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสเข้าถึงได้มากขึ้น ด้านประสบการณ์การติดตามฟุตบอลแฟนเพจที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการพนันฟุตบอล พบประเด็นสำคัญ 3 …


การศึกษาลักษณะและการตัดสินใจของผู้ผลิตและผู้บริโภคภายใต้ระบบชุมชนสนับสนุนเกษตรกรรม, พัชรดนัย ไชยเดช Jan 2019

การศึกษาลักษณะและการตัดสินใจของผู้ผลิตและผู้บริโภคภายใต้ระบบชุมชนสนับสนุนเกษตรกรรม, พัชรดนัย ไชยเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบชุมชนสนับสนุนเกษตรกรรม (CSA) คือ รูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค ในการซื้อขายผลผลิตอินทรีย์ โดยให้ผู้บริโภคเข้ามาเป็นสมาชิกและมีการชำระเงินล่วงหน้าให้เกษตรกรเป็นรายปี ผู้บริโภคจะได้ผลผลิตอินทรีย์จากฟาร์มเกษตรกรโดยตรงเป็นรายสัปดาห์ หรือตามข้อกำหนดที่ตกลงกันไว้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและการตัดสินใจของเกษตรกรและผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกภายใต้ระบบชุมชนสนับสนุนเกษตรกรรม (CSA) ในประเทศไทย โดยผู้วิจัยเลือกเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรและกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคทั้งที่อยู่ภายใต้ระบบและไม่ได้อยู่ภายใต้ระบบ CSA ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรในกลุ่ม CSA มีอายุเฉลี่ยที่สูง มีรายจ่ายและหนี้สินน้อย ในด้านลักษณะเกษตรกรรม เกษตรกรในกลุ่ม CSA มีประสบการณ์ในภาคเกษตรน้อยกว่า และใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกน้อยกว่าเกษตรกรในกลุ่ม Non-CSA เหตุผลในการตัดสินใจเข้าร่วม CSA ของเกษตรกรให้ความสำคัญกับการไม่ใช้สารเคมีในการเกษตรมากที่สุด ลักษณะของผู้บริโภคในระบบชุนสนับสนุนเกษตรกรรม (CSA) มีอายุเฉลี่ย ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และระดับรายได้สูงกว่าผู้บริโภคในกลุ่ม Non-CSA โดยเหตุผลในด้านผลผลิตอินทรีย์เป็นแรงจูงใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเข้าร่วมในระบบชุมชนสนับสนุนเกษตรกรรมมากที่สุด


การให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของเกาหลีใต้ต่อกลุ่มประเทศอาเซียนใหม่ (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม – Clmv) ระหว่างปี ค.ศ. 2009 – 2019, แพรวพรรณ รักขิโต Jan 2019

การให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของเกาหลีใต้ต่อกลุ่มประเทศอาเซียนใหม่ (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม – Clmv) ระหว่างปี ค.ศ. 2009 – 2019, แพรวพรรณ รักขิโต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของเกาหลีใต้ โดยใช้การให้ความช่วยเหลือกลุ่มประเทศอาเซียนใหม่ คือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม (CLMV) มาเป็นกรณีศึกษาเนื่องจากในช่วงปี 2009 – 2019 เกาหลีใต้ส่งความช่วยเหลือไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ ผลงานฉบับนี้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีเสรีนิยมในการวิเคราะห์สมมติฐานที่ว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างรัฐ จากการศึกษาพบว่า โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของเกาหลีใต้ต่อประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ผลประโยชน์ทางการเมือง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การยอมรับในระดับสากล และการสร้างแบรนด์ประเทศ อย่างไรก็ตาม ในกรณีการให้ความช่วยเหลือกลุ่มประเทศ CLMV พบว่าปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการให้ความช่วยเหลือ คือ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยเกาหลีใต้ให้ความช่วยเหลือกลุ่มประเทศ CLMV ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร การพัฒนาชนบท การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความช่วยเหลือข้างต้นช่วยส่งเสริมผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของเกาหลีใต้เพราะได้นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของกลุ่มประเทศ CLMV ให้พร้อมรับการลงทุนจากภาคธุรกิจเกาหลีใต้ในด้านอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน ภาคการผลิต ภาคบริการ และโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนปัจจัยด้านการสร้างแบรนด์ประเทศมีส่วนสำคัญในการเพิ่มปริมาณความช่วยเหลือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี 2009 – 2010 เนื่องจากรัฐบาลในช่วงเวลาดังกล่าวภายใต้การนำของประธานาธิบดีอี มยองบัก มองว่าการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนานำไปสู่การสร้างแบรนด์ประเทศและส่งเสริมบทบาทเกาหลีใต้ในระดับสากล


ปัจจัยที่จําแนกระหว่างผู้ทํางานอาสาสมัครกับผู้ไม่ทํางานอาสาสมัครในกลุ่มนิสิตนักศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ดวงธรรม โชคชุลีกร Jan 2019

ปัจจัยที่จําแนกระหว่างผู้ทํางานอาสาสมัครกับผู้ไม่ทํางานอาสาสมัครในกลุ่มนิสิตนักศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ดวงธรรม โชคชุลีกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่จําแนกระหว่างผู้ทํางานอาสาสมัครกับผู้ไม่ทํางานอาสาสมัครในกลุ่มนิสิตนักศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตนักศึกษาทุกระดับชั้นที่มีอายุระหว่าง 19-30 ปี (M = 22.13 ปี, SD = 3.37) จำแนกตามการทำกิจกรรมอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ทำกิจกรรมอาสาสมัครในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา 142 คน และผู้ไม่ทำกิจกรรมอาสาสมัครในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา 120 คน ตัวแปรที่ศึกษาในการวิจัยประกอบด้วย การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ความเชื่อมั่นในศาสนา การจัดการความรู้สึกด้านลบ การสร้างคุณค่าให้กับสังคม การพัฒนาตนเองด้านการทำงาน การพัฒนาตนเองด้านการเรียนรู้และเข้าใจ การเห็นคุณค่าในตนเอง การพัฒนาตนเองด้านความสัมพันธ์ในสังคม และการมีต้นแบบจากพ่อ แม่ หรือเพื่อน ตัวแปรตามคือการเป็นอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความเชื่อมั่นในศาสนา แบบสอบถามการมีต้นแบบจากพ่อ แม่ หรือเพื่อนเป็นอาสาสมัคร แบบวัดแรงจูงใจในการทำกิจกรรมอาสาสมัคร และแบบวัดการมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเป็นอาสาสมัครได้ร้อยละ 17.8 โดยมีปัจจัยที่สามารถจำแนกการเป็นอาสาสมัครได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) 3 ประการได้แก่ ความเชื่อมั่นในศาสนา การมีต้นแบบจากพ่อ แม่ หรือเพื่อน และการมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ทั้งนี้สมการถดถอยโลจิสติกสามารถทำนายการเป็นอาสาสมัครได้ร้อยละ 65.6


การประเมินผลความสำเร็จของโครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน ตามแบบจำลอง Cipp Model กรณีศึกษา: โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย, กรกฎ วงษ์สุวรรณ Jan 2019

การประเมินผลความสำเร็จของโครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน ตามแบบจำลอง Cipp Model กรณีศึกษา: โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย, กรกฎ วงษ์สุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประเมินผลความสำเร็จของโครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนตามแบบจำลอง CIPP Model กรณีศึกษา: โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ โดยการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งดำเนินการศึกษาด้วยวิธีการสัมภาษณ์ส่วนบุคคลซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 ราย ผู้วิจัยได้นำข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง และข้อมูลจากเอกสารมาวิเคราะห์และประมวลผลตามแบบจำลอง CIPP Model ผลการศึกษาพบว่า (1) ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และความต้องการของประชาชนที่ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ (2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่าหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน รวมถึงสภาพพื้นที่ แบบรูปรายการ และงบประมาณมีความพร้อมและมีความเหมาะสมในการดำเนินโครงการ (3) ด้านกระบวนการ พบว่ามีขั้นตอนการดำเนินโครงการที่ชัดเจน มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ (4) ด้านผลผลิต พบว่าโครงการสามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนได้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ สำหรับปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการส่วนใหญ่เป็นปัญหาในด้านเทคนิคการก่อสร้างที่ต้องมีการแก้ไขรูปแบบรายการ และขยายสัญญา เพื่อให้งานก่อสร้างสอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ สำหรับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในอนาคตควรมีการศึกษาประเมินความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณรวมถึงแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินโครงการต่อไป


อิทธิพลของการใช้บุคลิกภาพต้นแบบและรูปแบบการโฆษณา บนแอปพลิเคชันรายงานคุณภาพอากาศที่มีต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อ, ณัชชา กมลพันธ์ Jan 2019

อิทธิพลของการใช้บุคลิกภาพต้นแบบและรูปแบบการโฆษณา บนแอปพลิเคชันรายงานคุณภาพอากาศที่มีต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อ, ณัชชา กมลพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยประยุกต์ใช้ร่วมกับการวิจัยกึ่งทดลอง แบบ 2x2 แฟคทอเรียล เพื่อศึกษาอิทธิพลหลักและอิทธิพลร่วมของ 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) การออกแบบ แอปพลิเคชันรายงานคุณภาพอากาศโดยใช้บุคลิกภาพต้นแบบ (บุคลิกภาพต้นแบบนักปราชญ์และบุคลิกภาพต้นแบบตัวตลก) และ 2) รูปแบบโฆษณาออนไลน์ (Native Ads และ Banner Ads) ที่มีต่อทัศนคติ ต่อแอปพลิเคชัน ทัศนคติต่อตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค โดยจัดการสำรวจและเก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์จากนิสิตระดับปริญญาตรีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 120 คน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบบุคลิกภาพต้นแบบและรูปแบบโฆษณาออนไลน์มีอิทธิพลหลักและ อิทธิพลร่วมต่อทัศนคติต่อตราสินค้าและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค โดยการออกแบบแอปพลิเคชันรายงานคุณภาพอากาศโดยใช้บุคลิกภาพต้นแบบนักปราชญ์และโฆษณาออนไลน์ Native Ads มีอิทธิพลต่อทัศนคติ ต่อตราสินค้าและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคมากกว่าการใช้บุคลิกภาพต้นแบบตัวตลกและโฆษณาออนไลน์ Banner Ads การวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับ เรื่องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพผ่านแอปพลิเคชัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุระหว่าง 18-23 ปี เพื่อให้เกิดทัศนคติเชิงบวกและความตั้งใจซื้อ โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการออกแบบแอปพลิเคชัน ควรเน้นการให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค และ 2) ด้านการโฆษณาออนไลน์ ควรทำโฆษณาให้มีรูปแบบที่สอดแทรกไปกับเนื้อหาของแพลตฟอร์มต่าง ๆ และไม่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกได้ว่ากำลังเปิดรับโฆษณา


รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคหญิงวัยทำงาน, นัทชนิดา วัชรินทร์ Jan 2019

รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคหญิงวัยทำงาน, นัทชนิดา วัชรินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคหญิงวัยทำงาน และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง อายุ 22 - 44 ปี จำนวน 1,140 คน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบรูปแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มสาวยุคใหม่ ใช้ชีวิตมีสาระ 2) กลุ่มสาวเพียบพร้อมสมบูรณ์แบบ 3) กลุ่มสาวมั่น เฉียบ ตรงไปตรงมา 4) กลุ่มสาวติดโซเชียล 5) กลุ่มแม่ศรีเรือน ใช้ชีวิตเรียบง่าย และ 6) กลุ่มนางเอกเจ้าน้ำตา สำหรับพฤติกรรมในการเปิดรับสื่อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้หญิงวัยทำงานมีการเปิดรับสื่อดั้งเดิมในระดับที่ต่ำ ซึ่งสื่อดั้งเดิมที่ยังเปิดคงรับอยู่ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อโฆษณา ณ จุดซื้อ และสื่อโฆษณากลางแจ้ง และมีการเปิดรับสื่อใหม่ในระดับที่สูง โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ โปรแกรมสนทนาไลน์ โปรแกรมสืบค้นข้อมูล และการส่งข้อความทางเฟซบุ๊ก นอกจากนั้น รูปแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน ยังส่งผลให้การเปิดรับสื่อแต่ละประเภท พฤติกรรมการค้นหาข้อมูลก่อนการซื้อ ประเภทของสินค้าที่ซื้อ และเหตุผลในการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ในช่องทางต่างๆ มีความแตกต่างกันอีกด้วย


“คุกมีไว้ขังคนจน” กับนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญา, กฤตานนท์ มะสะนิง Jan 2019

“คุกมีไว้ขังคนจน” กับนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญา, กฤตานนท์ มะสะนิง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย การให้ความหมาย และอำนาจที่อยู่เบื้องหลังการให้ความหมายเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” ผ่านการแพร่กระจายความเชื่อในสังคมไทย รวมทั้งเพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญาของรัฐต่อการทัดทานความเชื่อเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการส่งผ่าน/เผยแพร่ หรือสร้างความเข้าใจเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญา ซึ่งมีข้อค้นพบ ดังนี้ 1) การให้ความหมาย “คุกมีไว้ขังคนจน” จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสองกลุ่มได้สะท้อน 4 ประเด็น ได้แก่ กระบวนการยุติธรรมมีราคาแพง กระบวนการยุติธรรมมีการเลือกปฏิบัติ กระบวนการยุติธรรมมีความซับซ้อน มีแบบแผนพิธีการ และประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญา ได้เพิ่มเติมในประเด็นความยากจนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน 2) องค์ประกอบหรืออำนาจที่อยู่เบื้องหลังการให้ความหมาย “คุกมีไว้ขังคนจน” นั้น มี 3 ประเด็น ได้แก่ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การผลิตซ้ำของสื่อ และการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เสมอภาค โดยใน 2 ประเด็นแรกนั้น ได้รับการอธิบายจากทั้งสองกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่อธิบายตรงกัน มีเพียงประเด็นสุดท้ายที่อธิบายจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการส่งผ่าน/เผยแพร่ หรือสร้างความเข้าใจเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” เพียงกลุ่มเดียว 3) การรับรู้หรือได้ยินเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย และถือเป็นเรื่องที่ปรากฏให้เห็นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแม้ว่าการรับรู้หรือได้ยินของผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสองกลุ่มนั้นได้แตกต่างกันไปตามแต่ละบริบท แต่จุดร่วมประการหนึ่งที่สำคัญของการรับรู้หรือได้ยินเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” คือ ได้ยินมานานและรับรู้มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการส่งผ่านจาก 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ ส่งผ่านจากเหยื่อของกระบวนการยุติธรรม จากสื่อมวลชน และจากข้อมูลจากหน่วยงานรัฐ 4) ความเชื่อของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีต่อประเด็นเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” สามารถจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เชื่อ กลุ่มที่ไม่เชื่อ และกลุ่มที่ยังลังเล และ 5) แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญาของรัฐต่อการทัดทานความเชื่อเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” จะประกอบไปด้วยการขับเคลื่อนกองทุนยุติธรรมตามพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 การปล่อยตัวชั่วคราวแบบไม่มีประกันที่เป็นไปตามข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกัน หรือหลักประกันในการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 …


บทบาทและความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายไทยตามหลักสากลว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, พรภัทร์ รอดโพธิ์ทอง บุญถนอม Jan 2019

บทบาทและความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายไทยตามหลักสากลว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, พรภัทร์ รอดโพธิ์ทอง บุญถนอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องบทบาทและความรับผิดชบของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายไทยตามหลักสากล ว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายที่อาจส่งผลต่อการปรับใช้มาตรฐานสากล รวมถึงมาตรการ ระเบียบปฏิบัติ และนโยบายกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย เพื่อวิเคราะห์ความจำเป็นและความเหมาะสมในการหาแนวทางปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการค้นคว้าเอกสารวิชาการ กฎหมาย แลระเบียบต่างๆประกอบกับการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและหาแนวทางสรุป ผลการวิจัยพบว่าประเทศไทยยังมีความบกพร่องด้านกรอบของกฎหมายตามข้อแนะนำที่ 22 ในส่วนของการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายมีหน้าที่ในการรู้จักตัวตนของลูกความ การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริง อันจะนำไปสู่การรายงานธุรกรรมที่น่าสงสัย ส่งผลให้มาตรฐานของประเทศไทยอาจไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ทัดเทียมมาตรฐานสากล ซึ่งในการพิจารณากำหนดหน้าที่ดังกล่าว ประเทศไทยจำต้องพิจารณาความเหมาะสมระหว่างสิทธิเสรีภาพของข้อมูลส่วนบุคคลกับหน้าที่การรายงานธุรกรรมและการคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะหรือความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้จริยธรรมแห่งวิชาชีพ ดังนั้นการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้อย่างเบ็ดเสร็จนั้น ผู้วิจัยเห็นว่าประเทศไทยควรตรากฎหมายให้ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายมีหน้าที่ต้องรายงานตามมาตรฐานของ FATF ในส่วนของสภาทนายความควรกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนและมีการขึ้นทะเบียนให้ครอบคลุมทุกประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย เพื่อกำกับดูแลคุณภาพและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ ขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายต้องตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรมและมีอุดมการณ์ในการให้บริการทางกฎหมาย คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม และควรมีความรู้ความเข้าใจในความเสี่ยงและความเปราะบางของวิชาชีพที่อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน ทั้งนี้บทบาทหน้าที่ดังกล่าว มิได้เพียงแต่เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเท่านั้น แต่เป็นมาตรการที่ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายได้เป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป


The Impact Of Foreign Direct Investment And Macroeconomic Variables On Commercial Banks Performance In Thailand, Phalakorn Boonkuntinat Jan 2019

The Impact Of Foreign Direct Investment And Macroeconomic Variables On Commercial Banks Performance In Thailand, Phalakorn Boonkuntinat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Role of commercial banks in economic as financial intermediary was previously researched in various perspective and framework, especially to investigated factors effecting commercial bank performance. This study extends the literature by investigating the impact of foreign direct investment and macroeconomic variables that stimulate commercial bank profit in Thailand, expressed through return on asset (ROA), on three commercial bank groups. This study used secondary data of foreign direct investment and macroeconomic variables from Bank of Thailand for the period of year 2007 to 2019. Multiple regression method is used to examine the effect of determinant factors: FDI, GDP Growth, Inflation, Real …


Location Determinants Of Foreign Direct Investment In Real Estate : Evidence From China, Yi Tang Jan 2019

Location Determinants Of Foreign Direct Investment In Real Estate : Evidence From China, Yi Tang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this paper is to examine factors affecting locational choice of foreign direct investment (FDI) in China’s real estate. The panel data selected 32 provinces of China during 2003 to 2017 are used in the analysis. The results show that GDP per capita, population, and loan rate are important factors affecting FDI in China’s real estate market. This reflects that China's economic growth made a significant contribution to the growing trend of FDI in the real estate market. However, the investment of foreign real estate developers in cities in the eastern, central and western parts of China is …


แนวทางการขยายอิทธิพลของจีน : กรณีศึกษาธนาคารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank), ตนุภัทร อักษรทอง Jan 2019

แนวทางการขยายอิทธิพลของจีน : กรณีศึกษาธนาคารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank), ตนุภัทร อักษรทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการขยายอิทธิพลและบทบาทการนําของจีนในเวทีระหว่าง ประเทศในการก่อตั้งธนาคารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank - AIIB) โดยพิจารณาผ่านคําอธิบายในทฤษฎีสัจนิยมใหม่ (neorealism) ของเคนเน็ธ เอ็น วอลทซ์ (Kenneth N. Waltz) สารนิพนธ์มีข้อเสนอว่า รัฐที่เปลี่ยนสถานะก้าวขึ้นมาเป็นรัฐมหาอํานาจจะหาทางขยายอิทธิพลระหว่างประเทศออกไป โดยแนวทางหนึ่งที่สําคัญได้แก่การสร้างกลไกเชิงสถาบันเพื่อรองรับการตอบสนองผลประโยชน์ของตนได้มากขึ้น วอลทซ์อธิบายว่าโครงสร้างของระบบระหว่างประเทศจะผลักดันรัฐต่างๆ ที่สัมพันธ์กันอยู่ในระบบด้วยกระบวนการอบรมกล่อมเกลา (socialization) ส่งผลให้รัฐนั้นเรียนรู้และเลียนแบบจากตัวแบบความสําเร็จของรัฐที่เป็นมหาอํานาจอยู่ก่อนแล้ว ทั้งแนวทางการขยายอิทธิพลและการสร้างกลไกเชิงสถาบันในลักษณะเดียวกันขึ้นมา สารนิพนธ์มีข้อค้นพบสอดคล้องกับข้อเสนอในทฤษฎีของ Waltz ข้างต้นว่า การจัดตั้งธนาคาร AIIB ของจีน เป็นแนวทางที่จีนใช้ขยายอิทธิพลระหว่างประเทศ โดยใช้ธนาคาร AIIB เป็นกลไกสร้างบทบาทการนําในเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ระดมและประสานความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับประเทศอื่น และออกแบบโครงสร้างการบริหารธนาคารที่ทําให้จีนมีอํานาจควบคุมทิศทางการดําเนินงานของ AIIB ใกล้เคียงกับตัวแบบธนาคารโลกที่สหรัฐอเมริกาเคยทําสําเร็จมาแล้ว อย่างไรก็ดี สารนิพนธ์พบข้อจํากัดในคําอธิบายของ Waltz เช่นกัน นั่นคือทฤษฎีของ Waltz เป็นทฤษฎีระดับโครงสร้างระหว่างประเทศ ไม่ได้ให้ความสําคัญแก่ลักษณะของการเมือง การปกครองภายใน รวมทั้ง ค่านิยม อุดมการณ์ ซึ่งปัจจัย ภายในเหล่านี้จะเป็นตัวจํากัดว่าการเลียนแบบจากตัวแบบความสําเร็จที่ประเทศหนึ่งทําไว้ ประเทศที่เลียนแบบไม่สามารถ ถอดแบบออกมาให้เหมือนกันได้ทั้งหมด แม้ว่าธนาคาร AIIB จัดโครงสร้างการบริหารองค์กรใกล้เคียงกับธนาคารโลกอย่างมาก แต่เป้าหมายและแนวทางการดําเนินงานของ AIIB กับของธนาคารโลกไม่เหมือนกัน และสารนิพนธ์ได้ข้อสรุปว่า ลักษณะการเมืองภายในของมหาอํานาจมีความสัมพันธ์กับแนวทางของรัฐในการขยายอิทธิพล


พฤติกรรมผู้บริโภคต่อผู้นำเสนอสินค้าในโฆษณาเครื่องสำอางเมย์เบลลีน นิวยอร์ก, ศรีสุภา ศรีเปารยะ Jan 2019

พฤติกรรมผู้บริโภคต่อผู้นำเสนอสินค้าในโฆษณาเครื่องสำอางเมย์เบลลีน นิวยอร์ก, ศรีสุภา ศรีเปารยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคต่อผู้นำเสนอสินค้าในโฆษณาเครื่องสำอาง Maybelline New York โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ และใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 18-25 ปี อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และบริโภคสินค้าเครื่องสำอาง Maybelline New York ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 210 คน ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภค มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ การรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อผู้นำเสนอสินค้าในโฆษณาเครื่องสำอาง Maybelline New York ทั้ง 2 คน คือ ญาญ่า-อุรัสยา เสปอร์บันด์ และ ปู-ไปรยา ลุนด์เบิร์ก สัมพันธ์ในเชิงบวกกับทัศนคติต่อโฆษณาที่ผู้นำเสนอคนนั้นๆ ปรากฏอยู่ และทัศนคติต่อตราสินค้า ตลอดจนความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค


ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญาที่มีต่อความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความเข้มแข็งทางจิตใจ และความมั่นหมายของนักกีฬาเยาวชนไทย, กฤตพล รังสิยานนท์ Jan 2019

ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญาที่มีต่อความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความเข้มแข็งทางจิตใจ และความมั่นหมายของนักกีฬาเยาวชนไทย, กฤตพล รังสิยานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยแบบการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญาที่มีต่อความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความเข้มแข็งทางจิตใจ และความมั่นหมายของนักกีฬาเยาวชนไทย โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ นักกีฬาเยาวชนไทยที่มีอายุ 15-25 ปี ซึ่งมีคะแนนความเมตตากรุณาต่อตนเองต่ำกว่าค่าเฉลี่ย จำนวน 82 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 39 คน กลุ่มควบคุม 43 คน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง รวม 7 ครั้ง คิดเป็นเวลาทั้งสิ้น 14 ชั่วโมง โดยกลุ่มตัวอย่างตอบแบบวัดความเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self-compassion) แบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจ (Mental toughness) และแบบวัดความมั่นหมาย (Grit) ข้อมูลที่ได้รับถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบวัดซ้ำและระหว่างกลุ่ม โดยมีผลวิจัยดังต่อไปนี้ 1. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญา กลุ่มทดลองมีคะแนนความเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self-compassion) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .003 แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการเข้าร่วมกลุ่ม 2. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญา กลุ่มทดลองมีคะแนนความเข้มแข็งทางจิตใจ (Mental toughness) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .009 แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการเข้าร่วมกลุ่ม 3. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญา กลุ่มทดลองมีคะแนนความมั่นหมาย (Grit) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .008 แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการเข้าร่วมกลุ่ม


The Health Impacts Of Groundwater Salinity Among Household Members With Different Wealth Indexes In Coastal Bangladesh, Shayan Ara Amin Jan 2019

The Health Impacts Of Groundwater Salinity Among Household Members With Different Wealth Indexes In Coastal Bangladesh, Shayan Ara Amin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Individual and household level health impacts are related to their wealth, a connection that expands into impacts from drinking water quality. Using the Bangladesh Poverty and Groundwater Salinity Survey 2016, this study examines the relationship of self-reported groundwater salinity on self-reported health impacts that are common symptoms of hypertension among individuals for an association with household-level wealth quintiles. This study is unique in substantiating the health-wealth relationship for the climate-change vulnerable people of southwest coastal Bangladesh, where so far studies on the impact of drinking water salinity have focused on direct health impacts and willingness-to-pay for drinking water and healthcare. …


Feminization, Vulnerability, And Empowerment Of Laotian Migrant Women In Thailand, Cai Ling Koh Jan 2019

Feminization, Vulnerability, And Empowerment Of Laotian Migrant Women In Thailand, Cai Ling Koh

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis examines the feminization of large-scale, cross-border labour migration of Laotian women who migrate to Thailand for work, and aims to effect useful labour migration policy changes for all migrant women working in Thailand, using Laotian migrant women as a case study. This thesis explicates the feminization process and its gendered implications on Laotian migrant women’s vulnerability working in feminized work sectors in Thailand, using the main concepts of feminization of migration, vulnerability, and gender empowerment. This thesis focuses on qualitative research design, using structured qualitative interviews with 11 Laotian migrant women in domestic work, agricultural work, services work, …


The Roles And Perceptions Of The Thai Ministry Of Foreign Affairs Through Governmental Politics In The Preah Vihear Temple Dispute, Ornthicha Duangratana Jan 2019

The Roles And Perceptions Of The Thai Ministry Of Foreign Affairs Through Governmental Politics In The Preah Vihear Temple Dispute, Ornthicha Duangratana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the Thai-Cambodian Preah Vihear Temple dispute, the perceptions of the Thai Ministry of Foreign Affairs (MFA) are investigated. Through the employment of role theory, the MFA's national role conceptions (NRCs), since the Cold War period and with concentration on the years from 2008 to 2013, are explicated. The research presents that the organizational characteristics of the ministry conduce the propensity for cooperative NRCs. At the same time, as the agency dealing with foreign affairs, the material and ideational elements in the external environment are important determinants. Nevertheless, at times, the national public opinion and the decline of the MFA's …


Patient Preference And Cost-Effectiveness Analysis Of Colorectal Cancer Screening And Treatment, Pochamana Phisalprapa Jan 2019

Patient Preference And Cost-Effectiveness Analysis Of Colorectal Cancer Screening And Treatment, Pochamana Phisalprapa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background/Aims: Colorectal cancer (CRC) screening and treatment have been reported to be cost-effective in many high-income countries. However, there was no such study in low- and middle-income countries (LMICs). This study aimed to assess the factors determine individuals’ preferences and cost-effectiveness of CRC screening and treatment. Methods: This study consists of three parts. The first part focused on the factors determine individuals’ preferences for CRC screening using discrete choice experiment and multinomial logit model. The second part investigated the cost-effectiveness and budget impact analyses of CRC screening comparing between annual fecal immunochemical test (FIT) and colonoscopy every 10 years. The …


Factors Affecting Backpackers Traveling To Thailand During 2009 To 2018, Pitchaya Chantharojwong Jan 2019

Factors Affecting Backpackers Traveling To Thailand During 2009 To 2018, Pitchaya Chantharojwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Backpacker tourism is one of the travel categories that has become trending in the world. Thailand is one of choices that they choose to travel. There are several researchers define backpacker as the budget travelers because of their characteristic and life-style. In order to assess factors that may affect the number of backpackers traveling to Thailand, this study uses secondary data during years 2009 to 2018 which are obtained from websites. The factors are US real exchange rate, Thailand consumer price index and World Gross domestic product (GDP) growth rate. The Ordinary Least Squares regression (OLS) analysis is operated for …


แนวทางในการพัฒนาการใช้แอพพลิเคชั่น "Police I Lert U", ณัฐดนัย บำรุงศรี Jan 2019

แนวทางในการพัฒนาการใช้แอพพลิเคชั่น "Police I Lert U", ณัฐดนัย บำรุงศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง แนวทางในการพัฒนาการใช้แอพพลิเคชั่น Police I Lert U มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนในการใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U ปัญหาและอุปสรรคของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U และแนวทางการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Police I Lert U การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณควบคู่กับการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่รู้จัก Police I Lert U และการสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U ผลการศึกษาพบว่าประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อแอพพลิเคชั่น Police I Lert U สามารถช่วยให้การแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และช่วยลดการสูญเสียจากอาชญากรรมได้ ปัญหาและอุปสรรคของประชาชนในการเข้าถึงการตัดสินใจใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U โดยภาพรวมส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้จักแอพพลิเคชั่น Police I Lert U จึงทำให้ไม่มั่นใจในการตัดสินใจใช้งานในด้านปัญหาและอุปสรรคของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U ผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในระดับมากในทุกประเด็นยกเว้นประเด็นที่แอพพลิเชั่น Police I Lert U ช่วยลดการเกิดอาชญากรรมกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ผู้ให้ข้อมูลมีความเห็นว่า มีความยากในการเข้าถึงในระดับน้อย ขั้นตอนในการลงทะเบียนการใช้งานมีความยุ่งยากในระดับน้อย มีความรู้สึกถึงการกระทบสิทธิส่วนบุคคลในการให้ข้อมูลในระดับน้อย ผู้ให้ข้อมูลรู้สึกหวาดกลัวการถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลในระดับน้อย และกลัวข้อมูลการแจ้งเหตุรั่วไหลไปยังคนร้ายในระดับน้อย แนวทางการพัฒนาแอพพลิเคชั่น ควรมีปุ่มยืนยันการแจ้งเหตุ ควรมีปุ่มยกเลิกการแจ้งเหตุ และควรมีหมายเลขโทรศัพท์ของสถานีตำรวจในพื้นที่ปรากฏบนแอพพลิเคชั่น Police I Lert U ส่วนแนวทางการพัฒนาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรมีบริการอื่นเสริม ข้อมูลที่รับแจ้งควรนำไปวิเคราะห์พัฒนาเพิ่มเติม และนำเสนออาชญากรรมที่เกิดขึ้นในท้องที่ได้


ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย, ศิริพร จันทนสกุลวงศ์ Jan 2019

ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย, ศิริพร จันทนสกุลวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการเปิดเผยข้อมูลด้านการคลังและงบประมาณ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณ การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและงบประมาณ และความพอใจทางการคลังและงบประมาณของประชาชนในเขตรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่อนท้องถิ่น และ2) เพื่อศึกษารูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่าง การเปิดเผยข้อมูลด้านการคลังและงบประมาณ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณ และการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและงบประมาณที่ส่งผลต่อความพอใจทางการคลังและงบประมาณ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานเชิงสำรวจ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพใช้หน่วยในการวิเคราะห์ระดับกลุ่ม รวบรวมข้อมูลจากจากกรณีศึกษา 4 แห่ง คือเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เทศบาลเมืองราชบุรี เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น และเทศบาลเมืองกำแพงเพชร โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและนำไปใช้ออกแบบวิธีและเครื่องมือในเชิงปริมาณ ซึ่งใช้หน่วยการวิเคราะห์ระดับปัจเจกบุคคล ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนกับประชาชนที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลเมืองทั้ง 4 แห่ง ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,512 คน ผลการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (Strructural equation model : SEM) พบว่ารูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเปิดเผยข้อมูลด้านการคลังและงบประมาณ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณ และการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดทำแผนและงบประมาณ สามารถอธิบายความแปรปรวนของความพอใจทางการคลังและงบประมาณได้ร้อยละ 12 (R2 = 0.12) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01


The Influence Of Jacksonian Tradition Toward Trump's Trade War Against China., Putdhikorn Kasemphaibulsuk Jan 2019

The Influence Of Jacksonian Tradition Toward Trump's Trade War Against China., Putdhikorn Kasemphaibulsuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This Individual Study examines how the Jacksonian tradition influences Trump’s trade war against China between 2018 to 2020. The Jacksonian tradition emphasizes the importance of the government and its role as a protector of people, culture, and identity of the United States. This research argues that the US foreign policy and the US domestic affairs are intertwined and influenced by the Jacksonian tradition. The domestic source that is responsible for the upsurge of Jacksonian tradition and the Trade War can be linked to the resentment of the political elitists and their upper-class bubbles who Jacksonian supporters are suspicious of. Jacksonian …


นโยบายของประเทศหน้าด่านในการรับผู้ลี้ภัยจากซีเรีย: กรณีศึกษาการตอบสนองของรัฐบาลกรีซ 2015-2017, ระพีพัฒน์ สุขนาน Jan 2019

นโยบายของประเทศหน้าด่านในการรับผู้ลี้ภัยจากซีเรีย: กรณีศึกษาการตอบสนองของรัฐบาลกรีซ 2015-2017, ระพีพัฒน์ สุขนาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้เป็นเชิงคุณภาพ มุ่งเน้นศึกษาการตอบสนองต่อการดำเนินการรับผู้ลี้ภัยของรัฐหน้าด่านของสหภาพยุโรปอย่างกรีซในช่วงปีค.ศ. 2015 - 2017 พร้อมทั้งเสนอปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการตอบสนองดังกล่าว ผ่านการวิเคราะห์ด้วยแนวคิดเรื่องกระบวนการยุโรปภิวัตน์ และการเมืองเกี่ยวพัน ในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปและเหล่าประเทศสมาชิก ผ่านมิติทางการเมือง ระบอบการปกครอง และนโยบาย ที่มีความสอดคล้องกับวิกฤตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของสหภาพยุโรป ผลการศึกษาพบว่าการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยของกรีซมีลักษณะในการจัดการปัญหาในรูปแบบของการดำเนินนโยบายหรือกระบวนการต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่กำลังเผชิญทั้งภายในและภายนอกที่มีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน โดยจะต้องมีการคำนึงถึงข้อตกลง หรือกฎหมายต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปในฐานะที่กรีซเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก รวมถึงจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอื่นของสหภาพยุโรป แต่อย่างไรก็ตามการจัดการผู้ลี้ภัยของกรีซกลับมีการดำเนินการอย่างมีข้อจำกัดจากปัจจัยเรื่อง สมาชิกภาพของสหภาพฯ และปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ เพราะแม้ว่าสหภาพยุโรปมีการบูรณาการความสัมพันธ์แน่นแฟ้น สะท้อนออกมาเป็นแนวทางการดำเนินงานและนโยบายร่วมในด้านต่าง ๆ แต่สำหรับด้านการจัดการปัญหาวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัย การเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปของประเทศหน้าด่านอย่างกรีซ กลับเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการจัดการกับปัญหา เนื่องจากกระบวนการหรือนโยบายร่วมไม่สามารถตอบสนองหรือสร้างความเท่าเทียมต่อการรับผิดชอบกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในทุกประเทศสมาชิก ประกอบกับการที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศจึงส่งผลต่อความเชื่อใจและความน่าเชื่อถือของกรีซในเวทีระหว่างประเทศ ทำให้กรีซไม่มีศักยภาพมากพอที่จะขอปรับเปลี่ยนข้อกำหนดที่ไม่เป็นธรรมต่อการจัดการผู้ลี้ภัยภายในประเทศได้ ด้วยเหตุนี้ ทั้งสองปัจจัยเปรียบเสมือนข้อท้าทายของรัฐบาลกรีซซึ่งจำเป็นต้องแสวงหาแนวทางการแก้ไข เพื่อให้แนวทางในการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศและการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภค, นันท์ชญา เดชผล Jan 2019

การสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศและการรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภค, นันท์ชญา เดชผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ (2) ศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ (4) ศึกษาความแตกต่างทางลักษณะประชากรที่มีต่อการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาดของผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศมีแนวทางในการสื่อสารการตลาดให้น่าสนใจโดยใช้ลักษณะเฉพาะของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ทั้งวิธีการพูด น้ำเสียง ลักษณะท่าทาง ความกล้าแสดงออก และความคิดสร้างสรรค์ ช่วยเพิ่มมิติในการสื่อสารการตลาดให้น่าสนใจ ทั้งนี้ผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่จะสร้างมากกว่าตัวตนในเรื่องเพศ และเข้าใจว่าการสนับสนุนการสื่อสารเรื่องความงามของผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นการแสดงจุดยืนที่ดีของตราสินค้าในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสำคัญ นอกจากนี้ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้โดยรวมอยู่ในระดับสูงและทัศนคติโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยประเด็นที่มีทัศนคติอยู่ในระดับสูง คือ การติดตามผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่มีความหลากหลายทางเพศเพราะเนื้อหาที่น่าสนใจโดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเพศ ด้านพฤติกรรมตอบสนองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประเด็นที่มีการตอบสนองน้อยที่สุด คือ การแสดงความคิดเห็น (Comment)


Empowerment Of Indigenous Women In Recovery Of Post-Earthquake 2015 In Nepal: A Feminist Perspective, Mintira Premruethairat Jan 2019

Empowerment Of Indigenous Women In Recovery Of Post-Earthquake 2015 In Nepal: A Feminist Perspective, Mintira Premruethairat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Discrimination against gender and caste can be overwhelming issue to a person or a group who faces it. Similarly, indigenous women of Nepal have been facing impediments in regard to unequal power relations caused by gender, identity, as well as disaster. With the conceptualization of Feminist Political Ecology, this paper analyzes the subjectivities of a feminist perspective that highlights the lives of indigenous women pre-earthquake and their experiences on how they are affected by power relations in political ecology of Nepal. Along with the findings of the indigenous women’s lives and their experiences amid the earthquake 2015 have also been …


The Politics Of Mobility, Structuration, And Infrastructure: A Case Study Of Myanmar Migrant Workers Under The Migrant Worker Management Regime In Thailand, Polwish Subsrisunjai Jan 2019

The Politics Of Mobility, Structuration, And Infrastructure: A Case Study Of Myanmar Migrant Workers Under The Migrant Worker Management Regime In Thailand, Polwish Subsrisunjai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The migrant worker management regime in Thailand has been operated to deal with the flow of migrant workers between Thailand and the neighbouring countries for almost 30 years. Several studies portray the production of the regime through various mechanisms such as non-citizen control system, documents regime, the employment process, policies and regulations, and classification of migrant workers. Under these studies, migrant workers have been presented in two distinct narratives; one is short-term labours, who are controlled and exploited by the regime, another is economic migrants, who migrate from home country to destination country in pursuance of incremental benefits. This thesis …


Protection Against Sexual Violence In The Workplace: Ngo Programs For Access To Justice For Female Migrant Workers In Thailand, Shah Bano Jan 2019

Protection Against Sexual Violence In The Workplace: Ngo Programs For Access To Justice For Female Migrant Workers In Thailand, Shah Bano

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Sexual violence in the workplace amongst female migrant worker is an under-discussed issue, due to lack of reporting, that needs to be explored in more detail. This paper examined the role of NGOs in providing protection to FMW who are survivors of sexual violence, in Thailand, who want to seek justice. This study used qualitative approach by interviewing 3 people from local NGOs and 3 people from international NGOs working in Thailand that provide services to FMW who have faced sexual violence, to deal with the culturally biased and highly patriarchal criminal justice system. The study shows that regardless of …


A Comparison Of Emotion Regulation Strategies’ Effectiveness Under Cognitive Fatigue, Sirinapa Churassamee Jan 2019

A Comparison Of Emotion Regulation Strategies’ Effectiveness Under Cognitive Fatigue, Sirinapa Churassamee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research compared the effectiveness of three emotion regulation strategies including reappraisal, distraction, and affect labeling under cognitive fatigue. In the 2 (fatigue vs. non-fatigue) × 3 (emotion regulation strategies) within-subject design, 46 participants were randomly assigned into conditions using an incomplete block design method. Self-report negative emotions and skin conductance responses to emotion-eliciting pictures were measured to compare the effectiveness of the strategies. Results showed that reappraisal was more effective in regulating negative emotions than distraction and affect labeling in both fatigue and non-fatigue conditions. While reappraisal was a robust method of regulating emotion, the other two less-demanding strategies …


The Thai Perception Of The Bounds Of Masculinity: An Analysis Of Boys’ Love Drama Series, Anthony Thien Pham Jan 2019

The Thai Perception Of The Bounds Of Masculinity: An Analysis Of Boys’ Love Drama Series, Anthony Thien Pham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study lays a foundation for understanding gender and sexuality within a Thai sociocultural, political, and economic context and goes on to elaborate how Thai boys' love drama series productions are built upon the foundation of their Japanese and Chinese predecessors. An analysis of the evolution of boys' love drama series within Thailand will be conducted from the years 2014 to 2018, utilizing the Uses and Gratification Theory as well as the Media System Dependency Theory in order to rationalize growth and success of the genre. Queer Theory and Social Constructivism are applied in order to better understanding the shifting …