Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 561

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

แบคทีเรียในอากาศบริเวณที่มีการสัญจรหนาแน่นของกรุงเทพมหานคร, ฆริกา คุ้มไทย, นพภาพร พานิช, ชาญวิทย์ โฆษิตานนท์ Jul 2027

แบคทีเรียในอากาศบริเวณที่มีการสัญจรหนาแน่นของกรุงเทพมหานคร, ฆริกา คุ้มไทย, นพภาพร พานิช, ชาญวิทย์ โฆษิตานนท์

Applied Environmental Research

จากการศึกษาแบคทีเรียในตัวอย่างอากาศบริเวณใต้สถานีรถไฟท้า BTS สยามสแควร์และบริเวณจุดเปรียบเทียบปรับใต้ทางด่วนพระรามสี่ โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่เปรียบเทียบ ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2544 - มกราคม 2545 ด้วย เทคนิค Liquid Impingement และเลี้ยง แบคทีเรียบนอาหารเลี้ยงเชื้อ Nutrient Agar และ Blood Agar พบว่าในฤดูฝนปริมาณแบคทีเรียในอากาศบริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้า BTS สยามสแควร์ สูงกว่าบริเวณจุดเปรียบเทียบปรับใต้ทางด่วนพระรามสี่และบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ส่วนในฤดูแล้งปริมาณแบคทีเรียในอากาศบริเวณจุดเปรียบเทียบปรับใต้ทางด่วนพระรามสี่สูงกว่าใต้สถานีรถไฟฟ้า BTS สยามสแควร์และบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและใต้สถานีรถไฟท้า BTS สยามสแควร์ มีปริมาณแบคทีเรียในอากาศในฤดูฝนไม่แตกต่างจากฤดูแล้ง แต่บริเวณจุดเปรียบเทียบปรับใต้ทางด่วนพระรามสี่มีปริมาณแบคทีเรียในอากาศในฤดูฝนน้อยกว่าปริมาณแบคทีเรียในอากาศในฤดูแล้งอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) จากปฏิกิริยาการสลายเม็ดเลือดแดง บนอาหารเลี้ยงเชื้อ Blood Agar จาก ตัวอย่างทั้ง 3 แห่ง พบแบคทีเรียชนิด γ-hemolysis มากที่สุด (68.36%) รองลงมา คือ β-hemolysis (29.78%) และ α-hemolysis (1.89%) ตามลำดับ จากการศึกษานี้พบว่าปัจจัยที่คาดว่าน่าจะมีผลต่อปริมาณแบคทีเรียในอากาศได้แก่ การปิดครอบบริเวณสัญจร การจราจร จำนวนคนฤดูกาล และ ทิศทางลม


Spatio-Temporal Changes In Total Annual Rainfall And The Annual Number Of Rainy Days In Thailand, Atsamon Limsakul, Sangchan Limjirakan, Boonchob Suthamanuswong Jul 2027

Spatio-Temporal Changes In Total Annual Rainfall And The Annual Number Of Rainy Days In Thailand, Atsamon Limsakul, Sangchan Limjirakan, Boonchob Suthamanuswong

Applied Environmental Research

Rainfall variability is a critical factor for Thailand’s socio-economic development. Thus, enhancing understanding of rainfall mechanisms and its variability is of paramount importance for effective strategies for tackling the severe droughts/floods which are memorable and a recurring problem in Thailand. Through this study, we examined the variability of total annual rainfall (Rtotal) and the annual total number of rainy days (Rday) in Thailand during 1951-2003, using an Empirical Orthogonal Function (EOF) analysis. The primary objective is to determine the dominant spatiotemporal patterns, and to illustrate their connection with the El Nino-Southern Oscillation (ENSO). The results revealed …


การใช้ตัวกรองชีวภาพไนตริฟิเคชันในการบำบัดไนโตรเจนในถังเลี้ยงสัตว์น้ำกลางแจ้ง, มะลิวัลย์ คุตะโค, บุปผา ศรีสัมฤทธิ์, จันทิมา อานทอง, สรวิศ เผ่าทองศุข, เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต Jul 2027

การใช้ตัวกรองชีวภาพไนตริฟิเคชันในการบำบัดไนโตรเจนในถังเลี้ยงสัตว์น้ำกลางแจ้ง, มะลิวัลย์ คุตะโค, บุปผา ศรีสัมฤทธิ์, จันทิมา อานทอง, สรวิศ เผ่าทองศุข, เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของตัวกรองชีวภาพไนตริฟิเคชันในการบำบัดแอมโมเนียในถังเลี้ยงกุ้งทะเลรูปแบบบ่อไร้ดินกลางแจ้ง โดยในการทดลองแรกเป็นการศึกษาผลของตัวกรองชีวภาพต่อการบำบัดสารอนินทรีย์ไนโตรเจนซึ่งทำในถังขนาด 7.5 ลิตร ที่มีน้ำทะเลความเค็ม 28 พีเอสยู ชุดทดลองประกอบด้วยถังบรรจุน้ำทะเลและชุดตัวกรองชีวภาพซึ่งมีลักษณะเป็นท่อพลาสติกพีวิชีที่บรรจุใยกรอง "ใบโอโพลิมา" ไว้ภายในก่อนเริ่มการทดลองจะต้องทำการเตรียมสภาพตัวกรอง โดยแช่ตัวกรองไว้ในน้ำทะเลที่มีแอมโมเนียมคลอไรด์ความเข้มข้น 2 มก.ไนโตรเจน/ลิตร เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ผลการศึกษาพบว่าหลังจากเติมอาหารกุ้งน้ำหนัก 0.51 ก. ลงในถังเพื่อเป็นแหล่งของไนโตรเจน จะพบการสะสมของแอมโมเนียและไนไตรต์ในถังชุดควบคุมที่ไม่มีตัวกรองชีวภาพ ในขณะที่ตัวกรองชีวภาพที่ผ่านการเตรียมสภาพมาแล้วในถังชุดทดลองสามารถบำบัดแอมโมเนียและไนไตรต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในสภาวะแวดล้อมที่ได้รับแสงและในที่มืด การทดลองที่สองเป็นการทดลองในระบบเช่น เดียวกับการทดลองแรกแต่มีการเติมอาหารกุ้งทุกสามวันเพื่อเพิ่มปริมาณไนโตรเจนที่ เข้าสู่ระบบผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าตัวกรองชีวภาพไนตริฟิเคชันสามารถป้องกันการเกิดปฏิกิริยาไนตริฟิเคชันที่ไม่สมบูรณ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุดทดลองที่เป็นถังกลางแจ้งที่มีการพรางแสง และผลการทดลองยังแสดงให้เห็นบทบาทร่วมกันของแพลงก์ตอนพืชและตัวกรองชีวภาพ ไนตริพีเคชันที่เปลี่ยนแอมโมเนียไปเป็นมวล ชีวภาพ (แพลงก์ตอนพืช) และไปเป็นไนเตรต (กระบวนการไนตริฟิเคชันของแบคทีเรีย) การทดลองสุดท้ายเป็นการประเมินบทบาทของตัวกรองชีวภาพในถังเลี้ยงกุ้งกุลาดำกลางแจ้ง โดยทำการเลี้ยงกุ้งกุลาดำจำนวน 6 ตัว ในถังบรรจุน้ำทะเล ปริมาตร 120 ลิตร เปรียบเทียบระหว่างชุด ควบคุมและชุดทดลองที่มีตัวกรองชีวภาพทำการทดลองเลี้ยงกุ้งเป็นเวลา 26 วัน ผลการศึกษาพบการสะสมของแอมโมเนียและไนไตรต์ในถังชุดควบคุม โดยความเข้มข้นสูงสุดเท่ากับ 1.90 มก.แอมโมเนียมไนโตรเจน/ลิตร และ 12.95 มก.ไนไตรต์ไนโตรเจน/ลิตร ตามลำดับ นอกจากนี้ยัง พบการบลูมของแพลงก์ตอนพืชในถังชุดควบคุมซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ลดปริมาณ แอมโมเนียในน้ำ ในขณะที่ตัวกรองชีวภาพ ในถังชุดทดลองสามารถเปลี่ยนแอมโมเนียไปเป็นไนเตรตได้อย่างรวดเร็วโดยเป็นกระบวนการไนตริฟิเคชันแบบสมบูรณ์ ดังนั้นการบำบัดแอมโมเนียที่เกิดขึ้นจึงเกิด จากกระบวนการไนตริฟิเคชันเป็นหลักและเกิดจากการบำบัดโดยแพลงก์ตอนพืชเพียงเล็กน้อย ส่งผลให้คุณภาพน้ำในถังชุดทดลองดีกว่าถังชุดควบคุม ผลการศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ของการใช้ตัวกรองชีวภาพไนตริฟิเคชันเพื่อการบำบัด แอมโมเนียในบ่อไร้ดินกลางแจงเพื่อการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ


ความเข้มข้นและองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ในบรรยากาศจังหวัดสมุทรปราการ, กัลยกร ตั้งอุไรวรรณ, สุรัตน์ บัวเลิศ, วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ Jul 2027

ความเข้มข้นและองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ในบรรยากาศจังหวัดสมุทรปราการ, กัลยกร ตั้งอุไรวรรณ, สุรัตน์ บัวเลิศ, วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์

Applied Environmental Research

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เป็นสารมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ นอกจากนี้ยังพบว่าภายในฝุ่นละอองยังประกอบไปด้วยองค์ประกอบทางเคมีหลากหลายชนิด ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้เพื่อบอกแนวโน้มของแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองได้ ดังนั้นการศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาความเข้มข้นและองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ในบรรยากาศบริเวณจังหวัดสมุทรปราการ โดยมีพื้นที่ศึกษาวิจัยทั้งหมด 4 แห่ง ซึ่งได้แก่สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศศูนย์พื้นฟูอาชีพและสถานสงเคราะห์คนพิการ พระประแดง โรงเรียนวัดกิ่งแก้ว โรงเรียน คลองเจริญราษฎร์ และโรงเรียนปากคลอง มอญ
ผลการศึกษาความเข้มขันของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ในบรรยากาศพบว่า ความเข้มข้นเฉลี่ยของฝุ่นละอองช่วงฤดูแล้งของทุกพื้นที่ศึกษามีค่าสูงกว่าช่วงฤดูฝนโดยพบว่าความเข้มข้นเฉลี่ย ของฝุ่นละอองในช่วงฤดูแล้งจะมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 60.86 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ช่วงฤดูฝนจะมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 39.29 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งพบว่ามีค่าลดลงประมาณร้อยละ 14-51 ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากกระบวนการการชะล้างของฝน นอกจากนี้ยังพบว่าบริเวณพื้นที่ศึกษาที่มีการดำเนินกิจกรรมหลายประเภท อาทิเช่น กิจกรรมจากโรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้าง และการจราจร จะมีแนวโน้มความเข้มข้น เฉลี่ยของฝนละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ที่ค่อนข้างสูงกว่าบริเวณพื้นศึกษาที่มีการดำเนินกิจกรรมประเภทเกษตรกรรมทั้งสองช่วงฤดู
ผลการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของฝนละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน พบว่าองค์ประกอบทางเคมีในพื้นที่ศึกษาทั้ง 4 แห่ง พบว่า องค์ประกอบทางเคมีที่พบส่วนใหญ่ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน ได้แก่ Al, Si, Fe, S, Cl, OC, EC, SO42-, NO3-, Cl-, K+, Na+, NH4+ ทั้งนี้คาดว่าองค์ประกอบดังกล่าวน่าจะมีแนวโน้มมาจากแหล่งกำเนิดประเภทอุตสาหกรรมอาทิเช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงหรือจากกระบวนการผลิต นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มมาจากยานพาหนะ การเผาขยะอุตสาหกรรมการเผาไหม้ชีวมวล ฝุ่นดินและฝุ่นถนน รวมทั้งจากละอองไอทะเล


ความชุกชุมแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลตในพื้นที่ชายฝั่งทะเล อำเภอบ้านแหลมและอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี, ทิพย์วรรณ แซ่มา, วิษณุ นิยมไทย, วรินธา วศินะเมฆินทร์ Jul 2027

ความชุกชุมแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลตในพื้นที่ชายฝั่งทะเล อำเภอบ้านแหลมและอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี, ทิพย์วรรณ แซ่มา, วิษณุ นิยมไทย, วรินธา วศินะเมฆินทร์

Applied Environmental Research

การศึกษาความชุกชุมแพลงก์ตอนพืชชั้น Dinophyceae พื้นที่ชายฝังทะเล อำเภอบ้านแหลมและอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ตั้งแต่เดือนเมษายน 2548 ถึงเดือนมีนาคม 2549 ด้วยวิธี Sedgewick Rafter total cell counting พบแพลงก็ตอนพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลตทั้งหมด 15 สกุล ซึ่งจำนวน 7 สกุล ได้แก่ Ceratium, Dinophysis, Gymnodinium, Peridinium, Prorocentrum, Protoperidinium และ Pyrophacus ตรวจพบได้ในทุกพื้นที่ เปรียบเทียบความชุกชุมระหว่างพื้นที่และเวลา พบว่า ชายฝังทะเล อำเภอชะอำมีความชุกชุมแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลตมากกว่าพื้นที่อำเภอบานแหลม และความชุกชุมในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ(ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายนถึงเมษายน) มากกว่าช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้(ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม)การจัดลำดับสกุลเด่นพบ Ceratium, Protoperidinium, และ Peridinium เป็นสกุลเด่น 3 ลำดับแรก ของ พื้นที่ศึกษา และชุกชุมกว่า Noctiluca ใน ทุกสถานีเก็บตัวอย่างตลอดช่วงเวลาศึกษาตลอดระยะเวลาการศึกษา ไม่พบการเกิดปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี อย่างไรก็ตาม มีการตรวจพบแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลตหลายสกุลที่อาจผลิตสารชีวพิษ อาทิ Alexandrium, Ceratium, Dinophysis, Gymnodinium, Peridinium, Prorocen-trum, Protoperidinium และ Pyrodinium.


The Use Of Phyllanthus Reticulatus For Removal Of Hexavalent Chromium From Contaminated Soil, Sutinee Wadesirisak, Pantawat Sampanpanish Jul 2027

The Use Of Phyllanthus Reticulatus For Removal Of Hexavalent Chromium From Contaminated Soil, Sutinee Wadesirisak, Pantawat Sampanpanish

Applied Environmental Research

The possibility of using phytoremediation with weed plant species in Thailand to remove chromium (Cr) from soil was conducted. The weed plant species were studied because they have no value and are burdens to the environment as agriculture waste. Phyllanthus reticulatus was chosen for this ability to accumulate total chromium (TCr). This plant species was studied in pots at a nursery. TCr accumulation capacities of roots, stems and leaves on this plant was 390.6, 61.5 and 58.7 mg/kg of plant on a dry weight basis at days 30, respectively, at a pulse hexavalent chromium [Cr(VI)] concentration. The Cr(III) uptake by …


การศึกษาคุณภาพอากาศจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างเดือน ตุลาคม 2546 ถึง กันยายน 2547, ลดาวัลย์ วัฒนะจีระ, ทรงวุฒิ เป็นพนัสสัก, โยฮัน มะอาลี Jan 2027

การศึกษาคุณภาพอากาศจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างเดือน ตุลาคม 2546 ถึง กันยายน 2547, ลดาวัลย์ วัฒนะจีระ, ทรงวุฒิ เป็นพนัสสัก, โยฮัน มะอาลี

Applied Environmental Research

ข้อมูลคุณภาพอากาศในจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างเดือนตุลาคม 2546 ถึงเดือน กันยายน 2547 ได้เก็บรวบรวมจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษ และถูกนำมาวิเคราะห์เปรียบ เทียบกับมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ เพื่ออธิบายแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพอากาศ และ บอกภาพรวมของผลกระทบคุณภาพอากาศที่มีต่อสุขภาพ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวม จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติ ในจังหวัดเชียงใหม่ 2 สถานี คือ ศูนย์ราชการ จังหวัดเชียงใหม่ (CM35t) และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย (CM36t) ซึ่งตรวจวัดสาร มลพิษทางอากาศ 5 ชนิด พบว่าค่าความเข้มข้นเฉลี่ย 1 ชั่วโมง และ 8 ชั่วโมง สูงสุดของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ค่าความเข้มข้นเฉลี่ย 1 ชั่วโมง สูงสุดของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และค่าความเข้มข้นเฉลี่ย 1 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมง สูงสุดของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีค่าไม่เกินมาตรฐาน และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงค่าความเข้มข้นสูงสุดในรอบวัน เกิดในช่วงเวลาประมาณ 07.00-11.00 น. และ 18.00-24.00 น. ที่สถานี CM35t และ CM36t ตามลำดับ ค่าความเข้มข้นเฉลี่ย 1 ชั่วโมง สูงสุดของก๊าซโอโซน มีค่าเท่ากับ 106 และ101 หนึ่งส่วนในพันล้านส่วน ซึ่งมีค่าเกินมาตรฐาน (100 หนึ่งส่วนในพันล้านส่วน) เกิดขึ้น 2 ครั้ง ที่สถานี CM35t และ 1 ครั้งที่สถานี CM36t โดยมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงค่าความเข้มข้นสูงสุดในรอบวัน เกิดในช่วงเวลาประมาณ 08.00-20.00 น. ค่าความเข้มข้นเฉลี่ย 24 ชั่วโมง สูงสุดของ ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีค่าเท่ากับ 207.54 และ 297.79 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีค่าเกินมาตรฐาน (120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) โดยเกิดเป็น ระยะเวลายาวนานตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ …


การกำจัดโครเมียมโดยใช้พืชน้ำ, พิสมัย ชัยรัตน์อุทัย, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช Jan 2027

การกำจัดโครเมียมโดยใช้พืชน้ำ, พิสมัย ชัยรัตน์อุทัย, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการกำจัดโครเมียมด้วยพืชน้ำได้แก่ จอก ผักแว่น และ สาหร่ายหางกระรอก โดยทำการปลูกพืชลงในกะละมังพลาสติกสีดำขนาด 68 นิ้ว กะละมังละ 12 ต้น และเติมน้ำเสียสังเคราะห์ที่เตรียมจากโพแทสเซียมไดโครเมต โดยมีความเข้มข้นของโครเมียมที่ใช้คือ 5, 10 และ 15 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีชุดควบคุม (ทำเช่นเดียวกันแต่ไม่มีการเติมโครเมียม) ระยะเวลาในการทดลอง 7, 15, 21 และ 30 วัน โดยทำการศึกษาหาปริมาณโครเมียมทั้งหมด ด้วยวิธีการย่อยสลายด้วยกรดโดยใช้ไมโครเวฟ แล้วนำไปวัดด้วยเครื่องอะตอมมิกแอบซอร์บชั่นสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ และ หาปริมาณโครเมียมเฮกซะวาเลนท์ ด้วยวิธีย่อยสลายด้วยสภาวะเบส แล้วนำไปวัดความเข้มขันของสีด้วยเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ จากผลการทดลองพบว่า สาหร่ายหางกระรอก และผักแว่น ที่โครเมียมระดับความเข้มข้น 15 มิลลิกรัมต่อลิตร มีอัตราการรอดตายเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่จอกมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายเท่ากับ 66.67 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ การสะสมโครเมียม ทั้งหมดในพืชน้ำทั้ง 3 ชนิด ที่ระยะเวลา 21 วันพบว่า จอก ดีที่สุด รองลงมาคือ สาหร่ายหางกระรอก และผักแว่น ตามลำดับ โดยมี ปริมาณการสะสมโครเมียมเท่ากับ 5.991, 0.548 และ 1.317 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ ที่ระดับความเข้มข้น โครเมียม 15 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับปริมาณโครเมียมเฮกซะวาเลนท์พบว่า จอก สามารถสะสมโครเมียมได้มากกว่าผักแว่น และสาหร่ายหางกระรอก โดยที่ระยะเวลา 30 วัน ปริมาณโครเมียมเฮกซะวาเลนท์ เท่ากับ 0.807, 0.405 และ 0.253 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมน่าหนักแห้ง ตามลำดับ ที่ระดับ ความเข้มข้น 15 มิลลิกรัมต่อลิตร


สารประกอบอินทรีย์ระเหยในกรุงเทพมหานคร: ระดับความเข้มข้นการแพร่กระจายตามฤดูกาล และแหล่งที่มาที่สำคัญ, พรรณวดี สุวัฒิกะ, วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ Jan 2027

สารประกอบอินทรีย์ระเหยในกรุงเทพมหานคร: ระดับความเข้มข้นการแพร่กระจายตามฤดูกาล และแหล่งที่มาที่สำคัญ, พรรณวดี สุวัฒิกะ, วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์

Applied Environmental Research

สารประกอบอินทรีย์ระเหย (Volatile Organic Compounds) มีบทบาทสำคัญในการเป็นสารตั้งต้นของโอโซนซึ่งเป็นมลพิษ อากาศที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ มีผลต่อการทำงานของปอด เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคปอดอักเสบเรื้อรัง และตัวสารประกอบอินทรีย์ระเหยแต่ละชนิดยัง เป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาสัดส่วนแหล่งที่มาของ สารประกอบอินทรีย์ระเหยในบรรยากาศ กรุงเทพมหานคร การศึกษาประกอบด้วย 1) การตรวจวัดความเข้มข้นของสารประกอบอินทรีย์ระเหยในบรรยากาศกรุงเทพมหานคร 4 จุด ในช่วงกรกฎาคม 2546 ถึง กุมภาพันธ์ 2547 2) การจัดทำองค์ประกอบสารประกอบอินทรีย์ระเหยจากแหล่งกำเนิดต่างๆ และ 3) นำข้อมูลทั้งสองส่วนมาใช้ในแบบจำลองแหล่งรับเพื่อคำนวณสัดส่วนแหล่งที่มาของสารประกอบอินทรีย์ระเหยในกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นของสารประกอบอินทรีย์ระเหยรวมในฤดูลม มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ หรือช่วงฤดูฝนมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 666.5-972.6 ppbC สูงกว่า ในฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หรือฤดูแล้ง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 128.6-400.0 ppbC ผลจากแบบจำลองแหล่งรับ พบว่าสารประกอบอินทรีย์ระเหยในบรรยากาศกรุงเทพมหานคร ในฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีสัดส่วนแหล่งที่มาจากหม้อไอน้ำ ที่ใช้น้ำมันเตา 22% ไอเสียรถยนต์เบนซิน 21% การเผาชีวมวล 19% ไอระเหยน้ำมันเบนซิน 12% ไอระเหยจากสีน้ำมันและทินเนอร์ 8% ไอเสียรถดีเซล 5% ก๊าซจากกองขยะ 4% ควันจากการปิ้งย่างอาหาร 2% และเป็นแหล่งกำเนิดที่จำแนกไม่ได้ 7% ส่วนในฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าแหล่งกำเนิดที่สำคัญได้แก่ ไอเสียรถยนต์เบนซิน 50% ไอระเหยน้ำมันเบนซินและก๊าซจากกองขยะแหล่งละ 12% ไอเสียรถดีเซล 6% ควันจากการปิ้งย่างอาหาร 5% ไอระเหยจากสีน้ำมันและทินเนอร์ 3% หม้อไอน้ำที่ใช้น้ำมันเตา 2% และเป็นแหล่งกำเนิดที่จำแนกไม่ได้ 10%


ผลการเพิ่มช่วงห่างความถี่การล้างเมมเบรนที่มีต่อการเกิดฟาวลิง ของนาโนฟิลเตรชันเมมเบรนในการผลิตน้ำประปาระยะยาว, ธนากร เมธาธรรม, ชวลิต รัตนธรรมสกุล Jan 2027

ผลการเพิ่มช่วงห่างความถี่การล้างเมมเบรนที่มีต่อการเกิดฟาวลิง ของนาโนฟิลเตรชันเมมเบรนในการผลิตน้ำประปาระยะยาว, ธนากร เมธาธรรม, ชวลิต รัตนธรรมสกุล

Applied Environmental Research

การเกิดฟาวลิง ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ของระบบนาโนฟิลเตรชันเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ต้องมีการล้างเพื่อฟื้นฟูประสิทธิภาพเมมเบรน งานวิจัยนี้ศึกษาถึงผลของการเพิ่มช่วงห่างของความถี่การล้างเมมเบรนต่อการ เกิดฟาวลิง และประสิทธิภาพการกำจัด มลสาร ของระบบนาโนฟิลเตรชันในการ ผลิตน้ำประปาระยะยาว โดยใช้น้ำที่ผ่านจากกระบวนการกรองทรายเป็นน้ำเข้าระบบ และมีระบบไมโครฟิลเตรชันเป็นระบบบำบัดขั้นต้น โดยทำการทดลองในระดับ Pilot-Scale ผลการทดลองพบว่า การเพิ่มขึ้นของช่วงห่างการล้างเมมเบรนในรูปการลดลงของฟลักซ์ 30, 40 และ 45 เปอร์เซ็นต์จากค่าเริ่มต้นส่งผลต่อประสิทธิภาพในการ กำจัดมลสารที่ใกล้เคียงกัน โดยมีค่าอยู่ใน ช่วง 80-100 เปอร์เซ็นต์ แต่ส่งผลต่อความ เด่นชัดของกลไกการเกิดฟาวลิงที่ต่างกัน คือ Cake Formation สำหรับช่วงห่างการล้าง เมมเบรนทุกๆ การลดลงของฟลักซ์จากค่าเริ่มต้น 30 และ 40 เปอร์เซ็นต์ และ Pore Blockage สำหรับช่วงห่างการล้างเมมเบรนทุกๆ การลดลงของฟลักซ์จากค่าเริ่มต้น 45 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ทราบว่ากลไกการเกิดฟาวลิงเริ่มจาก Membrane Limited ต่อด้วย Cake Formation และเข้าสู่ Pore Blockage ในขั้นสุดท้าย ซึ่งแสดงถึงการเริ่มเสื่อมสภาพของเมมเบรน โดยค่า NFI จะเป็นสิ่งที่พัฒนาจากการทดลองเพื่อใช้ชี้ถึง กลไกฟาวลิงที่เกิดขึ้น ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 0.6 สำหรับ Pore Blockage และมากกว่า 0.6 สำหรับ Cake Formation ซึ่งช่วงห่าง การล้างเมมเบรนที่เหมาะสมคือล้างก่อน การลดลงของฟลักซ์ 40 เปอร์เซ็นต์จากค่าเริ่มต้น เพราะมีกลไกแบบ Cake Formation เด่นชัด ซึ่งสามารถฟื้นคืนประสิทธิภาพได้ดีที่สุด


การบูรณาการทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำและทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2027

การบูรณาการทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำและทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

Applied Environmental Research

ความสมดุลและความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่มนุษยชาติต้องการ การใช้ทรัพยากรอย่างไม่มี ประสิทธิภาพและขาดการพิจารณาในด้านการอนุรักษ์ โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรดินและทรัพยากรน้ำ ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมในพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น การเกิดอุทกภัยอย่างฉับพลันในฤดูฝนและภาวะแห้งแล้งอย่างรุนแรงในฤดูแล้ง รวมทั้งคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำหลายๆ แห่งไม่เหมาะสมแก่การบริโภคอุปโภค การเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
การจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำที่ผ่านมา ทั้งหน่วยงานของรัฐและประชาชนต่างก็คิดว่าปริมาณทรัพยากรน้ำมีมากมาย และเหลือเฟือใครๆ ก็สามารถนำทรัพยากรน้ำมาใช้สำหรับกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุด เพราะทุกคนต่างคิดว่าปริมาณน้ำที่ถูกนำมาใช้ไม่มีต้นทุน แต่จากการพัฒนาและความเจริญของประเทศอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการใช้ทรัพยากรน้ำ อย่างฟุ่มเฟือยและไม่มีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันบางลุ่มน้ำได้แสดงให้เห็นถึงความ ขัดแย้งลักษณะต่างๆ ซึ่งต่อไปในอนาคตทรัพยากรน้ำจะขาดแคลนและก่อให้เกิด ปัญหาของความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จึงจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องหามาตรการในการจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรน้ำที่เด่นชัด
ในขณะที่ปัจจุบันมีทฤษฎีที่สำคัญ คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ที่พยายามแนะให้ประชาชนอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง แต่กว่าที่จะมีการคำนึงถึงทฤษฎีนี้หรือนำไปปฏิบัติ บางพื้นที่ก็อาจจะสายไปแล้ว การที่จะแก้ไขให้สิ่งแวดล้อมมีสภาพเหมือนเดิมหรือทำให้ ประชาชนมีรายได้หรือคุณภาพชีวิตดีขึ้น ก็ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ระยะเวลา และงบประมาณค่อนข้างสูง และเพื่อให้การพิจารณาแก้ไขปัญหาทั้งหมดมีประสิทธิภาพ ต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาทั้งพื้นฐานและเพื่อความยั่งยืนของการพัฒนาแบบบูรณาการ
จากความสำคัญของทรัพยากรพื้นฐาน โดยเฉพาะทรัพยากรดินและทรัพยากรน้ำ จำเป็นจะต้องนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาพิจารณา เพราะพระองค์ทรงห่วงใยประชาชน รวมทั้งยังได้เสนอแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานของความอยู่ดีกินดีของประชาชน ดังนั้นแนวทางการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ ต้อง พิจารณาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องในทุกๆ ด้าน นำไปพิจารณาและวิเคราะห์อย่างถ่องแท้ ทั้งองค์ประกอบพื้นฐานและองค์ประกอบเพื่อความยั่งยืน เพื่อให้เกิดแนว ปฏิบัติที่เป็นไปตามเศรษฐกิจพอเพียงตาม แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


Awareness Project For Young Children To Encourage Social Harmony, Appreciation Of The Local Environment, Utilization Of Natural Resources And Environmental Sustainability, Sulak Sriburi, Ariyaporn Kuroda Jan 2027

Awareness Project For Young Children To Encourage Social Harmony, Appreciation Of The Local Environment, Utilization Of Natural Resources And Environmental Sustainability, Sulak Sriburi, Ariyaporn Kuroda

Applied Environmental Research

The purposes of this research were to propose and develop models of children’s awareness in order to encourage social harmony, appreciation of the local environment, pride for art and culture, the dissemination of Esan local wisdom and facilitation of planning in the use and preservation of natural resources. The results of the study and the proposed models are tactics for encouraging ideas and inculcating attitudes and values to children who are future adults. Through an awareness of current problems and consequences of destruction of natural resources the future quality and sustainability of village life will be ensured. Temples had a …


คุณภาพอากาศ ระดับเสียง และขีดความสามารถในการรองรับได้บนเกาะช้าง, อรุณศักดิ์ โสภณธรรมภาณ, ทวีวงศ์ ศรีบุรี, ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์ Jan 2027

คุณภาพอากาศ ระดับเสียง และขีดความสามารถในการรองรับได้บนเกาะช้าง, อรุณศักดิ์ โสภณธรรมภาณ, ทวีวงศ์ ศรีบุรี, ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์

Applied Environmental Research

เกาะช้าง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทาง ธรรมชาติที่มีศักยภาพสูง มีนักท่องเที่ยวตลอดปีอีกทั้งมีความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ และมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ ทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงควรเฝ้าระวังปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นระยะ ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศพบว่า ช่วงการท่องเที่ยวน้อย มลสารที่สูงเกินมาตรฐาน คือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน วิเคราะห์เป็นดัชนีคุณภาพอากาศเท่ากับ 108 เนื่องจากมีการก่อสร้างมาก สำหรับช่วงการท่องเที่ยวมาก ไม่มีค่าใดเกินมาตรฐาน เพราะถูกระงับการก่อสร้างเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว
ผลการวิเคราะห์ระดับเสียงเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง จำนวน 3 สถานีในช่วงการท่องเที่ยวน้อยคือ หาดทรายขาว 66.8 เดซิเบล ชุมชนบางเบ้า 59.9 เดซิเบล และชุมชนสลักเพชร 56.6 เดซิเบล และระดับเสียงเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมงในช่วงการท่องเที่ยวมากของหาดทรายขาวคือ 65.7 เดซิเบล ชุมชนบางเบา 61.9 เดซิเบล และชุมชนสลักเพชร 52.3 เดซิเบล ซึ่งไม่มีสถานีใดที่ระดับเสียงเกินค่ามาตรฐาน
ผลการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนพบว่า คุณภาพอากาศบริเวณ ชายหาดอยู่ในเกณฑ์ดีมาก บริเวณถนนอยู่ในเกณฑ์ดีและปานกลาง ยอมรับได้รอยละ 95 ระดับเสียงบริเวณชายหาดไม่ดังรบกวน แต่บริเวณถนนร้อยละ 33 คิดว่าระดับเลียงดังแต่ก็ยอมรับได้ร้อยละ 90 ส่วนชุมชนบางเบา และชุมชนสลักเพชรประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าระดับเลียงไม่ดัง เมื่อนำผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ระดับเสียง และผลการสอบถามมาวิเคราะห์ขีดความสามารถในการรองรับได้พบว่า เกาะช้างยังไม่เกินขีดความสามารถในการรองรับได้
แนวทางในการจัดการปัญหาและลดระดับผลกระทบให้แหล่งท่องเที่ยวไม่เกินขีดความสามารถในการรองรับ ได้แก่ กำหนดให้รถบรรทุกคลุมผ้าใบขณะขนส่ง การก่อสร้างอาคารต้องมีอุปกรณ์ป้องกันฝุ่น ลดปริมาณการนำรถยนต์ขึ้นเกาะ และ พัฒนาระบบการขนล่งสาธารณะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


การดูดซับตะกั่วจากน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ซิลิกาเจลเคลือบด้วยโพลีเอทธิลีนไอมีน, จุรีรัตน์ ทองทาย, เขมรัฐ โอสถาพันธุ์, สุธา ขาวเชียร Jul 2026

การดูดซับตะกั่วจากน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ซิลิกาเจลเคลือบด้วยโพลีเอทธิลีนไอมีน, จุรีรัตน์ ทองทาย, เขมรัฐ โอสถาพันธุ์, สุธา ขาวเชียร

Applied Environmental Research

การวิจัยครั้งนี้ศึกษาความสามารถในการดูดซับตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ของ ซิลิกาเจลที่เคลือบด้วยโพลีเอทธิลีนไอมีน (Polyethyleneimine หรือ PEI) ซึ่งทำการศึกษาที่ความเข้มข้นต่ำ โดยได้ทดลองเตรียมซิลิกาเจลเคลือบด้วยโพลีเอทธิลีนไอมีน (Sil/PEI) และหาอัตราส่วนในการเคลือบที่เหมาะสม แล้วนำมาทดลองกำจัดน้ำเสียสังเคราะห์ตะกั่วโดยการทดลองแบบแบตซ์ ที่พีเอชช่วง 4-7 และศึกษาผลของความแรงไอออน (Ionic strength) ต่อความสามารถในการดูดซับ แล้วเลือกพีเอช ที่เหมาะสมเพื่อนำไปศึกษาความสามารถในการดูดซับโดยใช้การทดลองแบบคอลัมน์
จากการทดลองเตรียมซิลิกาเจลเคลือบด้วยโพลีเอทธิลีนไอมีนพบว่าการเตรียมด้วยวิธี ชิมแพรกเนชั่นแบบแห้ง (Dry Impregnation) ในอัตราส่วนการเคลือบร้อยละ 5 โดยน้ำหนักต่อปริมาตรของสารละลายโพสีเอทธิสีนไอมีนในเมทานอล เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด และผลการทดลองความสามารถในการดูดซับตะกั่วโดยการทดลองแบบแบตซ์ พบว่าที่พีเอช 4 และ 5 ไม่สามารถกำจัดตะกั่วได้ และความสามารถในการดูดซับตะกั่วจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับซิสิกาเจลที่พีเอช 6 โดยผลของการดูดซับตะกั่วที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ซิลิกาเจลเคลือบด้วยโพลีเอทธิลีนไอมีนสามารถดูดซับตะกั่วได้ 6.72 มิลลิกรัมต่อตัวกลาง 1 กรัม คิดเป็นร้อยละ 59.18 และซิลิกาเจลสามารถดูดซับตะกั่วได้ 3.02 มิลลิกรัมต่อคัวกลาง 1 กรัม คิดเป็นร้อยละ 26.71 และความสามารถในการดูดซับจะเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นเริ่มต้นเพิ่มขึ้น ส่วนที่พีเอช 7 ในช่วงความเข้มข้นเริ่มต้นต่ำกว่า 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ซิลิกาเจลเคลือบด้วยโพลีเอทธิลีนไอมีนมีความสามารถใน การดูดซับใกล้เคียงกับซิลิกาเจล ผลการศึกษาผลของความแรงไอออนพบว่า ความแรงไอออนไม่มีผลต่อความสามารถในการดูดซับตะกั่ว และผลการศึกษาแบบคอลัมน์ พบว่าความสามารถในการดูดซับตะกั่วของ ซิลิกาเจลเคลือบด้วยโพลีเอทธิลีนไอมีนมี ค่ามากกว่าซิลิกาเจสอย่างชัดเจน และที่ อัตราการไหล 5 มิลลิลิตรต่อนาที และ 10 มิลลิลิตรต่อนาที พบว่ามีความสามารถใน การดูดซับใกล้เคียงกัน


การดูดซับไซยาไนด์ โครเมียมและสังกะสีจากน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้อะลูมินาที่เคลือบผิวด้วยนิกเกิล, ภาคย์ ชาตรี, เจิดศักดิ์ ไชยคุนา, สุธา ขาวเธียร Jul 2026

การดูดซับไซยาไนด์ โครเมียมและสังกะสีจากน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้อะลูมินาที่เคลือบผิวด้วยนิกเกิล, ภาคย์ ชาตรี, เจิดศักดิ์ ไชยคุนา, สุธา ขาวเธียร

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับไซยาไนด์ โครเมียมและสังกะสี โดยใช้ อะลูมินาและนิกเกิลออกไซด์เป็นตัวกลางในการดูดซับ แบ่งการทดลองเป็นแบบแบตซ์และแบบต่อเนื่องโดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ซึ่งเป็นตัวแทนของน้ำเสียจากโรงงานชุบโลหะ ผลการทดลองแบบแบตซ์พบว่า ในกรณีน้ำเสียสังเคราะห์ไซยาไนด์อย่างเดียวหรือ สังกะสีอย่างเดียว นิกเกิลออกไซด์มีประสิทธิภาพในการดูดซับมากกว่าอะลูมินา แต่ค่าความสามารถในการดูดซับของตัวกลางทั้งสองชนิดมีค่าตามาก ทำให้ อะลูมินาและนิกเกิลออกไซด์ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ดูดซับไซยาไนด์อย่างเดียวหรือ สังกะสีอย่างเดียว ส่วนในกรณีที่น้ำเสียสังเคราะห์ประกอบด้วยไซยาไนด์ โครเมียม และสังกะสี นิกเกิลออกไซด์มีประสิทธิภาพ ในการดูดซับไซยาไนด์และสังกะสีมากกว่า อะลูมินา ความสามารถในการดูดซับไซยาไนด์เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นสังกะสีที่เพิ่มสูงขึ้น ปริมาณไซยาไนด์ที่มากเกินพอมี ผลรบกวนการดูดซับสารประกอบเชิงซ้อน สังกะสีไซยาไนด์ ทำให้ความสามารถในการ ดูดซับไซยาไนด์และสังกะสีลดลงที่สภาวะสมดุลสัดส่วน โมลไซยาไนด์ต่อสังกะสีที่ถูกดูดซับบนนิกเกิลออกไซด์เป็นไปตามรูปสารประกอบเชิงซ้อนสังกะสีไซยาไนด์ที่มีในระบบ โดยที่อัตราส่วนไซยาไนด์:โครเมียม: สังกะสี เท่ากับ 50:20:100 มีค่า 1:1 อัตราส่วน 100:20:100 มีค่า 1.5:1 และ อัตราส่วน 200:20:100 มีค่า 3:1 ตามลำดับ ผลการทดลองแบบต่อเนื่องพบว่านิกเกิลออกไซด์มีประสิทธิภาพในการดูดซับไซยาไนด์และสังกะสีมากกว่าอะลูมินา ที่ อัตราการไหล 8 และ 4 มิลลิลิตรต่อนาที พบว่าเวลาสัมผัสที่มากขึ้นมีผลให้ความ สามารถในการดูดซับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ความเข้มข้นไซยาไนด์ที่มากเกินพอมีผลรบกวนการดูดซับสารประกอบเชิงซ้อน สังกะสีไซยาไนด์ ทำให้ความสามารถในการดูดซับไซยาไนด์และสังกะสีลดลงที่จุดเบรคทรู (Break through) สัดส่วน โมลไซยาไนด์ต่อสังกะสีที่ถูกดูดซับบนนิกเกิลออกไซด์ เป็นไปตามรูปของสารประกอบเชิงซ้อนสังกะสีไซยาไนด์ที่มีในระบบ ซึ่งอัตราส่วน ต่างๆ มีค่าใกล้เคียงกับการทดลองแบบแบตซ์


การแทรกตัวของเถ้าลอยลิกไนต์ในช่องระหว่างเม็ดดินของดินนา, อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ, ตวงสรวง สกุลกลจักร, ธวัชชัย ณ นคร, จินดารัตน์ ชื่นรุ่ง Jul 2026

การแทรกตัวของเถ้าลอยลิกไนต์ในช่องระหว่างเม็ดดินของดินนา, อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ, ตวงสรวง สกุลกลจักร, ธวัชชัย ณ นคร, จินดารัตน์ ชื่นรุ่ง

Applied Environmental Research

การศึกษาถึงการแทรกตัวของเถ้าลอยลิกไนต์ต่อสมบัติทางกายภาพของดินนาในแปลงนาเกษตรกรตำบลดอนยอ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ซึ่งพื้นที่นาบางส่วนเคยเติมเถ้าลอยลิกไนต์มาแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2541 ด้วยแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design ทำ 3 ซ้ำ โดย เดิมเถ้าลอยลิกไนต์อัตรา 2 ตัน/ไร่ และปุ๋ยเคมีอัตรา 25 กก./ไร่ ลงในพื้นที่ที่เคยเติมเถ้าลอยลิกไนต์ เก็บตัวอย่างดินภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวแล้วมาศึกษาวิจัยพบว่า เถ้าลอยลิกไนต์ที่เติมลงในดินนาได้แทรกตัวอยู่ในช่องระหว่างเม็ดดิน มีส่วนทำให้ปริมาณน้าที่พืชใช้ประโยชน์ได้ในดินที่ไม่ เคยเดิมเถ้าลอยลิกไนต์เพิ่มขึ้นจาก 2.62 เป็น 3.26 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ทั้งนี้ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้จะมากที่สุด (3.65 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร) เมื่อเติมเถ้าลอยลิกไนต์ลงในพื้นที่เดิมอีกครั้งร่วมกับปุ๋ยเคมี สำหรับความหนาแน่นรวมของดินนา (1.09 ก./ลบ.ซม.) ลดลงเมื่อเดิมเถ้าลอยลิกไนต์ (1.05 ก./ลบ.ซม.) และเพิ่มขึ้นเมื่อ เติมปุ๋ยเคมี (1.07 ก./ลบ.ซม.) ดังนั้น การแทรกตัวของเถ้าลอยลิกไนต์ในช่องระหว่างเม็ดดินของดินนาน่าจะช่วยส่งเสริมให้เพิ่มปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ ลดความหนาแน่นรวม และเพิ่มความพรุนของดินนา โดยไม่เปลี่ยนแปลงเนื้อดินซึ่งเป็นดินเหนียว


การวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการประเมินวัฏจักรชีวิตของการผลิตกระดาษในประเทศไทย: กรณีศึกษาที่ 1 การผลิตกระดาษลอนลูกฟูกด้วยกระบวนการผลิตที่มีรายละเอียดการใช้วัตถุดิบการผลิตต่างๆ กัน, พรทิพย์ วงศ์สุโชโต, คุณาวุฒิ บุญญานพคุณ, วิทย์ สุนทรนันท์, พรพจน์ เปี่ยมสมบูรณ์, ประเสริฐ ภวสันต์ Jul 2026

การวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการประเมินวัฏจักรชีวิตของการผลิตกระดาษในประเทศไทย: กรณีศึกษาที่ 1 การผลิตกระดาษลอนลูกฟูกด้วยกระบวนการผลิตที่มีรายละเอียดการใช้วัตถุดิบการผลิตต่างๆ กัน, พรทิพย์ วงศ์สุโชโต, คุณาวุฒิ บุญญานพคุณ, วิทย์ สุนทรนันท์, พรพจน์ เปี่ยมสมบูรณ์, ประเสริฐ ภวสันต์

Applied Environmental Research

การประเมินวัฏจักรชีวิตกระดาษในงาน วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อได้ทราบผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการผลิตกระดาษ ลูกฟูกแบบต่าง ๆ โดยทำการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการประเมินวัฏจักรชีวิตสำหรับการผลิตกระดาษเพื่อสร้างฐานข้อมูล โดย กำหนดขอบเขตการประเมินวัฏจักรชีวิตให้สิ้นสุดที่ผลิตภัณฑ์กระดาษเท่านั้น โดยยังไม่คำนึงถึงขั้นตอนการจำหน่าย การใช้งาน และการจัดการของเสียจากการใช้กระดาษสำหรับประเภทของกระดาษที่เสือกศึกษาในโครงการนี้คือกระดาษลอนลูกฟูก ซึ่งข้อมูลการผลิตกระดาษและเยื่อกระดาษเป็นข้อมูล ปฐมภูมิที่ได้จากความร่วมมือของโรงงานในกลุ่มการผลิตเยื่อและกระดาษ ส่วนข้อมูลการผลิตในช่วงวัฏจักรชีวิตอื่น ๆ นั้นจะเป็นข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากรายงานวิจัยอื่น ได้แก่ NOH Report 9523 (1996), GRI Reports (2003) ส่วนการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้จัดจำแนกตามกลุ่มผลกระทบ (Impact categories) 7 กลุ่มด้วยกัน คือ การเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก หรือ ภาวะโลกร้อน (Greenhouse effect หรอ Global warming) การลดลงของปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศ (Ozone layer depletion) การ เกิดปรากฏการณ์ฝนกรด (Acidification) การปลดปล่อยโลหะหนัก (Heavy metals) การปลดปล่อยสารก่อมะเร็ง (Carcinogens substance) การเกิดโอโซนบนชั้นผิวโลก (Summer smog) การบริโภคทรัพยากรเชื้อเพลิงสิ้นเปลืองหรือพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป (Energy resource depletion) และทำการเปรียบเทียบผลการประเมินจากการผลิตกระดาษลอนลูกฟูกที่มีรายละเอียดการผลิตต่างกัน เพื่อที่จะได้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากประเมินวัฏจักรชีวิต


Benzene Toluene And Xylene In Gasoline Automobile Emissions, Teerawet Titseesang, Noppaporn Panich, Thitima Rungratanaubon Jul 2026

Benzene Toluene And Xylene In Gasoline Automobile Emissions, Teerawet Titseesang, Noppaporn Panich, Thitima Rungratanaubon

Applied Environmental Research

The exhaust emissions of the air toxic benzene, toluene and xylene (BTX) from gasoline automobiles with and without catalytic converter have been measured in the idle mode condition. The exhaust gas samples from tailpipe were collected by tedlar bag in the vacuum box. The automobile samples were classified into four different groups as follows : (1) the new automobile (less than 5 years old) with catalytic converter, (2) moderate-age automobile (5-10 years old) with catalytic converter, (3) the moderateage automobile (5-10 years old) without catalytic converter and (4) the old automobile (more than 10 years old) without catalytic converter. The …


การกระจายอำนาจในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ Jul 2026

การกระจายอำนาจในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, สุนีย์ มัลลิกะมาลย์

Applied Environmental Research

บทบาท อำนาจ และหน้าที่ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ในการพิทักษ์รักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย นั้นเป็นไปตามหลักการการกระจายอำนาจ ซึ่งมีกฎหมายรองรับที่สำคัญ 2 ฉบับคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 290 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และหลักการนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นก็มีความคล้ายคลึงกับของไทย ที่ยอมรับว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบนั้นจำเป็นต้องมีการกระจายอำนาจจากราชการส่วนกลางสู่ส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่มีความเกี่ยวพันโดยตรง กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จากการวิจัยพบว่า อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น อยู่ภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 2 กลุ่มคือ กลุ่มกฎหมายที่มีบทบัญญัติกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว กับกลุ่มกฎหมายที่ยังไม่ได้มีการกระจายอำนาจให้แด่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคด้านการถ่ายโอนภารกิจด้านนี้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ ดังนั้นการวิจัยจึงได้มีข้อเสนอให้ปรับปรุงแก้ไขภายใต้แนวทาง ดังนี้
1. แนวทางการดำเนินการปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย โดยกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มแข็งเป็นรูปธรรม เช่น การจัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ปกครอง การเข้าร่วมพิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการริเริ่มโครงการหรือกิจการการมีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย เป็นต้น
2. แนวทางการปรับปรุงแก้ไขแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2545 โดยการปรับปรุงแก้ไขภารกิจเพียงเท่าที่มีอยู่ และหากจะเพิ่มภารกิจใหม่ ก็ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ด้านการ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3. แนวทางการเพิ่มพูนความรู้ด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อมแก่บุคลากรองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการจัดทำหลักสูตรอบรมความรู้ด้านการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมแก่ผู้บริหารระดับนโยบาย และผู้ปฏิบัติงานขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น


ศักยภาพที่ก่อมลพิษต่อประสิทธิภาพการใช้หญ้าแฝกบำบัดน้ำเสีย, มงคล ต๊ะอุ่น, สันติภาพ ปัญจพรรค์, พัชรี ธีรจินดาขจร, วันเพ็ญ วิโรจน์กูฎ Jul 2026

ศักยภาพที่ก่อมลพิษต่อประสิทธิภาพการใช้หญ้าแฝกบำบัดน้ำเสีย, มงคล ต๊ะอุ่น, สันติภาพ ปัญจพรรค์, พัชรี ธีรจินดาขจร, วันเพ็ญ วิโรจน์กูฎ

Applied Environmental Research

การประยุกต์ใช้หญ้าแฝกในการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียของหนองน้ำที่เกิดจากแหล่งศักยภาพที่ก่อมลภาวะที่แตกต่าง กันคือ 1) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษมากที่สุด 2) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษมาก 3) ระยะทาง/ศักยภาพที่ ได้รับมลพิษปานกลาง และ 4) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษน้อย โดยใช้หญ้าแฝกพันธุ์สงขลา 3 เป็นการวางแผนการทดลอง แบบ RCBD 3 ซ้ำ การศึกษาพบว่าหญ้าแฝกสามารถทำให้ค่า TDS, EC และ pH เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยไปในทางที่ดี ขณะที่ค่า DO และ BOD มีการเปลี่ยนแปลงมากตามฤดูกาลโดยเฉพาะฤดูร้อนมีผลกระทบ มาก เช่น 1) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษมากที่สุด 2) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษมาก 3) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษปานกลางและ 4) ระยะทาง/ ศักยภาพที่ได้รับมลพิษน้อย มีค่า BOD เฉลี่ยเท่ากับ 85, 84, 68 และ 76 มก./ลิตร ตามลำดับ ขณะที่แหล่งมลพิษมีค่าเท่ากับ 398 มก./ลิตร ส่วนค่า DO มีค่าเท่ากับ 3.2, 3.3, 3.8 และ 4.1 มก./ลิตรตามลำดับ ขณะ ที่แหล่งมลพิษมีค่าเท่ากับ 2.9 มก./ลิตร หญ้าแฝกสามารถเจริญเติบโตได้ดีในน้ำเสียแม้จะอยู่บนหนองน้ำเป็นเวลานานถึง 12 เดือนโดยทำให้การเจริญเติบโตทางด้านลำต้น (น.น.แห้ง) เฉลี่ยเท่ากับ 16.72 กก./ ตร.ม. ขณะที่รากมีค่าเท่ากับ 5.33 กก./ตร.ม.


การกำจัดไอออนตะกั่วจากน้ำเสียด้วยตะกอนจุลินทรีย์, ชยาภาส ทับทอง Jan 2026

การกำจัดไอออนตะกั่วจากน้ำเสียด้วยตะกอนจุลินทรีย์, ชยาภาส ทับทอง

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการกำจัดไอออนตะกั่วของ ตะกอนจุลินทรีย์ที่ไม่มีชีวิต โดยการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารละลายเริ่มต้นและปริมาณการใช้ตะกอนจุลินทรีย์ ตะกอน จุลินทรีย์ที่ใช้เป็นวัสดุดูดซับในการทดลองนี้มี 3 ชนิด โดย 2 ชนิดแรก คือ AS-P และ MUR-P ได้จากระบบบำบัดน้ำเสีย Activated Sludge และ Upflow Anaerobic Sludge Blanket ของอุตสาหกรรมน้ำอัดลม ส่วนชนิดที่ 3 คือ CASS-N ได้จากระบบบำบัดน้ำเสีย Cyclic Activated Sludge System ของโรงควบคุมคุณภาพน้ำ กรุงเทพมหานคร ตะกอนจุลินทรีย์ที่ได้จะนำมาล้างด้วยน้ำกลั่น อบแห้งในตู้อบที่อุณหภูมิ 105°C บดและแยกขนาดให้ได้อนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 106-150 ไมโครเมตร จากผลการทดลองพบว่าการดูดซับจะเข้าสู่สมดุลที่เวลา 15 นาที โดยมีเปอร์เซ็นต์การกำจัดไอออนตะกั่วสูงถึง 94-99 เปอร์เซ็นต์ ที่ความเข้มข้นของสารละลายเริ่มต้น 60 มิลลิกรัมต่อลิตร นอกจากนี้ ยังใช้สมการไอโซเทอร์มการดูดซับของ แลงเมียร์ (Langmuir adsorption isotherm) และไอโซเทอร์มการดูดซับของฟรุนด์ลิช (Freundlich adsorption isotherm) มาใช้ ทำนายผลการทดลองพบว่าสมการไอโซเทอร์มการดูดซับทั้ง 2 สมการ สามารถใช้ทำนายผลการทดลองได้ดี ค่า KF ที่สูง แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการดูดซับไอออน ตะกั่ว ของตะกอนจุลินทรีย์ทั้ง 3 ชนิดสูง ส่วนปริมาณไอออนโลหะหนักตะกั่วที่ถูกดูดซับสูงสุด (qm) ของ AS-P, MUR-P และ CASS-N ที่ได้จากสมการไอโซเทอร์มการดูดซับของแลงเมียร์ มีค่าเป็น 253, 248 และ 247 มิลลิกรัมโลหะต่อกรัมวัสดุดูดซับ ตามลำดับ


ผลของสัดส่วนอัตราไหลเข้าต่ออัตราไหลเวียนกลับที่มีต่อประสิทธิภาพ การบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยระบบบำบัดไร้อากาศแบบอีจีเอสบี, สุชัญญา ทองเครือ, ชวลิต รัตนธรรมสกุล Jan 2026

ผลของสัดส่วนอัตราไหลเข้าต่ออัตราไหลเวียนกลับที่มีต่อประสิทธิภาพ การบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยระบบบำบัดไร้อากาศแบบอีจีเอสบี, สุชัญญา ทองเครือ, ชวลิต รัตนธรรมสกุล

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบบำบัดไร้อากาศแบบอีจีเอสบีในการบำบัดน้ำเสียชุมชน ประเภทอาคารเรียน จากอาคารเจริญวิศวกรรม คณะ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าเมื่อความเร็วไหลขึ้นคงที่เท่ากับ 4.5 ม./ชม. และเปลี่ยนแปลงสัดส่วนอัตราไหลเข้าต่ออัตราไหลเวียนกลับเป็น 1:3, 1:7, 1:1 และ 1:15 ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 69.2, 72.6, 76.3 และ 74.6% ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการกำจัดบีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 72.7, 73.5, 76.6 และ 75.6% ตามลำดับ และประสิทธิภาพในการกำจัดของแข็งแขวนลอยเฉลี่ยเท่ากับ 74.0, 77.4, 81.7 และ 73.3% ตามลำดับและคุณภาพน้ำทิ้งออกจากระบบอีจีเอสบีผ่านมาตรฐานน้ำทิ้งอาคาร


พฤติกรรมการเคลื่อนที่ของอาร์เซนิคในชั้นน้ำใต้ดิน, กิตติพงษ์ นิลบุตร, ธนัชพร อยู่ยั่งยืน, เขมรัฐ โอสถาพันธุ์, สุธา ขาวเธียร Jan 2026

พฤติกรรมการเคลื่อนที่ของอาร์เซนิคในชั้นน้ำใต้ดิน, กิตติพงษ์ นิลบุตร, ธนัชพร อยู่ยั่งยืน, เขมรัฐ โอสถาพันธุ์, สุธา ขาวเธียร

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้เป็นศึกษาพฤติกรรมการ เคลื่อนที่ของอาร์เซนิคในรูปของอาร์เซไนท์ และอาร์เซเนตในสภาวะน้ำใต้ดินโดยทำการ ทดลองกับดินตัวอย่าง 3 กลุ่มดิน คือ ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนเหนียว และ ดินร่วนปนทราย ที่ pH 4, 7 และ 10 และ ในสภาวะที่มีไอออนลบฟอสเฟตอยู่ร่วมด้วย โดยทำการทดลองแบบต่อเนื่องโดยให้สาร ละลายอาร์เซนิคไหลผ่านคอลัมภ์ดินในทิศทางไหลขึ้นที่อัตราเร็ว 15 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง จากการทดลองพบว่าอาร์เซไนท์สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วที่สุดในดินทรายร่วน รองลงมาคือในดินร่วนเหนียวปนทราย และ ช้าที่สุดในดินร่วนเหนียว และเมื่อมีไอออนฟอสเฟตร่วมด้วยในสารละลาย พบว่า ไอออนฟอสเฟตทำให้การเคลื่อนที่ของอาร์เซไนท์ผ่านคอลัมภ์ดินเร็วขึ้นมาก สำหรับ การเคลื่อนที่ของอาร์เซเนต อาร์เซเนต สามารถเคลื่อนที่ได้ช้าที่สุดผ่านคอลัมน์ดินร่วนเหนียวปนทราย และคอลัมน์ที่มีไอออนลบพบว่าฟอสเฟตทำให้การเคลื่อนที่ ของอาร์เซเนตผ่านคอลัมภ์ดินเร็วขึ้นมากและเมื่อเปรียบเทียบระหว่างอารีเซไนท์และอาร์เซเนต พบว่าที่ pH 4 ความเร็วในการเคลื่อนที่ผ่านคอลัมภ์ดินร่วนเหนียวใกล้เคียง กัน แต่ที่พีเอช 7 และ ไ0 พบว่า อารีเซไนท์เคลื่อนที่ได้ช้ากว่าอารีเซเนต


การกำจัดโครเมียมในน้ำเสียจากโรงงานฟอกหนังโดยวิธีการดูดซับทางชีวภาพ ด้วยพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช Jan 2026

การกำจัดโครเมียมในน้ำเสียจากโรงงานฟอกหนังโดยวิธีการดูดซับทางชีวภาพ ด้วยพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช

Applied Environmental Research

การทดสอบความสามารถของการใช้วัชพืชที่พบในประเทศไทย เป็นการศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการพื้นฟูสภาพพื้นที่ที่ปนเปื้อนโครเมียมในน้ำ การศึกษาเริ่มด้วยการสำรวจบริเวณพื้นที่โรงงานฟอกหนัง เพื่อคัดเลือกวัชพืชที่มีความสามารถบนพื้นฐานการสะสมโครเมียมสูงสุด วัชพืช 4 ชนิดที่ คัดเลือกใช้ในการศึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่ ได้แก่ ต้นก้างปลา (Phyllanthus reticulates) และต้นขลู่ (Pluchea indica) และ 2) กลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ได้แก่ หญ้าข้าวนก (Echinochloa colonum) และหญ้าแพรก (Cynodon dactylon) ซึ่งวัชพืชดังกล่าวที่ ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้เก็บรวบรวมมาจากพื้นที่ที่ไม่มีการปนเปื้อนของโลหะหนักโดยเฉพาะการปนเปื้อนจากโครเมียมในพื้นที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนำมาทำให้อยู่ในรูปของมวลชีวภาพ และทำการศึกษาบนแบตซ์ไอโซเทอม และการศึกษาบนคอลัมน์ โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่มีความเข้มข้นของเฮกซะวาเลนท์โครเมียมเท่ากับ 50 มก./ล. ในการศึกษาพบว่า ใบของต้นก้างปลา ต้นขลู่ หญ้าข้าวนก และ หญ้าแพรก มีความสามารถในการดูดซับเฮกซะวาเลนท์โครเมียมสูงสุดเท่ากับ 53, 45, 37 และ 34 มก./ก.มวลชีวภาพ ที่ pH 2 ณ เวลาสมดุลที่ 24 ชม. นอกจากนี้ยังพบว่า ใบของมวลชีวภาพของวัชพืชทั้ง 4 ชนิดมี ความสามารถในการดูดซับโครเมียมดีที่สุด โดยเฉพาะใบของต้นขลู่มีความสามารถในการดูดซับเฮกซะวาเลนท์โครเมียมสูงสุด เท่ากับ 51.3 มก./ก.มวลชีวภาพที่ pH 2 ณ เวลาสมดุลที่ 102 ชม. อัตราการไหล 1.3 มล./นาที


ผลกระทบของเอทานอลต่อสภาพการละลายน้ำของสารอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน, อุสารัตน์ ถาวรชัยสิทธิ์, กลิ่นสุคนธ์ สุวรรณรัตน์, พัชรินทร์ วัชรสุขกิจไพศาล, ยุพดี บรรจงกิจ, สุวัฒน์ สูงเลิศส่งฟ้า Jan 2026

ผลกระทบของเอทานอลต่อสภาพการละลายน้ำของสารอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน, อุสารัตน์ ถาวรชัยสิทธิ์, กลิ่นสุคนธ์ สุวรรณรัตน์, พัชรินทร์ วัชรสุขกิจไพศาล, ยุพดี บรรจงกิจ, สุวัฒน์ สูงเลิศส่งฟ้า

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาถึงผลของเอทานอลต่อความสามารถในการละลายน้ำของสารโมโนอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนใน กลุ่ม BTEX ซึ่งประกอบด้วยเบนซีนโทลูอีน เอทิลเบนซีน และไซลีนทั้ง 3 ไอโซเมอร์ทำการทดลองโดยเพิ่มอัตราส่วนโดยปริมาตรของเอทานอลในสารละลายผสมระหว่างสารไฮโดรคาร์บอนบริสุทธิ์ น้ำ และ เอทานอลให้มีค่าจาก 0% เป็น 25% ตามลำดับ พบว่าความเข้มข้นของ BTEX ในชั้นน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณของเอทานอลในระบบมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0% เป็น 25% โดยเปอร์เซ็นต์การละลายน้ำมีค่าสูงขึ้นถึง 73%, 120%, 140%, 151%, และ 166 %สำหรับเบนซีน โทลูอีน เอทิลเบนซีน ไซลีน (meta+para) และไซลีน (ortho) ตาม ลำดับ เมื่อพิจารณาเปอร์เซ็นต์การเพิ่มขึ้น ของสภาพการละลายน้ำสำหรับสารแต่ละตัวในกลุ่ม BTEX ในสภาวะที่มีเอทานอลเทียบกับสภาพการละลายน้ำในสภาวะที่ไม่มีเอทานอล พบว่าเปอร์เซ็นต์การละลายน้ำที่เพิ่มขึ้นแปรผกผันกับขนาดของ โมเลกุล ดังจะเห็นได้จากเปอร์เซนต์การเพิ่มขึ้นของค่าการละลายน้ำในสภาวะที่มีเอทานอลเป็นตัวทำละลายร่วมในระบบสำหรับไซลีนทั้งสามไอโซเมอร์และเอทิล เบนซีนมีค่าใกล้เคียงกัน แต่มีค่ามากกว่าโทลูอีนและเบนซีน ตามลำดับ ผลงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าเอทานอลสามารถเพิ่ม ปริมาณการปนเปื้อนของ BTEX ในน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน ในกรณีที่มีการรั่วไหลของ แก๊สโซฮอล์หรือการรั่วไหลของเอทานอล ร่วมกับ BTEX ลงสู่น้ำผิวดินหรือน้ำใต้ดิน


Property Of Lignite Fly Ash As A Substitute Of Lime Materials And Ammonia Reduction In Water, Chumlong Arunlertaree Jan 2026

Property Of Lignite Fly Ash As A Substitute Of Lime Materials And Ammonia Reduction In Water, Chumlong Arunlertaree

Applied Environmental Research

The present study investigates the use of lignite fly ash as a chemical to improve water quality in place of liming material. Two experiments were performed with freshwater and synthetic seawater. Improvement of water quality were measured by using pH and ammonia. The neutralizing value and the application rate of fly ash were studied. The results of the study indicate that the neutralizing value of fly ash is 70%, comparing to standard pure CaCO3 100%. The optimal dosage of fly ash to remove ammonia was 1 g/L. The maximum ammonia removal efficiency at 24 hours in freshwater, 30 ppt, …


The Development Of Environmental Education Model "Kapp" Concerning Natural Energy With Evaluation Model Cippif Via Mixed Media, Chaiyuth Laohachanakoor Jan 2026

The Development Of Environmental Education Model "Kapp" Concerning Natural Energy With Evaluation Model Cippif Via Mixed Media, Chaiyuth Laohachanakoor

Applied Environmental Research

The objective of the research was to develop the environmental education in knowledge, attitude, practice and participation on model “KAPP” concerning the natural energy with the evaluation model “CIPPIF” via mixed media. This research is the semi -experiential research by using three specific media channels; television (Thai Army Channel 5), radio (Bangkok F.M 101.0 MHz.) and internet (http:/www. deptofeducaton.net). The production of material was produced and broadcasted according to cost and nature of media.
The audiences from the television, radio, and internet were randomly selected to join a participation activity seminar which was hold at the end of the research. …


การศึกษาอัตราส่วนความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ภายในและภายนอกอาคาร, อรุบล โชติพงศ์ Jan 2026

การศึกษาอัตราส่วนความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ภายในและภายนอกอาคาร, อรุบล โชติพงศ์

Applied Environmental Research

ในการศึกษาอัตราส่วนความเข้มข้น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายในและภายนอก อาคาร ได้ทำการศึกษาจากสถานีตรวจวัดที่ อยู่ในบริเวณเส้นทางจราจร เพื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายในและภายนอกอาคารบริเวณจุดที่อยู่ใกล้เส้นทางคมนาคม ในช่วงเวลา 8.00-16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มีความเข้มข้นสูง ผลการตรวจวัด พบว่าอัตราส่วนความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายในและภายนอกอาคารทั้ง 4 สถานีที่ทำการศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.43-0.77 โดยสถานีตรวจวัดบริเวณวัดชัยมงคลที่ตั้งอยู่บนถนนพระราม 1 ซึ่งเป็นถนนแคบมีอาคารสูงเรียงรายอยู่ทั้งสองฟากถนน และมีปริมาณการจราจรประมาณ 59,000 คัน/ชั่วโมง มีอัตราส่วนเข้มข้นก๊าซ คาร์บอนมอนอกไซด์ภายใน/ภายนอกอาคาร เท่ากับ 0.65 สถานีตรวจวัดที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 42 บางมด เป็นอาคารที่อยู่ไกลจากถนนพระราม 2 ซึ่งเป็นถนนที่กว้าง มี อาคารไม่หนาแน่นและมีปริมาณการจราจร ประมาณ 88,000 คัน/ชั่วโมง มีอัตราส่วนก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายใน/ภายนอกอาคารเท่ากับ 0.48 ขณะที่สถานีตรวจวัดที่มูลนิธิคนตาบอดแห่งประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสี่แยกตึกชัย มีถนนพระราม 6 และ ถนนราชวิถีขนาบทั้งสองด้าน และมีทางด่วนคร่อมทับบนถนนพระราม 6 อีกชั้นหนึ่ง มีปริมาณการจราจรผ่านบริเวณนี้ทั้งหมด ประมาณ 136,395 คัน/ชั่วโมง พบว่ามีอัตราส่วนความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ภายใน/ภายนอกอาคารเท่ากับ 0.77 ซึ่งสูง กว่าทุกบริเวณที่ทำการตรวจวัด ส่วนสถานีตรวจวัดที่โรงเรียนปวโรฬารซึ่งมีปริมาณการจราจรประมาณ 63,700 คัน/ชั่วโมง มีอัตราส่วนความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายใน/ภายนอกเท่ากับ 0.43 ซึ่งน้อยกว่าทุกสถานี แม้ว่าสถานีตรวจวัดอยู่ห่างจากถนนเพียง 1 เมตรก็ตาม แต่มีรั้ว โรงเรียนที่สูงกั้นระหว่างถนนกับอาคารโรงเรียนจึงทำให้การแพร่กระจายของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าสู่บริเวณภายในได้น้อยลง และจากการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Varience) ของความเข้มข้น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ไนทุกสถานีที่ทำการ ตรวจวัดพบว่า ความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอ นอกไซด์โดยเฉลี่ยมีความแตกต่างกันระหว่างภายในและภายนอกอาคาร แต่ไม่มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างช่วง เวลาที่ตรวจวัด


การเพิ่มประสิทธิภาพในการรีดน้ำของตะกอนโดยใช้กระบวนการแอดวานซ์ออกซิเดชั่น (Improvement Of Dewaterability Of Sludge Using Advanced Oxidation Processes)", ปาริฉัตร มาลีวงษ์, สุธา ขาวเธียร Jul 2025

การเพิ่มประสิทธิภาพในการรีดน้ำของตะกอนโดยใช้กระบวนการแอดวานซ์ออกซิเดชั่น (Improvement Of Dewaterability Of Sludge Using Advanced Oxidation Processes)", ปาริฉัตร มาลีวงษ์, สุธา ขาวเธียร

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการรีดน้ำของตะกอนน้ำเสียชุมชนโดยใช้กระบวนการแอดวานซ์ออกซิเดชั่น 2 วิธีซึ่งได้แก่ การเติมสารเคมีของเฟนตันและการใช้แสงอัลตร้าไวโอเลตร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ดัชนีที่ใช้วัดประสิทธิภาพการรีดน้ำของตะกอนได้แก่ ค่าความต้านทานจำเพาะของตะกอน และปริมาณน้ำในตะกอนที่ถูกรีดออก การทดลองได้กำหนดปัจจัยที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการรีดน้ำของตะกอนเพื่อศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุด สำหรับวิธีการเติมสารเคมีของเฟนตันปัจจัยดังกล่าวได้แก่ อัตราส่วนความเข้มข้นของเฟอรัสไอออนต่อไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Fe2+:H2O2) ค่าพีเอช และเวลาในการทำปฏิกิริยา สำหรับวิธีการใช้แสงอัลตราไวโอเลตร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ปัจจัยดังกล่าวได้แก่ ค่าพีเอช เวลาในการทำปฏิกิริยา และปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ผลการศึกษาสำหรับวิธี การเติมสารเคมีของเฟนตันพบว่าที่อัตราส่วนความเข้มข้น Fe2+:H2O2 เท่ากับ 2:1 ค่าพีเอชในช่วง 3-5 และ เวลาในการทำปฏิกิริยาเท่ากับ 10 นาทีจะให้ค่าประสิทธิภาพการรีดน้ำที่เหมาะสมที่สุด ส่วนผลของวิธีการ ใช้แสงอัลตราไวโอเลตร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ระบุว่าที่ปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เท่ากับ 100% ซีโอดีโดยน้ำหนัก ค่าพีเอชในช่วง 3-5 และเวลาในการทำปฏิกิริยาเท่ากับ 30 นาทีมีประสิทธิภาพในการ รีดน้ำดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของทั้งสองวิธีที่ปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เท่ากันพบว่าที่พีเอชในช่วง 3-5 ทั้งสองวิธีให้ประสิทธิภาพการรีดน้ำดีที่สุดโดยวิธีเติมสารเคมีของเฟนตันมีประสิทธิภาพสูงกว่า และเมื่อค่าพีเอชเพิ่มขึ้นกลับพบว่าตะกอนที่ผ่านวิธีการใช้แสงยูวีร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มี แนวโนัมที่จะสามารถรีดน้ำได้ดีกว่าวิธีเติมสารเคมีของเฟนตัน


การจัดการปุ๋ยและศัตรูพืชในสนามกอล์ฟ (Fertilizer And Pest Management On Golf Courses), อุรบล โชติพงศ์, พีระวรรณ พัฒนวิภาส Jul 2025

การจัดการปุ๋ยและศัตรูพืชในสนามกอล์ฟ (Fertilizer And Pest Management On Golf Courses), อุรบล โชติพงศ์, พีระวรรณ พัฒนวิภาส

Applied Environmental Research

การศึกษาการใช้ปุ๋ยและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของสนามกอล์ฟโดยการสัมภาษณ์ผู้ดูแลสนามพบว่า สนามกอล์ฟในส่วนงานราชการ มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสนาม ส่วนใน สนามกอล์ฟของเอกชนที่ต้องการเน้นให้เห็นความสวยงามของสนามหญ้าส่วนมากมีการนำปุ๋ยเคมีซึ่งมีราคาแพงมาใช้ โดยเน้นการใช้ที่กรีนเป็นหลักเนื่องจากเป็นจุดสำคัญที่สุดของสนามกอล์ฟ การเลือกประเภทของปุ๋ยเคมีมีความแตกต่างกันไปตามพื้นที่ของสนาม ฤดูกาล และประเภทของหญ้า ส่วนวิธีการกำจัดศัตรูพืชที่สนามกอล์ฟส่วนใหญ่นำมาใช้ คือ การใช้สารเคมี ซึ่งจะใช้เฉพาะจุดที่มีความสำคัญ เช่น กรีน ส่วนในบริเวณอื่นๆจะให้ความสำคัญน้อยลงเช่น แฟร์เวย์ ราฟ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในสนามกอล์ฟ มีแนวการใช้แยกเป็น 2 ประเภท คือ เพื่อป้องกันศัตรูพืช และเพื่อกำจัดศัตรูพืชเมื่อเกิดการระบาดขึ้นแล้ว นอกจากนี้ยังได้มีการนำวิธีทางชีวภาพเช้ามาใช้สำหรับกำจัดแมลงในสนามหญ้า แนวทางการจัดการการใช้ ปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืชของสนามกอล์ฟ ได้แก่ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งนี้เพื่อทำให้ดินอยู่ในสภาพดีเหมาะกับการเจริญของจุลินทรีย์ สัตว์ในดิน พร้อมทั้งการทำเกษตรกรรม ซึ่งจะช่วยปรับระบบนิเวศภายในสนามทำให้ศัตรูพืชลดลง การใช้หญ้าพันธุ์พื้นเมือง การใช้สารเคมีเฉพาะพื้นที่ประกอบกับความเชี่ยวชาญของผู้ดูแลสนามจะทำให้ปริมาณสารเคมีที่ใช้ลดลง การกำจัดศัตรูพืชแบบธรรมชาติกิเป็นอิกวิธีหนึ่งซึ่งจะช่วยลด การใช้สารเคมีและค่าใช้จ่ายการดูแลสนามให้ลดลง