Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 168

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิตในเรือนจำของ "แพะ" ในคดีอาญา, สุพรรณี อ่วมวงษ์ Jan 2018

การเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิตในเรือนจำของ "แพะ" ในคดีอาญา, สุพรรณี อ่วมวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิตในเรือนจำของ "แพะ" ในคดีอาญาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษากระบวนการปรับตัวของ "แพะ" ในคดีอาญาก่อนถูกคุมขังและระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำ 2) ศึกษาปัญหาในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม "แพะ" ในคดีอาญา 3) ศึกษาผลกระทบของ "แพะ" และครอบครัวของ "แพะ" ในคดีอาญา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) เป็นเครื่องมือหลักในการรวบรวมข้อมูล โดยเป็นการศึกษาวิจัยผ่านเรื่องเล่า (narrative) ของผู้ตกเป็น "แพะ" ในคดีอาญา ศึกษาปัญหาในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และศึกษาผลกระทบของผู้ตกเป็น "แพะ"และครอบครัวของผู้ตกเป็น "แพะ" ในคดีอาญา จากการศึกษาวิจัย มีข้อค้นพบดังต่อไปนี้ (1) กระบวนการปรับตัวของผู้ตกเป็น "แพะ" ในคดีอาญา มีองค์ประกอบ 2 ประการ ได้แก่ 1.1 ความเป็นชนชั้นและการปรับตัวสู่เรือนจำ ซึ่งประกอบด้วย ชนชั้นของผู้มีฐานะทางสังคมและผู้ที่มีฐานะทางสังคมที่ด้อยกว่า จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้บริสุทธิ์ตกเป็น "แพะ" ในคดีอาญาโดยมีจุดเปลี่ยน 3 ประการ ได้แก่ การเข้าไปอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ การรู้จักกับผู้กระทำผิดหรืออาชญากร และการตกเป็น "แพะ" จากความบกพร่องของกระบวนการยุติธรรม ความวิตกกังวลก่อนเข้าสู่เรือนจำเกิดขึ้น 2 ประการ คือ ความวิตกกังวลต่อตนเอง ความวิตกต่อสมาชิกในครอบครัว 1.2 สภาพแวดล้อมในเรือนจำที่ส่งผลต่อการปรับตัว ได้แก่ มิติเชิงพื้นที่ คือ พื้นที่ภายในบริเวณเรือนจำเนื่องจากมีผู้ต้องขังเป็นจำนวนมากทำให้รู้สึกแออัดทางร่างกายและจิตใจ มิติการปฏิสัมพันธ์ซึ่งเป็นการสนทนาระหว่างผู้ต้องขังรายอื่นมีการเล่าประสบการณ์ของแต่ละคนอาจทำให้ลดความวิตกกังวลและทำให้ไม่สามารถลดความเครียดลงได้เช่นกัน กฎระเบียบที่เคร่งครัด ผู้ที่ตกเป็น "แพะ" และผู้ต้องขังรายอื่นต้องปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัดซึ่งกฎระเบียบมีทั้งผลดีและผลเสีย ซึ่งผลดีคือการทำให้เกิดความสงบในการอยู่ในเรือนจำส่วนผลเสียก่อให้เกิดความเครียด ความกดดันในการใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ และกิจกรรมภายในเรือนจำ ซึ่งทุกเรือนจำจะมีการจัดกิจกรรมให้ผู้ตกเป็น "แพะ"ได้เข้าร่วม ได้แก่ กิจกรรมตามเทศกาลต่างๆ กิจกรรมทางศาสนา ทำงานตามกองงานต่างๆ ซึ่งการทำงานในกองงานนั้นเพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีจิตใจที่สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน และทำให้ร่างกายแข็งแรง (2) กระบวนการปรับตัวระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำ มีองค์ประกอบ 8 ประการ ดังนี้ 2.1 ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการปรับตัว …


ความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าเครื่องสำอางชั้นนำกับภาพลักษณ์ผู้บริโภคของผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอกซ์ และ ผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอ็ม, ศรัณรักษ์ โรจนวิทย์สกุล Jan 2018

ความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าเครื่องสำอางชั้นนำกับภาพลักษณ์ผู้บริโภคของผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอกซ์ และ ผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอ็ม, ศรัณรักษ์ โรจนวิทย์สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางชั้นนำของผู้บริโภคผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอกซ์ และ ผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอ็ม 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ตราสินค้าเครื่องสำอางชั้นนำกับภาพลักษณ์ผู้บริโภคกลุ่มผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอกซ์ และ ผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอ็ม และ 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางชั้นนำระหว่างผู้หญิงกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์กับผู้หญิงกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอ็ม ใช้วิธีการวิจัยแบบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย (Focus Group Interview) จำนวน 4 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอกซ์ 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน และกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอ็ม 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าผู้หญิงกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอกซ์และผู้หญิงกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอ็มมีพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางชั้นนำที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ขั้นตอนก่อนการซื้อ ผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มมีการสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องสำอางชั้นนำผ่านสื่อออนไลน์ และมีการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้ากับครอบครัวและเพื่อน ๆ ขั้นตอนการซื้อ ผู้หญิงทั้ง 2 กลุ่มมักซื้อเครื่องสำอางชั้นนำที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำเป็นหลัก รองลงมาเป็นการซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ ซึ่งพบความแตกต่างคือกลุ่มผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอ็มจะมีการซื้อสินค้าผ่านร้านค้าตัวแทนจำหน่าย เนื่องจากมีราคาถูกกว่าและมีขนาดของผลิตภัณฑ์หลากหลายมากกว่า และขั้นตอนหลังการซื้อ ผลทางด้านจิตใจผู้หญิงทั้งสองกลุ่มรู้สึกพอใจต่อสินค้า และภาพลักษณ์ของตนเองเมื่อบริโภคเครื่องสำอางชั้นนำ ด้านการบริโภคมีความแตกต่างกันระหว่างผู้หญิง 2 กลุ่ม กลุ่มผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอกซ์บริโภคสินค้าตามความต้องการ ไม่มีการวางแผน ซึ่งแตกต่างกับกลุ่มผู้หญิงเจนเนอเรชั่นเอ็มที่มีการวางแผนการใช้เครื่องสำอางชั้นนำเพื่อยืดอายุการใช้งานของสินค้าให้ได้ยาวนานที่สุด ด้านความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้าเครื่องสำอางชั้นนำและภาพลักษณ์ผู้บริโภค ผู้วิจัยพบลักษณะความสัมพันธ์ 2 ลักษณะ คือ การฉายภาพลักษณ์ผู้บริโภคผ่านภาพลักษณ์ตราสินค้า ในลักษณะนี้ผู้บริโภคมีภาพลักษณ์เหมือนกับภาพลักษณ์ตราสินค้า บริโภคเครื่องสำอางชั้นนำเพื่อฉายภาพลักษณ์ของตนเองให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และการยืมภาพลักษณ์ตราสินค้าเพื่อเสริมภาพลักษณ์ผู้บริโภค เป็นการบริโภคเครื่องสำอางชั้นนำเพื่อยืมภาพลักษณ์ตราสินค้ามาเพื่อสนับสนุนภาพลักษณ์ของตนเอง โดยผู้บริโภคต้องการที่จะมีภาพลักษณ์เหมือนกับภาพลักษณ์ตราสินค้าเครื่องสำอางชั้นนำ


Stakeholder Analysis Of Socioeconomic Impacts On Chiang Rai-Chiang Khong Rail Project In Chiang Rai Province, Tanthita Sukhopala Jan 2018

Stakeholder Analysis Of Socioeconomic Impacts On Chiang Rai-Chiang Khong Rail Project In Chiang Rai Province, Tanthita Sukhopala

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research are (1) to study the impacts of Chiang Rai - Chiang Khong rail project on Chiang Rai provinces, especially the social and economic impacts which are caused by the rail project, positively and negatively and (2) to analyze advantages and disadvantages of Chiang Rai - Chiang Khong rail project on Chiang Rai province. The scope of study covers 2 main areas including (1) the search for different impacts in 3 different train station areas and (2) the search for different impacts between local people who live within 5 kilometers of the area where train station …


Role Of Global Production Networks On Development Of Automotive Industry In Selected Asean Countries, Wachara Jongkraijak Jan 2018

Role Of Global Production Networks On Development Of Automotive Industry In Selected Asean Countries, Wachara Jongkraijak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper investigates the impact of Global Production Networks (GPNs) on the industrial development in 3 aspects; domestic value added, labor productivity, and export performance, employing Trade in Value Added database at the country-sector level from Organization for Economic Cooperation and Development (OECD). The estimation is based on pooled time series, cross section and period fixed effect covering Automotive industry in 4 selected ASEAN countries; Thailand, Indonesia, Malaysia, and Philippines from 1995 to 2016. The results suggest that Thailand can exploit the benefit from GPNs through task specialization and economies of scales, at the same time expanding the domestic capacity. …


Factors Affecting Employment Generation Rate And Sales Growth Rate : A Case Study Of Bangladeshi Firms, Sakhawat Islam Jan 2018

Factors Affecting Employment Generation Rate And Sales Growth Rate : A Case Study Of Bangladeshi Firms, Sakhawat Islam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Bangladesh has shown significant improvement to develop its economy over the past decades. It is one of the developing countries which is an excellent example to the policymakers and specialists working in development sectors. Moreover, the significant contribution was made by firms running the business in Bangladesh to gain this success. This study examines few factors which include the gender of the owner of the organizations, the characteristics of the organizations, possible obstacles faced by and the preferred sources of capital to run the business by the firms, employees employed in the year of 2002 and 2005, and their annual …


Tea Culture Tourism In Southeast Asia : A Comparative Study Of Mae Salong In Thailand And Thai Nguyen In Vietnam, Yanling Guo Jan 2018

Tea Culture Tourism In Southeast Asia : A Comparative Study Of Mae Salong In Thailand And Thai Nguyen In Vietnam, Yanling Guo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study attempts to explore the development of tea planting and producing, and tea culture tourism in Mae Salong in Thailand and Thai Nguyen in Vietnam. The findings reveal that tea planting in Mae Salong is derived from KMT villagers in northern Thailand who initially planted tea for livelihood, later developed as a cash crop for substituting opium and reducing soil erosion under the cooperation between the Royal Project and Taiwanese organizations. Nowadays, tea in Mae Salong is selected as "OTOP" and marketed as tourism resources to attract tourists. The tea culture tours in Mae Salong are usually organized with …


The Relationship Between Facebook Users' Motivation On Environmental Issues, Environmental Awareness And Behavioral Tendency In Vietnam, Linh Nguyen Ba Tue Jan 2018

The Relationship Between Facebook Users' Motivation On Environmental Issues, Environmental Awareness And Behavioral Tendency In Vietnam, Linh Nguyen Ba Tue

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research were to study the Facebook users' motivation on environmental issues, their environmental awareness and behavioral tendency in Vietnam and to explore the relationship among these three variables. Three social media influencers who had more than 10,000 followers on their Facebook profiles, demonstrated open, explicit environmentally-friendly lifestyle and achieved certain media recognition were invited to join in-depth interviews. Four hundred and fifty eight Vietnamese male and female respondents, aged between 18 and 45 years old and currently residing in Vietnam, were asked to complete an online and offline questionnaire survey. The results depicted that the respondents …


แนวโน้มในการท่องเที่ยวซ้ำ และความตั้งใจที่จะชักชวนผู้อื่นให้มาท่องเที่ยว: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน, จิรภัทร สุคันธมาลา Jan 2018

แนวโน้มในการท่องเที่ยวซ้ำ และความตั้งใจที่จะชักชวนผู้อื่นให้มาท่องเที่ยว: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน, จิรภัทร สุคันธมาลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การท่องเที่ยวของจังหวัดน่านเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางบวกอย่างมากในปัจจุบัน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยระหว่างปี 2552-2560 สูงเป็นอันดับ 3 ของ 9 จังหวัดภาคเหนือ นอกจากนี้ จังหวัดน่านยังถูกเลือกให้เป็น 1 ใน 12 เมืองต้องห้ามพลาด โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จากศักยภาพของจังหวัดน่านข้างต้นนี้ จึงนำมาสู่วัตถุประสงค์หลักในการวิจัยที่ต้องการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อแนวโน้มในการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ และความตั้งใจในการชักชวนผู้อื่นให้มาท่องเที่ยว โดยการใช้แบบจำลองอรรถประโยชน์ ที่มีตัวแปรอิสระเป็นปัจจัยด้านความพึงพอใจ ปัจจัยเชิงพฤติกรรมการท่องเที่ยวในอดีต และคุณลักษณะส่วนตัวของนักท่องเที่ยว ขณะที่ตัวแปรตามคือแนวโน้มในการท่องเที่ยวซ้ำ และความตั้งใจที่จะชักชวนผู้อื่นให้มาท่องเที่ยว โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการเก็บแบบสอบถาม ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวทั้งหมด 302 คน ผลการศึกษาที่ได้ พบว่า ปัจจัยด้านความพึงพอใจในแหล่งท่องเที่ยวส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อแนวโน้มในการท่องเที่ยวซ้ำ และความตั้งใจที่จะชักชวนผู้อื่นให้มาท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน ความพึงพอใจในปัจจัยด้านที่พักส่งผลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อแนวโน้มในการท่องเที่ยวซ้ำ อีกทั้ง ความพึงพอใจในสิ่งอำนวยความสะดวกของการท่องเที่ยวยังส่งผลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อความตั้งใจที่จะชักชวนผู้อื่นให้มาท่องเที่ยว นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวที่มีพฤติกรรมชอบท่องเที่ยวภูเขาในอดีต มีความตั้งใจที่จะชักชวนผู้อื่นให้มาท่องเที่ยวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในทางตรงกันข้าม นักท่องเที่ยวที่พิจารณาอุณหภูมิของสถานที่ท่องเที่ยวก่อนเดินทางอยู่บ่อยครั้ง มีความตั้งใจที่จะชักชวนผู้อื่นให้มาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ


“สันติภาพของเธอ”: การเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพของสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย, ภัสสรา บุญญฤทธิ์ Jan 2018

“สันติภาพของเธอ”: การเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพของสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย, ภัสสรา บุญญฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์สี่ประการคือ 1) อธิบายพัฒนาการการปฏิบัติการทางสังคมของกลุ่มผู้หญิงคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ 2) สังเคราะห์ความหมายของสันติภาพของคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ 3) วิเคราะห์การทำงานของคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ ในการขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพที่สัมพันธ์กับมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (the United Nations Security Council: UNSC) หมายเลข 1325 และ 4) วิเคราะห์เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยและที่ท้าทายการดำเนินกิจกรรมเพื่อสันติภาพของกลุ่มผู้หญิงภาคประชาสังคมในนามของคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ ผลการศึกษาพบว่าคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ก่อตัวขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายที่เกิดขึ้นทั้งก่อนสถานการณ์ความไม่สงบระลอกใหม่ในปี 2547 ผ่านการชักจูงของเจ้าหน้าที่แหล่งทุนและการเชิญชวนปากต่อปากของพวกเธอในช่วงเวลาที่สุกงอมเพื่อสร้างเวทีเชิงประเด็นของผู้หญิงที่ขับเคลื่อนประเด็นสันติภาพให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมา งานด้านสันติภาพและความหมายสันติภาพของพวกเธอเติบโตจากสันติภาพประเด็นเย็นเช่นงานเยียวยาไปสู่งานสันติภาพประเด็นร้อนคือประเด็นความมั่นคงสะท้อนจากผลลัพธ์การทำงานของพวกเธอนั่นคือข้อเสนอพื้นที่สาธารณะปลอดภัยและข้อเสนอสภาวะที่เอื้อต่อการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ การทำงานของพวกเธอเมื่อพิจารณาตามมติ 1325 พบว่าต้องเจอกับข้อท้าทายมากมายทั้งข้อท้าทายภายในองค์กรและอีกทั้งยังพบว่าพวกเธอต้องทำงานต่อรองกับนโยบายระดับชาติด้านความมั่นคงที่เลี่ยงการเรียกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยคำว่าพื้นที่ขัดแย้งทางกำลังอาวุธและปัญหาการขาดความตระหนักรู้มิติความสัมพันธ์หญิงชายในพื้นที่ แต่ด้วยข้อสนับสนุนหลายๆประการและการเรียนรู้ที่จะประนีประนอมกับข้อท้าทายต่างๆ ทำให้พวกเธอได้ก้าวออกมาจากการทำงานสันติภาพแบบไม่เป็นทางการซึ่งเป็นการเปลี่ยนสถานะจากผู้ที่อยู่วงนอกของกระบวนการสันติภาพมาเป็นตัวแสดงที่กำลังเคลื่อนที่เข้าสู่วงในของกระบวนการสันติภาพ


สารัตถะและความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณ, อรุณวรรณ คงมีผล Jan 2018

สารัตถะและความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณ, อรุณวรรณ คงมีผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาสารัตถะและความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณจากงานนิพนธ์ว่าด้วยศาสตร์แห่งอัญมณีที่บรรจุแทรกในวรรณคดีสันสกฤตประเภทศาสตร์ 5 เรื่อง ได้แก่ อรรถศาสตร์ของเกาฏิลยะ, พฤหัตสํหิตาของวราหมิหิระ, ยุกติกัลปตรุของโภชะ, มานโสลลาสะของโสเมศวระ และศุกรนีติสาระของศุกราจารย์ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือ การศึกษาสารัตถะ โดยมีการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลปฐมภูมิ 5 เรื่อง กับงานนิพนธ์ว่าด้วยศาสตร์แห่งอัญมณีที่เป็นเรื่องเดี่ยว ส่วนที่สองคือการศึกษาความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีในบริบทของสังคมและวัฒนธรรม โดยพิจารณาจากข้อความตัวบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องแทรกว่าด้วยศาสตร์แห่งอัญมณีกับงานนิพนธ์เรื่องหลัก รวมทั้งพิจารณาบทบาทของศาสตร์แห่งอัญมณีที่ปรากฏในงานนิพนธ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในอดีตและปัจจุบัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สารัตถะของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณ คือ การถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบและจำแนกสิ่งมีค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัญมณี นำไปสู่การประเมินมูลค่าและคุณค่า เพื่อตอบสนองความมั่นคงของราชอาณาจักร องค์ความรู้เรื่องการตรวจสอบอัญมณีจำแนกได้เป็น 4 หมวด ได้แก่ หมวดการตรวจสอบอัญมณี หมวดการประเมินค่าอัญมณี หมวดการกำหนดราคาอัญมณี และหมวดเบ็ดเตล็ดซึ่งครอบคลุมศิลปะการทำอัญมณีตลอดจนความเชื่อ และวัฒนธรรมเกี่ยวกับการใช้อัญมณี เนื้อหาสาระของตำราอัญมณีประเภทเรื่องแทรกที่นำมาศึกษาครั้งนี้ โดยมากพ้องกับตำราอัญมณีประเภทเรื่องเดี่ยว สิ่งที่แตกต่างกันคือรายละเอียดปลีกย่อยและบริบทของการนำไปใช้ซึ่งมุ่งในแวดวงของราชสำนัก ส่วนความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณนั้นแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมือง ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านภาษาและวรรณคดี และด้านการศึกษา สะท้อนให้เห็นว่า ศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณมีคุณูปการต่อสังคมในวงกว้างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงมีการสืบทอด การผลิตช้า การดัดแปลง และการอ้างอิงศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียในงานนิพนธ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน


การปฏิรูปกระบวนการนโยบายต่างประเทศของจีนในสมัชชา 18, กิตติพศ พุทธิวนิช Jan 2018

การปฏิรูปกระบวนการนโยบายต่างประเทศของจีนในสมัชชา 18, กิตติพศ พุทธิวนิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอว่า เหตุผลสำคัญที่ทำให้สมัชชา 18 ต้องทำการปฏิรูปกระบวนการนโยบายต่างประเทศของจีนที่เเต่เดิมเป็นเเบบกระจายตัวให้มีการรวมศูนย์เข้าสู่ส่วนกลางมากขึ้น คือ เเบบแผนใหม่ทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และนโยบายหันกลับสู่เอเชียของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ การปฏิรูปกระบวนการนโยบายต่างประเทศของสมัชชา 18 เป็นการปฏิรูปอย่างรอบด้าน ทั้งในระดับรัฐบาลกลาง รัฐบางท้องถิ่น และกองทัพ โดยในระดับรัฐบาลกลาง ความเปลี่ยนเเปลงสำคัญคือการเปลี่ยนเเปลงบทบาทของกลุ่มผู้นำย่อย การประกาศใช้เเผนยุทธศาสตร์เเห่งชาติด้านการต่างประเทศ เเละการสร้างกรอบความร่วมมือใหม่ทับลงไปในกรอบความร่วมมือเดิม ในระดับรัฐบาลท้องถิ่น ความเปลี่ยนเเปลงสำคัญคือ การใช้มาตรการทางการคลัง การใช้ระบบการเเบ่งหน้าที่ตามพื้นที่ เเละการเปลี่ยนเเปลงหน้าที่ของสำนักการต่างประเทศส่วนท้องถิ่น เเละในระดับกองทัพ ความเปลี่ยนเเปลงสำคัญคือ การปฏิรูปกองทัพให้คณะกรรมาธิการทหารส่วนกลางมีอำนาจที่เเท้จริงในการบัญชาการกองทัพ เเละการใช้เเนวคิดยุทธศาสตร์สามสงครามเพื่อบูรณาการฝ่ายพลเรือนเเละฝ่ายทหาร ทั้งหมดนี้ ทำให้กระบวนการนโยบายต่างประเทศของจีนมีความเป็นเอกภาพมากขึ้น เพื่อที่สมัชชา 18 จะสามารถจัดการกับปัญหาทั้งสามข้อข้างต้นได้อย่างรอบด้าน


หน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามในภาษาไทย, กมลชนก หงษ์ทอง Jan 2018

หน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามในภาษาไทย, กมลชนก หงษ์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อระบุความแตกต่างระหว่างหน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามกับนามวลีที่มีโครงสร้างเดียวกันคือ ‘คำนาม + กริยาวลี' 2) เพื่อระบุโครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ของหน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามในภาษาไทย และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีบทบาทต่อการกำหนดเงื่อนไขการปรากฏของโครงสร้างทางวากยสัมพันธ์แต่ละแบบที่ระบุได้ในข้อ 2 ผู้วิจัยได้อาศัยสมมติฐานความคงสภาพของศัพท์เพื่อทดสอบความตรึงแน่นภายในของหน่วยที่ประกอบด้วย ‘คำนาม + กริยาวลี' และคำนวณอัตราส่วนระหว่างแบบต่อรูป ความแตกต่างที่พบคือคำประสมมีอัตราส่วนระหว่างแบบต่อรูปต่ำและมีความเป็นเนื้อเดียวกันสูงจนไม่ยอมให้กระบวนการทางวากยสัมพันธ์ ได้แก่ การแทรก การขยาย การแทนที่ และการเชื่อม เข้าไปมีบทบาทต่อหน่วยย่อยภายในเพียงหน่วยใดหน่วยหนึ่งได้ ในทางกลับกัน หน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามมีอัตราส่วนระหว่างแบบต่อรูปสูงจนกระบวนการทางวากยสัมพันธ์สามารถเข้าไปมีบทบาทต่อหน่วยประกอบของมันได้ ผลการศึกษาพบว่าหน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามในภาษาไทยประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วนที่ขาดไม่ได้คือ ‘ส่วนหลัก' คือคำนามหรือนามวลี และ ‘ส่วนขยาย' คืออนุประโยค ในบางการปรากฏอาจพบ ‘ตัวนำอนุประโยค' ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน ผู้ ว่า ผู้ซึ่ง ที่ซึ่ง และ ที่ว่า นำหน้าส่วนขยาย หน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามมีกระสวนโครงสร้าง 4 แบบที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1) คำนามหลัก + ตัวนำอนุประโยค + อนุประโยคขยายที่มีตัวอ้างอิงร่วมกับคำนามหลัก 2) คำนามหลัก + อนุประโยคขยายที่มีตัวอ้างอิงร่วมกับคำนามหลัก3) คำนามหลัก + ตัวนำอนุประโยค + อนุประโยคขยายที่ไม่มีตัวอ้างอิงร่วมกับคำนามหลัก และ 4) คำนามหลัก + อนุประโยคขยายที่ไม่มีตัวอ้างอิงร่วมกับคำนามหลัก ปัจจัยที่มีบทบาทหลักต่อการกำหนดเงื่อนไขการปรากฏของโครงสร้างแต่ละแบบ ได้แก่ การมีหรือไม่มีตัวนำอนุประโยค การมีหรือไม่มีตัวอ้างอิงร่วม หน้าที่ของอนุประโยคขยายที่มีต่อคำนามหลัก และปัจจัยนอกเหนือจากรูปภาษา ส่วนปัจจัยที่มีบทบาทรองลงมาหรือปัจจัยที่กำหนดการปรากฏแบบย่อยของแต่ละโครงสร้าง ได้แก่ ตำแหน่งทางไวยากรณ์ของตัวอ้างอิงร่วม คุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ของคำนามหลัก บทบาททางความหมายของคำนามหลัก ความซับซ้อนของหน่วยประกอบ ความเป็นวรรณศิลป์ และน้ำเสียงของผู้ส่งสาร ในขณะที่จำนวนขั้นต่ำของผู้ร่วมเหตุการณ์ การมีหรือไม่มีสุญรูป บริบทแวดล้อม และความเป็นทางการ ไมใช่มีบทบาทต่อการกำหนดแบบต่างๆ ของโครงสร้าง


ขบวนการแรงงานกับการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา, ค.ศ. 1988-2018, ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์ Jan 2018

ขบวนการแรงงานกับการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา, ค.ศ. 1988-2018, ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้ต้องการทำความเข้าใจกับกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในพม่าและผลต่อขบวนการแรงงาน โดยเฉพาะในช่วงปี 1988-2018 โดยมีคำถามสำคัญของงานวิจัยคือ ขบวนการแรงงานพม่ามีบทบาทและการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในช่วงระยะการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย โดยปัจจัย เงื่อนไข และกระบวนการก่อตัวของขบวนการแรงงานดังกล่าวนี้ จะเป็นกรณีศึกษาของการวิเคราะห์กระบวนการประชาธิปไตยที่กำลังดำเนินอยู่ในพม่าด้วย ภายใต้ทิศทางการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่สำคัญ ได้แก่ การสำรวจเอกสารทั้งข่าวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับปรากฎการณ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนงานวิชาการที่มีการศึกษาก่อนหน้า รวมถึงใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 16 คน เพื่อทำความเข้าใจปรากฎการณ์ในเชิงลึก ตรวจสอบข้อมูล และสร้างการเชื่อมโยงที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Protest event analysis (PEA) ในการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานเพื่อช่วยในการตีความข้อมูลและพัฒนาข้อสรุปของงานวิจัย จากการวิจัยพบว่า ขบวนการแรงงานพม่าได้ก่อตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงเวลาที่ศึกษา หากแต่ไม่ได้ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยที่กำลังเกิดขึ้น การขับเคลื่อนของขบวนการแรงงานมีแนวโน้มตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐหรือเรียกว่าเป็น "ขบวนการแรงงานที่ถูกรัฐกลืน" ซึ่งทำให้การขับเคลื่อนของขบวนการฯไม่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมืองได้ หากแต่ขบวนการที่ก่อตัวขึ้นก็สามารถเข้าไปมีบทบาทในกระบวนการนโยบาย ในฐานะโครงสร้างเชิงสถาบันที่รัฐสร้างขึ้น ซึ่งเป็นช่องทางและโอกาสสำคัญในการเรียกร้องและปกป้องสิทธิของตน ลักษณะของขบวนการแรงงานดังกล่าวสะท้อนลักษณะของภาคประชาสังคมพม่าในช่วงการเปลี่ยนผ่านเช่นกัน ที่แม้จะกลับมามีบทบาทอีกครั้งในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย หากแต่เป็นบทบาทที่ค่อนข้างจำกัด ขาดลักษณะการขับเคลื่อนทางการเมือง และไม่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจในโครงสร้างการเมือง


การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การขององค์การภาครัฐไทยภายใต้บริบทไทยแลนด์ 4.0: ศึกษากรณี สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.), ธัญสินี ศรีอนุสรณ์วงษ์ Jan 2018

การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การขององค์การภาครัฐไทยภายใต้บริบทไทยแลนด์ 4.0: ศึกษากรณี สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.), ธัญสินี ศรีอนุสรณ์วงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาการรับรู้วัฒนธรรมองค์การของบุคลากรในสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ว่ามีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับตัวแบบวิสัยทัศน์เชิงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 หรือไม่ อย่างไร และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การของบุคลากรในสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ให้เหมาะกับตัวแบบวิสัยทัศน์เชิงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ผู้ศึกษาเริ่มวิธีดำเนินการศึกษา ครั้งนี้โดยใช้วิธีการศึกษาแบบผสม และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และประเมินผล ผลการศึกษาพบว่า 1) การตอบรับตัวแบบวิสัยทัศน์เชิงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ช่วยปรับปรุงองค์การให้มีความทันสมัยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการโดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง 2.) การตอบรับตัวแบบวิสัยทัศน์เชิงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เป็นไปเพื่อตอบสนองคำสั่งของรัฐบาล ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การยกระดับองค์การภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล 3) บุคลากรในสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) เกิดการรับรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การ ด้วยการปรับเปลี่ยนค่านิยมและพฤติกรรมการทำงาน เนื่องจากเป็นหน่วยงานหลักในองค์การภาครัฐที่มีการขับเคลื่อนด้วยตัวแบบวิสัยทัศน์เชิงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มากที่สุดตามนโยบายรัฐบาล ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ ผู้บริหารสามารถใช้ประโยชน์จากวิสัยทัศน์เชิงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ส่งเสริมให้บุคลากรและองค์การสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนทางวิชาการควรมีการศึกษาเรื่องการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การภายใต้บริบทไทยแลนด์ 4.0 ของแต่ละองค์การเพิ่มเติม


การมุ่งสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเกาะคา เทศบาลเมืองกระบี่ และเทศบาลนครขอนแก่น, สุภะรัฐ ยอดระบำ Jan 2018

การมุ่งสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเกาะคา เทศบาลเมืองกระบี่ และเทศบาลนครขอนแก่น, สุภะรัฐ ยอดระบำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาล ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาล และพัฒนาข้อเสนอในการส่งเสริมการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาลโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาเทศบาลซึ่งเป็นกรณีศึกษา 3 แห่งที่ได้รับรางวัล หรือเกียรติคุณต่างๆ ซึ่งในการประเมินมีเกณฑ์และตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาลนั้นๆ และเป็นหลักประกันถึงความเป็นเทศบาลแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เทศบาลเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ และเทศบาลตำบลเกาะคา จังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ได้แก่ 1.นายกเทศมนตรี 2.ปลัดเทศบาล 3.พนักงานเทศบาล และ 4.สมาชิกสภาเทศบาลของเทศบาลที่เป็นกรณีศึกษา ผลการวิจัยพบลักษณะร่วมจากเทศบาลทั้ง 3 แห่งซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีที่นำมาศึกษาว่า 1. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาล ประกอบด้วย คุณลักษณะองค์การที่มีการเรียนรู้เกิดขึ้นใน 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับบุคคล (ความมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง วิธีคิดที่เปิดกว้าง ความคิดเชิงระบบ และความคิดสร้างสรรค์) 2) ระดับกลุ่ม (การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแบ่งปันความรู้ การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม) และ 3) ระดับองค์การ (การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การยึดคนเป็นศูนย์กลาง การสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ การเรียนรู้จากประสบการณ์ และการคาดการณ์ล่วงหน้า) โดยเทศบาลแต่ละแห่งจะมีคุณลักษณะประการสำคัญที่โดดเด่นในระดับต่างๆที่แตกต่างกัน 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาล ประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ และประชาชนในท้องถิ่น และ 2) ปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่ ผู้นำ ยุทธศาสตร์ขององค์การ โครงสร้างองค์การ ทัศนคติและพฤติกรรมของบุคลากร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสื่อสารภายในองค์การ บรรยากาศในองค์การ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในหน่วยงาน และการจัดการความรู้ โดยเทศบาลแต่ละแห่งจะมีอันดับการรับรู้ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน


นโยบายและการปฏิบัติในการปฏิรูปโครงสร้างระบบราชการ : กรณีศึกษากรมทางหลวง, ศกลรัตน์ จิรรุ่งเรืองวงศ์ Jan 2018

นโยบายและการปฏิบัติในการปฏิรูปโครงสร้างระบบราชการ : กรณีศึกษากรมทางหลวง, ศกลรัตน์ จิรรุ่งเรืองวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้อำนาจของข้าราชการในกระบวนการปฏิรูประบบราชการ และปัจจัยที่ส่งผล เพื่ออธิบายการขยายอาณาเขตของระบบราชการไทยจากผลของนโยบายการปฏิรูปที่ต้องการจำกัดอาณาเขตของระบบราชการ โดยเลือกใช้กรณีศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการของกรมทางหลวงในช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2559 การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบคุณภาพโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร และเก็บข้อมูลการด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากข้าราชการในกรมทางหลวงในฐานะตัวแสดงที่เป็นผู้ชนะในการต่อสู้ทางอำนาจในกระบวนการปฏิรูประบบราชการ ผลการศึกษาพบว่า นโยบายที่ต้องการควบคุมจำนวนข้าราชการเพื่อให้สามารถยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็นในภายหลังได้โดยไม่ต้องทำการเลิกจ้าง ได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของข้าราชการระดับสูงและความต้องการจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อเพิ่มตำแหน่งบริหาร อันทำให้ระบบราชการขยายตัวขึ้น นำมาสู่ความต้องการควบคุมจำนวนข้าราชการต่อมาเป็นวงจร โดยข้าราชการมีวิธีการใช้อำนาจเพื่อบรรลุเป้าหมาย คือ การดำรงตำแหน่งทางการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบราชการ, การใช้จังหวะเวลาด้วยการกระทำในสิ่งที่แก้ไขภายหลังได้ยากและการถ่วงเวลา, การสร้างความมีเหตุผลแก่ข้อเสนอในการขยายขอบเขตของหน่วยงาน, การควบคุมข้อมูลและการสื่อสารที่อาจส่งผลลบต่อหน่วยงาน และ การใช้ความสามารถส่วนบุคคลในการผลักดันข้อเสนอของตนเอง ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้อำนาจนั้น คือ การที่นโยบายในการปฏิรูปไม่มีความแน่ชัดในจุดประสงค์และวิธีการ, กลไกควบคุมและประเมินผลการปฏิรูปไม่มีประสิทธิภาพ, วัฒนธรรมองค์การไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการปฏิรูป และการขาดเสถียรภาพทางการเมือง


การศึกษาวิเคราะห์วงจรชีวิตองค์การของทีวีสาธารณะ ศึกษากรณี สถานีโทรทัศน์ไอทีวี สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีและสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, ประภาพรรณ จิตต์วารี Jan 2018

การศึกษาวิเคราะห์วงจรชีวิตองค์การของทีวีสาธารณะ ศึกษากรณี สถานีโทรทัศน์ไอทีวี สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีและสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, ประภาพรรณ จิตต์วารี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาวิเคราะห์วงจรชีวิตองค์การของทีวีสาธารณะ อันประกอบด้วย สถานีโทรทัศน์ไอทีวี สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีและสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสตามแนวคิดทฤษฎีของ Ichak Adizes ผ่านสถานการณ์ที่องค์การเผชิญในแต่ละช่วงวัย รวมทั้งยังเป็นการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านขององค์การในแต่ละระยะช่วงวัยและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเสื่อมถอยและล้มตายขององค์การ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาเชิงเอกสารผ่านการรวบรวมข้อมูลเอกสาร หนังสือรวบรวมเหตุการณ์ บทสัมภาษณ์ในวารสารและคลิปวิดิโอสั้นต่างๆที่มีการกล่าวถึงพัฒนาการและลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญของทีวีสาธารณะ รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารระดับสูงของทั้ง 3 องค์การกล่าวคือ ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ไอทีวี สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีและสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จำนวนทั้งสิ้น 5 ท่าน เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่ครบถ้วนและถูกต้องมากที่สุด จากผลการศึกษาพบว่า สถานีโทรทัศน์ไอทีวีนั้นดำรงอยู่ในระยะระบบราชการ (Bureaucracy) ของวงจรชีวิตองค์การ ส่วนสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีดำรงอยู่ในระยะเข้าสู่ระบบราชการ (Early Bureaucracy) ของวงจรชีวิตองค์การ ซึ่งทั้งสององค์การนั้นต่างเข้าสู่ระยะช่วงวัยที่เผชิญกับความเสื่อมถอยขององค์การทั้งสิ้นแตกต่างจากสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสที่ดำรงอยู่ ณ ระยะมั่นคง (Stable) ของวงจรชีวิตองค์การ ทั้งนี้ จากผลการศึกษาได้สะท้อนให้เห็นว่า ความเสื่อมถอยหรือล้มตายขององค์การนั้นไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นจากปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในองค์การเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นจากปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การร่วมด้วย โดยสถานีโทรทัศน์ไอทีวีได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการเมืองและปัจจัยเรื่องกฎหมายสัมปทานที่บีบบังคับให้การดำเนินงานขององค์การบิดเบือนออกไปจากเจตนารมณ์เดิมและเป็นเหตุให้องค์การไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ขณะเดียวกัน ในส่วนของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีก็ได้รับผลกระทบจากปัจจัยการเมืองจากการออกคำสั่งให้องค์การต้องแปรสภาพองค์การเป็นทีวีสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย รวมถึงผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานจากภาคเอกชนมาสู่การกำกับดูแลภายใต้องค์การภาครัฐเป็นการสร้างความยุ่งยากในการดำเนินงานรวมถึงการเป็นภาระขององค์การภาครัฐในการทำหน้าที่กำกับดูแลองค์การเพิ่มเติมยิ่งเป็นตัวเร่งหนึ่งให้สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีได้เผชิญความเสื่อมและปิดตัวลงในที่สุด อย่างไรก็ดี จากบทเรียนที่ล้มเหลวของสถานีโทรทัศน์ทั้งสองข้างต้นได้ทำให้สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสถือกำเนิดขึ้นเรียนรู้ที่จะกำจัดช่องโหว่จากปัจจัยภายนอกเหล่านั้น เพื่อคงไว้ซึ่งเจตนารมณ์และพันธกิจหลักของการเป็นทีวีสาธารณะ อย่างไรก็ตาม สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสยังคงประสบกับความเสี่ยงของปัจจัยภายนอกจำนวนมากที่ส่งแรงกระเพื่อมต่อการดำเนินงานอยู่เสมอ อันประกอบด้วย ปัจจัยทางการเมืองจากความพยายามแทรกแซงเพื่อลดทอนงบประมาณการดำเนินงานขององค์การหรือปัจจัยจากการแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้นอันเกิดจากกฎหมายอนุญาตการประมูลคลื่นความถี่ระบบดิจิทัลที่ทำให้ประชาชนมีโอกาสเลือกชมสื่อโทรทัศน์ได้หลายหลายมากขึ้น หรือแม้แต่การพฤติกรรมการบริโภคสื่อของประชาชนที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นเหตุให้องค์การไม่สามารถรักษาระยะสมดุล (Prime) ขององค์การบนวงจรชีวิตองค์การไว้ได้และเข้าสู่ระยะมั่นคง (Stable) ในที่สุด และเนื่องจากในอดีตจวบจนถึงปัจจุบันนั้น สื่อสาธารณะเป็นสิ่งที่ภาคประชาชนเรียกร้องให้เกิดขึ้นสังคมไทยมาโดยตลอด อนึ่ง แม้ว่าแนวความคิดดังกล่าวนั้นจะถูกประดิษฐ์สร้างขึ้นในรูปของทีวีเสรี อันได้แก่ สถานีโทรทัศน์ไอทีวีและสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ทีวีเสรีทั้งสององค์การนั้นกลับประสบความล้มเหลวและเผชิญกับความเสื่อมถอย ล้มตายจนต้องยุติกิจการ ก่อนที่จะได้ทำการแปรสภาพเป็นทีวีสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งถึงแม้ว่าสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจะได้นำบทเรียนจากทีวีเสรีมาปรับแก้และปิดกลบช่องโหว่เดิมแล้วก็ตาม แต่ทีวีสาธารณะในปัจจุบันก็ยังคงเผชิญกับปัจจัยจากสภาพแวดล้อมอีกหลายประการ จึงจำเป็นที่จะต้องตื่นตัวที่จะปรับปรุงและพัฒนาสื่อให้มีคุณภาพและสอดรับกับภารกิจการดำเนินงานขององค์การ ทั้งการเปิดพื้นที่สาธารณะให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพและสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเป็นสื่อที่เคียงข้างประชาชนโดยปราศจากการถูกครอบงำและแทรกแซงจากภาคการเมือง ภาคเอกชนและพร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างแท้จริงเพื่อหลีกหนีจากความเสื่อมหรือความตายดังเช่นที่เคยเป็นมาและยังสร้างอัตลักษณ์ในการเป็นทีวีสาธารณะที่มีความแตกต่างอย่างยั่งยืนด้วย


มุมมองอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อมต่อการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย, ณัฐพล บัวบุตร Jan 2018

มุมมองอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อมต่อการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย, ณัฐพล บัวบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา สาเหตุ และปัจจัยที่นำไปสู่ปัญหาการลักลอบ ล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย วิเคราะห์ผลการศึกษาและบรรยายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยภาคสนาม (Field Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ กลุ่มนายพราน กลุ่มผู้บังคับใช้กฎหมาย และกลุ่มองค์กรอิสระด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า รวม 13 คน ผลการศึกษา มีข้อมูลทางสถิติแสดงว่าสภาพปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมายมีความรุนแรงมากที่สุดในพื้นที่ป่า ภาคตะวันตกของประเทศไทย รองลงมาเป็นพื้นที่ป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรูปแบบการลักลอบล่าสัตว์ป่าในบริบทของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ (1) เพื่อการดำรงชีพ (2) เพื่อการค้า (3) เพื่อการพักผ่อน และ (4) เพื่อการแข่งขันหรือกีฬา สาเหตุของการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมายเกิดจาก (1) ปัญหาความยากจนของครัวเรือน (Poverty) (2) ความต้องการโอกาสทางสังคม (Social Opportunity) (3) แรงกดดันทางสังคม (Social Pressures) (4) ค่านิยมเฉพาะกลุ่ม (Group Value) (5) ความเชื่อท้องถิ่น (Local Belief) (6) การเพิ่มมูลค่าของสัตว์ป่าในทางเศรษฐศาสตร์ (Wildlife Economic Value Added) (7) การเข้ามาของกลุ่มนายทุนนอกพื้นที่ (Capitalist) (8) ช่องว่างของการบังคับใช้กฎหมาย (Legal Gap) และ (9) การไม่เกรงกลัวต่อการกระทำความผิด (Intrepidity of commit an offence) ซึ่งสามารถสรุปกลุ่มเป็น 5 ปัจจัย ได้แก่ (1) ความไม่เสมอภาคทางสังคม (Social Inequality) (2) ความอ่อนแอของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Weakness of …


มาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล, อิสเรศวร์ ลักษมีพิเชษฐ์ Jan 2018

มาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล, อิสเรศวร์ ลักษมีพิเชษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาสภาพปัญหาการใช้ความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษา ศึกษาสาเหตุที่ทำให้เกิดการใช้ความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาและศึกษามาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญประกอบด้วยนักเรียนอาชีวศึกษาใน 5 จังหวัด จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเจ้าหน้าที่ภาคประชาสังคม จำนวน 27 คน ทำการการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพปัญหาการใช้ความรุนแรงที่ในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า ระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้น พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับความรุนแรงคือได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส พิการและเสียชีวิต ความถี่ในการเกิดความรุนแรงในเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นตามลำดับเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม นอกจากนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นในช่วงวันจันทร์ถึงวันศุกร์ซึ่งเป็นวันปกติที่นักเรียนอาชีวศึกษาใช้ความรุนแรง เวลาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในก่อนเรียนในช่วงเช้าและหลังเลิกเรียน และเกิดขึ้น 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ มากสุด 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนลักษณะของอาวุธที่ใช้ที่ทำให้เกิดการใช้ความรุนแรงของนักเรียนอาชีวศึกษา คือ ไม้ มีด ปืน และอื่นๆ ที่เป็นอาวุธที่สามารถใช้ความรุนแรงได้ ซึ่งจากสภาพปัญหาการที่กล่าวมาทั้งหมดจึงเกิดผลกระทบต่อนักเรียนอาชีวศึกษา สถาบัน/โรงเรียน ครอบครัว ชุมชนและสังคม 2. สาเหตุที่ทำให้เกิดการใช้ความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีสาเหตุสำคัญประกอบด้วย สภาพครอบครัว เช่น ครอบครัวไม่มีเวลาดูแล พ่อแม่แยกทางกัน รวมถึงบุคคลอื่นในครอบครัวมีผลต่อการใช้ความรุนแรง รุ่นพี่และเพื่อน ได้รับการปลูกฝังจากกลุ่มเพื่อนและรุ่นพี่ ช่วยกันปลูกฝังสิ่งที่ผิด สภาพสังคมในวิทยาลัยอาชีวศึกษา สภาพสังคมในวิทยาลัยเป็นสิ่งที่หล่อหลอมพฤติกรรมของเด็กนักเรียน รุ่นพี่และรุ่นน้องที่ถ่ายทอดพฤติกรรมที่ผิดต่อสังคมจากรุ่นสู่รุ่น 2.4 สื่อและเทคโนโลยีด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจึงส่งผลให้รุ่นพี่สามารถให้ข้อมูลและถ่ายทอดกันไปรุ่นสู่รุ่นน้องได้ สถาบันการศึกษามีความขัดแย้งกันซึ่งกันและกันมาอย่างยาวนาน ความกดดันในสถานศึกษาและ กฎหมายและระเบียบปฏิบัติกฎหมายมีการกำหนดโทษเบาจนเกินไป 3. มาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่สำคัญประกอบด้วย 3.1 มาตรการป้องกันด้านครอบครัว 3.2 มาตรการป้องกันด้านเพื่อนและรุ่นพี่ 3.3 มาตรการป้องกันด้านสภาพสังคมในวิทยาลัยอาชีวศึกษา 3.4 มาตรการป้องกันด้านความกดดัน 3.5 มาตรการป้องกันด้านกฎหมาย 3.6 มาตรการป้องกันด้านสถาบันการศึกษา 3.7 มาตรการป้องกันด้านสื่อและเทคโนโลยี 3.8 มาตรการป้องกันด้านศาสนา


ความร่วมมือระหว่างองค์การภาครัฐและองค์การพัฒนาเอกชนในการป้องกันอาชญากรรม: ศึกษากรณี โครงการรณรงค์ป้องกันการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร, วรภัทร พึ่งพงศ์ Jan 2018

ความร่วมมือระหว่างองค์การภาครัฐและองค์การพัฒนาเอกชนในการป้องกันอาชญากรรม: ศึกษากรณี โครงการรณรงค์ป้องกันการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร, วรภัทร พึ่งพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสภาพปัญหาการคุกคามทางเพศบนรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครจากทัศนะของผู้ใช้บริการที่เป็นเพศหญิง รวมถึงศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวกับการจัดการเชิงระบบขององค์การภาครัฐและองค์การพัฒนาเอกชนที่ร่วมมือกันในแคมเปญถึงเวลาเผือก และให้ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงความร่วมมือระหว่างองค์การ วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสาร เสริมกับเทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่มประชากรของประเทศไทย ได้แก่ ผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางที่เป็นเพศหญิงและเคยตกเป็นเหยื่อการคุกคามทางเพศ จำนวน 13 คน และผู้บริหารและพนักงานระดับปฏิบัติการในสังกัดองค์การภาครัฐและสังกัดองค์การพัฒนาเอกชน จำนวนละ 5 คน รวมเป็นทั้งสิ้น 10 คน ผู้วิจัยได้เลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง และการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการคุกคามทางเพศบนรถโดยสารประจำทางมีรากเหง้ามาจากมายาคติชายเป็นใหญ่และมองเพศหญิงเป็นวัตถุทางเพศ 2) สภาพแวดล้อมทางกายภาพของรถโดยสารประจำทางยังไม่มีคุณภาพและความปลอดภัยที่เหมาะสม 3) การให้ความช่วยเหลือเหยื่อการคุกคามทางเพศของพนักงานสอบสวนบางคนที่มีทัศนคติขาดความเข้าใจในสภาพปัญหาดังกล่าว 4) มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวของแคมเปญถึงเวลาเผือก ยังมีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รับรู้แก่ประชาชนที่ใช้บริการไม่ครอบคลุมทั่วถึงมากพอ และขาดการนำมุมมองของผู้หญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อมาประยุกต์ใช้ในการสร้างมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม


การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางกฎหมายในการนำ "Blockchain" มาใช้ป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ, กรกช ชิระปัญญา Jan 2018

การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางกฎหมายในการนำ "Blockchain" มาใช้ป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ, กรกช ชิระปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางกฎหมายในการนำ "Blockchain" มาใช้ป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและรูปแบบ การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบในปัจจุบัน ว่ามีลักษณะและรูปแบบเป็นอย่างไร ศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางกฎหมายในการนำ "Blockchain" มาใช้ป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ และป้องกันปัญหาการคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งข้อเสนอเชิงนโยบายในการตัดสินใจนำ"Blockchain" มาใช้ในการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า Blockchain มีข้อดีในด้านความโปร่งใสในการทำธุรกรรม เนื่องจากระบบดังกล่าวเมื่อได้รับฉันทามติจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปแก้ไขธุรกรรมดังกล่าวได้อีก รวมทั้งสามารถนำมาใช้ตรวจสอบขั้นตอนและกระบวนการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายหรือไม่ อีกทั้งป้องกันการปลอมแปลงหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ได้มีการออกไปแล้วได้ ซึ่งสามารถป้องกันการคอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่ได้เป็นอย่างดีจากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำ Blockchain มาใช้ในการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเพื่อป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ พบว่ามีความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคในการตรวจสอบถ่วงดุลการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินของกรมที่ดินกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังช่วยลดระยะเวลาการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจากเดิมที่ใช้ระยะเวลา 153 วัน ลดลงเหลือ เพียง 3 วัน รวมทั้งความเป็นไปได้ทางด้านกฎหมายยังสามารถแก้ไขกฎกระทรวงหรือออกระเบียบที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมในการนำBlockchain มาใช้ในการป้องกันการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบแทนวิธีการเดิมในปัจจุบันได้


การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา: กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อู่ธนา สุระดะนัย Jan 2018

การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา: กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อู่ธนา สุระดะนัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลให้นักเรียน นิสิต อาจารย์ และบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม ทั้งด้านกายภาพ ปัจจัยที่เอื้อต่อการประกอบอาชญากรรม ลักษณะของเหยื่ออาชญากรรม และช่องโอกาสในการเกิดอาชญากรรม ตลอดจนศึกษาแนวทางหรือ มาตรการที่ช่วยลดการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และเขียนรายงานต่อไป จากการศึกษาพบว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีอาชญากรรมเกิดขึ้นทุกปี โดยเหยื่ออาชญากรรมเป็นนักเรียน นิสิต อาจารย์ รวมถึงบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบสถานศึกษา ซึ่งประเภทอาชญากรรมที่พบคือ อาชญากรรมต่อทรัพย์ ต่อชีวิตร่างกายและต่อเพศ จากการศึกษาวิเคราะห์สถิติคดียังพบอีกว่า มีแนวโน้มที่บุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมประเภทดังกล่าว โดยมีสาเหตุและปัจจัยระดับปัจเจกบุคคลที่ทำให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมได้แก่ 1) พฤติกรรม 2) บุคลิกภาพ และ 3) ลักษณะทางชีวภาพ เมื่อพิจารณาถึงความตระหนักถึงความปลอดภัยพบว่า นิสิตและบุคลากร ตลอดจนประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบสถานศึกษานั้นไม่ค่อยจะระมัดระวังตนเองหรือทรัพย์สิน มีความประมาท ประกอบกับจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต่อบุคลากรและต่อพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการดูแล และไม่มีความชำนาญในพื้นที่ ตลอดจนขาดความชำนาญและขาดประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรม ในส่วนของโครงสร้างทางกายภาพ พบว่า สถานศึกษามีประตูเข้า-ออกหลายช่องทางหากมีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้นอาชญากรสามารถหลบหนีได้ง่าย อีกทั้งถนนภายในและภายนอกของสถานศึกษาบางแห่งมีแสงไฟส่องสว่างน้อย บางจุดไม่มีกล้องวงจรปิด โดยเฉพาะในช่วงที่มีการก่อสร้างปรับภูมิทัศน์ พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นจุดเสี่ยงที่จะเกิดอาชญากรรมได้


แนวทางพัฒนาโครงการโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือเพื่อคืนคนดีสู่สังคม, จตุพร ธิราภรณ์ Jan 2018

แนวทางพัฒนาโครงการโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือเพื่อคืนคนดีสู่สังคม, จตุพร ธิราภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินการของโครงการวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในโครงการวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือ นำไปสู่แนวทางการพัฒนาโครงการวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากกลุ่มตัวอย่างโดยผู้วิจัยกำหนดขอบเขตและกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยที่เข้าร่วมโครงการวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือ ได้แก่ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือ ของ กรมราชทัณฑ์ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านอาชญาวิทยา ด้านทัณฑวิทยา ด้านทัณฑปฏิบัติ ด้านการวิจัยและการติดตามประเมินผล และด้านกระบวนการลูกเสือ จำนวน 20 คน และผู้ผ่านการอบรมตามโครงการวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือ จำนวน 10 คน การสุ่มตัวอย่างใช้แบบที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง และการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ โดยใช้วิธีการพรรณนาข้อมูลร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาการดำเนินการของโครงการที่สำคัญ คือ ปัญหาด้านนโยบายและภารกิจของกรมราชทัณฑ์ ปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาด้านระบบราชการ และปัญหาข้อจำกัดด้านบุคลากรและตัวผู้ต้องราชทัณฑ์ 2) ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของโครงการวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือ ได้แก่ ปัจจัยภายในของโครงการที่พบว่ากระบวนการลูกเสือที่นำมาบูรณาการประยุกต์ใช้กับโครงการโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือ รวมถึงปัจจัยภายนอกโครงการเป็นการสร้างความมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคมโดยนำเอาบุคคลทั่วไปที่มีความรู้ทางการลูกเสือให้เข้ามามีส่วนในการอบรมผู้ต้องขังในระบบเรือนจำโดยใช้กระบวนการของลูกเสือ และ 3) แนวทางในการพัฒนาโครงการวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือให้มีประสิทธิภาพ คือ การกำหนดนโยบายของผู้บริหารต้องสามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนของโครงการ การสร้างเครือข่ายร่วมกับภาคประชาสังคมที่มีความความรู้ความเข้าใจ หรือใช้ระบบว่าจ้างให้ธุรกิจภายนอกที่มีความรู้ความชำนาญมากกว่ารับไปดำเนินการแทน เพื่อเป็นการลดภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งมีการวางแผนขั้นตอนการปฏิบัติงานของบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการให้ชัดเจน และมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ต้องราชทัณฑ์ที่จะเข้าอบรมตามโครงการให้มีความเหมาะสมเพื่อเป็นการเตรียมตัวก่อนออกสู่สังคมต่อไป


บทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ: ศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ฉัตรวดี ศิริโภค Jan 2018

บทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ: ศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ฉัตรวดี ศิริโภค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องบทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ : ศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของท่าอากาศยาน ปัญหาอุปสรรคของท่าอากาศยาน และการพัฒนาแนวทางของท่าอากาศยาน ในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรม ข้ามชาติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมถึงการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุอาชญากรรมข้ามชาติที่เกิดขึ้น ณ ท่าอากาศยาน รวมทั้งการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานของพนักงานตรวจค้นภายในท่าอากาศยาน และทำการสัมภาษณ์ประชาชนผู้มาใช้บริการ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผลการศึกษาพบว่าอุตสาหกรรมการบินยังคงเป็นเป้าหมายสำคัญของกลุ่มองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งกลุ่มก่อการร้าย นอกจากนี้การหลั่งไหลของชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย ทำให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคง การกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่ท่าอากาศยาน ประกอบด้วย การลักลอบขนงาช้าง การลักลอบขนสัตว์ป่า การลักลอบขนยาเสพติด การเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการกระทำที่เป็นการแทรกแซงอันมิชอบด้วยกฎหมาย (Acts of Unlawful Interference) เป็นต้น จากการศึกษาพบว่าผู้มาใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีความเชื่อถือและวางใจในมาตรการระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี บทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาตินั้น พนักงานตรวจค้นจะต้องมีจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการคัดกรองวัตถุต้องสงสัยมิให้มีการนำออกไปจากราชอาณาจักร โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชนบริเวณโดยรอบท่าอากาศยาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนที่สามารถช่วยเป็นหูเป็นตาในการป้องกันอาชญากรรมให้กับท่าอากาศยาน อย่างไรก็ตามมีกฎหมายที่บังคับใช้กับมาตรการระบบรักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งการก่อการร้ายในเขตอากาศยาน ที่เป็นกฎหมายภายในประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นควรมีการทบทวนและหาแนวทางในการปฎิบัติให้แก่ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ที่อาจต้องมีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยตามระดับความเสี่ยงของท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง รวมถึงท่าอากาศยานแห่งใหม่ที่ ทอท. จะต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมในอนาคต


การประเมินการนำนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมไปสู่การปฏิบัติ, ภาคิน ดำภูผา Jan 2018

การประเมินการนำนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมไปสู่การปฏิบัติ, ภาคิน ดำภูผา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาชญากรรมเป็นปรากฏการณ์ของสังคมซึ่งเกิดจากความบกพร่องในการป้องกันอาชญากรรมของรัฐ เหยื่ออาชญากรรมจึงสมควรได้รับการช่วยเหลือในรูปแบบรัฐสวัสดิการจากนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินกระบวนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ศึกษาสภาพและผลการดำเนินงานตามนโยบาย วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบาย และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการสืบค้นข้อมูลแนวกว้างจากกลุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินนโยบายการช่วยเหลืออาชญากรรมโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสืบค้นข้อมูลแนวลึกเพื่ออธิบายข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ วิเคราะห์การถดถอยพหูคูณ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา สรุปประมวลผลเป็นความเรียง การผสมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพใช้วิธีเปรียบเทียบผลการศึกษาที่ได้แบบประเด็นต่อประเด็น ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาหลักเป็นความเพียงพอของทรัพยากร การประชาสัมพันธ์สิทธิ์การได้รับการช่วยเหลือและเยียวยาจากภาครัฐ เหยื่ออาชญากรรมยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมน้อย การดำเนินการช่วยเหลือและเยียวยาเหยื่ออาชญากรรมยังมีความล่าช้า งบประมาณในการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมยังมีไม่เพียงพอ พนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติยังทราบว่ากรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองน้อย นอกจากนี้ ปัจจัยด้านนโยบาย การบริหารจัดการ การประชาสัมพันธ์ การจัดสรรทรัพยากร การพัฒนาระบบช่วยเหลือและเยียวยา คณะกรรมการและอุทธรณ์ และปฏิบัติการช่วยเหลือและเยียวยา เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบาย อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะในการดำเนินนโยบายในการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมในอนาคต ควรมีการกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาให้ชัดเจนและไม่คลุมเครือ ประชาสัมพันธ์การรับรู้สิทธิ์ให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบายการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายได้อย่างทั่วถึง เพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงการช่วยเหลือประชาชนของภาครัฐ ควรจัดตั้งกองทุนสำหรับช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมโดยเฉพาะ โดยเงินกองทุนมาจากเงินประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ เงินอุดหนุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคอุทิศให้ เงินที่ได้รับจากต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน และไม่ควรให้เงินและทรัพย์สินของกองทุนต้องส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดินในแต่ละปีงบประมาณ


บทลงโทษทางอาญาที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย, ยุทธศักดิ์ ศิริสินธว์ Jan 2018

บทลงโทษทางอาญาที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย, ยุทธศักดิ์ ศิริสินธว์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "บทลงโทษทางอาญาที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของบทลงโทษทางอาญา ความรุนแรงของบทลงโทษทางอาญา การบังคับใช้บทลงโทษทางอาญา และแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมบทลงโทษทางอาญาให้เหมาะสมต่อการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จากการศึกษาพบว่า บทลงโทษทางอาญาตามกฎหมายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยยังมีความหลากหลายของรูปแบบของบทลงโทษที่น้อยเกินไป มีความรุนแรงของบทลงโทษที่ไม่สอดคล้องต้องกันกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และมีการบังคับใช้บทลงโทษที่ไม่มีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้บทลงโทษทางอาญาดังกล่าวยังไม่มีความเหมาะสมสำหรับการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในปัจจุบัน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญเช่น การเพิ่มเติมรูปแบบของบทลงโทษทางอาญาตามกฎหมายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นด้วยการนำบทลงโทษทางอาญาของประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมัน ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศออสเตรเลียมาใช้เป็นกฎหมายต้นแบบ การบังคับใช้บทลงโทษจำคุกตามกฎหมายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยเท่าที่จำเป็น การเพิ่มขนาดของบทลงโทษปรับแบบธรรมดาตามกฎหมายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้มากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น


Impact Of Migration And Remittances On Children's Human Capital In Cambodia, Vatana Chea Jan 2018

Impact Of Migration And Remittances On Children's Human Capital In Cambodia, Vatana Chea

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This dissertation investigates the impacts of migration and remittances on human capital development of left-behind children in Cambodia. It contributes new evidence to a controversial debate in the literature on long-term impacts of migration and of remittances on the children. This is from the perspective of education, health, and consumption in remittance-recipient households compared with those in non-recipient ones. It relies on pooled data from Cambodia Socio-Economic Survey of 2009 and 2014, each of which comprises around 12,000 households in both rural and urban areas across all 25 provinces there. To evaluate the impact on household educational investment, the study …


Socio-Economic And Demographic Determinants Of Modern Contraceptive Utilization Among Currently Married Women In Myanmar, Kyaw Than Min Jan 2018

Socio-Economic And Demographic Determinants Of Modern Contraceptive Utilization Among Currently Married Women In Myanmar, Kyaw Than Min

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The key purpose of this study is to explore socio-economic and demographic characteristics that influence modern contraceptive use of currently married women aged 15-49 in Myanmar. This study is contributing to fill the literature gaps at the national level. Even though there have been a number of studies on modern contraceptive use and family planning in Myanmar, these studies did not represent the whole nation. This study utilizes data from the Myanmar Demographic and Health Survey (MDHS) 2015-16, a national level cross-sectional dataset. Based on the study, the currently married women in this study included 6,597 women in Myanmar, 51 …


Determinants Of Labor Force Participation Among Older Persons In Myanmar, Zaw Min Latt Jan 2018

Determinants Of Labor Force Participation Among Older Persons In Myanmar, Zaw Min Latt

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Population ageing is occurring in many parts of the world. Likewise, in Myanmar, population is ageing with a fast acceleration. The government is trying to find ways to improve wellbeing of older persons, and labour force participation is one of the important factors to reduce financial insecurity during old age. This study aims to investigate the situation of labour force participation and to identify the demographic and economic factors that influence the decision making of older people to join the labour force in Myanmar. This study uses dataset from the 2012 Survey of Older Persons in Myanmar which is nationally …


The Volatility Of Equity Flows In Asean Emerging Markets, Supatchaya Ketchan Jan 2018

The Volatility Of Equity Flows In Asean Emerging Markets, Supatchaya Ketchan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The volatility of foreign equity flows into and out of ASEAN emerging markets is a source of concerned for macroeconomic and financial stability. This thesis uses the DCC-MGARCH model examine the volatility co-movement of daily net foreign equity flows for four ASEAN emerging economies (Thailand, Malaysia, Indonesia and the Phillipines) from 1st October 2009 to 28th December 2018. Furthermore, the SUR model is employed to understand which global and domestic macroeconomics factors may affect the volatility of net foreign equity flows. Overall, we find a slowdown of net equity flows to these ASEAN emerging markets especially since 2015 with the …