Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 168

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

สื่อสังคมออนไลน์กับการเป็นพื้นที่สาธารณะในสังคมไทย, พรภัทรา ภาณุนันทน์ Jan 2018

สื่อสังคมออนไลน์กับการเป็นพื้นที่สาธารณะในสังคมไทย, พรภัทรา ภาณุนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สื่อสังคมออนไลน์ในฐานะพื้นที่สาธารณะยุคใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 เติบโตบนแพลตฟอร์มออนไลน์ Cyberspace นับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา โดยมีรากฐานมาจากแนวคิดของ Jürgen Habermas (1989) นักทฤษฎีสังคมแบบสหวิทยาการชาวเยอรมัน ได้เสนอมโนทัศน์การเปลี่ยนรูปเชิงโครงสร้างของสังคมโดยได้อธิบายผ่านพื้นที่สาธารณะในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 18 สอดคล้องกับสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบันซึ่งมีลักษณะของความเป็นสังคม (Sociality) (Fuchs, 2014) งานวิจัยนี้ได้ศึกษาสื่อสังคมออนไลน์ประเภท Facebook และ Line เพื่อหาคำตอบว่าทั้ง 2 สื่อสามารถทำหน้าที่เป็นพื้นที่สาธารณะได้จริงหรือไม่ และมุ่งศึกษาว่ามีปัจจัยใดบ้างที่สนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อการทำหน้าที่เป็นพื้นที่สาธารณะ โดยได้ศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิเคราะห์แนวคิดทฤษฎี บทความ ข่าวและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอัลกอริธึม (Algorithms) และฟีเจอร์ (Features) ร่วมกับการสังเกตการณ์ (Observation) จากการใช้งานจริงและสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างแบบ Active User นำไปสู่การวิเคราะห์ลักษณะการทำงานของสื่อและพฤติกรรมการใช้งานของคนในสังคมว่ามีการคัดเลือกเนื้อหาสาร รวมกลุ่มและแบ่งแยกกลุ่มที่สัมพันธ์ไปกับการออกแบบระบบการทำงานสื่อโดยมีกลุ่มทุนเป็นเจ้าของ และยังตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มอำนาจรัฐอีกด้วย สะท้อนให้เห็นว่าอิทธิพลโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองมีอำนาจครอบงำอยู่เบื้องหลัง นอกจากนี้ข้อมูลของทั้ง 2 สื่อยังถูกนำมาวิเคราะห์ร่วมกับหลักเกณฑ์พื้นที่สาธารณะออนไลน์ว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่ ในส่วนสุดท้ายของวิทยานิพนธ์สามารถสรุปได้ว่าสื่อสังคมออนไลน์ทำหน้าที่เป็นพื้นที่สาธารณะได้แต่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีลักษณะบางประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์พื้นที่สาธารณะ โดยมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคคือกลไกการทำงานของตัวสื่อและพฤติกรรมผู้ใช้งาน


การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพชุดเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการทางสมองและระบบประสาท สำหรับเด็กไทยวัย 12 และ 18 เดือน ผ่านพฤติกรรมการมอง, เพลงไพร รัตนาจารย์ Jan 2018

การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพชุดเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการทางสมองและระบบประสาท สำหรับเด็กไทยวัย 12 และ 18 เดือน ผ่านพฤติกรรมการมอง, เพลงไพร รัตนาจารย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของชุดเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทสำหรับเด็กไทยผ่านพฤติกรรมการมอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้คือ เด็กไทยอายุ 12 เดือน จำนวน 30 คน และเด็กไทยอายุ 18 เดือน จำนวน 30 คน จากครอบครัวที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เครื่องมือที่พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพในงานวิจัยนี้ได้แก่ 1.วิธีการแสดงภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Familiarization) พัฒนาตามแนวคิดของ Rose, Jankowski & Feldman (2002) 2.วิธีการถ่ายทอดข้ามหมวดการรับรู้ (Cross-modal transfer) พัฒนาตามแนวคิดของ Rose, Feldman, Wallance และ McCarton (1991) 3.วิธีการเปรียบเทียบการมองภาพ 2 ภาพ (Visual-paired comparison) พัฒนาตามแนวคิดของ Rose, Feldman และ Jankowski (2001) และ มีการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของชุดเครื่องมือนี้โดยวิธีการหาความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินหรือสังเกตและวัดความตรงตามโครงสร้างในการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของชุดเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการทางสมองและระบบประสาททั้ง 3 การประเมินมีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินในระดับที่สูง (r= .903 -.914) วิธีการแสดงภาพอย่างต่อเนื่องมีความตรงตามโครงสร้างที่วิเคราะห์ค่าสถิติด้วย t-test พบว่าเด็กอายุ 18 เดือนมีความเร็วในการประมวลผลดีกว่าเด็กอายุ 12 เดือน (t = -3.098, p < .005)


Direct And Indirect Impacts Of Education On Subjective Well-Being Of Older Persons In Vietnam : Gender Differences, Truc Ngoc Hoang Dang Jan 2018

Direct And Indirect Impacts Of Education On Subjective Well-Being Of Older Persons In Vietnam : Gender Differences, Truc Ngoc Hoang Dang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Vietnam, like many developing countries, is undergoing a rapid pace of population ageing but within a resource limited context. Therefore, understanding the factors that are important to later life well-being has become a key policy issue. Using data from the 2011 Vietnam National Aging Survey, this thesis aims to investigate gender differences in the direct and indirect impacts of education on subjective well-being of older Vietnamese based on four domains: happiness, life satisfaction, loneliness, and depression (N=2,789, including 1,683 females and 1,106 males). The results from path analysis show that those with higher level of education are happier and more …


บทลงโทษทางอาญาที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย, ยุทธศักดิ์ ศิริสินธว์ Jan 2018

บทลงโทษทางอาญาที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย, ยุทธศักดิ์ ศิริสินธว์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "บทลงโทษทางอาญาที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของบทลงโทษทางอาญา ความรุนแรงของบทลงโทษทางอาญา การบังคับใช้บทลงโทษทางอาญา และแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมบทลงโทษทางอาญาให้เหมาะสมต่อการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จากการศึกษาพบว่า บทลงโทษทางอาญาตามกฎหมายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยยังมีความหลากหลายของรูปแบบของบทลงโทษที่น้อยเกินไป มีความรุนแรงของบทลงโทษที่ไม่สอดคล้องต้องกันกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และมีการบังคับใช้บทลงโทษที่ไม่มีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้บทลงโทษทางอาญาดังกล่าวยังไม่มีความเหมาะสมสำหรับการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในปัจจุบัน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญเช่น การเพิ่มเติมรูปแบบของบทลงโทษทางอาญาตามกฎหมายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นด้วยการนำบทลงโทษทางอาญาของประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมัน ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศออสเตรเลียมาใช้เป็นกฎหมายต้นแบบ การบังคับใช้บทลงโทษจำคุกตามกฎหมายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยเท่าที่จำเป็น การเพิ่มขนาดของบทลงโทษปรับแบบธรรมดาตามกฎหมายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้มากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น


การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา: กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อู่ธนา สุระดะนัย Jan 2018

การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา: กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อู่ธนา สุระดะนัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลให้นักเรียน นิสิต อาจารย์ และบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม ทั้งด้านกายภาพ ปัจจัยที่เอื้อต่อการประกอบอาชญากรรม ลักษณะของเหยื่ออาชญากรรม และช่องโอกาสในการเกิดอาชญากรรม ตลอดจนศึกษาแนวทางหรือ มาตรการที่ช่วยลดการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และเขียนรายงานต่อไป จากการศึกษาพบว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีอาชญากรรมเกิดขึ้นทุกปี โดยเหยื่ออาชญากรรมเป็นนักเรียน นิสิต อาจารย์ รวมถึงบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบสถานศึกษา ซึ่งประเภทอาชญากรรมที่พบคือ อาชญากรรมต่อทรัพย์ ต่อชีวิตร่างกายและต่อเพศ จากการศึกษาวิเคราะห์สถิติคดียังพบอีกว่า มีแนวโน้มที่บุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมประเภทดังกล่าว โดยมีสาเหตุและปัจจัยระดับปัจเจกบุคคลที่ทำให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมได้แก่ 1) พฤติกรรม 2) บุคลิกภาพ และ 3) ลักษณะทางชีวภาพ เมื่อพิจารณาถึงความตระหนักถึงความปลอดภัยพบว่า นิสิตและบุคลากร ตลอดจนประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบสถานศึกษานั้นไม่ค่อยจะระมัดระวังตนเองหรือทรัพย์สิน มีความประมาท ประกอบกับจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต่อบุคลากรและต่อพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการดูแล และไม่มีความชำนาญในพื้นที่ ตลอดจนขาดความชำนาญและขาดประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรม ในส่วนของโครงสร้างทางกายภาพ พบว่า สถานศึกษามีประตูเข้า-ออกหลายช่องทางหากมีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้นอาชญากรสามารถหลบหนีได้ง่าย อีกทั้งถนนภายในและภายนอกของสถานศึกษาบางแห่งมีแสงไฟส่องสว่างน้อย บางจุดไม่มีกล้องวงจรปิด โดยเฉพาะในช่วงที่มีการก่อสร้างปรับภูมิทัศน์ พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นจุดเสี่ยงที่จะเกิดอาชญากรรมได้


ลักษณะทางประชากร แรงจูงใจของผู้บริโภคและพฤติกรรมการใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซในเขตกรุงเทพมหานคร, ธันยพร กวีบริบูรณ์ Jan 2018

ลักษณะทางประชากร แรงจูงใจของผู้บริโภคและพฤติกรรมการใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซในเขตกรุงเทพมหานคร, ธันยพร กวีบริบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษา 1.) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร แรงจูงใจของผู้บริโภค และพฤติกรรมการใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซในเขตกรุงเทพมหานคร 2.) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับแรงจูงใจในการใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซในเขตกรุงเทพมหานคร 3.) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมการใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซในเขตกรุงเทพมหานคร 4.) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับพฤติกรรมการใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซในเขตกรุงเทพมหานคร โดยให้กลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซตอบแบบสอบถามออฟไลน์ จำนวน 400 คน จากผลวิจัยเชิงปริมาณพบว่า 1.) ผู้ใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซมีช่วงอายุ 18-30 ปี มีมากที่สุด 2.) ผู้ใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซมีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรีมากที่สุด 3.) ผู้ใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซประกอบอาชีพอิสระมากที่สุด 4.) ผู้ใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซมีรายได้ต่อเดือน 10,000-20,000 บาทมากที่สุด 5.) ผู้ใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซมีสถานภาพโสดมีมากกว่าสถานภาพสมรส 6.) ผู้ใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซมีลักษณะที่อยู่อาศัยแบบคอนโดมิเนียมมากที่สุด 7.) ผู้ใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซมีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 3 คน มากที่สุด 8.) ผู้ใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพ ลักษณะที่อยู่อาศัยจำนวนสมาชิกในครอบครัวแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซต่างกัน 9.) ผู้ใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซที่มี รายได้ สถานภาพ แตกต่างกันมีพฤติกรรมในการใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซต่างกัน 10.) ผู้ใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ลักษณะที่อยู่อาศัยจำนวนสมาชิกในครอบครัวแตกต่างกันมีพฤติกรรมในการใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซไม่ต่างกัน 11.) แรงจูงใจและพฤติกรรมการใช้บริการ โคเวิร์คกิ้งสเปซมีความสัมพันธ์กันเชิงบวก และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ


The Role Of Central Agency In Promoting Open Government In Thailand : The Case Study Of Digital Government Development Agency (Dga), Thanadol Thongprakob Jan 2018

The Role Of Central Agency In Promoting Open Government In Thailand : The Case Study Of Digital Government Development Agency (Dga), Thanadol Thongprakob

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this research were to (1) understand the role of the Digital Government Development Agency (DGA), the central agency, in applying digital technology for promoting open government in Thailand by studying both related external and internal factors, and (2) to suggest key success factors for promoting open government in the country. The study applied qualitative method using documentary research as well as in-depth interview approach to gather primary information from key informants who are experienced and well-versed in digital technology. The findings were that the role of the DGA in promoting open government, such as the formation of …


Development In Sihanoukville Under Chinese Influence, Tom Alexander Buehler Jan 2018

Development In Sihanoukville Under Chinese Influence, Tom Alexander Buehler

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The coastal city of Sihanoukville in Cambodia is undergoing rapid change caused by massive Chinese industrial and real estate investments. Why Sihanoukville is the target of these investments and how these recent developments are affecting the local Cambodians has not been studied so far. Theories of neoliberalism, globalization, and foreign direct investment were used to examine the reasons for investments and conflict theory to analyze the impacts and the consequences of increasing inequality. The research used a mainly qualitative design, including interviews with people involved in the changes. Cambodia strongly welcomes foreign direct investments and at the same time urgently …


อิทธิพลของความหมายในชีวิต ต่อการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยและภาวะสูญเสียการทำหน้าที่ของอวัยวะทางร่างกายของผู้พิการและญาติผู้ดูแล : การวิจัยแบบผสานวิธี, จุรีรัตน์ นิลจันทึก Jan 2018

อิทธิพลของความหมายในชีวิต ต่อการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยและภาวะสูญเสียการทำหน้าที่ของอวัยวะทางร่างกายของผู้พิการและญาติผู้ดูแล : การวิจัยแบบผสานวิธี, จุรีรัตน์ นิลจันทึก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบผสานวิธีเชิงสามเส้าแบบเกิดพร้อมกันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาอิทธิพลของความหมายในชีวิตต่อการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยและการสูญเสียการทำหน้าที่ของอวัยวะทางร่างกายของผู้พิการและญาติผู้ดูแล (2) ศึกษาประสบการณ์ด้านจิตใจเกี่ยวกับความหมายในชีวิตและการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยและการสูญเสียการทำหน้าที่ของอวัยวะทางร่างกายของผู้พิการและญาติผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นผู้พิการและญาติผู้ดูแล จำนวน 100 คู่ ในการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นผู้เป็นผู้พิการและญาติผู้ดูแล จำนวน 5 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดความหมายในชีวิตในบริบทเจ็บป่วยพิการ มาตรวัดการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยพิการ และแนวคำถามสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์โมเดลรายคู่แบบไขว้ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพตามแนวการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบเฉพาะอิทธิพลตรงของผู้พิการและญาติผู้ดูแลที่แสดงถึงว่าผู้พิการที่มีความหมายในชีวิตสูงจะมีการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยและภาวะสูญเสียการทำหน้าที่ของอวัยวะทางร่างกายได้ดี ในทำนองเดียวกันญาติผู้ดูแลที่มีความหมายในชีวิตสูงก็จะมีการปรับตัวได้ดีด้วย แต่ไม่พบอิทธิพลไขว้ของผู้พิการและญาติผู้ดูแลและอิทธิพลร่วมของผู้พิการและญาติผู้ดูแล ส่วนผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ประสบการณ์ด้านจิตใจของผู้พิการและญาติผู้ดูแลที่ร่วมกันมี 3 ช่วงหลัก ดังนี้ ช่วงที่ 1 ความผันผวนของใจผู้พิการและมารดา ภายหลังประสบอุบัติเหตุปละรับรู้ว่ามีความพิการ ประสบการณ์ที่เกิดร่วมกันของผู้พิการและญาติผู้ดูแลคือ การเผชิญกับความไม่รู้และสงสัยกับความเจ็บป่วยพิการที่เกิดขึ้น ประสบการณ์เฉพาะของผู้พิการในระยะนี้ เป็นปฏิกิริยาต่อการสูญเสียและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงหลายด้านที่เข้ามาพร้อมๆ กับความเจ็บป่วยพิการ เช่น การไม่ยอมรับความพิการ ความคาดหวังต่อผลการรักษา ด้วยการแสดงออกถึงความไม่เชื่อว่าตนเองจะพิการ การมีความคิดหมกมุ่นนึกถึงสิ่งที่ตนเองสูญเสียไป ความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง สำหรับมารดาผู้พิการเป็นการพยายามรวบรวมสติ ปรับเปลี่ยนกิจวัตรและความเคยชินต่างๆเพื่อเข้ามารับบทบาทในการเป็นผู้ดูแล ช่วงที่ 2 ช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่การยอมรับความพิการและเริ่มต้นชีวิตอีกครั้ง โดยในส่วนผู้พิการมีตัวจุดชนวนให้เปลี่ยนจากสิ้นหวังเป็นสู้ คือ การมีเพื่อนผู้พิการเป็นตัวแบบ และความรักจากครอบครัว การรีเซ็ตชีวิตใหม่ และตัวช่วยหรือขัดขวางการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยพิการ สำหรับมารดาผู้พิการเป็นการคิดทบทวนถึงความพยายามในการหาทางรักษาลูก จนเริ่มยอมรับความพิการของลูก และคอยให้การสนับสนุนความคิด การตัดสินใจของลูก ให้อิสระแก่ลูกในการทำสิ่งที่อยากทำ ช่วงที่ 3 การเติบโต และมองเห็นคุณค่า ความหมายในชีวิตของผู้พิการและมารดา ช่วงนี้เป็นประสบการณ์ที่มีความชัดเจนในผู้พิการ ส่วนในญาติผู้ดูแลจะเป็นความโล่งใจ ความสบายใจที่ผู้พิการดูแลตนเองได้ และตามมาด้วยความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ฝ่าฝันความลำบากร่วมกันมา จนกระทั่งลูกสามารถพิสูจน์ว่าพึ่งพาตนเองได้ และเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม


ความเครียด ความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ความพึงพอใจในการเห็นอกเห็นใจ และสุขภาวะของนักวิชาชีพผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิต, ศิริลักษณ์ เตชะธนอิทธิกุล Jan 2018

ความเครียด ความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ความพึงพอใจในการเห็นอกเห็นใจ และสุขภาวะของนักวิชาชีพผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิต, ศิริลักษณ์ เตชะธนอิทธิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความเครียด ความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ความพึงพอใจในการเห็นอกเห็นใจ และสุขภาวะของนักวิชาชีพผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิต กลุ่มตัวอย่างคือ นักวิชาชีพผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิตจำนวน 149 คนอายุเฉลี่ย 33.81 ± 8.79 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) มาตรวัดการรับรู้ความเครียด 2) มาตรวัดความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ 3) มาตรวัดความพึงพอใจในการเห็นอกเห็นใจ และ 4) มาตรวัดสุขภาวะแบบ 5 องค์ประกอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ความเครียด และความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับสุขภาวะของนักวิชาชีพสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 (r = -.47 และ -.34 ตามลำดับ, p < .001) ในขณะที่ความพึงพอใจในการเห็นอกเห็นใจมีค่าสหสัมพันธ์บวกกับสุขภาวะของนักวิชาชีพสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 (r = .67, p < .001) โดยที่ความเครียด ความอ่อนล้าในการเห็นอกเห็นใจ และความพึงพอใจในการเห็นอกเห็นใจ สามารถร่วมกันทำนายสุขภาวะของนักวิชาชีพทีให้บริการด้านสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสามารถอธิบายความแปรปรวนของสุขภาวะในนักวิชาชีพทีให้บริการด้านสุขภาพจิตได้ ร้อยละ 47.8 (R2 = .478, p < .001) ในขณะที่ตัวแปรความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ไม่สามารถทำนายสุขภาวะของนักวิชาชีพสุขภาพจิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .478, p = .346) ซึ่งความเครียด มีน้ำหนักในการทำนายสูงที่สุด (β = -.81, p < .01) ตามมาด้วย ความพึงพอใจในการเห็นอกเห็นใจ (β = .59, p < .001)


บทบาท หน้าที่ของปัญญาชนทางโหราศาสตร์ (โหรและหมอดู) กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในช่วง พ.ศ. 2549-2557, ขวัญเรือน พันธ์พีระพิชย์ Jan 2018

บทบาท หน้าที่ของปัญญาชนทางโหราศาสตร์ (โหรและหมอดู) กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในช่วง พ.ศ. 2549-2557, ขวัญเรือน พันธ์พีระพิชย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การอธิบายเหตุการณ์การรัฐประหารทั้งในปี พ.ศ.2549 และพ.ศ.2557 โดยทั่วไปแล้ว มุ่งอธิบายเกี่ยวกับตัวแสดงหลัก เช่น ผู้ชุมนุมประท้วงทั้งกลุ่มพันธมิตร ฯ กลุ่มกปปส. นายทหารชนชั้นนำและกองทัพ แต่ไม่มีการอธิบายหรือการศึกษาในแง่มุมของความเคลื่อนไหวขององค์ความรู้ทางโหราศาสตร์และศาสตร์การพยากรณ์อื่น ๆ รวมไปถึงบทบาท หน้าที่ของโหรและหมอดูในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาและทาความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ของปัญญาชนทางโหราศาสตร์ (โหรและหมอดู) โดยพบว่า ปัญญาชนทางโหราศาสตร์ เป็นผู้ใช้องค์ความรู้ทางโหราศาสตร์ในการผลิตคำทำนายและคำพยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง และมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทั้ง 2 ครั้ง กล่าวคือ คำทำนายและคำพยากรณ์มีส่วนในการลดทอนความชอบธรรมให้แก่ระบอบประชาธิปไตย และขณะเดียวกันมีส่วนในการเพิ่มความชอบธรรมให้แก่ระบอบเผด็จการ โดยคำทำนายและคำพยากรณ์ถูกสื่อสารไปยังผู้คนในสังคมผ่านความรู้สึก 3 ประการได้แก่ ความรู้สึกหวั่นไหว ความกลัว และความหวังกับความมั่นใจ เพื่อให้ผู้คนในสังคมยินยอมและยอมรับในระบอบเผด็จการ นอกจากนั้น งานวิจัยนี้ยังศึกษาและทำความเข้าใจวิธีการสร้างสถานะ และความสัมพันธ์ ระหว่างโหรและหมอดูกับทหาร และชนชั้นนำทางการเมืองอื่น ๆ โดยพบว่า ปัญญาชนทางโหราศาสตร์ (โหรและหมอดู) มีการสร้างสถานะ ความสัมพันธ์กับชนชั้นนำทางการเมือง โดยเฉพาะชนชั้นนำทางการทหาร ผ่านความสัมพันธ์ใกล้ชิด ความเคารพนับถือและเลื่อมใส ในสถานะลูกศิษย์และอาจารย์ ซึ่งสถานะ และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นมีลักษณะต่างตอบแทนกัน


การเปรียบเทียบผลกระทบของมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีแบบต่าง ๆ ต่อการส่งออกทูน่ากระป๋องในประเทศไทย, เค้นท์ สเคาว์เทิ่น Jan 2018

การเปรียบเทียบผลกระทบของมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีแบบต่าง ๆ ต่อการส่งออกทูน่ากระป๋องในประเทศไทย, เค้นท์ สเคาว์เทิ่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลกระทบของมาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีประเภทต่าง ๆ ต่อมูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องของประเทศไทย โดยผ่านแบบจำลองแรงโน้มถ่วง (Gravity Model) โดยใช้ข้อมูลจาก 14 ประเทศคู่ค้าสำคัญของประเทศไทยแบบรายปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006-2015 ซึ่งผลการศึกษาพบว่า มาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีที่นานาชาติใช่กับสินค้าทูน่ากระป๋อง (HS code: 160414) ไม่ส่งผลเสียกับมูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องของประเทศไทย แต่กลับส่งผลทำให้มูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องของไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดการใช้มาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี เนื่องจาก มาตรฐานสินค้าทูน่ากระป๋องของประเทศไทยสูงกว่าข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของมาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีที่นานาประเทศบังคับใช้กับประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ประสบปัญหานี้ นอกจากนี้ มาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องมากที่สุดคือ มาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีประเภทจำกัดปริมาณ (Quantitative Restrictions :QR) เนื่องจาก มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีประเภทจำกัดปริมาณที่สำคัญไม่ส่งผลต่อประเทศไทยแต่ส่งผลกับคู่แข่งของไทย คือ มาตรการห้ามนำเข้าทูน่ากระป๋องที่มีวัตถุดิบจากการทำประมงอวนล้อมของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับการประสานงานแก้ไขโดยสมาคมอุตสาหกรรมทูน่ากระป๋องไทยเรียบร้อย แต่ประเทศผู้ส่งออกทูน่ากระป๋องประเทศอื่น ๆ ยังคงประสบปัญหานี้อยู่ ทำให้ในตลาดสหรัฐอเมริกามีทูน่ากระป๋องจากประเทศคู่แข่งของไทยน้อย จึงทำให้ทูน่ากระป๋องของไทยมีส่วนแบ่งตลาดที่มากขึ้นและมูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย


การติดตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557, ทนาย เพิ่มพูล Jan 2018

การติดตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557, ทนาย เพิ่มพูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ติดตามการขับเคลื่อน ผลผลิต และผลลัพธ์ของนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 – 2557 (2) วิเคราะห์อุปสรรคในการขับเคลื่อนนโยบายฯ และ (3) สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ไขอุปสรรคในการขับเคลื่อนนโยบายฯ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสม ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ รวมทั้งการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลและแบบสอบถาม ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ในการติดตามการขับเคลื่อนนโยบายด้านทรัพยากรที่ใช้เพียงพอแต่ยังขาดความสมดุลระหว่างด้านความมั่นคงและการพัฒนา ด้านเส้นทางนโยบายมีความเชื่อมโยงและเหมาะสม ด้านกระบวนการและกลไกสอดคล้องกันแต่ยังบูรณาการไม่สมบูรณ์ ด้านภาคีได้รับความร่วมมือดีขึ้นจากประชาชน ภาคประชาสังคม เอกชน และต่างประเทศ ส่วนขบวนการลดการก่อเหตุรุนแรงแต่เปลี่ยนมาต่อสู้ทางความคิดอย่างเปิดเผยมากขึ้น ในการติดตามผลผลิต เหตุการณ์ความรุนแรง การสูญเสียประชากรและเจ้าหน้าที่ความมั่นคงมีแนวโน้มลดลง ส่วนการสิ้นเปลืองยุทโธปกรณ์และงบประมาณมีแนวโน้มสูงขึ้น และในการติดตามผลลัพธ์ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ"ปานกลาง"ทั้งในด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ ความเท่าเทียม และเสรีภาพ (2) อุปสรรคที่สำคัญคืออุปสรรคในการบูรณาการให้การจัดสรรทรัพยากรมีสัดส่วนด้านความมั่นคงและการพัฒนาที่เหมาะสมภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งบูรณาการกลไกความมั่นคงและการพัฒนา และอุปสรรคจากการที่ต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ หรือภาคประชาสังคมอาจถูกขบวนการใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมืองได้ (3) ข้อเสนอแนวทางแก้ไขอุปสรรคควรปรับปรุงให้การขับเคลื่อนนโยบายมีความสมดุลระหว่างด้านความมั่นคงและพัฒนา ให้กลไกและภาคีในการขับเคลื่อนนโยบายมีพื้นฐานความเข้าใจที่ถูกต้อง และปรับปรุงให้กระบวนการและกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายมีประสิทธิภาพ


ปัจจัยทางจิตวิทยากับผลต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ, ชานนท์ ศิริธร Jan 2018

ปัจจัยทางจิตวิทยากับผลต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ, ชานนท์ ศิริธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษาลักษณะการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ 2.) เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาทั้งภายในและภายนอกกับผลต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ 3.) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยทางจิตวิทยาภายใน ปัจจัยทางจิตวิทยาภายนอก และการรับรู้คุณลักษณะของนวัตกรรม และ 4.) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองและความพึงพอใจในชีวิต ระหว่างผู้สูงอายุที่มีปริมาณความเข้มข้นในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ระดับมากกับผู้สูงอายุที่มีปริมาณความเข้มข้นในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ระดับน้อย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้สูงอายุ รวมทั้งสิ้น 25 คน จากนั้นทำการวิจัยเชิงสำรวจกับผู้สูงอายุที่มีปริมาณความเข้มข้นในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ระดับมาก และผู้สูงอายุที่มีปริมาณความเข้มข้นในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ระดับน้อย รวมทั้งสิ้น 730 คน ซึ่งทั้งหมดอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ผู้สูงอายุตัดสินใจใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์เนื่องจากแรงกระตุ้นจากเพื่อน ลูกหลาน และบุคคลที่ชื่นชอบ โดยจะใช้งานใน 4 ลักษณะ ได้แก่ ใช้สร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น ใช้หาข้อมูลข่าวสาร ใช้แสดงอารมณ์ความรู้สึก และใช้สร้างความภูมิใจในตน โดยปัจจัยที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างผู้สูงอายุที่ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์กับผู้ที่ไม่ได้ใช้งานคือ การรับรู้ความสามารถของตน (Self-efficacy) นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกิดการสร้างเสริมพลังในตนเอง (Self-Empowerment) โดยเฉพาะในการหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งส่งผลทำให้ผู้สูงอายุเรียนรู้การดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น นำมาซึ่งการเห็นคุณค่าในตนเองและความพึงพอใจในชีวิต ส่วนในการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่า ตัวแปรที่มีประสิทธิภาพในการพยากรณ์การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุมากที่สุดคือ ปัจจัยทางจิตวิทยาภายในตัวผู้สูงอายุ (Adjust R2 = .325) ซึ่งพยากรณ์ได้ที่ร้อยละ 32.5 ถัดมาคือ ปัจจัยทางจิตวิทยาภายนอกตัวผู้สูงอายุ (Adjust R2 = .313) ซึ่งพยากรณ์ได้ที่ร้อยละ 31.3 และคุณลักษณะของนวัตกรรม (Adjust R2 = .187) ซึ่งพยากรณ์ได้ที่ร้อยละ 18.7 ตามลำดับ


อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดออนไลน์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านมัลติแบรนด์สโตร์, ภูษณิศา ลิ้มอังกูร Jan 2018

อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดออนไลน์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านมัลติแบรนด์สโตร์, ภูษณิศา ลิ้มอังกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษา 1.)เพื่อศึกษาการเปิดรับการสื่อสารการตลาดออนไลน์ทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคร้านมัลติแบรนด์สโตร์2.)เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับการสื่อสารการตลาดออนไลน์กับทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์ของผู้บริโภคร้านมัลติแบรนด์สโตร์3.)เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคร้านมัลติแบรนด์สโตร์4.)เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคร้านมัลติแบรนด์สโตร์โดยให้กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่18-40ปีทั้งเพศชายและเพศหญิงที่เคยซื้อสินค้าร้านมัลติแบรนด์สโตร์ในรอบระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา และมีการติดตามข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของร้านมัลติแบรนด์สโตร์แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งใน 3 แบรนด์หลักได้แก่ Sense Of Style (SOS) CAMP และ Match boxตอบแบบสอบถามออนไลน์จำนวน 400 คน จากผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า1.) ผู้บริโภคมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับร้านมัลติแบรนด์สโตร์ในรูปแบบรูปภาพผ่านอินสตาแกรมมากที่สุด 2.) ผู้บริโภคมีทัศนคติชื่นชอบมากที่สุดต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์โดยการใช้พนักงานขาย (Admin) 3.) ราคาของสินค้ามีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคร้านมัลติแบรนด์สโตร์เป็นประจำมากที่สุด 4.) การเปิดรับการสื่อสารการตลาดออนไลน์และทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์ของผู้บริโภค มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกและมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง5.) ทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคร้านมัลติแบรนด์สโตร์ มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกและมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง6.) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคร้านมัลติแบรนด์สโตร์ คือทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์ (Beta = 0.388) และการเปิดรับการสื่อสารการตลาดออนไลน์ (Beta = 0.258)


หน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามในภาษาไทย, กมลชนก หงษ์ทอง Jan 2018

หน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามในภาษาไทย, กมลชนก หงษ์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อระบุความแตกต่างระหว่างหน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามกับนามวลีที่มีโครงสร้างเดียวกันคือ ‘คำนาม + กริยาวลี' 2) เพื่อระบุโครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ของหน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามในภาษาไทย และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีบทบาทต่อการกำหนดเงื่อนไขการปรากฏของโครงสร้างทางวากยสัมพันธ์แต่ละแบบที่ระบุได้ในข้อ 2 ผู้วิจัยได้อาศัยสมมติฐานความคงสภาพของศัพท์เพื่อทดสอบความตรึงแน่นภายในของหน่วยที่ประกอบด้วย ‘คำนาม + กริยาวลี' และคำนวณอัตราส่วนระหว่างแบบต่อรูป ความแตกต่างที่พบคือคำประสมมีอัตราส่วนระหว่างแบบต่อรูปต่ำและมีความเป็นเนื้อเดียวกันสูงจนไม่ยอมให้กระบวนการทางวากยสัมพันธ์ ได้แก่ การแทรก การขยาย การแทนที่ และการเชื่อม เข้าไปมีบทบาทต่อหน่วยย่อยภายในเพียงหน่วยใดหน่วยหนึ่งได้ ในทางกลับกัน หน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามมีอัตราส่วนระหว่างแบบต่อรูปสูงจนกระบวนการทางวากยสัมพันธ์สามารถเข้าไปมีบทบาทต่อหน่วยประกอบของมันได้ ผลการศึกษาพบว่าหน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามในภาษาไทยประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วนที่ขาดไม่ได้คือ ‘ส่วนหลัก' คือคำนามหรือนามวลี และ ‘ส่วนขยาย' คืออนุประโยค ในบางการปรากฏอาจพบ ‘ตัวนำอนุประโยค' ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน ผู้ ว่า ผู้ซึ่ง ที่ซึ่ง และ ที่ว่า นำหน้าส่วนขยาย หน่วยสร้างอนุประโยคขยายคำนามมีกระสวนโครงสร้าง 4 แบบที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1) คำนามหลัก + ตัวนำอนุประโยค + อนุประโยคขยายที่มีตัวอ้างอิงร่วมกับคำนามหลัก 2) คำนามหลัก + อนุประโยคขยายที่มีตัวอ้างอิงร่วมกับคำนามหลัก3) คำนามหลัก + ตัวนำอนุประโยค + อนุประโยคขยายที่ไม่มีตัวอ้างอิงร่วมกับคำนามหลัก และ 4) คำนามหลัก + อนุประโยคขยายที่ไม่มีตัวอ้างอิงร่วมกับคำนามหลัก ปัจจัยที่มีบทบาทหลักต่อการกำหนดเงื่อนไขการปรากฏของโครงสร้างแต่ละแบบ ได้แก่ การมีหรือไม่มีตัวนำอนุประโยค การมีหรือไม่มีตัวอ้างอิงร่วม หน้าที่ของอนุประโยคขยายที่มีต่อคำนามหลัก และปัจจัยนอกเหนือจากรูปภาษา ส่วนปัจจัยที่มีบทบาทรองลงมาหรือปัจจัยที่กำหนดการปรากฏแบบย่อยของแต่ละโครงสร้าง ได้แก่ ตำแหน่งทางไวยากรณ์ของตัวอ้างอิงร่วม คุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ของคำนามหลัก บทบาททางความหมายของคำนามหลัก ความซับซ้อนของหน่วยประกอบ ความเป็นวรรณศิลป์ และน้ำเสียงของผู้ส่งสาร ในขณะที่จำนวนขั้นต่ำของผู้ร่วมเหตุการณ์ การมีหรือไม่มีสุญรูป บริบทแวดล้อม และความเป็นทางการ ไมใช่มีบทบาทต่อการกำหนดแบบต่างๆ ของโครงสร้าง


การพัฒนาระบบสืบค้นข้อมูลการจัดการลดน้ำสูญเสียของการประปาส่วนภูมิภาคด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนเว็บ, วราภรณ์ เพชรปฐมชล Jan 2018

การพัฒนาระบบสืบค้นข้อมูลการจัดการลดน้ำสูญเสียของการประปาส่วนภูมิภาคด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนเว็บ, วราภรณ์ เพชรปฐมชล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสืบค้นสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่แสดงผลบนเว็บ เพื่อสนับสนุนการวางแผนและจัดการลดน้ำสูญเสียของการประปาส่วนภูมิภาค โดยเลือกใช้ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของการประปาส่วนภูมิภาคสาขามวกเหล็ก และซอฟต์แวร์รหัสเปิดในการพัฒนาระบบซึ่งสามารถทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบสืบค้นฯ ประกอบด้วยสถาปัตยกรรม 3 ส่วน ได้แก่ ส่วน client ส่วน web server และส่วน database server ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับระบบด้วยการคลิกเลือกเครื่องมือที่ต้องการ ประกอบด้วย เครื่องมือจัดการแผนที่ เครื่องมือระบุข้อมูล (identify) เครื่องมือสอบถามข้อมูล (ad-hoc query) เครื่องมือสืบค้นข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก่อนหน้า (pre-defined query) ได้แก่ ข้อมูลแนวท่อ ข้อมูลมาตรวัดน้ำที่มีการใช้น้ำผิดปกติ ข้อมูลจุดซ่อมท่อ ข้อมูลการใช้น้ำภายในขอบเขตพื้นที่จ่ายน้ำย่อย และข้อมูลน้ำสูญเสีย ซึ่งสามารถส่งออกผลลัพธ์ในรูปแบบตารางได้ ผลการศึกษาพบว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนเว็บที่พัฒนาขึ้นนี้ ผู้ใช้งานสามารถนำข้อมูลไปใช้สนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการลดน้ำสูญเสียของการประปาส่วนภูมิภาคได้เป็นอย่างดี บุคลากรในหน่วยงานสามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้โดยง่าย โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นพื้นฐาน ทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการดำเนินงาน และมีความสะดวกมากขึ้นในการดำเนินงาน


Socio Economic Determinants Of Spousal Violence Against Women In Myanmar, Lin Lin Mar Jan 2018

Socio Economic Determinants Of Spousal Violence Against Women In Myanmar, Lin Lin Mar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, the violence against women by spouses is a hidden social problem embedded in social and cultural norms in Myanmar. However, there are limited numbers of previous studies regarding spousal violence in Myanmar. Some studies utilized a qualitative approach, while some used a quantitative approach in some parts of Myanmar. This study aims to examine whether socioeconomic and demographic factors affecting spousal violence using a quantitative approach to fill the literature gap at the national level. It uses the data from the 2015-16 Myanmar Demographic and Health Survey. The explanatory variables are demographic and socio-economic characteristics of the women, their …


Impact Of Migration And Remittances On Children's Human Capital In Cambodia, Vatana Chea Jan 2018

Impact Of Migration And Remittances On Children's Human Capital In Cambodia, Vatana Chea

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This dissertation investigates the impacts of migration and remittances on human capital development of left-behind children in Cambodia. It contributes new evidence to a controversial debate in the literature on long-term impacts of migration and of remittances on the children. This is from the perspective of education, health, and consumption in remittance-recipient households compared with those in non-recipient ones. It relies on pooled data from Cambodia Socio-Economic Survey of 2009 and 2014, each of which comprises around 12,000 households in both rural and urban areas across all 25 provinces there. To evaluate the impact on household educational investment, the study …


Roles Of Parent's Preferences And Student's Subjective Beliefs On College Decision, Kansini Sillapawanich Jan 2018

Roles Of Parent's Preferences And Student's Subjective Beliefs On College Decision, Kansini Sillapawanich

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper investigates whether and how children's educational choice is affected by parental preferences and perceived earnings. We assume that individuals choose college major to maximize their own utility which depends on several factors such as personal background, perceived earnings, and importantly parents' preferences. The study employs the "Students Survey about Services of Government in Thailand" data to study two educational choice decisions. First, whether to enroll in college. Second, conditional on college enrollment, which major to choose. Empirically, the logistic model and conditional multinomial logit model are estimated. We find strong evidence that parental preferences significantly correlate with educational …


What Would You Do, If I Get More? An Experimental Test On The Consequences Of Envy, Nattawut Hunyek Jan 2018

What Would You Do, If I Get More? An Experimental Test On The Consequences Of Envy, Nattawut Hunyek

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Envy is an unpleasant emotion characterised by the feelings of inferiority, hostility, and resentment produced by an awareness of another person or group of persons who enjoy the desired possession which can motivate the envious person in two different paths, destructive (named malicious envy) and competitive (benign envy). This research presents an experimental design which involves real-effort task to study the quantitative difference between both types of envy. The results show that envy may incentivise subject to do both competitive and destructive things to make them feel better after realising their lower position. The self-position and reference agent position are …


The Volatility Of Equity Flows In Asean Emerging Markets, Supatchaya Ketchan Jan 2018

The Volatility Of Equity Flows In Asean Emerging Markets, Supatchaya Ketchan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The volatility of foreign equity flows into and out of ASEAN emerging markets is a source of concerned for macroeconomic and financial stability. This thesis uses the DCC-MGARCH model examine the volatility co-movement of daily net foreign equity flows for four ASEAN emerging economies (Thailand, Malaysia, Indonesia and the Phillipines) from 1st October 2009 to 28th December 2018. Furthermore, the SUR model is employed to understand which global and domestic macroeconomics factors may affect the volatility of net foreign equity flows. Overall, we find a slowdown of net equity flows to these ASEAN emerging markets especially since 2015 with the …


ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน: ศึกษากรณีเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลตำรวจ, รมิดา แสงสวัสดิ์ Jan 2018

ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน: ศึกษากรณีเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลตำรวจ, รมิดา แสงสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง "ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน: ศึกษากรณีเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลตำรวจ" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและรูปแบบของความรุนแรงในสถานที่ทำงาน สาเหตุของความรุนแรงในสถานที่ทำงาน และเพื่อแสวงหาแนวทางในการป้องกันและการแก้ไขความรุนแรงในสถานที่ทำงานของเจ้าหน้าที่และบุคลากรในโรงพยาบาลตำรวจ ระเบียบวิธีวิจัย คือ วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลตำรวจ รวมทั้งสิ้น 204 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบออนไลน์และแบบกรอกข้อมูลลงกระดาษสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ และเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ คือ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว จากผลการวิจัย พบว่า ด้านผลกระทบและรูปแบบของความรุนแรงในสถานที่ทำงานกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบเจอกับความรุนแรงทางวาจามากที่สุด ในลักษณะของการใช้น้ำเสียงตะคอก และการกล่าวตำหนิ/กล่าวโทษ ผู้กระทำความรุนแรงทั้งทางวาจาและร่างกายที่พบในสถานที่ทำงานมากที่สุด คือ ผู้ร่วมงานภายในหน่วยงานเดียวกัน ผลกระทบที่ได้รับจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ และยังคงทำงานปกติ แต่ในบางรายกระทบต่อความรู้สึก จิตใจ และเลือกที่จะหยุดงาน ย้ายหน่วยงานหรือลาออก ด้านการจัดการกับความรุนแรง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้วิธีพูดคุยหรือบอกเล่าให้บุคคลอื่นรับฟัง และในกรณีที่ไม่บอกเล่าเหตุการณ์ต่อบุคคลอื่น พบว่าเห็นเป็นเรื่องไม่สำคัญและกลัวถูกมองในแง่ลบ ด้านสาเหตุของความรุนแรง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า ปัจจัยที่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมทางสังคมมีโอกาสส่งผลให้เกิดความรุนแรงได้มากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย ความกดดันจากสภาวะเร่งรีบในการปฏิบัติงาน สภาวะแวดล้อมในการทำงานที่มีความเครียด และความกดดันที่เกิดจากความผิดพลาด ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าความแตกต่างทางศาสนาและความเชื่อส่งผลต่อความรุนแรงในสถานที่ทำงานน้อยที่สุด แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงควรยึดความแตกต่างเฉพาะบุคคล รูปแบบหรือลักษณะของความรุนแรงที่เกิดขึ้น และมีการนำเทคโนโลยีสำหรับการป้องกันความปลอดภัยมาใช้ นอกจากนี้ผู้บริหารขององค์กรสามารถนำผลการวิจัยมาใช้ในการจัดตั้งโครงการอบรมเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยและผลกระทบของปัญหา และยังเป็นส่วนช่วยในการเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการ หรือการรับมือกับปัญหาความรุนแรงในสถานที่ทำงาน


Sex-Composition Of Children And Fertility Desire In Vietnam, Hai Yen Thi Nguyen Jan 2018

Sex-Composition Of Children And Fertility Desire In Vietnam, Hai Yen Thi Nguyen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis aims to investigate whether the variation in sex composition of children can explain the variation of Vietnamese women's fertility desire. Vietnam has experienced rapid fertility decline since the middle of the 20th century but within a broader context of strong cultural norms regarding son preference. Thus, the sex composition of children is one of the key determinants of reproductive behavior within Vietnam. To my knowledge, no previous study has examined the relationship between sex composition of children and women's fertility desires in Vietnam. Using data from the 2014 Vietnam Multiple Indicator Cluster Survey (MICS) I investigate the association …


How Far From The Train Station Should We Tax? An Empirical Study Based On Value Capture Method, Nanthawat Ouysinprasert Jan 2018

How Far From The Train Station Should We Tax? An Empirical Study Based On Value Capture Method, Nanthawat Ouysinprasert

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to present a way to earn income for the government through the expansion of the property tax base. It basically collects tax from the asset owners that benefit from the increased value in the development of public infrastructure. There are two important objectives: First, the author wants to analyze the economic impact that occurs from the presence of the train station and other relating factors on the value of housing. Second, the author desires to apply the value capture method to create a tax model. The sample group is 511 residential buildings located within a radius of …


The Design Of Thailand International Public Sector Standard Management System And Outcomes In Service For The Private Sector And People System (P.S.O. 1107): Case Study Of Siriraj Piyamaharajkarun Hospital, Pimadej Siwapornpitak Jan 2018

The Design Of Thailand International Public Sector Standard Management System And Outcomes In Service For The Private Sector And People System (P.S.O. 1107): Case Study Of Siriraj Piyamaharajkarun Hospital, Pimadej Siwapornpitak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The application of privatization in public sector is a one of strategic transformations that significantly helps promoting the organizational development in terms of efficiency and quality which subsequently resulted to the continuous financial development which refers to as revenue and profitability. Such development usually will be corresponded to the competitive market which indicates the organizational achievement. However, privatization can possibly create direct impacts on public sector and stakeholders as well if it was conducted in the public sector that emphasized on public health services such as public hospital where the core product is health care or medical treatment. The objectives …


Economic Security And Development: The Impacts Of Inca Inchi Contract-Farming As An Agricultural Business Model In Kachin State, Myanmar, Zaw Ban Jan 2018

Economic Security And Development: The Impacts Of Inca Inchi Contract-Farming As An Agricultural Business Model In Kachin State, Myanmar, Zaw Ban

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In Myanmar, Inca Inchi is one of the new economic businesses that made changes to the agriculture sector with both its advantages to the quality of life of the people and a high selling price which generates an economic benefit. This study tries to explore the overall social and economic impact that Inca Inchi contract-farming as a business model has had on the security and development specifically for the farmers who signed the contracts with the Inca Inchi companies in the Kachin state, Myanmar. Sample size in Myitkyina Township represented total population. Quantitative data collection method based on primary data …


Factors Affecting Employment Generation Rate And Sales Growth Rate : A Case Study Of Bangladeshi Firms, Sakhawat Islam Jan 2018

Factors Affecting Employment Generation Rate And Sales Growth Rate : A Case Study Of Bangladeshi Firms, Sakhawat Islam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Bangladesh has shown significant improvement to develop its economy over the past decades. It is one of the developing countries which is an excellent example to the policymakers and specialists working in development sectors. Moreover, the significant contribution was made by firms running the business in Bangladesh to gain this success. This study examines few factors which include the gender of the owner of the organizations, the characteristics of the organizations, possible obstacles faced by and the preferred sources of capital to run the business by the firms, employees employed in the year of 2002 and 2005, and their annual …


เศรษฐศาสตร์การเมืองในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท : กรณีศึกษา ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี, ณัฐธิดา เย็นบำรุง Jan 2018

เศรษฐศาสตร์การเมืองในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท : กรณีศึกษา ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี, ณัฐธิดา เย็นบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยการกลายเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท และศึกษาปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจของการเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท กรณีศึกษาตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ข้อมูลปฐมภูมิได้มาจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่ม อันได้แก่ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานส่วนกลาง เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม และประชาชนกลุ่มต่างๆ ในคลองสาม และข้อมูลทุติยภูมิได้มาจากเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการกลายเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทในคลองสาม เกิดจากพื้นที่คลองสามเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาพื้นที่คลองหลวง พื้นที่คลองหลวงมีการเปลี่ยนแปลงด้วยการขยายตัวของทุนต่างๆ ที่เข้ามา ประกอบกับภาครัฐที่พัฒนาพื้นที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย พื้นที่คลองสามจึงถูกพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของทุนอุตสาหกรรมในอำเภอคลองหลวง อีกทั้งพื้นที่มีเจ้าที่ดินครอบครองที่ดินขนาดใหญ่ ได้เปลี่ยนมือของกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่นายทุนจัดสรร โดยมีแรงต้านจากเกษตรกรผู้เช่าที่ดินนั้นน้อยมาก เนื่องจากไม่มีกรรมสิทธิ์ และอำนาจการต่อรองใดๆ และที่สำคัญนายทุนได้ใช้ประโยชน์จากความอ่อนแอของสถาบันผังเมืองที่เกิดผังเมืองช้า ทำให้พื้นที่คลองสามเปลี่ยนสู่เมืองรวดเร็วมาก สำหรับปฏิสัมพันธ์เชิงอานาจเมื่อ พื้นที่เปลี่ยนเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทแล้วระหว่างท้องถิ่น กลุ่มทุน ประชาชน เป็นไปในลักษณะที่พึ่งพา เอื้อผลประโยชน์ และขัดแย้ง เอาเปรียบกัน กระทำผ่านการช่วงชิงที่ดินเป็นสำคัญ ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างท้องถิ่นกับกลุ่มทุน เป็นในลักษณะมีผลประโยชน์ต่างตอบแทนกัน มุ่งหน้าพัฒนาให้พื้นที่เป็นเมือง เพื่อเอื้อการสะสมทุน โดยท้องถิ่นเก็บรายได้ในรูปของภาษีเป็นการตอบแทน นอกจากนี้ความสัมพันธ์ของกลุ่มทุนและประชาชนเต็มไปด้วยความขัดแย้ง การเอาเปรียบเรื่องที่ดิน ผ่านการขับไล่กลุ่มคนดั้งเดิมออกจากพื้นที่ และมุ่งสะสมกำไรอย่างไร้ความรับผิดชอบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คน สร้างภาระและความเดือดร้อนให้กับท้องถิ่นและประชาชน ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทของไทยสัมพันธ์กับพัฒนาการของระบบทุนนิยมเสรีที่ให้ความสำคัญกับกรรมสิทธิ์ของปัจเจกมากกว่าสิทธิชุมชน สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอของสถาบันทั้งภาครัฐและสถาบันผังเมือง พื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทเป็นพื้นที่ของความขัดแย้ง โดยเฉพาะความ ขัดแย้งเรื่องที่ดิน นอกจากนี้พื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทยังสะท้อนการต่อสู้ของคนในพื้นที่ที่ไม่ยอมเสียพื้นที่กึ่งชนบทไป ดังนั้น พื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทจึงไม่ได้เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ แต่ยังสะท้อนความสัมพันธ์ทางสังคม ปฏิสัมพันธ์เชิงอานาจในพื้นที่อีกด้วย


สารัตถะและความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณ, อรุณวรรณ คงมีผล Jan 2018

สารัตถะและความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณ, อรุณวรรณ คงมีผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาสารัตถะและความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณจากงานนิพนธ์ว่าด้วยศาสตร์แห่งอัญมณีที่บรรจุแทรกในวรรณคดีสันสกฤตประเภทศาสตร์ 5 เรื่อง ได้แก่ อรรถศาสตร์ของเกาฏิลยะ, พฤหัตสํหิตาของวราหมิหิระ, ยุกติกัลปตรุของโภชะ, มานโสลลาสะของโสเมศวระ และศุกรนีติสาระของศุกราจารย์ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือ การศึกษาสารัตถะ โดยมีการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลปฐมภูมิ 5 เรื่อง กับงานนิพนธ์ว่าด้วยศาสตร์แห่งอัญมณีที่เป็นเรื่องเดี่ยว ส่วนที่สองคือการศึกษาความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีในบริบทของสังคมและวัฒนธรรม โดยพิจารณาจากข้อความตัวบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องแทรกว่าด้วยศาสตร์แห่งอัญมณีกับงานนิพนธ์เรื่องหลัก รวมทั้งพิจารณาบทบาทของศาสตร์แห่งอัญมณีที่ปรากฏในงานนิพนธ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในอดีตและปัจจุบัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สารัตถะของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณ คือ การถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบและจำแนกสิ่งมีค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัญมณี นำไปสู่การประเมินมูลค่าและคุณค่า เพื่อตอบสนองความมั่นคงของราชอาณาจักร องค์ความรู้เรื่องการตรวจสอบอัญมณีจำแนกได้เป็น 4 หมวด ได้แก่ หมวดการตรวจสอบอัญมณี หมวดการประเมินค่าอัญมณี หมวดการกำหนดราคาอัญมณี และหมวดเบ็ดเตล็ดซึ่งครอบคลุมศิลปะการทำอัญมณีตลอดจนความเชื่อ และวัฒนธรรมเกี่ยวกับการใช้อัญมณี เนื้อหาสาระของตำราอัญมณีประเภทเรื่องแทรกที่นำมาศึกษาครั้งนี้ โดยมากพ้องกับตำราอัญมณีประเภทเรื่องเดี่ยว สิ่งที่แตกต่างกันคือรายละเอียดปลีกย่อยและบริบทของการนำไปใช้ซึ่งมุ่งในแวดวงของราชสำนัก ส่วนความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณนั้นแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมือง ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านภาษาและวรรณคดี และด้านการศึกษา สะท้อนให้เห็นว่า ศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณมีคุณูปการต่อสังคมในวงกว้างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงมีการสืบทอด การผลิตช้า การดัดแปลง และการอ้างอิงศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียในงานนิพนธ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน