Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Political Science

PDF

2018

Institution
Keyword
Publication
Publication Type

Articles 1651 - 1669 of 1669

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

วัดกับรัฐ: กรณีศึกษาโครงการความร่วมมือระหว่างวัดพระธรรมกายและกระทรวงศึกษาธิการในโครงการ เด็กดี V-Star, กันต์ แสงทอง Jan 2018

วัดกับรัฐ: กรณีศึกษาโครงการความร่วมมือระหว่างวัดพระธรรมกายและกระทรวงศึกษาธิการในโครงการ เด็กดี V-Star, กันต์ แสงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับรัฐในบริบทการเมืองไทย โดยมีกรณีศึกษาคือโครงการเด็กดี V-STAR ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างวัดพระธรรมกายและกระทรวงศึกษาธิการ โดยอธิบายความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจและการต่อรอง ผ่านแนวคิดโครงสร้างหน้าที่ และ กลไกอุดมการณ์รัฐตลอดจนแนวคิดขบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนาโดยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับรัฐในบริบททางการเมืองไทยนั้น วัดอยู่ภายใต้การควบคุมของโครงสร้างอำนาจของรัฐผ่านกรอบของกฎหมายและระบบราชการ โดยมีการรับรองรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับรัฐพบว่าตั้งแต่ พ.ศ. 2540 วัดมีบทบาทสถาบันหนึ่งของสังคมที่ทำหน้าที่กล่อมเกลาอุดมการณ์หลักของรัฐและมีบทบาทที่สัมพัน์กับรัฐใน 4 รูปแบบคือ ร่วมมือ เรียกร้อง ต่อรอง และ ขัดแย้ง ในกรณีของวัดพระธรรมกายกับกระทรวงศึกษาธิการพบว่าการดำเนินโครงการเด็กดี V-STAR มีลักษณะความสัมพันธ์เชิงร่วมมือกันระหว่างรัฐกับวัดพระธรรมกาย โดยวัดพระธรรมกายมีใช้วิธีการในการเข้าหารัฐผ่านทั้งโครงสร้างของระบบราชการมากกว่าจะเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากฝ่ายการเมืองซึ่งต่างจากความสัมพันธ์ระหว่างวัดอื่นๆกับรัฐ


รัฐ ทุน และชาวนาหลังโครงการรับจำนำข้าว, กัญญาภัทร เพชรร่วง Jan 2018

รัฐ ทุน และชาวนาหลังโครงการรับจำนำข้าว, กัญญาภัทร เพชรร่วง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทุน และชาวนาที่เกิดขึ้นภายหลังโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยแบ่งเป็นประเด็นในการอธิบายออกเป็น 3 ประเด็น คือ 1) รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทุน และชาวนาหลังโครงการรับจำนำข้าว 2) ผลที่เกิดขึ้นจากการปรับรูปแบบความสัมพันธ์ต่อตัวแสดงทั้งสามฝ่าย และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดรูปแบบความสัมพันธ์ของรัฐ ทุน และชาวนาหลังนโยบายรับจำนำข้าว ผลการวิจัยพบว่าหลังจากการรัฐประหารในปี 2557 รัฐ (รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และระบบราชการ) ไม่เข้มแข็งพอที่จะควบคุมหรือกำหนดนโยบายเองทั้งหมดเหมือนที่เคยทำได้ในสมัยที่เป็นรัฐราชการ หรือ ช่วงที่เป็นแบบภาคีรัฐ - สังคม เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540 ทำให้บริบทด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจเปลี่ยนไป รัฐจึงต้องค่อยๆ คลายตัว และลดบทบาทของตนเองลง ในช่วงเวลานั้นทุน โดยเฉพาะทุนขนาดใหญ่ และชาวนามีโอกาสได้พัฒนาตนเองจนทำให้มีอำนาจในการต่อรองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐต้องมีการปรับตัว คือการพัฒนาตนเองของชาวนาในด้านการเมืองโดยเฉพาะในช่วงการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว ประกอบกับบริบททางเศรษฐกิจที่เอื้อให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่สามารถลดการพึ่งพิงรัฐลงได้เรื่อยขณะที่รัฐกลับต้องพึ่งพาการลงทุนจากกลุ่มทุนขนาดใหญ่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ อีกทั้งต้องสร้างการยอมรับจากทุนท้องถิ่นเพื่อใช้เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับชาวนาแทนระบบราชการในท้องถิ่น และต้องการการยอมรับจากชาวนาซึ่งเป็นกลุ่มพลังสำคัญทางการเมือง รัฐจึงจำเป็นต้องเปิดพื้นที่ให้คนจากกลุ่มอื่นได้เข้ามาแบ่งปันผลประโยชน์จากนโยบายของรัฐมากขึ้น โดยเฉพาะทุนขนาดใหญ่ที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนด และดำเนินนโยบายมากกว่ากลุ่มอื่นๆแต่กระนั้น รัฐก็มิได้ปล่อยให้อำนาจในการต่อรอง หรือกำหนดนโยบายให้เป็นไปตามแนวคิดเสรีนิยมใหม่ (Neo - Liberalism)เสียทีเดียว กล่าวคือ รัฐยังคงมีการแทรกแซง และกุมอำนาจอยู่ และยังไม่ได้เปิดโอกาสให้ชาวนาได้เข้าไปมีส่วนร่วมเท่าที่เคยมีในช่วงรัฐบาลที่ผ่านๆ มาดังนั้นรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทุน และชาวนาหลังโครงการรับจำนำข้าวจึงยังคงเป็นความสัมพันธ์ในแนวดิ่งเช่นที่ผ่านมา ซึ่งจากการศึกษาพบว่า รัฐในยุคของ คสช. จะพยายามรักษาความสัมพันธ์กับทุนท้องถิ่น และชาวนาผ่านการดำเนินนโยบายในลักษณะประชานิยมต่างๆ รัฐยังคงไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวนาและเอื้อประโยชน์ให้กับทุนขนาดใหญ่เป็นหลักเช่นเดิม


พลวัตรของการกำหนดนโยบายค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทย, ณัฐภัทร โสพิณ Jan 2018

พลวัตรของการกำหนดนโยบายค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทย, ณัฐภัทร โสพิณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเด็นนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำนั้นเป็นข้อขัดแย้งที่มีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยประเด็นนี้นั้นจึงเป็นประเด็นที่มีมิติทางการเมืองอย่างชัดเจนผ่านการกดดันจากกลุ่มต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ในสิ่งที่ตนต้องการผ่านหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นทางพรรคการเมืองหรือกลุ่มคณะต่าง ๆ ที่มีผลได้ผลเสียกับนโยบายที่จะกำหนดลงโดยงานชิ้นนี้นั้นต้องการที่จะอธิบายและวิเคราะห์พลวัตรของการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยโดยให้ให้ความสำคัญกับบริบททางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางของนโยบาย ซึ่งงานชิ้นนี้นั้นได้มีจุดประสงค์ที่จะ วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่นำไปสู่รูปแบบของการกำหนดนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำภายในบริบทการเมืองที่แตกต่างกัน อธิบายพลวัตรของการกำหนดนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำในบริบททางการเมืองที่แตกต่างกัน และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างระบอบการเมืองกับการกำหนดนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งงานชิ้นนี้นั้นศึกษาช่วงเวลาตั้งแต่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตรจนถึงรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และใช้การเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของการกำหนดนโยบายนี้ สิ่งที่พบในการศึกษาคือการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำของไทยนั้นมีรูปแบบทั่วไปที่คล้ายกันในตลอดที่ผ่านมาคือการปรับแบบค่อยเป็นค่อยไปและมีข้อยกเว้นในบางกรณีที่มาจากบริบททางการเมืองพิเศษคือการเลือกตั้ง บริบททางการเมืองนั้นส่งผลกับแนวทางและทิศทางของการกำหนดนโยบายทั้งทางตรงและทางอ้อมแต่ระบอบการเมืองนั้นไม่มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับการปรับขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ำแต่เป็นบริบททางการเมืองโดยรวมมากกว่าที่ส่งผลอย่างเห็นได้ชัด


การศึกษาความสัมพันธ์ของการพัฒนาเมืองภูเก็ตกับการเมืองท้องถิ่น, สุดรัก หนูนิ่ม Jan 2018

การศึกษาความสัมพันธ์ของการพัฒนาเมืองภูเก็ตกับการเมืองท้องถิ่น, สุดรัก หนูนิ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องการศึกษาความสัมพันธ์การพัฒนาเมืองภูเก็ตกับการเมืองท้องถิ่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ถึง ปัจจุบัน โดยมุ่งทำความเข้าใจความสัมพันธ์ในอำนาจของนักการเมืองท้องถิ่นกับพื้นที่เมืองในระดับนคร ภายใต้กรอบแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจการเมือง โดยมีคำถามการวิจัยคือ 1) ลักษณะการพัฒนาทุนนิยมของจังหวัดภูเก็ตเชื่อมโยงหรือมีผลต่อการเมืองท้องถิ่นอย่างไรและ 2) ทุนนิยมชนิดใดทีเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เมืองภูเก็ตเกิดการพัฒนา การศึกษาครั้งนี้ได้อาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการศึกษาพื้นที่เมืองของเทศบาลนครภูเก็ต ผลการศึกษาพบว่าทุนนิยมในเมืองนครภูเก็ตตั้งแต่อดีต จนกระทั่งปัจจุบัน ประกอบไปด้วยทุนนิยมเหมืองแร่ และทุนนิยมวัฒนธรรม โดยทุนนิยมเหมืองแร่มีทุนทรัพยากรเป็นพื้นฐานที่สำคัญหลังจากกิจการเหมืองแร่เริ่มซบเซา เมืองภูเก็ตมีสภาพเศรษฐกิจที่หยุดชะงัก จนกระทั่งนักการเมืองท้องถิ่นเทศบาลนครภูเก็ตได้เล็งเห็นถึงการนำทุนอุตสาหกรรมและทุนภาคบริการมาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมือง นับจากนั้นเพียงไม่นานทุนดังกล่าวก็ได้หล่อรวมเกิดเป็นทุนนิยมวัฒนธรรมขึ้นในพื้นที่เทศบาลนครภูเก็ต ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจในพื้นที่ขนาดใหญ่ซึ่งทำให้นักการเมืองท้องถิ่นที่เข้ามาแย่งชิงอำนาจในพื้นที่เมืองแห่งนี้ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตของเมืองนครภูเก็ตผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ ทำให้พื้นที่เมืองถูกขยายและพัฒนาออกไป ระบบทุนนิยมวัฒนธรรมวัฒนธรรมส่งผลต่อเศรษฐกิจเมืองและเมื่อเศรษฐกิจเป็นตัวชี้นำทิศทางของการเมืองได้ การแพ้ชนะในการแข่งขันของการเมืองท้องถิ่นจึงเป็นการแพ้ชนะกันด้วยโครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ซึ่งกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดทุนนิยมวัฒนธรรมขึ้น คือ การเมืองท้องถิ่นเทศบาลนครภูเก็ตซึ่งเป็นที่ประจักษ์ว่ากลุ่มการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งมาโดยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีมีมีเพียงกลุ่มเดียวคือ กลุ่มคนหนุ่ม ซึ่งสมาชิกในกลุ่มล้วนแล้วแต่เป็นนายทุนในพื้นที่ที่มีการสะสมทุนทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่ยุคทุนนิยมเหมืองแร่ ดังนั้นนครภูเก็ตตั้งแต่ปี 2540 จนกระทั้งถึงปัจจุบันถูกขับเคลื่อนโดยทุนนิยมที่เรียกว่าทุนนิยมวัฒนธรรม


นโยบายต่างประเทศของรัสเซียต่อกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริลระหว่าง ค.ศ. 2000 ถึง 2008, นราวดี สุวรรณกูฏ Jan 2018

นโยบายต่างประเทศของรัสเซียต่อกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริลระหว่าง ค.ศ. 2000 ถึง 2008, นราวดี สุวรรณกูฏ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้ต้องการศึกษาปัจจัยที่ทำให้รัสเซียในสมัยประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินดำเนินนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าวมากขึ้นต่อกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริลระหว่างค.ศ. 2000 ถึง 2008 ทั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาปัจจัยในสามระดับ ได้แก่ 1. ตัวแสดงระดับปัจเจกบุคคล 2. ตัวแสดงระดับภายในประเทศ 3. ตัวแสดงระดับระหว่างประเทศ เพื่อศึกษาว่าปัจจัยใดที่ส่งผลให้ท่าทีของรัสเซียแข็งกร้าว ซึ่งแตกต่างจากสมัยแรกของประธานาธิบดีปูตินรัสเซียที่ยังพยายามเจรจาแก้ไขกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นในสมัยที่สองเมื่อรัสเซียเริ่มพัฒนาเศรษฐกิจบนหมู่เกาะและมีการประจำกองทัพโดยมีเป้าหมายหลักด้านความมั่นคง การศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้รัสเซียดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้นเพราะตัวแสดงระดับภายในประเทศและตัวแสดงระดับระหว่างประเทศ เพราะในสมัยแรกรัสเซียยังยินดีที่จะเจรจาตามปฏิญญาร่วมระหว่างอดีตสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่น ค.ศ. 1956 ซึ่งรัสเซียตกลงที่จะคืนเกาะชิโกตันและเกาะฮาโบไมซึ่งเป็นสองเกาะเล็กให้ญี่ปุ่น แต่ท่าทีของรัสเซียในสมัยที่สองได้เปลี่ยนแปลงไป รัสเซียยังคงยืนกรานอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะคูริลและแสดงท่าทีแข็งกร้าวที่จะไม่คืนแม้แต่เกาะชิโกตันและเกาะฮาโบไมให้ญี่ปุ่น บทบาทของตัวแสดงระดับภายในประเทศที่มีผลอย่างมากต่อท่าทีของรัสเซีย คือ สภาดูม่าซาคาลินส์ซึ่งต่อต้านการยกหมู่เกาะคูริลให้ญี่ปุ่นส่งผลให้เกิดความขัดแย้งภายในรัสเซีย เพราะในตอนแรกรัฐบาลซึ่งนำโดยประธานาธิบดีปูตินมีท่าทีประนีประนอมต่อการแก้ไขกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล ส่วนบทบาทตัวแสดงระดับระหว่างประเทศที่สำคัญคือสหรัฐอเมริกาที่เป็นพันธมิตรหลักของญี่ปุ่น ยิ่งทำให้รัสเซียหวั่นเกรงเรื่องความมั่นคงเพราะหากรัสเซียยกหมู่เกาะคูริลให้ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาอาจจะเข้ามาตั้งฐานทัพในหมู่เกาะคูริลได้ในอนาคต บทบาทของตัวแสดงระดับภายในประเทศและตัวแสดงระดับระหว่างประเทศส่งผลให้รัสเซียไม่สามารถยกหมู่เกาะคูริลให้ญี่ปุ่นได้


บทบาทการรณรงค์ของภาคประชาสังคมเกาหลีใต้ในต่างประเทศกรณีหญิงบำเรอทหารญี่ปุ่น: ศึกษาระหว่าง ค.ศ.2010-2017, สุชาดา เลี้ยงชูศักดิ์ Jan 2018

บทบาทการรณรงค์ของภาคประชาสังคมเกาหลีใต้ในต่างประเทศกรณีหญิงบำเรอทหารญี่ปุ่น: ศึกษาระหว่าง ค.ศ.2010-2017, สุชาดา เลี้ยงชูศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาบทบาทของภาคประชาสังคมเกาหลีใต้ในการเรียกร้องความรับผิดชอบจากญี่ปุ่นกรณีหญิงบำเรอที่เกิดขึ้นช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเวทีระหว่างประเทศ ระหว่าง ค.ศ. 2010-2017 ทั้งในส่วนของการตั้งอนุสาวรีย์และรูปปั้นหญิงบำเรอในต่างแดนและการนำประเด็นขึ้นเรียกร้องในสถาบันระหว่างประเทศ เช่นองค์การสหประชาชาติ (United Nations) โดยต้องการศึกษาว่า ภาคประชาสังคมเกาหลีใต้มียุทธศาสตร์หรือวิธีการใด ในการนำอนุสาวรีย์และรูปปั้นหญิงบำเรอไปตั้งในต่างประเทศและนำประเด็นปัญหาขึ้นเสนอต่อที่ประชุมขององค์การสหประชาชาติ ทั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แนวคิดเรื่องประชาสังคมข้ามชาติ (transnational civil society) มาเป็นกรอบในการศึกษายุทธศาสตร์ของภาคประชาสังคมเกาหลีใต้ 3 กลุ่ม คือ สมาคมชาวเกาหลีเพื่อผู้หญิงที่ถูกใช้บำเรอทหารญี่ปุ่น (the Korean Council for Women Drafted for Military Sexual Slavery by Japan) หรือ the Korean Council, ภาคประชาสังคมเมืองฮวาซ็อง (Hwaseong city civic group) และภาคประชาสังคมเมืองซูวอน (Suwon city civic group) ผลการศึกษาพบว่า ในการผลักดันประเด็นปัญหาในสู่เวทีนานาชาตินั้น ภาคประชาสังคมเกาหลีใต้ใช้วิธีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับกลุ่มผู้สนับสนุนในต่างประเทศ อย่างภาคประชาสังคมภายนอกเกาหลีใต้และองค์กรระหว่างประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 รูปแบบด้วยกันคือ การใช้กรอบการมีประสบการณ์ร่วมกัน (sisterhood) การใช้อุดมการณ์สากลอย่างสิทธิมนุษยชนและสิทธิสตรี (human rights and women's rights) และการผลักดันอดีตหญิงบำเรอออกมาสู่สาธารณะ (survivor's testimony)


Liberty And The Challenge Of Diversity, Chandran Kukathas Jan 2018

Liberty And The Challenge Of Diversity, Chandran Kukathas

Research Collection School of Social Sciences

Those who favor liberty face a dilemma arising out of human diversity.While some groups of people will place a high value on liberty, others mayconsider it a lesser good or may value it scarcely at all. Preserving a free society by forcing everyone to value liberty runs against the spirit of freedom;but leaving those groups who do not care for liberty to live in that way alsodiminishes liberty, if in a different way. In the end the dilemma has to beresolved in favor of tolerating even those who do not care for liberty andthreaten to undermine it.


Libertarian Paternalism Is Hard Paternalism, Shane Ryan Jan 2018

Libertarian Paternalism Is Hard Paternalism, Shane Ryan

Research Collection School of Social Sciences

I argue that libertarian paternalism is in fact paternalism, or hard paternalism, rather than a form of soft paternalism. I do so on the basis of an analysis of the paternalist act according to which the paternalist act needn’t violate the will of the agent who is the target of that act and the paternalist actor need only suspect that her action may improve the welfare of that target. The paper considers and rejects interpretations of libertarian paternalism as soft paternalism. I then provide an outline as to how libertarian paternalism may be reformed in light of the finding that …


The Design Of Thailand International Public Sector Standard Management System And Outcomes In Service For The Private Sector And People System (P.S.O. 1107): Case Study Of Siriraj Piyamaharajkarun Hospital, Pimadej Siwapornpitak Jan 2018

The Design Of Thailand International Public Sector Standard Management System And Outcomes In Service For The Private Sector And People System (P.S.O. 1107): Case Study Of Siriraj Piyamaharajkarun Hospital, Pimadej Siwapornpitak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The application of privatization in public sector is a one of strategic transformations that significantly helps promoting the organizational development in terms of efficiency and quality which subsequently resulted to the continuous financial development which refers to as revenue and profitability. Such development usually will be corresponded to the competitive market which indicates the organizational achievement. However, privatization can possibly create direct impacts on public sector and stakeholders as well if it was conducted in the public sector that emphasized on public health services such as public hospital where the core product is health care or medical treatment. The objectives …


ความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยในประเทศไทยจนถึง พ.ศ. 2475 : การก่อรูป, การประชันความหมาย และการผสมผสาน, เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ Jan 2018

ความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยในประเทศไทยจนถึง พ.ศ. 2475 : การก่อรูป, การประชันความหมาย และการผสมผสาน, เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีคำถามหลักในการศึกษาว่า ความคิด “ประชาธิปไตย” (Democracy) ในฐานะความคิดการเมืองตะวันตก เริ่มเข้ามาในสังคมไทยในยุคสมัยใด และมีการรับรู้เข้าใจในรูปแบบใดบ้างจนถึง พ.ศ. 2475? ผลการศึกษาพบว่า ความคิด "ประชาธิปไตย" (Democracy) เริ่มเข้ามาสู่ในสังคมไทยตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา จนถึง พ.ศ. 2475 มีการรับรู้เข้าใจในสังคมอย่างน้อยห้ารูปแบบด้วยกัน ได้แก่ (1) รูปแบบการปกครองที่ไม่มีกษัตริย์หรือมหาชนรัฐ (2) องค์ประกอบหนึ่งของระบอบการปกครอง (3) การปกครองของเอเธนส์โบราณ (4) การปกครองในรูปแบบตัวแทน และ (5) อำนาจของประชาชน มากไปกว่านั้น ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า ความหมายของประชาธิปไตยนั้นมีลักษณะที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัวเอง และเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่นำไปสู่ความขัดแย้งทางทฤษฎีและปฏิบัติการทางการเมืองตราบจนถึงปัจจุบัน


บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในการเมืองไทย (พ.ศ. 2541-2557), ชาย ไชยชิต Jan 2018

บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในการเมืองไทย (พ.ศ. 2541-2557), ชาย ไชยชิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาวิเคราะห์ถึงบทบาทหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญไทยในช่วงเวลานับแต่ปี 2541 ถึงปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออธิบายว่าการจัดตั้งสถาบันทางการเมืองรูปแบบใหม่นี้ขึ้นมาในโครงสร้างระบอบการเมืองของไทย ส่งผลให้กระบวนการทางการเมืองโดยรวมมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจากในช่วงก่อนหน้านั้นอย่างไร การศึกษาวิเคราะห์รายละเอียดเนื้อหาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในช่วงเวลาดังกล่าว จำนวน 677 คำวินิจฉัย พบว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลต่อการใช้อำนาจขององค์กรต่าง ๆ ได้แก่ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลต่าง ๆ รวมถึงองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญมีบทบาทในการวินิจฉัยข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญหลายลักษณะ ได้แก่ การโต้แย้งปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแบบนามธรรมในช่วงก่อนและหลังกฎหมายประกาศใช้ การตั้งข้อกังขาเกี่ยวกับปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ใช้พิพากษาคดีในศาล ข้อขัดแย้งเรื่องอำนาจขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ การตีความรัฐธรรมนูญ รวมถึงปัญหาความถูกต้องสมบูรณ์ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญของการดำรงตำแหน่งสาธารณะ การดำเนินกิจการพรรคการเมืองและกระบวนการทางการเมือง การทำหน้าที่ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญมีบทบาทในฐานะสถาบันที่ทำหน้าที่พิทักษ์ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ


When The Tables Are Turned: The Effects Of The 2016 Us Presidential Election On In-Group Favoritism And Out-Group Hostility, Burak Oc, Celia Moore, Michael R. Bashshur Jan 2018

When The Tables Are Turned: The Effects Of The 2016 Us Presidential Election On In-Group Favoritism And Out-Group Hostility, Burak Oc, Celia Moore, Michael R. Bashshur

Research Collection Lee Kong Chian School Of Business

The outcome of the 2016 U.S. Presidential election was a big surprise to many, as the majority of polls had predicted the opposite outcome. In this two-stage cross-sectional study, we focus on how Democrats and Republicans reacted to this electoral surprise and how these reactions might have influenced the way they allocated resources to each other in small groups. We find that, before the election, Republicans showed greater in-group favoritism than Democrats, who treated others equally, regardless of their political affiliation. We then show that Democrats experienced the election outcome as an ego shock and, in the week following the …


Gender Policy Feedback: Perceptions Of Sex Equity, Title Ix, And Political Mobilization Among College Athletes, James Druckman, Jacob Rothschild, Elizabeth Sharrow Dec 2017

Gender Policy Feedback: Perceptions Of Sex Equity, Title Ix, And Political Mobilization Among College Athletes, James Druckman, Jacob Rothschild, Elizabeth Sharrow

Elizabeth Sharrow

Public policies invariably confer or deny benefits to particular citizens. How citizens respond to relevant policies has fundamental implications for democratic responsiveness. The researchers study the beliefs of a core constituency of one of the most celebrated sex non-discrimination policies in United States history: Title IX of the Education Amendments of 1972. Using a novel survey of college student-athletes, they find strong support for the spirit of the policy, with the vast majority of respondents reporting the opinion that there “should” be equity. Yet, studentathletes also perceive mal-distribution among status quo resources and opportunities, and believe that redistribution is needed. …


The First Daughter Effect: The Impact Of Fathering Daughters On Men’S Preferences For Gender Equality Policies, Elizabeth Sharrow, Jesse H. Rhodes, Tatishe Nteta, Jill Greenlee Dec 2017

The First Daughter Effect: The Impact Of Fathering Daughters On Men’S Preferences For Gender Equality Policies, Elizabeth Sharrow, Jesse H. Rhodes, Tatishe Nteta, Jill Greenlee

Elizabeth Sharrow

An extensive literature on the politics of the family suggests that familial relationships play a central role in individuals’ political socialization and can ultimately shape one’s policy preferences. A current debate within this literature deals with the impact of daughters on fathers’ political attitudes. In this article, we address this debate in relation to a specific set of policy preferences and ask: does the experience of fathering daughters affect men’s opinions toward gender equality policies? In answering this question, we examine three specific, theoretically-motivated propositions: first, that having a daughter leads men to see the benefits of public policies that …


Drury And Kuehl 2018 Introduction To The Special Issue On The Rhetoric Of The 2016 U S Election.Pdf, Sara A. M. Drury, Rebecca A. Kuehl Dec 2017

Drury And Kuehl 2018 Introduction To The Special Issue On The Rhetoric Of The 2016 U S Election.Pdf, Sara A. M. Drury, Rebecca A. Kuehl

Rebecca A. Kuehl

No abstract provided.


Global Politics Of Climate Change, Rodger A. Payne Dec 2017

Global Politics Of Climate Change, Rodger A. Payne

Rodger A. Payne

No abstract provided.


"Racial Exclusion And Death Penalty Juries: Can Death Penalty Juries Ever Be Representative?", Noelle Nasif, Shyam Sriram, Eric Ran Smith Dec 2017

"Racial Exclusion And Death Penalty Juries: Can Death Penalty Juries Ever Be Representative?", Noelle Nasif, Shyam Sriram, Eric Ran Smith

Shyam K. Sriram (ssriram@butler.edu)

No abstract provided.


Sexual Violence In The Field Of Vision, Sharon Sliwinski Dec 2017

Sexual Violence In The Field Of Vision, Sharon Sliwinski

Sharon Sliwinski

Meditating on a single photograph from a recent Human Rights Watch report concerning police violence in Northern British Columbia, Canada, this paper pursues two lines of questions about the visual politics of human rights. One concerns how our ways of seeing—our modes of attending to the vulnerability and integrity of particular persons—can itself be understood as a form of human rights practice. The other aims to widen space in contemporary political theory for thinking about how sexual violence functions as a central technology of sovereignty and how we might make this phenomenon more perceptible. The paper explores the ways photographs …


The Woman Who Walks Through Photographs, Sharon Sliwinski Dec 2017

The Woman Who Walks Through Photographs, Sharon Sliwinski

Sharon Sliwinski

This paper explores Michal Heiman's creative strategy to imaginatively enter the space of asylum. Her recent project, RETURN: ASYLUM (THE DRESS, 1855-2018), offers a new way to extend solidarity to people who have been subjugated by the institution. She actively enlists the public's help in developing further strategies for connecting with those individuals who have been bereft of legal rights to property, family, or public hearing. This article explores Heiman's crucial political intervention, which blends creative visual practice with object relations theory.