Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chemistry Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2019

Articles 1 - 30 of 82

Full-Text Articles in Chemistry

ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาต่อคุณภาพของน้ำมันชีวภาพจากไพโรไลซิสชิ้นไม้ยูคาลิปตัสและซังข้าวโพดในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง, วรเวช ศรีปราโมช Jan 2019

ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาต่อคุณภาพของน้ำมันชีวภาพจากไพโรไลซิสชิ้นไม้ยูคาลิปตัสและซังข้าวโพดในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง, วรเวช ศรีปราโมช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการไพโรไลซิสไม้ยูคาลิปตัสและซังข้าวโพดในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง พบว่าภาวะที่เหมาะสมสำหรับชีวมวลทั้งสองชนิดคือ เวลาทำปฏิกิริยาที่ 30 นาที อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส และขนาดอนุภาคของชีวมวลระหว่าง 0.50-0.71 มิลลิเมตร ส่วนอัตราการไหลแก๊สไนโตรเจนสำหรับไม้ยูคาลิปตัสคือ 120 มิลลิลิตรต่อนาที และสำหรับ ซังข้าวโพดคือ 80 มิลลิลิตรต่อนาที ให้ผลได้น้ำมันชีวภาพสูงสุดของไม้ยูคาลิปตัสและซังข้าวโพดที่ร้อยละ 31.69 และ 22.01 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ โดยน้ำมันชีวภาพจากชีวมวลทั้งสองชนิดให้ค่าความร้อนสูงขึ้นและใกล้เคียงกันคือ 23.14 และ 23.27 เมกะจูล/กิโลกรัม ตามลำดับ สอดคล้องกับอัตราส่วน H/C และ O/C ของน้ำมันชีวภาพจากชีวมวลทั้งสองชนิดที่มีค่าต่ำกว่าในชีวมวล เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันชีวภาพพบว่าส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่มฟีนอล รองลงมาคือสารในกลุ่มกรดคาร์บอกซิลิก แอลดีไฮด์ อีเทอร์ คีโทน ไฮโดรคาร์บอน แซ็กคาไรด์ และสารที่มีปริมาณน้อยสุดคือสารในกลุ่มฟูแรน และจากการศึกษาผลของตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมต์และเอฟซีซีใช้แล้ว พบว่าปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสมสำหรับชีวมวลทั้งสองชนิดคือร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก และตัวเร่งปฏิกิริยาทั้งสองชนิดไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการลดออกซิเจนในน้ำมันชีวภาพ


การเตรียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์/นาโนไททาเนียมไดออกไซด์ไฮโดรเจลสำหรับการประยุกต์ตกแต่งแผลที่มีสมบัติต้านแบคทีเรีย, วัชรพล ขำช้าง Jan 2019

การเตรียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์/นาโนไททาเนียมไดออกไซด์ไฮโดรเจลสำหรับการประยุกต์ตกแต่งแผลที่มีสมบัติต้านแบคทีเรีย, วัชรพล ขำช้าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการเตรียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์/นาโนไททาเนียมไดออกไซด์ไฮโดรเจลฟิล์มโดยใช้กรดซิตริกเป็นสารเชื่อมขวางสำหรับการประยุกต์ใช้เป็นวัสดุตกแต่งแผลจากนั้นทำการพิสูจน์เอกลักษณ์ดังนี้คือ การวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันโดยเทคนิค ATR-FTIR การวิเคราะห์ลักษณะสัณฐานวิทยาที่พื้นผิวโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบส่องกราด การทดสอบสมบัติการทนต่อแรงดึง การวิเคราะห์พฤติกรรมในการบวมตัว สัดส่วนการเกิดเจล ความสามารถในการกักเก็บยา ร้อยละการกักเก็บยา พฤติกรรมในการปลดปล่อยยา การต้านแบคทีเรียโดยวิเคราะห์จากร้อยละการลดลงของแบคทีเรีย โดยจากการพิสูจน์เอกลักษณ์พบว่า การเพิ่มขึ้นขององค์ประกอบพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในฟิล์มทำให้ได้ฟิล์มที่มีสัดส่วนในการเกิดเจลที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบฟิล์มที่ปริมาณกรดซิตริกเท่ากันในทางตรงกันข้ามพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณองค์ประกอบพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในฟิล์มทำให้ค่าสัดส่วนการบวมตัวของฟิล์มมีค่าที่น้อยลงเพราะว่าการเพิ่มปริมาณองค์ประกอบพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในฟิล์มทำให้เพิ่มระดับการเชื่อมขวางของฟิล์มจึงทำให้มีสัดส่วนการเกิดเจลที่เพิ่มขึ้นต่อมาจากเทคนิค ATR-FTIR ได้ยืนยันการเกิดการเชื่อมขวางระหว่างโมเลกุลคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสกับพอลิไวนิลแอลกอฮอล์โดยพันธะเอสเทอร์และสำหรับการทดสอบการทนต่อแรงดึงพบว่าค่าความคงทนต่อแรงดึง ค่าความเหนียว ค่าร้อยละการยืดตัว ณ จุดขาด ของฟิล์มมีค่าลดลงตามปริมาณการเพิ่มขึ้นขององค์ประกอบพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในการทดสอบฟิล์มแห้งต่อมาสำหรับการศึกษาพฤติกรรมในการกักเก็บยาของฟิล์มพบว่าฟิล์มทุกสูตรมีพฤติกรรมในการกักเก็บยาที่คล้ายคลึงกันและการศึกษาพฤติกรรมในการปลดปล่อยยาพบว่าฟิล์มทั้งหมดสามารถช่วยชะลอการปลดปล่อยยาเททราไซคลินให้ช้าลงได้สุดท้ายจากการทดสอบความสามารถในการต้านแบคทีเรียจากฟิล์มสูตร CMC 80/PVA 20/TiO2 2% พบว่าฟิล์มมีสมบัติต้านแบคทีเรียทั้งแกรมบวก (S. aureus) และ แกรมลบ (E.coli) โดยให้ค่าร้อยละการลดลงของแบคทีเรียเท่ากับ 100 เมื่อทดสอบตามมาตรฐาน JIS Z 2801 โดยสรุปจากข้อมูลผลการทดลองทั้งหมดทำให้สรุปได้ว่าไฮโดรเจลฟิล์มมีประสิทธิภาพที่เพียงพอในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นวัสดุตกแต่งแผล


Synthesis And Electropolymerization Of Phthalocyanine Derivatives For Electrochemical Reduction Of Carbon Dioxide, Jirapong Luangchaiyaporn Jan 2019

Synthesis And Electropolymerization Of Phthalocyanine Derivatives For Electrochemical Reduction Of Carbon Dioxide, Jirapong Luangchaiyaporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research describes synthesis and electrochemical polymerization of novel bithiophenyl-substituted phthalocyanines in order to get polymeric films that have electrocatalytic activities towards reduction of carbon dioxide (CO2). The target phthalocyanine monomers are synthesized by a two-step procedure including Suzuki reaction and cyclization of the resulting phthalonitrile. After that, electropolymerization of the target monomers on an indium tin oxide-coated glasses or carbon papers is performed by a cyclic voltammetry technique. The resulting polymer films are characterized by various spectroscopic methods. Catalytic performance towards the electrochemical reduction of CO2 of these polymers is investigated by the cyclic voltammetry and controlled potential electrolysis …


Continuous Synthesis Of Biodiesel And Glycerol Ether Using Homogeneous And Heterogeneous Catalysts, Natta Rattanapanya Jan 2019

Continuous Synthesis Of Biodiesel And Glycerol Ether Using Homogeneous And Heterogeneous Catalysts, Natta Rattanapanya

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In our study, a mixture of p-toluenesulfonic acid and sulfuric acid (TsOH-H2SO4) as a catalyst showed a good performance in transesterification of palm oil (PO) with methanol and etherification of biodiesel with isobutylene. For biodiesel production, the catalyst noticeably accelerated the reaction faster than TsOH and H2SO4 alone and also gave up to 99.8% of the conversion. Etherification of biodiesel with isobutylene in the etherification process using isobutylene/glycerol molar ratio 6:1 at 70°C, in the period of 5 h reaction time, gave high selectivity to produce DTBG and TTBG (81.4%). Furthermore, the catalyst can be reused for 6 cycles of …


สหสัมพันธ์สำหรับทำนายความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชันของอนุภาคที่มีการกระจายขนาดต่างกัน, กฤติน ก่อเกิด Jan 2019

สหสัมพันธ์สำหรับทำนายความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชันของอนุภาคที่มีการกระจายขนาดต่างกัน, กฤติน ก่อเกิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การกระจายขนาดของอนุภาคเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่ออุทกพลศาสตร์ภายในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบด งานวิจัยนี้ ศึกษาผลของการกระจายขนาดของอนุภาค และ ผลของสภาวะดำเนินการ ที่มีต่อความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชัน โดยศึกษาทรายที่มีขนาดอนุภาคเฉลี่ยแตกต่างกัน 3 ขนาด รูปแบบการกระจายขนาดของอนุภาคแตกต่างกัน 5 รูปแบบ ปริมาณของอนุภาคของแข็งในช่วง 1 ถึง 3 กิโลกรัม และ อุณหภูมิของอนุภาคของแข็งในช่วง 30 ถึง 120 องศาเซลเซียส ผลที่ได้พบว่า ความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชันสำหรับอนุภาคของแข็งที่มีรูปแบบการกระจายขนาดกว้าง มีค่าต่ำกว่าความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชันสำหรับอนุภาคของแข็งที่มีรูปแบบการกระจายขนาดแคบ เนื่องจากการใส่อนุภาคขนาดเล็กลงไปในระบบมากขึ้นจะช่วยให้พฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดดีขึ้น โดยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์ความเบ้ของรูปแบบการกระจายขนาดของอนุภาคส่งผลต่อความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชันเช่นกัน ความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชันมีค่าต่ำลงเมื่ออุณหภูมิของอนุภาคของแข็งสูงขึ้น ขณะที่ความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชันจะมีค่าสูงขึ้นเมื่อขนาดอนุภาคของแข็งเฉลี่ย และปริมาณอนุภาคของแข็งเริ่มต้นเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การสร้างสหสัมพันธ์โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยไม่เชิงเส้นแบบพหุโดยใช้ข้อมูลจากการทดลอง และการใช้โครงข่ายประสาทเทียม สามารถใช้ในการทำนายค่าความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชันได้ทั้งสองวิธี เนื่องจากให้ค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยที่ใกล้เคียงกัน


ผลของชาร์จากชีวมวลต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน, กัปตัน สมบูรณชนะชัย Jan 2019

ผลของชาร์จากชีวมวลต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน, กัปตัน สมบูรณชนะชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเกิดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก พลังงานจากชีวมวลเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่จะช่วยลดปัญหาข้างต้นกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันเป็นกระบวนการแปลงสภาพชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงเหลวที่น่าสนใจ กระบวนการนี้ให้ร้อยละผลได้น้ำมันดิบชีวภาพที่สูงกว่ากระบวนการไพโรไลซิส การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันสามารถปรับปรุงคุณภาพน้ำมันดิบชีวภาพและผลได้ของน้ำมันดิบชีวภาพได้ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาการนำชาร์จากชีวมวลมาใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา การทดลองดำเนินการในเครื่องปฏิกรณ์ความดันสูงแบบกะที่อุณหภูมิ 300-350 องศาเซลเซียส ที่ความดันเริ่มต้น 2 เมกะพาสคัล โดยใช้เวลาในการทำปฏิกิริยา 60 นาที จากผลทดลองพบว่าเมื่อใช้ชาร์ชานอ้อย และ ถ่านกัมมันต์ ให้ร้อยละผลได้น้ำมันดิบชีวภาพเพิ่มขึ้น เนื่องจากชาร์ชานอ้อย และ ถ่านกัมมันต์ มีผลในการเร่งปฏิกิริยาการแตกตัวของชีวมวล และจากผลของอุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 300 และ 350 องศาเซลเซียส พบว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นผลได้น้ำมันดิบชีวภาพจะลดลงและผลิตภัณฑ์ที่เป็นแก๊สเพิ่มขึ้น จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันดิบชีวภาพด้วยเทคนิค GC / MS พบว่าองค์ประกอบของคีโตนเพิ่มขึ้น ในขณะที่สารประกอบไฮโดรคาร์บอนลดลง แสดงให้เห็นว่า ชาร์ช่วยส่งเสริมปฏิกิริยาการสลายตัวของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผลของการเติมโพแทสเซียมบนชาร์ชานอ้อย ชาร์กะลามะพร้าว และ ถ่านกัมมันต์ พบว่าโพแทสเซียมบนชาร์ทุกชนิดส่งผลให้ร้อยละผลได้น้ำมันดิบชีวภาพเพิ่มสูงขึ้น


การเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา Nicos สำหรับแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศที่ประจุไฟฟ้าได้, ณัฐสิทธิ์ ตั้งเอี่ยมสกุล Jan 2019

การเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา Nicos สำหรับแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศที่ประจุไฟฟ้าได้, ณัฐสิทธิ์ ตั้งเอี่ยมสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสังเคราะห์นิกเกิลโคบอลต์ซัลไฟด์ (NiCoS) บนตัวรองรับคาร์บอนที่สังเคราะห์ด้วยวิธี ไฮโดรเทอร์มอลและโซลโวเทอร์มอล เพื่อใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสองหน้าที่สำหรับปฏิกิริยาออกซิเจน รีดักชัน (oxygen reduction, ORR) และออกซิเจนอีโวลูชัน (oxygen evolution, OER) เพื่อใช้ งานกับแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศขั้นทุติยภูมิ จากการทดลองพบว่าการสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยา นิกเกิลโคบอลต์ซัลไฟด์บนตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂S₄/CB) โดยใช้ตัวทำละลายเป็นเอทิลีนไกลคอลมีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาออกซิเจนรีดัชันและออกซิเจนอีโวลูชันได้ดีกว่าสังเคราะห์ ด้วยตัวทำละลายน้ำ นอกจากนี้ยังศึกษาผลของตัวรองรับคาร์บอน (CB) ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล โคบอลต์ซัลไฟด์ที่มีตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂S₄/CB) ให้ประสิทธิภาพดีกว่าที่ไม่มีตัวรองรับ คาร์บอน และยังสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยอัตราส่วน นิกเกิล/โคบอลต์ อื่น ๆ พบว่า นิกเกิล โคบอลต์ซัลไฟด์บนตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂S₄/CB) มีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาสูงที่สุด ยัง สูงกว่าตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลโคบอลต์ออกไซด์บนตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂O₄/CB) ที่นิยมใช้งาน ในปัจจุบัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมบนตัวรองรับคาร์บอนเชิงพาณิชย์ (Pt/C) แม้ว่านิกเกิลโคบอตล์ซัลไฟต์บนตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂S₄/CB) จะยังมีความสามารถใน การเร่งปฏิกิริยาออกซิเจนรีดักชันด้อยกว่า แต่สำหรับปฏิกิริยาออกซิเจนอีโวลูชัน นิกเกิลโคบอตล์ซัลไฟต์บนตัวรองรับคาร์บอนมีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาสูงกว่าแพลทินัมบนตัวรองรับ คาร์บอนเชิงพาณิชย์ (Pt/C) มาก ในส่วนของการทดสอบประสิทธิภาพของแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศ พบว่าแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศ ที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมบนตัวรองรับคาร์บอนเชิงพาณิชย์ (Pt/C) ให้ศักย์ไฟฟ้าและความหนาแน่นพลังงานสูงกว่าแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา นิกเกิลโคบอลต์ซัลไฟด์บนตัวรองรับคาร์บอน (NiCo₂S₄/CB) แต่เสถียรภาพและการนำกลับมาใช้ งานซ้ำ มีจำนวนรอบที่ต่ำกว่า


การเตรียมถ่านกัมมันต์จากไบโอชาร์และถ่านหินซับบิทูมินัส, นริศา เฉิดกุล Jan 2019

การเตรียมถ่านกัมมันต์จากไบโอชาร์และถ่านหินซับบิทูมินัส, นริศา เฉิดกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเตรียมถ่านกัมมันต์จากวัตุดิบต่างชนิดกัน สามารถจำแนกได้สองประเภทคือไบโอชาร์และถ่านหินซับบิทูมินัส ซึ่งไบโอชาร์ที่ทำการศึกษาประกอบด้วย 2 ชนิด ได้แก่ กะลาปาล์ม (องค์ประกอบลิกนินสูง) และไม้ไผ่ (องค์ประกอบเซลลูโลสสูง) ที่ผ่านกระบวนการเผาเป็นถ่านชาร์แล้ว โดยตัวแปรที่ทำการศึกษาสำหรับการกระตุ้นไบโอชาร์ที่ส่งผลต่อสมบัติของถ่านกัมมันต์ที่ได้ คือ อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้นในช่วง 800 – 900 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 1 – 4 ชั่วโมง ภายใต้ไอน้ำร้อนยิ่งยวด ในส่วนของถ่านหินซับบิทูมินัสใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์เป็นสารกระตุ้น โดยตัวแปรที่ทำการศึกษา ได้แก่ อัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อถ่านหินที่ 0.2:1 0.4:1 และ 0.6:1 ที่อุณหภูมิในการกระตุ้นต่างกันในช่วง 650 – 850 องศาเซลเซียส เวลา 1 – 4 ชั่วโมง จากผลการทดลอง พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการกระตุ้นถ่านกะลาปาล์ม ได้พื้นที่ผิวสูงสุด 441.02 ตารางเมตรต่อกรัม ที่อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น 1000 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 4 ชั่วโมง ในขณะที่การกระตุ้นจากถ่านไม้ไผ่ ได้พื้นที่ผิวสูงสุด 712 ตารางเมตรต่อกรัม ที่อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น 900 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 2 ชั่วโมง ในส่วนการกระตุ้นถ่านหินซับบิทูมินัสที่อัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อถ่านหินซับบิทูมินัส 0.6:1 อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น 850 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 3 ชั่วโมง ได้พื้นที่ผิวสูงสุดอยู่ที่ 1,107.39 ตารางเมตรต่อกรัม ซึ่งพบว่าอุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น เวลาที่ใช้กระตุ้นในส่วนของไบโอชาร์ และอัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อถ่านหินซับบิทูมินัส มีผลต่อการพัฒนาโครงสร้างรูพรุนของถ่านกัมมันต์ นอกจากนี้ยังพบว่าวัตถุดิบต่างชนิดกันส่งผลให้ถ่านกัมมันต์ที่ได้มีสมบัติต่างกัน


การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยานจากน้ำมันปาล์มผ่านไฮโดรดีออกซิจิเนชันและไฮโดรไอโซเมอไรเซชัน, พชร ฉินทกานันท์ Jan 2019

การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยานจากน้ำมันปาล์มผ่านไฮโดรดีออกซิจิเนชันและไฮโดรไอโซเมอไรเซชัน, พชร ฉินทกานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากความต้องการใช้น้ำมันอากาศยานที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการเผาไหม้ ของเชื้อเพลิงฟอสซิล นานาประเทศจึงได้มีความพยายามที่จะผลิตน้ำมันอากาศยานชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล อย่างไรก็ตามน้ำมันชีวภาพอากาศยานซึ่งผลิตด้วยน้ำมันปาล์มหรือไขมันสัตว์มักจะมีสมบัติด้อยในด้านการไหลที่อุณหภูมิต่ำ เนื่องจากมีจุดเยือกแข็งสูง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมันชีวภาพอากาศยานจาก น้ำมันปาล์มโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาฐานซีโอไลต์ โดยต้องการให้น้ำมันชีวภาพที่ผลิตได้มีสัดส่วนของสารประกอบไอโซอัลเคน (isoalkanes) ในปริมาณมากเพื่อลดจุดเยือกแข็งของน้ำมันด้วยไฮโดรไฮเซอเมอไรเซชัน (hydroisomerization, HI) ของนอร์มัลอัลเคน ควบคู่ไปกับไฮโดรดีออกซิจิเนชัน (hydrodeoxygenation, HDO) และไฮโดรจิเนชัน (hydrogenation, HG) เพื่อกำจัดสารประกอบ ที่มีออกซิเจนและพันธะคู่ ในงานวิจัยนี้ ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งมีนิกเกิล (Ni) ปริมาณ 10% โดยน้ำหนักของตัวเร่งปฏิกิริยาบนตัว รองรับซีโอไลต์ทั้งหมดสี่ชนิด (NH₄-Beta, H-Beta, ZSM-5 และ Y) ต่อประสิทธิภาพในการทำปฏิกิริยาได้ถูกทดสอบ ตัวเร่งปฏิกิริยา นิกเกิลฐานซีโอไลต์ถูกเตรียมด้วยวิธีการฝังตัวแบบเอิบชุ่มพอดี (incipient-wetness impregnation) และในงานวิจัยนี้ยังได้ศึกษา การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบโลหะคู่ Pt-Ni ซึ่งมีสัดส่วนโดยมวลของ Pt/(Pt+Ni) ตั้งแต่ 0.05-0.15 และปริมาณโลหะสุทธิของตัวเร่ง ปฏิกิริยาถูกควบคุมที่ 10% โดยน้ำหนักของตัวเร่งปฏิกิริยา ตัวเร่งปฏิกิริยาจะถูกทดสอบกัมมันตภาพในกระบวนการผลิตน้ำมัน ชีวภาพอากาศยานในเครื่องปฏิกรณ์แบบกะ ผลของตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิ (300-380 องศาเซลเซียส), ความดัน แก๊สไฮโดรเจน (H₂) เริ่มต้น (25-40 บาร์), เวลาที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา (2-8 ชั่วโมง) และปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา (2.8-17.0% โดย น้ำหนักของน้ำมันปาล์ม) ต่อค่าการเลือกเกิดและผลได้ของผลิตภัณฑ์ได้ถูกตรวจสอบ ก่อนการทำปฏิกิริยาจะทำการรีดิวซ์ตัวเร่ง ปฏิกิริยาแบบอิน-ซิทู (in-situ reduction) ที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส ด้วยความดันแก๊ส H₂ เริ่มต้น 10 บาร์ เป็นเวลา 2 ชั่วโมง จากผลการทดลองพบว่า สามารถผลิตน้ำมันชีวภาพอากาศยานซึ่งมีสัดส่วนโดยน้ำหนักของไอโซอัลเคน/นอร์มัลอัลเคน (iso/n) สูงที่สุด คือ 1.67 และมีปริมาณสารประกอบออกซิเจนและสารประกอบไม่อิ่มตัวในปริมาณต่ำ เมื่อใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา 10%Ni/NH₄-Beta ปริมาณ 5.7% โดยน้ำหนักของน้ำมันปาล์มภายใต้ความดันแก๊ส …


นิกเกิลโคบอลต์ซัลไฟด์บนรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ที่เจือด้วยไนโตรเจนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงไฟฟ้าของปฏิกิริยาออกซิเจนสำหรับแบตเตอรี่ซิงค์-อากาศที่ประจุไฟซ้ำได้, พรพิพัฒน์ สุวรรณรักษ์ Jan 2019

นิกเกิลโคบอลต์ซัลไฟด์บนรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ที่เจือด้วยไนโตรเจนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงไฟฟ้าของปฏิกิริยาออกซิเจนสำหรับแบตเตอรี่ซิงค์-อากาศที่ประจุไฟซ้ำได้, พรพิพัฒน์ สุวรรณรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันมีความต้องการใช้พลังเพิ่มมากขึ้นในทุกปีส่งผลให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น แต่พลังงานหมุนเวียนเหล่านี้มีอัตราการผลิตพลังงานไม่ คงที่ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม จึงต้องอาศัยระบบกักเก็บพลังงานเข้ามาช่วย ด้วย สาเหตุนี้จึงส่งผลให้เกิดการพัฒนาของเทคโนโลยีในด้านอุปกรณ์กักเก็บพลังงานควบคู่ไปด้วย แบตเตอรี่สังกะสี–อากาศเป็นหนึ่งในแบตเตอรี่โลหะ–อากาศที่ได้รับความสนใจอย่างมากด้วย เหตุผลคือ ให้พลังงานสูง มีความเสถียรภาพ ความเร็วในการเกิดปฏิกิริยา และความสามารถในการ ผันกลับของปฏิกิริยา นอกจากนี้สังกะสียังเป็นธาตุที่มีปริมาณมากในโลก มีราคาถูก และมีความ ปลอดภัยในการใช้งาน แบตเตอรี่สังกะสี–อากาศแบบทุติยภูมิสามารถจ่ายและประจุไฟฟ้าได้ผ่าน ปฏิกิริยาออกซิเจนรีดักชันและปฏิกิริยาการเกิดออกซิเจน แต่อย่างไรก็ตามปฏิกิริยาทั้งสองนี้เกิดขึ้น เองได้ช้าจึงต้องมีตัวเร่งปฏิกิริยามาช่วยให้เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น นิกเกิลโคบอลต์ซัลไฟด์เป็นตัวเร่ง ปฏิกิริยาที่ได้รับความสนใจเนื่องจากมีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาทั้งสองได้ดี และมีราคาถูก ซึ่งในงานวิจัยนี้จะสังเคราะห์นิกเกิลโคบอลต์ซัลไฟด์ที่รองรับด้วยรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์และรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ที่เจือด้วยไนโตรเจนเพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาออกซิเจนเปรียบเทียบ กับตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงพาณิชย์ แพลทินัมบนคาร์บอน ผลการทดลองพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาที่ สังเคราะห์ได้ทั้ง 2 ชนิด มีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาออกซิเจนได้ดีใกล้เคียงกัน แต่มี ประสิทธิภาพต่ำกว่าแพลทินัมบนคาร์บอนสำหรับปฏิกิริยาออกซิเจนรีดักชัน และเมื่อนำตัวเร่ง ปฏิกิริยาที่สังเคราะห์ได้ทั้ง 2 ชนิด มาใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในแบตเตอรี่สังกะสี–อากาศ เปรียบเทียบผลกับแพลทินัมบนคาร์บอน พบว่าแบตเตอรี่ที่ใช้แพลทินัมบนคาร์บอนมีประสิทธิภาพ ที่สูงกว่า แต่มีความทนทานในการใช้งานต่ำกว่ามาก


การศึกษาเชิงทฤษฎีของแอลดอลคอนเดนเซชันระหว่างเฟอร์ฟิวรัลกับ 2-บิวทาโนนบนออกไซด์ผสมแมกนีเซียม-อะลูมิเนียม, ภคินี มานะเจริญสุข Jan 2019

การศึกษาเชิงทฤษฎีของแอลดอลคอนเดนเซชันระหว่างเฟอร์ฟิวรัลกับ 2-บิวทาโนนบนออกไซด์ผสมแมกนีเซียม-อะลูมิเนียม, ภคินี มานะเจริญสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หนึ่งในความท้าทายของการสังเคราะห์เชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวลคือความสามารถเข้าใจสมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อออกแบบโครงสร้าง พัฒนาประสิทธิภาพและความเลือกจำเพาะในการเร่งปฏิกิริยา งานวิจัยนี้ศึกษากลไลการเกิดปฏิกิริยาแอลดอลคอนเดนเซชันระหว่างเฟอร์ฟิวรัลกับ 2-บิวทาโนนบนออกไซด์ผสมแมกนีเซียม-อะลูมิเนียมวัฏภาคแบบสปิเนล (spinel MgAl2O4) ด้วยทฤษฎีฟังก์ชันนอลความหนาแน่นที่ระดับ M06-2X/6-31G ขั้นตอนในการเกิดปฏิกิริยาประกอบด้วย อีโนไลซันของ 2-บิวทาโนน การเติมเฟอร์ฟิวรัล และการขจัดน้ำ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นมีสองเส้นทางโดยเกิดผ่านตำแหน่งเมทิลและเมทิลีนของอีโนเลตไอออนของ 2-บิวทาโนน ได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็นสารประกอบคาร์บอนิลไม่อิ่มตัวโครงสร้างโซ่ตรงและโซ่กิ่ง ตามลำดับ จากผลการคำนวณพบว่าปฏิกิริยาการเติมเฟอร์ฟิวรัลเป็นขั้นตอนควบคุมอัตราการเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาอีโนไลซันของ 2-บิวทาโนนและการเติมเฟอร์ฟิวรัลที่ตำแหน่งเมทิลีนเกิดขึ้นได้เร็วกว่าตำแหน่งเมทิล ซึ่งสัมพันธ์กับค่าพลังงานก่อกัมมันต์ที่ต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบผลการคำนวณที่ได้กับงานวิจัยก่อนหน้าบนแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) พบว่าปฏิกิริยาอีโนไลเซชันของ 2-บิวทาโนนบน MgAl2O4 เกิดขึ้นได้เร็วกว่า MgO ข้อมูลที่ได้ทำให้เข้าใจกลไกการเกิดปฏิกิริยาแอลดอลคอนเดนเซชันและอาจใช้เป็นแนวทางพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาให้เหมาะสม


เชื้อเพลิงเหลวสัดส่วนเบาโดยไพโรไลซิสนํ้ามันจากทะลายปาล์มเปล่าโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาผสม, สุดาพร สุนทร Jan 2019

เชื้อเพลิงเหลวสัดส่วนเบาโดยไพโรไลซิสนํ้ามันจากทะลายปาล์มเปล่าโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาผสม, สุดาพร สุนทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงเหลวสัดส่วนเบา (C5-C15) โดยไพโรไลซิสน้ำมันจากทะลายปาล์มเปล่าโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาผสมในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์ ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ประกอบด้วย แมกนีเซียมออกไซด์และถ่านกัมมันต์ที่ผสมกันในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 และนำมาผสมกับ 10% นิกเกิลบนตัวรองรับซีโอไลต์ HY ทำการทดลองเพื่อหาภาวะที่เหมาะสมที่ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวที่มีสัดส่วนเบามากที่สุด โดยการออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียลแบบ 2 ระดับ (2K factorial design) มีตัวแปรที่ทำการศึกษา คือ อุณหภูมิที่ใช้ในการทดลอง 420-450 องศาเซลเซียส เวลาที่ใช้ในการทดลอง 30-60 นาที ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาผสมร้อยละ 1-5 โดยน้ำหนัก และอัตราส่วนระหว่างแมกนีเซียมออกไซด์ที่ผสมกับถ่านกัมมันต์ และ10% นิกเกิลบนตัวรองรับซีโอไลต์ HY คือ 70 ต่อ 30 และ 30 ต่อ 70 เมื่อนำผลการทดลองที่ได้ไปวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Design-Expert พบว่า ภาวะที่เหมาะสมคือ อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 449.99 องศาเซลเซียส เวลาในการทำปฏิกิริยา 30 นาที ตัวเร่งปฏิกิริยาผสมร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก อัตราส่วนระหว่างแมกนีเซียมออกไซด์ที่ผสมกับถ่านกัมมันต์ และ10% นิกเกิลบนตัวรองรับซีโอไลต์ HY คือ 32.51 ต่อ 67.49 จะได้ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวร้อยละ 69.50 และร้อยละผลได้ของเชื้อเพลิงเหลวสัดส่วนเบา 64.17 โดยน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวที่ได้ มีองค์ประกอบของคาร์บอนร้อยละ 84.93 ไฮโดรเจนร้อยละ 12.57 และออกซิเจนร้อยละ 2.51 ตรวจไม่พบค่าความเป็นกรดและมีค่าความร้อนเท่ากับ 42.50 เมกะจูลต่อกิโลกรัม


Formaldehyde Fluorescent Sensors From 1,8-Naphthalimide Derivatives, Apicha Maharat Jan 2019

Formaldehyde Fluorescent Sensors From 1,8-Naphthalimide Derivatives, Apicha Maharat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Three derivatives of 1,8-naphthalimide were systematically designed and synthesized to investigate the effect of substitution pattern on their photophysical properties and sensing behaviors towards formaldehyde in aqueous media. The key substituents, the hydrazino (-NHNH2) and the 2-methoxyethylamino groups (-NHCH2CH2OCH3), were installed at the 4-position of 1,8-naphthalimide by a nucleophilic replacement, and at the imide position by a condensation reaction with 1,8-naphthalic anhydride precursor. All target compounds were obtained in good overall yields of 60-80%. Compounds with two hydrazine moieties (R3) showed excellent selective fluorescent responses towards formaldehyde with the 3.5-fold fluorescence enhancement in 5% aqueous acetic acid solution at 520 …


Polyvinyl Alcohol/Starch Modified Cotton Thread For Glucose Distance-Based Colorimetric Detection, Pornchanok Punnoy Jan 2019

Polyvinyl Alcohol/Starch Modified Cotton Thread For Glucose Distance-Based Colorimetric Detection, Pornchanok Punnoy

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this thesis, polyvinyl alcohol (PVA) and starch modified cotton thread was developed as a cotton thread-based device for distance-based colorimetric detection of hydrogen peroxide (H2O2) and glucose. PVA and starch, the biocompatible polymers, were modified on a cotton thread to enhance the enzymatic stability and reagent immobilization efficiency. The colorimetric glucose detection of the device was based on a bienzymatic reaction involving glucose oxidase (GOx) and horseradish peroxidase (HRP), incorporated with potassium iodide (KI) as an indicator, which was oxidized by H2O2 to provide blue-black color band of an iodine–starch complex. The length of color band on the cotton …


Continuous Flow Selective Hydrogenation Of 5-Hydroxymethylfurfural To 2.5-Dimethylfuran Using Pd-Cu/Reduced Graphene Oxde Catalysts, Sareena Mhadmhan Jan 2019

Continuous Flow Selective Hydrogenation Of 5-Hydroxymethylfurfural To 2.5-Dimethylfuran Using Pd-Cu/Reduced Graphene Oxde Catalysts, Sareena Mhadmhan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2,5-Dimethylfuran (DMF) has been considered a promising biofuel, potentially derived from biomass. There have been various reports on DMF production from hydrogenation of 5-hydroxymethylfurfural (HMF). However, most reports employed high hydrogen pressure, long reaction times, and reactions under batch reactor. In this study, Pd-Cu bimetallic catalysts incorporated on reduced graphene oxide (RGO) were used for hydrogenation of HMF to DMF using 2-propanol as hydrogen donor under continuous flow system. Synthesized catalysts were characterized by N2 physisorption, scanning electron microscopy-energy dispersive X-ray spectroscopy (SEM-EDX), X-ray diffraction (XRD), X-ray photoelectron spectroscopy (XPS), transmission electron microscopy (TEM), and temperature programmed reduction of hydrogen …


Magnetic Nanoparticles Stabilized By Phosphorylcholine-Containing Polymer For Antibody Free C-Reactive Protein Detection, Suttawan Saipia Jan 2019

Magnetic Nanoparticles Stabilized By Phosphorylcholine-Containing Polymer For Antibody Free C-Reactive Protein Detection, Suttawan Saipia

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to develop a simple, yet effective assay for C-reactive protein (CRP) detection based on a combination of magnetic separation and antibody-free colorimetric assay. Magnetic nanoparticles stabilized with phosphorylcholine-containing polymer, poly[methacrylic acid)-ran-(methacryloyloxyethyl phosphorylcholine)] (PMAMPC-MNPs) were prepared by co-precipitation of ferric and ferrous salts in the presence of PMAMPC. Carboxyl groups in the methacrylic acid (MA) repeat units chelate with Fe atoms during MNPs formation while the methacryloyloxyethyl phosphorylcholine (MPC) repeat units provide specifically binding sites and conjugate with CRP in presence of Ca2+. The PMAMPC-MNPs were characterized by ATR-FTIR, TEM, DLS, TGA and XRD. To determine the CRP …


High Magnification Polymeric Lens For Smartphone Microscope, Wisansaya Jaikeandee Jan 2019

High Magnification Polymeric Lens For Smartphone Microscope, Wisansaya Jaikeandee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this work, we present a facile method for fabrication of plano-convex lenses, using high reflective optical polymer (Polydimethylsiloxane, Sylgard 184 by Dow Corning, n ~1.42 and Norland Optical adhesive 61, NOA61 by Norland Products, ~1.56) under the confined sessile drop technique. The confined sessile drop technique is a facile method and an adjustable lens geometry through controlled the weight of liquid polymer on the lens substrate, as PMMA circular disk and Sylgard circular disk, with different diameter (2.5-6.0 mm). The liquid polymer was gradually spread and radially over the surface of the lens substrate, and resistance to spreading of …


Density Functional Theory Study Of Aldol Condensation Between Furfural And 2-Butanone Over Magnesium Oxide, Wilasinee Heebnak Jan 2019

Density Functional Theory Study Of Aldol Condensation Between Furfural And 2-Butanone Over Magnesium Oxide, Wilasinee Heebnak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Understanding of mechanistic and thermodynamic insights of the aldol condensation reaction is crucial to efficient catalytic conversion of biomass-derived oxygenates to fuel-range hydrocarbons. In this study, the aldol condensation of furfural and 2-butanone on magnesium oxide (MgO) catalyst was investigated using density functional theory (DFT) calculations. Energy profiles were computed for elementary steps, including Step 1: Formation of 2-butanone enolate, Step 2: Enolate addition at the carbonyl group of adsorbed furfural, and Step 3: Dehydration to form the condensation product. The DFT results showed that the enolization of 2-butanone was the rate-determining step. The methyl enolate can bind to MgO …


Molecular Dynamics Simulations Of M2 Channel In Phospholipid Bilayers With Different Thickness, Channarong Khrutto Jan 2019

Molecular Dynamics Simulations Of M2 Channel In Phospholipid Bilayers With Different Thickness, Channarong Khrutto

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Two previous studies showed that M2 channel, a viral protein plays important role in replication of influenza virus, had different conformation after phospholipid bilayers thickness by using site-directed spin-label EPR spectroscopy (SDSL/EPR), one study, the M2 was spin-labeled on N-terminal amino acid residues, another one the M2 was spin-labeled on the C-terminal amino acid residues. Both studies supported each another. The more thickness phospholipid bilayer is the higher spin coupling value. It can be concluded that the conformation of M2 channel depends on phospholipid bilayer thickness. Data got from this technique is ambiguous, spin-spin coupling cannot be distinguishable, diagonal distance …


Thread Based Wearable Electrochemical Sensor For Uric Acid Detection, Kanyapat Teekayupak Jan 2019

Thread Based Wearable Electrochemical Sensor For Uric Acid Detection, Kanyapat Teekayupak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Novel cotton thread-based electrochemical sensor was successfully fabricated for a non-invasive and non-enzymatic detection of uric acid (UA), a biomarker of gout disease. In this work, the working electrode was prepared by coating a carbon ink on the cotton thread to create the conductive property, followed by electrode modification using gold nanoparticles (AuNPs) to increase electrode surface area and conductivity. The morphologies of the modified electrode were characterized by scanning electron microscopy (SEM) with energy dispersive X-rays spectroscopy (EDX), confirming that AuNPs were modified on the electrode surface and the surface area of the modified electrode increased. The electrochemical characteristics …


Visualization Of Vibrational Spectra Based On Expanded Moment Of Inertia Tensor, Napat Sitthimonchai Jan 2019

Visualization Of Vibrational Spectra Based On Expanded Moment Of Inertia Tensor, Napat Sitthimonchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Expanded Moment of Inertia Tensor (EMIT) is a non-Hessian-based method to evaluate a set of the normal coordinates, utilizing to calculate vibrational spectra from the molecular dynamics simulation data. Unlike the traditional moment of inertia tensor, the EMIT method constructs an atomic moment of inertia tensor situated on an individual atom in the molecule. Unfortunately, the results obtained from EMITare too complicated to visualize by naked eyes, a user-friendly visualization program is needed. In this work, we have developed a program called “EMIT Studio”, written in C++ and OpenGL Library, to visualize atomic displacement vectors, molecular normal modes, and vibrational …


Development Of Biosensor Using Pyrrolidinyl Pna For Screening Of Hepatitis C Virus Dna, Narathorn Nisab Jan 2019

Development Of Biosensor Using Pyrrolidinyl Pna For Screening Of Hepatitis C Virus Dna, Narathorn Nisab

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this work, a new paper-based analytical device (PAD) that relied on fluorescence measurement was developed for label-free detection of hepatitis C virus (HCV) DNA. Pyrrolidinyl peptide nucleic acid (acpcPNA) was covalently modified onto the patterned cellulose paper to act as a specific probe for capturing the HCV DNA target according to Watson−Crick base-paring rules. The single-stranded (ssDNA)-specific dye which can be electrostatically attached to the surface-bound DNA was employed as the signaling element for the fluorescence-based detection via a smartphone gadget and an iOS application. To acquire the optimal sensitivity, several experimental parameters, namely acpcPNA probe concentration, hybridization time, …


Development Of Thin-Layer Chromatography For Selective Analysis Of Volatile Compounds Using Gas Chromatography Mass Spectrometry, Nattapat Suchatanugal Jan 2019

Development Of Thin-Layer Chromatography For Selective Analysis Of Volatile Compounds Using Gas Chromatography Mass Spectrometry, Nattapat Suchatanugal

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this study, simple and selective solid phase extraction approach for a range of volatile compounds in perfume was developed prior to analysis with headspace solid phase micro extraction (HS-SPME) and gas chromatography hyphenated with mass spectrometry (GC-MS). The technique relies on use of thin layer chromatography (TLC) for separation of compound along the silica gel plate followed by selective cuts of the regions of interest, desorption, HS-SPME and GC-MS analysis. The TLC separation of standard compounds using hexane and ethyl acetate (6:1 volume ratio) as the mobile phase was initially performed. The compounds was then desorbed from the TLC …


Chemical Constituents And Antibacterial Activity Of Rhizomes From Globba Schomburgkii Hook.F., Naruemon Suekaew Jan 2019

Chemical Constituents And Antibacterial Activity Of Rhizomes From Globba Schomburgkii Hook.F., Naruemon Suekaew

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Globba schomburgkii Hook.f. rhizomes were extracted with dichloromethane and fractionated using column chromatography to obtain 10 fractions (FA-FJ). The most active fractions, FE and FG, were further fractionated to give seven and thirteen sub-fractions, respectively. The fractions and sub-fractions were tested for antibacterial activity using 96-well plate microdilution method. The antibacterial activity of several sub-fractions (such as FE.B, FE.C, FE.D, FG.D, FG.G, and FG.H) were higher than that of the crude extract. Chemical compositions of all fractions and sub-fractions were analyzed by gas chromatography hyphenated with mass spectrometry (GC-MS), revealing 167 compounds identified according to match between the experimental MS …


Structure And Dynamics Of Spin Label Side Chains In Membrane Protein Using Molecular Dynamics Simulations, Ngoc-Lan Le-Nguyen Jan 2019

Structure And Dynamics Of Spin Label Side Chains In Membrane Protein Using Molecular Dynamics Simulations, Ngoc-Lan Le-Nguyen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Site-directed spin labeling (SDSL) combined with electron paramagnetic resonance (EPR) spectroscopy is a powerful approach to explore the structure and dynamics of biological complex systems. Nitroxide spin label is the most widely used probe for SDSL in the study of structure and function of biomolecules. However, the behavior of the nitroxide spin label is not well understood. This study aims to characterize the structural and dynamical properties of the spin label in the voltage-sensing domain (VSD) of KvAP, a potassium channel from the thermophilic archaea Aeropyrum pernix by mean of molecular dynamics (MD) studies. MD simulations for unlabeled and a …


Structure And Hydration Property Of Low Molecular Weight Hyaluronic Acid By Molecular Dynamics Simulations, Panyakorn Taweechat Jan 2019

Structure And Hydration Property Of Low Molecular Weight Hyaluronic Acid By Molecular Dynamics Simulations, Panyakorn Taweechat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hyaluronic acid (HA) is a biopolymer of disaccharide with two alternate glycosidic bonds, β(1,3) and β(1,4). It has a wide-range of applications in medicine, nutrition and cosmetics. A molecular dynamics (MD) study in aqueous condition presented here unveiled conformational variability in association with the flexibility of the glycosidic linkers, which depends on the number of disaccharide units. HA chain maintains a rigid rod-like conformation with short chain lengths i.e. with 1 to 10 disaccharide units. Crossover from a rod-like to a random-coil conformation is observed with increasing the chain length i.e. with 20-50 disaccharide units. MD and DFT calculations demonstrated …


Detection Of Nitrite By Thread-Based And Paper-Based Devices By Modified Griess Reagent, Pitcha Singhaphan Jan 2019

Detection Of Nitrite By Thread-Based And Paper-Based Devices By Modified Griess Reagent, Pitcha Singhaphan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

New thread-based and paper-based devices for the determination of nitrite ions based on modified Griess reagent were developed. The surface of the materials was chemically modified with p-aminobenzoyl moiety and chromotropic acid was used as a coupling reagent. The functionalization of the materials was confirmed by Raman spectroscopy. By using the thread-based device, the detection of nitrite was achieved by measuring the color band length. The optimum concentration of chromotropic acid was 5 mM in 0.10 M sulfuric acid mixed with 0.2 M citric acid. The working range was from 50 to 1,000 µM with a sample volume of 15 …


Development Of Paper-Based Colorimetric Sensor For Determination Of Human Papillomavirus Dna, Sarida Naorungroj Jan 2019

Development Of Paper-Based Colorimetric Sensor For Determination Of Human Papillomavirus Dna, Sarida Naorungroj

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this work, a paper-based analytical device (PAD) based on colorimetric assay using pyrrolidinyl peptide nucleic acid (acpcPNA) probe was developed as a sensor for the detection of Human papillomavirus (HPV) DNA. Dextrin-stabilized gold nanoparticles (d-AuNPs) was employed as a colorimetric reagent. The aggregation of d-AuNPs can be induced by positively charged acpcPNA generating a distinctive color change. After the hybridization of acpcPNA and DNA target, the residual acpcPNA probe can cause different degrees of the d-AuNPs aggregation, resulting in the detectable color change. The different color change before and after the introduction of the DNA target as a function …


Detection Of Cyanide Ions Using Chemosensing Ensembles Under Indicator Displacement Assays, Ratanakorn Teerasarunyanon Jan 2019

Detection Of Cyanide Ions Using Chemosensing Ensembles Under Indicator Displacement Assays, Ratanakorn Teerasarunyanon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Anion recognition is an attractive area of research in recent decades as anions play an important role in a wide range of chemical, biological, and environmental processes. This dissertation reports three projects dedicated to anion recognition with applications in fluoride and cyanide sensing. The first project of the dissertation describes the chemistry of two novel anthracene derivatives bearing one and two dimesitylboryl substituents (compounds 1 and 2, respectively) for the complexation of anions. All investigations provide insights into the electronic structure and effect of fluoride and cyanide binding. The results demonstrate that these boranes have a high affinity for fluoride …


Synthesis Of Coumarins As Carbonic Anhydrase Ii And Α-Glucosidase Inhibitors, Truc Phan Thi Hong Jan 2019

Synthesis Of Coumarins As Carbonic Anhydrase Ii And Α-Glucosidase Inhibitors, Truc Phan Thi Hong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Coumarins have been occupied an important position in medicinal chemistry. In this research, umbelliferone derivatives were evaluated for inhibitory activity of two enzymes, namely carbonic anhydrase II (CA II) and α-glucosidase. First, ether, brominated ether and ester derivatives of umbelliferone were synthesized, characterized and tested for CA II inhibitory activity. However, the inhibition data could not be used to make the exact conclusion about structure-activity relationship owing to their unrepeatable results. For the second part, thirty-four derivatives of umbelliferone (ether, brominated ether, ester, sulfonamide and sulfonate derivatives) were synthesized and explored for anti-α-glucosidase activity. It was disclosed that anti-α-glucosidase activity …