Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chemistry Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Polymer Chemistry

Chulalongkorn University

Articles 1 - 30 of 130

Full-Text Articles in Chemistry

Preparation Of Cellulose Micro- And Nano Fibers From Bagasse Through Deep Eutectic Solvent System, Worapoj Phuckpetch Jan 2022

Preparation Of Cellulose Micro- And Nano Fibers From Bagasse Through Deep Eutectic Solvent System, Worapoj Phuckpetch

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to prepare the cellulose micro- and nanofibers (CMNFs) using green chemistry viewpoint. The CMNFs were fabricated from sugarcane bagasse (SCB) pulp through treatment with zinc chloride (ZnCl2) - lactic acid (LA) in deep eutectic solvent (ZnCl2-LA DES) followed by short time ultrasonication of the DES-treated fibers in water. Under the optimum condition, the SCB pulp at high solid loading of 6.25% was treated with ZnCl2-LA DES. Lactate functionalized CMNFs with 230-270 nm length and 15-16 nm width were resulted in more than 90% yield and up to 62.2% crystallinity. The results showed that ZnCl2-LA DES was a …


Selective Conversion Of Cellulose Into 5-Hydroxymethylfurfural Over Modified Zeolite Catalysts In A Biphasic Solvent System, Oluwaseyi Ojelabi Jan 2022

Selective Conversion Of Cellulose Into 5-Hydroxymethylfurfural Over Modified Zeolite Catalysts In A Biphasic Solvent System, Oluwaseyi Ojelabi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Lignocellulosic biomass mainly composed of cellulose which can be transformed through various thermochemical processes such as catalytic depolymerization, acid-catalyzed dehydration, pyrolysis, gasification, etc., into high-value chemicals for sustainable development and bio-based economy. 5-Hydroxymethylfurfural (HMF) is one of the potential platform bio-chemicals that can be obtained directly from lignocellulosic biomass via catalytic depolymerization and/or acid-catalyzed dehydration using a bifunctional catalyst for the manufacture of various renewable products. Protonic zeolites are bifunctional solid acid catalysts and are well known for their remarkable properties. Their large surface area could enable molecules to diffuse in and out of their pore systems. Moreso, their acidic …


Deuteration Of Organic Compounds By Hydrothermal Process, Nattasiri Phaisarn Jan 2022

Deuteration Of Organic Compounds By Hydrothermal Process, Nattasiri Phaisarn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Deuterium-labeled compounds are in great demand in many applications, especially as reference standards for various analytical techniques. The objective of this study is to develop two complementary methods for deuterium labeling of organic compounds including the hydrogen-deuterium exchange (HDx) and halogen-deuterium exchange (XDx) reactions under hydrothermal conditions. For HDx, several aliphatic, alicyclic, aromatic, heterocyclic, and amino acid compounds were used as model substrates to determine the reactivity pattern and scope of the reaction. It was found that the HDx at the ortho- and para-Hs of phenolic compounds and a-position of amino acids as well as certain heteroaromatic compounds occurred efficiently …


การเสื่อมสภาพของน้ำมันหม้อแปลงชีวภาพฐานปาล์มและกระดาษฉนวนภายใต้การบ่มเร่งเชิงความร้อน, พรพงษ์ ศิริรัตน์สกุล Jan 2022

การเสื่อมสภาพของน้ำมันหม้อแปลงชีวภาพฐานปาล์มและกระดาษฉนวนภายใต้การบ่มเร่งเชิงความร้อน, พรพงษ์ ศิริรัตน์สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันจึงมีความพยายามในการพัฒนาน้ำมันพืชที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนำมาทดแทนการใช้น้ำมันแร่ โดยน้ำมันชีวภาพฐานปาล์ม (EnPAT) เป็นหนึ่งในน้ำมันพืชทางเลือกที่ถูกพัฒนาเพื่อนำไปของเหลวฉนวนสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้า อย่างไรก็ตามในระหว่างหม้อแปลงไฟฟ้าทำงานจะเกิดความร้อนขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบทำให้ของเหลวฉนวน และกระดาษฉนวนที่อยู่ภายในเกิดการเสื่อมสภาพ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาลักษณะการเสื่อมสภาพของน้ำมันชีวภาพฐานปาล์มที่มีกระดาษฉนวนจุ่มแช่ พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับน้ำมันแร่และเอสเตอร์ธรรมชาติเชิงการค้า (FR3) ด้วยการบ่มเร่งเชิงความร้อนที่อุณหภูมิ 110, 130 และ 150 ˚ซ เป็นระยะเวลาต่างๆ ในระบบปิด ซึ่งภายหลังจากการบ่มเร่งภายใต้บรรยากาศไนโตรเจน EnPAT เกิดการเสื่อมสภาพขึ้น โดยปริมาณความชื้น และค่าความเป็นกรดแสดงแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับ FR3 แต่จะมีค่ามากกว่าน้ำมันแร่ ขณะที่ปริมาณสารที่เกิดจากการเสื่อมสภาพละลายในน้ำมันฉนวนมีการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด และค่าความคงทนต่อแรงดันไฟฟ้ายังคงมีค่ามากกว่าน้ำมันแร่ แม้ว่าจะมีค่าแฟกเตอร์กำลังสูญเสียไดอิเล็กทริกและค่าสภาพความต้านทานทางไฟฟ้าน้อยกว่าน้ำมันแร่ อย่างไรก็ตามการบ่มเร่งที่อุณหภูมิ 150 ˚ซ นาน 2,880 และ 4,008 ชม. กระดาษฉนวนที่จุ่มแช่ในน้ำมันชีวภาพฐานปาล์มมีค่าความคงทนต่อแรงดึงคงเหลือมากกว่ากระดาษฉนวนที่จุ่มแช่ในน้ำมันแร่อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังพบว่าหลังจากผ่านการบ่มเร่งที่อุณหภูมิ 150 ˚ซ นาน 720 ชม. ภายใต้บรรยากาศออกซิเจน น้ำมันทุกชนิดเกิดการเสื่อมสภาพอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม EnPAT ยังคงมีค่าความคงทนต่อแรงดันไฟฟ้ามากที่สุด ดังนั้นน้ำมันชีวภาพฐานปาล์มจึงเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับนำมาใช้เป็นของเหลวฉนวนภายในหม้อแปลงไฟฟ้า


การศึกษาเปรียบเทียบของพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตจากยางธรรมชาติและจากยางอีพีดีเอ็ม, ทีปกร พันธ์พรม Jan 2022

การศึกษาเปรียบเทียบของพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตจากยางธรรมชาติและจากยางอีพีดีเอ็ม, ทีปกร พันธ์พรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสมบัติของพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลโดยการเตรียมเป็นเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์ และเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตด้วยยางธรรมชาติและยางอีพีดีเอ็มในอัตราส่วนต่าง ๆ โดยพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลและยางถูกผสมด้วยสามอัตราส่วน ได้แก่ 90/10, 80/20 และ 70/30 โดยน้ำหนักในเครื่องผสมแบบปิดที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที ตามด้วยการอัดขึ้นรูป จากผลการทดลองพบว่าการเติมยางธรรมชาติหรือยางอีพีดีเอ็มช่วยปรับปรุงความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาด ขณะที่ความทนแรงดึง ยังส์มอดุลัส และความแข็งลดลง อย่างไรก็ตามเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์ที่เติมยางอีพีดีเอ็มแสดงสมบัติเหนือกว่าเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์ที่เติมยางธรรมชาติที่อัตราส่วนเดียวกันเนื่องจากมีความเข้ากันได้กับพอลิโพรพิลีนรีไซเคิลมากกว่า ซึ่งยืนยันได้จากสมบัติสัณฐานวิทยา และในบรรดาเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์ทั้งหมด พอลิโพรพิลีนรีไซเคิล/ยางที่อัตราส่วน 80/20 มีสมบัติเชิงกลที่เหมาะสมจึงถูกเลือกมาเตรียมเป็นเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตโดยการเติมเพอร์ออกไซด์เป็นสารเชื่อมขวางที่อัตราส่วน 1 และ 2 ส่วนต่อยางร้อยส่วน เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อน และสัณฐานวิทยาของเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์และเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตพบว่ายังส์มอดุลัสของเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตสูงกว่าเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์เนื่องจากการเชื่อมขวาง อย่างไรก็ตามสมบัติอื่น ๆ ลดลงเมื่อเทียบกับเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตเมอร์เพราะการตัดขาดของสายโซ่โดยเพอร์ออกไซด์


การพัฒนาซอฟต์เซ็นเซอร์สำหรับการทำนายพารามิเตอร์ของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม, พงศ์พล ธวัชบัณฑิต Jan 2022

การพัฒนาซอฟต์เซ็นเซอร์สำหรับการทำนายพารามิเตอร์ของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม, พงศ์พล ธวัชบัณฑิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับโรงงานอุตสาหกรรมนั้นเป็นกระบวนการที่สำคัญในการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นแก๊สเรือนกระจกในแก๊สไอเสียก่อนส่งออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งการรู้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดูดซับและเวลาที่การดูดซับเข้าสู่สมดุลจึงเป็นประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงานในอุตสาหกรรม ดังนั้นในงานวิจัยนี้ ศึกษาและพัฒนาโครงข่ายประสาทเทียมสามารถทำนายพารามิเตอร์ของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ โครงข่ายประสาทเทียมที่พัฒนาด้วยโครงสร้างที่มีจำนวนชั้นซ่อน 2 ชั้นซ่อน ในแต่ละชั้นซ่อนประกอบด้วย 10 เซลล์ประสาท และฟังก์ชันกระตุ้นในชั้นซ่อนและชั้นส่งออกคือฟังก์ชันแทนซิกมอยด์มีประสิทธิภาพสูงที่สุด จากนั้นนำโครงข่ายประสาทเทียมที่มีโครงสร้างดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาผลของสมการทางจลนศาสตร์และนำตัวแปรส่งออกไปแทนค่าในสมการทางจลนศาสตร์เพื่อสร้างเส้นโค้งของดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เส้นโค้งที่สร้างจากสมการของปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเทียมมีค่าเฉลี่ยของค่า R-square สูงสุดคือ 0.8731 และค่าเฉลี่ยของค่า RMSE ต่ำที่สุดคือ 0.2358 จากนั้นนำโครงข่ายประสาทเทียมไปพัฒนาซอฟต์เซ็นเซอร์โดยเริ่มจากการแปลงโครงข่ายประสาทเทียมให้เป็นโปรแกรมที่เป็นภาษาไพทอน และนำโปรแกรมนี้ไปใส่ใน Raspberry pi 4 model b ตัวแปรนำเข้าทั้งหมดจะถูกคำนวณผ่านโครงข่ายประสาทเทียมที่ได้แปลงเป็นภาษาไพทอนแล้ว และส่งค่าตัวแปรส่งออกไปแสดงค่าผ่านแพลตฟอร์ม Grafana ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่สะดวกและรวดเร็ว และสามารถรายงานค่าในเวลาจริงได้


Valorization Of Furfural To Fuel Additives By Aluminophosphate And Metal-Organic Framework Catalysts, Janejira Ratthiwal Jan 2022

Valorization Of Furfural To Fuel Additives By Aluminophosphate And Metal-Organic Framework Catalysts, Janejira Ratthiwal

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this research, aluminophosphate (APAl) catalysts and metal oxide catalysts from calcined metal-organic frameworks (C-MOFs) were successfully synthesized. APAl-A catalysts were obtained from the FQM-383 laboratory group of Prof. Dr. Rafael Luque. The catalysts were named APAl-X/Y-A-Z which X/Y was the ratio of P/Al ratio and Z was the calcination temperature. Both factors were varied to study their effects on the catalyst properties of surface area and active acid sites on catalyst surface. The MOFs (MIL-101(Fe) and MIL-125(Ti)) were prepared by the solvothermal method. The calcination of MOFs (C-MIL-101(Fe) and C-MIL-125(Ti)) provided metal oxide catalysts. The APAl catalysts and C-MOFs …


Application Of Core Annular Flow For Oil Transportation In Different Pipe Configurations Using Computational Fluid Dynamics, Cindy Dianita Jan 2022

Application Of Core Annular Flow For Oil Transportation In Different Pipe Configurations Using Computational Fluid Dynamics, Cindy Dianita

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The application of Core Annular Flow (CAF) has become an interesting solution in transporting heavy oil through pipeline because of its energy reduction and cost efficiency. Current study conducted a 3D computational fluid dynamic (CFD) to simulate CAF of oil-water in horizontal T- and Y-pipe junctions with two types of oil characteristic i.e., oil as Newtonian fluid and oil as non-Newtonian Carreau Fluid. The 2k factorial statistical experimental design was applied to investigate the effect of geometry on the flow performance. Eight cases were run with different diameter combinations and junction angle. The most attractive design was measured by the …


Improving Chromatographic Analysis Of Phenolic Compounds, Tarika Lomcharoenwong Jan 2022

Improving Chromatographic Analysis Of Phenolic Compounds, Tarika Lomcharoenwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Phenolic compounds are important chemicals and are applied in many fields. Moreover, they are found as contaminants in the environment. This research aimed to improve the chromatographic analysis of phenolic compounds and was divided into two parts. The first part focused on improving the separation of a mixture containing eighteen phenols using gas chromatography with derivatized cyclodextrin stationary phases. Results showed that all three cyclodextrin-based stationary phases, with different ring sizes, improved the separation of the mixture in comparison to polysiloxane OV-1701 stationary phase. The best separation was obtained from the small-size alpha-cyclodextrin with a capillary column of 15-meter long …


ปัจจัยการเสื่อมสภาพของน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์สำหรับเครื่องยนต์แกโซลีน-ซีเอ็นจี, กณิกนันต์ ถิ่นพฤกษ์งาม Jan 2021

ปัจจัยการเสื่อมสภาพของน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์สำหรับเครื่องยนต์แกโซลีน-ซีเอ็นจี, กณิกนันต์ ถิ่นพฤกษ์งาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แก๊สธรรมชาติอัดเป็นพลังงานทดแทนที่ได้รับความนิยมในระบบขนส่งสาธารณะ เนื่องจากซีเอ็นจีเป็นพลังงานสะอาด ค่าออกเทนสูงและราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่นและสามารถใช้งานในรูปแบบของระบบเชื้อเพลิงสองชนิด (dual-fuel) ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของน้ำมันหล่อลื่นมาตราฐานกึ่งสังเคราะห์สำหรับเครื่องยนต์แกโซลีน-ซีเอ็นจี โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำมันหล่อลื่นตามระยะทางที่กำหนดและทำการวิเคราะห์อิงตามมาตราฐาน ASTM จากการวิเคราะห์ความหนืดซึ่งเป็นสมบัติสำคัญของน้ำมันหล่อลื่นที่อุณหภูมิ 40 °C และ 100 °C พบว่าที่อุณหภูมิ 100 °C ความร้อนส่งผลให้เกิดการสลายพันธะภายในโมเลกุลทำให้ฟิล์มน้ำมันมีลักษณะบางลงและเป็นตัวเร่งต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาออกซิเดชันสามารถวิเคราะห์ด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทสโกปี (FT-IR) แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของน้ำมันหล่อลื่นเนื่องจากหมู่ฟังก์ชันคาร์บอนิล (C=O) มีความเข้มข้นจากผลิตภัณฑ์ของออกซิเดชัน และมีผลทำให้ปริมาณกรดและค่าความหนืดเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ถูกกัดกร่อน จากการวิเคราะห์ปริมาณเบสในน้ำมันหล่อลื่นที่บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของสารทำความสะอาด พบว่าที่ระยะทางมากกว่า 15000 กิโลเมตร ความเข้มข้นของสารเติมแต่งอัลคาไลน์จะลดลงครึ่งหนึ่งจากปริมาณเริ่มต้น แสดงให้เห็นถึงการเสื่อมสภาพของสารเติมแต่งจากความเข้มข้นของสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้น เช่น ฝุ่น น้ำ โลหะและเขม่า


Production Of Bio-Olefins From Oleic Acidvia Oxidative Dehydrogenation Using Vanadium Oxides/Sba-15 Catalysts, Nattaporn Chaidherasuwet Jan 2021

Production Of Bio-Olefins From Oleic Acidvia Oxidative Dehydrogenation Using Vanadium Oxides/Sba-15 Catalysts, Nattaporn Chaidherasuwet

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Long-chain olefins (≥C10) are important commodity chemicals, which are primarily used to manufacture everyday products such as plastic packaging, surfactants and detergents in cleaning products, and lubricant oil additives. However, the long-chain olefins are currently synthesized from the petroleum refining process via ethylene oligomerization or thermal cracking of long-chain paraffins. To support the Bio-Circular-Green Economy (BCG) model, the direct synthesis of olefins from renewable feedstocks has become an attractive route to promote overall sustainability. The objective of this research was to study the possibility to transform oleic acid (OA), one of the unsaturated fatty acids in palm oil, to produce …


Determination Of Adsorption And Separation Of Co2/N2 And H2s/Ch4 Mixtures In Porous Materials By Molecular Simulation, Tanawut Ploymeerusmee Jan 2021

Determination Of Adsorption And Separation Of Co2/N2 And H2s/Ch4 Mixtures In Porous Materials By Molecular Simulation, Tanawut Ploymeerusmee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The major resources of power plant in the world rely on coal and natural gas which are economical for generating electricity. Flue gases, mainly N2 and CO2, are produced and released into the atmosphere. The zeolitic imidazolate framework-90 (ZIF-90) obtains a high potential as being a candidate for several applications. Consequently, the basic knowledge of adsorption and diffusion of gases in this material is the key factor of improving this gas separation technique. The effect of adsorbed CO2 molecules on the lattice structure of ZIF-90 can lead to gate opening depending on the amount of adsorbed guest molecules and the …


วัสดุเชิงประกอบพอลิแล็คติกแอซิด/แบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลต, ฐาปนี เพ็ชระ Jan 2021

วัสดุเชิงประกอบพอลิแล็คติกแอซิด/แบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลต, ฐาปนี เพ็ชระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมและศึกษาสมบัติของวัสดุเชิงประกอบพอลิแล็คติกแอซิด/แบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลต โดยสังเคราะห์แบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลตด้วยกระบวนการพอลิเมอไรเซชันแบบอิมัลชันที่อัตราส่วนระหว่าง BC:MMA ที่ 1:1 และ 1:5 โดยมี K2S2O8 เป็นตัวริเริ่มปฏิกิริยา จาก FTIR สเปกตรัมของแบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลต (BC1:5) พบค่าการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของหมู่คาร์บอนิล (C=O) ขึ้นที่ตำแหน่ง 1725 cm-1 โดยคาดว่าเป็นส่วนของ PMMA ที่ถูกกราฟต์ลงบนแบคทีเรียเซลลูโลส ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีด้วยเทคนิค NMR รวมไปถึงการวิเคราะห์พฤติกรรมทางความร้อนด้วยเทคนิค TGA และ DSC ยืนยันได้ว่ามีการกราฟต์ PMMA ลงบนแบคทีเรียเซลลูโลสได้สำเร็จ จากนั้นนำแผ่นแบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลตที่เตรียมได้ไปทำการลามิเนตกับแผ่นพอลิแล็คติกแอซิดด้วยเครื่องอัดแบบ แล้วนำแผ่นลามิเนตพอลิแล็คติกแอซิดที่ได้ไปศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยา สมบัติทางความร้อน สมบัติเชิงกล และการย่อยสลายด้วยวิธีฝังกลบ จากการศึกษาพบว่าลักษณะสัณฐานวิทยาของแผ่นลามิเนตพอลิแล็คติกแอซิดกับแบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลต (BC1:5) มีการยึดเกาะที่ดีกว่าแบคทีเรียเซลลูโลสบริสุทธิ์และ BC1:1 จากการศึกษาสมบัติทางความร้อนพบว่าแผ่นลามิเนตพอลิแล็คติกแอซิดกับแบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลตสูตร BC1:5 มีเสถียรภาพทางความร้อนมากที่สุด และจากการศึกษาสมบัติเชิงกลของแผ่นลามิเนตพอลิแล็คติกแอซิดกับแบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลตพบว่ามีค่ายังส์มอดุลัสเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับพอลิแล็คติกแอซิดบริสุทธิ์ นอกจากนี้การทดสอบการย่อยสลายด้วยวิธีการฝังกลบ พบว่าแผ่นลามิเนตพอลิแล็คติกแอซิดที่เสริมแรงด้วยแบคทีเรียเซลลูโลสส่งผลต่อการย่อยสลายที่เร็วขึ้น


ไมโครแคปซูลวัสดุเปลี่ยนเฟสสำหรับสีทากล่องโฟมเพื่อรักษาอุณหภูมิเกล็ดเลือด, พสธร ลิมปธนโชติ Jan 2021

ไมโครแคปซูลวัสดุเปลี่ยนเฟสสำหรับสีทากล่องโฟมเพื่อรักษาอุณหภูมิเกล็ดเลือด, พสธร ลิมปธนโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้กล่าวถึงการเตรียมไมโครแคปซูลวัสดุเปลี่ยนเฟสโดยมีเฮปตะเดกเคนเป็นแกนและเมลามีนฟอร์มัลดีไฮด์เป็นเปลือก เปลือกของไมโครแคปซูลสังเคราะห์ด้วยกระบวนการพอลิเมอไรเซชันแบบอินซิทู เริ่มจากเตรียมอิมัลชันของเฮปตะเดกเคนด้วย Tween 80 จากนั้นเติมเมลามีนฟอร์มัลดีไฮด์คอนเดนเสทขณะมีการกวนสารตลอดเวลาตามด้วยกรดซิตริก 1 หยดทุก 1 นาทีเพื่อปรับสภาวะกรด เมื่อเวลาผ่านไปเมลามีนฟอร์มัลดีไฮด์คอนเดนเสทรวมร่างเป็นเปลือกล้อมรอบหยดเฮปตะเดกเคน ผลของการเปลี่ยนแแปลงอัตราการกวน (1000, 1250, 1500 รอบต่อนาที) และปริมาณของเมลามีนฟอร์มัลดีไฮด์ (0.5:1, 1:1, 1.5:1) มีผลต่อขนาดของไมโครแคปซูลทดสอบโดยเทคนิค SEM พบว่าไมโครแคปซูลมีรููปร่างเป็นทรงกลมและมีขนาดตั้งแต่ 1 ถึง 5 ไมโครเมตร ความร้อนแฝงของไมโครแคปซูลวัสดุเปลี่ยนเฟสวัดโดยเทคนิค DSC เท่ากับ 120.89 จูลต่อกรัมและมีประสิทธิภาพของไมโครแคปซูลเท่ากับ 89.31 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับ 135.85 จูลต่อกรัมของเฮปตะเดกเคน ยิ่งไปกว่านั้นไมโครแคปซูลมีเสถียรภาพเมื่อผ่านวัฏจักรการให้ความร้อนและความเย็นสูงถึง 50 รอบ หลังจากนั้นเตรียมกล่องโฟมทาสีซุปเปอร์ชิลด์ดัดแปรด้วยเฮปตะเดกเคน 40 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักให้ได้ความหนา 0.38 มิลลิเมตรและปิดด้วยฟิล์มแบคทีเรียเซลลูโลสที่ผิวภายใน จากนั้นวางถุงไมโครแคปซูล ถุงน้ำปราศจากประจุและเครื่องบันทึกอุณหภูมิในกล่องโฟมที่เตรียมไว้ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียสนาน 12 ชั่วโมง จากนั้นนำกล่องที่เตรียมไว้มาทดสอบที่อุณหภูมิ 25 ถึง 27 องศาเซลเซียสนาน 24 ชั่วโมง โดยเครื่องจะบันทึกการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิระหว่าง 20 ถึง 24 องศาเซลเซียสเทียบกับเวลาผลพบว่าที่ไมโครแคปซูล 200 กรัมสามารถเก็บรักษอุณหภูมิภายในกล่องโฟมมากกว่า 24 ชั่วโมงเมื่อเทียบกับเฮปตะเดกเคนและกล่องควบคุมตัวแปร


การพัฒนาคอมพอสิตยางธรรมชาติที่เติมเส้นใยเซลลูโลสจากชานอ้อย, เชาวลิต พูลพิพัฒน์ Jan 2021

การพัฒนาคอมพอสิตยางธรรมชาติที่เติมเส้นใยเซลลูโลสจากชานอ้อย, เชาวลิต พูลพิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงสมบัติของคอมพอสิตยางธรรมชาติโดยเสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลสที่ได้จากกากชานอ้อย การทดลองเริ่มจากการสกัดเส้นโยเซลลูโลสจากกากชานอ้อยด้วยการบำบัดด้วยกรด ด่าง และตามด้วยการฟอกสีร่วมกับการใช้แรงเชิงกล จากนั้นทำการดัดแปรพื้นผิวเส้นใยเซลลูโลสด้วยสารคู่ควบไซเลนชนิด บิส[(3-ไตรเอทอกซีไซลิล)โพรพิล]เตตระซัลไฟด์ (TESPT) และเอ็น-(3-(ไตรเอทอกซี่ไซลิล)โพรพิล)เอทิลีนไดเอมีน (TMPES) เพื่อเพิ่มความเข้ากันได้กับยาง ผลการทดลองพบว่าการเติมเส้นใยเซลลูโลสที่ดัดแปรพื้นผิวด้วย TESPT ส่งผลให้ปฏิกิริยาการวัลคาไนเซชันของคอมพอสิตยางธรรมชาติเกิดได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากกำมะถันที่อยู่ในโมเลกุลสารคู่ควบไซเลนซึ่งสามารถเกิดปฏิกิริยาการวัลคาไนเซชันและเกิดการเชื่อมโยงกับสายโซ่โมเลกุลยาง การดัดแปรพื้นผิวเส้นใยด้วยสารคู่ควบไซเลน TESPT สามารถปรับปรุงความเข้ากันได้บริเวณผิวประจัญของยางกับเส้นใยให้ดีขึ้นซึ่งพิสูจน์ได้จากภาพถ่ายสัณฐานวิทยา เนื่องจากคอมพอสิตยางธรรมชาติมีปริมาณพันธะเชื่อมโยงเพิ่มขึ้นและยางเข้ากันกับเส้นใยดีขึ้น ทำให้ความต้านทานต่อแรงดึงและการฉีกขาดสูงกว่าการใช้เส้นใยที่ไม่ผ่านการดัดแปรพื้นผิว โดยปริมาณเส้นใยที่เหมาะสมในการเสริมแรงยางธรรมชาติอยู่ที่ 2 phr จากการศึกษาผลของชนิดสารคู่ควบไซเลนต่อสมบัติของคอมพอสิตยางธรรมชาติ พบว่าการใช้ TMPES ส่งผลให้ค่าเวลายางสกอชกับเวลายางสุกยาวกว่ารวมไปถึงปริมาณพันธะเชื่อมโยงที่ต่ำกว่าการใช้ TESPT ทั้งนี้เนื่องจาก TMPES ไม่มีองค์ประกอบของกำมะถัน ดังนั้นความแข็งแรงบริเวณผิวประจัญจึงค่อนข้างต่ำกว่า ส่งผลให้สมบัติเชิงกลของคอมพอสิตยางธรรมชาติที่เสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลสดัดแปรด้วย TMPES ด้อยกว่าการดัดแปรด้วย TESPT


พอลิเมอร์ผสมฐานชีวภาพจากพอลิ(3-ไฮดรอกซีบิวทีเรต-โค-3-ไฮดรอกซีวาเลอเรต)และยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์, ณพรรดิ โตมะโน Jan 2021

พอลิเมอร์ผสมฐานชีวภาพจากพอลิ(3-ไฮดรอกซีบิวทีเรต-โค-3-ไฮดรอกซีวาเลอเรต)และยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์, ณพรรดิ โตมะโน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ปรับปรุงสมบัติเชิงกลในด้านความทนแรงกระแทกของพอลิ(3-ไฮดรอกซีบิวทีเรต-โค-3-ไฮดรอกซีวาเลอเรต) ด้วยการทำพอลิเมอร์ผสมกับยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์ (ร้อยละ 25, และ 50) ร่วมกับการใส่สารช่วยผสมพอลิบิวตะไดอีนกราฟต์มาเลอิกแอนไฮไดรด์เพื่อช่วยเพิ่มความเข้ากันได้ให้แก่วัฏภาค PHBV และ ENR ด้วยเครื่องผสมระบบปิดที่อุณหภูมิ 175 องศาเซลเซียสและความเร็วโรเตอร์ 50 รอบต่อนาที ในการวิจัยขั้นแรกเป็นการศึกษาผลของสัดส่วน PHBV ต่อ ENR ที่ 100/0, 90/10, 80/20, และ 70/30 จากนั้นจึงเทียบกับการใส่สารช่วยผสมในปริมาณร้อยละ 0, 5, และ 10 จากการวิเคราะห์สมบัติเชิงกลพบว่าที่สัดส่วน 70/30 PHBV/ENR/5%PB-g-MA ของทั้ง ENR-25 และ ENR-50 ให้ค่าความทนแรงกระแทกได้สูงถึง 6.92 ± 0.35, และ 7.33 ± 1.19 J/m ซึ่งมากกว่า 100 PHBV ถึง 2 และ 2.3 เท่าตามลำดับ ในขั้นตอนต่อมาได้นำพอลิเมอร์ผสมที่เตรียมได้ไปเพิ่มสมบัติเชิงกลจากการทำไดนามิกส์วัลคาไนเซชันเพื่อให้เกิดการเชื่อมขวางในวัฏภาค ENR โดยใช้ DCP เป็นสารเชื่อมขวางปริมาณ 2 ส่วนในร้อยส่วน จากการวิเคราะห์สมบัติความทนแรงกระแทกพบว่า 70/30 PHBV/ENRv/5%PB-g-MA ของทั้ง ENRv-25 และ ENRv-50 สามารถเพิ่มค่าความทนแรงกระแทกได้สูงถึง 62.99 ± 14.76 และ 24.40 ± 2.84 J/m ซึ่งมากกว่าการเตรียมพอลิเมอร์ผสมด้วยวิธีปกติถึง 9.10 และ 3.10 เท่าตามลำดับ นอกจากนี้พอลิเมอร์ PHBV และพอลิเมอร์ผสมที่สัดส่วน ENR ร้อยละ 30 ที่เตรียมได้ยังถูกนำไปทดสอบความสามารถในการย่อยสลายด้วยการฝังดินเป็นระยะเวลา 3 เดือน ผลที่ได้พบว่าพอลิเมอร์ PHBV มีปริมาณน้ำหนักหายไปถึงร้อยละ 37.11 ± 3.08 และเมื่อทำพอลิเมอร์ผสมพบว่าน้ำหนักพอลิเมอร์ผสมของ 70/30 PHBV/ENR/5%PB-g-MA …


การทำนายสมบัติของของไหลไฮบริดนาโนโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมและการประยุกต์ในการถ่ายโอนความร้อน, สหัสวัต แซวรัมย์ Jan 2021

การทำนายสมบัติของของไหลไฮบริดนาโนโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมและการประยุกต์ในการถ่ายโอนความร้อน, สหัสวัต แซวรัมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันหลายอุตสาหกรรมต้องการปรับปรุงการประสิทธิภาพการถ่ายโอนความร้อนเพื่อลดค่าใช้จ่ายและการปลดปล่อยคาร์บอน การปรับปรุงเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนโดยทั่วไปที่ใช้น้ำเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนความร้อนสามารถใช้ของไหลไฮบริดนาโนแทนได้ ของไหลไฮบริดนาโน คือ ของผสมระหว่างอนุภาคนาโนมากกว่าสองชนิดและของไหลพื้นฐาน เพื่อปรับปรุงสมบัติของของไหลพื้นฐาน โดยทั่วไปชนิดของอนุภาคนาโนและของไหลพื้นฐานที่ต่างกันย่อมส่งผลต่อสมบัติทางความร้อนและสมบัติการไหล ในงานวิจัยนี้ต้องการพัฒนาโครงข่ายประสาทเทียมสำหรับทำนายค่าการนำความร้อน ความจุความร้อนจำเพาะ ความหนืด และความหนาแน่น โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบส่งไปข้างหน้า และ แบบส่งไปข้างหน้าและด้านข้าง ใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ Levenbreg-Marquard จากการพัฒนาได้โครงข่ายประสาทเทียมสำหรับทำนายการนำความร้อน ความร้อนจำเพาะ ความหนาแน่น และความหนืดของไหลไฮบริดนาโนได้ค่า R มากกว่า 0.90 สำหรับการสอน การตรวจสอบ และการทดสอบ เมื่อนำค่าสมบัติการนำความร้อนไปประยุกต์ใช้ในกรณีศึกษาเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนของกระบวนการผลิตไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ พบว่า ของไหลไฮบริดนาโน (CuO และ MgO) มีประสิทธิภาพการนำความร้อนดีที่สุดในการนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน เมื่อกำหนดให้กระบวนการมีความเข้มข้นของไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์สูงสุด


พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากฐานพอลิอะคริลิกแอซิด/ไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากเส้นใยยางพารา, ทิพาพรรณ ดำเกาะ Jan 2021

พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากฐานพอลิอะคริลิกแอซิด/ไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากเส้นใยยางพารา, ทิพาพรรณ ดำเกาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากถูกสังเคราะห์จากไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสและพอลิอะคริลิกแอซิดเป็นมอนอเมอร์ แอมโมเนียมเพอร์ซัลเฟตเป็นตัวริเริ่มปฏิกิริยา และเอ็น, เอ็น’-เมทิลีนบิสอะคริลาไมด์เป็นสารเชื่อมขวางเพื่อใช้เป็นตัวดูดซึมน้ำและน้ำปัสสาวะสังเคราะห์ ในงานวิจัยนี้ ไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสได้จากเส้นใยยางพาราที่ได้จากใบยางพาราสดและใบยางพาราแห้ง ผ่านกระบวนการเชิงกลและสารเคมี ศึกษาองค์ประกอบชีวมวลพืชด้วยวิธี Goering and Van Soest ลักษณะทางสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด หมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโกปี ความเป็นผลึกด้วยด้วยการเลี้ยวเบนของ รังสีเอกซ์ และพฤติกรรมการสลายตัวเชิงความร้อนด้วยการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักอาศัยสมบัติทางความร้อนของไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลส ผลการทดลองพบว่าไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสที่ได้จากเส้นใยยางพาราสดและเส้นใยยางพาราแห้งมีลักษณะและสมบัติคล้ายกัน ดังนั้นไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสที่ได้จากเส้นใยยางพาราแห้งถูกนำมาเตรียมพอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากผ่านกระบวนการ พอลิเมอไรเซชัน ศึกษาผลของปริมาณของไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสและสารเชื่องขวางในการสังเคราะห์พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากที่มีผลต่อการดูดซึมน้ำและน้ำปัสสาวะสังเคราะห์ นอกจากนี้ตรวจสอบหมู่ฟังก์ชัน เปอร์เซ็นต์การกราฟต์ และสมบัติเชิงความร้อนของพอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมาก พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากที่เตรียมจากไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสร้อยละ 25 ของกรดอะคริลิกแอซิดที่สารเชื่อมขวางร้อยละ 0.05 ของกรดอะคริลิกแอซิด ให้ค่าดูดซึมน้ำและน้ำปัสสาวะสังเคราะห์สูงถึง 203 ± 0.67 g/g และ 53 ± 0.75 g/g ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าพอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากที่สามารถดูดซึมน้ำและน้ำปัสสาวะสังเคราะห์ สามารถเตรียมได้จากใบยางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ


การปรับปรุงสมบัติของไนลอน 6 รีไซเคิลด้วยเทอร์โมพลาสติกพอลิ(อีเทอร์-เอสเตอร์)อิลาสโตเมอร์และโวลลาสโทไนต์, คุณัญญา จันทร์ฉาย Jan 2021

การปรับปรุงสมบัติของไนลอน 6 รีไซเคิลด้วยเทอร์โมพลาสติกพอลิ(อีเทอร์-เอสเตอร์)อิลาสโตเมอร์และโวลลาสโทไนต์, คุณัญญา จันทร์ฉาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ พอลิเมอร์ผสมของไนลอน 6 รีไซเคิล/เทอร์โมพลาสติกพอลิ (อีเทอร์-เอสเตอร์) อิลาสโตเมอร์หรือไฮทรีล ได้ถูกเตรียมด้วยกระบวนการผสมแบบหลอมเหลวโดยใช้เครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่และขึ้นรูปชิ้นทดสอบด้วยเครื่องฉีดแบบ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อน และลักษณะสัณฐานวิทยาของชิ้นงาน ผลการศึกษาพบว่า การเติมไฮทรีลในไนลอน 6 รีไซเคิล ส่งผลให้ความทนแรงและการยืดตัว ณ จุดขาด ของไนลอน 6 รีไซเคิล ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น เนื่องมาจากไฮทรีลเป็นพอลิเมอร์ยืดหยุ่นและสามารถกระจายตัวได้อย่างสม่ำเสมอในพอลิเมอร์เมทริกซ์ของไนลอน 6 รีไซเคิล หากแต่ทำให้สมบัติเชิงกล เช่น ความทนแรงดึง, ยังส์มอดุลัส, ความทนแรงดัดโค้ง, มอดุลัสการดัดโค้ง และเสถียรภาพทางความร้อนลดต่ำลง จึงปรับปรุงสมบัติที่สูญเสียไปโดยเลือกพอลิเมอร์ผสมไนลอน 6 รีไซเคิล/ไฮทรีล ที่อัตราส่วน 70/30 ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่มีค่าความทนแรงกระแทกสูงที่สุด ไปเตรียมเป็นพอลิเมอร์คอมพอสิตด้วยโวลลาสโทไนต์ ปริมาณ 10, 20, และ 30 ส่วนต่อเรซิน 100 ส่วน ผลการวิจัยพบว่า การเติมโวลลาสโทไนต์สามารถช่วยปรับปรุงค่าความทนแรงดึง, ยังส์มอดุลัส, ความทนแรงดัดโค้ง, มอดุลัสการดัดโค้ง, เสถียรภาพทางความร้อน, อุณหภูมิการเสียรูปด้วยความร้อน และมอดุลัสสะสมของพอลิเมอร์คอมพอสิตให้เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า การเติมโวลลาสโทไนต์ในพอลิเมอร์ผสมยังสามารถช่วยลดการหลอมหยดและลดการลามไฟของพอลิเมอร์คอมพอสิตอีกด้วย หากแต่ไม่สามารถปรับปรุงความทนแรงกระแทก และการยืดตัว ณ จุดขาด ได้ เนื่องมาจากโวลลาสโทไนต์เป็นวัสดุที่มีความแข็งตึงสูง จึงส่งผลให้ไปขัดขวางการเคลื่อนไหวสายโซ่ของโมเลกุล


ฟิล์มคาร์บอนจากแบคทีเรียลเซลลูโลส/พอลิอะนิลีนและแบคทีเรียลเซลลูโลส/สีอินดิโก, ชาติกานต์ เจียมสวัสดิ์ Jan 2021

ฟิล์มคาร์บอนจากแบคทีเรียลเซลลูโลส/พอลิอะนิลีนและแบคทีเรียลเซลลูโลส/สีอินดิโก, ชาติกานต์ เจียมสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเตรียมฟิล์มคาร์บอนจากแบคทีเรียลเซลลูโลสซึ่งเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติโดยมีการเติมสารหน่วงการติดไฟคือพอลิอะนิลีนและสีอินดิโกซึ่งมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบเพื่อเพิ่มเสถียรภาพและปรับปรุงคาร์บอนยีลด์ของฟิล์มคาร์บอน ในอัตราส่วนแบคทีเรียลเซลลูโลสต่อพอลิอะนิลีนและแบคทีเรียลเซลลูโลสต่อสีอินดิโกอยู่ที่ 1:0.25, 1:0.5 และ 1:1 จากนั้นจะนำฟิล์มตั้งต้นไปผ่านกระบวนการทางความ 2 ขั้นตอนคือ กระบวนการสเตบิไลเซชัน ที่อุณหภูมิ 330 องศาเซลเซียสและกระบวนการคาร์บอนไนเซชัน ที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เพื่อเปลี่ยนให้ฟิล์มทั้งสองเป็นฟิล์มคาร์บอน พบว่าฟิล์มคาร์บอนที่เตรียมจากแบคทีเรียลเซลลูโลส/สีอินดิโกสามารถช่วยปรับปรุงคาร์บอนยีลด์ให้เพิ่มขึ้นจาก 2.8% เป็น 22.3% สำหรับแบคทีเรียลเซลลูโลสและแบคทีเรียลเซลลูโลส/สีอินดิโก 1:1 นอกจากนี้สีอินดิโกยังช่วยเพิ่มความเสถียรในการคงรูป ในขณะที่ฟิล์มคาร์บอนที่เตรียมจากแบคที่เรียลเซลลูโลส/พอลิอะนิลีน มีลักษณะที่เปราะและไม่สามารถคงรูปได้ เมื่อตัวอย่างฟิล์มจากสารตั้งต้นทั้ง 2 ชนิดผ่านกระบวนการคาร์บอไนเซชันจะเห็นโครงสร้างของคาร์บอนที่ชัดเจนขึ้นจากการทดสอบรามานสเปกโตรสโคปี แสดงรามานสเปกตรัมของ D-band และ G-band ที่ 1350 cm-1 และ 1600 cm-1 ตามลำดับ การวิเคราะห์โครงสร้างผลึกจะมีสัญญาณพีคขึ้นที่อัตราส่วนของสีอินดิโกอยู่ที่ 1:1 แต่จะไม่พบสัญญาณพีคในตัวอย่างที่เติมพอลิอะนิลีนในทุกอัตราส่วน สีอินดิโกจึงมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดโครงสร้างคาร์บอน นอกจากนี้ยังตรวจสอบผลของสีอินดิโก (ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ) ต่อลักษณะทางสัณฐานวิทยา ผลผลิตคาร์บอน และประสิทธิภาพทางไฟฟ้าเคมี


ฟิล์มคอมพอสิตของสโคบีเซลลูโลส/ไฮโดรไลซ์คอลลาเจนเคลือบด้วยไคโตซานสำหรับประยุกต์เป็นแผ่นปิดแผล, พันธิตรา ยาแก้ว Jan 2021

ฟิล์มคอมพอสิตของสโคบีเซลลูโลส/ไฮโดรไลซ์คอลลาเจนเคลือบด้วยไคโตซานสำหรับประยุกต์เป็นแผ่นปิดแผล, พันธิตรา ยาแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สโคบีแบคทีเรียลเซลลูโลสเป็นพอลิเมอร์ที่มีความเข้ากันได้ดีทางชีวภาพเนื่องจากมีสมบัติที่หลากหลาย ได้แก่ มีความบริสุทธิ์สูง สมบัติเชิงกลที่ดี การดูดซึมน้ำที่ดี และความไม่เป็นพิษซึ่งทำให้เหมาะสมสำหรับการประยุกต์ใช้เป็นวัสดุปิดแผล ในงานวิจัยนี้ทำการเตรียมฟิล์มจากการผสมสโคบีเซลลูโลส/ไฮโดรไลซ์คอลลาเจนที่อัตราส่วน 90:10, 80:20 และ 70:30 โดยน้ำหนัก โดยเติมกลีเซอรอลร้อยละ 5 โดยน้ำหนักลงไปเพื่อเป็นพลาสติไซเซอร์ หล่อแบบจนแห้งหลังจากนั้นเคลือบด้วยละลายไคโตซานร้อยละ 1 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร วิเคราะห์และทดสอบความเข้ากันได้ของฟิล์มด้วยเทคนิค FTIR, SEM และ TGA จากผลการทดสอบยืนยันว่าชั้นไคโตซานเคลือบทับสโคบีแบคทีเรียลเซลลูโลสจากการเกิดอันตรกิริยาระหว่างกันด้วยพันธะไฮโดรเจน การทดสอบสมบัติต้านแบคทีเรียทดสอบกับเชื้อ S.aureus บ่งชี้ให้เห็นว่า บริเวณยับยั้งการเจริญของเชื้อบริเวณฟิล์มที่เคลือบไคโดซานมีสมบัติต้านแบคทีเรียได้ดีกว่า นอกจากนี้ทำการบรรจุแอสคอร์บิคแอซิดลงในฟิล์มคอมพอสิตโดยทำการแช่ลงในสารละลายแอสคอร์บิคแอซิดในสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ pH 7.4 เป็นเวลา 12 ชั่วโมง โดยวิเคราะห์ปริมาณยาสะสมที่ถูกปลดปล่อยออกมาโดยเทคนิค UV-Vis spectroscopy บ่งชี้ให้เห็นว่าฟิล์มคอมพอสิตไม่เพียงแต่กักเก็บรูปออกฤทธิ์ของแอสคอร์บิคแอซิดแต่ยังสามารถควบคุมการปลดปล่อยของแอสคอร์บิคได้อีกด้วย ดังนั้นฟิล์มคอมพอสิตที่วิจัยขึ้นนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นวัสดุปิดแผลที่เติมสารออกฤทธิ์ลงไปได้


ผลของสารขยายสายโซ่ต่อสมบัติของคอมพอสิตพอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลตที่นำมาใช้ใหม่/เทอร์มอพลาสติกพอลิยูรีเทน/ผงไม้, วรรณพร เรืองเมือง Jan 2021

ผลของสารขยายสายโซ่ต่อสมบัติของคอมพอสิตพอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลตที่นำมาใช้ใหม่/เทอร์มอพลาสติกพอลิยูรีเทน/ผงไม้, วรรณพร เรืองเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสมบัติเชิงกลและเสถียรภาพทางความร้อนของ พอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลตที่นำมาใช้ใหม่ ด้วยการเติมเทอร์มอพลาสติกพอลิยูรีเทนซึ่งเป็นพอลิเมอร์ ที่มีความยืดหยุ่นสูง และผงไม้ ซึ่งเป็นสารตัวเติมอินทรีย์ และทำการปรับปรุงความเข้ากันได้ของ คอมพอสิตโดยการเติมสารขยายสายโซ่เมทิลีนไดฟีนิลไดโอโซไซยาเนต โดยขั้นแรกได้ทำการผสม พอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลตที่นำมาใช้ใหม่แบบหลอมเหลวกับเทอร์มอพลาสติกพอลิยูรีเทน 3 อัตราส่วน (ร้อยละ 10–30 โดยน้ำหนัก) ด้วยเครื่องอัดรีดแบบเกลียวคู่ก่อนตัดเป็นเม็ด ตามด้วย การฉีดแบบ จากการทดสอบ พบว่า ความทนแรงกระแทก การยืดตัว ณ จุดขาด และความทน แรงดัดโค้งมีค่าเพิ่มขึ้น ขณะที่ ความทนแรงดึง ยังส์มอดุลัส และสมบัติทางความร้อนลดลง โดย 70/30 พอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลตที่นำมาใช้ใหม่/เทอร์มอพลาสติกพอลิยูรีเทน มีความทนแรงกระแทก และการยืดตัว ณ จุดขาด สูงสุด จึงถูกเลือกเพื่อนำไปเตรียมไม้คอมพอสิตกับผงไม้ที่ปริมาณ 10, 20, และ 30 ส่วนต่อน้ำหนักเรซินผสมร้อยส่วน โดยคอมพอสิตได้ถูกเตรียมด้วยกระบวนการเดียวกันกับที่กล่าวมาข้างต้น จากการทดสอบ พบว่ายังส์มอดุลัส และความทนแรง ดัดโค้งได้รับการปรับปรุง ขณะที่ความทนแรงกระแทก ความทนแรงดึง การยืดตัว ณ จุดขาด และสมบัติทางความร้อนลดลง โดย 70/30/10 พอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลตที่นำมาใช้ใหม่/เทอร์มอพลาสติกพอลิยูรีเทน/ผงไม้ มีสมบัติเชิงกลที่เหมาะสม จึงถูกเลือกเพื่อนำไปผสมกับเมทิลีนไดฟีนิลไดโอโซไซยาเนต ที่ปริมาณร้อยละ 0.5 และ 1 โดยน้ำหนัก เพื่อปรับปรุงความเข้ากันได้ และเป็นสารขยายสายโซ่ของพอลิเมอร์เมทริกซ์และผงไม้ จากการทดสอบ พบว่า การเติมเมทิลีนไดฟีนิล ไดโอโซไซยาเนตสามารถปรับปรุงสมบัติเชิงกลของคอมพอสิตได้


คอมพอสิตของพอลิแล็กติกแอซิดรีไซเคิล/เทอร์มอพลาสติกพอลิอีเทอร์–เอสเทอร์/โวลลาสโทไนต์เติมด้วยสารขยายสายโซ่, สุรพันธ์ หงสุรพันธุ์ Jan 2021

คอมพอสิตของพอลิแล็กติกแอซิดรีไซเคิล/เทอร์มอพลาสติกพอลิอีเทอร์–เอสเทอร์/โวลลาสโทไนต์เติมด้วยสารขยายสายโซ่, สุรพันธ์ หงสุรพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ คอมพอสิตของพอลิแล็กติกรีไซเคิล/เทอร์มอพลาสติกพอลิอีเทอร์– เอสเทอร์/โวลลาสโทไนต์ได้ถูกพัฒนาด้วยการเติมสารขยายสายโซ่จองคิ้ว โดยขั้นแรกพอลิเมอร์ผสม พอลิแล็กติกแอซิดรีไซเคิล/เทอร์มอพลาสติกพอลิอีเทอร์–เอสเทอร์ที่อัตราส่วน 80/20 ถูกผสมด้วยสารขยายสายโซ่จองคิ้วที่อัตราส่วนต่าง ๆ (0.5–2 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินผสมร้อยส่วน) เพื่อวิเคราะห์หาน้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ย ดรรชนีการหลอมไหล สมบัติเชิงกล และสมบัติทางความร้อน พบว่า การเติมสารขยายสายโซ่จองคิ้ว ส่งผลให้น้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ย ความเข้ากันได้ระหว่าง พอลิเมอร์ผสม และสมบัติเชิงกลของพอลิเมอร์ผสมเพิ่มขึ้น ขณะที่เสถียรภาพทางความร้อนมีค่าลดลง โดย 80/20 พอลิแล็กติกแอซิดรีไซเคิล/เทอร์มอพลาสติกพอลิอีเทอร์–เอสเทอร์ที่เติมสารขยายสายโซ่จองคิ้วที่ปริมาณ 1.5 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินผสมร้อยส่วนมีค่าความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาดสูงสุด จึงถูกเลือกไปเตรียมคอมพอสิตกับโวลลาสโทไนต์ที่ปริมาณ 5, 10, 15 และ 20 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินผสมร้อยส่วน พบว่า คอมพอสิตได้รับการปรับปรุง ยังส์มอดุลัส ความทนแรงดัดโค้ง มอดุลัสการดัดโค้ง เสถียรภาพทางความร้อน และการหลอมหยด ขณะที่ความทนแรงดึงและการยืดตัว ณ จุดขาด มีค่าลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับ 80/20 พอลิแล็กติกแอซิดรีไซเคิล/เทอร์มอพลาสติกพอลิอีเทอร์–เอสเทอร์ที่เติมสารขยายสายโซ่จองคิ้วที่ปริมาณ 1.5 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินผสมร้อยส่วนอย่างไรก็ตาม คอมพอสิตที่เติมโวลลาสโทไนต์ที่ปริมาณ 20 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินผสมร้อยส่วนมีสมบัติที่ดีที่สุด


ผลของอนุภาคนาโนซิลเวอร์ต่อสมบัติการให้สี การต้านเชื้อแบคทีเรียและการป้องกันรังสียูวีบนผ้าไหม, พรชีวิน บรรจง Jan 2021

ผลของอนุภาคนาโนซิลเวอร์ต่อสมบัติการให้สี การต้านเชื้อแบคทีเรียและการป้องกันรังสียูวีบนผ้าไหม, พรชีวิน บรรจง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของตัวแปรต่าง ๆในการสังเคราะห์อนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ให้สีด้วยวิธีการแบบอินซิทู ต่อเฉดสี ความสม่ำเสมอของสี ความคงทนของสีต่อการซัก สมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรียและการป้องกันรังสียูวีบนผ้าไหมที่ทรีตด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ให้สี นอกจากนี้ยังศึกษาผลของการใช้สารยึดติดชนิดอะคริลิกและผลของการย้อมทับด้วยสีแอซิดบนผ้าไหมที่ทรีตด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ให้สีต่อสมบัติต่าง ๆ ที่ศึกษาด้วยเช่นกัน จากการศึกษาพบว่าสภาวะที่เหมาะสมที่ให้สมบัติต่าง ๆ ที่ศึกษาบนผ้าไหมที่ผ่านการให้สีดีที่สุดจากการสังเคราะห์อนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ให้สีด้วยวิธีการแบบอินซิทูบนผ้าไหมคือ สภาวะที่ใช้ความเข้มข้นของสารละลายซิลเวอร์ไนเตรต 2.0 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักผ้า อัตราส่วนระหว่างสารละลายซิลเวอร์ไนเตรตต่อสารละลายไตรโซเดียมซิเตรตไดไฮเดรตเท่ากับ 1:3 อุณหภูมิในการ ทรีต 90 องศาเซลเซียส ที่เวลาในการทรีต 90 หรือ 120 นาที ที่ค่าพีเอชเท่ากับ 4.0 จากผลการทดลองพบว่าผ้าไหมที่ได้จากการทรีตด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ให้สีเปลี่ยนจากเฉดสีขาวเป็นเฉดสีเทาอ่อนถึงเฉดสีน้ำตาลเหลืองอ่อนจนถึง สีน้ำตาลเหลืองเข้ม ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นซิลเวอร์ไนเตรตและอัตราส่วนระหว่างสารละลายซิลเวอร์ไนเตรตต่อสารละลายไตรโซเดียมซิเตรตไดไฮเดรตที่ใช้ ถ้าใช้ความเข้มข้นสูงและอัตราส่วนที่สูงจะได้ผ้าไหมที่มีเฉดสีน้ำตาลเข้มเพิ่มมากขึ้น อุณหภูมิและเวลาในการทรีตผ้าไหมก็ช่วยในการเพิ่มเฉดสีให้เข้มขึ้นด้วยเช่นกันและยังช่วยเพิ่มความสม่ำเสมอของสีบน ผ้าไหมด้วย ผลของการซักล้าง 20 ครั้ง พบว่าผ้าไหมที่เกิดจากการให้สีด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์มีความคงทนของสีต่อการ ซักล้างที่ต่ำมาก ความสามารถในการป้องกันรังสียูวียังคงรักษาได้ในระดับดี และความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรีย S. aureus. ลดลงมาเหลือประมาณร้อยละ 50 ส่วนผลการใช้สารยึดติดชนิดอะคริลิกและการย้อมทับด้วยสีแอซิดบนผ้าไหมที่ทรีตด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ให้สีเพื่อช่วยในการปรับปรุงสมบัติที่ศึกษาให้ดีขึ้น สรุปได้ว่าการย้อมทับด้วยสีแอซิดช่วยปรับปรุงความคงทนของสีต่อการซักล้าง ความสามารถในการป้องกันกันรังสียูวี และสมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรีย S. aureus. ได้ดีขึ้นมากกว่าการใช้สารยึดติดชนิดอะคริลิก แต่วิธีการย้อมทับด้วยสีแอซิดสีน้ำเงินส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเฉดสีของผ้าไหมที่ทรีตด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ให้สีเปลี่ยนเป็นสีเขียวซึ่งเกิดจากการผสมของสี ส่วนการใช้สารยึดติดชนิดอะคริลิกไม่มีผลกระทบต่อเฉดสีบนผ้าไหมที่ทรีตด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ให้สี


การผลิตไฮโดรเจนโดยไพโรไลซิสร่วมกับรีฟอร์มิงด้วยไอน้ำของพลาสติกและกลีเซอรอลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา Ni/Al2o3, พัชรพร วิบูลย์วิมลรัตน์ Jan 2020

การผลิตไฮโดรเจนโดยไพโรไลซิสร่วมกับรีฟอร์มิงด้วยไอน้ำของพลาสติกและกลีเซอรอลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา Ni/Al2o3, พัชรพร วิบูลย์วิมลรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตไฮโดรเจนโดยไพโรไลซิสร่วมกับรีฟอร์มิงด้วยไอน้ำของพลาสติกและกลีเซอรอลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/อลูมินา การทดลองนี้ถูกดำเนินการในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งชนิดสองขั้น ในส่วนแรกศึกษาผลของตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/อลูมินาที่ส่งผลต่อไพโรไลซิสร่วมกับรีฟอร์มิงด้วยไอน้ำในการผลิตไฮโดรเจน โดยเทียบกรณีไม่มีตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/อลูมินา จากผลการทดลองพบว่า การเติมตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/อลูมินา ส่งผลทำให้องค์ประกอบและผลได้ของไฮโดรเจนมีค่าสูงขึ้นอย่างชัดเจน และให้องค์ประกอบและผลได้ของมีเทนและคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ลดลง ส่วนที่สองศึกษาผลของอุณหภูมิรีฟอร์มิงที่ 700, 750 และ 800 องศาเซลเซียส โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล/อลูมินา ภายใต้สภาวะการดำเนินงานเดียวกัน สำหรับกรณีที่ป้อนกลีเซอรอลหรือพลาสติกเดี่ยว พบว่าผลได้ของแก๊สผลิตภัณฑ์รวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิรีฟอร์มิงที่สูงขึ้น และที่อุณหภูมิรีฟอร์มิง 750 องศาเซลเซียส มีผลได้ของไฮโดรเจนสูงสุดสำหรับกรณีที่ป้อนกลีเซอรอลร่วมกับชนิดของพลาสติกที่แตกต่างกัน จึงถือเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการไพโรไลซิสร่วมกับรีฟอร์มิงด้วยไอน้ำของพลาสติกและกลีเซอรอล และส่วนสุดท้ายศึกษาผลของการใช้พลาสติกที่แตกต่างกันสามชนิด ได้แก่ พอลิเอทิลีน, พอลิโพรพิลีนและพอลิสไตรีน จากผลการทดลองที่ได้พบว่าการผลิตไฮโดรเจนจากกลีเซอรอลร่วมกับพอลิเอทิลีนและกลีเซอรอลร่วมกับพอลิสไตรีนมีแนวโน้มที่สูงใกล้เคียงกัน


Solid-Liquid-Polymer Mixed Matrix Membranes For Gas Separation: Silicone Rubber Membranes Filled With Nax And Ky Zeolites Adsorbed Peg, Sitthikiat Boonchoo Jan 2020

Solid-Liquid-Polymer Mixed Matrix Membranes For Gas Separation: Silicone Rubber Membranes Filled With Nax And Ky Zeolites Adsorbed Peg, Sitthikiat Boonchoo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Carbon dioxide (CO₂) is one of the major constituents of natural gas and biogas. The presence of high CO₂ content causes some serious problems including reduction of heating value and corrosion of equipment's surface. Additionally, CO₂ emission is the main issue of the greenhouse effect. In consequence of these problems, membrane technologies have drawn much attention as potential techniques for gas separation. mixed matrix membranes (MMMs) have been studied and developed to provide the synergistic effect of inorganic and organic materials on membranes. In this study, PEG/NaX:KY/SR mixed matrix membranes (PZS MMMs) were prepared by the solution casting method using …


Silver Surface Enrichment On Zsm-5 Zeolites For The Catalytic Cracking Of N-Pentane To Produce Light Olefins, Warisara Angguravanich Jan 2020

Silver Surface Enrichment On Zsm-5 Zeolites For The Catalytic Cracking Of N-Pentane To Produce Light Olefins, Warisara Angguravanich

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The effects of Ag-incorporation on the catalytic performance of ZSM-5 zeolites have been investigated. Since Ag-incorporation can promote the formation of light olefins and significantly enhance catalytic performance in n-pentane catalytic cracking. However, the Ag-incorporated ZSM-5 zeolite was rapidly deactivated in npentane catalytic cracking. Thus, CLD and sulfation methods were introduced to improve catalytic activity and stability of Ag-incorporated ZSM-5 zeolites. The Agincorporated ZSM-5 zeolites have been prepared by the incipient wetness impregnation and CLD methods. Moreover, the sulfated catalyst was prepared by the sequential CLD and sulfation of commercial HZSM-5 zeolite. The catalytic activity and stability of Ag-incorporated ZSM-5 …


Bacterial Cellulose Composites For Target Analyte Preconcentration In Analytical Applications, Panlop Lormaneenopparat Jan 2020

Bacterial Cellulose Composites For Target Analyte Preconcentration In Analytical Applications, Panlop Lormaneenopparat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Bacterial cellulose (BC) is a well-known natural material with desirable properties including biocompatibility, biodegradability, hydrophilicity, high mechanical strength, high porosity, and broad chemically modifiable capacity. Herein, we incorporate carboxymethyl cellulose (CMC) in BC hydrogel to improve the swelling property and prevent collapsing of 3D bacterial cellulose network upon drying. In addition, gold nanoparticles (AuNPs) were successfully embedded within the BC/CMC composite using in situ chemical reduction. Moreover, AuNPs were uniformly distributed in BC/CMC matrix with a diameter of approximately 13 nm. The freeze-dried BC/CMC/AuNPs composite was subsequently used for adsorption of targeted analytes for laser desorption/ionization mass spectrometry. In particular, …


การพัฒนาแผ่นกั้นในแบตเตอรี่ซิงก์ไอออนจากแผ่นเส้นใยอิเล็กโทรสปันพอลิอะคริโลไนไตรล์กับพอลิยูรีเทนเชิงชีวภาพ, สุชาวดี สายแสงธรรม Jan 2020

การพัฒนาแผ่นกั้นในแบตเตอรี่ซิงก์ไอออนจากแผ่นเส้นใยอิเล็กโทรสปันพอลิอะคริโลไนไตรล์กับพอลิยูรีเทนเชิงชีวภาพ, สุชาวดี สายแสงธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมแผ่นเส้นใยอิเล็กโทรสปันของพอลิอะคริโลไนไตรล์กับพอลิยูรีเทนเชิงชีวภาพสำหรับใช้เป็นแผ่นกั้นในแบตเตอรี่ซิงก์ไอออน โดยเตรียมพอลิยูริเทนชีวภาพจากไดไอโซไซยาเนตเชิงชีวภาพ พอลิคาโพรแล็กโทนไดออล และเอทิลีนไกลคอลพบว่าที่อัตราส่วน 2.1:1:1 พอลิยูรีเทนเชิงชีวภาพที่ได้มีน้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ยสูงสุด 28,000 กรัมต่อโมล จากนั้นขึ้นรูปเป็นแผ่นเส้นใยอิเล็กโทรสปันของพอลิอะคริโลไนไตรล์กับพอลิยูรีเทนเชิงชีวภาพที่อัตราส่วน 75:25 ด้วยเทคนิคอิเล็กโทรสปินนิง ร่วมกับการใช้วิธีการออกแบบการทดลองโดยวิธีการทากูชิ ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัย 4 ระดับ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสัณฐานวิทยาและสมบัติของเส้นใยพอลิเมอร์ จากนั้นใช้วิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเกรย์เพื่อศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการเป็นแผ่นกั้นของแผ่นเส้นใยอิเล็กโทรสปันพอลิอะคริโลไนไตรล์กับพอลิยูรีเทนเชิงชีวภาพ โดยสมบัติที่ใช้ในการพิจารณา ได้แก่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใย ขนาดรูพรุน ความเป็นรูพรุน ค่าการดูดซับอิเล็กโทรไลต์ ความทนแรงดึง ค่าการนำไอออน ค่ามุมสัมผัสของอิเล็กโทรไลต์และการหดตัวของแผ่นเส้นใย พบว่าการใช้ความเข้มข้นของพอลิอะคริโลไนไตรล์กับพอลิยูรีเทนเชิงชีวภาพร้อยละ 14 โดยน้ำหนัก ความต่างศักย์ไฟฟ้า 25 กิโลโวลต์และระยะห่างระหว่างปลายเข็มฉีดยากับแผ่นเก็บตัวอย่าง 16 เซนติเมตร เป็นภาวะที่เหมาะสมในการขึ้นรูปแผ่นเส้นใยพอลิอะคริโลไนไตร์ลกับพอลิยูรีเทนชีวภาพ โดยมีค่าการนำไอออนสูงถึง 3.11 มิลลิซีเมนต์ต่อเซนติเมตร มีความทนแรงดึง 44.2 เมกะปาสคาล และมีการดูดซับอิเล็กโทรไลต์ร้อยละ 1,971 ของแผ่นเส้นใย นอกจากนี้ยังพบว่าแผ่นเส้นใยที่พัฒนาได้สามารถทนต่อการหดตัวทางความร้อนได้ที่อุณหภูมิสูงถึง 150 องศาเซลเซียส ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแผ่นเส้นใยที่เตรียมได้มีศักยภาพในการประยุกต์เป็นแผ่นกั้นสำหรับซิงก์ไอออนแบตเตอรี่


ผลของสารเพอร์ออกไซด์อินทรีย์ต่อการออกซิเดชันสถานะของแข็งของพอลิเอทิลีนแวกซ์, ธนัญชฎา ทิพยไกรศร Jan 2020

ผลของสารเพอร์ออกไซด์อินทรีย์ต่อการออกซิเดชันสถานะของแข็งของพอลิเอทิลีนแวกซ์, ธนัญชฎา ทิพยไกรศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของสารเพอร์ออกไซด์อินทรีย์และภาวะที่เหมาะสมในการผลิตออกซิไดซ์พอลิเอทิลีนแวกซ์โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์แบบแบตซ์ เพื่อให้ได้ค่าความเป็นกรดที่มากกว่า 13 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อกรัม เนื่องจากเป็นค่าที่เหมาะสมในการนำมาใช้เป็นสารหล่อลื่นในภาคอุตสาหกรรม ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตได้ โดยใช้สารเพอร์ออกไซด์อินทรีย์คือ หนึ่ง,หนึ่ง-บิส-(เติร์ท-เอมิลเพอร์ออกซี)ไซโคลเฮกเซน และ ได-เติร์ท-บิวทิลเพอร์ออกไซด์ เป็นสารริเริ่มปฏิกิริยา (Initiator) ที่ความเข้มข้นร้อยละ 80 โดยน้ำหนัก และใช้แก๊สอากาศ (Air zero) ในการทำปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยใช้เวลาในการทำปฏิกิริยาในช่วง 60 ถึง 180 นาที อุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาในช่วง 90 ถึง 130 องศาเซลเซียส และปริมาณของสารเพอร์ออกไซด์อินทรีย์ในช่วงร้อยละ 2 ถึง 8 โดยน้ำหนัก จากการทดลองพบว่าภาวะที่เหมาะสมในการผลิตออกซิไดซ์พอลิเอทิลีนแวกซ์จากปริมาณพอลิเอทิลีนแวกซ์ 100 กรัม ได้แก่ เวลาในการทำปฏิกิริยา 180 นาที อุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา 123 องศาเซลเซียส และปริมาณของสารเพอร์ออกไซด์อินทรีย์ หนึ่ง,หนึ่ง-บิส-(เติร์ท-เอมิลเพอร์ออกซี)ไซโคลเฮกเซน ร้อยละ 6 โดยน้ำหนัก จะได้ค่าความเป็นกรด 15.23 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อกรัม นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค FTIR และ NMR ยังยืนยันว่าพอลิเอทิลีนแวกซ์ถูกออกซิไดซ์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตซ์