Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chemistry Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Polymer Chemistry

PDF

Chulalongkorn University

2019

Articles 1 - 26 of 26

Full-Text Articles in Chemistry

ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาต่อคุณภาพของน้ำมันชีวภาพจากไพโรไลซิสชิ้นไม้ยูคาลิปตัสและซังข้าวโพดในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง, วรเวช ศรีปราโมช Jan 2019

ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาต่อคุณภาพของน้ำมันชีวภาพจากไพโรไลซิสชิ้นไม้ยูคาลิปตัสและซังข้าวโพดในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง, วรเวช ศรีปราโมช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการไพโรไลซิสไม้ยูคาลิปตัสและซังข้าวโพดในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง พบว่าภาวะที่เหมาะสมสำหรับชีวมวลทั้งสองชนิดคือ เวลาทำปฏิกิริยาที่ 30 นาที อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส และขนาดอนุภาคของชีวมวลระหว่าง 0.50-0.71 มิลลิเมตร ส่วนอัตราการไหลแก๊สไนโตรเจนสำหรับไม้ยูคาลิปตัสคือ 120 มิลลิลิตรต่อนาที และสำหรับ ซังข้าวโพดคือ 80 มิลลิลิตรต่อนาที ให้ผลได้น้ำมันชีวภาพสูงสุดของไม้ยูคาลิปตัสและซังข้าวโพดที่ร้อยละ 31.69 และ 22.01 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ โดยน้ำมันชีวภาพจากชีวมวลทั้งสองชนิดให้ค่าความร้อนสูงขึ้นและใกล้เคียงกันคือ 23.14 และ 23.27 เมกะจูล/กิโลกรัม ตามลำดับ สอดคล้องกับอัตราส่วน H/C และ O/C ของน้ำมันชีวภาพจากชีวมวลทั้งสองชนิดที่มีค่าต่ำกว่าในชีวมวล เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันชีวภาพพบว่าส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่มฟีนอล รองลงมาคือสารในกลุ่มกรดคาร์บอกซิลิก แอลดีไฮด์ อีเทอร์ คีโทน ไฮโดรคาร์บอน แซ็กคาไรด์ และสารที่มีปริมาณน้อยสุดคือสารในกลุ่มฟูแรน และจากการศึกษาผลของตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมต์และเอฟซีซีใช้แล้ว พบว่าปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสมสำหรับชีวมวลทั้งสองชนิดคือร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก และตัวเร่งปฏิกิริยาทั้งสองชนิดไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการลดออกซิเจนในน้ำมันชีวภาพ


High Magnification Polymeric Lens For Smartphone Microscope, Wisansaya Jaikeandee Jan 2019

High Magnification Polymeric Lens For Smartphone Microscope, Wisansaya Jaikeandee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this work, we present a facile method for fabrication of plano-convex lenses, using high reflective optical polymer (Polydimethylsiloxane, Sylgard 184 by Dow Corning, n ~1.42 and Norland Optical adhesive 61, NOA61 by Norland Products, ~1.56) under the confined sessile drop technique. The confined sessile drop technique is a facile method and an adjustable lens geometry through controlled the weight of liquid polymer on the lens substrate, as PMMA circular disk and Sylgard circular disk, with different diameter (2.5-6.0 mm). The liquid polymer was gradually spread and radially over the surface of the lens substrate, and resistance to spreading of …


การพัฒนาวิธีการตรวจวัดสารหน่วงการติดไฟโบรมิเนเทตในพอลิสไตรีนชนิดทนแรงกระแทกสูงด้วยวิธีเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์สเปกโทรเมตรี, พลวัต สิงหเสมานนท์ Jan 2019

การพัฒนาวิธีการตรวจวัดสารหน่วงการติดไฟโบรมิเนเทตในพอลิสไตรีนชนิดทนแรงกระแทกสูงด้วยวิธีเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์สเปกโทรเมตรี, พลวัต สิงหเสมานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวิธีสำหรับการตรวจวัดสารหน่วงติดไฟที่มีธาตุโบรมีนเป็นองค์ประกอบในตัวอย่างพอลิสไตรีนชนิดทนแรงกระแทกสูง โดยใช้วิธีเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์สเปกโทรเมตรี (XRF) ปัญหาของการตรวจวัดด้วยวิธีนี้ต้องใช้วัสดุมาตรฐาน (Reference materials, RM) ที่เหมาะสมโดยต้องมีลักษณะ และองค์ประกอบที่มีความใกล้เคียงกับตัวอย่างมากที่สุด งานวิจัยนี้จึงศึกษาการเตรียมวัสดุมาตรฐานปฐมภูมิและทุติยภูมิซึ่งเป็นสารเติมแต่งที่ใช้ในการผลิตจริง ในช่วงความเข้มข้นของโบรมีน 1-13% โดยน้ำหนัก ซึ่งครอบคลุมช่วงความเข้มข้นที่ใช้ในการผลิตจริง โดยเตรียมวัสดุมาตรฐานด้วยเครื่องผสมพอลิเมอร์แบบไม่ต่อเนื่อง บดวัสดุมาตรฐานภายใต้ไนโตรเจนเหลว และอัดขึ้นรูปเป็นแผ่น จากนั้นนำไปสร้างกราฟมาตรฐาน และวิเคราะห์ด้วยวิธีเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์สเปกโทรเมตรี กราฟมาตรฐานที่ทั้งหมดมีความเป็นเส้นตรงดี (r2 > 0.995) ทดสอบความแม่น (Accuracy) และความเที่ยง (Precision) ของการทดสอบ โดยใช้สารอ้างอิงมาตรฐานภายใน (In-house reference materials) ที่มีความเข้มข้นของโบรมีน 10% โดยน้ำหนัก ค่าความแม่นรายงานด้วยค่าร้อยละการคืนกลับ (%Recovery) อยู่ในช่วง 98.6 - 104.1% และ ความผิดพลาดสัมพัทธ์ (Relative error) อยู่ในช่วง 0.44 – 4.15 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ความเที่ยงรายงานด้วยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพันธ์ (%RSD) อยู่ในช่วง 0.12 – 0.62 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ค่าขีดจำกัดต่ำสุดของการตรวจวัด (Limit of detection, LOD) อยู่ในช่วง 0.32 – 0.45 % โบรมีนโดยน้ำหนัก วัสดุมาตรฐานที่เตรียมขึ้นมีความเป็นเนื้อเดียวกันสูงทั้งภายในชุดผสม และระหว่างชุดผสม อีกทั้งยังมีความเสถียรสูง ไม่มีความแตกต่างของความเข้มของสัญญาณเอกซ์เรย์ที่วัดได้ตลอดระยะเวลา 6 เดือน วิธีที่พัฒนาขึ้นเป็นวิธีที่ไม่ทำลายตัวอย่าง สามารถวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ เตรียมตัวอย่างได้ง่าย สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตัวอย่างจริง ทั้งงานควบคุมคุณภาพ และวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้


การเตรียมและสมบัติของเซลลูโลสจากผักตบชวา/ว่านหางจระเข้ไฮโดรเจล, เฟรินส์ ภู่ทอง Jan 2019

การเตรียมและสมบัติของเซลลูโลสจากผักตบชวา/ว่านหางจระเข้ไฮโดรเจล, เฟรินส์ ภู่ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ได้เตรียมเซลลูโลสไฮโดรเจลจากสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์/ยูเรียโดยใช้เซลลูโลสจากผักตบชวาที่สกัดได้จากกระบวนการทางเคมีและเพิ่มเสถียรภาพด้วยบอแรกซ์ซึ่งเป็นสารเชื่อมขวางที่สามารถละลายได้ในระบบ จากผลการทดลองพบว่าความหนืดของสารละลาย การดูดซึมน้ำ การส่องผ่านของแสง และร้อยละความเครียดจากการกดของไฮโดรเจลเพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความเป็นรูพรุนภายในไฮโดรเจล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการเชื่อมขวางของสายโซ่เซลลูโลสด้วยบอแรกซ์ นอกจากนี้การเติมบอแรกซ์ยังส่งผลให้ไฮโดรเจลมีสมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส และเนื่องด้วยเซลลูโลสไฮโดรเจลที่เติมบอแรกซ์ปริมาณ 3 เท่า (ไฮโดรเจล 1/3) มีการดูดซึมน้ำและร้อยละความเครียดจากการกดที่เหมาะสมจึงถูกเลือกเพื่อเตรียมเซลลูโลส/ว่านหางจระเข้ไฮโดรเจลโดยการแช่ในสารละลายว่านหางจระเข้ที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 และ 10 ของว่านหางจระเข้ในน้ำ พบว่าการแช่เซลลูโลสไฮโดรเจลในสารละลายว่านหางจระเข้นั้นไม่ส่งผลต่อสมบัติการดูดซึมน้ำและร้อยละความเครียดจากการกด นอกจากนี้สมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรียของเซลลูโลสไฮโดรเจลไม่ได้รับการปรับปรุงโดยการแช่ในสารละลายว่านหางจระเข้


การวิเคราะห์ความอ่อนไหวสำหรับการหาค่าเหมาะที่สุดของกระบวนการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสารละลายโพแทสเซียมคาร์บอเนต, ฐาปณัฐ ชื่นพันธุ์ Jan 2019

การวิเคราะห์ความอ่อนไหวสำหรับการหาค่าเหมาะที่สุดของกระบวนการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสารละลายโพแทสเซียมคาร์บอเนต, ฐาปณัฐ ชื่นพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีการดูดซึมทางเคมีเป็นหนึ่งในวิธีที่ถูกใช้ในกระบวนการบำบัดแก๊สเสียในระดับภาคอุตสาหกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในวิธีการศึกษาและพัฒนากระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีการดูดซึมทางเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ คือ การสร้างแบบจำลองในโปรแกรมคอมพิวเตอร์เนื่องจากช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลา นอกจากนี้ ยังได้รับการยอมรับในวงการวิศวกรรมเคมี ในงานวิจัยนี้ การวิเคราะห์ความอ่อนไหวด้วยวิธีการออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียลสองระดับของกระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสารละลายโพแทสเซียมคาร์บอเนตถูกจำลองโดยระบบสมดุลภายในโปรแกรม Aspen Plus โดยแบบจำลองสมบัติเชิงอุณหพลศาสตร์ ENRTL-RK เพื่อหาค่าเหมาะที่สุดและเปรียบเทียบผลของสถานการณ์ที่เหมาะที่สุดกับผลของกระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสารละลายโมโนเอทาโนลามีนจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ของสถานการณ์ที่มีค่าเหมาะที่สุดมีค่าร้อยละ 87.04 และมีค่าพลังงานจำเพาะต่อมวลคาร์บอนไดออกไซด์ที่เครื่องทำความร้อนของหอแยกเท่ากับ 2.17 GJ/T CO2 อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายในการในการดำเนินการของกระบวนการกำจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีเท่ากับ 57.50 USD/T CO2 ซึ่งมีประสิทธิภาพการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงกว่าและค่าใช้จ่ายในการในการดำเนินการของกระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีที่ต่ำกว่าผลการจำลองกระบวนการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสารละลายโมโนเอทาโนลามีนจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีประสิทธิภาพการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 73.35 ค่าพลังงานจำเพาะต่อมวลคาร์บอนไดออกไซด์ที่เครื่องทำความร้อนของหอแยกเท่ากับ 4.73 GJ/T CO2 และมีค่าใช้จ่ายในการในการดำเนินการของกระบวนการกำจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีเท่ากับ 107.50 USD/T CO2


การผลิตน้ำมันชีวภาพจากไพโรไลซิสของไม้ยางพาราและเหง้ามันสำปะหลังโดยใช้นิกเกิลโดโลไมต์ในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง, กิตติเดช ประเสริฐทวีพร Jan 2019

การผลิตน้ำมันชีวภาพจากไพโรไลซิสของไม้ยางพาราและเหง้ามันสำปะหลังโดยใช้นิกเกิลโดโลไมต์ในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง, กิตติเดช ประเสริฐทวีพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการผลิตน้ำมันชีวภาพจากการไพโรซิสของไม้ยางพาราและเหง้ามันสำปะหลังในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง ถูกใช้ในการศึกษาหาภาวะดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ปริมาณผลได้ที่ดีที่สุดสำหรับน้ำมันชีวภาพ จากการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา ตัวอย่างเช่น FCC, โดโลไมต์ และนิกเกิลโดโลไมต์ โดยทดลองในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง มีปัจจัยต่างๆประกอบด้วย ขนาดอนุภาคตั้งแต่ 0.250-2.000 มิลลิเมตร อุณหภูมิ 400-600 องศาเซลเซียส เวลาที่ 45-90 นาที และ อัตราการไหลไนโตรเจนที่ 60-180 มิลลิลิตรต่อนาที ผลการศึกษาพบว่าภาวะดำเนินการที่ดีที่สุดคือ ขนาดอนุภาคเฉลี่ยที่ 0.355-0.710 มิลลิเมตร และ 0.850-2.000 มิลลิเมตร ตามลำดับ ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เวลาในการทำปฏิกิริยา 45 นาที และอัตราการไหลของแก๊สไนโตรเจนที่ 60 มิลลิลิตรต่อนาที ซึ่งภาวะดำเนินการดังกล่าวให้ปริมาณร้อยละผลได้ของน้ำมันชีวภาพร้อยละ 39.48 และ 40.39 ของไม้ยางพาราและเหง้ามันสำปะหลังตามลำดับ ซึ่งเมื่อศึกษาอิทธิพลของตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการไพโรไรซิสพบว่าปริมาณน้ำมันชีวะภาพลดลงเมื่อตัวเร่งปฏิกิริยาถูกเติมเข้าไปในระบบ ในขณะที่ร้อยละผลได้ของปริมาณแก๊สเพิ่มขึ้นแก๊สสูงสุดโดยวัดได้ที่ร้อยละ 39.30 และ 33.37 ของไม้ยางพาราและเหง้ามันสำปะหลังตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าในน้ำมันชีวภาพมีองค์ประกอบหลักคือ แอลเคน อะโรมาติก สารประกอบไนโตรเจเนต และสารประกอบออกซิเจเนต ในขณะที่แก๊สมีองค์ประกอบของแก๊สมีเทน เป็นองค์ประกอบหลัก


การเตรียมและการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีของวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์, ณัฐกานต์ ประกอบแก้ว Jan 2019

การเตรียมและการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีของวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์, ณัฐกานต์ ประกอบแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาวิธีการสังเคราะห์ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์และเตรียมเป็นวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอซิทิลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์ ในการสังเคราะห์ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์ จากซิงก์แอซีเทตดีไฮเดรตและเททระแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ เพนทะไฮเดรต โดยใช้ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยาตั้งแต่ 1 ถึง 2880 นาที พบว่าจะได้ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์ที่มีขนาดอนุภาค 2 ถึง 6 นาโนเมตร จากนั้นนำมาเตรียมเป็นวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอซิทิลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์ โดยใช้ 10,12-pentacosadiynoic acid (PCDA) เป็นไดแอเซทิลีนมอนอเมอร์ และทำการทดสอบสมบัติการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีของวัสดุเชิงประกอบต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-เบส และการเติมกรด/เบสอินทรีย์ จากการศึกษาพบว่า พอลิไดแอซิทีลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์เกิดการเปลี่ยนสีจากสีน้ำเงินเป็นม่วงที่อุณหภูมิต่ำกว่าพอลิไดแอซิทีลีน/ซิงก์ออกไซด์(65 นาโนเมตร) ที่มีการศึกษามาก่อนหน้านี้ โดยพอลิไดแอซิทีลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์เกิดการเปลี่ยนสีที่อุณหภูมิ 65 ถึง 70 องศาเซลเซียส และเป็นการเปลี่ยนสีแบบผันกลับได้ ในขณะที่พอลิไดแอซิทีลีน/ซิงก์ออกไซด์(65 นาโนเมตร) เกิดการเปลี่ยนสีที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส และพบว่า พอลิไดแอซิทีลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์ มีความไวในการตอบสนองต่อกรดไฮโดรคลอริก โซเดียมไฮดรอกไซด์ กรดซาลิซิลิก และออกทิลเอมีน สูงกว่าอีกด้วย ซึ่งจากการวิเคราะห์โครงสร้างบ่งชี้ว่า สายโซ่หลักคอนจูเกตของพอลิไดแอซิทีลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์มีความผ่อนคลายมากกว่า และปฏิสัมพันธ์อิออนิกระหว่างส่วนหัวของพอลิไดแอซิทีลีนและพื้นผิวอนุภาคซิงก์ออกไซด์มีความแข็งแรงน้อยกว่า ดังนั้นพอลิไดแอซิทีลีน/ผลึกนาโนซิงก์ออกไซด์จึงถูกรบกวนจากสิ่งกระตุ้นภายนอกได้ในระดับที่สูงกว่าพอลิไดแอซิทีลีน/ซิงก์ออกไซด์(65 นาโนเมตร)


การเตรียมแมงกานีสไดออกไซด์บนผิวแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ของขั้วแคโทดแบตเตอรี่สังกะสีไอออน, ภัสฐิรา แก้วพิจิตร Jan 2019

การเตรียมแมงกานีสไดออกไซด์บนผิวแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ของขั้วแคโทดแบตเตอรี่สังกะสีไอออน, ภัสฐิรา แก้วพิจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมขั้วไฟฟ้าแมงกานีสไดออกไซด์และแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่อัตราส่วนต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นขั้วแคโทดของแบตเตอรี่สังกะสีไอออน โดยแมกซีนถูกเตรียมจากไทเทเนียมอลูมิเนียมคาร์ไบด์ผ่านการสกัดชั้นได้สำเร็จ นอกจากนี้แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ถูกเตรียมได้จากแกรไฟต์ด้วยวิธีของฮัมเมอร์และนำมารีฟลักซ์กับไทโอยูเรีย จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของขั้วไฟฟ้าแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ให้ค่าการเก็บประจุไฟฟ้าสูงสุด โดยศึกษาที่อัตราส่วนของแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ 100:0, 95:5 และ 90:10 พบว่าที่กระแส 1 แอมแปร์ต่อกรัม แมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ 95:5 มีค่าความจุจำเพาะของการกักเก็บพลังงานสูงที่สุดเท่ากับ 573 ฟารัดต่อกรัม ทำให้สามารถสรุปได้ว่าขั้วไฟฟ้าแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่เหมาะสมที่สุดคือที่อัตราส่วน 95:5 จากนั้นนำอัตราส่วนดังกล่าวมาผสมกับแมงกานีสไดออกไซด์ชนิดเดลต้าที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มัล และขึ้นรูปเซลล์แบตเตอรี่สังกะสีไอออน ศึกษาที่อัตราส่วนของแมงกานีสไดออกไซด์และแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ 80:20, 85:15, 90:10 และ 95:5 พบว่าค่าความจุจำเพาะของการกักเก็บพลังงานที่กระแส 0.1 แอมแปร์ต่อกรัมมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามผู้วิจัยได้ทำการทดสอบเสถียรภาพต่อรอบของเซลล์แบตเตอรี่ดังกล่าวจำนวน 500 รอบ พบว่าแมงกานีสไดออกไซด์และแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ 80:20 สามารถรักษาเสถียรภาพทางไฟฟ้าได้ดีที่สุด โดยสามารถคงค่าเก็บประจุพลังงานได้ถึง 42 มิลลิแอมแปร์-ชั่วโมงต่อกรัม หลังการใช้งาน 500 รอบ ทำให้สรุปได้ว่าขั้วไฟฟ้าแคโทดที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาใช้เป็นแบตเตอรี่สังกะสีไอออนคือ แมงกานีสไดออกไซด์/แมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ที่ 80:20


การจำลองซีเอฟดีของรีฟอร์มมิงมีเทนด้วยไอน้ำที่เพิ่มการดูดซับในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบติดตั้งแผ่นปะทะ, วทันยา ใยดำ Jan 2019

การจำลองซีเอฟดีของรีฟอร์มมิงมีเทนด้วยไอน้ำที่เพิ่มการดูดซับในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบติดตั้งแผ่นปะทะ, วทันยา ใยดำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปฏิกิริยารีฟอร์มิงมีเทนด้วยไอน้ำเป็นปฏิกิริยาที่สำคัญในโรงงานปิโตรเคมีเป็นอย่างยิ่งและเป็นกระบวนการผลิตไฮโดรเจนจากแก๊สธรรมชาติ โดยมีเทนจะทำปฏิกิริยากับไอน้ำร่วมด้วยตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลเกิดเป็นไฮโดรเจน ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ ผ่านการกำจัดสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ที่มาจากน้ำมันดิบ เพื่อนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์สารเคมี นอกจากนี้ไฮโดรเจนยังถูกจัดอยู่ในพลังงานทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน จากงานวิจัยที่ผ่านมามีการศึกษาและปรับปรุงปฏิกิริยารีฟอร์มิงมีเทนด้วยไอน้ำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเพิ่มขึ้น การดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาแบบสองหน้าที่ที่สามารถเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและเป็นตัวดูดซับในเวลาเดียวกัน สมดุลปฏิกิริยาจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่เกิดไฮโดรเจนเพิ่มขึ้น ตัวเร่งปฏิกิริยาที่นิยมใช้ ได้แก่ โดโลไมต์ และ แคลเซียมอะลูมิเนต โดยเรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยารีฟอร์มมิงมีเทนด้วยไอน้ำที่เพิ่มด้วยการดูดซับ งานวิจัยนี้ศึกษาแบบจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณของการรีฟอร์มมิงมีเทนด้วยไอน้ำที่เพิ่มด้วยการดูดซับในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบติดตั้งแผ่นปะทะ เพื่อช่วยลดการเกิดฟองแก๊ส เพิ่มการสัมผัสระหว่างแก๊สและของแข็ง ลดการย้อนกลับของของแข็ง และเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องปฏิกรณ์ พิจารณาผลของการเพิ่มจำนวนของแผ่นปะทะและศึกษาตัวแปรดำเนินการต่างๆ พบว่า การติดตั้งแผ่นปะทะจำนวนสองแผ่น ส่งผลให้สัดส่วนโดยโมลของไฮโดรเจนเพิ่มสูงขึ้นเป็น 0.93 และ ตัวแปรดำเนินการที่เหมาะสมได้แก่ ความเร็วที่ 0.1 เมตรต่อวินาที อุณหภูมิที่ 923 เคลวิน ความสูงของเบดที่ 35 เมตร และ สัดส่วนของไอน้ำและคาร์บอนที่ 4.0


สมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดเติมด้วยเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีน, วิมาลา กรินทร์ไตรทิพย์ Jan 2019

สมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดเติมด้วยเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีน, วิมาลา กรินทร์ไตรทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมและศึกษาสมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดผสมด้วยเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีน โดยสังเคราะห์เซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีนด้วยวิธีแบบอิมัลชันพอลิเมอไรเซชัน การดัดแปรพื้นผิวของเซลลูโลสสามารถยืนยันได้จากการทดสอบเอกลักษณ์ด้วยเทคนิคเทคนิคอินฟราเรดสเปกโตรสโกปี และความเสถียรภาพทางความร้อนด้วยเทคนิควิเคราะห์น้ำหนักภายใต้ความร้อน (ทีจีเอ) จากนั้นนำไปผสมกับพอลิแล็กทิกแอซิดด้วยเครื่องอัดรีดสกรูคู่ ที่ร้อยละ 1 3 5 และ 10 โดยมวล นำคอมพอสิตที่ได้ขึ้นรูปเพื่อศึกษาสมบัติเชิงกล สัณฐานวิทยา ความร้อน การย่อยสลาย และการดูดซึมน้ำ จากการศึกษาพบว่าการเติมเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีนมีผลต่อความทนแรงกระแทก ความทนแรง ยังส์มอดุลัส และการยืด ณ จุดขาดเพิ่มขึ้น โดยการเติมเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีนที่ร้อยละ 3 โดยมวล ให้ค่าความทนแรงกระแทกของคอมพอสิตสูงสุด แต่ค่าการยืด ณ จุดขาดลดลง เมื่อนำมาศึกษาสมบัติทางความร้อนของคอมพอสิต พบว่า ความเสถียรทางความร้อนของพอลิเมอร์ผสมมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับพอลิแล็กทิกแอซิดบริสุทธิ์ สำหรับสมบัติการย่อยสลายด้วยวิธีการฝังกลบ และสมบัติการดูดซึมน้ำ พบว่า ปริมาณของเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิสไตรีนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ร้อยละน้ำหนักที่หายไปของวัสดุคอมพอสิตเมื่อถูกฝังกลบเพิ่มขึ้น และดูดซึมน้ำได้มากขึ้นเมื่อถูกแช่ในน้ำที่อุณหภูมิห้อง ตามลำดับ


การเตรียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์/นาโนไททาเนียมไดออกไซด์ไฮโดรเจลสำหรับการประยุกต์ตกแต่งแผลที่มีสมบัติต้านแบคทีเรีย, วัชรพล ขำช้าง Jan 2019

การเตรียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์/นาโนไททาเนียมไดออกไซด์ไฮโดรเจลสำหรับการประยุกต์ตกแต่งแผลที่มีสมบัติต้านแบคทีเรีย, วัชรพล ขำช้าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการเตรียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์/นาโนไททาเนียมไดออกไซด์ไฮโดรเจลฟิล์มโดยใช้กรดซิตริกเป็นสารเชื่อมขวางสำหรับการประยุกต์ใช้เป็นวัสดุตกแต่งแผลจากนั้นทำการพิสูจน์เอกลักษณ์ดังนี้คือ การวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันโดยเทคนิค ATR-FTIR การวิเคราะห์ลักษณะสัณฐานวิทยาที่พื้นผิวโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบส่องกราด การทดสอบสมบัติการทนต่อแรงดึง การวิเคราะห์พฤติกรรมในการบวมตัว สัดส่วนการเกิดเจล ความสามารถในการกักเก็บยา ร้อยละการกักเก็บยา พฤติกรรมในการปลดปล่อยยา การต้านแบคทีเรียโดยวิเคราะห์จากร้อยละการลดลงของแบคทีเรีย โดยจากการพิสูจน์เอกลักษณ์พบว่า การเพิ่มขึ้นขององค์ประกอบพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในฟิล์มทำให้ได้ฟิล์มที่มีสัดส่วนในการเกิดเจลที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบฟิล์มที่ปริมาณกรดซิตริกเท่ากันในทางตรงกันข้ามพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณองค์ประกอบพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในฟิล์มทำให้ค่าสัดส่วนการบวมตัวของฟิล์มมีค่าที่น้อยลงเพราะว่าการเพิ่มปริมาณองค์ประกอบพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในฟิล์มทำให้เพิ่มระดับการเชื่อมขวางของฟิล์มจึงทำให้มีสัดส่วนการเกิดเจลที่เพิ่มขึ้นต่อมาจากเทคนิค ATR-FTIR ได้ยืนยันการเกิดการเชื่อมขวางระหว่างโมเลกุลคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสกับพอลิไวนิลแอลกอฮอล์โดยพันธะเอสเทอร์และสำหรับการทดสอบการทนต่อแรงดึงพบว่าค่าความคงทนต่อแรงดึง ค่าความเหนียว ค่าร้อยละการยืดตัว ณ จุดขาด ของฟิล์มมีค่าลดลงตามปริมาณการเพิ่มขึ้นขององค์ประกอบพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในการทดสอบฟิล์มแห้งต่อมาสำหรับการศึกษาพฤติกรรมในการกักเก็บยาของฟิล์มพบว่าฟิล์มทุกสูตรมีพฤติกรรมในการกักเก็บยาที่คล้ายคลึงกันและการศึกษาพฤติกรรมในการปลดปล่อยยาพบว่าฟิล์มทั้งหมดสามารถช่วยชะลอการปลดปล่อยยาเททราไซคลินให้ช้าลงได้สุดท้ายจากการทดสอบความสามารถในการต้านแบคทีเรียจากฟิล์มสูตร CMC 80/PVA 20/TiO2 2% พบว่าฟิล์มมีสมบัติต้านแบคทีเรียทั้งแกรมบวก (S. aureus) และ แกรมลบ (E.coli) โดยให้ค่าร้อยละการลดลงของแบคทีเรียเท่ากับ 100 เมื่อทดสอบตามมาตรฐาน JIS Z 2801 โดยสรุปจากข้อมูลผลการทดลองทั้งหมดทำให้สรุปได้ว่าไฮโดรเจลฟิล์มมีประสิทธิภาพที่เพียงพอในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นวัสดุตกแต่งแผล


Continuous Synthesis Of Biodiesel And Glycerol Ether Using Homogeneous And Heterogeneous Catalysts, Natta Rattanapanya Jan 2019

Continuous Synthesis Of Biodiesel And Glycerol Ether Using Homogeneous And Heterogeneous Catalysts, Natta Rattanapanya

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In our study, a mixture of p-toluenesulfonic acid and sulfuric acid (TsOH-H2SO4) as a catalyst showed a good performance in transesterification of palm oil (PO) with methanol and etherification of biodiesel with isobutylene. For biodiesel production, the catalyst noticeably accelerated the reaction faster than TsOH and H2SO4 alone and also gave up to 99.8% of the conversion. Etherification of biodiesel with isobutylene in the etherification process using isobutylene/glycerol molar ratio 6:1 at 70°C, in the period of 5 h reaction time, gave high selectivity to produce DTBG and TTBG (81.4%). Furthermore, the catalyst can be reused for 6 cycles of …


Formaldehyde Fluorescent Sensors From 1,8-Naphthalimide Derivatives, Apicha Maharat Jan 2019

Formaldehyde Fluorescent Sensors From 1,8-Naphthalimide Derivatives, Apicha Maharat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Three derivatives of 1,8-naphthalimide were systematically designed and synthesized to investigate the effect of substitution pattern on their photophysical properties and sensing behaviors towards formaldehyde in aqueous media. The key substituents, the hydrazino (-NHNH2) and the 2-methoxyethylamino groups (-NHCH2CH2OCH3), were installed at the 4-position of 1,8-naphthalimide by a nucleophilic replacement, and at the imide position by a condensation reaction with 1,8-naphthalic anhydride precursor. All target compounds were obtained in good overall yields of 60-80%. Compounds with two hydrazine moieties (R3) showed excellent selective fluorescent responses towards formaldehyde with the 3.5-fold fluorescence enhancement in 5% aqueous acetic acid solution at 520 …


Polyvinyl Alcohol/Starch Modified Cotton Thread For Glucose Distance-Based Colorimetric Detection, Pornchanok Punnoy Jan 2019

Polyvinyl Alcohol/Starch Modified Cotton Thread For Glucose Distance-Based Colorimetric Detection, Pornchanok Punnoy

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this thesis, polyvinyl alcohol (PVA) and starch modified cotton thread was developed as a cotton thread-based device for distance-based colorimetric detection of hydrogen peroxide (H2O2) and glucose. PVA and starch, the biocompatible polymers, were modified on a cotton thread to enhance the enzymatic stability and reagent immobilization efficiency. The colorimetric glucose detection of the device was based on a bienzymatic reaction involving glucose oxidase (GOx) and horseradish peroxidase (HRP), incorporated with potassium iodide (KI) as an indicator, which was oxidized by H2O2 to provide blue-black color band of an iodine–starch complex. The length of color band on the cotton …


Continuous Flow Selective Hydrogenation Of 5-Hydroxymethylfurfural To 2.5-Dimethylfuran Using Pd-Cu/Reduced Graphene Oxde Catalysts, Sareena Mhadmhan Jan 2019

Continuous Flow Selective Hydrogenation Of 5-Hydroxymethylfurfural To 2.5-Dimethylfuran Using Pd-Cu/Reduced Graphene Oxde Catalysts, Sareena Mhadmhan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2,5-Dimethylfuran (DMF) has been considered a promising biofuel, potentially derived from biomass. There have been various reports on DMF production from hydrogenation of 5-hydroxymethylfurfural (HMF). However, most reports employed high hydrogen pressure, long reaction times, and reactions under batch reactor. In this study, Pd-Cu bimetallic catalysts incorporated on reduced graphene oxide (RGO) were used for hydrogenation of HMF to DMF using 2-propanol as hydrogen donor under continuous flow system. Synthesized catalysts were characterized by N2 physisorption, scanning electron microscopy-energy dispersive X-ray spectroscopy (SEM-EDX), X-ray diffraction (XRD), X-ray photoelectron spectroscopy (XPS), transmission electron microscopy (TEM), and temperature programmed reduction of hydrogen …


Preparation Of Starch-Filled Polyisocyanurate Foams Catalyzed By Zinc-Ammonia Complex/Potassium Octoate, Sirima Goonack Jan 2019

Preparation Of Starch-Filled Polyisocyanurate Foams Catalyzed By Zinc-Ammonia Complex/Potassium Octoate, Sirima Goonack

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The research aimed to reduce apparent density and improve fire resistance of polyisocyanurate (PIR) foam. PIR foams were prepared using zinc-ammonia complex and potassium octoate as catalyst for gelling/blowing and trimerization reactions, respectively. Three types of starch produced in Thailand, namely glutinous rice flour, rice flour and mung bean starch, were used as additives for PIR foams. The characterized properties of PIR foams modified with starches are reaction times (cream time, gel time, rise time and tack free time), polyisocyanurate/polyurethane (PIR/PUR) ratio, %isocyanate conversion, apparent density, compressive property, morphology and fire behavior. These properties are compared with PIR foam without …


Magnetic Nanoparticles Stabilized By Phosphorylcholine-Containing Polymer For Antibody Free C-Reactive Protein Detection, Suttawan Saipia Jan 2019

Magnetic Nanoparticles Stabilized By Phosphorylcholine-Containing Polymer For Antibody Free C-Reactive Protein Detection, Suttawan Saipia

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to develop a simple, yet effective assay for C-reactive protein (CRP) detection based on a combination of magnetic separation and antibody-free colorimetric assay. Magnetic nanoparticles stabilized with phosphorylcholine-containing polymer, poly[methacrylic acid)-ran-(methacryloyloxyethyl phosphorylcholine)] (PMAMPC-MNPs) were prepared by co-precipitation of ferric and ferrous salts in the presence of PMAMPC. Carboxyl groups in the methacrylic acid (MA) repeat units chelate with Fe atoms during MNPs formation while the methacryloyloxyethyl phosphorylcholine (MPC) repeat units provide specifically binding sites and conjugate with CRP in presence of Ca2+. The PMAMPC-MNPs were characterized by ATR-FTIR, TEM, DLS, TGA and XRD. To determine the CRP …


Electrospun Nylon 6,6 Nanofibers Functionalized With Β-Cyclodextrin As Solid Phase Extraction Sorbent For Determination Of Parabens, Tassanee Kuakul Jan 2019

Electrospun Nylon 6,6 Nanofibers Functionalized With Β-Cyclodextrin As Solid Phase Extraction Sorbent For Determination Of Parabens, Tassanee Kuakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this study, electrospun nanofibers of nylon 6,6 functionalized with β-cyclodextrin (nylon 6,6/β-CD) were fabricated and applied as a sorbent in solid-phase extraction (SPE) for determination of parabens in water. The electrospinning parameters such as polymer concentration, nylon 6,6/β-CD ratio, and electric field strength were investigated in order to obtain uniform nanofibers. The morphology and physical properties of obtained fibers were characterized by scanning electron microscope (SEM), Fourier transforms infrared spectroscopy (FTIR), and BET surface area analysis. The electrospun nylon 6,6/β-CD nanofibers were achieved with diameter in the range of 120 - 150 nm. The additional of β-CD slightly increased …


การเตรียมโคบอลต์-ซีเรียมออกไซด์บนผิวแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์เพื่อเป็นขั้วไฟฟ้าตัวเก็บประจุยิ่งยวด, กันตพัฒน์ ตรีพิริยะมงคล Jan 2019

การเตรียมโคบอลต์-ซีเรียมออกไซด์บนผิวแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์เพื่อเป็นขั้วไฟฟ้าตัวเก็บประจุยิ่งยวด, กันตพัฒน์ ตรีพิริยะมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาวัสดุสำหรับตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่มีประสิทธิภาพสูงจากการทำงานร่วมกันของวัสดุโคบอลต์-ซีเรียมออกไซด์บนวัสดุขั้วไฟฟ้านิกเกิลโฟมที่ผ่านการปรับปรุงผิวด้วยแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ โดยวัสดุปรับปรุงผิวแมกซีนถูกสังเคราะห์จากกระบวนการสกัดอลูมิเนียมออกจากไทเทเนียมอลูมิเนียมคาร์ไบด์ ทำให้เกิดเป็นแมกซีนที่มีโครงสร้างระนาบชั้นสองมิติ และทำการเพิ่มระยะห่างของระนาบแมกซีนด้วยแช่ในสารละลายไดเมทิลซัลฟอกไซด์ และทำการแทรกแกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ระหว่างระนาบแมกซีนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกลับมารวมตัวกันใหม่ โดยแกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ถูกสังเคราะห์จากกระบวนการรีฟลักซ์แกรฟีนด้วยสารไทโอยูเรียที่เป็นแหล่งให้ธาตุไนโตรเจนและซัลเฟอร์ จากนั้นทำเตรียมขั้วไฟฟ้าด้วยกระบวนการหล่อหยดแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์ลงบนนิกเกิลโฟม โดยภาพสัณฐานวิทยาของขั้วไฟฟ้าที่ผ่านการปรับปรุงถูกยืนยันด้วยภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดและการวิเคราะห์ธาตุเชิงพลังงาน นำขั้วที่ผ่านการปรับปรุงมาสังเคราะห์ด้วยกระบวนการทางฝังตัวทางเคมีไฟฟ้าของโคบอลต์ออกไซด์ และโคบอลต์-ซีเรียมออกไซด์ โดยศึกษาถึงระยะเวลาในการสังเคราะห์ด้วยกระบวนการฝังตัวทางเคมีไฟฟ้า และสัดส่วนของโคบอลต์-ซีเรียมออกไซด์ที่เหมาะสมในการให้ค่าการเก็บประจุไฟฟ้าสูงสุด จากการทดสอบสมบัติเคมีไฟฟ้าพบว่าที่สัดส่วนของการเตรียมสารละลายโคบอลต์ไนเตรตต่อซีเรียมไนเตรตที่ความเข้มข้น 0.5 โมลาร์ ในสัดส่วนปริมาตรที่ 90 ต่อ 10 สามารถให้ค่าการเก็บประจุจำเพาะที่สูงถึง 450 F/g ที่กระแสไฟฟ้า 1 แอมป์ต่อกรัม และผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าการปรับปรุงผิวขั้วไฟฟ้านิกเกิลโฟมด้วยแมกซีน/แกรฟีนเจือไนโตรเจนและซัลเฟอร์สามารถเพิ่มความจุจำเพาะเมื่อเปรียบเทียบกับขั้วไฟฟ้านิกเกิลโฟมที่ไม่ได้ผ่านการปรับปรุง โดยผลรายงานวัสดุผสมที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปประยุกต์เป็นอุปกรณ์ตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่มีประสิทธิภาพสูงได้


การสังเคราะห์พรีเคอร์เซอร์เชื้อเพลิงชีวภาพผ่านแอลดอลคอนเดนเซชันของเฟอร์ฟิวรัลและ 2-บิวทาโนนบนตัวเร่งปฏิกิริยา Srtio3/Sba-15, ธนัทย์ชัย มีมานะ Jan 2019

การสังเคราะห์พรีเคอร์เซอร์เชื้อเพลิงชีวภาพผ่านแอลดอลคอนเดนเซชันของเฟอร์ฟิวรัลและ 2-บิวทาโนนบนตัวเร่งปฏิกิริยา Srtio3/Sba-15, ธนัทย์ชัย มีมานะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการสังเคราะห์พรีเคอร์เซอร์เชื้อเพลิงชีวภาพจากเฟอร์ฟิวรัลและ 2-บิวทาโนนผ่านแอลดอลคอนเดนเซชัน ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ในแอลดอลคอนเดนเซชันเป็นโลหะออกไซด์ผสมที่ได้จากสตรอนเทียมไททาเนต (SrTiO3) ที่มีปริมาณสตรอนเทียมไททาเนตบนตัวรองรับ SBA15 ที่แตกต่างกัน (10%, 15%, 20% and 25%) และอัตราส่วนโดยโมลของ Sr : Ti ในช่วง 0.5 ถึง 2 ซึ่งเตรียมด้วยวิธีอิมเพรค จากนั้นนำมาเผาที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง จากการศึกษาสมบัติกายภาพและเคมีของตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมได้ พบว่า 20STO(2:1)/SBA15 (ที่มีปริมาณสตรอนเทียมไททาเนตบนตัวรองรับร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก และ อัตราส่วนโดยโมลของ Sr : Ti เท่ากับ 2) ซึ่งเตรียมด้วยวิธีอิมเพรค มีการกระจายตัวของสตรอนเทียมไททาเนตบนตัวรองรับ SBA15 ที่มีพื้นที่ผิวจำเพาะที่สูงและมีปริมาณตำแหน่งเบสรวมมากที่สุด แอลดอลคอนเดนเซชันของเฟอร์ฟิวรัลและ 2-บิวทาโนนเพื่อสังเคราะห์สารประกอบคาร์บอนิลไม่อิ่มตัวโซ่กิ่งทำในเครื่องปฏิกรณ์ออโตเคลฟภายใต้ความดันไนโตรเจน (10 บาร์) เมื่อวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิคแก๊สโครมากราฟี-แมสสเปกโตสโกปี พบว่า ผลิตภัณฑ์หลักที่เกิดขึ้นเป็นสารประกอบคาร์บอนิลไม่อิ่มตัวที่มีโครงสร้างแบบโซ่ตรง และโซ่กิ่ง นอกจากนี้ยังพบผลิตภัณฑ์ C14 และ C13 ที่อุณหภูมิสูงและเวลาในการทำปฏิกิริยาที่นาน 20STO(2:1)/SBA15 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม โดยให้การเปลี่ยนของเฟอร์ฟิวรัลร้อยละ 53 โดยโมล และ ผลได้ของ C9B ร้อยละ 41 โดยโมล เมื่อใช้ภาวะที่เหมาะสม คือ ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา 5% โดยน้ำหนัก, อัตราส่วนโดยโมลของเฟอร์ฟิวรัลต่อ 2-บิวทาโนน 1:5, อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 100 องศาเซลเซียส และเวลาในการทำปฏิกิริยา 5 ชั่วโมง


การเตรียมสีน้ำทาภายนอกที่มีสมบัติสะท้อนความร้อนและเป็นฉนวนความร้อนโดยใช้ผงอะลูมิเนียมและนาโนเซลลูโลส, ธนิกานต์ ขุนภักดี Jan 2019

การเตรียมสีน้ำทาภายนอกที่มีสมบัติสะท้อนความร้อนและเป็นฉนวนความร้อนโดยใช้ผงอะลูมิเนียมและนาโนเซลลูโลส, ธนิกานต์ ขุนภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ได้เตรียมสีน้ำทาภายนอกที่ประกอบด้วยผงอะลูมิเนียมและนาโนเซลลูโลส (ทั้งนาโนเซลลูโลสที่ได้จากแบคทีเรียซึ่งเตรียมผ่านวิธีสะโคบี (SCOBY) และนาโนเซลลูโลสจากพืช) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสมบัติการสะท้อนความร้อนและสมบัติการเป็นฉนวนความร้อนของสีทาภายนอก ซึ่งสีที่เตรียมได้จะนำมาเคลือบบนกระเบื้องแผ่นเรียบและทิ้งไว้ให้สีแห้งสนิทเป็นระยะเวลา 168 ชั่วโมงก่อนนำมาทดสอบ ผลการทดสอบพบว่าสีที่ผสมระหว่างผงอะลูมิเนียมและนาโนเซลลูโลสมีประสิทธิภาพในการสะท้อนความร้อนและการเป็นฉนวนความร้อนที่ไม่ดีเนื่องจากการออกแบบการทดลองที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงมีการศึกษานาโนเซลลูโลสที่เหมาะสมเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นฉนวนในการทดสอบนี้ โดยศึกษาทั้งนาโนเซลลูโลสจากแบคทีเรียและจากพืช จากนั้นจึงเตรียมสีโดยเติมนาโนเซลลูโลสจากแบคทีเรียที่เตรียมผ่านวิธีสะโคบีลงในสีร้อยละ 0.19 กรัมโดยน้ำหนัก ร้อยละ 0.38 กรัมโดยน้ำหนัก ร้อยละ 0.58 กรัมโดยน้ำหนัก และร้อยละ 0.82 กรัมโดยน้ำหนัก และเติมนาโนเซลลูโลสจากพืชที่ร้อยละ 0.50 กรัมโดยน้ำหนัก ร้อยละ 1.01 กรัมโดยน้ำหนัก ร้อยละ 1.51 กรัมโดยน้ำหนัก และร้อยละ 2.16 กรัมโดยน้ำหนัก ทดลองเทียบกับสีสูตรมาตรฐานที่ไม่ได้มีการเติมนาโนเซลลูโลส ผลทดสอบพบว่าค่าร้อยละความความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างแผ่นทดสอบด้านบนที่ได้รับความร้อนจากหลอดไฟโดยตรงและด้านล่างแผ่นทดสอบของสีสูตรมาตรฐานมีค่าเท่ากับร้อยละ 3.67 ส่วนสีที่มีการเติมนาโนเซลลูโลสจากแบคทีเรียซึ่งเตรียมผ่านวิธีสะโคบีมีค่าความแตกต่างร้อยละ 8.16 ร้อยละ 6.21 ร้อยละ 7.70 และ ร้อยละ 12.41 ตามลำดับ นาโนเซลลูโลสจากพืชมีค่าความแตกต่างร้อยละ 0.50 ร้อยละ 1.01 ร้อยละ 1.51 และร้อยละ 2.16 ตามลำดับ ส่วนสีกันความร้อนตามท้องตลาดมีค่าเท่ากับร้อยละ 8.24 ซึ่งจากผลการทดสอบพบว่าการเติมนาโนเซลลูโลสสามารถปรับปรุงสมบัติการเป็นฉนวนความร้อนได้เมื่อเทียบกับสีสูตรมาตรฐานปกติเนื่องมาจากสมบัติการนำความร้อนที่ต่ำของนาโนเซลลูโลส


สมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดผสมด้วยยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิด, ธมลวรรณ อุดมกิจปัญญา Jan 2019

สมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดผสมด้วยยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิด, ธมลวรรณ อุดมกิจปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานนี้ คือ การปรับปรุงสมบัติเชิงกล และสมบัติทางความร้อนของพอลิแล็กทิกแอซิดด้วยการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิด โดยยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิดถูกเตรียมจากน้ำยางธรรมชาติผ่านปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบอิมัลชัน โดยใช้กรดอะคริลิกร้อยละ 50, 70 และ 90 โดยน้ำหนักเนื้อยางแห้ง ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง จากวิเคราะห์ด้วยเทคนิคฟูเรียร์แทรนสฟอร์มสเปกโทรสโกปี พบว่า พอลิอะคริลิกแอซิดถูกกราฟต์อยู่บนสายโซ่ของยางธรรมชาติแล้ว จากนั้นยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิดที่เตรียมได้ถูกนำไปผสมกับพอลิแล็กทิกแอซิดที่ปริมาณต่างๆ (ร้อยละ 10, 20 ,30 และ 40 โดยน้ำหนัก) โดยใช้เครื่องผสมแบบปิด และขึ้นรูปเป็นชิ้นทดสอบด้วยเครื่องฉีดแบบ จากการทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่าการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกลงในพอลิแล็กทิกแอซิด ส่งผลต่อค่าความทนแรงกระแทก และการยืดตัว ณ จุดขาด โดยที่เมื่อมีปริมาณยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกเพิ่มขึ้น จะทำให้ค่าความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาด เพิ่มขึ้น แต่ความทนแรงดึง และยังส์มอดุลัสมีค่าลดลงเมื่อเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิก ดังนั้นพอลิเมอร์ผสม 70/30 พอลิแล็กทิกแอซิดผสมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิด70 มีความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาดสูงที่สุด (11.3 กิโลจูลต่อตารางเมตร และร้อยละ 11.05 ตามลำดับ) จากการทดสอบสมบัติทางความร้อน พบว่าการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิดลงในพอลิแล็กทิกแอซิดส่งผลให้เสถียรภาพทางความร้อนของพอลิแล็กทิกแอซิดเพิ่มขึ้น โดยที่ปริมาณการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิก ร้อยละ 40 จะทำให้พอลิเมอร์ผสมมีเสถียรภาพทางความร้อนดีที่สุด ส่วนพฤติกรรมทางความร้อนของพอลิเมอร์ผสมเมื่อเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิดลงในพอลิแล็กทิกแอซิดนั้น พบว่าไม่ส่งผลต่ออุณหภูมิเปลี่ยนคล้ายแก้ว และอุณหภูมิการหลอมเหลวผลึก แต่ส่งผลให้อุณหภูมิการเกิดผลึกเย็นเพิ่มขึ้น และยังส่งผลให้ปริมาณผลึกลดลงเหลือ จากงานวิจัยนี้พบว่าการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิก เป็นการช่วยปรับปรุงความเหนียว และเสถียรภาพทางความร้อนให้กับพอลิแล็กทิกแอซิด


การเตรียมฟิล์มพอลิเมอร์จากยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่ง, นัทรี ฉัตรยาลักษณ์ Jan 2019

การเตรียมฟิล์มพอลิเมอร์จากยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่ง, นัทรี ฉัตรยาลักษณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ที่จะเตรียมแผ่นฟิล์มพอลิเมอร์ผสมจากยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่อัตราส่วนต่างๆ กันตั้งแต่ 100/0, 90/10, 80/20, 70/30, 60/40 และ 50/50 โดยการทดลองสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน สำหรับ 2 ส่วนแรก จะเป็นแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งทั้งที่เติมและไม่เติมกลีเซอรอล โดยส่วนแรกเตรียมได้จากการผสมสารแขวนลอยของน้ำแป้งกับน้ำยางธรรมชาติโดยจะเรียกว่า latex mixing จากนั้นทำให้แห้งแล้วนำไปผสมกับสารเคมียางในเครื่องผสมแบบสองลูกกลิ้ง ในขณะที่ส่วนที่สองยางธรรมชาติจะถูกผสมกับแป้งมันฝรั่งในเครื่องผสมแบบปิด โดยจะเรียกว่า dry mixing จากนั้นนำไปผสมกับสารเคมียางในเครื่องผสมแบบสองลูกกลิ้งต่อไป และในส่วนที่สามจะเป็นการเติมสารคู่ควบไซเลน Si-69 แทนกลีเซอรอล จากนั้นทำการขึ้นรูปตัวอย่างแผ่นฟิล์มเพื่อนำไปทดสอบสมบัติทางกายภาพ เชิงกลและความร้อนด้วยแม่พิมพ์แบบกดอัดที่อุณหภูมิ 155 oC จากการตรวจสอบแผ่นฟิล์มด้วยตาเปล่าจะเห็นได้ว่า แผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่เตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ dry mixing เกิดการแยกเฟสระหว่างยางธรรมชาติและแป้งมันฝรั่งน้อยกว่าที่เตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ latex mixing นอกจากนี้ยังพบว่าการเติมกลีเซอรอลช่วยลดการเกาะกลุ่มกันของแป้งมันฝรั่งได้ จากการทดสอบการบวมตัวในน้ำพบว่า การเติมแป้งมันฝรั่งทำให้แผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งดูดซับน้ำได้และปริมาณการดูดซับน้ำเพิ่มขึ้นตามปริมาณแป้งที่เติม โดยที่อัตราส่วนยางธรรมชาติต่อแป้งมันฝรั่งเดียวกัน แผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่เตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ latex mixing มีการดูดซับน้ำได้สูงกว่าแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งเตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ dry mixing และการดูดซับน้ำเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเติมกลีเซอรอล เมื่อทำการทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่าการเติมแป้งมันฝรั่งทำให้แผ่นฟิล์มมีสมบัติเชิงกลลดลง ยิ่งเติมมากก็ยิ่งลดลงมาก แผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่เตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ dry mixing มีความทนต่อแรงดึงและความต้านทานต่อการฉีกขาดสูงกว่าแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่เตรียมได้จากเทคนิกการผสมแบบ latex mixing แต่ให้ความแข็งที่ต่ำกว่า การเติมกลีเซอรอลช่วยเพิ่มความทนต่อแรงดึงและความต้านทานต่อการฉีกขาดแต่ลดความแข็งของแผ่นฟิล์ม สำหรับการสลายตัวทางความร้อนพบว่า การเติมแป้งมันฝรั่งลงในแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติทั้งที่เติมและไม่เติม กลีเซอรอลจากเทคนิกการเตรียมทั้ง 2 แบบ ส่งผลให้ยางธรรมชาติซึ่งเป็นเฟสหลักมีแนวโน้มที่จะสลายตัวที่อุณหภูมิที่สูงขึ้น เมื่อเติมสารคู่ควบไซเลน Si-69 แทนการเติมกลีเซอรอล พบว่าแผ่นฟิล์มยางธรรมชาติผสมแป้งมันฝรั่งที่ได้มีความสามารถในการดูดซับน้ำและความทนต่อแรงดึงที่ดียิ่งขึ้น แต่ความต้านทานต่อการฉีกขาดกลับมีค่าต่ำที่สุด


การกำจัดโมโนกลีเซอไรด์ชนิดอิ่มตัวในไบโอดีเซลด้วยการดูดซับและผลต่อสมบัติที่อุณหภูมิต่ำของน้ำมันไบโอดีเซลผสม, พีระภักดิ์ ศรีขวัญใจ Jan 2019

การกำจัดโมโนกลีเซอไรด์ชนิดอิ่มตัวในไบโอดีเซลด้วยการดูดซับและผลต่อสมบัติที่อุณหภูมิต่ำของน้ำมันไบโอดีเซลผสม, พีระภักดิ์ ศรีขวัญใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โมโนกลีเซอไรด์ชนิดอิ่มตัว (Saturated monoglyceride; SMG) คือสาเหตุหลักของการเกิดตะกอนเหนือจุดขุ่นในไบโอดีเซล (B100) ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการอุดตันไส้กรองในเครื่องยนต์ดีเซล ในงานวิจัยนี้ทำการศึกษาผลกระทบของ SMG ใน B100 ช่วงความเข้มข้น 0.0-0.7 wt% ที่มีต่อจุดขุ่นในไบโอดีเซลผสม B7, B10 และ B20 ที่ใช้น้ำมันดีเซลมาตรฐานยูโร4 และ ยูโร5 ที่มีความเข้มข้นของแอโรแมติกสูงและต่ำตามลำดับ พบว่า SMG มีผลต่อจุดขุ่นในไบโอดีเซลผสมมาตรฐานยูโร5 มากกว่า การเพิ่มความเข้มข้นของ SMG ที่ช่วงความเข้มข้นต่ำในไบโอดีเซลผสมจะทำให้ค่าจุดขุ่นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ การกำจัด SMG ใน B100 ด้วยการดูดซับโดยใช้ตัวดูดซับซีโอไลต์ธรรมชาติที่มีราคาถูกกว่าตัวดูดซับทางการค้า Magnesium silicate (MS) และ Silica gel พบว่าประสิทธิภาพการดูดซับของตัวดูดซับ MS ดีกว่าตัวดูดซับซีโอไลต์ธรรมชาติในการกำจัด SMG ใน B100 ที่อุณหภูมิ 45 oC เมื่อพัฒนาความจุในการดูดซับ SMG ของซีโอไลต์ธรรมชาติ NZ-325m โดยการบำบัดด้วยกรดไนตริก 1 M ที่อุณหภูมิ 60 oC เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ทำให้พื้นที่ผิวจำเพาะของตัวดูดซับเพิ่มขึ้นเป็น 141.85 m2/g และยังเพิ่มปริมาณ SiO2 ที่วิเคราะห์จากเทคนิค X-ray fluorescence spectroscopy เนื่องจากผลกระทบจากการกำจัดอะลูมิเนียมในโครงสร้าง นอกจากนี้ยังพบว่าความจุการดูดซับ SMG มีค่าเท่ากับ 38.0 mgSMG/gads ในขณะที่สามารถลดปริมาณ SMG ใน B100 จาก 0.7 wt% เป็น 0.5 wt% เมื่อใช้ตัวดูดซับ 5 wt% ที่สภาวะการดูดซับ 45 oC เป็นเวลา 50 นาที ผลที่ตามมาหลังจากนำไปผสมเป็น B7 พบว่าจุดขุ่นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ


พอลิอะนิลีน/เหล็กออกไซด์/รีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์เจือไนโตรเจนคอมพอสิตเพื่อเป็นขั้วไฟฟ้าตัวเก็บประจุยิ่งยวด, กัณจน์ชญาน์ ทุ่งส่วย Jan 2019

พอลิอะนิลีน/เหล็กออกไซด์/รีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์เจือไนโตรเจนคอมพอสิตเพื่อเป็นขั้วไฟฟ้าตัวเก็บประจุยิ่งยวด, กัณจน์ชญาน์ ทุ่งส่วย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาขั้วประจุไฟฟ้ายิ่งยวดจากวัสดุเหล็กออกไซด์/ไนโตรเจนเจือรีดิวซ์ แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีน โดยมีการใช้สารสกัดเซริซินจากกระบวนการลอกกาวไหมเป็นแหล่งไนโตรเจนอะตอมในการเจือ ซึ่งจากกระบวนการเตรียมไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ด้วยกระบวนการรีฟลักซ์และรีดิวซ์ด้วยกรดวิตามินซี พบว่าสามารถเจือไนโตรเจนถึง 11.68% ในโครงสร้างของไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ที่สังเคราะห์ได้ วัสดุขั้วไฟฟ้าเหล็กออกไซด์/ไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีนคอมพอสิตที่ได้จากการพอกพูนทางไฟฟ้าเคมีแสดงลักษณะสัณฐานวิทยาของนาโนไฟบริลพอลิอะนิลีนร่วมกับโครงสร้างแผ่นไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ และถูกยืนยันองค์ประกอบต่าง ๆ ด้วยเทคนิคการวัดการกระจายพลังงานของรังสีเอกซ์ ฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี และการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ เมื่อนำขั้วไฟฟ้าที่เตรียมได้จากวัสดุไนโตรเจนเจือรีดิวซ์วัสดุพอลิอะนิลีน แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีน และเหล็กออกไซด์/ไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีนคอมพอสิตมาประเมินความประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงาน พบว่าให้ค่าเก็บประจุที่ 151.76, 190 และ221 ฟารัดต่อกรัมที่ 1 แอมป์ต่อกรัมตามลำดับ บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในการกักเก็ลพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีการเติมไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ และเหล็กออกไซด์ นอกจากนี้ขั้วเหล็กออกไซด์/ไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีนคอมพอสิตยังสามารถแสดงเสถียรภาพของประสิทธิภาพต่อรอบการใช้งานทางไฟฟ้าได้สูงถึงร้อยละ 79 หลังการใช้งาน 5000 รอบ ซึ่งจากผลการทดลองบ่งชี้ให้เห็นขั้วไฟฟ้าเหล็กออกไซด์/ไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีนคอมพอสิตมีความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในขัอุปกรณ์กักเก็บพลังงานชนิดตัวเก็บประจุยิ่งยวดประสิทธิภาพสูง


Effects Of Synthetic Glyceryl Ester Additives On Cold Flow Properties Of Diesel Oil, Ruchapong Kaweewut Jan 2019

Effects Of Synthetic Glyceryl Ester Additives On Cold Flow Properties Of Diesel Oil, Ruchapong Kaweewut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The synthesis of solketal derivatives with some selected fatty acid (stearic acid, palmitic acid, lauric acid, myristic acid, oleic acid and linolenic acid) to glyceryl esters was conducted. All compounds were characterized by spectroscopic means. Cold flow properties of diesel oil with these glyceryl ester additives were studied in terms of pour point (PP). Glyceryl laurate was the most effective pour point decreasing at 1,000 mg/kg (DPP = 3°C). However, the blended diesel of 1,000 mg/kg glyceryl laurate could not commercialize finishing product because that was hazy diesel at room temperature. The combination of glyceryl laurate and commercial additive was …