Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chemistry Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Polymer Chemistry

PDF

Chulalongkorn University

2017

Articles 1 - 30 of 38

Full-Text Articles in Chemistry

ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดกรดและเบสต่อผลผลิตน้ำมันชีวภาพของไพโรไลซิสเหง้ามันสำปะหลังในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง, กันต์ธีรา คำภีระ Jan 2017

ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดกรดและเบสต่อผลผลิตน้ำมันชีวภาพของไพโรไลซิสเหง้ามันสำปะหลังในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง, กันต์ธีรา คำภีระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหง้ามันสำปะหลังคือส่วนเหลือใช้จากกระบวนการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง โดยมีปริมาณมากถึง 6,000,000 ตันต่อปี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตน้ำมันชีวภาพจากเหง้ามันสำปะหลังด้วยกระบวนการไพโรไลซิสแบบต่อเนื่อง โดยทำการศึกษาตัวแปรที่มีผล 4 ตัวแปรดังนี้ ขนาดอนุภาคในช่วง 0.3-3 มิลลิเมตร อุณหภูมิ 400-500 องศาเซลเซียส อัตราการป้อนสาร 3.2-32.8 กรัมต่อนาที และอัตราการไหลของแก๊สไนโตรเจน 50-250 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อนาที จากผลการทดลองพบว่าภาวะที่เหมาะสมที่สุดคือ ขนาดอนุภาค 2-3 มิลลิเมตร อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส อัตราการป้อนสาร 18 กรัมต่อนาที และอัตราการไหลของแก๊สไนโตรเจน 150 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อนาที โดยที่ภาวะนี้ให้ปริมาณผลิตภัณฑ์น้ำมันชีวภาพมากถึงร้อยละ 43.04 ในงานวิจัยนี้ยังได้ศึกษาผลของตัวเร่งปฏิกิริยาต่อการผลิตน้ำมันชีวภาพ โดยใช้ศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาแคลไซน์โดโลไมต์ (ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดเบส), ตัวเร่งปฏิกิริยา FCC ใช้แล้ว (ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดกรด) และตัวเร่งปฏิกิริยาผสม (แคลไซน์โดโลไมต์ : FCC ใช้แล้ว = 1:1) จากผลการทดลองพบว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยามีผลให้ปริมาณน้ำมันชีวภาพลดลง ปริมาณผลิตภัณฑ์แก๊สเพิ่มขึ้น แต่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพน้ำมันชีวภาพโดยลดปริมาณองค์ประกอบ Long residue hydrocarbon และเพิ่มปริมาณองค์ประกอบ Kerosine ได้ โดยเฉพาะตัวเร่งปฏิกิริยา FCC ใช้แล้วที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำมันชีวภาพได้โดยเพิ่มอัตราส่วนองค์ประกอบกลุ่มแอลเคน และแอลไคน์ได้ โดยลดสัดส่วนองค์ประกอบสารประกอบที่มีหมู่ออกซิเจนได้


พฤติกรรมการย่อยสลายทางชีวภาพและความเข้ากันได้ของพอลิแล็กทิกแอซิดที่เติมแต่งด้วยแอซิทิเลตเซลลูโลส, ธนา บุนนาค Jan 2017

พฤติกรรมการย่อยสลายทางชีวภาพและความเข้ากันได้ของพอลิแล็กทิกแอซิดที่เติมแต่งด้วยแอซิทิเลตเซลลูโลส, ธนา บุนนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ได้ทำการสังเคราะห์แอซิทิเลตเซลลูโลสด้วยปฏิกิริยาอะซิทิเลชันระหว่างเซลลูโลสเจลกับไวนิลอะซีเทต หลังจากนั้นทำการตรวจสอบด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี พบว่าปรากฏพีกที่ต่ำแหน่ง 1740 cm­-1 ซึ่งแสดงถึงพันธะเอสเทอร์ของหมู่อะซิทิลอยู่บนสายโซ่ของเซลลูโลส และพบว่าพีกที่ต่ำแหน่งดังกล่าว มีความเข้มของพีกเพิ่มขึ้น ตามสัดส่วนของไวนิลอะซีเทต และพบว่าอัตราส่วนที่เกิดปฏิกริยาสูงที่สุดคืออัตราส่วนโดยโมลที่ 12 : 1 จึงยืนยันได้ว่าได้เซลลูโลสดัดแปรจากปฏิกิริยาอะซิทิลเลชันนี้ หลังจากทำการผสมพอลิแล็กทิกแอซิดกับแอซิทิเลตเซลลูโลสที่สังเคราะห์ได้ โดยทำการผสมแอซิทิเลตเซลลูโลสที่ร้อยละ 1, 3 และ 5 โดยมวลของพอลิแล็กทิกแอซิดผ่านเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ และเมื่อทำการทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่าที่สัดส่วนการเติมร้อยละ 1 (สูตร PLAACC1) สูตรผสมนี้มีความทนแรงดึง และค่ามอดุลัส ได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับพอลิแล็กทิกแอซิด เนื่องจากแอซิทิเลตเซลลูโลสเกิดการกระจายตัวที่ดีและแอซิทิเลตเซลลูโลสมีความสามารถในการยึดเกาะกับแมทริกซ์ได้อย่างสม่ำเสมอ แต่พบว่าสมบัติเชิงกลมีค่าที่ลดลงเมื่อเติมแอซิทิเลตเซลลูโลส ในจำนวนที่มากขึ้นเนื่องจากเกิดการเกาะกลุ่มกันของแอซิทิเลตเซลลูโลสที่ใหญ่ขึ้น และมีการยึดติดที่แย่ลง สุดท้ายการทดสอบการย่อยสลายโดยการฝังกลบในดินที่ผสมแบคทีเรีย Bacillus Licheniformis พบว่า ที่สัดส่วนการเติมร้อยละ 5 (สูตร PLAACC5) เกิดการย่อยสลายมากที่สุด ที่ระยะเวลา 90 วัน โดยพบรอยแตกและรูบนชิ้นตัวอย่าง ในทางกลับกัน พอลิแล็กทิกแอซิด และ ตัวอย่างในอัตราส่วนอื่นในดินควบคุมและดินที่ผสม แบคทีเรีย Bacillus Licheniformis ไม่พบการย่อยสลายที่ปรากฎชัดเจน กลไกการย่อยสลายดังกล่าวเกิดจากแอซิทิเลตเซลลูโลสที่มีปริมาณสูง สามารถดูดซึม น้ำ ความชื้น และแบคทีเรียในดินได้ดี จึงเกิดการปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสด้วยเอนไซม์ได้เป็นกรดแล็กทิกเกิดขึ้น ซึ่งกรดจะไปเร่งการย่อยสลายพอลิแล็กทิกแอซิดด้วยปฏิกิริยาไฮโดรไลติกดีเกรเดชันได้ปลายโซ่หมู่กรดคาร์บอกซิลิกเพิ่มขึ้นจนนำไปสู่การเร่งอัตราการสลายตัวของพอลิแล็กทิกแอซิดในสภาวะฝังกลบได้


Hydrodeoxygenation Of Oleic Acid On Unsupported Co-Mo And Ni-Mo Sulfide Catalysts, Paphawee Sanggam Jan 2017

Hydrodeoxygenation Of Oleic Acid On Unsupported Co-Mo And Ni-Mo Sulfide Catalysts, Paphawee Sanggam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this research, hydrodeoxygenation (HDO) of oleic acid (model compound of palm oil) over unsupported Co-Mo and Ni-Mo sulfide catalysts was carried out in Parr reactor to produce bio-hydrogenated diesel (BHD). The effects of reaction parameters: temperature, hydrogen pressure and the mole ratio of catalysts (Ni/(Ni+Mo) or Co/(Co+Mo)) on the conversion and product yields (mainly n-C17 and n-C18 hydrocarbons) were investigated to find the optimal conditions. The results showed that high pressure favored a HDO pathway, while high temperature strongly affected to decarboxylation and decarbonylation pathways. At optimal condition as temperature of 280oC, reaction times of 6 h and hydrogen …


Electrochemical Properties Of Lnsr3-Xcaxfe3-Ybyo10 (Ln = La, Pr And Sm; X = 0-1.0; B = Co, Ni And Cu; Y = 0-1.5) For Intermediate Temperature Solid Oxide Fuel Cells, Nicharee Wongsawatgul Jan 2017

Electrochemical Properties Of Lnsr3-Xcaxfe3-Ybyo10 (Ln = La, Pr And Sm; X = 0-1.0; B = Co, Ni And Cu; Y = 0-1.5) For Intermediate Temperature Solid Oxide Fuel Cells, Nicharee Wongsawatgul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

To enhance the electrochemical performance of cathode material for intermediate temperature solid oxide fuel cell (IT-SOFC) the Ruddlesden-Popper (RP) phases of LnSr3-xCaxFe3-yByO10 (Ln = La, Pr and Sm; x = 0-1.0; B = Ni, Co, and Cu; y = 0-1.5) was investigated and prepared by citric nitrate combustion method. Firstly, various Ca concentrations were added to the LaSr3-xCaxFe3O10-δ structure and it was found that the materials contained low Ca concentration provided the lower area specific resistance (ASR) and better electrochemical cell performance due to the enhance in conductivity and reduction of TEC. Secondly, the effect of Pr and Sm replacement …


Development Of Poly(Aryleneethynylene)S Synthesis And Application As Fluorescent Sensor, Nopparat Thavornsin Jan 2017

Development Of Poly(Aryleneethynylene)S Synthesis And Application As Fluorescent Sensor, Nopparat Thavornsin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this research, we focus on preparation and sensor application of poly(aryleneethynylene)s. Our work is divided into two parts. The first study relates to the utilization of salicylaldimine-functionalized poly(m-phenyleneethynylene) as a turn-on chemosensor for ferric ion (Fe3+). The second part is the preparation of highly pure poly(aryleneethtnylene)s using Pd/CaCO3 as a heterogeneous catalyst. In the first part, a new turn-on fluorescent probe for ferric ion based on poly(m-phenyleneethynylene salicylaldimine) (PPE-IM) is developed. The preparation of PPE-IM involves post-polymerization functionalization of corresponding polymeric amine, PPE-AM, via condensation with salicylaldehyde. Degree of polymerization of both PPE-AM and PPE-IM are 17 with polydispersity …


Functional Surfactants In Lubricant For Microelectronic Industry, Chuenkamol Khongphow Jan 2017

Functional Surfactants In Lubricant For Microelectronic Industry, Chuenkamol Khongphow

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The functional surfactants, as the additional additives in the standard glycol-based lubricant were studied and optimized to reduce and protect the surface of the magnetic read/write head from deposited contaminants during the lapping processes. The scanning electron microscopy (SEM) and energy-dispersive x-ray spectroscopy (EDS) results identified that the black contamination was bismuth (Bi) particles, came out from lapping plate during the lapping process due to wear. Selected surfactants exhibited the results in reduce and prevent the deposition of contaminants by forming the micelle beyond their critical micelle concentration (CMC) values. We found that both polyethoxylate alcohol (PEAL) and quaternary amines …


การกำจัดสี Reactive Black 5 ในน้ำเสียสีย้อม โดยใช้ Pseudomonas Sp., ภัคพรรณ ปล้องนิราศ Jan 2017

การกำจัดสี Reactive Black 5 ในน้ำเสียสีย้อม โดยใช้ Pseudomonas Sp., ภัคพรรณ ปล้องนิราศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ใช้เทคโนโลยีทางชีวภาพเพื่อกำจัดสีย้อมในสารละลายสี โดยคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Pseudomonas sp. จำนวน 49 สายพันธุ์ (คัดเลือกมาจากคลังเชื้อจุลินทรีย์ใน Thailand Bioresource Research Center (TBRC) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ) มาทดลองเบื้องต้นในการกำจัดสีย้อม Reactive Black 5 ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ในอาหารเลี้ยงแบคทีเรีย (MSM, mineral salt medium) ที่ภาวะการบ่มแบบหยุดนิ่ง อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส และพีเอช 8 พบว่าเชื้อ Pseudomonas aeruginosa แสดงประสิทธิภาพสูงสุดในการกำจัดสีได้เท่ากับ 54.57 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 24 ชั่วโมง จากนั้นจึงทดลองใช้เชื้อดังกล่าวในการกำจัดสี Reactive Black 5 ในสารละลายสีย้อมที่เหลือจากการย้อมจริงที่ใช้ด่างช่วยในการย้อม และปรับลดความเข้มข้นสีให้เป็น 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ในอาหารเลี้ยงเชื้อและที่ภาวะการบ่มเดิม พบว่าเมื่อวิเคราะห์การกำจัดสีของแบคทีเรียในภาวะที่มีและไม่มีอาหารเลี้ยงเชื้อ แบคทีเรียดังกล่าวสามารถกำจัดสีย้อมในภาวะที่มีอาหารเลี้ยงเชื้อได้มากกว่าภาวะที่ไม่มีอาหาร 72.42 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 48 ชั่วโมงของการบ่ม นอกจากนั้นเมื่อวิเคราะห์โครงสร้างของสีย้อมก่อนและหลังการกำจัดสีด้วยแบคทีเรียเพื่อศึกษากลไกการกำจัดสีโดยใช้เทคนิค FTIR และ HPLC พบว่าการใช้แบคทีเรียย่อยสลายสีย้อม Reactive Black 5 จะทำให้หมู่เอโซ (-N=N-) ของสีย้อมถูกทำลายและเปลี่ยนไปเป็นหมู่แอมิโน (-NH2) และมีผลิตภัณฑ์ของกรดออกซาลิกเกิดขึ้นหลังการกำจัดสีด้วยแบคทีเรียเป็นเวลา 5 วัน ทำให้เฉดสีในสารละลายสีย้อมมีสีอ่อนลง และเมื่อบ่มสารละลายสีในแบคทีเรียเป็นเวลา 6 วัน แบคทีเรียสามารถกำจัดสีได้ถึง 87.61 เปอร์เซ็นต์


การเตรียมแผ่นโปร่งแสงจากเซลลูโลสแอโรเจล, สาวิตรี สินธุ Jan 2017

การเตรียมแผ่นโปร่งแสงจากเซลลูโลสแอโรเจล, สาวิตรี สินธุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการเตรียมแผ่นเซลลูโลสโปร่งแสงจากเซลลูโลสแอโรเจลแบบเปียก ซึ่งเตรียมด้วยระบบโซเดียมไฮดรอกไซด์ยูเรีย ตามด้วยการแลกเปลี่ยนตัวทำละลายหลายๆรอบ โดยขั้นตอนแรกเริ่มด้วยการเตรียมสารละลายเซลลูโลสผักตบชวาหลังจากนั้นเทลงในแม่แบบพลาสติก สารละลายจะถูกทิ้งไว้จนกลายเป็นของแข็ง หลังจากนั้นทำการแลกเปลี่ยนตัวทำละลายด้วยน้ำเพื่อกำจัดโซเดียมไฮดรอกไซด์ยูเรียออกอย่างสมบูรณ์เพื่อที่จะได้แผ่นแอโรเจลแบบเปียกออกมา หลังจากนั้นทำการเติมพอลิเมอร์ที่มีค่าดัชนีการหักเหที่ใกล้เคียงกับเซลลูโลสลงไปในรูพรุนที่มีขนาด นาโน/ไมโครเมตร ซึ่งในงานวิจัยนี้จะใช้พอลิเมทิลเมทาคริเลท 2 ชนิด (Tg สูง และ Tg ต่ำ) ทำให้ได้แผ่นเซลลูโลสโปร่งแสงที่มีแสงส่องผ่านได้ร้อยละ 80-90 ตรงข้ามกับเซลลูโลสแอโรเจลที่มีการส่องผ่านของแสงต่ำ ประมาณร้อยละ 8.24 เท่านั้น หลังจากนั้นตรวจสอบค่าการนำความร้อน และค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อน พบว่าแผ่นโปร่งแสงที่เตรียมจากเรซินที่มีค่า Tg สูง จะมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนต่ำกว่าเรซินทางการค้า (Tg ต่ำ) แสดงให้เห็นว่าอะคริลิกเรซินที่มีค่า Tg สูงจะสามารถต้านทานการเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ดีกว่า ผลสรุปว่า แผ่นเซลลูโลสโปร่งแสงที่เตรียมจากอะคริลิกเรซินที่มีค่า Tg สูง จะมีความสามารถในการต้านทานความร้อนสูงกว่าเตรียมจากอะคริลิกเรซินที่มีค่า Tg ต่ำ


การดัดแปรไซแลนจากลำต้นข้าวโพดโดยใช้กรดซิตริก, สุชาวลี จีนาภักดิ์ Jan 2017

การดัดแปรไซแลนจากลำต้นข้าวโพดโดยใช้กรดซิตริก, สุชาวลี จีนาภักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวัสดุชนิดใหม่ที่มีความสามารถในการดักจับสารระเหยให้กลิ่นโดยนำมาจากของเหลือทิ้งทางการเกษตร โดยสกัดไซแลนจากลำต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้วยสารละลายด่าง ผลการวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปีแสดงให้เห็นว่าไซแลนที่สกัดได้มีหมู่ฟังก์ชันที่คล้ายคลึงกับไซแลนทางการค้า นำไซแลนที่สกัดได้มาดัดแปรด้วยปฏิกิริยาเคมีโดยใช้อัตราส่วนของไซแลนต่อกรดซิตริกเท่ากับ 1:1 1:3 1:5 1:7 และ 1:9 โดยน้ำหนัก เมื่อทดสอบระดับการแทนที่ของกรดซิตริกด้วยวิธีไทเทรตด้วยกรด-เบสพบว่าที่อัตราส่วนของไซแลนต่อกรดซิตริกเท่ากับ 1:5 โดยน้ำหนักมีระดับการแทนที่ของกรดซิตริกสูงที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 0.50 หรือคิดเป็นร้อยละ 26.11 นำไซแลนและไซแลนดัดแปรมาทดสอบเสถียรภาพทางความร้อนด้วยเครื่องวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักภายใต้ความร้อนพบว่า ไซแลนดัดแปรด้วยกรดซิตริกมีอุณหภูมิการสลายตัวมากกว่าไซแลนที่ยังไม่ผ่านการดัดแปร ส่วนผลการทดสอบความสามารถในการดักจับสารระเหยให้กลิ่นที่มีสภาพขั้วต่างกัน พบว่าไซแลนมีความสามารถในการดักจับสารระเหยที่มีขั้วได้ดีกว่าไซแลนดัดแปร และพบว่าไซแลนดัดแปรที่อัตราส่วนของไซแลนต่อกรดซิตริกเท่ากับ 1:1 มีความสามารถในการดักสารระเหยให้กลิ่นที่มีโครงสร้างเป็นไฮโดรคาร์บอนได้ดีกว่าไซแลน สำหรับผลการทดสอบความต้านทานแบคทีเรีย พบว่าไซแลนดัดแปรที่อัตราส่วนของไซแลนต่อกรดซิตริกเท่ากับ 1:3 นั้นสามารถยับยั้งแบคทีเรีย Bacillus subtillis และ Escherichia coli ได้ถึงร้อยละ 84.24 และร้อยละ 79.56 ตามลำดับ จากนั้นนำไซแลนและไซแลนดัดแปรมาทดสอบความต้านทานอนุมูลอิสระด้วยวิธี 1,1-Diphenyl-2-picryl-hydrazyl assay หรือ DPPH assay พบว่าไซแลนดัดแปรอัตราส่วนของไซแลนต่อกรดซิตริกเท่ากับ 1:1 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด โดยมีค่า IC50 หรือความเข้มข้นของสารที่ต่ำที่สุดที่สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 เท่ากับ 0.56 จากผลการทดลองพบว่าไซแลนและไซแลนดัดแปรมีศักยภาพในการนำมาพัฒนาเพื่อการใช้งานในด้านการดักจับกลิ่นได้


ผลของตัวเติมไฮบริดสตาร์ช/นาโนซิลิกาต่อสมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิต, จินดามาศ สรรพทรัพย์สิริ Jan 2017

ผลของตัวเติมไฮบริดสตาร์ช/นาโนซิลิกาต่อสมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิต, จินดามาศ สรรพทรัพย์สิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เริ่มต้นด้วยการเตรียมตัวเติมไฮบริดสตาร์ช/นาโนซิลิกาที่ดัดแปรพื้นผิวด้วยสารดัดแปรเฮกซะเดซิลไตรเมทอกซีไซเลนผ่านปฏิกิริยาไซเลไนเซชันเพื่อให้มีสภาพผิวเป็นไฮโดรโฟบิก โดยใช้อัตราส่วนของตัวเติมสตาร์ช/นาโนซิลิกา : สารดัดแปรเท่ากับ 4 : 1 และ 1 : 1 โดยน้ำหนัก จากนั้นเตรียมมาสเตอร์แบทช์ของพอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิตด้วยตัวเติมไฮบริดดัดแปรที่เตรียมได้ปริมาณร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก ด้วยเครื่องอัดรีดแบบเกลียวคู่ จากนั้นนำมาสเตอร์แบทช์ที่เตรียมได้ไปผสมกับพอลิแล็กทิกแอซิดแบบหลอมเหลวอีกครั้งเพื่อลดปริมาณตัวเติมไVบริดสตาร์ช/นาโนซิลิกาดัดแปรในพอลิแล็กทิกแอซิดให้เหลือร้อยละ 1, 3 และ 5 โดยน้ำหนัก ด้วยเครื่องอัดรีดแบบเกลียวคู่ที่ใช้อุณหภูมิภายในบาเรลล์จากโซนป้อนถึงหัวดายเท่ากับ 150/160/170/180/190 องศาเซลเซียส จากนั้นขึ้นรูปชิ้นงานพอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิตด้วยเครื่องฉีดแบบสำหรับทดสอบสมบัติเชิงกลและการย่อยสลายทางชีวภาพ จากการทดสอบ พบว่า พอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิตที่เตรียมจากตัวเติมไฮบริดดัดแปรด้วย 2 ระบบ ปริมาณร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก มีความทนแรงกระแทกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 และ 12.6 และมีความทนแรงดึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 และ 18.8 เมื่อใช้ตัวเติมไฮบริด : สารดัดแปรที่อัตราส่วน 4 : 1 และ 1 : 1 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ เหนือกว่าพอลิแล็กทิกแอซิดบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม พอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิตที่ใส่ตัวเติมไฮบริดสตาร์ช/นาโนซิลิกาดัดแปรร้อยละ 1, 3 และ 5 โดยน้ำหนัก มีสมบัติเชิงกลต่ำกว่าคอมพอสิตที่ใส่ไฮบริดสตาร์ช/นาโนซิลิกา ดัดแปรร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก ทั้งนี้เนื่องจากการแตกสลายของคอมพอสิตเมื่อได้รับความร้อนขณะทำการผสม 2 ขั้นตอน ดังนั้น การใส่ตัวเติมไฮบริดสตาร์ช/นาโนซิลิกาดัดแปรร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก สามารถเสริมแรงให้กับพอลิแล็กทิกแอซิด และส่งเสริมการย่อยสลายของพอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิตภายใต้สภาวะการฝังดินด้วยปฏิกิริยาจากเอนไซม์ของจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน ซึ่งส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสและการย่อยสลายของคอมพอสิตไปพร้อมๆ กัน พร้อมทั้งปลดปล่อยกรดแล็กทิกและซาลิไซลิก


ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาของสารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีนกับเทอเทียรีแอมีนต่อการเตรียมโฟมพอลิยูรีเทนแบบแข็ง, ชาภิชญ์ จันทรสร Jan 2017

ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาของสารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีนกับเทอเทียรีแอมีนต่อการเตรียมโฟมพอลิยูรีเทนแบบแข็ง, ชาภิชญ์ จันทรสร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับผลการเสริมกันของตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมระหว่างสารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีนกับตัวเร่งปฏิกิริยาทางการค้าต่อการเตรียมโฟมพอลิยูรีเทนแบบแข็ง สารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีนที่สังเคราะห์ขึ้น คือ สารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-เอทิลีนไดแอมีน [Cu(OAc)2(en)2] และ สารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-ไตรเอทิลีนเตตระมีน [Cu(OAc)2(trien)] ในรูปแบบสารละลายในเอทิลีนไกลคอล ตัวเร่งปฏิกิริยาทางการค้าที่ใช้มี 3 ชนิด คือ ไดเมทิลไซโคลเฮกซิลแอมีน (DMCHA) และไตรเอทิลีนไดแอมีน (TEDA) ซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาประเภทเทอเทียรีแอมีน และโพแทสเซียมออกโทเอต (KOct) พิสูจน์เอกลักษณ์ของสารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีนโดยใช้เทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรสโกปี และเอฟทีไออาร์สเปกโทรสโกปี ศึกษาการเตรียมโฟมพอลิยูรีเทนแบบแข็งด้วยระบบตัวเร่งปฏิกิริยาร่วม 6 ระบบ คือ Cu(OAc)2(en)2 : DMCHA, Cu(OAc)2(trien) : DMCHA, Cu(OAc)2(en)2 : TEDA, Cu(OAc)2(trien) : TEDA, Cu(OAc)2(en)2 : KOct และ Cu(OAc)2(trien) : KOct โดยศึกษาเวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยา คือ เวลาเกิดครีม, เวลาเกิดเจล, เวลาที่โฟมไม่เกาะติดกับผิววัสดุ และเวลาที่โฟมหยุดฟู พิสูจน์เอกลักษณ์โฟมที่ได้ด้วยเอทีอาร์-เอฟทีไออาร์สเปกโทรสโกปี จากผลการทดลองพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาร่วม Cu(OAc)2(en)2 : DMCHA และ Cu(OAc)2(trien) : DMCHA สามารถเร่งปฏิกิริยาได้เร็วกว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดเดียว คือ Cu(OAc)2(en)2 หรือ Cu(OAc)2(trien) หรือ DMCHA โดยดูได้จากเวลาที่โฟมไม่เกาะติดกับผิววัสดุมีค่าลดลง โฟมพอลิยูรีเทนแบบแข็งที่เตรียมได้จาก Cu(OAc)2(en)2 : DMCHA และ Cu(OAc)2(trien) : DMCHA มีสมบัติเชิงกายภาพและสมบัติเชิงกลที่ดีเทียบเท่ากับโฟมที่เตรียมจาก DMCHA


การเตรียมไคโตซาน/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ไฮโดรเจล, พริม ภักดีธรรม Jan 2017

การเตรียมไคโตซาน/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ไฮโดรเจล, พริม ภักดีธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไคโตซาน (CS) เป็นพอลิเมอร์ที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพซึ่งมีการตอบสนองที่ดีต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายและมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ การใช้ไคโตซานเพื่อขึ้นรูปเป็นแผ่นปิดแผลยังมีข้อจำกัดบางประการเนื่องจากความอ่อนแอของแผ่นฟิล์ม นอกจากนั้นแผ่นไคโตซานยังมีความยืดหยุ่นไม่มากพอและแตกหักได้ง่าย ดังนั้นจึงได้เตรียมแผ่นไคโตซานบนผ้าเพื่อเป็นวัสดุฐานรอง การเตรียมไฮโดรเจลผสมโดยใช้ไคโตซานผสมพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ทั้งหมด 2% (w/v) ในสารละลายกรดอะซิติก 1% (v/v) ที่อัตราส่วน 0.75 ไคโตซาน ต่อ 0.25 พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ เป็นอัตราส่วนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของไฮโดรเจลผสมที่สามารถกักเก็บน้ำได้ 89.12% ซึ่งมีขั้นตอนการเตรียมโดยนำสารละลายไฮโดรเจลไคโตซาน/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ผสม เทลงบนผ้าและอบแห้งที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 72 ชั่วโมง อัตราส่วนของส่วนผสมไคโต-ซาน/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในการทดสอบคือตั้งแต่ 2:0 ถึง 0:2 เพื่อหาปริมาณน้ำที่เหมาะสม และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ จึงเติมน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ (Cymbopogon citratus) เข้าไปปริมาณ 3.125% (v/v) ในขณะขึ้นรูปไฮโดรเจล จากการทดสอบแผ่นไฮโดรเจลผสมไคโตซาน/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ด้วยวิธีทดสอบ AATCC 100 (Antibacterial Finishes on Textile Materials: Assessment of) ผลจากการทดลองน้ำมันตะไคร้หอมระเหย สามารถเพิ่มประสิทธิการต้านเชื้อของไฮโดรเจลผสมไคโต-ซาน/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์บนฐานรองซึ่งสามารถยับยั้ง S.aureus ได้จาก 6.16 ± 0.02 log CFU/ml เหลือ 0.00 หรือ 99.99% ใน 24 ชั่วโมง


วัสดุเชิงประกอบแกรฟีนเจือไนโตรเจน/โคบอลต์และแมงกานีสออกไซด์/พอลิพีร์โรลสำหรับการประยุกต์เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวด, เวสารัช เสมอชีพ Jan 2017

วัสดุเชิงประกอบแกรฟีนเจือไนโตรเจน/โคบอลต์และแมงกานีสออกไซด์/พอลิพีร์โรลสำหรับการประยุกต์เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวด, เวสารัช เสมอชีพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวัสดุสำหรับใช้เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่มีประสิทธิภาพสูงจากแกรฟีนเจือไนโตรเจนซึ่งมีกลไกการเก็บประจุแบบสองชั้นร่วมกับพอลิพิร์โรลและโลหะออกไซด์ผสมซึ่งมีกลไกการเก็บประจุแบบซูโดคาแพซิทีฟ โดยเริ่มจากนำแกรฟีนมารีฟลักซ์ร่วมกับเมลามีนในน้ำที่อุณหภูมิ 97 °C เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ทำให้เกิดการเจือไนโตรเจนเข้าไปในโครงสร้างของแกรฟีน การเจือไนโตรเจนเข้าไปในแกรฟีนนี้ได้รับการยืนยันด้วยเทคนิคอินฟราเรดสเปกโทรสโกปีและเทคนิคเอกซ์เรย์โฟโตอิเล็กตรอนสเปกโทรสโกปี จากนั้นสังเคราะห์พอลิพิร์โรลลงบนพื้นผิวของแกรฟีนเจือไนโตรเจนโดยใช้แอมโมเนียมเพอร์ซัลเฟตภายใต้คลื่นความถี่สูง เพื่อให้เกิดชั้นของพอลิพิร์โรลที่ปกคลุมพื้นผิวของแกรฟีนเจือไนโตรเจนได้อย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง เมื่อนำแกรฟีนเจือไนโตรเจนที่เคลือบด้วยพอลิพิร์โรลที่กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอไปทดสอบด้วยเทคนิคกัลวาโนสแททิกชาร์จ-ดิสชาร์จพบว่าให้ค่าการเก็บประจุจำเพาะที่ดีโดยมีค่าสูงถึง 150.63 F/g ที่กระแสไฟฟ้า 1 A/g ส่วนโลหะออกไซด์ผสมเตรียมจากโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนส (KMnO4) และโคบอลต์ไนเตรตเฮกซะไฮเดรต (Co(NO3)2·6H2O) ใช้เทคนิคไฮโดรเทอร์มัลที่อุณหภูมิ 120 °C 4 ชั่วโมง ที่อัตราส่วนโดยโมลที่เท่ากัน เพื่อเปลี่ยนธาตุทั้งสองให้กลายเป็นเป็นอนุภาคของโลหะออกไซด์ผสม โลหะออกไซด์ผสมที่ได้ (MnCo2O4) มีสัณฐานวิทยาที่ดีและเกิดกลไกการเก็บประจุแบบซูโดคาร์ปาซิเทอร์ได้ดีกว่าแมงกานีสออกไซด์หรือโคบอลต์ออกไซด์ที่ใช้วิธีเดียวกันในการสังเคราะห์ และเมื่อนำแกรฟีนเจือไนโตรเจนที่เคลือบด้วยพอลิพิร์โรลมาผสมกับโลหะออกไซด์ผสม พบว่าที่อัตราส่วนร้อยละ 60 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด โดยให้ค่าการเก็บประจุสูงถึง 217.5 F/g ที่กระแสไฟฟ้า 1 A/g ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าวัสดุที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปประยุกต์เป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่มีประสิทธิภาพสูงได้


Electrochemical Sensors For Human Papillomavirus Dna, C-Reactive Protein And Food Colorants Detections, Sakda Jampasa Jan 2017

Electrochemical Sensors For Human Papillomavirus Dna, C-Reactive Protein And Food Colorants Detections, Sakda Jampasa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this dissertation, electrochemical sensors for determination of medical biomolecular markers and food colorants were developed. The research can be divided into two parts. In the first part, electrochemical sensors for determination of clinically important biomarkers were studied. There was two subprojects based on the target markers. The first subproject was the development of electrochemical sensor for the simultaneous detection of high-risk human papillomaviruses (HPV) DNA type 16 and 18 as biomarkers for cervical cancer. In this work, a highly specific pyrrolidinyl peptide nucleic acid was employed as DNA capture probe for both target DNAs. A second PNA probe labeled …


Effect Of Corrosion Inhibitors In Lubricant For Electronic Industry, Natclitta Maipul Jan 2017

Effect Of Corrosion Inhibitors In Lubricant For Electronic Industry, Natclitta Maipul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The selected functional polymers and fatty esters of poly)1-butene pyrrolidone) (PP) and propylene glycol monostearate (PG) were investigated and applied to use as the corrosion inhibitors for protecting material removal during read/write head lapping processes in hard disk drive (HDD) production. Potentiodynamic polarization measurement was used to study their corrosion behaviors against antiferromagnetic materials (IrMn) which are the most sensitive materials in the head structure. Corrosion rate of PP- and PG-modified lubricants were 0.086 and 0.084 Å/min, respectively, while standard lubricant was 0.111 Å/min. Moreover, the leaching out of metallic atoms was investigated by using inductively couple plasma mass spectroscopy …


Preparation Of Porous Carbon From Popped Rice Via Impregnated Water Coupled With Freeze-Drying Process, Purichaya Nisawa-Anutaraphan Jan 2017

Preparation Of Porous Carbon From Popped Rice Via Impregnated Water Coupled With Freeze-Drying Process, Purichaya Nisawa-Anutaraphan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Activated carbon is an interesting material due to its high surface area derived from the highly porous structure. This material is suitable for using as a good adsorbent in various applications such as wastewater treatment, gas absorption and medicine. Production of activated carbon typically consists of two steps which are carbonization and activation. Agricultural wastes are used as carbon sources. This research focuses on the production of activated carbon from popped rice due to its appropriate chemical and structural characteristics, including highly starch content and connected-pore structure. Therefore, it should potentially be applied to produce activated carbon if the surface …


Development Of Hydrogen Embrittlement Resisted Pd-Cu Alloy Membrane, Ratchaneekorn Chukiatthai Jan 2017

Development Of Hydrogen Embrittlement Resisted Pd-Cu Alloy Membrane, Ratchaneekorn Chukiatthai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The development of PdCu alloy membranes that can be used in hydrogen separation at low working temperature (<300°C) without hydrogen embrittlement problem is a very attractive topic for the petrochemical industry. Pd–Cu membranes have been prepared by electroless plating and electroplating method on stainless steel support. The compositions of the PdCu alloy membranes were related to both the metal deposition rates. The appropriate annealing temperature of Pd–Cu membranes was found at 500 °C in argon atmosphere for 24 hours to form a complete alloy material. After thermal annealing, the Cu atom was distributed in Pd alloy membrane. The surface morphology, compositions, and crystallinity of the PdCu alloy membranes were characterized using scanning electron microscopy (SEM), energy-dispersive X-ray spectroscopy (EDS) and X-ray diffraction (XRD). The best Pd contents in PdCu alloy membrane were about 84 and 75 %at. The hydrogen flux through the PdCu alloy membrane was measured at temperature 150 to 300 °C and differential pressure 0.5 to 2.5 bar for membrane stability. The hydrogen flux increased with increasing temperature and pressure. Adding Cu atoms in Pd can reduce strain in Pd lattice structure. Both PdCu alloy membrane can be operated at the lower temperature than a critical temperature of pure Pd membrane without hydrogen embrittlement.


Water/Dust Repellent Coatings For Wood Surface From 3-Aminopropyltriethoxy Silane-Quat 188, Tanate Tubtimtong Jan 2017

Water/Dust Repellent Coatings For Wood Surface From 3-Aminopropyltriethoxy Silane-Quat 188, Tanate Tubtimtong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Wetting and dust fouling on wood surface are big problems because of hydroxyl group and static charge on its surface. These problems could be minimized by surface modification which decreasing of hydroxyl groups and increasing of positive charges on wood surface. Many researches were reported about wetting issue but there were few studies directly involved to dust problem. In this research, 3-aminopropyltriethoxy silane (APTES) and 3-chloro-2-hydroxypropyltrimethyl ammonium chloride (Q188) were used to modify hydroxyl groups on wood surface to enhance wetting and dust repellency behavior of wood. The APTES-treated woods (AW) were prepared by immersion solution method and then were …


ไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์เป็นโอเลฟินส์บนตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กและโคบอลต์บนคาร์บอน, เจนจิรา รัตถิวัลย์ Jan 2017

ไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์เป็นโอเลฟินส์บนตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กและโคบอลต์บนคาร์บอน, เจนจิรา รัตถิวัลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมคาร์บอนทรงกลมในการนำมาใช้เป็นตัวรองรับสำหรับการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาและศึกษากระบวนการไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์เป็นโอเลฟินส์บนตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กและโคบอลต์บนคาร์บอนทรงกลมที่เตรียมได้ โดยสามารถเตรียมคาร์บอนทรงกลมจากไซโลสด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน โดยตัวเร่งปฏิกิริยาโคบอลต์ที่เตรียมจากตัวรองรับคาร์บอนทรงกลม (10%Co/CS-IMP) มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยาโคบอลต์ที่เตรียมจากตัวรองรับเส้นใยซิลิกาและซิลิกา (10%Co/SF-IMP, 10%Co/SiO2-IMP) จากนั้นทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะเดี่ยว (10%Co/CS-IMP) และตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะคู่ที่มีตัวส่งเสริม (10%(Co-Fe)/K/CS-IMP) พบว่า ตัวส่งเสริมโพแทสเซียมช่วยทำให้ปฏิกิริยาเกิดสารไฮโดรคาร์บอนโอเลฟินส์ ทำการเปรียบเทียบการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยวิธีเคลือบฝัง (Impregnation, IMP) และวิธีไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน (Hydrothermal carbonization, HC) พบว่าวิธีเคลือบฝังให้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์ และจากการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทำปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่า ที่ความดันที่ 25 บาร์, อุณหภูมิที่ใช้ทำปฏิกิริยา เท่ากับ 300 องศาเซลเซียส, ค่าอัตราส่วนของน้ำหนักตัวเร่งปฏิกิริยาต่ออัตราเร็วของสารป้อน (W/F) เท่ากับ 10 กรัม(ตัวเร่งปฏิกิริยา)·ชั่วโมง/โมล โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา 15%(Co-Fe)/K/CS-IMP ให้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการเร่งปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันของคาร์บอนไดออกไซด์ โดยให้ค่าร้อยละการเปลี่ยนของคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงที่สุด เท่ากับ ร้อยละ 59.98 มีค่าร้อยละการเลือกเกิดและร้อยละผลผลิตของสารไฮโดรคาร์บอนโอเลฟินส์ เท่ากับ ร้อยละ 11.17 และ 6.50 ตามลำดับ และทำการศึกษาคุณลักษณะของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์อุณหภูมิของการรีดิวซ์ตัวเร่งปฏิกิริยา, เทคนิคการดูดซับทางกายภาพด้วยแก๊สไนโตรเจน, เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ และการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด


ผลของสารตัวเติมไฮบริดเซลลูโลส/นาโนซิลิกาต่อสมบัติของพอลิแล็กทิกแอสิดคอมพอสิต, กิตติธร เลิศพิรุณ Jan 2017

ผลของสารตัวเติมไฮบริดเซลลูโลส/นาโนซิลิกาต่อสมบัติของพอลิแล็กทิกแอสิดคอมพอสิต, กิตติธร เลิศพิรุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เริ่มต้นด้วยการเตรียมตัวเติมไฮบริดเซลลูโลส/นาโนซิลิกาที่ดัดแปรพื้นผิวด้วยสารดัดแปรเฮกซะเดซิลไตรเมทอกซีไซเลนผ่านปฏิกิริยาไซเลไนเซชันเพื่อให้มีสภาพผิวเป็นไฮโดรโฟบิก โดยใช้อัตราส่วนของตัวเติมเซลลูโลส/นาโนซิลิกา : สารดัดแปรเท่ากับ 1 : 1 และ 1 : 0.25 โดยน้ำหนัก จากนั้นเตรียมมาสเตอร์แบทช์ของพอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิตด้วยตัวเติมไฮบริดดัดแปรที่เตรียมได้ปริมาณร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก ด้วยเครื่องอัดรีดแบบเกลียวคู่ จากนั้นนำมาสเตอร์แบทช์ที่เตรียมได้ไปผสมกับพอลิแล็กทิกแอซิดแบบหลอมเหลวอีกครั้งเพื่อลดปริมาณตัวเติมไฮบริดเซลลูโลส/นาโนซิลิกาดัดแปรในพอลิแล็กทิกแอซิดให้เหลือร้อยละ 1, 3 และ 5 โดยน้ำหนัก ด้วยเครื่องอัดรีดแบบเกลียวคู่ที่ใช้อุณหภูมิภายในบาเรลล์จากโซนป้อนถึงหัวดายเท่ากับ 195/190/180/165/150 องศาเซลเซียส จากนั้นขึ้นรูปชิ้นงานพอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิตด้วยเครื่องฉีดแบบสำหรับทดสอบสมบัติเชิงกลและการย่อยสลายทางชีวภาพ จากการทดสอบ พบว่า พอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิตที่เตรียมจากตัวเติมไฮบริดดัดแปรด้วย 2 ระบบ ปริมาณร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก มีความทนแรงกระแทกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 และ 3.0 และมีความทนแรงดึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 และลดลงร้อยละ 1.6 เมื่อใช้ตัวเติมเซลลูโลส : สารดัดแปร 1 : 1 และ 1 : 0.25 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับพอลิแล็กทิกแอซิดบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม พอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิตที่ใส่ตัวเติมไฮบริดเซลลูโลส/นาโนซิลิกาดัดแปรร้อยละ 1, 3 และ 5 โดยน้ำหนัก มีสมบัติเชิงกลต่ำกว่าคอมพอสิตที่ใส่ไฮบริดเซลลูโลส/นาโนซิลิกาดัดแปรร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก ทั้งนี้เนื่องจากการแตกสลายของพอลิแล็กทิกแอซิดในส่วนผสมมาสเตอร์แบทช์เมื่อได้รับความร้อน 2 ครั้ง ขณะที่มาสเตอร์แบทช์ถูกนำไปฉีดขึ้นรูปโดยตรง ตัวเติมไฮบริดเซลลูโลส/นาโนซิลิกาดัดแปรร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก จึงสามารถเสริมแรงให้กับพอลิแล็กทิกแอซิด และส่งเสริมการเร่งย่อยสลายของพอลิแล็กทิกแอซิดคอมพอสิตภายใต้สภาวะการฝังดินด้วยกลไกการดูดซึมน้ำ เพื่อนำพาจุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลายเซลลูโลสได้เป็นกรดแล็กทิก และซิลิกาจะปลดปล่อยกรดไซลิซิก กรดที่เกิดขึ้นจะเร่งการสลายตัวของพอลิแล็กทิกแอซิดผ่านกลไกไฮโดรไลติก ไฮโดรลิซิส จึงทำให้คอมพอสิตสลายตัวได้เร็วกว่าพอลิแล็กทิกบริสุทธิ์


การเตรียมและสมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิด/พอลิสไตรีนชนิดทนแรงกระแทกสูง/ผงไม้/แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์คอมพอสิต, ณัฐบุรุษ คงไกรฤกษ์ Jan 2017

การเตรียมและสมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิด/พอลิสไตรีนชนิดทนแรงกระแทกสูง/ผงไม้/แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์คอมพอสิต, ณัฐบุรุษ คงไกรฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ คอมพอสิตของพอลิแล็กทิกแอซิด/พอลิสไตรีนชนิดทนแรงกระแทกสูง ได้ถูกเตรียมโดยการใส่ผงไม้และแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ ขั้นแรกพอลิแล็กทิกแอซิดถูกผสมแบบหลอมเหลวกับพอลิสไตรีนชนิดทนแรงกระแทกสูง 5 อัตราส่วน (ร้อยละ 10-50 โดยน้ำหนัก) ในเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ตามด้วยการฉีดแบบ จากการทดสอบ พบว่า การใส่พอลิสไตรีนชนิดทนแรงกระแทกสูงลงในพอลิเมอร์ผสมพอลิแล็กทิกแอซิด/พอลิสไตรีนชนิดทนแรงกระแทกสูง สามารถปรับปรุงความทนแรงกระแทก (ร้อยละ 10 สูงที่สุด) การยืดตัว ณ จุดขาด (ร้อยละ 10 สูงที่สุด) และเสถียรภาพทางความร้อน (ร้อยละ 10 สูงที่สุด) เมื่อเปรียบเทียบกับพอลิแล็กทิกแอซิดล้วน หากแต่ความทนแรงดึง ยังส์มอดุลัสและความทนแรงดัดโค้งมีค่าลดลงตามปริมาณพอลิสไตรีนชนิดทนแรงกระแทกสูงที่เพิ่มขึ้น โดยพอลิเมอร์ผสมที่อัตราส่วน 80/20 เมื่อใส่ผงไม้ปริมาณ 20 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินร้อยส่วน มีสมบัติเชิงกล (ความทนแรงดึง และ ยังส์มอดุลัส) ที่ดี จึงเลือกไปเตรียมคอมพอสิตด้วยแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ โดยมีอัตราส่วนผงไม้/แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 20/0, 20/20, 20/30 และ 20/40 จากการทดลอง พบว่า ผงไม้ช่วยปรับปรุงความทนแรงกระแทก ความทนแรงดึง ยังส์มอดุลัส และความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพ ขณะที่การยืดตัว ณ จุดขาด ความทนแรงดัดโค้ง เสถียรภาพทางความร้อน และการต้านทานการลามไฟลดลง นอกจากนี้ เมื่อใส่แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ใน 80/20/20 พอลิแล็กทิกแอซิด/พอลิสไตรีนชนิดทนแรงกระแทกสูง/ผงไม้คอมพอสิต พบว่า คอมพอสิตมียังส์มอดุลัส เสถียรภาพทางความร้อน การต้านทานการลามไฟและความสามารถในการย่อยสลายเพิ่มขึ้นตามปริมาณแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ที่เพิ่มขึ้น


การผลิตไฮโดรเจนจากรีฟอร์มิงด้วยไอน้ำของกลีเซอรอลดิบและกลีเซอรอลบริสุทธิ์, นิพิฐพนธ์ ปะนามะสา Jan 2017

การผลิตไฮโดรเจนจากรีฟอร์มิงด้วยไอน้ำของกลีเซอรอลดิบและกลีเซอรอลบริสุทธิ์, นิพิฐพนธ์ ปะนามะสา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาผลของปัจจัยดำเนินการที่ส่งผลต่อการผลิตไฮโดรเจนจาก รีฟอร์มิงด้วยไอน้ำของกลีเซอรอลบริสุทธิ์และกลีเซอรอลดิบ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล และศึกษาผลของสิ่งเจือปนในกลีเซอรอลดิบที่มีต่อรีฟอร์มิงด้วย ไอน้ำ โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่งแบบต่อเนื่อง ภายใต้ภาวะดำเนินการแตกต่างกัน โดยศึกษาช่วงอุณหภูมิ 600 - 700 องศาเซลเซียส อัตราส่วนการป้อนเข้าไอน้ำต่อคาร์บอนที่ 6 - 12 และความดัน 1 - 4 บาร์ โดยกำหนดให้ใช้อัตราการป้อนเข้าคงที่ 0.5 มิลลิลิตรต่อนาที จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าทั้งในกลีเซอรอลบริสุทฺธิ์และกลีเซอรอลดิบซึ่งมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน โดยการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิรวมไปถึงการเพิ่มปริมาณอัตราส่วนการป้อนเข้าไอน้ำต่อคาร์บอน ส่งผลให้ผลได้ไฮโดรเจนและร้อยละการเปลี่ยนคาร์บอนเพิ่มขึ้น โดยอุณหภูมิที่ 650 องศาเซลเซียส และอัตราส่วนการป้อนไอน้ำต่อคาร์บอนที่ 9 ที่ความดันบรรยากาศ เป็นค่าปัจจัยดำเนินการที่เหมาะสมให้ผลได้ไฮโดรเจน 3.36 มิลลิโมลต่อกรัมกลีเซอรอลและร้อยละการเปลี่ยนคาร์บอนที่ 18.1 จากกลีเซอรอลบริสุทธิ์ แต่สำหรับกลีเซอรอลดิบให้ผลได้ไฮโดรเจนและร้อยละการเปลี่ยนของคาร์บอนสูงกว่าอย่างชัดเจนที่ 4.37 มิลลิโมลต่อกรัมกลีเซอรอลและร้อยละ 25.6 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิ่งเจือปนในกลีเซอรอลดิบ อาจส่งผลถึงปฏิกิริยารีฟอร์มิง โดยพบว่า โลหะอัลคาไลน์ และ เมทานอล ที่เจือปนอยู่ในสารละลายกลีเซอรอลน่าจะมีผลต่อผลได้ไฮโดรเจนและร้อยละการเปลี่ยนคาร์บอนเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกันปริมาณกรดไขมันอิสระซึ่งเจือปนอยู่ในกลีเซอรอลไม่มีผลชัดเจนต่อการเพิ่มของผลได้ไฮโดรเจนและยังส่งผลให้ความเข้มข้นของไฮโดรเจนผลิตภัณฑ์ลดลง นอกจากนี้เมทานอลและกรดไขมันอิสระยังทำให้เกิดไฮโดรคาร์บอนมากขึ้น


การปรับปรุงคุณภาพเชิงเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันชีวภาพโดยซีโอไลต์โดปด้วยโลหะ, ณิชาบูล ชายหาด Jan 2017

การปรับปรุงคุณภาพเชิงเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันชีวภาพโดยซีโอไลต์โดปด้วยโลหะ, ณิชาบูล ชายหาด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นการการปรับปรุงคุณภาพเชิงเริงปฏิกิริยาของน้ำมันชีวภาพที่ได้จากกระบวนไพโรไลซิสแบบเร็วของลำต้นทานตะวัน ไม้สนซีดาร์ ลำต้นเจแปนนิสน็อตวีด และลำต้น แอปเปิ้ลด้วยซีโอไลต์ H-ZSM-5 H-Beta และ H-USY จากผลการทดลองพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาทั้ง 3 ชนิดมีความว่องไวและเลือกจำเพาะในการเกิดสารประกอบแอโรมาติกไฮโดรคาร์บอนโดยได้ปริมาณสัมพัทธ์ของสารประกอบแอโรมาติกไฮโดรคาร์บอนร้อยละ 56.2 - 100 จากการวิเคราะห์ด้วย GC/MS ตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ H-ZSM-5 ผลิตปริมาณสารประกอบแอโรมาติกไฮโดรคาร์บอนมากที่สุด นอกจากนี้ตัวเร่งปฏิกิริยาทุกชนิดมีประสิทธิภาพในการนำกลับมาใช้ซ้ำโดยยังคงความว่องไวและความเลือกจำเพาะในการเป็นสารประกอบแอโรมาติกไฮโดรคาร์บอนสูงถึงร้อยละ 70 ในรอบการใช้ซ้ำครั้งที่ 3 และตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้แล้วยังสามารถฟื้นฟูสภาพได้โดยการเผาแบบง่าย ในขณะที่การเมื่อศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์โดปด้วยโลหะทองแดงเพื่อเพิ่มความว่องไวและความเสถียรของตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยวิธีแลกเปลี่ยนไอออนและการเคลือบฝัง จากผลการทดลองพบว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์โดปด้วยโลหะทองแดงในปริมาณร้อยละ 0.5 ด้วยวิธีเคลือบฝัง ทำให้ปริมาณสารประกอบแอโรมาติกไฮโดรคาร์บอนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการเพิ่มปริมาณทองแดงที่โดปบน H-ZSM-5 ส่งผลทำให้ความเลือกจำเพาะและพื้นที่ผิวของซีโอไลต์ลดลง ในขณะที่มีความเป็นกรดเพิ่มมากขึ้นซึ่งจากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าการโดปทองแดงในปริมาณที่เหมาะสมมีผลการต่อประสิทธิภาพในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา


ไฮโดรจิเนชันบางส่วนของไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนตัวรองรับคาร์บอน, รุ่งทิวา โกศล Jan 2017

ไฮโดรจิเนชันบางส่วนของไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนตัวรองรับคาร์บอน, รุ่งทิวา โกศล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไบโอดีเซล เป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือกที่ได้รับความนิยมในการค้นคว้าและวิจัยเป็นจำนวนมาก โดยหนึ่งในพืชเกษตรกรรมที่ถูกนำมาผลิตไบโอดีเซล คือปาล์มน้ำมัน แม้ว่าไบโอดีเซลมีสมบัติที่สามารถใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลที่ได้จากแหล่งปิโตรเลียมได้ แต่ไบโอดีเซลก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของค่าความเสถียรต่อการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนและค่าการไหลเท ณ อุณหภูมิต่ำ ซึ่งสามารถปรับปรุงสมบัติโดยปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันบางส่วน งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันบางส่วนของไบโอดีเซลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลโดยมีคาร์บอนเป็นตัวรองรับ ภายใต้การทดลองที่ความดัน 3 บาร์ และ 5 บาร์ อุณหภูมิ 80, 100 และ 120 องศาเซลเซียส ใช้น้ำหนักของตัวเร่งปฏิกิริยาต่อน้ำหนักไบโอดีเซลที่ 1, 3 และ 5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก สภาวะการทดลองดังกล่าวนี้ใช้เพื่อปรับปรุงข้อจำกัดของไบโอดีเซล นอกจากนี้ยังศึกษาผลของการเติมโลหะแมกนีเซียมในการเลือกเกิดซิส-ทรานส์ไอโซเมอร์ โดยผ่านกระบวนการไฮโดรจิเนชันบางส่วนของไบโอดีเซล โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนตัวรองรับคาร์บอนและเติมโลหะแมกนีเซียมด้วยวิธีการจุ่มชุ่ม ตัวเร่งปฏิกิริยาและไบโอดีเซลจะถูกวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์พื้นผิว ก๊าซโครมาโทกราฟี เอกซเรย์ดิฟแฟรกชัน เครื่องมือวิเคราะห์พฤติกรรมการรีดักชันโดยก๊าซไฮโดรเจน เทคนิควิเคราะห์ปริมาณพันธะคู่ด้วยไอโอดีน เครื่องมือวิเคราะห์สัณฐานตัวเร่งปฏิกิริยา และเครื่องมือวิเคราะห์สมบัติไบโอดีเซล จากผลการศึกษาทั้งหมดพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนตัวรองรับคาร์บอนและเติมโลหะแมกนีเซียม สามารถลดปริมาณของคาร์บอน 18 อะตอม แบบอิ่มตัว ให้ปริมาณคาร์บอน 18 อะตอมที่มีพันธะคู่หนึ่งตำแหน่งแบบซิสไอโซเมอร์มากขึ้น และลดปริมาณคาร์บอน 18 อะตอมที่มีพันธะคู่หนึ่งตำแหน่งแบบทรานส์ไอโซเมอร์ ซึ่งส่งผลดีต่อสมบัติไบโอดีเซลมากกว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนตัวรองรับคาร์บอนที่ไม่มีการเติมโลหะแมกนีเซียม.


การเตรียมเเละสมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิด/ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์/นาโนซิลิกาคอมพอสิต, อรรถพล มงคลวัย Jan 2017

การเตรียมเเละสมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิด/ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์/นาโนซิลิกาคอมพอสิต, อรรถพล มงคลวัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานนี้ คือ การปรับปรุงความเหนียวและเสถียรภาพทางความร้อนของพอลิแล็กทิกแอซิดด้วยการเติมยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์และนาโนซิลิกา โดยยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์ถูกเตรียมจากน้ำยางธรรมชาติผ่านกระบวนการ อิน ซิทู อิพ็อกซิเดชัน โดยใช้กรดฟอร์มิก 0.5 โมลาร์ และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.75 โมลาร์ ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคฟูเรียร์แทรนสฟอร์มสเปกโทรสโกปี พบว่า ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์มีปริมาณหมู่อิพ็อกไซด์ร้อยละ 30 โดยโมล จากนั้นยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์ที่เตรียมได้ถูกนำไปผสมกับพอลิแล็กทิกแอซิดที่ปริมาณต่างๆ (ร้อยละ 10, 20 และ 30 โดยน้ำหนัก) ในเครื่องผสมแบบปิดตามด้วยเครื่องอัดแบบ จากผลการทดสอบ พบว่า การเติมยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์ลงในพอลิแล็กทิกแอซิด ส่งผลให้ความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาดได้รับการปรับปรุง หากแต่ความทนแรงดึง ยังส์มอดุลัสและเสถียรภาพทางความร้อนลดลง และเนื่องด้วยพอลิเมอร์ผสม 80/20 พอลิแล็กทิกแอซิด/ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์ มีความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาดสูงที่สุด (16.4 เมกะปาสคาล และร้อยละ 7.8 ตามลำดับ) จึงได้ถูกเลือกเพื่อนำไปเตรียมคอมพอสิตด้วยนาโนซิลิกาที่สามอัตราส่วน (1, 2 และ 3 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินร้อยส่วน) จากผลการทดลอง พบว่า ความทนแรงกระแทกและเสถียรภาพทางความร้อนของคอมพอสิตได้รับการปรับปรุงเมื่อเปรียบเทียบกับพอลิเมอร์ผสม 80/20 พอลิแล็กทิกแอซิด/ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์ โดยการเติมนาโนซิลิกาที่ปริมาณ 2 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินร้อยส่วน พบว่า ความทนแรงกระแทกและเสถียรภาพทางความร้อนสูงที่สุด นอกจากนี้ สมบัติเชิงกลและสมบัติทางความร้อนของ 80/20/2 พอลิแล็กทิกแอซิด/ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์/นาโนซิลิกาคอมพอสิตที่เตรียมด้วยกระบวนการผสมเเบบหลอมเหลว ถูกนำไปเปรียบเทียบกับคอมพอสิตที่เตรียมด้วยการผสมยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์และนาโนซิลิกาในภาวะเลเท็กซ์ ที่ปริมาณซิลิกาเท่าๆ กัน พบว่า การเตรียมคอมพอสิตในภาวะเลเท็กซ์มีสมบัติเชิงกลและสมบัติทางความร้อนต่ำกว่าการเตรียมคอมพอสิตในภาวะหลอมเหลว เมื่อพิจารณาที่ปริมาณนาโนซิลิกาในคอมพอสิตเท่าๆ กัน


การเตรียมและสมบัตินำไฟฟ้าของผงถ่านกัมมันต์กราฟต์ด้วยพอลิแอนิลีน, สิริญญา โสตถิอุดม Jan 2017

การเตรียมและสมบัตินำไฟฟ้าของผงถ่านกัมมันต์กราฟต์ด้วยพอลิแอนิลีน, สิริญญา โสตถิอุดม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เตรียมผงถ่านกัมมันต์กราฟต์ด้วยพอลิแอนิลีน โดยเริ่มจากดัดแปรพื้นผิวผงถ่านกัมมันต์ด้วยปฎิกิริยาไนเตรชัน (กรดไนตริกและกรดซัลฟิวริกเข้มข้น) ตามด้วยปฎิกิริยารีดักชันด้วยโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์/แอมโมเนีย เพื่อได้หมู่ไนโตรและอะมิโนบนผิวของผงถ่านกัมมันต์ตามลำดับ ยืนยันการพบหมู่ฟังก์ชันได้ด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟาเรดสเปกโทรสโคปี และ โปรตอนเอ็นเอ็มอาร์ จากนั้นทำการต่อกิ่งพอลิแอนิลีนลงบนผิวของผงถ่านกัมมันต์ที่มีหมู่ฟังก์ชันเอมีน ด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชันพอลิเมอร์ไรเซชัน ที่มีแอมโมเนียมเปอร์ซัลเฟตเป็นตัวเริ่มปฏิกิริยา จะได้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 3 แบบ คือ AC/PANi, AC-NO₂/PANi และ AC-NH₂/PANi หรือ AC-NH₂-g-PANi ที่อัตราส่วนโดยน้ำหนัก 1:0.1, 1:0.2, 1:0.25, 1:0.3, 1:0.4 และ 1:0.5 วิเคราะห์สัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าพอลิแอนิลีนสามารถปกคลุมอยู่บนพื้นผิวของ AC-NO₂ ซึ่งเป็นผงถ่านกัมมันต์ที่ผ่านการดัดแปรได้ เนื่องจากพอลิแอนิลีนสามารถมีแรงยึดเหนี่ยวกับ AC-NO₂ ด้วยพันธะไดโพลหรือแรงดึงดูดระหว่างขั้วตรงตำแหน่งหมู่ไนโตรของผงถ่านกัมมันต์ ในขณะที่ AC-NH₂/PANi พบว่ามีการต่อกิ่งจากหลักฐานเอ็นเอ็มอาร์ และจากภาพที่ถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าพอลิแอนิลีนอยู่ในรูปเส้นใยที่ปกคลุมพื้นผิวผงถ่านกัมมันต์อย่างชัดเจน และที่พอลิแอนิลีนความเข้มข้นต่ำจะได้เส้นใยนาโนพอลิแอนิลีนที่มีพื้นที่ผิวที่มากที่สุด และด้วยพอลิแอนิลีนที่อยู่ในรูปเส้นใยนาโนที่เกาะบนพื้นผิวผงถ่านกัมมันต์จะส่งผลให้มีค่าความสามารถในการเก็บประจุสูงถึง 858.8 ฟารัด/กรัม ซึ่งจะตรงข้ามกับเส้นใยของพอลิแอนิลีนที่มีขนาดใหญ่จะส่งผลให้มีค่าความสามารถในการเก็บประจุได้ต่ำกว่า คือ 425.4 ฟารัด/กรัม


การใช้สารดูดซับรังสียูวีและสารต้านอนุมูลอิสระสำหรับการปรับปรุงความคงทนต่อแสงของสีธรรมชาติบนเส้นด้ายฝ้ายและไหม, สุรพันธ์ เปล่งเจริญศิริชัย Jan 2017

การใช้สารดูดซับรังสียูวีและสารต้านอนุมูลอิสระสำหรับการปรับปรุงความคงทนต่อแสงของสีธรรมชาติบนเส้นด้ายฝ้ายและไหม, สุรพันธ์ เปล่งเจริญศิริชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ย้อมด้วยสีย้อมธรรมชาติเป็นที่นิยมมากทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สีจากธรรมชาติยังคงมีปัญหาด้านความคนทนของสีต่อแสงซึ่งเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่สำคัญในการใช้งานในชีวิตประจำวัน งานวิจัยนี้แสดงการศึกษาสมบัติด้านความคงทนต่อแสงของสีย้อมธรรมชาติบนเส้นด้ายฝ้ายและไหมจากแหล่งให้สี 4 ชนิด ได้แก่ ครั่ง (สีแดงอมม่วง) เปลือกของต้นมะพูด (สีเหลือง) ดอกดาวเรือง (สีเหลือง) และเมล็ดคำแสด (สีส้ม) โดยศึกษาตั้งแต่การสกัดสีย้อมธรรมชาติ กระบวนการย้อมสีบนเส้นด้ายฝ้ายและไหม การมอร์แดนต์ วิธีการมอร์แดนต์ (พร้อม/หลังการย้อม) และทดสอบความคงทนของสีต่อแสงเพื่อคัดเลือกสีบนเส้นด้ายที่มีความคงทนต่อแสงน้อยที่สุดมาปรับปรุงให้เส้นด้ายย้อมสีมีความคงทนต่อแสงมากขึ้นหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของสีน้อยลง จากผลการวิจัยพบว่าการย้อมสีธรรมชาติจำเป็นต้องมีการมอร์แดนต์ โดยที่การย้อมสีจากครั่งและเปลือกของต้นมะพูดใช้การมอร์แดนต์พร้อมการย้อม การย้อมสีจากดอกดาวเรืองและเมล็ดคำแสดใช้การมอร์แดนต์หลังการย้อม จากการศึกษาความคงทนของสีต่อแสงของเส้นด้ายฝ้ายและไหมย้อมสีธรรมชาติทั้ง 4 ชนิด พบว่าสีย้อมจากเมล็ดคำแสดมีความคงทนของสีต่อแสงน้อยที่สุด ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการปรับปรุงความคงทนของสีย้อมจากเมล็ดคำแสดต่อแสงบนเส้นด้ายฝ้ายและไหมโดยวิธีการตกแต่งสำเร็จต่างๆ (ตกแต่งสำเร็จก่อน/พร้อม/หลังการย้อม) ด้วยสารดูดซับรังสียูวีทางการค้า Rayosan®C Paste และสารต้านอนุมูลอิสระชนิดไวตามินซี (กรดแอสคอร์บิก) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การตกแต่งสำเร็จหลังการย้อมบนเส้นด้ายฝ้ายและไหมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระความเข้มข้น 20 กรัมต่อลิตร และ 10 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ ทำให้สีบนเส้นด้ายมีการเปลี่ยนแปลงหลังการตกแต่งสำเร็จน้อยที่สุดและช่วยทำให้ความคงทนของสีต่อแสงเพิ่มขึ้นมากที่สุด การทดสอบสมบัติด้านอื่นๆ ของเส้นด้าย พบว่าการตกแต่งสำเร็จทำให้สมบัติด้านความคงทนต่อการซักของสีบนเส้นด้ายดีมากขึ้น แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงและร้อยละการยืดตัวของเส้นด้าย


3d Printing Of Graphene/Thermoplastic Elastomer Composites, Warrayut Kanabenja Jan 2017

3d Printing Of Graphene/Thermoplastic Elastomer Composites, Warrayut Kanabenja

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Graphene based thermoplastic polyurethane composites filaments was prepared by melt blending process prior to fabricate with 3D printing technique. The effects of different graphene loading (0.05 wt% - 0.20 wt%) in TPU matrix on the properties of composites were studied. Initially, graphite was successfully oxidized to graphite oxide following Hummer’s method and the reduction of graphene oxide to graphene by L-ascorbic acid was also achieved as being confirmed by the FTIR and XRD results. TPU and TPU/graphene nanocomposites were investigated for their thermal, mechanical, physical and electrical properties. Thermal stability of TPU/graphene composites was improved against neat TPU. The first …


Metal-Salen Derivatives For Electro-Reduction Of Carbon Dioxide, Kantima Chitchak Jan 2017

Metal-Salen Derivatives For Electro-Reduction Of Carbon Dioxide, Kantima Chitchak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Copper(II) salen, salophen-based ligands, and their corresponding copper complexes were prepared and utilized for the electrocatalytic reduction of carbon dioxide. Controlled-potential electrolysis of copper(II) salen electrocatalyst with carbon dioxide in non-aqueous solution was investigated to obtain the optimized electrolysis condition including the applied potential and proton donor quantity. With the applied potential of –2.10 V, carbon monoxide (3.50-16.30%) was obtained as the only product in gas phase. Methane was additionally found with the addition of proton donor and its maximum percentage (0.39 ± 0.00%) were obtained from the electrolysis with 25.00 mM proton donor and 2.00 mM copper(II) salen. Moreover, …


Synthesis Of Ni-Tin Incorporated Porous Silica Catalysts For Dry Reforming Of Methane, Maslin Chotirach Jan 2017

Synthesis Of Ni-Tin Incorporated Porous Silica Catalysts For Dry Reforming Of Methane, Maslin Chotirach

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A new titanium nitride (TiN) promoted nickel catalyst was synthesized and tested as an alternative catalyst in the dry reforming of methane (DRM). The series of this catalyst with various Ni and TiN contents was prepared in two steps, direct synthesis of SBA-15 in the presence of TiN, followed by the impregnation of Ni. The influence of TiN promoted Ni-based catalyst on dry reforming reaction was investigated at the temperature of 700ºC and atmospheric pressure for a duration of 4 h, using feed ratio of CH4/CO2 = 1. The promising catalysts, that gave highest CO2 and CH4 conversions as well …