Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chemistry

Chulalongkorn University

Articles 31 - 60 of 401

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

Data Analysis Of Volatile Compounds In Green Curry Paste By Comprehensive Heartcut Two-Dimensional Gas Chromatography-Mass Spectrometry Using Retention Indices For Nonpolar And Polar Columns, Sudarat Arunmongkon Jan 2022

Data Analysis Of Volatile Compounds In Green Curry Paste By Comprehensive Heartcut Two-Dimensional Gas Chromatography-Mass Spectrometry Using Retention Indices For Nonpolar And Polar Columns, Sudarat Arunmongkon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this work, comprehensive heart cut two-dimensional chromatography hyphenated with mass spectrometry (CH/C MDGCMS) was applied for reliable identification of volatile compounds in green curry paste sample using HP-5MS (30 m length x 250 µm i.d. x 0.25 µm thickness) and DB-WAX (60 m length x 250 µm i.d. x 0.5 µm thickness) for a first non-polar column (1D) to a flam ionization detector and a second polar column (2D) to a mass spectrometer, respectively. The CH/C MDGC with 25 injection runs for total analysis time of 20.83 hr was achievedusing a Deans switch for transferring eluent from the first …


Valorization Of Furfural To Fuel Additives By Aluminophosphate And Metal-Organic Framework Catalysts, Janejira Ratthiwal Jan 2022

Valorization Of Furfural To Fuel Additives By Aluminophosphate And Metal-Organic Framework Catalysts, Janejira Ratthiwal

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this research, aluminophosphate (APAl) catalysts and metal oxide catalysts from calcined metal-organic frameworks (C-MOFs) were successfully synthesized. APAl-A catalysts were obtained from the FQM-383 laboratory group of Prof. Dr. Rafael Luque. The catalysts were named APAl-X/Y-A-Z which X/Y was the ratio of P/Al ratio and Z was the calcination temperature. Both factors were varied to study their effects on the catalyst properties of surface area and active acid sites on catalyst surface. The MOFs (MIL-101(Fe) and MIL-125(Ti)) were prepared by the solvothermal method. The calcination of MOFs (C-MIL-101(Fe) and C-MIL-125(Ti)) provided metal oxide catalysts. The APAl catalysts and C-MOFs …


Application Of Core Annular Flow For Oil Transportation In Different Pipe Configurations Using Computational Fluid Dynamics, Cindy Dianita Jan 2022

Application Of Core Annular Flow For Oil Transportation In Different Pipe Configurations Using Computational Fluid Dynamics, Cindy Dianita

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The application of Core Annular Flow (CAF) has become an interesting solution in transporting heavy oil through pipeline because of its energy reduction and cost efficiency. Current study conducted a 3D computational fluid dynamic (CFD) to simulate CAF of oil-water in horizontal T- and Y-pipe junctions with two types of oil characteristic i.e., oil as Newtonian fluid and oil as non-Newtonian Carreau Fluid. The 2k factorial statistical experimental design was applied to investigate the effect of geometry on the flow performance. Eight cases were run with different diameter combinations and junction angle. The most attractive design was measured by the …


Improving Chromatographic Analysis Of Phenolic Compounds, Tarika Lomcharoenwong Jan 2022

Improving Chromatographic Analysis Of Phenolic Compounds, Tarika Lomcharoenwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Phenolic compounds are important chemicals and are applied in many fields. Moreover, they are found as contaminants in the environment. This research aimed to improve the chromatographic analysis of phenolic compounds and was divided into two parts. The first part focused on improving the separation of a mixture containing eighteen phenols using gas chromatography with derivatized cyclodextrin stationary phases. Results showed that all three cyclodextrin-based stationary phases, with different ring sizes, improved the separation of the mixture in comparison to polysiloxane OV-1701 stationary phase. The best separation was obtained from the small-size alpha-cyclodextrin with a capillary column of 15-meter long …


การพัฒนาซอฟต์เซ็นเซอร์สำหรับการทำนายพารามิเตอร์ของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม, พงศ์พล ธวัชบัณฑิต Jan 2022

การพัฒนาซอฟต์เซ็นเซอร์สำหรับการทำนายพารามิเตอร์ของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม, พงศ์พล ธวัชบัณฑิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับโรงงานอุตสาหกรรมนั้นเป็นกระบวนการที่สำคัญในการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นแก๊สเรือนกระจกในแก๊สไอเสียก่อนส่งออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งการรู้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดูดซับและเวลาที่การดูดซับเข้าสู่สมดุลจึงเป็นประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงานในอุตสาหกรรม ดังนั้นในงานวิจัยนี้ ศึกษาและพัฒนาโครงข่ายประสาทเทียมสามารถทำนายพารามิเตอร์ของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ โครงข่ายประสาทเทียมที่พัฒนาด้วยโครงสร้างที่มีจำนวนชั้นซ่อน 2 ชั้นซ่อน ในแต่ละชั้นซ่อนประกอบด้วย 10 เซลล์ประสาท และฟังก์ชันกระตุ้นในชั้นซ่อนและชั้นส่งออกคือฟังก์ชันแทนซิกมอยด์มีประสิทธิภาพสูงที่สุด จากนั้นนำโครงข่ายประสาทเทียมที่มีโครงสร้างดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาผลของสมการทางจลนศาสตร์และนำตัวแปรส่งออกไปแทนค่าในสมการทางจลนศาสตร์เพื่อสร้างเส้นโค้งของดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เส้นโค้งที่สร้างจากสมการของปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเทียมมีค่าเฉลี่ยของค่า R-square สูงสุดคือ 0.8731 และค่าเฉลี่ยของค่า RMSE ต่ำที่สุดคือ 0.2358 จากนั้นนำโครงข่ายประสาทเทียมไปพัฒนาซอฟต์เซ็นเซอร์โดยเริ่มจากการแปลงโครงข่ายประสาทเทียมให้เป็นโปรแกรมที่เป็นภาษาไพทอน และนำโปรแกรมนี้ไปใส่ใน Raspberry pi 4 model b ตัวแปรนำเข้าทั้งหมดจะถูกคำนวณผ่านโครงข่ายประสาทเทียมที่ได้แปลงเป็นภาษาไพทอนแล้ว และส่งค่าตัวแปรส่งออกไปแสดงค่าผ่านแพลตฟอร์ม Grafana ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่สะดวกและรวดเร็ว และสามารถรายงานค่าในเวลาจริงได้


สารละลายอิเล็กโทรไลต์สูตรใหม่ที่มีผลต่อสมรรถนะและประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน: การจำลองพลวัตเชิงโมเลกุล, ศิริพร ตีระบูรณะพงษ์ Jan 2022

สารละลายอิเล็กโทรไลต์สูตรใหม่ที่มีผลต่อสมรรถนะและประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน: การจำลองพลวัตเชิงโมเลกุล, ศิริพร ตีระบูรณะพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ใช้การจำลองพลวัตเชิงโมเลกุลศึกษาผลของปริมาณและชนิดตัวทำละลายร่วมที่มีต่อโครงสร้างการละลาย พลวัต และสมบัติทางไฟฟ้าเคมีของสารละลายอิเล็กโทรไลต์สำหรับแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน เกลือลิเทียมที่ใช้คือลิเทียมเฮกซะฟลูออโรฟอสเฟต (LiPF6) ที่ความเข้มข้น 1.0 M ในตัวทำละลายอินทรีย์ฐานคาร์บอเนตผสมระหว่างเอทิลีนคาร์บอเนต (EC) กับไดเมทิลคาร์บอเนต (DMC) ในอัตราส่วน 1:1 ตัวทำละลายร่วม 4 ชนิดที่ศึกษา ได้แก่ เตตระเมทิลีนซัลโฟน (TMS) ไดเมทิลซัลฟอกไซด์ (DMSO) ฟลูออโรเอทิลีนคาร์บอเนต (FEC) และซักซิโนไนไตล์ (SN) ที่ปริมาณ 0, 10, 25, 50, 75 และ 100 wt.% การนำพาไอออนลิเทียม Li+ ในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ขึ้นกับปริมาณและชนิดตัวทำละลายร่วมอย่างมาก ในทุกระบบการจำลอง การเติมตัวทำละลายร่วมที่ 25 wt.% ให้เลขทรานสเฟอเรนซ์ของไอออนลิเทียม Li+ สูงสุด ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของไอออนลิเทียม Li+ และไอออนลบ PF6- ในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่เติมตัวทำละลายร่วม DMSO สูงกว่าระบบที่เติม TMS, FEC และ SN ตามลำดับ เกลือ LiPF6 ในตัวทำละลายผสม EC:DMC = 1:1 โดยเติม DMSO 25 wt.% ให้ค่าการนำไฟฟ้าของไอออนสูงสุดที่ 14.13 mS/cm และเลขทรานสเฟอเรนซ์ของไอออนลิเทียม Li+ สูงสุดที่ 0.47 ในระบบดังกล่าวชั้นการละลายแรกของไอออนลิเทียม Li+ ไม่พบการแทรกตัวของไอออนลบ PF6- เนื่องจากตัวทำละลายร่วม DMSO ซึ่งมีเลขโดเนอร์สูงสามารถล้อมรอบไอออนลิเทียม Li+ ได้ดีกว่า TMS, FEC และ SN ส่งผลให้อันตรกิริยาระหว่างคู่ไอออนลดลง ผลการจำลองที่ได้อาจใช้เป็นแนวทางในการเลือกและ/หรือออกแบบสารละลายอิเล็กโทรไลต์สำหรับแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออนที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย


ปัจจัยการเสื่อมสภาพของน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์สำหรับเครื่องยนต์แกโซลีน-ซีเอ็นจี, กณิกนันต์ ถิ่นพฤกษ์งาม Jan 2021

ปัจจัยการเสื่อมสภาพของน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์สำหรับเครื่องยนต์แกโซลีน-ซีเอ็นจี, กณิกนันต์ ถิ่นพฤกษ์งาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แก๊สธรรมชาติอัดเป็นพลังงานทดแทนที่ได้รับความนิยมในระบบขนส่งสาธารณะ เนื่องจากซีเอ็นจีเป็นพลังงานสะอาด ค่าออกเทนสูงและราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่นและสามารถใช้งานในรูปแบบของระบบเชื้อเพลิงสองชนิด (dual-fuel) ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของน้ำมันหล่อลื่นมาตราฐานกึ่งสังเคราะห์สำหรับเครื่องยนต์แกโซลีน-ซีเอ็นจี โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำมันหล่อลื่นตามระยะทางที่กำหนดและทำการวิเคราะห์อิงตามมาตราฐาน ASTM จากการวิเคราะห์ความหนืดซึ่งเป็นสมบัติสำคัญของน้ำมันหล่อลื่นที่อุณหภูมิ 40 °C และ 100 °C พบว่าที่อุณหภูมิ 100 °C ความร้อนส่งผลให้เกิดการสลายพันธะภายในโมเลกุลทำให้ฟิล์มน้ำมันมีลักษณะบางลงและเป็นตัวเร่งต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาออกซิเดชันสามารถวิเคราะห์ด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทสโกปี (FT-IR) แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของน้ำมันหล่อลื่นเนื่องจากหมู่ฟังก์ชันคาร์บอนิล (C=O) มีความเข้มข้นจากผลิตภัณฑ์ของออกซิเดชัน และมีผลทำให้ปริมาณกรดและค่าความหนืดเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ถูกกัดกร่อน จากการวิเคราะห์ปริมาณเบสในน้ำมันหล่อลื่นที่บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของสารทำความสะอาด พบว่าที่ระยะทางมากกว่า 15000 กิโลเมตร ความเข้มข้นของสารเติมแต่งอัลคาไลน์จะลดลงครึ่งหนึ่งจากปริมาณเริ่มต้น แสดงให้เห็นถึงการเสื่อมสภาพของสารเติมแต่งจากความเข้มข้นของสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้น เช่น ฝุ่น น้ำ โลหะและเขม่า


Determination Of Volatile Compounds In Yellow Curry Paste Using From-Two-To-One Dimensional Gas Chromatography-Mass Spectrometry, Natsuda Singtothog Jan 2021

Determination Of Volatile Compounds In Yellow Curry Paste Using From-Two-To-One Dimensional Gas Chromatography-Mass Spectrometry, Natsuda Singtothog

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this work, an approach to allow improved analysis with one-dimensional GC-MS (1D GC-MS) was established and demonstrated for analysis of a pool of yellow curry paste samples. The approach involved initial application of comprehensive heart cut two-dimensional GC-MS (CH/C 2D GC-MS) to obtain a full volatile profile by comparing the experimental mass spectrum and retention index of each compound with the mass spectra and retention indices of standard compounds from a database. The obtained volatile profile was then used to generate a selected ion monitoring (SIM) method, which was then applied with 1D GC-MS using a SIM mode. This …


Modification Of Screen-Printed Carbon Electrode For Detection Of Pesticides, Kansuda Langor Jan 2021

Modification Of Screen-Printed Carbon Electrode For Detection Of Pesticides, Kansuda Langor

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Methyl parathion (MP) is an organophosphate pesticide broadly used in agriculture to protect crops and fruits from the damages caused by insects and pests. However, when it is used in large quantities, it can be potentially toxic to humans and animals, causing many poisoning effects. Moreover, its residues can also penetrate the food chain (via agriculture food products) as well as contaminating the environment, leading to air, water and soil pollution. Therefore, rapid determination and reliable quantification of trace level of MP are crucially needed for food safety and environmental monitoring. In this work, a low-cost and portable electrochemical sensor …


Discrimination Of Weedy Rice By Using Near-Infrared Spectroscopy Combined With Chemometrics, Sureerat Makmuang Jan 2021

Discrimination Of Weedy Rice By Using Near-Infrared Spectroscopy Combined With Chemometrics, Sureerat Makmuang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Weedy rice is one of the most notorious weeds occurring in rice-growing areas, especially in South-East Asia. Weedy rice especially in form of paddy seed is difficult to manage and separate as they provide common features (morphological resemblance) to cultivated rice. This work presents a modification of self-organizing map (SOMs) for the classification of weedy rice from cultivated rice via in situ direct sample analysis from paddy seed using near-infrared (NIR) spectroscopy and hyperspectral NIR camera. The sample pretreatment was carried out by a cyclone vacuum machine to remove the contaminated particles and other impurities. The physical characteristics and the …


Development Of Colorimetric Paper-Based Analytical Device For Cortisol Detection, Thanathip Kosawatphat Jan 2021

Development Of Colorimetric Paper-Based Analytical Device For Cortisol Detection, Thanathip Kosawatphat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, the detection of cortisol can play a key role in understanding stress-related diseases. Several competitive immunoassay formats have been reported for the detection of this small hormone molecule. Lateral flow immunoassay (LFIA) is one of the most widely used platforms that offer its simplicity and rapidity for such analysis. Unlike previous sensors for cortisol sensing that require complicated readers, specialized reagents, or even post-treatment methods to amplify the obtained signal, in this work, we employed a concave test zone constructed on the LFIA device (cLFIA) which can directly enhance the signal response as the flowing sample was substantially concentrated …


Production Of Bio-Olefins From Oleic Acidvia Oxidative Dehydrogenation Using Vanadium Oxides/Sba-15 Catalysts, Nattaporn Chaidherasuwet Jan 2021

Production Of Bio-Olefins From Oleic Acidvia Oxidative Dehydrogenation Using Vanadium Oxides/Sba-15 Catalysts, Nattaporn Chaidherasuwet

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Long-chain olefins (≥C10) are important commodity chemicals, which are primarily used to manufacture everyday products such as plastic packaging, surfactants and detergents in cleaning products, and lubricant oil additives. However, the long-chain olefins are currently synthesized from the petroleum refining process via ethylene oligomerization or thermal cracking of long-chain paraffins. To support the Bio-Circular-Green Economy (BCG) model, the direct synthesis of olefins from renewable feedstocks has become an attractive route to promote overall sustainability. The objective of this research was to study the possibility to transform oleic acid (OA), one of the unsaturated fatty acids in palm oil, to produce …


ผงยางรถยนต์เหลือทิ้งดัดแปรด้วยแอมีนสำหรับการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์, ณภัสร์จิรา จารี Jan 2021

ผงยางรถยนต์เหลือทิ้งดัดแปรด้วยแอมีนสำหรับการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์, ณภัสร์จิรา จารี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเตรียมวัสดุดูดซับจากผงยางรถยนต์เหลือทิ้ง (WR) โดยการดัดแปรด้วยแอมีนเพื่อเพิ่มความจำเพาะต่อการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจัยต่าง ๆ ที่ศึกษาได้แก่ อัตราการไหลของแก๊สขาเข้า (50 70 และ 100 มิลลิลิตรต่อนาที) ขนาดอนุภาคของผงยาง (20 40 และ 60 เมช) ผงยางก่อนและหลังการบำบัดด้วยสารละลายกรด ชนิดของแอมีน (เตเตระเอทิลีนเพนตะแอมีนและพอลิเอทิลีนไดอิมีน) ความเข้มข้นของสารละลายแอมีน (ร้อยละ 2.5 5 และ 10 โดยน้ำหนัก) และอุณหภูมิในการดูดซับ (30 45 และ 60 องศาเซลเซียส) วัสดุดูดซับถูกพิสูจน์เอกลักษณ์ผ่านการวิเคราะห์ลักษณะพื้นที่ผิวจำเพาะ หมู่ฟังก์ชัน ร้อยละของธาตุ และลักษณะสัณฐานวิทยา ความสามารถการดูดซับของผงยางเหลือทิ้งถูกทดสอบโดยเครื่องปฏิกรณ์แสตนเลสภายใต้ภาวะอุณหภูมิห้องและความดันบรรยากาศ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ผงยางเหลือทิ้งขนาดเมช 60 มีค่าความจุการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นหลังบำบัดด้วยสารละลายกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 1 โมลาร์ (WR60A) เทียบกับผงยางเหลือทิ้งขนาด 60 เมชก่อนบำบัดด้วยสารละลายกรด (WR60) โดยใช้อัตราการไหลของแก๊สขาเข้าในการดูดซับ 70 มิลลิลิตรต่อนาที เพื่อศึกษาชนิดและปริมาณของแอมีนที่เหมาะสม ผงยางเหลือทิ้งขนาด 60 เมชก่อนการบำบัดด้วยสารละลายกรด (WR60) ถูกนำมาดัดแปรเพื่อทดสอบหาค่าความจุการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่า การดัดแปรด้วยเตเตระเอทิลีนเพนตะแอมีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยน้ำหนักช่วยเพิ่มค่าความจุการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับ WR60 ได้มากที่สุด (10.41 มิลลิกรัมต่อกรัม) หลังจากนั้นนำ WR60A ซึ่งเป็นวัสดุที่เตรียมจากผงยางเหลือทิ้งหลังบำบัดด้วยสารละลายกรดมาดัดแปรด้วยเตเตระเอทิลีนเพนตะแอมีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก (WR60A_10T) พบว่า ค่าการดูดซับมีค่าเพิ่มขึ้น (11.64 มิลลิกรัมต่อกรัม) ที่ภาวะอุณหภูมิห้องและความดันบรรยากาศโดยใช้อัตราการไหลของแก๊สขาเข้า 70 มิลลิลิตรต่อนาที ผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า WR60A_10T มีค่าความจุการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังได้ศึกษาความสามารถในดูดซับหลังจากการฟื้นฟูสภาพและจลนพลศาสตร์ของวัสดุดูดซับ พบว่า WR60A_10T มีค่าความจุในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงเพียงร้อยละ 4.02 หลังจากผ่านการดูดซับ-คายซับทั้งหมด 10 ครั้ง แบบจำลองจลนพศาสตร์แบบอาฟรามี (Avrami’s model) สามารถอธิบายกลไกการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้


การศึกษาเชิงเปรียบเทียบของวิธีการสกัดน้ำมันจากเมล็ดเทียนดำโดยการอัดสกรูและคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤต, บัณฑิตา สกุลกิตติยุต Jan 2021

การศึกษาเชิงเปรียบเทียบของวิธีการสกัดน้ำมันจากเมล็ดเทียนดำโดยการอัดสกรูและคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤต, บัณฑิตา สกุลกิตติยุต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นํ้ามันเมล็ดเทียนดำเป็นนํ้ามันหอมระเหยซึ่งถูกนำมาประยุกต์ได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะด้านการแพทย์แผนโบราณ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีการสกัดสะอาด (green extraction technology) ได้รับความสนใจใช้เป็นวิธีเลือกในการสกัดสารจากธรรมชาติ การสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤต (supercritical carbon dioxide) เป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการสกัดสารจากธรรมชาติ อีกทั้งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เป็นพิษ ไม่ติดไฟ ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เฉื่อย และมีราคาถูก ในงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบของวิธีการสกัดนํ้ามันจากเมล็ดเทียนดำโดยการอัดสกรูและคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤตที่ภาวะต่าง ๆ ในช่วงความดัน 200 -300 บาร์และช่วงอุณหภูมิ 40 – 60 องศาเซลเซียส ที่อัตราการไหลของคาร์บอนไดออกไซด์คงที่ 10 กรัมต่อนาที นํ้ามันที่สกัดจากเมล็ดเทียนดำบดโดยใช้เฮกเซนเป็นตัวทำละลายมีปริมาณร้อยละ 40.20±1.41 โดยนํ้าหนัก นํ้ามันที่สกัดจากเมล็ดเทียนดำโดยการอัดสกรูมีปริมาณร้อยละ 25.41±1.20 โดยนํ้าหนัก ในขณะที่ยังมีนํ้ามันคงค้างเหลืออยู่ในกากเมล็ดเทียนดำถึงร้อยละ 20.88±0.51 โดยนํ้าหนัก นํ้ามันที่สกัดจากเมล็ดเทียนดำบดโดยคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤตพบว่าที่ความดัน 300 บาร์ อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสเป็นภาวะเหมาะสมที่สุดที่สามารถสกัดเมล็ดเทียนดำบดได้ปริมาณนํ้ามันสะสมสูงสุดถึงร้อยละ 36.28 โดยนํ้าหนัก องค์ประกอบกรดไขมันที่พบในนํ้ามันเทียนดำบดส่วนใหญ่ประกอบด้วยกรดไขมันลิโนเลอิก กรดโอเลอิกและกรดปาล์มมิติก องค์ประกอบหลักทางเคมีที่พบในนํ้ามันหอมระเหยคือ เอ็ม-ไซมีน ไทโมควิโนน และลองกิโฟลีน


โฟมยางธรรมชาตินำไฟฟ้าสำหรับโฟโตวอลเทอิกเซลล์ลอยน้ำ, พิมพลอย ประเสริฐวสุ Jan 2021

โฟมยางธรรมชาตินำไฟฟ้าสำหรับโฟโตวอลเทอิกเซลล์ลอยน้ำ, พิมพลอย ประเสริฐวสุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ยางธรรมชาติ เป็นพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่ได้จากต้นยาง (Hevea brasiliensis) ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย ในหลายปีมานี้อีลาสโทเมอร์นำไฟฟ้าและพอลิเมอร์ชนิดยืดหยุ่นเป็นที่น่าสนใจอย่างมาก เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในงานวิจัยนี้โฟโตวอลเทอิกเซลล์ชนิดลอยน้ำระดับห้องปฏิบัติการได้นำ PEDOT:PSS และพอลิไพโรลที่เป็นพอลิเมอร์ชนิดนำไฟฟ้ามาประกอบกับฐานที่เป็นโฟมยางธรรมชาติมาใช้เป็นขั้วไฟฟ้าร่วม โดยการเตรียมคอมพอสิทระหว่างยางธรรมชาติ, PEDOT:PSS และพอลิไพโรล (NR/PEDOT:PSS/PPy) จะใช้กระบวนการเคมีไฟฟ้าในการสังเคราะห์ ทำการเตรียมยางธรรมชาติผสม PEDOT:PSS ในอัตราส่วน1:4 โดยปริมาตร ผ่านศักย์ไฟฟ้าในช่วง 3-7 โวลต์ โดยใช้เวลาในการเกิดปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน โดยพบว่าที่ความเข้มข้นของไพโรลเท่ากับ 0.5 โมลาร์และศักย์ไฟฟ้าเท่ากับ 4 โวลต์ให้ค่าการนำไฟฟ้าของยางคอมพอสิทอยู่ที่ 31.531 S/cm เปรียบเทียบประสิทธิภาพของเซลล์ที่ใช้ขั้วไฟฟ้าร่วมชนิดแพลททินัมและเซลล์ที่ใช้ขั้วไฟฟ้าร่วมเป็นยางธรรมชาตินำไฟฟ้าที่สังเคราะห์ขึ้นให้ประสิทธิภาพอยู่ที่ 2.04% และ 0.93% ตามลำดับ ซึ่งพบว่าค่าประสิทธิภาพยังน้อยอยู่เนื่องมาจากชนิดของขั้วไฟฟ้าที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยาที่ทำมาจากยางธรรมชาติอาจส่งผลให้การส่งผ่านอิเล็กตรอนยังไม่ดีเทียบเท่ากับขั้วแพลททินัม


วัสดุเชิงประกอบพอลิแล็คติกแอซิด/แบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลต, ฐาปนี เพ็ชระ Jan 2021

วัสดุเชิงประกอบพอลิแล็คติกแอซิด/แบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลต, ฐาปนี เพ็ชระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมและศึกษาสมบัติของวัสดุเชิงประกอบพอลิแล็คติกแอซิด/แบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลต โดยสังเคราะห์แบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลตด้วยกระบวนการพอลิเมอไรเซชันแบบอิมัลชันที่อัตราส่วนระหว่าง BC:MMA ที่ 1:1 และ 1:5 โดยมี K2S2O8 เป็นตัวริเริ่มปฏิกิริยา จาก FTIR สเปกตรัมของแบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลต (BC1:5) พบค่าการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของหมู่คาร์บอนิล (C=O) ขึ้นที่ตำแหน่ง 1725 cm-1 โดยคาดว่าเป็นส่วนของ PMMA ที่ถูกกราฟต์ลงบนแบคทีเรียเซลลูโลส ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีด้วยเทคนิค NMR รวมไปถึงการวิเคราะห์พฤติกรรมทางความร้อนด้วยเทคนิค TGA และ DSC ยืนยันได้ว่ามีการกราฟต์ PMMA ลงบนแบคทีเรียเซลลูโลสได้สำเร็จ จากนั้นนำแผ่นแบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลตที่เตรียมได้ไปทำการลามิเนตกับแผ่นพอลิแล็คติกแอซิดด้วยเครื่องอัดแบบ แล้วนำแผ่นลามิเนตพอลิแล็คติกแอซิดที่ได้ไปศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยา สมบัติทางความร้อน สมบัติเชิงกล และการย่อยสลายด้วยวิธีฝังกลบ จากการศึกษาพบว่าลักษณะสัณฐานวิทยาของแผ่นลามิเนตพอลิแล็คติกแอซิดกับแบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลต (BC1:5) มีการยึดเกาะที่ดีกว่าแบคทีเรียเซลลูโลสบริสุทธิ์และ BC1:1 จากการศึกษาสมบัติทางความร้อนพบว่าแผ่นลามิเนตพอลิแล็คติกแอซิดกับแบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลตสูตร BC1:5 มีเสถียรภาพทางความร้อนมากที่สุด และจากการศึกษาสมบัติเชิงกลของแผ่นลามิเนตพอลิแล็คติกแอซิดกับแบคทีเรียเซลลูโลส-กราฟต์-พอลิเมทิลเมทาคริเลตพบว่ามีค่ายังส์มอดุลัสเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับพอลิแล็คติกแอซิดบริสุทธิ์ นอกจากนี้การทดสอบการย่อยสลายด้วยวิธีการฝังกลบ พบว่าแผ่นลามิเนตพอลิแล็คติกแอซิดที่เสริมแรงด้วยแบคทีเรียเซลลูโลสส่งผลต่อการย่อยสลายที่เร็วขึ้น


ไมโครแคปซูลวัสดุเปลี่ยนเฟสสำหรับสีทากล่องโฟมเพื่อรักษาอุณหภูมิเกล็ดเลือด, พสธร ลิมปธนโชติ Jan 2021

ไมโครแคปซูลวัสดุเปลี่ยนเฟสสำหรับสีทากล่องโฟมเพื่อรักษาอุณหภูมิเกล็ดเลือด, พสธร ลิมปธนโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้กล่าวถึงการเตรียมไมโครแคปซูลวัสดุเปลี่ยนเฟสโดยมีเฮปตะเดกเคนเป็นแกนและเมลามีนฟอร์มัลดีไฮด์เป็นเปลือก เปลือกของไมโครแคปซูลสังเคราะห์ด้วยกระบวนการพอลิเมอไรเซชันแบบอินซิทู เริ่มจากเตรียมอิมัลชันของเฮปตะเดกเคนด้วย Tween 80 จากนั้นเติมเมลามีนฟอร์มัลดีไฮด์คอนเดนเสทขณะมีการกวนสารตลอดเวลาตามด้วยกรดซิตริก 1 หยดทุก 1 นาทีเพื่อปรับสภาวะกรด เมื่อเวลาผ่านไปเมลามีนฟอร์มัลดีไฮด์คอนเดนเสทรวมร่างเป็นเปลือกล้อมรอบหยดเฮปตะเดกเคน ผลของการเปลี่ยนแแปลงอัตราการกวน (1000, 1250, 1500 รอบต่อนาที) และปริมาณของเมลามีนฟอร์มัลดีไฮด์ (0.5:1, 1:1, 1.5:1) มีผลต่อขนาดของไมโครแคปซูลทดสอบโดยเทคนิค SEM พบว่าไมโครแคปซูลมีรููปร่างเป็นทรงกลมและมีขนาดตั้งแต่ 1 ถึง 5 ไมโครเมตร ความร้อนแฝงของไมโครแคปซูลวัสดุเปลี่ยนเฟสวัดโดยเทคนิค DSC เท่ากับ 120.89 จูลต่อกรัมและมีประสิทธิภาพของไมโครแคปซูลเท่ากับ 89.31 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับ 135.85 จูลต่อกรัมของเฮปตะเดกเคน ยิ่งไปกว่านั้นไมโครแคปซูลมีเสถียรภาพเมื่อผ่านวัฏจักรการให้ความร้อนและความเย็นสูงถึง 50 รอบ หลังจากนั้นเตรียมกล่องโฟมทาสีซุปเปอร์ชิลด์ดัดแปรด้วยเฮปตะเดกเคน 40 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักให้ได้ความหนา 0.38 มิลลิเมตรและปิดด้วยฟิล์มแบคทีเรียเซลลูโลสที่ผิวภายใน จากนั้นวางถุงไมโครแคปซูล ถุงน้ำปราศจากประจุและเครื่องบันทึกอุณหภูมิในกล่องโฟมที่เตรียมไว้ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียสนาน 12 ชั่วโมง จากนั้นนำกล่องที่เตรียมไว้มาทดสอบที่อุณหภูมิ 25 ถึง 27 องศาเซลเซียสนาน 24 ชั่วโมง โดยเครื่องจะบันทึกการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิระหว่าง 20 ถึง 24 องศาเซลเซียสเทียบกับเวลาผลพบว่าที่ไมโครแคปซูล 200 กรัมสามารถเก็บรักษอุณหภูมิภายในกล่องโฟมมากกว่า 24 ชั่วโมงเมื่อเทียบกับเฮปตะเดกเคนและกล่องควบคุมตัวแปร


การพัฒนาคอมพอสิตยางธรรมชาติที่เติมเส้นใยเซลลูโลสจากชานอ้อย, เชาวลิต พูลพิพัฒน์ Jan 2021

การพัฒนาคอมพอสิตยางธรรมชาติที่เติมเส้นใยเซลลูโลสจากชานอ้อย, เชาวลิต พูลพิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงสมบัติของคอมพอสิตยางธรรมชาติโดยเสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลสที่ได้จากกากชานอ้อย การทดลองเริ่มจากการสกัดเส้นโยเซลลูโลสจากกากชานอ้อยด้วยการบำบัดด้วยกรด ด่าง และตามด้วยการฟอกสีร่วมกับการใช้แรงเชิงกล จากนั้นทำการดัดแปรพื้นผิวเส้นใยเซลลูโลสด้วยสารคู่ควบไซเลนชนิด บิส[(3-ไตรเอทอกซีไซลิล)โพรพิล]เตตระซัลไฟด์ (TESPT) และเอ็น-(3-(ไตรเอทอกซี่ไซลิล)โพรพิล)เอทิลีนไดเอมีน (TMPES) เพื่อเพิ่มความเข้ากันได้กับยาง ผลการทดลองพบว่าการเติมเส้นใยเซลลูโลสที่ดัดแปรพื้นผิวด้วย TESPT ส่งผลให้ปฏิกิริยาการวัลคาไนเซชันของคอมพอสิตยางธรรมชาติเกิดได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากกำมะถันที่อยู่ในโมเลกุลสารคู่ควบไซเลนซึ่งสามารถเกิดปฏิกิริยาการวัลคาไนเซชันและเกิดการเชื่อมโยงกับสายโซ่โมเลกุลยาง การดัดแปรพื้นผิวเส้นใยด้วยสารคู่ควบไซเลน TESPT สามารถปรับปรุงความเข้ากันได้บริเวณผิวประจัญของยางกับเส้นใยให้ดีขึ้นซึ่งพิสูจน์ได้จากภาพถ่ายสัณฐานวิทยา เนื่องจากคอมพอสิตยางธรรมชาติมีปริมาณพันธะเชื่อมโยงเพิ่มขึ้นและยางเข้ากันกับเส้นใยดีขึ้น ทำให้ความต้านทานต่อแรงดึงและการฉีกขาดสูงกว่าการใช้เส้นใยที่ไม่ผ่านการดัดแปรพื้นผิว โดยปริมาณเส้นใยที่เหมาะสมในการเสริมแรงยางธรรมชาติอยู่ที่ 2 phr จากการศึกษาผลของชนิดสารคู่ควบไซเลนต่อสมบัติของคอมพอสิตยางธรรมชาติ พบว่าการใช้ TMPES ส่งผลให้ค่าเวลายางสกอชกับเวลายางสุกยาวกว่ารวมไปถึงปริมาณพันธะเชื่อมโยงที่ต่ำกว่าการใช้ TESPT ทั้งนี้เนื่องจาก TMPES ไม่มีองค์ประกอบของกำมะถัน ดังนั้นความแข็งแรงบริเวณผิวประจัญจึงค่อนข้างต่ำกว่า ส่งผลให้สมบัติเชิงกลของคอมพอสิตยางธรรมชาติที่เสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลสดัดแปรด้วย TMPES ด้อยกว่าการดัดแปรด้วย TESPT


พอลิเมอร์ผสมฐานชีวภาพจากพอลิ(3-ไฮดรอกซีบิวทีเรต-โค-3-ไฮดรอกซีวาเลอเรต)และยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์, ณพรรดิ โตมะโน Jan 2021

พอลิเมอร์ผสมฐานชีวภาพจากพอลิ(3-ไฮดรอกซีบิวทีเรต-โค-3-ไฮดรอกซีวาเลอเรต)และยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์, ณพรรดิ โตมะโน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ปรับปรุงสมบัติเชิงกลในด้านความทนแรงกระแทกของพอลิ(3-ไฮดรอกซีบิวทีเรต-โค-3-ไฮดรอกซีวาเลอเรต) ด้วยการทำพอลิเมอร์ผสมกับยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์ (ร้อยละ 25, และ 50) ร่วมกับการใส่สารช่วยผสมพอลิบิวตะไดอีนกราฟต์มาเลอิกแอนไฮไดรด์เพื่อช่วยเพิ่มความเข้ากันได้ให้แก่วัฏภาค PHBV และ ENR ด้วยเครื่องผสมระบบปิดที่อุณหภูมิ 175 องศาเซลเซียสและความเร็วโรเตอร์ 50 รอบต่อนาที ในการวิจัยขั้นแรกเป็นการศึกษาผลของสัดส่วน PHBV ต่อ ENR ที่ 100/0, 90/10, 80/20, และ 70/30 จากนั้นจึงเทียบกับการใส่สารช่วยผสมในปริมาณร้อยละ 0, 5, และ 10 จากการวิเคราะห์สมบัติเชิงกลพบว่าที่สัดส่วน 70/30 PHBV/ENR/5%PB-g-MA ของทั้ง ENR-25 และ ENR-50 ให้ค่าความทนแรงกระแทกได้สูงถึง 6.92 ± 0.35, และ 7.33 ± 1.19 J/m ซึ่งมากกว่า 100 PHBV ถึง 2 และ 2.3 เท่าตามลำดับ ในขั้นตอนต่อมาได้นำพอลิเมอร์ผสมที่เตรียมได้ไปเพิ่มสมบัติเชิงกลจากการทำไดนามิกส์วัลคาไนเซชันเพื่อให้เกิดการเชื่อมขวางในวัฏภาค ENR โดยใช้ DCP เป็นสารเชื่อมขวางปริมาณ 2 ส่วนในร้อยส่วน จากการวิเคราะห์สมบัติความทนแรงกระแทกพบว่า 70/30 PHBV/ENRv/5%PB-g-MA ของทั้ง ENRv-25 และ ENRv-50 สามารถเพิ่มค่าความทนแรงกระแทกได้สูงถึง 62.99 ± 14.76 และ 24.40 ± 2.84 J/m ซึ่งมากกว่าการเตรียมพอลิเมอร์ผสมด้วยวิธีปกติถึง 9.10 และ 3.10 เท่าตามลำดับ นอกจากนี้พอลิเมอร์ PHBV และพอลิเมอร์ผสมที่สัดส่วน ENR ร้อยละ 30 ที่เตรียมได้ยังถูกนำไปทดสอบความสามารถในการย่อยสลายด้วยการฝังดินเป็นระยะเวลา 3 เดือน ผลที่ได้พบว่าพอลิเมอร์ PHBV มีปริมาณน้ำหนักหายไปถึงร้อยละ 37.11 ± 3.08 และเมื่อทำพอลิเมอร์ผสมพบว่าน้ำหนักพอลิเมอร์ผสมของ 70/30 PHBV/ENR/5%PB-g-MA …


Synthesis And Catalytic Activity Of Layered Double Hydroxide And Metal Sulfide Nanoparticle Composites, Ajirawadee Suwanchan Jan 2021

Synthesis And Catalytic Activity Of Layered Double Hydroxide And Metal Sulfide Nanoparticle Composites, Ajirawadee Suwanchan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Degradation of methylene blue dye was investigated over heterogenous catalytic process using layered double hydroxide and metal sulfide nanoparticle composites. CuCo2S4/NiFe LDH nanocomposites were synthesized using hydrothermal method, and the composites were characterized by SEM and XRD techniques. CuCo2S4 and NiFe LDH were formed with an average particle in the range of 350-450 nm and 2200-3500 nm, respectively. The composites were loaded at 1.8, 3.4, 5.2 and 9.9 wt% of CuCo2S4. CuCo2S4, NiFe LDH and CuCo2S4/NiFe LDH composites were tested at the same condition for methylene blue degradation. The 18CuCo2S4/NiFe LDH composites provided higher catalytic degradation of methylene blue compared …


Adsorption Of Hydrogen Gas On Polymorphic Zirconium Dioxide Surfaces, Monrada Petchmark Jan 2021

Adsorption Of Hydrogen Gas On Polymorphic Zirconium Dioxide Surfaces, Monrada Petchmark

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Adsorption of hydrogen gas on polymorphic zirconium dioxide (ZrO2) surfaces including cubic, tetragonal and monoclinic phase denoted by c-ZrO2(111), t-ZrO2(101) and m-ZrO2(111), respectively has been investigated using the periodic density functional theory (DFT) calculation. The stabilities of perfect and oxygen vacancy defective ZrO2 surfaces are in orders: c-ZrO2(111) > t-ZrO2(101) > m-ZrO2(111) and [c-ZrO2(111)+VO] > [t-ZrO2(101)+VO] > [m-ZrO2(111)+VO], respectively. The abilities of hydrogen adsorption on perfect and oxygen vacancy defective ZrO2 surfaces are in orders: [c-ZrO2(111)+VO] (∆Eads = –4.13 eV) > [m-ZrO2(111)+VO] (∆Eads = –3.31 eV) > [t-ZrO2(101)+VO] (∆Eads = –2.91 eV) > c-ZrO2(111) (∆Eads = –1.89 eV) > m-ZrO2(111) (∆Eads = –1.67 eV) > t-ZrO2(101) (∆Eads = –0.27 …


Pna-Immobilized Paper For Detection Of Pcr Amplicons, Nuttapon Jirakittiwut Jan 2021

Pna-Immobilized Paper For Detection Of Pcr Amplicons, Nuttapon Jirakittiwut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

DNA detection is very important in diverse fields leading to a continuous increase in the research and development of various DNA sensors. This study focuses on the development of a paper-based DNA sensor by using pyrrolidinyl PNA as a recognition probe. The PNA-immobilized DNA sensor was designed to contain several PNA probes in the same device as a self-check system to increase the accuracy and facilitate the data collection and interpretation. The PNA-immobilized paper was then utilized for the detection of the DNA target, followed by the visualization of the captured target DNA via an enzyme-catalyzed colorimetric reaction. In this …


Development Of Retention Index Based Simulation For Validation Of Compound Identification In Gc×Gc, Palathip Kakanopas Jan 2021

Development Of Retention Index Based Simulation For Validation Of Compound Identification In Gc×Gc, Palathip Kakanopas

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Comprehensive two-dimensional gas chromatography (GC×GC) is a high-performance technique for separation, identification and quantification of volatiles and semi-volatiles in complex multi-component samples such as biomolecular molecules, essential oil, foods, and petroleum. One of the most popular detectors used for peak identification with GC×GC is mass spectrometer (MS) allowing identification of separated peaks based on comparison with mass spectral library. However, only MS library comparison shows low confidence in compound identifications due to the fact that compounds with similar structures (especially for isomers) often have similar mass spectra. Apart from sample preparation, a great challenge is to effectively select types of …


Program Development For Synthesis Plan Design Of Organic Compounds By Using Artificial Intelligence, Tawatchai Jitporn Jan 2021

Program Development For Synthesis Plan Design Of Organic Compounds By Using Artificial Intelligence, Tawatchai Jitporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Computer-Assisted Synthesis Planning (CASP) is a computational tool for facilitating organic chemists to design and synthesis organic compounds by calculating the best possible synthesis pathways. Most CASP tools are commercial or closed-source software and thus, they cannot be modified to improve performance or update database. Therefore, it is our aim to develop an open-source CASP tool. Library of reaction rules that was created from the US patent database was taken from literature and was then reclassified to improve its applicability. This modified library was then used for training neural network and 2 important models were obtained for the search engine. …


การพัฒนาเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตจากยางโบรโมบิวทิลและพอลิโพรพิลีนสำหรับจุกปิดหลอดเก็บเลือด, สุพรรณษา คุณขยัน Jan 2021

การพัฒนาเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซตจากยางโบรโมบิวทิลและพอลิโพรพิลีนสำหรับจุกปิดหลอดเก็บเลือด, สุพรรณษา คุณขยัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาอัตราส่วนผสมยางโบรโมบิวทิล (BIIR) พอลิโพรพิลีน (PP) และเอทิลีนออกทีนโคพอลิเมอร์ (EOC) เพื่อปรับปรุงความแข็งให้เท่ากับความแข็งของจุกปิดหลอดเก็บเลือดทางการค้า จากผลการทดสอบสมบัติความแข็งพบว่าที่อัตราส่วนผสม B65P10E25 (BIIR 65 wt%, PP 10wt% และ EOC 25 wt%) มีค่าความแข็งเท่ากับ 43 Shore A ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ค่าความแข็งของจุกปิดหลอดเก็บเลือด จึงได้เลือกอัตราส่วนนี้มาเตรียมเป็นเทอร์มอพลาสติกวัลคาไนเซต (TPV) โดยผสมสารวัลคาไนซ์ไดคิวมิลเพอร์ออกไซด์ 1.5 wt% และสารโคเอเจนต์ไตรเมทิลออลโพรเพนไตรเมทาอะคริเลท 1 wt% ผลการทดสอบสมบัติเชิงกลต่าง ๆ พบว่า TPV ที่เตรียมได้มีสมบัติความแข็ง ความต้านทานต่อแรงดึง ระยะยืดสูงสุด ณ จุดขาด และความต้านทานต่อแรงฉีกขาดสูงขึ้น ในขณะที่เปอร์เซ็นต์การยุบตัวหลังได้รับแรงกดลดลงเป็น 21.83% เมื่อเทียบกับ B65P10E25 ที่ไม่มีสารวัลคาไนซ์ ผลจากภาพกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM Micrograph) พบว่าการเติม EOC ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น จะช่วยปรับปรุงความเข้ากันได้และการกระจายตัวของ BIIR และ PP นอกจากนี้เมื่อผสม EOC ในสัดส่วนที่มากกว่า 25% วัสดุจะแสดงสมบัติการคืนตัวหลังแทงเข็มที่ดี โดยสูตรที่ผ่านการทดสอบนี้ ได้แก่ B65P10E25, B65E35 (BIIR 65 wt% และ EOC 35 wt%) และ B65P10E25 TPV (TPV ที่เตรียมขึ้นจากอัตราส่วน B65P10E25) เป็นต้น นอกจากนี้ความสามารถในการซึมผ่านแก๊สออกซิเจนของ B65P10E25 TPV มีค่าเท่ากับ 151.81 cm3·mm/m2·day·0.1MPa ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาวัสดุที่จะนำมาใช้เป็นจุกปิดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการป้องกันการซึมผ่านของอากาศภายนอกได้ดี ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสามารถเตรียม TPV ที่มีสมบัติเชิงกลที่ดี มีอัตราการซึมผ่านแก๊สต่ำ และสามารถคืนตัวได้หลังจากดึงเข็มออก ซึ่งสมบัติเหล่านี้ผ่านเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาสำหรับนำไปประยุกต์ใช้เป็นจุกปิดในหลอดเก็บเลือด นอกจากนี้ยังสามารถนำมาผ่านกระบวนการขึ้นรูปซ้ำใหม่ได้


การปรับปรุงสมบัติของไนลอน 6 รีไซเคิลด้วยเทอร์โมพลาสติกพอลิ(อีเทอร์-เอสเตอร์)อิลาสโตเมอร์และโวลลาสโทไนต์, คุณัญญา จันทร์ฉาย Jan 2021

การปรับปรุงสมบัติของไนลอน 6 รีไซเคิลด้วยเทอร์โมพลาสติกพอลิ(อีเทอร์-เอสเตอร์)อิลาสโตเมอร์และโวลลาสโทไนต์, คุณัญญา จันทร์ฉาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ พอลิเมอร์ผสมของไนลอน 6 รีไซเคิล/เทอร์โมพลาสติกพอลิ (อีเทอร์-เอสเตอร์) อิลาสโตเมอร์หรือไฮทรีล ได้ถูกเตรียมด้วยกระบวนการผสมแบบหลอมเหลวโดยใช้เครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่และขึ้นรูปชิ้นทดสอบด้วยเครื่องฉีดแบบ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อน และลักษณะสัณฐานวิทยาของชิ้นงาน ผลการศึกษาพบว่า การเติมไฮทรีลในไนลอน 6 รีไซเคิล ส่งผลให้ความทนแรงและการยืดตัว ณ จุดขาด ของไนลอน 6 รีไซเคิล ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น เนื่องมาจากไฮทรีลเป็นพอลิเมอร์ยืดหยุ่นและสามารถกระจายตัวได้อย่างสม่ำเสมอในพอลิเมอร์เมทริกซ์ของไนลอน 6 รีไซเคิล หากแต่ทำให้สมบัติเชิงกล เช่น ความทนแรงดึง, ยังส์มอดุลัส, ความทนแรงดัดโค้ง, มอดุลัสการดัดโค้ง และเสถียรภาพทางความร้อนลดต่ำลง จึงปรับปรุงสมบัติที่สูญเสียไปโดยเลือกพอลิเมอร์ผสมไนลอน 6 รีไซเคิล/ไฮทรีล ที่อัตราส่วน 70/30 ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่มีค่าความทนแรงกระแทกสูงที่สุด ไปเตรียมเป็นพอลิเมอร์คอมพอสิตด้วยโวลลาสโทไนต์ ปริมาณ 10, 20, และ 30 ส่วนต่อเรซิน 100 ส่วน ผลการวิจัยพบว่า การเติมโวลลาสโทไนต์สามารถช่วยปรับปรุงค่าความทนแรงดึง, ยังส์มอดุลัส, ความทนแรงดัดโค้ง, มอดุลัสการดัดโค้ง, เสถียรภาพทางความร้อน, อุณหภูมิการเสียรูปด้วยความร้อน และมอดุลัสสะสมของพอลิเมอร์คอมพอสิตให้เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า การเติมโวลลาสโทไนต์ในพอลิเมอร์ผสมยังสามารถช่วยลดการหลอมหยดและลดการลามไฟของพอลิเมอร์คอมพอสิตอีกด้วย หากแต่ไม่สามารถปรับปรุงความทนแรงกระแทก และการยืดตัว ณ จุดขาด ได้ เนื่องมาจากโวลลาสโทไนต์เป็นวัสดุที่มีความแข็งตึงสูง จึงส่งผลให้ไปขัดขวางการเคลื่อนไหวสายโซ่ของโมเลกุล


ฟิล์มคาร์บอนจากแบคทีเรียลเซลลูโลส/พอลิอะนิลีนและแบคทีเรียลเซลลูโลส/สีอินดิโก, ชาติกานต์ เจียมสวัสดิ์ Jan 2021

ฟิล์มคาร์บอนจากแบคทีเรียลเซลลูโลส/พอลิอะนิลีนและแบคทีเรียลเซลลูโลส/สีอินดิโก, ชาติกานต์ เจียมสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเตรียมฟิล์มคาร์บอนจากแบคทีเรียลเซลลูโลสซึ่งเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติโดยมีการเติมสารหน่วงการติดไฟคือพอลิอะนิลีนและสีอินดิโกซึ่งมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบเพื่อเพิ่มเสถียรภาพและปรับปรุงคาร์บอนยีลด์ของฟิล์มคาร์บอน ในอัตราส่วนแบคทีเรียลเซลลูโลสต่อพอลิอะนิลีนและแบคทีเรียลเซลลูโลสต่อสีอินดิโกอยู่ที่ 1:0.25, 1:0.5 และ 1:1 จากนั้นจะนำฟิล์มตั้งต้นไปผ่านกระบวนการทางความ 2 ขั้นตอนคือ กระบวนการสเตบิไลเซชัน ที่อุณหภูมิ 330 องศาเซลเซียสและกระบวนการคาร์บอนไนเซชัน ที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เพื่อเปลี่ยนให้ฟิล์มทั้งสองเป็นฟิล์มคาร์บอน พบว่าฟิล์มคาร์บอนที่เตรียมจากแบคทีเรียลเซลลูโลส/สีอินดิโกสามารถช่วยปรับปรุงคาร์บอนยีลด์ให้เพิ่มขึ้นจาก 2.8% เป็น 22.3% สำหรับแบคทีเรียลเซลลูโลสและแบคทีเรียลเซลลูโลส/สีอินดิโก 1:1 นอกจากนี้สีอินดิโกยังช่วยเพิ่มความเสถียรในการคงรูป ในขณะที่ฟิล์มคาร์บอนที่เตรียมจากแบคที่เรียลเซลลูโลส/พอลิอะนิลีน มีลักษณะที่เปราะและไม่สามารถคงรูปได้ เมื่อตัวอย่างฟิล์มจากสารตั้งต้นทั้ง 2 ชนิดผ่านกระบวนการคาร์บอไนเซชันจะเห็นโครงสร้างของคาร์บอนที่ชัดเจนขึ้นจากการทดสอบรามานสเปกโตรสโคปี แสดงรามานสเปกตรัมของ D-band และ G-band ที่ 1350 cm-1 และ 1600 cm-1 ตามลำดับ การวิเคราะห์โครงสร้างผลึกจะมีสัญญาณพีคขึ้นที่อัตราส่วนของสีอินดิโกอยู่ที่ 1:1 แต่จะไม่พบสัญญาณพีคในตัวอย่างที่เติมพอลิอะนิลีนในทุกอัตราส่วน สีอินดิโกจึงมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดโครงสร้างคาร์บอน นอกจากนี้ยังตรวจสอบผลของสีอินดิโก (ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ) ต่อลักษณะทางสัณฐานวิทยา ผลผลิตคาร์บอน และประสิทธิภาพทางไฟฟ้าเคมี


พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากฐานพอลิอะคริลิกแอซิด/ไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากเส้นใยยางพารา, ทิพาพรรณ ดำเกาะ Jan 2021

พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากฐานพอลิอะคริลิกแอซิด/ไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากเส้นใยยางพารา, ทิพาพรรณ ดำเกาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากถูกสังเคราะห์จากไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสและพอลิอะคริลิกแอซิดเป็นมอนอเมอร์ แอมโมเนียมเพอร์ซัลเฟตเป็นตัวริเริ่มปฏิกิริยา และเอ็น, เอ็น’-เมทิลีนบิสอะคริลาไมด์เป็นสารเชื่อมขวางเพื่อใช้เป็นตัวดูดซึมน้ำและน้ำปัสสาวะสังเคราะห์ ในงานวิจัยนี้ ไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสได้จากเส้นใยยางพาราที่ได้จากใบยางพาราสดและใบยางพาราแห้ง ผ่านกระบวนการเชิงกลและสารเคมี ศึกษาองค์ประกอบชีวมวลพืชด้วยวิธี Goering and Van Soest ลักษณะทางสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด หมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโกปี ความเป็นผลึกด้วยด้วยการเลี้ยวเบนของ รังสีเอกซ์ และพฤติกรรมการสลายตัวเชิงความร้อนด้วยการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักอาศัยสมบัติทางความร้อนของไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลส ผลการทดลองพบว่าไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสที่ได้จากเส้นใยยางพาราสดและเส้นใยยางพาราแห้งมีลักษณะและสมบัติคล้ายกัน ดังนั้นไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสที่ได้จากเส้นใยยางพาราแห้งถูกนำมาเตรียมพอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากผ่านกระบวนการ พอลิเมอไรเซชัน ศึกษาผลของปริมาณของไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสและสารเชื่องขวางในการสังเคราะห์พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากที่มีผลต่อการดูดซึมน้ำและน้ำปัสสาวะสังเคราะห์ นอกจากนี้ตรวจสอบหมู่ฟังก์ชัน เปอร์เซ็นต์การกราฟต์ และสมบัติเชิงความร้อนของพอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมาก พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากที่เตรียมจากไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสร้อยละ 25 ของกรดอะคริลิกแอซิดที่สารเชื่อมขวางร้อยละ 0.05 ของกรดอะคริลิกแอซิด ให้ค่าดูดซึมน้ำและน้ำปัสสาวะสังเคราะห์สูงถึง 203 ± 0.67 g/g และ 53 ± 0.75 g/g ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าพอลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากที่สามารถดูดซึมน้ำและน้ำปัสสาวะสังเคราะห์ สามารถเตรียมได้จากใบยางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ


ฟิล์มคอมพอสิตของสโคบีเซลลูโลส/ไฮโดรไลซ์คอลลาเจนเคลือบด้วยไคโตซานสำหรับประยุกต์เป็นแผ่นปิดแผล, พันธิตรา ยาแก้ว Jan 2021

ฟิล์มคอมพอสิตของสโคบีเซลลูโลส/ไฮโดรไลซ์คอลลาเจนเคลือบด้วยไคโตซานสำหรับประยุกต์เป็นแผ่นปิดแผล, พันธิตรา ยาแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สโคบีแบคทีเรียลเซลลูโลสเป็นพอลิเมอร์ที่มีความเข้ากันได้ดีทางชีวภาพเนื่องจากมีสมบัติที่หลากหลาย ได้แก่ มีความบริสุทธิ์สูง สมบัติเชิงกลที่ดี การดูดซึมน้ำที่ดี และความไม่เป็นพิษซึ่งทำให้เหมาะสมสำหรับการประยุกต์ใช้เป็นวัสดุปิดแผล ในงานวิจัยนี้ทำการเตรียมฟิล์มจากการผสมสโคบีเซลลูโลส/ไฮโดรไลซ์คอลลาเจนที่อัตราส่วน 90:10, 80:20 และ 70:30 โดยน้ำหนัก โดยเติมกลีเซอรอลร้อยละ 5 โดยน้ำหนักลงไปเพื่อเป็นพลาสติไซเซอร์ หล่อแบบจนแห้งหลังจากนั้นเคลือบด้วยละลายไคโตซานร้อยละ 1 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร วิเคราะห์และทดสอบความเข้ากันได้ของฟิล์มด้วยเทคนิค FTIR, SEM และ TGA จากผลการทดสอบยืนยันว่าชั้นไคโตซานเคลือบทับสโคบีแบคทีเรียลเซลลูโลสจากการเกิดอันตรกิริยาระหว่างกันด้วยพันธะไฮโดรเจน การทดสอบสมบัติต้านแบคทีเรียทดสอบกับเชื้อ S.aureus บ่งชี้ให้เห็นว่า บริเวณยับยั้งการเจริญของเชื้อบริเวณฟิล์มที่เคลือบไคโดซานมีสมบัติต้านแบคทีเรียได้ดีกว่า นอกจากนี้ทำการบรรจุแอสคอร์บิคแอซิดลงในฟิล์มคอมพอสิตโดยทำการแช่ลงในสารละลายแอสคอร์บิคแอซิดในสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ pH 7.4 เป็นเวลา 12 ชั่วโมง โดยวิเคราะห์ปริมาณยาสะสมที่ถูกปลดปล่อยออกมาโดยเทคนิค UV-Vis spectroscopy บ่งชี้ให้เห็นว่าฟิล์มคอมพอสิตไม่เพียงแต่กักเก็บรูปออกฤทธิ์ของแอสคอร์บิคแอซิดแต่ยังสามารถควบคุมการปลดปล่อยของแอสคอร์บิคได้อีกด้วย ดังนั้นฟิล์มคอมพอสิตที่วิจัยขึ้นนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นวัสดุปิดแผลที่เติมสารออกฤทธิ์ลงไปได้


คอมพอสิตของพอลิแล็กติกแอซิดรีไซเคิล/เทอร์มอพลาสติกพอลิอีเทอร์–เอสเทอร์/โวลลาสโทไนต์เติมด้วยสารขยายสายโซ่, สุรพันธ์ หงสุรพันธุ์ Jan 2021

คอมพอสิตของพอลิแล็กติกแอซิดรีไซเคิล/เทอร์มอพลาสติกพอลิอีเทอร์–เอสเทอร์/โวลลาสโทไนต์เติมด้วยสารขยายสายโซ่, สุรพันธ์ หงสุรพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ คอมพอสิตของพอลิแล็กติกรีไซเคิล/เทอร์มอพลาสติกพอลิอีเทอร์– เอสเทอร์/โวลลาสโทไนต์ได้ถูกพัฒนาด้วยการเติมสารขยายสายโซ่จองคิ้ว โดยขั้นแรกพอลิเมอร์ผสม พอลิแล็กติกแอซิดรีไซเคิล/เทอร์มอพลาสติกพอลิอีเทอร์–เอสเทอร์ที่อัตราส่วน 80/20 ถูกผสมด้วยสารขยายสายโซ่จองคิ้วที่อัตราส่วนต่าง ๆ (0.5–2 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินผสมร้อยส่วน) เพื่อวิเคราะห์หาน้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ย ดรรชนีการหลอมไหล สมบัติเชิงกล และสมบัติทางความร้อน พบว่า การเติมสารขยายสายโซ่จองคิ้ว ส่งผลให้น้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ย ความเข้ากันได้ระหว่าง พอลิเมอร์ผสม และสมบัติเชิงกลของพอลิเมอร์ผสมเพิ่มขึ้น ขณะที่เสถียรภาพทางความร้อนมีค่าลดลง โดย 80/20 พอลิแล็กติกแอซิดรีไซเคิล/เทอร์มอพลาสติกพอลิอีเทอร์–เอสเทอร์ที่เติมสารขยายสายโซ่จองคิ้วที่ปริมาณ 1.5 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินผสมร้อยส่วนมีค่าความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาดสูงสุด จึงถูกเลือกไปเตรียมคอมพอสิตกับโวลลาสโทไนต์ที่ปริมาณ 5, 10, 15 และ 20 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินผสมร้อยส่วน พบว่า คอมพอสิตได้รับการปรับปรุง ยังส์มอดุลัส ความทนแรงดัดโค้ง มอดุลัสการดัดโค้ง เสถียรภาพทางความร้อน และการหลอมหยด ขณะที่ความทนแรงดึงและการยืดตัว ณ จุดขาด มีค่าลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับ 80/20 พอลิแล็กติกแอซิดรีไซเคิล/เทอร์มอพลาสติกพอลิอีเทอร์–เอสเทอร์ที่เติมสารขยายสายโซ่จองคิ้วที่ปริมาณ 1.5 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินผสมร้อยส่วนอย่างไรก็ตาม คอมพอสิตที่เติมโวลลาสโทไนต์ที่ปริมาณ 20 ส่วนโดยน้ำหนักต่อเรซินผสมร้อยส่วนมีสมบัติที่ดีที่สุด