Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Sports Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2018

Articles 1 - 30 of 58

Full-Text Articles in Sports Sciences

การเปรียบเทียบตัวแปรทางชีวกลศาสตร์ระหว่างการสวิงกอล์ฟบนพื้นที่ลาดเอียงที่ต่างกันในนักกีฬากอล์ฟสมัครเล่น, ชัชชานนท์ พูลสวัสดิ์ Jan 2018

การเปรียบเทียบตัวแปรทางชีวกลศาสตร์ระหว่างการสวิงกอล์ฟบนพื้นที่ลาดเอียงที่ต่างกันในนักกีฬากอล์ฟสมัครเล่น, ชัชชานนท์ พูลสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบตัวแปรทางชีวกลศาสตร์ ระหว่างการสวิงบนพื้นราบและบนพื้นลาดเอียงแบบขึ้นเนินและลงเนิน ในนักกีฬากอล์ฟสมัครเล่น วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างงานวิจัยนี้คือ นักกีฬากอล์ฟสมัครเล่น เพศชาย วงสวิงขวา จำนวน 16 คน กลุ่มตัวอย่างทำการสวิงด้วยเหล็ก 7 บนพื้น 3 รูปแบบ ได้แก่ พื้นราบ พื้นเอียงแบบขึ้นเนินและลงเนิน ซึ่งทำมุม ±10 องศากับแนวราบ เพื่อบันทึกการเคลื่อนไหวของร่างกาย แรงปฏิกิริยาจากพื้นและความเร็วหัวไม้ แล้วจึงเลือกข้อมูลใน 4 เหตุการณ์ ได้แก่ ตำแหน่งจรดลูก ตำแหน่งขึ้นไม้สูงสุด ตำแหน่งกลางของการลงไม้และตำแหน่งไม้กระทบลูก เพื่อหาความแตกต่างด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย พบว่า การสวิงแบบขึ้นเนินและลงเนินมีระยะระหว่างเท้าเพิ่มจากสวิงบนพื้นราบ การสวิงแบบขึ้นเนินมีความแตกต่างของการเคลื่อนไหวและประสิทธิภาพที่ลดลงจากการสวิงบนพื้นราบและการสวิงแบบลงเนินอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่การสวิงแบบลงเนินมีประสิทธิภาพและการเคลื่อนไหวบางช่วงไม่แตกต่างจากการสวิงบนพื้นราบอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การสวิงแบบขึ้นเนินและลงเนินควรเพิ่มระยะระหว่างเท้าให้กว้างมากขึ้นเพื่อรักษาการทรงตัว การสวิงบนพื้นที่ลาดเอียงควรรักษาลักษณะการยื่นและการเคลื่อนไหวให้ใกล้เคียงกับการสวิงบนพื้นราบให้มากที่สุด เพื่อคงไว้ซึ่งความเร็วเชิงมุมในการหมุนลำตัวและสะโพกที่สำคัญต่อการสร้างความเร็วหัวไม้


ผลของการใช้โฟมโรลลิ่งและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหวที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตซอล, ประทักษ์ สระสม Jan 2018

ผลของการใช้โฟมโรลลิ่งและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหวที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตซอล, ประทักษ์ สระสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการอบอุ่นร่างกายด้วยโฟมโรลลิ่งและการอบอุ่นร่างกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหวที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตซอล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักฟุตซอลของสโมสรมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เพศชาย มีอายุระหว่าง 18-25 ปี จำนวน 18 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยกลุ่มตัวอย่างทำการทดลองทั้ง 2 รูปแบบ ได้แก่ การอบอุ่นร่างกายด้วยโฟมโรลลิ่ง และการอบอุ่นร่างกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหว และทำการทดสอบสมรรถภาพของกล้ามเนื้อขาทันทีหลังจากการทดลองโดยการทดลองแต่ละรูปแบบมีระยะเวลาห่างกันอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (Paired Samples t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของระยะการเคลื่อนไหวข้อเข่าขาขวาหลังการทดลองทันทีของการอบอุ่นร่างกายด้วยโฟมโรลลิ่ง และการอบอุ่นร่างกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของระยะการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกขาซ้ายและขาขวา ระยะการเคลื่อนไหวของข้อเข่าขาซ้าย ความคล่องแคล่วว่องไว ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทาง และความเร็วหลังการทดลองทันทีของการอบอุ่นร่างกายด้วยโฟมโรลลิ่ง และการอบอุ่นร่างกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหว ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 การอบอุ่นร่างกายด้วยโฟมโรลลิ่ง และการอบอุ่นร่างกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหวช่วยเพิ่มระยะการเคลื่อนไหวของข้อสะโพก ระยะการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ความคล่องแคล่วว่องไว ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทาง ความเร็ว ในนักกีฬาฟุตซอลได้


ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมการตลาดและความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึก กรณีของสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย, อนิวรรตน์ นุ่มลืมคิด Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมการตลาดและความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึก กรณีของสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย, อนิวรรตน์ นุ่มลืมคิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมการตลาดและความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึกของสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยในไทยลีก วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแฟนบอลของสโมสรต่างๆทั้ง 5 สโมสร ที่มีรายได้จากการขายสินค้าที่ระลึกมากที่สุด 5 อันดับแรกที่เข้าไปซื้อหรือดูสินค้าที่ระลึกที่จุดจำหน่ายของที่ระลึกของแต่ละสโมสรทั้ง 5 สโมสรในไทยลีก 1 จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยหาจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้การทดสอบการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย การส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึกของสโมสรฟุตบอลอาชีพในไทยลีกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อยู่ในระดับปานกลาง (r = .436) ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.436 และกำลังสองของค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ (R2) มีค่าเท่ากับ 0.190 แสดงว่าการส่งเสริมการตลาด สามารถพยากรณ์ความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึกของสโมสรฟุตบอลอาชีพในไทยลีก คิดเป็นร้อยละ 19 และค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์มีค่าเท่ากับ 0.559 สรุปผลการวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมการตลาดและความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึกของสโมสรฟุตบอลอาชีพในไทยลีก มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


ความโปร่งใสในการกำหนดราคาและการรับรู้ความยุติธรรมของราคาตั๋วเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลของผู้ชมฟุตบอลไทยลีก 1, กำชัย โยโพธิ์ Jan 2018

ความโปร่งใสในการกำหนดราคาและการรับรู้ความยุติธรรมของราคาตั๋วเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลของผู้ชมฟุตบอลไทยลีก 1, กำชัย โยโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้คือ เพื่อศึกษาผลของความโปร่งใสในการกำหนดราคาตั๋วเข้าชมฟุตบอลที่มีต่อการรับรู้ความยุติธรรมของราคาตั๋วเข้าชมของผู้ชมฟุตบอลไทยลีก 1 วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลองแบบสองกลุ่มวัดหลัง (Posttest-Only Design) เพื่อตอบวัตถุประสงค์งานวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนิสิต อาจารย์ บุคลากร และผู้ประกอบการร้านค้าภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยแบ่งกลุ่มทดลองเป็น 2 กลุ่มกลุ่มละ 50 คน ด้วยวิธีการสุ่ม และ จำลองสถานการณ์การประกาศขึ้นราคาตั๋วเข้าชมฟุตบอลของสโมสรไทยลีก 1 จำนวน 2 สถานการณ์ โดยกลุ่มที่ 1 จะได้อ่านการแจ้งข่าวโดยทางสโมสรเป็นผู้แจ้งและอธิบายเหตุผลการขึ้นราคา และกลุ่มที่ 2 จะได้อ่านการแจ้งข่าวโดยแหล่งอื่น เช่น สื่อเป็นผู้แจ้งและอธิบายเหตุผลการขึ้นราคาและใช้การทดสอบค่าทีในวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า แฟนบอลจะมีการรับรู้ความยุติธรรมของราคาในระดับสูงเมื่อแฟนบอลได้รับการแจ้งข่าวการประกาศขึ้นราคาตั๋วเข้าชม โดยสโมสรเป็นผู้แจ้งเองซึ่งจะส่งผลให้แฟนบอลเกิดการรับรู้ถึงความยุติธรรมของราคามากกว่าสื่อเป็นผู้แจ้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งผลการวิจัยเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้บริหารสโมสรฟุตบอลและนักการตลาดของธุรกิจต่าง ๆ ในการวางแผนกลยุทธ์ในการกำหนดราคาตั๋วเข้าชมฟุตบอล ราคาสินค้า และบริการอื่น ๆ รวมถึงประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้แฟนบอลได้รับข่าวสารที่ถูกต้องครบถ้วนและลดความรู้สึกเชิงลบของแฟนบอลหรือผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นขึ้นจากการได้รับข่าวสารที่ผิดพลาดจากแหล่งที่มาของข่าวที่แตกต่างกัน


ความสัมพันธ์ด้านการรับรู้ความเสี่ยงและความเชื่อถือไว้วางใจที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้ออุปกรณ์ออกกำลังกายออนไลน์, ณพลพัทธ์ ปุญญฤทธิ์เจริญ Jan 2018

ความสัมพันธ์ด้านการรับรู้ความเสี่ยงและความเชื่อถือไว้วางใจที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้ออุปกรณ์ออกกำลังกายออนไลน์, ณพลพัทธ์ ปุญญฤทธิ์เจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยงที่ประกอบไปด้วย 7 ด้านได้แก่ 1.ด้านการเงิน 2.ด้านศักยภาพสินค้า 3.ด้านกายภาพ 4.ด้านจิตวิทยา 5.ด้านสังคม 6.ด้านเวลา 7.ด้านความเป็นส่วนตัว และความเชื่อถือไว้วางใจ กับการตั้งใจซื้ออุปกรณ์ออกกำลังกายออนไลน์ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริโภคที่เคยซื้ออุปกรณ์ออกกำลังกายออนไลน์ จำนวน 400 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย งานวิจัยพบว่า การรับรู้ความเสี่ยงด้านศักยภาพสินค้า มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อการตั้งใจซื้ออุปกรณ์ออกกำลังกายออนไลน์ ส่วนด้านการเงิน ด้านกายภาพ ด้านจิตวิทยา ด้านเวลา ด้านความเป็นส่วนตัว ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการตั้งใจซื้ออุปกรณ์ออกกำลังกายออนไลน์ ส่วนการรับรู้ความเสี่ยงด้านสังคมและความเชื่อถือไว้วางใจมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการตั้งใจซื้ออุปกรณ์ออกกำลังกายออนไลน์ สรุปผลการวิจัย งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับรู้ความเสี่ยงด้านศักยภาพสินค้า ด้านสังคม และความเชื่อถือไว้วางใจออนไลน์ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตั้งใจซื้ออุปกรณ์ออกกำลังกาย ซึ่งผลการวิจัยน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ และผู้ที่เริ่มสนใจทำธุรกิจด้านอุปกรณ์ออกกำลังกาย ใช้เป็นแนวทางการวางแผนการตลาดให้สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค


ผลฉับพลันของการผสมผสานแรงต้านจากฟรีเวทและยางยืดในท่าแบกน้ำหนักกระโดดที่มีต่อพลังสูงสุดและคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, นภารัตน์ ดวงจันทร์ Jan 2018

ผลฉับพลันของการผสมผสานแรงต้านจากฟรีเวทและยางยืดในท่าแบกน้ำหนักกระโดดที่มีต่อพลังสูงสุดและคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, นภารัตน์ ดวงจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลฉับพลันของรูปแบบที่แตกต่างกันของการผสมผสานแรงต้านจากฟรีเวทและยางยืดในท่าแบกน้ำหนักกระโดดที่มีต่อพลังสูงสุดและคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ การวิจัยครั้งนี้ศึกษาใน นิสิตชาย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุเฉลี่ย 23.54 ± 1.71 ปี จำนวน 13 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ทำการทดสอบแบกน้ำหนักกระโดดที่ความหนัก 30 เปอร์เซ็นต์ของ 1 อาร์เอ็มจากฟรีเวท ด้วยการผสมผสานแรงต้านจากฟรีเวทและยางยืดที่รูปแบบ 90:10 80:20 70:30 60:40 และ 50:50 โดยทำการกระโดด 6 ครั้ง พักระหว่างครั้ง 20 วินาที การทดสอบแต่ละรูปแบบจะห่างกันไม่น้อยกว่า 48 ชม. และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย 1. รูปแบบแรงต้านของการผสมผสานแรงต้านจากฟรีเวทและยางยืด 50:50 มีค่าเฉลี่ยของพลังสูงสุด มากกว่า รูปแบบแรงต้านของการผสมผสานแรงต้านจากฟรีเวทและยางยืด 90:10 80:20 70:30 และ 60:40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. รูปแบบแรงต้านของการผสมผสานแรงต้านจากฟรีเวทและยางยืด 90:10 80:20 70:30 60:40 และ 50:50 มีค่าเฉลี่ยของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ Rectus femoris กล้ามเนื้อ Vastus medialis กล้ามเนื้อ Gastrocnemius medialis และกล้ามเนื้อ Tibialis anterior ไม่แตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย การทดสอบแบกน้ำหนักกระโดดที่ความหนัก 30 เปอร์เซ็นต์ของ 1 อาร์เอ็มจากฟรีเวท ด้วยการผสมผสานแรงต้านจากฟรีเวทและยางยืดที่รูปแบบ 50:50 สามารถพัฒนาพลังสูงสุดได้ดีกว่ารูปแบบการผสมผสานแรงต้านจากฟรีเวทและยางยืด 90:10 80:20 70:30 และ 60:40


การเปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังในการดำเนินงานของทีมกีฬาเทเบิลเทนนิสคนพิการทีมชาติไทย, ลักขณาสิริ คงเดช Jan 2018

การเปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังในการดำเนินงานของทีมกีฬาเทเบิลเทนนิสคนพิการทีมชาติไทย, ลักขณาสิริ คงเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังในการดำเนินงานของทีมกีฬาเทเบิลเทนนิสคนพิการทีมชาติไทยตามหลักทฤษฎีห่วงโซ่คุณค่า ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าของกีฬาเทเบิลเทนนิสคนพิการทีมชาติไทยทั้งระบบ ประกอบด้วย คณะผู้บริหารและผู้สนับสนุนที่เกี่ยวข้อง 7 คน ผู้ฝึกสอนนักกีฬาฯและบุคคลที่เกี่ยวข้อง 20 คน นักกีฬาเทเบิลเทนนิสคนพิการทีมชาติไทยและอดีตนักกีฬาเทเบิลเทนนิสคนพิการทีมชาติไทย 30 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 57 คน ได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ตามคุณลักษณะที่กําหนด (Criterion Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 3 ชุด และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 3 ชุด ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากบุคคลหลายกลุ่มและต่างสถานภาพกัน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถามชุดที่ 1 มีค่าความตรง เท่ากับ 1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 แบบสอบถามชุดที่ 2 มีค่าความตรง เท่ากับ 0.96 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.84 และแบบสอบถามชุดที่ 3 มีค่าความตรง เท่ากับ 0.95 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88 จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการดำเนินงานตามหลักทฤษฎีห่วงโซ่คุณค่า จากแบบสอบถามทั้ง 3 ชุด พบว่าโดยรวมสภาพที่เป็นจริงอยู่ต่ำกว่าความคาดหวังน้อย แบบสอบถามชุดที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 1.97 แบบสอบถามชุดที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 2.13 และแบบสอบถามชุดที่ 3 มีค่าเฉลี่ย 2.39 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีความเห็นที่สอดคล้องกัน พบว่าสภาพที่เป็นจริงอยู่ต่ำกว่าความคาดหวังปานกลาง 1 ด้าน ได้แก่ ด้านการติดตามอดีตนักกีฬาเทเบิลเทนนิสคนพิการทีมชาติไทย


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรองเท้ากีฬาของนักกีฬาวอลเลย์บอลระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร, นฤมล ธงอาสา Jan 2018

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรองเท้ากีฬาของนักกีฬาวอลเลย์บอลระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร, นฤมล ธงอาสา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งที่จะศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรองเท้ากีฬาของนักกีฬาวอลเลย์บอลระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยด้านคุณค่าการรับรู้ด้านคุณภาพ คุณค่าการรับรู้ด้านราคา และคุณภาพการให้บริการ วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อรองเท้ากีฬาของนักกีฬาวอลเลย์บอลระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ นักกีฬาระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยในรอบคัดเลือกและรอบมหกรรม ครั้งที่ 45 ปี พ.ศ.2560 ในกรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 18 มหาวิทยาลัย จำนวน 200 คน ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติในการทดสอบสมมติฐานใช้ค่าสถิติ สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 104 คน เพศหญิง จำนวน 96 คน มีอายุในช่วง 21-23 ปี เป็นผู้เล่นตำแหน่งตบบอลหัวเสา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเทียบเท่า 10,000 บาท และมีประสบการณ์การเล่นกีฬาวอลเลย์บอลมากกว่า 4 ปีขึ้นไป และปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อรองเท้ากีฬาของนักกีฬาวอลเลย์บอลระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้สถิติสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Regression) พบว่า ปัจจัยด้านคุณค่าการรับรู้ด้านราคา ส่งผลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อรองเท้ากีฬาของนักกีฬาระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร เพียงปัจจัยเดียวโดยด้านคุณค่าการรับรู้ด้านคุณภาพ และคุณภาพการให้บริการ เป็นปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อรองนักกีฬาวอลเลย์บอลระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร สรุปผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรองเท้ากีฬาของนักกีฬาวอลเลย์บอลระดับตัวแทนมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร มีเพียงปัจจัยเดียว ได้แก่ ปัจจัยด้านคุณค่าการรับรู้ด้านราคา ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรหึความสำคัญกับด้านดังกล่าว เพราะเป็นปัจจัยที่นักกีฬาให้ความสำคัญในการตัดสินใจซื้อรองเท้ากีฬา


ความพึงพอใจในตัวผู้บรรยายกีฬาของผู้ชมที่มีผลต่อการตัดสินใจชมรายการกีฬา, ปวีณ กิตติอุดมธรรม Jan 2018

ความพึงพอใจในตัวผู้บรรยายกีฬาของผู้ชมที่มีผลต่อการตัดสินใจชมรายการกีฬา, ปวีณ กิตติอุดมธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในผู้บรรยายกีฬาของผู้ชมที่มีผลต่อการตัดสินใจชมรายการกีฬา ประชากรในการวิจัยคือประชาชนที่เป็นผู้ติดตามชมรายการกีฬาและเป็นผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามออนไลน์ที่ทำจากโปรแกรม Google Form วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.90 เมื่อพิจารณาผลความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อผู้บรรยายกีฬารายด้าน พบว่า ด้านสมรรถนะของผู้ให้บริการ (Competence) ด้านความน่าเชื่อถือ (Credibility) และด้านการติดต่อสื่อสาร (Communication) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ความพึงพอใจในตัวผู้บรรยายกีฬาของผู้ชมมีผลต่อการตัดสินใจชมรายการกีฬาในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้บรรยายกีฬามีความรู้ความเชี่ยวชาญในชนิดกีฬาที่ทำการบรรยาย, มีการใช้คำที่มีความหมายซ้ำได้อย่างเหมาะสม, สามารถบรรยายบรรยากาศรอบๆสนามได้อย่างเหมาะสม, ควรมีจังหวะการบรรยายที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ผู้ชมเกิดความสับสน, ควรหลีกเลี่ยงการบรรยายที่สนุกสนานหรือตื่นเต้นเกินกว่าความเป็นจริงที่เกิดขึ้น สามารถนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ชม, ไม่คาดเดาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากไม่แน่ใจ และ ในกรณีที่มีผู้บรรยายกีฬา 2 คน สามารถแบ่งบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนได้อย่างลงตัว มีผลต่อการตัดสินใจชมรายการกีฬาในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย ความพึงพอใจในตัวผู้บรรยายกีฬาของผู้ชมมีผลต่อการตัดสินใจชมรายการกีฬาในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


แรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังของผู้หญิงชาวไทย, อรัญญา เกรียงไกรโชค Jan 2018

แรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังของผู้หญิงชาวไทย, อรัญญา เกรียงไกรโชค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาแรงจูงใจของผู้หญิงชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพัง และเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังของผู้หญิงชาวไทยตามตัวแปรลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้หญิงชาวไทยในประเทศไทยที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป เคยหรือมีความสนใจในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังไปยังประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทย มีการวางแผนการเดินทางด้วยตนเองรวมถึงเดินทางท่องเที่ยวระหว่างทำธุรกิจ แต่ไม่รวมการเดินทางไปศึกษาต่อ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) เท่ากับ 0.89 และค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น α เท่ากับ 0.90 เก็บรวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์หาค่าความถี่หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้ทดสอบความแตกต่างรายคู่ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แรงจูงใจโดยรวมในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังของผู้หญิงชาวไทยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.00 โดยที่แรงจูงใจรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านกายภาพ มีค่าเฉลี่ย 4.42 และระดับมาก ได้แก่ ด้านการพัฒนาตนเอง มีค่าเฉลี่ย 4.18 ด้านวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ย 4.02 ด้านอารมณ์ ความรู้สึก มีค่าเฉลี่ย 3.99 ด้านสถานภาพ ชื่อเสียง มีค่าเฉลี่ย 3.78 และด้านบุคคล มีค่าเฉลี่ย 3.64 ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังของผู้หญิงชาวไทย แสดงให้เห็นว่า ตัวแปรลักษณะทางประชากรศาสตร์ด้านอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย ผู้หญิงชาวไทยมีแรงจูงใจโดยรวมในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังอยู่ในระดับมาก โดยมีแรงจูงใจด้านกายภาพระดับมากที่สุด แต่มีแรงจูงใจด้านอื่นระดับมาก โดยที่ลักษณะประชากรศาสตร์ด้านอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันจะมีแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังแตกต่างกัน


การพัฒนาแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพของโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย, พชร ชินสีห์ Jan 2018

การพัฒนาแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพของโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย, พชร ชินสีห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของคนไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพของโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทยที่มีคุณภาพและสร้างเกณฑ์ปกติวิสัยของการแปลความหมายความรอบรู้ทางสุขภาพในโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์แผนปัจจุบันและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขของพื้นที่ 4 ภาค และ1พื้นที่พิเศษคือกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,446 คน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย ตัวแปรแฝงมี 3 ตัวแปร ได้แก่ การดูแลตนเอง การป้องกันความเสี่ยง และการส่งเสริมสุขภาพ และตัวแปรที่สังเกตได้ 4 ตัวแปร ในแต่ละตัวแปรแฝง รวมเป็น 12 ตัว ซึ่งได้แก่ การเข้าถึงข้อมูล การเข้าใจข้อมูล การประเมิน และการประยุกต์ใช้ข้อมูลในเรื่องการดูแลตนเอง การเข้าถึงข้อมูล การเข้าใจข้อมูล การประเมิน และการประยุกต์ใช้ข้อมูลในเรื่องการการป้องกันความเสี่ยง และ การเข้าถึงข้อมูล การเข้าใจข้อมูล การประเมิน และการประยุกต์ใช้ข้อมูลในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของคนไทยโดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน ความเที่ยงโดยสูตรวิธีแอลฟาของครอนบาค และความตรงตามโครงสร้างโดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรมลิสเรล รวมถึงหาค่าเกณฑ์ปกติวิสัยเพื่อแบ่งค่าระดับความรอบรู้ทางสุขภาพของโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ค่าความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.68 ค่าความเที่ยงของแบบวัด ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการป้องกันโรคแทรกซ้อน และ ด้านการดูแลรักษาตนเอง มีค่าความเที่ยงสูงตามลำดับ โดยแบบวัดทั้งฉบับมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .864 ผลการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย เมื่อพิจารณาค่าสถิติที่ใช้ในการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลเชิงประจักษ์พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเกณฑ์ปกติของคะแนนความรอบรู้ทางสุขภาพสำหรับโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย แบ่งเป็น 3 ระดับตามช่วงของเปอร์เซ็นไทล์ ได้แก่ ระดับต่ำ ระดับปานกลาง ระดับสูง กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรอบรู้ทางสุขภาพอยู่ในระดับสูงเป็นจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.25 รองลงมาอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 32.50 และ ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 32.25 ดังนั้นแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของคนไทยมีคุณภาพของเครื่องมือสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาการให้บริการสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับโรคความดันโลหิตสูงได้


ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์และความภักดีต่อสโมสรกีฬาอาชีพ กรณีของสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย, อลงกรณ์ กังวานณรงค์กุล Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์และความภักดีต่อสโมสรกีฬาอาชีพ กรณีของสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย, อลงกรณ์ กังวานณรงค์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์และความภักดีต่อสโมสรฟุตบอลอาชีพของสมาชิกเฟซบุ๊คแฟนเพจสโมสรฟุตบอลในไทยลีก 1 และเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสมาชิกเฟซบุ๊คแฟนเพจ และเพื่อศึกษาระดับความภักดีต่อสโมสรฟุตบอลในไทยลีก 1 วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ในลักษณะการเก็บข้อมูลแบบตัดขวาง (Cross-sectional Survey) โดยใช้แบบสอบถามปลายปิด (Close-ended Questionnaire) ในการเก็บข้อมูล ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกเฟซบุ๊คแฟนเพจของสโมสรฟุตบอลในไทยลีก 1 ประจำฤดูกาล 2561 ทั้ง 18 สโมสร ผลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติพรรณนาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และสถิติอนุมานวิเคราะห์สมการถดถอย (Regression Analysis) ผลการวิจัย ความพึงพอใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความภักดีต่อสโมสรฟุตบอลอาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสามารถอธิบายความแปรปรวนของความพึงพอใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อความภักดี ได้ที่ร้อยละ 75.2 โดยที่กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในสื่อสังคมออนไลน์ของสโมสรฟุตบอลในระดับมากที่สุด และมีระดับความภักดีต่อสโมสรฟุตบอลในระดับมากที่สุด สรุปผลการวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์และความภักดีต่อสโมสรของสมาชิกเฟซบุ๊คแฟนเพจสโมสรฟุตบอลในไทยลีก 1 นั้นมีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ระดับของความพึงพอใจที่มีต่อเฟซบุ๊คแฟนเพจของสโมสรและความภักดีต่อสโมสรฟุตบอล อยู่ในระดับสูง


แรงจูงใจในการเข้าชมกีฬาฟุตบอลไทยลีก 3 และ 4, อัลอามีน แซลีมา Jan 2018

แรงจูงใจในการเข้าชมกีฬาฟุตบอลไทยลีก 3 และ 4, อัลอามีน แซลีมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านแรงจูงใจในการเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก 3 และไทยลีก 4 และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างในปัจจัยด้านแรงจูงใจในการเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก 3 และไทยลีก 4 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก 3 และไทยลีก 4 ภายในสนามที่จัดการแข่งขัน ทั้งเพศชาย และเพศหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 804 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามจากงานวิจัยของ Wang and Matsuoka (2014) โดยนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของฟุตบอลไทยเกี่ยวกับปัจจัยด้านแรงจูงใจในการเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าสถิติ และเปรียบเทียบความแตกต่างปัจจัยด้านแรงจูงใจโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมปัจจัยด้านแรงจูงใจในการเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทยที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ปัจจัยด้านการสนับสนุนชุมชนหรือท้องถิ่น เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างในปัจจัยด้านแรงจูงใจระหว่าง ผู้ชมการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก 3 และไทยลีก 4 พบว่า ปัจจัยด้านแรงจูงใจสูงสุดในการเข้าชมไทยลีก 3 และ ไทยลีก 4 คือ ปัจจัยด้านการสนับสนุนชุมชนหรือท้องถิ่น ซึ่งมีปัจจัยในการเข้าชมฟุตบอลไทยลีก 3 และ 4 ที่เหมือนกัน โดยปัจจัยในการเข้าชมไทยลีก 3 และไทยลีก 4 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญแทบทุกด้านยกเว้นปัจจัยด้านสิ่งที่ได้มาซึ่งความรู้และด้านความสนใจในผู้เล่นที่ไม่พบความแตกต่าง การวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า ปัจจัยด้านการสนับสนุนชุมชนหรือท้องถิ่นเป็นปัจจัยด้านแรงจูงใจที่สำคัญในการเข้าชมฟุตบอลไทยลีก 3 และไทยลีก 4 นอกจากนี้ยังสรุปได้ว่า ผู้เข้าชมฟุตบอลไทยลีก 3 และ 4 ยังมีความแตกต่างในระดับแรงจูงใจอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยด้านแรงจูงใจการเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลเป็นตัวแปรสำคัญที่ใช้ในการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคได้ นักการตลาด สโมสรฟุตบอลหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถใช้ในการวางกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะกับแต่ละกลุ่ม เพื่อสร้างความนิยมให้กับการแข่งขันฟุตบอลในแต่ละลีก


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยช่วงวันหยุดของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทย, อิสรีย์ สุขพรสินธรรม Jan 2018

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยช่วงวันหยุดของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทย, อิสรีย์ สุขพรสินธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยช่วงวันหยุดของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทย วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทยของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่มีสัญชาติไทยและผ่านการทดลองงานแล้วเท่านั้น และเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศในช่วงวันหยุดจากการทำงาน จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างค่าคำถามกับวัตถุประสงค์ พบว่าค่าที่ได้คือ 0.91 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามที่ได้คือ 0.93 ผู้วิจัยทำการแจกแบบสอบถามที่บริเวณศูนย์ปฏิบัติการลูกเรือ เขตสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเริ่มทำการแจกแบบสอบถามในช่วงวันทำการ จันทร์-อาทิตย์ จำนวนวันละ 20 ชุด ในช่วงเช้า เวลา 8.00 - 12.00 น. เป็นจำนวน10 ชุด และช่วงบ่าย เวลา 13.00 – 17.00 น. จำนวน 10 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติในการทดสอบสมมติฐาน ใช้ค่าสถิติสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ โดยตั้งระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ 0.05 ผลการวิจัย เมื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยแรงจูงใจด้านสรีระหรือกายภาพ ด้านวัฒนธรรม และด้านส่วนบุคคล และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมทางการตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยช่วงวันหยุดของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทย อย่างมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 สรุปผลการวิจัย ปัจจัยแรงจูงใจด้านสรีระหรือกายภาพ ด้านวัฒนธรรม และด้านส่วนบุคคลและส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมทางการตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยช่วงวันหยุดของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทย


ผลการตอบสนองของเทคนิคการฟื้นฟูสมรรถภาพกายแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างเทคนิคหะฐะโยคะกับเทคนิคฟีฟ่า 11+ ภายหลังการออกกำลังกายส่วนขาด้วยระดับความหนักสูงสุดในนักกีฬาฟุตบอลชาย, พรรัตน์ จันทรังษี Jan 2018

ผลการตอบสนองของเทคนิคการฟื้นฟูสมรรถภาพกายแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างเทคนิคหะฐะโยคะกับเทคนิคฟีฟ่า 11+ ภายหลังการออกกำลังกายส่วนขาด้วยระดับความหนักสูงสุดในนักกีฬาฟุตบอลชาย, พรรัตน์ จันทรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของเทคนิคการฟื้นฟูสมรรถภาพกายแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างเทคนิคหะฐะโยคะกับเทคนิคฟีฟ่า 11+ และเทคนิคพื้นฐานภายหลังการออกกำลังกายส่วนขาด้วยระดับความหนักสูงสุดในนักกีฬาฟุตบอลชาย โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครนักฟุตบอลเพศชาย อายุ 18-29 ปี ที่มีระดับการแข่งขันอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยหรือสโมสรฟุตบอลต่างๆ จำนวน 59 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเทคนิคพื้นฐาน (n=20) กลุ่มหะฐะโยคะ (n=20) และกลุ่มฟีฟ่า 11+ (n=19) กำหนดให้อาสาสมัครทุกคนได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายกระตุ้นการล้าของขาด้วยการปั่นจักรยาน Wingate ที่ความหนัก 7.5% ของน้ำหนักตัว จำนวน 3 รอบ หลังจากนั้นจะแบ่งกลุ่มเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นระยะเวลา 20 นาที ซึ่งจะได้รับการทดสอบสมรรถภาพทุกๆ 5 นาที ได้แก่ อัตราการเต้นของชีพจร ระดับความล้าของกล้ามเนื้อ ค่าแลคเตทในเลือด ค่าการกระโดดสูงสุดและค่าความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง พบว่าผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนออกกำลังกาย กลุ่มหะฐะโยคะ ค่าการกระโดดสูงสุดมีค่าเพิ่มมากขึ้น (p<0.01) และค่าความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังมีค่าเพิ่มมากขึ้น (p<0.01) อีกทั้งไม่พบความแตกต่างของอัตราการเต้นของชีพจร ระดับความล้าของกล้ามเนื้อและค่าแลคเตทในเลือด จากการวิจัยสรุปได้ว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพกายแบบมีกิจจกรรมการเคลื่อนไหวด้วยเทคนิคหะฐะโยคะภายหลังการออกกำลังกายส่วนขาด้วยระดับความหนักสูงสุด สามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายในด้านความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อในนักกีฬา ในแง่ของการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถใช้ระหว่างพักครึ่งการแข่งขันที่มีเวลาอย่างจำกัดเพื่อให้สมรรถภาพทางกายของนักกีฬาพร้อมต่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


ผลของการฝึกฟังก์ชั่นนอลด้วยแรงดันอากาศที่มีต่อความเร็วในการเตะเฉียงระดับศีรษะของนักกีฬาเทควันโดชาย, กนกพร มีชัย Jan 2018

ผลของการฝึกฟังก์ชั่นนอลด้วยแรงดันอากาศที่มีต่อความเร็วในการเตะเฉียงระดับศีรษะของนักกีฬาเทควันโดชาย, กนกพร มีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกฟังก์ชั่นนอล ด้วยแรงดันอากาศกับการฝึกฟังก์ชั่นนอลด้วยน้ำหนักที่มีต่อความเร็วในการเตะเฉียงระดับศีรษะ ของนักกีฬาเทควันโดชาย วิธีดำเนินการวิจัย นักกีฬาเทควันโด เพศชาย ระดับมหาวิทยาลัย อายุระหว่าง 18 - 22 ปี จำนวน 20 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน ได้แก่ กลุ่มฝึกฟังก์ชั่นนอลด้วยแรงดัน อากาศ และกลุ่มฝึกฟังก์ชั่นนอลด้วยน้ำหนัก ทั้งสองกลุ่มฝึกที่ความหนัก 40% 1RM เป็นเวลา 6 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน ทำการทดสอบความเร็วในการเตะ ก่อนการฝึกและหลังการฝึก 6 สัปดาห์ นำ ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแตกต่าง ภายในกลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Pair samples t-test) และความแตกต่างระหว่าง กลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent samples t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัย หลังการฝึก 6 สัปดาห์ กลุ่มฝึกฟังก์ชั่นนอลด้วยแรงดันอากาศ มีความเร็วใน การเตะเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการฝึก 6 สัปดาห์ กลุ่มฝึกฟังก์ชั่นนอลด้วยแรงดันอากาศ มีความเร็วในการเตะเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มฝึกฟังก์ชั่นนอล ด้วยน้ำหนักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกฟังก์ชั่นนอลด้วยแรงดันอากาศ สามารถพัฒนาความเร็วในการ เตะเฉียงระดับศีรษะของนักกีฬาเทควันโดชายได้


ความสัมพันธ์ของแบบทดสอบกระโดดลงพื้นด้วยขาข้างเดียวกันกับการบาดเจ็บที่หัวเข่าในนักกีฬาฟุตบอลหญิงไทย, กรกฎ ชรากร Jan 2018

ความสัมพันธ์ของแบบทดสอบกระโดดลงพื้นด้วยขาข้างเดียวกันกับการบาดเจ็บที่หัวเข่าในนักกีฬาฟุตบอลหญิงไทย, กรกฎ ชรากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่าตัวแปรทางกลศาสตร์การเคลื่อนไหวของการทำแบบทดสอบกระโดดลงพื้นด้วยขาข้างเดียวกันรวมถึงปัจจัยต่าง ๆ กับความสัมพันธ์กับโอกาสเกิดการบาดเจ็บของนักกีฬาฟุตบอลหญิงไทย ผู้เข้าร่วมงานวิจัยคือ กลุ่มนักกีฬาฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยที่ได้รับเลือกเข้าค่ายฝึกซ้อมของทีมชาติ ในช่วงปี 2561 - 2562 ที่มีอายุระหว่าง 18 - 35 ปี โดยทำการเก็บข้อมูลทั่วไปและข้อมูลทางชีวกลศาสตร์จากการทดสอบกระโดดลงพื้นด้วยขาข้างเดียวกัน จากนั้นนำข้อมูลไปวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาความสัมพันธ์กับประวัติที่เคยบาดเจ็บของตัวนักกีฬาเอง ผลการวิจัยพบว่าค่ามุมงอหัวเข่าบิดเข้าด้านในที่ได้จากการทดสอบกระโดดลงพื้นด้วยขาข้างเดียวกัน ส่งผลต่อการบาดเจ็บอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.037) ในขณะที่ค่าตัวแปรอื่นไม่ส่งผลต่อการบาดเจ็บอย่างมีนัยสำคัญ สรุปผลการวิจัย แบบทดสอบกระโดดลงพื้นด้วยขาข้างเดียวกันสามารถใช้ประเมินความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของนักกีฬาฟุตบอลหญิงได้ และในคนที่เคยบาดเจ็บจะมีการใช้งานทดแทนจากขาอีกข้างที่ไม่บาดเจ็บ ทำให้สามารถใช้งานหรือใช้ทักษะในการเล่นกีฬาได้


การศึกษาตัวแปรทางคิเนมาติกส์ของการเสิร์ฟลูกตะกร้อด้วยหลังเท้าของนักกีฬามืออาชีพและสมัครเล่น, บุญญาวีย์ ม่วงพูล Jan 2018

การศึกษาตัวแปรทางคิเนมาติกส์ของการเสิร์ฟลูกตะกร้อด้วยหลังเท้าของนักกีฬามืออาชีพและสมัครเล่น, บุญญาวีย์ ม่วงพูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบข้อมูลทางคิเนมาติกส์ของการเสิร์ฟลูกตะกร้อด้วยหลังเท้าของนักกีฬาตะกร้อชายอาชีพและสมัครเล่น กลุ่มตัวอย่าง นักกีฬาเซปักตะกร้อชาย ตำแหน่งเสิร์ฟ แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักกีฬาอาชีพ จำนวน 8 คนและกลุ่มนักกีฬาสมัครเล่น จำนวน 7 คน มีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างทำการเสิร์ฟตะกร้อด้วยหลังเท้า จำนวน 20 ครั้ง โดยจะต้องลงในบริเวณที่ว่างระหว่างผู้เล่นหน้าขวากับผู้เสิร์ฟ อย่างน้อย 5 ครั้ง หากภายในการเสิร์ฟ 20 ครั้งแรก ไม่สามารถเสิร์ฟลงในบริเวณที่กำหนดครบ 5 ครั้ง จะทำการพักเป็นเวลา 10 นาที แล้วทำการเสิร์ฟใหม่อีก 20 ครั้ง นำลูกเสิร์ฟที่มีความเร็วลูกสูงสุดจำนวน 2 ครั้ง มาวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบค่า "ที" (Independent t-test) สำหรับข้อมูลที่กระจายตัวปกติ และทดสอบด้วยแมน-วิทนีย์ (Mann-Whitney Test) สำหรับข้อมูลที่กระจายตัวไม่ปกติ โดยกำหนด p<0.05 ผลการศึกษา กลุ่มนักกีฬาอาชีพมีน้ำหนักตัวและดัชนีมวลกายสูงกว่ากลุ่มนักกีฬาสมัครเล่นอย่างมีนัยสำคัญและพบความแตกต่างของความเร็วสูงสุดของลูกตะกร้อ ความเร็วสูงสุดของข้อเท้าในช่วง Preliminary และ Follow-through และความเร่งของข้อเท้าในทุกช่วงของการเสิร์ฟอย่างมีนัยสำคัญ สรุป นักกีฬาอาชีพเสิร์ฟลูกตะกร้อด้วยหลังเท้าได้ความเร็วลูกตะกร้อของนักกีฬาสูงกว่าในนักกีฬาสมัครเล่น โดยแสดงความเร็วสูงสุดของข้อเท้าในช่วง Preliminary และ Follow-through และความเร่งของข้อเท้าในทุกช่วงของการเสิร์ฟมีค่ามากกว่าในนักกีฬาสมัครเล่นอย่างมีนัยสำคัญ


ผลของการใส่ห่วงคอต่อการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดและการไหลของเลือดสู่สมองในหญิงกะเหรี่ยงกะยันในประเทศไทย, พัทธวรรณ ละโป้ Jan 2018

ผลของการใส่ห่วงคอต่อการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดและการไหลของเลือดสู่สมองในหญิงกะเหรี่ยงกะยันในประเทศไทย, พัทธวรรณ ละโป้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสม ซึ่งประกอบไปด้วยวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาผลของการใส่ห่วงคอต่อการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด และการไหลของเลือดสู่สมอง ในหญิงกะเหรี่ยงกะยัน โดยเปรียบเทียบกับหญิงกะเหรี่ยงที่ไม่ได้ใส่ห่วงคอและหญิงชาวไทยพื้นราบ และ 2) เพื่อศึกษาสภาพความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของชนเผ่ากะเหรี่ยงกะยันของประเทศไทยในปัจจุบัน อันได้แก่ ลักษณะความเป็นอยู่ทางกายภาพ วัฒนธรรม และการแต่งกายของหญิงกะเหรี่ยงกะยันที่ส่งผลต่อสุขภาพ การศึกษาผลของการใส่ห่วงคอต่อการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดและการไหลของเลือดสู่สมอง อาสาสมัครหญิงจำนวน 42 คน อายุระหว่าง 23-66 ปี ที่เข้าร่วมงานวิจัยได้รับการจับคู่อายุ และทำการเปรียบเทียบตัวแปรระหว่างกลุ่มหญิงกะเหรี่ยง ที่ใส่ห่วงคอ จำนวน 14 คน กลุ่มหญิงกะเหรี่ยงที่ไม่ใส่ห่วงคอ จำนวน 14 คน และกลุ่มหญิงชาวไทยพื้นราบ จำนวน 14 คน การทดสอบตัวแปรทางสรีรวิทยา สมรรถภาพทางแอโรบิก การทำงานของปอด การทำงานของหลอดเลือดระดับมหภาคและจุลภาค การไหลของเลือดสู่สมอง สารชีวเคมีในเลือด และโครงร่างกระดูกช่วงบริเวณคอและทรวงอก วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว และเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้วิธีของแอล เอส ดี ผลการศึกษาพบว่า ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มของอัตราการเต้นหัวใจขณะพัก และคลื่นความดันชีพจรระหว่างต้นแขนและต้นขา ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวของหญิงกะเหรี่ยงทั้งสองกลุ่มสูงกว่า แต่สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดมีค่าต่ำกว่ากลุ่มหญิงชาวไทยพื้นราบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หญิงกะเหรี่ยงที่ใส่ห่วงคอมีการขยายตัวของหลอดเลือดเมื่อถูกปิดกั้นการไหลเวียน ความเร็วเฉลี่ยของเลือดที่ไหลในหลอดเลือดสมอง ปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกเต็มที่ และปริมาณอากาศที่หายใจออกใน 1 นาทีต่ำกว่ากลุ่มหญิงกะเหรี่ยงที่ไม่ใส่ห่วงคออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหญิงกะเหรี่ยงที่ใส่ห่วงคอมีระดับกระดูกไหปลาร้าที่ต่ำลง การศึกษาสภาพความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของชนเผ่ากะเหรี่ยงกะยันของประเทศไทยในปัจจุบัน ทำการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการสังเกต ผลการศึกษาพบว่า วิถีชีวิตของหญิงกะเหรี่ยงกะยันส่วนใหญ่จะทำงานอยู่ที่บ้าน ได้แก่ ขายของที่ระลึก ทอผ้า เป็นต้น และมีกิจกรรมทางกายน้อย การแต่งกายของหญิงกะเหรี่ยงกะยันยังคงรักษาวัฒนธรรมการใส่ห่วงคอที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าเอาไว้ แม้ว่าจำนวนห่วงคอที่ใส่จะมีจำนวนน้อยลงและน้ำหนักห่วงลดลงเมื่อเทียบกับในอดีต หญิงกะเหรี่ยงกะยันส่วนใหญ่รับประทานผัก อาหารที่มีรสชาติเค็ม และเผ็ด ส่วนเรื่องการดูแลสุขภาพของหญิงกะเหรี่ยงกะยัน ปัจจุบันพบว่า เมื่อมีการเจ็บป่วยส่วนใหญ่จะไปรักษากับแพทย์ที่สถานีอนามัย และโรงพยาบาลประจำจังหวัด สรุปผลการวิจัย การใส่ห่วงคอของหญิงกะเหรี่ยงส่งผลต่อการสูญเสียการทำงานของระบบหัวใจหลอดเลือดและหายใจ และการไหลของเลือดสู่สมอง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของหญิงกะเหรี่ยงกะยัน อันได้แก่ การใส่ห่วงคอ การรับประทานอาหารเค็มจัด และการมีกิจกรรมทางกายที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพได้ในอนาคต การคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ จึงควรมีการส่งเสริมสุขภาพในหญิงกะเหรี่ยงกะยันด้วย


ผลของการฝึกการเคลื่อนที่แบบเฉพาะเจาะจงที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับเยาวชน, วชิราวุธ โพธิ์เหล็ก Jan 2018

ผลของการฝึกการเคลื่อนที่แบบเฉพาะเจาะจงที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับเยาวชน, วชิราวุธ โพธิ์เหล็ก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกการเคลื่อนที่แบบเฉพาะเจาะจงของกีฬาบาสเกตบอลที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับเยาวชน วิธีการดำเนินงานวิจัย นักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับเยาวชน เพศชาย จังหวัดอุดรธานี อายุ 15-18 ปี จำนวน 26 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 13 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุมได้รับการฝึกการเคลื่อนที่แบบดั้งเดิม และกลุ่มทดลองได้รับการฝึกการเคลื่อนที่แบบเฉพาะเจาะจง ทั้งสองกลุ่มทำการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนการฝึกและภายหลังการฝึก 6 สัปดาห์ ก่อนและหลังการฝึกทดสอบตัวแปรทางสรีรวิทยา ความคล่องแคล่วว่องไว ความเร็ว นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างก่อนและภายหลังการฝึกด้วยการทดสอบค่า ทีแบบรายคู่ และทดสอบค่า ทีอิสระ ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัย กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความคล่องแคล่วว่องไวแบบทีเทส เวลาในการทดสอบความเร็วระยะ 5 เมตร และความสามารถในเปลี่ยนทิศทางดีขึ้นและแตกต่างจากกลุ่มควบคุมภายหลังการฝึก 6 สัปดาห์ ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.5 ความเร็วระยะ 10 และ 20 เมตร ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มภายหลังการฝึก 6 สัปดาห์ ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.5 สรุปผลการวิจัย การฝึกการเคลื่อนที่แบบเฉพาะเจาะจงในกีฬาบาสเกตบอลเป็นการฝึกเสริมที่ช่วยพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไว ความเร็วระยะ 5 เมตร ให้แก่นักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับเยาวชนได้เป็นอย่างดี


ผลของการฝึกเสริมด้วยการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวต่อความสามารถทางกีฬาจักรยานของนักกีฬาจักรยานประเภทไทม์ไทรอัลระดับเยาวชนชาย, วิรังรอง นวลเพชร Jan 2018

ผลของการฝึกเสริมด้วยการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวต่อความสามารถทางกีฬาจักรยานของนักกีฬาจักรยานประเภทไทม์ไทรอัลระดับเยาวชนชาย, วิรังรอง นวลเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวต่อความสามารถทางกีฬาจักรยานของนักกีฬาจักรยานไทม์ไทรอัลระดับเยาวชนชาย อาสาสมัครเป็นนักกีฬาจักรยานประเภทไทม์ไทรอัลระดับเยาวชนชาย อายุเฉลี่ย 16±2 ปี คัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากนั้นเรียงลำดับตามความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝึกจักรยาน จำนวน 13 คน และกลุ่มฝึกจักรยานเสริมด้วยการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว จำนวน 12 คน ทั้งสองกลุ่มทำการฝึกโปรแกรมการฝึกจักรยาน คือ ปั่นจักรยานที่ความหนัก 65 – 80 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ระยะเวลา 120 นาทีต่อวัน จำนวน 2 วันต่อสัปดาห์ และปั่นจักรยานที่ความหนัก 80 – 90 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ระยะเวลา 75 – 90 นาทีต่อวัน จำนวน 4 วันต่อสัปดาห์ กลุ่มฝึกจักรยานเสริมด้วยการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว จะทำการฝึกเพิ่มเติมด้วยเอกเซอร์ไซด์บอล และเครื่องกำหนดแรงต้านที่ความหนัก 75% 1RM จำนวน 2 วันต่อสัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปรด้านต่างๆ ก่อนและหลังการฝึก 8 สัปดาห์ ได้แก่ ด้านสรีรวิทยา ด้านความสามารถทางกีฬาจักรยาน ประกอบด้วยการปั่นจักรยานไทม์ไทรอัล 20 กิโลเมตร ความสามารถในการทรงตัว ระยะเวลาที่ทนต่อความเมื่อยล้า และด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำและเปรียบเทียบความแตกต่างแบบรายคู่โดยใช้วิธีการทดสอบแอลเอสดี ผลการวิจัย ภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ ทั้ง 2 กลุ่มมีความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มฝึกจักรยานเสริมด้วยการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวมีการใช้ระยะเวลาในการปั่นจักรยานไทม์ไทรอัล 20 กิโลเมตรลดลง รวมถึงเวลาที่ทนต่อความเมื่อยล้า ความสามารถในการทรงตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกจักรยานเสริมด้วยการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวสามารถพัฒนาความสามารถทางกีฬาจักรยานในด้านการเพิ่มความสามารถในการทรงตัว การทนต่อความเมื่อยล้า และลดระยะเวลาในการปั่นจักรยานไทม์ไทรอัล 20 กิโลเมตรได้ ในขณะที่การฝึกด้วยโปรแกรมปั่นจักรยานเพียงอย่างเดียวไม่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาดังกล่าว


ผลการเปลี่ยนแปลงของค่าคะแนนอาการปวดเข่าลูกสะบ้าและค่าผลลัพธ์การทำงานของข้อต่อลูกสะบ้าหลังได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านในนักวิ่งสมัครเล่นเพศชายและเพศหญิงที่มีอาการปวดเข่าลูกสะบ้า, กิตตินัฐ นวลใย Jan 2018

ผลการเปลี่ยนแปลงของค่าคะแนนอาการปวดเข่าลูกสะบ้าและค่าผลลัพธ์การทำงานของข้อต่อลูกสะบ้าหลังได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านในนักวิ่งสมัครเล่นเพศชายและเพศหญิงที่มีอาการปวดเข่าลูกสะบ้า, กิตตินัฐ นวลใย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของค่าคะแนนอาการปวดเข่าลูกสะบ้า (Kujala Score), Pain Scale, ค่า Single Leg Hop Test (SLHT), ค่า Step Down Test (SDT) และค่าอัตราส่วนแบบทำงานของความแข็งแรงกล้ามเนื้อเหยียดเข่าต่อกล้ามเนื้องอเข่า (Functional Qecc/Hcon ratio) หลังได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้าน 24 สัปดาห์ ในนักวิ่งสมัครเล่นเพศชายและเพศหญิงที่มีอาการปวดเข่าลูกสะบ้า จำนวน 59 คน เป็นเพศชาย 30 คน เพศหญิง 29 คน วัดค่า Kujala Score, Pain Scale, SLHT, SDT และค่า Functional Qecc/Hcon ratio ก่อนเริ่มต้นการออกกำลังกาย (T0) ครบ 8 สัปดาห์ (T8) ครบ 16 สัปดาห์ (T16) และเมื่อสิ้นสุด 24 สัปดาห์ (T24) ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมดมีค่า Kujala Score เพิ่มขึ้น จากที่ T0 มีค่า 78.95 ± 9.42 และที่ T24 มีค่าเป็น 99.50 ± 0.82, ค่า Pain Scale ที่ T0 มีค่า 5.61±1.43 ที่ T24 มีค่า 0.03±0.18, ค่า SLHT และค่า SDT มีค่าผลลัพธ์เปลี่ยนแปลงดีขึ้น ค่า Functional Qecc/Hcon ratio ที่ T0 มีค่า 1.34 ± …


ผลของการฝึกโปรแกรมการอบอุ่นร่างกายฟีฟ่าอีเลเว่นพลัส (Fifa 11+) ที่มีต่ออัตราส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่าและอุบัติการณ์การบาดเจ็บบริเวณรยางค์ส่วนล่างในนักกีฬาฟุตซอลหญิงไทย, ณัฎฐินี ชีช้าง Jan 2018

ผลของการฝึกโปรแกรมการอบอุ่นร่างกายฟีฟ่าอีเลเว่นพลัส (Fifa 11+) ที่มีต่ออัตราส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่าและอุบัติการณ์การบาดเจ็บบริเวณรยางค์ส่วนล่างในนักกีฬาฟุตซอลหญิงไทย, ณัฎฐินี ชีช้าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการอบอุ่นร่างกายฟีฟ่าอีเลเว่นพลัส (FIFA11+) ที่มีผลต่ออัตราส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่า และศึกษาอุบัติการณ์การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับการฝึกโปรแกรมในนักฟุตซอลหญิงไทย โดยผู้เข้าร่วมงานวิจัยเป็นนักฟุตซอลหญิงไทย อายุ 18-30 ปี แบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 2 กลุ่มแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มละ 14 คน โดยกลุ่มทดลองเป็นนักฟุตซอลหญิงทีมชาติไทยได้รับการฝึกโปรแกรม FIFA 11+ 3 วันต่อสัปดาห์ กลุ่มควบคุมทำการอบอุ่นร่างกายแบบอยู่กับที่ (Static stretching) เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ มีการประเมินส่วนประกอบภายในร่างกาย การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา (Isokinetic test) ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility T-test) และการแกว่งของร่างกายขณะหยุดนิ่ง (The Footwork Pro balance test) พบว่ากลุ่มที่ได้รับการฝึก FIFA11+ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนี้ มีการเพิ่มขึ้นของค่ามวลกล้ามเนื้อและการลดลงของค่าไขมันทั้งหมด อัตราส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่าขาข้างถนัดเพิ่มขึ้น การแกว่งของร่างกายที่ลดลงจากการทดสอบความสามารถในการทรงตัวของขาแต่ละข้างขณะหยุดนิ่งทั้งเปิดตาและปิดตา มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มของค่าความคล่องแคล่วว่องไว อุบัติการณ์การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นทั้งหมด 168.15 ครั้งต่อ 1,000 ชั่วโมงของการมีส่วนร่วมในการฝึกซ้อมและแข่งขัน ตำแหน่งของการบาดเจ็บที่พบมากที่สุด คือ ข้อเท้า 18.48% ข้อเข่า 18.48 % และกล้ามเนื้อต้นขา 17.7% เป็นการบาดเจ็บเอ็นข้อต่อที่เชื่อมระหว่างกระดูกอักเสบ การบาดเจ็บขาหนีบ และการฉีกขาดของกล้ามเนื้อต้นขา สรุปผลการฝึกโปรแกรม FIFA11+ สามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักกีฬา ซึ่งช่วยลดการบาดเจ็บบริเวณรยางค์ส่วนล่างในนักกีฬาฟุตซอลหญิงไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งลดอุบัติการณ์การบาดเจ็บของข้อเท้าและข้อเข่าระดับรุนแรงได้


การศึกษาผลของการฝึกเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องต่ออัตราการตอบสนองในการหดตัวขณะที่กล้ามเนื้อเหยียดยาวออกของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดหลังและการเปลี่ยนแปลงมุมการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับเอวในอาสาสมัครที่มีอาการปวดเอว, ปรารถนา เนมีย์ Jan 2018

การศึกษาผลของการฝึกเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องต่ออัตราการตอบสนองในการหดตัวขณะที่กล้ามเนื้อเหยียดยาวออกของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดหลังและการเปลี่ยนแปลงมุมการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับเอวในอาสาสมัครที่มีอาการปวดเอว, ปรารถนา เนมีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยโดยการทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องต่ออัตราการตอบสนองของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดหลังขณะยืนก้มลำตัวในอาสาสมัครที่มีอาการปวดเอวที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี จำนวน 44 คน โดยถูกสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง (N=22) และกลุ่มควบคุม (N=22) ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายจำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ สำหรับกลุ่มควบคุมได้รับคู่มือเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ผลการศึกษาพบว่าหลังจากการทดลองกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกาย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ของเปอร์เซ็นต์ของอัตราการตอบสนองของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดหลังเท่ากับ 42.52±25.32 และ 29.08±14.21 ตามลำดับ (P=0.015) มุมการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับเอวเท่ากับ 44.95±9.78 และ 37.28±8.66 องศา (P=0.017) มุมการเคลื่อนของข้อสะโพกเท่ากับ 42.17±17.62 และ 54.81±19.26 องศา (P=0.001) ค่าดัชนีชี้วัดระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเท่ากับ 16.89±2.16 และ 3.91±1.06 (P<0.05) และระดับความปวดระหว่างทำกิจกรรม 5.32±1.67 และ 2.26±1.76 (P<0.05) สำหรับกลุ่มควบคุมดังนั้นผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการฝึกเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องส่งผลต่อการลดลงของอัตราการตอบสนองของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดหลังขณะก้มลำตัวในระยะสุดท้าย มีองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับเอวลดลงและข้อสะโพกเพิ่มขึ้น การจำกัดการใช้ชีวิตประจำวันเนื่องจากอาการปวดน้อยลงและระดับปวดบริเวณเอวลดลง โดยโปรแกรมการออกกำลังกายนี้สามารถใช้เป็นทางเลือกในการรักษาและให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเอว


ผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพกต่อระยะเวลาที่ใช้ในการทำให้เกิดความมั่นคง ขณะทำการกระโดดลงน้ำหนักขาเดียว ในข้อเข่าของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมสร้างเอ็นไขว้หน้า, อรวรรณ ใจหาญ Jan 2018

ผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพกต่อระยะเวลาที่ใช้ในการทำให้เกิดความมั่นคง ขณะทำการกระโดดลงน้ำหนักขาเดียว ในข้อเข่าของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมสร้างเอ็นไขว้หน้า, อรวรรณ ใจหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพกต่อระยะเวลาที่ใช้ในการทำให้เกิดความมั่นคงขณะทำการกระโดดลงน้ำหนักขาเดียว และประเมินการทำงานของข้อเข่าก่อนและหลังจากการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพก โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครที่มีประวัติการผ่าตัดซ่อมสร้างเอ็นไขว้หน้าและสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้ แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มออกกำลังกาย (n=18) และกลุ่มควบคุม (n=18) กำหนดระยะเวลาของการออกกำลังกายเท่ากับ 6 สัปดาห์ ประกอบด้วยการออกกำลังกายทั้งหมด 5 ท่าทาง การทดสอบระยะเวลาที่ใช้ในการเกิดความมั่นคงของข้อเข่า คำนวณโดยใช้ค่าแรงกระทำจากพื้น (GRFs) ในขณะที่การทำงานของข้อเข่าจะใช้แบบประเมิน IKDC และประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกและกล้ามเนื้อขาด้วยเครื่องทดสอบไอโซไคเนติก กำหนดความเร็วเชิงมุมเท่ากับ 60 องศาต่อวินาที ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับการออกกำลังกาย ใช้ระยะเวลาในการเกิดความมั่นคงหลังจากกระโดดลงน้ำหนักขาเดียวน้อยกว่า (กลุ่มควบคุม 1.67±0.5: กลุ่มออกกำลังกาย 1.22±0.49 วินาที, P=0.01) และมีค่าคะแนนการประเมินการทำงานของข้อเข่าที่เพิ่มขึ้น (กลุ่มควบคุม 77±14.14: กลุ่มออกกำลังกาย 88±8.69 คะแนน, P<0.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกและกล้ามเนื้อขา มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายหลังจากการออกกำลังกาย จากการวิจัยจึงสรุปได้ว่าการออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพกเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการวางแผนและออกแบบการฟื้นฟูการทำงานของข้อเข่า ในกลุ่มอาสาสมัครที่มีประวัติการผ่าตัดเปลี่ยนซ่อมเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การใช้บัตรเครดิตพันธมิตรสายการบินเพื่อแลกบัตรโดยสารของนักท่องเที่ยวชาวกรุงเทพมหานคร, พัชรี พยัฆพรม Jan 2018

การใช้บัตรเครดิตพันธมิตรสายการบินเพื่อแลกบัตรโดยสารของนักท่องเที่ยวชาวกรุงเทพมหานคร, พัชรี พยัฆพรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาปัจจัยของลักษณะประชากรศาสตร์ ซึ่งได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ ระดับการศึกษาสูงสุด และรายได้ต่อเดือนของนักท่องเที่ยวชาวกรุงเทพมหานครต่อการใช้คะแนนสะสมบัตรเครดิตแลกเป็นบัตรโดยสารและศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด 4Ps ซึ่งได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ปัจจัยด้านราคา (Price) ปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย (Place) ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ที่ส่งผลต่อการใช้บัตรเครดิตพันธมิตรสายการบินเพื่อแลกบัตรโดยสารของนักท่องเที่ยวชาวกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวกรุงเทพมหานคร ที่ถือบัตรเครดิตร่วมกับ Royal Orchid Plus และ Big จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความตรงกับเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.85 และมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ใช้สถิติ Independent Sample t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variances) แบบจำแนกทางเดียว One-Way Anova และสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression) เพื่อทดสอบสมมุติฐานของงานวิจัยโดยตั้งระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย หลังจากการทดสอบสมมติฐานพบว่าลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส และอาชีพ ส่งผลต่อการใช้บัตรเครดิตพันธมิตรสายการบินเพื่อแลกบัตรโดยสารของนักท่องเที่ยวชาวกรุงเทพมหานคร ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ขณะที่ระดับการศึกษาและรายได้ต่อเดือนไม่มีความแตกต่างในพฤติกรรมที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ นอกจากนั้น ปัจจัยส่วนประสมการตลาดได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ปัจจัยด้านราคา (Price) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) และ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ส่งผลต่อการใช้คะแนนสะสมบัตรเครดิตแลกเป็นบัตรโดยสารของนักท่องเที่ยวชาวกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เช่นกัน สรุปผลการวิจัย ลักษณะประชากรศาสตร์ด้าน เพศ อายุ สถานภาพสมรสที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับของพฤติกรรมการใช้คะแนนสะสมบัตรเครดิตแลกเป็นบัตรโดยสารที่แตกต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในทุก ๆ ด้าน ส่งผลต่อการใช้บัตรเครดิตพันธมิตรสายการบินเพื่อแลกบัตรโดยสารของนักท่องเที่ยวชาวกรุงเทพมหานคร


ผลของการฝึกเชิงซ้อนแบบเอกเซนตริกที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตบอล, รณภพ ชาวปลายนา Jan 2018

ผลของการฝึกเชิงซ้อนแบบเอกเซนตริกที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตบอล, รณภพ ชาวปลายนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกเชิงซ้อนแบบเอกเซนตริกและการฝึกเชิงซ้อนแบบทั่วไปที่มีต่อสมรรถภาพกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักกีฬา ฟุตบอลชาย ระดับมหาวิทยาลัย อายุ 18-22 ปี จำนวน 25 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจะได้รับการฝึกพื้นฐานด้วยแรงต้านก่อนการทดลองเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จากนั้นทำการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบเอกเซนตริก (13 คน) และกลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบทั่วไป (12 คน) ด้วยวิธีการจับคู่ โดยใช้ความแข็งแรงสัมพัทธ์เป็นเกณฑ์ ทำการฝึกเป็นเวลา 6 สัปดาห์ โดยกลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบเอกเซนตริก ทำการฝึกแบบเอกเซนตริกในท่าแบ็คสควอช ฝึกที่ความหนัก 120% ของ 1RM จำนวน 4 ครั้ง และกลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบทั่วไปทำการฝึกในท่าแบ็คสควอชที่ความหนัก 80% ของ 1RM จำนวน 6 ครั้ง โดยทั้งสองกลุ่มจะฝึกสลับกับการ ฝึกพลัยโอเมตริก (เซตต่อเซต) จำนวน 4 ชุด มีระยะพักระหว่างเซต 5 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ทำการทดสอบความแข็งแรง พลัง ดัชนีความแข็งแรงแบบปฏิกิริยาตอบสนอง ความแข็งตัวของกล้ามเนื้อขา ความเร็วในการวิ่ง 10 และ 20 เมตร ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางและความคล่องแคล่วว่องไว ก่อนและหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบค่าที (Dependent t-test และ Independent t-test) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 กลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบเอกเซนตริกมีความแข็งแรง พลัง ความแข็งตัวของกล้ามเนื้อขา และความคล่องแคล่วว่องไว เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่กลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบทั่วไปมีเพียงความแข็งแรงเพิ่มขึ้น แต่ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อทำการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า ความแข็งแรงในกลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบเอกเซนตริกเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่ ตัวแปรอื่นไม่พบความแตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย การฝึกเชิงซ้อนแบบเอกเซนตริกมีแนวโน้มในการพัฒนาสมรรถภาพของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตบอลได้ดีกว่าการฝึกเชิงซ้อนแบบทั่วไป


ผลของความหนักที่เสถียรและไม่เสถียรบนพื้นผิวที่เสถียรและไม่เสถียรต่อการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อและแรงปฏิกิริยาจากพื้นในท่าสควอท, ราตรี คำทะ Jan 2018

ผลของความหนักที่เสถียรและไม่เสถียรบนพื้นผิวที่เสถียรและไม่เสถียรต่อการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อและแรงปฏิกิริยาจากพื้นในท่าสควอท, ราตรี คำทะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ แรงปฏิกิริยาจากพื้นในท่าสควอทที่ความหนักเสถียรและไม่เสถียรบนพื้นผิวที่เสถียรและไม่เสถียร กลุ่มตัวอย่าง เป็นนิสิตชาย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 18-25 ปี จำนวน 24 คน ทำการทดสอบแบกน้ำหนักในท่าสควอท ที่ความหนัก 75% ของหนึ่งอาร์เอ็ม จำนวน 6 ครั้ง ของ 4 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 แบกน้ำหนักแบบมีความเสถียรบนพื้นผิวที่เสถียร (SLSS) แบบที่ 2 แบกน้ำหนักแบบมีความเสถียรบนพื้นผิวที่ไม่เสถียร (SLUS) แบบที่ 3 แบกน้ำหนักแบบมีความไม่เสถียรบนพื้นผิวที่เสถียร (ULSS) และ แบบที่ 4 แบกน้ำหนักแบบมีความไม่เสถียรบนพื้นผิวที่ไม่เสถียร(ULUS) ลำดับการทดสอบแต่ละรูปแบบด้วยวิธีการถ่วงดุลลำดับ ขณะทดสอบยืนบนแผ่นวัดแรงและทำการวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อด้านขวาร่างกาย จำนวน 8 มัด ได้แก่ 1) Biceps femoris 2) Rectus femoris 3) Vastus medialis 4) Vastus lateralis 5) Soleus 6) Rectus abdominis 7) External Oblique และ 8) Erector spinae โดยนำข้อมูลคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อสูงสุด คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อเฉลี่ยที่ได้จากการทดสอบเปรียบเทียบกับค่าคลื่นไฟฟ้าขณะหดตัวสูงสุด (Maximum voluntary isometric contraction; MVIC) ค่าพื้นที่ใต้กราฟคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ และค่าแรงปฏิกิริยาสูงสุดจากพื้นในแนวดิ่ง (Ground Reaction Force) ภายหลังการทดสอบทั้ง 4 รูปแบบ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า การทดสอบแบบ SLUS และ ULUS มีค่าสูงสุดร้อยละแอมพลิจูดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ Soleus สูงกว่าการทดสอบแบบ SLSS และ ULSS ค่าเฉลี่ยร้อยละแอมพลิจูดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ …


ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ตามหลักการดูแลสุขภาพ 3อ ของวัยรุ่นตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานในเขตกรุงเทพมหานคร, ภัทรชา แป้นนาค Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ตามหลักการดูแลสุขภาพ 3อ ของวัยรุ่นตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานในเขตกรุงเทพมหานคร, ภัทรชา แป้นนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม และศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ตามหลักการดูแลสุขภาพ 3อ ของวัยรุ่นตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามตัวแปร เพศ และอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นตอนต้นอายุระหว่าง 12 ถึง 14 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ค่า "ที" (t-test) และค่า "เอฟ" (F-test) ในกรณีที่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามหลักการดูแลสุขภาพ 3อ โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า ความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติ แต่ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม ตามหลักการดูแลสุขภาพ 3อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.23 มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ โดยวัยรุ่นตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมีความรู้ และพฤติกรรมตามหลักการดูแลสุขภาพ 3อ อยู่ในระดับปานกลาง มีทัศนคติตามหลักการดูแลสุขภาพ 3อ อยู่ในระดับสูง


การรับรู้เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม มีผลต่อการตระหนักรู้ต่อผลกระทบทางการท่องเที่ยวด้านสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มคนมอญ เกาะเกร็ด ประเทศไทย, พิมลวรรณ พันธ์วุ้น Jan 2018

การรับรู้เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม มีผลต่อการตระหนักรู้ต่อผลกระทบทางการท่องเที่ยวด้านสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มคนมอญ เกาะเกร็ด ประเทศไทย, พิมลวรรณ พันธ์วุ้น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม มีผลต่อการตระหนักรู้ต่อผลกระทบทางการท่องเที่ยวด้านสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มคนมอญ เกาะเกร็ด ประเทศไทย วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ชาวไทยเชื้อสายมอญอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเกาะเกร็ด จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า โดยทำการเก็บแบบสอบถามบริเวณแหล่งชุมชนชาวมอญในบริเวณเกาะเกร็ด ดังต่อไปนี้ บริเวณวัดของชุมชนมอญ ได้แก่ วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร วัดเสาธงทอง วัดไผ่ล้อม วัดฉิมพลีสุทธาวาส และบริเวณตลาดของชุมชน ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างค่าคำถามกับวัตถุประสงค์ พบว่าค่าที่ได้คือ 0.91 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามที่ได้คือ 0.89 ผู้วิจัยทำการแจกแบบสอบถามที่บริเวณแหล่งชุมชนชาวมอญ ทั้ง 5 สถานที่ สถานที่ละ 80 ชุด และใช้เวลาเก็บข้อมูลในวันจันทร์ - ศุกร์ แจกแบบสอบถามจำนวน 10 ชุด/วัน แบ่งเป็น ช่วงเช้า 5 ชุด ช่วงบ่าย 5 ชุด และในวันเสาร์และอาทิตย์ แจกแบบสอบถามเป็นจำนวน 15 ชุด/วัน แบ่งเป็น ช่วงเช้า 8 ชุด ช่วงบ่าย 7 ชุด รวมทั้งสิ้น 5 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติในการทดสอบสมมติฐาน ใช้ค่าสถิติสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ โดยตั้งระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ 0.05 ผลการวิจัย เมื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับรู้ด้านเอกลักษณ์ และด้านอัตลักษณ์ ส่งผลต่อการตระหนักรู้ต่อผลกระทบทางการท่องเที่ยวด้านสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มคนมอญ เกาะเกร็ด ประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการรับรู้ด้านสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมไม่ส่งผลต่อการตระหนักรู้ต่อผลกระทบทางการท่องเที่ยวด้านสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มคนมอญ เกาะเกร็ด ประเทศไทย สรุปผลการวิจัย การรับรู้ด้านเอกลักษณ์ และด้านอัตลักษณ์ ส่งผลต่อการตระหนักรู้ต่อผลกระทบทางการท่องเที่ยวด้านสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มคนมอญ เกาะเกร็ด ประเทศไทย ส่วนการรับรู้ด้านสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมไม่ส่งผลต่อการตระหนักรู้ต่อผลกระทบทางการท่องเที่ยวด้านสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มคนมอญ เกาะเกร็ด ประเทศไทย